ประวัติออสเตรเลีย

ในห้อง 'ทวีป ออสเตรเลีย' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    [SIZE=+1]ประวัติออสเตรเลีย[/SIZE]


    [SIZE=+1]ออสเตรเลีย[/SIZE] เป็นดินแดนที่สวยงาม เป็นหนึ่งในประเทศที่น่าไปเยือน โดยเฉพาะนครซิดนีย์ ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ว่าเป็นเมืองที่น่าอยู่ติดต่อกันหลายปีมาแล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งความขัดแย้ง ออสเตรเลียเป็นประเทศที่เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในโลก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นทวีปที่เล็กที่สุด นอกเหนือจากนี้ออสเตรเลียยังเป็นทวีปที่ถูกค้นพบหลังสุดในโลก แต่กลับเป็นดินแดนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก จึงมีผู้เรียกขานประเทศออสเตรเลียว่า เป็น “ประเทศใหม่บนดินแดนอันเก่าแก่”
    [​IMG]
    นักประวัติศาสตร์ เชื่อกันว่า เกาะออสเตรเลียเป็นดินแดนที่เกิดขึ้นมาแล้วประมาณ 4 พันล้านปีก่อน โดยได้ถือกำเนิดก่อนดินแดนอื่นๆ ทั่วโลก ซึ่งส่วนมากทวีปอื่นจะเก่าแก่ประมาณ พัน-สองพันล้านปี มนุษย์กลุ่มแรกที่อาศัยอยู่บนที่เกาะออสเตรเลียเริ่มมีตั้งแต่เมื่อไหร่และ มาจากไหน ยังเป็นปริศนาอยู่ แต่เท่าที่นักประวัติศาสตร์พอจะประมาณได้อย่างน้อยที่สุดที่ 5 หมื่น ถึง 7 หมื่นปีก่อน ก็มีมนุษย์อาศัยอยู่บนเกาะออสเตรเลียแล้ว ชนกลุ่มนี้เรียกว่า "ชาวอะบอร์ริจิน" (Aborigin) ซึ่งได้อาศัยกระจัดกระจายอยู่บนเกาะนี้ บางกลุ่มเดินทางข้ามแผ่นดิน และทะเลไปอาศัยอยู่ที่ เกาะทัสมาเนีย ( Tusmania ) อาชีพส่วนใหญ่ของชาวอะบอร์ริจินคือการล่าสัตว์ป่า อาศัยอยู่ในถ้ำ ต่อมาชนเผ่าดั่งเดินเหล่านี้ได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ
    ในด้านการรู้จักการใช้ไฟ รู้จักการสร้างที่อยู่อาศัย การเพาะปลูก การพัฒนาเครื่องใช้ การสร้างที่กำบังจากการจู่โจมตลอดจนพัฒนาอาวุธในการล่าสัตว์ต่างๆ จนกระทั้งประมาณ 3-5พันปีก่อน มีหลักฐานจากศิลปะบนก้อนหินพบว่า ชนเผ่าอะบอร์ริจินมีสังคมและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีการอาศัยอยู่กระจัดกระจายแยกเป็นเผ่าต่างๆมากมาย เผ่าไหนที่เข็มแข็งที่สุดก็จะได้ครอบครองเป็นผู้นำเผ่าอื่นๆ ขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของชาวอะบอร์ริจินได้มีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลามีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ มีการพัฒนาอาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ มีการใช้โลหะ,ไม้,หิน มาประดิษฐ์เป็นของใช้ เครื่องดนตรีและอาวุธ ซึ่งถือได้ว่าเป็นยุคใหม่ของชาวอะบอร์ริจิน


    [SIZE=+1]การค้นพบเกาะออสเตรเลีย[/SIZE]
    ในช่วง 1400 ปีก่อน ชาวยุโรปเริ่มมีการสร้างเรือในการเดินทางเพื่อการค้าและล่าอาณานิคม รวมทั้ง การค้นหาทองคำ และอัญมณีในดินแดนอื่นๆ ในช่วงนั้นการค้าที่สำคัญ คือการค้าเครื่องเทศ ชาวโปรตุเกส ชาวสเปน ชาวดัสซ์ และชาวอังกฤษ ได้มีการล่องเรือเพื่อค้าขาย และล่าอาณานิคม ข้ามมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก


