ประวัติ "พระมหากัสสปเถระ" โดยพิสดาร : หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 27 กันยายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปเถระเดินทางไปทำอุโบสถ

    <DD>[๑๖๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมาจากอันธกวินทวิหาร สู่พระนครราชคฤห์เพื่อทำอุโบสถ ในระหว่างทางข้ามแม่น้ำ เกือบถูกน้ำพัดไป จีวรของท่านเปียก. ภิกษุทั้งหลายได้ถามท่านพระมหากัสสปว่า

    <DD>อาวุโส..เพราะเหตุไร จีวรของท่านจึงเปียก? ท่านตอบว่า
    <DD>อาวุโสทั้งหลาย ผมมาจากอันธกวินทวิหารสู่พระนครราชคฤห์ เพื่อทำอุโบสถ ณ ที่นี้ ได้ข้ามแม่น้ำ ในระหว่างทาง เกือบถูกน้ำพัดไป เพราะเหตุนั้น จีวรของผมจึงเปียก.

    <DD>ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    <DD>ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีมานั้นใดอันสงฆ์สมมติไว้แล้วให้มีสังวาสเสมอกัน มีอุโบสถเดียวกัน สงฆ์จงสมมติสีมานั้น ให้เป็นแดนไม่อยู่ปราศจากไตรจีวร.

    ในคัมภีร์ "ธัมมปทัฏฐกถา" กล่าวว่า

    <DD>ครั้งหนึ่ง พระอนุรุทธเถรเจ้า มีจีวรนุ่งเก่าแล้ว พระผู้เป็นเจ้าจึงไปเที่ยวหาผ้าในที่ต่าง ๆ ที่กองหยากเยื่อ เป็นต้น ในครั้งนั้นมีเทพธิดานางหนึ่งชื่อว่า ชาลินี ได้เห็นพระอนุรุทเถรเจ้าไปเที่ยวแสวงหาผ้าในที่ต่าง ๆ เหล่านั้น นางชาลินีเทพธิดาก็เกิดมีความเลื่อมใสศรัทธาในจริยาวัตรของพระอนุรุทธ

    <DD>เมื่อพระอนุรุทธเห็นผ้านั้นแล้ว จึงได้ถือเอาด้วยการบังสุกุลว่า “ผ้านี้เป็นผ้าบังสุกุลอันอุกฤษ์หนอ” อาศัยต้นเหตุนี้ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงนิยมกระทำมาจนทุกวันนี้ การทอดผ้าป่าทำกันหลายอย่าง คือ

    <DD>ทำเป็นแบบหยวกกล้วยลอยไปก็มี
    <DD>ทำเป็นถังมีของใส่ตั้งไว้
    <DD>ทำเป็นโครงร่างมนุษย์มีสิ่งของใส่ไปก็มี
    <DD>ทำเป็นโอ่งมีของใส่ตั้งไว้


    <DD>เมื่อภิกษุเห็นเข้าก็จะบังสุกุลนำเอาไป สิ่งของต่าง ๆ ที่จัดไปทอดก็มี ข้าวสารบ้าง ไม้ขีดไฟ ผ้า กล้วย อ้อย น้ำตาล มะพร้าว ฯลฯ การทอดผ้าป่าไม่มีกำหนดเหมือนทอดกฐิน จะทอดได้ทุกฤดูกาล แต่นิยมทำต่อท้ายทอดกฐิน คือ เมื่อทอดกฐินแล้วก็จัดการทอดผ้าป่าตามไปด้วย ซึ่งเรียกว่า "ผ้าป่าหางกฐิน"

    <DD>เวลาจะทอดผ้าป่านั้น ท่านให้ตั้งใจถวายต่อสงฆ์ไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดยการนำไปวางเสมือนว่าเป็นผ้าทิ้งอยู่ในป่า เมื่อภิกษุสามเณรมาพบเข้าก็ทำพิธีบังสุกุลเอาไป ก็เป็นอันหมดพิธี ไม่มีพิธีมากมายเหมือนการทอดกฐิน

    <DD>เรื่องเกี่ยวกับการทอดผ้าป่าและอานิสงส์ มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อองค์สัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนมชีพอยู่ เมื่อวันเพ็ญเดือนสิบสองล่วงไปแล้ว พระมหากัสสปเถระ มีความประสงค์จะแสดงหาผ้าจีวร พระผู้เป็นเจ้าจึงได้ถวายบังคมลาสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถือเอาบริขารของท่านออกจากพระเชตวันมหาวิหาร แล้วเข้าไปในประเทศราวป่าแห่งหนึ่ง เพื่อจะเที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลจีวร

    <DD>ในกาลครั้งนั้น เมื่อพระมหากัสสปเถระกำลังออกเที่ยวหาผ้าบังสุกุลจีวรนั้น ด้วยอำนาจบารมีของท่าน จึงได้บันดาลให้บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของสมเด็จพระอินทราราชเกิดแข็งกระด้างผิดปกติ

    <DD>พระอินทร์ได้พิจารณาดูก็ทรงแจ้งด้วยทิพยญาณว่า พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปมีความปรารถนาจะได้ซึ่งผ้าสาฏกเพื่อจะทำเป็นผ้าบังสุกุลจีวร เมื่อท้าวเธอทรงทราบเช่นนี้แล้ว ก็มีพระทัยโสมนัสยิ่งนัก จึงทรงดำริว่า เรื่องนี้อาตมาจะนิ่งไว้ให้เนิ่นนานมิสมควร จำเป็นอาตมาจะลงสู่โลกมนุษย์ เพื่อช่วยให้พระผู้เป็นเจ้ากัสสปได้ผ้าบังสุกุลจีวรสมความปรารถนา

    <DD>ครั้นทรงคิดเช่นนั้นแล้ว ก็นำเอาผ้าทิพย์เสด็จออกจากปราสาทลงสู่มนุษยโลก และท้าวเธอก็นำเอาผ้าทิพย์ผืนนั้นไปวางไว้ที่คาคบไม้ และทรงเนรมิตเป็นหนทางแคบ ๆ พอจะเดินได้โดยองค์เดียว เมื่อทำทุกสิ่งทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว พระอินทร์ก็แปลงเพศเป็นพราหมณ์เข้าไปหาพระมหากัสสปเถระ ถวายนมัสการแล้วกล่าวว่า

    <DD>ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า มีบุคคลเอาผ้าบังสุกุลจีวรมาพาดไว้ ณ ที่นั้น ขอนิมนต์พระผู้เป็นเจ้าได้พิจารณาเอาเป็นผ้าบังสุกุลเถิด

    เมื่อพระมหากัสสปเถระได้ยินดังนั้น ก็เดินไปตามทางแคบ ๆ และบังสุกุลเอาผ้านั้น เมื่อได้กระแอมกระไอถึง 3 ครั้ง ครั้นไม่มีเจ้าของแน่แล้ว พระผู้เป็นเจ้าก็ชักเอาเป็นผ้าบังสุกุลด้วยพระบาลีว่า

    <DD>อิมัง วัตถัง ปังสุกูลจีวรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปณาติ แปลว่า ผ้านี้หาเจ้าของมิได้ อาตมาจะถือเอาเป็นผ้าบังสกุล

    <DD>ในขณะที่พระมหากัสสปพิจารณาถือเอาเป็นผ้าบังสุกุลนั้น พระอินทร์ซึ่งแปลงองค์เป็นพราหมณ์ก็ปรากฏตัวขึ้นแล้วถามว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผ้านั้นมีเจ้าของหรือหาไม่”
    พระมหากัสสปจึงตอบว่า “ดูก่อนอุบาสก ผ้านี้หาเจ้าของมิได้”

    <DD>พราหมณ์ผู้เป็นพระอินทร์จึงเล่าเรื่องราวที่พระองค์ได้เสด็จลงมาถวายผ้าบังสุกุล พระมหากัสสปก็กล่าวว่า “สาธุ” ครั้นแล้วพระมหากัสสปก็กลับสู่พระเชตวันมหาวิหารแล้ว จึงนำผ้าบังสุกุลไปถวายสมเด็จพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงรับผ้าบังสุกุลนั้นไว้

    <DD>วันรุ่งขึ้นพระอินทร์ก็ได้จัดโภชนาหารอันเลิศรสมาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระประธาน เมื่อประทับบนอาสนะแล้ว ก็ถวายอาหารบิณฑบาตแด่ภิกษุสงฆ์ พร้อมด้วยเครื่องปัจจัยทานอย่างอื่นอีกเป็นอีกมาก และได้ถวายผ้าบังสกุล เมื่อเสร็จแล้วก็ทูลถามถึงอานิสงส์ถวายผ้าบังสุกุลว่า

    <DD>“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บุคคลที่นำผ้าบังสุกุลมาถวายจะได้อานิสงส์ประการใด ขอได้โปรดเทศนาแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด”

    <DD>สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรงแสดงอานิสงส์ผู้ถวายผ้าบังสุกุลว่า เมื่อผู้นำผ้าบังสุกุลไปถวายภิกษุสงฆ์ในพระศาสนาแล้ว บุคคลนั้นเมื่อเกิดในชาติหน้าจะบริบูรณ์งดงามด้วยศรีแห่งกาย เป็นที่ชอบแก่เทวดาและมนุษย์ จะปราศจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง

    <DD>อนึ่ง แผ่นธรณีอันหนาแน่นได้ 2 แสน 9 หมื่นโยชน์นี้ก็ดี อากาศอันกว้างขวางหาที่สิ้นสุดมิได้ก็ดี จะนำมาเปรียบกับผลานิสงส์ของบุคคลที่ได้ถวายผ้าบังสุกุลมิได้
    ดังนี้แล.

    ที่มา - เว็บ //cul.hcu.ac.th/phaba.htm
    </DD>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พราหมณ์ผู้บูชาแม่น้ำคงคา

    <DD>เช้าวันหนึ่ง พระอานนท์ เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี ได้พบพราหมณ์นามว่า สังครวะ ผู้มีความเชื่อถือว่า บุคคลจะบริสุทธิ์ได้ด้วยการอาบน้ำในแม่น้ำคงคาวันละ ๓ ครั้ง คือ เช้า กลางวัน และเย็น

    <DD>บาปอันใดที่ทำในเวลาราตรี บาปนั้นย่อมล้างได้ลอยได้ ด้วยการอาบน้ำในเวลาเช้า และอาบน้ำในเวลากลางวัน เพื่อล้างบาปที่ทำตั้งแต่เช้าจนเที่ยง อาบน้ำในเวลาเย็น เพื่อล้างบาปอันอาจจะเกิดขึ้นในเวลาหลังเที่ยง น้ำที่จะอาบนั้นต้องเป็นน้ำในแม่คงคา

    <DD>โดยถือว่าได้ไหลมาจากแดนสวรรค์ ผ่านเศียรพระศิวะผู้เป็นเจ้ามาแล้ว ไม่เพียงแต่ล้างบาปอย่างเดียวเท่านั้น แต่สามารถบำบัดโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย และเมื่ออาบน้ำในพระแม่คงคาทุกวัน ตายแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ได้สถิตอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า

    <DD>ด้วยเหตุนี้จึงเป็นของธรรมดาที่จะมองเห็นโยคีและผู้บำเพ็ญพรตนิกายต่างๆ ทั้งสองฝั่งแม่น้ำคงคาตอนเหนือแถบภูเขาหิมาลัย ทรมานตนอยู่ด้วยวิธีแปลกๆ ตามแต่ตนจะเห็นว่าอย่างไรไหนดี และสามารถเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าได้ บางพวกนอนบนหนาม บางพวกคลุกตนด้วยขี้เถ้า บางพวกยืนยกขาข้างเดียวอ้าปากกินลมชมจันทร์ บางพวกยืนเอามือเหนี่ยวกิ่งไม้จนเล็บยาวออกมาแทบจะทะลุหลังมือ บางพวกบูชาไฟ และบูชาพระอาทิตย์

    <DD>แต่ก็มีอยู่ไม่น้อยที่โยคีบางพวกบำเพ็ญเพียรทางจิตจนได้บรรลุฌานขั้นต่างๆ สามารถมองเห็นเหตุการณ์ทั้งอดีต อนาคต เหมือนประสบมาเอง บางคนสามารถได้เจโตปริยญาณ คือรู้วาระจิตของผู้อื่น ตอบปัญหาได้โดยที่ผู้ถามเพียงนึกถามอยู่ในใจเท่านั้น

    <DD>พระอานนท์ได้เห็น "สังครวพราหมณ์" ผู้ถือการลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคาเป็นอาจิณวัตรดังนั้นแล้ว มากราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

    <DD>"พระองค์ผู้เจริญ! สังควรพราหมณ์เวลานี้อยู่ในวัยชรา มีอัธยาศัยงามพอสนทนาได้อยู่ แต่อาศัยความเชื่อถือเก่าๆ จึงยังมองไม่เห็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ขอพระผู้มีพระภาคจงอาศัยพระมหากรุณา เสด็จไปโปรดสังควรพราหมณ์สักครั้งเถิด"

    <DD>พระพุทธองค์ทรงรับอาราธนาของพระอานนท์ด้วยอาการดุษณี วันรุ่งขึ้นเสด็จไปสู่นิเวศน์ของพราหมณ์นั้นเหมือนเสด็จเยี่ยมอย่างธรรมดา เมื่อสัมโมทนียกถาล่วงไปแล้ว พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

    <DD>"พราหมณ์! เวลานี้ท่านยังอาบน้ำดำเกล้าในแม่คงคาวันละ ๓ ครั้งอยู่หรือ?"
    <DD>"ยังทำอยู่พระเจ้าข้า" พราหมณ์ทูลด้วยอาการนอบน้อม

    <DD>"ท่านเห็นประโยชน์อย่างไรนะพราหมณ์ จึงต้องอาบน้ำดำเกล้าเฉพาะแต่ในแม่น้ำคงคาเท่านั้น ที่อื่นจะอาบได้หรือไม่ ที่ตถาคตถามนี้ ถามเพื่อต้องการความรู้ความเห็นเท่านั้น อย่าหาว่าตถาคตละลาบละล้วงในเรื่องส่วนตัวเลย"

    <DD>"พระโคดมผู้เจริญ! ข้าพเจ้าได้รับฟังมาตั้งแต่อายุยังเยาว์ว่า แม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ สามารถชำระบาปมลทินทั้งปวงได้ เพราะได้ไหลผ่านเศียรพระศิวะผู้เป็นเจ้าลงมา เป็นแม่คงคาสวรรค์ ข้าพเจ้าจึงเลื่อมใส และปฏิบัติตามบุรพชน ซึ่งเคยถือปฏิบัติกันมา และข้าพเจ้าเชื่อว่าสามารถชำระบาปได้จริงๆ" พราหมณ์ทูลด้วยความมั่นใจ

    <DD>"พราหมณ์! พระผู้มีพระภาคตรัสด้วยพระสุรเสียงที่อ่อนโยนนิ่มนวลและอย่างกันเอง "ขอให้ท่านนึกว่าเราสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกันเถิด ตถาคตจะขอถามท่านว่า บาปมลทินนั้นอยู่ที่กายหรืออยู่ที่ใจ?"

    <DD>"อยู่ที่ใจซิ..พระโคดม"

    <DD>"เมื่อบาปมลทินอยู่ที่ใจ การลงอาบน้ำชำระกายน้ำนั้นจะสามารถซึมซาบลงไปล้างใจด้วยหรือ?"

    <DD>"แต่พระโคดมต้องไม่ลืมว่าน้ำนั้นมิใช่น้ำธรรมดา มันเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่าสามารถล้างบาปมลทินภายในได้"

    <DD>"ท่านคิดว่าความเชื่อสามารถเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงซึ่งมีอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว ให้เป็นอีกอย่างหนึ่งตามที่เราเชื่อหรือ?"

    <DD>"เป็นไปมิได้เลย พระโคดม ความเชื่อมิอาจบิดเบือนความจริงได้ ความจริงย่อมทรงตัวของมันอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ตาม"

    <DD>"เป็นอันท่านยอมรับว่า ความเชื่อไม่อาจไปบิดเบือนความจริงได้ ก็การที่ท่านเชื่อว่า แม่น้ำคงคาสามารถล้างมลทินภายในได้นั้น มันจะเป็นจริงอย่างที่ท่านเชื่อละหรือ? ดูก่อนพราหมณ์! อุปมาเหมือนบุรุษผู้หลงทางในป่า แล้วบ่ายหน้าไปทางทิศหนึ่ง ซึ่งตนเข้าใจว่าเป็นทิศตะวันออก แต่ความจริงมันเป็นทิศตะวันตก ความเชื่อของเขาไม่อาจจะไปเปลี่ยนทิศตะวันตกให้เป็นทิศตะวันออกได้ฉันใด

    <DD>ความเชื่อของพราหมณ์เป็นอันมาก ที่เชื่อว่าแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ สามารถล้างบาปได้ ก็ไม่อาจทำให้แม่น้ำนั้นล้างบาปได้จริงเลย จึงชวนกันเข้าใจผิดเหมือนบุรุษผู้หลงทางในป่านั้น

    <DD>"ดูก่อนพราหมณ์! เปรียบเหมือนบุรุษผู้หนึ่งมีหม้อทองแดงอยู่ใบหนึ่ง มันเปื้อนเปรอะด้วยสิ่งปฏิกูลทั้งภายในและภายนอก เขาพยายามชำระล้างด้วยน้ำจำนวนมาก แต่ล้างแต่ภายนอกเท่านั้น หาได้ล้างภายในไม่ ท่านคิดว่าสิ่งปฏิกูลภายในจะพลอยหมดไปด้วยหรือ?"

