ประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 7 เมษายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ประวัติพระไตรปิฎกฉบับจีนพากย์
    เรียบเรียงโดย อ.เสถียร โพธินันทะ
    [​IMG]
    คัดลอกจาก http://mahamakuta.inet.co.th/tipitaka/tipitaka3/tipi~231.html


    เมื่อประเทศไทยได้ประกอบรัฐพิธีเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ รัฐบาลของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เชิญผู้แทนพุทธบริษัทนานาชาติทั่วโลก มาร่วมอนุโมทนาใน มหากุศลกรรมนี้โดยพร้อมเพรียงกัน ผู้แทนพุทธบริษัทจีนคณะชาติที่ไต้หวัน มีพระสมณาจารย์กานจูฮูตุ๊กตู ชาวมงโกล เป็นประธาน พระสมณะอินสุ อาจารย์ใหญ่แห่งสำนักปริยัติ ธรรมฟูเยนฯ เป็นรองประธานพร้อมด้วยคณะผู้ติดตามอีก ๗ ท่าน ได้อัญเชิญพระไตร ปิฎกฉบับจีน ๒ จบมาด้วย และได้ทำพิธีมอบเป็นธรรมบรรณาการ แก่สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยจบหนึ่ง มอบแก่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุอีกจบหนึ่ง ในฐานะเป็นสถาบันศึกษาพระพุทธศาสนาสูงสุด ๒ แห่งของประเทศไทย พระไตรปิฎก ฉบับนี้เป็นของถ่ายพิมพ์จากฉบับญี่ปุ่น ได้เริ่มพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยสำนักวัฒนธรรมพุทธศาสนาแห่งประชาชาติจีนเมืองไทเป จบหนึ่งมี ๒,๒๓๖ คัมภีร์ คิดเป็นผูกได้ ๙,๐๐๖ ผูก เป็นสมุดพิมพ์ ขนาดเอ็นไซโคลปีเดีย ๕๕ เล่มใหญ่หนามาก นับว่าพระไตร ปิฎกฉบับนี้ เป็นผลงานของชาวพุทธบริษัทฝ่ายมหายานที่ใหม่ที่สุด ถึงแม้ว่าอาศัยถ่ายพิมพ์ มาจากฉบับญี่ปุ่นคือฉบับ ไดโช ก็จริง แต่พระไตรปิฎกฉบับญี่ปุ่น คือไตรปิฎกจีนนั่นเอง เพราะญี่ปุ่นรับพระพุทธศาสนาไปจากจีน ชนิดถ่ายเอาตัวอักษรไปด้วย แต่โดยที่ญี่ปุ่น เข้าใจเก็บรวบรวมเก่งกว่าจีน ฝ่ายจีนซึ่งเป็นเจ้าของเดิม จึงกลับต้องไปอาศัยของเขามาถ่ายพิมพ์ ผู้เขียนซึ่งมีหน้าที่บรรยายวิชาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาสากล และโดยเฉพาะ ลัทธิมหายานในสภาการศึกษาฯ จะขอถือโอกาสค้นคว้าประวัติปิฎกจีนพากย์ฉบับนี้มาเล่าสู่ กันฟัง
    เมื่อพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายออกไปในนานาประเทศ เริ่มแต่รัชสมัยพระเจ้า อโศกมหาราช และขยับขยายแพร่หลายต่อเนื่องกันต่อมาจนกระทั่งพระพุทธศาสนาสิ้นสูญ จากอินเดีย ประเทศต่างๆ ซึ่งยังรับช่วงพระสัทธรรม กลับปรากฏว่าเป็นแหล่งเจริญของ พระพุทธศาสนาแทนที่มาติภูมิ แก่นสำคัญของพระพุทธศาสนาที่จะเป็นเหตุให้เจริญตั้งมั่น อยู่ได้ก็อยู่ที่พระธรรมวินัย ปรากฏว่าพระธรรมวินัยที่แพร่หลายไปในดินแดนต่างๆ หาได้ เสมอเหมือนกันไม่ จำแนกออกเป็น ๓ ประเภทใหญ่ๆ คือ