    [SIZE=+1]ชาวยุโรปมาถึงเกาะออสเตรเลีย[/SIZE]
    และแล้วในปี ค.ศ. 1606 ชาวยุโรปพวกแรกที่ได้พิสูจน์ทางประวัติศาสตร์ว่าได้ล่องเรือมาถึงเกาะ ออสเตรเลีย คือชาวดัชซ์ ผู้ที่นำเรือคือ วิลเลี่ยม จานส์ Mr. Willem Jansz เดินทางโดยเรือ Duyfken พร้อมลูกเรือจำนวนหนึ่งได้มาถึงฝังตะวันตกของแหลม ยอกค์ Cape York Penisula ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐควีนแลนด์ในปัจจุบัน นับเป็นครั้งแรกที่ชาวยุโรปได้เหยียบลงบนพื้นดินเกาะออสเตรเลียและได้พบกับ ชาวอะบอร์ริจินซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองบนเกาะ แต่โชคร้ายได้เกิดการปะทะกันจนเป็นเหตุให้ลูกเรือชาวดัชซ์ถึงแก่ชีวิต อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้ได้ทำให้ชาวยุโรปเริ่มรู้จักเกาะแห่งออสเตรเลียมาก ขึ้น
    ในช่วง 100 ปีต่อมามีเรือของชาวยุโรปหลายๆกลุ่มได้แวะเวียนเข้ามาที่เกาะออสเตรเลีย แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดขึ้นมาสำรวจเกาะนี้อย่างเป็นทางการอย่างจริงจัง เช่น
    ในปี 1616 ชาวดัชซ์ ชื่อ เดิร์ก ฮาร์ทอก Mr.Dirk Hartog ได้มาถึงด้านตะวันตกของเกาะ บริเวณ Shark Bay และได้ตอกโล่ติดไว้กับต้นไม้ ยืนยันการมาถึงแผ่นดินออสเตรเลีย
    ในปี 1683 ชาวดัชซ์อีกคนชื่อ แจน คอนเตนส์ Jan Contensz ได้มาถึงอ่าว Carpentaria และได้พบชาวพื้นเมืองอะบอร์ริจินเป็นเหตุให้เกิดการะทะกันทำให้ลูกเรือชาว ดัชซ์เสียชีวิตถึง 10 คน
    ในปี 1642 อาเบล ทัสแมน Abel Tasman ชาวดัชซ์อีกคนได้รับคำสั่งให้ค้นหาแผ่นดินในซีกโลกใต้ สิ่งที่ อาเบลค้นพบ คือนิวซีแลนด์ หมู่เกาะฟิจิ และเกาะทัสมาเนีย และในปี 1644 เขาก็ได้ออกสำรวจอีกครั้ง แต่ก็ไม่ได้พบอะไรเพิ่มเติม
    ในปี 1687 ,1699 วิลเลี่ยม แดมปิเยร์ William Dampien ชาวอังกฤษนักบุกเบิก นักผจญภัย ผู้เดินทางข้ามทะเล และเป็นหนึ่งในลูกเรือโจรสลัด
    ในปี 1687 วิลเลี่ยม ได้เดินทางมาถึงเกาะออสเตรเลียในเรือโจรสลัดชื่อ Cygret โดยโดนพายุพัดรุนแรงจนต้องหลบมรสุมเลียบชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ ออสเตรเลียและได้เข้ามาพักในอ่าวใหญ่เพื่อหลบลมและซ่อมแซมเรือเป็นเวลาถึง 2 เดือน ในระหว่างที่พักที่อ่าว เขาได้เขียนบันทึกเส้นทางการเดินเรืออย่างละเอียดและเมื่อเดินทางกลับมาถึง อังกฤษ เขาได้เกลี้ยกล่อมให้รัฐบาลอังกฤษให้อนุญาตเขากลับมาสำรวจที่เกาะออสเตรเลีย อีก ในปี 1699 วิลเลี่ยม ก็ได้เดินทางสำรวจเกาะออสเตรเลียเป็นครั้งที่ 2 ต้องพบกับความล้มเหลวอีกครั้ง แต่เขาได้เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในฐานะที่เขาเป็นผู้พิมพ์งานเขียนเกี่ยวกับ เกาะออสเตรเลียเป็นคนแรก
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">[​IMG]</td> <td align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center">[SIZE=-1]Jame Cook[/SIZE]</td> <td align="center">[SIZE=-1]Joseph banks[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table>
    ใน 100 ปีต่อมาในปี 1770 ชาวอังกฤษชื่อ เจมส์ คุก James Cook ได้เดินทางเข้ามาในมหาสมุทรแปซิฟิก ไปยังเกาะ ตาฮิติ Tahiti เพื่อค้นหาวงโคจรของดาวศุกร์พร้อมทั้งสืบหาดินแดนทางตอนใต้ไปด้วย ซึ่งก็คือเกาะออสเตรเลีย หลังจากเขาออกจากเกาะ Tahiti กัปตันคุก ได้แล่นเรือผ่านเข้าไปยังเกาะนิวซีแลนด์ และได้พบว่า เกาะนิวซีแลนด์ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่ยิ่งใหญ่ทางตอนใต้ที่เขาค้น หาอยู่ แต่เป็นเกาะใหญ่ 2 เกาะใกล้กัน(เกาะเหนือและเกาะใต้) กัปตัน คุก จึง ตัดสินใจกลับอังกฤษโดยล่องเรือเลียบชายฝังเกาะออสเตรเลียด้านตะวันออกเพื่อ หลบลมด้วย กระแสลมทำให้เรือ เอ็นเดียเวอร์ (Endeavour) ของกัปตันคุก ได้ถูกพัดขึ้นไปทางเหนือเรื่อยๆ และได้มาพักที่อ่าวใหญ่แห่งหนึ่ง (ปัจจุบันคือ Botany Bay)
    ที่อ่าวนี้ เซอร์โจเซฟ แบงค์ Sir Joseph Bank ผู้ร่วมเดินทางมาด้วย ได้เก็บตัวอย่างพืชมากมายกลับไปด้วย และด้วยเหตุที่ตัวอย่างพืชที่เก็บได้มากมาย กัปตันคุกจึงได้ตั้งชื่ออ่าวใหญ่แห่งนี้ว่า “Botany Bay” ในขณะที่เรือของกัปตัน คุก จอดหลบลมที่อ่าวนี้ ชาวอะบอร์ริจินที่อาศัยอยู่ที่บริเวณอ่าวได้พยายามขับไล่เรือของกัปตันคุก จนมีการปะทะกันแต่ไม่รุนแรง ต่อมาเขาและลูกเรือได้ส่งขนมปัง เสื้อผ้า และของใช้ไปให้ชาวอะบอร์ริจิน การปะทะกันจึงได้ยุติลง หลังจากนั้นเรือของกัปตันคุก ก็ได้ล่องขึ้นเหนือมาเรื่อยๆ และได้มาพักที่อ่าวอีกแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันคือ Cook Town) และในที่สุดได้ล่องเรือขึ้นไปถึง Cape York กัปตัน Cook ได้ชักธงอังกฤษขึ้นและประกาสอ้างสิทธิ ตลอดแนวชายฝั่งตะวันออกของเกาะนี้เป็นดินแดนของอังกฤษ ในนามพระเจ้าจอร์จที่ 3 และได้ตั้งชื่อพื้นที่ชายฝั่งนี้ว่า New South Wales