    <DD>"เป็นไปมิได้เลย พระโคดมผู้เจริญ บุรุษผู้นั้นย่อมเหนื่อยแรงเปล่า ไม่อาจทำให้ภายในหม้อสะอาดได้ สิ่งสกปรกเคยเกรอะกรังอยู่อย่างไรก็คงอยู่อย่างนั้น"

    <DD>"ดูก่อนพราหมณ์! เรากล่าวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นสิ่งทำให้จิตใจสกปรก และสามารถชำระล้างได้ด้วยธรรม คือความสุจริต มิใช่ด้วยการอาบน้ำธรรมดา น้ำดื่มของบุคคลผู้มีกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ย่อมเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปในตัวแล้ว

    <DD>"นี่แน่ะ..พราหมณ์! มาเถิดมาอาบน้ำในธรรมวินัยของเรานี้ ซึ่งลึกซึ้งสะอาด ไม่ขุ่นมัว มีศีลเป็นท่าลง บัณฑิตสรรเสริญ เป็นที่ที่ผู้รู้นิยมอาบกัน อาบแล้วข้ามฝั่งได้โดยที่ตัวไม่เปียก"


    <DD>เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ พราหมณ์กล่าวด้วยความเบิกบานใจว่า แจ่มแจ้งจริงพระโคดม แจ่มแจ้งจริงเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด ให้ผู้มีนัยน์ตาดีได้เห็นรูป ข้าพระพุทธเจ้าขอปฏิญาณตนเป็นอุบาสก ถึงพระองค์พร้อมด้วยพระธรรม และพระสงฆ์ผู้นำทางตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จวบจนสิ้นลมปราณ </DD>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปกับพระอานนท์

    <DD>พระอานนท์..พุทธอนุชาเป็นผู้มีน้ำใจปรารถนาความสุขความสำเร็จแก่ผู้อื่น ในฐานะที่พอช่วยเหลือได้ดังในกล่าวมาแล้วนี้ คุณธรรมอีกอย่างหนึ่งของท่านซึ่งน่าประทับใจยิ่งนัก คือมีความเคารพยำเกรงต่อพระเถระผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ ซึ่งพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว มีพระสารีบุตรและพระมหากัสสปเป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระมหากัสสปนั้น พระอานนท์ไม่กล้าแม้แต่จะเอ่ยชื่อท่าน

    <DD>คราวหนึ่ง พระมหากัสสป จะเป็นอุปัชฌายะให้อุปสมบทแก่กุลบุตรผู้หนึ่ง จึงส่งทูลไปนิมนต์พระอานนท์เพื่อสวดอนุสาวนา คือสวดประกาศเพื่อขอความยินยอมจากสงฆ์ ในการสวดนี้จะต้องระบุชื่อผู้เป็นอุปัชฌายะด้วยพระอานนท์ไม่รับ ท่านอ้างว่าท่านไม่สามารถเอ่ยชื่อ พระมหากัสสป ต่อหน้าท่านได้ พระผู้มีพระภาคทรงทราบเรื่องนี้แล้ว จึงทรงบัญญัติให้สวดอนุสาวนาระบุชื่อโคตรกันได้

    <DD>อีกครั้งหนึ่งท่านมีหน้าที่ต้องให้โอวาทภิกษุณี ท่านขอร้องวิงวอนให้พระมหากัสสปไปกับท่าน เพื่อให้โอวาทภิกษุณีแทนท่าน เพราะเห็นว่าพระมหากัสสปเป็นนักปฏิบัติที่เคร่งครัด โอวาทของท่านคงจะเป็นประโยชน์แก่ภิกษุณีผู้ใคร่ต่อการปฏิบัติ พระมหากัสสปปฏิเสธถึงสองครั้ง

    <DD>เมื่อพระอานนท์อ้อนวอนเป็นครั้งที่สาม ท่านจึงไป - ไปอย่างขัดพระอานนท์ไม่ได้ โดยปรกติท่านเป็นผู้อยู่ป่า ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เมื่อถึงสำนักภิกษุณีและให้โอวาทพอสมควรแล้ว ท่านก็ลากลับ

    <DD>ต่อมาท่านได้ทราบว่า ภิกษุณีรูปหนึ่งติเตียนท่านว่า พระมหากัสสปไม่น่าจะกล่าวธรรมต่อหน้า "เวเทหิมุนี" คือนักปราชญ์อย่างเช่น พระอานนท์เลย การกระทำเช่นนั้น เหมือนพ่อค้าขายเข็มนำเข็มมาขายแก่นายช่างผู้ทำเข็ม..ช่างน่าหัวเราะ พระมหากัสสปกล่าวกับพระอานนท์ว่า

    <DD>"อานนท์! เธอหรือเรากันแน่ที่ควรจะเป็นพ่อค้าขายเข็ม ก็พระศาสดาเคยยกย่องเธอบ้างหรือว่า มีวิหารธรรม คือธรรมเป็นเครื่องอยู่ประจำวันเสมอด้วยพระองค์ แต่เรานี่แหละพระศาสดายกย่องในท่ามกลางสงฆ์เสมอ ว่ามีธรรมเสมอด้วยพระองค์ เช่นเดียวกับที่ยกย่องพระสารีบุตรว่า สามารถแสดงธรรมได้เสมอพระองค์"

    <DD>"ท่านผู้เจริญ" พระอานนท์กล่าวด้วยเสียงเรียบปรกติ "อย่าคิดอะไรเลย สตรีส่วนมากเป็นคนโง่เขลามักขาดเหตุผล พูดพล่อยๆ ไปอย่างนั้นเอง"

    <DD>การที่พระมหากัสสปกล่าวกับพระอานนท์อย่างนั้น มิใช่เพราะท่านน้อยใจหรือเสียใจในการที่ภิกษุณีกล่าวดูหมิ่นท่าน แต่ท่านกล่าวด้วยคิดว่า คำพูดของท่านคงจะถึงภิกษุณีและเธอจะได้สำนึกตนแล้วกลับความเห็นเสีย การที่ภิกษุณีกล่าวเช่นนั้นเป็นการไม่สมควร จะเกิดโทษและทุกข์แก่เธอเอง ด้วยจิตคิดจะอนุเคราะห์อย่างนี้ พระมหากัสสปจึงกล่าวอย่างนั้น

    <DD>โดยความเป็นจริงพระมหากัสสปมีความสนิทสนมและกรุณาพระอานนท์ยิ่งนัก กล่าวกันว่าแม้พระอานนท์จะมีอายุย่างเข้าสู้วัยชรา เกศาหงอกแล้ว พระมหากัสสปก็เรียกท่านว่า "เด็กน้อย" อยู่เสมอ และพระอานนท์เล่า ก็ประพฤติตนน่ารักเสียจริงๆ

    ที่มา - เว็บ //se-ed.net/platongdham/pra_anon/19.htm
    </DD>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปกับพระสารีบุตร

    <CENTER>ปรัมมรณสูตร
    ว่าด้วย สัตว์ตายไปแล้วเกิดอีกหรือไม่เกิด </CENTER>




    <DD>[๕๒๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสป และ ท่านพระสารีบุตร อยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้วได้ปราศรัยกะท่านพระมหากัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนี่ง {น.๒๑๖}


    <DD>[๕๒๙] ครั้นท่านพระสารีบุตร (สา) นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ถามท่านพระมหากัสสป (ก) ว่า

    สา. ดูกรท่านกัสสป..สัตว์เมื่อตายไปแล้วเกิดอีกหรือ?
    ก. ข้อนี้พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงพยากรณ์ไว้

    สา. สัตว์เมื่อตายไปแลัวไม่เกิดอีกหรือ?
    ก. แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้

    สา. สัตว์เมื่อตายไปแลัว เกิดก็มี ไม่เกิดก็มี หรือ?
    ก. ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้

    สา. สัตว์เมื่อตายไปแลัว เกิดอีกก็หามิได้ ไม่เกิดอีกก็หามิได้ หรือ?
    ก. แม้ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงพยากรณ์ไว้

    สา. เพราะเหตุไรหรือ ข้อที่กล่าวถึงนั้นๆ พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงพยากรณ์ ไว้?
    ก. เพราะข้อนั้นไม่มีประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงมิได้ทรงพยากรณ์ไว้ {น.๒๑๖}

    สา. ถ้าเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้อย่างไรเล่า?
    ก. พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ไว้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความ ดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์

    สา. ก็เพราะเหตุอะไร ข้อนี้พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้?
    ก. เพราะข้อนั้นมีประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งการประพฤติพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกิเลส เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงพยากรณ์ไว้ {น.๒๑๖}

    http://www.navy.mi.th/misc/budham/sut/pram.htm
    </DD>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กากวฬิยะเศรษฐี

    <DD>สมัยที่องค์สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนมชีพอยู่ มีชายเข็ญใจผู้หนึ่ง ซึ่งมีนามว่า นายกากวฬิยะ ผู้มีวาสนาอาภัพ เพราะเกิดมาในตระกูลที่ยากจน เลี้ยงชีวิตอยู่ในโลกด้วยความยากลำบาก ต้องทำงานหนักตลอดทั้งวันไม่มีเวลาที่จะนึกถึงบุญกุศลสิ่งไรทั้งสิ้น

    <DD>วันหนึ่งภรรยาของเขาเตรียมต้มข้าวกับผักดองรวมกันเป็นข้าวยาคูเปรี้ยว เพื่อจะให้เขากินตามประสาจน ขณะนั้น พระมหากัสสปเถระ สาวกองค์สำคัญแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านออกจากนิโรธสมาบัติอันประเสริฐพอดี จึงพิจารณาถึงบุคคลที่เข้าข่ายทุกข์ยากเข็ญใจที่ควรจักสงเคราะห์

    <DD>ครั้นพระผู้เป็นเจ้าพิจารณาไป ก็ทราบด้วยญาณพิเศษว่า กระทาชายนายกากวฬิยะกับภรรยาของเขาซึ่งเป็นคนยากไร้ เป็นผู้สมควรจักได้รับการอนุเคราะห์มากกว่าผู้อื่น เมื่อทราบดังนั้นแล้วพระมหากัสสปเถระ ผู้มีใจกรุณา ก็จัดแจงเตรียมองค์นุ่งสบงจีวร ถือบาตรเดินมุ่งหน้าเข้าไปสู่ตัวเมือง และไปยืนอยู่แทบใกล้ประตูเรือนแห่งกากวฬิยะบุรุษนั้น

    <DD>พอดีภรรยาของเขาออกมาจากประตูเรือนอันเก่าคร่ำคร่า ครั้นเห็นพระมหาเถรเจ้าผู้มีชื่อเสียงลือชา เป็นที่เคารพสักการะแห่งองค์พระมหากษัตริย์และเศรษฐีทั้งหลาย มายืนบิณฑบาตอยู่หน้าบ้านตนผู้เป็นคนเข็ญใจเช่นนั้น ก็บังเกิดความปีติใจ มีศรัทธาใคร่จะถวายบิณฑบาตทานแก่พระผู้เป็นเจ้า ด้วยข้าวยาคูเปรี้ยวที่ต้มเอาไว้เพื่อสามี ซึ่งขณะนี้ไม่อยู่ออกไปทำงานนอกบ้าน

    <DD>ทันใดที่เกิดศรัทธาขึ้นอย่างแรงกล้า นางจึงรีบออกมาจากเรือนแล้วกระทำการอภิวาทและรับเอาบาตรแห่งพระมหาเถรเจ้าเข้าไปในเรือนใส่ข้าวยาคูเปรี้ยวลงจนหมดหม้อให้สมใจศรัทธา ไม่ได้แบ่งปันไว้ให้นายกากวฬิยะผู้เป็นสามีเลย

    <DD>ครั้นแล้วก็น้อมนำเอาบาตรนั้นมาถวายแก่พระเถระด้วยความเลื่อมใสเป็นหนักหนา พระมหากัสสปเถรเจ้ารับเอาบาตรและกล่าวคำอนุโมทนาแล้วเดินกลับไปสู่วิหาร น้อมนำเอาข้าวยาคูเปรี้ยวนั้นไปถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกต่อหนึ่ง

    <DD>สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรับเอาบาตรข้าวยาคูเปรี้ยวนั้นแล้วทรงมีพุทธฎีกาตรัสให้แบ่งแก่พระภิกษุทุกรูปที่อยู่ในวิหารนั้น เมื่อพระภิกษุสงฆ์ซึ่งมีองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นประธานฉันภัตตาหารและข้าวยาคูเปรี้ยวของคนเข็ญใจอยู่ด้วยความอนุเคราะห์นั้น

    <DD>นายกากวฬิยะผู้รู้ข่าวว่าภรรยามีศรัทธาถวายอาหารอันเป็นส่วนของตน ให้แก่พระมหากัสสปเถรเจ้าองค์อรหันต์ ก็ดีใจสุดประมาณและติดตามมาจนถึงวิหาร ในขณะที่พระภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จพอดี ดังนั้น เขาจึงมีโอกาสได้รับประทานอาหารอันเป็นส่วนที่เหลือจากพระฉันแล้วอีกด้วย

    <DD>เพื่อที่จักยังความปรีดาปราโมทย์ให้เกิดขึ้นแก่คนเข็ญใจโดยยิ่ง พระมหากัสสปเถรเจ้าจึงกราบทูลถามสมเด็จพระบรมครูสัพพัญญูเจ้าขึ้นต่อหน้านายกากวฬิยะนั้นว่า

    <DD>"ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระภาค..พระพุทธเจ้าข้า ภรรยาของนายกากวฬีย์ผู้นี้ มีศรัทธาถวายบิณฑบาตทานกาลต่อมาเมื่อตัวนายกากวฬีย์เองทราบข่าว ก็มีจิตยินดีปรีดาในอาหารบิณฑบาตทานนั้นเป็นอย่างยิ่ง อานิสงส์แห่งทานของเขาทั้งสองในครั้งนี้จักมีประการใด พระพุทธเจ้าข้า ?"

    <DD>สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้า จึงมีพุทธฎีกาตรัสพยากรณ์ว่า

    <DD>"ดูกรกัสสปะ ! นับแต่วันนี้ไปได้ ๗ วัน กากวฬียบุรุษผู้นี้ จักได้ฉัตรสำหรับเศรษฐี เขาจักได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเศรษฐีจากองค์พิมพิสารราชาบดี ในเมื่อครบ ๗ วันนับจากนี้เป็นต้นไป"

    <DD>นายกากวฬิยะคนยากไร้ เมื่อได้สดับฟังพุทธฎีกาตรัสดังนั้น ก็พลันน้ำตาไหลด้วยความดีใจ ถวายบังคมสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและถวายนมัสการแด่พระมหากัสสปะเถระผู้มีพระคุณและภิกษุทั้งหลายกลับไปบ้าน แล้วบอกความที่สมเด็จพระพุทธองค์ได้ตรัสพยากรณ์นั้นแก่ภรรยาของตน ครั้นนางได้ฟังความที่สามีบอก ก็มีจิตชื่นใจในทานบิณฑบาตที่ได้ถวายแก่พระมหากัสสปเถระเจ้าผู้เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติเป็นยิ่งนัก

    <DD>ในกาลนั้น สมเด็จพระเจ้าพิมพิสารราชาธิบดีผู้เป็นใหญ่แห่งนครราชคฤห์ เสด็จราชกิจเพื่อดูขอบเขตแห่งภูเขาและประเทศอันล้อมรอบไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่ ถัดจากภูเขานั้นไปมีป่าใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งประชากรทั้งหลายพากันขนานนามเรียกว่า "มหาเปตโลก" เป็นสถานที่ซึ่งมีคำเล่าลือกันว่า เป็นที่อาศัยอยู่ของบรรดาผีดุร้าย ยามราตรีไม่มีผู้คนใดกล้าเข้าไปที่นั่นเลย

    <DD>เมื่อพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมาถึงป่ามหาเปตโลก ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นนายโจรนักโทษประหารผู้หนึ่ง ซึ่งถูกลงโทษด้วยการเสียบเป็น ให้ได้รับทุกขเวทนาอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะตายไปเอง พระองค์ก็ทรงเข้าไปไต่ถามความเป็นไป ขณะนั้นนายโจรได้เหลือบเห็นพระเจ้าพิมพิสารก่อนก็ตะโกนขึ้นว่า

    <DD>"ข้าแต่พระเจ้าแผ่นดิน ! มีอะไรกินบ้างหรือไม่ ถ้ามีก็รีบเอามาไว ๆ ถ้าไม่มีก็อย่าได้เข้ามาใกล้ ข้านี้เป็นโจรใจร้าย ได้รับโทษตามกฎหมายของท่านในครั้งนี้แสนสาหัสฉกรรจ์นัก"

    <DD>เมื่อทรงได้ยินดังนั้น องค์นฤบดีพิมพิสารโสดาบัน ก็ยิ่งทรงมีพระทัยสงสารเป็นยิ่งนัก แล้วมีพระราชดำรัสแก่นายโจรว่า

    <DD>"ดูกรเจ้าโจรเอ๋ย ! การที่เจ้ารับกรรมในครานี้เป็นผลจากการกระทำของเจ้า แต่เราก็จนใจจริงๆ เพราะไม่มีอาหารสิ่งใดติดมือมาเลย เอาเถิดเมื่อเรากลับถึงเมืองแล้ว จักให้คนนำอาหารมาให้เจ้า"

    <DD>แล้วพระองค์ก็เสด็จกลับสู่พระนคร ครั้นเมื่อถึงเวลาเสวยพระกระยาหาร พระองค์ก็คิดระลึกขึ้นได้ว่า ทรงรับคำจะนำอาหารไปให้นายโจร ด้วยกลัวว่าจะเสียสัตย์จึงมีพระราชโองการให้จัดหาคนที่สามารถนำเอาอาหารไปให้นักโทษโจรร้าย ในป่ามหาเปตโลกได้ภายในราตรีนั้น จะพระราชทานทรัพย์ให้จำนวน ๑,๐๐๐ ตำลึง

    <DD>อย่าว่าจะไปในยามราตรีเลย เพียงแค่ได้ยินคำว่ามหาเปตโลกเท่านั้น คนทั้งหลายก็เกิดความสะดุ้งกลัว ใจคอหวาดหวั่นเหมือนกับใช้ให้ไปหาพระกาฬ ฉะนั้น จึงยากที่จะหาผู้ใดอาสาไปกระทำการ พระองค์จึงให้อำมาตย์ทั้งหลายไปป่าวประกาศในเมือง เพื่อหาคนใจกล้าไปยังมหาเปตโลกในยามราตรีให้จงได้ ด้วยทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายกุศลก็เข้าดลจิตภรรยาแห่งนายกากวฬิยะคนเข็ญใจให้เกิดใจกล้าคิดจักรับอาสา จึงออกมาจากเรือนแล้วเข้าไปแจ้งความแก่อำมาตย์เหล่านั้น และรับทรัพย์ ๑,๐๐๐ ตำลึงไว้

    <DD>ในกาลนั้น ยังมียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า ทีฆฏผลยักษ์ สิงอยู่ที่ต้นตาลภายนอกมหานครมานานแล้วเห็นภรรยาแห่งนายกากวฬิยะซึ่งแต่งกายเป็นบุรุษ แบกถาดทองใส่อาหารเดินมาในยามวิกาลเช่นนั้นก็ร้องเรียกออกไปด้วยเสียงมนุษย์ว่า

    <DD>"เจ้าเป็นใคร ! เหตุใดจึงกล้าเข้ามาในอาณาเขตแห่งเรา หาไม่แล้วจะเคราะห์ร้ายรู้หรือไม่เล่า แล้ว จะตกเป็นภักษาหารของเรา"

    <DD>เมื่อนางได้ยินก็เอ่ยวาจาขึ้นด้วยความตกใจว่า "ท่านเป็นใคร ?"

    <DD>"เราเป็นยักษ์ เป็นบริวารแห่งท้าวเวสสุวรรณเทพบุตราธิบดี แล้วท่านเป็นใครล่ะ ?"

