ประวัติอาจารย์สายพระป่าธรรมยุติ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 23 ธันวาคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระอาจารย์กว่า สุมโน

    พระอาจารย์กว่า สุมโน

    • <CENTER><TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=446><TBODY><TR><TD width=57>นามเดิม
      </TD><TD width=248>กว่า สุวรรณรงค์
      </TD><TD rowSpan=4 width=123>[​IMG]</TD></TR><TR><TD width=57>บิดา
      </TD><TD width=248>หลวงพรหม (เมฆ สุวรรณรงค์)
      </TD></TR><TR><TD width=57>มารดา
      </TD><TD width=248>หล้า สุวรรณรงค์
      </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=57>เกิด
      </TD><TD width=248>ที่บ้านม่วงไข่ ต. พรรณนา อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร
      เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๗


      </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
      บรรพชาและอุปสมบท

      . . . . . . . อายุได้ ๑๕ ปี บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านไร่ ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม มีท่านอาญาครูธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ฝ่ายธรรมยุติ ณ วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธโล) เมื่อยังเป็นพระครูสังฆวุฒิกร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระรักและพระบุญเย็น เป็นพระกรรมวาจาจารย์

      มรณภาพ

      . . . . . . . ได้มรณภาพ ด้วยโรคหัวใจวาย ที่วัดกลางโนนกู่ อำเภอพรรณานิคม เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๙ รวมอายุได้ ๗๒ ปี ๕๑ พรรษา
    คัดลอกจาก

    http://www.script.co.th/buddhist/menu_21.html
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย

    [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript src="http://cdn1.hikiwake.com/scripts/shared/enable.js?si=10186"></SCRIPT>

    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย
    วัดกันตศิลาวาส อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
    คัดลอก : http://www.manager.co.th/budish/kaewmanee24.html

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย
    กำเนิดในสกุล "จันศรีเมือง" เดิมท่านมีชื่อว่า "กลม" โยมบิดาชื่อ โพธิ์ โยมมารดาชื่อ วันดี เกิดเมื่อวันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2439 ตรงกับปีวอก แรม 11 ค่ำ เดือน 5 ร.ศ. 115 ณ บ้านหนองฮี ตำบลปลาปาก อำเภอหนองบึก (อำเภอเมือง) ปัจจุบัน เป็นตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม มีพี่น้อง 7 คน หลวงปู่เป็นลูกหล้าน้องสุดท้อง ด้วยฐานะทางครอบครัวที่ประกอบอาชีพชาวนา และมีพี่น้องหลายคน แม้จะมีใจรักในการศึกษา แต่ก็ขาดโอกาสในการศึกษาต่อ จึงได้รับการศึกษาสามัญเบื้องต้น

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    เมื่ออายุ 10 ขวบ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดหนองฮี ได้ศึกษาหนังสือธรรม หนังสือผูก ทั้งภาษาขอม ภาษาไทยน้อยหรืออักษรธรรม และภาษาไทย สมัยปัจจุบัน เมื่ออายุ 20 ปี ได้อุปสมบทที่วัดเกาะแก้ว เขตอำเภอธาตุพนม ต่อมาด้วยความห่วงใยบิดา-มารดา และได้รับการขอร้อง ด้วยความเป็นบุตรคนเล็ก ท่านจึงลาสิกขา ตามความต้องการของโยมพ่อและโยมแม่ ใช้ชีวิตฆราวาสไม่ราบรื่นและไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เป็นนายฮ้อยวัวควายก็ขาดทุนอย่างหนัก หลวงปู่เล่าว่า เพราะการกระทำของท่าน พรากพ่อ-แม่-ลูก วัว ควาย ที่ขายไปถิ่นต่างๆ ย่อมเป็นบาปอย่างมหันต์ ผลกรรมจึงย้อนตอบสนอง ให้ต้องสูญเสียภรรยา หลังจากคลอดบุตรได้ไม่นาน และได้สูญเสียลูกอันเป็นสุดที่รักซ้ำอีก เพราะทารกน้อยขาดนมจากผู้เป็นแม่ ความสูญเสียอันใหญ่หลวงของท่านทำให้เป็นทุกขเวทนา ความอาลัย อาวรณ์ ความโศกเศร้า ทับถมเพิ่มทวีความทุกข์ยิ่งขึ้น ด้วยความทุกข์เป็นกุศลปัจจัยผลักดัน และบันดาลใจให้ท่านก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ สู่ความเป็นบรรพชิตในบวรพุทธศาสนา อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดศรีบุญเรือง ตำบลกุดตาไก้ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2465 (อายุครบ 25 ปี พอดี) โดยมีพระอาจารย์วงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์พิมพ์กับพระอาจารย์พรหมา เป็นพระคู่สวด ได้ชื่อใหม่ จากพระอุปัชฌาย์ จาก "กลม" เป็น "กินรี" ฉายาว่า "จนฺทิโย" หลังจากอุปสมบท หลวงปู่ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านหนองฮี ได้สงเคราะห์ญาติหลานๆ ด้วยการให้ความรู้เรื่องภาษาไทย อบรมสั่งสอนการอ่านเขียนภาษาไทย หลวงปู่เป็นตัวอย่างแห่งความมุ่งมั่นจริงจังและพากเพียร ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองฮี ท่านได้ขุดลอกสระน้ำขนาดใหญ่ ด้วยตัวของท่านเอง จนเป็นผลสำเร็จให้วัดและชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์มีน้ำอุปโภคบริโภคมาจนทุกวันนี้

    [​IMG]การแสวงหาธรรมปฏิบัติได้เกิดขึ้น เป็นช่วงตอนปลายของทศวรรษแรกของการอุปสมบท ด้วยการเดินทางไปศึกษาเล่าเรียนพระกรรมฐาน กับท่านพระอาจารย์ หลวงพ่อทองรัตน์ กนฺตสีโล ที่สำนักบ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นจุดเกิดและเป็นก้าวแรก ที่ท่านรับเอาพระกรรมฐาน เข้าไว้ในจิตของท่าน หลวงปู่ได้ศึกษาการปฏิบัติ ภาวนากับครูอาจารย์ระยะหนึ่ง ท่านก็เดินทางกลับมาอยู่ที่วัดบ้านเกิดและไปกราบครู อาจารย์ร่วมธุดงค์ ไปมาหาสู่อยู่เสมอ ท่านได้นำเอาข้อปฏิบัติ พระธรรมกรรมฐานมาอบรมสั่งสอนชาวบ้านหนองฮี ได้สงเคราะห์โยมมารดาและญาติด้วยการบวชชี และได้จัดตั้งสำนักสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีในบ้านเกิด ชื่อว่า "สำนักสงฆ์เมธาวิเวก"

    ในระหว่างที่หลวงปู่ไปมาหาสู่เพื่อคารวะ และปฏิบัติธรรมในสำนักของพระอาจารย์ทองรัตน์นั้น ท่านอาจารย์ทองรัตน์ได้พาหลวงปู่เดินทางไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานผู้มีชื่อเสียงและเกียรติคุณเลื่องลือโด่งดังมาก ในขณะที่หลวงปู่มั่นธรรมจารย์ผู้มีปรีชาสามารถ พำนักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร เพื่อรับโอวาทจากท่าน หลวงปู่มั่นท่านได้อบรมสั่งสอนธรรมแก่หลวงปู่กินรี ถึงข้อปฏิบัติธรรมกรรมฐานนั้น ซึ่งมีรากฐานอยู่ที่ การกระทำศีล ให้สมบูรณ์บริบูรณ์พร้อมๆ ไปกับการเจริญ สมาธิ ภาวนา เพื่อจะทำจิตให้สงบระงับจากอารมณ์ทั้งปวง เพราะความที่จิตปลอดจากอกุศล ว่างเว้น จากอารมณ์ อันเกิดจากการสัมผัสทางอายตนะ คือ ที่ตั้งแห่งการกระทบมี 6 คู่ อันได้แก่ ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับการสัมผัสทางกาย และใจที่กระทบกับอารมณ์ในภายในที่ทำให้เกิด เวทนาความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ รู้ดี รู้ชั่ว รู้สวย รู้ไม่สวย รู้น่ารัก รู้ไม่น่ารัก ทั้งหลายแล้ว จิตใจก็ย่อมจะตั้งมั่นอยู่ใน อารมณ์อันเดียว อารมณ์นั้นก็ได้แก่พระกรรมฐาน หมายถึง การเอาพระกรรมฐานเข้ามาตั้งไว้ในใจความตั้งมั่นของจิตในลักษณะการเช่นนี้ ย่อมจะทำจิตให้สงบอย่างเดียว เป็นความสงบที่สะอาดและบริสุทธิ์ผุดผ่องใส

    หลังจากนั้นแล้วจึงหันมาพิจารณาธาตุ ทั้ง 4 อันได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม และพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ให้รู้ว่าธาตุขันธ์และรูปนามทั้งหลายเหล่านี้ แท้จริงก็คือบ่อเกิดของความทุกข์โศกร่ำไรรำพันนานาประการทั้งปวงนั่นเอง

    หลวงปู่มั่นท่านได้อบรมสั่งสอนข้อธรรมแก่หลวงปู่กินรีเป็นประจำ และเมื่อท่านพบหน้าหลวงปู่กินรี ท่านมักจะเอ่ยถามไปว่า

    "กินรี ได้ ที่อยู่แล้วหรือยัง? "
    คำถามของหลวงปู่มั่นนั้นมิได้หมายถึงที่อยู่ในวัดปัจจุบัน แต่ท่านถามถึงส่วนลึกของใจว่ามีสติตั้งมั่นหรือยัง ถ้ายังท่านก็จะกล่าวอบรมต่อไป ซึ่งส่วนมากหลวงปู่มั่นท่านจะเน้นให้เห็นถึงว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นบ่อเกิดของความทุกข์ เพราะเกิดจากอวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้งในความเป็นของไม่เที่ยง ในความเป็นของเสื่อมโทรมของธาตุขันธ์ทั้งหลาย เป็นเหตุ และเพราะความไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงว่า มันมิใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ไม่รู้จักความไม่เที่ยง ไม่รู้จักความเป็นทุกข์และไม่รู้ความเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนตามความเป็นจริงแล้ว อาสวะกิเลส คือ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ก็ย่อมครอบงำจิตของคนๆ นั้นให้มืดมัว เร่าร้อนและเป็นทุกข์ได้ในที่สุด

    หลวงปู่มั่นท่านอบรมสั่งสอนหลวงปู่กินรีต่อไปว่า การประพฤติปฏิบัติธรรมนั้นมีรากฐานสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติศีลเป็นเบื้องต้น และทำ สมาธิ ในท่ามกลาง เพื่อจะให้เกิดปัญญา ความรู้แจ้งแทงตลอดในธาตุขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ในที่สุด และเพื่อจะให้รู้ความจริง ก็ต้องหมั่นพิจารณาว่า ร่างกายของเราที่ปั้นปรุงขึ้นมา จากธาตุทั้ง 4 นี้ ประกอบอยู่ด้วยธาตุอีกอย่างหนึ่งซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 อย่าง ได้แก่

    เวทนา คือ ความรู้สุข รู้ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์
    สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ในอายตนะทั้งหลายที่มากระทบแล้วรู้สึกแล้ว
    สังขาร คือ ความไกลเวียนปรุงเปลี่ยนไม่หยุดอยู่ของนามธาตุนั้น
    วิญญาณ คือ ความรู้สึกได้
    รวมเป็น 4 อย่างด้วยกัน เรียกว่า นามขันธ์
    เมื่อรวมเข้ากับธาตุ 4 คือ รูปขันธ์ด้วยแล้วจึงเป็นขันธ์ รวมย่อแล้วเรียกว่า กายกับใจนี้เป็นสิ่งที่ไม่ยืนยงคงที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอะไรเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ร่างกายเนื้อหนังของเรานี้เป็นของไม่สวยไม่งาม สกปรกโสโครกโดยประการทั้งปวง การภาวนาที่ถูกต้องจะต้องเป็นไปในลักษณะนี้ นักภาวนาเมื่อรู้เห็น ซึ่งสภาพตามเป็นจริง อย่างนี้แล้ว ย่อมจะมีความสะดุ้งกลัวต่อภัยและความเป็นโทษทุกข์ของสังขาร ไม่อยากประสบพบเห็นกับความทุกข์ทรมารเหล่านี้อีกแล้ว เมื่อนั้นจิตก็ย่อมจะคลายจากความกำหนัดยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ย่อมคลายความกำหนัดรักใคร่ชอบใจ ในสิ่งอันเป็นที่ตั้ง แห่งความรักใคร่ชอบใจ เมื่อจิตมีความเบื่อหน่ายคลายความกำหนัดเช่นนี้แล้ว ทุกข์ทั้งปวงก็ย่อมดับลงได้โดยแท้ ข้อที่ว่าทุกข์ทั้งปวงดับลงนี้เป็นเพราะอวิชชา คือความไม่รู้ ความเป็นจริงในธรรมดับไปนั่นเอง จึงเป็นเหตุให้รู้ความเห็นในธรรมที่เรียกว่า ปัญญา นั้น เจริญถึงที่สุด ผลที่ได้รับก็คือ "ปัญญาอันสงบระงับและแจ่มแจ้ง" หลวงปู่มั่นท่านกล่าวอบรมหลวงปู่กินรี

    หลวงปู่กินรีท่านได้เล่าเรื่องราวของท่านสมัยที่ท่านไปฝึกอบรมกรรมฐานกับหลวงปู่มั่น ให้สานุศิษย์ทั้งหลายฟังอยู่เสมอว่า ในขณะที่ท่านนั่งสมาธิ บริกรรมภาวนา อยู่นั้น ก็รู้สึกว่าจิตค่อยๆ สงบเข้าไปทีละน้อยๆ แล้วปรากฏว่า ทั้งร่างกายและเนื้อหนังของท่านนั้น ได้เปื่อยหลุดออกจากกัน จนเหลือแต่ซากของกระดูก อันเป็นโครงร่าง ที่แท้จริงในกายของท่านเอง "สิ่งที่ปรากฏในอาการอย่างนั้นมันชวนให้น่าเบื่อหน่ายยิ่งนัก" หลวงปู่ท่านกล่าว

    ประสบการณ์ในธรรมโดยลักษณะนี้ได้เกิดขึ้นกับท่านอีกครั้งหนึ่ง ในเวลาต่อมาแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าในขณะนั้นท่านพำนักอยู่ที่ใด ซึ่งครั้งนี้ท่านกล่าวว่า "ในขณะที่ภาวนาอยู่นั้น ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นในตัว เปลวเพลิงได้ลุกลามพัดไหม้ทั่วร่าง ในที่สุดก็เหลืออยู่แต่ซากกระดูกที่ถูกเผา และคิดอยู่ที่นั้นว่า ร่างกายคนเราจะสวยงามแค่ไหน ในที่สุดมันก็ต้องถูกเผาอย่างนี้เอง" หลวงปู่กินรีท่านได้อธิบายถึงการภาวนาว่ามีอยู่ 3 ขั้นด้วยกัน กล่าวคือ
    1. บริกรรมภาวนา คือ การภาวนาที่กำหนดกรรมฐาน 40 อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ เพื่อจะทำจิตให้ตั้งมั่น ขั้นนี้ยังเป็นเพียงการกำหนดนึก ยังไม่เป็นอารมณ์ที่แน่นแฟ้นจริงจัง มีการภาวนา "พุทฺโธ" เป็นอาทิ ข้อนี้เป็นการภาวนาในระดับที่จะทำให้เกิดบริกรรมนิมิต อันเป็นนิมิตข้อต้นเท่านั้น

    2. อุปจารภาวนา คือ การภาวนาที่เริ่มจะทำจิตให้ตั้งมั่นดีกว่าข้อแรกขึ้นนิดหนึ่ง ข้อนี้อุคหนิมิตจะปรากฏขึ้นได้

    3. อัปนาภาวนา เป็นการภาวนาที่แน่วแน่ อาจทำให้เกิดปฏิภาคนิมิตได้

    หลวงปู่กินรี ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่กับ ท่านหลวงปู่มั่นเพียง 2 ปี เท่านั้น ส่วนเวลานอกนั้นท่านมักจะอยู่ตามลำพัง เป็นตัวของตัวเองมากกว่า ส่วนผู้ที่หลวงปู่กินรี จะลืมเสียมิได้ ถึงแม้จะมาอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่นก็ตาม ท่านคือ พระอาจารย์ทองรัตน์ เพราะท่านเป็นผู้ที่ให้วิชาความรู้ในการปฏิบัติแก่หลวงปู่ นับว่าเป็นองค์แรก ที่เป็นอาจารย์ของหลวงปู่กินรี ซึ่งท่านมักจะไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ อีกอย่างหนึ่งที่เป็นสาเหตุให้หลวงปู่กินรีชอบอยู่อย่างสันโดษแต่ผู้เดียวนั้น เนื่องจากไม่ได้ญัตติ เป็นธรรมยุต เช่นพระทั้งหลายรูปอื่นๆ

    ด้วยเอกลักษณ์พิเศษที่ท่านมีอุปนิสัยสมถะไม่นิยมในหมู่คณะมาก ชอบความเป็นคนผู้เดียวตามครูอาจารย์ที่สั่งสอนทั้งหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ทำให้ท่านแยกตัวไปเฉพาะตนและธุดงค์เรื่อยไป ตามป่าเข้า ถ้ำ หุบเหว รื่นเริงและห้าวหาญที่จะแสวงหาโมกขธรรมการมุ่งเข้าป่าหาที่วิเวกที่สัปปายะ จึงเป็นเอกนิสัยของท่าน แล้วกลับมากราบคารวะบูรพาจารย์ เพื่อตรวจสอบการปฏิบัติและตรวจสอบอารมณ์ธรรม แล้วจะแยกจากหมู่คณะ เสพเสนาสนะตามธรรมชาติ ตามอุปนิสัยของท่าน ปฏิปทาของหลวงปู่จึงนับได้ว่า ได้ดำเนินตามทางที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน หลวงปู่ธุดงค์ในเขตอีสานเหนือ เป็นปกติ และบางครั้งข้ามไป ฝั่งซ้าย แม่น้ำโขง สู่ประเทศลาว เช่น ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์ไปยังฝั่งลาว ตรงข้ามกับบ้านแพง พร้อมกับพระอาจารย์อวน อคุโณ เพื่อไปกราบหลวงปู่ทองรัตน์

    การเดินธุดงค์ครั้งยิ่งใหญ่ของท่านก็คือ การเดินธุดงค์สู่ดินแดงพุทธภูมิ พร้อมศิษย์คือ พระภิกษุยศและพระภิกษุหลอด จากบ้านเกิดบ้านหนองฮี มุ่งหน้าสู่ท่าอุเทน และเลียบริมฝั่งโขงไปทางเหนือ ตามสายน้ำสู่ต้นน้ำ ผ่านอำเภอศรีสงคราม บ้านแพง บึงกาฬ แล้วข้ามโขงไปกราบนมัสการ พระพุทธบาทโพนสันของลาว หลวงปู่เดินทวนกระแสน้ำ ผ่านโพนพิสัย ท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ สังคมปากชม จนกระทั่งถึงอำเภอเชียงคาน การธุดงค์ด้วยระยะทางนี้ยาวไกล ต้องทั้งอดทั้งทน บางคราว ต้องอดอาหารถึง 7 วัน ก็ยังเคยมี จนเป็นสิ่งปกติ แม้จะทุกข์ยากลำบาก ทุกข์เวทนาเพียงใด หลวงปู่ยิ่งยึดมั่นในข้อวัตรปฏิบัติ เคร่งครัดหนักยิ่งขึ้น ท่านอบรมสอนศิษย์ ให้พากเพียรรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ระมัดระวังยิ่งนักขณะธุดงค์ทางไกล การปฏิบัติต้องทุกอิริยาบถ จะนั่ง จะยืน จะนอน จะทำสิ่งใดในขณะใดๆ ต้องมีสติ ทุกขณะลมหายใจเข้าออก

    หลวงปู่นำคณะศิษย์ผ่านป่าดินแล้ง ป่าดิบชื้นและป่าดิบเขา บุกป่าปีนเขาลูกแล้วลูกเล่า ผจญสัตว์ป่า ไข้ป่าที่ชุกชุมและคุกคาม จากเชียงคาน สู่เขตอำเภอท่าสี จังหวัดเลย แล้วเข้าสู่เมืองปากลาย เมืองบ่อแตน แขวงไชยบุรีของลาว ได้พบพระอลัชชี ป่าตองเหลือง ที่นุ่งห่มใบไม้ และคนป่าถักแถ่ แล้วหลวงปู่วกเข้าสู่บ้านห้วยหมุ่น อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ หลวงปู่เคยจำพรรษาอยู่กับเผ่าแม้ว ตลอดพรรษาได้ฉันแต่ข้าวโพด เพราะไม่มีข้าว

    ออกจากบ้านน้ำปาดมุ่งสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วต่อไปสรรคโลก จึงขึ้นรถยนต์ไปลงที่บ้านระแหง อำเภอเมืองตาก ต่อจากนั้นหลวงปู่ก็เดินธุดงค์เข้าสู่แม่สอด ข้ามเข้าสู่ประเทศพม่า โดยไม่ได้ใช้หนังสือเดินทางใดๆ พระยศกับพระหลอด หมดความอดทนที่จะเดินทางต่อไป ด้วยห่างไกลบ้านมานาน หลวงปู่จึงส่งกลับเขตแดนไทย ส่วนหลวงปู่กับหลานลูกพี่ชายที่บ้านห้วยหมุ่น น้ำปาด ได้เดินทางต่อสู่ย่างกุ้ง และได้พำนักอยู่วัดแห่งหนึ่งในย่างกุ้ง ต่อมาได้รับศรัทธาจากอุบาสกชาวพม่า จึงได้รับนิมนต์ ให้ไปอยู่ "วัดกุลาจ่อง" ต่อมาหลวงปู่ได้พบกับพระภิกษุไทยรูปหนึ่ง ได้นำทางไปสู่แดนพุทธภูมิ เพื่อนมัสการสังเวชนียสถานทั้ง 4 หลัง จากนั้น หลวงปู่ได้นำคณะ เดินทางกลับพม่า และหลวงปู่จำพรรษาอยู่ในพม่าถึง 12 ปี ทำให้หลวงปู่พูดภาษาพม่าได้

    ในคืนหนึ่ง หลังจากที่หลวงปู่ภาวนา ... ได้จำวัดพักผ่อนและเกิดนิมิตว่า โยมมารดาของท่านซึ่งบวชชี มานอนขวาง หลวงปู่รู้สึกแปลกใจในนิมิต คิดว่าคงจะมี เหตุการณ์เกิดขึ้นกับโยมมารดา ท่านจึงต้องเดินทางกลับบ้าน ทั้งที่ไม่คิดที่จะเดินทางกลับ คาดว่าหลวงปู่กลับโดยพาหนะรถยนต์ ระยะนั้นหลวงปู่มั่น จำพรรษา ที่บ้านตองโขบ บ้านนามน พอหลวงปู่ทราบ ได้เข้าไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่นได้ถามว่า กินรี ได้ที่อยู่แล้วหรือยัง หลวงปู่ตอบว่า "ได้แล้วครับ" หลังจากนั้นหลวงปู่กินรี ได้เดินทางไปกลับบ้านหนองฮี ผ่านป่าช้าของหมู่บ้าน พบแต่เถ้าถ่านกองฟอนที่เผามารดา ท่านจึงนำคณะญาติพี่น้อง ทำบุญเก็บอัฐิของโยมมารดา ด้วยการทำบุญ ให้เป็นบุญ คือห้ามมิให้ฆ่าสัตว์ และไม่ให้ดื่มสุรา หลังจากนั้นหลวงปู่ได้ธุดงค์กลับไปยังพม่า ผ่านบ้านลานสาง จังหวัดตาก ได้จำพรรษาอยู่ในหมู่บ้านมูเซอ ระหว่างนี้ ท่านอาพาธด้วยโรคหัวใจ ฉันไม่ได้อยู่ประมาณ 3 เดือน ซึ่งท่านเล่าว่า "ความเจ็บไข้ทางกายนี้ เมื่อเป็นหนักเข้า มันก็เป็นอุปสรรคต่อการภาวนา อยู่มาก เหมือนกัน เป็นที่ตั้งแห่งนิวรณ์ ความฟุ้งซ่าน รำคาญทั้งหลาย บางครั้งก็ทำให้เกิดความเครียด ความสงสัยเคลือบแคลงลังเลใจ ไม่แน่ใจ ไปเสียทุกอย่าง สงสัยอาบัติที่มีแก่ตัวสงสัยอย่างอื่น จนทำให้การภาวนาไม่สบาย ที่ทรงไว้ได้ดีก็คือศีล แต่ในที่สุดอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ก็สงบลง เพราะทางเพ่งพิจารณา อยู่ในอารมณ์" หลวงปู่ได้ยาพระโบราณบอก ด้วยการจัดหาตามคำบอกของชาวเขา ทำให้หลวงปู่หายจากอาพาธอย่างน่าอัศจรรย์ ท่านจึงตัดสินใจเปลี่ยนใจที่จะละ สังขารที่พม่ากลับมาสู่มาตุภูมิ
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย : ธรรมโอวาท :ปัจฉิมบท


    ธรรมโอวาท

    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย กลับมาพำนักอยู่สำนักสงฆ์เมธาวิเวก แล้วต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดกันตศิลาวาส แม้ว่าปฏิปทานของหลวงปู่ จะไม่นิยมและเผยแพร่ศาสนา ด้วยการเทศนาเชิงโวหารหรือคำพูด หลวงปู่เป็นตัวอย่างของการทำให้ดู ปฏิบัติให้เห็นมากกว่า แต่อุบายธรรมคำสั่งสอนของท่านทรงปัญญาและลุ่มลึกมาก เช่น

    - เตือนและให้สติหลวงปู่ชา ผู้เป็นลูกศิษย์ที่จะขอลากลับสู่บ้านเกิดว่า "ระวังให้ดีถ้าท่านรักใคร คิดถึงใคร เป็นห่วงใครผู้นั้นจะให้โทษแก่ท่าน"

    - ให้รักษาศีลให้ดี ทำความเพียรให้มาก มันก็จะรู้เองเห็นเอง เป็นคำสอนที่หลวงปู่บอกกับลูกศิษย์เสมอ

    - สตินี้ เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้าเราทราบระเบียบวินัยที่มีอยู่มากมาย อย่างละเอียดรอบคอบแล้ว และตามรักษาได้อย่างครบถ้วน สติของเราก็จะต่อเนื่องกัน จิตใจก็จักจดจ่ออยู่แน่ ในข้อวัตรปฏิบัติของตน ไม่มีโอกาสที่จะแส่ส่ายไปภายนอก ถ้าขาดสติ โอกาสที่จิตใจจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอก มันก็มีมากขึ้น และอารมณ์ทั้งหลาย ก็ย่อมครอบงำจิตให้หลงใหลมัวเมาได้ง่ายขึ้น

    - ไม่ควรคลุกคลี ให้อยู่คนเดียวมากๆ สาธยายด้วยตัวเองให้มาก มีจิตใจกำหนดจดจ่ออยู่ในพระธรรมให้มากนี้เป็นการดีที่สุด

    - สังขาร คือ ร่างกาย จิตใจนี้ เป็นของไม่เที่ยง และจะหาสาระแก่สารอะไรมิได้ โดยประการทั้งปวง

    - จะให้ลูกเป็นคนดี ต้องทำดีให้ลูกดู

    - บุรุษพึงพยายามไปกว่าจะสำเร็จประโยชน์

    - ผู้ขยันในหน้าที่ การงานไม่ประมาทเข้าใจการเลี้ยงชีวิต ตามสมควรจึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้

    - คนโกรธที่วาจาหยาบ

    - วาจา เช่น เดียวกับใจ

    - ธรรมเป็นของแน่นอน แต่รูปเป็นของไม่แน่นอน

    - กิเลสคือตัวมารอันร้ายกาจ แม่น้ำเสมอด้วยความอยากไม่มี

    - ความอยากไม่มีขอบเขต ความอยากย่อมผลักดันให้คนวิ่งวุ่น

    - โลกถูกความอยากนำไป ความอยากเป็นแดนเกิดของความทุกข์

    ปัจฉิมบท

    หลวงปู่พระอาจารย์กินรี จนฺทิโย
    ได้ยึดมั่นถือปฏิบัติตามบูรพาจารย์ใหญ่ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และหลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโล ที่อยู่อย่างสมถะเรียบง่าย ไม่เปิดเผยตน เก็บตัว ไม่ชอบคนหมู่มาก ไม่มักมากไม่ต้องการความมีชื่อเสียง พูดน้อย ไม่ชอบเทศน์ถ้าไม่นิมนต์ให้เทศน์ หลวงปู่อยู่อย่างสงบๆ เหมือนพระผู้เฒ่าไม่มีอะไรดี

    การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่กินรี เพียงวิธีการสังเกตดูกิริยาภายนอกนั้นอยากที่จะเข้าใจ เพราะกิริยาพฤติกรรมที่แสดงออกกับภูมิจิต ภูมิธรรม ภายใน นั้นเป็นคนละเรื่อง ดังคำปรารถของพระอาจาย์ชา สุภทฺโท ครั้งปฏิบัติธรรมอยู่กับหลวงปู่ ทั้งก่อนและหลังที่เดินธุดงค์สู่ภูลังกา นครพนม ได้กล่าวว่า ท่านเอง ทำความเพียรอย่างสาหัส เดินจงกรมทั้งวัน ไม่ว่าฝนจะตกแดดจะออกจนแผ่นดินทรุดทางเดินเป็นร่องลึกหลายต่อหลายร่องปฏิบัติมิได้หยุดหย่อน ยังไม่รู้ไม่เป็นอะไร แล้วท่านอาจารย์ปฏิบัติเพียง เดินจงกรมก็ไม่เคยเดิน จะนั่งสมาธินานๆ ก็ไม่เห็นนั่ง คอยแต่จะทำนั่นทำนี่ แล้วจะไปถึงไหนกัน แล้วหลวงปู่ชา ได้กล่าวภายหลังว่า เรามันคิดผิดไป ท่านพระอาจารย์ทำความเพียรขั้นอุกฤกษ์ มากต่อมาก หลายต่อหลายปี รู้อะไรมากกว่าเราเป็นไหนๆ คำเตือนสั้นๆ ห้วนๆ แม้จะนานๆ ครั้ง แต่ก็เป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิด ไม่เคยเห็นมาก่อน อุปมาเหมือนแสงจันทร์กับแสงเทียน การปฏิบัติแท้ๆ นั้นไม่ใช่กิริยาอาการภายนอก ไม่ใช่การเดินจงกรมด้วยเท้า ไม่ใช่การนั่งสมาธิ มิใช่การศึกษาตำราตัวหนังสือ มิใช่เพียงคำพูด และมิใช่สิ่งที่จะยกเป็นตัวเป็นตน ได้แต่การปฏิบัติภาวนาที่แท้จริงนั้น เป็นกิริยาภายใน เป็นอาการภายใน เป็นการปฏิบัติทางใจ นั่งนิ่งอยู่ที่จิต ทำอารมณ์ให้นิ่ง ทำจิตให้นิ่ง มีสมาธิจนเป็นหนึ่ง อยู่ทุกขณะจิต ตลอดภาวนา ทุกเวลาทุกอริยาบท แม้การทำจิตอันใด ฉะนั้น การจะไปจับเอาการกระทำ ด้วยการนั่งสมาธิ กายเดินจงกรม ของครูบาอาจารย์นั้นไม่ได้ และไม่ถูก

    หลวงปู่กินรี เป็นพระที่ยึดมั่นในศีลธรรม อบรมลูกศิษย์อย่าประมาทในศีล แม้สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ ในพระวินัย จะประมาทไม่ได้เด็ดขาด แม้เพียงการ ตากผ้าสบง จีวร แล้วมิได้เฝ้าดูรักษา หลวงปู่ก็ตำหนิพระลูกศิษย์ว่าประมาทในสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ การเป็นสมณะ ต้องเป็นผู้มักน้อยสันโดษ เป็นอยู่ง่ายๆ กินแต่น้อย มีทรัพย์สิ่งของน้อย และไม่สะสม จะต้องทะนุถนอมรักษาใช้ให้นานๆ เป็นผู้ไม่สิ้นเปลืองมาก ถ้าใช้สุรุ่ยสุร่าย แสดงถึงการขาดสติ ในการประคับประคองตัว ให้อยู่ในครอบร่างรอยของสมณะ แล้วจะมีอะไรเป็นเครื่องมือปฏิบัติภาวนา สตินั้นต้องมั่นคง และต่อเนื่องด้วยการสังวรระวังในวินัยสิกขาบท สติเราก็จะมั่นคงต่อเนื่อง ถ้าขาดวินัยย่อมขาดสติ จิตจะวิ่งไปตามอารมณ์ภายนอก อารมณ์ทั้งหลายก็ย่อมครอบงำจิต ให้หลงใหลมัวเมา การมีสติอยู่กับข้อวัตรพระวินัย ย่อมเป็นเครื่องกั้นอารมณ์ทั้งปวง และทำให้สติต่อเนื่อง จิตใจย่อมตั้งมั่น เป็นสมาธิจิตตลอดกิริยาบถ คำสอนของหลวงปู่ จึงเป็นคำสอนที่ง่ายๆ เป็นการสอนด้วยข้อปฏิบัติ และกระทำทันที