    [SIZE=+1]การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวอังกฤษ[/SIZE]
    ในวันที่ 26 มกราคม ปี ค.ศ. 1788 การอพยพของชาวอังกฤษและไอร์แลนด์กลุ่มแรก ก็ได้เข้ามาถึงประเทศออสเตรเลียอย่างจริงจัง กองเรือชุดแรก ซึ่งเป็นขบวนเรือ 11 ลำ พร้อมผู้โดยสาร ประมาณ1,530 คน ส่วนใหญ่เป็นนักโทษ ที่รัฐบาลอังกฤษเนรเทศออกมา ซึ่งมี กัปตัน อาร์เธอร์ ฟิลลิป เป็นผู้คุมขบวนเรือมา ก็ได้มาถึงท่าเรือแจ็คสัน หลังจากเฉลิมฉลองตามด้วยการยิงสลุตแล้ว ก็ได้มีการชักธงในพระนามของพระเจ้า จอร์จที่ 3 แห่งอังกฤษขึ้น ลูกเรือและผู้ร่วมทาง รวมทั้งสัตว์เลี้ยงต่างๆ อาทิ วัว ควาย แกะ แพะ ก็ยกขบวนขึ้นฝั่งกันที่นี่ ซึ่งก็คือนครซิดนีย์ในปัจจุบันนั่นเอง
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    หลังจากการเข้ามาของชาวอังกฤษในปี ค.ศ. 1788 แล้ว ก็เริ่มมีผู้อพยบเข้ามาตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้อพยบส่วนใหญ่ยังคงเป็นชาวยุโรปอยู่ ต่อมาเริ่มมีชาวจีนและชาวอัฟกันเข้ามาบ้าง แต่ส่วนมากก็เข้ามาเพื่อขุดหาทองคำ โดยเฉพาะในปีค.ศ. 1851 ได้มีการค้นพบทองคำ ในรัฐนิวส์เซาท์เวลส์ และ วิคตอเรีย ต่อมาเมื่อไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่หวังไว้ เนื่องจากทองไม่ได้มีมากอย่างที่คาด จึงค่อยๆ พากันอพยบกลับเหลือแต่ชาวอังกฤษและชาวยุโรปซึ่งยังคงพยายามดิ้นรนต่อสู้กับ ความยากลำบากในดินแดนใหม่ต่อไป
    การพัฒนาอาณานิคมแห่งนี้จึงได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมา โดยเริ่มมีการวางผังเมือง ริเริ่มโครงการสาธารณูประโภค มีการกำหนดสกุลเงินขึ้นใช้เองภายในอาณานิคม ต่อมาก็ได้มีการก่อตั้งธนาคารแห่งแรกขึ้น ในปี ค.ศ. 1817 การสำรวจอาณานิคมได้ค่อยๆทำอย่างต่อเนื่องหลายปี ทั้งนี้เนื่องจากความกันดารของพื้นที่บวกกับความกว้างขวางของทะเลทรายในแผ่น ดิน แต่อาณานิคมแห่งนี้ก็ได้พัฒนาอย่างมั่นคงมาเรื่อยๆตลอดระยะเวลา 100 กว่าปี
    ในระหว่างปี ค.ศ. 1855-1890 ในอาณานิคมไ ด้มีการแยกการปกครองตนเองออกเป็น 6 รัฐ โดยแต่ละรัฐมีอำนาจการปกครองและระเบียบบริหารของตนเอง