    ๑. พระธรรมวินัยที่ถือภาษามคธ หรือบาลีเป็นหลัก มีลัทธิเถรวาทในพระพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยานเป็นฝ่ายประกาศเจริญแพร่หลายในลังกา, ไทย, พม่า, เขมร และลาว พระไตรปิฎกของประเทศทั้ง ๕ จึงเหมือนกัน
    ๒. พระธรรมวินัยที่ถือภาษาสันสกฤตเป็นหลัก มีลัทธิมหายานและนิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งเป็นนิกายหนึ่งของฝ่ายสาวกยานเป็นฝ่ายประกาศเจริญแพร่หลายในประเทศจีน แต่จีนมิได้รักษาต้นภาษาเดิมไว้ เอามาแปลถ่ายไว้ในภาษาจีนหมด แล้วจึงแพร่หลายต่อออกไปในเกาหลี, ญี่ปุ่น และญวน
    ๓. พระธรรมวินัยที่ถือภาษาสันสกฤตเป็นหลักเหมือนประเภทที่ ๒ และเป็นลัทธิ มหายานดุจกัน แต่ประกาศหนักไปในนิกายมนตรยาน อันเป็นสาขาหนึ่งของมหายานเจริญ แพร่หลายในประเทศธิเบต และแปลสู่ภาษาธิเบตแล้วหมด จากธิเบตจึงแพร่ต่อออกไป ในมงโกเลีย และมานจูเรีย
    พระธรรมวินัยทั้ง ๓ ประการนี้ ถ้าจะว่าโดยชัดแจ้งแล้ว กล่าวได้ว่าคือพระไตรปิฎก ภาษาบาลี, พระไตรปิฎกภาษาจีน และพระไตรปิฎกภาษาธิเบตนั่นเอง พระไตรปิฎกภาษา จีน มีลักษณะพิเศษกว้างขวางโอบอุ้มเอาคติธรรมต่างๆ ในพระไตรปิฎกบาลีกับธิเบตไว้ ด้วยคือมีปกรณ์ลัทธินิกายสำคัญในพระพุทธศาสนาไม่จำกัดเฉพาะลัทธิมหายานเท่านั้น ลักษณะนี้พระไตรปิฎกบาลีหามีไม่ ส่วนพระไตรปิฎกธิเบตถึงมีอยู่บ้างก็ยังน้อยกว่าฝ่ายจีน ฉะนั้น พระไตรปิฎกจีนจึงเป็นธรรมสาครอันยิ่งใหญ่ที่สุดของพระพุทธศาสนา ในที่นี้จะยก อุทาหรณ์ปกรณ์สำคัญของต่างนิกายที่มีในพระไตรปิฎกจีนมากล่าว เช่นหมวดพระวินัยปิฎก มี:
    ๑. ทศภาณวารสรวาสติวาทวินัย ๖๐ ผูก พระวินัยปิฎกของนิกายสรวาสติวาทิน แปลสู่ภาษาจีนโดยพระปุณยาตระ, พระกุมารชีพ, พระธรรมรุจิ, พระวิมลรักษ์ รวม ๔ รูป เมื่อ พ.ศ. ๙๔๗ - ๙๕๐ ต่อมาสมณะอี้จิงได้แปลวินัยปกรณ์ของนิกายนี้อีก ๑๕ ปกรณ์ ซึ่ง ส่วนมากเป็นเรื่องปลีกย่อย ว่าด้วยเรื่องอุปสมบทกรรม, การจำพรรษา, เภสัชชะและเรื่อง สังฆเภทเป็นต้น
    ๒. จตุรอัธยายธรรมคุปตวินัย ๖๐ ผูก พระวินัยปิฎกของนิกายธรรมคุปต์แปลสู่ ภาษาจีน โดยพระพุทธยศ เมื่อ พ.ศ. ๙๕๓
    ๓. มหาสังฆิกวินัย ๓๐ ผูก พระวินัยปิฎกของนิกายมหาสังฆิกะ แปลสู่ภาษาจีนโดย พระพุทธภัทรกับสมณะฟาเหียน เมื่อ พ.ศ. ๙๖๓ - ๙๖๕
