ประสบการณ์โลกทิพย์ในการออกธุดงค์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 10 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    กลายเป็นเสือเย็น

    ครั้งหนึ่ง พระอาจารย์มั่นกับพระลูกศิษย์หนึ่ง ได้เดินธุดงค์ข้ามเขาหลายลูก และไปพักอยู่ชายเขาแห่งหนึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านชาวเขาราวสองกิโลเมตร โดยพักอยู่ใต้ร่มไม้ เวลาฝนตกลงมาก็เปียกโชกแต่ก็ทนเอาไม่เดือนร้อนไม่สนใจเพราะทนได้

    ตอนเช้าพากันเข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวเขา พวกชาวเขาเห็นท่านเข้าไปบิณฑบาตก็ถามว่า ตุ๊เจ้ามาธุระอะไร? ท่านบอกว่ามา
    บิณฑบาต เขาถามว่า มาบิณฑบาตคืออย่างไร? พวกเขาไม่เขาใจ เขาเคยรู้จักพระเหมือนกัน แต่ไม่รู้จักขนบธรรมเนียมของพระ ท่านบอกว่าบิณฑบาตก็คือพระมาขอแบ่งข้าวจากชาวบ้านไปกิน เขาถามว่าจะเอาข้าวสารหรือข้าวสุก? ท่านตอบว่าข้าวสุก

    เขาก็บอกกันต่อ ๆ ไปให้เอาข้าวสุกมาใส่บาตรท่าน เมื่อได้ข้าวแล้วท่านก็พาพระลูกศิษย์กลับมายังร่มไม้ที่พัก และฉันข้าวเปล่า ๆ อยู่นานวัน ขณะที่ท่านพักอยู่ใต้ร่มไม้ใกล้หมู่บ้านแห่งนี้พวกเขาใส่บาตรให้ก็จริง แต่พวกเขาไม่มี ความเลื่อมใสและไว้ใจท่านเลย พอตกกลางคืนหัวหน้าชาวบ้านตีเกาะนัดให้ชาวบ้านมาประชุมกันแล้วประกาศว่า ขณะนี้มีเสือเย็นสองตัว (หมายถึงพระอาจารย์มั่นและพระลูกศิษย์) มาพักอยู่ที่ป่าใกล้หมู่บ้าน

    คำว่า “เสือเย็น” หมายถึง “เสือสมิง” นั่นเอง ขอให้ชาวบ้านทั้งหลายอย่าได้ไว้ใจเสือเย็นสองตัวนี้ มันแปลงเป็นพระจะมาจับพวกเราไปกินเป็นอาหารห้ามไม่ให้เด็กและผู้หญิงเข้าไปในป่าเป็นอันขาด แม้ผู้ชายจะเข้าไปในป่าก็ควรจะมีพรรคพวกเป็นเพื่อนไปด้วยหลาย ๆ คนและต้องมีอาวุธป้องกันตัวไปด้วย ไม่ควรเดินป่าตัวคนเดียวเป็นอันขาดจะมีอันตรายถูกเสือเย็นสองตัวตะครุบกัดกิน ขณะที่ชาวบ้านประชุมกันอยู่นี้ พระอาจารย์มั่นกำลังนั่งเข้าสมาธิภาวนาอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณสองกิโลเมตร พระอาจารย์มั่นสามารถทราบได้ทุก
    ถ้อยคำที่พวกเขาพูดกัน โดยทราบด้วยญาณวิเศษหูทิพย์ตาทิพย์

    ท่านบังเกิดความสลดสังเวชใจอย่างยิ่ง เพราะไม่เคยคาดฝันมาก่อนว่า ตนจะถูกเพ่งเล็งเป็นพระประเภทเสือเย็นหรือเสือสมิงกินคนดัง
    คำกล่าวหา ท่านก็หาได้รู้สึกโกรธเคืองไม่ แต่กลับเกิดเมตตาจิตสงสารพวกเขาที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ กลัวชาวบ้านที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยจะพลอยหลงเชื่อไปตามคำกล่าวหาของหัวหน้าหมู่บ้าน ซึ่งจะพลอยเป็นบาปกรรมไป ๆ กัน เพราะการกล่าวหาพระอริยเจ้าผู้ทรงธรรมวิเศษสูงสุดในพระศาสนาจะต้องได้รับกรรมหนัก เมื่อตายจากชาตินี้ไปแล้ว พวกเขาจะไปเกิดเป็นเสือกันทั้งหมู่บ้าน


    พอตื่นเช้าขึ้นพระอาจารย์มั่นก็รีบบอกพระลูกศิษย์ที่อยู่ด้วยให้ทราบว่า เมื่อคืนนี้พวกชาวบ้านประชุมกัน เขาว่าเราทั้งสองนี้เป็นเสือเย็นเสือสมิงปลอมแปลงตัวเป็นพระมาหลอกลวงอย่างแยบยลลึกลับเพื่อให้พวกเขาตายใจหลงเชื่อถือ ได้โอกาสเมื่อไรเราจะจับตัวพวกเขากินเป็นอาหารแน่ ๆ ถ้าหากเราทั้งสองหนีไปจากที่นี่เสีย เพื่อให้พวกเขาสบายใจ เวลาพวกเขาตายไปก็จะพากันเกิดเป็นเสือทั้งหมู่บ้านซึ่งนับเป็นกรรมไม่เบาแก่พวกเขาเลย