    [SIZE=+1]ประเทศใหม่[/SIZE]
    ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1901 พระราชินีวิคตอเรียแห่งอังกฤษได้มีพระราชโองการยกระดับอาณานิคมออสเตรเลีย ขึ้นเป็นประเทศใหม่ในโลก ซึ่งออสเตรเลียจึงเป็นประเทศในเครือจักรภพที่ปกครองตนเองตั้งแต่นั้นมา ผู้สำเร็จราชการคนแรกคือ ลอร์ด โฮปทูน
    ในช่วงปีค.ศ. 1901 ถึง 1927 นครรัฐเมลเบิร์น เป็นเมืองหลวงของประเทศ ต่อมาเมื่องกรุงแคนบอร์ราสร้างเสร็จ เมืองหลวงจึงย้ายมาอยู่ที่แคนเบอร์รา
    ในช่วงศตวรรษที่ 19 ทั้งซิดนีย์และเมืองเมลเบิร์นต่างก็เครมว่าตนเองเหนือกว่า [​IMG]สมควร จะได้รับการยอมรับให้เป็นเมืองหลวงของประเทศ โดยเฉพาะชาวเมลเบิร์นอ้างว่าเป็นบรรพบุรุษผู้บุกเบิกเป็นผู้แสวงโชค ไม่ใช่พวกนักโทษเหมือนบรรพบุรุษชาวซิดนีย์นอกจากนี้นครเมลเบิร์นยังเหนือ กว่าในด้านการวางผังเมือง และระบบการคมนาคม แต่กระนั้นชาวซิดนีย์ก็ยังยืนยันในด้านการมีท่าเรือที่ดีกว่า รวมทั้งระบบขนส่งทางน้ำก็เหนือกว่า แต่ในที่สุดการถกเถียงได้ยุติลงด้วยมติของรัฐบาลว่าเมืองหลวงของประเทศ ควรตั้งอยู่ที่แคนเบอร์รา
    ประเทศออสเตรเลียได้เข้าร่วมสงครามโลกทั้ง สอง ครั้ง โดยในสงครามโลกครั้งที่ 1ในปี ค.ศ. 1915 ออสเตรเลียสูญเสียทหารเป็นจำนวนมากที่คาบสมุทรกัลป์ลิโพลี
    ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1914-1919 ออสเตรเลียได้ส่งทหารเข้าร่วมสงคราม จำนวนถึง 329,883 นาย ส่วนมากอยู่ในวัย 18-22 ปี [​IMG] และได้เสียชีวิตในสงคราม 59,342 นาย บาดเจ็บและถูกรมด้วยแก๊ส อีก 166,818 นาย สูญสิ้นเงินตราอีกมหาศาล การเป็นพันธมิตรร่วมรบและได้พลีชีพไปเป็นจำนวนมากระหว่างทหารออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ที่คาบสมุทรกัลป์ลิโพลี ได้นำมาสู่ตำนานกองทัพแห่งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ที่เรียกกันว่า แอนแซค ANZAC ซึ่งต่อมารัฐบาลออสเตรเลียได้สร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นเป็นอนุสรณ์ เรียก วอร์เมโมเรียล
    ในปี ค.ศ. 1939-1945 สงครามโลกครั้งที่สอง ออสเตรเลียก็ได้ส่งทั้งทหารเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรตลอดช่วงสงคราม คาดว่าทั้งทหารและพลเรือนราวหนึ่งล้านคนได้เข้าร่วมในสงคราม สูญเสีบชีวิตทหารไปถึง 39,366 นาย บาดเจ็บอีกราว23,477 นาย


    [SIZE=+1]การอพยพเข้ามาของประชากรจากที่ต่างๆทั่วโลก[/SIZE]
    หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง สังคมภายในของประเทสออสเตรเลียถูกสั่นคลอนมาก ประชาชน ความบอบช้ำจากสงครามทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ผู้หญิงต้องออกมาทำงานนอกบ้านเพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว และช่วยกันพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศอย่างเร่งด่วนในขณะนั้น ทำให้รัฐบาลเริ่มโครงการอพยพเข้าประเทศขึ้นมาในช่วงยี่สิบปีหลังสงคราม โดยที่นโยบายในช่วงนั้นของรัฐบาล อนุญาตให้ประชากรที่อพยพเข้ามาต้องเป็นคนผิวขาว และครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้อพยพต้องเป็นชาวอังกฤษ ต่อมาระยะหลังก็เริ่มมีการผ่อนผันลงบ้าง แต่ยังเน้นว่าส่วนใหญ่คงต้องเป็นชาวผิวขาว ดังนั้นหลังปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา จึงมีผู้อพยพเข้ามาเป็นชาวยุโรปที่ไม่ใช่จากอังกฤษเข้ามามากขึ้น จากการเปิดรับผู้อพยพจากที่ต่างๆ นี้เองทำให้สังคมออสเตรเลียเปลี่ยนไป จากสังคมวัฒนธรรมเดียว อนุรักษ์นิยม กลายเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมหลากหลาย ขึ้นเรื่อยๆ
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    ในช่วงปีค.ศ. 1970 ออสเตรเลียได้รับผู้อพยพชาวอินโดเชื้อสายจีน ประมาณ 90,000 คนเข้าประเทศ ในช่วงทศวรรษที่ 70 นี้เองที่รัฐบาลออสเตรเลียได้เริ่มมีนโยบายหลายวัฒนธรรมในประเทศเดียว Multiculturalism และนโยบายหลายเชื้อชาติในหนึ่งประเทศ Ethnic pluralism ทำให้มีการอพยพเข้ามาของชาวเอเชียจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงปี ค.ศ. 1990-2000 เป็นต้นมา มีผู้อพยพชาวจีน ชาวฟิลิปินส์ ชาวเวียดนาม ชาวเขมร หนีภัยอันเนื่องมาจากสงครามกลางเมืองอพยพเข้ามามากมาย นอกจากนี้ก็ยังมีชาวแอฟริกา ชาวโปแลนด์ เดินทางเข้ามา ในช่วงปี 1960-1970 ประชากรเชื้อสาย กรีก อิตาลี และ ยูโกสลาเวีย เป็นกลุ่มที่อพยพเข้ามามากที่สุด นับจากปี 1970 -1980 ผู้อพยพส่วนใหญ่เป็นชาวนิวซีแลนด์ ชาวตุรกรี และเลบานอน และนับเป็นครั้งแรกที่คนเชื้อสายยิวได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศนี้
    ช่วงหลังปี ค.ศ. 1980 ผู้อพยพที่เข้ามา มีชาวเอเชีย ซึ่งก็คือ ชาวเวียดนาม ชาวฟิลิปินส์ นอกจากนี้ก็มีชาวโปแลนด์ ชาวแอฟริกาใต้
    ในปีหลัง ค.ศ. 1990 ก็มีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่ และ ฮ่องกง รวมทั้ง ชาวเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก อพยพเข้ามาเป็นจำนวนมาก
    หลังจากนั้นผู้อพยพจากทุกมุมโลกทั้งแบบถูกกฎหมายและลักลอบเข้ามา ได้ทยอยกันอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในออสเตรเลียมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน นี้


