ประวัติหลวงปู่เจี๊ยะ...พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 8 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หวังบวชก่อนเบียด

    พออายุครบบวช ก็มีความปรารถนาจะบวช แต่ก็ติดเรื่องเกณฑ์ทหาร จึงรอเกณฑ์ทหารเสียก่อน หลังจากเกณฑ์ทหารที่จันท์ไม่ถูก เพราะได้ประเภทดี ๒ คัดออกไว้ก่อน เขารับสมัครทหารใหม่ ๔๐ กว่าคน มีคนมาสมัครครบจำนวน เราจึงรอดตัวไม่ต้องเป็นทหาร เมื่อเกณฑ์ทหารเสร็จแล้วก็ยังไม่ได้บวชอีก หลังจากเกณฑ์ทหาร ๒ ปีถึงได้บวช มีความคิดไว้ในใจว่า บวชเสร็จสึกออกมาค่อยแต่งงานกับคนที่เรารัก พอบวชไปแล้วสมาธิมันเกิด มันไม่สนใจทางโลกอีกเลย

    การอุปสมบทในครั้งนี้ เราเป็นผู้มีจิตศรัทธาขึ้นมาเอง อยากบวชด้วย เบื่อด้วย เบื่อพี่สาวมัน เราทำงานแทบตาย ขอเงินก็ไม่ค่อยจะให้ มีเท่าไหร่เก็บเรียบ จึงเป็นเหตุให้บวชอยู่อันหนึ่งเหมือนกัน การบวชไม่มีใครมาบังคับชักชวนแต่อย่างใด เพียงเพราะในใจคิดว่า สมควรแก่เวลาและอายุที่จะทดแทนบุญคุณของท่านผู้มีคุณทั้งหลายได้แล้ว อีกทั้งในขณะนั้นพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์สายท่านพระอาจารย์มั่น ก็จาริกธุดงค์มาประกาศเทศนาธรรมให้คนทั้งหลายละชั่วสร้างความดีในจังหวัดจันทบุรี และก็เดินทางมาที่บ้านหนองบัวซึ่งเป็นบ้านเกิดของเรา ซึ่งในสมัยนั้นพระกรรมฐานแถบทางภาคตะวันออกยังไม่ค่อยมี ก็มีท่านพ่อลี ธมฺมธโร และพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ นี่แหละเป็นผู้นำมาเผยแพร่ ชาวพุทธทางภาคตะวันออกถึงได้ทราบเรื่องราวของพระกรรมฐานและการภาวนา
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นาคเจี๊ยะ

    การเตรียมตัวอุปสมบทต้องไปเป็นผ้าขาว รักษาศีลประพฤติธรรม เรียนรู้วัตรปฏิบัติที่จะพึงกระทำ ต่อวัดและครูบาอาจารย์ จนท่านเห็นว่าสมควรก่อน ท่านถึงจะให้บวช ถ้าปฏิบัติไม่ได้ ทำไม่ได้ ท่านก็ยังไม่ให้บวช ธรรมเนียมพระป่ากรรมฐานท่านเคร่งครัดนักเรื่องเหล่านี้ ไม่ใช่สุ่มสี่สุ่มห้ามาจากไหนจะมาบวชได้ง่าย ๆ ต้องได้รับการฝึกอบรมเสียก่อน จึงจะบวชเป็นพระได้แม้ตัวเราเองก็เช่นกัน ต้องเป็นตาปะขาว รับใช้ติดตามครูบาอาจารย์อยู่ตั้งหลายเดือน ในระหว่างนั้นต้องหัดขานนาค ออกเสียงอักขระฐานกรณ์ที่เป็นภาษามคธให้ถูกต้อง เสียง ทีฆะ รัสสะ เสียงออกนาสิก เสียงโฆสะ อโฆสะ ฯลฯ และต้องฝึกกราบ ต้องหัดภาวนาเรียนกรรมฐาน ฟังเทศน์ฟังธรรมจากท่านอาจารย์กงมาเป็นประจำทุกเช้าเย็น ก่อนที่ยังไม่ได้โกนศีรษะ ด้วยความซุกซนอันเป็นแบบฉบับส่วนตัว ก็ได้แอบหนีมาเยี่ยมบ้านเหมือนกัน แต่เมื่อโกนศีรษะรับศีลเป็นตาปะขาวเต็มตัวแล้วก็ไม่ได้กลับบ้านอีกเลย จนกระทั่งได้บวช
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จิตรวมตอนเป็นนาค

    ครั้งหนึ่งตอนที่มาเข้านาคได้ไม่นานนัก อยู่ระหว่างการฝึกขานนาค ท่องบทสวดต่าง ๆ คืนหนึ่งฟังเทศน์ท่านอาจารย์กงมาฯ ท่านเทศน์ตามปกติทุก ๆ วัน ท่านก็แสดงธรรมของท่านไปเรื่อย ๆ เราก็ฟังเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง ท่านสอนให้ภาวนาพุทโธ เราก็ภาวนาพุทโธอยู่อย่างนั้น นั่งเข้าสมาธิฟังเทศน์อยู่อย่างนั้น อันนี้มันก็เป็นเหตุที่แปลกอยู่นะ

    พอเรานั่งภาวนา ฟังไป ๆ จิตอยู่กับคำบริกรรม หูก็ได้ยินเสียงเทศน์ไป คือจิตก็ทำหน้าที่ของมัน หูก็ทำหน้าที่ของมัน มันเกิดเป็นสมาธิ แต่ตอนนั้นเราไม่รู้ว่ามันเป็นสมาธิ มันรวมจนกระทั่งว่าไม่มีตัว ไม่มีตน ตัวตนหายหมด แล้วก็ปรากฏภาพนิมิต ที่ตัวเองนี้มาปรากฏหมอบลงไปฟุบกับกองทรายที่เป็นทรายขาวอยู่ในบริเวณวัดนั้นอย่างชัดเจน ตัวนี้อ่อนไปหมด ปรากฏว่าในขณะนั้นเราปรากฏว่าตัวเองไม่มีตัวตน จนกระทั่งท่านแสดงธรรมจบลง เราถึงรู้สึกตัว ตอนนั้นท่านแสดงธรรมนานมาก ทีหนึ่งเป็นชั่วโมงๆ ขึ้นไป เมื่อจิตถอนออกมา ออกจากที่ภาวนาก็คลานเข้าไปถามท่านว่า

    “ท่านอาจารย์ครับ เมื่อตะกี้ทำไมผมนั่งฟังเทศน์ท่านอาจารย์ ผมไม่มีตัว ตัวผมหายไปไหน แต่สักประเดี๋ยวตัวผมนี่ ไป...ไปหมอบอยู่ที่...ที่กองทรายนั่นน่ะ ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้นครับ”

    คำถามนี้เราถามท่าน เพราะก็อธิบายไม่ถูก และไม่รู้จะถามท่านอย่างไร เพราะตั้งแต่เกิดมาไม่เคยเป็นเช่นนี้ ที่กล้าถามท่าน เพราะความตื่นเต้นตื่นตาตื่นใจ ที่ชีวิตหนึ่งชีวิตนี้เราได้เห็นอย่างนั้น

    ท่านก็บอกว่า “ไม่เป็นไร...เออ...ทำไป...ทำไป...ดีแล้วนะ” ท่านว่าอย่างนั้น เราก็ภูมิใจว่าเราทำถูกต้อง การมีครูบาอาจารย์ดี ท่านรู้จริงผ่านการปฏิบัติมา สอนแบบมีหลักเกณฑ์ไม่สุ่มเดาจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก อาจารย์เป็นบัณฑิตท่านก็ย่อมสอนในแนวทางเจริญเพื่อความเป็นบัณฑิต แต่ถ้าอาจารย์โง่เขลาสอนแบบสุ่มสี่สุ่มห้า มันก็เหมือนคนตาบอดจูงคนตาบอด อาจารย์ก็ตาบอด แล้วจะมาสอนลูกศิษย์ที่ตาบอดอยู่แล้วให้ตาดี อันนี้มันเป็นไปได้ยากยิ่งนัก

    นี่...แหละขั้นต้นแห่งการเข้ามาสู่วัด เป็นขั้นตอนที่จะเข้ามาบวช เริ่มแรกจิต มันเป็นอย่างนี้มันก็เป็นการปูพื้นฐานทางด้านจิตใจ ให้ฝักใฝ่ในคุณธรรมที่สูงๆ ขึ้นไป อันเป็นการเลื่อนขั้นของจิตให้สูงขึ้น เพราะจิตมนุษย์มีหลายขั้นหลายตอน จิตหยาบ จิตละเอียด และอาศัยบุญวาสนาเป็นเครื่องหนุนส่งอยู่เบื้องหลัง เมื่อเรามีบุญ เคยสร้างบุญมาแต่ชาติปางก่อน ประกอบกับเกิดมาเจอพุทธศาสนา อันเป็นประเทศที่สมควรแก่การประพฤติธรรมยิ่ง ประการสุดท้าย ถ้าเราตั้งตนไว้ชอบแล้ว การภาวนาก็เป็นเรื่องที่เราทุกคนสามารถทำได้

    ในชีวิตเราเกิดมาก็ไม่เคยพบความสงบอย่างนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตมันก็ฉุกคิดขึ้นมาว่า “นั่นอะไรล่ะ...ความสุข” การเข้ามาวัดวา เมื่อปฏิบัติได้ก็เป็นอย่างนี้

    ชีวิตที่จะมีความสุขอันแท้จริงในโลกมันไม่มี แต่เราเข้าใจว่ามี ถ้ามองให้ลึกซึ้งอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแล้ว ไม่มีเลยความสุขในโลก ความสุขอันนั้นเป็นความสุขอันเจือไปด้วยความเร่าร้อนกระสับกระส่าย อย่างมีเงินมากๆ ก็กลัวเขาจะจี้ปล้น กลัวเขาจะมาแย่งมาชิงไปเรียกค่าไถ่ สารพัดสารเพ ต้องเป็นทุกข์กังวลรักษา ฝากที่นั่นที่นี่ก็ไม่ดี พกไปมากก็ไม่ดี กลัวจะถูกจี้ จะถูกปล้น จะถูกฆ่าตาย...นี่...สารพัดสารเพ กลัวคนอื่นจะแย่ง คนนี้จะแย่ง พี่น้องอย่างนั้นอย่างนี้ สารพัดใจนั้น คิดไปทุกแง่ทุกมุม นั่น...ใจอย่างนั้น ใจมันก็กังวล ใจเดือดร้อนวุ่นวายอย่างนั้น ไม่ใช่ใจที่สงบ อย่างที่เรามาทำอย่างนี้ มันก็มุ่งเพื่อความสงบ แต่ก็ต้องอาศัยการนึกคิด เพื่อต่อสู้กับสิ่งที่มันจะมาก่อกวนความไม่สงบของใจ เพราะการว่า หรือการบริกรรมอันใดอันหนึ่งอย่างนี้ มันเป็นเครื่องต่อสู้กันนี่ ต้องเข้าใจอย่างนั้น

    สมมุติว่าใจเรานี้ไม่สบาย มันไม่สบายอันใด ก็จ้องเอาสิ่งนั้นมาคิด ทำไมอันนั้นไม่สบายใจ ไปวิตกอันใดใจจึงไม่สบาย เอาเรื่องนั้นมาพิจารณา ๆ ซักไม่เกิน ๕ นาที ใจนั้นก็จะเกิดความสงบ ใจก็สบาย แต่ทีนี้เราไม่เป็นอย่างนั้น ยิ่งคิด ยิ่งโศก ยิ่งเศร้า ยิ่งอาลัยอาวรณ์สิ่งอันนั้นให้เกิดขึ้น ใจก็ยิ่งเหี่ยวยิ่งแห้ง ยิ่งไม่มีกำลังวังชา หมดเรี่ยวแรง เลยป่วยไข้แทบตาย บางทีก็ตายเลย นี่มันเป็นอย่างนั้น นี่ไม่ใช่วิธีต่อสู้ มันไม่ใช่วิธีผลักดันเพื่อความเป็นผู้ชนะ มีแต่แพ้อยู่ตลอดเวลา อย่างนั้นไม่ใช่นักรบ ยื่นคอไปให้เขาฟันเลย นี่เป็นเช่นนั้น
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พ่อแม่ลำบากเลี้ยงเรา

    <TABLE width=200 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    วัดจันทารามที่หลวงปู่อุปสมบท