    ๔. ปัญจอัธยายมหิศาสกวินัย ๓๐ ผูก พระวินัยปิฎกของนิกายมหิศาสกะ แปลสู่ภาษาจีน โดย พระพุทธชีวะ กับ สมณะเต้าเซง เมื่อ พ.ศ. ๙๖๖
    ๕. สมันตปาสาทิกาวินัยอรรถกถา ๑๘ ผูก เป็นอรรถกถา พระวินัยปิฎกนิกายเถรวาท แปลสู่ภาษาจีนโดยพระสังฆภัทรเมื่อ พ.ศ. ๑๐๓๒ แต่เป็นฉบับย่อไม่มีพิสดาร เช่น ต้นฉบับบาลี
    ๖. ปาฏิโมกข์ศีลสูตรของนิกายกาศยปิยะ เป็นเพียงหนังสือสั้นๆ มิใช่พระวินัยปิฎกทั้งหมด
    หมวดพระสุตตันตปิฎก ถือตามมติของศาสตราจารย์เหลียงฉีเชาก็มี:
    ๑. เอโกตตราคม ๕๑ ผูก คือ อังคุตตรนิกายของนิกายสรวาสติวาทิน แปลสู่ภาษาจีนโดยพระธรรมนันทิเมื่อ พ.ศ. ๙๒๗
    ๒. มัธยามาคม ๖๐ ผูก มัชฌิมนิกาย ของนิกายสรวาสติวาทิน แปลสู่ภาษาจีนโดย พระสังฆรักษกับพระสังฆเทวะเมื่อ พ.ศ. ๙๔๑
    ๓. ทีรฆาคม ๒๒ ผูก ทีฆนิกายของนิกายธรรมคุปต์ แปลสู่ภาษาจีน โดยพระพุทธยศเมื่อ พ.ศ. ๙๕๖
    ๔. สังยุกตาคม ๕๐ ผูก สังยุตตนิกายของนิกายมหิศาสกะ แปลสู่ภาษาจีน โดยพระคุณภัทรเมื่อ พ.ศ. ๙๘๖
    ส่วนประเภทพระอภิธรรมปิฎก และคัมภีร์ประเภทศาสตร์หรือปกรณ์วิเศษของนิกายต่างๆ ก็มีอุดม เช่น อภิธรรมสังคีติบรรยายปาทศาสตร์ ๒๐ ผูก, อภิธรรมสกันธปาทศาสตร์ ๑๒ ผูก, อภิธรรมวิชญานกายปาทศาสตร์ ๑๖ ผูก, อภิธรรมปกรณะปาทศาสตร์ ๑๘ ผูก, อภิธรรมมหาวิภาษาศาสตร์ ๒๐๐ ผูก, อภิธรรมนยายนุสารศาสตร์ ๘๐ ผูก, อภิธรรมปกรณศาสนศาสตร์ ๔๐ ผูก, อภิธรรมหฤทัยศาสตร์ ๔ ผูก, สังยุกตาภิธรรมหฤทัย ศาสตร์ ๑๑ ผูก, ปกรณ์เหล่านี้เป็นของนิกายสรวาสติวาทิน, อภิธรรมโกศศาตร์ ๒๐ ผูก, คัมภีร์นี้ระคนด้วยลัทธิในนิกายสรวาสติวาทิน กับนิกายเสาตรันติกวาทิน, สารีปุตราภิธรรม ๓๐ ผูก ของนิกายวิภัชวาทิน, อภิธรรมสัตยสิทธิวยกรณศาสตร์ ๑๖ ผูก ของนิกายมหาสังฆิกะหรือนิกายเสาตรันติก หรือนิกายพหุสุตวาทยังไม่แน่นอน จตุราริยสัจจปกรณ์ ๔ ผูก, และคัมภีร์วิมุตติมรรค ๑๒ ผูก คัมภีร์นี้เป็นของนิกายเถรวาทมีเค้าโครงอย่างเดียวกับคัมภีร์ วิสุทธิมรรคมาก ข้าพเจ้าได้เขียนวิจารณ์ไว้ในหนังสือเรื่องน่ารู้ ๑๕ เรื่องแล้ว คุณวิภังคนิทเทศศาสตร์ ๓ ผูก ของนิกายมหาสังฆิกะ, สัมมิติยะศาสตร์ ๒ ผูก ของนิกายสัมมิติ ยะ ฯลฯ