    ดังนั้น เพื่อความอนุเคราะห์เขาซึ่งควรแก่สมณะกิจที่เราพอทำได้ เราควรอดทนอยู่ที่นี่ต่อไปก่อน เพื่อหาทางโปรดพวกเขาแม้เราจะทุกข์ยากลำบากอย่างไรก็ขอให้ทนเอา พระลูกศิษย์ ก็ตอบว่า แล้วแต่พระอาจารย์จะเห็นสมควร กระผมไม่ขัดข้องขอรับ เป็นอันตกลงกันได้ว่า จะอยู่ที่นั่นต่อไป พวกชาวเขาได้จัดเวรยามครั้งละ 3 – 4 คน มีอาวุธมีดพร้าขวานแหละหน้าไม้ ให้มาคอยเฝ้าจับตาดูความเคลื่อนไหวของพระอาจารย์มั่นแหละพระลูกศิษย์อยู่ใกล้ ๆ ที่พักอยู่ตลอดเวลาทั้งวันและทั้งคืนเป็นผลัด ๆ

    ไม่ว่าท่านจะเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิภาวนา พวกเขาจะคอยสอดส่ายสายตาจับตาดูความเคลื่อนไหวไม่ยอมให้คลาดสายตาไปได้เลย
    ไม่พูดไม่จาไม่ไถ่ถามอะไรทั้งนั้น เอาแต่จ้องมองทมึงทึงท่าเดียว แต่เวลาเข้าไปบิณฑบาตพวกเขาก็ใส่ให้อย่างเสียไม่ได้ ใส่ให้ด้วยความเกรงกลัวต้องการเอาใจไว้บ้างมากกว่า ถ้าไม่ใส่บาตรให้เสียเลย เดี๋ยวเสือเย็นจะโกรธใหญ่หาเรื่องทำร้ายเอาได้ง่าย ๆ

    เหตุการณ์เป็นไปอย่างนี้อยู่หลายวันทีเดียว บรรยากาศภายในหมู่บ้าน ตึงเครียดมาก แต่พระอาจารย์มั่นก็หาได้หวั่นไหวไม่ ท่าน
    กำหนดวาระจิตตรวจสอบดูจิตใจชาวบ้านทุกคนอยู่ทุกระยะ ในที่สุดหัวหน้าหมู่บ้านก็จัดให้มีการประชุมขึ้นอีก ได้มีการปรึกษาพิจารณาสถานการณ์ของหมู่บ้านอย่างเคร่งเครียดว่าจะเอายังไงกับพระสององค์นี้ต่อไป

    พวกเวรยามที่มาคอยเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของพระอาจารย์มั่นได้รายงานว่า ไม่เห็นพระสององค์มีอะไรผิดแปลกเลย เห็นแต่ท่านนั่ง
    หลับตาบ้าง เดี๋ยวลุกขึ้นเดินไปเดินมาบ้าง นอนงีบเดียวแล้วก็ลุกขึ้นมาเดินอีก เดินพักหนึ่งแล้วก็นั่งหลับตา ไม่รู้ว่าท่านนั่งหลับตาทำไมและเดินกลับไปกลับมาหาอะไร จะหาว่าของหายก็ไม่เห็นหาเจอสักที (หมายถึงเห็นท่านเดินจงกรม) ถ้าพระสององค์นี้เป็นเสือเย็นจริง ๆ จะต้องไม่เป็นแบบนี้แน่ จะต้องหายตัวไปหากินหรือไม่ก็กลายร่างเป็นเสือไล่ขบกัดพวกเขาที่เฝ้าดูอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนแล้วเป็นแน่

    หัวหน้าหมู่บ้านได้ฟังดังนั้นก็นิ่งอึ้ง มีชาวบ้านผู้อาวุโสคนหนึ่งเป็นผู้เฒ่าของหมู่บ้าน เคยเข้าไปในเมือง รู้ขนบธรรมเนียมประเพณีคน
    เมืองอยู่บ้าง รู้จักพระสงฆ์องค์เจ้าปฏิบัติธรรมพอสมควร แกได้พูดขึ้นว่า

    " พระสององค์นี้เห็นจะเป็นพระจริง ๆ ไม่ใช่เสือเย็นปลอมแปลงมาหรอก พระพวกนี้ชอบท่องเที่ยวอยู่ในป่าปฏิบัติตัวเป็นนักบุญ การที่พวกเราชาวบ้านไปสงสัยและกล่าวหาพระสององค์นี้ว่าเป็นเสือเป็นสางน่ากลัวจะไม่ถูกต้องเสียแล้ว จะทำให้พวกเรามีบาปหนักผีป่าผีปู่ย่าตาทวดจะโกรธเอาเปล่า ๆ ทางที่ควรจะพากันไปพบพระสององค์นี้แล้วไถ่ถามเอาให้รู้ต้นสายปลายเหตุว่า มานั่งหลับตาทำไม มาเดินไปเดินมาหาอะไร บางทีท่านอาจจะเป็นตุ๊เจ้าผู้วิเศษมีของขลังของดีให้พวกเราก็ได้ อย่างครูบาศรีวิชัยพวกเราก็เคยได้ยินกิติศัพท์มาแล้วว่าท่านเป็นพระชอบอยู่ในป่าเป็นตุ๊เจ้าผู้วิเศษ เหาะเหินเดินอากาศได้ หายตัวได้
    ดำดินได้ พระสององค์นี้อาจจะเก่งเหมือนครูบาตรุ๊เจ้าศรีวิชัยก็ได้ " หัวหน้าหมู่บ้านเห็นด้วย ตกลงจะพาชาวบ้านไปถามไถ่ตุ๊เจ้าสององค์ในวันรุ่งขึ้นให้รู้เรื่องกัน