    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย ท่านเป็นคนพูดน้อย แต่ละคำพูดที่พูดจึงมีแต่ความบริสุทธิ์ และจริงใจท่านยึดถือคติธรรม "สติโลกสฺมิ ชาคโร" สติเป็นธรรมเครื่องตื่น อยู่เสมอ จงเอาสติตามรักษาจิตไว้ เพราะคนมีสติย่อมประสบแต่ความสุข จะพูดจะคิดจึงควรมีสติทุกเมื่อ ท่านมักจะอยู่คนเดียว ไม่ชอบ คลุกคลีกับหมู่คณะ พยายามให้พระเณรในวัดมีการร่วมกันน้อยที่สุด ให้เร่งทำความเพียร อย่าได้อยู่ด้วยความเกียจคร้าน อย่าเป็นผู้พูดมาก เอิกเกริกเฮฮา ไม่จำเป็น ท่านจะไม่ให้ประชุมกัน แม้การสวดมนต์ทำวัตร ยังให้ทำร่วมกันสัปดาห์ละครั้งเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำด้วยตนเองอยู่แล้ว ให้อยู่คนเดียวทำคนเดียวมากๆ จิตจดจ่อ อยู่ในพรรษาให้มาก โดยเฉพาะเตือนลูกศิษย์ให้อยู่ในป่าช้าให้มาก อานิสงส์ของการอยู่ในป่าช้า ทำให้จิตใจกล้า องอาจจิตตื่นอยู่เสมอ พิจารณาข้อธรรมได้ถี่ถ้วน เพราะจิตปราศจากนิวรณ์

    หลวงปู่กินรี จนฺทิโย เคยอยู่กับหลวงปู่เสาร์นานถึง 6 ปี อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น 2 ปี และอยู่กับหลวงปู่ทองรัตน์ 4 ปี หลังจากนั้น ได้กราบคารวะบูรพาจารย์ ทั้งสามอยู่เนืองนิจ ท่านได้กล่าวกับพระอาจารย์ชา จึงประกาศประดิษฐานพระพุทธศาสนาเชิงปฏิบัติธรรม ขยายไปยังทวีปต่างๆ ทั่วโลก แต่ชีวิตปั้นหลายของหลวงปู่กินรี จนฺทิโย ทุกสิ่งทุกอย่างปกติ คือพูดน้อย เก็บตัวอยู่เรียบง่าย สงบระงับ หยุดการเดินทาง หยุดการธุดงค์ มีนานๆ ครั้งจะไปเยี่ยมพระอาจารย์ชา ผู้เป็นศิษย์ที่วัดหนองป่าพง ด้วยลักษณะนิสัยต้องการอยู่ตามลำพัง อยู่คนเดียว ไม่เปิดเผยตัวเอง จึงไม่มีผู้ใดที่จะเคยได้ยิน คำพูดที่จะเป็นไปในทางโอ้อวดการมีดี การอวดคุณธรรมวิเศษจากหลวงปู่ ท่านสมณะที่สงบเสงี่ยมเจียมตน จึงไม่อุดมด้วยศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาส หลวงปู่ชา สุภทฺโท จึงส่งพระลูกศิษย์ 2 รูปมาอุปัฏฐานดูแลท่าน

    หลวงปู่มีโรคประจำตัว คือ ไออยู่เป็นนิจ เนื่องจากเกี่ยวกับปอดชื้น แต่ไม่ยอมให้หมอรักษาไม่ว่าท่านจะเป็นอะไร จะอาการหนักหรือไม่หนัก ท่านจะไม่ยอมให้ใคร นำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเด็ดขาด อะไรมันจะเกิดก็ต้องเกิด จนกระทั่งวันพุธที่ 26 พฤศจิกายน 2523 ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก หลวงปู่จึงได้ละสังขารจากพวกเราไป สิริรวมอายุ 84 ปี 7 เดือน 16 วัน 58 พรรษา
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ชีวประวัติหลวงพ่อชาส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่กินรี

    [​IMG]หลบหลีกออกจากบ้านต้องในคืนนั้น หลวงพ่อเดินทางไปยังวัดป่าหนองฮี ตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม ซึ่งมี หลวงปู่กินรี จนฺทิโย เป็นประหนึ่งร่มโพธิธรรมอยู่ที่นั่น ศึกษา ประพฤติปฏิบัติอยู่กับท่านหลายวันได้กำลังใจคืนมา ขณะนั้นเป็นฤดูแล้ง เป็นช่วงเวลาที่เหมาะต่อ การหลีกเร้นภาวนาในป่าตามธรรมชาติ หลวงพ่อจึงกราบลาหลวงปู่กินรีออกจาริกธุดงค์ ต่อไป

    ครั้นย่างเข้าฤดูฝนในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นพรรษาที่เก้าของหลวงพ่อ ท่านได้ย้อนกลับมา จำพรรษากับหลวงปู่กินรีที่วัดป่าหนองฮี

    หลวงปู่กินรีเป็นครูบาอาจารย์ที่มีปฏิปทาเรียบง่ายน่าเคารพบูชา ชอบใช้ชีวิตโดดเดี่ยว มั่นคงในข้อปฏิบัติ มักน้อยสันโดษ บริขารเครื่องใช้ของท่าน ล้วนแต่เป็นของปอน ๆ เรียบง่าย และส่วนใหญ่ท่านทำใช้เอง แม้ไม่สวยงาม แต่มันจะถูกใช้จนสึกกร่อนไปตามกาลเวลา

    อุปนิสัยพิเศษอย่างหนึ่งของหลวงปู่คือ ความขยันในการงานทุกอย่างที่พระจะพึงทำได้ ท่านไม่เคยอยู่นิ่งเฉย นอกจากขณะทำสมาธิภาวนาเท่านั้น แม้ในวัยชรา หลวงปู่ก็ยังรักษาปฏิปทา นี้ไว้อย่างมั่นคง

    หลวงพ่อเล่าถึงปฏิปทาของหลวงปู่กินรีว่า...

    ในพรรษาที่อยู่กับหลวงปู่นั้น ท่านเองทำความเพียรอย่างหนัก เดินจงกรมทั้งวัน ฝนตก แดดออกอย่างไรก็เดินจนทางจงกรมเป็นร่องลึก

    แต่หลวงปู่กลับไม่ค่อยเดิน บางครั้งเดินเพียงสองสามเที่ยวก็หยุด แล้วไปเอาผ้ามาปะ มาเย็บ หรือไม่ก็นั่งทำนั่นทำนี่...

    เราประมาท คิดว่าครูบาอาจารย์จะไปถึงไหนกัน เดินจงกรมก็ไม่เดิน นั่งสมาธินาน ๆ ก็ไม่เคยนั่ง คอยแต่จะทำนั่นทำนี่ตลอดวัน แต่เรานี่ปฏิบัติไม่หยุดเลย ถึงขนาดนั้นก็ยังไม่รู้ไม่เห็น อะไร ส่วนหลวงปู่ปฏิบัติอยู่แค่นั้น จะไปรู้เห็นอะไร

    เรามันคิดผิดไป หลวงปู่ท่านรู้อะไร ๆ มากกว่าเราเสียอีก คำเตือนของท่านสั้น ๆ และไม่ ค่อยมีให้ฟังบ่อยนัก เป็นสิ่งที่ลุ่มลึกแฝงไว้ด้วยปัญญาอันแยบคาย ความคิดของครูบาอาจารย์ กว้างไกลเกินปัญญาของเราเป็นไหน ๆ ...ตัวแท้ของการปฏิบัติ คือ ความพากเพียรกำจัดอาสวะ กิเลสภายในใจ ไม่ใช่ถือเอากิริยาอาการภายนอกของครูอาจารย์มาเป็นเกณฑ์...

    ในปีนั้นจีวรของหลวงพ่อเก่าคร่ำคร่า จนผุขาดเกือบทั้งผืน แต่ท่านไม่ยอมออกปากขอใคร หลวงปู่กินรีก็มองดูอยู่เงียบ ๆ ไม่ว่ากระไร

    วันหนึ่งหลวงพ่อนั่งปะชุนจีวรอยู่ ขณะเย็บผ้าคิดอยากให้เสร็จเร็ว ๆ จะได้หมดเรื่องหมด ราว แล้วไปนั่งภาวนา เดินจงกรมให้เต็มที่สักที หลวงปู่กินรีเดินมาหยุดยืนดูอยู่ใกล้ ๆ หลวงพ่อ ก็ยังไม่รู้ เพราะจิตกังวลอยากเย็บผ้าให้เสร็จเร็ว ๆ เท่านั้น

    หลวงปู่ถามว่า "ท่านจะรีบร้อนไปทำไมเล่า"

    "ผมอยากให้เสร็จเร็ว ๆ"

    "เสร็จแล้วท่านจะไปทำอะไร" หลวงปู่ถามอีก

    "จะไปทำอันนั้นอีก"

    "ถ้าอันนั้นเสร็จ ท่านจะทำอะไรอีก" หลวงปู่ถามต่อ

    "ผมจะทำอย่างอื่นอีก"

    "เมื่ออย่างอื่นของท่านเสร็จ ท่านจะไปทำอะไรอีกเล่า ?"

    หลวงปู่กินรีให้ข้อคิดว่า... "ท่านรู้ไหม นั่งเย็บผ้านี่ก็ภาวนาได้ ท่านดูจิตตัวเองสิว่า เป็นอย่างไร แล้วก็แก้ไขมัน ท่านจะรีบร้อนไปทำไมเล่า ทำอย่างนี้เสียหายหมด ความ อยากมันเกิดขึ้นท่วมหัว ท่านยังไม่รู้เรื่องของตัวเองอีก"

    คำพูดสั้น ๆ แต่มีความหมายและเจือความปรารถนาดีของหลวงปู่ ทำให้หลวงพ่อหูตา สว่างขึ้น ท่านปรารภให้ฟังว่า "เรานึกว่าทำถูกแล้ว อุตสาห์รีบทำ อยากให้มันเสร็จเร็ว ๆ จะได้ภาวนา แต่ที่ไหนได้ เราคิดผิดไปไกลทีเดียว"

    อยู่ต่อมา หลวงปู่กินรีปรารภกับญาติของท่านว่า มีพระรูปหนึ่งมาอยู่ด้วย จีวรขาดหมดแล้ว ช่วยตัดจีวรใหม่ถวายท่านด้วย พอดีมีคนเอาผ้าฝ้ายด้ายดิบเนื้อหนามาถวาย หลวงปู่จึงให้แม่ชี ช่วยกันตัดเย็บถวายหลวงพ่อ

    หลวงพ่อเล่าถึงความรู้สึกตอนนั้นว่า... "ดีใจที่สุด ใช้อยู่ตั้งหลายปีก็ยังไม่ขาด ใส่ใน ครั้งแรกดูกระปุกกระปุย เพราะผ้าหนาและแข็งกระด้าง ยิ่งใส่สังฆาฏิซ้อนเป็นสองชั้น ยิ่งดูตัวเองอ้วนใหญ่ เวลาเดินดังสวบสาบ ๆ เพราะผ้ามันแข็ง ใส่ไปตั้งปีสองปีผ้าจึงอ่อน แต่เราก็ไม่เคยบ่น ได้อาศัยผ้าผืนนั้นมาเรื่อย ยังนึกถึงบุญคุณของท่านอยู่เสมอ..."

    เมื่อปัญหาเรื่องเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งทำให้ใจเร่าร้อนกระสับกระส่ายถูกดับลงด้วยการภาวนา และหยาดน้ำใจจากครูอาจารย์ผ่านไปไม่นาน ศัตรูคู่ปรับเก่า ที่หลวงพ่อเคยออกปากในทำนองว่า ยากยิ่งสิ่งเดียวได้หวนกลับมาย่ำยีจิตใจอีกครั้ง...

    คืนหนึ่ง ขณะหลวงพ่อพากเพียรภาวนาอยู่ตามลำพัง อารมณ์แห่งกามราคะได้เกิดขึ้น

    คืนนั้นไม่ว่าจะเดินจงกรม นั่งสมาธิ หรือพลิกยุทธวิธีใด ๆ ก็ไม่สามารถกำราบกิเลสมาร ลงได้ รูปลักษณ์ของอวัยวะเพศหญิงปรากฏเป็นมโนภาพเด่นชัดตลอดเวลา เกิดความรู้สึกทาง ธรรมชาติของบุรุษอย่างรุนแรง จนแทบภาวนาต่อไปไม่ได้ ต้องอดทนต่อสู่กับความรู้สึกและ มโนภาพนั้นอย่างยากเย็น

    หลวงพ่อเปรียบเทียบว่า จิตใจถูกกิเลสย่ำยี อย่างหนัก พอ ๆ กับครั้งที่เกิดความกลัวใน คราวอยู่ ป่าช้าครั้งแรกนั่นเอง

    การต่อสู้กับราคะดำเนินไปอย่างดุเดือด ขับ เคี่ยวรุกไล่กันอยู่ถึง 10 วัน ความรู้สึกและมโนภาพ นั้นจึงได้เลือนหายไป

    หลังการต่อสู้กับกามราคะในวันนั้น หลวงพ่อ ยิ่งบากบั่นเร่งภาวนาหนักขึ้น เพื่อสร้างเกราะ และ ภูมิคุ้มกันภัยให้มั่นคง ศรัทธาและกำลังใจกล้าแกร่ง ขึ้นตามลำดับ

    คืนหนึ่งในพรรษานั้น หลังทำความเพียรเป็นเวลาพอสมควร หลวงพ่อได้ขึ้นไปพักผ่อนบน กุฏิ กำหนดสติเอนกายลงนอน พอเคลิ้มไปเกิดนิมิตเห็นหลวงปู่มั่น เดินเข้ามาหยุดยืนอยู่ใกล้ ๆ แล้วส่งลูกแก้วให้ลูกหนึ่ง พร้อมกับกล่าวว่า... "ชา... เราขอมอบลูกแก้วนี้แก่ท่าน มันมีรัศมี สว่างไสวมากนะ" ในนิมิตนั้น ปรากฏว่าตนได้ลุกขึ้นนั่ง พร้อมกับยื่นมือไปรับลูกแก้วจาก หลวงปู่มั่นมากำไว้ พอรู้สึกตัวตื่นขึ้นแปลกใจมาก ที่พบตัวเองนั่งกำมืออยู่ดังในความฝัน จิตใจ เกิดความสงบระงับผ่องใส พิจารณาสิ่งใดไม่ติดขัด มีความปลื้มปิติตลอดพรรษา

    หลวงพ่อได้อยู่ร่วมศึกษาปฏิบัติและอุปัฏฐากรับใช้หลวงปู่กินรีเรื่อยมา กระทั่งถึงฤดูแล้ง ของปี พ.ศ. 2491 หลวงพ่อจึงได้กราบลาครูบาอาจารย์จาริกต่อไป

    ก่อนจาก หลวงปู่กล่าวตักเตือนศิษย์สั้น ๆ ตามอัธยาศัยของท่านว่า "ท่านชา อะไร ๆ ในการปฏิบัติ ท่านก็พอสมควรแล้ว แต่อยากให้ระวังเรื่องการเทศน์นะ"



    คัดลอกจาก

    http://203.154.140.2/isangate/dhamma/life-09.htm
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ขาว อนาลโย

    [​IMG]<SCRIPT type=text/javascript src="http://cdn1.hikiwake.com/scripts/shared/enable.js?si=10186"></SCRIPT>


    <CENTER>
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย
    </CENTER>
    <CENTER>
    โดยสรุป​
    </CENTER>
    <CENTER>
    วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวลำภู​
    </CENTER>
    <CENTER>
    จากหนังสือแก้วมณีอีสาน​
    </CENTER>
    คัดลอกจาก : http://www.manager.co.th/budish/kaewmanee7.html


    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวลำภู นามเดิมชื่อ ขาว โคระถา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม 2431 ที่บ้านชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

    โยมบิดาชื่อ พั่ว โยมมารดาชื่อ รอด โคระถา มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4 อาชีพหลักของครอบครัว คือ ทำนาและค้าขาย เมื่อท่านอายุได้ 20 ปี บิดามารดาได้จัดให้มีครอบครัว ภรรยาของท่านชื่อ นางมี และได้มีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งต่อมาได้แยกทางกัน

    ท่านเป็นผู้มีนิสัยเด็ดเดี่ยวเอาจริงเอาจังมาก ประกอบกบความมีศรัทธาต่อหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งสอนให้คนทำจริง ในสิ่งที่ควรทำ เมื่อท่านได้บวชในพระพุทธศาสนา ท่านจึงรู้สึกซาบซึ้งในหลักธรรมมากยิ่งขึ้นโดยลำดับ
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    ชีวิตสมณะของท่าน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2462 เมื่อท่านอายุได้ 31 ปี โดยอุปสมบทที่วัดโพธิ์ศรี บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีท่านพระครูพุฒิศักดิ์เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์บุญจันทร์ เป็นพระกรราวาจาจารย์

    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษาที่วัดโพธิ์ศรี เป็นเวลา 6 พรรษา เนื่องจากท่านได้บังเกิดศรัทธาในปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น หลวงปู่จึงได้ญัตติเป็นพระธรรมยุติ เมื่อปี พ.ศ.2468 อายุได้ 37 ปี ณ พัทธสีมา วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี เป็นเวลา 8 ปี

    จากนั้นได้เดินธุดงค์ตาม ท่านพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ไปปฏิบัติธรรมในสถานที่ต่างๆ ท่านออกเดินทางทุกปี และได้สมบุกสมบันไปแทบทุกภาคของประเทศ

    นอกจากนี้ ท่านยังได้เคยเดินธุดงค์ร่วมกับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นเวลารวมกันหลายปีอีกด้วย

    ท่านได้สร้างบารมีอยู่ในป่าเขาเป็นเวลายาวนาน มีประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าทั้งหลาย เช่น สิง ค่าง ช้าง เสือ เวลาท่านนึกถึงอะไร สิ่งนั้นมักจะมา ตามความรำพึงนึกคิดเสมอ เช่น นึกถึงช้าง ว่าหายหน้าไปไหนนานไม่ผ่านมาทางนี้เลย พอตกกลางคืนดึกๆ ช้างก็จะมาหาจริงๆ และ เดินตรงมายัง กุฏิที่ท่านพักอยู่ พอให้ท่านทราบว่าเขามาหาแล้ว ช้างก็จะกลับเข้าป่าไป เวลาที่ท่านนึกถึงเสือ ก็เช่นกัน นึกถึงตอนกลางวัน ตกกลางคืนเสือก็มาเพ่นพ่าน ภายในวัดบริเวณที่ท่านพักอยู่

    คุณหมออวย เกตุสิงห์ เขียนไว้ในประวัติอาพาธ ซึ่งเป็นภาคผนวกของหนังสืออนาลโยวาท ว่า เวลาท่านไม่สบายอยู่ในป่าเขา มักจะไม่ใช้หยูกยาอะไรเลย จะใช้แต่ธรรมโอสถ ซึ่งได้ผลทั้งทางร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน ท่านเคยระงับไข้ด้วยวิธีภาวนามาหลายครั้ง จนเป็นที่มั่นใจต่อการพิจารณาเวลาไม่สบาย

    ท่านพระอาจารย์หลวงตามหาบัว เล่าถึง หลวงปู่ขาว ในหนังสือ "ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐานสายพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต" ว่าหลวงปู่ขาว ได้บรรลุธรรมชั้นสุดยอดในราวพรรษาที่ 16-17 ในสถานที่ซึ่งมีนามว่าโรงขอด แห่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เขียนเล่าไว้ว่า

    "เย็นวันหนึ่ง เมื่อปัดกวาดเสร็จ หลวงปู่ขาว ออกจากที่พักไปสรงน้ำ ได้เห็นข้าวในไร่ชาวเขา กำลังสุกเหลืองอร่าม ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในขณะนั้นว่า ข้าวมันงอกขึ้นมา เพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด ใจที่พาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกันกับเมล็ดข้าว เชื้อนั้น ถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจ ให้สิ้นไป จะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็แล้วอะไรเป็นเชื้อของใจเล่า ถ้าไม่ใช่กิเลสอวิชชา ตัณหาอุปาทาน ท่านคิดทบทวนไปมา โดยถืออวิชชา เป็นเป้าหมาย แห่งการวิพากษ์วิจารณ์ พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง อนุโลมปฏิโลมด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา นับแต่หัวค่ำจนดึก ไม่ลดละการพิจารณาระหว่างอวิชชา กับ ใจ จวนสว่างจึงตัดสินใจกันลงได้ด้วยปัญญา อวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ

    การพิจารณาข้าว ก็มายุติกันที่ข้าวสุก หมดการงอกอีกต่อไป การพิจารณาจิต ก็มาหยุดกันที่ อวิชชาดับ กลายเป็นจิตสุกขึ้นมา เช่นเดียวกับ ข้าวสุก จิตหมดการก่อกำเนิดเกิดในภพต่างๆอย่างประจักษ์ใจ สิ่งที่เหลือให้ชมอย่างสมใจ คือ ความบริสุทธิ์แห่งจิตล้วน ๆ ในกระท่อมกลางเขามีชาวป่าเป็นอุปัฏฐากดูแล

    ขณะที่จิตผ่านดงหนาป่ากิเลสวัฏฏ์ไปได้ แล้วเกิดความอัศจรรย์อยู่คนเดียวตอนสว่างพระอาทิตย์ก็เริ่มสว่างบนฟ้า ใจก็เริ่มสว่างจากอวิชชา ขึ้นสู่ธรรมอัศจรรย์ ถึงวิมุตติหลุดพ้นในเวลาเดียวกันกับพระอาทิตย์อุทัย ช่างเป็นฤกษ์งามยามวิเศษเสียจริง

    ท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามถิ่นต่าง ๆ จนในที่สุดก็มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่ วัดถ้ำกลองเพลอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อ พ.ศ.2501 จวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2526

    คุณหมออวย เกตุสิงห์ ได้เล่าเกี่ยวกับปัจฉิมกาลของท่านไว้ในหนังสือ อนาลโยวาท ว่าท่านทุพพลภาพอยู่ถึง 9 ปี แต่สุขภาพจิตยังดี มีนิสัยรื่นเริง ติดตลก ในระยะสามปีสุดท้าย นัยน์ตาของท่านมืดสนิทเพราะต้อแก้วตา หรือ ต้อกระจก หูก็ตึงมาก เพราะหินปูนจับกระดูก แต่ท่านก็มิได้เดือดร้อนใจ และสามารถบอกกำหนด อายุขัยของตนเองได้ว่า จะมรณภาพอายุ 96 ปี ซึ่งก็เป็นจริงดังที่ท่านได้กล่าวไว้

    ในวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2527 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้น ปรากฏว่า วัดถ้ำกลองเพล ซึ่งมีอาณาบริเวณหลายพันไร่ กลับคับแคบไปถนัดใจ ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลกันมาถวายสักการะสรีระร่างของท่านนับเป็นจำนวนแสนคน นับเป็นประวัติการณ์สูงสุดของประเทศทีเดียว ​
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ขาว อนาลโย : ธรรมโอวาท : ปัจฉิมบท

    ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาของท่าน ที่ได้เทศน์โปรดพระเณรและญาติโยม ณ บ้านย่อชะเนง (บ้านเกิดของท่าน) "คนเกิดมาไม่เหมือนกัน เพราะมีความประพฤติที่ต่างกัน ผู้ที่เขาประพฤติดี รักษาศีล มีการให้ทาน มีการสดับรับฟังพระธรรม เขาจึงมีปัญญาดี มีการศึกษาเล่าเรียนดี

    การจำแนกสัตว์ให้ดีให้ชั่วต่าง ๆ กัน มันเป็นเพราะกรรม ถ้ามันยังทำกรรมอยู่ ก็ต้องได้รับผลกรรมทั้งกรรมดีกรรมชั่ว มันต้องได้รับผลตอบแทน เหตุนี้ เราจึงควรทำกุศล รักษาศีลให้บริสุทธิ์สมบูรณ์ แล้วทำสมาธิจะมีความสงบสงัด จิตรวมลงได้ง่าย เพราะมันเย็น มันราบรื่นดีไม่มีลุ่มไม่มีดอน

    จงพากันทำไปใน อิริยาบถทั้งสี่ นั่ง นอน ยืน เดิน อะไรก็ได้ แล้วแต่ความถนัด แล้วแต่จริต อันใดมันสะดวกสบายใจ หายใจดี ไม่ขัดข้องฝืดเคือง อันนั้นควรเอาเป็นอารมณ์ของใจ

    พุทโธ พุทโธ หมายความว่า ให้ใจยึดเอาพุทโธเป็นอารมณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะอารมณ์ภายนอกมันชอบไปจดจ่ออยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความถูกต้องทางกาย หากทุกสิ่งทุกอย่างมันไปจดจ่ออยู่ที่นั่น จิตมันจะไม่รวมลง นี่แหละ เรียกว่า มาร คือ ไม่มีสติ อย่าให้จิตไปจดจ่ออย่างนั้น ให้มาอยู่กับผู้รู้ ให้น้อมเอา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอารมณ์ จะอยู่ในอิริยาบถใด ก็ให้มีความเพียร

    ผู้ที่ภาวนาจิตสงบลงชั่วช้างพับหู งูแลบสิ้น ชั่วไก่ดินน้ำ นี่ อานิสงส์อักโข ให้ตั้งใจทำไป การที่จิตรวมลงไปบางครั้ง มี 3 ขั้นสมาธิ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ

    หากรวมลง ขณิกสมาธิ เราบริกรรมไป พุทโธ หรืออะไรก็ตาม จิตสงบไปสบายไปสักหน่อยมันก็ถอนขึ้นมา ก็คิดไปอารมณ์เก่าของมันนี่

    ส่วนหากรวมลงไปเป็น อุปจารสมาธิ ก็นานหน่อยกว่าจะถอนขึ้นไปสู่อารมณ์อีกให้ภาวนาไปอย่าหยุดอย่าหย่อน ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องไปนึกคาดหวังอะไร อย่าให้มีความอยาก เพราะมันเป็นตัณหา ตัวขวางกั้นไม่ให้จิตรวม ไม่ต้องไปกำกับว่า อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ การอยากให้จิตรวมลง เหล่านี้แหละเป็นนิวรณ์ตัวร้าย

    ให้ปฏิบัติความเพียรไม่หยุดหย่อน เอาเนื้อและเลือด ตลอดจนชีวิตถวายบูชาพระพุทธเจ้าพระธรรม และ พระสงฆ์ เราจะเอาชีวิตจิตใจ ถวายบูชาพระรัตนตรัย ตลอดจนวันตาย นี่ก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา แล้วจิตจะรวมลงอย่างไร เมื่อไร ก็จะเป็นไปเองเมื่อใจเป็นกลาง ปล่อยวาง สงบถูกส่วน"

    ปัจฉิมบท


    ท่านพระอาจารย์หลวงตามหาบัว ได้พรรณนาถึงเมตตาธรรม และ ตปธรรม ของ หลวงปู่ขาว ไว้ในหนังสือ ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มีข้อความตอนหนึ่งว่า

    "ท่านอาจารย์องค์นี้มี ความเด็ดเดี่ยวมาก การนั่งภาวนาตลอดสว่างท่านทำได้สบายมาก ถ้าไม่เป็นผู้มีใจกล้าหาญ กัดเหล็กกัดเพชรจริง ๆ จะทำไม่ได้ จึงขอชมเชย อนุโมทนากับท่านอย่างถึงใจ เพราะเป็นที่แน่ใจในองค์ท่านร้อยเปอร์เซนต์ว่า เป็นผู้สิ้นภพสิ้นชาติอย่างประจักษ์ใจทั้งที่ยังครองขันธ์อยู่"

    ในบทความภาคผนวกตอนหนึ่งของหนังสือ อนาลโยวาท ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งหนึ่งว่า"วันหนึ่ง มีชายแปลกหน้าวัยฉกรรจ์ผู้หนึ่ง ปรากฏกายขึ้นที่วัด ขอเข้านมัสการท่านอาจารย์ พอได้พบก็ตรงเข้าไปกราบถึงที่เท้า แล้วเอ่ยปากขอบพระคุณที่ท่านช่วยเขาให้พ้นจากโทษมหันต์ พร้อมเล่าว่า เขาเป็นทหาร ไปรบที่ประเทศลาว เป็นเวลานาน พอกลับมาบ้าน ก็ได้รู้ว่าภรรยานอกใจ จึงโกรธแค้น เตรียมปืนจะไปยิงทิ้งทั้งคู่ แต่ยังไม่ทันได้กระทำเช่นนั้น เพราะกินเหล้าเมา แล้วหลับฝันไปว่า มีพระแก่องค์หนึ่งมาขอบิณฑบาตความอาฆาตโกรธแค้น และเทศน์ให้ฟังถึงบาปกรรมของการฆ่า จนเขายอมยกโทษ ให้อภัย ละความพยาบาท ได้ถามในฝัน ได้ความว่า พระภิกษุองค์นั้น ชื่อ ขาว มาแต่เมืองอุดรฯ พอตื่นขึ้นจึงออกเดินทางมาเสาะหาท่าน จนได้พบที่วัด เช่นนี้"

    หลวงปู่ขาว ท่านกล่าวอนุโมทนา แล้วอบรมต่อไปให้เข้าใจหลักธรรม ตลอดจนผลของการงดเว้นจากการฆ่า ทำให้ชายผู้นั้นซาบซึ้งในรสพระธรรม จนตัดสินใจที่จะอุปสมบทต่อไป

    เรื่องนี้ เป็นหลักฐานว่า ความเมตตาของท่านเปี่ยมล้น และครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวางเพียงใด

    อนุสรณ์สถานที่ถือว่าสำคัญที่สุดของ หลวงปู่ขาว ก็คือ วัดถ้ำกลองเพล อันเป็นสถานที่ท่านพำนักจำพรรษามาตั้งแต่ พ.ศ.2501 จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อ พ.ศ.2526 ท่านดูแลบริเวณวัดซึ่งมีเนื้อที่กว่าพันไร่ ให้เป็นป่าร่มรื่นบนลากสันเขา มีโขดหินขนาดใหญ่มากมาย เป็นเพิงผาธรรมชาติที่งดงาม ด้านหลังเป็นอ่างเก็บน้ำ ชื่อ อ่างอาราม ซึ่งเป็นโครงการชลประทานพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

    จุดเด่นของ วัดถ้ำกลองเพล คือ พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งสร้างเสร็จตั้งแต่ พ.ศ.2531 เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะสวยงาม ควรแก่การศึกษา และเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง"ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ" ​
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย : โดยท่านอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" height="100%" vAlign=top width=389>
    เริ่มเขียนประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย
    นับแต่ได้ตะเกียกตะกายเขียนประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ มาก็นับเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว เป็นความรู้สึกปลงใจว่าจะยุติในการขีดเขียนประวัติของท่านผู้ใดอีกต่อไป นอกจากเขียนเรื่องอรรถธรรมอื่น ๆ เป็นครั้งคราวเท่านั้น เพราะการเขียนประวัติของพระอาจารย์ที่สำคัญ ๆ แต่ละองค์ต้องใช้ความพินิจพิจารณาอย่างมาก เพื่อให้สมเกียรติคุณที่มีในองค์ท่าน และท่านเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนพระเณรจำนวนมากจนประมาณไม่ได้ จะเขียนแบบสุกเอาเผากินย่อมไม่สมควรกับองค์ท่าน

    แม้หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของหลวงตาบัวอย่างยิ่งได้สิ้นชีวิตลง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2526 นี้ ก็มิได้คิดดำริว่าจะเป็นผู้เขียนประวัติของท่านแต่อย่างใด เพราะได้ปลงใจว่าจะยุติการเขียนประวัติใด ๆ แล้ว แต่ที่ประชุมในวงงานนี้ พร้อมทั้งเจ้าอาวาส คือพระอาจารย์เพ็ง เขมาภิรโต ต่างขอร้องให้หลวงตาบัวโดยเฉพาะเป็นผู้เขียนประวัติของท่านโดยฝ่ายเดียว เมื่อขอถวายคำขอร้องนี้กลับคืนหาคณะกรรมการที่ประชุมก็ขอร้องกลับคืนอย่างเดิม จึง.ตกลงใจสนองพระคุณหลวงปู่ท่าน ตามกำลังความสามารถเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นจึงขออภัยจากท่านคณะกรรมการที่รับผิดชอบของงานนี้ และท่านผู้อ่านทั้งหลายในความบกพร่องที่มีในหนังสือเล่มนี้ไว้ ณ ที่นี้ด้วย

    แต่การเขียนประวัติของท่าน จะเขียนเท่าที่จำเป็นทั้งเวลาท่านเป็นฆราวาสและเวลาท่านมาบวชเป็นพระจนถึงวาระสุดท้าย เพื่อให้ทันกับงานซึ่งกำหนดจะมีขึ้นตามที่ประชุมกำหนดในลักษณะคาด ๆ เอาไว้เพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงโปรดเกล้า ฯ อีกวาระหนึ่ง โดยที่ประชุมกำหนดวันที่ 10 - 11 - 12 กุมภาพันธ์2527 หากจะเขียนให้เต็มตามความเป็นมาทุกแง่ทุกมุมทั้งสองเพศ คือเพศฆราวาสและเพศสมณะของท่าน เรื่องจะมากมาย ซึ่งอาจไม่ทันกับเวลาที่มีน้อยอยู่แล้ว

    การเขียนประวัติท่าน จะเขียนตามเค้าโครงของต้นฉบับที่เจ้าอาวาสวัดถ้ำกลองเพล นำมามอบให้ ซึ่งมีเนื้อเรื่องแต่เริ่มต้นชีวิตแห่งฆราวาส จนถึงที่สุดแห่งเพศสมณะ นับว่าสมบูรณ์ในความรู้สึกของผู้เรียบเรียงที่ได้อ่านดูก่อนเขียนประวัติท่าน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ชีวประวัติของหลวงปู่ขาว



    พระหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานีนามเดิมท่านชื่อ ขาว โคระถา เกิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ตรงกับวันอาทิตย์ ปีชวด ณ บ้านบ่อชะเนง ต.หนองแก้ว อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี บิดาชื่อ พั่ว มารดาชื่อ รอด โคระถา

    ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 7 คน ตามลำดับดังนี้

    1. นางวัน โคระถา 2. นายบุญจันทร์ โคระถา 3. นางหนูแดง โคระถา 4. หลวงปู่ขาว โคระถา 5. นายกาเหว่า โคระถา 6. นางหลอด โคระถา 7. นางใหล โคระถา พี่และน้องได้ถึงแก่อนิจกรรมไปหมดแล้ว