    <DD>"เราเป็นราชทูตแห่งพระเจ้าพิมพิสาร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เราไปที่ป่ามหาเปตโลก ด้วยพระราชกิจรีบร้อน"

    <DD>"อ๋อ...ถ้าเช่นนั้นก็ไม่เป็นไร เมื่อครู่ท่านว่าท่านจะไปยังป่ามหาเปตโลก เราก็มีกิจของเราอย่างหนึ่ง ใคร่ขอวานท่านผู้เป็นราชทูตให้ช่วยกิจเราอย่างหนึ่งด้วยเถิด เมื่อท่านไปใกล้ป่ามหาเปตโลก ท่านจงตะโกนร้องประกาศด้วยเสียงอันดังว่า

    <DD>บัดนี้ ! นางกาลีผู้เป็นธิดาแห่งท่านสุมนะเทวราชซึ่งเป็นภรรยาแห่งทีฆฏผลยักษ์ ได้บุตรเป็นเพศชายแล้ว ! ท่านจงประกาศตามที่เราสั่งนี่แหละ ถ้าคำป่าวประกาศของท่านรู้ไปถึงสุมนะเทวราชด้วยประการใดก็ตาม เราจะให้ขุมทรัพย์ ๗ ขุม ที่เราเฝ้าอยู่ในบริเวณนี้แก่ท่าน"

    <DD>เมื่อนางรับคำทีฆฏผลยักษ์แล้ว นางก็เดินไปร้องป่าวประกาศไปด้วยจนใกล้ถึงป่ามหาเปตโลก ขณะนั้น สุมนะเทวราชผู้เป็นใหญ่กว่ายักษ์ทั้งหลายในป่ามหาเปตโลก ได้ให้โอวาทแก่บริวารยักษ์จบลงแล้ว ก็มียักษ์ผู้มีศักดิ์น้อยตนหนึ่ง เข้าไปกราบเรียนว่า

    <DD>"บัดนี้ ! นางมนุษย์ผู้หนึ่งเดินทางมุ่งหน้ามายังป่ามหาเปตโลกและป่าวร้องว่าพระธิดาแห่งท่านให้กำเนิดบุตรชายแล้ว"

    <DD>เมื่อสุมนะเทวราชได้ทราบข่าวดังนั้น ก็ให้บริวารยักษ์เหล่านั้นไปนำนางสตรีดังกล่าวเข้ามาถามไถ่ รวมทั้งมีบัญชาให้บริวารยักษ์ไปสอบถามความจากทีฆฏผลยักษ์บุตรเขย เพื่อความแน่ใจด้วย เมื่อทราบว่าเป็นจริงดังกล่าว ก็มีใจผ่องแผ้วเป็นหนักหนาและกล่าวกับนางว่า

    <DD>"ดูกรนางมนุษย์ ! ท่านผู้เป็นราชทูตแห่งพระเจ้าพิมพิสารราชาบดี อุตส่าห์นำเอาอาหารมาให้ผู้ใกล้ตายในป่ามหาเปตโลก นับว่าเจ้าเป็นบุคคลที่มีใจกล้าหาญ มิหนำซ้ำยังนำข่าวหลานชายซึ่งเป็นข่าวดีมาสู่เรา ฉะนั้นเราจึงใคร่ตอบแทนท่าน

    <DD>สมบัติอื่นใดที่จะเหมาะสมแก่มนุษย์เช่นท่านนั้นเราหามีไม่ นอกเสียจากขุมทรัพย์อันเป็นของคนโบราณซึ่งฝังใต้ร่มไทรนี้ อันมีเราเป็นผู้ดูแลรักษาอยู่ซึ่งไม่มีประโยชน์ต่อเรา เราจึงใคร่ยกให้ท่านผู้เป็นมนุษย์ พรุ่งนี้จงมาขุดเอาไปเถิด เราอนุญาตให้จนหมดสิ้น"

    <DD>เมื่อนางอำลาท้าวสุมนะเทวราชแล้ว ก็นำเอาถาดอาหารเดินเข้าสู่ป่ามหาเปตโลกและนำเอาอาหารป้อนสู่ปากนักโทษเสียบเป็น ให้เขาได้บริโภคตามความปรารถนาด้วยความเมตตาสงสาร และนำเอาถาดทองเปล่ากลับมาสู่พระราชวัง กราบบังคมทูลประพฤติเหตุทั้งปวง

    <DD>รุ่งขึ้นสมเด็จพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นใหญ่ ตระเตรียมเกวียนหลายเล่มและออกเดินทางสู่บริเวณขุมทรัพย์ โดยมีสตรีผู้กล้าเป็นผู้นำทาง เมื่อเจ้าพนักงานพากันขุดตามที่นางชี้บอกก็พบทรัพย์สมบัติมหาศาลของแผ่นดินดังที่นางกล่าวไว้ เมื่อขุดสมบัติเสร็จสิ้นแล้ว พระเจ้าพิมพิสารก็ได้ประชุมหมู่พฤฒามาตย์ราชปุโรหิตาจารย์ทั้งหลาย ทรงปรึกษาราชกิจว่าควรจักทำประการใด ราชปุโรหิตาจารย์ทั้งหลายลงมติกราบทูลว่า

    <DD>"นางควรจักได้รับฉัตรเศรษฐี แต่ด้วยนางเป็นสตรี จึงควรพระราชทานฉัตรเศรษฐีให้แก่สามีของนางตามเยี่ยงอย่างประเพณี เพื่อที่นางจักได้เป็นใหญ่ในเรือนเสวยความสุขโดยความเป็นเศรษฐีสืบไป"

    <DD>พระราชาทรงเห็นด้วยกับคำกราบทูลนั้น จึงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้นายกากวฬิยะเป็นเศรษฐีประจำแผ่นดิน มีพระราชทินนามว่า "ธนเศรษฐี" แล้วทรงพระราชทานฉัตรเศรษฐีให้แก่เขาเป็นเกียรติยศ สมดังคำทำนายขององค์สมเด็จพระบรมสุคตกล่าวไว้ก่อนนั้นทุกประการ.

    <DD>ด้วยความตั้งใจที่จะบริจาคทานแม้จะทุกข์ใจยากเข็ญสักเพียงใด ท่านทั้งสองก็ยังเลื่อมใสศรัทธายึดมั่นในคุณแห่งพระพุทธองค์ นับเป็นตัวอย่างของพุทธศาสนิกชนอันดี ดังนั้นในฐานะที่เราท่านทั้งหลายก็เป็นลูกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เราควรร่วมมือร่วมใจกันประสานสามัคคี ประกอบความดีให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองต่อไป.

    ที่มา -www.kmitl.ac.th/buddhism/webpatji/chadok/chadok/kakavilaya.html
    </DD>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ลูกศิษย์พระมหากัสสป

    <DD>ดังนิทานที่มีมาว่า ยังมีบุรษผู้หนึ่ง เป็นลูกศิษย์ของพระมหากัสสป บวชเป็นภิกษุได้ฌานโลกีย์ ครั้นเห็นรูปหญิงที่งามก็มีความยินดี ฌานโลกีย์ก็เสื่อมจากสันดาน จึงสึกออกไปคบกับพวกโจร เที่ยวกระทำโจรกรรมด้วยโจรทั้งหลาย ราชบุรุษเขาจับมัดมาเพื่อจะประหาร

    <DD>ตัง ทิวะสัง..ในวันนั้นพระมหากัสสปเข้าไปบิณฑบาต เห็นบุรุษที่เป็นลูกศิษย์ก็มิจิตกรุณา จึงมีเถรวาจาว่า ท่านจงเจริญพระกรรมฐานที่ท่านได้เล่าเรียนมาแต่กาลก่อน บุรุษลูกศิษย์นั้นก็ทำตามคำพระอาจารย์ เจริญพระกรรมฐานยังฌานให้บังเกิดขึ้น ราชบุรุษทั้งหลายจึงนำบุรุษนั้นไปสู่ที่ฆ่า ให้บุรุษนั้นนั่งบนไม้เสียบแล้วก็คุกคามด้วยอาวุธ บุรุษโจรนั้นก็มิได้ตกใจกลัวแก่ความตาย ราชบุรุษทั้งหลายเห็นอัศจรรย์ จึงไปกราบทูลพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์รับสั่งให้ปล่อยโจรนั้นไป

    <DD>ตัสสะมิง ขะเณ..ในขณะนั้น สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่ในพระเวฬุวันมหาวิหาร แผ่รัศมีสว่างไปถึงบุรุษนั้นแล้วก็ตรัสเทศนา บุรุษโจรนั้นนั่งอยู่เหนือไม้เสียบ ได้ฟังธรรมเทศนา ก็พิจารณาในพระไตรลักษณ์ ก็เห็นแจ้งประจักษ์ในสังขาร สำเร็จพระอริยมรรคญาณ ก็เหาะไปสู่เวฬุวันบวชในพระพุทธศาสนา ก็สำเร็จพระอรหัตตัดกิเลสจากสันดาน ดังรับประทานวิสัชนามาฉะนี้ ฯ
    </DD>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระเกียรติคุณของพระมหากัสสปเถระ

    <DD>พระมหากัสสปะเถระ ได้รับการยกย่องให้เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ของพระพุทธองค์ ว่าโดยลำดับแล้วก็จัดอยู่ในลำดับที่ ๓ ของหมู่พระมหาสาวก รองจาก พระสารีบุตร และ พระโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาและเบื้องซ้าย สมดังที่ท่านได้รับพุทธพยากรณ์จาก พระปทุมุตตระพุทธเจ้า ท่านจะเป็นพระสาวกที่ ๓ ของพระโคดมพุทธเจ้า

    <DD>แต่ในทางปฏิบัติ ในสมัยพุทธกาลนั้น พระอัครสาวกทั้งสองต่างก็ได้นิพพานไปก่อนพระพุทธองค์ทั้งสิ้น ส่วนพระมหากัสสปะมีอายุยืนต่อมาหลังพุทธปรินิพพาน จึงนับได้ว่าท่านเป็นประธานของเหล่าภิกษุหลังพุทธปรินิพพาน

    <DD>ท่านได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์เป็นอันมาก รวมทั้งการสถาปนาเป็นเอตทัคคะ เป็นยอดของภิกษุผู้ทรงธุดงค์ ๑๓ ซึ่งตามอรรถกถาได้กล่าวไว้ว่า โดยปกติมหาสาวกผู้จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะทางด้านใดด้านหนึ่งนั้น ก็ย่อมจะต้องได้มาด้วยเหตุ ๔ ประการคือ

    ๑. โดยเหตุเกิดเรื่อง
    ๒.โดยการมาก่อน
    ๓. โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ และ
    ๔. โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ


    <DD>ในเหตุ ๔ อย่างนั้น พระเถระบางรูป ย่อมได้ตำแหน่งเอตทัคคะ โดยเหตุอย่างเดียว บางรูปได้โดยเหตุ ๒ อย่าง บางรูปได้โดยเหตุ ๓ อย่าง บางรูปได้ด้วยเหตุ ทั้ง ๔ อย่าง ท่านพระมหากัสสปเถระก็เป็นท่านหนึ่งที่ได้ตำแหน่งดังกล่าวด้วยเหตุครบทั้ง ๔ อย่าง

    <DD>๑. โดยเหตุเกิดเรื่อง เรื่องที่เป็นเหตุก็คือเรื่องพระศาสดาทรงทรงเปลี่ยนจีวรกับพระมหาเถระ ด้วยทรงพิจารณาว่า อันว่าจีวรที่เก่าเนื่องเพราะใช้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ ถึงเก่าแล้วคนที่มีคุณเพียงนิดหน่อยไม่อาจครองได้ จีวรเก่าดังกล่าวนี้ เฉพาะบุคคลผู้อาจสามารถในการบำเพ็ญข้อปฏิบัติ ผู้ถือผ้าบังสุกุลมาแต่เดิม เช่นพระมหาเถระจึงจะควรรับเอา และไม่เคยมีการประทานจีวรที่ทรงห่มแล้วแก่พระสาวกองค์ใดเลย

    <DD>๒. โดยการมาก่อน ก็คือ ท่านพระเถระนี้มิใช่เป็นผู้ทรงธุดงคคุณมาก แต่ในปัจจุบันเท่านั้น ถึงในอดีต แม้ท่านบวชเป็นฤาษี ท่านก็เป็นผู้บำเพ็ญบารมีในทางทรงธุดงคคุณมาก มาถึง ๕๐๐ ชาติ

    <DD>๓. โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ ก็คือ เมื่อท่านอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ เมื่อแสดงธรรม ย่อมไม่ละเว้นที่จะแสดงกถาวัตถุ ๑๐ ซึ่งเป็นธรรมที่ชักนำให้พุทธบริษัท มีความปรารถนาน้อย มีความสันโดษ มีความสงัดกาย สงัดใจ ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ชักนำให้ปรารภความเพียร ฯลฯ ซึ่งเป็นคุณของการทรงธุดงควัตรทั้งสิ้น

    <DD>๔. โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ ก็คือ เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสีย สาวกอื่นผู้เสมอเหมือนพระมหากัสสปะ ด้วยธุดงคคุณ ๑๓ ไม่มี เพราะฉะนั้นพระเถระได้โดยยิ่งด้วยคุณอย่างนี้.

    <DD>นอกจากจะได้รับการสถาปนาเป็นเอตทัคคะแล้ว ท่านยังได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์อีกหลายประการดังที่ท่านได้ปรารภเมื่อครั้ง สุภัททะภิกษุ กล่าวจาบจ้วงพระพุทธองค์เมื่อทราบข่าวการเสด็จดับขันธปรินิพพานว่าและปรารถนาจะกระทำสังคายนาว่า

    <DD>“ทรงยกย่องเราเป็นกายสักขี (มีวิหารธรรมเสมอด้วยพระองค์) ทรงมอบความเป็นสกลศาสนทายาท ๓ ครั้ง” (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑)

    <DD>ตัวเราอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    <DD>ดูก่อนกัสสปะ เธอจักห่มได้หรือไม่ ซึ่งผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้เก่าแล้วของเรา ดังนี้ ทรงอนุเคราะห์ด้วยสาธารณบริโภคในจีวร และด้วยการสถาปนาไว้เสมอกับพระองค์ในธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ต่างโดยอนุปุพพวิหาร ๙ และอภิญญา ๖ เป็นต้น โดยนัยเป็นต้นอย่างนี้ว่า

    <DD>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราต้องการสงัดจากกาม ทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงใด ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย แม้กัสสปะต้องการสงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรม ทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌานอยู่เพียงนั้น ดังนี้ (พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑)

    <DD>ยิ่งกว่านั้นยังสรรเสริญ ด้วยความเป็นผู้มีจิตไม่ติดอยู่ในตระกูล เหมือนสั่นมือในอากาศ และด้วยปฏิปทาเปรียบด้วยพระจันทร์ ว่า

    <DD>“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปะเปรียบเหมือนดวงจันทร์ เข้าไปหาตระกูล ไม่คะนองกายไม่คะนองจิต เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ ไม่ทะนงตัวในตระกูล” (พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔)


    <DD>และในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ พระพุทธองค์ทรงตรัสแก่พราหมณ์ว่า

    <DD>“ในหมู่มนุษย์ทั้งปวง ผู้ใดเป็นกษัตริย์ หรือเป็นพราหมณ์สืบวงศ์ตระกูลมาเป็นลำดับ ๆ ตั้ง ๑๐๐ ชาติ ถึงพร้อมด้วยไตรเพท ถึงแม้จะเป็นผู้เล่าเรียนมนต์ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ การกราบไหว้ผู้นั้นแม้บ่อย ๆ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกออก ๑๖ ครั้ง ของบุญที่ไหว้พระกัสสปะนี้เพียงครั้งเดียวเลย”
    </DD>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เกิดร่วมสมัยกับพระโพธิสัตว์

    ท่านพระมหากัสสปได้เคยเกิดร่วมชาติกับพระโพธิสัตว์อยู่หลายชาติ ดังที่ปรากฎในชาดกต่าง ๆ เช่น

    ๑. เกิดเป็น พระสูระ พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น พระเจ้าจันทราช ใน "จันทกุมารชาดก"

    ๒. เกิดเป็นน้องชายหนึ่งใน ๖ คน พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น มหากัญจนดาบส ใน "ภิงสจริยาชาดก"

    ๓. เกิดเป็น ทุกูละดาบส พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น สุวรรณสาม ใน "สุวรรณสามชาดก"

    ๔. เกิดเป็น บิดาของมาณพ ผู้เสาะหาวิชา พระพุทธองค์เสวยพระชาติเป็น อาจารย์ ใน "อสาตมันตชาดก" ดังนี้
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปได้รับหน้าที่อันสำคัญ

    <CENTER>พระมหาเถระได้รับมอบหมายให้ทำจัดพระเมรุมาศ
    ถวายพระเพลิงพระเจ้าสุทโธทนะ </CENTER>




    <DD>ในวรรณคดีเรื่อง ปฐมสมโพธกถา ถล่าวถึงพระเมรุมาศตอนพระพุทธเจ้าถวายพระเพลิงพระราชบิดา (พระเจ้าสุทโธทนะ) พระเมรุมาศสำหรับถวายพระเพลิงพระเจ้าสุทโธทนะนั้น พระพุทธเจ้าตรัสสั่งให้พระมหากัสสปเป็นผู้จัดสถานที่

    <DD>แต่เทพยดาได้นำทิพยกุฏาคาร ซึ่งประดับด้วยยอดถึง ๕๐๐ ยอด และทิพยดอกไม้จันทน์มาตั้งไว้บนเชิง ตะกอนที่พระมหากัสสปจัดทำขึ้น จึงมีความงามเหมือนพระเมรุมาศบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดังบทพรรณนาโวหารว่า

    <DD>"แล้วมีพระพุทธฎีกาตรัสสั่งพระมหากัสสปเถระว่า ตถาคตจะถวายพระบรมศพพระบิดา ท่านจงไปพิจารณาดูภูมิสถานอันสมควรจะกระทำฌาปนกิจนั้น พระมหากัสสปเถรเจ้าก็รับพุทธฎีกาว่า "สาธุ" แล้วลุกออกจากอาสนะ แวดล้อมไปด้วยพระภิกษุสงฆ์อันทรงซึ่งธุดงค์ กับกษัตริย์สักยราชวงศ์ แลหมู่มหาชนเป็นอันมาก ไปสู่ที่อันจะกระทำการถวายพระเพลิง แล้วให้จัดแจงกระทำซึ่งเชิงตะกอน

    <DD>ในกาลนั้นหมู่อมรเทพทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ มีท้าวอินทราธิราชเป็นประธานก็มาสโมสรสันนิบาตในสถานที่นั้น นำมาซึ่งทิพยกุฎาคารอันประดับด้วยยอดถึงห้าร้อยยอด กับทั้งวัตถุต่างๆ มีทิพยจันทนสุคันธชาติเป็นต้น มากระทำจิตตกรรมกับพระมหากัสสปเถระ

    <DD>เมื่อการเชิงตะกอนสำเร็จแล้ว พระมหากัสสปก็กลับมากราบทูลพระบรมครู พระสัพพัญญูจึงทรงยกพระอุตมังคศิโรตม์แห่งพระพุทธบิดาด้วยพระหัตถ์ แล้วก็ทรงสิญจานาการด้วยสุคนธรสอุทกวารี พระธรรมเสนาบดีก็ช่วยโสรจสรงหลั่งลงซึ่งสุคันโธทก สมเด็จพระโลกนาถทรงพระปรามาสพระอุตมังค์ พลางตรัสแก่พระสาริบุตรมหาเถระว่า ท่านจงทัศนาการซึ่งพระพุทธบิดา

    <DD>ดูกรสาริบุตร บุคคลผู้ใดประพฤติในกุศลสุจริต แลมีจิตปรารถนาโพธิภูมิบารมีญาณ ใดๆ ก็จงอุตส่าห์อภิบาลบำรุงเลี้ยงซึ่งบิดามารดา อาจสำเร็จมโนรถปรารถนาทุกสิ่งทุกประการ

    <DD>เมื่อมีพระพุทธบริหารดังนี้แล้ว ก็ยกขึ้นซึ่งพระศพสริรกายแห่งพระบรมกษัตริย์ใส่ลงในมัญชุรตนามัย คือพระหีบแก้ว แล้วทรงยกพระหีบแก้วด้วยพระองค์เชิญไปสู่ที่อาฬาหนสถาน เถลิงบนทิพยกุฎาคารบุษบกเบื้องบนอลังกตจิตกาอาสน์ จึงสมเด็จอัมรินทราธิราชก็กระทำปทักษิณพระบรมศพ แล้วนำมาซึ่งดวงแก้วมณีอันชื่อว่า "โชติรังสี" ปรารภจะถวายพระเพลิง จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสห้ามว่า

    <DD>ดูกรท้าวเทวราช อย่าเพ่อถวายพระเพลิงก่อน ตถาคตจะกระทำฌาปนกิจพระบิดาก่อนท่านทั้งปวงแล้วก็ทรงถือซึ่ง แก้วมณีโชติรัตนะจากหัตถ์ท้าวสุชัมบดี แล้วทรงจุดซึ่งอัคคีอันปรากฏจาก "ดวงแก้ว" กระทำฌาปนกิจพระบรมศพกับทั้งเชิงตะกอนนั้น

    <DD>ลำดับนั้นเทพยดา ทั้งหลายมีสมเด็จอัมรินทร์เป็นต้น ก็ถวายพระเพลิงในภายหลัง ฝ่ายพระขัตติยวงศาสักยราช แลหมู่นางพระสนมทั้งปวงนั้นมี พระมหาปชาบดีโคตมี เป็นประธาน ก็พร้อมกันกันแสงเซ็งแซ่เสียงปริเทวนาโกลาหลนี่สนั่น

    <DD>สมเด็จพระมหามุนีก็มีพุทธฎีกาตรัสเล้าโลม ด้วยพระธรรมกถา "อนิจจตาทิปฎิสังยุตต์" ระงับโศกแห่งมหาชน อันว่าธรรมาภิสมัยมรรคผลก็บังเกิดมีแก่แปดหมื่น สี่พันบรรษัทในที่สมาคมอันนั้น" *

    * สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. ปฐมสมโพธิกถา. (กรุงเทพฯ : กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์, ๒๕๓๐), หน้า ๑๙๘ .
    ** กรมศิลปากร, สุวรรณหงส์, หน้า ๒๐.
    เว็บ //thaihandiwork.com/thailand_ry9_12.php

    </DD>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เป็นประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

    [​IMG].......เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้วถึงวันที่เจ็ด ครั้งนั้น พระมหากัสสปะ พร้อมด้วยภิกษุบริวาร กำลังเดินทางจากเมืองปาวา จะไปยังเมืองกุสินารา เพื่อเฝ้าพระบรมศาสดา ระหว่างได้แวะพักร้อนที่ร่มไม้ ขณะที่กำลังนั่งพักอยู่นั้น ได้มีอาชีวกะผู้หนึ่ง ถือดอกมณฑารพที่ผูกติดกับกิ่งไม้ต่างร่มเดินมา