    ฝ่ายพระอาจารย์มั่นกำหนดวาระจิตตรวจสอบเหตุการณ์อยู่ไม่ประมาท ก็รู้ได้ด้วยญาณวิเศษทุกระยะ พอรุ่งเช้าขึ้นท่านก็รีบบอกพระลูกศิษย์ให้ทราบถึงเรื่องราวที่ชาวบ้านประชุมกันเมื่อคืนนี้ ให้เตรียมตัวคอยพบชาวบ้านไว้ให้ดี
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พุทโธหาย

    พอได้เวลาบ่ายวันนั้น ชาวบ้านก็พากันมาจริง ๆ พวกเขาถามว่า ตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ และเดินกลับไปกลับมาทั้งกลางวันกลางคืนมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว ตุ๊เจ้านั่งและเดินหาอะไร พระอาจารย์มั่นตอบว่า

    “พุทโธหาย เรานั่งและเดินหาพุทโธ”

    “พุทโธ เป็นตัวยังไง รูปร่างสูงต่ำดำขาวยังไงจะให้ชาวบ้านช่วยหาให้ได้ไหม” หัวหน้าหมู่บ้านถามด้วยความสงสัย

    พระอาจารย์มั่นตอบว่า “ พุทโธ ที่ว่านี้ เป็น ดวงแก้วอันวิเศษ สุดประเสริฐ ใครได้ไว้แล้วจะโชคดี ถ้าพวกสูจะช่วยเราหาให้พบก็ยิ่งดีใหญ่ จะได้เห็นพุทโธเร็ว ๆ”

    “พุทโธ ของตุ๊เจ้าหายมานานแล้วหรือ” ผู้เฒ่าอาวุโสของหมู่บ้านถามบ้าง

    “ไม่นานหรอก ถ้าพวกสูช่วยหาให้ยิ่งจะพบเร็วกว่าเราหาเพียงคนเดียว” พระอาจารย์มั่นตอบอย่างเป็นปริศนาธรรม

    “พุทโธ เป็นดวงแก้วใหญ่ไหม” หัวหน้าหมู่บ้านถาม

    “ไม่ใหญ่ไม่เล็ก พอดีกับเราและกับพวกสูนั่นแหละ ใครหา พุทโธ พบคนนั้นจะเป็นผู้ประเสริฐ มีตาทิพย์มองเห็นอะไรได้ตามใจหวัง” พระอาจารย์มั่นตอบ

    “มองเห็นนรกสวรรค์ได้ไหมตุ๊เจ้า”

    “มองเห็นซิ ถ้ามองไม่เห็นจะเรียกว่าเป็นดวงแก้ววิเศษได้ยังไง”

    “ลูกตาย เมียตาย ผัวตาย มองเห็นได้ไหมตุ๊เจ้า”

    “เห็นซี เห็นหมดทุกอย่างถ้าต้องการอยากเห็น”

    “ดวงแก้วพุทโธนี้สว่างมากไหมตุ๊เจ้า”

    “สว่างมาก สว่างยิ่งกว่าพระอาทิตย์ตั้งร้อยดวงพันดวงเพราะพระอาทิตย์ไม่สามารถส่องให้เห็นนรกสวรรค์ได้ แต่ดวงพุทโธสามารถส่องเห็นหมด” พระอาจารย์มั่นตอบอย่างอารมณ์ดี

    “ผู้หญิงช่วยหาดวงแก้วพุทโธได้ไหมตุ๊เจ้า ” เขาถาม

    “ได้ซี ผู้หญิงก็หาได้ เด็ก ๆ ก็ช่วยกันหาได้”

    “ดวงแก้วพุทโธประเสริฐในทางใดบ้าง กันผีได้ไหม”

    “ดวงแก้วพุทโธประเสริฐใช้ได้หลายทางจนนับไม่ถ้วน ผีสางเทวดาต้องยอมกราบพุทโธทั้งนั้น ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าดวงแก้วพุทโธ ผีกลัวพุทโธมากต้องกราบพุทโธ ใครหาพุทโธแม้ยังไม่พบ ผีก็เริ่มกลัวแล้ว”

    พระอาจารย์มั่นตอบยิ้ม ๆ

    “พุทโธเป็นดวงแก้วสีอะไรตุ๊เจ้า” หัวหน้าหมู่บ้านถาม

    “พุทโธเป็นดวงแก้วสว่างไสว มีหลายสีจนนับไม่ถ้วน พุทโธนี้เป็นสมบัติอันวิเศษของพระพุทธเจ้า พุทโธเป็นองค์แห่งความรู้สว่างไสวไม่เป็นวัตถุ พระพุทธเจ้าท่านมอบไวให้เราหลายปีแล้ว แต่เราเองยังหาพุทโธที่ท่านมอบให้ยังไม่เจอ ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน แต่จะอยู่ที่ไหนไม่สำคัญนัก ที่สำคัญก็คือ ถ้าพวกสูจะพากันช่วยเราหาพุทโธจริง ๆ ให้พากันนั่งหรือเดินนึกในใจว่าพุทโธ ๆ ๆ อยู่ภายในใจโดยเฉพาะ ไม่ให้จิตส่งออกนอกกาย ให้รู้อยู่กับคำว่าพุทโธเท่านั้น ถ้าทำอย่างนี้พวกสูอาจเจอพุทโธก่อนเราก็ได้”


    “การนั่งหรือเดินหาพุทโธจะให้นั่งหรือเดินนานเท่าไรถึงจะพบพุทโธแล้วหยุดได้ตุ๊เจ้า”