    การอาชีพเมื่อเป็นฆราวาสของหลวงปู่ท่านทำนาค้าขาย เป็นคนขยันหมั่นเพียรมาก มีนิสัยซื่อสัตย์ สุจริต โอบอ้อมอารีกับญาติมิตรเพื่อนฝูงและผู้เกี่ยวข้องดีมาก ใคร ๆ ก็รักและชอบคบค้าสมาคม มีเพื่อนฝูงมาก แต่เป็นเพื่อนที่ดี มิใช่แบบมีเพื่อนฝูงมาก เหล้ายาปลาปิ้งมาก ลากกันลงนรกทั้งเป็นและล่มจมไปเป็นแถว ๆดังที่รู้ ๆ เห็น ๆ กันอยู่ในสมัยจรวดรวดเร็วทันใจ คนสมัยนั้นมักมีแต่คนดี การคบกันจึงเป็นสง่าราศีแก่วงศ์สกุลมากกว่าจะพาให้เสียหายล่มจม

    เมื่ออายุ 20 ปี บิดามารดาก็จัดให้มีครอบครัว ภรรยาชื่อ นางมี มีบุตรธิดาด้วยกัน 7 คน คนหัวปีเป็นชายชื่อ คำมี ได้ออกบวชตามพ่อคือหลวงปู่ เวลาท่านออกบวชแล้ว จนสิ้นอายุในเพศนักบวชเมื่อ พ.ศ. 2525 นี่เองที่วัดถ้ำกลองเพล เมื่อบวชแล้วก็ติดสอยห้อยตามหลวงปู่ และมาอยู่ที่วัดถ้ำกลองเพลด้วยจนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต คนที่สองชื่อ นายลี โคระถา เป็นผู้มีศรัทธา อุตส่าห์ติดตามมาปฏิบัติและถวายอาหารบิณฑบาตหลวงปู่เป็นประจำ ลูกที่มีนิสัยทางศาสนาอย่างเด่นชัดมีอยู่ 2 คน นอกนั้นก็ธรรมดาเหมือนโลกทั่ว ๆ ไป แต่จะไม่ออกนามลูก ๆ ท่าน

    ท่านอยู่ครองฆราวาสตามประเพณีของโลก.......ปี แต่รู้สึกไม่ค่อยราบรื่นชื่นใจนักในระหว่างคู่ครองทั้งสองที่อยู่ร่วมกันมา เนื่องจากภรรยาไม่ตั้งอยู่ในความสันโดษ คือ ความยินดีในสมบัติที่มีอยู่ของตนได้แก่คู่ครอง แต่ชอบหาเศษหาเลยซึ่งเป็นยาพิษทำลายจิตใจของอีกฝ่ายหนึ่ง ตลอดสมบัติและความมั่นคงของครอบครัว คือเมียคบชู้สู่ชายอื่น สิ่งเป็นประเภทกาฝากอันเป็นตัวทำลายฝ่ายเดียว จนถึงกับอยู่ด้วยกันไม่ได้จิรังยั่งยืน หากจะคิดว่าถึงวาระกรรมหรือธรรมบันดาลก็สุดจะคาดคิดค้นเดาได้ถูก เพราะถ้าไม่มีเหตุสะเทือนใจอย่างหนักเช่นนี้เกิดขึ้น ท่านอาจจะยังไม่คิดในแง่อรรถธรรมถึงกับต้องสละตนออกบวชในระยะนั้นก็ได้ เพราะเท่าที่ทราบในประวัติความเป็นมาของการครองเรือน ที่เป็นต้นเหตุให้ท่านคิดมาก ถึงกับคิดถึงการออกบวช ก็มาจากสาเหตุที่เมียมีชู้ ไม่อาจสงสัยไปอย่างอื่นอยู่แล้ว

    ดังนั้นการที่เมียมีชู้หรือผัวมีชู้ เมียมีหลายผัว หรือผัวมีหลายเมียเหล่านี้ จึงควรยกให้กิเลสราคะตัณหาตัวไม่รู้สึกอิ่มพอกวาดต้อนเข้าสู่คลัง มหิจฺฉตา ของมันไปเสีย เพื่อไม่ให้มีความกระทบกระเทือนถึงอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่มีส่วนรู้เห็นและผิดด้วย เพราะเรื่องทำนองนี้มีอยู่ทั่วไปและยิ่งจะนับวันมากขึ้นถ้าโลกต่างพอใจส่งเสริมโดยไม่สนใจเห็นโทษของมันด้วยอรรถธรรม คือ สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ ความยินดีเฉพาะผัว-เมียของตนเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างประเสริฐอยู่แล้ว เพราะความสงบสุขของครอบครัวผัว-เมียอยู่ที่ความยินดีต่อกัน และอยู่ที่โอวาทแห่งธรรมบทนี้ มิได้อยู่ที่ มหิจฺฉตา หลายผัวหลายเมียดังที่คิดและสนใจใฝ่ฝันกันเลย

    ดังนั้นโลกครอบครัวผัวเมียถ้าอยากมีความสงบสุขร่มเย็นจิรังยั่งยืน จึงไม่ควรฝักใฝ่ใส่ใจเสาะแสวงหาหญิงชายเศษเดนประเภทยาพิษมาเคลือบแฝงครอบครัวผัวเมีย ควรรักส่วนและบำรุงรักษาสมบัติคือคู่ครองทีมีอยู่ของตนให้มีความอบอุ่นตายใจและเห็นอกเห็นใจกันตลอดไปจนวันอวสาน จะเป็นผู้ครองความสุขได้สมใจที่ใฝ่ฝัน

    คำว่า ราคะตัณหานั้น ย่อมเหมือนไฟในครัวเรือน โลกปราศจากไม่ได้ทั้งสองอย่าง คือต้องเสาะแสวงกันทั้งหญิงทั้งชายในเรื่องครอบครัวผัวเมีย เพราะราคะตัณหาเป็นนายบังคับให้จำต้องแสวง ไฟสำหรับหุงต้มแกง ตลอดแสงสว่างต่าง ๆ อันหาประมาณไม่ได้ จำต้องมีสำหรับมนุษย์และครอบครัว ทั้งสองอย่างนี้หากนำมาทำประโยชน์ตามความจำเป็นก็ย่อมสนองความต้องการได้เท่าที่ควร แต่ถ้าประมาทลืมตัว ขาดความระมัดระวัง ทั้งสองอย่างนี้ย่อมเผาผลาญมนุษย์ให้ฉิบหายวายป่วงไปได้ไม่อาจสงสัย ดังนั้นปราชญ์ท่านจึงสอนมนุษย์ผู้อยู่ใต้อำนาจแห่ง ราคคฺคิ โทสคฺคิ โมหคฺคิ เหล่านี้ด้วยธรรมอันเป็นน้ำดับไฟ ไม่ปล่อยให้ลุกลามใหญ่โตจะกลายเป็นโลกวินาศ เช่นเดียวกับการรักษาไฟในบ้านไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตนและสมบัติทั้งหลายฉะนั้น
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย : สาเหตุให้ท่านออกบวช

    การเริ่มออกบวชของท่านได้ปรากฏขึ้นในวาระต่อมาที่ได้พบเห็นสิ่งที่รักและปักลึกสุดขั้วหัวใจ กลับกลายเป็นมหาภัยสังหารทำลายหัวใจอย่างไม่เคยคาดคิดมาก่อนเลย ท่านเองเกิดความทุเรศและความเคียดแค้นแสนจะอดกลั้นทนทานได้ในเหตุการณ์นั้น แต่ก็คงมีบารมีธรรมที่เคยบำเพ็ญมา มาช่วยสะกิดใจไว้ได้ทันท่วงทีในขณะนั้นว่า แม้แต่มดตัวเล็ก ๆ กัดเรายังรู้สึกเจ็บและปัดออกในทันทีทันใด ก็การฆ่าคนให้ล้มตายนั้น ความทุกข์ของผู้จะถูกฆ่า แม้เป็นฝ่ายผิดและรู้ตัวว่าผิด จะมีทุกข์มากขนาดไหน จงยับยั้งใจไว้พิจารณาให้ดี และละเอียดถี่ถ้วนก่อนจะสายเกินแก้ ว่าทำไมเราจึงเป็นผู้ยินดีและพอใจทำในสิ่งเลวร้าย ที่โลกทั้งหลายไม่พึงปรารถนา และปราชญ์ติเตียนอย่างยิ่งเช่นนี้ เราฆ่าเขาให้ตายสมใจแล้ว เราจะได้อะไรที่พึงใจเป็นเครื่องตอบแทนบ้าง นอกจากมหันตโทษ มหันตทุกข์ล้วน ๆ ไม่มีประมาณเท่านั้น จะสะท้อนย้อนกลับมาเผาผลาญเรา

    คำว่าเมียมีชู้ ตัวมีชู้ เมียมีหลายผัว ผัวมีหลายเมียนี้ เพิ่งมาเกิดแก่เราคนเดียวเท่านั้นหรือ ในโลกทั้งหลาย ตลอดวงนักปราชญ์ที่ท่านมาเป็นศาสดา มาเป็นพระสาวก มาเป็นครูอาจารย์สอนเรา ท่านไม่เคยมี เคยเจอสิ่งสกปรกอันเป็นสมบัติของสัตว์นรกเหล่านี้มาละหรือ ในโลกมีเฉพาะเราคนเดียว เจอเฉพาะเราคนเดียวเท่านั้นหรือ รีบคิดและตัดสินใจให้ถูก ถ้าจะไม่ตั้งหน้าทำลายตัวเองให้ฉิบหายจนไม่มีเชื้อแห่งความดีเป็นเครื่องสืบต่อภพต่อชาติในภพต่อไป

    คนเราจะรู้ว่าตนโง่หรือตนฉลาด จะล่มจม หรือจะเอาตัวรอดปลอดภัย ถึงแดนแห่งชัยชนะได้ ย่อมถือเหตุการณ์เป็นเครื่องวัดตวงในการปฏิบัติตัวต่อเหตุการณ์นั้น ๆ

    ปราชญ์ทั้งหลายแต่ดึกดำบรรพ์มา ท่านไม่เคยเสียท่าเสียทีเพราะการทุ่มตัวให้กับสิ่งเลวทรามทั้งหลาย นอกจากท่านคิดอุบายพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงสิ่งเลวร้าย ให้กลายมาเป็นปุ๋ยหล่อเลี้ยงธรรมให้เจริญภายในใจฝ่ายเดียว แต่ตัวเจ้าเอง ทำไมจะทำตัวเป็นมนุษย์เหลวแหลกแตกกระจายไม่เป็นท่า ด้วยการทำชั่วตามเหตุการณ์ของโลก ที่ไม่มีประมาณแห่งความพอดี ที่ผู้อื่นก่อขึ้นเช่นนี้เล่า?

    เพียงเท่านี้ไม่อาจยับยั้งได้ เจ้าจะพยุงตัวเพื่อความดีงามไปได้อย่างไร เมียของเจ้าเขาลุอำนาจแห่งราคะตัณหาไปตามประสาของหญิงที่ไม่มีเขตแดน แต่ตัวเจ้าเอง ที่เข้าใจว่าตัวเป็นฝ่ายถูกฝ่ายดีกว่าเขา แต่แล้วเจ้าก็จะลุอำนาจไปตามโทสะ ความอาฆาตมาดร้ายและทำลายเขาให้ตายสมใจนั้น ในคนทั้งสองคือเมียผู้นอกใจ กับตัวเจ้าเอง ผู้ฆ่าเมียและชายชู้ให้ตายพร้อมกันในขณะเดียวสองคนนั้น จะจัดว่าใครเลวร้ายกว่าใคร

    ตามสายธรรมของจอมปราชญ์ มีพระศาสดาเป็นพยานแล้ว ตัวเจ้าเองต้องจัดว่าเป็นผู้ทำกรรมชั่วอย่างหนักมาก จนไม่มีมหาเมตตาในธรรมบทใดบาทใดให้อภัยเจ้าได้ เจ้าต้องลงนรกหลุมมหันตทุกข์โดยฝ่ายเดียวไม่เป็นอย่างอื่นเลย เจ้าจะเชื่อโทสะกิเลสที่กำสังรุมล้อม พัดผันหัวใจของเจ้า เพื่อให้เป็นไปตามอำนาจของมัน หรือจะเชื่อธรรมของจอมปราชญ์ ที่เคยพยุงสัตว์โลกผู้ได้ทุกข์ ให้เบาบางสร่างซา มานานแสนนาน รีบคิดและตัดสินใจโดยถูกทางเดี๋ยวนี้ อย่าชักช้าล้าหลัง กิเลสตัวโหดร้าย จะแซงธรรมและขยำตัวเจ้า ให้แหลกทั้งเป็น ถ้าไม่รีบจัดการกับมันแต่ขณะนี้

    ท่านว่าเป็นที่แปลกประหลาดและอัศจรรย์อย่างไม่เคยคาดเคยฝันมาก่อน พอความอัศจรรย์ผุดขึ้นจากภายใน อันเป็นเชิงบอกเตือนด้วยอุบายต่าง ๆ ราวกับครูอาจารย์ที่เคารพนับถือมานั่งสั่งสอนเราอยู่เฉพาะหน้าให้สงบลงไป ใจที่เป็นเหมือนกองเพลิงใหญ่ซึ่งกำลังส่งเปลวเต็มที่พร้อมจะเผาไหม้สิ่งที่กีดขวางอยู่เวลานั้นให้เป็นผุยผงชั่วประเดี๋ยวใจนั้น ได้สงบตัวลงอย่างเงียบผิดธรรมดา และเกิดความสลดสังเวชในเหตุการณ์เกี่ยวกับเมียนอกใจ พร้อมด้วยความอ่อนโยนที่เต็มไปด้วยความสงสารและความให้อภัยเต็มดวงใจ พร้อมกับความเห็นโทษแห่งความโหดร้ายหมายชีวิตอย่างถึงใจในขณะเดียวกัน ยกมือขึ้นประนม สาธุ ๆ ๆ พระธรรมท่านโปรดปรานว่าที่สัตว์นรกไว้ได้ทันท่วงที

    หลังจากมรสุมในหัวใจสงบลงโดยสิ้นเชิงแล้ว ใจกลับว่างเปล่าโล่งสบายหายทุกข์เข็ญเวรภัยทั้งปวงในขณะนั้น ราวกับเกิดชาติใหม่ขึ้นมาในร่างกายและใจดวงเดียวกัน ทำให้คิดทบทวนหวนกลับไปกลับมา ย้อนหน้าย้อนหลังทั้งอดีตที่เคยตีบตันอั้นตู้จนจะหาทางออกไม่ได้ ถึงกับจะคิดเผาไหม้ตัวเองสด ๆ ร้อน ๆ โดยเห็นว่าเป็นทางออกที่ดี ทั้งอนาคตเกี่ยวกับความเป็นไปในวันข้างหน้าว่าจะควรปฏิบัติอย่างไรจึงจะสมมักสมหมายไม่คลุกเคล้าด้วยมูตร ด้วยคูถ ด้วยฟืน ด้วยไฟ ดังที่เป็นมาแล้ว ที่น่าสลดสังเวชน่าขยะแขยงและไม่พึงปรารถนาตลอดอนันตกาล

    แต่ก่อนท่านไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าการหวังความเจริญในทางโลก เมื่อมาประสบเหตุการณ์ธรรมทูตนี้ ความรู้สึกสำนึกทั้งหลายจึงหนักไปในอรรถในธรรม มากกว่าจะคิดไปในแง่อื่น ๆ จนถึงขั้นปลงใจบวช ด้วยความเห็นโทษเห็นคุณจริง ๆ เนื่องจากอะไรก็เคยคิดเคยผ่านมามากต่อมากแล้ว สิ่งที่จะให้สมหวังไม่ค่อยปรากฏ มักมีแต่สิ่งไม่พึงหวังมาปรากฏซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนถึงขั้นชอกช้ำเต็มที่ แทบจะหาที่ปลงที่วางไม่ได้ คิดเห็นแต่ธรรมอย่างเดียว จะพึ่งเป็นพึ่งตายได้ ด้วยการออกบวช ปฏิบัติธรรม ให้เต็มกำลังความสามารถ อย่างอื่น ๆ ไม่ค่อยมีในห้วงแห่งความคิดนึก จึงได้ตัดสินใจออกบวช โดยบอกความประสงค์ให้ญาติมิตรเพื่อนฝูงทราบแล้วก็ออกถวายตัวเป็นนาคในวัดเพื่อบวชโดยไม่ชักช้า
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย

    การบวชของหลวงปู่ขาว



    ท่านออกบวชคราวแรก บวชที่วัดโพธิ์ศรี บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่........ พฤษภาคม พ.ศ. 2462 โดยพระครูพุฒิศักดิ์ เจ้าคณะอำเภออำนาจเจริญเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์บุญจันทร์เป็นพระกรรมวาจา และอยู่จำพรรษาเพื่อศึกษาหลักพระธรรมวินัยในวัดโพธิ์ศรีถึง 6 ปี ในเวลาที่อยู่ในวัดนั้น สังเกตดูครูอาจารย์และเพื่อนภิกษุสามเณรด้วยกันประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยก็เป็นลุ่ม ๆ ดอน ๆ ผิด ๆ พลาด ๆ ไม่เป็นที่จับใจเชื่อถือได้ ไม่สมเจตนาที่ออกบวชเพื่อมรรคเพื่อผลด้วยความบริสุทธิ์ใจดังที่ตั้งไว้ เมื่อคิดอ่านทบทวนเกี่ยวกับการอยู่และการออกปฏิบัติธรรมจนเป็นที่แน่ใจแล้วจึงเข้ากราบลาอุปัชฌาย์อาจารย์ ตลอดญาติมิตรเพื่อนฝูงเพื่อทราบเจตนาและความประสงค์ในการออกปฏิบัติธรรม

    อุปสรรคในการออกเที่ยวธุดงคกรรมฐาน



    ตอนก่อนปฏิบัติกรรมฐาน ท่านก็เคยได้รับอารมณ์เขย่าก่อกวนใจนานาประการ ที่จะให้เป็นอุปสรรคต่อการบำเพ็ญ จากคนทั้งหลาย ทั้งเป็นพระ ทั้งเป็นฆราวาสว่า เวลานี้มรรคผลนิพพานหมดเขตหมดสมัยไปนานแล้ว ใครจะบำเพ็ญถูกต้องดีงามตามพระธรรมวินัยเพียงไร ก็ไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จตามใจหวังได้ บ้างว่า การบำเพ็ญภาวนาทำให้คนเป็นบ้า ถ้าใครอยากเป็นบ้า ก็ออกบำเพ็ญภาวนา ถ้าใครยังอยากเป็นคนดีเหมือนชาวบ้านเขา ก็ไม่ควรออกกรรมฐานเพื่อความเป็นบ้า บ้างว่า สมัยนี้เขาไม่มีพระธุดงคกรรมฐานกันหรอก นอกจากพระธุดงคกรรมฐานที่จำหน่ายตะกรุดคาถาวิชาอาคมของขลังต่าง ๆ เช่น พวกเสน่ห์ยาแฝด อยู่ยงคงกระพันชาตรี ดูฤกษ์งามยามดี ดูชาตาราศีเท่านั้น ส่วนพระธุดงคกรรมฐาน ที่ดำเนินตามทางพระธุดงค์นั้นไม่มีแล้วสำหรับทุกวันนี้ อย่าไปทำให้เสียเวลาและเหนื่อยเปล่าเลย สู้อยู่สบายอย่างนี้ไม่ได้บ้าง

    บรรดาอุปสรรคที่กีดขวางทางออกบำเพ็ญธุดงควัตรในเวลานั้นรู้สึกมีมากมาย สำหรับท่านเองไม่ยอมฟังเสียงใคร แต่ไม่คัดค้านให้เป็นความกระเทือนใจกันเปล่า ๆ ไม่เกิดประโยชน์อะไรทั้งสองฝ่าย ในความรู้สึกที่ฝังลึกอยู่ภายในท่านมีว่า คนเหล่านี้และพระอาจารย์เหล่านี้มิได้เป็นเจ้าของศาสนา มิได้เป็นเจ้าของมรรคผลนิพพาน และมิได้เป็นผู้มีอำนาจทำผู้อื่นให้เป็นบ้าเป็นบอได้ พอจะเชื่อถือได้ เราเชื่อพระพุทธเจ้าพระองค์เดียว กับพระธรรมและพระสงฆ์สาวกอรหันต์เท่านั้น ว่าเป็นผู้ประเสริฐในโลกทั้งสาม ท่านที่พูดหว่านล้อมกีดกันไม่ให้เราออกกรรมฐานด้วยอุบายต่าง ๆ นี้มิใช่ผู้วิเศษวิโสอะไรเลย เพียงมองดูกิริยาท่าทางที่แสดงออก ก็พอทราบได้ว่า เป็นนักปราชญ์ หรือเป็นคนพาล มีสันดานเป็นอย่างไรบ้าง ฉะนั้น คำกีดกันหวงห้ามใด ๆ ที่แสดงออก จึงไม่เป็นสิ่งที่เราจะนำมาวินิจฉัยให้เสียเวลา เราจะต้องออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียวในไม่ช้านี้ และจะค้นหาของจริง ตามหลักธรรมที่ประทานไว้ จนสุดกำลังความสามารถขาดดิ้นสิ้นซาก พระกรรมฐานคือตัวเราเอง ตายก็ยอมถวายชีวิตไว้กับพระธรรมดวงเลิศ

    เมื่อพร้อมแล้ว ท่านก็ออกเดินธุดงค์ในท่ามกลางประชาชนและครูอาจารย์ทั้งหลายที่กำลังชุมนุมกันอยู่ในวัดเวลานั้น เวลาจะไป ท่านพูดสั่งเสียด้วยความจริงใจ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่คัดค้านโดยปริยายว่า เมื่อกระผมและอาตมาไปแล้ว ถ้าสอนตัวเองไม่ได้เต็มภูมิจิตภูมิธรรมตราบใดจะไม่มาให้ท่านทั้งหลายเห็นหน้าตราบนั้น จะหวังตายเพื่อความรู้ความเห็นแจ้งในธรรมเท่านั้นไม่เป็นอย่างอื่นแน่นอน กรุณาช่วยจำคำนี้ไว้ด้วย หากยังมีวาสนาได้กลับมาพบหน้ากันอีกจะลืมไปเสีย การที่เราจะมีโอกาสได้พบเห็นกันในอนาคต จึงมีอยู่เพียงอย่างเดียวดังที่เรียนแล้ว คือการรู้เห็นธรรมประจักษ์ใจหายสงสัยโดยสิ้นเชิงแล้ว ถึงจะกลับมาให้ท่านทั้งหลายเห็นหน้า

    ท่านว่าขณะที่ผู้คนส่วนมาก ทั้งพระอาจารย์ใหญ่ ๆ ทั้งฆราวาสที่ชาวบ้านเคารพนับถือกันว่าเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต พูดคัดค้านกีดกันอยู่นั้น ใจเราเหมือนจะกัดเพชรทั้งก้อนให้แหลกเป็นผุยผงไปในนาทีเดียว และเหมือนจะเหาะเหินเดินไปทางอากาศให้เขาดูในเวลานั้น รู้สึกมันมานะ มันกระหยิ่มยิ้มย่องอยู่ภายในใจ ราวกับจะออกแสงแจ่มจ้าพุ่งออกมาให้คนทั้งหลายเหล่านั้นเห็นเสียที ซึ่งเป็นลักษณะประกาศตนว่า

    “นี่ไงล่ะ แสงเพชรอยู่ในใจข้านี้ไงล่ะ พากันเห็นหรือยัง จะพากันมัวประมาทข้าว่าจะไปเป็นบ้าเป็นบอ ลูบคลำอะไรต่าง ๆ อยู่นั้นหรือ ใจข้ากับใจท่านทั้งหลายมันมิได้เป็นใจดวงเดียวกัน พอจะกวาดต้อนเข้ามา.มั่วสุมชุมนุมกันตายแบบไม่มีคุณค่า ราวกับหมาตายอย่างไรกัน ข้ายังไม่พอใจจะตายตามแบบที่ท่านทั้งหลายจะพาตายอยู่เวลานี้ ข้าประสงค์จะตายแบบพระพุทธเจ้าพาตาย ซึ่งไม่มีเชื้อแห่งภพเหลือหลออยู่เลย ตายแบบนี้ข้าเคยตายมามากต่อมากแล้ว จนไม่สามารถจะพรรณนาป่าช้าของตนได้ แม้ไม่รู้ด้วยญาณ ข้าก็เชื่อพระพุทธเจ้าผู้ทรงญาณอันเอกไม่มีใครเสมอเหมือน”

    เสร็จแล้วก็ลาพระอาจารย์นักปราชญ์ทั้งหลายออกเดินทางท่ามกลางประชาชนจำนวนมาก มุ่งหน้าไปทางพระธาตุพนม เดินบุกป่าฝ่าดงไปด้วยเท้าตามทางล้อทางเกวียน เพราะสมัยนั้นถนนไม่มีแม้แต่รูปร่าง นอกจากทางคนเดินเท้าและทางเกวียนเท่านั้นในดงใหญ่นั้นช้างก็ชุม เสือก็มาก สัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ มีเต็มไปทุกหนทุกแห่ง เพราะไม่มีบ้านผู้บ้านคนมากเหมือนสมัยทุกวันนี้ ซึ่งไปที่ไหนมีเต็มไปด้วยผู้คนบ้านเรือน ป่าก็ป่าจริง ๆ ถ้าเดินผิดทางก็มีหวังอดข้าวหรืออาจตายได้ เนื่องจากไม่พบบ้านพบเรือนคนที่ไหนเลย แม้เดินทางทั้งวันก็แทบจะไม่เจอบ้านคน อุตส่าห์เดินบุกป่าฝ่าดงมาจนถึงพระธาตุพนม ลุถึงอุดรฯ หนองคาย เพื่อตามหาท่านอาจารย์มั่น ซึ่งทราบว่าท่านจำพรรษาอยู่ที่อำเภอท่าบ่อ

    เมื่อไปถึงและอาศัยอยู่กับท่าน ได้พักอบรมกับท่านชั่วระยะเท่านั้น ยังไม่จุใจที่อยากอยู่เลย ท่านก็หนีจากเราไปทางเชียงใหม่ หายเงียบไปเลย คราวนั้นนับว่าเป็นคนสิ้นท่าไปพักหนึ่งเพราะไม่มีครูอาจารย์ให้โอวาทสั่งสอน พอทราบข่าวว่าท่านอาจารย์มั่นไปพักบำเพ็ญเพียรอยู่ที่เชียงใหม่ จึงพยายามตามหลังท่านไป โดยการเที่ยวธุดงคกรรมฐานไปเรื่อย ๆ ตามลำแม่น้ำโขง จนลุถึงเชียงใหม่และเที่ยวบำเพ็ญอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ ด้วยความสงบสุข

    ที่ที่ท่านพักบำเพ็ญแต่ละแห่งนั้นล้วนเป็นป่าเป็นเขา และห่างไกลจากหมู่บ้านมาก ท่านอาจารย์มั่นเองก็เที่ยวอยู่ตามแถบนั้นเช่นกัน แต่ตามท่านไม่พบอย่างง่าย ๆ เพราะท่านชอบปลีกตัวจากหมู่คณะอยู่เสมอ ไม่ยอมให้ใครพบอย่างง่ายดาย

    ท่านก็พยายามตามท่าน (พระอาจารย์มั่น) อย่างไม่ลดละ จนได้พบและได้ฟังการอบรมจากท่านจริง ๆ แต่ท่าน(พระอาจารย์มั่น) ไม่ค่อยให้ใครอยู่ด้วย ท่านชอบอยู่เฉพาะองค์เดียว ท่านว่า ท่านก็พยายามไปอยู่ในแถวใกล้เคียงท่าน(พระอาจารย์มั่น) พอไปมาหาสู่เพื่อรับโอวาทได้ในคราวจำเป็น เมื่อเข้าไปเรียนศึกษาข้ออรรถข้อธรรม ท่าน(พระอาจารย์มั่น) ก็เมตตาสั่งสอนอย่างเต็มไม่ไม่มีปิดปังลี้ลับ แต่ไม่ค่อยให้ใครอยู่ด้วย ท่านว่าท่านก็พอใจที่ท่าน (พระอาจารย์มั่น) เมตตาสั่งสอนในเวลาจำเป็น เข้าไปเรียนถาม เมื่อหมดข้อข้องใจแล้วก็กราบลาท่านไปบำเพ็ญตามลำพัง มีการเข้า ๆ ออก ๆ อยู่เสมอ

    เมื่ออยู่นานไป บางปีท่านก็เมตตาให้เข้าไปจำพรรษาด้วย รู้สึกดีใจเหมือนตัวจะลอยที่พยายามมาหลายปีเพิ่งสำเร็จ จากนั้นก็ได้จำพรรษากับท่านเรื่อยมา การบำเพ็ญทางจิตภาวนารู้สึกได้กำลังขึ้นเป็นลำดับ ตอนไปอยู่ที่เชียงใหม่แล้ว พร้อมกับได้ครูอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำสั่งสอน ใจจึงเหมือนจะเหาะจะบินด้วยอำนาจแห่งความอิ่มเอิบในธรรมที่ปรากฏอยู่กับใจ ไม่มีความอับเฉาเศร้าใจเพราะความเป็นลุ่ม ๆ ดอน ๆ ของใจ เหมือนพักอยู่ที่อื่น ๆ ใจนับวันเจริญขึ้นโดยลำดับทั้งด้านสมาธิและด้านปัญญา มีความเพลิดเพลินในความเพียรทั้งกลางวันและกลางคืนไม่มีเวลาอิ่มพอ
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย

    ช้างใหญ่เข้ามาหาท่านในเวลากลางคืนยามดึกสงัด



    คืนวันหนึ่งในพรรษา ทราบว่าท่านจำพรรษาอยู่ด้วยกัน 2 องค์ เวลาดึกสงัด ท่านกำลังนั่งภาวนาอยู่ในกุฎีเล็ก ๆ ขณะนั้นช้างใหญ่เชือกหนึ่งที่เจ้าของเขาปล่อยให้เที่ยวหากินตามลำพังในป่าเขาแถบนั้น ไม่ทราบว่ามาจากที่ไหน เดินต้วมเตี้ยมเข้ามาในบริเวณด้านหลังกุฎีท่าน และเดินตรงเข้ามาหากุฎีท่าน แต่เผอิญกุฎีด้านหลังมีม้าหินใหญ่ก้อนหนึ่งบังอยู่ ช้างจึงไม่สามารถเข้ามาถึงตัวท่านได้

    พอมันเข้ามาถึงหินก้อนนั้นแล้วก็เอางวงสอดเข้ามาในกุฎี จนถึงกลดและมุ้งบนศีรษะท่านที่กำลังนั่งภาวนาอยู่ เสียงสูดลมหายใจดมกลิ่นท่านดังฟูดฟาด ๆ จนกลดและมุ้งไหวไกวไปมาและเย็นไปถึงศีรษะท่าน องค์ท่านเองก็นั่งภาวนาบริกรรมพุทโธ ๆ อยู่อย่างฝากจิตฝากใจฝากเป็นฝากตายกับพุทโธจริง ๆ ไม่มีที่อาศัย ช้างใหญ่ตัวนั้นก็ยืนนิ่งอยู่ที่นั้นไม่ยอมหนีไปไหนเป็นเวลา 2 ชั่วโมงเศษ ๆ และคงยืนดักนิ่งอยู่ทำนองนั้น ราวกับจะคอยตะครุบท่านให้แหลกไปในเวลานั้น นาน ๆ จะได้ยินเสียงลมหายใจและสูตกลิ่นท่านอยู่นอกมุ้งครั้งหนึ่งแล้วเงียบไป จากนั้นก็เดินกลับออกไปทางด้านตะวันตกกุฎี แล้วเอามือล้วงเข้าไปในตะกร้ามะขามเปรี้ยวที่ข้างต้นไม้ซึ่งโยมเขาเอามาไว้เพื่อขัดฝาบาตรออกมากิน เสียงเคี้ยวดังกร้วม ๆ อย่างเอร็ดอร่อย

    ท่านจึงนึกว่า ทีนี้มะขามสำหรับขัดฝาบาตรเราคงเกลี้ยงไม่มีเหลือแน่นอน ถ้าลงเจ้าท้องใหญ่พุงหลวงได้คว้าถูกมือแล้ว เมื่อมันกินมะขามเปรี้ยวในตะกร้าหมดแล้ว ก็ต้องเดินเข้ามากุฎีเรา คราวนี้ต้องเข้าถึงตัวและบดขยี้เราแหลกไปอย่างแน่นอน อย่ากระนั้นเลยเราควรออกไปพูดกับมันให้รู้เรื่องกันเสียบ้าง เพราะสัตว์พรรค์นี้มันรู้ภาษาคนได้ดี เนื่องจากมันเคยอยู่กับคนมานาน เวลาเราออกไปพูดกับมันด้วยดีให้รู้เรื่องแล้ว มันคงฟังเสียงเรา น่าจะไม่ฝืนดื้อทะลึ่งเข้ามา หากมันฝืนทะลึ่งพรวดพราดเข้ามาจะฆ่าเราก็ยอมตายเสียเท่านั้น แม้เราไม่ออกไปพูดกับมันแต่เวลามันกินมะขามหมดแล้วก็ต้องเข้ามาหาเราจนได้ ถ้ามันจะฆ่าก็ต้องตาย หนีไม่พ้นแน่นอน เพราะเป็นเวลาค่ำคืน ตาก็มองไม่เห็นหนทางอะไรด้วย

    พอตกลงใจแล้วท่านก็ออกจากกุฎีเล็กมายืนแอบโคนต้นไม้หน้ากุฎี แล้วพูดกับมันว่า

    พี่ชาย น้องขอพูดด้วยสักคำสองคำ ขอพี่ชายจงฟังคำของน้องจะพูดเวลานี้

    พอได้ยินเสียงท่านพูดขึ้น มันก็หยุดนิ่งเงียบราวกับสัตว์ไม่มีหัวใจ จากนั้นท่านก็เริ่มมธุภาษิตกับมันว่า

