ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่จาม มหาปุญโญ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 18 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตัวเราทุกคน
    มาถึงขั้นนี้แล้ว ตนมิใช่คนโง่นะ
    ดีชั่ว – บุญบาป – มลทินบริสุทธิ์ รู้กันแล้วทุกคน
    ทำไมจะทำมิได้
    ต้องทำได้ เชื่อเถิด ต้องทำได้
    ขอให้ทำเท่านั้น
    หมู่สูงเจ้าเอาพระใหม่มาฝากฝั่งหรือ
    มาอยู่ด้วยในสำนักนี้ วัดนี้
    ให้คิดให้ดีหนา
    ศรัทธาชาวบ้านคนทุกข์ยากบาปหมองหาเช้ากินค่ำ
    ของจังหันก็น้ำพริกผักลวก
    อยู่กินใช้สอยก็ลำบาก
    นี่ก็บวชเป็นพระแล้ว ให้ตั้งใจให้ดี
    ให้รู้ตัวเสมอว่าตัวเป็นพระสงฆ์เป็นนักบวช
    อย่าคิดรักสาว
    จะบวชเล่นๆ มิได้หนา
    จะบวชหาเงินหาร่ำหารวยก็มิได้
    จะบวชชุบตัวให้ดีวิเศษก็มิใช่
    ตนบวชเพื่ออะไร คือ คำถาม
    ปล่อยวางให้หมดในธาตุในขันธ์
    แล้วจับจิตผู้รู้ไว้
    ดินแตก ดินสว่าง
    ไฟแตก ไฟสว่าง
    ลมแตก ลมสว่าง
    น้ำแตก น้ำสว่าง
    อากาศแตก อากาศสว่าง
    จิตเป็นธาตุรู้ก็สว่าง รู้สว่าง รู้ปล่อย รู้วาง
    สุขทุกข์อุเบกขา
    ความจำ ความหมาย
    ความนึกคิดปรุงแต่ง
    พิจารณาให้รู้แล้ว ปล่อยวาง ปล่อยวางอย่างรู้ทัน
    รู้ว่าเป็นสุขเป็นบริสุทธิ์
    รู้ว่าเป็นนิจจํ
    รู้ว่าเป็นอนัตตาในธรรม
    กายสุจึ
    วจีสุจึ
    มโนสุจึ
    วตฺถุสุจึ
    สุคโต นิพพานํ ยาติ

    กายให้สะอาด
    ใจให้สะอาด
    วาจาให้สะอาด
    วัตถุให้สะอาด
    จึงเป็นสุคโต คือ ไปดีแล้ว ถึงดีแล้ว
    กิเลสไม่กลับคืนแล้ว
    ชั่วใดๆ ดับไปแล้ว
    คำว่า “ดี” คือ ไม่มีโทษอีกต่อไป
    คำว่า “สะอาด” คือ บริสุทธิ์มีผล คือความหลุดพ้น
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เตสํ วูปสโม สุโข
    ดับระงับความชั่วใดๆ ได้แล้วก็ถึงสุข
    บุญเป็นความสุขที่ถูกต้อง
    บุญอยู่ในใจ
    บุญเป็นของมีไว้สำหรับตัวเอง
    บุญนี้เองเป็นนิธิสมบัติให้ได้สุขทั้งเดี๋ยวนี้และต่อไป
    จึงว่า…อย่าประมาทในการบุญ
    ตั้งใจสะสมบุญไว้แก่ตนให้มาก
    เพราะ บุญ ชื่อว่าความสุข
    การสะสมบุญเป็นความสุข
    ให้ยินดีให้มากใน ทาน ศีล ภาวนา ปัญญา
    นี่ พระพุทธเจ้าสอนพวกเราไว้อย่างนี้
    พระองค์ชี้ช่องไว้อย่างละเอียดลออ
    ทำให้เกิดให้มีแล้ว ก็ได้สุขในปัจจุบันนี้เอง
    ได้สุข ได้ประโยชน์ แล้ว
    ย่อมองอาจกล้าหาญ
    ปฏิญาณตนต่อสุจริตธรรมได้ตลอดไป
    เราทุกคนเป็นผู้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ก็ให้ตรวจตราดูตนเอง
    ทาน อย่างใด
    ศีล อย่างใด
    ภาวนา อย่างใด
    ปัญญา อย่างใด
    สูเจ้าเกิดมาทำไม
    เกิดมาเพื่ออะไร
    ไม่รู้หรือว่า เกิดมาแล้วมันทุกข์หนักหนา
    ไม่ต้องบ่นในทุกข์ของตนหรอก
    คิดนึกให้ดี ดูสิว่า ทุกข์มันเกิดมาจากที่ใด
    อยากก็ทุกข์
    โกรธก็ทุกข์
    หลงก็ทุกข์
    ราคะก็ทุกข์
    ตัณหาก็ทุกข์
    ใจก็ทุกข์เสมอใจ กายก็ทุกข์เสมอกาย
    เมื่อไม่คิดอ่านพิจารณา อย่างนี้
    จะดับทุกข์ได้อย่างใด จะได้สุขได้อย่างใด
    ทุกข์กายมันพอไหว ทุกข์ใจมันเหมือนทน
    การศึกษาธรรมะ การปฏิบัติธรรมะ นั้น
    ขอให้จับเอาอันเดียว อย่างเดียว ที่เหมาะแก่ตัวเอง
    ยึดเอาอุบายอย่างเดียวเท่านั้น
    แล้วตั้งใจทำจริงๆ
    อย่าด่วนทิ้ง
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แต่นักปฏิบัติเดี๋ยวนี้ เรียนมาก ศึกษามาก
    มากครู มากอาจารย์ ท่องเที่ยวทั่วไปหมด
    เลยจับตัวของตัวไม่ได้ ไม่รู้ตนของตน
    นี่ เรียกว่า ศึกษาธรรม แล้ว ไม่ธรรม
    ฟังธรรม แล้ว ไม่ทำ
    อย่าเมานักนะ กับแนวทางปฏิบัติที่ผิดทาง
    นักบวชเดี๋ยวนี้ก็เชื่อได้ยาก ถือเป็นครู เป็นอาจารย์
    เราต้องพิจารณาให้ดี
    ยึด " พุท-โธ " อันเดียวก้ใช้กายใจได้แล้ว
    ธรรมะเป็นของละเอียดขึ้นเป็นลำดับขั้นของการปฏิบัติ
    นี่ อาตมาจะอธิบายอย่างไร
    จะให้อุบายอยากใดๆ ก็ตาม
    หากไม่นำไปปฏิบัติ ก็ไม่เป็นผล
    แม้ใครอื่นจะมาอธิบายให้ฟัง ให้เข้าใจในธรรมก็ยังไม่ได้
    แต่อาศัยความหวังดีต่อลุกหลาน
    จึงได้ชี้แจงแนะนำให้พอเป็นแนวเป็นเนา