    [SIZE=+1]ชาวอะบอริจิ้น[/SIZE]


    <table border="0" cellpadding="5" cellspacing="5" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center">[SIZE=-1]ธงชาวอะบอริจิ้น [/SIZE]</td> </tr> <tr> <td align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center">[SIZE=-1] ธงชาวเกาะทอร์เรส สเตรท[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table>
    เมื่อกล่าวถึงประเทศออสเตรเลียแล้ว เราควรมารู้จักกลุ่มชนที่เรียกว่า ชาวอะบอริจิ้นกันสักหน่อย ชาวอะบอริจิ้นคือกลุ่มชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่บนเกาะออสเตรเลียมานานมากคาด ว่าไม่ต่ำกว่า 38,000 - 50,000 ปี
    [​IMG]
    โดยมีอารยะธรรมแบบดั้งเดิม มีอาชีพล่าสัตว์ จับปลา เพาะปลูก มีอาวุธ และอุปกรณ์เครื่องใช้ไม้สอย เป็นอย่างง่ายๆไม่ซับซ้อน นอกจากมีชาวอะบอริจิ้นที่อยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วแผ่นดินออสเตรเลียและ เกาะทัสมาเนียแล้ว ยังมีชาวเกาะอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งถือเป็นชนดั้งเดิมของออสเตรเลียเช่นกันคือ กลุ่มชาวเกาะทอร์เรสสเตรท Torres Strait ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่เกาะ Torres Strait มักเดินทางด้วยเรือคะนู สืบเชื้อสายมาจากชาวปาปัว หมู่เกาะนิว กินี และใช้ภาษาปาปัวนิวกินี ปัจจุบันเรียกชนทั้งสองกลุ่มรวมกันว่า อินดิจิเนียส ออสเตรเลียน สำหรับภาษาของชาวอะบอริจิ้น แยกเป็นเผ่าต่างๆมากมาย ในช่วงศตวรรษที่ 18 คาดว่ามีภาษาแตกต่างกันถึง 350-750 ภาษา แต่ในศตวรรษที่ 21 นี้ คาดว่าภาษาพูดของชาวอะบอริจิ้นที่ยังคงใช้กันอยู่น่าจะลดน้อยลงไม่เกิน 200 ภาษา


    [SIZE=+1]ศิลปะชาวอะบอริจิ้น[/SIZE]
    [​IMG]
    หลังจากชาวยุโรปได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ชนเผ่าดั้งเดิมเหล่านี้ได้ค่อยๆ ถูกขับไล่ให้เข้าไปในแผ่นดินมากขึ้น ในช่วงแรกที่ชาวยุโรปเดินทางเข้ามาในออสเตรเลีย ค.ศ. 1788 คาดว่าจำนวนของชาวอะบอริจิ้นมีอยู่ประมาณ 750,000 – 1,000,000 คน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 458,520 คน อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนี้ แม้ว่าประเทศออสเตรเลียจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่สังคมของชาวอะบอริจิ้นยังล้าหลังกว่าชาวออสเตรเลียทั่วไป ปัญหาสำคัญคือ การด้อยการศึกษา ความยากจน แอลกอฮอล์ ปัญหาการว่างงาน จากการสำรวจในปี 2001 พบว่าชาวอะบอริจิ้นมีอัตรา การว่างงานสูงถึง 20% ขณะที่อัตราว่างงานของชาวออสเตรเลียอื่นเพียง 6.7% ดังนั้น ความเป็นอยู่ของ ชาวอะบอริจิ้นส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับยากจนอยู่


    [SIZE=+1]ประเทศออสเตรเลียในปัจจุบัน[/SIZE]


    <table border="0" cellpadding="5" cellspacing="5" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center">[SIZE=-1]ตราสัญลักษ์ประจำประเทศออสเตรลีย[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table>


    <table border="0" cellpadding="5" cellspacing="5" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center">[SIZE=-1]ธงชาติประเทศออสเตรเลีย[/SIZE]</td> </tr> </tbody></table>