    พี่ชายเป็นสัตว์ของมนุษย์นำมาเลี้ยงไว้ในบ้านเป็นเวลานานจนเป็นสัตว์บ้าน ความรู้สึกทุกอย่าง ตลอดภาษามนุษย์ที่เขาพูดกันและพร่ำสอนพี่ชายตลอดมานั้น พี่ชายรู้ได้ดีทุกอย่างยิ่งกว่ามนุษย์บางคนเสียอีก ดังนั้นพี่ชายควรจะรู้ขนบธรรมเนียมและข้อบังคับของมนุษย์ ไม่ควรทำอะไรตามใจชอบ เพราะการทำบางอย่างแม้จะถูกใจเรา แต่เป็นการขัดใจมนุษย์ ก็ไม่ใช่ของดี เมื่อขัดใจมนุษย์แล้วเขาอาจทำอันตรายเราได้ ดีไม่ดีอาจถึงตายก็ได้ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ฉลาดแหลมคมกว่าบรรดาสัตว์ที่อยู่ร่วมโลกกัน สัตว์ทั้งหลายจึงกลัวมนุษย์มากกว่าสัตว์ด้วยกัน ตัวพี่ชายเองก็อยู่ในบังคับของมนุษย์ จึงควรเคารพมนุษย์ผู้ฉลาดกว่าเรา ถ้าดื้อดึงต่อเขา อย่างน้อยเขาก็ตี เขาเอาขอสับลงที่ศีรษะพี่ชายให้ได้รับความเจ็บปวด มากกว่านั้นเขาฆ่าให้ตาย พี่ชายจงจำไว้ อย่าได้ลืมคำที่น้องสั่งสอนด้วยความเมตตาอย่างยิ่งนี้ ต่อนี้ไปพี่ชายจะรับศีลห้า น้องเป็นพระจะให้ศีลห้าแก่พี่ชาย จงรักษาให้ดี เวลาตายไปจะได้ไปสู่ความสุข อย่างต่ำก็มาเกิดเป็นมนุษย์ผู้มีบุญมีคุณธรรมในใจ ยิ่งกว่านั้นก็ไปเกิดบนสวรรค์หรือพรหมโลกสูงขึ้นไปเป็นลำดับ ดีกว่ามาเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน เช่น เป็นช้าง เป็นม้า ให้เขาขับขี่เฆี่ยนตีและขนไม้ขนฟืน ซึ่งเป็นความลำบากทรมานจนตลอดวันตายก็ไม่ได้ปล่อยวางภาระหนัก ดังที่เป็นอยู่เวลานี้

    พี่ชายจงตั้งใจฟังและตั้งใจรับศีลด้วยเจตนาจริง ๆ คือ

    ข้อที่หนึ่ง ปาณาฯ อย่าฆ่าคนฆ่าสัตว์ให้เขาตายด้วยกำลังการกระทำของตน และอย่าเบียดเบียนคน เบียดเบียนสัตว์ด้วยกัน มันเป็นบาป

    ข้อสอง อทินนาฯ อย่าลักขโมยของที่มีเจ้าของหวงแหน เช่น มะขามในตะกร้าที่พี่ชายเคี้ยวกินอยู่เมื่อกี้นี้ ซึ่งคนเขาเอามาให้น้องขัดฝาบาตร แต่น้องไม่ให้พี่ชายเป็นบาปเป็นกรรมอะไรหรอก เพียงบอกให้ทราบว่าเป็นของมีเจ้าของ ถ้าเขาไม่ให้ อย่ากิน อย่าเหยียบย่ำทำลาย มันเป็นบาป

    ข้อสาม กาเมฯ อย่าเสพสัตว์ที่เขามีเจ้าของหวงแหนมันเป็นบาป ถ้าจะเสพก็ควรเสพเฉพาะสัตว์ตัวไม่มีคู่ ไม่มีเจ้าของ จึงไม่เป็นบาป

    ข้อสี่ มุสาฯ อย่าโกหกหลอกลวง กิริยาแสดงออกให้ตรงต่อความจริง อย่าแสดงเป็นกิริยาที่หลอกลวงให้ผู้อื่นหลงเชื่อมันเป็นบาป

    ข้อห้า สุราฯ อย่ากินของมึนเมา มีสุราเมรัย เป็นต้น กินแล้วเป็นบาป ตายไปตกนรกทนทุกข์ทรมานเป็นเวลานานตั้งกัปตั้งกัลป์ กว่าจะหมดกรรม ขึ้นจากนรก แม้พ้นจากนรกขึ้นมาแล้วยังมีเศษแห่งกรรมชั่วติดตัวมาอีก มาเสวยชาติเป็นเปรตเป็นผี เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ทรมานตามวิบากของตนที่เคยทำมา กว่าจะได้มาเกิดเป็นคนจึงแสนลำบาก เพราะกรรมชั่วกดถ่วงไว้

    พี่ชายจงจำไว้ให้ดีและทำตามคำที่น้องสั่งสอนนั้นจะได้พ้นจากกำเนิดของสัตว์ไปเกิดเป็นมนุษย์เทวบุตรเทวดา ในชาติต่อไปโดยไม่สงสัย

    เอาละ น้องสั่งสอนเพียงเท่านี้ หวังว่าพี่ชายจะยินดีทำตาม ต่อนี้ไปขอให้พี่ชายจงไปเที่ยวหาอยู่หากินตามสบาย เป็นสุขกายสุขใจเถิด น้องก็จะได้เริ่มบำเพ็ญภาวนาต่อไปและอุทิศส่วนกุศลแผ่เมตตาให้พี่ชายเป็นสุข ๆ ทุกวันเวลาไม่ลดละเมตตา

    เอ๊า พี่ชายไปได้แล้วจากที่นี้

    เป็นที่น่าประหลาดใจเหลือจะกล่าว ขณะที่ท่านกำลังให้โอวาทสั่งสอนอยู่นั้น ช้างใหญ่ตัวนั้นยืนนิ่งราวก้อนหิน ไม่กระดุกกระดิกอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งแม้แต่น้อยเลย ยืนนิ่งฟังท่านอธิบายจนจบ พอท่านให้ศีลให้พรสิ้นสุดลงและบอกให้ไปได้ มันจึงเริ่มเคลื่อนไหวอวัยวะเสียงปึงปัง ๆ ราวกับฟ้าดินจะถล่มไปด้วย ในขณะที่มันเริ่มหันหลัง กลับตัวออกจากที่นั้นหนีไป และไปแบบรู้เรื่องรู้ราวกับคำสั่งเสียทุกอย่างจริง ๆ คิดดูแล้วน่าสงสารมาก ที่กายเป็นสัตว์ แต่ใจเป็นมนุษย์ รู้ดีรู้ชั่วในคำสั่งสอน ไม่ดื้อดึงฝ่าฝืน สมเป็นสัตว์ใหญ่มีกำลังมาก แต่กลับอ่อนโยนด้วยใจที่ระลึกรู้ในคำผิดถูกชั่วดีทุกอย่าง พอพระท่านว่า ทีนี้พี่ชายไปได้แล้วเท่านั้น ก็หมุนตัวกลับไปเลยในทันที เวลาฟังคำสั่งสอนก็ตั้งใจฟัง เสียจนแทบไม่หายใจ เหมือนคนฟังเทศน์พระ ด้วยความเคารพธรรมฉะนั้น

    จึงเป็นเรื่องที่น่าคิดและอัศจรรย์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้สั่งสอนช้างก็ช่างมีอุบายแยบคาย เลือกเฟ้นคำแปลก ๆ มาสอนได้อย่างจับใจไพเราะ ไม่เพียงแต่ช้างเป็นสัตว์จะสนใจฟัง แม้มนุษย์เรา ถ้าได้ฟังในขณะนั้น ก็คงเคลิบเคลิ้มหลงใหลอย่างไม่มีปัญหา เพราะเป็นคำมธุภาษิตที่หาฟังได้ยาก ไม่มีใครอาจพูดได้อย่างนั้น ฝ่ายช้างใหญ่ก็สนใจฟังด้วยความสนิทติดใจ ไม่กระดุกระดิกอวัยวะกระทั่งหูหาง จนพระท่านเทศน์จบกัณฑ์ และบอกให้ไป จึงยอมไปเที่ยวหากินตามประสาสัตว์ที่แสนดีหายาก จึงทำให้คิดซึ้งในใจเพิ่มเข้าไปอีกว่า ไม่ว่าสัตว์ว่ามนุษย์ ถ้าได้ประสบสิ่งที่ต้องใจ แล้วย่อมทำให้หูแจ้งตาสว่างไปได้เหมือนไม่มีกลางคืน ใจซาบซ่านไปด้วยปีติ ความพอใจไยดีในปิยวาจาที่แสนมีรสชาติซึ่งปรารถนามานาน แม้จะรับประทานไปมากเพียงไรก็ไม่มีวันอิ่มวันพอ เพราะเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากแก่จิตใจ

    หลวงปู่ขาวท่านช่างพูดช่างยอ พูดยอเสียจนช้างใหญ่ตัวนั้นเคลิ้มหลับไปด้วยคำอ่อนหวานที่มีรสซึ้งฝังอยู่ภายใน เช่นคำว่า “พี่ชายที่มีกำลังมาก ส่วนน้องเป็นผู้น้อยไม่มีเรี่ยวแรงเหมือนพี่ชาย น้องกลัวพี่ชายมาก” ฟังแล้วซึ้งสุดจะกล่าว จนช้างใหญ่หลับทั้งยืน ลืมสนใจเสียทุกอย่าง แม้มะขามเปรี้ยวที่ได้หลงเคี้ยวกลืนเข้าไปบ้างแล้ว ก็อยากจะคายออกมาใส่ตะกร้าให้น้องชายผู้น่ารักน่าสงสารเสียสิ้น ไม่อยากให้ติดปากติดท้องไปเสียเลย จะเสียศักดิ์ศรีของช้างตัวใหญ่มีกำลังและแสนรู้ ประหนึ่งตู้มงคลเคลื่อนที่ได้ พอได้รับคำสั่งสอนเต็มพุงแล้ว ก็ไปเที่ยวหากินตามลำพัง มิได้มาเกี่ยวข้องรบกวนพระท่านอีกเลย กระทั่งท่านออกพรรษาแล้วเที่ยวไปที่อื่นก็ไม่ปรากฏว่ามันกลับมารบกวนท่านอีก จึงน่าอัศจรรย์ใจสัตว์ตัวแสนรู้
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย

    องค์ท่านเองก็ออกเที่ยวไปตามอัธยาศัยเพื่อบำเพ็ญสมณธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ท่านรู้สึกเป็นพระกรรมฐานที่อาจหาญเด็ดเดี่ยวมากประจำนิสัย ทำอะไรทำจริง ท่านพักอยู่ในภูเขาได้ให้โยมทำทางเดินจงกรมไว้สามสาย สายหนึ่งเพื่อเดินบูชาพระพุทธเจ้า สายที่สองเดินบูชาพระธรรม สายที่สามเดินบูชาพระสงฆ์สาวกท่าน ท่านเดินจงกรมทั้งสามสายนี้ตามเวลาเป็นประจำไม่ให้ขาดได้ พอฉันเสร็จก็เริ่มเดินจงกรมสายพุทธบูชา จนถึงเที่ยงวันท่านจึงหยุดพัก พอบ่าย 2 โมงก็เริ่มลงเดินสายธรรมบูชาจนบ่าย 4 โมง ถึงเวลาปัดกวาด สรงน้ำจึงหยุด เมื่อทำข้อวัตรทุกอย่างเสร็จแล้วก็เริ่มลงเดินสายสังฆบูชาไปจนถึง 4-5 ทุ่มจึงเข้าที่พักภาวนา หลังจากนั้นก็พักจำวัด พอตื่นขึ้นมาก็เริ่มเข้าที่ ทำสมาธิภาวนาจนสว่าง ถัดจากนั้นก็ลงเดินจงกรมต่อไป จนถึงเวลาออกบิณฑบาตค่อยหยุดเดิน

    บางคืนท่านนั่งภาวนาจนตลอดสว่างโดยไม่ลุกจากที่นั่งเลยก็มี คืนที่ท่านนั่งภาวนาตลอดรุ่ง ใจรู้สึกสว่างไสวมาก แม้ออกจากสมาธิภาวนามาแล้วในเวลาปกติ ขณะนั่งภาวนาตลอดรุ่งนั้น ปรากฏว่าโลกธาตุได้ดับหายไปจากความรู้สึกโดยสิ้นเชิง แม้กายตัวเองก็ไม่ปรากฏว่ามีอยู่เลยเวลานั้น เป็นความอัศจรรย์อย่างยิ่ง นับแต่ขณะนั่งพิจารณาทุกขเวทนาจนดับไปด้วยการพิจารณา จิตได้หยั่งลงสู่ความสงบอย่างละเอียดแนบแน่น ขณะนั้นปรากฏจำเพาะความรู้เพียงอันเดียวที่ทรงตัวอยู่ด้วยความสงบสุขละเอียดอ่อนจนบอกไม่ถูก ไม่มีอารมณ์ใดแม้ส่วนละเอียดปรากฏขึ้นภายในจิต จึงเป็นเหมือนโลกธาตุดับไป พร้อมกับอารมณ์ที่ดับไปจากจิต จนกว่าถอนขึ้นมา อารมณ์ที่เคยปรุงจิตจึงค่อย ๆ ปรากฏตัวขึ้นกับจิตทีละเล็กละน้อย จากนั้นก็ทำความเพียรต่อไปตามธรรมดา ขณะที่จิตรวมตัวลงสู่ความสงบ แม้เป็นเวลาหลายชั่วโมง ก็ไม่รู้สึกว่านานตามเวลาที่ผ่านไป คงเป็นเอกจิตเอกธรรมอยู่จำเพาะใจเพียงดวงเดียว ไม่มีสองกับสิ่งใด เวลาจิตถอนขึ้นมา จึงรู้ได้ว่าจิตรวมสงบอยู่เป็นเวลาเท่านั้นชั่วโมง เท่านี้ชั่วโมง ถ้าคืนใดจิตภาวนาสะดวกสงบลงได้ง่าย คืนนั้นแม้จะนั่งจนตลอดรุ่งก็เท่ากับนั่งราว 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น ไม่ทำการกดถ่วงเนิ่นนานอะไรเลย ท่านว่า

    หลวงปู่ขาวชอบเผชิญอันตรายเกี่ยวกับช้างมากกว่าอย่างอื่น ท่านว่าพอผ่านอันตรายจากคราวนั้นมาแล้วไม่นานนักเลย ก็ไปเจอกับช้างใหญ่ตัวหนึ่งเข้าอีก ที่แม่ปาง จังหวัดลำปาง แทบเอาตัวไม่รอดคราวนี้ ตัวนี้เป็นช้างป่าจริง ๆ มิได้เป็นช้างบ้านที่เขาเลี้ยงไว้เหมือนคราวที่แล้วนั้น คือตอนกลางคืน ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่ ได้ยินเสียงมันเดินบุกป่าฝ่าดง และเสียงไม้หักดังปังปัง ๆ มาตลอดทาง โฉมหน้ามุ่งมายังท่านและเดินใกล้เข้ามาทุกที จะหลบหลีกปลีกหนีไปไหนก็ไม่ทัน จึงตัดสินใจว่า ธรรมดาช้างป่าทั้งหลายมักกลัวแสงไฟ ท่านจึงรีบออกจากทางจงกรม ไปเอาเทียนไข ณ ที่พักมาจุดทีละหลาย ๆ เล่ม ปักเสียบรอบไว้ตามสายทางเดินจงกรมยาวเหยียดเชียว คนเรามองดูแล้วสว่างไสวงามตาเย็นใจ แต่ช้างมันจะมองไปในแง่ไหนนั้นเราทราบไม่ได้ พอจุดเทียนปักเสียบไว้เสร็จเท่านั้น ช้างก็เดินมาถึงที่นั่นพอดี

    ขณะนั้นท่านเองไม่มีทางหลบหลีกปลีกตัว มีแต่ตั้งสัตยาธิษฐานขอบันดาลคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ จงช่วยคุ้มครองป้องกัน อย่าให้ช้างใหญ่ตัวนี้ทำอันตรายแก่ข้าพระพุทธเจ้าได้ พออธิษฐานจบลง ช้างก็เข้ามาถึงที่นั้นพอดี และหยุดยืนกางหูตัวผึ่งอยู่ไม่กระดุกกระดิกอวัยวะส่วนใด ๆ ณ ข้างทางจงกรม ห่างจากท่านประมาณวาเศษ ท่ามกลางไฟกำลังสว่างไสวอยู่รอบตัวท่านเวลานั้น ซึ่งมองเห็นช้างได้ถนัดชัดเจน ท่านว่าช้างตัวนั้นใหญ่เท่าภูเขาลูกย่อม ๆ นี่เอง ท่านเองก็เดินจงกรมไปมาอยู่อย่างไม่สนใจกับมันเลย ทั้งที่กลัวมันอย่างเต็มที่ ใจเหมือนกับขาดลมหายใจไปแล้ว แต่ขณะมองเห็นมันเดินเข้ามาหาอย่างผึ่งผายทีแรก มีเพียงความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับองค์พุทโธอย่างเหนียวแน่นที่น้อมมาระลึกเป็นองค์ประกันชีวิตเท่านั้น นอกนั้นไม่คิดเห็นอะไรเลย แม้ช้างทั้งตัวที่ใหญ่เท่าภูเขาทั้งลูกมายืนอยู่ข้างทางจงกรม ก็ไม่ยอมส่งจิตออกไปหามัน กลัวจิตจะพรากจากพุทโธซึ่งเป็นองค์สรณะอันประเสริฐสุด

    ในเวลานั้น พุทโธกับจิตกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนใจหายกลัว เหลือแต่ความรู้กับคำบริกรรมพุทโธซึ่งกลมกลืนเป็นอันเดียวกัน ช้างก็คงยืนดูท่านอยู่แบบภูเขาไม่ยอมกระดุกกระดิกตัวเลยขณะนั้น หูกางผึ่งราวกับจะแผ่เมตตาให้ไม่ยอมรับ เพราะลักษณะท่าทางที่มันเดินเข้ามาหาท่านทีแรก เหมือนจะเข้ามาขยี้ขยำอย่างไม่มีรีรอแม้ชั่ววินาทีหนึ่งเลย แต่พอมาถึงที่นั่นแล้วกลับยืนตัวแข็งทื่อราวกับสัตว์ไม่มีหัวใจ พอจิตกับพุทโธเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว ท่านก็หายกลัว มิหนำยังกลับเกิดความกล้าหาญขึ้นมา สามารถจะเดินเข้าไปหามันได้อย่างไม่สะทกสะท้านอะไรทั้งสิ้น แต่มาคิดอีกแง่หนึ่งวา การเดินเข้าไปหามันซึ่งเป็นสัตว์ร้าย อาจเป็นฐานะแห่งความประมาทอวดดีก็ได้ เป็นสิ่งไม่ควรทำ จึงเป็นเพียงเดินจงกรมแข่งกับการยืนของมันอย่างองอาจกล้าหาญ ราวกับไม่มีอันตรายใด ๆ จะเกิดขึ้นในที่นั้น

    นับแต่ขณะช้างตัวนั้นเดินเข้ามายืนอยู่ที่นั่นเป็นเวลาชั่วโมงเศษ ๆ ไฟเทียนไขชนิดดี ๆ ยาว ๆ ที่จุดไว้ บางเล่มก็หมดไป บางเล่มก็จวนจะหมด มันจึงได้กลับหลังหัน แล้วเดินกลับออกไปทางเก่าและเที่ยวหากินในแถบบริเวณนั้น เสียงหักไม้กินเป็นอาหารสนั่นป่าไปหมด

    ท่านได้เห็นความอัศจรรย์ของจิตและของพุทโธประจักษ์ใจในคราวนั้นเป็นครั้งแรก เพราะเป็นคราวจำเป็นจริง ๆ ไม่สามารถจะหลบหลีกปลีกตัวไปที่ไหนให้พ้นได้ นอกจากต้องสู้ด้วยวิธีนั้นเท่านั้น แม้ตายก็ยอมโดยไม่มีทางเลือกได้

    นับแต่ขณะนั้นมาแล้วทำให้เกิดความมั่นใจว่าเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ถ้าจิตกับพุทโธเป็นต้นได้เข้าสนิทกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยหลักธรรมชาติแล้ว ไม่สามารถทำอันตรายได้อย่างแน่นอน นี่เป็นความเชื่ออย่างสนิทใจตลอดมา

    ท่านว่า ช้างตัวนั้นก็เป็นสัตว์ที่แปลกอยู่มาก เวลาเข้ามาถึงที่นั้นแล้วแทนที่จะแสดงอาการอย่างไรก็ไม่แสดง คงยืนนิ่งหูกางอยู่อย่างสงบ แลดูท่านเดินจงกรมกลับไปกลับมาอย่างไม่เบื่อ พอดูเต็มตาแล้วก็กลับหลังหันคืนทางเก่า แล้วเที่ยวหากินไปเรื่อย ๆ แบบทองไม่รู้ร้อน และหายเงียบไปเลย ซึ่งเป็นสัตว์ที่น่ารักอีกตัวหนึ่ง ไม่ด้อยกว่าตัวที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งเป็นสัตว์บ้านที่รู้ภาษาคนได้ดี สำหรับตัวหลังนี้เป็นสัตว์ป่ามาแต่กำเนิด ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี ไม่อาจรู้ภาษาคนได้ ท่านจึงไม่ได้พูดอะไรกับมัน เป็นแต่เดินจงกรมเฉยอยู่เท่านั้น ตัวหลังนี้ไม่มีลูกพรวนแขวนคอเหมือนตัวนั้น ทั้งชาวบ้านก็บอกว่าเป็นช้างป่า และเคยเป็นนายโขลงมานาน เฉพาะคราวนี้ทำไมจึงมาเที่ยวตัวเดียวก็ไม่ทราบอาจจะพรากจากโขลงมาชั่วคราวก็ได้ดังนี้

    แม้ช้างตัวนั้นหนีไปแล้ว ท่านยังเดินจงกรมต่อไปด้วยความอัศจรรย์ใจ และเห็นคุณของช้างตัวนั้นที่มาช่วยให้จิตท่านได้เห็นความอัศจรรย์ในธรรม เกี่ยวกับความกลัวความกล้า แต่คราวนี้ช้างมาช่วยเสริมให้รู้เรื่องนี้ได้อย่างประจักษ์ใจ หมดทางสงสัย ช้างตัวนั้นจึงเป็นเหมือนช้างเทวบุตรหรือช้างเทพบันดาลก็น่าจะไม่ผิด เพราะธรรมดาช้างในป่าซึ่งไม่คุ้นเคยและให้อภัยแก่ผู้ใด นอกจากจะสู้ไม่ไหวจริง ๆ แล้วจึงรีบวิ่งหนีเอาตัวรอดเท่านั้น แต่ช้างตัวนี้ตั้งหน้าตั้งตาเดินมาหาเราอย่างอิสระ มิได้ถูกบังคับขับไล่ด้วยวิธีใด ๆ จากผู้ใด และเดินมาหาเรา ทั้งที่ไฟก็ตามสว่างอยู่รอบด้าน แทนที่มันจะตรงเข้าขยี้ขยำเรา ให้แหลกเป็นจุณวิจุณไปด้วยกำลัง ก็ไม่ทำ หรือจะตื่นตกใจกลัวไฟรีบวิ่งหัวซุกหัวปำเข้าป่าไปก็ไม่ไป เมื่อเดินอย่างองอาจชาติอาชาไนยเข้ามาถึงที่เราอยู่แล้ว ยังกลับยืนทื่อดูเราอยู่เป็นเวลาตั้งชั่วโมงเศษ ๆ จึงหนีไปแบบธรรมดา มิได้กล้ามิได้กลัวอะไรทั้งสิ้น จึงเป็นสัตว์ที่น่าคิดพิศวงงงงันอยู่ไม่ลืมจนบัดนี้

    จากคราวนั้นมาแล้วจะไปเที่ยวและพักอยู่ในที่เช่นไรก็ไม่คิดกลัว เพราะเชื่อกรรมอย่างถึงใจ แต่บัดนั้นเป็นต้นมา สมกับธรรมบทว่า พระธรรมย่อมรักษาผู้ปฏิบัติ ไม่ปล่อยให้ตายจมดินจมน้ำแบบขอนซุงแน่นอน

    ความรู้เรื่องของจิตของธรรมอย่างถึงใจย่อมรู้กันในเวลาคับขัน ถ้าไม่คับขัน จิตมักเล่นตัวยั่วเราด้วยกิเลสชนิดต่าง ๆ ไม่มีประมาณ จนตามแก้ไม่ทัน ยอมให้มันข้ามศีรษะไปต่อหน้าต่อตา ประหนึ่งไม่มีความสามารถหักห้ามตามแก้มันให้หลุดไปได้เลย พอเวลาเข้าที่คับขันจนมุมจริง ๆ กำลังของจิตของธรรมไม่ทราบว่ามาจากไหน ใจก็หมอบและยอมเชื่อเราเชื่อธรรม ไม่ฝ่าฝืน กำหนดบังคับให้อยู่อย่างไรหรือกับธรรมบทใดก็อยู่อย่างนั้นไม่ฝ่าฝืน คงจะเป็นเพราะความกลัวตายก็เป็นได้ถ้าฝ่าฝืน จึงกลายเป็นจิตที่ว่านอนสอนง่ายไม่ดื้อดึงในเวลาเช่นนั้น น่าจะเป็นเพราะเหตุนี้ที่พระธุดงคกรรมฐานท่านชอบเข้าแต่ป่าแต่เขา ทั้งที่กลัวตายและใจหนึ่งไม่อยากเข้า สำหรับจิตผมเป็นเช่นนี้ ส่วนจิตของท่านผู้อ่านนั้นไม่ทราบได้ แต่ถ้าตั้งใจฝึกให้ถึงเหตุถึงผลจริง ๆ ก็น่าจะเหมือน ๆ กัน เพราะจิตเป็นที่สถิตอยู่แห่งธรรมและกิเลสที่ทำให้มีความรู้สึกกล้ารู้สึกกลัว รู้จักดีชั่วต่าง ๆ เช่นเดียวกัน
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย

    การฝึกฝนที่ถูกกับเหตุผล ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของธรรม จึงสามารถทำให้กิเลสชนิดต่าง ๆ ยอมจำนนหมอบราบ และสิ้นสูญไป จนไม่เหลือเป็นเชื้ออีกต่อไป ผมเองซึ่งมีนิสัยหยาบจึงมักเชื่อต่อการทรมานชนิดหยาบ ๆ เพื่อให้ทันกับกิเลสซึ่งเป็นธรรมชาติหยาบที่มีอยู่ในตน ดังคราวช้างใหญ่เดินเข้ามาหาขณะกำลังเดินจงกรมอยู่ เป็นขณะที่ได้เห็นกิเลสและธรรมของพระพุทธเจ้าอย่างชัดเจนภายในใจ เพราะปกติจิตที่มีกิเลสเป็นเจ้าอำนาจครองใจ รู้สึกฝึกทรมานยาก ดีไม่ดี เราผู้จะฆ่ามันให้ฉิบหายสิ้นซากไป แต่กลับจะตายไปก่อนมัน เพราะความเหนียวแน่นแก่นอาสวะที่เกาะกินเรามานานเสียด้วยซ้ำ แต่พอเข้าตาจนและได้ช้างใหญ่มาช่วยปราบเท่านั้น กิเลสตัวดื้อด้านต้านทานความเพียรเก่ง ๆ ไม่ทราบหายหน้าไปไหน ใจก็บอกง่าย สั่งให้อยู่อย่างไรและให้อยู่กับธรรมบทใดก็ยอมรับทันทีทันใด ราวกับน้ำมันเครื่องหล่อลื่น ไม่ฝ่าฝืนดังที่เคยเป็นมาเลย

    พอกิเลสขยายตัวออกจากใจ ธรรมที่เตรียมพร้อมอยู่แล้วในขณะเดียวกัน ก็แสดงความสว่างไสว และความองอาจกล้าหาญต่อทุกสิ่งขึ้นมาภายในใจทันที ให้ได้เห็นได้ชมอย่างเต็มใจที่กระหายมานาน ความกลัวตายไม่ทราบหายหน้าไปไหน จึงทำให้เห็นได้ชัดว่าความกลัวก็คือกิเลสตัวเคยออกหน้าออกตามานานเราดี ๆ นี่เอง พอความกลัวซึ่งเป็นเครื่องกดถ่วงลวงใจดับลงไปแล้ว แม้จะไม่ดับไปโดยสิ้นเชิง แต่ก็ทำให้เห็นโทษของมันอย่างประจักษ์ในขณะนั้น วาระต่อไปถึงจะเกิดขึ้นมาอีกตามความมีอยู่ของมัน แม้เช่นนั้นก็ยังพอให้เราระลึกรู้ได้บ้างว่า “ความกลัวนี้มิใช่หน้ามิตรมงคลของเรา แต่เป็นหน้าศัตรูที่เคยมาในรูปร่างแห่งมิตรต่างหาก” จึงไม่ทำใจให้เชื่อชนิดติดจมในมันเหมือนที่แล้ว ๆ มาและพยายามกำจัดมันออกทุกวาระแห่งความเพียร จนสภาพแห่งศัตรูที่มาในสภาพแห่งมิตรเหล่านี้ สิ้นสูญไปจากใจนั่นแล จึงจะนอนใจและอยู่เป็นสุขหายกังวลโดยประการทั้งปวงได้

    ตามความรู้สึกของผมว่า คนเราถ้าหวังพึ่งธรรม สนใจในธรรม รักใคร่ใฝ่ใจในธรรม ปฏิบัติตามธรรมจริง ตามที่พระองค์ประทานไว้ ด้วยความแน่พระทัยและพระเมตตาจริง ๆ คำว่ารู้ธรรมเห็นธรรมขั้นต่าง ๆ ดังพุทธบริษัทครั้งพุทธกาลรู้เห็นกัน จะไม่เป็นปัญหาที่สุดเอื้อมตามความคาดคิดอะไรเลย จำต้องรู้เห็นกันได้ธรรมดา ๆ เหมือนท่านที่รู้เห็นกันมาแล้วในครั้งพุทธกาลนั้นแล ที่กาลสถานที่และบุคคลสมัยนี้ขัดกับครั้งพุทธกาลโดยทางมรรคทางผลอยู่เวลานี้ ก็เพราะเราเองทำตัวให้ขัดต่อทางดำเนินของตัวเอง โดยต้องการผล แต่มิได้สนใจกับเหตุ คือวิธีดำเนิน ว่าถูกหรือผิดประการใดบ้าง จะควรดัดแปลงกายวาจาใจให้ตรงต่อธรรม คือทางดำเนินเพื่อมรรคผลนิพพานอย่างไรบ้าง ถ้ามีการทดสอบตนกับธรรมอยู่เสมอ เพื่อความมุ่งหมายจะสำเร็จตามใจบ้าง อย่างไรต้องสำเร็จในขั้นใดขั้นหนึ่งตามกำลังสติปัญญาของตนแน่นอน เพราะครั้งพุทธกาลกับสมัยนี้ ก็เป็นสมัยที่กิเลสจะพึงแก้ด้วยธรรม และหายได้ด้วยธรรมเช่นเดียวกัน ดังโรคนานาชนิดในสมัยต่าง ๆ ที่หายได้ด้วยยาที่ถูกกับโรคตลอดมาฉะนั้น

    ผมเองเชื่ออย่างนี้มานานแล้ว ยิ่งปฏิบัติมานานเพียงไร ก็ยิ่งเชื่ออย่างฝังใจถอนไม่ขึ้นเพียงนั้น และยิ่งได้ฟังคำที่ท่านอาจารย์มั่นสั่งสอนอย่างถึงใจ สมัยที่อยู่กับท่านด้วยแล้ว ความเชื่อมั่นก็ยิ่งฝังใจลงลึกจนกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับใจ โดยท่านสอนว่า

    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" height=0 vAlign=top width=591>การดูกิเลสและแสวงธรรม ท่านทั้งหลายอย่ามองข้ามใจซึ่งเป็นที่อยู่ของกิเลสและเป็นที่สถิตอยู่แห่งธรรมทั้งหลาย กิเลสก็ดี ธรรมก็ดีมิได้อยู่กับกาลสถานที่ใด ๆ ทั้งลิ้น แต่อยู่ที่ใจ คือเกิดขึ้นที่ใจ เจริญขึ้นที่ใจ และดับลงที่ใจดวงรู้ ๆ นี้เท่านั้น การแก้กิเลสที่อื่นและแสวงธรรมที่อื่น แม้จนวันตายก็ไม่พบสิ่งดังกล่าว ตายแล้วเกิดเล่า ก็จะพบแต่กิเลสที่เกิดจากใจ ซึ่งกำลังเสวยทุกข์ เพราะมันนี้เท่านั้น แม้ธรรม ถ้าแสวงหาที่ใจ ก็จะมีวันพบโดยลำดับของความพยายาม สถานที่กาลเวลานั้นเป็นเพียงเครื่องส่งเสริมและเครื่องกดถ่วงกิเลสและธรรมให้เจริญขึ้นและเสื่อมไปเท่านั้น เช่นรูปเสียงเป็นต้น เป็นเครื่องส่งเสริมกิเลสที่มีอยู่ในใจให้เจริญยิ่งขึ้น และการเข้าบำเพ็ญในป่าในเขา ก็เพื่อส่งเสริมธรรมที่มีอยู่ในใจให้เจริญยิ่งขึ้นเท่านั้น กิเลสแท้ธรรมแท้อยู่ที่ใจ ส่วนเครื่องส่งเสริมและกดถ่วงกิเลสและธรรมนั้นมีอยู่ทั่วไปทั้งภายในภายนอก ฉะนั้นท่านจึงสอนให้หลบหลีกปลีกตัวจากสิ่งยั่วยวนกวนใจ อันจะทำให้กิเลสที่มีอยู่ภายในกำเริบลำพอง มี รูป เสียง เป็นต้น และสอนให้เที่ยวอยู่ในที่วิเวกสงัด เพื่อกำจัดกิเลสชนิดต่าง ๆ ด้วยความเพียรได้ง่ายขึ้น อันเป็นการย่นวัฎฎะภายในใจให้สั้นเข้า

