ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่จาม มหาปุญโญ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 18 มกราคม 2010.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท ( ตอนที่ 2 )
    1 สิงหาคม 2545
    ภาคบ่าย

    ตั้งใจให้ดี
    ให้ตั้งใจของตน - พยายามของตนตลอดไป
    การทำดีต้องใช้วิริยะ อดทน ทำไป
    ทำไว้แล้วก็เป็นบุญ
    ได้สุข
    ได้สงบ
    ได้วิชชา
    ได้ฌาน
    ได้ความสว่างปัญญา
    โลกียะนี้เป็นของตั้งใจอยู่เสมอ - ต้องตั้งใจอยู่เสมอ จึงจักพ้นไปได้
    เดี๋ยวนี้ภาวนา
    ให้รู้ อันนี้กาย อันนี้ใจ
    รักษาความรู้ตัวเอาไว้ตลอดจนกว่าจะแยก กาย - ใจ นี้ออกจากกันได้
    อันนี้ กาย - อันนี้ใจ
    ภาวนามันเป็นของยากของลำบาก
    ยากลำบากเพราะบุญของเรา
    มีน้อย บุญยังน้อยนิดหน่อย ใจจึงฟุ้งซ่านอยู่ตลอด
    จึงให้ตั้งใจให้ดี ตั้งใจได้ดีแล้ว ปิติ เกิดขึ้นได้
    สงบ เกิดขึ้นได้
    ปล่อยว่าง เกิดขึ้นได้
    ความเบาสบาย เกิดขึ้นได้
    พยายามกันไป ทำไป
    เกิดมาแล้วในโลก ตั้งแต่เกิดในโลกมา
    พากันทำแต่ชั่ว ทำชั่วมาก อันจะเป็นความดีมีน้อย
    มีแต่กรรมชั่ว กรรมดี มันน้อย
    ยิ่งได้คบพบปะสมาคมเป็นหมู่กับคนพาล คนทราม คนไม่ดี ด้วยแล้ว
    บุญบาปไม่ต้องว่า ทำอะไรก็ตามใจ ทำไปตามความชอบใจตัว
    ชีวิตใดคบคนดี ก็ได้รับคำแนะนำ มีผู้ชี้ทางคอยบังคับด้วย จึงได้ดี
    ชีวิตวันนี้ อย่าประมาท อย่าขี้คร้าน
    ตั้งใจสะสมไป ทำเรื่อยไป
    ทำไปเรื่อย ๆ จนใจนี้มันจะตั้งอยู่ได้
    จนความดีมันเป็นความดีทั้งหมด
    พวกทำความชั่ว บรุพกรรมความชั่วมันก็จะให้ผลเป็นเที่ยงตรง
    ผลของความชั่วอันนั้น ทำลายความตั้งใจ หรือมาเป็น
    อุปสรรคของการทำความดี
    ตั้งใจไว้แล้วจนใจตั้งได้
    ภาวนาไม่เป็นบ้าหรอก มีแต่จะแก้บ้าได้เท่านั้น
    ดีอันเราทำไม่หาย ชั่วอันเราทำไม่หาย
    ดี - ชั่ว อยู่ในตัวของเราตลอด เพราะมันอยู่เป็นคู่สองของใจ
    ให้เราคิดดู สมบัติอย่างอื่น มันล้วนแล้วแต่เป็นของกาย
    หามาทั้งชีวิต ก็ให้แก่รูปกาย
    ดีอันตนทำเท่านั้นที่มันจะเป็นของใจ
    จึงควรตั้งใจรักษาอบรมของตน
    จนกว่าจะได้สำเร็จ
    การทำดีของตนนี้
    อดทน
    พากเพียร
    เชื่อมั่นคง
    ปัญญารักษาเรื่อยไป
    จึงจะได้ดีที่สุด
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วันที่ 1 สิงหาคม 2545
    รอบค่ำ 19.21


    ความตั้งใจอันกำหนดไว้แล้วนี้ มันต้องเป็นประโยชน์
    นี่...ฉันใดการตั้งใจภาวนา
    แม้มันจะได้ผลช้าก็ต้องอดทน
    อดทนไปจนกว่าจะได้สำเร็จ
    ทำไปหลายชั่วองค์พุทธะจึงจะได้เห็นผล
    เราฝึกฝนในวันนี้ก็เพื่อให้เป็นนิสสัยปัจจัย
    ให้ได้ห่างไกลจากคนพาล
    ให้ได้ผลในสุข
    ในปัญญา
    ในความรู้ตนดี - ความรู้ตนชั่ว
    ตั้งใจของตนให้ดี
    ใจของเรามันตั้งยาก-ยากเพราะบุญน้อย บุญยังไม่พอ
    ผู้ใจตั้งได้ง่าย เป็นเพราะ บุญมาก
    บุญมีกำลังรักษาใจ
    พอเข้าที่ภาวนา ใจฟุ้งกระจายไปเพราะบรุพกรรมชั่วของตนแต่ของเก่า
    ให้คิดอ่านตรึกตรองในตนของตน
    เดี๋ยวนี้ได้เป็นมนุษย์
    ได้ทำความดี
    ได้ทำความชั่ว
    จะไปไหน ไปนรกเปรตผี ก็ไปจากภูมิมนุษย์
    ไปเดรัจฉาน ก็ไปจากภูมิมนุษย์
    ไปมนุษย์ ก็ไปจากภูมิมนุษย์
    ไปเทวดา ก็ไปจากภูมิมนุษย์
    ไปพรหมโลก ก็ไปจากภูมิมนุษย์
    ดี - ชั่ว จึงเป็นบ่อเกิดของคน
    ผู้ฉลาดจึงต้องตั้งใจไปตลอดเวลา
    ตั้งใจในความเป็นปุถุชนของตน
    ดีมีอยู่-ชั่วมีอยู่-อยู่ในใจ
    ให้คิดเสมอว่าเป็นมนุษย์ต้องทำดี สั่งสมบุญกุศล
    อย่าทำชั่ว
    ความชั่วนั้น มันมืด
    มันพาหลงไหล
    มันพางมงาย
    มันพาลุ่มหลง
    มันพาไปนรกภูมิต่ำ เดรัจฉานเปรตผี
    ดีมีอยู่ ชั่วก็มีอยู่
    ให้ตั้งใจเพิ่มความดี
    จากนี้ไป - กำหนดภาวนา
    อันนี้กาย
    อันนี้ใจ - ลมหายใจมีอยู่ - ผู้รู้ลมหายใจมีอยู่
    กายนี้ นิ่งอยู่ - ธาตุดินตั้งไว้
    ธาตุไฟซาบซ่าน
    ธาตุน้ำเลื่อนไหล
    ธาตุลมแทรกซึมวิ่งไปมา
    ธาตุอากาศว่างเจืออยู่
    ใจเป็นผู้รู้มีอยู่
    รู้สึกภาวะรู้
    กำกับ จดจ่อต่อเนื่องกันไป
    พยายามต่อไป
    อย่าท้อถอย
    เราผู้เดียวนี้เองที่ต้องสู้มันจนสุดท้าย
    ..............................................................................................................................
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    2 สิงหาคม 2545

    มันจะได้ตั้งใจอย่างนี้ไปอีกนาน จะได้ตั้งใจไปกว่าจะได้สำเร็จต้องเอาอยู่อย่างนี้กับใจอันนี้
    มันเป็นอย่างไรอยู่ในภพภูมิใด ก็ต้องเอาอยู่อย่างนี้ ท้อถอยมิได้หรอก
    ให้รู้จักมันยินดีอะไร ยึดถืออะไร
    เป็นมนุษย์ มันคืออะไร
    เป็นเทวดา มันยึดอะไร
    เป็นพรหม มันยึดอะไร
    จิตไม่อยู่ - จิตไม่ตั้ง มันยึดอะไร
    จิตอยู่ จิตตั้ง มันยึดอะไรอยู่
    มันยังจะต้องได้แก้ไขอันนี้ไปเรื่อย ๆ
    พระโสดาบัน ก็ยังจะต้องได้แก้ไข
    พระสักทาคามี ก็ยังจะต้องได้แก้ไข
    พระอนาคามี ก็ยังจะต้องได้แก้ไข
    แก้ไขในความยินดี ความพอใจ ความยึดมั่นถือมั่น อุปาทานอันเหลืออยู่หรือเรียกว่า อุปาทานขันธาทุกขา
    ติดในขันธ์
    ติดในรูป-ติดในนาม-ยินดีพอใจในภพ
    รูปขันโธ - ยินดียินร้ายในรูป เป็นขันธ์
    เวทนาขันโธ - ยินดียินร้ายในเวทนา เป็นขันธ์
    สัญญาขันโธ - ยินดียินร้ายในสัญญา เป็นขันธ์
    สังขารขันโธ - ยินดียินร้ายในรูปสังขาร เป็นขันธ์
    วิญญาณขันโธ - ยินดียินร้ายในรูปวิญญาณ เป็นขันธ์
    เราทุกคนจะต้องแก้ไขในอุปทานอันนี้ อันเนื่องจากขันธ์นี้
    ละความยินดี
    ละความยินร้าย
    จึงเป็นกิจ เป็นหน้าที่ในการตั้งใจ
    จึงต้องเอาอยู่ เป็นอยู่เช่นนี้ ในเรื่องกับใจนี้
    เพื่อจะให้ใจตั้งอยู่ได้
    ชีวิตนี้ตั้งอยู่ได้ในระดับนี้ ชีวิตต่อไปต่อเสริมได้อีก
    เพิ่มกำลังเพิ่มอินทรีย์ไปเรื่อย ๆ
    รักษาความยินดี พอใจในศาสนา, องค์พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พระอริยะ
    ยินดีพอใจเพิ่มบุญเพิ่มกุศล เพิ่มความสุข เพิ่มปัญญา
    ให้ตั้งใจของตน
    การยึดถือในรูปกาย รูปใจนี้ มันพาให้กลัว - เป็นภัย - เป็นโรค - เป็นทุกข์
    ให้รู้จักในอุปาทานขันธ์
    อย่าประมาทในการศึกษาเรียนรู้พร่ำบ่นสาธยาย
    อย่างเช่น พระเถระผู้สาธยายพุทธพจน์ในป่าไผ่จนได้สำเร็จอรหํ
    เทวดาผู้อยู่ตรงนั้นกลัวเสียงไม้ไผ่สีกันอยู่ ก็อาศัยเสียงของพระเถระ พอได้อุ่นใจ
    เดี๋ยวนี้เราทุกคนตั้งใจของตนอยู่
    1. อย่าให้อยาก ให้รู้อยู่แต่ใจเท่านั้น
    2. อย่าแค้นใจ – อย่าน้อยใจ - อย่าคับแค้นแน่นใจ
    3. อย่าให้โทสะน้อยเนื้อต่ำใจ พร่ำบนร่ำไรว่า เกิดมาชาตินี้ ทำดีอะไรไม่ได้ ไม่มีวาสนา อย่าโศกเศร้า ปริเทวนา
    4. ตั้งใจของตนเสมอไป ให้รู้กาย ให้รู้ใจ
    เดี๋ยวนี้ใจอยู่ของใจ - กายอยู่ของกาย
    ให้รู้ตัวอยู่
    หากใจเข้าหากายแล้ว ขันธ์มันก็เกิดตามมาอีก
    พยายามต่อไป
    ..............................................................................................................................
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    3 สิงหาคม 2545