    .......พระเถระคิดว่า "ดอกมณฑารพ" หรือดอกชบาสวรรค์นี้ ปกติจะมีก็แต่ในแดนสวรรค์ จะมีในโลกมนุษย์ก็ต่อเมื่อผู้มีฤทธิ์บางท่านแผลงฤทธิ์ หรือเมื่อพระสัพพัญญูโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดาเป็นต้น แต่วันนี้ผู้มีฤทธิ์ได ๆ ก็ไม่ได้แสดงฤทธิ์ พระศาสดาของเราก็ไม่เสด็จลงสู่พระครรภ์ของพระมารดา มิใช่เวลาที่ทรงประสูติ

    .......ทั้งวันนี้พระองค์ก็มิได้ตรัสรู้ ไม่ได้ประกาศพระธรรมจักร ไม่ได้แสดงยมกปาฏิหาริย์ ไม่ได้เสด็จลงจากเทวโลก ไม่ได้ทรงปลงอายุสังขาร แต่พระศาสดาของเราทรงพระชรา คงจะเสด็จปรินิพพานเสียเป็นแน่แล้ว

    .......เมื่อคิดเช่นนี้แล้ว ท่านจึงได้ลุกขึ้นจากที่นั่ง เข้าไปหาอาชีวกะผู้นั้น ถามว่า ท่านทราบข่าวพระบรมศาสดาของเราบ้างหรือไม่ อาชีวะจึงตอบว่า พระสมณโคดมได้ปรินิพพานเสียได้เจ็ดวันเช้าวันนี้ ดอกไม้นี้ข้าพเจ้าได้เก็บมาจากบริเวณที่เสด็จปรินิพพานนั้น


    <DD>บรรดาภิกษุที่เดินทางมาพร้อมกับพระมหาเถระ ภิกษุพวกที่ ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล ต่างก็โศกเศร้าคร่ำครวญ ล้มลงกลิ้งเกลือก ไปมา รำพันถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ส่วนภิกษุที่บรรลุอรหัตผลแล้ว มีสติ สัมปชัญญะ ปลงธรรมสังเวชถึงความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลาย

    <DD>ในกลุ่มภิกษุที่ยังไม่บรรลุพระอรหัตผลนั้น มีพระภิกษุปุถุชนรูปหนึ่งชื่อว่า สุภัททะ ซึ่งบวชเมื่อแก่และและมีใจอาฆาตพระพุทธองค์มาแต่เดิม ได้เที่ยวกล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายว่าพวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ำไรไปเลย พวกเราจะสบายแล้ว ด้วยเมื่อพระมหาสมณะยังอยู่นั้น ก็ได้คอบห้ามพวกเราอยู่ว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ บัดนี้ พวกเรา ปรารถนาจะทำสิ่งใด ก็จะกระทำสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาจะทำสิ่งใด ก็จะไม่กระทำสิ่งนั้น

    <DD>พระเถระฟังคำที่พระสุภัททะได้เที่ยวพูดกับหมู่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว ท่านก็เกิดธรรมสังเวช.ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเพิ่งจะปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน พระบรมศพก็ยังอยู่ เสี้ยนหนามศาสนาอันใหญ่เกิดขึ้นเร็วถึงปานนี้ พระศาสนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำมาด้วยทุกข์ยากนี้ถ้าปล่อยให้คนบาปเหล่านี้เติบโตและได้คนบาปอื่นมาเป็นพรรคพวก ก็อาจจะทำพระศาสนาให้เสื่อมถอยได้.

    <DD>ถ้าเราจะให้ขับไล่พระชั่วองค์นี้ไป ผู้คนทั้งหลายก็จะพากันตำหนิโทษเราว่า พระศาสดาปรินิพพานไปยังไม่ทันไร พระบรมศพของพระสมณโคดมยังคงอยู่ เหล่าสาวกก็เกิดวิวาทกันเสียแล้ว เพราะฉะนั้น เราควรอดกลั้นไว้ก่อน พระธรรมที่ทรงแสดงแล้วนั้น เปรียบเหมือนดอกไม้ทั้งหลายที่เมื่อต้องลมก็ย่อมกระจัดกระจายไป ฉันใด

    <DD>สิกขาบทในวินัยก็จะพินาศ ธรรมในพระสูตรก็จะพินาศ ธรรมในพระอภิธรรมก็จะพินาศ ด้วยอำนาจของบุคคลชั่วเช่นนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.เพราะฉะนั้น เราจะต้องสังคายนาธรรมวินัย เพื่อให้พระธรรมนี้ พระวินัยนี้ มั่นคงเหมือนดอกไม้ที่ผูกไว้ด้วยด้ายเหนียว

    <DD>ในอดีต เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จต้อนรับเรา ตลอดทาง ๓ คาวุต (๓๐๐ เส้น) และทรงประทานอุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ประการ ทรงประทานเปลี่ยนจีวรจากพระวรกายกับจีวรเก่าของเรา ตรัสทรงยกย่องว่าเราเป็นกายสักขี (มีวิหารธรรมเสมอด้วยพระองค์) ทรงมอบความเป็นสกลศาสนทายาท ก็เพื่อประโยชน์ว่าเราจะทำสังคายนาพระธรรมและพระวินัย เพื่อให้พระศาสนามั่นคงและแพร่หลาย

    <DD>สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า "กัสสปะ" ผู้นี้จักเป็นผู้ดำรงวงศ์พระสัทธรรมของเรา จึงทรงอนุเคราะห์เรา ด้วยการอนุเคราะห์ที่ไม่ทรงกระทำแก่ผู้อื่นโดยทั่วไปนี้ เปรียบเหมือนพระราชาทรงอนุเคราะห์พระราชโอรส ผู้ดำรงวงศ์ตระกูลด้วยทรงมอบเกราะและพระราชอิสริยยศ มิใช่หรือ เรานั้นจะมีหนี้อื่นอะไรเล่า จึงควรจักทำความอุตสาหะให้เกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อช่วยกันสังคายนาธรรมและวินัย

    <DD>การแสดงออกของพระสุภัททะ ทำให้พระมหากัสสปะได้ถือเป็นเหตุสำคัญ กระทำปฐมสังคายนาพระธรรมวินัย ดังนี้

    <DD>ทางด้านคณะสงฆ์และเจ้ามัลลกษัตริย์ผู้ครองเมืองกุสินารา ได้ทำพิธีสักการะบูชาพระบรมศพพระพุทธเจ้าเป็นเวลาถึง ๖ วัน ในวันที่ ๗ จึงเชิญพระบรมศพเป็นขบวนไปทางทิศเหนือของเมือง ผ่านใจกลางเมือง แล้วเชิญพระศพไปมกุฏพันธนเจดีย์ ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมือง เพื่อถวายพระเพลิง

    <DD>วันที่กำหนดจะถวายพระเพลิงนั้น ตรงกับวันแรม ๘ คํ่าเดิอน ๖ ซึ่งทุกวันนี้ทางเมืองไทยเราถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เรียกว่า 'วันอัฐมีบูชา'

    <DD>พระบรมศพพระพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ในหีบทองที่เต็มไปด้วยนํ้ามันหอม ตั้งอยู่บนจิตกาธานที่ทำด้วยไม้หอมหลายชนิด ครั้นได้เวลามัลลปาโมกข์ ๔ องค์ ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นผู้จุดเพลิง แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก็มิอาจทำให้เพลิงติดได้

    <DD>พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราจึงได้ถามพระอนุรุทธะว่า อะไรเป็นเหตุที่ทำให้มัลลปาโมกข์ทั้ง ๔ องค์นี้ มิอาจทำให้ไฟติดได้ พระอนุรุทธเถระตอบว่าเป็นความประสงค์ของพวกเทวดาที่ทราบว่า ท่านพระมหากัสสปเถระพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป กำลังเดินทางไกลจากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารานี้ จิตกาธารของพระผู้มีพระภาคจะยังไม่สามารถติดไฟขึ้นได้ จนกว่าท่านพระมหากัสสปจะถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยมือของตน ฯ

    <DD>อรรถกถากล่าวว่า เทวดาเหล่านั้น "เป็นอุปัฏฐาก" ในอดีตของพระมหาเถระนั่นเอง. เพราะมีจิตเลื่อมใสในพระมหากัสสปเถระ อุปัฏฐากเหล่านั้นก็ไปบังเกิดในสวรรค์.

    [​IMG].......ในครั้งนี้เหล่าเทวดาเหล่านี้ไม่เห็นพระเถระในสมาคมผู้ร่วมกระทำพิธีถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระนั้น ก็พากันคิดว่า พระมหาเถระประจำตระกูลของพวกเราไปเสียที่ไหนหนอ ก็เห็นท่านเดินอยู่ระหว่างทาง จึงพากันอธิษฐานว่า เมื่อพระเถระประจำตระกูลของพวกเรายังไม่ได้ถวายบังคมพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอจิตกาธารอย่าเพิ่งติดไฟ ดังนี้.

    ........ครั้นเมื่อท่านพระมหากัสสปพร้อมหมู่ภิกษุมาถึงจึงได้เข้าไปถึงมกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ในเมืองกุสินารา เมื่อถึงจิตกาธารของพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วกระทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณจิตกาธาร ๓ รอบ แล้วเปิดทางพระบาท ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า เหล่าภิกษุ ๕๐๐ รูป เหล่านั้น ก็กระทำเช่นเดียวกัน

    .......เมื่อท่านพระมหากัสสปและภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นถวายบังคมแล้ว จิตกาธารของพระผู้มีพระภาคก็มีเพลิงลุกโพลงขึ้นเอง เมื่อพระสรีระพระผู้มีพระภาคถูกไฟไหม้แล้ว ท่อน้ำก็ไหลหลั่งมาจากอากาศ และจากไม้สาละดับจิตกาธารของพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ดับจิตกาธารของพระผู้มีพระภาคด้วยน้ำหอมล้วนๆ

    <DD>แล้วเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ที่สันคารศาลา คือ หอประชุมกลางเมือง รอบหอประชุมนั้นจัดทหารถืออาวุธพร้อมสรรพคอยพิทักษ์รักษา และทำสักการะบูชาด้วยฟ้อนรำ ดนตรีประโคมขับ และดอกไม้นานาประการ และมีนักขัตฤกษ์เอิกเกริกกึกก้องฉลองถึง ๗ วันเป็นกำหนด ดังนี้</DD>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เป็นประธานในการทำปฐมสังคายนา

    [​IMG]........ ท่านพระมหากัสสปะ ผู้เป็นสังฆเถระของภิกษุประมาณ ๗ แสนรูป ที่ประชุมกันในวันแบ่ง พระบรมสารีริกธาตุ ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามาระลึกถึงคำของ สุภัททะ


    <DD>กล่าวเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ ๗ วัน และดำริของท่านที่จะกระทำ ปฐมสังคายนา จึงได้แสดงดำรินั้นต่อสงฆ์ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ถ้ากระนั้น ขอพระเถระ จงคัดเลือกภิกษุ ทั้งหลายเถิดขอรับ ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเถระ จึงคัดเลือกพระอรหันต์ได้ ๔๙๙ รูป หย่อน ๕๐๐ รูปอยู่องค์หนึ่ง

    <DD>เหตุที่ พระมหากัสสปเถระ จึงทำให้หย่อน ๕๐๐ อยู่รูปหนึ่ง อรรถกถา กล่าวไว้ว่า เพื่อไว้ให้โอกาสแก่ ท่านพระอานนท์เถระ เพราะพระมหาเถระได้พิจารณาว่า การกระทำสังคายนานั้น มีเหตุทั้งไม่ควรเลือก และเหตุที่ควรเลือกพระอานนท์เข้าร่วมกระทำสังคายนา เหตุที่ไม่ควรเลือกก็เพราะว่าพระอานนท์นั้นเป็นพระเสขะ (ยังไม่บรรลุพระอรหันต์) ยังมีกิจที่ต้องทำอยู่ จึงไม่ควรเลือก

    <DD>แต่ถ้าเว้นท่านพระอานนท์เสียก็ไม่อาจทำสังคายนาธรรมได้ ด้วยธรรมทั้งหลายข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงแสดงแล้ว ไม่มีธรรมข้อใดที่พระอานนท์ไม่ได้รับฟังต่อพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

    <DD>(ด้วยเหตุที่ท่านขอพรต่อพระศาสดาก่อนที่จะรับเป็นพุทธอุปัฏฐาก ว่าถ้าพระพุทธองค์ไปทรงแสดงธรรมในที่ซึ่งพระอานนท์ไม่ได้อยู่ด้วย พระพุทธองค์จะต้องแสดงธรรมนั้นต่อพระอานนท์อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากพระอานนท์เกรงข้อครหาของผู้ที่จะกล่าวว่า เป็นพระพุทธอุปัฏฐาก ใกล้ชิดพระพุทธเจ้าแต่ไม่เคยได้ยินธรรมข้อนั้น ข้อนี้)

    <DD>ฉะนั้น จึงไม่อาจเว้นเสียได้.เพราะว่า ท่านพระอานนท์นั้นแม้เป็นเสขะอยู่ แต่ก็น่าที่พระมหากัสสปเถระจะเลือก เพราะเป็นผู้มีอุปการะมากต่อการทำสังคายนาธรรม

    <DD>แต่ที่พระมหากัสสปเถระตัดสินใจไม่เลือกพระอานนท์เถระ ก็เพราะจะหลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียนจากบุคคลที่ไม่เข้าใจ อันที่จริงแล้ว ท่านพระเถระมีความสนิทสนมอย่างเหลือเกินกับท่านพระอานนท์.ดังเช่น ถึงท่านพระอานนท์จะมีผมบนศีรษะหงอกแล้ว.พระมหากัสสปเถระก็ยังสั่งสอนท่านพระอานนท์เถระด้วยวาทะเหมือนหนึ่งว่าท่านพระอานนท์ยังเป็นเด็กอยู่ เช่นว่า “เด็กคนนี้ ไม่รู้จักประมาณเสียเลย”. เป็นต้น

    <DD>อีกประการหนึ่งท่านพระอานนท์นี้เกิดในตระกูลศากยะ เป็นพระอนุชาของพระตถาคต เป็นโอรสของพระเจ้าอา. ในการคัดเลือกท่านพระอานนท์ ภิกษุทั้งหลายจะสำคัญว่าท่านลำเอียง เลือกเพราะรัก จะพึงตำหนิติเตียนว่าพระมหากัสสปเถระละเว้นเหล่าภิกษุผู้บรรลุอรหันต์ปฏิสัมภิทาองค์อื่นไปเสีย แล้วไปเลือกพระอานนท์ ผู้ยังไม่บรรลุอรหัตผล.

    <DD>พระเถระเพื่อจะหลีกเลี่ยงคำตำหนิติเตียนนั้น จึงคิดว่า “ถ้าเว้นพระอานนท์เสีย ก็ไม่อาจทำสังคายนากันได้ แต่เราจะเลือก ก็ต่อเมื่อภิกษุทั้งหลายอนุมัติเท่านั้น” ดังนี้จึงไม่เลือกเอง.

    <DD>ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายพากันร้องขอพระเถระ เพื่อให้ท่านเลือกอานนท์เสียเองเลย ดังนั้น ท่านพระมหากัสสปเถระ จึงได้เลือกท่านพระอานนท์ด้วยดังนี้. พระเถระจึงได้มีจำนวนครบ ๕๐๐ รวมทั้งท่านพระอานนท์ ที่พระเถระเลือกโดยอนุมัติของภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้

    <DD>เมื่อเลือกได้พระสงฆ์ครบทั้ง ๕๐๐ รูปแล้ว พระเถระทั้งหลายปรึกษากันว่า พวกเราควรจะสังคายนาพระธรรมและพระวินัยที่ไหนดีหนอ ครั้นแล้วเห็นพ้องต้องกันว่า พระนครราชคฤห์ มีโคจรคามมาก มีเสนาสนะเพียงพอ สมควรที่พวกเราจะอยู่จำพรรษาในพระนครราชคฤห์ สังคายนาพระธรรมและพระวินัย

    <DD>ภิกษุพวกอื่นไม่ควร เข้าจำพรรษาในพระนครราชคฤห์ ด้วยเกรงว่าเพราะจะมีวิสภาคบุคคลบางคนเข้าไปสู่ท่ามกลางสงฆ์ ซึ่งกำลังทำสังคายนาอยู่ แล้วจะคัดค้านถาวรกรรมของพวกท่านนี้เสีย

    <CENTER>เลือกกรุงราชคฤห์เป็นที่กระทำสังคายนา</CENTER>


    <DD>ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระ พิจารณาว่า นับแต่วันที่พระตถาคตปรินิพพานมา จนถึงบัดนี้เป็นอันล่วงไปแล้วกึงเดือน บัดนี้ฤดูคิมหันต์ยังเหลืออยู่เดือนครึ่ง ดิถีที่จะเข้าจำพรรษาก็ใกล้เข้ามาแล้ว จึงชักชวนหมู่พระสงฆ์ที่จะทำสังคายนาให้เดินทางไปยังกรุงราชคฤห์ แล้วก็ได้พาเอาภิกษุสงฆ์กึ่งหนึ่งเดินทางไปทางหนึ่ง

    <DD>ส่วน พระอนุรุทธเถระ ก็พาเอาภิกษุสงฆ์กึ่งหนึ่งเดินไปอีกทางหนึ่ง. ท่านพระอานนท์เถระ นั้นถือเอาบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่มีความประสงค์จะเดินทางผ่านกรุงสาวัตถีไปยังกรุงราชคฤห์ ก็หลีกจาริกไปทางกรุงสาวัตถี

    <DD>สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีวัดใหญ่อยู่ ๑๘ วัด ทุกวัดมีขยะและหยากเยื่อที่เขาทิ้งตกเรี่ยราดเต็มไปหมด.เพราะในช่วงเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลายต่างก็ทอดทิ้งวัดและบริเวณไปกันหมด ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลายคิดกันว่า เราจะช่วยกันปฏิสังขรณ์วิหารที่ชำรุดทรุดโทรมในตลอดเดือนแรกแห่งพรรษา

    <DD>เพื่อบูชาพระพุทธดำรัสและปลดเปลื้องคำตำหนิติเตียนของพวกเดียรถีย์. ด้วยว่าพวกเดียรถีย์พากันติเตียนว่า พวกสาวกของพระสมณโคดม เมื่อศาสดายังมีชีวิตอยู่ ก็ช่วยกันทะนุบำรุง ครั้นศาสดาปรินิพพานแล้ว ก็พากันทอดทิ้งไป.