    ด้วยเหตุนี้การแสวงหาที่อยู่อันเหมาะสมเพื่อความเพียรลำหรับนักบวชผู้หวังความพ้นทุกข์ภายในใจ จึงเป็นความชอบยิ่ง ตามหลักธรรมที่พระพุทธเจ้า ผู้ทรงเห็นภัยประจักษ์พระทัย ประทานไว้เพื่อหมู่ชน เพราะการอยู่ในที่ธรรมดา กับการอยู่ในที่แปลก ๆ เปลี่ยว ๆ ความรู้สึกในใจดวงเดียวนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานที่อยู่เสมอไม่แน่นอน ยิ่งพอทราบว่าจิตมีอาการชินชาต่อสถานที่เท่านั้น ผู้เป็นนักสังเกตตัวเองจะทราบได้ทันที และรีบเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ เพื่อความเหมาะสม ไม่นิ่งนอนใจ อันเป็นการเปิดโอกาสให้กิเลส สั่งสมกำลังเพื่อทำลายตนโดยไม่รู้สึก การแก้เหตุการณ์ด้วยความไม่ประมาทได้ทันท่วงที กิเลสย่อมไม่มีโอกาสก่อตัวและสั่งสมกำลังขึ้นทำลายจิตและธรรม ซึ่งมีอยู่ภายในใจดวงเดียวกันได้ และมีทางก้าวหน้าไม่เสื่อมคลาย

    ผู้ปฏิบัติเพื่อความเห็นภัย ต้องเป็นผู้มีสติระลึกรู้อยู่กับใจตลอดเวลา ไม่พลั้งเผลอได้เป็นการดี ความไม่พลั้งเผลอนั่นแล คือ ทำนบเครื่องป้องกันกิเลสต่าง ๆ ที่ยังไม่เกิดไม่ให้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ที่มีอยู่ซึ่งยังแก้ไม่หมด ก็ไม่กำเริบลำพอง และทำความพยายามกำจัดปัดเป่าด้วยสติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียรไม่ลดละท้อถอย สถานที่ใดจิตกลัวและมีสติระวังตัวดี สถานที่นั้นคือป่าช้าเผาผลาญกิเลสทั้งมวลด้วยตปธรรมคือความเพียร มีสติปัญญาเป็นเครื่องมือเผาผลาญทำลาย

    คำว่า ฌานก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี วิมุตติ.หลุดพ้นก็ดีและคำว่า กิเลสเสื่อมอำนาจก็ดี กิเลสตายไปโดยลำดับไม่กำหนดสถานที่เวลานาทีก็ดี หรือกิเลสตายไปจนหมดสิ้นภายในใจก็ดี จะปรากฏประจักษ์กับใจ ในสถานที่บำเพ็ญอันถูกต้องเหมาะสม ของผู้มีความเพียร เป็นไปด้วยความรอบคอบนั่นแล ไม่มีที่อื่นเป็นที่เกิดและดับของกิเลสทั้งมวล

    โปรดทราบไว้อย่างถึงใจว่า ธรรมเจริญ ณ ที่ใด กิเลสย่อมเสื่อมและดับสูญไป ณ ที่นั้น

    คำว่า “ที่ใด” นักปฏิบัติทั้งหลายพึงทราบว่าคือที่ใจดวงเดียวเท่านั้น

    ฉะนั้นจงพากันห้ำหั่นฟันฝ่าฆ่ากิเลสด้วยความกล้าตายในสนามรบ คือที่ใจ โดยอาศัยสถานที่เหมาะสมเป็นเครื่องหนุนกำลัง เพื่อชัยชนะเอาตัวรอดเป็นยอดคน ด้วยประโยคแห่งความเพียรของตนเถิด อย่าหันเหเรรวนว่ากิเลสกองทุกข์จะมีอยู่ในที่อื่นใด นอกจากมีอยู่ในใจดวงเดียวนี้เท่านั้น เท่าที่ปฏิบัติมาแต่ขั้นเริ่มแรก ซึ่งเป็นไปด้วยความตะเกียกตะกายและลูบ ๆ คลำ ๆ เพราะขาดครูอาจารย์ผู้อบรมสั่งสอนโดยถูกต้อง จนได้มาเป็นครูอาจารย์สั่งสอนหมู่คณะ ก็มิได้เห็นกองทุกข์และความแปลกประหลาด พร้อมกับความอัศจรรย์เกินคาดทั้งหลาย ที่ไม่เคยรู้เคยเห็นมาก่อน แสดงขึ้น ณ ที่แห่งใดเลย นอกจากแสดงขึ้นที่ใจดวงเดียว ซึ่งเป็นที่เกิด และสถิตอยู่ แห่งกรรมและกิเลสทั้งหลายนี้เท่านั้น และมีทุกข์กับสมุทัยที่มีอยู่ในใจของเราของท่านแต่ละรายนี้เท่านั้น เป็นสิ่งที่มีอำนาจมากเหนือสิ่งใด ๆ ในโลกทั้งสาม ที่สามารถปิดกั้นทางเดิน เพื่อมรรคผลนิพพานไว้อย่างมิดชิด แม้เครื่องมือทำการขุดค้นบุกเบิกทุกข์สมุทัย เพื่อมรรคผลนิพพานให้ปรากฏขึ้นอย่างเปิดเผย ก็ไม่มีอะไรในสามโลก ที่สามารถ ยิ่งไปกว่านิโรธกับมรรค ซึ่งมีอยู่ในใจดวงเดียวกันนี้

    เรื่องมีอยู่เพียงเท่านี้ อย่าไปสนใจคิดถึงกาลสถานที่หรือบุคคลใด ๆ ว่าเป็นภัยและเป็นคุณให้เสียเวลาและล่าช้าไปเปล่า โดยไม่เกิดประโยชน์อะไรยิ่งกว่า การคิดเรื่องกิเลสกับธรรม ซึ่งมีอยู่ที่ใจ จะผิดพระประสงค์ความมุ่งหมายของศาสดา ผู้ประทานธรรมสอนโลก ด้วยความถูกต้องแม่นยำตลอดมา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย

    นี้เป็นใจความโอวาทที่ท่านอาจารย์มั่นสั่งสอนอย่างถึงเหตุถึงผล สมัยอยู่กับท่านที่เชียงใหม่ จำได้อย่างฝังใจไม่เคยหลงลืมจนบัดนี้ ท่านว่า

    บางครั้งหลวงปู่ขาวเกิดความสงสัย เรียนถามท่านอาจารย์มั่น ท่านยังดุเอา โดยท่านว่า

    ถามเอาตามความชอบใจของตน มิได้เล็งดูหลักธรรมคือความจริงควรจะเป็นอย่างไรบ้าง

    ความสงสัยที่ (หลวงปู่ขาว) เรียนถามนั้นมีว่า ในครั้งพุทธกาลตามประวัติว่า มีผู้สำเร็จมรรคผลนิพพานมากและรวดเร็วกว่าสมัยนี้ซึ่งไม่ค่อยมีท่านผู้ใดสำเร็จกัน แม้ไม่มากเหมือนครั้งโน้น หากมีการสำเร็จได้ก็รู้สึกจะช้ากว่ากันมาก

    ท่าน (พระอาจารย์มั่น) ย้อนถามทันทีว่า ท่านทราบได้อย่างไร ว่าสมัยนี้ไม่ค่อยมีท่านผู้ได้สำเร็จมรรคผลกัน แม้สำเร็จได้ก็ช้ากว่ากันมากดังนี้

    (หลวงปู่ขาว) ท่านเรียนตอบท่าน(พระอาจารย์มั่น) ว่า ก็ไม่ค่อยได้ยินว่าใครสำเร็จเหมือนครั้งโน้น ซึ่งเขียนไว้ในตำราว่าสำเร็จกันครั้งละมาก ๆ แต่ละครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดตลอดการบำเพ็ญโดยลำพังในที่ต่าง ๆ ก็ทราบว่าท่านสำเร็จโดยรวดเร็วและง่ายดายจริง ๆ น่าเพลินใจด้วยผลที่ท่านได้รับ แต่มาสมัยทุกวันนี้ทำแทบล้มแทบตายก็ไม่ค่อยปรากฏผลเท่าที่ควรแก่เหตุบ้างเลย อันเป็นสาเหตุให้ผู้บำเพ็ญท้อใจและอ่อนแอต่อความเพียร

    ท่านอาจารย์มั่นถามท่านว่า ครั้งโน้นในตำราท่านแสดงไว้ด้วยหรือว่าผู้บำเพ็ญล้วนเป็นผู้สำเร็จอย่างรวดเร็วและง่ายดายทันใจทุกรายไป หรือมีทั้งผู้ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า ผู้ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ผู้ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้าและผู้ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว อันเป็นไปตามประเภทของบุคคลที่มีภูมิอุปนิสัยวาสนายิ่งหย่อนต่างกัน

    หลวงปู่ขาวเรียนตอบว่า มีแบ่งภาคไว้ต่าง ๆ กันเหมือนกัน มิได้มีแต่ผู้สำเร็จอย่างรวดเร็วและง่ายดายอย่างเดียว ส่วนผู้ปฏิบัติลำบากทั้งสำเร็จได้ช้าและปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็วก็มี แต่รู้สึกผิดกับสมัยทุกวันนี้อยู่มาก แม้จะมีแบ่งประเภทบุคคลไว้ต่างกันเช่นเดียวกับสมัยนี้

    ท่านอาจารย์อธิบายว่า ข้อนี้ขึ้นอยู่กับผู้แนะนำถูกต้องแม่นยำผิดกัน ตลอดอำนาจวาสนาระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระสาวกและพวกเราผิดกันอยู่มากจนเทียบกันไม่ได้ อีกประการหนึ่งเกี่ยวกับความสนใจในธรรมต่างกันมาก สำหรับสมัยนี้กับสมัยพุทธกาล แม้พื้นเพนิสัยก็ผิดกันกับครั้งนั้นมาก เมื่ออะไร ๆ ก็ผิดกัน ผลจะให้เป็นเหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ เราไม่ต้องพูดเรื่องผู้อื่นสมัยอื่นให้เยิ่นเย้อไปมาก แม้ตัวเราเองยังแสดงความหยาบกระทบกระเทือนตัวเองอยู่ตลอดเวลาทั้งที่เป็นนักบวชและนักปฏิบัติซึ่งกำลังเข้าใจว่าตัวประกอบความเพียรอยู่เวลานั้น ด้วยวิธีเดินจงกรมอยู่บ้าง นั่งสมาธิภาวนาอยู่บ้าง แต่นั้นเป็นเพียงกิริยาแห่งความเพียรทางกาย ส่วนใจมิได้เป็นความเพียรไปตามกิริยาเลย มีแต่ความคิดสั่งสมกิเลสความกระเทือนใจอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่เข้าใจว่าตนกำลังทำความเพียรด้วยวิธีนั้น ๆ ดังนั้นผลจึงเป็นความกระทบกระเทือนใจโดยไม่เลือกกาลสถานที่ แล้วก็มาเหมาเอาว่าตนทำความเพียรรอดตาย ไม่ได้รับผลเท่าที่ควร ความจริงตนเดินจงกรมนั่งสมาธิ สั่งสมยาพิษทำลายตนโดยไม่รู้จักตัวต่างหาก มิได้ตรงความจริงตามหลักแห่งความเพียรเลย

    ฉะนั้น ครั้งพุทธกาล ที่ท่านทำความเพียรด้วยความจริงจัง หวังพ้นทุกข์จริง ๆ กับสมัยที่พวกเราทำเล่นราวเด็กกับตุ๊กตาจึงนำมาเทียบกันไม่ได้ ขืนเทียบไปมากเท่าไร ยิ่งเป็นการขายกิเลสความไม่เป็นท่าของตัวมากเพียงนั้น ผมแม้เป็นคนในสายทำเล่น ๆ ลวง ๆ ตัวเองก็ไม่เห็นค้วยกับคำพูดดูถูกศาสนาและดูถูกตัวเองดังที่ท่านว่ามานั้น ถ้าท่านยังเห็นว่าตัวยังพอมีสารคุณอยู่บ้าง ท่านลองทำตามแบบที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้โดยถูกต้องดูซิ อย่าทำตามแบบที่กิเลสพาฉุดลากไปอยู่ทุกวี่ทุกวัน ทุกเวลา แม้ขณะกำลังเข้าใจว่าตนกำลังทำความเพียรอยู่ มรรคผลนิพพานที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้เป็นสมบัติกลางจะเป็นสมบัติอันพึงใจท่านในวันหนึ่งแน่นอนโดยไม่มีคำว่ายากลำบากและสำเร็จได้ช้ามาเป็นอุปสรรคได้เลย

    ขนาดที่พวกเราทำความเพียรแบบ กระดูกจะหลุดออกจากกัน เพราะความขี้เกียจอ่อนแออยู่เวลานี้ ผมเข้าใจว่าเหมือนคนที่แสนโง่และขี้เกียจเอาสิ่งอันเล็ก ๆ เท่านิ้วมือไปเจาะภูเขาทั้งลูก แต่หวังให้ภูเขานั้นทะลุในวันเวลาเดียว ซึ่งเป็นที่น่าหัวเราะของท่านผู้ฉลาดปราดเปรื่องด้วยปัญญา และมีความเพียรกล้าเป็นไหน ๆ พวกเราลองคิดดู ประโยคแห่งความเพียรของท่านผู้เป็นศากยบุตรพุทธสาวกในครั้งพุทธกาลท่านทำกัน กับความเพียรของพวกเราที่ทำแบบเอาฝ่ามือไปแตะแม่น้ำมหาสมุทรซึ่งสุดที่น่าสมเพชเวทนาเหลือประมาณ แต่หวังพระนิพพานด้วยความเพียรเท่าฝ่ามือนั้น ลองคิดดูกิเลสเท่ามหาสมุทร แต่ความเพียรเท่าฝ่ามือนั้น มันห่างไกลกันขนาดไหน คนสมัยฝ่ามือแตะมหาสมุทร ทำความเพียรเพียงเล็กน้อย แต่ความหมายมั่นปั้นมือว่าจะข้ามโลกสงสาร เมื่อไม่ได้ตามใจหวังก็หาเรื่องตำหนิศาสนา และกาลสถานที่ตลอดคนสมัยนั้นสมัยนี้ ไม่ละอายการประกาศความไม่เป็นท่าของตัวให้นักปราชญ์ท่านหัวเราะด้วยความอ่อนใจว่า เราเป็นผู้หมดความสามารถโดยประการทั้งปวง

    การลงทุนแต่เพียงเล็กน้อยด้วยความเสียดายเรี่ยวแรง แต่ต้องการผลกำไรล้นโลกล้นสงสาร นั้นเป็นทางเดินของโมฆบุรุษโมฆสตรี ผู้เตรียมสร้างป่าช้าไว้เผาตัว และนอนจมอยู่ในกองทุกข์ไม่มีวันลดหย่อนผ่อนวัฏฏะว่าจะผ่านพ้นไปได้เมื่อไร คำถามของท่านที่ถามผมเป็นเชิงชมเชยศาสนธรรม ชมเชยกาลสถานที่และบุคคลในครั้งพุทธกาล แต่ตำหนิศาสนธรรม ตำหนิกาลสถานที่และบุคคลในสมัยนี้ จึงเป็นคำชมเชยและติเตียนของโมฆบุรุษโมฆสตรีที่ปิดกั้นทางเดินของตน จนหาทางเล็ดลอดปลอดจากภัยไปไม่ได้ และเป็นคำถามของคนสิ้นท่า เป็นคำถามของคนผู้ตัดหนามกั้นทางเดินของตัว มิได้เป็นคำถามเพื่อช่วยบุกเบิกทางเดินให้เตียนโล่งพอมีทางปลอดโปร่งโล่งใจ เพราะความสนใจปลดเปลื้องตนจากกิเลส ด้วยสวากขาตธรรม อันเป็นมัชฌิมาที่เคยให้ความเสมอภาค แก่สัตว์โลกผู้สนใจปฏิบัติตามโดยถูกต้องตลอดมา แต่อย่างใดเลย

    ถ้าท่านจะมีสติปัญญาเปลื้องตนพอเป็นที่ชมเชยบ้างแม้โดยการเทียบเคียงว่าโรคทุกชนิดไม่ว่าชนิดร้ายแรงหรือชนิดธรรมดา เมื่อสนใจรักษาและโรคถูกกับยา ย่อมมีทางสงบและหายได้ด้วยกัน แต่ถ้ามิได้สนใจรักษา โรคย่อมกำเริบและเป็นอันตรายได้ นอกจากโรคหวัดหรือโรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามผิวหนัง ซึ่งบางชนิดไม่รักษาก็มีทางหายได้ตามกาลของมัน โรคกิเลสซึ่งมิใช่โรคหิดโรคเหา โรคกลากโรคเกลื้อนพอจะหายไปเอง ต้องรักษาด้วยยา คือ ธรรมในทางความเพียร ตามแบบของศากยบุตรพุทธสาวกที่ท่านทำกัน จะเป็นกิเลสชนิดร้ายแรงหรือไม่เพียงไรก็จำต้องสงบและหายได้ไม่มีทางสงสัย ท่านคิดเพียงเท่านี้ผมก็พอเบาใจและชมเชยว่า ท่านก็เป็นผู้มีความคิดแยบคายบ้างผู้หนึ่ง ที่จะพอเชื่อความสามารถของตัวได้ว่าจะเป็นผู้ข้ามโลกสงสารได้ และเชื่อความสามารถของพระพุทธเจ้าและศาสนธรรม ว่าเป็นผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงประกาศศาสนธรรมไว้โดยชอบและเป็นนิยยานิกธรรมนำสัตว์ให้ข้ามพ้นได้จริง ไม่ตำหนิติเตียนตนว่ามีกิเลสหนาทำให้รู้ธรรมได้ช้าโดยไม่สนใจแก้ไข ไม่ติเตียนพระพุทธเจ้าว่าทรงประกาศสอนธรรมะไม่เสมอต้นเสมอปลาย ไม่ติเตียนพระธรรมว่าไร้สมรรถภาพหรือเรียวแหลม ไม่สามารถแก้กิเลสของสัตว์ในสมัยนี้ได้เหมือนครั้งพุทธกาล

    ท่านอาจารย์มั่นว่า ท่านมิได้ปฏิเสธเกี่ยวกับกิเลส ของคนที่มีหน้าบางต่างกัน และยอมรับว่า คนในพุทธสมัยมีความเบาบางมากกว่าสมัยปัจจุบัน แม้การอบรมสั่งสอนก็ง่ายผิดกับสมัยนี้อยู่มาก ประกอบกับผู้สั่งสอนในสมัยนั้นก็เป็นผู้รู้ยิ่งเห็นจริงเป็นส่วนมาก มีพระศาสดาเป็นพระประมุข ประธานแห่งพระสาวก ในการประกาศสอนธรรมแก่หมู่ชน การสอนจึงไม่ค่อยผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความจริง ทรงถอดออกมาจากพระทัยและใจที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ หยิบยื่นให้ผู้ฟังอย่างสด ๆ ร้อน ๆ ไม่มีธรรมแปลกปลอมเคลือบแฝงออกมาด้วยเลย ผู้ฟังก็เป็นผู้มุ่งต่อความจริงอย่างเต็มใจ ซึ่งเป็นความเหมาะสมทั้งสองฝ่าย ผลที่ปรากฏเป็นขั้น ๆ ตามความคาดหมายของผู้มุ่งความจริง

    จึงไม่มีปัญหาที่ควรขัดแย้งได้ว่า สมัยนั้นคนสำเร็จมรรคผลกันทีละมาก ๆ จากการแสดงธรรมแต่ละครั้งของพระศาสดาและพระสาวก ส่วนสมัยนี้ไม่ค่อยมีใครสำเร็จได้ คล้ายกับคนไม่ใช่คน ธรรมไม่ใช่ธรรม ผลจึงไม่มี ความจริงคนก็คือคน ธรรมก็คือธรรมอยู่นั่นเอง แต่คนไม่สนใจธรรม ธรรมก็เข้าไม่ถึงใจ จึงกลายเป็นว่า คนก็สักว่าคน ธรรมก็สักว่าธรรม ไม่อาจยังประโยชน์ให้สำเร็จได้ แม้คนจะมีจำนวนมากและแสดงให้ฟังทั้งพระไตรปิฎก จึงเป็นเหมือนเทน้ำใส่หลังหมา มันสลัดออกเกลี้ยงไม่มีเหลือ ธรรมจึงไม่มีความหมายในใจของคน เหมือนน้ำไม่มีความหมายบนหลังหมาฉะนั้น

    ท่านถามหลวงปู่ขาวว่า

    ท่านเล่า เวลานี้ใจเป็นเหมือนหลังหมาหรืออย่างไรกันแน่ จึงมัวตำหนิแต่ธรรมโดยถ่ายเดียวว่า ไม่ยังผลให้เกิดขึ้นแก่ตน เพื่อสำเร็จมรรคผลนิพพานง่าย ๆ เหมือนครั้งพุทธกาล โดยไม่คำนึงใจตัวบ้างซึ่งกำลังสลัดปัดธรรมออกจากใจ ยิ่งกว่าหมาสลัดน้ำออกจากหลังของมัน ถ้าย้อนมาคิดถึงความบกพร่องของตนบ้าง ผมเข้าใจว่าธรรมจะมีที่ซึมซาบและสถิตอยู่ในใจได้บ้าง ไม่ไหลผ่านไป ๆ ราวกับลำคลองไม่มีแอ่งเก็บน้ำดังที่เป็นอยู่เวลานี้ คนสมัยพุทธกาลมีกิเลสบางหรือหนาก็เป็นคุณและโทษของคนสมัยนั้นโดยเฉพาะ มิได้มาทำความลำบากหนักใจให้แก่คนสมัยนี้ ซึ่งมีกิเลสชนิดใด ก็ก่อความเดือดร้อนให้แก่กันเอง แทบจะไม่มีโลกให้อยู่ ถ้าไม่สนใจแก้ไข พอให้โลกว่างจากการวางเพลิงเผากันบ้าง การตำหนิติชมใครและสมัยใดก็ตามย่อมไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าไม่สนใจตำหนิติชมตัวเองผู้กำลังก่อไฟเผาตัวและผู้อื่นให้เดือดร้อนอยู่เวลานี้อันเป็นการพรากไฟราคะ โทสะ โมหะ ออกจากกันและกัน ที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ พอมีทางก้าวเดินเข้าสู่ความสงบสุขได้บ้าง ไม่ร้อนระอุด้วยไฟเหล่านี้จนเกินตัว สมกับโลกมนุษย์อันเป็นแดนของสัตว์ผู้ฉลาดกว่าสัตว์อื่น ๆ บรรดาที่อยู่ร่วมโลกกันดังนี้
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย

    ท่านว่า ท่านอาจารย์มั่นเข่นใหญ่ เกี่ยวกับปัญหาโลกแตกของเราที่เรียนถาม แม้ไม่เรียนมากมายนัก แต่เวลาท่านหยิบยกออกมาคล้ายกับปัญหานี้เป็นเสี้ยนหนามแก่พระศาสนาและท่านตลอดตัวเราเองแบบจะเยียวยาไม่ได้ เรารู้สึกเห็นโทษของตัวและเกิดความไม่สบายใจหลายวัน ทั้งที่ความจริงเราก็มิได้สงสัยว่า สมัยนี้จะไม่มีผู้สามารถบรรลุธรรมได้ ท่านเลยสับเขกเอาเสีย นับว่าพอดีกับคนปากไวอยู่ไม่เป็นสุข แต่ก็ดีอย่างหนึ่งที่ได้ฟังธรรมท่านอย่างถึงใจ

    เท่าที่ผมเล่ามานี้ยังไม่ถึงเสี้ยวแห่งธรรมลึกซึ้งและเผ็ดร้อนที่ท่านแสดงนั่นเลย นั้นยิ่งลึกซึ้งและเผ็ดร้อนยิ่งกว่ามหาสมุทรสุดสาครและไฟในนรก แม้เรื่องผ่านไปแล้วท่านยังใส่ปัญหาผมอย่างเหน็บแนมเรื่อยมา บางครั้งยังยกปัญหานั้นมาประจานต่อหน้าที่ประชุมอีกด้วย ไม่ให้เสร็จสิ้นลงง่าย ๆ ว่ามิจฉาทิฐิบ้าง เทวทัตทำลายศาสนาบ้าง แหลกไปหมดไม่มีชิ้นดีเลย จนทำให้หมู่เพื่อนสงสัย มาถามก็มี ว่าเป็นดังท่านว่าจริง ๆ หรือ ผมต้องได้ชี้แจงให้ท่านทราบว่าผมมิได้เป็นไปตามปัญหาที่เรียนถามท่าน เป็นแต่อุบายเพื่อฟังธรรมท่านเท่านั้น ปกติถ้าไม่มีอุบายแปลก ๆ ขึ้นเรียนถาม ท่านไม่เทศน์ให้ฟัง แต่การยกอุบายขึ้นเรียนถามนั้นผมเองก็โง่ไป โดดไปคว้าเอาค้อนมาให้ท่านตีหัวเอา แทนที่จะยกอุบายอันราบรื่นดีงามขึ้นเรียนถาม และฟังท่านอธิบายพอหอมปากหอมคอ

    ตามปกติก็เป็นดังหลวงปู่ขาวเล่าให้ฟัง ถ้าไม่มีอะไรแปลก ๆ เรียนถามท่านก็พูดไปธรรมดา แม้เป็นธรรมก็เป็นไปอย่างเรียบ ๆ ไม่ค่อยถึงใจนัก เมื่อเรียนถามปัญหาชนิดแปลก ๆ รู้สึกท่านคึกคักและเนื้อธรรมที่แสดงออกเวลานั้นก็เหมาะกับความต้องการดังที่เคยเรียนแล้วในประวัติท่าน

    ความจริงท่านก็มิได้สงสัยหลวงปู่ขาวว่าเห็นผิดไปต่าง ๆ ดังที่ท่านดุด่าขู่เข็ญ แต่เป็นอุบายของท่านผู้ฉลาดในการแสดงธรรม ย่อมมีการพลิกแพลงเปลี่ยนแปลงไปต่าง ๆ เพื่อปลุกประสาทผู้ฟังให้ได้ข้อคิดเป็นคติเตือนใจไปนาน ๆ บ้าง ไม่เช่นนั้นก็จะพากันนอนกอดความโง่ไม่สนใจคิดอะไรกันบ้างเลย และจะกลายเป็นกบเฝ้ากอบัวอยู่เปล่า ๆ พอถูกท่านสับเขกเสียบ้างดูเหมือนหูตั้งตาสว่างขึ้นได้บ้าง

    นิสัยพระธุดงคกรรมฐานสายท่านอาจารย์มั่นชอบขู่เข็ญสับเขกอยู่เสมอ จึงพอได้สติปัญญาขบคิดบ้าง ถ้าแสดงไปเรียบ ๆ ฟังไปเงียบ ๆไม่มีที่สะดุดฉุดใจให้ตื่นเต้นตกใจและกลัวบ้าง ใจคอยแต่จะหลับใน ไม่ค่อยได้อุบายพอเป็นเครื่องส่งเสริมสติปัญญาบ้างเลย กิเลสชนิดต่าง ๆ ที่คอยจะแซงหน้าอยู่แล้ว มักได้โอกาส ออกเพ่นพ่านก่อกวนและรังควานใจ เพราะอุบายไม่ทันกับความฉลาดของมัน เมื่อได้รับอุบายแปลก ๆ จากท่านเพราะการเรียนถามปัญหาเป็นสาเหตุ สติปัญญาก็รู้สึกคึกคักแพรวพราวขึ้นบ้าง ดังนั้นที่หลวงปู่ขาวเรียนถามท่านอาจารย์มั่นแม้จะผิดบ้างถูกบ้าง จึงอยู่ในข่ายที่ควรได้รับประโยชน์จากปัญหาธรรมนั้น ๆ ตามสมควรดังที่เคยได้รับเสมอมา

    ท่านว่าปีจำพรรษากับท่านอาจารย์มั่นปีแรกที่เชียงใหม่ เกิดความปีติยินดีอย่างบอกไม่ถูก สมที่พยายามติดตามท่านมาหลายปี แม้จะได้ฟังโอวาทท่านบ้างในที่ต่าง ๆ ก็เพียงชั่วระยะไม่จุใจ เดี๋ยวก็ถูกท่านขับไล่หนีไปอยู่คนละทิศละทาง เมื่อสบโอกาสวาสนาช่วย ได้จำพรรษากับท่านจริง ๆ ในพรรษานั้น จึงดีใจมากและเร่งความเพียรใหญ่แทบไม่ได้หลับนอน บางคืนประกอบความเพียรตลอดรุ่ง คืนวันหนึ่งจิตสงบรวมลงอย่างเต็มที่ไปพักใหญ่จึงถอนขึ้นมา เกิดความอัศจรรย์ในความสว่างไสวของใจซึ่งไม่เคยเป็นถึงขนาดนั้นมาก่อน ทำให้เพลิดเพลินในธรรมจนสว่างคาตาไม่ได้หลับนอนเลย

    ในคืนวันนั้น พอตื่นเช้าได้เวลาเข้าไปทำข้อวัตรอุปัฏฐากท่านอาจารย์มั่นและขนบริขารท่านลงมาที่ฉัน พอท่านออกจากที่ภาวนา ตาท่านจับจ้องมองดูหลวงปู่ขาวจนผิดสังเกต ท่านเองรู้สึกกระดากอายและกลัวท่านว่าตนทำผิดอะไรไปหรืออย่างไร สักประเดี๋ยวท่านก็พูดออกมาว่า

    ท่านขาวนี้ภาวนาอย่างไร คืนนี้จิตจึงสว่างไสวมากผิดกับที่เคยเป็นมาทุก ๆ คืน นับแต่มาอยู่กับผม ต้องอย่างนี้ซิ จึงสมกับผู้มาแสวงธรรม ทีนี้ท่านทราบหรือยังว่าธรรมอยู่ที่ไหน คืนนี้สว่างอยู่ที่ไหนล่ะท่านขาว

    สว่างอยู่ที่ใจ ครับผม ท่านเรียนตอบ ทั้งกลัวทั้งอายแทบตัวสั่นที่ไม่เคยได้รับคำชมเชยแกมคำซักถามเช่นนั้น

    แต่ก่อนธรรมไปอยู่ที่ไหนเล่า ท่านจึงไม่เห็น นั่นแลธรรม ท่านจงทราบเสียแต่บัดนี้เป็นต้นไป ธรรมอยู่ที่ใจนั้นแล ต่อไปท่านจงรักษาระดับจิตระดับความเพียรไว้ให้ดีอย่าให้เสื่อมได้ นั่นแลคือฐานของจิต ฐานของธรรม ฐานของความเชื่อมั่นในธรรม และฐานแห่งมรรคผลนิพพานอยู่ที่นั่นแล จงมั่นใจและเข้มแข็งต่อความเพียรถ้าอยากพ้นทุกข์ การพ้นทุกข์ต้องพ้นที่นั่นแน่นอนไม่มีที่อื่นเป็นที่หลุดพ้น อย่าลูบคลำให้เสียเวลา เรามิใช่คนตาบอดพอจะลูบคลำ คืนนี้ผมส่งกระแสจิตไปดูท่านเห็นจิตสว่างไสวทั่วบริเวณ กำหนดจิตส่งกระแสไปทีไรเห็นเป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดจนสว่างเพราะคืนนี้ผมมิได้พักนอนเลย.เข้าสมาธิภาวนาไปบ้าง ต้อนรับแขกเทพบ้างกำหนดจิตดูท่านบ้างเรื่อยมาจนสว่างโดยไม่รู้สึกพอออกจากที่จึงต้องมาถามท่าน เพราะอยากทราบเรื่องของหมู่คณะมานาน สบายไหม อัศจรรย์ไหม ทีนี้ ท่าน (พระอาจารย์มั่น) ถาม

    ท่านเล่าว่า ท่านนิ่งไม่กล้าเรียนตอบท่าน เพราะท่านดูตับดูปอดเราจนหมดแล้ว จะเรียนตอบเพื่อประโยชน์อะไร นับแต่วันนั้นมายิ่งกลัวและระวังท่านมากขึ้น แม้แต่ก่อนก็เชื่อท่านว่ารู้จักใจคนอย่างเต็มใจไม่มีทางสงสัยอยู่แล้ว ยิ่งมาโดนเข้าคืนนั้นก็ยิ่งเชื่อ ยิ่งกลัวท่านมากจนพูดไม่ถูก

    นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา ท่านตั้งหลักใจได้อย่างมั่นคงและเจริญยิ่งขึ้นโดยลำดับไม่มีเสื่อมถอยเลย ท่านอาจารย์มั่นก็จี้ใจเราอยู่เสมอ เผลอตัวไม่ได้ เป็นโดนท่านดุทันทีและดุเร็วยิ่งกว่าแต่ก่อน การที่ท่านช่วยจี้ช่วยเตือนเรื่อยมานั้น ความจริงท่านช่วยรักษาจิตรักษาธรรมให้เรา กลัวจะเสื่อมไปเสีย นับแต่นั้นมาก็ได้จำพรรษากับท่านเรื่อยมา พอออกพรรษาแล้วก็ออกเที่ยวบำเพ็ญในที่ต่าง ๆ ที่เห็นว่าสะดวกแก่ความเพียร ท่านอาจารย์เองก็ไปอีกทางหนึ่งโดยลำพัง ท่านไม่ชอบให้พระติดตาม ต่างองค์ต่างแยกกันไปตามอัธยาศัย เมื่อเกิดข้อข้องใจค่อยไปเรียนลามเพื่อท่านชี้แจงแก้ไขให้เป็นพัก ๆ ไป