    ว่าน้อยก็ว่าไม่เข้าใจ
    ว่ามากไปก็ว่าทำไม่ได้
    ก็เพราะตัวยังมิได้ทำ มิได้ปฏิบัติ
    จะมาโทษธรรมก็มิได้
    โทษตัวเองไม่เห็น
    ปัญญามีอยูก็เป็นปัญญาเสาะหาโทษ
    มิใช่ ปัญญาลบล้าง ทำลายโทษ
    แท้ที่จริงแล้ว
    พระพุทธเจ้าทรงวางศาสนาไว้ใน
    การปฏิบัติ กาย
    การปฏิบัติ วาจา
    การปฏิบัติ วัตถุ
    การปฏิบัติ ใจ
    คือปฏิบัติให้เป็นของบริสุทธิ์
    ให้กาย ใจนี้บริสุทธิ์
    ฟังดูเข้าใจว่านี้เป็นของง่าย
    แต่ เอาเข้าจริง ยากนัก
    ว่าทำง่ายเป็นของง่าย ทำได้หรือไม่
    ทำได้หรือยัง
    ให้คิดนึกสิ
    พินิจพิจารณาให้ดีเถิด
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อย่าเข้าใจว่า “ธรรมะ“ กับ “โลก” เป็นของห่างไกลกัน
    ก็อยู่ด้วยกันนี้หล่ะ
    ไม่มีโลกแล้วจะเป็นธรรมได้อย่างไร
    ไม่มีรูปแล้วจะเป็นนามได้อย่างไร
    ธาตุขันธ์อายตนะ ก็มีอยู่ ธรรมะก็มีอยู่
    โลกกับธรรมกุก่อมาด้วยกันอย่างนี้เสมอ
    แต่ท่านผู้มีปัญญานั้นท่านเอาธรรมมารักษาโลก
    จนที่สุดก็เป็นแต่ธรรมอย่างเดียว
    เป็นที่หนึ่ง หาสองมิได้
    ก็แยกโลกออกไป จึงเป็นแต่ธรรม รูปก็เป็นธรรม
    นามก็เป็นธรรม
    ใจก็เป็นธรรม
    ผู้เอาธรรมมาประพฤตินั้นแหละ
    เขาย่อมเป็นธรรม
    ผู้ไม่มีธรรมก็เป็นโลก
    เกิดมาแต่กรรม
    เพราะมีกรรมเป็นของๆ ตน
    รูปนามรวมกันต้องกระทำกิริยาอาการใดๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ตนทำ จึงให้ผลทั้งนั้น
    ดีชั่ว
    บุญบาป
    มาแต่การประพฤติกระทำ
    ความดี นำไปสู่ความสุข
    ความชั่ว นำไปหาความทุกข์
    สุข ทุกข์ นรกสวรรค์เป็นผลของกรรม
    ก็หากนำเอาสุขทุกข์ บุญ บาปนี้ไป – ไปในโลกนี้
    – ไปในโลกหน้า
    เกิดมาก็ทุกข์ของเก่า ทุกข์อย่างเก่า
    ดับทุกข์ก็ไม่ได้ มันต้องทุกขื เกิดอีก ตายอีก
    เกิดตายนับภพนับชาติ
    เดี๋ยวนี้อย่าเข้าใจว่าตัวไม่มีมกรรม
    เป็นตัวเป็นตนอยู่ได้เดี๋ยวนี้ก็เพราะอาศัยธรรม
    ทำอย่างใดจึงจักพ้นกรรม
    ความชั่วใดๆ ยังเกิดขึ้นอยู่
    ก็เพราะตนของตนไม่รู้จักอารมณ์
    ไม่รู้จักสำรวมอารมณ์
    ไม่ได้พิจารณาให้เห็นเป็นตามจริง
    เรียกว่ายึดมั่นถือมั่นเพราะไม่รู้
    เพราะไม่รู้ใจก็ไม่บริสุทธิ์
    ไม่บริสุทธิ์ เพราะ ราคะ เพิ่มเข้ามาหาใจ
    โทสะ เพิ่มเข้ามาหาใจ
    โมหะ เพิ่มเข้ามาหาใจ
    โลภะ เพิ่มเข้ามาหาใจ
    มันเพิ่มเข้ามาก็เพราะจิตไปปรุงไปแต่งในอารมณ์ใดๆ
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ถ้าหากรู้จักอารมณ์แล้ว ก็เป็นอันรู้จักเลือกที่จะเอาดี หรือเอาความชั่ว
    จึงว่าให้มีสติ ให้หัดสติ ให้อบรมสติ
    ผู้มีสติเท่านั้นที่จะหายโง่หายบ้าหายเมา
    ตา – หู – จมูก – ปากลิ้น – กาย – ใจ มิใช่กิเลส
    รูป – เสียง – กลิ่น – รส – ผัสสะ – อารมณ์ มิใช่กิเลส
    อายตนะนอก – อายตนะใน มิใช่กิเลส
    ความดำริของใจเจ้าโง่นี้หากที่มันพาให้เกิดเป็นกิเลส
    อยากได้ ก็มัน
    โกรธหน้าดำหน้าแดง ก็มัน
    เมาหน้าเมาหลัง ก็มัน
    โง่ ก็มัน
    ฉลาด ก็มัน
    ให้รู้ฐานฐานะของตนอย่างนี้
    จึงจักแก้ไขของตนได้
    มันเกิดดับ – เกิดดับ พร้อมด้วยกับจิต
    เอาแต่ อายตนะ รูปกายนี้ ธาตุขันธ์นี้เป็นที่เที่ยวเล่น
    เป็นสนามโลกเท่านั้น
    หน้าที่ของเราผู้มาศึกษานี้เปลี่ยน “โลก” ให้เป็น “ธรรม”
    ให้ได้เท่านั้นก็พอ
    ดีละชั่ว
    มันมีเหตุเกิด มีที่มา
    อยากได้ดี ก็ทำดี ดับเหตุของความชั่ว
    อยากได้ชั่วก็ทำได้
    อิสระเสรี เกิดมาแล้วตามใจตน ทำได้ – ชั่วก็ได้
    – ดีก็ได้
    ตนของตนชอบใจอันใด สุขหรือ
    ทุกข์หรือ
    ดีชั่วมันถึงใจผู้ทำอยู่แล้ว
    บริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง ผู้ทำอยู่ มีอยู่ย่อมรู้จักได้
    เราเกิดมาก็จมอยู่กับมันแล้ว คลุกเคล้าอยู่แล้ว
    ที่สำคัญเราทุกคน “รู้แล้วไม่ยอมละ”
    “รู้แล้วไม่ยอมทำ”
    บอกให้ละ – บอกให้ทำ
    ก็ไม่เอาธุระ
    มันก็หมดท่าเท่านั้น
    เหตุปัจจโย
    เราทำเหตุอันใดไว้
    ย่อมได้รับผลอย่างนั้น โดยไม่ต้องสงสัย
    ดีไม่หาย
    ชั่วไม่หาย
    ใจไม่หาย
    นี้ขณะนี้เป็นโลก
    แต่เมื่อเป็นธรรมแล้ว บุญก็วาง