    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อเข้ามาเป็นนาคได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ก็ให้หวนรำลึกถึงบุญของบิดามารดาว่าท่านลำบากมากนะที่เลี้ยงเรามา ฟังพระท่านเทศน์แล้วทำให้คิดว่า การมีครอบครัวเป็นความทุกข์อย่างมหันต์ เหมือนตกนรกทั้งเป็น แต่คนเราที่จะมองออกนั้นมองยาก เพราะถ้าจิตใจไม่สงบจริงๆ จะมองไม่เห็นโทษภัยของสิ่งเหล่านี้ได้เลย ถึงมองออกก็ไม่ชัดเจน ไม่ถึงจิตถึงใจ แทนที่จะเห็นเป็นยาพิษ แต่กลับเห็นเป็นแค่ขนมหวานๆ ชวนลิ้มชวนลอง ใจคนที่มีกิเลสส่วนมากก็ต้องคิดอย่างนั้น คำโบราณท่านว่าไว้น่าฟังมากว่า “ดีๆ เอาไว้ให้ลูก สุกๆ เอาไว้ให้เมีย เสียๆ เอาไว้กินเอง”

    อันนี้ถูกต้องที่สุด ผู้ชายดี ๆ ที่เขามีครอบครัวทางโลก เวลาทุกข์เวลาจนนั้น อย่างเช่นเดินเข้าไปในป่าอย่างนี้ ไปเจอต้นมะม่วงลูกดกร่วงลงมา ลูกสวย ๆ เอาไว้ให้ลูกกิน ลูกสุกๆ เอาไว้ให้เมีย ลูกเสียๆ เอาไว้กินเอง แต่เวลากินลูกเสียๆ ไม่ค่อยบอกลูกบอกเมีย เก็บไว้กินคนเดียว บางทีเขาจึงพูดแซวคนที่แต่งงานกันว่า “สวยๆ เอาไว้ให้ลูก สุก ๆ เอาไว้ให้เมีย เสีย ๆ เอาไว้กินเอง” นั่นชีวิตทางโลกมันเป็นอย่างนั้น

    ดีๆ เอาไว้ให้ลูก อันไหนสิ่งใดที่ดีๆ เก็บงำรักษาแสวงหาไว้ให้ลูกหมด คนที่เป็นพ่อเป็นแม่จึงลำบากมาก ไม่มีเวลาเป็นของตัวเอง ทีนี้เมื่อคิดอย่างนั้นก็ยิ่งทำให้เราคิดมาก มาอยู่วัด ๙ วัน ๑๐ วัน คิดถึงสาวแทบเป็นแทบตาย พ่อแม่เลี้ยงมาแทบเป็นแทบตาย ยังไม่ได้ทดแทนพระคุณยังจะมานึกฝันหวานไปว่า “บวชสึกแล้วจะไปแต่งงานกับแป้ง (คนรัก)” แทนที่จะคิดเรื่องพ่อเรื่องแม่ก่อน ใจมันกลับไปคิดถึงเรื่องผู้หญิงก่อน เพราะสัญญากันไว้ว่า บวชเสร็จ สึกแล้วจะไปขอ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บิดามารดาเป็นผู้ที่เกื้อกูลอุปการะเลี้ยงดู

    คนเราทุกคนเมื่อไม่ได้เข้ามาอบรม มันก็เป็นสิ่งที่ไม่รู้ ไม่รู้ว่าเรานั้นมีธรรมะอยู่ในตัวของเรา แต่เรายังไม่ได้ใช้ เราเอาไปใช้กับโลกทั้งหมด เลยไม่เป็นอันที่จะเอามาใช้ในทางธรรม ความดีมันอยู่ที่ตัวเรานี่ ที่จะต้องทำ แต่ทีนี้เรามีพ่อมีแม่ พ่อแม่ก็มีคุณสมบัติในเรื่องทางโลก ต้องการให้ไปหาเงินหาทอง และต้องการให้มีครอบครัว นี่...ถ้าว่าถึงความจริงละก้อ มันเป็นตัวถ่วงอย่างมหันต์ มองดูให้ลึก ๆ มองดูให้ถึงใจที่สงบแล้ว การมีครอบครัว มีลูกมีเต้า เลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน นั่นแหละมันแสนที่จะกังวลเดือดร้อนวุ่นวาย ไม่มีเวลาที่จะได้ทำบุญทำทาน โอกาสเวลาจะนั่งภาวนาก็ไม่มี แต่คนเราไอ้ทางโลกมันนิยมกันอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจึงว่ามันเป็นสิ่งที่ยาก เมื่อเป็นอย่างนั้นเข้าแล้วการที่นั่งภาวนารักษาศีลมันก็ไม่ค่อยมีเวลา

    <TABLE width=150 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หนังสือสุทธิของหลวงปู่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ฉะนั้นทุกคนที่เกิดขึ้นมาบนโลก ต้องการความสุขอันแท้จริงของชีวิต แต่คนเราที่เกิดขึ้นมาในโลกแล้ว มันก็ย่อมมี ราคะ โทสะ โมหะ สิ่งทั้งปวงเหล่านี้เข้ามาครอบงำหัวใจ โดยที่เราไม่เคยฝึกหัดอบรมในสิ่งเหล่านี้ มันก็ย่อมลุ่มหลงไปตามธรรมดาของโลกเหล่านั้น


    เพราะฉะนั้น เราเกิดมาทุกคนก็มีบิดามารดาเป็นผู้ที่เกื้อกูลอุปการะเลี้ยงดู เป็นปัจจัยสำคัญในชีวิต ถ้าไม่ได้ท่านทั้งสองเป็นผู้เลี้ยงดูอุดหนุนแล้ว ชีวิตก็ต้องแตกดับทำลาย หรือเป็นคนที่พิกลพิการต่างๆ นานา อย่างนี้เป็นต้น เมื่อวัยพอสมควรเลี้ยง ทะนุถนอมเลี้ยง พอมีวัยพอสมควรก็ให้การศึกษาเล่าเรียน อย่างนี้จนกระทั่งได้รับการศึกษาจนสำเร็จนิติภาวะ เป็นผู้ที่ได้สำเร็จในการศึกษาดีแล้ว หน้าที่บิดามารดาก็ต้องคิดให้สร้างโลกสร้างสงสาร เพื่อที่จะได้สืบตระกูลไปอย่างนั้นตามธรรมดาของใจ มันก็มีความปรารถนาดิ้นรนกระวนกระวายอยู่อย่างนั้น แล้วก็เลยต้องตามใจผู้ปกครองเรียกว่าบิดามารดาของเรา

    การกระทำเช่นนั้น พระพุทธเจ้าทรงติเตียนประการหนึ่งโดยชั้นธรรมะสูงๆ แต่ก็ต้องเป็นตามนิสัยสัตว์โลกเปลี่ยนแปลงในภาวะ เป็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา

    จนสืบเนื่องกันมาตั้งแต่ขั้นพุทธกาล จนมาถึงพวกเราปัจจุบันนี้ สืบเนื่องกันมาอย่างนี้ แต่ว่านั่นแหละ ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อบุคคลได้เข้ามาอบรมฝึกหัด ปฏิบัติทำใจให้เกิดความสงบแล้ว ก็ย่อมจะเกิดความเบื่อหน่ายในวัฏฎสงสารของโลกทั้งหลายเหล่านี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้ามองกันในแง่ของวัตถุนานาประการแล้ว ความเจริญ ความรุ่งเรือง ก็น่าเป็นที่ลุ่มหลงเพลิดเพลิน น่ายินดี สนุกสนานร่าเริงด้วยประการต่าง ๆ ถ้ามองเข้ามาภายใน คือเรียกว่า ขจัดปัดเป่าใจของเราให้สงบแล้วอย่างนั้น เมื่อในขณะที่ใจของเราสงบอย่างนั้นแล้ว มองออกไป นึกคิดออกไปอย่างนั้น ก็มีแต่ผลสะท้อน คือให้ความวุ่นวายของใจนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา นี่เพราะฉะนั้น พวกที่มีคุณธรรมอย่างสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรืออริยสาวกผู้ที่ไกลจากกิเลส เหล่านี้เป็นต้น ท่านจึงหลีกเร้นไปอยู่ที่อันสงบสงัดเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวน เป็นอย่างนั้น เพราะสถานที่เหล่านั้นเป็นที่บำเพ็ญความสงบสงัดของใจท่านให้ได้รับความร่มเย็น
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การอุปสมบท

    <TABLE width=100 border=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD><TD align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle>
    พระครูครุนารถสมาจาร (เศียร)




    </TD><TD align=middle>พระครูพิพัฒน์พิหารการ (เชย)


    </TD><TD align=middle>พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร


    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    เราบวชเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ เวลา ๑๖.๑๙ น. ณ พัทธสีมาวัดจันทนาราม อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยมี

    พระครูครุนารถสมาจาร (เศียร) เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระครูพิพัฒน็พิหารการ (เชย) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ท่านพ่อลี ธมมธโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้ฉายาว่า “จุนฺโท” แปลว่า “ผู้หมดกิเลสเครื่องร้อยรัด”

    ในขณะนั้นเรามีอายุได้ ๒๑ ปี ๑ เดือน กับ ๕ วัน จึงเป็นพระรูปแรกที่ท่านพ่อลีเป็นคู่สวดบวชให้ เมื่อบวชที่วัดจันทนารามเสร็จแล้ว ก็กลับมาจำพรรษาที่วัดทรายงามเป็นเวลา ๓ พรรษา ท่านพ่อลีกับพระอาจารย์กงมาท่านเป็นอาจารย์องค์แรกของเรา....


    วัดจันทนาราม

    วัดจันทนาราม ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำจันทบุรี ตั้งอยู่ตรงข้ามวัดโบสถ์เมือง ตำบลจันทนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เป็นวัดราษฎร์ เป็นที่อยู่ของเจ้าคณะจังหวัดจันทบุรี-ระนอง-ตราด เดิมจริง ๆ วัดนี้มีต้นจันทน์ใหญ่หลายต้น ตั้งอยู่บริเวณบ่อน้ำในวัดนี้ อาศัยต้นจันทน์เป็นเหตุจึงตั้งชื่อว่า “วัดจันทนาราม”
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พรรษาที่ ๑-๓ (พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๒)

    จำพรรษาที่วัดทรายงาม ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง


    จังหวัดจันทบุรี

    วัดทรายงามตั้งอยู่บ้านหนองบัว ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เหตุที่ได้ชื่อว่า วัดทรายงาม ก็เพราะเหตุที่พื้นที่ในบริเวณวัดเป็นทรายขาวคล้ายสำลีงดงามมาก พระอาจารย์กงมา จึงอาศัยเครื่องหมายนี้ตั้งเป็นชื่อของวัด

    วัดนี้มีเนื้อที่ ๓๑ ไร่ ๖๓ ตารางวา ทิศเหนือติดกับโรงเรียน ทิศใต้ติดต่อกับที่นายจู๊ด วิธีเจริญ ทิศตะวันออกติดต่อกับที่นายฉง บุญสร้าง ทิศตะวันตกติดกับถนนหลวง

    ชาวบ้านผู้ที่อาสาจะไปนิมนต์พระอาจารย์กงมา มาอยู่ที่วัดทรายงาม มีนายเสี่ยน, นายหลวน, ผู้ใหญ่อึก, นายจิ๊ด, นายซี่, นายแดง รวมเป็น ๖ คน เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ปี พ.ศ. ๒๔๗๙

    <TABLE width=150 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ประตูทางเข้าวัดทรายงาม



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่อได้พบกับท่านอาจารย์กงมา ก็เข้าไปนิมนต์ ท่านอาจารย์จึงพูดขึ้นว่า

    “ให้พวกโยมอธิษฐานดูเสียก่อน ถ้าดีก็มารับ ถ้าไม่ดีก็อย่ามา ให้พากันกลับไปเสียก่อน ให้ไปเสี่ยงความฝัน ถ้าฝันดีคอยมารับ ถ้าฝันไม่ดีก็อย่ามา”

    ในขณะนั้นนั่นเองนายหลวนก็พูดขึ้นว่า

    “ท่านอาจารย์ขอรับ กระผมฝันดีมาแล้ว ฝันก่อนจะมาเมื่อคืนนี้ คือฝันว่าได้ช้างเผือกสองตัวแม่ลูก รูปร่างสวยงามมาก แต่เมื่อเอามือลูบคลำเข้าแล้ว ช้างเผือกสองแม่ลูกเลยกลับกลายเป็นไก่ขาวไป”

    ท่านอาจารย์ได้สดับเช่นนั้น นั่งนิ่งพิจารณาว่า

    “เออ! ดี แล้วถ้าอย่างนั้นเราก็ตอบตกลงที่จะไปบ้านหนองบัว วันพุธขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ ตรงกับวันที่ ๑๗ มีนาคม (๒๔๗๙) ให้มารับ”

    เมื่อถึงวันที่กำหนดชาวบ้านก็พากันมารับ ๔ คน คือ นายสิงห์, นายแดง, นายซี่, นายเสี่ยน