    ตั้งใจของตน
    ใจคือ ความรู้สึกมีอยู่คงที่
    ความรู้สึกซาบซ่านทั่วไป-ทั่วกายนั้น เรียก เจตสิก
    กระแสของจิตใจ เรียก วิญญาณขันธ์
    ภาวนาก็รักษาใจนี้เอง ให้รู้ว่ากาย
    รู้สึกอยู่นี้คือใจ - ใจผู้รู้ลมนี้
    ลมหายในนี้กาย
    ใจเป็นผู้ตั้งรู้ระลึกอยู่
    ใจกำหนดรู้ ให้รู้สึก ใจตั้ง
    ใจจะต้องตั้งอยู่ได้ด้วย ศรัทธา
    วิริย
    ขันติ
    สติ
    ปัญญา
    จึงให้เพิ่มใจของตน เพิ่มความแก่ของอินทรีย์
    เพิ่มใจ เพิ่มกำลังของใจ
    เดี๋ยวนี้ อินทรีย์เหล่านี้ของเรามีน้อย
    บุญของเรามีน้อย
    เรามาภาวนาใจตั้งมิได้ ใจมิอยู่คงที่
    หากใจของเราอยู่คงที่แล้ว บุญเกิด – ความดีเกิด - ชั่วลดลงได้
    เราเป็นมนุษย์ หน้าที่สะสม ความดีบุญกุศล
    ตั้งใจภาวนาไปเรื่อย
    จนกายหายไป เหลือแต่ใจผู้รู้
    ตั้งใจอยู่เสมอ
    ตั้งใจของตน.
    ......................................................................................................................................
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    4 สิงหาคม 2545


    ตั้งใจของตน ใจมันของตั้งยากให้พยายามตลอดไป
    เพราะตัวเราทุกคนจะต้องได้ทำกิจอย่างนี้ตลอดไปเป็นภพนับชาติ
    ในชีวิตใดรู้ได้ภาวะต้องได้ทำแน่นอน
    เว้นเสียแต่ในชีวิตใดไม่รู้บุญ ไม่รู้บาปก็แล้วไป
    รู้สึกอยู่เป็นใจ
    จนกว่าใจอันนี้จักตั้งได้ จึงจะรู้ใจของตน
    เดี๋ยวกายมีอยู่ ใจรักษาร่างกายอยู่ ความรู้สึกซาบซ่านเป็นกระแสวิญญาณ
    ใจรักษากาย ธาตุ 4 ก็อยู่เสมอกัน
    หากเมื่อใดกายไม่เสมอกันในวัตถุธาตุ ก็มรณตาย ไม่หายใจ เพราะใจ
    หนีออกไป
    การภาวนาของเรานี้ก็ ต้องการรักษาใจ - ให้ใจตั้งอยู่ได้
    ให้สุขเกิด ให้สบายเกิด ให้สงบเกิด
    ใจไม่อยู่ - รูปกายนี้ก็ติดขัด น่ารำคาญ ปวดเจ็บเหน็บมึนชา
    ติดในกาม ฟุ้งซ่าน หาวนอน เซื่องซึม โลเล สงสัย เฝ้าคิดเป็น ไป
    ต่าง ๆ นานา
    ใจเป็นเจ้าของ ของกาย กายเป็นส่วนรูป
    ใจเป็นส่วนนามขันธ์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ใจหนีจากายตายไป ดีเกิด ดีเป็นสุข ความดี เป็นสวรรค์
    ชั่วเกิด ชั่วเป็นทุกข์ ความชั่วเป็นนรก
    โลกนรกสวรรค์วิมาน มรรค นิพพาน ไม่มีเต็ม
    ปุถุชนคนเช่นพวกเรา หน้าที่ต้องเที่ยวไปในภพเหล่านั้นให้ทั่วหมด
    รักษาใจวันนี้
    จะร้อน จะฟุ้งซ่าน ก็เป็นเรื่องของใจ
    เราปรุง เราแต่ง มิได้หรอก มีแต่รักษาผู้รู้ผู้เดียวเท่านั้น
    ตั้งใจอย่างเดียว
    อย่าไปคิดอย่างอื่น
    ความอยากมันมากเพราะความชั่วมันมาก
    จิตดิ้นรนวนวายอยู่ เพราะชั่วบาป
    จดจ่อต่อใจให้รู้สึกอยู่เนื่องต่อๆ ไป
    จะท่องพุทโธด้วย ตามลมด้วยก็ได้
    ให้รู้ว่าใครท่องพุทโธ
    ใครดูลม
    ชีวิตนี้
    ชีวิตหน้า
    ชีวิตต่อไป หน้าที่ตายเกิดของตนอย่าสงสัย
    พยายามให้สุดแท้แต่กำลังของตน
    ต่อไปจะใช้อะไรมาตกแต่งรูปกายนี้
    บรุพกรรมใดดีหรือชั่วเป็นสังขาร
    ตนจะสะสมอันใด
    จนกว่าจะได้สำเร็จ
    อดทน ทนสู้-ทนบำเพ็ญ จนกว่าจะชัยชนะ
    เกิดตาย-เกิดดับ
    กายทุกข์ ใจทุกข์
    เกิดใหม่ ตายใหม่
    ต้องเป็นอยู่เช่นนี้ ดี-ชั่ว
    บุญ-บาป
    จึงเป็นมรรคหนทาง
    ผลที่จักแก้ไขตนของตนได้ต่อไป
    ตั้งใจของตนให้ดี ตั้งใจภาวนาของตน
    .....................................................................................................................................
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    5 สิงหาคม 2545