    “ให้นั่งหรือเดินเพียงชั่วหม้อข้าวเดือดจนสุกหรือนานกว่านั้นก่อน สำหรับผู้ตามหาพุทโธทีแรก พุทโธท่านยังไม่อยากจะให้เราตามหาท่านนานนัก กลัวจะเหนื่อยแล้วตามพุทโธไม่ทัน เดี๋ยวจะขี้เกียจเสียก่อน ทีหลังจะอยากตามหาท่านแล้วเลยจะไม่พบท่าน เอาเพียงเท่านี้ก่อน ถ้าอธิบายมากกว่านี้จะจำวิธีไม่ได้แล้วตามหาพุทโธไม่พบ”

    พระอาจารย์มั่นให้อรรถาธิบายพวกชาวป่าได้ฟังแล้วก็ชวนกันกลับไปโดยไม่มีการยกมือไหว้ร่ำลาอะไร เพราะเป็นนิสัยของชาวป่ายังงั้นเอง เมื่อพวกเขาจะไปก็ลุกไปเฉย ๆ พระอาจารย์มั่นก็กำหนดจิตติดตามดูความเคลื่อนไหว ต่อไปก็พบว่า เมื่อพวกเขาไปถึงหมู่บ้านแล้ว พวกชาวบ้านทั้งหลายก็แห่กันมารุมซักถามเป็นการใหญ่ หัวหน้าหมู่บ้านก็อธิบายให้ฟังตามที่พระอาจารย์มั่นสั่งสอนเรื่องดวงแก้วพุทโธ

    พวกชาวบ้านต่างก็ตื่นเต้นอยากจะได้ดวงแก้วพุทโธเอะอะกันใหญ่ เพราะเป็นของดีของวิเศษ ต่างก็พากันแยกย้ายไปฝึกหัดนึกท่องพุทโธในใจโดยทั่วกันไม่นึกอย่างอื่น นึกแต่คำว่าพุทโธ ๆ ๆ

    นับตั้งแต่หัวหน้าหมู่บ้านลงมาถึงผู้หญิงและเด็ก ๆ ที่พอจะรู้วิธีนึกท่องในใจหาพุทโธได้

    พวกชาวป่าวเป็นคนซื่อโดยกำเนิด ถ้าเชื่อเลื่อมใสศรัทธาอะไรแล้วก็คิดเลื่อมใสเลยไม่มีอะไรสงสัยข้องใจ จิตของพวกเขาจึงเข้าถึงสมาธิได้รวดเร็วและเป็นที่อัศจรรย์ด้วยบารมีของพระพุทธเจ้า ปรากฏว่าไม่นานนัก ชาวป่าผู้หนึ่งซึ่งเดินท่องพุทโธนั่งท่องพุทโธตามหาดวงแก้วพุทโธนั้นบังเกิดประสบเข้ากับธรรมะ คือความสงบสุขทางใจด้วยอำนาจการนึกบริกรรมพุทโธตามวิธีสมาธิแยบยลที่พระอาจารย์มั่นใช้อุบายสอน เขารีบวิ่งออกจากหมู่บ้านมาเล่าให้พระอาจารย์มั่นฟังว่าก่อนหน้า 3 – 4 วันที่เขาจะประสบกับดวงแก้วพุทโธนั้น ได้นอนหลับและฝันไป ฝันเห็นพระอาจารย์มั่นเอาเทียนใหญ่จุดไฟสว่างไสวไปติดไว้บนศีรษะเขา ทำให้ร่างกายของเขาสว่างไสวไปหมดเขาดีใจมาก มีความสุขทางใจอย่างบอกไม่ถูก

    พระอาจารย์มั่นจึงได้เมตตาแนะนำสั่งสอนเพิ่มเติมให้ฝึกขั้นสูงต่อไปโดยลำดับ ปรากฏว่าเขาไปฝึกอยู่ได้ไม่กี่วันก็เข้าถึงสมาธิขั้นสูงสามารถบังคับดวงแก้วพุทโธให้สว่างไสวใหญ่และเล็กได้ ให้เป็นไปตามต้องการได้จนเกิดอำนาจจิตอภิญญาสามารถล่วงรู้ใจผู้อื่นได้ว่า ใจของใครคิดอะไร มีความเศร้าหมองและผ่องใสเพียงใด แถมยังบอกพระอาจารย์มั่นอย่างซื่อ ๆ ตรงไปตรงมาว่าเขาสามารถรู้เห็นสภาพจิตของพระอาจารย์มั่นและพระที่อยู่ด้วยได้อย่างชัดเจน

    พระอาจารย์มั่นหัวเราะชอบใจจึงถามเป็นเชิงเล่น ๆ ว่า " จิตของเราเป็นยังไง มีบาปไหม? "

    เขารีบตอบทันทีว่า " จิตของตุ๊เจ้าไม่มีจุดไม่มีดวงเหลืออยู่แล้ว มีแต่ความสว่างไสวน่าอัศจรรย์เหมือนดาวประกายพรึกลอยสุกปลั่งอยู่ในอก ตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลกไม่มีใครเสมอเหมือน เฮาบ่ เคยเห็น แหม.....ตุ๊เจ้ามาอยู่ที่นี่นานตั้งร่วมปีแล้ว ทำไมไม่สอนเฮาบ้างก๊าแต่แรกมาอยู่ "

    (ก๊า แปลว่า เล่าหรืออะไร ๆ ได้อีกหลายอย่าง เป็นคำเหนือติดท้ายประโยคได้ทั้งคำถามคำตอบ)