    บาปก็วาง
    สุขทุกข์ กายใจ วางคืนหมดเลี้ยง
    วางไว้หมดแล้วจะเอาอะไร
    ก็ไม่เอาอะไรเพราะเป็นธรรม
    เอก ธมฺโม เป็นธรรมอันเอก
    โลกก็ดับโลกมาเป็นธรรม
    ดับในใจดวงนี้ มิใช่โลกเขาดับ
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    โลกก็เป็นไปของเขา แต่ใจเราเป็นธรรม
    ทานที่ไม่มีศีล เป็นทานผลใหญ่มิได้
    สมาธิที่ไม่มีศีล เป็นสมาธิผลใหญ่มิได้
    สมาธิเมื่อเราเจริญดีแล้ว ปัญญาก็ใหญ่
    ปัญญานี้แหละเป็นเครื่องแยกใจกับความชั่วใดๆ
    ออกจากันไปได้
    ผู้ปฏิบัติ
    ย่อม
    เข้าใจได้
    ในความเป็นปัจจัยอัน
    อุดหนุนกันอยู่
    ด้วยเหตุนี้ให้ศึกษาให้ได้ให้ถึง ได้แล้วก็เป็นของตน
    ทานก็เป็นของตน
    ศีลก็เป็นของตน
    สมาธิก็เป็นของตน
    ปัญญาก็เป็นของตน
    คำว่า “กรรมฐาน”
    มิใช่พระธุดงค์ พระอยู่ตามป่าเขา
    ทุกคนเป็นกรรมฐาน วัดบ้านวัดป่าบ้านนอกในเมืองก็กรรมฐาน
    อุบาสกอุบาสิกา แม่ขาวนางชี ก็กรรมฐาน
    พระสงฆ์องค์เณร ก็กรรมฐาน
    จะว่าไม่เป็นกรรมฐานไม่ได้
    เกสา อยู่หัว
    โลมา อยู่ตัว เว้นฝ่ามือ ฝ่าเท้าและริมฝีปาก
    นขา อยู่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า
    ทนฺตา อยู่ในปากบนล่าง
    ตโจ ห่อหุ้มรูปกาย
    จะว่าตัวไม่เป็นกรรมฐานไม่ได้
    คำว่า “พระ” แปลว่า ผู้ประเสริฐ
    ก็ประเสริฐเพราะ ทำสมถะให้เกิดขึ้น
    ทำฌานให้เกิดขึ้น
    ทำปัญญาให้เกิดขึ้น
    ทำวิมุตติให้เกิดขึ้น
    หากยังเกิดมิได้ ก็ยังเป็น “พระกรรมฐาน " มิได้
    เป็นได้แต่ “กรรมฐาน”
    ยังไม่เป็น “พระ”
    เกสา
    โลมา
    นขา
    ทนฺตา
    ตโจ
    ให้รู้ว่าเราทุกคนมีอยู่
    อย่าทิ้งไปให้พิจารณา – เป็นธาตุ
    – เป็นปฏิกูล
    – เป็นอสุภะ
    เมื่อเห็นชัดแล้ว ก็ให้สงเคราะห์ลงใน อนิจจํ
    ทุกขํ
    อนฺตตา
    ดูให้มันเบื่อหน่าย
    ดูในกายตน อย่าไปดูของภายนอก
    ให้เห็นชัดในตนนี้ก่อน
    จึงจัก “ได้ความ”
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จะปฏิบัติมาหลายปีเท่าใดก็ตาม
    จะมีความรู้ความเข้าใจมากเท่าใดก็ตาม
    จะได้กราบไหว้ครูบาอาจารย์หลายรูปหลายองค์ หลายรุ่นเท่าใดก็ตาม
    หากยังไม่รู้จักใจตน
    ไม่รู้จักกิเลสในใจตน
    ก็ยิ่งเมาตนหลงตน ว่าดี ว่ารู้ ว่าผ่านครูบาอาจารย์
    นี่ ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็มิใช่หนทาง
    ปฏิบัติเพื่อให้รู้เพื่อให้เข้าใจ
    รู้แล้วเข้าใจแล้วก็ให้ละให้วาง
    ยังละ ยังวางไม่เป็นก็ยังหาความสงบไม่ได้
    ก็เพราะใจไม่สงบนั่นเอง
    จึงเมาจึงหลง
    เอาอุบายอันเดียวที่ถูกใจตน
    แล้วตั้งใจของตน
    ทำจริง ทำให้มาก เจริญให้ได้เป็นลำดับ
    สมถะ อบรมกาย ทำกายให้สงบ ระงับราคะนิวรณ์
    วิปัสสนา อบรมใจ ให้ใจแจ้งอยู่เหนือความสงบ
    จนดับอวิชชาได้
    กายสงบ ก็ปราศจากโทษทางกายทางวาจา
    ใจสงบ มี ๒ อย่าง – ๑ – สงบเฉยอยู่
    – ๑ – สงบอยู่ในองค์ฌาน
    ............................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือคุรุแก้วปณิธาน วัดป่าวิเวกวัฒนาราม คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุรุแก้วปณิธาน ( ตอนที่ 4 )
    ใจสว่าง
    มันสว่างเพราะมีความสงบเป็นฐานเป็นกำลัง
    มันสว่างเอง รู้เอง แจ้งเอง รู้ตามเป็นจริงเอง
    แม้เราไปปรุงไปแต่งก็มิได้เด็ดขาด
    เราได้แต่บำรุงต้น เพื่อเอาลูกไม้ผลไม้เท่านั้น
    เราเป็นแต่ทำความสงบให้ได้แล้วก็พิจารณาเกิด – แก่ – เจ็บ – ตาย – ทุกข์ – สุข – อุเบกขา – ธาตุ – ขันธ์ – อายตนะ – รูปธรรมนามธรรม มรรคปฏิปทาไปตามกำลังปัญญาที่มีเท่านั้น แล้วก้หาความสงบให้ใจมีกำลังอีก
    ใจที่สงบนั่นแหละเป็นตัวให้เกิดปัญญา
    ปัญญาเกิดจากใจ
    เอาเถ๊อะ…ตั้งใจให้ดี
    จิต คือ ผู้นึก ผู้คิด
    คิดแส่ส่ายไปต่างๆ นานา
    ทีนี้คิดนึกไม่คิดนึกเฉยๆ ไปกระทบเอาดีบ้าง
    ไปกระทบเอาชั่วบ้าง
    ก็เลยถือเอาดี เอาชั่วว่าเป็นตนเป็นตัว
    นี่ถ้าเป็นเป็นเช่นนี้ หากไปทางดีก็ดีง่าย
    หากไปทางชั่วก็ดียากแก้ไข
    บัณฑิตนักปราชน์, ท่านเอาสติมาคุมจิต ให้จิตอยู่ที่
    จิตอยู่นิ่งเท่าไหร่ยิ่งดี
    เพราะ