    พยายามทำดีของตน หาความดีเพิ่มเติมให้แก่ใจของตน
    สมาธิ -1-
    กสิณ -1-
    ฌาน -1-
    วิชชา -1-
    ญาณ -1- เป็นเครื่องเพิ่มกำลังให้แก่จิตของตน
    จิตปุถุชนที่มีกำลังมากแล้วนั้นสามารถ ซานเหาะไปได้ในอากาศเช่น ฤาษี โยคี วิชชาธร พระอรหัน พระปัจเจกก์ พระพุทธเจ้า
    สามารถทะลุผ่านได้หลายโลก หลายจักรวาล เช่น พระโมคคัลลาน์ ได้ท่องเที่ยวไปได้จนแจ้งในโลกทั้ง 4
    ชมพูทวีป -1-
    บุพพวิเทหทวีป -2-
    อุตตรทวีป -3-
    อมรโคยานทวีป -4-
    ทวีป 2 – 3 – 4 นั้น มีแต่ชั้นศีล 5 ธรรม 5 ธรรมชาติอันหนึ่งมีอยู่เป็นเครื่องฝึกหัด
    จิตใจ
    ในทวีปนั้น ไม่มีฤาษี โยคี นักบวช ไม่มีอริยะอรหํ พุทธะปัจเจกก์
    พระเจ้าจักรพรรดิ์
    ปราชญ์เหล่านี้มีอยู่แต่ในชมพูทวีปเท่านั้น มีศีล มีสมาธิ มีปัญญา มีมรรค มีผล มีพุทธรัตนตรัย
    ทวีปเหล่านั้นเราเคยไปเกิดมา
    เมื่อมาเกิดในชมพูทวีปนี้แล้ว ก็อาศัย บัณฑิต นักปราชญ์ พระฤาษี โยคี นักบวช พระ
    เจ้าจักรพรรดิ์ พระอริยะอรหันต์ พระพุทธะ พระ
    ปัจเจกก์ เป็นผู้ช่วย แนะนำพร่ำสอน
    การเกิดของเรานี้ก็นับได้แล้ว หลายล้านพระพุทธะมาตรัสในโลก
    จะได้เกิดต่อไปอีกมาก
    เกิดมาแล้วเก็บสะสมภพชาติได้ระดับ 1
    ระดับ 2
    ระดับ 3 ได้รับพุทธพยากรณ์
    ระดับ 4 ได้ตรัสรู้จนพ้นทุกข์
    ผู้ได้เกิดใหม่คือเกิดใหม่ก็มิได้รู้ดีหรือรู้ชั่ว
    จนกว่าจะได้นานเข้า จึงมารู้การดีและการชั่ว รู้เห็นเป็นมรรค
    จากสัตว์ตัวเล็ก ๆ ก็ใหญ่โตขึ้นมา จนได้เป็นสัตว์ตัวใหญ่
    เป็นสัตว์ตัวใหญ่นานเข้า
    จิตใหญ่ใจหนาแล้วจึงได้เป็นคน
    เป็นคนแล้วก็ฝึกหัดในความดีชั่ว
    หากถามว่าวิญญาณผู้เกิดแต่เดิมนั้นมาจากไหน
    พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นอจินไตย
    ไม่ควรคิด ไม่ควรอ่าน ไม่ควรใส่ใจ เพราะจะหาเงื่อนต้นไม่พบได้
    1. เรื่องของพระพุทธเจ้า
    2. เรื่องของโลก
    3. เรื่องของกรรม-ชีวิตจิตใจ
    4. เรื่องของฌาน
    เดี๋ยวนี้ เป็นคนดี ๆ แล้วนี้ คิดอ่านของตน
    ฝึกหัดดี ละของความชั่วอันมาแต่กิเลสของแต่ละภพแต่ละชาติ
    เกิดตายภพชาติเปลี่ยนกันอยู่เรื่อย ๆ มา ดีจึงติดมา ชั่วจึงติดมา
    บาปกรรมทุกข์โทษ ดีสุขกุศลปัญญาบารมี
    เป็นสิ่งที่เรายังไม่รู้จักชัดเจน
    เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจ ก็ยังจะต้องอยู่ในโลกนี้ต่อไป หน้าที่เดี๋ยวนี้จึงให้แก้ไขความคิด ความถือ ความไม่รู้นี้ ให้ได้
    โดยอาศัยปราชญ์ทั้งหลาย
    ถ่ายแบบของท่านเหล่านั้นมารักษาตนเอง
    พบปะฤาษี โยคี - ก็ให้เจริญฌาน เจริญกสิณ
    พบปะบัณฑิต ปราชญ์ ทั้งหลายนั้น ก็ทำดีแก่ตนแก่โลก
    พบปะพระเจ้าจักรพรรดิ์ ก็ได้ฝึกหัดในศีล 5 – 8 - กุศลกรรมบถ
    หลักธรรมโลกียะ
    พบปะพระอริย - อรหันต์ ก็ฝึกหัดในมรรคของโลกุตตระ
    พบปะพระพุทธเจ้าก็ได้ผลอันดีอย่างมากมาย พิศดารกว้างขวาง
    ตัวเราเองเป็นผู้บำเพ็ญเกิดตายก็เช่นเดียวกัน ครั้นแก่กล้าพอแล้วได้ที่ของตนแล้ว
    ตนของตนจะตกอยู่ในจังหวะของพระพุทธเจ้าประเภทใด
    ปัญญาธิกะพุทธเจ้า - บำเพ็ญปัญญาเป็นหลัก
    สัทธาธิกะพุทธเจ้า - บำเพ็ญศรัทธาเป็นหลัก
    วิริยะธิกะพุทธเจ้า - บำเพ็ญวิริยะเป็นหลัก
    การฝึกหัดการสะสมจึงเป็นเหตุปัจจัยของตน เป็นนิสสัยเป็นปัจจัยของตน
    การทำดีในวันนี้ มันเป็นผลแนบแน่นต่อไปภายหน้า เป็นของตนเฉพาะ
    ของละเอียดเป็นของเรา
    ของหยาบเป็นของเรา
    อินทรีย์พาบารมีจะเอาเช่นใด จะเป็นคนเช่นใด
    ให้หมั่นพากเพียร ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าในเกิดตาย การทำดี การขัดล้างกายของใจ
    ให้เป็นคนผู้ละเอียด - อยู่แต่ในเขตของความดี
    เอากาลเวลาเกิดตายเป็นประมาณ
    ข้อปฏิบัติหลักปฏิปทาของตนให้ละเอียดงดงาม
    อย่าท้อถอย ก้าวเดินให้มั่นคงตรงไปข้างหน้า
    ฝึกหัดตนของตนไป
    ตนของตนอย่าให้เป็นภาระของครูอาจารย์
    ขององค์พุทธะผู้เป็นอาจารย์เกินไป
    อย่าให้ท่านหนักเป็นภาระเพราะตัวเรา
    เราผู้เดียวเท่านั้นที่จะแก้ไขตนได้
    แก้ไขได้ในชีวิตนี้ ก็พ้นทุกข์ได้
    หากยังมืด ยังหนาอยู่ ก็ต่อในชีวิตต่อไป
    ..................................................................................................................................
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    6 สิงหาคม 2545

    ของยากที่สุดในโลกคือ การรักษาใจของตน
    บุญน้อยจิตมันก็หนักในนิวรณ์ ฟุ้งซ่านมาก
    บุญมากบุญหลาย จิตก็เบาจากนิวรณ์
    บุญกุศลธรรมะปัญญาต้องเป็นของตั้งใจในการเก็บสะสมรักษา ต่อไปภายหน้า
    เดี๋ยวนี้เกิด - ตายเป็นของตน
    ชีวิตนี้เป็นคน ให้บุญเกิด ให้บาปลดละคลายไป รักษาตนให้อยู่ในบุญเขต
    เมื่อบุญของตนมันแรงกล้าแล้ว ฌาน
    ปัญญา
    ญาณ
    ธรรมมะ เกิดขึ้นได้เป็นลำดับ
    บุญเป็นมาตรฐานรักษาใจ เป็นอาหารของใจ
    บุญมากจนสะสมในกาย วาจา ใจ จึงเป็นอันเดียวกันกับตนของตนได้
    เรียกว่าบุญมากเหนือบาป บุญมากเหนือการทำบุญกริยา
    ให้ตั้งใจของตน
    ผู้รู้นี้มีความสำคัญ ให้รักษาให้ได้ตลอด
    รักษาใจของตนอย่าท้อถอย
    วิชชาทั้งหลายมันเป็นเครื่องตักเตือนใจ
    วิชชาทั้งหลาย มันกำลังของใจ
    จึงอย่าได้หลงมัน
    ในวิชชาใด ๆ เกิดขึ้นมาก็ให้รู้จักมัน
    สมถะ วิปัสสนา เกิดขึ้นก็ให้รู้จักมัน
    อย่าทิ้งผู้รู้สึกอันหนึ่ง อันมีอยู่
    การรักษาใจเป็นของยากนัก
    หากใจตั้งได้แล้วก็มิเกี่ยวกับกาย
    กายมีอยู่แต่มิเกี่ยวข้อง
    ใจเป็นแต่ใจ
    เดี๋ยวนี้ใจมันควบคุมบังคับบัญชาร่างกายอยู่
    ความรู้สึกซาบซ่านยังสัมผัสได้ตลอดร่างเรือนกาย เรียกว่า วิญญาณขันธ์
    รับความรู้สึกนั้นเข้ามาทางอายตนะมาเป็นเวทนา , เป็นสัญญา, เป็นสังขาร
    เป็นวิญญาณ เป็นรูปนาม เป็นขันธ์
    เทวดา ใจอยู่กับบุญ
    ฤาษี โยคี เข้า ฌาน ใจอยู่กับองค์ฌาน
    พระอริยะอรหํ เข้านิโรธ ใจอยู่กับ สมาบัติ สัญญาเวทนานิยคนิโรธ
    พระอรหํง พระพุทธ พระปัจเจกก์ ใจอยู่กับองค์พระธรรม
    มนุษย์ สัตว์ เปรต ผี อสุรกาย สัตว์นรก ใจก็อยู่ในรูปนั้นในภพนั้น ๆ
    หมดกำหนดอายุ ใจก็เปลี่ยนภพไป
    เดี๋ยวนี้เราทุกคน ฝึกหัด
    ฝึกฝน
    ฝึกซ้อม
    ในตนของตนให้รู้ว่าใจ กาย ใช้กันและกันอย่างไร
    อย่างดี-อย่างทราม
    ใจใช้กาย
    ใจใช้วาจา
    ใจใช้ใจ
    การกระทำ
    การพูด
    การคิด ให้เป็นแต่กรรมดี - ให้เป็นแต่กำลังของจิตใจ
    บำเพ็ญกันไป
    รักษากันไป
    ปฏิบัติกันไป
    ชีวิต จิต ใจ สุข ทุกข์ เป็นของต้องกำหนดกันไป
    -เอวัง-
    ..................................................................................................................................
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    7 สิงหาคม 2545