    • ชื่อเต็มคือ Commonwealth of Australia
    • ออสเตรเลียมีพื้นที่ 7,692,030 ตารางกิโลเมตร
    • จำนวนประชากร 20,264,082 (2549)
    • เมืองที่มีประชากรมากที่สุด ซิดนีย์ ประมาณ 4,000,000 คน
    • เมืองที่มีประชากรมากอันดับสอง เมลเบิร์น ประมาณ 3,000,000 คน
    • จำนวนเกาะ 8,222 เกาะ
    • แบ่งการปกครองออกเป็น 6 รัฐ กับอีก 2 มณฑล
    • ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษ
    • เมืองหลวง แคนเบอร์รา
    • วันชาติตรงกับวันที่ 26 มกราคม
    • เพลงชาติ แอดวานซ์ออสเตรเลียแฟร์
    • นายกรัฐมนตรี จอห์น ฮาวเวิร์ด (ปี พ.ศ. 2549)
    • ผู้สำเร็จราชการ ไมเคิล เจฟฟรี (ปี พ.ศ. 2549)
    • หน่วยเงินตรา ดอลล่าร์ออสเตรเลีย (A$)
    • รหัสโทรศัพท์ (ของประเทศ) 61
    • TLD สำหรับอินเตอร์เน็ต .au
    • สัตว์ประจำชาติ(ไม่เป็นทางการ) จิงโจ้แดง และอีมู



    [SIZE=+1]รัฐต่างๆ ในประเทศออสเตรเลีย[/SIZE]


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>


    [SIZE=+1]มารู้จักทั้ง 6 รัฐและอีก 2 มณฑลของออสเตรเลียกันดีกว่า[/SIZE]
    ทั้ง 6 รัฐ ก็คือ New South Wales, Queensland, South Australia, Tasmania, Victoria และWestern Australia. ส่วน 2 ดินแดนก็คือ Northern Territory และ the Australian Capital Territory.


    [SIZE=+1]Australian Capital Territory[/SIZE]
    ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี แคนเบอร์รา (Canberra) คำว่าแคนเบอร์รา เป็นภาษาอะบอริจินิสแปลว่า" ที่ชุมชน" คือเมืองหลวงของประเทศเป็นศูนย์กลางการปกครอง ลักษณะตัวเมืองทันสมัย เพราะมีการวางผังเมืองอย่างดีเยี่ยมเป็นที่ตั้งขององค์กรระดับชาติ แคนเบอร์ราป็นเมืองที่เต็มไปด้วยอาคารที่สวยงาม มีพิพิธภัณฑ์ และเป็นสถานที่ของสถานที่ศึกษาสำคัญอาทิ วิทยาลัยการทหารดันทรูน และหน่วยงานสถานทูตของประเทศต่างๆ รวมทั้งสถานทูตไทย


    [SIZE=+1]New South Wales (รัฐนิวเซาธ์เวลส์)[/SIZE]
    รัฐนิวเซาธ์เวลส์ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ มีเมืองหลวงคือซิดนีย์(Sydney) รัฐนี้มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด เป็นเมืองที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย รัฐนิวเซาธ์เวลส์ตั้งอยู่ในเขตที่มีภูมิอากาศแบบสบายๆ ในฤดูร้อนอากาศจะอบอุ่นค่อนข้างร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 18-26 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวจะไม่หนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 7-18 องศาเซลเซียส รัฐนิวเซาธ์เวลส์ เป็นรัฐที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมมากที่สุดในออสเตรเลีย ซิดนีย์เป็นเมืองที่คึกคัก มีสีสัน มีชีวิตชีวา สัญลักษณ์ของเมืองคือ โรงอุปรากร (Opera House) และสะพานข้ามอ่าวซิดนีย์ (Sydney Harbour Bridge) นอกจากซิดนีย์แล้วยังมีเมืองใกล้เคียงที่มีชื่อเสียงอีกเช่น นิวคาสเซิล (Newcastle) ,วูลลองกอง (Wollongong)


    [SIZE=+1]Northern Territory(มณฑลตอนเหนือ) [/SIZE]
    มณฑล ตอนเหนือของประเทศออสเตรเลียมีเมือง ดาร์วิน (Darwin) เป็นเมืองหลวงมีอาณาเขตเท่ากับหนึ่งในห้าของทวีป ซึ่งสภาพพื้นที่ประกอบด้วยพื้นที่ส่วนที่เป็นหินไปจนถึงหน้าผาใหญ่ และมีเนินทรายขนาดใหญ่ตลอดจน ทะเลสาบขนาดลึกและใหญ่ แม่น้ำที่เชี่ยวกรากช่องแคบระหว่างเขาขนาดใหญ่ และหน้าผาสูงชัน เมืองดาร์วินเป็นเมืองที่ค่อนข้างเงียบสงบและอยู่ท่ามกลางศูนย์เทคโนโลยี สมัยใหม่ สภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นในฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25 - 35 องศาเซลเซียส และ 19 - 30 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว นอกจากนี้ในเขตมณฑลเหนือยังอุดมไปด้วยธรรมชาติที่งดงามและ ความหลากหลายของวัฒนธรรม