    ความเพียรทางใจของหลวงปู่ขาวนับวันเจริญก้าวหน้า สติปัญญาค่อยแตกแขนงออกไปโดยสม่ำเสมอ จนกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับใจ อิริยาบถต่าง ๆ เป็นอยู่ด้วยความเพียร มีสติกับปัญญาเป็นเพื่อนสอนในการประกอบความเพียร จิตใจรู้สึกอาจหาญชาญชัย ไม่หวั่นเกรงต่ออารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกและแน่ใจต่อทางพ้นทุกข์ ไม่สงสัยแม้ยังไม่หลุดพ้น

    เวลาท่านไม่สบายอยู่ในป่าอยู่ในเขา ท่านไม่ค่อยสนใจกับหยูกยาอะไรเลยยิ่งไปกว่าการระงับด้วยธรรมโอสถ ซึ่งได้ผลทั้งทางร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กันและยึดเป็นหลักใจระลึกไว้ได้นานกว่าธรรมดา ท่านเคยระงับได้ด้วยวิธีภาวนามาหลายครั้ง จนเป็นที่มั่นใจต่อการพิจารณาเวลาไม่สบาย เริ่มแต่จิตเป็นสมาธิคือมีความสงบเย็นใจ เวลาเป็นไข้ทีไร ท่านต้องตั้งหน้าสู้ตายกับการภาวนาด้วยความมั่นใจที่เคยเห็นผลประจักษ์มาแล้ว

    แรก ๆ ได้อาศัยท่านอาจารย์มั่นคอยให้อุบายเสมอในเวลาเป็นไข้ โดยยกเรื่องท่านขึ้นเป็นพยานว่า ท่านจะได้กำลังใจสำคัญ ๆ ทีไร ต้องได้จากการเจ็บป่วยแทบทั้งสิ้น เจ็บหนัก ป่วยหนักเท่าไร สติปัญญายิ่งหมุนตัวดีและรวดเร็วไปกับเหตุการณ์นั้น ๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาเจ็บป่วย โดยไม่ต้องถูกบังคับให้พิจารณาและไม่สนใจกับความหมายหรือความตายอะไรเลย นอกจากจะพยายามให้รู้ความจริงของทุกขเวทนาทั้งหลายที่เกิดขึ้นและโหมเข้ามาในเวลานั้น ด้วยสติปัญญาที่เคยฝึกหัดอยู่เป็นประจำจนชำนิชำนาญ
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย

    บางครั้งท่านอาจารย์มั่นมาเตือนขณะเป็นไข้ เป็นเชิงปัญหาเหน็บ ๆ ว่า
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: #fffff5; BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" bgColor=#fffff5><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" height="100%" vAlign=top width=591>ท่านเคยคิดไหมว่า ท่านเคยทุกข์ก่อนจะตาย ทุกข์มากยิ่งกว่าทุกข์ที่กำลังเป็นอยู่ขณะนี้ในภพชาติที่ผ่าน ๆ มา เพียงทุกข์ในเวลาเป็นไข้ธรรมดา ซึ่งโลก ๆ เขาก็ได้เรียนธรรมเขายังพออดทนได้ บางรายเขายังมีสติดีมีมรรยาทงามกว่าพระเราเสียอีก คือเขาไม่แสดงอาการทุรนทุรายกระสับกระส่าย ร้องครางทึ้งเนื้อทึ้งตัว เหมือนพระบางองค์ที่แย่ ๆ สิ่งไม่น่าจะมีแฝงอยู่ในวงพุทธศาสนาเลย และไม่น่าจะมีเพราะจะทำศาสนาให้เปื้อนเปรอะไปด้วย แม้เจ็บมากทุกข์มากเขายังมีสติควบคุมมรรยาทให้อยู่ในความพอดีงามตาได้อย่างน่าชม

    ผมเคยเห็นฆราวาสป่วยมาแล้ว โดยลูก ๆ เขามานิมนต์ผมเข้าไปเยี่ยมพ่อเขา เวลาจวนตัวจะไปไม่รอด พ่อเขาอยากพบเห็นและกราบไหว้ในวาระสุดท้ายพอเป็นขวัญใจระลึกได้ เวลาจะแตกดับจริง ๆ ขณะเราเข้าถึงบ้าน พ่อเขาพอมองเห็นเรากำลังก้าวเข้าไปที่เตียงนอนเท่านั้น ทั้งที่กำลังป่วยหนัก ปกติลุกนั่งคนเดียวไม่ได้ต้องช่วยพยุงกัน แต่ขณะนั้นเขายังสามารถลุกพรวดพราดขึ้นคนเดียวได้ด้วยสีหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใสเต็มที่ ไม่มีอาการไข้และป่วยหนักใด ๆ ปรากฏเหลืออยู่พอให้ทราบได้ว่าเขาป่วยหนักเลย ทั้งกราบทั้งไหว้ด้วยความรื่นเริงบันเทิงในจิตใจและมรรยาทที่อ่อนน้อมสวยงาม จนใคร ๆ ในบ้านเกิดพิศวงงงงันไปตาม ๆ กันว่า เขาลุกขึ้นมาโดยลำพังคนเดียวได้อย่างไร เมื่อปกติแม้จะพลิกตัวเปลี่ยนการนอนท่าต่าง ๆ ก็ได้ช่วยกันอย่างเต็มไม้เต็มมือ เพราะความระมัดระวังกลัวจะถูกกระทบกระเทือนมากและอาจสลบหรือตายไปเสียในขณะนั้นแต่พอเห็นท่านเข้ามากลับเป็นคนใหม่ขึ้นมาจากคนไข้ที่จวนจะตายอยู่แล้ว จึงอัศจรรย์ไม่เคยเห็นดังนี้ และชาวบ้านพูดกับผมว่า เขาตายไปหลังจากเวลาที่ผมออกมาไม่นานนักเลย ด้วยความมีสติตลอดเวลาสิ้นลมหายใจ และไปอย่างสงบประสบสุคโตไม่ผิดพลาด

    ส่วนท่านเองไม่เห็นเป็นไข้หนักถึงขนาดนั้น ทำไมนอนใจไม่พิจารณา หรือมันหนักด้วยความอ่อนแอทับถมจิตใจ จึงทำให้ร่างกายอ่อนเปียกไปด้วย พระกรรมฐานถ้าขืนเป็นกันลักษณะนี้มาก ๆ ศาสนาต้องถูกตำหนิ กรรมฐานต้องล่มจม ไม่มีใครสามารถทรงไว้ได้เพราะมีแต่คนอ่อนแอ กรรมฐานอ่อนแอ คอยแต่ขึ้นเพียงให้กิเลสมันสับเอายำเอา สติปัญญาพระพุทธเจ้าท่านมิได้ประทานไว้สำหรับคนขี้เกียจอ่อนแอโดยนอนเฝ้านั่งเฝ้าไข้อยู่เฉย ๆ ไม่คิดค้นพิจารณาด้วยธรรมดังกล่าวเลย

    การหายไข้หรือทางตายของผู้อ่อนแอไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย สู้หนูตายตัวเดียวก็ไม่ได้ ท่านอย่านำลัทธิและวิชาหมูนอนคอยเขียงอยู่เฉย ๆ มาใช้ในวงศาสนาและวงพระกรรมฐาน ผมอายฆราวาสผู้เขาดีกว่าพระและอายหนูตัวที่ตายแบบเรียบ ๆ ซึ่งดีกว่าพระที่เป็นไข้แล้วอ่อนแอและตายไปด้วยความไม่มีสติปัญญารักษาตัว

    ท่านลองพิจารณาดูว่าสัจธรรมมีทุกขสัจเป็นต้น ที่ปราชญ์ท่านว่าเป็นธรรมของจริงสุดส่วน นั้นจริงอย่างไรบ้าง และจริงอยู่ที่ไหนกันแน่ หรือจริงอยู่ที่ความประมาทอ่อนแอ ดังที่พากันเสริมสร้างอยู่เวลานี้ นั่นคือการเสริมสร้างสมุทัยทับลมจิตใจให้โงหัวไม่ขึ้นต่างหาก มิได้เป็นทางมรรค เครื่องนำให้หลุดพ้นแต่อย่างใดเลย

    ผมที่กล้ายืนยันว่าเคยได้กำลังใจในเวลาป่วยหนักนั้น ผมพิจารณาทุกข์ที่เกิดกับตัว จนเห็นสถานที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ และดับไปของมันอย่างชัดเจนด้วยสติปัญญาจริง ๆ จิตที่รู้ความจริงของทุกข์แล้วก็สงบตัวลงไม่แสดงการส่ายแส่แปรสภาพไปเป็นอื่น นอกจากดำรงตนอยู่ในความจริงและเป็นหนึ่งอยู่เพียงดวงเดียว ไม่มีอะไรมารบกวนลวนลามเท่านั้น ไม่เห็นความแปลกปลอมใด ๆ เข้ามาเคลือบแฝงได้เลย ทุกขเวทนาก็ดับสนิทลงในเวลานั้น แม้ไม่ดับก็ไม่สามารถทับจิตใจเราได้ คงต่างอันต่างจริงอยู่เพียงเท่านั้น นี่แลที่ว่าสัจธรรมเป็นของจริงสุดส่วน จริงอย่างนี้เองท่าน คือท่านอยู่ที่จิตดวงมีสติปัญญารอบตัวเพราะการพิจารณา มิใช่เพราะอ่อนแอ เพราะนั่งทับนอนทับสติปัญญาเครื่องมือที่ทันกันกับทางแก้กิเลสอยู่เฉย ๆ

    ผมจะเปรียบเทียบให้ท่านฟัง หินนั้นปาหัวคนก็แตก ทับหัวคนก็ตายได้แต่นำมาทำประโยชน์เช่นเป็นหินลับมีดหรืออะไร ๆ ก็ได้ ตามแต่คนโง่จะนำมาทำลายสังหารตน หรือคนฉลาดจะนำมาทำเป็นหินลับมีดหรืออื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่ตนตามต้องการ สติปัญญาก็เช่นกัน จะนำไปใช้ในทางผิดคิดไตร่ตรองในทางไม่ชอบ ฉลาดประกอบอาชีพในทางผิด เช่น ฉลาดหาอุบายฉกลักปล้นจี้เขา เร็วยิ่งกว่าลิงจนตามไม่ทัน ก็ย่อมเกิดโทษเพราะนำสติปัญญาไปใช้ในทางที่ผิด จะนำสติปัญญามาใช้เป็นการอาชีพในทางที่ถูก เช่น คิดปลูกบ้านสร้างเรือน เป็นช่างไม้ช่างเขียนช่างแกะลวดลายต่าง ๆ เป็นต้น หรือจะนำมาใช้แก้กิเลสตัณหาตัวเหนียวแน่นแก่นวัฏฏะ ที่พาให้เวียนเกิดเวียนตายอยู่ ไม่หมดจนหมดสิ้นไปจากใจ กลายเป็นความบริสุทธิ์ถึงวิมุตติพระนิพพานทั้งเป็น ในวันนี้ เดือนนี้ ปีนี้ ชาตินี้ ก็ไม่เหลือวิสัยของมนุษย์จะทำได้ ดังที่ท่านผู้ฉลาดทำได้กันมาแล้ว แต่ต้นพุทธกาลจนถึงปัจจุบันคือวันนี้

    ปัญญาย่อมอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้สนใจใคร่ครวญไม่มีทางสิ้นสุด.เพราะสติกับปัญญาไม่เคยจนตรอกหลอกตัวเองแต่ไหนแต่ไรมา พอจะทำให้กลัวว่า ตนจะมีสติปัญญามากเกินไป จะกลายเป็นคนดีซ่านผลาญธรรมประคองตัวไปไม่รอด และจอดจมในกลางคัน

    สติปัญญานี้ ปราชญ์ท่านชมว่า เป็นสิ่งที่เยี่ยมยอดอย่างออกหน้าออกตาแต่ดึกดำบรรพ์มาไม่เคยล้าสมัย ท่านจึงควรคิดค้นสติปัญญาขึ้นมาเป็นเครื่องป้องกันและทำลายข้าศึกอยู่ภายในให้สิ้นซากไป จะเห็นใจดวงประเสริฐว่ามีอยู่กับตัวแต่ไหนแต่ไรมา

    การสอนท่านด้วยธรรมเหล่านี้ ล้วนเป็นธรรมที่ผมเคยพิจารณาและได้ผลมาแล้ว มิได้สอนแบบสุ่มเดาเกาหาที่คันไม่ถูก แต่สอนตามที่รู้ที่เห็นที่เคยเป็นมาไม่สงสัย ใครที่อยากพ้นทุกข์ แต่กลัวทุกข์ที่เกิดขึ้นกับตนไม่ยอมพิจารณา ผู้นั้นไม่มีวันพ้นทุกข์ไปได้ เพราะทางไปนิพพานต้องอาศัยทุกข์กับสมุทัยเป็นที่เหยียบย่างไปด้วยมรรคเครื่องดำเนิน พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ทุก ๆ พระองค์ ท่านสำเร็จมรรคผลนิพพานด้วยสัจธรรมสี่กันทั้งนั้น ไม่ยกเว้นแม้องค์เดียว ว่าไม่ได้ผ่านสัจธรรมสี่โดยสมบูรณ์

    ก็เวลานี้มีสัจจะใดบ้างที่กำลังประกาศความจริงของตนอยู่ในกายในใจท่านอย่างเปิดเผย ท่านจงพิจารณาสัจจะนั้นด้วยสติปัญญาให้รู้แจ้งตามความจริงกองสัจจะนั้น ๆ อย่านั่งเข้านอนเฝ้ากันอยู่เฉย ๆ จะกลายเป็นโมฆบุรุษในวงสัจธรรม ซึ่งเคยเป็นของจริงมาดั้งเดิม

    ถ้าพระธุดงคกรรมฐานเราไม่สามารถอาจรู้ความจริงที่ประกาศอยู่กับตนอย่างเปิดเผยได้ ก็ไม่มีใครจะสามารถอาจรู้ได้ เพราะวงพระกรรมฐานเป็นวงที่ใกล้ชิดสนิทกับสัจธรรมอยู่มากกว่าวงอื่น ๆ ที่ควรจะรู้เห็นได้ก่อนใครหมด วงนอกจากนี้แม้จะมีสัจธรรมประจำกายประจำใจด้วยกันก็จริง แต่ยังห่างเหินต่อการพิจารณาอันเป็นทางรู้แจ้งผิดกัน เนื่องจากเพศ และโอกาสที่จะอำนวยต่างกัน เฉพาะพระธุดงคกรรมฐานซึ่งพร้อมทุกอย่างแล้วในการดำเนินและเดินก้าวเข้าสู่ความจริงที่ประกาศอยู่กับตัวทุกเวลา ถ้าท่านเป็นเลือดนักรบสมนามที่ศาสดาทรงขนานให้ว่าศากยบุตรพุทธชิโนรสจริง ๆ แล้ว ท่านจงพยายามพิจารณาให้รู้แจ้งสัจจะคือทุกขเวทนาที่กำลังประกาศตัวอยู่อย่างโจ่งแจ้งเปิดเผยในกายในใจท่านเวลานี้ อย่าปล่อยให้ทุกขเวทนาเหยียบย่ำทำลายและกาลเวลาผ่านไปเปล่า

    ขอให้ยึดความจริงจากทุกขเวทนาขึ้นสู่สติปัญญา และตีตราประกาศฝังใจลงอย่างแน่นหนา แต่บัดนี้เป็นต้นไปว่า ความจริงสี่อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้ตลอดมานั้น บัดนี้ทุกขสัจได้แจ้งประจักษ์กับสติปัญญาเราแล้วไม่มีทางสงสัย นอกจากจะพยายามเจริญให้ความจริงนั้น ๆ เจริญยิ่งขึ้นโดยลำดับ จนหายสงสัยโดยสิ้นเชิงเท่านั้น

    ถ้าท่านพยายามดังที่ผมสั่งสอนนี้แม้ไข้ในกายท่านจะกำเริบรุนแรงเพียงไร ท่านเองจะเป็นเหมือนคนมิได้เป็นอะไร คือใจท่านมิได้ไหวหวั่นสั่นสะเทือนไปตามอาการแห่งความสุขความทุกข์ที่เกิดขึ้นในกายนั่นเลย มีแต่ความภาคภูมิใจที่สัมผัสสัมพันธ์กับความที่ได้รู้แล้วเห็นแล้วโดยสม่ำเสมอ ไม่แสดงอาการลุ่ม ๆ ดอน ๆ เพราะไข้กำเริบหรือไข้สงบตัวลงแต่อย่างใด

    นี่แลคือการเรียนธรรมเพื่อความจริง ปราชญ์ท่านเรียนกันอย่างนี้ ท่านมิได้ไปปรุงแต่งเวทนาต่าง ๆ ให้เป็นไปตามความต้องการ เช่นอยากให้เป็นอย่างนั้น อยากให้เป็นอย่างนี้ตามชอบใจ ซึ่งเป็นการสั่งสมสมุทัยให้กำเริบรุนแรงยิ่งขึ้น แทนที่จะเป็นไปตามใจชอบ ท่านจงจำไว้ให้ถึงใจ พิจารณาให้ถึงอรรถถึงธรรม คือความจริงที่มีอยู่กับท่านเอง ซึ่งเป็นฐานะที่ควรรู้ได้ด้วยตนเองแต่ละราย ๆ ผมเป็นเพียงผู้แนะอุบายให้เท่านั้น ส่วนความเก่งกาจอาจหาญ หรือความล้มเหลวใด ๆ นั้นขึ้นอยู่กับผู้พิจารณาโดยเฉพาะ ผู้อื่นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

    เอานะท่าน จงทำให้สมหน้าสมตาที่เป็นลูกศิษย์มีครูสั่งสอน อย่านอนเป็นที่เช็ดเท้าให้กิเลสขึ้นย่ำยีตีแผ่ได้ จะแย่และเดือดร้อนในภายหลัง จะว่าผมไม่บอก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย

    ท่านเล่าว่า พอท่าน (พระอาจารย์มั่น) เทศน์ให้เราแบบพายบุแคมอยู่พักใหญ่แล้วก็หนีไป เราเองรู้สึกตัวจะลอยเพราะความปีติยินดีและตื่นเต้นในโอวาทที่ฉลาดแหลมคม และออกมาจากความเมตตาท่านล้วน ๆ ไม่มีอะไรจะมีคุณค่าเสมอเหมือนได้ในเวลานั้น พอท่านไปแล้วเท่านั้น เราเองก็น้อมอุบายที่ท่านเมตตาสั่งสอนเข้าพิจารณาแก้ทุกขเวทนาที่กำลังแสดงตัวอยู่เต็มความสามารถ โดยไม่มีความย่อท้ออ่อนแอแต่อย่างใดเลย ขณะพิจารณาทุกขเวทนาหลังจากท่านไปแล้ว ราวกับท่านนั่งคอยดูและคอยให้อุบายช่วยเราอยู่ตลอดเวลา ยิ่งทำให้มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับทุกข์มากขึ้น

    ขณะพิจารณานั้นได้พยายามแยกทุกข์ออกเป็นขันธ์ ๆ คือ แยกกายและอาการต่าง ๆ ของกายออกเป็นขันธ์หนึ่ง แยกสัญญา ที่คอยมั่นหมายหลอกลวงเรา ออกเป็นขันธ์หนึ่ง แยกสังขารคือความคิดปรุงต่าง ๆ ออกเป็นขันธ์หนึ่ง และ แยกจิตออกเป็นพิเศษส่วนหนึ่ง แล้วพิจารณาเทียบเคียงหาเหตุผลบั้นปลายของตัวทุกข์ ที่กำลังแสดงอยู่ในกายอย่างชุลมุนวุ่นวาย โดยมิได้มีกำหนดว่าทุกข์จะดับ เราจะหาย หรือทุกข์จะกำเริบ เราจะตาย แต่สิ่งที่หมายมั่นปั้นมือจะให้รู้ตามความม่งหมายเวลานั้น คือความจริงของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เฉพาะที่อยากรู้มากในเวลานั้นคือ ทุกขสัจ ว่าเป็นอะไรกันแน่ ทำไมจึงมีอำนาจมาก สามารถทำจิตใจของสัตว์โลก ให้สะเทือนหวั่นไหวได้ทุกตัวสัตว์ ไม่ยกเว้นว่าเป็นใครเอาเลย ทั้งเวลาทุกข์แสดงขึ้นธรรมดาเพราะความกระทบกระเทือนจากเหตุต่าง ๆ ทั้งแสดงขึ้นในวาระสุดท้ายตอนจะโยกย้ายภพภูมิไปสู่โลกใหม่ ภูมิใหม่ สัตว์ทุกถ้วนหน้ารู้สึกหวั่นเกรงกันนักหนา ไม่มีรายใดหาญสู้หน้ากล้าเผจญ นอกจากทนอยู่ด้วยความหมดหนทางเท่านั้น ถ้าสามารถหลบหลีกได้ก็น่าจะหลบไปอยู่คนละมุมโลกเพราะความกลัวทุกข์ตัวเดียวนี้เท่านั้น เราเองก็นับเข้าในจำนวนสัตว์โลกผู้ขี้ขลาดหวาดกลัวทุกข์ จะปฏิบัติตัวอย่างไรกับทุกข์ที่กำลังแสดงอยู่นี้ จึงจะเป็นผู้องอาจกล้าหาญด้วยความจริงเป็นพยาน

    เอาละเราต้องสู้กับทุกข์ด้วยสติปัญญาตามทางศาสดาและครูอาจารย์สั่งสอนไว้ เมื่อสักครู่นี้ ท่านอาจารย์มั่นท่านก็ได้เมตตาสั่งสอนอย่างตั้งใจ ไม่มีทางสงสัย ท่านสอนว่าให้สู้ด้วยสติปัญญา โดยแยกแยะขันธ์นั้น ๆ ออกดูอย่างชัดเจน ก็เวลานี้ทุกขเวทนาเป็นขันธ์อะไร เป็นรูป เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณและเป็นจิตได้ไหม? ถ้าเป็นไม่ได้ ทำไมเราจึงเหมาเอาทุกขเวทนาว่าเป็นเรา เป็นเราทุกข์ เราจริง ๆ คือทุกขเวทนานี้ละหรือ หรืออะไรกันแน่ ต้องให้ทราบความจริงกันในวันนี้ ถ้าเวทนาไม่ดับ และเราไม่รู้แจ้งทุกขเวทนาด้วยสติปัญญาอย่างจริงใจ แม้จะตายไปกับที่นั่งภาวนานี้เราก็ยอม แต่จะไม่ยอมลุกจากที่ ให้ทุกขเวทนาหัวเราะเย้ยหยันเป็นอันขาด นับแต่ขณะนั้นสติปัญญาทำการแยกแยะห้ำหั่นกันอย่างเอาเป็นเอาตายเข้าว่า ระหว่างสงครามของจิตกับทุกขเวทนาต่อสู้กันอยู่เวลานั้น กินเวลาห้าชั่วโมง จึงได้รู้ความจริงจากขันธ์แต่ละขันธ์ได้ เฉพาะอย่างยิ่ง รู้เวทนาขันธ์อย่างชัดเจนด้วยปัญญา ทุกขเวทนาดับลงในทันทีที่พิจารณารอบตัวเต็มที่

    ท่านว่าท่านได้เริ่มเชื่อสัจธรรมมีทุกขสัจ เป็นต้นว่าเป็นของจริงแต่บัดนั้นมาอย่างไม่หวั่นไหวแต่นั้นมาเวลาเกิดเจ็บไข้ได้ป่วยต่าง ๆ ขึ้นมา ใจมีทางต่อสู้กันกับทุกขเวทนาเพื่อชนะทางสติปัญญา ไม่อ่อนแอปวกเปียก ใจมักได้กำลังในเวลาเจ็บป่วยเพราะเป็นเวลาเอาจริงเอาจัง เอาเป็นเอาตายกันจริง ๆ ธรรมที่เคยถือเป็นของเล่นโดยไม่รู้สึกตัวมาประจำนิสัยปุถุชนในเวลาธรรมดาไม่จนตรอก ก็แสดงความจริงให้เห็นชัดในเวลานั้น ขณะพิจารณาทุกขเวทนารอบแล้วทุกข์ดับไป ใจก็รวมลงถึงฐานของสมาธิ หมดปัญหาต่าง ๆ ทางกายทางใจไปพักหนึ่ง จนกว่าจิตถอนขึ้นมา ซึ่งกินเวลาหลายชั่วโมง มีอะไรค่อยพิจารณากันต่อไปอีก ด้วยความอาจหาญต่อความจริงที่เคยเห็นมาแล้ว

    ท่านว่าเมื่อจิตรวมลงถึงฐานสมาธิเพราะอำนาจการพิจารณาแล้ว ไข้ได้หายไปแต่บัดนั้นไม่กลับมาเป็นอีกเลย จึงเป็นที่น่าประหลาดใจว่าเป็นไปได้อย่างไร ข้อนี้สำหรับผู้เขียนเชื่อทั้งร้อยไม่คัดค้าน เพราะเคยพิจารณาแบบเดียวกันนี้มาบ้างแล้ว ผลก็เป็นแบบเดียวกับที่ท่านพูดให้ฟังไม่มีผิดกันเลย จึงทำให้สนิทใจตลอดมาว่าธรรมโอสถสามารถรักษาโรคได้อย่างลึกลับ และประจักษ์กับท่านผู้ปฏิบัติที่มีนิสัยในทางนี้ โดยมากพระธุดงคกรรมฐานท่านชอบพิจารณาเยียวยาธาตุขันธ์ของท่านเวลาเกิดโรคภัยไข้เจ็บอย่างเงียบ ๆ โดยลำพังไม่ค่อยระบายให้ใครฟังง่าย ๆ นอกจากวงปฏิบัติด้วยกันและมีนิสัยคล้ายคลึงกัน ท่านจึงสนทนากันอย่างสนิทใจ ที่ว่าท่านบำบัดโรคด้วยวิธีภาวนานั้น มิได้หมายความว่าบำบัดได้ทุกชนิดไป แม้ท่านเองก็ไม่แน่ใจว่าโรคชนิดใดบำบัดได้ และโรคชนิดใดบำบัดไม่ได้ แต่ท่านไม่ประมาทในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวท่าน ถึงร่างกายจะตายไปเพราะโรคในกาย แต่โรคในจิตคือกิเลสอาสวะต่าง ๆ ก็ต้องให้ตายไปด้วยอำนาจธรรมโอสถท่านบ้างเหมือนกัน ฉะนั้น การพิจารณาโรคต่าง ๆ ทั้งโรคในกายและโรคในใจท่านจึงมิได้ลดละทั้งสองทาง โดยถือว่าเป็นกิจจำเป็นระหว่างขันธ์ กับจิตจำต้องพิจารณาและรับผิดชอบกันจนวาระสุดท้าย

    คราวท่านจำพรรษาที่วัดป่าบ้านโป่ง อ.สันมหาพล จ.เชียงใหม่ พรรษานั้นท่านเร่งความพากเพียรในท่าและอิริยาบถต่าง ๆ มากกว่าพรรษาก่อน ๆ ซึ่งเคยเข้าใจว่ามีความเพียรดี แต่พรรษานี้มีพิเศษไปกว่าพรรษาที่แล้ว ๆ มา โดยมีอิริยาบถ 3 ด้วยการประกอบความเพียรถ่ายเดียว คือ ยืน เดิน นั่ง ทำความเพียร ไม่ยอมนอนหากจะมีหลับบ้างก็ให้หลับในท่านั่งทำสมาธิภาวนาขณะที่ธาตุขันธ์เพียบเต็มที่ตามสภาพของมันที่ทนทานต่อการไม่ยอมหลับเลยไปไม่ไหว ซึ่งเป็นเวลาที่สติอ่อนตัวลง แต่ไม่ยอมทอดธุระต่อการหลับนอนดังที่เคยเป็นมาในอิริยาบถ 4 ทั้งนี้เพราะเห็นผลประจักษ์ใจทั้งด้านสมาธิและด้านปัญญา ว่าใจมีความสงบแนบแน่น ปัญญามีความละเอียดแหลมคมและคล่องตัวกว่าความเพียรที่ดำเนินไปตามปกติธรรมดา จึงทำให้มีกำลังใจในการประคองความเพียรในท่าอิริยาบถ 3 ตลอดพรรษา โดยไม่ยอมเอนกายล้มตัวลงหลับนอนเลย ถ้าจะพูดตามภาษานักต่อสู้เพื่อเอาแพ้เอาชนะกันระหว่างกิเสสตัวเห็นแก่เสื่อแก่หมอน นอนทอดอาลัยตายอย่างแบบคนสิ้นท่า ลำตัวยาวเหยียดเหมือนงู กับศรัทธาธรรม วิริยธรรม สติธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรม แล้วก็ว่ากิเลสตัวดึงดูดพระลงเสื่อลงหมอน ต้องทนอดอาหาร (เนื้อพระอร่อยสำหรับกิเลส) ท้องแฟบไปสามเดือน พลธรรมทั้งห้าดังกล่าวแล้วได้โอกาสก้าวเดินตามวิถีทางของศาสดา มองเห็นชัยชนะจากการต่อสู้ด้วยความเพียรในท่าอิริยาบถ 3 ไม่ห่างไกลจากตัวเลย ราวกับจะได้จะถึงธรรมอยู่ทุกอิริยาบถ พอให้เกิดกำลังใจในความเพียรอยู่ตลอดเวลา ร่างกายก็เบา ใจก็เบา ด้วยธรรมประเภทต่าง ๆ ความเพียรก็เบาในการเคลื่อนไหวเพื่อต่อยุทธกับกิเลส ไม่สะทกสะท้านต่อความทุกข์ความลำบากในการต่อสู้กับกิเลสที่เห็นว่าเป็นข้าศึกอย่างถึงใจ

    ในคืนวันหนึ่งขณะนั่งสมาธิภาวนา จิตสงบลงอย่างละเอียดถึงฐานสมาธิและพักอยู่เป็นเวลานานพอสมควรแล้วลองออกมาอยู่ขั้นอุปจารสมาธิ จิตปรากฏนิมิตเป็นแผ่นดินไหวหมุนเป็นกงจักร จิตเพ่งพินิจเท่าไรนิมิตนั้นยิ่งหมุนเร็วราวกับฟ้าดินจะถล่มในขณะนั้น ในความรู้สึกปรากฏว่าตัวเหาะลอยไปตามแผ่นดิน โดยมิได้ก้าวเดินเลย ขณะที่กายในนิมิตเหาะลอยอยู่นั้น คล้ายกับเหาะลอยไปมาอยู่บนทางจงกรมที่เจ้าของเคยเดินในเวลาปกติ เหาะลอยไปมาอยู่หลายตลบจึงหยุด และปรากฏแสงสว่างขึ้นในขณะที่กายหยุดเหาะลอย แสงสว่างในนิมิตนั้นปรากฏว่ามาจากบนท้องฟ้าส่องสว่างเข้าในดวงใจท่าน ทำให้มองเห็นอวัยวะส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายได้อย่างชัดเจนและเพลินในการพิจารณาดูร่างกายส่วนต่าง ๆ ด้วยอสุภกรรมฐานและไตรลักษณ์อยู่เป็นเวลานาน ใจมีความยิ้มแย้มแจ่มกระจ่างด้วยปัญญา ศรัทธา อุตสาหะอย่างแรงกล้า อุบายต่าง ๆ อันเป็นเครื่องถอดถอนกิเลสประเภทต่าง ๆ เกิดขึ้นโดยสม่ำเสมอ นับว่าในพรรษานั้นใจมีกำลังมาก รู้เห็นได้อย่างเด่นชัด ไม่มีความอับเฉาเศร้าใจเข้ารบกวนดังที่เคยเป็นบ่อยในกาลที่แล้ว ๆ มา มีแต่ความมั่นคงทางสมาธิและความแยบคายและคล่องตัวทางสติปัญญาเป็นคู่มิตรแห่งความเพียรประจำใจ ในอิริยาบถต่าง ๆระหว่างจิตกับสติปัญญาอันเป็นลักษณะความเพียรอัตโนมัติเริ่มปรากฏตัวอย่างเด่นชัดภายในจิต อิริยาบถทั้งสี่เว้นแต่ขณะหลับ จิตอยู่ในท่าแห่งความเพียรโดยสม่ำเสมอไม่ถูกบังคับขู่เข็ญเหมือนแต่ก่อน ซึ่งจำต้องบังคับถูไถกันเป็นประจำ ไม่งั้นกิเลสนำขึ้นเขียงชนิดตามยื้อแย่งไม่ทันเลย เพราะระยะนั้นกิเลสคล่องตัวรวดเร็วแหลมคมกว่าธรรม มีสติธรรม ปัญญาธรรม วิริยธรรมเป็นต้นเป็นไหน ๆ ใครจึงไม่ควรอวดตัวว่าเก่งกล้าสามารถขนาดจิตที่อยู่เพียงสมาธิความสงบเท่านั้น แม้จิตสงบก็ยังตกอยู่ในอำนาจเพลงกล่อมของกิเลส ให้ติดในสมาธิไม่สนใจออกพิจารณาทางด้านปัญญาอันเป็นอุบายถอดถอนมันออกจากใจจนได้ ต่อเมื่อปัญญาเคลื่อนย้ายออกทำงาน การรบการต่อสู้กับกิเลสประเภทต่าง ๆ และได้ชัยชนะไปโดยลำดับไม่อับจนอย่างง่ายดายนั่นแล จึงจะเริ่มรู้เพลงกล่อมของกิเลสชนิดต่าง ๆ ได้โดยลำดับว่า ไพเราะเพราะพริ้งอ้อยอิ่งน่าติดจมอยู่กับมันจริง ๆ ดังนั้นสัตว์โลกจึงไม่เบื่อเพลงกล่อมชนิดต่าง ๆ ของกิเลสกัน แม้จะกล่อมซ้ำซากให้รัก ให้ชัง ให้เกลียด ให้โกรธ ให้โลภมาก ให้อยากหิวโหยและเกิดความอิดโรยและทนทุกข์ทรมานมากน้อย กี่ร้อย กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้านและกี่ล้าน ๆ ครั้ง ก็ไม่เคยเบื่อหน่ายอิ่มพอและเห็นโทษแห่งเพลงกล่อมของมันบ้างเลย จะมีบ้างราวกับฟ้าแลบ ก็ตอนได้รับความทุกข์ทรมานมาก จนตรอกซอกมุม จนหาทางออกไม่ได้จริง ๆ นั่นแล จากนั้นก็ถูกกล่อมให้เคลิ้มหลับไปอีกไม่มีวันตื่น พอเห็นโทษของมันบ้างเลย