    ตั้งใจภาวนาของใครของมัน
    ให้ระลึกนึกถึงลมหายใจเข้าออกเสมอ
    มันมีอยู่ในกาย เอาใจมาจดจ่อกับลมหายใจ
    หรือจะบริกรรมอะไรก็ตามแต่สะดวก คล่องในการกำหนด
    มรณะความตาย
    ทุกขัง-อนิจจัง-อนัตตา
    พุทโธ-ธัมโม-สังโฆ
    อภิณหะ-อสุระ
    เกิด-ดับ ตายไปเกิดใหม่
    ให้หมั่นพิจารณาอันสะดวกแก่ตน
    กิจเช่นนี้ต้องทำตลอดไป อีกยาวนานเพราะยังดับเชื้อเกิดตายมิได้
    เดี๋ยวนี้ เกิดตาย เทียวไปเทียวมาทุกภพทุกภูมิ
    พรหม – ฌานาภิสังขาร - การศึกษาในพรหมวิหารเป็นหลัก
    สวรรค์ – ปุญญาภิสังขาร – ฝึกใน ทาน ศีล สมาธิ
    นรก - ปาปกังวาภิสังขาร - ทรมานในวิบากกรรม
    อยู่ในภูมิใด หมดอายุก็เปลี่ยนภูมิใหม่ เหมือนเปลี่ยนเสื้อใหม่
    ชีวิตนี้เป็นมนุษย์ จึงมีดี – จึงมีชั่ว - มีกรรมต้องเป็นมนุษย์
    เกิด - ตาย วนเวียนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา
    จนกว่าจะได้เป็น เวปุลบุคคล
    ความหยาบความละเอียดของตนต้องดูแลใส่ใจให้มาก
    ผู้หยาบคายก็อยู่ในโลกนี้เดน ฑีโฆ พาลาน สังสาโร
    ผู้ละเอียดขยันเกิดตาย ก็อยู่ในวัฏฏนี้นิดเดียว
    ขยันศึกษา – ขยันขัดเกลา ปฏิปทาอุปนิสัยส่วนตัว
    อุปนิสัยส่วนหมู่พวก
    ต้องกำกับกันไป
    เป็นศิษย์เป็นครู
    เป็นครูเป็นศิษย์
    เป็นบัณฑิต เป็นพาล-เป็นอยู่อย่างนี้
    ในชีวิต ความดี –ความชั่ว – สุข – ทุกข์
    เกิดมาได้ทำบ้าง
    มิได้ทำบ้าง
    รู้จักบ้าง - มิได้รู้จักบ้าง
    เป็นยุค เป็นจังหวะ เป็นชีวิต
    เกิด - ตาย ในโลกนี้ อยู่ในจังหวะใด
    รูปกายนี้เปลี่ยนไปเรื่อยไปตามสังขาร ตามกรรม-ความดี ความชั่ว
    แต่รูปใจ ผู้สืบการเกิดสืบการตาย สืบดีสืบชั่ว ก็เป็นผู้เดียว จะดีขึ้นหรือ จะเสื่อมถอยลง ก็อยู่ที่ตัวเรานี้เอง
    ว่า ใส่ใจในความดี ใส่ใจในความสุข ใส่ใจในตนอย่างไร
    สุดแท้แต่ตัวเราเองเถิด
    เดี๋ยวนี้
    1. ร่างกายยังดีอยู่
    2. มิได้เป็นบ้าใบ้วิกลวิถาร
    3. พบปะศาสนธรรม คำสอน ครูอาจารย์
    4. มีศรัทธา
    5. ยินดีพอใจในการเพิ่มความดี ตั้งใจไว้อยู่เสมอ
    นี่ละ...ให้รักษาอันนี้เอาไว้
    ใจไม่มีตาย
    ใจไม่มีรูปเฉพาะของมัน
    ใจอยู่กับรูปต่าง ๆ
    ใจดีขึ้นเพราะความดี ใจต่ำลงเพราะความชั่ว
    เกิด-ตาย เป็นของแน่นอน
    ตัวเราจะให้เกิดตายด้วยอาการเช่นใด อย่างไร
    ด้วยสังขารบุญ หรือ
    ด้วยสังขารบาป หรือ
    ด้วยสังขารธรรม
    จะแก้ไขตนเองด้วยอาการเช่นใด
    จะส่งเสริมตนเองด้วยปฏิปทาเช่นใด
    .............................................................................................................................
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    9 สิงหาคม 2545

    พยายามทำไปเรื่อย
    ใช้ความเพียรของตน
    ตั้งใจของตน ขันติ อดทน
    จิตไม่สงบก็เอาบุญ
    จิตไม่อยู่ก็เอาบุญ
    จิตไม่ตั้งก็เอาบุญ
    ความอดทน-ความพยายาม-ศรัทธาเชื่อมั่น-สติรู้ตัว ใจมั่นคง ปัญญาดีกว่าแต่ก่อน ล้วนแต่เป็นบุญทั้งนั้น
    เกิดมาจนวันนี้ มัวเมาแต่หาสมบัติให้แก่กาย
    สมบัติภายในของใจกลับมีน้อย
    ให้เข้าใจว่า นอกเสียจากบุญบาป กรรม ธรรมะ แล้ว นอกนั้นเป็นของกายเป็นสมบัติภายนอกจนหมด
    เกิดมาจึงถือเอากายเป็นใหญ่
    เรื่องของกายนั้นมันได้ประโยชน์น้อย
    แต่ของใจนั้นเป็นของตน
    เป็นนิสสัยปัจจัยต่อไปภายหน้า
    โลกวัฏฏะนี้เป็นหน้าที่ของเรา
    เกิด – ตาย - เกิด - ตาย
    เต็มที่บริบูรณ์วันใดแล้วก็สำเร็จได้ทันที
    พยายามของตน

    • วันวาน วันนี้ หลวงปู่เหนื่อยอ่อนมาก
    วันพระ มิได้เทศน์-ช่วงเย็นมิได้ลงศาลา
    วันนี้ ก็อบรมน้อยมาก
    ......................................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญ ( โดย หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]มหาปุญโญวาท ( ตอนที่ 3 )

    10 สิงหาคม 2545

    นึกภาวนาของตน
    นึกพุทโธ-พุทโธ มันลืมเผลอไปก็ตั้งใหม่
    มันลืมเผลอไปก็ตั้งใหม่
    รักษาอารมณ์บริกรรมไว้อย่าให้ขาด
    ภาวนาต้องตั้งใจจึงจะเป็นได้
    ยังจะต้องได้เกิดอีกหลายภพหลายชาติ
    หากได้มาเป็นคนทุกภพทุกชาติ ก็นับว่าดี เพราะภูมิของการเวียนว่ายเวียนเกิด นั้นมี
    อยู่มาก
    ปุถุชนคนพวกเรา 1. บุญ
    2. บาป
    อริยชน ก็ธรรมมะ ญาณ มรรค ผล
    เยาวชน ก็บุญกุศล
    นิริยชน ก็ถือเอาบาปเสวยผลกรรม
    เราภาวนาเพื่อมากด้วยความดี
    บุญเราไม่เห็นหรอก – บาปเราไม่เห็นหรอก - ธรรมมะเราไม่เห็นดอก
    จะเห็นได้รู้ได้ต้องใจสร้าง
    หากจะรู้ได้เห็นได้บ้าง ก็ผลของมัน - ตัวมันแก้เห็นยังไม่ได้
    อะไรคือ ผลของบุญ-อายุ-วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข
    บริวาร ทิพยสมบัติ บุญบารมี ธรรมมะ ปัญญา ตลอดมรรคผลนิพพาน
    บาปกรรมทุกข์โทษนั้นเป็นผลของบาป รับกรรมชั่วในส่วนผลไปเช่น พวกตกนรกขุมต่าง ๆ อาการต่าง ๆ เพราะ ทำกรรมชั่วต่างกันไป ให้เราทุกคนคิดอ่าน
    อดทน เก็บเล็กสะสมน้อย
    ตั้งใจภาวนาของตน
    บริกรรมอย่าให้ลืม
    ..........................................................................................................................
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    11 สิงหาคม 2545