    พระอาจารย์มั่นตอบว่า จะให้เราสอนได้อย่างไรก็ไม่เคยเห็นพวกสูมาศึกษาไต่ถามเรานี่นา เขาตอบว่า เอาบ่ฮู้ก๊าว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้วิเศษ ถ้าฮู้ เฮาจะทนอยู่ได้อย่างไร ต้องรีบแล่นมาหาแน่ ๆ ทีนี้พวกเฮาฮู้แล้วว่าตุ๊เจ้าเป็นคนฉลาดมาก เวลาพวกเฮามาถามว่าตุ๊เจ้านั่งหลับตานิ่ง ๆ และเดินกลับไปกลับมาทำไม กำลังหาอะไรหรือ ? ตุ๊เจ้าก็บอกพวกเฮาว่า พุทโธหาย กำลังหาพุทโธ ขอให้พวกเฮาช่วยตามหาที

    เมื่อถามถึงพุทโธเป็นลักษณะอย่างไร ตุ๊เจ้าก็บอกว่าเป็นดวงแก้ววิเศษสว่างไสวความจริงตุ๊เจ้าเป็นพุทโธอยู่แล้ว มิได้ทำให้พุทโธสูญหายไปไหน แต่เป็นอุบายอันฉาดของตุ๊เจ้าที่เมตตาสงสารพวกเฮาชาวป่าชาวดอย ให้พวกเฮาภาวนาพุทโธเพื่อให้จิตพวกเฮาสว่างไสวเหมือนจิตตุ๊เจ้าต่างหาก เฮาฮู้แล้วว่าตุ๊เจ้าเป็นผู้ประเสริฐเฉลียวฉลาดปรารถนาให้พวกเฮาได้บุญใหญ่ มีความสุข พบพุทโธดวงแก้วประเสริฐที่ใจตัวเอง มิใช่ให้หาพุทโธให้ตุ๊เจ้าเลย !


    อนึ่ง....ที่ชาวป่าผู้บรรลุสมาธิเข้าถึงฌานขั้นสูงนี้จนเกิดอำนาจจิตอภิญญาสามารถรู้เห็นจิตใจผู้อื่นได้ แต่โดยความเป็นจริงแล้ว เขาไม่สามารถจะรู้เห็นสภาวะจิตใจของผู้ที่มีภูมิธรรมสูงกว่าได้เลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอาจารย์มั่นซึ่งเป็นพระอริยเจ้าชั้นสูง แต่ที่เขาสามารถเห็นสภาวะจิตของพระอาจารย์มั่นเป็นดวงแก้วประกายพรึกได้นั้นเป็นเพราะพระอาจารย์มั่นยินยอมให้เห็นได้



    ดังนั้นจึงมีหลักอยู่ว่า ผู้ได้ตาทิพย์และเจโตปริยญาณสามารถล่วงรู้วาระจิตของผู้อื่นได้นั้น จะรู้ได้ในระดับจำกัดตามขั้น
    ภูมิธรรมของตนเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้สำเร็จฌานโลกีย์ได้อภิญญา จะไม่สามารถใช้อำนาจอภิญญาของตนตรวจสอบวาระจิตของพระอริยะเจ้าได้เลย ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะให้รู้ในทำนองเดียวกัน พระอริยเจ้าขั้นโสดาบันที่สำเร็จฌานโลกีย์มาก่อนและได้อภิญญา ไม่สามารถจะตรวจสอบวาระจิตของพระอริยเจ้าที่มีอันดับขั้นสูงกว่าได้ เพราะถูกอำนาจวิปัสสนาญาณซึ่งเป็นธรรมวิเศษหรือโลกุตราธรรมสูงสุดสกัดกั้นอำนาจอภิญญาจิตระดับฌานโลกีย์ไว้นั่นเอง แต่ก็สามารถจะรู้วาระจิตของผู้ที่ภูมิธรรมระดับเดียวกันได้และผู้ที่ต่ำกว่าได้แต่จะรู้สูงกว่าตนไม่ได้ นี่เป็นกฎตายตัวเกี่ยวกับอำนาจอภิญญาทั้ง 6 ประการ


    ดังเคยมีตัวอย่าง โยคีในลัทธิฮินดู สำเร็จฌานชั้นสูงและได้อภิญญา แสดงฤทธิ์ได้หลายประการ แต่ก็ต้องยอมพ่ายแพ้พระอริยเจ้าที่ทรงอภิญญาฝ่ายพระพุทธศาสนา เพราะอภิญญาจิตของโยคีนั้นอยู่ระดับฌานโลกีย์เท่านั้น แต่อภิญญาของพระอริยเจ้านั้นสูงกว่าเพราะมีวิปัสสนาฌานซึ่งเป็นธรรมวิเศษพ้นโลกอยู่เหนือโลกช่วยทำให้อภิญญาจิตมีความสมบูรณ์สูงสุดเต็มขั้นภูมิทรงความสุดยอดด้วยประการทั้งปวงนั่นแล
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พบพุทโธวิเศษ

    ทีนี้นับตั้งแต่ชาวป่าคนนั้นได้เห็นพุทโธหรือธรรมกายในใจตนเองแล้ว เรื่องก็กระจายไปทั่วหมู่บ้านในไม่ช้า ทำให้ชาวบ้านต่างก็พากันเร่งภาวนาพุทโธไปตาม ๆ กันเพราะอยากจะได้ดวงแก้วพุทโธบ้าง เพราะเกิดความเชื่อถือเลื่อมใสพระอาจารย์มั่นมาก เรื่องที่สงสัยว่าท่านจะเป็นเสือเย็นหรือเสือสมิงก็หายไป ไม่มีใครกล้ากล่าวถึงอีกเลย


    นับแต่นั้นมา เวลาท่านออกบิณฑบาตพวกชาวบ้านต่างก็พากันใส่บาตรเป็นแถวและติดตามส่งบาตรรพากันขอศึกษาธรรมเพิ่มเติมกับท่านทุกวัน อาหารการขบฉันที่เคยขาดแคลนก็กลายเป็นความสมบูรณ์ขึ้น ชาวป่ายังช่วยกันสร้างกระท่อมมุงหลังคาใบไม้ให้เป็นกุฏิที่พักถากถางป่ารกรุงรังให้เป็นที่เดินจงกรม ปัดกวาดคลานกุฏิให้สะอาดกว้างขวางน่าอยู่อาศัยกว่าเดิม