    <DD>ดังนั้นในเดือนแรกของพรรษาท่านจึงได้ทำการบูรณะพระอารามทั้ง ๑๘ แห่ง โดยมี พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงถวายการช่วยเหลือในครั้งนั้น แล้วจึงได้เริ่มกระทำการปฐมสังคายนา โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปัฐากการทำสังคายนาในครั้งนั้น โดยโปรดเกล้าฯให้สร้างสถานที่นั่งประชุมสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้ทำสังคายนาที่ปาก ถ้ำสัตตบรรณ ข้างภูเขาเวภารบรรพต

    <CENTER>พระอานนท์สำเร็จพระอรหันต์</CENTER>


    <DD>ในวันก่อนการทำสังคายนา ท่านพระอานนท์คิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันประชุม แต่การที่เรายังเป็นเสขบุคคลอยู่นั้นจะไปเข้าร่วมประชุมนั้นไม่เหมาะสม ในคืนนั้นจึงเร่งทำความเพียรจนเกือบตลอดราตรีก็ยังไม่บรรลุธรรม

    <DD>ครั้นในเวลาใกล้รุ่งจึงเอนกายลงด้วยตั้งใจว่า เราเร่งทำความเพียรจนเกินไป จึงดำริที่จะนอนพักสักครู่หนึ่ง แต่ขณะที่เอนตัวลง ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนและเท้ายังไม่ทันพ้นจากพื้น ในระหว่างนั้น จิตได้หลุดพ้นจากอาสวะ บรรลุธรรมเป็นเป็นพระอรหันต์

    <DD>ในการสังคายนานั้น มี พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย โดย พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อบัญญัติพระวินัย และ พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม

    <DD>ในการสังคายนา เหล่าพระสงฆ์มีมติให้สังคายนาสุตตันตปิฎกก่อน โดยเริ่มจาก สังคายนาทีฆนิกาย สังคายนามัชฌิมนิกาย สังคายนาสังยุตตนิกาย สังคายนาอังคุตตรนิกาย ไปตามลำดับ

    <DD>ครั้นสังคายนาทีฆนิกายแล้ว พระธรรรมสังคาหกเถระกล่าวว่า นิกายนี้ชื่อทีฆนิกาย แล้วมอบท่านพระอานนท์ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    <DD>ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์ทีฆนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระ ทั้งหลายได้สังคายนามัชฌิมนิกาย แล้วมอบแก่ศิษย์ของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระว่า ท่านทั้งหลายจงบริหารคัมภีร์มัชฌิมนิกายนี้

    <DD>ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์มัชฌิมนิกายนั้น พระธรรรมสังคาหกเถระ ทั้งหลายได้สังคายนาสังยุตตนิกาย แล้วมอบแก่พระมหากัสสปเถระ ให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    <DD>ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์สังยุตตนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาอังคุตตรนิกาย แล้วมอบแก่พระอนุรุทธเถระให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน

    <DD>ในการสังคายนานั้นได้กำหนดแยกธรรมออกเป็นหมวดหมู่ เมื่อสังคายนาแล้วจึงร้อยกรองไว้ว่า นี้พระธรรม นี้พระวินัย นี้ปฐมพุทธพจน์ นี้มัชฌิมพุทธพจน์ นี้ปัจฉิมพุทธพจน์ นี้พระวินัยปิฎก นี้พระสุตตันตปิฎก นี้พระอภิธรรมปิฎก นี้ทีฆนิกาย นี้มัชฌิมนิกาย นี้สังยุตตนิกาย นี้อังคุตตรนิกาย นี้ขุททกนิกาย นี้องค์ ๙ มีสุตตะเป็นต้น นี้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.

    <DD>นอกจากนั้นก็ยังแยกเป็นประเภทที่ควรรวบรวมไว้แม้อื่น ๆ ซึ่งมีหลายชนิด มีอุทานสังคหะ วัคคสังคหะ เปยยาลสังคหะ นิบาตสังคหะ เช่นเอกนิบาต และทุกนิบาต เป็นต้น สังยุตตสังคหะและปัณณาสกสังคหะเป็นอาทิ ที่ปรากฏอยู่ในพระ-ไตรปิฎก ได้ร้อยกรองอยู่ ๗ เดือนจึงสำเร็จ

    <DD>ในเวลาจบการร้อยกรองพระพุทธพจน์นั้น มหาปฐพีนี้เหมือนเกิดความปราโมทย์ และให้สาธุการว่า พระมหากัสสปเถระ ทำพระศาสนาของพระทศพลนี้ให้สามารถยั่งยืนต่อไปได้ตลอดกาลประมาณ ๕,๐๐๐ พระวรรษา ดังนี้ ปฐพีก็หวั่นไหวเอนเอียง สะเทือนสะท้านเป็นอเนกประการ จนถึงน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด และอัศจรรย์ทั้งหลายเป็นอันมากก็ได้ปรากฏมีแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

    ที่มา - Religion - Priest</DD>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปปรินิพพาน

    <DD>เมื่อสำเร็จการปฐมสังคายนาแล้ว พระมหาเถระก็สถิตอยู่ในเวฬุวนาราม ปฏิบัติธรรมอยู่มิได้ประมาท ให้โอวาทสั่งสอนภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์มาสิ้นกาลช้านาน

    <DD>อยู่มาเวลาเที่ยงคืนวันหนึ่ง พระมหาเถระเข้าฌานสมาบัติเป็นที่สบายแห่งพระอริยเจ้า จึงพิจารณาอายุสังขารของท่านเห็นว่าแก่ชรา มีอายุได้ร้อยยี่สิบปีแล้ว เล็งแลดูไปก็เห็นว่าอายุของท่านสิ้นแล้ว เพลาพรุ่งนี้ท่านจะนิพพาน และจะนิพพานในระหว่าง ภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต ใกล้เมืองราชคฤห์

    <DD>ครั้นรุ่งเช้าพระมหาเถระจึงให้ประชุมสงฆ์ แล้วสั่งสอนว่าอย่าประมาท อุตส่าห์พยายามอย่าให้ขาดเวลา จงปฎิบัติตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา ตัวท่านนั้นสิ้นอายุแล้ว จะนิพพาน ณ เพลาเย็นวันนี้แล้ว บรรดาพระภิกษุที่เป็นปุถุชน ได้ฟังก็พากันโศกา ร่ำร้องไห้พิไร บรรดาพระขีณาสพทั้งหลายครั้นแจ้งเหตุ ต่างก็สงสารสังเวชว่า เกิดมาเป็นสัตว์สังขารแล้ว มีแต่จะสูญสิ้นไปเป็นที่สุด เกิดแล้วดับไป ถ้าแม้นระงับสังขารธรรมลงเสียได้ แล้วนั่นแหละจึงจะเป็นสุข

    <DD>ฝ่ายพระมหาเถระเห็นดังนั้น จึงได้ประโลมปลอบให้ชอบตามพระพุทธฎีกาว่า อันเกิดมาเป็นสังขารแล้วไม่เที่ยงแท้ ย่อมปรวนแปรไปมา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ได้ตรัสในอดีต อนาคต และปัจจุบันนั้น ย่อมเทศนาไว้ทุก ๆ พระองค์ว่า เกิดมาเป็นสัตว์เป็นสังขารแล้ว ไม่แคล้วอนิจจังเลย

    <DD>เมื่อเห็นชัดฉะนี้แล้ว พึงเร่งกระทำเพียรพยายาม ยกตนให้พ้นอนิจจังให้จงได้ อันพระยามัจจุราชนี้ไซร้ ยากที่บุคคลจะข้ามพ้น เว้นไว้แต่พระอริยบุคคลที่ท่านสำเร็จพระนิพพาน อนึ่ง เล่าพระภิกษุทั้งหลาย จะใคร่เห็นเราในขณะเมื่อเข้าสู่พระนิพพาน จงไปประชุมอยู่แทบเชิงเขากุกกุฎปาตบรรพตนั้นเถิด

    <DD>พระมหาเถระบอกเล่าพระสงฆ์ฉะนี้แล้ว เพลานั้นเล่าก็ควรจะบิณฑบาต ท่านจึงออกจากเวฬุวนาราม เพื่อไปบิณฑบาต บทจรเข้าสู่เมืองราชคฤห์ เที่ยวบิณฑบาตโดยลำดับตรอก ได้จังหันพอแล้วจึงหลีกออกจากบิณฑบาต กลับมาสู่ที่สำราญ กระทำภัตตกิจ

    <DD>เมื่อกระทำภัตตกิจเสร็จแล้วจึงดำริว่า พระเจ้าอชาตสัตรู มีอุปการะแก่ท่านเป็นอันมาก มีศรัทธาบริจาคจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์มิได้ขาด เคารพนบนอบในพระรัตนตรัย ช่วยท่านในการปฐมสังคายนา จำท่านจะไปบอกเล่า ให้พระเจ้าอชาตสัตรูรู้ก่อนจึงจะสมควร คิดแล้วท่านจึงเข้าไปในเมืองราชคฤห์ เมื่อเวลาเที่ยงไปสู่หน้าพระลานหลวง

    <DD>เวลานั้นพระเจ้าอชาตสัตรูบรรทมอยู่ ท่านจึงได้แจ้งแก่บรรดาอำมาตย์ทั้งหลายว่า ท่านประสงค์จะมาลาพระเจ้าอชาตสัตรู เพื่อเข้าสู่พระนิพพานในเวลาเย็นวันนี้ จากนั้นท่านก็กลับสู่เวฬุวนาราม วัตรปฎิบัติสิ่งใดที่ควรจะกระทำ ท่านก็ทำเสร็จทุกประการ แล้วจึงจากเวฬุวันพร้อมพระสงฆ์เป็นอันมาก เดินทางไปยังกุกกุฏบรรพต ไปถึงเมื่อเวลาเย็น

    <DD>แล้วท่านก็แสดงปาฎิหาริย์ต่าง ๆ พลางเทศนาโปรดมหาชนทั้งปวง ให้ลุล่วงเข้าสู่อริยภูมิเป็นอันมาก จากนั้นท่านได้อำลาพระสงฆ์ทั้งหลายว่า ให้อุตสาห์เจริญสมณธรรม อย่าประมาทในคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เราจะลาท่านทั้งหลายเข้าสู่พระนิพพานแล้ว จากนั้นท่านจึงเข้าไปสู่ระหว่างภูเขาทั้งสามลูก คิดอยู่ในใจว่าท่านจะนิพพานในปีนี้

    <DD>แล้วพระมหาเถระจึงขึ้นสู่ที่ไสยาสน์ นั่งพับพะแนงเชิง เข้าสู่ผลสมาบัติ เมื่อออกจากผลสมาบัติแล้ว จึงตั้งอธิฐานไว้ว่า ถ้าแหละท่านดับสูญสิ้นอายุสังขาร เข้าสูนิพพานแล้วเมื่อใด ภูเขาทั้งสามลูกนี้จงมาประชุมกันเป็นลูกเดียว ให้ปรากฏเป็นห้องหับอยู่ภายในภูผา อุปมาดังห้องที่ไสยาสน์

    <DD>พระมหาเถระได้ตั้งอธิฐานอีกว่า ตั้งแต่บัดนี้ไปมนุษย์ทั้งหลายอายุจะน้อยถอยลงทุกที ตราบเท่าถึง 10 ปี อายุขัย กาลครั้งนั้นจะเกิดการฆ่าฟันกันตาย เกิดมิคสัญญี มนุษย์ทั้งหลายเห็นกันสำคัญว่าเป็นเนื้อ ต่างเข้าไล่ฆ่าฟันกันตายจนสิ้นสุด ยังเหลืออยู่แต่มนุษย์ ที่หนีไปหลบซ่อนอยู่ผู้เดียว จึงอยู่ได้

    <DD>ครั้งต่อมาบรรดาผู้ที่หลบซ่อนนั้น ออกมาพบกันบังเกิดเมตตาต่อกัน ประพฤติแต่สุจริตธรรม เมื่อสืบเชื้อสายกันต่อมา ก็มีอายุเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ จนถึงอสงไขยเป็นที่สุด คนทั้งหลายก็ประมาทมิได้ประพฤติธรรม อายุก็ลดน้อยถอยลงจนเหลือ 8 หมื่นปี ในกาลครั้งนั้นชมพูทวีป ก็ราบรื่นเสมอสมาน ปานประหนึ่งหน้ากลอง สรรพจะมีไพบูลย์ทุกสิ่งทุกประการ
    </DD>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมัยพระศรีอาริยเมตไตรย

    <DD>ในกาลครั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเมตไตรย ก็จะมาตรัสในโลกนี้ พระองค์จะเสด็จมา ณ ที่นี้ แล้วตรัสบอกแก่พระสงฆ์ว่า ท่านผู้นี้เป็นสาวกผู้ใหญ่ในศาสนาพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีนามปรากฏว่า อริยกัสสปเถระ ถือธุดงค์ได้สิ้นทั้ง 13 ประการ ตราบเท่าสิ้นชีวิตของท่านคือ

    <DD>ถือบังสุกุลิกธุดงค์ เตจีวริกธุดงค์ บิณฑบาติกาธุดงค์ สัปปทานจาริกธุดงค์ เอกาสนิกธุดงค์ ปัตตบินฑิกธุดงค์ ขลุปัจฉาภัตติกธุดงค์ อารัญญิกธุดงค์ รุกขมลิกธุดงค์ อัพโภกาสิกธุดงค์ โสสานิกธุดงค์ ยถาลันตติกธุดงค์ เนสัชชิกธุดงค์ ตั้งแต่วันอุปสมบทมา ตราบเท่าถึงวันเข้าพระนิพพาน

    <DD>เมื่อพระมหาเถระอธิฐานแล้ว จึงเอนองค์ลงเหนือแท่นที่ไสยาสน์โดยบุรพเบื้องทักขิณา ลำดับหัตถบาทเป็นระเบียบ บ่ายพระเศียรสู่อุดรทิศา ก็ดับเบญจขันธ์ เข้าสู่พระอมตมหานิพพาน สูญสิ้นทั้งวิบากขันธ์และกรรมมัชรูปไม่เหลือ มิได้สืบต่อรูปกายให้ปรากฏในภพหน้า ก็ปรากฏชื่อว่า "อนุปาทิเสสปรินิพพาน" (ดับสิ้นทั้งกิเลสและร่างกาย)

    <DD>พระเจ้าอชาตสัตรู เมื่อทราบข่าวพระมหาเถรปรินิพพานก็เศร้าโศกเสียพระทัยยิ่งนัก จึงได้เดินทางไปเคารพศพพระมหาเถระ แล้วให้จัดการสมโภชพระมหาเถระ 7 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วจึงได้เสด็จกลับคืนสู่พระนคร ท้าวเธออุตส่าห์รักษาศีลบำเพ็ญทานเป็นเนืองนิจ ด้วยพระทัยคิดถึงคำสอนแห่งพระมหาเถระผู้เป็นอุปัชฌาย์

    <DD>ตกว่าซากศพพระมหาเถระนั้น ทุกวันนี้ก็ยังปรากฏเป็นปรกติมิได้เปื่อยเน่า เครื่องสักการบูชาก็ยังตั้งอยู่เป็นปรกติ มิได้ดับสาบสูญไป

    <DD>สัปบุรุษทั้งหลายผู้มีปัญญาพิจารณา เห็นความอนิจจังดังกล่าวมาฉะนี้ จงมีสติอุตส่าห์ขวนขวายสิ่งอันเป็นแก่นสาร คือรักษาศีล บำเพ็ญทานการกุศลสุจริต ให้ตั้งจิตจำเริญกุศลกรรมบถ 10 ประการ จงอุตส่าห์สร้างสมไปอย่างได้ขาด จะเป็นเสบียงเลี้ยงตนไปในมรรคาอันไกลคือ "วัฏฏสงสาร" ตราบเท่าสำเร็จพระนิพพานเถิด.

    ที่มา - www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-mahakassapa-06.htm
    </DD>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปเคยเกิดเป็นช้างมาก่อน

    <DD>ครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้ตั้งปรารถนาพุทธภูมิ สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยเสวยพระชาติเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าสัตตุตาปนราธิราช" ทรงมีพระเดชานุภาพมาก ทรงปกครองไพร่ฟ้าประชาชนด้วยทศพิธราชธรรม

    <DD>องค์พระโพธิสัตว์ในภพชาตินี้ ทรงมีพระทัยรักใคร่ในหัตถีพาหนะ คือ "ช้าง" เป็นอันมาก หากแม้ทราบว่าที่ใดมีช้างลักษณะดีแล้ว ก็จะทรงมีพระอุตสาหะไปประทับแรมอยู่ ณ ที่นั้น จนกว่าจะจับมงคลคชสารได้ จึงจะกลับสู่พระนคร แล้วทรงมอบให้นายหัตถาจารย์ผู้ชำนาญเวทย์เป็นผู้ฝึกสอนช้างต่อไป

    <DD>สมัยนั้น มีนายพรานผู้หนึ่งได้พบมงคลคชสาร ท่องเที่ยวอยู่ใกล้สระโบกขรณี จึงได้นำเรื่องไปกราบทูลเจ้าเหนือหัวเพื่อหวังได้ทรัพย์สินเงินทองเป็นการตอบแทน ครั้นพระราชาทรงทราบข่าวก็มีรับสั่งให้เตรียมพหลพาหนะออกเดินทางไปสู่ที่แห่งนั้น เมื่อทรงทอดพระเนตรเห็นมงคลคชสาร ก็ทรงโสมนัสดำรัสสั่งให้ทหารจับช้างนั้นไว้ให้จงได้ แล้วทรงนำกลับพระนครให้นายหัตถาจารย์เป็นผู้ฝึกสอนช้าง และมีพระราชโองการว่า

    <DD>" ดูกรพ่อหัตถาจารย์ ! ในระหว่าง ๗ - ๘ วันนี้ ท่านจงเร่งฝึกสอนมงคลคชสารที่เราจับมาจากป่านี้ให้มีมารยาทอันดี เราจะเล่นนักขัตฤกษ์มหรสพด้วยมงคลหัตถีอันประเสริฐตัวนี้"

    <DD>เมื่อนายหัตถาจารย์รับพระราชโองการแล้ว ก็รีบฝึกช้าง เมื่อครบ ๓ วันแล้ว ก็รีบนำมาถวายได้ตามกำหนด ครั้นพอถึงวันนักขัตฤกษ์พระราชาก็สั่งให้ประดับมงคลคชสารนั้น ด้วยมงคลหัสดาภรณ์พิเศษ แล้วเสด็จทรงมงคลคชสารนั้นออกว่าราชการ และเสด็จทำประทักษิณพระนครคือเลียบเมืองเป็นที่สำราญพระราชหฤทัย

    <DD>และในคืนนั้นเองฝูงช้างป่าก็ได้เข้ามาในพระราชอุทยานทำลานพรรณพฤกษาชาติน้อยใหญ่ให้แหลกยับ มิหนำซ้ำยังถ่ายมูตรกรีสลงไว้ในที่นั้นเกลื่อนกลาดแล้วพากันหลีกไป พอรุ่งสางนายอุทยานเห็นเช่นนั้น ก็เข้าเฝ้าถวายกราบบังคมทูลเรื่องที่เกิดขึ้น เมื่อพระสัตตุตาปราชาทรงสดับเช่นนั้น ก็ตรัสสั่งให้เสด็จออกทอดพระเนตรอุทยาน

    <DD>ในขณะนั้นพญามงคลคชสารบังเอิญได้สูดดมกลิ่นแห่งนางพังช้างตัวเมียทั้งหลาย ซึ่งยังมีกลิ่นติดอยู่ในที่นั่นก็เกิดความมัวเมาขึ้นมาภายใน ด้วยอำนาจราคะดำกฤษณาให้เกิดความเสียวกระสัน จึงสลัดกายให้นายควานท้ายตกลง แล้วคลุ้มคลั่งแทงทำลายกำแพงอุทยานทลายลง แม้พระราชาจะทรงพระแสงขอคอเกี่ยวเหนี่ยวไว้ด้วยพละกำลัง ก็มิสามารถทำให้พญามงคลคชสารนั้นหมดความบ้าคลั่งและรู้สึกตัวกลัวเจ็บได้

    <DD>ครั้นแล่นมาถึงป่าแล้วพระองค์ก็ได้รับความลำบากบอบช้ำกายหนักหนา จึงมีสติจึงโน้มเอากิ่งมะเดื่อเป็นหลักเกาะยึดเพื่อทรงกาย แล้วปล่อยให้พญาคชสารนั้นวิ่งแล่นเตลิดไป ข้างฝ่ายไพร่พลทหารทั้งหลายก็ไล่ติดตามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของตน จึงเร่งรีบตามรอยช้างมาจนถึงป่าใหญ่ แล้วร้องเรียกหาพระราชาเจ้า

    <DD>ครั้นเมื่อพบแล้วก็เชิญเสด็จรับพระองค์ลงมาจากคบพฤกษา และประโคมดุริยดนตรีเชิญพระองค์กลับสู่พระนคร เมื่อถึงพระนครแล้วก็ทรงดำรัสสั่งให้นำนายหัตถาจารย์เข้ามาเฝ้า แล้วตรัสถามว่า

    <DD>" ดูกร นายหัตถาจารย์ผู้เจริญ ! ตัวท่านนี้มีความผิด ด้วยประสงค์จะใคร่ฆ่าเราเสียมิใช่หรือ ?"