    ถึงเวลาบ่าย ๔โมงตรง ไปกัน ๒ รูป คือพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ กับสามเณรอีกหนึ่งองค์ เมื่อมาถึงแล้วได้เข้าพักที่ป่าช้าผีดิบ (วัคทรายงามปัจจุบัน) ญาติโยมทั้งหลายที่รออยู่ได้กุลีกุจอพากันทำกระท่อมพอได้อาศัย พอตกเย็น ๆ มีคนพากันมาฟังเทศน์เป็นจำนวนมาก เมื่อท่านแสดงธรรมเสร็จทุกคนพากันเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อัศจรรย์โก่ขาว

    ขอย้อนกลับไปเรื่องไก่ขาว ที่โยมหลวนเป็นคนฝัน แกฝันว่าได้ช้างเผือก ๒ เชือก แม่ลูก เมื่อลูบคลำแล้ว กลับกลายเป็นไก่ขาวไป

    <TABLE width=150 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เรื่องความฝันน่าจะเป็นเรื่องเล่น แต่ถ้าความฝันกลายเป็นความจริงขึ้นมาแบบเป็นตัวเป็นตนนี้ความฝันนั้นมันก็นาอัศจรรย์อยู่ไม่น้อย เรื่องไก่ขาวตัวนี้ก็เช่นกัน ทำให้ชาวบ้านทั้งพระทั้งเณรพากันแตกตื่น เหมือนกับทุกคนจะบอกว่า มันแปลกดีนะ

    ไก่ขาวตัวนี้เป็นไก่ของเจ๊กเบ๊ ห่างจากป่าช้าที่พระอาจารย์กงมาพักระยะทาง ๑ ทุ่งนา และต้องข้ามไปอีก ๑ ดอน (ประมาณ ๑ กม.) ในบ้านเจ๊กเบ๊นั้นมีไก่เยอะแยะ คืนวันที่พระอาจารย์กงมา มาถึงป่าช้าผีดิบ ก็เป็นวันเดียวกันกับที่เจ้าของไก่จะจับมันไปต้มยำมาเลี้ยงพระในตอนเช้า เจ๊กเบ๊เข้าไปไล่ตะลุมบอนจับมันในเล้า ตัวไหนก็ไม่เอา กะจะเอาตัวนี้มันอ้วนพีดีนัก เล้ามันสูงจับยังไงก็ไม่ได้ มันหนีตายสุดฤทธิ์ ในที่สุดเจ๊กเบ๊หมดความพยายาม คิดไว้ในใจว่าพรุ่งนี้จะเอาใหม่ คือจะฆ่าด้วยวิธีใหม่ กลางคืนฆ่ายาก จะพยายามฆ่ากลางวันแสก ๆ ด้วยการยิงเป็นต้น พอคิดอย่างนี้เสร็จก็เข้านอนเพราะความเหนื่อยล้าที่ไล่ฆ่าไก่ขาวไม่ได้

    พอวันรุ่งขึ้นวันใหม่เท่านั้นแหละไก่ขาวตัวนั้นก็ได้ขันแต่เช้ากว่าเพื่อนเหมือนจะระบายอะไรบางอย่างที่อัดอั้นตันใจ ที่เขาเลี้ยงมาใช่อื่นใดนอกจากฆ่า สัตว์อื่นนอกจากเรานี้หนาไม่มีสัตว์อะไรที่จะซวยเท่า คือเขาเลี้ยงดีอย่างไร ก็เพื่อฆ่าแกงเท่านั้น เพื่อนที่ซวยที่อยู่ไม่ไกลนักอยู่ข้างคอกใกล้เคียงก็คือหมู ตอนเล็กๆ เจ๊กเขาก็เลี้ยงดีเหมือนกันกับเรา แต่พอโตขึ้นอ้วนๆ หายไปทุกที สงสัยไปตาย คิดอย่างนี้ไก่ขาวก็จิตใจไม่ดี เดินกระวนกระวายระมัดระวังภัยในวันนี้เป็นพิเศษเพราะ เมื่อคืนนี้รอดมาได้ วันนี้อาจจะไม่เป็นเช่นนั้น คิดๆ เสร็จก็คุ้ยเขี่ยหาอาหารแต่เช้ามืด เพื่อตุนเอาแรง พร้อมๆ กับความไม่มั่นใจในการลอบหนีออกจากบ้าน

    พอได้เวลาอรุณรุ่ง มองเห็นพอสลัวๆ แต่พอมองออกว่าอะไรเป็นอะไร เป็นเวลารำไร เมื่อพระอาทิตย์อุทัยส่องแสง ไก่ขาวก็รีบขัน กระโจนพุ่งโบยบินออกจากเล้า บินร่อนไปจับกิ่งไม้ขันไปเรื่อยๆ แต่มันไม่ไปที่อื่น มันดันตรงมาที่ชายวัดที่ท่านอาจารย์กงมาอยู่พอดิบพอดี เจ้าของคือเจ๊กเบ๊... ก็ติดตามมาอย่างกระชั้นชิด พยายามไล่จับและไล่กลับ ไล่มันกลับไปที่บ้านตัวเองได้ถึง ๓ ครั้ง ๓ หน

    <TABLE width=150 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    ศาลาเก่าวัดทรายงาม



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ครั้งที่ ๓ นี้มันสำคัญมาก ที่จะต้องจารึกไว้ในชีวประวัติของไก่ขาวตัวนี้ มันหนีมาแล้วบุกตะลุยแหวกผู้คนมาถึงกุฏิท่านอาจารย์กงมาเลยทีเดียว เจ๊กเบ๊ก็ไม่กล้าเข้าไปตาม มันก็อยู่ที่นั่นไม่ไปที่ไหนเข้าไปอยู่ใกล้ ๆ ท่านอาจารย์ หากินอยู่ที่นั่น นอนอยู่ที่นั่น แสดงถึงความเป็นผู้เจอะเจอที่สัปปายะ คนทั้งหลายก็มาดูมันอยู่ที่นั่น

    อยู่มากันหนึ่งท่านอาจารย์ย้ายไปนอนกุฏิอื่นเจ้าไก่ขาวมันก็ตามไปด้วยท่านย้ายไปหลังไหนวันไหน มันก็ย้ายตามไปหลังนั้นวันนั้นเหมือนกัน เป็นอย่างนี้อยู่โดยตลอด ท่านอาจารย์สั่งสอนให้มันขึ้นไปนอนบนต้นไม้ต้นไหน มันก็ขึ้นต้นนั้น บอกให้หยุด...มันก็หยุด! บอกให้เดิน...มันก็เดิน! มันทำให้ท่านรักสงสารเหมือนมันรู้ภาษาท่านพูด

    เมื่อท่านอาจารย์อ่านหนังสือวินัย เจ้าไก่ขาวก็ไปอยู่ข้าง นั่งอยู่ข้าง ๆ นอนอยู่ข้าง ๆ อย่างน่าอิจฉา มันเหลือบตามองบ้างดูบ้าง ดูหนังสือที่ท่านจับอยู่นั้น คนทั้งหลายก็เฮฮากันมาดู ต่างก็พูดว่า “ไก่ตัวนี้มันเป็นอะไร”

    ครั้นต่อมาอีกไม่นานนัก คนทั้งหลายก็เที่ยวล้อเล่นกับมัน หลอกมันต่าง ๆ นานา ด้วยความน่ารัก มันก็ชักจะรำคาญจึงเกิดการเตะตีคนขึ้น เป็นอันว่าใครมากวนมัน มันเตะเลย เมื่อเป็นเช่นนั้น

    ศาลาหลังเก่าวัดทรายงาม

    เด็กน้อยเด็กเล็กมากัด มาเล่นกับมัน มันเตะหมด ไม่มีใครกล้าทำอะไรมันเพราะมันเป็นไก่ท่านอาจารย์ไปแล้ว มันเตะคนก็อันตรายเพราะเดือนมันยาวๆ

    ทายกทายิกาทั้งหลายภายในวัด จึงพากันคิดจะตัดเดือยมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่คน แต่เรื่องนี้เจ้าไก่ขาวมันคงคิดว่าเกิดอันตรายแก่มันในที่สุดมันถูกตัดเดือย ถูกตัดความเป็นผู้กล้าของมันออก

    “แหม่... มันโมโหเป็นวรรคเป็นเวร โกรธจัดเหลือกำลัง วิ่งไปขันไปทั่วๆ บริเวณวัด มันแหกปากร้องจนน่ารำคาญ แต่ไม่ทำลายสิ่งของ ขี้ก็ไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน ขี้เป็นที่เป็นทางดี แต่มันไม่ยอมเล่นกับใคร ๆ ไม่ปันใจให้ใครอีกต่อไป”

    <TABLE width=150 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    พระอุโบสถวัดทรายงาม



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ในที่สุดเมื่อคนไล่มัน เล่นกับมันมากเข้า ไม่สงบ มันจึงไม่มาถิ่นแถวที่คนอยู่อีกต่อไป ไปอยู่ตัวเดียว หากินอยู่ตัวเดียว อยู่เดี่ยว ๆ เดียวดาย สงัดกาย สงัดจิตที่ศาลามุงกระเบื้องไกล ๆ โน้น เมื่อมันไปอยู่ที่ไกลๆ คนก็ตามไปกวนล้อเล่นกับมันอีก เพราะมันน่ารักตัวใหญ่ เป็นไก่โอก เป็นไก่เชื่อง ๆ

    ในที่สุดมันรำคาญมนุษย์มากเข้าก็ตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเจ๊กเบ๊ด้วยความเศร้าสร้อยเหงาหงอย เดินคอตก มันเดินไปมองดูก็รู้ว่ามันคอตก ๆ เป็นไก่เศร้าขาดความอบอุ่น เสียความรู้สึกที่ดี ๆ กับคนมาวัด แล้วก็ไม่เดินทางกลับมาอีกเลย มันคงคิดได้ว่า “ถึงแม้เราจะอยู่ที่ใด เขาก็คงไม่คิดว่าเราเป็นคนดอก เขาคงเห็นเราเป็นไก่ ตายเกิดเอาชาติใหม่ดีกว่า มนุษย์นี้นอกจากจะยุ่งกับตัวเองก็ยังไม่พอ ยังมายุ่งกับเราส่งเป็นไก่ ไม่มีสัตว์ประเภทใดที่จัดทำให้มนุษย์พอใจในการละเล่น มนุษย์นี้เป็นเหมือนสัตว์ที่เป็นโรคประสาท เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย อีชอบอีก็ชม อีชังอีก็แช่ง ขนาดเราเป็นไก่ยังอดทนไม่ได้ มนุษย์เล่า! จะทนกันและกันได้อย่างไร?”

    เรื่องไก่ขาวนี้ ทำให้ฆราวาสญาติโยมที่มาปฏิบัติธรรมกับท่านอาจารย์กงมา เปลี่ยนแปลงไปเยอะ บางคนถึงกับเลิกคิดจะฆ่าสัตว์ตลอดชีวิต บางคนตั้งสัจจะอธิษฐานจะรักษาศีลตลอดชีวิต บางคนก็เสียใจในสิ่งที่ตนได้กระทำกับไก่ไว้ แสดงอาการรู้สึกผิด แต่สำหรับบางคน มาดู ๆ แล้วก็ไป เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกง เรื่องไก่ขาวยังไม่จบ แต่กลัวจะยาวเกินไปจึงขอจบเพียงแค่นี้

    น่าอัศจรรย์! น่าอัศจรรย์จริงๆ ความฝันกลายเป็นความจริง ก็คือโยมหลวนทำไมฝันได้แม่นยำอะไรขนาดนั้น ฝันว่าได้ช้างเผือก ๒ เลือกแม่ลูก อันหมายถึง พระอาจารย์กงมากับสามเณร แล้วเมื่อลูบคลำไปมา ช้างเผือกกลับกลายเป็นไก่ขาว และในที่สุดไก่ขาวตัวนั้นก็มาจริง ๆ ชนทั้งพลายที่รู้เรื่องนี้ก็อัศจรรย์ไปตาม ๆ กัน

    และเรื่องไก่ขาวนั้นยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันว่า “ชะรอยจะมีบุคคลผู้มีบุญวาสนาเข้ามาบวช มาเกิดที่วัดทรายงาม จนกลายเป็นพระที่บริสุทธิ์สะอาดเหมือนดั่งขนของไก่ขาว และมีจิตใจอาจหาญในธรรมเหมือนไก่ขาวที่ไม่กลัวความตาย ไก่ขาวนี้น่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดี และไก่ขาวตัวนี้อาจจะกลายเป็นช้างเผือกตัวขาวตลอดในวงการพระพุทธศาสนา”
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ช้างเผือกกลับกลายเป็นไก่ขาว