    ตั้งใจพยายามอดทน ตั้งใจสะสมความดี ละเว้นของชั่วสิ่งทราม
    เป็นมนุษย์ ดีเกิดได้ - ชั่วเกิดได้ พอใจอันใดให้ทำไป
    อะไรมันบังคับใจอยู่
    ชั่วเป็นของไม่ควรถือเอา ละเว้นซะ ถือเอาแต่ความดีบุญกุศล
    สมบัติอะไรของกาย ก็ให้หาพอสมควร พอใช้จ่าย พอใช้สอย
    สมบัติของใจนั้นไม่ควรมักน้อย ต้องขวนขวายใส่ใจ
    ดี - ชั่ว เป็นหน้าที่ของเรา
    กรรมพาหมุนให้เกิด - กรรมของเราเองมิใช่กรรมของใคร
    รักษาธรรมประพฤติธรรม รักษาตนของตน
    บุคคลผู้ใส่ใจก็จะรู้จักหนทางของตน - ให้อดทน
    - อย่าเพิ่มความชั่ว
    ใจของเราเป็นของเรา - เราบังคับใช้มันได้ จะเอาอะไรมาปรุงมาแต่งมัน
    ใจไม่ตั้งอยู่ได้ เพราะวุ่นวายอยู่กับความคิด
    ส่งออกไปเป็นจิตเป็นเจตสิก ถึงรู้สึกของกาย ให้ทำดีให้มาก เล็กก็เอา
    น้อยก็เอา มากก็เอา
    ชื่อว่าบุญกุศล คุณงามความดีถือเอาทั้งนั้น
    แม้บาปเล็กน้อย ก็ไม่ประมาท เป็นของควรทิ้งไป
    เช่น เรื่องของนายเพชรฆาตหนวดแดง ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระสารีบุตร
    มีเรื่องว่า เมื่อเขาอายุ 16 ปี มีหมู่โจร 499 คน มาบังคับให้เขาเข้าเป็นพวกโจรเพื่อให้ครบ 500 คน
    ใจเขานั้นไม่ยินยอมแต่กลัวเขาจะฆ่า จึงยอมเป็นหมู่โจรครบ 500
    เป็นโจรเที่ยวปล้นอยู่ 16-17-18-3 ปี เต็ม
    ความเหิมเกริมเที่ยวปล้นไปเรื่อยสุดท้ายพลาดท่า ราชบุรุษของพระเจ้าอชาติศัตรูล้อมจับได้ แต่เวลานั้นมันขาด
    เพชรฆาตอยู่
    หาใครมาเป็นก็มิได้ เห็นแก่หมู่โจรคนชั่วเหล่านั้น
    จึงถามว่าหมู่โจรทั้งหลายมีใครจะเป็นเพชรฆาตหรือไม่
    สอบถามกันจนหมด
    สุดท้าย โจรหนุ่มอายุ 18 เขาเลยออกปากรับ แต่ก็ได้สอบถามในเหตุผลว่า
    ทำไมถึงอยากเป็นเพชรฆาต ก็ให้เหตุผลว่า เขามิได้สมัครใจจะเป็นโจร
    แต่ที่เขาเป็นโจรนี้ก็เพราะหมู่โจรมีหัวหน้าโจรมันบังคับให้เป็นหมู่ให้ครบ 500
    พระเจ้าอชาติศัตรูเห็นว่า เขาไม่มีสันดานโจร
    จึงให้รับราชการเป็นนายเพชรฆาต
    ฆ่าคนวันแรกนั้น หมู่โจร 499 คน
    จากนั้นก็ฆ่านักโทษ ประหารนักโทษ ทุกวัน จนอายุได้ 55 ปี จึงหมดอายุราชการ
    ฝ่ายพระสารีบุตร ผู้รู้เห็นเหตุการณ์แต่ต้นมา แต่ยังไม่ได้จังหวะเวลาที่พอจะช่วยเหลือได้
    เมื่อถึงโอกาส จึงเข้านิโรธสมาบัติ 7 วัน ออกจากนิโรธ วันที่เขาหมดหน้าที่นายเพชรฆาต หนวดแดง
    อาบน้ำชำระกาย ชโลมน้ำหอมล้างบาปอยุ่เช้ามืดวันนั้น
    พระสารีบุตรก็มาปรากฏเฉพาะหน้า เขาก็นิมนต์เข้าบ้าน
    ให้น้ำบ้วนปาก ไม้สีฟัน
    ให้ทาน
    ฟังธรรม ให้นึกแต่ปัจจุบัน
    อดีตล่วงมา ไม่คิด
    อนาคตต่อไปไม่คิด
    นายเพชรฆาตตั้งใจ ตรงต่อคำสอนได้สำเร็จโสดาบัน
    จากนั้นพระสารีบุตรลากลับ นายเคราแดงประกาศเลื่อมใส ปวารณาตน
    เดินตามออกส่งพระสารีบุตร ครั้นพระสารีบุตร เดินคล้อยลับตาไป
    นางยักขิณีผู้เคยก่อเวรกันมา
    ก็แปลงเป็นร่างโคแม่ลูกอ่อน วิ่งมาขวิดนายเคราแดงจนตายในบัดดล
    เป็นเวรกันครั้งสุดท้าย จบกันไป
    นี่แหละ ดี – ชั่ว – กรรมเวร - ตนของตน
    ให้รู้จักการเจริญ - การต่อสู้ความชั่ว
    หมั่นทำบุญให้มาก
    หากบุญไม่พอใจก็เป็นเรื่องยาก
    เช่น พวกเราเดี๋ยวนี้ ชั่วมีอยู่เท่าใด - ดีมีอยู่เท่าใด
    ทำมาแล้วเท่าใด จะสะสมไปอีกเท่าใด
    ควรใส่ใจของตนให้มาก
    เพราะไม่พอกัน ไม่สมบูรณ์พอ
    หน้าที่ต้องทำไปเรื่อย ๆ
    จนดีจะมากสุด ชนะชั่วใด ๆ ได้
    ภาวนาอยู่นี้ ก็ให้ ตั้งใจ
    อดทน
    พากเพียร
    จิตไม่ชอบก็นั่งเอาบุญ
    จิตชอบได้ก็ได้ผลในส่วนสมาธิ
    ให้ตั้งใจของตน
    กายนี้มันอยู่อย่างนี้
    จิตผู้รู้ภาวะมีอยู่ในกายนี้
    จิตรู้สึกอยู่ตลอด
    อย่าคิดนึกไปอื่น
    ให้ตั้งใจภาวนาของตน
    ........................................................................................................................
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    12 สิงหาคม 2545

    ให้รักษาตนของตน
    อตตาหิ อตตโน นาโถ
    สุทธิ อสุทธิ ปจตตํ
    ใครจะช่วยเหลือเราได้
    มีแต่ตัวเราเองเท่านั้น ที่จะรักษาตนเอง
    วันนี้ ทำสมาธิภาวนา - นึกบริกรรมภาวนาของตน ลืมไปให้ตั้งใหม่
    ใจเผลอไปให้ตั้งใจใหม่
    พากเพียรไปจนกว่าจะชนะได้เด็ดขาด ทำไปใส่ใจของตนไป
    ทำความดีรักษาความดี ละเว้นความชั่ว ทำไว้มากนานไปก็ชำนาญได้
    ทำน้อยก็ลำบากในปฏิปทา สำเร็จช้า - สำเร็จยาก
    นึกบริกรรม - ทุกขํ - อสุภะ - ปฏิกูล - อนิจจํ - อนัตตา - กายคตาสติ
    - ธาตุ - ขันธ์ - กรรมฐานใด ๆ
    เช่น นายช่างทอง
    ผู้บวชแล้ว พระสารีบุตรพาไปภาวนา ใจไม่สงบซ่านไปแต่การตีทอง ต้องกลับมาหาพระพุทธเจ้าฯ ได้มอบดอกบัว 4 ดอก ให้ไปปักกองทราย แล้วสอนให้บริกรรม อนิจจํ – อนิจจํ ดูความไม่เที่ยงของดอกบัวกลางแดด ในที่สุดก็ได้ฌาณ พุทธนิมิตมาสอนลำดับการแก้ไขจนหลุดพ้น ได้ด้วยอุบายอันท่านได้เคยอบรมบริกรรมมาแต่ปุพเพชาติ
    อันนี้ได้ผลเพราะบริกรรม
    เพราะฝึกหัดการพิจารณา เป็นนิสสัยฝึกฝนอบรมตน
    ชั้นนี้อาศัยตน
    ส่วนการอาศัยผู้อื่น อาศัยท่านผู้เป็นครูอาจารย์
    พระพุทธองค์นั้นทรงชำนาญยิ่งนัก เก่งยิ่งในการฝึกหัดผู้คน
    เพราะทรงรู้นิสัย อุปนิสัย รู้อินทรีย์ รู้บริษัท ว่าเป็นอย่างไรมา
    จะฝึกหัดด้วยอุบายอันใด
    ผู้รับการฝึกหัดจึงจะได้สำเร็จตาม
    เดี๋ยวนี้ตัวเราเอง - คนเดียวนี้เอง
    ให้ตั้งใจฝึกบริกรรมอันใดมันคล่องสบายก็ให้จัดเอา
    บริกรรมนั้นมานึกรู้อยู่
    การภาวนาจึงจะเป็นได้
    ให้คิดอ่านตนของตน อย่าทำชั่ว-ให้ทำดี
    ตั้งใจให้ดี เสพสร้องความดี หลีกหนีความชั่ว
    รักษาตนของตนไปจนกว่าจะชำนาญ
    ในชาติปัจจุบัน ก็ให้ได้เป็นนิสสัย อุปนิสัย
    ในชาติปัจจุบันนี้ เหตุปัจจัยให้กับความดีบุญกุศล
    ศรัทธา วิริยะ ขันติ สติปัญญา
    ยึดถือเอาอินทรีย์
    ฝึกให้ชำนาญ ในแต่ละอัน
    ตั้งตนของตนให้อยู่ในแนวธรรม จิตจึงตั้งอยู่ได้ สงบได้ เจริญได้
    พยายามของตน
    รักษาปฏิปทาของตนให้ดี
    ตั้งใจภาวนา.
    • ระยะเวลาการบำเพ็ญขององค์พุทธเจ้า
    พระปัญญาธิกะ 9 – 7 – 4 + 1 แสนกัปป์ = 20 อสงไขย
    พระสัทธาธิกะ 18 – 14 – 8 + 1 แสนกัปป์ = 40 อสงไขย
    พระสัทธาธิกะ 36 – 28 – 16 + 1 แสนกัปป์ = 80 อสงไขย
    ................................................................................................................................
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    13 สิงหาคม 2545