    ปัญญาจะได้เพิ่มมากขึ้น
    ความรู้เท่าก็มากตามเท่านั้น
    ผู้มีปัญญาจิตไปกระทบสิ่งใดๆ แล้วท่านไม่เป็นทุกข์
    ไม่เดือดร้อน ไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน
    ท่านคิดค้นรู้เหตุรู้ผลแล้ว ก็ปล่อยวางไว้หมด
    เพราะจิตท่านเป็นกลางได้แล้ว
    บุญไม่เป็นตนไม่เป็นตัว
    บาปไม่เป็นตนไม่เป็นตัว
    ใจไม่เป็นตนไม่เป็นตัว
    แต่…
    เป็นของมีฤทธิ์ มีอำนาจ
    คือ…
    มีอยู่แต่ไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว
    จึงว่า…
    โลกเป็นของมีอยู่ แต่ หาสาระอะไรมิได้สักอย่างสักอัน
    คือ มีแล้วไม่เป็นอะไร ไม่ได้อะไร
    ส่วน…
    ธรรมนั้น รู้ได้แต่ท่านผู้ได้ ผู้ถึงแล้วเท่านั้น
    คือ ไม่มีในโลกของผู้ที่ยังไม่เห็น
    มีไว้ มีอยู่สำหรับผู้ได้ ผู้ถึง
    จึงว่า
    สพฺเพธมฺม อนตฺตาติ
    เกิด
    แก่
    เจ็บ
    ตาย
    มันเป็นอยู่มีอยู่ทุกขณะ
    แต่…ทำไมเราไม่รู้ไม่เห็น
    อนิจจัง
    ทุกขัง
    อนัตตา
    มันก็แสดงเหตุปัจจัยตามเรื่องตามราวของมันอยู่ทุกขณะ
    แต่…ทำไม่เราไม่รู้ไม่เห็น
    นี่เป็นเพราะอะไร
    พิจารณาเข้าสิ อย่าอยู่เฉยๆ
    อยู่เฉยมันไม่ได้อะไรนะ
    ทุกขณะ ทุกลักษณะมันก็อยู่ในตัวเราคนเดียวนี้
    จะเห็นได้ก็ด้วยใจของตน
    ต้องพิจารณาต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เอกายโน มคฺโค วิสุทฺะยา
    ศีล ความสงบปกติ
    สมาธิ ใจตั้งมั่น
    ปัญญา ความรู้ความจริงแจ้งจริง
    เป็นหนทางสายเอก
    เป็นทางเส้นเดียว ทางเดินที่จะพาให้เราพ้นทุกข์ได้
    สุทธิ อสุทธิ
    ความบริสุทธิ์ ก็อาศัยไตรสิกขานี้
    ความไม่บริสุทธิ์ อันนี้มีอยู่เป็นอยู่ก็อาศัยธรรมเหล่านี้เองเป็นเครื่องชำระได้หมดจด
    พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ตรัสมาแล้วในโลก หรือแม้แต่จะมาตรัสเป็นพุทธะอีกต่อไปเมื่อหน้า ก็มาว่า
    ศีลเป็นของเก่านี้
    สมาธิเป็นของเก่านี้
    ปัญญาเป็นของเก่านี้
    เราตั้งใจเดี๋ยวนี้ ก็มาใส่ใจในของเก่าที่ไม่ล้าสมัย
    จิตมิใช่อารมณ์
    อารมณ์มิใช่จิต
    แต่อาศัยจิตนึกคิดจึงเป็นอารมณ์
    พอเป็นอารมณ์ ก็เข้าไปยึดเอาอารมณ์
    เพราะเห็นอารมณ์ก็เป็นสาระของดิบของดี
    จึงให้เปลี่ยนจากอามณ์ของโลกมาเป็นอารมณ์ขงอธรรม
    ให้เอา “พุท – โ ธ” เป็นอารมณ์
    ให้จิตคิดนึกรู้อยู่กับแต่ " พุท-โธ "
    เพื่อล่อจิต – ผูกจิต – ดึงจิต – ตั้งจิต ให้อยู่
    เมื่อ จิตตั้งอยู่แล้ว – สุขเกิดขั้น
    – ปีติเกิดขั้น
    – อุเบกขาเกิดขั้น
    – เอกัคคตาเกิดขั้น
    รวมเรียกว่าฌานเกิดขึ้น
    จิตตั้งในองค์ฌาน – จิตสงบในองค์ฌาน
    จะหนีจากฌาน ก็ไปเดินวิปัสสนา
    จะไปได้หรือไม่ก็สุดแท้แต่ปัญญา
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปญฺจมาเร ชิโน นาโถ
    ตั้งใจกำหนดภาวนาของตนทุกคน
    ตั้งใจ จนใจตั้งได้ เดินมรรคปฏิปทาต่อไป
    จนชนะมารทั้ง ๕ นี้ได้
    ขันธมาร
    กิเลสมาร
    อภิสังขารมาร
    เทวปุตตมาร
    มัจจุมาร
    มารทั้ง ๕ ตัวนี้ ก็รวมอยู่ในตัวเรา คือ แยกอยู่ในรูป
    แยกอยู่ในนาม
    ร่างกาย เป็นมารเครื่องขัดขวางการปฏิบัติ
    กิเลส เป็นมารเครื่องขัดขวางการปฏิบัติ
    สังขาร เป็นมารเครื่องขัดขวางการปฏิบัติ
    ผู้คน เป็นมารเครื่องขัดขวางการปฏิบัติ
    ความตาย เป็นมารเครื่องขัดขวางการปฏิบัติ
    มารเหล่านี้ล้วนไปแต่จิตนี้ทั้งหมด
    ออกไปจากจิตำพาลนี้เอง
    เมื่อเห็นโทษของความเกิดแล้ว
    ก็เป็นอันเห็นโทษของความเกิด ความเจ็บ ความแก่ ความตาย
    พระอริยเจ้าท่านรู้แล้ว เดินแล้วท่านพ้นไปได้จริง
    พวกเราเห็นแล้วพ้นมิได้
    ทำไมเป็นอย่างนั้น
    ก็เพราะไม่รู้จักเกิดนั่นเอง
    วิธีใดที่จะไม่ได้เกิดอีก – ไม่ต้องเกิดมาในโลก
    ต้องหัดภาวนาให้เป็นเสียก่อน
    จนรู้แจงแทงตลอดในสภาวะเกิดดับ
    จนสามารถปล่อยวางเกิด ตายได้
    เมาเมื่อยังเป็นหนุ่มเป็นสาวสวยงาม
    เมาเพราะเห็นว่าตนยังไม่เฒ่าไม่แก่
    เมาเพราะเห็นว่าตนยังไม่ตาย
    เมาเพราะจิตใจคึกคะนอง
    ตัวเราเดียวนี้ก็บำเรอแต่ความเมาอย่างเดียว
    เมาโง่และเมาฉลาด
    เมาก็เมาในของใกล้ๆ นี้เอง
    ใจเมากาย – ใจเมาใจ