    เรื่องช้างเผือกกลายเป็นไก่ขาวบางคนเขาก็ว่า “ท่านอาจารย์กงมาต้องมาได้ลูกศิษย์ดีที่นี่” แต่มันก็แปลกตรงที่ว่า ในขณะที่ท่านอาจารย์กงมามาสอนธรรมะที่ป่าช้าผีดิบ (วัดทรายงามปัจจุบัน) นั้นตอนนั้นเราก็ไม่รู้เรื่องอะไร เป็นหนุ่ม ๆ อยู่ รักสนุกทางโลกอยู่ แต่กลับกลายเป็นว่าภิกษุที่เข้ามาบวชรูปแรก ถ้าจะนับในบรรดาพระทั้งหลายแล้ว เราเป็นองค์แรกที่บวชแล้วเข้ามาอยู่วัดทรายงาม มันประจวบเหมาะบันดลบันดาลใจให้บวชในขณะนั้น ทั้งที่อะไร ๆ ก็ไม่ค่อยอำนวย ไก่ขาวกลับกลายเป็นช้างเผือกที่วัดทรายงามจึงเกี่ยวข้องกับเราทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้อง ตั้งแต่เราออกบวชแล้ว คนหนองบัว ออกบวชกันตาม ๆ มามาก เช่น ท่านถวิล (พระอาจารย์ถวิล ท่านแบน (พระอาจารย์แบน) ฯลฯ
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงตามหาบัวพูดถึงชาวบ้านหนองบัว

    หลวงตามหาตัวพูดถึงหลวงปู่เจี๊ยะ ที่สวนแสงธรรมตอนหนึ่งว่า.....
    “ท่านอาจารย์เจี๊ยะ บวชตั้งแต่สมัยท่านอาจารย์กงมาไปสร้างวัดทรายงาม พอบวชแล้วท่านก็อยู่ที่นั่นได้ไม่กี่ปี ก็ไปหาหลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่ ออกจากเชียงใหม่ หลวงปู่มั่นก็ถูกนิมนต์ไปอุดรฯ ท่านอาจารย์เจี๊ยะก็ติดตามหลวงปู่มั่นไปอุดร ฯ หลวงปู่มั่นไปสกลนคร ท่านก็ติดตามไปสกลนคร เรา (หลวงตา) จึงพบท่านทีแรกที่สกลนคร

    ท่านอาจารย์เจี๊ยะท่านไม่ค่อยเรียนอะไรมากมายนะ พอบวชแล้วก็ออกปฏิบัติเลยเชียว เล่าเรียนก็เล่าเรียนธรรมดา ไม่ใช่เพื่อสอบอะไร พ่อท่านเป็นคนจีน แม่ท่านเป็นคนไทยอยู่ที่หนองบัว

    ตำบลหนองบัวทรายงามนี้รู้สึกว่าไม่ธรรมดานะ มีคนนิยมออกบวชปฏิบัติเยอะมาก อาจารย์เจี๊ยะนี้ท่านเป็นคนหนองบัวทรายงาม และมีท่านแบน (พระอาจารย์แบน วัดดอยธรรมเจดีย์) มหาเข็มที่อยู่วัดป่าคลองกุ้ง พระครูสันฯ ท่านถวิลฯ หนองบัวทรายงามนี้มีคนออกบวชเยอะ ถ้าจะเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ ทั่วประเทศไทยแล้ว ตำบลอื่นๆ สู้หนองบัวทรายงามไม่ได้ ออกบวชมาก แล้วท่านเหล่านี้ยังสามารถเป็นหลักปฏิบัติได้ คือหลักทางข้อปฏิบัติทางด้านจิตใจอันเป็น
    <TABLE width=150 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงตามหาบัวกับหลวงปู่เจี๊ยะ ที่สวนแสงธรรม พุทธมณฑล สาย ๓

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ส่วนภายใน แล้วคนถิ่นแถวนี้ฉลาดด้วยนะ ฉลาดมาก คือครูบาอาจารย์องค์ไหน ที่โลกเขาเห็นว่าสำคัญ ๆ พระทางจันทบุรีไปถึงก่อนแล้ว เราจึงสังเกต เอ!... คนจันท์ฯ ฉลาดไม่ใช่เล่น ๆ นะ

    วัดป่าคลองมะลิ วัดยางระหง ก็สายปฏิบัติเหมือนกัน ท่านอาจารย์ลี วัดอโศการาม ท่านก็เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นเรานะ แล้วก็สืบสายมาเรื่อย ๆ พระจันท์ ฯ จึงมักจะไปอยู่แถวโน้น ครูบาอาจารย์องค์ไหนที่สำคัญ ๆ พระทางจันท์ ฯ จะมีอยู่ด้วยประจำ ๆ เพราะท่านตั้งใจจริง ๆ เสาะแสวงหาครูอาจารย์จริง ๆ วัดป่าบ้านตาดดูเหมือนไม่ต่ำกว่า ๕ องค์นะ แล้วมีมาประจำตั้งแต่สร้างวัดป่าบ้านตาดมา พระที่จันท์ ฯ ไปอยู่นู้น!... สับเปลี่ยนกันไปมาอยู่นู้น ไม่เคยขาดนะวัดป่าบ้านตาด ท่านพักก็อยู่กับเราที่นี่ แต่พอโยมแม่ท่านป่วย เราก็ให้ท่านไปอยู่ที่วัดเขาน้อยสามผาน เพื่อดูแล
    <TABLE width=150 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงตามหาบัวกับหลวงปู่เจี๊ยะ ในงานบุญครบรอบ ๕๐ ปีท่านพระอาจารย์มั่นมรณภาพ ณ วัดบ้านหนองผือ จ.สกลนคร


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลบนอน

    ในพรรษาแรกที่บวชนี้มีพระร่วมจำพรรษา ๕ รูป สามเณร ๑ รูป คือ
    ๑. พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ท่านเป็นชาวจังหวัดสกลนคร
    ๒. พระสังข์ เตมิโย ท่านเป็นชาวจังหวัดเพชรบูรณ์
    ๓. พระทองปาน มหาอุตฺสาโห ท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี
    ๔. พระเจี๊ยะ จุนฺโท (เราเอง) เป็นชาวจังหวัดจันทบุรี
    ๕. พระอ๊อด โอภาโส เป็นชาวจังหวัดจันทบุรี
    ๖. สามเณรวิริยังค์ บุญฑรีย์กุล เป็นชาวจังหวัดนครราชสีมา

    <TABLE width=150 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    หลวงตามหาบัวกับหลวงปู่เจี๊ยะที่วัดป่าบ้านตาด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่อเราเข้ามาบวชแล้ว ก็เราเป็นคนหนุ่มนะ อย่างที่ว่าพรรษาแรกๆ ก็ขี้เกียจ เอะอะก็จะหลบไปหลับนอน พอมาถึงกลางๆ พรรษาหรือยังไงก็จำไม่ค่อยได้ ก็มานึกตำหนิตนเอง เอ๊ะ!....เรากินข้าวชาวบ้านแล้ว ทำไมเราถึงมาขี้เกียจอย่างนี้นะ มันเหมาะสมแล้วหรือสำหรับเพศนักบวชที่เสียสละบ้านเรือนออกมาบวช แต่ก่อนเราเคยทำงานหนักๆ ทำการแจวเรือทั้งวันทั้งคืน เราแจวได้ ทำได้ แล้วเวลานี้ล่ะ เรามาเป็นพระเป็นนักบวช แล้วทำไม ทำไมมาขี้เกียจอย่างนี้ สิ้นท่าอย่างนี้ พระแบบเรานี้จะต่างอะไรกับฆราวาสหัวดำๆ ที่ขี้เกียจขี้คร้านทำมาหาเลี้ยงชีพ เราทำแบบนี้มันสมควรแล้วหรือที่ญาติโยมเขากราบไหว้บูชา ว่าเป็นพระผู้ทรงเพศอันประเสริฐ ใครๆ เห็น เขาก็หลีกทางให้ มีอะไรเขาก็หามาให้กิน ในที่สุดมันก็ด่าตัวเองในใจ คือด่าตัวเองในใจดังๆ

    “ไอ้ห่า!...มึงเป็นพระให้เขากราบไหว้ แล้วมึงภาวนานั่งสู้ญาติโยมแก่ๆ ไม่ได้ แล้วมึงจะมาบวชทำไม”

    เมื่อตำหนิกาย วาจา ใจ ของตนที่ไม่เอาไหนได้อย่างนั้น มันก็มีความฮึดฮัดที่จะต่อสู้ หาทางต่อสู้กับฝ่ายต่ำที่ทำให้ขี้เกียจอ่อนแอไม่เอาไหน นั่งภาวนาพุทโธ เอาจริงเอาจังให้รู้เช่นเห็นชาติตนว่า ก่อนบวชที่ว่าตัวเองแน่ๆ ไม่ยอมถอยให้ใครๆ มาบัดนี้จะมาถอยให้กิเลสแบบง่ายๆ หมดทางต่อสู้ แบบนี้ถ้าจะเรียก ก็เรียกได้ว่านักเลงกระจอกงอกง่อย เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ สมควรแล้วละหรือที่เราจะมาภูมิใจกับการเป็นคนจริงแบบปลอมๆ ที่แท้ก็เก่งแต่การโอ้อวดเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย

    “เอาละวะ...” มันคิดขึ้นมาภายใน “เป็นไงเป็นกัน ตายเป็นตาย อยู่เป็นอยู่ พระพุทธเจ้าทำอย่างไร เราจะทำอย่างนั้น พระสาวกท่านปฏิบัติเคร่งครัดอย่างไร เราจะเคร่งครัดอย่างนั้น” นี่ ใจมันเริ่มสอนใจตนเองขึ้นมาแล้วทีนี้

    นอกจากจะนั่งภาวนาอย่างเอาจริงเอาจัง ไม่ลดละความพากเพียรพยายามแล้ว ยังมีเดินจงกรม พยายามเดินจงกรมอย่างที่ท่านอาจารย์กงมาท่านสอน เดินเข้า เดินเข้า ทุกๆ วัน ทุกๆ คืน ใจมันก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ใจมันก็สงบลง บางทีเดิน ๓-๔ ชั่งโมง ทางจงกรมแหลก แดดเปรี้ยงๆไม่มีถอย ไม่เลือกกาลเวลา ทางจงกรมที่เราเดินยาวเส้นหนึ่ง (๒๐ วา) นี้แหละพรรษาที่หนึ่งทำอยู่อย่างนี้อยู่ตลอด

    ฉะนั้น การสร้างความดีใครว่าไม่ต้องลงทุนลงแรง คนนั้นแหละพูดแบบโง่ๆ เพราะมันไม่เคยสร้างคุณงามความดี การสละชีวิตเพื่อความดี อันเป็นเลิศอย่างนี้ เรียกว่าไม่ลงทุนลงแรงหรือ? อย่างนี้ต่างหาก เรียกว่าลงทั้งทุนลงทั้งแรง แบบไม่ออมมือ แบบทุ่มไม่ให้กำลังเหลือ
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จงกรมเหมือนตัวจะลอย

    <TABLE width=150 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    สระน้ำใกล้กับกุฏิหลวงปู่เจี๊ยะ ที่วัดทรายงาม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อตั้งสัจจะแล้ว ก็พยายามสอนตัวเองด้วยอุบายต่างๆ นานาว่า “สมบัติพัสถานข้าวของเงินทองเยอะแยะไปหมด แล้วเวลาตายเห็นมั้ยได้อะไรไปบ้าง”





    เพราะฉะนั้นพระที่ไปชักผ้าบังสุกุล ไม่ใช่ไปชักเอาสตางค์ อนิจฺจา วตสงฺขารา สังขารเป็นอย่างนี้ไม่เที่ยง ตายเหมือนกัน นั่น...จงพิจารณาเพราะเป็นอย่างนั้น

    แต่ทีนี้เราไม่เป็นอย่างนั้น มันเพลินอย่างอื่นนะ มันไม่คิดย้อนกลับมา มันก็ไม่เป็น อนิจฺจา วตสงฺขารา เพราะฉะนั้นจึงว่า ถ้าเราทำจิตใจให้อยู่กับพุทโธ นานๆ เข้า หลายๆ วัน หลายเดือน เป็นปีขึ้นไป ทีหลังก็จะติด ไปไหนใจก็พุทโธๆ อยู่เรื่อย ใจก็ติด แน่ะ...เราก็ลุยใหญ่

    ว่าพุทโธแล้ว ถ้าใจยังไม่สงบ ก็เดินว่ามันอย่างนั้นเป็นชั่วโมงๆ จนมันสงบ บางคราวมันจะลอย เคยอยู่ครั้งมันจะลอยให้ได้ ลอย... ลอย...ลอยสิ ลอย... ลอย เอาลอยสิ... ก็ขย่มขึ้นไปอีก มันไม่ลอยขึ้นซักที มันเพลินเดินสนุก เดินกันเป็นชั่วโมงๆ เหงื่อแตกซิกไปหมด เป็นหลายชั่วโมง แน่ะ... เดินจงกรมสงบ โอ๊ย...มันดีจัง...เพราะฉะนั้น พอมันเป็นอย่างนี้ พอใจได้รับความสุขมันก็ติดใจๆ มาเรื่อยๆ