    ภาวนาของตน
    ตั้งใจนึกบริกรรมผูกจิตเอาไว้
    ใช้กายทำความดี ใช้ใจทำความดี ทำด้วยวิริยะอุตสาหะ
    เราภาวนานี้ 1. รู้จักกายตน
    2. รู้จักใจของตน
    3. รู้วิริยะขันติ
    4. รู้ว่าจิตมันตั้งยาก
    5. รู้อุบายแก้กาย - แก้ไข เป็นลำดับไป
    จิตผู้รู้สึกมีอยู่ เป็นผู้รู้จักภาวะอันหนึ่งมีอยู่ ผู้นี้เองแหละเป็นผู้กำกับ ควบคุมกายอยู่ ให้ทำดี
    ให้ละเว้นจากบาป
    พยายามไป - ทุกชีวิต
    อดทนไป - ทุกชีวิต
    อย่าท้อถอยในการทำความดี ในการบำเพ็ญของตน
    รูปกายนี้ใช่ว่าจะได้อันเดิมอันเก่า หากแต่มันแปรเปลี่ยนไปเรื่อย ไม่อยู่ยงคงที่
    ให้คิดอ่านพิจารณากายตน
    ให้คิดอ่านพิจารณาจิตตน ว่าทำอะไรเป็นสาระของกาย
    อะไรเป็นสาระของใจ
    บรุพกรรม -1-
    ตนของตน -1-
    ต้องไปด้วยกันตลอด
    ความดีงาม บุญกุศล ธรรมะปัญญา จึงจะเกิดขึ้นได้
    ตติดรูป จิตติดกรรม จิตหลงรูป จิตหลงกรรม จิตวางรูปไม่ลง
    จึงให้ภาวนาเพื่อให้รู้ว่า รูปนี้อยู่กับอะไร
    ใจนี้อยู่กับอะไร จะแก้ไขอย่างไร
    .............................................................................................................................
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    13 สิงหาคม 2545
    อบรมเย็น


    ใช้ความพยายามตั้งใจของตน
    ใจนี้มันเป็นของตั้งได้ยาก
    จึงต้องใช้ความเพียร ใช้ความอดทน
    ใช้ไปจนกว่าจะชนะชั่วในตนเองของตน
    ความชั่วอันบุกรุกใจอยู่ทำให้ใจตั้งยาก ใจฟุ้งซ่านส่วยไปนอก
    ชั่วอันเราทำมามันไม่หาย
    ดีอันเราทำไว้มันไม่หาย
    มันสะสมเก็บกักไว้ในใจของตน
    บุญกับบาปจึงเป็นอยู่ในใจของเรา ประจำอยู่ในใจของตน มันคู่กันอยู่
    คิดอ่านให้ดี
    ในใจอะไรมันมากกว่ากัน บุญเท่านั้นที่เป็นของสะสม
    ธรรมมะของจริงจึงจักเกิดขึ้นได้
    เดี๋ยวนี้มันยังไม่พอแก่กัน ยังเอาชนะกันมิได้
    เพราะยังติดอยู่ ยังอยู่เป็นปุถุชน
    ดีมากก็ไปสวรรค์
    สมาธิได้ก็ไปพรหมโลก
    ชั่วมากไปในภูมิต่ำมีนรก เปรตผี อสุรกาย เดรัจฉาน
    เราบัดเดี๋ยวนี้ ชั่วมันแรงมันมีกำลัง
    ดีมันน้อย มันมีกำลังน้อย
    ทำสมาธิจึงเกิดยาก ใจตั้งยาก ทำดียาก
    หน้าที่เราทุกคนควรนึกเสียว่า
    เมื่อใดหากบุญกุศลมีกำลังแล้ว - ความสุขสงบ
    ธรรมะ
    ปัญญา
    ญาณะ จึงจะเกิดขึ้นได้
    ควรคิดควรอ่านในตนของตน
    พิจารณาให้ดีในชีวิตของตน
    ตนของตนมีหน้าที่ทำดี
    เป็นมนุษย์ ดีเกิดได้เต็มที่-ชั่วเกิดได้เต็มที่
    เราถือชาติการเกิด เราจะเอาอะไร
    พระธรรมคำสอนมีอยู่นี้ชี้บอกหนทางความเจริญไว้อยู่
    ให้รู้จักตนเอง กุศล -1-
    อกุศล -1-
    การเจริญ -1-
    การละคลายปล่อยวาง -1-
    จึงให้เป็นกรรมของตนเรียกว่า กัมมันตะ
    ใช้ปัญญาของตน
    ตนของตน ดีหรือชั่วมาก
    ตนของตน บริสุทธิ์หรือไม่
    ตั้งใจให้ดี
    หน้าที่เพิ่มบุญกุศล เพิ่มธรรมะปัญญา
    รักษาความเจริญ รักษาความบริสุทธิ์
    ชีวิตใครจะรู้จักความตายของตน
    ตั้งใจภาวนา
    รักษาจิตให้อยู่
    ตั้งใจ.
    ...........................................................................................................................
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    14 สิงหาคม 2545

    ตั้งใจพยายามทำความดีของตน
    คนทำชั่วมีปาณาติบาต อทินทาน เป็นต้น เขาก็พยายาม พอใจทำ อดทนทำ
    เช่นพวกจับปลาฝนลง
    เรามาทำความดีนี้ก็ให้พอใจทำให้ใช้ความพยายาม
    ความดีเราทำ
    ความชั่วเราทำ
    มันก็ออกมาจากเจตนาจงใจทั้งหมด
    จึงให้ใส่ใจรักษาตน
    สมบัติของใจนั้น การหา การทำ มิได้วุ่นวายอะไรนัก
    แต่สมบัติกายภายนอก วนเวียนเบียนเบียด เป็นทุกข์เพราะมีเพราะขาดแคลน
    เช่นตาพราหมณ์เฒ่าเช่าโคเขามาไถนา 6 ตัว
    โคหายไป ตามหาโค ไปเห็นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ใต้ต้นไม้ ปรารภว่า คนผู้นี้คนไม่ทุกข์
    นั่งอยู่ตามสบาย กายผ่องใส
    พระพุทธเจ้าทรงสอนเอา ได้สำเร็จเลยขอบวช ทิ้งเมีย 1 คน
    ลูกสาว 4 คน
    ลูกของลูกสาวคนละ 4 คน
    รวม 21 คน
    ไม่เห็นได้เกี่ยวข้องอะไร
    ฝ่ายเจ้าหนี้ ก็ตามลูกหนี้ พระพุทธองค์โปรดเอาอีก ได้สำเร็จก็บวช
    อยู่ด้วยกัน - ไม่เกี่ยวในทรัพย์อันใด
    ไม่เกี่ยวในหนี้สินอันใดอีก
    อยู่อิสระสบายดีอยู่
    การสะสมเป็นผลได้มากเพราะบุญกุศลมันแรงพร้อมมูลแล้ว
    การสำเร็จมรรคผลก็มิใช่ของยากลำบากอันใด
    เรานั่งอยู่นี้ มันฟุ้งซ่าน แส่ส่ายหาอันใด
    คิดไปทำไม คิดแล้วได้อะไร เป็นอันแล้วอันสำเร็จหรือไม่
    ขณะภาวนาไม่ต้องคิด
    คิดไปก็ไม่เป็นผล
    ตั้งจิตให้รู้สึกอันหนึ่งอยู่
    ผู้รู้นั่นเองแหละคือ ใจ - จดจ่อความรู้ตัวนั้นตลอด
    ทำภาวนาก็เพื่อให้รู้จักจิตของตน
    ถ้าหากไม่รู้จิตของตนก็ภาวนาไม่เป็น
    บุญมันมาเมื่อใดเมื่อนั้นก็จักรู้จักจิตของตนได้
    ฉะนั้น...อันใดบุญให้ทำ ให้สะสม
    อันใดบาปให้เว้น
    คิดอ่านในตนของตน จะคบคนเช่นใด คนพาลหรือปราชญ์
    เราฝึกฝนแล้วแต่นี้ไป
    ต่อเมื่อภายหน้านิสสัยอันนี้ก็ส่งผลส่งคุณ ให้ได้ตกอยู่ในหมู่
    ปราชญราชบัณฑิตทั้งหลายได้
    เพราะเราฝึกฝนไว้ถูกต้องแล้วนั่นเอง
    รักษาใจ รักษาวัตรปฏิปทาของตน
    อย่าให้ขาด อย่าให้พร่องไปในวันนี้
    พยายามตลอดไป ทำไป ใส่ใจของตน
    พิจารณาให้ดี
    หน้าที่ข้างหน้ายังยาวไกล
    ภาวนาตั้งใจของตนให้ดี
    รักษาอารมณ์รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
    ให้คิดอ่านแก้ไขตนเองอยู่เสมอ
    พยายามทำไป
    บ่มอินทรีย์ สะสมบุญ นานเข้าก็จะรู้เห็นในหนทางเองหรอก
    เดี๋ยว ภาวนา
    ตั้งใจของตน.
    ............................................................................................................................
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    15 สิงหาคม 2545