    ความเพียรขั้นนี้เริ่มเป็นความเพียรรุก ความเพียรรบ ความเพียรตีตลบ หลายสันหลายคม เพื่อเข่นฆ่ากิเลสไปโดยลำดับ ไม่อับเฉาเมามัวมั่วสุมกับกิเลสว่าเป็นมิตรเป็นสหาย และมอบเป็นมอบตายกับมันเหมือนแต่ก่อนที่ธรรมาวุธ มีสติปัญญาเป็นต้น ยังไม่อาจหาญเทรียงไกร ระยะนี้ธรรมาวุธทุกประเภททุกขนาดเริ่มเกรียงไกรฉายแสงแพรวพราวออกมาแล้ว สนุกขุดค้นหยิบยกขึ้นห้ำหั่นกับกิเลสชนิดต่าง ๆ อย่างไม่อั้น ไม่ออมแรง ความมุ่งมั่นต่อแดนพ้นทุกข์นับวันมีกำลังกล้าถึงขนาดเร่งความเพียรชนิดกล้าเป็นกล้าตาย ใครดีใครอยู่ ใครไม่ดีจงบรรลัย ไม่มีคำว่าเสียดายป่าช้าการเกิดตายซึ่งเป็นขวากหนามที่กิเลสปักเสียบไว้ ใจดวงที่กิเลสเคยเป็นเจ้าอำนาจครอบครองมานานแสนนานจะไม่ยอมปล่อยให้มันครอบครองอีกต่อไป ต้องเป็นวิสุทธิธรรมอันประเสริฐเลิศเลอเท่านั้นครอบครองใจ ที่จะยอมให้กิเลสวัฏจักรก็ครองใจ ธรรมก็ครองใจ แต่ถูกขับไล่ให้พ่ายแพ้แก่กิเลสอยู่ร่ำไปดังที่เป็นมาแล้วนั้นจะไม่ยอมให้มีในใจดวงนี้ได้อีก อย่างไรต้องปราบวัฏจักรวัฏจิตให้บรรลัยลงจากใจภพนี้และในไม่ช้านี้ ด้วยธรรมาวุธอันทันสมัยอย่างไม่สงสัย
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย

    พอออกพรรษาแล้วท่านก็ออกเที่ยวธุดงคกรรมฐานไปตามอัธยาศัย ท่านเล่าว่าท่านไปพักอยู่หมู่บ้านป่าใน จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีกุฎีเล็กเพื่อบำเพ็ญภาวนาอยู่หลังหนึ่ง เพราะที่นั่นเคยเป็นที่พักบำเพ็ญของพระธุดงคกรรมฐานมาก่อน เห็นว่าสงัดดีและห่างจากหมู่บ้านพอประมาณ ท่านจึงเข้าพักบำเพ็ญที่นั่น วันหนึ่งตอนกลางวันฝนตกหนักไม่อาจลงเดินจงกรมได้ ท่านจึงปิดประตูหน้าต่างฝาแถบ (ฝาขัดแตะ) นั่งภาวนาอยู่ในกุฎีนั้นซึ่งมีพื้นสูงพอประมาณ ขณะที่นั่งพิจารณาธรรมทั้งหลายอยู่ ปรากฏเสมือนมีท่อไฟแทงขึ้นมาที่ก้นท่าน ร้อนแปลบ ๆ หยุดไปแล้วก็ร้อนขึ้นมาอีกท่านจึงย้อนมาพิจารณาว่าคืออะไร พอย้อนจิตมากำหนดจดจ่อเมื่อเอาเหตุเอาผลกับท่อไฟที่กำลังเผาก้นท่านอยู่นั้นก็ทราบว่า ไฟนี้เป็นไฟราคะตัณหาแสดงขึ้นมาจากใต้ถุนกุฏิ มิได้แสดงขึ้นกับใจท่านเอง ท่านกำหนดพิจารณาทบทวนก็ทราบอยู่อย่างนั้นว่าเป็นไฟราคะตัณหาแสดงขึ้นมาจากใต้ถุนกุฎี สำหรับในจิตท่านไม่มีไม่ปรากฏว่าจิตเป็นราคะตัณหาแต่อย่างใด ขณะที่ท่านกำลังชุลมุนวุ่นวายอยู่กับการพิจารณาไฟชนิดนั้น ก็ไม่คิดสะดุดใจว่าไฟนี้มาจากอะไรที่ไหน เป็นเพียงรำพึงอยู่ภายในใจว่า ไฟราคะนี้มันติดตามเอามาได้อย่างไร เพราะเรามิได้มีความกำหนัดยินดีกับหญิงชายใด ๆ ใจก็เป็นปกติไม่เกิดราคะ การไปบิณฑบาตในหมู่บ้านก็ไปด้วยความสำรวมระวัง มีสติอยู่กับตัว ระวังสังเกตทุกแง่ทุกมุม บรรดาอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อจิตใจ ใจก็ไม่เห็นมีเรื่องราคะตัณหาเป็นอารมณ์แต่อย่างใด พอเรื่องไฟสงบไม่แสดงอีก ท่านก็ลืมตาขึ้นจะออกจากการภาวนาหลังจากฝนหยุดแล้ว ก็พอดีมองเห็นด้านหลังผู้หญิงคนหนึ่งกำลังเดินออกไปจากใต้ถุนกุฎี ทำให้ท่านนำเรื่องไฟที่เผาก้นท่านออกพาดพิงกับหญิงที่เพิ่งออกไปจากกุฎีท่าน หญิงคนนี้คงคิดไม่ดีกับเรา เหตุการณ์จึงได้แสดงขึ้นทำนองนี้ที่เราเองก็ไม่คาดไม่คิดว่าจะเป็นไปได้

    ความจริงผู้หญิงคนนั้นอยู่ในวัยเบญจเพสยังไม่แก่อะไรเลย อาจจะเป็นสาวแก่หรือแม่ม่ายมากกว่าหญิงที่มีสามี แกมาเที่ยวเก็บผักหักฟืนหาอยู่หากินก็ไม่อาจทราบได้ ในมือถือตะกร้าใบหนึ่ง ขณะที่แกมาถึงที่นั่นเกิดฝนตกหนักพอดี แกเลยรีบเข้ามาหลบฝนที่ใต้ถุนกุฎีหลวงปู่ จนฝนหยุดแล้วแกถึงได้ออกไปจากที่นั่น เวลาท่านมองออกไปตามช่องหน้าด่างซึ่งเป็นฝาขัดแตะห่าง ๆ จึงมองเห็นหญิงนั้นได้อย่างชัดเจน

    ที่ท่านเล่าเรื่องนี้ให้พระเณรฟังตามโอกาสที่ควรนั้น ท่านมิได้เล่าด้วยการตำหนิติฉินนินทาหญิงนั้นแต่อย่างใด เป็นเพียงท่านยกหญิงนั้นขึ้นเป็นตนเหตุให้ได้ทราบเรื่องกระแสภายในภายนอกของจิต ว่าเป็นสิ่งละเอียดมากเกินกว่าธรรมดาจะรู้จะเห็นได้ นอกจากการพิจารณาทางภาคปฏิบัติจิตภาวนาจึงสามารถทราบได้เป็นขั้น ๆ ตอน ๆ ไป ท่านว่าตอนนั้นจิตท่านละเอียดมากสมควร สติปัญญาก็ดีและรวดเร็วต่อเหตุการณ์เหล่านี้ ไม่ชักช้าเหมือนขั้นเริ่มต้นฝึกหัดเช่นขณะราคะภายในจิตตัวเองกระเพื่อมแย็บเท่านั้น สติก็ทัน แม้ปัญญาจะยังไม่สามารถตัดให้ขาดได้ในระยะนั้นแต่ต่อมาก็พ้นมือของสติปัญญาที่ฝึกซ้อมตัวอยู่ตลอดเวลาไปไม่ได้ ต้องขาดสะบั้นไปจากใจอย่างประจักษ์ ท่านเล่าว่าตอนนั้นความเพียรท่านรู้สึกว่ารีบเร่งเก่งกาจมาก แม้เวลาทำวัตรเช้าและเย็นท่านก็ทำเพียงย่อ ๆ จิตใจรีบด่วนต่อความเพียรด้วยสติปัญญาอย่างมาก ส่วนการสวดมนต์สูตรต่าง ๆ ดังที่เคยสวดมาแต่เก่าก่อนท่านต้องงดทั้งสิ้น เร่งทางด้านสติปัญญาอย่างเดียวเพื่อให้หลุดพ้นอย่างรวดเร็วทันกาลเวลา กลัวจะตายไปเสียก่อนยังไม่ถึงจุดที่หมายอันพึงใจได้แก่พระอรหัตธรรม

    พรรษาต่อมานี้ ได้ก็หนัก ความเพียรก็เอาการ ไม่มีใครย่อหย่อนอ่อนข้อต่อใคร การไข้ก็ไข้ได้ตลอดพรรษา การพิจารณาทุกขเวทนากับกายอันเป็นเรือนรังของทุกข์ก็ไม่ลดละท้อถอย ไข้หนัก ทุกข์มากเท่าไรยิ่งราวกับใส่เชื้อเพลิงป้อนสติปัญญาให้แสดงลวดลายอย่างเต็มฝีมือ ใจถือเอาทุกขเวทนาที่เกิดจากไข้และกายที่เกี่ยวโยงกันกับทุกข์เป็นเวทีต่อสู้กับกิเลสชนิดไม่มีการให้น้ำในบางกาล ถ้าสติปัญญาจะมัวให้น้ำอยู่ ไข้ก็เอาตายและแพ้ราบคาบหญ้า ต้องต่อสู้กันแบบสด ๆ ร้อน ๆ ไข้และทุกข์ไม่ผ่อนคลาย ความเพียรจะผ่อนคลายไม่ได้ ไม่ทันกัน ปราบกันไม่อยู่ ต้องเอาให้อยู่ในเงื้อมมือของความเพียร ขณะนั้นจะหลีกเลี่ยงไปไหนไม่ได้ ต้องสู้จนเห็นเหตุเห็นผลท่าเดียวจึงจะมีชัยและภาคภูมิใจในความสามารถของตัวเอง ในพรรษานี้นับว่าหนักและหักโหมเอาการ ทั้งทางกายและทางจิต เพราะเป็นไข้มาลาเรียตลอดพรรษา ทุกข์ทางร่างกายจึงมาก ทางใจความเพียรก็หมุนตัวเป็นเกลียวไปตามไข้และทุกขเวทนา พอออกพรรษาไข้ก็ค่อย ๆ หายไป องค์ท่านเองก็ออกเที่ยววิเวกเปลี่ยนสถานที่ไปตามอัธยาศัย ไม่เยื่อใยกับสิ่งใดนอกจากความเพียรอย่างเดียว ในระยะนั้นเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว

    เย็นวันหนึ่งเมื่อปัดกวาดเสร็จ ท่านออกจากที่พักไปสรงน้ำ ได้เห็นข้าวในไร่ชาวเขากำลังสุกเหลืองอร่าม ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในขณะนั้นว่าข้าวมันงอกขึ้นมาเพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด ใจที่พาให้เกิดตายอยู่ไม่หมดก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกับเมล็ดข้าว เชื้อนั้นถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจให้สิ้นไป จะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็อะไรเป็นเชื้อของใจเล่า ถ้าไม่ใช่กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน คิดทบทวนไปมาโดยถืออวิชชาเป็นเป้าหมายแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง อนุโลมปฏิโลมด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา นับแต่หัวค่ำจนดึกไม่ลดละการพิจารณา ระหว่างอวิชชากับใจ จวนสว่างจึงตัดสินกันลงได้ด้วยปัญญา อวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ การพิจารณาข้าวก็มายุติทันทีข้าวสุกหมดการงอกอีกต่อไป การพิจารณาจิตก็มายุติกันที่อวิชาดับกลายเป็นจิตสุกขึ้นมาเช่นเดียวกับขัาวสุก จิตหมดการถือกำเนิดเกิดในภพต่าง ๆ อย่างประจักษ์ใจสิ่งที่เหลือให้ชมอย่างสมใจ คือความบริสุทธิ์แห่งจิตล้วน ๆ ในกระท่อมกลางเขา มีชาวป่าเป็นผู้อุปัฏฐากดูแล ขณะที่จิตผ่านดงหนาป่ากิเลสวัฏฏ์ไปได้แล้วเกิดความอัศจรรย์อยู่คนเดียวตอนสว่าง พระอาทิตย์ก็เริ่มสว่างบนฟ้า ใจก็เริ่มสว่างจากอวิชชาขึ้นสู่ธรรมอัศจรรย์ ถึงวิมุตติหลุดพ้นในเวลาเดียวกันกับพระอาทิตย์อุทัย ช่างเป็นฤกษ์งามยามวิเศษเอาเสียจริง ๆ

    พอฤกษ์งามยามมหาอุดมมงคลผ่านไปแล้วก็ได้เวลาออกบิณฑบาต ท่านเริ่มออกจากที่มหามงคล มองดูกระท่อมเล็กที่ให้ความสุขความอัศจรรย์ และมองดูทิศทางต่าง ๆ ขณะนั้นปรากฏอะไร ๆ ก็กลายเป็นมหาอุดมมงคลไปกับใจดวงอัศจรรย์โดยสิ้นเชิง ทั้งที่สิ่งทั้งหลายก็เป็นอยู่โดยธรรมดาของตน ๆ นั่นแล ขณะไปบิณฑบาต ใจก็อิ่มธรรมมองเห็นชาวป่าชาวเขาที่เคยอุปัฏฐากดูแลท่านมาราวกับเป็นชาวฟ้ามาจากบนสวรรค์กันทั้งสิ้น จิตระลึกถึงบุญถึงคุณที่เขาเคยมีแก่ตนอย่างเหลือสันพ้นที่จะพรรณนาคุณให้จบสิ้นลงได้ เกิดความเมตตาสงสารชาวป่าแดนสวรรค์เป็นประมาณ อดที่จะแผ่เมตตาจิตอุทิศส่วนกุศลแก่เขามิได้ ตลอดสายทางที่ผ่านมาจนถึงบริเวณที่พักอันแสนสำราญ ขณะจัดอาหารที่อยู่ของชาวเขาลงในบาตรใจก็อิ่มธรรม ไม่คิดสัมผัสกับอาหารที่เคยดำรงและให้ความผาสุกแก่อัตภาพมาแต่อย่างใด แต่ก็ฉันไปตามธรรมเนียมที่ธาตุกับอาหารเคยอาศัยกันมา ท่านเล่าว่า นับแต่วันเกิดมาก็เพิ่งมาเห็นชีวิตธาตุขันธ์กับจิตใจปรองดองสดชื่นต่อกันเหลือจะพรรณนาให้ถูกต้องกับความจริงได้ในเช้าวันนั้นเอง เป็นความอัศจรรย์และพิเศษผิดคาดผิดหมาย และกลายเป็นประวัติสำคัญของชีวิตอย่างประทับใจตลอดมา

    นับแต่ขณะโลกธาตุไหวฟ้าดินถล่มวัฎจักรภายในจิตจมหายไปแล้ว ธาตุขันธ์และจิตใจทุกส่วนต่างอันต่างเป็นอิสระไปตามธรรมชาติของตน ไม่ถูกจับจองกดถ่วงจากฝ่ายใด อินทรีย์ห้า อายตนะหก ทำงานตามหน้าที่ของตนจนกว่าธาตุขันธ์จะหาไม่ โดยไม่มีการทะเลาะวิวาทกระทบกระเทือนกันดังที่เคยเป็นมา (การทะเลาะท่านหมายถึงความไม่ลงรอยระหว่างสิ่งภายในกับภายนอกสัมผัสกัน ทำให้เกิดความยินดียินร้ายกลายเป็นความสุขทุกข์ขึ้นมา และเกี่ยวโยงกันไปเหมือนลูกโซ่ไม่มีเวลาจบสิ้นลงได้) คดีต่าง ๆ ภายในจิตที่มีมากและวุ่นวายยิ่งกว่าคดีใด ๆ ในโลกได้ยุติลงอย่างราบคาบ นับแต่ขณะศาลสถิตยุติธรรมได้สร้างขึ้นภายในใจโดยสมบูรณ์แล้ว เรื่องก่อกวนลวนลามต่าง ๆ ไม่มีประมาณ ซึ่งเคยยึดจิตเป็นสนามเต้นรำและทะเลาะวิวาทบาดหมางไม่มีเวลาสงบลงได้ เพราะอวิชชาตัณหาเป็นหัวหน้าบงการบัญชางานให้โกลาหลวุ่นวายร้อยแปดพันประการนั้น ได้สงบลงอย่างราบรื่นชื่นใจกลายเป็นโลกร้างว่างเปล่าภายในจิตที่ผลิตวิชาธรรมอันบวรขึ้นเสวยเมืองจิตราชแทนอธรรม กิจนอกการภายในได้เป็นไปโดยธรรมความสม่ำเสมอ ไม่มีอริข้าศึกศัตรูมาก่อกวนวุ่นวายตาเห็น หูได้ยิน จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายสัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ใจรับทราบอารมณ์ ต่าง ๆ เป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่อาจเอื้อมเป็นเกลียวยุเแหย่แปรรูปคดีให้ผิดเป็นถูก ผูกเป็นแก้ แย่เป็นดี ผีเป็นคน พระเป็นเปรต เปรตกลับเป็นคนดี ดังที่เจ้าอธรรมมีอำนาจบัญชางานมาแต่เก่าก่อน นั่งอยู่สบาย แม้เป็นหรือตายก็มีความสุข นี่คือท่านผู้นิรทุกข์นิรภัยแท้ ปราศจากเครื่องร้อยรัดโดยประการทั้งปวง ซึ่งเป็นคำท่านอุทานในใจท่านเวลานั้น
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย

    หลวงปู่ขาวก็เป็นอีกองค์หนึ่งที่เป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์มั่น ซึ่งเปลื้องทุกข์สิ้นภัยออกจากใจได้ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านเล่าว่าสถานที่บำเพ็ญจนถึงความสิ้นทุกข์ภายในก็ดี กระท่อมกุฎีเล็ก ๆ พอหมกตัวทำความเพียรและพักผ่อนกายก็ดี สถานที่เดินจงกรมก็ดี สถานที่นั่งสมาธิภาวนาในกลางวันและกลางคืนก็ดี หมู่บ้านเป็นที่โคจรบิณฑบาตพอยังอัตภาพให้เป็นไปในละแวกนั้นก็ดี รู้สึกเป็นที่ซาบซึ้งประทับใจผิดที่ทั้งหลายอย่างบอกไม่ถูก และฝังใจตลอดมาจนทุกวันนี้มิได้จืดจางรางเลือนไปเลย นับแต่ขณะที่วัฏจักรได้ถูกคว่ำลงจากใจเพราะความเพียรสังหารแล้ว สถานที่นั้นได้กลายเป็นที่บรมสุขในอิริยาบถทั้งหลายตลอดมา ราวได้เข้าเฝ้าพระศาสดาในสถานที่ตรัสรู้และที่ทรงบำเพ็ญเพียรในที่ต่าง ๆ โดยตลอดทั่วถึงฉะนั้น

    หายสงสัยในพระพุทธเจ้า แม้ทรงปรินิพพานไปนานตามกาลของสมมุติ ประหนึ่งประทับอยู่บนดวงใจเราทุกขณะ มิได้ทรงจากไปตามกาลแห่งปรินิพพานเลย

    หายสงสัยในพระธรรมว่า มาก น้อย ลึก ตื้น หยาบ ละเอียด ที่ประทานไว้แก่มวลสัตว์ ปรากฏว่าพระธรรมเหล่านั้นสถิตอยู่ในใจดวงเดียว และใจดวงเดียวบรรจุธรรมไว้อย่างพร้อมมูลไม่มีอะไรบกพร่อง

    หายสงสัยในพระสงฆ์สาวกองค์สุปฏิปันโน ผู้บริสุทธิ์

    ทั้งสามรัตนะนี้ได้เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในใจ มีความเป็นอยู่ด้วยพุทธะ ธัมมะ และสังฆะ องค์บริสุทธิ์รวมกันเป็นธรรมแท่งเดียว มีความสบายหายห่วง นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ไม่มีเครื่องกดถ่วงลวงใจ อยู่ในอิริยาบถใดก็เป็นตัวของตัวไปตามอิริยาบถนั้น ๆ ไม่มีสิ่งกดขี่หรือแอบแทรก ขอแบ่งกินแบ่งใช้เหมือนแต่ก่อนที่อยู่กับนักขอทานโดยไม่รู้สึกตัว เดี๋ยวขอนั้น เดี๋ยวขอนี้อยู่ทุกอิริยาบถ คำว่าขอนั่นขอนี่นั้น ท่านหมายถึงกิเลสตัวบกพร่องขาดแคลนไม่มีเวลาอิ่มพอ ประจำนิสัยของมันเมื่อมีอำนาจตั้งบ้านเรือนบนหัวใจคนและสัตว์แล้ว จึงต้องทำการบังคับหรือขออยู่ไม่ถอยซึ่งเป็นงานประจำนิสัยของมัน โดยขอให้คิดอย่างนั้น ขอให้พูดอย่างนี้ ขอให้ทำอย่างโน้น ตามอำนาจของมันอยู่ไม่หยุด ถ้าไม่มีธรรมไว้คอยปิดกั้นความรั่วไหลจากการบังคับและการขอเอาอย่างดื้อด้านของเหล่ากิเลส จึงมักแบ่งหรือเสียให้มันเอาไปกินจนหมดตัว ไม่มีความดีติดตัวพอเป็นเครื่องสืบภพต่อชาติเป็นคนดีมีศีลธรรมต่อไปได้ เกิดภพใดชาติใดก็ล้วนแต่เกิดผิดที่ผิดฐาน ไม่มีความสำราญบานใจได้บ้าง พอควรแก่ภพกำเนิดที่อุตส่าห์เกิดกับเขาทั้งชาติ

    ที่ท่านเรียกว่าขาดทั้งทุนสูญทั้งดอกนั้นก็คือ ผู้ประมาทนอนใจแบ่งให้แต่กิเลสเป็นเจ้าบ้านครองจิตใจ ไม่มีการป้องกันฝ่าฝืนมันบ้างเลย มันจึงบังคับเอาแบ่งเอาจนไม่มีอะไรเหลือติดตัวดังกล่าวแล้ว ท่านผู้หมดหนี้สินความพะรุงพะรังทางใจแล้ว จึงอยู่เป็นสุขทุก ๆ อิริยาบถในขันธ์ที่กำลังครองตัวอยู่ เมื่อถึงเวลาแล้วก็ปล่อยวางภาระในขันธ์ เหลือแต่ความบริสุทธิ์พุทโธเป็นสมบัติทั้งดวงนั้นแล คือความสิ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงตลอดกาล ซึ่งเป็นความสิ้นอย่างอัศจรรย์และเป็นกาลอันมีคุณค่ามหาศาล ไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือนในไตรภพ ผิดกับความเป็นของสมมติทั้งหลายที่ต่างปรารถนาความเกิดเป็นส่วนมากและออกหน้าออกตา มิได้สนใจในทุกข์ที่จะติดตามมาพร้อมกับความเกิดนั้น ๆ บ้างเลย

    ความจริงการเกิดกับความทุกข์นั้นแยกกันไม่ออก แม้ไม่มากก็จำต้องมีจนได้ นักปราชญ์ท่านจึงกลัวความเกิดมากกว่าความตาย ผิดกับพวกเราที่กลัวความตายซึ่งเป็นผล มากกว่ากลัวความเกิดที่เป็นต้นเหตุ อันเป็นความกลัวที่ฝืนคติธรรมดาอยู่มาก ทั้งนี้เพราะไม่สนใจติดตามร่องรอยแห่งความจริง จึงฝืนและเป็นทุกข์กันอยู่ตลอดมา ถ้าปราชญ์ท่านมีกิเลสประเภทพาคนให้หัวเราะเยาะกันแล้ว ท่านคงอดไม่ได้ อาจปล่อยออกมาอย่างเต็มที่ สมใจท่านที่ได้เห็นคนแทบทั่วโลกตั้งหน้าตั้งตาฝืนความจริงกันอย่างไม่มองหน้ามองหลัง เพื่อหาหลักฐานความจริงกันบ้างเลย แต่ท่านเป็นปราชญ์สมชื่อสมนามจึงมิได้ทำแบบโลก ๆ ที่ทำกัน นอกจากท่านเมตตาสงสารและช่วยอนุเคราะห์สั่งสอน ส่วนที่สุดวิสัยก็ปล่อยไปด้วยความหมดหวังจะช่วยได้

    หลวงปู่ขาวเป็นผู้ผ่านพ้นภัยพิบัติสารพัดที่เคยมีในสงสาร บัดนี้ท่านถึงสอุปาทิเสสนิพพานในสถานที่มีนามว่า “โรงขอด” แห่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ในราวพรรษาที่ 16 หรือ 17 ผู้เขียนจำไม่ถนัด จำได้แต่เป็นฤดูเริ่มเก็บเกี่ยวตอนออกพรรษาแล้วใหม่ ๆ ท่านเล่าให้ฟังอย่างถึงใจในเวลาสนทนาธรรมกัน ซึ่งเริ่มแต่ 2 ทุ่ม ถึง 6 ทุ่มเศษ ไม่มีใครมาเกี่ยวข้องรบกวนให้เสียเวลาในขณะนั้น การสนทนาธรรมจึงเป็นไปด้วยความราบรื่นทั้งสองฝ่าย จนถึงจุดสุดท้ายแห่งธรรมซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติ โดยเริ่มสนทนาแต่ต้นจากแม่ ก. ไก่ ก. กา สระอะ สระอา คือการฝึกหัดขั้นเริ่มแรกที่คละเคล้าไปด้วยทั้งความ ล้มลุกคลุกคลาน ทั้งความล้มความเหลว ทั้งความดีความเลวสับปนกันไป ทั้งความดีใจเสียใจอันเป็นผลมาจากความเป็นลุ่ม ๆ ดอน ๆ ของการปฏิบัติที่เพิ่งฝึกหัดในเบื้อต้น จนถึงสุดท้ายปลายแดนแห่งจิตแห่งธรรมของแต่ละฝ่าย ผลแห่งการสนทนาจากท่านเป็นที่พอใจอย่างยิ่ง เมื่อได้โอกาสจึงได้อาราธนานำลงในปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐานสายท่านอาจารย์มั่น เพื่อท่านผู้อ่านที่สนใจใคร่ธรรมจะได้นำมาพิจารณาไตร่ตรองและคัดเลือกเอาเท่าที่ควรแก่จริตนิสัยของตน ๆ ผลอันพึงหวังจากการเลือกเฟ้นคงเป็นความราบรื่นดีงามตามความพยายามของแต่ละท่าน เพราะหลวงปู่ขาวท่านเป็นพระที่พร้อมจะยังประโยชน์ให้เกิดแก่โลกผู้เข้าไปเที่ยวข้องอยู่เสมอ ไม่มีความบกพร่องทั้งมารยาทการแสดงออกทางอาการ ทั้งความรู้ทางภายในที่ฝังเพชรน้ำหนึ่งไว้อย่างลึกลับยากจะค้นพบได้อย่างง่ายดาย ถ้าไม่รอดตายก็ไม่อาจรู้ได้ เฉพาะองค์ท่านผู้เขียนลอบขโมยถวายนามท่านว่า “เพชรน้ำหนึ่ง” ในวงกรรมฐานสายท่านอาจารย์มั่นมาเกือบ 30 ปีแล้ว โดยไม่กระดากอายคนจะหาว่าบ้าเลย เพราะเกิดจากศรัทธาของตัวเอง

    พ.ศ. 2488 - 2489 พรรษานี้ท่านจำที่แม่หนองหาน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ในพรรษาท่านเมตตาเทศนาอบรมสั่งสอนศรัทธาพอสมควร เพราะจิตท่านพ้นดงหนาป่าทึบ ออกสู่แดนเวิ้งว้างกว้างขวางหาประมาณไม่ได้ จิตเป็นอวกาศจิต ธรรมเป็นอวกาศธรรม กลมกลืนเป็นอันเดียวกันโดยสมบูรณ์แล้ว ไม่มีอะไรมากีดขวางลวงใจเหมือนแต่ก่อน อิริยาบถทั้งสี่เพื่อชาติเพื่อขันธ์ เพื่อวิหารธรรมในทิฏฐธรรมของจิตเป็นความอยู่สบาย

    พอออกพรรษาแล้ว ทำให้ท่านระลึกถึงความหลังก่อนที่จะออกแสวงธรรมเพื่อมรรคผลนิพพานด้วยธุดงคกรรมฐานอยู่เสมอ ความหลังปรากฏขึ้นเตือนใจอยู่บ่อย ๆ ความปณิธานที่ตั้งไว้ตอนบวชทีแรกว่าจะออกแสดงธรรมเพื่อมรรคผลนิพพานถ่ายเดียว เมื่อถูกประชาชน ครูอาจารย์ทั้งหลายคัดค้านต้านทาน จึงได้ประกาศความจริงใจออกมาให้ทราบว่า เมื่อออกไปแล้วถ้ากระผมและอาตมาไม่รู้เห็นธรรมคือมรรคผลนิพพานเต็มดวงใจแล้ว จะไม่ยอมกลับมาให้ท่านทั้งหลายชี้หน้าตราความล้มเหลวใส่หน้าผากอย่างเด็ดขาด การกลับมาจึงมีธรรมดังกล่าวนี้เป็นเครื่องประกันตัวเต็มอยู่ภายในใจโดยฝ่ายเดียว ขอให้ท่านทั้งหลายได้ทราบไว้แต่บัดนี้ นานไปจะหลงลืมไปเสีย เวลาเห็นหน้ากลับมา เมื่อคิดตกลงใจเรียบร้อยแล้วจึงได้ร่ำลาศรัทธาทั้งหลายซึ่งต่างมีความอาลัยเสียดายไม่อยากให้ท่านจากไป แต่ความจำเป็นจำใจบังคับตามกฎอนิจฺจํ ที่ต้องมีการพลัดพรากจากกันทั้งเป็นทั้งตาย จึงจำยอมไปตามกฎแห่งคติธรรมดา ท่านจึงมาชวนหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นเพื่อนเดินทางกลับอีสานด้วยกัน เพื่อเยี่ยมถิ่นฐานบ้านเดิมและวงศาคณาญาติที่ได้จากกันไปเป็นเวลา 20 กว่าปีนับว่าเป็นเวลานานพอประมาณ หากชีวิตไม่ทนทานทั้งเขาทั้งเราก็อาจตายไปเสียก่อนไม่ได้พบเห็นกันอีก และเป็นโอกาสอันเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะได้ไปกราบเยี่ยมท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระในเวลาเดียวกัน ซึ่งระยะนั้นท่านกำลังพักจำพรรษาอยู่บ้านหนองผือ นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งมีพระธุดงคกรรมฐานจำพรรษาและห้อมล้อมอยู่แถวบริเวณใกล้เคียงกับที่ท่านพักจำพรรษาอยู่เป็นจำนวนมาก แต่หลวงปู่แหวนท่านบอกว่าท่านยังไม่กลับ

    ถ้ายังไม่บรรลุอรหัตตามความมุ่งหวังอย่างเต็มหัวใจเสียเมื่อไร ต้องอยู่บำเพ็ญให้ถึงอรหัตก่อน ถึงจะไปไหนมาไหน จากเชียงใหม่ถ้าอยากไป ถ้าไม่อยากไปก็จะอยู่เชียงใหม่ต่อไปจนตาย ท่านเองถ้าได้บรรลุอรหัตแล้วจะนำธรรมะไปแจกพระแจกชาวบ้าน ผมก็ขอโมทนา แต่อย่านำกิเลสหรือธรรมเมาไปแจกเขานะ เพราะกิเลสและธรรมเมามีเกลื่อนแผ่นดินถิ่นที่สัตว์โลกอยู่อาศัย ไม่เคยมีวันบกพร่องขาดแคลน มีธรรมเท่านั้นบกพร่องขาดแคลนในหัวใจสัตว์โลกทุกวันนี้โลกจึงเดือดร้อนวุ่นวายหาความสงบสุขเย็นกายเย็นใจไม่ได้ ไปที่ไหนมีแต่คนบ่นว่าทุกข์ว่าลำบากยากเย็นเข็ญใจให้ฟัง แม้ในบ้านในเมืองที่นิยมกันว่าเจริญ ก็ไม่พ้นที่จะได้ยินคำบ่นทุกข์บ่นยากกัน เวลาท่านไปทางภาคอีสานจึงนิมนต์นำธรรมสมบูรณ์ ธรรมไม่บกพร่องขาดแคลน ธรรมสงบเย็นปากเย็นใจ ไม่บ่น ไม่เดือดร้อนนอนครางไปแจกเขาบ้าง เขาจะได้โมทนาในการไปเยี่ยมเยียนญาติของท่าน ผมเวลานี้กำลังต่อสู้กับธรรมเมา ยังไม่สร่าง ยังไม่หายเมา นั่งอยู่ก็เมา ยืนอยู่ก็เมา เดินอยู่ก็เมา นอนอยู่ก็เมา นั่งสมาธิ เดินจงกรมภาวนาอยู่ก็เมา กิเลสตัวพาให้ประมาทมัวเมามันยังไม่ยอมลงจากบนบ่า บนหลัง บนคอ บนหัวใจ เคลื่อนไหวไปมาในที่ใดมีแต่ธรรมเมาเหล่านี้ออกทำงานเพ่นพ่านเต็มกาย เต็มวาจา เต็มหัวใจ เมื่อไรจะหายเมายังไม่รู้ได้ ท่านไปภาคอีสาน นิมนต์นำ มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง วฏฺฏูปจฺเฉโท ธรรมตัดวัฎจิต ตณฺหกฺขโย ธรรมสิ้นตัณหา วิราโค ธรรมสิ้นราคะความกำหนัดยินดี นิโรโธ ธรรมดับกิเลสทั้งปวง นิพฺพานํ ความดับสนิทแห่งกิเลสสมมติทั้งมวล ไปแจกชาววัดและชาวบ้าน เขาจะได้ดีใจ โมทนาสาธุการ สมกับท่านจากเขาไปนาน