    ใจหลงกาย – ใจหลงใจ
    เมื่อหลง – เมื่อเมา
    หลงเมาแล้วก็มืด
    หาทางออกจากโลกนี้มิได้
    เมาหลงแล้วมันได้อะไร
    คิดอ่านให้ดี
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กามะ
    กาโม คือ ความรักใคร่ยินดี มีความพอใจนำหน้า
    ตนปรารถนาอะไร คนต้องการอะไร ก็พอใจไปตามนั้น
    นี่ หลักของกิเลส
    แต่หลักของธรรมนั้น
    สิ่งที่ตนพอใจนั้น มันให้สุข หรือ
    มันให้ทุกข์
    ยินดีในอันใด
    ยินดีแล้วให้อะไร
    ตัดขาดได้ไหมในอุปทาน
    จิตมีแต่อยาก มีแต่พอใจใคร่ยินดี
    ธมฺมกาโม ภวํ โหติ
    ผู้ใดรักธรรมพอใจในธรรม ยินดีในธรรม
    ย่อมเป็นผู้เจริญ
    ทำไมให้ชื่อว่า “กามคุณ”
    ก็เพราะว่า มิได้ให้โทษโดยฝ่ายเดียว
    มันมีคุณ ให้คุณอยู่
    ก็อย่างไรเล่า
    เราก็เกิดแต่กาม
    ครูบาอาจารย์ ท่านก็มาแต่กาม
    พระอริยเจ้า ก็อาศัยกาม มาพาให้เกิด
    พระอรหันต์ ก็มาแต่กาม
    พระพุทธเจ้า ก็มาแต่กาม
    กามคุณ ให้คุณอย่างนี้
    แต่โทษทุกข์เล่า ก็มิใช่ของน้อย เต็มโลกเลยทีเดียว
    ปราชญ์โบราณท่านว่า “กามมากพอๆ กับน้ำเลือดในหัวอกของสัตว์ทั้งหลาย”
    ก็จริงมิใช่หรือ
    เราก็ก้อนกามเพราะใจเป็นกามใจมีกาม
    หรือจะว่าตัวไม่มีกาม ไม่มาจากกาม
    กาย
    วาจา
    ใจ
    เป็นเรา ของเรา มีอยู่แล้วนี้
    ธรรมะใดๆ อันเป็นขององค์พระพุทธะ
    ก็มีอยู่ ปรากฏอยู่ครบพร้อมบริบูรณ์
    ตัวเราเองเท่านั้น
    ที่ต้องอุตสาหะ วิริยะตั้งหน้าฝึกหัดบำเพ็ญต่อไป
    ธรรมะมีอยู่ในตัวเรานี้เอง
    หน้าที่ให้รีบทำ
    พิจารณาเข้า คิดค้นเข้า อย่าชักช้ารีรอ
    เกิดมาแล้ว
    อยู่เฉยอยู่
    มันจะได้อะไร
    กายนี้ มันจะเป็นอะไรให้ได้
    มันจะมีอะไรให้ได้
    กายนี้ ก้อนธาตุเข้ามารวมกัน มีขันธ์ มีอายตนะ
    สัพพกิเลสเกิดตาม
    กายนี้เป็นมูลของกิเลส
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พิจารณาให้ดีให้เข้าใจ
    ท่านผู้ผ่านพ้นไปแล้วนั้น
    ท่านก็อาศัยก้อนก้อนนี้ อาศัยใจอย่างพวกเรานี้
    ท่านถือเอากายใจนี้เป็นกัลยาณมิตรของตน
    ท่านไม่ให้ตนเป็นข้าศึกของตน
    แต่พวกเราอะไรๆ ก็เอามาบำรุงปรนเปรอ
    ต้องการให้กายสบายให้ใจสบาย
    ก็สบายไปหาทุกข์
    จึงไม่หายทุกข์เสียสักที
    ท่านจึงว่ากายนี้มันก้อนทุกข์
    ใครดับกายดับใจได้ก็พ้นจากทุกข์

    “ไม่อยากมาเกิดอีกแล้ว”
    ปากนะ มันพูดได้ เพราะพูดตามใจอยาก
    หน้าที่ตัวเราต้องดับ อยากนั้นให้ได้
    ต้องระงับการเกิดให้ได้ มิใช่จะให้มีแต่อยาก
    .............................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือคุรุแก้วปณิธาน วัดป่าวิเวกวัฒนาราม คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]คุรุแก้วปณิธาน ( ตอนที่ 5 )
    หรือบางคนหนักเข้าที่สุด
    “ร้องบอกอยากไปนิพพาน”
    ก็ดี…ใหเอยากไว้ละดี
    อยากไว้แล้วมันจะขวนขวายตั้งใจ ใส่ใจในการดับอยากนั้น
    แต่…
    ต้องอยากให้พอดี อย่าอยากเกินไป
    อย่าให้อยากนั้นมาแต่งใจ ให้ใจแต่งอยาก

    ทางอื่นที่จะดับอยาก ดับเกิดตาย ไม่มีหรอกนอกเสียจาก
    – ๑ – ทาน
    – ๒ – ศีล
    – ๓ – ธรรมะ
    – ๔ – ปัญญา
    ธาตุที่เป็นก้อนกายเราเดี่ยวนี้
    มันมิใช่ของเราน่ะ
    อย่าหลงตัวเอง
    เรามาเกิดก็มาใช้วานกับมันเท่านั้น
    พอเราตายไป ก็ต้องคืนแก่โลก
    จึงว่า ธาตุเป็นของกลาง
    รูปนามเป็นของกลาง
    เราต้องวางคืนแก่โลกให้หมด
    จึงจะได้ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก
    อันนี้มันวางไม่เป็น ไม่รู้ที่จะวาง
    ก็เลยเป็นบ้ากาย บ้าใจ
    ธาตุขันธ์อายตนะ
    เรามายืมโลกเขาใช้
    อย่าหลงว่าเป็นตนเป็นตัว
    ยืมเขาใช้อย่างทุกข์ยากลำบากก็ไม่รู้
    มันเที่ยงไหมล่ะ คิดนึกให้ดี
    บังคับบัญชาได้ไหมล่ะ
    จิตใจ
    ไม่เป็นตนเป็นตัว
    เป็นแต่คิด เป็นแต่นึก เป็นความรู้สึกอันหนึ่งมีอยู่
    คิดดีก็จิต คิดร้ายก็จิต
    ด้วยเหตุนี้
    จึงให้เอาสติรักษาจิต
    ถ้าหากเราคุมจิตไม่อยู่ รักษาจิตก็ไม่ได้
    เป็นทุกข์ เร่าร้อน
    อย่าให้จิตไปในทางทุกข์
    ให้จิตไปในทางสุข
    สุขพาให้เป็นกุศล คือ ความฉลาด