    นายหัตถาจารย์จึงกราบทูลว่า

    <DD>" ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ! เหตุไฉนพระองค์จึงดำรัสกับข้าพเจ้าเช่นนี้เล่า ? เหตุที่ทำให้พญาหัตถีมีอันวิปริตเป็นเช่นนั้น เป็นเพราะอำนาจความเร่าร้อนแห่งราคะกิเลส แม้ได้สมความต้องการของตนแล้ว ก็คงจะกลับมาดอกพระเจ้าข้า" เมื่อสดับดังนั้นแล้วก็ให้ควบคุมตัวนายหัตถาจารย์ไว้ก่อนเพื่อรอคอยให้พญามงคลคชสารนั้นกลับมา

    <DD>ส่วนพญาช้างเมื่อได้สำเร็จมโนรถกับนางพังช้างแล้ว ก็รีบกลับเข้าไปในเมืองที่ตนอยู่ พอถึงรุ่งเช้านายหัตถาจารย์ตื่นขึ้นมาเห็นมงคลคชสารยืนอยู่ในโรงแล้ว ก็รีบเข้าไปกราบทูลพระราชา พระองค์จึงรีบเสด็จมาโดยด่วนที่โรงช้าง และมีพระดำรัสว่า

    <DD>" เออ... ก็สามารถฝึกสอนให้รู้ดีถึงเพียงนี้แล้ว เหตุไฉนวันนั้น เรากดเหนี่ยวไว้โดยแรงด้วยพระแสงขออันคมยิ่ง ยังไม่สามารถที่จะห้ามได้ มันเป็นเพราะเหตุใดหนอ ?"มงคลราชหัตถี ท่าน

    ท่านอาจารย์ช้างผู้ขมังเวทย์ได้ทีจึงรีบทูลตอบว่า

    <DD>"ขึ้นชื่อว่าราคะดำกฤษณานี้ ย่อมมีคมเฉียบแหลมยิ่ง เกินกว่าคมแห่งพระแสงขอเป็นร้อยเท่าพันทวี อนึ่ง ถ้าจะว่าข้างร้อนเล่า ขึ้นชื่อว่าร้อนแห่งเพลิงคือราคะดำกฤษณานี้ ย่อมร้อนรุ่มอยู่ในทรวงของสัตว์บุคคลอย่างเหลือร้อน ยิ่งกว่าความร้อนแห่งเพลิงตามปกติเป็นไหนๆ

    <DD>อนึ่ง ถ้าจะว่าไปข้างเป็นพิษเล่า ขึ้นชื่อว่าพิษคือราคะดำกฤษณานี้ ย่อมมีพิษซึมซาบฉุนเฉียวเรี่ยวแรงรวดเร็วยิ่ง เกินกว่าพิษแห่งจตุรพิธภุชงค์ คือ พิษแห่งพญานาคราชทั่งสี่ชาติสี่ตระกูลเป็นไหนๆ เพราะเหตุนี้พระองค์จึงมิสามารถหยุดยั้งด้วยกำลังพระแสงขอได้ พระเจ้าข้า !"

    <DD>" แล้วไฉนพญาคชสารนี้ จึงกลับมาโดยลำพังใจของตนเอง" พระราชาทรงถามขึ้นหลังจากที่ฟังนายหัตถาจารย์อธิบายเป็นเวลานาน

    <DD>" การที่พญาคชสารกลับมาในครั้งนี้ ใช่ว่าจะมาโดยเจตนาก็หาไม่ แต่เป็นเพราะกำลังอำนาจมนตรามหาโอสถของข้าพระพุทธเจ้า !"

    <DD>เมื่อทรงสดับดังนั้นแล้ว พระองค์จึงตรัสสั่งให้นายหัตถาจารย์แสดงกำลังมนต์มหาโอสถให้ทรงทอดพระเนตร ส่วนนายหัตถาจารย์ก็ได้ให้บริวารไปนำเอาก้อนเหล็กก้อนใหญ่มา แล้วให้ช่างทองเอาใส่เตาสูบ เผาด้วยเพลิงให้ก้อนเหล็กนั้นสุกแดงแล้วจึงเอาคีมคีบออกจากเตา เรียกพญาช้างเข้ามาแล้วร่ายมนต์ พลางบังคับให้คชสารจับเอาก้อนเหล็กแดงนั้นด้วยคำกำชับสั่งว่า

    <DD>" ดูกรพญานาคินทร์ผู้ประเสริฐ จงหยิบเอาก้อนเหล็กนั้น ณ บัดนี้ แม้นเรายังไม่ได้บอกให้วาง ท่านจงอย่าได้วางเลยเป็นอันขาด"

    <DD>ครั้นพญาช้างได้ฟังคำสั่งบังคับ ก็ยื่นงวงออกมาจับเอาก้อนเหล็กที่ลุกเป็นไฟ แม้ว่าจะร้อนงวงเหลือหลายจนงวงไหม้เป็นเปลวควันขึ้นก็ดี ก็ไม่อาจจะทิ้งก้อนเหล็กนั้นเสียได้ด้วยกลัวต่ออำนาจมนตราของนายหัตถาจารย์เป็นกำลัง

    <DD>เมื่อพระราชาทอดพระเนตรเห็นงวงพญาช้างถูกเพลิงไหม้เช่นนั้น ก็ทรงสงสารเวทนาและเกรงพญาช้างจะถึงแก่ความตาย จึงดำรัสสั่งให้นายหัตถาจารย์บอกให้พญาช้างทิ้งก้อนเหล็กนั้นเสีย ทรงหวนคิดถึงอำนาจราคะดำกฤษณาของพญาช้าง พร้อมกับคำชักอุปมาอธิบายของนายหัตถาจารย์ ทรงยิ่งสังเวชในใจหนักหนา จึงเปล่งสังเวชเวทีว่า

    <DD>" โอหนอ...น่าสมเพชหนักหนา ด้วยฝูงสัตว์มาติดต้องข้องขัดอยู่ด้วยราคะดำกฤษณา อันมีพิษพิลึกน่าสะพรึงกลัวร้ายกาจยิ่งนัก ราคะคือความกำหนัดนี้ย่อมมีมหันตโทษมหาศาล เพราะเพลิงราคะมีกำลังหยาบช้ากล้าแข็ง ร้อนรุ่มสุมทรวงสัตว์ทั้งหลายอยู่อย่างนี้

    <DD>สัตว์ทั้งหลายจึงต้องถูกกิเลสราคะย่ำยีบีฑา นำทุกข์มาทุ่มถมให้จมอยู่ในอู่แอ่งอ่าวโลกโอฆสงสารไม่มีวันสิ้นสุดลงได้ เพราะราคะกิเลสนี้แล สัตว์ทั้งหลายจึงต้องไปตกหมกไหม้อยู่ในมหานรกทั้งแปดขุม และสัตว์ทั้งหลายบางหมู่ต้องไปเกิดอยู่ในกำเนิดเดียรัจฉาน สัตว์ทั้งหลายต้องบ่ายหน้าไปสู่อบายภูมิ ก็เพราะราคะดำกฤษณานี้เป็นประการสำคัญ

    <DD>สัตว์ทั้งหลายที่เบียดเบียนบีฑาซึ่งกันและกันก็เพราะอำนาจดำกฤษณา ทำให้ต้องระทมตรมทุกข์ถึงซึ่งความพินาศนานับประการ ไม่เว้นแม้แต่บุตรธิดา มารดาบิดา ภรรยาสามีที่รักเป็นหนักหนา ก็ยังต้องเบียดเบียนบีฑาฆ่ากันเพราะอำนาจดำนี้มานักต่อนัก มิใยถึงคนอื่นที่มิใช่ญาติเล่า ก็ยิ่งฆ่ากันเป็นมีอำนาจดำกฤษณานี้เป็นเหตุพื้นฐาน

    <DD>บางครายอมจ่ายทรัพย์สินไปในทางไร้ประโยชน์ บางทียอมเสื่อมจากยศและเกียรติคุณ บางทีย่อมประกอบกรรมอกุศลทำให้สิ้นสุข และเมื่อจิตใจเบือนจากกุศลย่อมไปสู่ทุคติภพ บางทีให้ลุอำนาจแก่ ความโลภ โกรธ หลง จนต้องเจริญโทษทุกภพทุกชาติที่เกิด ให้ถือกำเนิดในอบายภูมิทั้งสี่ เพียงเท่านี้ก็หาไม่

    <DD>บางคราย่อมทำตนให้พินาศจากศีลสมาทาน บางกาลทำให้คนเสื่อมจากฌานภาวนาสมาธิจิตเป็นนิจกาล ราคะกิเลสจึงเป็นเหตุให้เกิดทุกข์มหันตโทษให้เสวยทุกขเวทนา เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายต้องมีความเศร้าหมองต่างๆ มากมาย"


    <DD>เมื่อตรัสเช่นนั้นแล้ว ก็มอบรางวัลให้แก่นายหัตถาจารย์เป็นอันมาก แล้วคำนึงในพระราชหฤทัยว่า "สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้จักพ้นจากอำนาจราคะดำกฤษณาอันเป็นทุกขภัยในวัฏฏะนี้ได้ด้วยประการใด?" แล้วจึงเห็นแจ้งในพระราชหฤทัยว่า ธรรมทั้งหลายอื่นนอกจาก "พุทธกรณธรรม" แล้วก็ไม่เห็นว่าสิ่งอื่นจะเปลื้องตนให้พ้นจากวัฏสงสารได้ ดังนั้นพระองค์จึงหยั่งพระราชหฤทัยลงเที่ยงแท้ถือเอา "พระพุทธภูมิ" ปณิธานว่า

    <DD>"เราได้ตรัสรู้ซึ่งพระโพธิญาณแล้ว ก็จักทำสัตว์ทั้งหลายให้รู้ด้วย เราพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารเมื่อใด ก็จักทำสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสารเมื่อนั้นด้วย"

    <DD>ครั้นทรงกระทำปณิธานปรารถนาเฉพาะพระพุทธภูมิในพระราชหฤทัยด้วยประการฉะนั้นแล้ว ก็ทรงสละราชสมบัติ ดำรงเพศเป็นพระดาบสบำเพ็ญพรตปฏิบัติชอบอยู่ตราบสิ้นอายุขัยแล้วก็ได้ขึ้นไปบังเกิดในสวรรค์เทวโลกเสวยสุขอยู่สิ้นกาลนาน และ

    <DD>องค์สมเด็จพระนราธิบดีสัตตุตาปราชา กลับชาติมาเกิดคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้า ของชาวเราพุทธบริษัททั้งหลาย

    <DD>พญามงคลคชสาร กลับชาติมาเกิดในชาติสุดท้าย คือ "พระมหากัสสปเถระเจ้า" สังฆวุฒาจารย์ ซึ่งเป็นพระมหาเถระอรหันต์สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในศาสนาพุทธ

    <DD>ส่วนนายหัตถาจารย์ กลับชาติมาเกิดในชาติสุดท้าย จักได้ตรัสเป็น สมเด็จพระมิ่งมงกุฎ "ศรีอาริยเมตไตรยสัมมาสัมพุทธเจ้า" ซึ่งจักมาตรัสในอนาคตกาล หลังจากศาสนาของสมเด็จพระศรีศากยมุนีโคดมบรมครูเจ้า เสื่อมสลายสูญไปจากโลกนี้แล้ว

    <DD>และเมื่อพระศรีอาริยเมตไตรยได้ตรัสรู้ประกาศพระศาสนาแล้ว คราวหนึ่งพระองค์จักเสด็จไปที่ "ภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต" อันเป็นที่บรรจุศพของพระมหากัสสปเถรเจ้า แล้วพระองค์จักทรงยื่นพระหัตถ์เบื้องขวาช้อนเอาซากศพของพระสังฆวุฒาจารย์อรหันต์กัสสปะนั้น ขึ้นชูไว้บนฝ่าพระหัตถ์ อันประกอบด้วยจักรลักษณะแล้ว จะมีพุทธฏีกาตรัสแก่พระอริยสงฆ์ทั้งหลายว่า

    <DD>" ดูกร..เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ! เธอจงพากันมองดูซึ่งซากศพนี้ นี่คือศพของผู้เป็นพี่ชายของตถาคต ซึ่งเป็นสาวกใหญ่ในศาสนาของสมเด็จพระมิ่งมงกุฎศรีศากยโคดมบรมครูเจ้า

    <DD>(สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรย เคยบวชเป็นพระภิกษุในสมัยพุทธกาลมีนามว่า "อชิตภิกษุ" เป็นภิกษุที่มีพรรษาน้อย ฉะนั้น พระองค์จึงเรียกพระมหากัสสปเถระเจ้าด้วยคำกล่าวออกนามว่า พี่ชายของตถาคต ในกาลครั้งนั้น) มีนามว่า "พระอริยกัสสปะเถระ" เป็นผู้ทรงคุณพิเศษโดยถือธุดงควัตร จนตราบเท่าดับขันธปรินิพพาน"


    <DD>เมื่อมีพุทธฎีกาตรัสแนะนำดังนี้แล้ว สมเด็จพระศรีอาริยเมตไตรยก็ทรงสรรเสริญคุณแห่งพระมหากัสสปเถระเจ้าต่อหน้าพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในขณะนั้น เปลวอัคคีก็จะบันดาลมีเกิดขึ้นในซากอสุภะของพระเถรเจ้า แล้วค่อยลามเลียลุกไหม้ศพให้สิ้นซาก ปราศจากเถ้าถ่านอยู่บนฝ่าพระหัตถ์ของสมเด็จพระสรรเพชญ์ศรีอาริยเมตไตรยเป็นอัศจรรย์

    <DD>หากแม้นบุคคลใดที่ได้เกิดอยู่ภายใต้ร่มแห่งบวรพระพุทธศาสนา ได้สดับตรับฟังพระธรรมแล้ว นับได้ว่าเป็นผู้มีบุญประเสริฐยิ่งนัก เหมือนดั่งพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า ผู้ดื่มด่ำในรสพระธรรม ย่อมมีใจผ่องแผ้วเป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว ในกาลทุกเมื่อเทอญฯ

    ที่มา - Untitled Document
    อ้างที่มา : //chaokhun.kmitl.ac.th/buddhism/n7.html

    </DD>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงพ่อเล่าเรื่องพระมหากัสสป

    ผู้ถาม : เอ....หลวงพ่อครับ พระมหากัสสปะ ท่านนิพพานแล้ว แต่ได้ยินดีเขาบอกว่า ศพของพระมหากัสสปะยังอยู่ที่ "เมืองราชคฤห์" แล้วจะเผาได้ต่อเมื่อ พระศรีอาริย์ มาตรัสรู้ และเผาบนมือด้วย อันนี้เป็นเหตุไฉนและข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรครับ ?

    หลวงพ่อ : ศพของพระมหากัสสปะไม่ได้อยู่เมืองราชคฤห์นี่ อยู่ที่..เชียงตุง เดาส่งแล้ว
    ผู้ถาม : อยู่ไทยนี่เองเองเหรอครับ.....?.....
    หลวงพ่อ : ไทยใหญ่
    ผู้ถาม : ไม่ใช่อยู่อินเดียหรือครับ.....?.....
    หลวงพ่อ : ปัดโธ่..จะอยู่อินเดียตะพึดเลยนะ ยกยอดให้อินเดีย ตะบัน..ท่านอยู่ตรงนี้ พระมหากัสสปะท่านมีงานอยู่แถวนี้ ระหว่างเชียงตุง เชียงราย แล้วก็ประเทศจีน ที่พระพุทธเจ้าส่งให้มาประกาศศาสนา ถ้าต่ำลงมานั้นเป็นเขตของ พระมหากัจจายนะ จากลำพูนลงมาก็เป็นเขตของพระโมคคัลลาน์ ก็ว่าตามเขต แล้วท่านก็นิพพานแถวนี้ ถ้าถามว่า "ศพของพระมหากัสสปะมีจริงไหม...?.."


    <DD>ขอยืนยันว่ามีจริง...ยังอยู่ ดอกไม้ที่เขาบูชาก็ยังอยู่ ธูปกับเทียนที่เขาบูชาก็ยังอยู่ แต่ว่าเวลาปกตินี่เราเข้าไม่ได้ เพราะเขาลูกเล็กๆ สองลูกข้างหน้าต่ำเคลื่อนมาติดกัน เมื่อปีกึ่งพุทธกาลน่ะเข้าได้ เขาลูกเล็ก ๆ มันขยายตัวออก เป็นเรื่องอัศจรรย์เหมือนกันนะ จนกระทั่งฝรั่งเข้าไปถ่ายภาพได้ ฉันได้ภาพที่ฝรั่งถ่ายประมาณ ๑๐ ภาพ

    <DD>ในปีนั้นนะ เขาพิมพ์ขาย ไอ้ฉันน่ะไม่ได้ซื้อ เขามาให้แล้วก็เอาภาพนั้นไปให้ หลวงพ่อเล็กดู ถามว่า..."การนั่งอยู่...การเข้าสมาธิเป็นของไม่แปลก แต่ธูปกับเทียนที่เขาบูชาทำไมจึงไม่เศร้าหมอง.....ยังสด ธูปเทียนก็ยังติดอยู่" หลวงพ่อเล็ก (หลวงพ่อเล็ก เกสโร วัดบางนมโค) ก็เลยบอกว่า

    <DD>คำอธิษฐานของพระอรหันต์ จะให้เป็นอะไรก็ได้ ใครไม่เชื่อก็ไปดู พวกที่ได้ มโนมยิทธิไปดูก็ได้นี่ ไม่ต้องรอให้เขาเปิด...เข้าได้

    ผู้ถาม : แล้วที่ว่าจะเผาต้องเผาบนมือพระศรีอาริย์ล่ะครับ...?...
    หลวงพ่อ : ตามท่านว่ามา ถ้าเราไม่เชื่อเราอย่าเพิ่งตาย รอดูก่อน..จนกว่าพระศรีอาริย์จะนิพพาน!!"

    ผู้ถาม : โอ้โฮ...?...
    หลวงพ่อ : อ้าว...ถ้าพูดเวลานี้ก็เถียงกันไม่จบ บางคนว่า"ฉันไม่เชื่อหรอก เป็นพระพุทธเจ้า แล้วกฎแห่งกรรมย่อมสิ้นไป มันเป็นเช่นนั้นจริง..!! ตามเรื่องมีว่า....