    การภาวนาในระยะนี้ก็ยังไม่สม่ำเสมอ คอยแต่จะหลับอยู่เป็นประจำ มันขี้เกียจ เพราะเรายังไม่มีใจให้ทางนี้มากนัก แต่มันก็มีความละอายภายในใจลึกๆ ที่เราเป็นพระทั้งองค์แต่กลับขี้เกียจขี้คร้านภาวนา ในขณะเดียวกัน ฆราวาสญาติโยมเขามีทั้งหน้าที่การงาน ยังสู้อุตสาห์ปลีกเวลามาทำ ไม่เห็นมีใครเขาบ่นกันอย่างนั้นอย่างนี้ เราเองซิ อยู่กับที่อยู่กับวัด นั่งเฝ้านอนเฝ้าพระประธาน นั่งเฝ้านอนเฝ้าครูบาอาจารย์พระธรรมคำสอน ศาลาวัดอยู่ แทนที่จะได้ดี ทำดีกว่าชาวบ้านร้านตลาดเขา แต่นี่กลับแย่กว่าเขาเสียอีก เราเองก็เป็นคนทั้งคนเหมือนพระพุทธเจ้าพระสงฆ์สาวกท่าน ท่านเหล่านั้น ก็ไม่ได้กินเหล็กกินไหลมาจากไหน ก็กินข้าวฉันข้าวเช่นเดียวกันกับเรานี่แหละ ทำไมท่านถึงได้ดีกว่าเรา ถ้าจะต้องโทษก็ต้องโทษเราซึ่งเป็นผู้ขี้เกียจเสียเอง

    ความขี้เกียจมันดีไหม? คนผู้มีปัญญาในโลกนี้เขาสรรเสริญคนขยันทั้งนั้น แล้วเรากลับมาขี้เกียจนั่งหลับอยู่ทำไม? ไม่อายศรัทธาญาติโยม ที่เขานั่งภาวนากันเต็มศาลาบ้างหรือ? การงานทางโลกที่ว่าหนักหนาเราก็ผ่านมาหมดแล้ว งานที่คนอื่นเขาไม่มีปัญญาทำได้ เราก็ทำมาแล้ว ทำไมการภาวนา เราจะทำไม่ได้ รู้ไม่ได้ เมื่อคิดได้ดังนี้ มันก็เจ็บลึกภายในใจ แล้วก็นึงขึ้นมาภายในใจว่า

    “กูบวชมากินข้าวชาวบ้านแล้วยังพาลมาขี้เกียจอีก”

    การภาวนาก็สู้โยมไม่ได้ มันเจ็บใจตัวเอง เดินเข้าไปกราบพระ ตั้งสัจจะอธิษฐานซ้ำอีกว่า

    “ถ้ามึงภาวนาไม่ได้ให้มึงตายซะ ถ้ามึงไม่มีสัจจะในตน ขอให้ฟ้าผ่า แผ่นดินสูบ น้ำท่วมตายซะ อย่ามีหน้ามาอยู่ดูโลกนี้อีกเลย”

    เมื่ออธิษฐานดังนี้แล้ว รู้สึกว่าใจมันคึกคักขึ้นมาทันที แสดงอาการตอบรับกับคำอธิฐานเช่นนั้น มันเหมือนกับมีอะไรๆ มาฉุดให้ใจกล้าแกร่ง หลังจากนั้นก็ภาวนาแบบสู้ตายถวายชีวิต ในที่สุดจิตมันก็รวม ตอนนั้นพวกโยมนั่งสมาธิกันมากที่วัดทรายงามประมาณ ๕๐-๖๐ คน

    เมื่อตั้งสัจจะแล้ว เริ่มภาวนาทั้งกลางวันกลางคืน กลางวันนั่ง(ภาวนา) กลางคืนเดินจงกรม สละชีพเอาเป็นเอาตาย หมายไว้ในใจอย่างนั้น

    “เอาล่ะนะ คราวนี้เป็นคราวสำคัญ บุญบารมีที่สั่งสมมาตั้งแต่ชาติปางไหนจงมาอุดหนุนด้วยเถิด”

    คิดไว้ภายในใจอย่างนี้ ในการภาวนาในครั้งเริ่มแรกนั้น ต้องบริกรรมภาวนาพุทโธอย่างเดียว ให้พุทโธเร็วๆ ไม่ให้จิตใจคิดอะไรอื่นได้ ไม่ต้องดูลมหายใจ ถ้ามัวดูลมหายใจจิตมันไม่เป็นสมาธิ

    ฝึกหัดภาวนาเอามันให้ได้ ฝึกหัดให้มันได้เป็น ๓ ชั่งโมงมันไม่ลุกจิตมันไม่ลง ไม่ยอมลุกแล้วมันไม่ลงได้อย่างไง พุทโธ โธ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ มันต้องลงให้เราซิ ก็ด่ามันเข้าซิ กุ้งมึงก็กิน ปลามึงก็กิน เป็ดมึงก็กิน น้ำพริก น้ำแกง น้ำอ้อยน้ำตาลกินทุกอย่าง ไอ้ห่า! มึงนั่งสมาธิให้กูไม่ได้หรือ มันต้องเอาอย่างนั้นซิ นี่! เราเอาอย่างนั้นทีเดียวได้เลย แม่ง...มึง! ๕ ชั่วโมงก็ไม่ออก ออกเป็นฟ้าผ่า แผ่นดินสูบ น้ำท่วมตาย ไฟไหม้ตาย ทีเดียวมันก็ไม่กล้าออก มันต้องบังคับเอา เราสร้างความดี ทีนี้มันขี้เกียจ โอ๊ย...เจ็บขา โอ๊ย..สู้ไม่ไหวแล้ว โอ๊ย...ไปแล้วครึ่งชั่วโมง เสร็จเรียบ แหมมันต้องสู้ซินะ นักสู้มันต้องสู้ซิ

    พอจิตเป็นสมาธิ มันสงบนิ่งเฉยเหมือนตัวนี่จะเหาะจะลอยได้อยู่บ่อยๆ เวลาเดินจงกรมเหมือนจะเหาะได้ จนพระมหาประเสริฐที่ไปอยู่ด้วยพูดว่า

    “เอ๊ะ... พระองค์นั้นมันเดินจงกรมยังไงวะ... แผ่นดินนี้แหลกไปหมดเลย... เกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ยังไม่เคยเห็นใครเดินจงกรมอย่างนี้เลย”

    แผ่นดินที่เราเหยียบย่ำนั้น มันจะไม่แหลกไปได้อย่างไง ก็เล่นเดินจงกรมย่ำทั้งคืน ไม่หลับไม่นอน แผ่นดินมันแหลกไปหมด ดินนั้นมันเป็นดินปนทรายๆ นิดหน่อย เช้าขึ้นมาใครๆ มาเห็นเข้า ก็พากันตกอกตกใจ “เอ๊ะ...ใครมันมาทำอะไรตรงนี้” เพราะไม่มีใครรู้ แอบๆ มาทำกลางคืนไม่ให้ใครเห็น การเข้าไปภาวนาแบบเรานี้ต้องมีความอดทนมาก จิตใจต้องหนักแน่น ที่สำคัญต้องรักษาสัจจะที่ตั้งใจไว้ยิ่งกว่าชีวิต เราทำ ทำจริงๆ ข้าวมันก็ไม่กิน มันอยากตายก็ให้มันตาย ถ้าภาวนาจิตไม่ลงรวม เป็นไม่ยอมต้องต่อสู้ ถ้าจิตยังไม่ลงอีก ยังอธิษฐานสู้เพิ่มความเพียรให้หนักเข้าไปอีกอีก ไม่ใช่จะถอยนะ มีแต่จะเดินหน้าฆ่ากิเลสคือความไม่สงบ

    จนมีบางคราวท่านพ่อลีท่านกลัวใจเรา จนท่านพ่อพูดว่า “ท่านเจี๊ยะนี่ใครไปยุ่งกับมันไม่ได้ เดี๋ยวมันฮึด ไม่ว่าเทวดา มันเอาหมด มันสู้หมด”
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถือเนสัชซิคือการไม่นอน

    <TABLE width=150 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ต่อมาพรรษาที่ ๒ แห่งการบวช เราถือธุดงค์ปฏิบัติว่าด้วยการไม่นอน ในกาลเข้าพรรษา ไม่นอนตลอดพรรษาเลยในเวลากลางคืน แต่ในเวลากลางวันนอนมั่งนะ แต่เราก็ตั้งสัจจะไว้ เรานั่งภาวนาในเวลากลางวันนี่ เราก็แบ่งนั่งหลับนิดหน่อยพอให้มีเรี่ยวแรง แต่ก่อนนั่งสมาธิต้องเดินจงกรมก่อน แล้วค่อยมานั่งสมาธิ ทำอย่างนี้วันละ ๓ หน เพื่อถวายพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ และเพื่อเป็นอุบายในการภาวนา ด้วยการตั้งสัจจะว่า

    “ข้าพเจ้าจะถือเนสัชชิตลอดทั้งพรรษา ในเวลาค่ำคืนไม่นอน ด้วยพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ ถ้าแม้นว่าข้าพเจ้าไม่ทำตามสัจจะอันนั้น
    ๑. ขอให้ฟ้าผ่าตาย
    ๒. ขอให้แผ่นดินสูบตาย
    ๓. ขอให้ไฟไหม้ตาย
    ๔. ขอให้น้ำท่วมตาย

    พุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ ถ้าทำอย่างนั้นไม่ได้...เอ้า!...ให้สิ่งนั้นมันเกิดขึ้นมาเลย”

    ตัวสัจจะนี้แหละ ถือเป็นตัวสำคัญเลยนะ ผ่านก็ผ่าน ถ้าไม่ผ่านก็แสดงว่าวาสนาเรามีเพียงแค่นั้น ก็เป็นเครื่องแสดงเครื่องวัดจิตใจของคนนั้นๆ ได้เหมือนกันว่า แค่ไหนประมาณใด ถ้าตั้งสัจจะแล้วประพฤติได้ตามนั้นก็ถือว่าเยี่ยม เพราะสัจจะแบบนี้มิใช่ทำได้ง่ายๆ โดยส่วนมากแล้วจะล้มเหลวแบบไม่เป็นท่ากันทั้งนั้น เท่าที่สังเกต เวลาตั้งสัจจะก็สวยหรูอยู่หรอก แต่เวลาเอาเข้าจริงล้มแบบไม่เป็นท่า

    ๗ วันแรกที่เราเริ่มปฏิบัติด้วยการไม่นอน มันก็แย่เหมือนกัน เพราะตั้งแต่เกิดมานอนตลอดจนเป็นนิสัย แต่อยู่มาวันหนึ่งมาหยุดนอนเอาดื้อ ๆ ร่างกายก็แย่ ทำท่าหงุดหงิด จนถึงกับอุทานในใจว่า “ว้า! ไม่ไหว...ไม่ไหว...ไม่ไหวแล้วโว๊ย”

    แต่ก็ยังดีที่เราก่อนจะทำสมาธิก็ได้เข้าไปตั้งสัจจะบังคับเอาไว้ เพราะความเป็นผู้ที่รักษาสัจจะ สัจจะนั้นจึงเป็นเหมือนโซ่ตรวนคอยรึงรัดกายจิตของเราเอาไว้

    “ตายเป็นตาย แต่จะให้สัจจะที่ตั้งไว้ขาดไม่ได้ ไม่ยอม ในร่างกายนี้อะไรจะเสียผุพังไปก็ตาม แต่จะให้สัจจะเสียไปไม่ได้ เพราะแม้สัจจะที่เราให้ไว้กับตัวเรา เรายังรักษามันไม่ได้ แล้วเราจะหวังพบธรรมะอันประเสริฐซึ่งอยู่เหนือสัจจะ แล้วเราจะพบพานธรรมนั้นได้อย่างไรกัน”

    เมื่อคิดอย่างนี้ ใจมันก็ท้าทายกิเลสและธรรมที่มีอยู่ในกายและใจนั้น สัตยาธิษฐานนี้จึงเป็นทางเดินไปสู่มรรคผลแบบท้าทายได้อย่างดียิ่ง
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ภิกษุหนุ่มมุ่งมั่น