    [SIZE=+1]Queensland (รัฐควีนสแลนด์ )[/SIZE]
    รัฐควีนสแลนด์ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ของประเทศ ซึ่งมีเมืองบริสเบนเป็นเมืองหลวง (Brisbane) และเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ อุณหภูมิในฤดูร้อนโดยเฉลี่ยประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส และในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 9-20 เซลเซียส ซึ่งมีชายหาดที่เงียบสงบหรือที่รู้จักกันในนาม โกลด์โคสต์ (Gold Coast) ที่ขึ้นชื่อ หรือไม่ว่าจะเป็นเดอะเกรทเบริเออรีฟ (Great Barrier Reefs )ที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งในรัฐควีนสแลนด์ที่ประกอบไปด้วยปะการังนับพันตลอดแนว ตั้งแต่ ตอนเหนือไปจนถึงทางตอนใต้ของเกรดสโตน เป็นแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ติดอันดับโลก มีป่าดงดิบและป่าชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์


    [SIZE=+1]South Australia (รัฐออสเตรเลียใต้)[/SIZE]
    เซาท์ออสเตรเลีย เมืองหลวงชื่อ แอดิเลด (Adelaide) เป็นรัฐทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย รัฐออสเตรเลียใต้เป็นรัฐที่จัดว่ามีสภาพภูมิอากาศที่มีความหลากหลายตั้งแต่ ที่เป็นพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกจนถึงพื้นที่ทะเลทราย ซึ่งเป็นเมืองที่รู้จักกันในฐานะของเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรม ซึ่งอยู่ระหว่างซิดนีย์และเพิร์ธ อีกทั้งเต็มไปด้วยความงดงามทางธรรมชาติของป่าไม้ และชายหาดที่ไม่ห่างไกลจากใจกลางเมืองนัก นอกจากนี้ อะดิเลดยังมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งอุณหภูมิในฤดูร้อนเฉลี่ยประมาณ 16 -30 องศาเซลเซียส และ 7 - 15 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว


    [SIZE=+1]Tasmania(รัฐแทสมาเนีย)[/SIZE]
    รัฐแทสมาเนีย เป็นเกาะซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศออสเตรเลีย แทสเมเนียเป็นรัฐที่เล็กที่สุด ล้อมรอบไปด้วยเกาะเล็กๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งมี เกาะ King และ Flinders ที่เป็นเกาะที่สำคัญ ซึ่งมีเมืองโฮบาร์ตเป็นเมืองหลวงของรัฐ ตั้งอยู่ห่างจากรัฐวิกตอเรียบนแผ่นดินใหญ่ประมาณ 240 กิโลเมตร ทั้งยังเป็นเมืองที่ประกอบด้วย การผสมผสานของวัฒนธรรมและสถาปัตยากรรมมากมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสหราชอาณาจักรในยุคก่อน สภาพภูมิประเทศโดยส่วนใหญ่เป็นหุบเขาและที่ราบสูง ทิวทัศน์สวยงามยิ่ง จนได้รับการขนานนามว่าเป็น สวิตเซอร์แลนด์ ของออสเตรเลีย เป็นเมืองสงบ ดังนั้นกิจกรรมกลางแจ้งจึงเป็นที่นิยมกันอย่างมาก สภาพภูมิอากาศในรัฐแทสมาเนียเป็นแบบชายฝั่งทะเล โดยในฤดูร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 11 - 21 องศาเซลเซียส และ 4 - 11 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว


    [SIZE=+1]Western Australia(รัฐออสเตรเลียตะวันตก)[/SIZE]
    รัฐออสเตรเลียตะวันตกเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของประเทศออสเตรเลีย โดยมีการทำเหมืองแร่เป็นอุตสาหกรรมหลัก เมืองหลวงของรัฐออสเตรเลียตะวันตกคือเมืองเพิร์ธ(Perth) ซึ่งนับว่าเป็นเมืองหลวง ที่อยู่ใกล้กับประเทศเพื่อนบ้านทางด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรป อุดมสมบูรณ์ ด้วยเหมืองแร่ และ แร่ทองคำ มีชายฝั่งยาวถึง 12,500 กิโลเมตร
    อาชีพสำคัญของประชากรคือการทำประมง และทำเหมืองแร่ นองจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิต เพชร ได้มากเป็นอันดับสามของโลก เพิร์ทเป็นเมืองที่สะอาดสวยงามและอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุดใช้เวลาเดินทาง แค่ 6 ชั่วโมงครึ่ง มีเวลาต่างกับประเทศไทยเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้นมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน อุณหภูมิในฤดูร้อนเฉลี่ยประมาณ 17 - 29 องศาเซลเซียส และประมาณ 8 - 17 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว นอกจากนี้รัฐออสเตรเลียตะวันตกยังจัดเป็นรัฐที่มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก อีกทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสบายที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้นเมืองเพิร์ธยังเป็นเมืองที่เรียกได้ว่ามีมาตรฐานในการดำรง ชีวิตสูงที่สุดเมืองหนึ่ง ในขณะที่มีค่าใช้จ่ายในการดำรงต่ำที่สุด