    ลงพวกชาวป่าได้เชื่อถือและเคารพศรัทธาเลื่อมใสแล้วเป็นต้อง นับถืออย่างถึงใจจริง ๆ ถึงไหนถึงกัน เป็นก็เป็นด้วยกัน ตายก็ตายด้วยกัน แม้ชีวิตของพวกเขาก็ยอมสละได้ พระอาจารย์มั่นพูดอะไร พวกเขาเชื่อฟังและเคารพอย่างถึงใจ
    การบริกรรมภาวนาหาพุทโธ ท่านได้ค่อย ๆ สอนให้เขยิบขึ้นไปตามขั้นตามนิสัยของแต่ละคนซึ่งมีสติปัญญาไม่เหมือนกัน คนไหนฉลาดก็ได้รับการสอนวิปัสสนาสอดแทรกควบคู่ไปด้วยอุบายแปลก ๆ อันชาญฉลาดแยบยลให้เกิดความรอบรู้ชำนาญขึ้นตามลำดับ




    ชั่วเวลาไม่นาน ชาวบ้านหลายคนก็สำเร็จทางในได้พบดวงแก้วพุทโธเพิ่มขึ้นหลายคน ปีนั้นท่านเลยต้องจำพรรษาอยู่ที่นั่น ไปไหนไม่ได้ เพราะชาวป่าไม่ยอมให้ไป รวมเวลาแล้วนับปีกว่า
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    จำจากลา

    ครั้นเห็นว่าได้เวลาที่จะธุดงค์ต่อไป ตามวิสัยพระกรรมฐานไม่ควรจะอยู่ที่ใดที่หนึ่งนานเกินควร ยึดมั่นถือมั่นติดสถานที่ ชาวบ้านก็พากันร้องห่มร้องไห้ช่วยกันฉุดรั้งท่านไว้ทุลักทุเลไม่ยอมให้จากไป พวกเขาบอกว่าถ้าพระอาจารย์มั่นตายลงไปพวกเขาจะเผาศพเองให้สมเกียรติ พวกเขาขอมอบชีวิตตายด้วยกับท่าน ขออย่าได้ไปอยู่ที่อื่นเลย จงอยู่กับพวกเขาตลอดไปชั่วชีวิตเถิด อยู่เพื่อเป็นดวงแก้วพระพุทโธปกป้องคุ้มครองพวกเขาตลอดไป เป็นหลักชัยเป็นบุญกองใหญ่ของพวกเขา


    พระอาจารย์มั่นบังเกิดความสงสารสังเวชใจ กับความรักความเลื่อมใสศรัทธาของชาวป่าที่มีต่อท่านอย่างลึกซึ้งใหญ่หลวง ท่านได้พยายามชี้แจงเหตุผลที่จำต้องจากพวกเขาไปปลอบโยนไม่ให้เศร้าเสียใจจนเลยขอบเขตแห่งธรรม คือความพอดี

    ในที่สุดชาวบ้านก็เข้าใจ ยอมให้ท่านจากไปแต่แล้วสิ่งไม่คาดฝันกลับเกิดขึ้นอีก พอท่านออกเดินทางพวกชาวป่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้พากันวิ่งกรูเกรียวไปรุมล้อมท่านไว้ แย่งเอาบริขาร กลด บาตร กาน้ำจากมือพวกที่ตามส่งท่าน แล้วเข้ารุมกอดแข้งกอดขา พระอาจารย์มั่นดึงกลับที่พักร้องห่มร้องไห้อื้ออึงวุ่นวายโกลาหลไปหมด ไม่ยอมให้จากไป ทำเอาพระอาจารย์มั่นอ่อนอกอ่อนใจ ต้องกลับมาแสดงเหตุผลปลอบโยนใจชาวบ้านอีกพักใหญ่ แล้วจึงออกเดินทางต่อไป แต่ก็ถูกชาวบ้านวิ่งตามกอดแข้งกอดขาร้องห่มร้องไห้อีกไม่ยอมให้ไป

    เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ทุลักทุเลอยู่หลายชั่วโมง เสียงร้องไห้ระเบ็งเซ็งแซ่วุ่นวายฉุกระหุกไปทั้งป่า เป็นที่น่าสมเพชเวทนาเอานักหนา กว่าพระอาจารย์มั่นจะจากมาได้ก็แทบแย่ ถึงกระนั้นพวกเขาก็ยังตามส่งมาเป็นระยะทางอันไกลร้องไห้พิไรรำพันว่า เมื่อตุ๊เจ้าไปแล้วให้รีบกลับคืนมาหา พวกเราอีก อย่าอยู่นาน พวกเฮาคิดถึงตุ๊เจ้าแทบอกจะแตกตายอยู่เดี๋ยวนี้แล้วก๊า

    พระอาจารย์มั่นเต็มไปด้วยความสงสารสังเวชใจ แต่ก็เป็นสิ่งสุดวิสัยของโลก อนิจจัง จำมาจำต้องพรากเพราะการ พลัดพรากแปรผันเป็นสายเดินแห่งคติธรรมดา ไม่มีผู้ใดสามารถปิดกั้นหรือทำลายได้ แม้ท่านจะทราบอัธยาศัยของชาวป่าที่ศรัทธาเกี่ยวพันท่านอย่างหนักแน่นเปี่ยมล้นหัวใจก็จำต้องตัดใจจากไปตามวิถีทางจาริกของพระธุดงค์
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ออกจากป่า