    เราเป็นหนุ่มเนี่ย... ซนที่สุดนะ ดื้อด้วย แล้วฐานะทางบ้านก็มีอันจะกินด้วย แก่นที่สุด ออกบวช ใคร ๆ เขากว่า แหกพรรษาแน่นอน แต่ว่าปฏิบัติแล้วมันเอาเต็มที่ไม่ค่อยได้นอน ในพรรษา ๓ เดือนไม่ได้นอนเลย กลางวันนิดหน่อยคือหมายความว่า กลางคืนไม่นอน สู้เต็มที่เลย ๔-๕ วัน เวลารับบาตรง่วง วันไหนง่วงเต็มที่ก็ไปพิงเสานิด พอรู้สึกตัว เอาแล้ว เพราะสัญญาอธิษฐานไว้ว่าไม่นอน สู้เต็มที่เลย ไม่งั้นไม่ได้หรอก ต้องออกมาเป็นขี้ข้าโลกเขาแล้ว

    บางทีถ้าเราตั้งสัจจะแล้ว มันก็ไม่ออกเหมือนกัน ยอมให้ยุงกัด บางทีสมาธิเนี่ย ถ้าเราเข้าถูกจังหวะ อากาศเหมือนไม่มี มีอยู่แต่ใจเพียงเท่านั้น ไม่เกี่ยวเกาะกับสิ่งใด ดับสนิทเต็มที่ กายนี้ไม่รู้เลย รู้แต่ใจตัวนั้นมันหมดความรู้สึก แต่รู้ในตัวมีอะไรบ้าง แต่ว่าถ้าถึงเต็มที่ก็ขนาดนั้นแล้วไม่รู้ ยุงไม่มี ไม่มีความรู้สึกหมด หมดความรู้สึก แต่เป็นยากนะแบบนี้

    “...บางทีเราตอนเป็นหนุ่ม ๆ บวชใหม่ ๆ ก็คิดอยากจะสึก พวกบวชเป็นชีสาวๆ ก็อยากจะสึก หรือพวกแก่ ๆ ก็อยากจะสึก เพราะกิเลสมันเป็นอย่างนั้น

    สึกไปก็เหมือนเท่ากับลงไปในน้ำทะเล อันมหาสมุทรกว้างขวางใหญ่นัก ชีวิตไม่มีความหมาย ตัวลงไปอยู่ในทะเล เป็นเหยื่อเต่าเหยื่อปลาเท่านั้นเอง ตายไปอย่างนั้น ไม่ได้อันใดเลย เหมือนเราตกลงไปในทะเล ถ้าไม่มีเรือมารับแล้วก็ต้องตาย ชีวิตจมอยู่กับลูกกับเมีย กับข้าวของเงินทอง เพื่อหามาเลี้ยงกันทั้งวันทั้งคืนอยู่อย่างนั้น ไม่มีเวลาหยุดหย่อน ไม่มีเวลาได้พักผ่อนกำลังจิตใจของเราเลย นี่... แสนที่จะทุกข์ทน

    ...พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วถูกต้องหมดทุกอย่าง พระองค์ตรัสว่า

    “โซ่ตรวนใดๆ ก็ไม่สามารถรึงรัดมัดผูกจิตใจเราได้ยิ่งกว่า บ่วงคือ บุตร ภรรยาสามี ทรัพย์สมบัติ โซ่อันนี้แก้ได้ยาก ถอดถอนได้ยาก มันชักนำพาเราให้จมอยู่และกองอยู่ใต้ทะเล คือกิเลสและตัณหา จนจะหาทางออกไม่ได้ พระองค์จึงตรัสว่า เราเป็นเหยื่อของโลก ถูกกระแสโลกพัดผันไปต่าง ๆ นานา ในที่สุดก็ไม่ได้อะไรในทางที่ดี แต่มันกลับได้อะไรในทางที่ชั่วเสียหาย”

    นี่...พวกเราชำนาญแต่ตำราทางโลก แต่ตำราทางธรรมมันไม่ชำนาญ ใจมันไม่ยอมกระทำ ใจมันขี้เกียจ ใจมันดื้อด้าน ใจมันไม่อยากทำ อยากคุย อยากสนุก อยากร่าเริง เข้าวัดวายังเอาวิทยุมาเปิด สนุกสนานเฮฮาอยู่ตลอดเวลา ระวัง......ระวังหน่อย...ฮิ.......

    เราเข้ามาเพื่อจะปลดเปลื้องสิ่งที่ร่าเริง สิ่งที่เพลิดเพลินของใจของเรา ไม่ให้สิ่งใดเข้ามาเกาะมากวน ต้องขจัดไปทุกเวลา ว่าอย่างนั้นเถอะ นี่ความรู้เช่นนี้ต้องกำจัดให้หมด จนให้ใจนั้นไม่มีอันใด...นั่น... จึงเรียกว่า พระ...ก็เป็นพระแท้ โยม...ก็เป็นโยมแท้

    เพราะฉะนั้นการทำใจ เมื่อมีความจริงที่ใด จะโง่เซ่อขนาดไหน ขอให้ใจจริงๆ สู้จริงๆ แล้วนั่งให้จริง ยืน เดิน นั่ง นอน ๔ อิริยาบถนี่ทำได้อยู่ตลอดเวลา ต้องสำเร็จ บุคคลผู้นั้นหนีไม่พ้น แต่ใครจะไปรู้เรื่องของบุคคลนั้นๆ ว่าสำเร็จ หรือไม่สำเร็จ มันอยู่ที่หัวใจของเขาเอง เมื่อเราพยายามมากเข้าๆ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า “พาวิโต พหุลีกโต” เพียรมากๆ ทำมากๆ ทำบ่อยๆ ทำอยู่อย่างนั้น ก็เป็นไปเพื่อความดับสนิท เป็นไปเพื่อความรู้แจ้ง นี่ก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีอย่างอื่นแล้ว ถ้าลงว่าทำอย่างนั้นจนสุดความสามารถแล้วไม่สำเร็จ ก็ไม่รู้ว่าจะยังไง”
     
  15. ปรานต์

    ปรานต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +668
    อนุโมทนา สาธุ
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธรรมะแข่งขัน

    สมัยนั้นวัดป่าคลองกุ้งกับวัดทรายงาม แข่งกันสร้างความดีด้วยการภาวนา พระวัดป่าคลองกุ้ง พากันอดข้าวเพื่อภาวนาสมาธิ ส่วนวัดทรายงามพระพากันไม่นอน ทำสมาธิภาวนากันทั้งคืน ทั้งสองวัดครูบาอาจารย์พยายามสอนให้เราเร่งทางจิต

    หลวงตาหล่าย เป็นพระวัดป่าคลองกุ้ง อดข้าวเกือบตาย...ขี้ไม่ออก...ตดไม่ได้.ทรมานสังขารน่าดู!!! ต้องมาให้หมอสวน เพราะแกอดข้าวเป็นเดือนๆ ท่านพ่อก็เหมือนกันอดข้าวทีหนึ่งๆ เป็นเดือน

    ตอนนั้นเราก็อดนอน ไม่นอนกลางคืน จิตสงบดี ปัญญาก็ว่องไว ปัญญานี้เป็นปัญญาทางธรรม ตอนนั้นเราภาวนาดีแล้ว ภาวนาเป็นแล้ว ได้หลักใจแล้ว เรียกได้ว่า ได้ธรรมสมบัติภายในแล้ว ไม่ได้เล่าให้ใครฟัง แม้แต่ท่านอาจารย์กงมาเราก็ไม่ได้เล่า คนอื่นเขาก็ไม่ทราบ เพราะคนโดยส่วนมากที่หนองบัวเขาเห็นว่าเราเป็นพระดื้อ ถึงพูดให้ฟังก็คงไม่มีคนเชื่อเรา สาเหตุที่ท่านอาจารย์กงมา และญาติโยมไม่เชื่อว่าเราภาวนาเป็นนั้น เพราะว่าก่อนบวชเรามันทั้งดื้อ ทั้งซุกซน ใครเขาจะไปเชื่อ แม้เราเองแต่ก่อนเราก็ไม่เคยเชื่อว่าตัวเองจะมาบวชและอยู่เป็นพระได้นานขนาดนี้

    <TABLE width=150 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
    กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
    (ชื่น สุจิตฺโต)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    เมื่อพระทั้งสองวัดอดอาหาร อดนอน ปฏิบัติเอาเป็นเอาตาย ถวายชีวิตแด่พระศาสนา พระที่ไม่ปฏิบัติ ทำไมได้ก็ว่า เป็นการปฏิบัติอัตตกิลมถานุโยค ทำตนให้ลำบากเปล่า เคร่งเกินไปเดี๋ยวก็ขาด ไม่เดินตามทางสายกลาง จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (ชื่น) พระองค์ท่านจึงเสด็จมาที่วัดทรายงาม เพึ่อมาพิสูจน์ความจริง

    ในขณะที่ท่านมาพักวัดทรายงามนั้น เราก็เป็นคนจัดอาสนะ ดูแลเรื่องเครื่องใช้ต่างๆ ของท่าน จึงคุ้นกับท่าน และพระองค์ท่านก็คุ้นกับโยมแม่

    พระองค์เสด็จไปเอง เพื่อไปตรวจสอบเรื่องพระที่อดข้าวและอดนอนว่าทำกันอย่างไร? เหมาะสมกับพระธรรมวินัย และมัชฌิมาปฏิปทาอันเป็นทางสายกลางหรือไม่?

    เมื่อพระองค์เสด็จมาคราวนั้น ทางโยมของเรา (โยมพ่อ-แม่) จึงคุ้นเคยกับท่านเป็นอย่างดี เพราะทุกๆ ปีโยมที่บ้านได้เอาทุเรียนไปถวายท่านที่วัดบวรฯ เป็นประจำ
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การสืบสวนของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (ชื่น)

    การสืบสวนของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์นี้สุขุมมาก กล่าวคือ พระองค์ไม่ทรงพระกรรณเบา ขณะที่พระองค์มาพักอยู่ที่วัดทรายงาม พระองค์ทรงกระทำวัตรปฏิบัติอย่างปกติธรรมดาของหมู่คณะ คือฉันหนเดียวเหมือนกับพระอาจารย์กงมา แม้พระอาจารย์กงมาจะให้บรรดาญาติโยมนำภัตตาหารเพลมาถวาย พระองค์ก็ไม่ฉัน พระองค์ตรัสว่า “เราอยู่ที่ไหน ก็ต้องทำตามระเบียบเขาที่นั่น ”

    อยู่ต่อมาวันหนึ่ง สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงชวนพระอาจารย์กงมาไปธุดงค์ด้วยกัน ไม่ให้ใครไปด้วย ไปเพียง ๒ องค์เท่านั้น พระองค์ทรงแบกกลดสะพายบาตรเอง แม้พระอาจารย์กงมาจะขอช่วยเท่าใด พระองค์ก็ไม่ยอม พระองค์ตรัสว่า “เธอเคยไปทางใด เธอจงพาเราไปทางนั้น”

    พระอาจารย์กงมา ได้พาสมเด็จพระสังฆราชเจ้าออกเดินธุดงค์ไปในสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ท่านเคยออกเดินธุดงค์มาแล้ว เวลาผ่านไปหนึ่งอาทิตย์เศษ ไม่ว่าท่านจะพักปักกลด ณ ที่แห่งใด ก็จะมีประชาชนที่สนใจในธรรมะปฏิบัติ มาเฝ้าห้อมล้อมเพื่อฟังธรรมะและประพฤติปฏิบัติกรรมฐานกับพระอาจารย์กงมาในที่ทุกๆ แห่ง

    จนสมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงห้ามพระอาจารย์กงมาในใจความตอนหนึ่งว่า “กงมา...อย่าเรียกเราให้ใครได้ยิน ว่าเราเป็นสมเด็จพระสังฆราชเลย อย่าบอกใครเป็นอันขาด เวลาพูดหรือแสดงออกให้เหมือนกับเป็นพระธรรมดาด้วยกัน”

    วันหนึ่ง ท่านได้เดินธุดงค์ไปพักปักกลดที่บริเวณเชิงเขาสระบาป พอดีเกิดฝนตกลมแรง กลดที่นำมาไม่สามารถป้องกันลมฝนได้ เพราะพายุลมฝนรุนแรงเหลือเกิน

    การปักกลดนั้น เป็นไปตามกฎกติกาของพระอยู่ป่าทั่ว ๆ ไป คือต้องพักอยู่ห่างกันพอสมควร สมเด็จฯ ท่านทรงเปียกปอนหมด พระองค์ต้องทรงนั่งตากฝนอยู่เช่นนั้น ส่วนพระอาจารย์กงมาท่านก็นั่งตากฝนเช่นเดียวกัน แต่บริขารไม่เปียกเพราะรู้วิธีปฏิบัติ

    ฝนหยุดแล้ว ท่านก็ได้ครองจีวรไปเฝ้าสมเด็จฯ พระองค์ตรัสว่า“ท่าไม่คุณไม่เปียกล่ะ เราเปียกหมดเลย”“ก็กระผมมีคาถาดี ขอรับพระคุณท่าน” พระอาจารย์กงมากราบทูล พระองค์จึงตรัสว่า