    [SIZE=+1]Victoria (รัฐวิคตอเรีย) [/SIZE]
    รัฐวิคตอเรียตั้งอยู่ทางใต้ของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ เป็นรัฐที่เล็กเป็นอันดับสองของออสเตรเลีย มีนครหลวงเมลเบิร์นเป็นเมืองหลวงของรัฐ รัฐนี้ได้ชื่อว่า Garden State (รัฐสวน) เนื่องจากมีสวนสาธารณะมากกว่ารัฐอื่น ชื่อเสียงทางด้านศิลปวัฒนธรรม การเงิน และการคมนาคม อุณหภูมิโดยเฉลี่ยในฤดูร้อนประมาณ 13-25 องศาเซลเซียส และฤดูหนาวอุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 5-13 องศาเซลเซียส
    เมลเบิร์น (Melbourne): เป็นเมืองเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสอง เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยความตื่นตาตื่นใจ ที่รวบเอาความทันสมัย เข้ากับการใช้ชีวิตในแบบประเพณีนิยมเข้าด้วยกันได้อย่างกลมกลืน สไตล์การใช้ชีวิตในเมลเบิร์นยังสะท้อนให้เห็นถึง ความหลากหลายของวัฒนณธรรมและพลเมืองที่มีไมตรีจิต คุณจะได้สัมผัสความมหัศจรรย์ของสถานที่ที่พิเศษสุดแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บน อ่าวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งประกอบไปด้วยชายฝั่งทะเลที่สวยงามและสวนที่ร่มรื่นและเป็นเมืองที่นัก ศึกษาไทยไปศึกษามากเป็นอันดับสอง นอกจากนี้เมลเบิร์นยังมีสถานที่ที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิเช่น พิพิธภัณฑ์, สถานที่จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม, อาคารสถานที่ และระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพที่สามารถพาคุณเที่ยวชมเมืองได้รอบ


    [SIZE=+1]ภูมิประเทศของออสเตรเลีย[/SIZE]
    ออสเตรเลียมีลักษณะภูมิประเทศเป็นผืนดิน 99% พื้นน้ำ 1% โดยทั่วไปร้อยละ 65 ของผืนดินจะเป็นที่ราบสูง และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พื้นที่สวนใหญ่เป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง และทุรกันดาร และมีขนาดทะเลทรายรวมกันใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทะเลทรายสะฮาราในทวีปแอฟริกา ชาวออสเตรเลียเรียกดินแดนที่แห้งแล้งและทุรกันดารนี้ว่า” เอาท์แบค”ประชากรออสเตรเลียส่วนใหญ่อาศัยในบริเวรชายฝั่งด้านตะวันออกหลัง เทือกเขาที่เรียกว่า “เกรตดีไวดิงแรนจ์” ซึ่งแบ่งแยกชายฝั่งตะวันออกกับเขตเอาท์แบค มีแม่น้ำสายสำคัญๆ อยู่ทางภูมิภาคตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำดาร์ลิง แม่น้ำเมอร์เรย์
    ส่วนตอนกลางของประเทศที่เรียกว่า “เขต Central low land” เป็นเขตแห้งแล้งที่สุดแม่น้ำลำธารต่างๆ อาจแห้งสนิทเป็นเวลาหลายปี ออสเตรเลียมีวัตถุดิบธรรมชาติที่สำคัญหลายอย่าง อาทิเช่น ถ่านหิน หินแร่อลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง แร่ยูเรเนียม โดยเฉพาะแร่ยูเรเนียม นี้ คาดว่า 40% ของยูเรเนียมทั่วโลกจะอยู่ที่ออสเตรเลีย และถ้าหากในอนาคต มีการหันมาใช้พลังงาน จากแร่ชนิดนี้กันมากออสเตรเลียอาจจะมีโอกาสเป็นประเทศที่ร่ำรวยประเทศหนึ่ง ในโลกก็เป็นได้ นอกจากนี้ออสเตรเลียก็ยังมี แหล่งก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน รวมทั้งแร่ชนิดอื่นๆ อีก ผืนดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกมีเพียง 6% ของทั้งประเทศ


    [SIZE=+1]ภูมิอากาศในออสเตรเลีย[/SIZE]
    ประเทศออสเตรเลียมีภูมิอากาศอยู่ด้วยกัน 4 ฤดูกาล

    • ฤดูใบไม้ผลิ เดือนกันยายน- เดือนพฤศจิกายน

      [​IMG]

    • ฤดูร้อน เดือนธันวาคม – เดือนกุมภาพันธ์

      [​IMG]

    • ฤดูใบไม้ร่วง เดือนมีนาคม – เดือนพฤษภาคม

      [​IMG]

    • ฤดูหนาว เดือนมิถุนายน – เดือนสิงหาคม

      [​IMG]



    [SIZE=+1]ลักษณะโซนอากาศของออสเตรเลีย[/SIZE] <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    ด้วยพื้นที่อันกว้างใหญ่ ภูมิอากาศในเขตต่างๆจึงมีความแตกต่างกันอย่างมาก ตอนบนของประเทศจะมีอากาศร้อนชื้น ตอนกลางของประเทศจะแห้งแล้ง และร้อน ส่วนตอนล่างของประเทศโดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งแสดงด้วยสีฟ้า จะมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะในฤดูหนาว

    [SIZE=+1]หมายเหตุ [/SIZE] ข้อมูลปี พ.ศ. 2549


    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center">*********</td> </tr> </tbody></table>
     
  2. phloiwang

    phloiwang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กันยายน 2008
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +244
    ได้ทุนไปศึกษาที่ออสซี่ปี 1994-1995 เกือบยี่สิบปีแล้วซินี่ เงินพร้อมเมื่อไรบินไปเที่ยวทันที
     

แชร์หน้านี้

Loading...