    ประมาณเดือนพฤษภาคม 2482 ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี ซึ่งเป็นลูกศิษย์มาตั้งแต่เล็กได้เดินทางไปเชียงใหม่ เข้าพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง เพื่อรอพบพระอาจารย์มั่นที่จะออกมาจากบำเพ็ญธุดงควัตรในป่าตามที่ได้นัดหมายไว้ล่วงหน้าทางจดหมายหลายฉบับแล้ว เพื่ออาราธนาพระอาจารย์มั่นกลับคืนสู่แดนอีสานบ้านเกิดเมืองนอนเสียที เพราะพระอาจารย์มั่นจากมาหลายปีเต็มที ทำให้พระเณรและญาติโยมพุทธบริษัทคณะศรัทธาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายคิดถึงขาดที่พึ่งทางใจ เมื่อพระอาจารย์มั่นออกจากป่ามาถึงวัดเดีย์หลวงแล้วก็พักอยู่ 6 – 7 คืน
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดเจดีย์หลวง

    ขณะที่พระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงเตรียมจะเดินทางกลับอีสานนี้ คณะศรัทธาชาวเชียงใหม่ที่มีความเลื่อมใสในท่าน ได้พร้อมกันอาราธนานิมนต์ให้ท่านพักจำพรรษาอยู่นาน ๆ เพื่อโปรดชาวเชียงใหม่ แต่ท่านรับนิมนต์ไม่ได้ เพราะได้รับนิมนต์ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ไว้เรียบร้อยแล้วที่จะกลับคืนสู่อีสาน



    ดังนั้นคณะศรัทธาชาวเชียงใหม่และสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ซึ่งเวลานั้นเป็นพระราชกวี จึงได้อาราธนาพระอาจารย์มั่นให้แสดงธรรมในวันวิสาขะเป็นกัณฑ์ต้น เพื่ออาลัยสำหรับศรัทธาชาวเชียงใหม่ทั้งหลาย พระอาจารย์มั่นได้แสดงธรรมเป็นกรณีพิเศษถึง 3 ชั่วโมง เป็นที่ประทับฝังใจชาวเชียงใหม่อย่างลึกซึ้ง เมื่อเทศนาจบลงจาก ธรรมาสน์ เดินมากราบพระประธาน ท่านเจ้าคุณราชกวีได้กราบเรียนขึ้นว่า วันนี้พระอาจารย์ใหญ่เทศนาใหญ่ สนุกมาก ไพเราะเหลือเกินฟังกันเต็มที่สำหรับกัณฑ์นี้


    พระอาจารย์มั่นยิ้มแล้วตอบว่า กระผมเทศน์ซ้ำท้ายความแก่ชราของตนเอง ต่อไปจะไม่ได้กลับมาเทศน์ให้ชาวเชียงใหม่ฟังอีกแล้ว เวลานี้กระผมแก่เฒ่ามากแล้ว พระอาจารย์มั่นพูดนี้เหมือนเป็นนัยให้รู้ว่า ในชีวิตนี้จะไม่ได้กลับมาเชียงใหม่อีกแล้ว ซึ่งต่อมาก็เป็นความจริง
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สู่กรุงเทพ

    พระอาจารย์มั่นพักอยู่วัดเจดีย์หลวงพอควรแก่การแล้ว ก็ออกเดินทางลงมายังกรุงเทพฯ ก่อนเป็นจุดแรก ขณะออกจากวัดเจดีย์หลวง มีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พระราชกวี - ในเวลานั้น) และคณะพระผู้ใหญ่ ตลอดจนภิกษุสามเณรและคณะศรัทธาญาติโยมชาวเชียงใหม่ตามมาส่งถึงสถานีมากมาย


    พระอาจารย์มั่นเล่าว่ามีเทพยดาเป็นจำนวนมากตามมาส่งท่านถึงสถานีรถไฟเชียงใหม่แต่จะบอกให้ใครรู้ไม่ได้ เดี๋ยวคนเขาจะหาว่าท่านวิปลาส เอาเรื่องเหลวไหลมาพูด จึงเป็นเรื่องทิพยจักษุที่ท่านรู้ท่านเห็นแต่ผู้เดียวและเก็บไว้ในใจไม่บอกใคร เมื่อรถไฟเข้าถึงกรุงเทพฯ ได้เข้าพักที่วัดบรมนิวาสตามคำสั่งทางโทรเลขของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ที่นิมนต์ให้ท่านพระอาจารย์มั่นพักที่วัดนี้ก่อนเดินทางขึ้นอีสาน

    ในระยะที่พักอยู่วัดบรมนิวาส ปรากฏว่ามีคนมานมัสการและถามปัญหาธรรมมากมาย เพราะข่าวเล่าลือไปทั่วกรุงว่า
    พระอาจารย์มั่นเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบบรรลุธรรมวิเศษเป็นพระอรหันต์
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ปัญหานานา

    ปัญหาที่คนนำมาถามนั้นมีแปลก ๆ และพิสดาร บางคนคุยว่า เคยถามปัญหาธรรมเอาจนพระมหาเถระเปรียญ 9 หงายหลังจนมุมมาแล้ว พระอาจารย์มั่นได้ตอบปัญหาธรรมเป็นที่น่าอัศจรรย์สร้างความพออกพอใจให้ทุกคนโดยทั่วหน้ากัน บางคนแก่เปรียญเป็นจอมปราชญ์เจ้าตำราถือทิฏฐิมานะหวังจะตั้งปัญหาให้พระอาจารย์มั่นจนมุม ด้วยเห็นว่า
    พระอาจารย์มั่นเป็นพระป่าพระบ้านนอกไม่รู้ภูมิรู้เหมือนตน
    แต่ก็ถูกพระอาจารย์มั่นตอกเอาจนหน้าม้านไปเหงื่อไหลซิก ๆ เพราะนอกจากจะสามารถโต้ตอบปัญญาธรรมได้อย่างรวดเร็ว คล่องแคล่ว อาจหาญ ในธรรมจนแทบฟังไม่ทันแล้ว ท่านยังใช้เจโตปริยญาณพูดดักใจ