    ทุกข์พาให้เป็นอกุศล คือ ความโง่ความเมาหลง
    เพราะตัวเรามีจิตนี้เอง
    ศีล – สมาธิ – ปัญญา – ธรรมะ
    เราจึงสามารถทำได้
    ตัวใจ ตัวแก้นั้นเป็นของกกลาง
    คือ ไม่มีอะไรดี ไม่มีอะไรชั่ว
    ไม่มีอนาคต ไม่มีปัจจุบัน
    ไม่นึกคิดปรุงแต่งในดีชั่วหรืออะไรทั้งหมด
    เป็นแต่ธรรมชาติ ธรรมดาอย่างหนึ่ง
    ท่านว่ามีธรรมชาติเป็นของผ่องใสอยู่
    มีความรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันธรรมเท่านั้น
    ดี แล ชั่วนี้
    เป็นเพราะอาการของใจฉายออกมาแล้วมียึดถือยินดี
    ยินดีพอใจตามอารมณ์ของจากอายตนะผัสสะเท่านั้น
    เราหัดภาวนารักษาใจก็เพื่อให้ใจผ่องใสเช่นเดิม
    ให้เป็นที่รู้ทันตามอาการ
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อะไรเป็นบาทต้นของสติปัฏฐาน ๔
    องค์พระพุทธเจ้าทรงบอกกัมมัฏฐาน ๕ ให้แล้ว
    พิจารณา รูป กายนี้ก่อน
    เพราะ…
    เวทนามันก็เกิดที่กาย ปรากฏที่กาย แม้จากใจก็ตาม
    จิตจะเศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ก็เพราะ มารู้เวทนา
    มารู้ทันกาย
    คำว่า “รู้ทัน” แปลว่า รู้อะไรกุศล
    รู้อะไรอกุศล
    ก็มารู้ทันในธรรมะนี้เอง
    ให้พิจารณากายตัวเค้าต้นให้ชัดแจ้งเสียก่อน
    คำว่า “พิจารณา” คือ ให้อบรมสติ
    เอาสติมาตั้งลงที่กาย
    ตั้งลงที่เวทนา
    ตั้งลงที่จิต
    ตั้งลงที่ธรรม
    ตั้งลงอย่างรู้ พิจารณาอย่างแจ่มแจ้งเข้าใจ
    การรู้ตัวเองนี้แหละ
    เป็นของสำคัญที่สุด
    รู้จักใจของตน รู้ว่าตนดี
    รู้ว่าตนชั่ว
    คนจะดีได้จะประเสริฐได้ต้องรู้จักเรื่องของตน
    ภาวนาก็ให้รู้ตัว
    กิริยาใดๆ ก็ให้รู้ตัวอยู่เสมอ
    อันใดบาป
    อันใดบุญ
    อันใดควรเจริญ
    อันใดควรละ ควรเว้น ควรเลิก
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สติวินโย ทาตพฺโพ
    ผู้มีสติสมบูรณ์แล้วย่อมนำชั่วออกไปได้หมด
    คำว่า “รู้เท่าทัน”
    แปลว่า มีผู้รู้ – ๑ –
    มีเรื่องมีเหตุให้รู้ทัน – ๑ –
    คือ รู้แล้วก็รู้อย่างพอดี
    ไม่รู้อย่างขาด ไม่รู้อย่างเกิน
    รู้เข้าหาทรงอยู่ในตัวใจ
    ดับกิริยาอาการจิตทั้งหมดได้
    รู้ตรงนี้ สติอยู่ตรงไหนก็ใจอยู่ตรงนั้น
    เรียกว่า อยู่ด้วยกับ ณ ที่เดี่ยวกัน
    รู้อย่างนี้เป็นผู้รู้ได้หมายเท่าทัน
    ชั่วจะเข้ามาก็รู้ ดีจะเจริญขึ้นก็รู้ กิริยาใดๆ มีผู้รู้กำกับอยู่
    แต่นี่ก็ยังเป็น ความรู้ขั้นต้น
    เป็นแต่ต้อง สงบรู้อยู่ภายใน
    ผู้รู้ชัดแจ้งอยู่เสมอแล้ว
    ก็รู้เท่าทันได้
    ความรู้เท่าทันนี้มั่นคง ทำกิเลสให้สงบอยู่
    ทำกิเลสมิให้กำกับ
    หมายถึงระงับกิเลสตัวหยาบ
    ยังเหลือตัวละเอียดภายใน
    อบรมความรู้ได้หมายทันให้มั่นคงยิ่งๆ ขึ้น
    จนที่สุด “รู้แจ้งแทงตลอด”
    รู้ทันเพราะใจสงบ อย่างหนึ่ง
    รู้แจ้งแทงตลอดเพราะ ปัญญาภายใน อย่างหนึ่ง
    คำว่า “รู้แจ้งแทงตลอด”
    แปลว่า เป็นความรู้ชัดรู้แจ้งของผู้รู้
    รู้ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด
    รู้ถ่องแท้ในสภาวธรรมใดๆ ทั้งหมด
    รู้อย่างระงับกิเลสภายในอันละเอียดมีอยู่
    ฉะนั้นทั้งสมถะและวิปัสสนา อย่าไปทิ้งผู้รู้
    .................................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือคุรุแก้วปณิธาน หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG] คุรุแก้วปณิธาน ( ตอนที่ 6 )
    สังขารทั้งสิ้นล้วนแต่เป็นทุกข์
    กายสังขาร ก็เป็นทุกข์ของกาย
    วจีสังขาร ก็เป็นทุกข์ของวาจา
    มโนสังขาร ก็เป็นทุกข์ของใจ
    ปุญญาภิสังขาร ก็เป็นทุกข์อย่างผลของบุญ
    ปาปกังวาภิสังขาร ก็เป็นทุกข์อย่างผลของบาป
    อเณญชาภิสังขาร ก็เป็นทุกข์อย่างกลางๆ

    สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
    เรามีกายก็ทุกข์
    เรามีใจก็ทุกข์
    ทุกข์เพราะไม่รู้ไม่เห็นสังขาร
    ตา รับรูปแสงสี
    หู รับเสียง
    จมูก รับกลิ่น
    ปากลิ้น รับรส
    กาย รับผัสสะ
    ใจ รับธรรมารมณ์
    ที่นี้เมื่อรับแล้วชอบพอยินดี อย่างหนึ่ง
    และยินร้ายไม่ชอบพอ อย่างหนึ่ง
    ชอบไม่ชอบก็ล้วนแต่เป็นของเก่า อารมณ์เก่า
    หลงในของเก่า อารมณ์เก่า เมาอยู่กับของเก่า