    “เราจะต้องเรียนคาถานี้ให้จงได้”

    ภายหลังกลับจากการเดินธุดงค์ กลับมาถึงวัดทรายงามเรียบร้อยแล้ว ขณะที่สามเณรเข้าไปนมัสการปฏิบัติปัดกวาดกุฏิที่ประทับ พอดีพระองค์ทรงนึกขึ้นได้จึงตรัสถามสามเณรว่า

    “เณร...ขอถามหน่อย คาถากันฝนว่าอย่างไร เธอรู้บ้างไหมา”เมื่อรู้บ้างฝ่าบาท”

    “เออ...ว่าไปให้เราฟังที เราจะได้จำเอา”

    “เมื่อเวลาฝนตก ต้องเก็บของทั้งหมดลงใส่ในบาตร ซึ่งพระธุดงค์กระทำเช่นนี้ทุกองค์ อันมีจีวร สังฆาฏิ เป็นต้น แล้วใช้ฝาบาตรปิดให้สนิท”

    พระองค์ทรงอุทานว่า “อ้อ... ไม่บอกกัน ที่แท้จริงมันเป็นอย่างนี้เอง นึกว่าจะเป็นคาถาอะไร” พระองค์ตรัสเสร็จก็ทรงพระสรวล แล้วก็ทรงตรัสต่อไปว่า

    “การธุดงค์ของท่านกงมาและพระปฏิบัติกรรมฐานนี้ ได้ประโยชน์เหลือหลาย อย่างนี้ธุดงค์ให้มาก ๆ จะทำให้ศาสนาเจริญรุ่งเรือง”

    นี้เป็นลักษณะของผู้นำและนี่คือการสอบสวนหาข้อเท็จจริงของพระประมุขสงฆ์ในสมัยนั้น ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงประสบความจริง ทั้งยังให้ความยุติธรรมอย่างยอดเยี่ยมแก่ผู้ที่ถูกกล่าวหา นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา พระองค์ทรงให้ความคุ้มครองและสรรเสริญพระอาจารย์กงมาเสมอ ๆ
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บวชมาทำไม?

    การบวช การปฏิบัติ เรามุ่งมาประพฤติปฏิบัติธรรมะ หรือมุ่งมาเพื่อประโยชน์อันใด คิดอย่างนี้ ในชีวิตนักบวชทุก ๆ คน ไม่ว่าบวชชี แม่ขาว หรือบวชพราหมณ์ บวชพระก็ดี บวชมาเพื่ออะไร?

    ที่ต้องถามตนเองอย่างนี้ อย่าว่าขู่ อย่างนี้อย่าว่าดุ วิธีการอย่างนี้เพื่อให้เราระลึกรู้สึกตัวเรา ต้องคิดอย่างนี้ว่า เราบวชมาเพื่ออะไร?

    “ชีวิตนี้บวชมาเพื่อกินข้าวชาวบ้านหรือ? หรือบวชมาเพื่อขอเขากิน บวชมาเพื่อหวังร่ำรวยหรือ?” นี่ต้องคิดสอนตนเองอย่างนี้

    ถ้าเราบวชมาเพื่ออย่างนั้น ชีวิตในโลกมันครองด้วยความสบาย ไม่ใช่การมาล่อลวงชาวบ้านกินแบบนี้ เพราะฉะนั้น นักบวชจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องแสวงหาธรรมะมาเป็นเครื่องประดับใจตน

    พระพุทธเจ้าท่านสอนศีล สมาธิ ปัญญา สอนไว้เพื่ออะไร? เพื่อใคร? สอนไว้เพื่อเราผู้เป็นนักบวช ให้ได้นำมาประพฤติ เพื่อขัดเกลากิเลสตัวทิฏฐิมานะของหัวใจ ที่แสนจะหมกมุ่น เพื่อการชำระกิเลสเป็นต้นนี้ให้หมดสิ้นไป

    เราต้องถามเราว่า เป็นพระ เป็นเณร เป็นชี เป็นแม่ขาว เราบวชมาเพื่ออะไร? เราต้องคิดฝึกดูตัวเรา ที่เรียกว่าฝึกตน เราต้องสำรวจตัวเราอยู่เสมอว่า เราบวชเข้ามาเพื่ออะไร? หรือจะบวชเข้ามาเพื่อสบาย เพราะอยู่ในโลกก็สบายเหมือนกัน มีลูกมีเมียมีผัวอยู่อย่างอิสระเสรี ไม่อยู่ในอำนาจผู้ใด แต่ถ้าเรามาเป็นนักบวชแล้ว เราต้องมีขอบเขตเหตุผล

    การบวชเข้ามาแล้วไม่มีใครมาตามบังคับใคร พระพุทธองค์เองก็ไม่ทรงบังคับใคร เธอจะปฏิบัติก็ได้ ไม่ปฏิบัติก็ได้ อยู่อย่างสบายก็ได้ แต่ทีนี้เมื่อเราย้อนเอาธรรมอันลึกซึ้งมาขบคิด ทำให้เกิดสลดจิตว่า “ชีวิตเราไม่ตายหรือ?” สิ่งนี้เราก็ต้องค้นหาเหตุผล มรรคผลมันอยู่ที่ไหน ทำไมพระพุทธเจ้าถึงทรงแสดง อย่างในอนัตตลักขณสูตร แสดงถึงรูปไม่เที่ยง รูปเป็นทุกข์ รูบ่ในที่ใกล้ที่ไกล รูป ในอดีต อนาคต ล้วนแต่แปรปรวนยักย้ายต่างๆ นานา ประการต่างๆ เหล่านี้เป็นต้น ทรงแสดงเพื่อใคร? อย่างพระสวดมนต์ทุกๆ วันนี้ สวดเพื่อศพหรือ? เพื่อหวังเงินหรือ? นั้นการแสดงธรรมก็เพื่อต้องการให้คนเป็นฟัง ต้องเข้าใจอย่างนั้น ต้องมีโอปนยิโก น้อมเข้ามาสู่ตัวเรา นี่ล่ะธรรมะ สำหรับผู้มีใจอันเป็นปกติแล้ว ได้ยินสิ่งใดมากระทบอย่างนี้ มันก็มีโอปนยิโก น้อมเข้ามาสอนตัวเรา ตำหนิตัวเรา

    <TABLE width=150 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า (ชื่น สุจิตฺโต)



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ใจเจ้าเอย เจ้าอย่าเพลิดเพลิน อย่าสนุกสนานร่าเริง เจ้าจงมาพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งอันที่เกิดขึ้นมาอย่างนี้

    นี่แหละ เป็นทางที่จะกำจัดภัยของใจ ที่มันเดือดร้อนวุ่นวายให้เบาบางลงไป ยิ่งถ้ามองให้ลึกซึ้งลงไปในสิ่งที่ร่าเริงสนุกสนานอย่างนั้น ที่โลกทั้งหลายเขาพากันเข้าใจว่าเป็นสุข เป็นสิ่งที่สนุกสนานร่าเริง ถ้าเรามาพูดถึงความลึกซึ้งแห่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ทรงยกขึ้นมาเป็นหลักธรรม ยิ่งแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า สิ่งเหล่านั้นเต็มไปด้วยไฟ คือจิตอันประกอบด้วยความเพลิดเพลินยิ่งอันเจือด้วยอำนาจราคะ นั่น...นั่น...แหละคือไฟกองใหญ่เผาใจเรา ให้เกิดความร้อนรุ่มกระวนกระวาย ทำให้ใจไม่เกิดความสงบ

    การฟังเทศน์ฟังธรรม สวดมนต์ทำวัตรนี้ เพื่อต้องการเอาธรรมะนั้น มาใคร่ครวญพินิจพิจารณาให้ใจที่มันดิ้นรนกระวนกระวายสร่างซาลงไป

    อย่างที่เราศึกษา นักธรรมตรี โท เอก ศึกษามหาเปรียญ ๙ ประโยค ๑๐ ประโยค ตั้งอะไรนัก ตั้งร้อยแปดพันประการ ก็เพื่อต้องการที่จะรู้จุดที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ที่ทรงแสดงว่าชำระใจของตน ให้บริสุทธิ์หมดจด นั่นเป็นยอดศาสนา เป็นยอดคำสอนของพระพุทธเจ้า

    แต่วิธีที่จะชำระใจให้บริสุทธิ์ ทำไม? มันถึงไม่บริสุทธิ์สักที ถ้าเป็นอย่างนี้เราก็ต้องคิดหาวิธี ที่พูดอย่างนี้อย่าหาว่าขู่เข็ญ ฟังไม่ได้ออกไปเลย ใครฟังไม่ได้ออกไปเลย หลวงตาเจี๊ยะอยากเอาอย่างนี้หน่อย การเทศน์ต้องการให้เป็นคติ บุคคลผู้ฟังนั้นจะได้นำไปพินิจพิจารณา เมื่อเห็นว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์กับตน ก็จะได้เอาไปปฏิบัติ จะให้เทศน์เพื่อโก้ๆ เพื่อหวังลาภ เพื่อหวังสรรเสริญอย่างนั้น จะเทศน์กันไปทำไม? เพราะฉะนั้นเวลาเทศน์ใจมันจึงไม่ดึงดูดให้อยากเทศน์ เพราะใจคนฟังมันไม่ใส่ใจในธรรมะ

    ถ้าเรามาเห็นว่าการใส่ใจในการปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ เราไม่หักไม่ฟาดมันลงไปแล้ว มีแต่มันจะหมักหมม เผาหัวตัวเองอยู่ตลอดกาล จนกระทั่งตายเปล่า แบบนี้ใครทนได้ก็ทนไป เราไม่ทน เราจะเผากิเลส ไม่ให้กิเลสมันมาเผาเรา

    เปรียบเหมือนขวากหนามที่ตั้งอยู่ในตีนเรา เข็มมีเต็มไปหมด แต่ไม่รู้จักหยิบเอาเข็มนั้นมาใช้ เข็มนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์ ตีนนั้นก็ไม่สามารถจะเอาหนามนั้นออกได้

    ธรรมะมีอยู่ทั่วไป แต่เมื่อบุคคลใดมีปัญญา มีสติมาระลึกบทใดบทหนึ่ง มากำกับอยู่ในหัวใจเราอย่างนั้นแล้ว ตั้งอกตั้งใจบำเพ็ญอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งใจนั้นเกิดความสงบแล้ว ก็เหมือนหนามที่ทิ่มแทงออกไปจากตีน รู้จักหยิบเข็ม จะตื้นลึกขนาดไหนก็เอาเข็มมาบ่งเข้า ไอ้หนามนั้นมันก็ออกไปจากเท้าของเรา เราก็ได้รับความสบาย ไม่เสียว ไม่เจ็บ ไม่ปวดอีกเหมือนเดิม ใจที่ถูกธรรมะของพระพุทธเจ้าเข้าไปข่มเข้า ใจนั้นก็สงบเยือกเย็นในขณะนั้น

    การปฏิบัติ หัวใจก็ต้องมีความเข้มแข็ง ความอุตสาหะ ความพยายาม ความพากเพียรอย่างนี้ เหมือนไฟที่มันไหม้ติดอยู่กับศีรษะของเราอย่างนี้ เพราะหัวใจอันนั้นไม่เห็นภัย ไม่เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์เดือดร้อน เหมือนอย่างที่ไฟที่ติดอยู่ในหัวเราอย่างนั้นเหมือนกัน บางคนก็ทนอยู่อย่างนั้น ไม่รู้จักวิธีแก้ไขดับไฟ ปล่อยให้มันไหม้อยู่ในหัวเรา ก็มีแต่วันที่จะตายจมลงไปอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เพราะเราไม่มีอุบายที่จะแก้ไข อันนี้เป็นสิ่งที่ยาก การแก้หัวใจที่ไม่สงบ ก็ต้องใช้ความพยายามแก้ไขดัดแปลงให้มากๆ ไม่ใช่จะนิ่งเพ่งดูจำเพาะหัวใจอันนั้น อันเดียวอย่างนั้น

    <TABLE width=150 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    กุฏิท่านพ่อลี ที่วัดทรายงาม