    เฉพาะคัมภีร์ฝ่ายมหายานซึ่งต้นฉบับสันสกฤตที่ตกค้างเหลืออยู่ในปัจจุบันมีไม่ถึง ๑ ใน ๑๐ เพราะเมื่อพวกข้าศึกต่างศาสนารุกรานเข้ามาในอินเดียได้เที่ยวเผาวัดวาอารามของพระพุทธศาสนา ทำลายพระไตรปิฎกเสียมากกว่ามาก มหาวิทยาลัยนาลันทาและมหาวิทยาลัยวิกรมศิลา ซึ่งเป็นสถาบันศึกษาพระพุทธศาสนาสูงสุดในสมัยนั้น ก็ถูกเผาเสียป่นปี้ คัมภีร์ต่างๆ จึงสูญหายไปมาก ที่ยังเหลือตกค้างอยู่บ้าง ก็เป็นด้วยภิกษุสงฆ์พาหนีไป กับหลบทารุณภัยเข้าไปอยู่ในเนปาลบ้าง ในธิเบตบ้าง ประกอบทั้งเมื่อสมัยพระพุทธศาสนา แพร่หลายเข้าไปในประเทศเหล่านี้อยู่ทั้งในเนปาลบ้าง ในธิเบตบ้าง ประกอบทั้งเมื่อสมัยพระพุทธศาสนา แพร่หลายเข้าไปในประเทศเหล่านี้ได้พาคัมภีร์สันสกฤตมาเป็นต้นฉบับ จึงพอจะหาได้บ้างก็ที่ตกค้างเหลืออยู่ในเนปาล, ธิเบต, จีน และญี่ปุ่น แต่หาพบใน เนปาลกับธิเบตมากกว่าแห่งอื่นและส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์นิกายมันตรยาน โชคดีที่คัมภีร์ สันสกฤตของลัทธิมหายานได้ถูกแปลถ่ายไว้ในภาษาจีนเป็นอันมาก การศึกษาลัทธิมหายานจึงจำเป็นต้องผ่านทางภาษาจีน ในหนังสือประมวลสารัตถะพระไตรปิฎก แต่งครั้งราชวงศ์หงวน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้บอกจำนวนคัมภีร์ในพระไตรปิฎกจีนพากย์ไว้ดังนี้
    ๑. พระสูตรฝ่ายมหายาน ๘๙๗ คัมภีร์ ๒,๙๘๐ ผูก
    ๒. พระวินัยฝ่ายมหายาน ๒๘ คัมภีร์ ๕๖ ผูก
    ๓. ศาสตร์ฝ่ายมหายาน ๑๑๘ คัมภีร์ ๖๒๘ ผูก
    ๔. พระสูตรฝ่ายสาวกยาน ๒๙๑ คัมภีร์ ๗๑๐ ผูก
    ๕. พระวินัยฝ่ายสาวกยาน ๖๙ คัมภีร์ ๕๐๔ ผูก
    ๖. ศาสตร์ฝ่ายสาวกยาน ๓๘ คัมภีร์ ๗๐๘ ผูก
    รวมทั้งสิ้นเป็น ๑,๔๔๑ คัมภีร์ ๕,๕๘๖ ผูก แต่จำนวนคัมภีร์ในพระไตรปิฎกจีนพากย์นี้ ชำระกันหลายครั้งหลายคราว จำนวนคัมภีร์กับจำนวนผูกเปลี่ยนแปลงไม่เสมอกันทุกคราว ในหนังสือว่าด้วยสารัตถะความรู้จากการศึกษพระไตรปิฎกแต่งครั้งราชวงศ์เหม็ง ได้แบ่งหมวดพระไตรปิฎก เพื่อสะดวกแก่การศึกษาดังนี้
    ๑. หมวดอวตังสกะ
    หมวดนี้มีพระสูตรใหม่สูตรหนึ่งเป็นหัวใจคือ พุทธาวตังสกมหาไวปุลยสูตร ๘๐ ผูก และมีสูตรปกิณณะย่อยๆ อีกหลายสูตร
    ๒. หมวดไวปุลยะ
    มีพระสูตรใหญ่ชื่อมหารัตนกูฏสูตร ๑๒๐ ผูก เป็นหัวใจ นอกนั้นก็มีมหาสังคีติสูตร ๑๐ ผูก, มหายานโพธิสัตว์ปิฎกสูตร ๒๐ ผูก, ตถาคตอจินไตยรหัศยมหายานสูตร ๓๐ ผูก, สุวรรณประภาสสูตร ๑๐ ผูก, กรุณาปุณฑริกสูตร ๑๑ ผูก, มหายานมหาสังคีติกษิติครรภทศจักรสูตร ๑๐ ผูก, มหาไวปุลยมหาสังคีติโพธิสัตวพุทธานุสสติสมาธิสูตร ๑๐ ผูก, จันทร ประทีปสมาธิสูตร ๑๑ ผูก, ลังกาวตารสูตร ๗ ผูก, สันธินิรโมจนสูตร ๕ ผูก, วิเศษจินดาพรหมปุจฉาสูตร ๔ ผูก, อักโษภยพุทธเกษตรสูตร ๒ ผูก, ไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาสปูรวประณิธานสูตร ๒ ผูก, มโยปมสมาธิสูตร ๓ ผูก, ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร ๑ ผูก, อมิตายุรธยานสูตร ๑ ผูก, มหาสุขาวดีวยูหสูตร ๒ ผูก, อจินไตยประภาสโพธิสัตวนิทเทสูตร ๑ ผูก, ศูรางคมสมาธิสูตร ๓ ผูก, วิมลกีรตินิทเทศสูตร ๓ ผูก, และอื่นๆ อีกมากสูตรนัก ฯลฯ อนึ่งคัมภีร์ฝ่ายลัทธิมนตรยานก็จัดสงเคราะห์ลงในหมวดไวปุลยะนี้ มีพระสูตรสำคัญ เช่น มหาไวโรจนสูตร ๗ ผูก, เอกอักขระพุทธอุษฯราชาสูตร ๖ ผูก, มหามณีวิปุลยะวิมาน วิศวศุภประดิษฐานคุหยปรมรหัสยะกัลปราชธารณีสูตร ๓ ผูก, สุสิทธิกรสูตร ๓ ผูก, วัชร เสขรสูตร ๗ ผูก, โยคมหาตันตระราชาสูตร ๕ ผูก, มหามรีจิโพธิสัตวสูตร ๗ ผูก, วัชรเสข ระประโยคโหมตันตระ ๑ ผูก, มหาสุวรรณมยุรีราชาธารณีสูตร ๒ ผูก ฯลฯ
    ๓. หมวดปรัชญา
    มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรัชญาปารมิตาสูตร ๖๐๐ ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น ราชไมตรีโลกปาลปารมิตาสูตร ๒ ผูก วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร ๑ ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ
    ๔. หมวดสัทธรรมปุณฑริก
    มีพระสูตรใหญ่ ชื่อสัทธรรมปุณฑริกสูตร ๘ ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น อนิวรรตธรรมจักรสูตร ๔ ผูก, วัชรสมาธิสูตร ๒ ผูก, มหาธรรมเภรีสูตร ๒ ผูก, สมันตภัทรโพธิสัตวจริยธรรมธยานสูตร ๑ ผูก เป็นอาทิ ฯลฯ
    ๕. หมวดปรินิรวาณ
    มีพระสูตรใหญ่ ชื่อมหาปรินิรวาณสูตร ๔๐ ผูก เป็นหัวใจ มีสูตรปกิณณะ เช่น มหากรุณาสูตร ๕ ผูก, มหามายาสูตร ๒ ผูก, มหาเมฆสูตร ๔ ผูก, อันตรภาวสูตร ๒ ผูก เป็น อาทิ ฯลฯ
    พระวินัยลัทธิมหายาน
    ลัทธิมหายานมิได้มีภิกขุปาฏิโมกข์เป็นเอกเทศ คงปฏิบัติวินัยบัญญัติตามพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายสาวกยาน แต่มีแปลกจากฝ่ายสาวกยานคือ โพธิสัตวสิกขา เพราะลัทธิมหายานสอนให้มุ่งพุทธิภูมิ บุคคลจึงต้องประพฤติโพธิจริยา มีศีลโพธิสัตวเป็นที่อาศัย วินัยโพธิสัตวนี้สาธารณทั่วไปแม้แก่ฆราวาสชนด้วย มีโพธิสัตวกุศลศีลสูตร ๙ ผูก, พุทธ ปิฏกสูตร ๔ ผูก, พรหมชาลสูตร (ต่างฉบับกับบาลี) ๒ ผูก, โพธิสัตวศีลมูลสูตร ๑ ผูก และอื่นๆ อีก พึงสังเกตว่าเรียกคัมภีร์เหล่านี้ว่า
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เป็นบทความที่ดีนะครับ อนุโมทนาครับ ถึงแม้จะไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แต่ก็จะพยายามครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...