    เบื่อแล้วก็ชอบ ชอบแล้วก็เบื่อ เป็นทุกข์โทมนัสโศกเศร้าเสียใจ
    หรือโสมนัสเพลิดเพลินใจอยู่เช่นนั้น
    ผู้ฝึกหัดการปฏิบัติ
    ก็ให้มารู้และเข้าใจในเรื่องนี้
    จึงจะพอรู้เรื่องของโลกได้
    จะถามไปทำไม
    เรื่องของคนอื่น
    ครูบาอาจารย์รูปนั้นองค์นั้น ที่นั้น ท่านจะอยู่หรือจะไป ก็เป็นเรื่องของท่าน
    ถามตนเอง ถามหาตนเองมิดีกว่าหรือ
    ท่านรู้อย่างไร
    ท่านดีอย่างไร
    มีความรู้ความสามารถในขั้นใดชั้นใด
    ก็ถวายให้เป็นเรื่องของท่านไป
    เรื่องเรานี้อย่างไร ฉลาดดีเลวหรือโง่งมอย่างไร
    ให้รู้เอง เห็นเอง ฟังเอง สังเกตเองจะดีกว่าที่อาตมาจะว่าให้ฟัง
    ท่านผู้มีธรรมะ เป็นธรรมะ ก็ไม่มีโลกแฝงอยู่
    แต่นี่เราต่างก็ยังเป็นโลกกันอยู่
    สู้ปฏิบัติไปดีกว่าจะได้เห็นเองรู้เอง
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    มาถามว่า “อาตมาเป็นลูกศิษย์ใครนั้นไม่ชอบนัก”
    เพราะจะหาว่าอวดอ้างว่าตนนั้นรูปนั้นเป็นครูบาอาจารย์
    แต่ให้เชื่อเถอะว่า เพราะ ครูบาอาจารย์ของอาตมามีอยู่
    อาตมาจึงพอได้เป็นอาตมาในวันนี้ได้
    แม้การบวชก็บวชเพราะ พ่อแม่ให้บวช
    บวชเสียเถ๊อะลูกเอ๊ย เรามันคนทุกข์คนโง่ จะเอาปัญญาที่ไหนไปเป็นโลกเป็นสงสาร
    ครูบาอาจารย์ ก็เคารพกราบไหว้ท่าน
    ถือปฏิบัติของท่านตลอดมา
    ปฏิบัติตามธรรมของท่านมาเพื่อสืบต่อพระธรรมพระวินัยขององค์พระพุทธเจ้าเอาไว้
    พ่อก็บวชเป็นพระหลวงพ่อ หลวงตา ๖ ปี จึงตาย
    แม่ก็บวชเป็นแม่ขาวนางชี ๓๖ ปีจึงตาย
    อาตมาบวชตามแม่ – บวชตามครูบาอาจารย์
    บวชแล้วก็ตั้งใจมาโดยตลอด
    การทรมานฝึกหัดดัดกายใจตนเองนี้
    ต้องสมัครใจทำ – ต้องทำด้วยความพอใจของตน
    เพื่อให้เป็นอุบายแก้ไขความเดือดร้อนฟุ้งซ่านของใจ
    จิตสงบแล้ว เราก็พอจักเป็นสุขได้
    แม้สติปัญญาก็พอคิดอ่านแก้ไขตนเองตลอดต่อไป
    จะฉันน้อย หรือจะผ่อนอาหาร หรือจะอดอาหาร
    แต่อย่าลืมว่ากายนี้มันอยู่ด้วยอาหาร
    อาตมาเองก็ทรมานแต่พอควร คือ ผ่อนอาหารแล้ว
    มาอดนอน คือไม่นอนเลย
    ทีนี้ พอไม่นอน กายมีอาหารน้อย – กายก็เบา
    – ใจก็เบา
    ใดๆ กดถ่วงจิตก็น้อยลง
    อะไรที่เป็นข้าศึกตัวต้นของจิตก็มีกำลังน้อย
    จิตใจก็เด่นชัดขึ้นมา
    ให้มันอดๆ อยากๆ บ้างแหล่ะดีที่สุดแล้ว
    มาชมบารมี หรือ
    มาแล้ว สมกับคำเล่าลือไหมล่ะ
    เขาว่า หลวงตาจามวัดป่าบ้านห้วยทราย
    มาเห็นแล้วเป็นอย่างไร
    มีอะไรน่าดูไหม
    ดูสิ กายนี้ก็แก่เก่าคร่ำคร่า ผิวกระด่างกระดำเต็มไปหมด
    ฟันก็หายไปเหลือไม่เท่าไหร่ เช้าเย็นก็ต้องชำระมัน
    ดูเล็บสิ ตัดเองก็ไม่ได้ ต้องอาศัยพระเณรมาช่วยตัดให้
    ขนตามกายตามตัวก็หลุดหายไป
    ผมก็ขาวก็หงอกไปแล้ว
    ไม่เห็นมีอะไรดี
    หากจะมีดีก็ดีไปหาวันตายเท่านั้น
    เมื่อไหร่มันจะตาย
    เอ้า…ดูให้หน่อย วันไหนจะตาย
    มาดูแต่ผู้เฒ่าใกล้ตาย
    อีกไม่นานก็มาดูคนตาย
    ตายแล้วมาดูกระดูก มาดูหุ่นปั้น
    ไม่ใช่พูดอวดตัวน่ะ
    นับแต่บวชมาไม่เคยทำบาปด้วยเจตนาเลยแม้แต่น้อยนิด
    ก่อนบวชก็เฝ้าพยายามรักษาไว้ตลอดมา
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แม้พระเณรในวัดก็พยายามรักษาให้รู้จัก ศีล ภาวนา
    ต่อไปจะได้เป็นประโยชน์แก่เขา
    แม้ลูกหลานญาติพี่น้องมาจากไกลแสนไกลนี้เช่นกัน
    พยายามนะพยายามทำดีของตน
    บุญมีจริง
    บาปให้ผลจริง
    นรกมีจริง
    สวรรค์มีจริง
    พรหมโลกไปได้
    ธรรมะมีอยู่
    นิพพานมีอยู่
    อาตมาเชื่อองค์พุทธะโดยแท้จริงแล้ว
    จึงทำตามคำสอนของท่าน สืบมา จนเดี๋ยวนี้
    ได้ความบ้าง ไม่ได้ความบ้าง
    แต่..ก็ตั้งใจมิได้ท้อถอย
    บางวันก็สงบราบรื่น ปรุโปร่งดี
    บางวันก็แย่หน่อย ต้องแก้ไข
    บางวันก็ได้สุขใจ
    บางวันก็ทุกข์บ้างพอกันลืม
    พุทโธ ยึดเอาพระพุทธเจ้า
    ธัมโม ปฏิบัติพระธรรม
    สังโฆ ให้ถึงพระสงฆ์
    นานา วัตถุ ต่างชื่อเรียก แต่รวมคุณลง ณ ที่เดียว
    อาตมาไม่ลดละปล่อยวางหรอกในพระไตรสรณคมณ์นี้
    ทำความยินดีให้เป็นในสมบัติมากน้อยของตน
    มีมากเท่าใดท่านไม่ห้าม
    มีน้อยเท่าใดท่านไม่ห้าม
    แต่ท่านห้ามว่า มากน้อยก็ให้มีไปตามเรื่องตามเหตุ