    ตั้งใจภาวนา
    ใจให้เป็นกุศล
    ตัวเราจะต้องเกิดอีกเท่าใด - จะต้องตั้งใจอีกเท่าใด
    เมื่อบุญกุศลมากแล้ว ทำอะไรก็เป็นผล ธรรมมะก็เกิดได้ รู้ช่องหนทางของตน
    เดี๋ยวนี้ หน้าที่เกิดตาย
    เราจะเกิดต่อไปในที่ใด จะให้ใจได้อะไร
    บุญเต็มเปี่ยมบริบูรณ์เท่านั้นจึงจะสำเร็จได้
    หน้าที่เกิด - ตาย
    บำเพ็ญความดีต่อไป ตั้งใจของตน
    การเป็นคนทำดีก็เป็นผลได้ผลเต็มที่ ได้ดีเต็มที่ บุญเจริญมากขึ้นได้
    เกิดเป็นคนทุกข์น้อยกว่าเดรัจฉาน
    เดรัจฉานทุกข์น้อยกว่า เปรต ผีนรก
    เป็นเทวดา อยู่สุขกว่าคน
    เป็นพรหมอยู่สุขที่สุดในแดนโลกียะ
    เป็นสัตว์ในอเวจี ทุกข์ที่สุด
    นี่...วัฏฏะของเราเป็นอยู่เช่นนี้
    ตั้งใจของตนให้ดี ภาวนาทำให้เจริญ
    ปทานะจะคลาย
    ตั้งใจทั้งการบุญและการบาป
    ใส่ใจทำความดี หลีกหนีสิ่งชั่วใด ๆ
    หน้าที่มีอยู่แต่นี้
    เกิดมาแล้วน้อย ๆ ก็ให้ถือสวรรค์
    หรือให้ได้เกิดมาบำเพ็ญ ใส่ใจความดีในพุทธศาสนาต่อไป
    นักบวชไปพรหมก็มี
    นักบวชไปสวรรค์ก็มี
    นักบวชไปอเวจีก็มาก
    นักบวชเป็นเปรตผีก็มี เดรัจฉานก็มี
    มีทั้งนักบวชพาล และนักบวชคนดีสุปฏิบัติ
    คฤหัสก์ชาวบ้านก็เช่นเดียวกัน
    ดีกับชั่วคู่เคล้ากันอยู่มิต้องสงสัย
    อยู่ในโลกต้องเป็นอยู่เช่นนี้
    หากหวังดี หวังสุข อยากได้ดี อยากได้สุข ก็ให้อดทน อุตสาหะ
    ให้รักษา ให้ตั้งใจ ให้รู้จักตนเอง
    จะเป็นบุญได้ ก็ตั้งใจให้มาก ต่อภพต่อชาติของตนไป
    เดี๋ยวนี้ อย่าประมาทมัวเมาเกินไป - เมาโลก
    เมาสังสารวัฏฏ์
    เมากาย
    เมาเครื่องเลี้ยงกาย
    เมากาม
    ให้หาสมบัติไว้ให้แก่ใจ มองเข้าหาใจของตน ให้รู้จิตของตน
    หากรู้จิตของตนแล้ว จะทำอะไรก็เป็นผลได้อย่างดี
    ตั้งใจสะสมกันไป
    ให้เอาพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง ในดีและชั่ว
    ในเกิดและตาย
    ในการเที่ยวเวียนว่าย
    ไม่ท้อแท้หรือถดถอย
    ตั้งใจเสมอไป
    ใส่ใจตนเองอยู่ตลอด
    แก้ไขทุกข์ของตน.
    ............................................................................................................................
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    16 สิงหาคม 2545

    เย็น เวลา 19.00-21.00 น.


    ใจไม่สงบมันก็ห่วงแต่ร่างกาย
    เมื่อสอนแล้วก็ได้รับความสุขภายสุขใจ
    ให้ทุกคนตั้งใจของตนในชีวิตนี้ หน้าที่เราจะได้ทำดีต่อไปเพราะ ได้มาพบปะพระพุทธศาสนา พระธรรมคำสอน จึงให้เพิ่มความดีให้แก่ใจ
    เราทุกคนยังจะต้องได้เกิดอีกมากต่อมากหลายต่อหลายภพหลายชาติ
    ท่านที่ได้สำเร็จได้เพราะ ท่านเป็นผู้ชนะแล้ว
    ชนะชั่วใด ๆ ได้แล้ว
    จึงให้ตั้งใจ
    การจะเอาชนะความชั่วได้นั้นมิใช่ของง่าย เป็นของยากนักหนา
    จึงต้องสะสมความดีไปอีกมาก - เมื่อความดีนั้นมากแล้ว พอพระพุทธเจ้าหรือผู้เป็นอาจารย์ว่า “ตั้งใจ - ใจมีอยู่”
    ความสว่างก็เกิดได้ทันที รู้ได้ทันที รู้ทันใจทันที ให้คิดอ่านว่าเดี๋ยวนี้ตัวเรามีนิสสัยปัจจัยแล้ว จึงได้มาทำกิจเช่นนี้ บุญกุศลมีอยู่แต่มันยังไม่มากพอ
    มันยังเอาชนะความชั่วมิได้
    ผู้ท่านเอาชนะความชั่วใด ๆ ได้นั้นเพราะบุญแรงมีกำลัง บุญรักษาจิต จิตมีบาปอยู่น้อยมาก จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตั้งอยู่ได้
    หากจิตนั้นตั้งอยู่ได้นานเข้า วิชชา ธรรมะชั้นสูงก็เกิด ได้ตามลำดับ ถึงที่สุด - กายก็เป็นธรรมะ รูปก็เป็นธรรมะ นามก็เป็นธรรมะ
    ขันธ์ทั้งหมดก็เป็นธรรม
    เป็นอยู่คงที่ ณ. ที่องค์พระธรรม พ้นแล้วจากโลกใด ๆ
    การทำบุญ - การเก็บบุญ นี้
    ต้องให้รอบคอบ ถัดถี่
    และใส่ใจให้มาก
    วันหนึ่ง ๆ ตนของตนคิดถึงบุญอาหารของใจสมบัติของใจเท่าใด นับได้เท่าใด มันน้อยมาก
    เพราะอะไร เพราะความดีของเรายังน้อยนิดเดียว ชั่วในใจเป็นของมาก
    ให้นึกถึงตนเองให้มาก
    วันนี้ โอกาสเรามี
    วาระใจเรามี
    สถานที่เรามี
    ทุกอย่างพร้อมมูล เหลือแต่ตัวเราคนเดียวเท่านั้น
    ว่าจะอยู่อย่างดี หรือ
    จะอยู่อย่างทราม
    หน้าที่มีอย่างเดียว คือ ตั้งใจให้มาก
    ตั้งใจของตนไปกว่า ใจจะตั้งอยู่แต่ในความดีล้วน ๆ
    ตั้งใจของตน อย่าไปคิดอย่างอื่น
    ตั้งภาวะรู้สึกของใจเอาไว้ ผู้รู้สึกนั้นแหละใจ
    รู้สึกระลึกอยู่เสมอ
    ใจรู้สึกอยู่ - กายนิ่งอยู่เรื่องของกาย
    ตั้งใจ.
    .....................................................................................................................................
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    16 สิงหาคม 2545
    บ่ายเวลา 14.00 - 16.00 น.



    ตั้งใจภาวนาของตน ใจเรามีอยู่
    ใช้ใจกำหนดจดจ่ออยู่ตลอดเวลา นานเข้าสมาธิก็ตั้งมั่นได้หรอก