    นี่ท่านหลวงปู่แหวนสั่งหลวงปู่ขาวเวลาท่านหลวงปู่ขาวจะกลับไปทางภาคอีสาน สำหรับองค์หลวงปู่แหวนเองท่านไม่ไป ท่านจะอยู่บำเพ็ญให้ได้อรหัตเสียก่อน อยากไปไหนท่านจึงจะไปหลังจากสมหวังดังใจหมายแล้ว ท่านจึงนิมนต์หลวงปู่ชอบ หลวงปู่บุตรไปด้วย
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติหลวงปู่ขาว อนาลโย

    ทั้งสามองค์เดินทางจากเสียงใหม่มุ่งหน้าไปภาคอีสานและเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่นที่วัดบ้านหนองผือ นาใน โดยพักค้างคืนหนึ่งคืน ระหว่างทาง บำเพ็ญจิต บำเพ็ญธรรมเพื่อบูชาพระคุณหลวงปู่มั่นท่าน ขณะทำความเพียรก็รำพึงในใจว่า ป่านนี้หลวงปู่มั่น คงนั่งภาวนามองดูตับไตไส้พุงของพวกเราทะลุปรุโปรุ่งไปหมดแล้วก่อนที่เราจะไปถึงท่าน เครื่องในในตัวเราคงไม่มีอะไรเหลือ ท่านหลวงปู่มั่นคงขยี้ขยำด้วยญาณท่านหมดแล้ว

    เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่เป็นความจริงตามที่คิดไว้ พอไปถึงท่านก็เทศนากัณฑ์ใหญ่เลยว่า

    กลัวแต่คนอื่นจะเห็นตับไตไส้พุงของตัว แต่ตัวเองไม่สนใจดูตับไตไส้พุงและจิตใจของตัวว่ามันมีอะไรอยู่ข้างในนั้น มัวเพลินดู เพลินค้น เพลินคิดแต่ภายนอกไม่สนใจคิดเข้าภายในกายในจิตของตัวบ้าง จะหาความฉลาดรอรู้มาจากไหน นักปฏิบัติเรา ผู้ปฏิบัติเพื่อรู้หลักความจริงต้องดูตัวดูใจอันเป็นมหาเหตุก่อเรื่องต่าง ๆ มากกว่าดูสิ่งภายนอกหรือสิ่งอื่นใด และแสดงวิธีรักษาปฏิบัติตัว ปฏิบัติใจ ด้วยความระมัดระวังในอิริยาบถต่าง ๆ ด้วยความมีสติและปัญญา ระลึกรู้ไตร่ตรองในเหตุการณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับตน ด้วยความไม่ประมาทและชินชากับสิ่งใดในแดนสมมุติซึ่งล้วนเป็นแดนแห่งทุกข์และความเกิด-ตายของสัตว์โลกทั้งมวล

    เมื่อพักผ่อน ฟังธรรมเครื่องรื่นเริงจากหลวงปู่มั่นพอสมควร จึงเข้ากราบลาหลวงปู่มั่น ออกเที่ยววิเวกกรรมฐานแถวบริเวณใกล้เคียงหลวงปู่มั่นพักอยู่ เช่นบ้านโคกมะนาว บ้านกุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร บำเพ็ญเพียรอยู่แถว ๆ นั้นเป็นเวลาหลายเดือน จึงเริ่มพาพระเณรออกเดินทางกลับไปเยี่ยมบ้านเดิม

    เมื่อท่านกลับไปถึงปิตุภูมิ คือสถานที่เกิดที่อยู่เดิมของท่าน ประชาชนญาติพี่น้องพอทราบว่าท่านกลับมาเยี่ยม ต่างก็พากันดีใจราวกับจะเหาะจะบินไปตาม ๆ กัน และพร้อมกันอาราธนาให้ท่านโปรดเมตตาจำพรรษาที่นั้น ท่านก็รับนิมนต์และสร้างที่พักขึ้นจำพรรษาที่บ้านบ่อชะเนงเป็นบ้านของท่านเองหนึ่งพรรษา พอออกพรรษาแล้วก็ลาญาติโยมกลับมาจังหวัดสกลนครตามเดิม และท่องเที่ยวไปตามอำเภอต่าง ๆ ที่มีป่ามีเขาเหมาะกับการบำเพ็ญสมณธรรม เช่นเที่ยวตามชายเขาภูพาน ภูเหล็ก อ.สว่างแดนดิน เป็นต้น จำพรรษาที่บ้านหนองหลวงบ้าง ที่ถ้ำเป็ดบ้าง ที่บ้านหวายสะนอยบ้าง ที่บ้านชุมพลบ้าง ในเขตอำเภอสว่างแดนดิน จ.สกลนคร ตามอัธยาศัย มีพระเณรติดตามพอประมาณ เพราะท่านห้ามไม่ให้ติดตามไปมาก ไม่สะดวกแก่การพักบำเพ็ญและการโคจรบิณฑบาต เนื่องจากท่านชอบไปพักตามหมู่บ้านเล็ก ๆ ราว 5-6-7 หลังคาเรือนเท่านั้นเพราะสะดวกแก่สมณธรรม ไม่วุ่นวายด้วยฝูงชนพระเณรเข้า ๆ ออก ๆ ดังหมู่บ้านและวัดใหญ่ ๆ ที่เคยผ่านมา

    หลวงปู่ขาวท่านชอบรักษาไข้ด้วยธรรมโอสถตลอดมา ครั้งหนึ่งท่านพักอยู่ภูเขาแถบจังหวัดสกลนครซึ่งเป็นที่ชุกชุมด้วยไข้มาลาเรีย หลังจากฉันเสร็จวันนั้นก็เริ่มไข้จับสั่นขึ้นในทันทีทันใด ผ้าห่มกี่ผืนก็มีแต่หนักตัวเปล่า ๆ หาความอบอุ่นไม่มีเลย ท่านจึงสั่งให้งดการบำบัดหนาวทางภายนอก จะบำบัดทางภายในด้วยธรรมดังที่เคยได้ผลมาแล้วและสั่งให้พระหลีกจากท่านไปให้หมด ให้รอจนกว่ามองเห็นบานประตูกระต๊อบกุฎีเล็ก ๆ เปิดเมื่อไรค่อยมาหาท่าน เมื่อพระไปกันหมดแล้ว ท่านก็เริ่มภาวนาพิจารณาทุกขเวทนา ดังที่เคยพิจารณามา ทราบว่า เริ่มแต่เก้านาฬิกา คือสามโมงเช้า จนถึงบ่ายสามโมงจึงลงกันได้ ไข้ก็สร่างและหายไปแต่บัดนั้น จิตก็รวมลงถึงฐานและพักอยู่ราวสองชั่วโมงเศษจนร่วมหกโมงเย็นจึงออกจากที่สมาธิภาวนาด้วยความเบากายเบาใจไม่มีอะไรมารบกวนอีกเลย ไข้ก็หายขาด จิตก็ปราดเปรื่องลือเลื่องในองค์ท่าน และอยู่ด้วยวิหารธรรมเรื่อยมาจนปัจจุบัน

    ท่านเป็นพระที่อาจหาญเฉียบขาดทางความเพียรมาก ยากจะหาผู้เสมอได้องค์หนึ่ง แม้อายุจะก้าวเข้าวัยชราภาพแล้ว แต่การทำความเพียรยังเก่งกล้าสามารถเสมอมามิได้ลดละ เดินจงกรมแต่ละครั้งตั้งห้าหกชั่วโมงจึงหยุดพัก แม้แต่พระหนุ่ม ๆ ยังสู้ท่านไม่ได้ นี่แลความเพียรของปราชญ์ท่านต่างกับพวกเราอยู่มาก ซึ่งคอยแต่จะคว้าหาหมอนเอาท่าเดียว ประหนึ่งหมอนเป็นสิ่งประเสริฐเลิศกว่ามรรคผลนิพพานเป็นไหน ๆ คิดดูแล้วน่าอับอายตัวเองที่เก่งในทางไม่เป็นสาระ

    การจำพรรษาบางปีท่านจำที่ภูเขาองค์เดียว โดยอาศัยชาวไร่เพียงสองสามครอบครัวเป็นที่โคจรบิณฑบาต ท่านว่าเป็นความผาสุกเย็นใจอย่างยิ่งในชีวิตของนักบวชเพื่อปฏิบัติธรรม วันคืนหนึ่ง ๆ เต็มไปด้วยความเพียร ไม่มีภารกิจการใด ๆ เป็นเครื่องกังวล เวลาเป็นของตัว ความเพียรเป็นของตัวทุก ๆ อิริยาบถ จิตใจกับธรรมเป็นของตัวในอิริยาบถทั้งปวง ไม่มีอะไรมาแบ่งสันปันส่วนพอให้เบาบางลงไปจากปกติเดิม วันคืนเดือนปีของนักบวชผู้มีราตรีเดียวไม่ยุ่งเกี่ยวกับอะไรนี้ เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากจนหาอะไรเทียบมิได้

    ท่านว่าตอนท่านจำพรรษาองค์เดียวที่ภูเขาแห่งหนึ่งเขตจังหวัดสกลนครกับกาฬสินธ์ต่อกัน ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านราวสามสี่ร้อยเส้น ที่นั่นมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก เช่น เสือ ช้าง กระทิง วัวแดง อีเก้ง หมู กวางต่าง ๆ เวลากลางคืนจะได้ยินเญียงสัตว์เหล่านี้ร้องกังวานป่า และเที่ยวหากินมาใกล้ ๆ บริเวณที่ท่านพักอยู่แทบทุกคืน บางครั้งแทบมองเห็นตัวมันเพราะมาใกล้ ๆ ที่อยู่ท่านมาก ท่านเองรู้สึกเพลิดเพลินไปกับสัตว์เหล่านี้ด้วยความเมตตาสงสารเขา

    ปีท่านเข้าไปจำพรรษาอยู่องค์เดียวในภูเขาลูกนี้ แต่ว่าไม่แน่ว่าเป็น พ.ศ. เท่าไร จำได้แต่เพียงว่าท่านจำพรรษาที่นั่นหลังจากท่านอาจารย์มั่นมรณภาพแล้วไม่นานนัก ท่านว่าในพรรษานั้น เวลาทำสมาธิภาวนา ปรากฏว่าท่านอาจารย์มั่นมาเยี่ยมและแสดงสัมโมทนียธรรมให้ฟังเสมอ ตลอดพรรษา การทำข้อวัตรในบริเวณถ้ำที่พักจำพรรษาตลอดการจัดบริขารต่าง ๆ ไม่ถูกต้องประการใด ท่านได้ตักเตือนอยู่เสมอ พรรษานั้นจึงเป็นเหมือนอยู่กับองค์ท่านอาจารย์มั่นตลอดเวลา

    ท่านมาแสดงประเพณีของพระธุดงค์ผู้มุ่งต่อความหลุดพ้นให้ฟังว่า ธุดงควัตรต่าง ๆ ควรรักษาให้ถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ประทานไว้อย่าให้เคลื่อนคลาด และยกธุดงควัตรสมัยที่ท่านพาหมู่คณะปฏิบัติเวลามีชีวิตอยู่ขึ้นแสดงซ้ำอีก เพื่อความแน่ใจว่า

    ที่ผมพาหมู่คณะดำเนินตลอดวันสิ้นอายุของผม ก็เป็นธุดงควัตรที่แน่ใจอยู่แล้วไม่มีสงสัย จึงควรเป็นที่ลงใจและปฏิบัติตามด้วยความเอาใจใส่ และอย่าพึงเข้าใจว่าศาสนาเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้าและเป็นสมบัติของพระสาวกองค์หนึ่งองค์ใด แต่เป็นสมบัติของผู้รักใคร่สนใจปฏิบัติทุก ๆ คนที่มุ่งประโยชน์จากศาสนา พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ท่านไม่ทรงมีส่วนอะไรกับศาสนาที่ประทานไว้สำหรับโลกเลย อย่าไปเข้าใจว่าพระองค์และสาวกทั้งหลายจะพลอยมีส่วนดีและมัวหมองไปด้วย จะปฏิบัติผิดหรือถูกประการใดก็เป็นเรื่องของเราเป็นราย ๆ ไป มิได้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย

    ท่านมาปฏิบัติอยู่ที่นี่ ก็เป็นความมุ่งหมายของท่านโดยเฉพาะ การปฏิบัติผิดหรือถูกจึงเป็นเรื่องของท่านเองโดยเฉพาะเช่นกัน ฉะนั้น จงทำความระมัดระวังการปฏิบัติ เพื่อความอยู่สบายในทิฏฐธรรม

    ท่านเองก็กำลังจะเป็นอาจารย์ของคนจำนวนมาก จึงควรทำเครื่องหมายที่ถูกต้องดีงามไว้ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กุลบุตรสุดท้ายภายหลัง ผู้ดำเนินตามจะไม่ผิดหวัง ความเป็นอาจารย์คนนั้นสำคัญมาก จึงควรพิจารณาด้วยดี อาจารย์คิดเพียงคนเดียวอาจพาให้คนอื่น ๆ ผิดไปด้วยเป็นจำนวนมากมาย อาจารย์ทำถูกเพียงคนเดียว ก็สามารถนำผู้อื่นให้ถูกด้วยไม่มีประมาณเช่นเดียวกัน ท่านควรพิจารณาเกี่ยวกับความเป็นอาจารย์ของคนจำนวนมากให้รอบคอบ เพื่อคนอื่นจะมีทางเดินโดยสะดวกราบรื่นไม่ผิดพลาด เพราะความยึดเราเป็นอาจารย์สั่งสอน

    คำว่า “อาจารย์” ก็คือผู้ฝึกสอน หรืออบรม กิริยาความเคลื่อนไหวที่แสดงออกแต่ละอาการ ควรให้ผู้อาศัยยึดเป็นหลักดำเนินได้ ไม่เป็นกิริยาที่แสดงออกจากความผิดพลาด เพราะขาดการพิจารณาไตร่ตรอง ก่อนแสดงออกมา พระพุทธเจ้าที่ว่าทรงเป็นศาสดาสอนโลกนั้น มิได้เป็นศาสดาเพียงเวลาแสดงธรรมให้พุทธบริษัทฟังเท่านั้น แต่ทรงเป็นศาสดาของโลกอยู่ทุกอิริยาบถ ทรงสีหไสยาสน์คือนอนตะแคงข้างขวาก็ดี ประทับนั่งก็ดี ประทับยืนก็ดี เสด็จไปในที่ต่าง ๆ แม้ที่สุดเสด็จภายในวัดก็ดี ล้วนเป็นศาสดาประจำพระอาการอยู่ทุก ๆ อิริยาบถ พระองค์ไม่ทรงทำให้ผิดพลาดจากความเป็นศาสดาเลย

    ผู้มีสติปัญญาชอบวินิจฉัยไตร่ตรองอยู่แล้ว ย่อมยึดเป็นคติตัวอย่างเครื่องพร่ำสอนตนได้ ทุก ๆ พระอาการที่ทรงเคลื่อนไหว อย่าเข้าใจว่าพระองค์จะทรงปล่อยปละมรรยาทเหมือนโลกทั้งหลายที่ชอบทำกิริยาต่าง ๆ จากคน ๆ เดียวในสถานที่ต่าง ๆ อยู่ที่หนึ่งประพฤติตัวอย่างหนึ่ง ไปอยู่ที่หนึ่งประพฤติตัวอีกอย่างหนึ่ง ไปอยู่ในที่อีกแห่งหนึ่ง แสดงกิริยาอาการอย่างหนึ่ง เป็นลักษณะเปรตผี ทั้งเป็นคนดี ทั้งเป็นคนชั่วทั่วทุกทิศ ไม่มีประมาณ ให้พอยึดเป็นหลักได้ ทั้งตัวเองและผู้อื่น

    ส่วนพระพุทธเจ้ามิได้เป็นอย่างโลกดังกล่าวมา แต่ทรงเป็นศาสดาอยู่ทุกพระอิริยาบถ ตลอดวันนิพพาน แต่ละพระอาการที่แสดงออกทรงมีศาสดาประจำมิได้บกพร่องเลย ใครจะยึดเป็นสรณะคือหลักพึ่งพิงเพื่อดำเนินตามเมื่อไรก็ได้เมื่อนั้น โดยไม่เลือกว่าเป็นพระอิริยาบถหรือพระอาการใด จึงสมพระนามว่าเป็นศาสดาของโลกทั้งสาม แม้ขณะจะเสด็จนิพพานก็ทรงสีหไสยาสน์นิพพาน มิได้นอนทึ้งเนื้อทึ้งตัวกลัวความตายร่ายมนต์บ่นเพ้อไปต่าง ๆ ดังที่โลกเป็นกันมาประจำแผ่นดิน แต่ทรงสีหไสยาสน์นิพพาน ส่วนพระทัยก็ทรงทำหน้าที่นิพพานอย่างองอาจกล้าหาญ ราวกับจะทรงพระชนม์อยู่กับโลกตั้งกัปตั้งกัลป์ ความจริงคือทรงประกาศความเป็นศาสดาของโลกในวาระสุดท้าย ด้วยการเข้าฌานและนิโรธสมาบัติ ทรงถอยเข้าถอยออกจนควรแก่กาลแล้ว จึงเสด็จปรินิพพานไปแบบศาสดาโดยสมบูรณ์ ไม่ทรงเยื่อใยกับสิ่งใด ๆ ในสามภพ นั่นแลศาสดาของโลกทั้งสาม

    ท่านทรงทำตัวอย่างเป็นแบบฉบับของโลกตลอดมา แต่ขณะตรัสรู้จนวันเสด็จปรินิพพาน ไม่ทรงลดละพระอาการใด ๆ จากความเป็นศาสดาให้เป็นกิริยาอย่างคนสามัญธรรมดาทำกัน ทรงปฏิบัติหน้าที่โดยสมบูรณ์จนวาระสุดท้ายจึงควรน้อมนำตัวอย่างของศาสดามาปฏิบัติดำเนิน แม้ไม่สมบูรณ์ตามแบบศาสดาทุก ๆ กระเบียด แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ของลูกศิษย์ที่มีครูสั่งสอนบ้าง ไม่เคว้งคว้างเหมือนเรือที่ลอยลำอยู่กลางทะเลซึ่งมีพายุจัด ไม่ได้ทอดสมอ การปฏิบัติของนักบวชที่ไม่มีหลักยึดอย่างถูกต้องตายตัวนั้น ย่อมไม่มีจุดหมายว่า จะถึงฝั่งแห่งความปลอดภัยหรือจะเป็นอันตรายด้วยภัยต่าง ๆ ไม่มีอะไรเป็นเครื่องตัดสินได้เช่นเดียวกับเรือไม่มีหางเสือบังคับ ย่อมไม่สามารถแล่นไปถึงที่หมายได้ และยังอาจลอยไปตามกระแสน้ำและเป็นอันตรายได้อย่างง่ายดายฉะนั้น

    หลักธรรมวินัยมีธุดงควัตรเป็นต้น คือหางเสือของการปฏิบัติเพื่อให้ถึงที่ปลอดภัย จงยึดให้มั่นคง อย่าโยกคลอนหวั่นไหว (เพราะ) ผู้คอยดำเนินตามซึ่งมีจำนวนมาก ที่ยึดเราเป็นเยี่ยงอย่าง จะเหลวไหลไปตาม ธุดงควัตรคือปฏิปทาอันตรงแน่วไปสู่จุดหมาย โดยไม่มีปฏิปทาใดเสมอเหมือน ขอแต่ผู้ปฏิบัติจงใช้สติปัญญา ศรัทธา ความเพียรพยายามดำเนินตามเถิด ธรรมที่มุ่งหวังย่อมอยู่ในวิสัยของธุดงค์ที่ประทานไว้ จะพาให้เข้าถึงอย่างไม่มีปัญหาแลอุปสรรคใด ๆ กีดขวางได้เพราะธุดงควัตรเป็นทางเดียวที่พาให้พ้นทุกข์ ไม่เป็นอย่างอื่น จึงไม่ควรทำความเคลือบแคลงสงสัย และธรรมนี้เป็นที่รวมปฏิปทาเครื่องดำเนินเข้าสู่ความดับทุกทั้งหลายด้วย พระที่มีความรักชอบในธุดงควัตรคือผู้มีความรักชอบและจงรักภักดีต่อพระศาสดาผู้เป็นบรมครู

    พระผู้มีธุดงควัตรเป็นเครื่องดำเนินคือผู้มีฝั่งมีฝา มีศาสดาเป็นสรณะในอิริยาบถทั้งปวง อยู่ที่ใดไปที่ใดมีธรรมคอยคุ้มครองรักษาแทนศาสดา ไม่ว้าเหว่เร่ร่อนคลอนแคลน มีหลักใจเป็นหลักธรรม มีหลักธรรมเป็นดวงใจ หายใจเข้าหายใจออกเป็นธรรม และกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับใจ ผู้นี้คือผู้มีราตรีเดียวอยู่กับธรรมไม่หวั่นไหวเอนเอียง สำหรับท่านเองไม่มีอะไรวิตกก็จริง แต่ผู้เกี่ยวเนื่องกับท่านมีมากมาย จึงควรเป็นห่วงหมู่คณะและประชาชนที่คอยเดินตามหลังบ้าง เขาจะได้มีความอบอุ่นในปฎิปทาที่ยึดจากท่านไปเป็นเครื่องดำเนินว่าเป็นความถูกต้องแม่นยำไม่มีผิดพลาดดังนี้ ท่านสอนผม
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติอาจารย์หลวงปู่ขาว อนาลโย

    ท่านเล่าว่า เพียงนอนตื่นผิดเวลาบ้างเล็กน้อย ท่านพระอาจารย์มั่นยังมาเตือนว่า

    อย่าเชื่อตัวเองยิ่งกว่าธรรมตัวเองคือวัฏฎะ ธาตุขันธ์เป็นผลของวัฏฏะมาดั้งเดิม ควรอนุโลมให้เขาเท่าที่อนุโลมได้ อย่าปล่อยตามขันธ์จนเกินไป ผิดวิสัยของพระที่เป็นเพศไม่นิ่งนอนใจ การหลับนอนของนักปราชญ์ ท่านเพียงเพื่อบรรเทาธาตุขันธ์ไปชั่วระยะเท่านั้น ไม่ได้หวังความสุขความสำราญอะไร จากการระงับความอ่อนเพลียทางธาตุขันธ์นั้นเลย พระนอนตามแบบพระจริง ๆ ต้องระวังตัวเพื่อจะตื่นเหมือนแม่เนื้อนอน ซึ่งมีสติระวังตัวดีกว่าปกติเวลาเที่ยวหากิน

    คำว่าจำวัด ก็คือความระวังตั้งสติหมายใจจะลุกตามเวลาที่กำหนดไว้ตอนก่อนนอน มิได้สอนแบบขายทอดตลาด ดังสินค้าที่หมดราคาแล้ว ตามแต่ลูกค้าจะให้ในราคาเท่าไร ตามความชอบใจของตน พระที่นอนปล่อยตัวตามใจชอบ มิใช่พระศากยบุตรพุทธบริษัท ผู้รักษาศาสนาให้เจริญในตนและผู้อื่น แต่เป็นพระประเภทขายทอดตลาด ตามยถากรรม จะตีราคาเอาเอง

    การจำวัดของพระที่มีศีลวัตร ธรรมวัตรต้องมีกำหนดกฎเกณฑ์บังคับตัว ในเวลาก่อนหลับ และระวังตัวอยู่ตามวิสัยของพระผู้กำลังจำวัดคือหลับนอน พอรู้สึกตัวต้องรีบลุกขึ้นทันที ไม่ซ้ำซากอันเป็นลักษณะคนขี้เกียจนอนตื่นสาย และตายจมอยู่ในความประมาทไม่มีวันรู้สึกตัว การนอนแบบนี้ เป็นลัทธิของสัตว์ตัวไม่มีความหมายในชีวิตของตัว และเป็นนิสัยของคนเกียจคร้านผลาญสมบัติ ไม่มีงอกเงยขึ้นมาได้ ไม่ใช่ทางของศาสนา จึงไม่ควรส่งเสริม จะกลายเป็นกาฝากขึ้นมาในวงศาสนาและพระธุดงค์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเรื่องทำลายตัวเอง ดังกาฝากทำลายต้นไม้ที่มันอาศัยนั่นแล

    ท่านควรขบคิดคำว่า จำวัด กับคำว่า นอน ซึ่งเป็นคำทั่ว ๆ ไปเทียบกันดู จะเห็นว่าผิดกันและมีความหมายต่างกันอยู่มาก ระหว่างคำว่า จำวัด ของพระศากยบุตร กับคำว่านอน ของคนและสัตว์ทั่วไป ดังนั้นความรู้สึกของพระศากยบุตรที่จะปลงใจจำวัดแต่ละครั้งจึงควรมีความสำคัญติดตัวในขณะนั้นและเวลาอื่น ๆ จะสมชื่อว่าผู้ประคองสติ ผู้มีปัญญาคิดอ่านไตร่ตรองในทุกกรณี ไม่สักว่าคิด สักว่าพูด สักว่าทำ สักว่านอน สักว่าตื่น สักว่าฉัน สักว่าอิ่ม สักว่ายืน สักว่าเดิน สักว่านั่ง สักเป็นอาการปล่อยตัวเกินเพศเกินภูมิของพระศากยบุตรที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง

    ในวงปฏิบัติโดยมากมักเข้าใจกันว่า พระพุทธเจ้าและสาวกอรหันต์ทั้งหลายนิพพานไปแล้ว สาบสูญไปแล้ว ไม่มีความหมายอะไรเกี่ยวกับท่านและตนเองเสียแล้ว ก็พระธรรมอันเป็นฝ่ายเหตุที่สอนกันให้ปฏิบัติอยู่เวลานี้ เป็นธรรมของท่านผู้ใดขุดค้นขึ้นมาให้โลกได้เห็น และได้ปฏิบัติตามเล่า? และพระธรรมตั้งตัวอยู่ได้อย่างไร ทำไมจึงไม่สาบสูญไปด้วยเล่า? ความจริง พุทธะ กับสังฆะก็คือ ใจดวงบริสุทธิ์ที่พ้นวิสัยแห่งความตายและความสาบสูญอยู่แล้วโดยธรรมชาติ จะให้ตายให้สาบสูญให้หมดความหมายไปได้อย่างไร เมื่อธรรมชาตินั้นมิได้เป็นไปกับสมมติ มิได้อยู่ใต้อำนาจแห่งความตาย มิได้อยู่ใต้อำนาจแห่งความสาบสูญ มิได้อยู่ใต้อำนาจแห่งการหมดความหมายใด ๆ พุทธะจึงคือพุทธะอยู่โดยดี ธัมมะจึงคือธัมมะอยู่โดยดี และสังฆะจึงคือสังฆะอยู่โดยดี มิได้สั่นสะเทือนไปกับความสำคัญใด ๆ แห่งสมมุติที่เสกสรรทำลายให้เป็นไปตามอำนาจของตนฉะนั้น การปฎิบัติด้วยธัมมานุธัมมะจึงเป็นเหมือนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ตลอดเวลาที่มีธัมมานุธัมมะภายในใจ เพราะการร้พุทธะ ธัมมะ สังฆะ โดยหลักธรรมชาติจำต้องรู้ขึ้นที่ใจ ซึ่งเป็นที่สถิตแห่งธรรมอย่างเหมาะสมสุดส่วนไม่มีภาชนะใดยิ่งไปกว่าดังนี้

    นี้เป็นโอวาทที่ท่านอาจารย์มั่นมาเตือนท่านในสมาธิภาวนา ในเวลาท่านเห็นว่าหลวงปู่ขาวอาจทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง เช่นการปฎิบัติธุดงควัตรไม่ถูกไม่สนิทกับธรรมเป็นบางข้อหรือบางประการ และการจำวัดตื่นผิดเวลา ความจริงท่านว่า ท่านอาจารย์มั่นมิได้เตือนด้วยความมั่นใจว่า ท่านทำผิดโดยถ่ายเดียว แต่ท่านเตือนโดยเห็นว่า หลวงปู่ขาวจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับหมู่คณะ ทั้งพระเณรและประชาชนจำนวนมากในวาระต่อไป ท่านจึงเตือนไว้เพื่อหลวงปู่ขาวจะได้ตระหนักในข้อวัตรต่าง ๆ ต่อไปด้วยความเข้มแข็ง เพื่อถ่ายทอดแก่บรรดาประชาชนพระเณร ที่มาอาศัยพึ่งร่มเงา จะได้ของดีไปประดับตัว ดังองค์ท่านอาจารย์มั่นเคยพาหมู่คณะดำเนินมาแล้ว

    ท่านว่า การวางบริขาร เช่น บาตร กาน้ำ สบง จีวรหรือบริขารอื่น ๆ ที่ใช้ในสำนัก ต้องวางหรือเก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่นผ้าเช็ดเท้าเป็นต้น ถ้าเห็นไม่สะอาดควรแก่การใช้สอย ต้องเก็บไปซักฟอกให้สะอาดจึงนำมาใช้อีก หลังจากใช้แล้วต้องพับเก็บไว้เป็นที่เป็นฐานไม่ทิ้งระเกะระกะ ถ้าวันใดเกิดเผลอขึ้นมาเพราะธุระอย่างอื่นมาแทรก พอตกกลางคืน เวลาทำสมาธิภาวนา จะปรากฏเห็นท่านอาจารย์มั่นมาเตือนและแสดงธรรมให้ฟังจนได้

    ท่านพักอยู่ถ้ำดังกล่าวในพรรษานั้นเพียงองค์เดียว กลางคืนจะปรากฏท่านอาจารย์มั่นมาเยี่ยมเสมอโดยทางนิมิตภาวนา แม้กลางวันเงียบ ๆ เวลานั่งภาวนาในบางวันยังเห็นท่านมาเยี่ยมเช่นเดียวกับกลางคืน ท่านว่าท่านสนุก เรียนถามปัญหาต่าง ๆ กับท่านจนเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง เพราะท่านอธิบายแก้ปัญหาได้คล่องแคล่วว่องไวมากและได้ความชัดเจนหายสงสัยทุก ๆ ข้อไป ปัญหาบางอย่างเพียงแต่รำพึงสงสัยตามกำลังโดยมิได้นึกถึงท่านเลย พอตกกลางคืนเข้าที่ภาวนา ท่านก็มาอธิบายให้ฟังเสียแล้วโดยยกข้อที่เราสงสัยขึ้นอธิบายให้เราฟังราวกับได้เรียนท่านไว้แล้ว ท่านว่าแปลกและอัศจรรย์มาก แต่พูดให้ใครฟังไม่ได้ เดี๋ยวเขาหากว่าเป็นกรรมฐานบ้า

    แต่ธรรมเครื่องแก้กิเลสชนิดต่าง ๆ โดยมาก ย่อมเกิดจากทางสมาธิภาวนาโดยลำพัง และเกิดจากทางนิมิต มีท่านอาจารย์มั่นเป็นต้นมาเตือนให้อุบายและแสดงธรรมสั่งสอนโดยสม่ำเสมอ อันเป็นการส่งเสริมสติปัญญาให้คิดอ่านไตร่ตรองมิให้ประมาท

    ท่านว่าพรรษาที่จำอยู่ในถ้ำแห่งดงหนาป่าเปลี่ยวนี้ทำให้เกิดอุบายต่าง ๆ ที่แสดงขึ้นทั้งภายในภายนอกมากมายตลอดเวลา ทั้งกลางวันกลางคืน ผิดที่ทั้งหลายอยู่มาก เป็นผู้มีราตรีเดียวด้วยความรื่นเริงอยู่กับธรรมในอิริยาบถต่าง ๆ ยืน เดิน นั่ง นอน เต็มไปด้วยธรรมปีติ ระหว่างสันติธรรมที่มีเป็นฐานเดิมประจำ ความบริสุทธิ์ใจ และธรรมประเภทต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาสัมผัสกับใจ แล้วแสดงความหมายไปในแง่ต่าง ๆ กัน ทำให้กายและจิตชุ่มชื่นรื่นเริงเหมือนต้นไม้ที่ได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยปุ๋ยและน้ำ มีอากาศเป็นที่เหมาะสมคอยชโลมให้ลำต้นกิ่งก้านสาขาดอกใบของมันสดชื่นอยู่ตลอดเวลาฉะนั้น

    ท่านว่าคนเราเมื่อจิตมีราตรีเดียวกับธรรมความสงร่มเย็น ไม่ว้าวุ่นขุ่นมัวมั่วสุมกับสิ่งใดแล้ว ก็มีความสุขอยู่ในโลกแห่งขันธ์เรานี่เอง ไม่จำต้องดิ้นรนหาความสุขในที่อื่น ภพอื่น ซึ่งเป็นการวาดภาพหลอกตัวเอง ให้เกิดความทะเยอทะยาน เสริมตัณหาสมุทัยอันเป็นเชื้อแห่งทุกข์เข้ามาเผาลนตัวเอง ให้เกิดความทุกข์ลำบากไปเปล่า ๆ เพราะความสุขที่รู้อยู่ เห็นอยู่ เป็นอยู่ กับใจนั้นเป็นความสุขที่พอกับตัวแล้ว โลกนี้ทั้งโลกและโลกอื่น ๆ ไม่มีประมาณในสงสารราวกับไม่มีอยู่ สิ่งที่มีและเด่นชัดประจักษ์ก็คือใจกับธรรมที่ปรากฏครอบโลกชาติ ไม่มีขอบเขตเหตุผลพอจะนำมาเทียบมาวัดได้ เพราะจิตกับอัจฉริยธรรมที่ครองกันอยู่มิใช่สมมติ จึงไม่เป็นฐานะจะนำมาเทียบกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...