    ตัวเราอย่าให้เป็นบาป เป็นทุกข์
    สันโดษอย่างเดียวยังไม่มั่นคงพอ
    ให้มีความมักน้อยกำกับเข้าด้วย
    หากมีธรรม ๒ ประการนี้แล้วก็จะรู้จักประมาณตน
    ประมาณธรรม ประมาณทางไปของตนได้
    ต้องการความสงบสุข
    ให้เห็นคุณค่าของข้อปฏิบัตินี้
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธรรมทุกหมวดเป็นเครื่องแก้ไขตนของตน
    ธรรมจึงทรงคุณค่ามากกว่าใดๆ
    ทรัพย์ของพระอริยเจ้านั้นได้มาจากความพอใจยินดีในสิ่งที่มีอยู่นี้ก่อน
    ให้เข้าใจไว้อย่างนี้นะ
    ทำอะไรให้พอดี
    ความรู้จักประมาณนั้นมันดีเสมอ
    การอยู่การกิน การไปการมา
    กิริยาใดๆ ให้รู้จักประมาณ
    ประมาณแล้วมันไม่ประมาท
    มตฺตญฺญุตา สทา สาธุ
    ความพอดีนี้เอง เป็นประโยชน์สุข
    คนมีธรรมะ กับคนไม่สนใจธรรมะ
    นั้นต่างกันตรงนี้ ประพฤติต่างกันอย่างนี้
    ปฏิบัติธรรมอยากได้ธรรมก็ปฏิบัติให้พอดี
    อยากให้พอดี ตั้งใจให้พอดี
    ศีลพาให้กายพอดี
    สมาธิพาให้ใจพอดี
    ปัญญาพาให้ธรรมะพอดี

    นี่ ไปมาหาสู่ มาหาก็หลายครั้งหลายหน
    ได้ในสิ่งที่ตนประสงค์หรือยัง
    ได้หรือยัง
    ยังไม่ได้ก็เพราะฟังแล้วไม่ทำ
    ฟังแล้วไม่กลับเอาไปทำ
    จะให้อาตมาว่าไปข้างเดียวมันก็มีประโยชน์น้อย
    ท่านทั้งหลายต้องเอากลับไปด้วย
    ให้ทรงไว้ในใจ
    ให้เป็นผู้ตั้งใจอยู่เสมอ
    อาตมาใกล้จะตายแล้วหน๋า
    พูดอย่างนี้มิใช่ห่วงกลัวตาย
    แต่…พวกเราเท่านั้นเอง
    ปฏิบัติเป็นหรือยัง
    ได้รับผลหรือยัง
    อย่าให้เปล่าไปเปล่ามา
    มันเสียประโยชน์ เสียเวลา
    อย่าถามว่า “หลวงปู่สบายดีไหม”
    ให้ถามว่า “พอทนได้อยู่หรือ”
    ก็มันมีอะไรพาให้สบายหรือไม่ในโลกนี้
    กินก็ทุกข์
    กินเกินไปก็ทุกข์
    ถ่ายเกินไปก็ทุกข์
    นั่งเกินไป นอนเกินไป ยืนเกินไป เดินเกินไป
    ก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น
    นุ่งห่ม หยูกยา ข้าวน้ำคาวหวานที่อยู่หลับนอนทุกข์ทั้งหมด
    ใครทนได้ดีก็พอได้สุขบ้าง
    ใครทนไม่ได้ก็ได้ทุกข์
    ซ้ำร้ายบางคนมาถามว่าอายุเท่าไหร่ ?
    บอกว่า ๙๐ ปี กับอีก ๖ ปี
    โห…ชื่นชอบยกมือสาธุ
    นี่…มานี่ก็จะมาปันพรให้อายุยืนกว่านี้อีกหรือ
    ไม่เอานะ…พอแล้วลำบากนักขันธ์นี้กายนี้
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้ภาวนา “พุท-โธ” เป็นแล้ว
    จึงไปกำหนดภาวนา อานาปานสติกำหนดหายใจเข้าออก
    ก็จักจับจิตของตนได้ง่าย
    ทีแรกฝึกหัดใหม่ เอาสติคุมจิต
    เอา “พุท-โธ” จับใจ ให้รู้ตัวอยู่
    จนกว่าจะชำนาญ แล้วกำหนดพร้อม
    กับลมหายใจเข้า – พร้อมหายใจออก
    นานไปก็ให้รู้แต่ลม จนกว่าจะชัดเจน ชำนาญ แล้วตัว
    ผู้รู้เด่นชัดขึ้นมาก็ค่อยๆ วางลมหายใจนี้
    จนลมละเอียดสุด
    เหลือแต่ผู้รู้ รู้อยู่ ชัดเจนอยู่
    เป็นอารมณ์ ของผู้รู้อยู่
    ให้รู้อย่างนั้น อย่าทิ้งผู้รู้ – รู้สงบ
    – สงบก็รู้
    ปัญญาไม่พอก็ถอนออกมา
    กำลังใจไม่พอก็ถอนออกมา
    ตั้งต้นใหม่ ไม่อยากไม่หลง
    ทำดีประกอบใจเข้าไว้
    เอาล่ะ…จากนี้ไป
    ให้ตั้งใจภาวนา
    กำหนดรู้ใจของตน ให้รู้สึกอยู่
    อย่าวางผู้รู้
    จดจ่อไว้
    บริกรรมต่อเนื่อง
    อย่าอยาก
    อย่าโกรธตังเอง
    อย่าน้อยใจในตัวเอง
    อย่าแสดงความรำคาญใจ
    อย่าคิดไปอย่างอื่น ให้ฟุ้งซ่าน
    อย่าด่วนเบื่อหน่าย
    ตั้งใจ…ทำไปของตนทุกคน
    ให้รู้สึกตัวอยู่ – อันนี้กาย
    – อันนี้ใจ
    อยู่ด้วยกันที่ลำปางอำเภอแม่ทะ
    ท่านพ่อลีเอาพระธาตุมาให้ดูก็กราบไหว้บูชา
    แต่ยังไม่สนใจนักในเรื่องนี้
    ทีนี้กลับลงมาอยู่วัดนี้ สร้างศาลาแล้วเสร็จปี ๒๕๑๘ ภาวนาไปรู้ได้ว่าตนของตนเคยได้เกี่ยวข้องกับพระธาตุมาหลายภพหลายชาติ ก็มาคิดว่า ชีวิตนี้เกิดเป็นคนทุกข์ คงมิได้กราบไหว้บูชาหรือได้บำรุงพระธาตุ แต่อย่างใด
    ก็เศร้าใจอยู่หลายวัน
    พอวันที่ ๗ เทวดามาบอกว่า “จะเอาพระธาตุมาให้ท่าน พระอาจารย์ได้กราบไหว้ อภิบาลบำรุง”
    ได้เตรียมภาชนะไว้รอท่า
    จากนั้นก็เสด็จเรื่อยมา จนมากเท่าที่เห็นอยู่
    คนไม่เชื่อก็หาว่าเอาทรายมากราบไหว้
    คนเชื่อก็กราบไหว้บูชา
    เรื่องของใครของมัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...