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    การเพ่งอย่างนั้น ก็ใช้ได้เหมือนกันสำหรับผู้ที่มีกำลัง ถ้าผู้ไม่มีกำลังแล้ว นิวรณธรรมก็เข้ามาทับ หรือเรียกว่าอารมณ์ทั้งหลายเข้ามาชิงความดีของเราที่จะตั้งอยู่ไม่ได้ มันคอยให้ส่ายออกไป โน้มน้าวหาอารมณ์เข้ามาป้อนใจอยู่ตลอดเวลา สมาธิก็ไม่สามารถจะตั้งได้ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติก็ต้องดูเล่ห์ ดูเหลี่ยมดูใจของเรา ใครจะพูดขนาดไหนมันก็ไม่เท่าใจเรา เราต้องดูเราเอง ดูที่หัวใจลงไป ในขณะที่บำเพ็ญอย่างนั้นใจมันไม่สงบ เพราะใจไปคิดวุ่นวายสิ่งใดอย่างนี้ เราต้องหาวิธีแก้ไข ก็เคยพูดให้ฟังอยู่บ่อยๆ แล้วว่า ต้องใช้การบริกรรม เหมือนอย่างคนเราที่ตกไปในกลางทะเล ไม่มีเรือไม่มีแพ ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นพาหนะก็จำเป็นต้องหา มีหู มีตา มีอันใดที่จำเป็นต้องใช้ก็ต้องพยายามหาสิ่งนั้นเพื่อป้องกันชีวิตนี้ ถ้าจะเปรียบเทียบก็ต้องเป็นอย่างนั้น มีท่อนไม้ ท่อนต้นกล้วย หรือวัตถุอย่างใดๆ มีไม้ไผ่ เป็นต้น ที่จะสามารถเกาะยังชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย ไม่ถึงแก่กาลตายจมลงไปในทะเล

    เหมือนกันกับเราภาวนา ถ้าใจมันไม่สงบ ใจมันก็วอกแวกอยู่ตลอดเวลา ใจไม่สงบ หรืออย่างเกิดความง่วงเหงาหาวนอน หรือเกิดความขี้เกียจขี้คร้าน เกียจคร้านจนไม่อยากคิด นี่มันเป็นอุปสรรคสำหรับการภาวนาทั้งนั้น อุปสรรคสำหรับการปฏิบัติของหัวใจ หัวใจผู้ปฏิบัติก็จำเป็นต้องเข้มแข็งต่อสู้ กำจัดสิ่งเหล่านี้ให้มันออกไปจากหัวใจเรา เมื่อกำจัดออกไปได้ อย่างนั้นก็เหมือนเรามีกำลังลอยอยู่ในทะเลนั่นแหละ เจอะท่อนไม้ที่ได้อาศัยไปถึงฝั่งได้ก็ไม่ถึงแก่ความตาย อุปมาอุปไมยก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน ใจที่พะว้าพะวงมีนิวรณธรรมเข้ามาครอบงำใจเราอยู่ตลอดเวลา ไม่เพียงถึงนาทีสองนาทีอย่างนี้ มันก็ชิงเอาไปหมด ไม่ได้ความดีเกิดขึ้นกับใจเรานี่

    เพราะฉะนั้นท่อนไม้ซุงอันใด ที่เราเกาะชีวิตไปนั้นอันยังชีวิตเราไม่ให้ตาย ก็เหมือนกับที่เราอาศัย พุทโธ ธัมโม สังโฆ อันใดอันหนึ่ง หรือความตาย ความไม่เที่ยง ความเจ็บความป่วยอันใดๆ ท่อง อรหัง พุทโธ อิติปิโส ภควา บทใดบทหนึ่ง หยั่งลงไปให้ถึงหัวใจอยู่อย่างนั้น แล้วให้กอดแน่นอยู่อย่างนั้น ไม่ให้ใจพะวักพะวงไปที่ใด อย่างนี้นี่เรียกว่าเป็นอุบาย เป็นที่จะประคับประคองใจของเรานั้นไม่ให้เข้าไปแส่ส่ายหาอารมณ์เข้ามาป้อนใจ

    เมื่อภาวะของใจจดจ่ออยู่อย่างนั้นแล้ว ใจนั้นมันก็จะเกิดความสงบ คือเมื่อก่อนจะสงบมันก็ต้องกำจัดนิวรณ์ตัวนั้นเองออกไป เมื่อนิวรณ์มันออกไป เมื่อเราเพียรพยายามว่าอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา ใจนั้นก็จดจ้องกับการบริกรรมอยู่อย่างนั้น ตลอดต่อเนื่องกันไป ใจนั้นก็เริ่มสบาย นิวรณ์ไม่ค่อยมีมา หรือมีมาก็ห่าง ถ้าเห็นว่ายังห่างอยู่ เราก็ต้องอย่าเพิ่งทิ้งการบริกรรมตัวนั้น

    กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ ราคะ โทสะ โมหะ มันฝังอยู่ในหัวใจ เป็นเหมือนหนามมาแทงอยู่ในอกอย่างนี้ มันเจ็บแสบอยู่ทุกวัน เราไม่พยายามถอดมันแล้ว มันก็เป็นไต เป็นหนองแล้วก็เน่าเปื่อย ผลที่สุดก็ตาย ใจเรานี่เป็นอย่างไรมันจึงไม่สงบ เราก็จำเป็นจะต้องพยายามเอามันให้เกิดความสงบจนได้ อย่าให้เสียทีที่เราเป็นนักปฏิบัติ ต้องมีความเข้มแข็งสำหรับใจ บางคนกายก็ไม่เข้มแข็ง ใจก็ยิ่งไม่เข้มแข็งไปใหญ่ บางคนกายไม่ให้แต่ใจเข้มแข็งอย่างนี้

    เพราะฉะนั้นต้องอุตส่าห์ อันธรรมของพระพุทธเจ้า ยกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง บำเพ็ญจนได้เป็นสัพพัญญู ก็ต้องเอาอยู่ ๖ ปีอย่างนี้เป็นต้น ต้องใช้ความพยายาม อดข้าวอดปลา ทำสารพัดสาระเพทุกอย่าง ทำจนเกือบล้มเกือบตายก็ยังไม่ได้สำเร็จมรรคผลธรรมวิเศษนี่ เป็นอย่างนั้น จนกระทั่งมาได้ปีที่ ๖ นี่ มาเห็นปฏิปทาทางเดิน ถึงอานาปานสติ เมื่อใช้ปัญญาพินิจพิจารณา จึงได้รู้ความจริงเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ในการปฏิบัติของเราก็เหมือนกัน อันใดที่จะแก้ใจให้มันขาดจากนิวรณ์แล้ว ใจนั้นจะได้เป็นสมาธิ นั่นแหละเป็นอุบายสำคัญที่มันจะแก้ใจเราได้ ใจอย่างนั้น จึงเรียกว่าใจอาตาปี คือใจที่สามารถแผดเผากิเลสลงได้
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ชีวิตนี้เหมือนลิเก

    พวกเราทุกคนที่มุ่งเข้าหาความสงบ การทำความสงบนี้เป็นสิ่งสำคัญในบรรดาโลกทั้งหลาย ถ้าเราสังเกตดูอย่างลิเกที่เล่นอยู่อย่างนี้ เอาเสียงหาเงินมาเลี้ยงชีพของตัว ตะเบ็งอยู่ได้ทั้งวันทั้งคืน หลายๆ คืน หลายๆ วัน อย่างนี้เป็นต้น เขามีอุตสาหะ พยายาม พากเพียร พวกเราเป็นผู้ที่สละกิจการบ้านเมืองอย่างนั้น มุ่งมาดปรารถนา ที่จะหาความสงบจริงๆ จังๆ นี่เป็นจุดสำคัญของเรา เขาเล่นลิเกตั้งหลายๆ ชั่วโมง อย่างนี้เป็นต้น ก็ไม่ค่อยจะเหน็ดเหนื่อยเท่าไหร่ เขาก็มีความเหน็ดเหนื่อย ถ้าถึงเวลาที่จะรบกันในเรื่องอย่างนี้

    เพราะฉะนั้นสิ่งนี้เมื่อเรา โอปนยิโก น้อมเข้ามาใส่ตนแล้ว ก็เป็นคติเครื่องเตือนใจที่จะสอนเรา อย่างเรานั่งกรรมฐานอย่างนี้ มันเกิดเจ็บเกิดปวดเกิดเมื่อยขึ้นมาอย่างนี้ เราก็น้อมสิ่งเหล่านี้ว่า

    ลิเกนะเขารำได้ ทั้งฟ้อนรำ ทั้งเต้นรำ ทั้งกระโดดโลดเต้น ต่างๆ นานาได้เป็นเวลาตั้งหลาย ๆ ชั่วโมง ทำไมเขาทำได้ เราจะสร้างความดีความงามให้กับหัวใจของเรา ให้ใจเราเกิดความสงบอย่างนี้ เราจะแพ้ได้อย่างไร นี่เราต้องคิดอย่างนั้น เมื่อคิดอย่างนั้นแล้ว มันมีใจอุตสาหะ มีวิริยะ ความพากเพียรเกิดขึ้น

    สิ่งที่เราจะได้รับความแจ้งประจักษ์ขึ้นในตัวเรา ก็ต้องอาศัยวิริยะ ความพากความเพียรเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพราะเมื่อขาดวิริยะความพากเพียรแล้วธรรมะจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะธรรมะเป็นของจริง บุคคลที่จะเข้าไปรู้ความจริงนั้น อย่างการทำสมาธิ ก็จำเป็นจะต้องปลดเปลื้องอารมณ์ที่เป็นอดีต อนาคตให้เหลือใจอันเดียวอยู่กับพุทโธ หรือธัมโม สังโฆ บทใดบทหนึ่ง หรือมรณานุสติ อย่างนี้ เป็นต้นแต่ลักษณะใจเช่นนั้น ที่ไม่ค่อยเคยฝึกหัด หรือไม่เคยชำนิชำนาญ ในการกระทำในขั้นต้น เมื่อการบริกรรมอย่างนั้น ใจก็ต้องวอกแวกคิดไปในที่อื่นบ้าง เป็นธรรมดาของใจ เหมือนวัว ควาย ที่เอามาเลี้ยงอยู่ ยังไม่เคยฝึกชำนิชำนาญ ก็ต้องดึงเชือกดึงพรวนจนขาดอย่างนี้เป็นธรรมดา เหมือนกับตัวเรา

    เพราะฉะนั้น สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความกล้า ความอาจหาญ ความพรากความเพียรอย่างนั้น จึงจะได้ประสบพบความจริงจากธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ต้องอาศัยความจริงเกิดขึ้นกับบุคคลนั้น ไม่เห็นแก่ปากท้อง ไม่เห็นแก่หมอน ไม่เห็นแก่เสื่อ นั่งตามสบายตั้งใจภาวนาอย่างจริงจัง อย่างนั้นจึงจะประสบสิ่งอันสูงส่ง
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การภาวนาต้องบริกรรม
    ฉะนั้น พวกเราอย่าไปเสียดายบริกรรม ว่าจนให้มันเหนื่อยที่สุด ให้มันนานเท่าไรได้ยิ่งดี สักประเดี๋ยวจิตมันก็สงบ มันโหยจากการไม่นึกคิดแล้ว ถ้าเราไม่บริกรรมมันกำลังแข็งตัว มันก็ต้องออกไปสู้กับเราอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นต้องบริกรรม พุทโธๆ โธๆ ๆ ๆ ๆ ว่าให้เร็ว พอมันหมดลมก็เอาอีก โธๆ ๆ ๆ ๆ แต่อย่าให้ดัง เดี๋ยวเขาว่าบ้า ให้เบาๆ ในใจ ว่าอยู่อย่างนั้นให้เร็วๆ ๆ โธๆ ๆ หยุด โธๆ ๆ หยุด ถ้าเรา โธเข้า โธออก ก็เสร็จฉิบ...หมดซิ หัวใจมันห่าง แล้วมันคิดหมด

    การดูลม
    <TABLE width=150 align=right border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    กุฏิสงฆ์วัดทรายงาม
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    การดูลมหรือที่เรียกว่าอานาปานสตินี่ ต้องเหมือนคนเป็นเศรษฐี ต้องมีทรัพย์สินข้าวของเงินทองกินไม่หมดแล้ว จึงดูลมได้ นั่นบุคคลนั้นเป็นเศรษฐีแล้ว รวยแล้ว ถ้าพูดถึงสมมุติ ต้องเป็นอริยะเจ้าขั้นสูงแล้ว เป็นพระขีณาสพ นั่นจึงดูลม ถ้าผู้ไม่เป็นพระขีณาสพไปดูลมไม่ได้ สมาธิยังไม่พอ ปัญญายังไม่พอ ยังไม่สิ้นอาสวะ ตัวนี้ตัวสำคัญ มีคนมาถามกันแยะนะ ถ้าใครไม่เชื่อก็ให้กลับไป คุยกันไม่รู้เรื่อง

    มีผู้หญิงมาถาม เราก็นั่งหลับตาคุยด้วย มันเอาตำรามาเปิด ทีหลังมันถามเรื่องรูปฌาน อรูปฌาน เอ๊ะ!... เปิดตำรา ดูตำรา เลยบอกโยมกลับเถอะ เราไม่เป็น...ไม่เป็นแล้ว ไล่กลับไปเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...