    เกิดมาชีวิตนี้รู้ใจของตนแล้ว
    ควรใช้ใจให้ได้ไปสู่สุคติสวรรค์ อย่าให้ได้ไปนรก
    ยึดถือเอาธรรมะทั้งหลายเป็นเครื่องกล่อมเกลาจิตใจของตน
    อย่าฝึกใจให้เป็นคนพาล
    การเป็นคนพาลมันเป็นอันตรายของวัฏฏะ
    การเป็นคนพาลมันเป็นอันตรายของภพชาติ
    คนดีบัณฑิตผู้รู้นั้นท่านตั้งใจรักษาความดี ปฏิปทาความดีของตนไว้
    หากทำดีใส่ใจความดีในชีวิตนี้ ก็คืนสู่สวรรค์ของเก่า
    ชีวิตใดมีแต่ชั่วก็กลับไปสู่นรก
    ใคร่ครวญให้ดี
    ตั้งใจทำความดีของตน
    บุญกุศล สุขสงบธรรมะ ปัญญาเป็นของควรสะสมยิ่งนัก
    ทำไปเรื่อยไป - อย่าท้อถอย
    จิตที่รู้ตัวเองเท่านั้นที่จักรักษาตนของตนได้
    รักษาตนของตนไว้ในการบุญและหลีกเว้นจากการบาป
    นั้นคือ มีปัญญารู้รักษาตน รู้แก้ไขตน
    ผู้ที่จะเพิ่มกำลังให้แก่จิตใจตัวตน
    กิจภาระหน้าที่การงานใด ๆ อย่าให้เป็นบาป
    คิดใส่ใจการบุญการกุศล
    รักษาหนทางของตนให้เป็นสุทธิขันธสันตาโน
    ให้เป็นสุทธิมรรคา
    ให้เป็นสุทธิปฏิปทา
    ใจมีอยู่ในกาย – ใจมีอยู่ในรูป - ใจอาศัยบรุพกรรมในการเป็นอยู่
    รูปใจจึงอยู่ได้ด้วย ความดีรักษาตกแต่ง
    ความชั่วรักษาตกแต่ง
    ท่านสอนให้ภาวนาเพื่อให้รู้จักว่า กายอยู่อย่างไร
    ใจอยู่อย่างไร
    อะไรเป็นรูป แก้ไขให้พ้นจากรูปอย่างไร
    อะไรเป็นนาม แก้ไขให้พ้นจากนามอย่างไร
    ท่านจึงให้ภาวนารักษาใจ เพิ่มบุญกุศล
    เพิ่มอินทรีย์ เพิ่มพละกำลังแก่ใจ
    เพิ่มฌาน เพิ่มญาณะ เพิ่มปัญญา เพิ่มธรรมะ
    ใจที่มีกำลังนั้น สำเร็จมรรคผลได้ พ้นทุกข์ได้
    ได้อริยะ ได้อรหันต์ หรือซานเหาะ ไปได้ในอากาศ เช่น พวกฤกษีโยคี
    ใจที่มีกำลัง ทำดีได้
    ไปสวรรค์ได้
    ส่วนใจที่หนัก ไม่มีกำลัง ใจบาป เช่น พระเทวทัต , พระเจ้าสุปปพุทธะ , นันทมานพ, นันทยักษ์, นางจิญจาณะ
    พวกนี้ กายหนัก ใจหนัก บาปหนัก
    แผ่นดินหนาตั้งหาก ไม่สามารถรองรับกายใจเอาไว้ได้ ตกลุถึงอเวจี
    หรือพวกตกนรกทั้งหลายก็เพราะบาปกรรมมันมากนั่นเอง
    ท่านจึงสอนให้ทำทั้งสมถะสมาธิ และ วิปัสสนาสมาธิ
    หาทั้งความสงบ และหาทั้งปัญญา
    วิปัสสนา คือ ให้รู้ต้นตอต่อโทษของบาปกรรมใด ๆ ทั้งหมด
    ให้รู้เหตุรู้ผล รู้การแก้ไขใน อนุสัย ในอุปกิเลส
    ให้รู้ปัจจัยของธรรมทั้งหลาย
    ให้รู้เจริญ และรู้ละคลาย
    ตั้งใจของตนได้แล้วก็ หากประสงค์ในรูปอันใด
    ฌาน ได้รูปเป็นพรหม
    บุญกุศล ได้รูปเป็นเทวดา
    ธรรมปัญญา ได้รูปเป็นธรรม
    บาปกรรมความชั่วก็ ได้รูปเป็น เดรัจฉาน จนถึงนรกอเวจี
    ภาวนานี้ให้ทำไป
    เดี๋ยวนี้ยังเอาชนะชั่วมิได้ จึงต้วงให้ทำ และทำให้มาก
    รักษาใจอย่าให้ชั่วมันแทรกแซงใจ อย่าให้ชั่วมันบุกรุกใจ
    เมื่อใดก็ตามหากความดีรักษา ใจตั้งได้ง่าย
    สงบได้ง่าย เป็นสุขได้ง่าย
    ความดีเกิดได้ง่าย ไม่ยุ่งยากอันใดต่อการทำดีสั่งสมบุญ
    พยายามฝึกฝนให้ใจตั้งอยู่ให้ได้ อบรมใจของตนไว้ให้ดี
    ตั้งตนไว้ในโลกียะนี้เสียก่อน
    เต็มบริบูรณ์ได้เมื่อใด จึงจะคลายหนีจากโลกนี้ไปได้ ก็เป็นโลกุตระได้
    ชีวิตนี้ฝึก
    ชีวิตหน้าฝึก
    ชีวิตต่อไปฝึก
    ฝึกด้วยการดู - การฟัง - การตรอง - การสังเกตุ - การอบรม
    - การทรมาน - การเสวนา - การกระทำ
    นิสสัยปัจจัยในวันนี้
    มันไม่หายไปที่ไหนเสียหรอก
    ทำไว้ไม่สูญหาย
    ต่อไปภายหน้าก็เรียกเอาออกมาใช้ได้ ต่อยอดกันได้
    เพราะ ใจเป็นนาย
    ใจเป็นใหญ่
    ใจมาก่อน
    สำเร็จได้ด้วยใจ – ใจของใคร - ใจของตนนั่นเอง
    โลกเกิด - ตายของตนนั้นยังยาวนานนักหนา
    จึงให้ตั้งใจ
    ตั้งใจไปจนกว่าจะได้สำเร็จได้
    รู้สึกตัวมีอยู่
    ใจทรงอยู่ในกายนี้
    รักษาอารมณ์รู้ตัวไว้ นานเข้า ใจชัดเจน
    ใจตั้งได้
    ใจไม่เกี่ยวข้อง กายอีก ต่อไปก็เป็นบาท
    เป็นฐานของธรรมมะขั้นต่อไป
    เดี๋ยวนี้ 1. อย่าท้อแท้
    2. อย่าคิดอ่านให้ฟุ้ง
    3. อย่าอยากเป็นเห็นนั้นนี่
    4. อย่าโกรธน้อยใจตัวเอง
    5. อย่ารำคาญตัวเอง
    เอาใจกำกับอยู่
    กำหนดรู้อยู่
    ผู้รู้รู้ตัวอยู่
    เอาละ ภาวนาไป.
    ..........................................................................................................................
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    17 สิงหาคม 2545

    ภาวนาของตน
    ชีวิตเกิดมา ความทุกข์มันมาก ความสุขมันน้อย
    มันเป็นด้วยเหตุใด เป็นเพราะ บาปมันมาก
    บุญกุศลมันน้อย
    หากบุญมากก็จะได้รับสุขตลอดไป
    บุญในใจมันหายากเพราะ ใจมันคิดแต่การบาป
    ให้ตั้งใจของตน
    พยายามทำบุญกุศลให้เกิด มีมากแล้ว จิตใจก็ตั้งอยู่ได้
    หากตั้งจิตใจไว้ได้ตรงแล้ว เป็นอยู่ก็สบาย
    เป็นอยู่เช่นใดก็ได้สุขตามกรรมของตน
    แม้การภาวนาก็ตั้งอยู่ได้นาน
    นั่งได้สบายได้นาน
    เพราะ กายเย็น กายเบา
    ใจเย็น ใจเบา
    ให้ตั้งใจของตนเถิด
    ........................................................................................................................
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    18 สิงหาคม 2545

    ใจเรามีอยู่ - ใจของเราเป็นของตั้งได้ยาก
    จิตจึงสงบได้ยาก
    เราภาวนา - จิตไม่สงบก็ได้บุญ
    หากจิตสงบได้ก็ได้บุญด้วย ได้ความสงบสุขด้วย
    ได้ความสว่าง
    ได้ปัญญาญาณ
    ได้ธรรมมะ
    ผู้ที่จิตตั้งได้นั้นย่อมได้คุณอันมาก
    เพราะจิตที่ตั้งได้แล้วคุณใด ๆ ก็ย่อมเกิดมาเอง - วิชชาความรู้
    ญาณะความรู้แจ้ง
    รู้การบุญ - การบาป
    รู้การรักษาตนเอง
    จึงให้ตั้งใจได้มาก
    เพราะความสุขชื่อว่าบุญกุศล-ให้รู้จักตนของตน - ใจอยู่ส่วนใจ
    กายอยู่ส่วนกาย
    หากใจตั้งรู้อยู่ได้ก็ได้ธรรมอันเดียว
    การจะทำให้ใจตั้ง
    การจะได้สำเร็จมรรคผลนั้นเป็นของยากนักหนา
    ผู้ได้ธรรมะนั้นความชั่วใด ๆ เริ่มหายไปเป็นอย่าง ๆ
    อริยบุคคล 8 บุรุษ 4 คู่ อริยะอรหันต์ ท่านได้มรรคได้ผล เพราะ ใจของ
    ท่านเป็นธรรม
    มีธรรมเป็นธรรม
    เราเดี๋ยวนี้ ยังไม่สำเร็จ ก็ยังอยู่เป็นโลกียะ
    เพราะ กายยังไม่เป็นกาย
    ใจยังไม่เป็นใจ
    กายใจยังไม่เป็นธรรม
    รูปนามยังไม่เป็นธรรม
    แม้ภาวนาอยู่นี้ ก็ให้รู้จักตัวเอง ให้รู้ตัวเองอยู่ตลอดเวลา
    สงบไม่สงบ
    อยู่ไม่อยู่ หน้าที่รู้อยู่ว่าตนภาวนา
    จึงให้ตั้งใจของตนตลอดเวลา
    อย่าโกรธ – อย่าอยาก – อย่าน้อยใจ - อย่าโลภ
    ตั้งรู้อยู่อย่างเดียว
    ................................................................................................................................
    ขอขอบคุณที่มาบทความ : หนังสือมหาปุญโญ ( โดย หลวงปู่จาม มหาปุญโญ ) วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย คำชะอี จ.มุกดาหาร
     

แชร์หน้านี้

Loading...