    <DD>สมัยก่อนโน้น พระมหากัสสปะท่านเป็นช้าง รูปร่างท่านจึงใหญ่โตคล้ายช้าง แล้วพระศรีอาริย์ท่านเป็นเจ้าของ และก็มีการพนันกันว่า ช้างตัวนี้สามารถจะหยิบอะไรก็ได้ ก็บังเอิญคนพนันมันเกเร มันเอาเหล็กเผาจนแดงโชนให้อม ที่แรกเจ้าของยอมแพ้ ยอมให้ถูกปรับดีกว่า ไม่ยอมให้ช้างหยิบ ช้างก็รักษาศักดิ์ศรี อาศัยที่รักเจ้าของก็เอางวงหยิบ หยิบได้ฝ่ายนั้นก็ต้องแพ้ แต่ช้างก็ต้องตาย

    <DD>เพราะอาศัยกรรมอันนี้หน่อยเดียว เวลาที่พระศรีอาริย์จะนิพพานท่านก็เอาศพพระมหากัสสปะใส่พระหัตถ์ อธิษฐานเตโชธาตุเผา เมื่อเผาแล้วก็อาศัยเหตุนี้เป็นปัจจัยพระองค์จึงนิพพาน แต่อย่าลืมนะ ไฟที่ใช้กำลังใจให้เกิดขึ้นมันไม่ร้อนหรอก ท่านจะร้อนก็ได้ ไม่ร้อนก็ได้

    โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    จากหนังสือตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๖ หน้าที่ ๒๑-๒๓

    </DD>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ย่างกุ้ง - มัณฑเลย์ - โมนยั้ว - ถ้ำพระมหากัสสป

    [​IMG].......เรื่องความลี้ลับของ "ถ้ำพระมหากัสสป" นี้ ใครๆ ก็อยากจะรู้ว่าอยู่ที่ไหนกันแน่ โดยเฉพาะภายในกลุ่มลูกศิษย์หลวงพ่อฯ ด้วยเหตุนี้นับตั้งแต่ปี 2538 พวกเราก็ได้มีโอกาสไปสืบเสาะหลายครั้ง นับตั้งแต่การไปสืบหาทางประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นเขตแดนที่ติดต่อกับประเทศพม่า โดยการเดินทางผ่าน "คุนหมิง" แล้วลัดเลาะไปทาง "ต้าลี่" ขึ้นไปทาง "ภูเขาจี้จูซาน" แต่ก็ไม่พบแต่อย่างใด

    ........จนกระทั่งถึงปี 2542 ก็ได้เดินทางออกไปทาง "เชียงตุง" พุ่งขึ้นไปถึง "เชียงรุ้ง" (สิบสองปันนา) ก็ไม่มีวี่แววแต่อย่างใด ต่อมาภายหลังก็ได้ข้อมูลว่ามีอยู่ในประเทศพม่า แต่ต้องเดินทางเข้าไปลึกมาก จึงกำหนดการเดินทางในปี 2545 โดยหลวงพี่ชัยวัฒน์ได้เล่าไว้ในหนังสือ "ตามรอยพระพุทธบาท" เล่ม 4 ดังนี้

    ........เมื่อได้ทำบุญก่อนเดินทางไปกราบไหว้ ถ้ำพระมหากัสสป กันแล้ว จึงออกเดินทางข้าม แม่น้ำซินด์วินด์ ต่อด้วยรถสองแถวอีกเช่นเคย แต่คราวนี้หัวหน้าทัวร์ได้พาไปแวะที่ วัดพูวินต่อง ก่อน เพราะบริเวณวัดจะมีภูเขาที่แกะสลักเป็นพระพุทธรูปร่วมสี่แสนองค์ โดยมีพุทธลักษณะต่างกันหลายแบบ

    .........นับว่าเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมเช่นเดียวกับ ประเทศอินเดียและจีน ที่มีการแกะสลักภูเขาเข้าไปเป็นวิหารบ้าง เป็นพระพุทธรูปบ้าง เป็นต้น หลังจากได้เดินชมกันพอสมควรแล้ว จึงเดินทางต่อไป พอมาที่หมู่บ้านเปีย ซึ่งเป็นจุดที่เราเคยมาถึง แต่ข้ามแม่น้ำไปไม่ได้ ตอนนี้น้ำแห้งพอข้ามไปได้แล้ว ฝั่งที่ข้ามมานี้ชื่อ "หมู่บ้านติโก้ง"


    <DD>(หมายเหตุ : เมื่อปี 2543 ผู้เขียนพร้อมคณะเคยเดินทางไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ตอนนั้นเป็นเดือนตุลาคม น้ำในแม่น้ำยังมากอยู่ ไม่สามารถจะนำรถข้ามแม่น้ำไปได้ ถึงแม้เจ้าหน้าที่จะช่วยนำรถ GMC มาช่วยนำทางแล้วก็ตาม ระยะทางจากมัณฑเลย์ถึงโมนยั้ว 148 ไมล์)


    <TABLE cellPadding=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG] <TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <DD>รถสองแถววิ่งเข้าไปในป่าเขต อุทยานแห่งชาติพม่า ได้โดยสะดวก (มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Alaungdaw Kathapa Nation Park คำว่า "อลองดอว์กัสสป" หมายถึง พระศพท่านพระมหากัสสป) กว่าจะถึงที่พักของอุทยาน เป็นเวลา ๖ ชั่วโมง

    <CENTER>[​IMG]

    (บางคนต้องเดินเท้าเข้าไปในป่า ส่วนที่เหลือก็ขึ้นช้างพร้อมบายศรีและเครื่องบูชาครบชุด)</CENTER>
    <TABLE cellPadding=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG] <TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <DD>ส่วนเส้นทางที่ผ่าน หลังจากข้ามแม่น้ำไปได้แล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นทางที่ข้ามเทือกเขา ซึ่งไปเมื่อปีก่อนโน้น เจ้าหน้าที่ก็เคยให้พวกเรา ดูแผนผังเส้นทางในป่าแล้ว เมื่อรถวิ่งสุดทางแล้ว จะต้องนั่งช้างต่อไปอีก แต่ใครจะเดินไปก็ได้ ใน ขณะที่เราไปนั้น มีชาวพม่าเดินทางมากราบไหว้กันมากมาย ต่างก็แบกข้าวของพะรุงพะรังกันไป

    <CENTER>[​IMG]

    ถ่ายภาพร่วมกับพระสงฆ์ชาวพม่าที่ด้านหน้ารูปปั้นพระมหากัสสปจำลอง
    จุดตำแหน่งนี้จะตรงกับตำแหน่งพระศพของท่านภายในถ้ำที่ลึกลงไปในภูเขานี้
    </CENTER>
    <DD>ถนนหนทางเป็นทางธรรมชาติ ยังมีป่ามีต้นไม้และลำธาร ที่จะต้องเดินผ่าน ผู้เขียนกับคณะได้นั่งไปบนหลังช้าง เพื่อขนสัมภาระมีบายศรีเป็นต้น ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที จึงจะถึงจุดหมาย ภายในบริเวณนี้ได้มีการแกะสลักจากหินเป็นรูปของ "ท่านพระมหากัสสปเถระ" ในท่านอนบนแท่นนิพพานอยู่ภายในศาลาหลังหนึ่ง

    <TABLE cellPadding=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG] <TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER>(ทางเดินลงไปในถ้ำระหว่างภูเขาเป็นสามเส้า มีบันไดเดินลงไปแต่ก็ชันมาก)</CENTER>
    <DD>ตามประวัติเล่าว่า สร้างขึ้นตั้งแต่สมัย พระเจ้าอชาติศัตรู แต่ศาลาหลังนี้เพิ่งสร้างได้เพียงแค่ ๒๐ ปี จากศาลาพระนอนถ้าเดินไปทางขวามือ จะมีทางเดินซึ่งจะทอดตัวตามแนวเขาชันลึกลงไปข้างล่าง แต่จะมีบันไดให้เดิน เมื่อเดินถึง เบื้องล่างจะมองเห็นน้ำไหลลงมาที่แอ่งน้ำ ขณะที่ไปพ้นฤดูฝนไปแล้ว น้ำจึงไม่ลึกมาก ซึ่งก็จะมีสะพานให้เดิน

    <CENTER><TABLE cellPadding=0><TBODY><TR><TD align=middle>[​IMG] <TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    <DD>ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า มีลักษณะของภูเขาสามลูกมาพิงซ้อนกัน (ตรงตามในพระไตร ปิฎกที่กล่าวไว้ว่า ท่านได้นิพพานเมื่อวันพุธ ในภูเขาสามเส้าโอบล้อมชื่อว่า เวภาลบรรพต) เพราะด้านหนึ่งก็ยังมีรอยระหว่างภูเขา ซึ่งซ้อนกันไม่สนิทเป็นโพรงขนาดสูง จะมีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และมีน้ำไหลลงมาตามผนังของภูเขา

    <DD>เมื่อเดินตามทางเดินเข้าไป จะเห็นเป็นถ้ำลึกเข้าไปในภูเขา ซึ่งถ้ำที่ตั้งพระศพของท่าน จะอยู่ทางด้านขวามือ หากพิจารณาดูประตูปากถ้ำ จะคล้ายกับรูปคนยืนขนาดสูงใหญ่ เล่ากันว่าเมื่อประมาณกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. ๒๕๐๐) ได้มีฝรั่งเข้าไปถ่ายรูปออกมาได้ ซึ่งเล่าว่าข้างในมีพระศพอยู่ในสภาพไม่เน่าเปื่อย ลักษณะคล้ายคนนอนหลับ ยังมีดอกไม้ธูปเทียนจุดบูชาอยู่

    <DD>ส่วนด้านบนถ้าย้อนกลับมาเดินไปทางข้างบนถ้ำจะมีรูปแกะสลักพระมหากัสสปอยู่ด้านซ้ายของศาลาพระนอน เดินขึ้นไปตามเนินเขาก็จะพบ บ่อน้ำ ซึ่งเล่ากันว่าเป็นบ่อน้ำที่ท่านพระมหากัสสปได้มาใช้น้ำในบ่อนี้ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ บ่อน้ำนี้มีน้ำขังอยู่เสมอไม่เคยแห้ง ทั้งที่อยู่บนเนินเขา

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>เมื่อเดินต่อไปอีกก็จะพบเจดีย์ จากนั้นก็จะเห็นพื้นที่ราบขนาดใหญ่ จะเป็นที่ตั้งของวัด และหมู่บ้านภายในบริเวณด้านหลังวัดนี้เอง จะมีบ่อน้ำอยู่บ่อหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้อธิษฐาน แล้วใช้หอกปักลงพื้น ปรากฏมีน้ำพุ่งขึ้นมาจากดิน และไหลไปสู่ถ้ำที่พระมหากัสสปนิพพาน

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    <DD>มีเรื่องเล่าว่า ประมาณกึ่งพุทธกาลได้ มีพระและเณรที่เป็นลูกศิษย์ได้เข้าไปปฏิบัติธรรมในถ้ำ พระอาจารย์เห็นว่าในถ้ำมีสมบัติที่มีค่ามากมาย น่าจะนำกลับไปด้วย คิดเพียงเท่านี้ประตูถ้ำก็ปิดลง แต่สามเณรที่ไปด้วยไม่ได้คิดโลภจึงสามารถมุดหนีออกมาได้

    <DD>พระที่นี่เล่าอีกว่า เมื่อ ๘ - ๙ ปีที่ผ่านมา ได้มีคนมาไหว้คณะหนึ่ง ไม่ทราบว่ามาจากที่ไหน ได้มากราบไหว้ซึ่งไม่ใช่เป็นช่วงเทศกาล (จะมีเทศกาลในเดือนมกราคม - มีนาคม) ได้มาอธิษฐานว่าถ้ามีจริงก็ขอให้ได้เห็น ท่านก็แสดงอานุภาพให้ประตูถ้ำเปิดให้เห็นภายในถ้ำ แต่ก็ แค่เพียงชั่วครู่เดียวเท่านั้น แล้วถ้ำก็ปิดตามเดิมอีก</DD>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประวัติสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู

    [​IMG]

    (รูปภาพแผนผังเส้นทางระหว่างภายในป่าอุทยานแห่งชาติ จะต้องเดินทางไปยังตำแหน่งที่เห็นเป็นรูปเจดีย์)

    <DD>ตามหนังสือประวัติที่บันทึกไว้เป็นภาษาพม่า จะมีแผนผังเส้นทางเดินจากกรุงราชคฤห์มาที่ถ้ำพระมหากัสสปอย่างละเอียด ตอนที่ท่านพระมหากัสสปนิพพานใหม่ๆ พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทราบข่าว จึงได้พาไพร่พลออกตามหา เมื่อเดินมาถึงบริเวณหนึ่ง ทหารที่ติดตามมาเหน็ด เหนื่อย จึงให้พักพลเอาไว้ก่อน (ปัจจุบันนี้ยังมีชื่อว่า หมู่บ้านอชาตศัตรู ห่างจากถ้ำไปก็ประมาณ ๔ - ๕ กิโลเมตร)

    <DD>ส่วนพระองค์เดินทางต่อไปจนรู้สึกเหนื่อยล้า จึงได้อธิษฐานขอให้ได้พบสรีระศพ ของท่านพระมหากัสสปด้วย (สมัยนั้นยังเป็นป่าอยู่ ส่วนวัดนี้เพิ่งจะตั้งไม่กี่ปีมานี่เอง) เมื่ออธิษฐานจบพระองค์จึงปักหอกลงไปที่พื้นดิน ขอให้มีน้ำไหลไป ถ้าพระศพของท่านอยู่ตรงไหน ขอให้น้ำไหลไปทางนั้น

    <CENTER>[​IMG]

    ผู้ที่เดินทางไปกราบนมัสการเสร็จแล้ว จะนิยมมาอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
    ซึ่งมีป้ายบอกว่า ห้ามนำน้ำนี้ไปล้างเท้า
    </CENTER>
    <DD>ปรากฏว่าน้ำพุ่งจากพื้นดินและไหลไปตามทาง พระองค์จึงเดินตามทางน้ำที่ไหลไป จนกระทั่งได้พบพระศพของท่านภายในถ้ำแห่งนี้ (ตามทางที่น้ำไหลลงมานี้ มีช่วงหนึ่งจะผ่านก้อนหินก้อนหนึ่ง ที่มีรอยเท้ายาวประมาณ ๑ ศอก อยู่บนหิน ซึ่งเชื่อว่าเป็นรอยเท้าของท่านพระมหากัสสป แต่ปัจจุบันนี้ชาวบ้านได้มาตั้งรกรากกันมากขึ้น ทำให้น้ำอาบและสิ่งสกปรกไหลไปปิดทับหินก้อนนี้ไปแล้ว)

    <DD>พระเจ้าอชาตศัตรูได้ถวายทรัพย์สมบัติ อันมีค่ามากมายเพื่อบูชาพระมหากัสสปด้านบน เขาได้ให้ช่างแกะสลักรูปของท่านในท่านิพพาน โดยหันศีรษะไปทางทิศเหนือ เพราะว่าจุดนี้เป็นจุดที่ตรงกันพอดี คือรูปที่แกะสลักข้างบน จะตรงกับพระศพที่อยู่ภายในถ้ำพอดี ทั้งนี้พระองค์ไม่ประสงค์ให้ใครเดินข้ามพระศพของท่านไป

    <DD>จากนั้นพระองค์ได้พระราชทานที่ดินเพื่อให้เป็นธรณีสงฆ์ โดยวัดจากพระนอนศิลา ไปทางทิศทั้ง ๔ ทิศหนึ่งยาว ๒๐ ไมล์ (ประมาณ ๓๐ กม.) ซึ่งทางวัดได้พบหลักศิลาจารึกบันทึกไว้ว่า พระองค์ได้บริจารที่ดินเพื่อเป็นธรณีสงฆ์ แต่หลักศิลานี้ได้ถูกทำลายไปแล้ว เมื่อ ๗ - ๘ ปี ที่ผ่านมาโดยรัฐบาลปัจจุบัน

    <DD>เพราะเกรงว่าทางอินเดียจะมาอ้างกรรมสิทธิ์แถบนี้ และบริเวณนี้ก็จะไม่มีหมู่บ้านใหญ่ ๆ เพราะเขารู้ว่าเป็นพื้นที่ธรณีสงฆ์ นอกจากนี้ยังมี สวนพระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งอยู่ใกล้กับหมู่บ้านอชาตศัตรูอีกด้วย ในสมัยก่อนนั้น สวนนี้จะปลูกผลไม้ และดอกไม้ตางๆ ให้คนทั่วไปได้เข้ามากินฟรี หรือนำไปฟรี แต่สมัยนี้เริ่มมีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัย และสวนนั้นก็เริ่มหายไป

    บุพกรรมของท่านพระมหากัสสป เหตุที่ต้องนิพพานในบริเวณนี้

    <DD>ตามประวัติของพม่าเล่าว่า มีชาติหนึ่งที่ พระมหากัสสป ได้เกิดมาเป็นเณรในสำนักของ ฤาษีแห่งหนึ่ง วันหนึ่งท่านได้จับนกแก้วมาเล่นในที่พักของท่าน ขณะนั้นอาจารย์ได้เรียกใช้งาน ท่านจึงต้องนำนกแก้วไปซ่อน พอดีเหลือบเห็นเตาสามเส้า (เตาที่ใช้หินสามก้อนมาตั้งเรียง) จึงนำนกแก้วซ่อนไว้ภายในเตาที่ไม่ได้จุดไฟ แล้วนำหม้อมาปิดทับเอาไว้

    <DD>จากนั้นก็ไปทำงานตามที่อาจารย์ได้มอบหมาย จนลืมนึกถึงนกแก้วตัวนั้น กระทั่งกลับมาอีกครั้ง นกแก้วตัวนั้นก็ได้เสียชีวิตไปแล้ว กรรม อันนี้จึงเป็นเหตุให้ท่านต้องมานิพพานในถ้ำ ที่มีภูเขาสามลูกโอบล้อมปิดเอาไว้

    <DD>และยังมีเหตุอีกชาติหนึ่งที่ท่านได้เกิดมาเป็นช้าง และมีพระศรีอาริย์โพธิสัตว์เกิดเป็นนายควาญช้าง สันนิษฐานว่าคงจะเป็นบริเวณนี้ เพราะว่ายังมีช้างอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งทางป่าไม้ได้นำมาไว้บริการสำหรับผู้ที่มากราบไหว้

    <DD>ในชาติที่เป็นช้างนี้ ท่านมีความซื่อสัตย์ ต่อนายควาญช้างมาก ข่าวเล่าลือกันไปว่า แม้จะสั่งให้ทำอะไร ช้างแสนรู้เชือกนี้ก็จะทำตามทุกอย่าง วันหนึ่งมีผู้คิดกลั่นแกล้ง โดยวิธีการท้าทายกัน แล้วเอาก้อนเหล็กเผาไฟแดงมาให้ช้างจับ เพื่อทดสอบว่าช้างจะแสนรู้จริงหรือไม่

    <DD>นายควาญช้างเสียทีคนที่คิดร้าย แต่ช้างก็ไม่อยากให้เจ้านายของตนเสียหาย จึงตัดสินใจยอมตายจับก้อนเหล็กแดงนั้น ผลที่สุดช้างนั้นก็ตายไป ผลกรรมนี้จึงส่งผลให้ ในสมัยที่พระศรีอาริย์ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จะต้องมานำร่างของพระมหากัสสป แล้วอธิษฐานให้เปลวไฟเผาร่างบนฝ่าพระหัตถ์ของพระองค์ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พระองค์เสด็จปรินิพพานในที่สุด

    <DD>ยังมีเรื่องเล่าของทางพม่าอีกว่า ประเพณีที่น้องจะต้องถวายพระเพลิงพี่ พระมหากัสสปได้เคยเกิดเป็นน้องของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันมาก่อน เมื่อถึงเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จปรินิพพาน ต้องรอให้พระมหากัสสปมาถวายพระเพลิง ส่วนพระศรีอาริย์เคยเกิดเป็นน้องของพระมหากัสสป ท่านจึงต้องรอให้พระศรีอาริย์มาถวายเพลิงสรีระศพของท่านเช่นกัน

    <DD>ผู้เขียนก็ได้นำข้อมูลทางพม่ามาเล่าสู่กันฟัง เพราะเห็นว่ามีหลักฐานชัดเจนกว่าที่อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตาม พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก กัณฑ์ที่ ๘ ในตอนท้ายได้กล่าวไว้ว่า

    <DD>“พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายที่นิพพานไปแล้ว แต่สรีระร่างยังไม่เน่าเปื่อยมีอยู่ ๔ องค์ คือ “พระมหากัสสปเถระ” นิพพานแล้วสรีระร่างของ ท่านอยู่ในระหว่างภูเขา ๓ ลูกที่สุมกันอยู่ในเมืองราชคฤห์ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอังวะ..” ดังนี้

    <DD>จากหลักฐานนี้แสดงให้เห็นว่า เมืองอังวะ สมัยก่อน อาจจะอยู่ในเขตแดนของเมืองราชคฤห์ ตามประเพณีของพระเจ้าแผ่นดิน จะต้องทรงอนุญาตให้พื้นแผ่นดินตรงนั้นเป็นเขตธรณีสงฆ์ ถ้าดูตามแผนที่ของประเทศพม่า ถ้ำนี้จะอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองอังวะจริงๆ

    <DD>แต่ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ได้เคยบอกไว้ว่า ท่านพระมหากัสสป อยู่แถว เชียงตุง นั้น ผู้เขียนก็ได้ไปสืบหาแถวเชียงตุงไปจนถึงสิบสองปันนาก็ไม่มีข่าวว่าพบแต่อย่างใด แต่ถ้าเทียบกับแผนที่พม่า ตามที่หลวงพ่อไปด้วยมโนมยิทธิ จะเห็นว่าไปทางเชียงตุงเหมือนกัน

    <DD>เพราะฉะนั้น ถ้าจะเทียบข้อมูลระหว่างเชียงตุงกับสถานที่นี้ จะเห็นว่าคนพม่าเขาเชื่อถือที่นี่กันมานานแล้ว ส่วนที่เชียงตุงไม่มีคนรู้เรื่องแบบนี้เลย อีกประการหนึ่ง ลักษณะภูมิประเทศของภูเขาสามเส้านี้ ที่มีถ้ำอยู่เบื้องล่างก็มีที่เดียวเท่านั้น ซึ่งมีลักษณะตรงกับพระไตรปิฎกทุกอย่าง

    <DD>ผู้เขียนจึงขอนำข้อมูลมาเล่าไว้เพียงแค่นี้ ต่อไปจะต้องเดินลงไปทำพิธีบวงสรวง ก่อนอื่นจะต้องหาที่ตั้งบายศรีกัน ขออนุญาตทำกันที่หน้าถ้ำ นี้แหละ ภายในบริเวณนี้อากาศจะชื้น ได้ยินเสียงน้ำที่ไหลจากหน้าผากระเซ็นลงมาที่แอ่งน้ำ เป็นน้ำที่ไหลมาจากบ่อน้ำที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงอธิษฐานไว้ เวลานี้เป็นที่อาบน้ำของคนที่มาไหว้ แต่เขาเขียนหนังสือไว้ว่า “ห้ามเอาน้ำล้างเท้า”

    <DD>ระยะทางที่น้ำไหลมาจากบนที่สูง ผ่านซอกเขามาลงสู่ที่นี่ อาจจะมีกลิ่นไม่ดีบ้าง แต่เราก็ต้องนั่งทำพิธีบวงสรวงกัน มองเห็นก้อนหินที่ หน้าถ้ำปิดสนิท แทบจะไม่มีริ้วรอยที่จะงัดแงะออกมาได้เลย ฝาผนังหินที่ปิดอยู่นี้ บางคนเห็นเป็นรูปยืน แต่เท่าที่เห็นเป็นท่านั่งขัดสมาธิ

    <CENTER>[​IMG]

    หลังจากทำพิธีบวงสรวงแล้ว จึงได้ปิดทองและสรงน้ำหอม พร้อมถวายบายศรี
    และผ้าสไบทองไว้ด้วย จะเห็นว่าก้อนหินที่ปิดปากถ้ำ มีรูปร่างเหมือนคนนั่งสมาธิจริงๆ
    </CENTER>
    <DD>ครั้นแล้วเสียงพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ก็ดังก้องที่หน้าถ้ำ พวกเราส่งจิตอธิษฐานไปถึงท่านที่อยู่ด้านใน หลังจากที่จะต้องใช้พยายามเดินทางมานับเป็นครั้งที่ ๒ ก็ได้มานั่งอยู่ตรงนี้สมหวังทุกอย่าง ถึงแม้จะไม่ได้เห็นภายใน แต่พวกเราก็ภูมิใจว่า ครั้งหนึ่งในชีวิตได้มีโอกาสมาถึงที่นี่ หลังจากได้ฟังหลวงพ่อเล่ามานานแล้ว

    <DD>หลังจากเสร็จพิธีแล้ว จึงได้ถวายบายศรีพร้อมด้วยของที่บูชาและผ้าไตรจีวรทุกอย่างไว้ที่หน้าถ้ำแห่งนี้ เพื่อขอบูชาความดีที่ท่านได้เป็น ผู้กระทำสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัย และเป็นผู้เลิศในทางธุดงค์ จากนั้นก็กราบลาท่านกลับมาที่บ้านพักในอุทยาน.."</DD>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระมหากัสสปในประเทศไทยและจีน

    <CENTER>พบหลักฐานว่าสมัยพุทธกาล
    พระมหากัสสปได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศไทย</CENTER>




    <DD>เรื่องพระพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศไทย พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ได้เล่าเรื่องนี้ไว้ในเทปชุดเดินทางไป ภาคใต้ เมื่อเดือนเมษายน ปี 2521 ไว้ดังนี้


    <DD>"...ถอยหลังลงไปตั้งแต่ สมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ก็มีพระจำพรรษาตั้งแต่ภาคใต้ของประเทศไทยถึงภาคเหนือ ภาคเหนือจริงๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ พระมหาโมคัลลาน์ มาคุม คือ เป็นสายของพระมหาโมคัลลาน์ แดนเหนือออกไปด้านเชียงตุงติดต่อประเทศจีน

    <DD>แล้วก็ในเขตจีนเป็นสายของ พระมหากัสสป ความจริง ก็ไม่ไกลกันนักแต่มันเดินยาก แต่ท่านผู้นั้นท่านเหาะ แล้วสำหรับใต้ล่องลงมานี่ นับตั้งแต่ จังหวัดสุพรรณบุรี มาถึง จังหวัดนครปฐม เพชรบุรี เป็นต้น

    <DD>แล้วก็แดนประจวบคีรีขันธ์ ตอนนี้เป็นสายของ พระมหากัจจายนะ กับ พระอนุรุทธ มักจะมากันเสมอ ๆ ต่ำลงมาจากประจวบคีรีขันธ์ ถึงจังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี สายนี้ก็เป็นสาย พระโสณะกุฏิกัณณะ ที่มากันเป็นปกติ

    <DD>สายใต้ลงไปจากนั้นก็เป็นสายลูกศิษย์ของพระพวกนั้น ที่กล่าวมาแล้ว ที่สอนต่อๆ กันมาเป็นอันว่า ประเทศไทยรับคำสอน ของพระพุทธศาสนามาก่อน ที่เราคิดว่ารับพระพุทธศาสนาเข้ามาประเทศไทย

    <DD>เวลานั้น ไอ้เมืองมันมากอยู่กันเป็นหย่อมๆ มีพระราชาที่เขาเรียกว่า "พ่อเมือง" คนก็มีหลายเผ่าด้วยกัน คนไทยเวลานี้มาเรียกว่า "ไทยๆ" สมัยนั้นเขาก็ไม่เรียกว่า "ไทย"

    <DD>รวมความว่า เป็นเผ่าคล้ายคลึงกันคนในดินแดน แผ่นนี้จะเรียกเป็นเผ่าใหญ่ๆ จริงๆ แล้วมันมีอยู่ 7 เผ่าด้วยกัน เวลาจะพูด ต้องพยายามเรียนภาษากันอยู่เจ็ดเผ่าด้วยกัน นับตั้งแต่โน่นแน่ะ..เชียงตุงมานั่นแหละ จนกระทั่งปลายเขตแดนของสิงคโปร์ มี 7 เผ่าที่เป็นเผ่าใหญ่ แล้วเผ่ากระจอกงอกง่อย ก็มีอีกตั้งเยอะแยะ

    <DD>แต่บางทีก็เป็นเผ่าไทยด้วยกัน แต่เรียกชื่อต่างกันเสียอีก แต่ว่าพูดกันรู้เรื่องว่า ฉันพวกเผ่านายดำ ฉันพวกเผ่านายเขียว ฉันพวกเผ่านายขาว เนื้อแท้มันพูดเหมือนกันจริยาอาการต่างๆ วัฒนธรรมเหมือนกัน มันก็เผ่าเดียวกัน แต่ก็ยังไม่ยอมรวมกันถือว่าอยู่กันเป็นหมู่บ้าน เมืองสมัยนั้นก็เป็นหมู่บ้าน ที่มีความสำคัญเพียงเท่านี้

    <DD>ในช่วงนั้น ที่มีพระอรหันต์มาเรื่อย ๆ หมออาชีวกโกมารภัจ ก็เคยมาเที่ยว ถ้าจะถามว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยเสด็จไหม ก็ต้องตอบว่า เวลานั้นพระพุทธเจ้ามาในเขตนี้หลายวาระ แล้วก็คราวหนึ่งทำให้คนสำเร็จอรหันต์ไปไม่น้อย การเสด็จมาของพระองค์ ใช้เวลาเดินนานหน่อย เพราะนาน ๆ จะได้เดิน ส่วนมากท่านเหาะมา มาคราวหนึ่ง ก็มีพระติดตามไม่น้อยกว่า 500 รูป

    <DD>ที่มากันอย่างนั้นก็เพื่อเป็นกำลังใจของคน คือ เวลาก่อนหน้านั้นหมอผี มันมีมาก ดินแดน ดินเดียเขาเล่นสมาธิจิตกัน เล่นกำลังจิต แต่ดินแดนแห่งนี้ เขาเล่นผีกัน นับถือผีอยู่ก่อน ให้ผีเป็นเจ้า ผีเป็นนาย ทำอะไรก็ต้องเชื่อผี จนกระทั่ง มีการตั้งศาลพระภูมิขึ้นมา อันนี้เราก็เรียกว่า ผีเหมือนกัน เพราะว่า กำลังใจของคนพวกนี้ ยอมรับนับถือผี มาเป็นตัวอย่าง เป็นเหตุ

    <DD>เมื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์เสด็จมา ก็เอาผีพวกนี้ มาแสดงตัวให้ปรากฏ สมเด็จพระบรมสุคต ให้บุคคลทั้งหลายเห็นว่า ผีที่เขาบูชานั้น เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา อันนี้เราก็เรียกว่าผีเหมือนกัน เพราะว่ากำลังใจของคนพวกนี้ ยอมรับนับถือผีมาเป็นตัวอย่างเป็นเหตุ

    <DD>เมื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์เสด็จมา ก็เอาผีพวกนั้นมาแสดงตัวให้ปรากฏ สมเด็จพระบรมสุคตให้บุคคลทั้งหลายเห็นว่า ผีที่เขาบูชานั้น เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา เห็นกันจนผีเห็นคน คนเห็นผี ในเมื่อผีเหล่านั้น เห็นพระพุทธเจ้าก็มากราบพระพุทธเจ้า และแสดงว่า ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้า อันนี้ เองเป็นเหตุให้ผู้ได้เห็น เกิดมีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ฉะนั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเทศน์อะไรลงไปเขารับฟังทันที สมเด็จพระชินสีห์เทศน์จึงมีผลให้คน เป็นพระอริยเจ้า
    </DD>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <CENTER>โทณะพราหมณ์เป็นชาวนครปฐม</CENTER>

    <DD>หลังจากที่ พระพุทธเจ้านิพพานแล้ว มีพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อว่า โสณะพราหมณ์ เป็นพราหมณ์อยู่ที่ กุสินารามหานคร ชื่อเก่าของเขานะ "โสณะพราหมณ์" โสณะพราหมณ์ นี่จะแปลว่าอะไร ไม่ต้องพูด แต่ว่าเป็นพราหมณ์ที่บอกอรรถปัญหาแก่พระราชา เป็นปุโรหิต เป็นคนมีความรู้ดี พ่อแม่ ให้นามว่า "โสณะ ๆ"

    <SS>ต่อมา คนเรียกกันว่า โทณะพราหมณ์ "โทณะ" เขาแปลว่า "ทะนาน" ตอนที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุ แบ่งกันกับพระราชาเมืองอื่น ปรากฏว่า โทณะพราหมณ์ซ่อนพระเขี้ยวแก้วไว้ในผม พระอินทร์เห็นว่า ไม่สมควรกับโทณะพราหมณ์ จึงเอาพระเขี้ยวแก้วไปบรรจุที่พระจุฬามุนีเจดีย์สถาน บนชั้นดาวดึงส์เทวโลก

    <DD>ในเมื่อแจกของหมด แกก็มาคลำดู เห็นหายไปจากมวยผม จึงได้ขอทะนาน ที่ใช้สำหรับตวงพระบรมสารีริกธาตุเอาไปบูชา เป็นทะนานทอง ทะนานนี้ภาษาบาลี เขาเรียกว่า "โทณะ" เมื่อตาพราหมณ์คนนี้ แกรับทะนานมาแล้ว เขาจึงให้ชื่อว่า "พราหมณ์ทะนาน" หรือว่าพราหมณ์ผู้รับทะนาน

    <DD>ความจริงเมืองนครปฐม ที่เราเรียกกันว่า ทวาราวดี รู้จักกับพระพุทธเจ้า รู้จักกับพระอรหันต์ รู้จักกับพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่พระพุทธเจ้ายังอยู่ การเดินไปเดินมาจาก กรุงกบิลพัสดุ์มหานคร ถึงจังหวัดนครปฐม หรือทวาราวดี ใช้เวลาเดินจริงๆ ไม่เกิน 17 วัน

    <DD>พ่อค้าใช้เวลาเดินประมาณเดือนเศษๆ นับว่าใช้เวลานานเพราะ มีน้ำหนักมาก ถ้าลองนึกดูว่า คนสมัยนี้กับสมัยตอนที่ท่านเป็นหนุ่ม ใครมันเดินสู้กันได้ และสมัยที่ท่านเป็นหนุ่มก็เดินสู้คนเก่าๆ เขาไม่ได้ เขาเดินกันเป็นปกติ เป็นอันว่าการรอนแรมมาเป็นของไม่ยาก

    <DD>โทณะพราหมณ์เมื่อได้รับทะนานทองแล้ว ก็เดินทางมาสู่เมือง ทวาราวดี เพราะโดยปกติแกมาเสมอๆ มีที่หมู่บ้านหนึ่ง เขาเรียกว่า "บ้านพราหมณ์" ใกล้ ๆ กับ พระประโทน นั่นแหละ หมู่บ้านพราหมณ์ก็เป็นหมู่บ้านของอีตาโทณะพราหมณ์นั่นเอง เมื่อได้มาแล้ว แกก็ทำเจดีย์ ขึ้นเป็นองค์ย่อมๆ บรรจุทะนาน ที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุไว้ ณ ที่นั้นแล้วก็ทำการบูชาเป็นอันว่า พระประโทนนี่ก็ก่อนพระปฐมเจดีย์องค์ใหญ่

    <DD>การที่พระอริยสงฆ์สมัย พระมหินทรเถระ ประกาศพระศาสนา ก็เดินทางมาขึ้นที่จังหวัดนครปฐมก่อน เป็นจุดแรกที่พระพวกนั้น มาปักหลัก นำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ แต่ความจริงพระพุทธศาสนาได้มีมาก่อนนั้นอย่างที่เล่ามาแล้ว เป็นแต่เพียงท่านทั้งหลายเอาพระไตรปิฎกที่เขียนเป็นหนังสือมายืนยันว่า คำสอนของพระพุทธเจ้าน่ะมี ตำรา ไม่ใช่จำกันเฉยๆ

    (หมายเหตุ : "พระมหินทรเถระ" เป็นพระโอรสสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ได้นำพระพุทธศาสนาไปที่ประเทศศรีลังกา ส่วน พระโสณะ พระอุตตระ เดินทางมาในประเทศไทย เมื่อปี 235 หลังสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 3)

    <DD>แล้วบรรดาพระอรหันต์เหล่านั้น ก็มาประกาศชักจูงให้เจริญความดี ตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความจริงการเอาความดี มาเสริม ความดีที่มีอยู่แล้วมันก็เป็นของไม่ยาก ถ้าจะพูดกันไปจริงๆ ในเขตสุวรรณภูมิส่วนนี้ ก็ถือว่ามีพระสำรองอยู่แล้ว คือพระอรหันต์ และพระอริยะเจ้าทั้งหลาย

    <DD>เมื่อพระอรหันต์มาพบพระอรหันต์ด้วยกันเข้า ของมันก็ไม่ยาก อ่านตำรับตำราทบทวนกันเดี๋ยวเดียวเห็นว่าใช้ได้ ต่างคนต่างก็ลอกเอาเป็นแบบเป็นแผนไป เพื่อให้เป็นพื้นฐานแน่นอน เพื่อสอนแก่บรรดาประชาชนทั้งหลาย และคนส่วนใหญ่ในเมืองนี้ ก็นับถือพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ดังนั้น จังหวัดนครปฐม จึงต้องถือว่าเป็นเมืองแม่ในการประกาศพระศาสนา..."
    </DD>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตำนานพระธาตุพนม (อุรังคนิทาน)

    [​IMG]

    <DD>ตาม “ตำนานพระธาตุพนม” ตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “..องค์พระธาตุพนมซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดนครพนมนั้น สร้างครั้งแรกในราว พ.ศ. ๘ ในสมัยอาณาจักรศรีโคตบูรกำลังเจริญรุ่งเรืองอยู่ โดยท้าวพระยาทั้ง ๕ และพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ อันมี พระมหากัสสปะเถระเจ้าเป็นประธาน ได้สร้างขึ้นเมื่อวันเพ็ญเดือน ๑๒ พุทธศักราชล่วงไปได้ ๗ ปี ๗ เดือน….”

    <DD>ลักษณะการก่อสร้างในสมัยแรกนั้น ใช้ดินดิบก่อขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม แล้วเผาให้สุกทีหลัง กว้างด้านละ ๒ วาของพระมหากัสสปะ สูง ๒ วา ข้างในเป็นโพรง มีประตูเปิดทั้ง ๔ ด้าน เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้อัญเชิญ “พระอุรังคธาตุ” ของพระพุทธเจ้าที่พระมหากัสสปะเถระนำมาจากประเทศอิเนเดีย ประดิษฐานไว้ข้างใน แล้วปิดประตูทั้ง ๔ ด้าน แต่ยังปิดไม่สนิททีเดียว ยังเปิดให้คนเข้าไปสักการะบูชาได้อยู่บางโอกาส

    <DD>ในตำนานพระธาตุพนมบอกว่า "ยังมิได้ฐานปนาให้สมบูรณ์" นี้ก็หมายความวว่า ยังมิได้ปิดประตูพระธาตุให้มิดชิดนั่นเอง พึ่งมาสถาปนาให้สมบูรณ์ในราว พ.ศ. ๕๐๐ ซึ่งจังหวัดนครพนมปัจจุบันในยุคนั้นคือ อาณาจักรโคตรบูรณ์ โดยมี “นครเรณู” เป็นราชธานี ยุคนั้นเป็นยุคละว้า ต่อมาเมื่อพวกขอมเป็นใหญ่ เลยเปลี่ยนเป็นนครพนมมาจนทุกวันนี้ ในการสร้างพระธาตุพนมในครั้งนั้น มีพระราชา ๕ นครเป็นผู้อุปถัมภ์ในการสร้างคือ

    <DD>๑. นครโคตรบูร หรือ “อำเภอเรณู” ในจังหวัดนครพนมในปัจจุบัน อันมี พระยานันทเสน เป็นเจ้าเมือง

    <DD>๒. นครจุลณี นครนี้สร้างในราว พ.ศ. ๒๕๐ ต่อมาได้ถูกพวกเวียตนามทำลาย และได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “ตังเกี๋ย” อันมีฮานอยเป็นเมืองหลวง อันมี พระยาจุลณีพรหมทัต เป็นเจ้าเมือง

    <DD>๓. นครสังขปุระหรือ "นครอินทปัตถ์" ซึ่งมี พระยาอินทปัตถนคร เป็นผู้ครองนคร ต่อมาในราว พ.ศ. ๑๔๓๒ พระเจ้ายโสวรมันได้เปลี่ยนเป็น “กัมพูปุระ” หรือ “ยโสธรปุระ” ต่อมาในราว พ.ศ. ๑๔๘๗ พระเจ้าราเชนทร์วรมันที่ ๒ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "นครทม" ถัดมาในราว พ.ศ.๑๖๕๕–๑๗๐๕ ในสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๒ (พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์) "นครวัด" ได้สร้างขึ้นในราว พ.ศ. ๑๖๒๘

    <DD>๔. นครหนองหารหลวง คือจังหวัด “สกลนคร” ในปัจจุบัน มี พระยาสุวรรณภิงคาร เป็นเจ้าเมือง

    <DD>๕. นครหนองหารน้อย ปัจจุบันคือ “ตำบลน้ำฆ้อง” ในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี มี พระยาคำแดง เป็นเจ้าเมือง

    <DD>ในครั้งที่พระมหากัสสปเถระ มาเป็นประธานในการสร้างพระธาตุนครพนมนั้น เป็นยุคของพวกละว้าและไทยเป็นใหญ่มาก่อนขอม และมีอาณาจักรใหญ่อยู่ ๔ อาณาจักรคือ

    ๑. อาณาจักรโคตรบูรณ์ คือ “อำเภอเรณู” ในปัจจุบัน

    ๒. อาณาจักรสยัมภูปุระ หรือ “สยาม” มีนคร “ชะเลียง” หรือสวรรคโลกเป็นราชธานี

    ๓. อาณาจักรทวาราวดี คือ “นครปฐม” ในปัจจุบัน

    ๔. อาณาจักรโยนก - เชียงแสน (ยางคปุระ) มี "นครเงินยาง” หรือ "นครเชียงลาว” เป็นราชธานี และอาณาจักรนี้เป็นต้นเค้าของ “อาณาจักรเชียงแสน”


    ที่มา - http:// blog.eduzones.com/tambralinga/print.php
    </DD>
     

แชร์หน้านี้

Loading...