    สามารถล่วงรู้ได้หมดว่าผู้ถามปัญหากำลังคิดอะไรอยู่และในอดีตเคยคิดอะไรบ้าง เคยทำอะไรมาบ้างในด้านปฏิบัติธรรม พอเจอคนจริงเข้าแบบนี้ คนถามปัญหาก็หมดสิ้นทิฏฐิมานะนั่งตัวสั่นขอขมาโทษท่านด้วยความละอาย และเกรงกลัวบารมีธรรมของท่านแทบว่าจะเป็นลมสลบไปต่อหน้าท่านเสียให้ได้
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ว่ากันเรื่องศีล

    ปัญหาหนึ่งที่มีผู้ถามท่านเป็นปัญหาแปลกมีใจความว่า

    “ได้ทราบว่าท่านพระอาจารย์มั่นรักษาศีลข้อเดียว มิได้รักษาถึง 227 ข้อเหมือนพระทั้งหลายที่รักษากันใช่ไหมขอรับ”

    “ใช่....อาตมารักษาศีลเพียงอันเดียว” พระอาจารย์มั่นตอบ

    “ที่ท่านรักษาศีลเพียงอันเดียวคืออะไร ส่วนอีก 227 อันนั้นท่านพระอาจารย์ไม่ได้รักษาหรือ”

    ผู้ตั้งปัญหาเรียนถาม

    ท่านพระอาจารย์มั่นได้เมตตาตอบว่า “อาตมารักษาใจไม่ให้คิด พูด ทำ ในทางผิด อันเป็นการล่วงเกินข้อห้ามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ จะเป็นศีล 227 หรือมากกว่านั้นก็ตาม บรรดาเป็นข้อทรงบัญญัติห้าม อาตมาก็เย็นใจว่าตนมิได้ทำผิดต่อพุทธบัญญัติ ส่วนท่านผู้ใดจะว่าอาตมารักษาศีล 227 หรือไม่นั้น สุดแต่ผู้นั้นจะคิดจะพูดเอาตามความคิดของตน เฉพาะอาตมาได้รักษาใจอันเป็นประธานของกายวาจาอย่างเข้มงวดกวดขันตลอดมานับแต่เริ่มอุปสมบท”

    “การรักษาศีลต้องรักษาใจด้วยหรือขอรับ” ผู้ถามซัก

    “ถ้าไม่รักษาใจจะรักษาอะไรถึงจะเป็นศีลเป็นธรรมที่ดีงามได้ นอกจากคนที่ตายแล้วเท่านั้นจะไม่ต้องรักษาใจ อาตมามิใช่คนตายจึงต้องรักษาใจให้เป็นศีลเป็นธรรมอยู่ตลอดเวลา” พระอาจารย์มั่นตอบ

    “กระผมได้ยินในตำราไว้ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อย เรียกว่าศีล จึงเข้าใจว่า การรักษาศีลไม่จำต้องรักษาใจก็ได้ กระผมจึงได้เรียนถามไปอย่างนั้น” ผู้ถามว่า

    “ที่ว่ารักษากายวาจาให้เรียบร้อยนั้นก็ถูก....” พระอาจารย์มั่นตอบ

    “.....แต่ก่อนกายวาจาจะเรียบร้อยเป็นศีลได้นั้น ต้นเหตุเป็นมาจากอะไร ถ้าไม่เป็นมาจากใจผู้เป็นนายคอยบังคับกายวาจาให้เป็นไปในทางที่ถูก เมื่อเป็นมาจากใจ ใจจะควรปฏิบัติอย่างไรต่อตัวเองบ้าง จึงจะเป็นผู้ควบคุมกายวาจาให้เป็นศีลเป็นธรรมที่น่าอบอุ่นแก่ตนเอง และน่าเคารพเลื่อมใสแก่ผู้อื่นได้ ไม่เพียงแต่ศีลธรรมที่จำต้องอาศัยใจเป็นผู้คอยควบคุมรักษาเลย แม้กิจการอื่น ๆ ก็จำต้องอาศัยใจเป็นผู้ควบคุมดูแลอยู่โดยดี การงานนั้น ๆ จึงจะเป็นที่เรียบร้อยไม่ผิดพลาด และทรงคุณภาพโดยสมบูรณ์ตามชนิดของมัน การรักษาโรค เขายังค้นหาสมุฏฐานของมันว่าจะควรรักษาอย่างไรจึงจะหายได้ การรักษาศีลธรรมถ้าไม่มีใจเป็นตัวประธานพาให้เป็น ผลก็คือ ความเป็นผู้มีศีลด่างพร้อย ศีลขาด ศีลทะลุ ความเป็นผู้มีธรรมที่น่าสลดสังเวช ธรรมพาอยู่ธรรมพาไปอย่างไม่มีจุดหมาย ธรรมบอธรรมบ้า ธรรมแตก ซึ่งล้วนเป็นจุดที่ศาสนาจะพลอยได้รับเคราะห์กรรมไปด้วยอย่างแยกไม่ออก ไม่เป็นศีลธรรมอันน่าอบอุ่นแก่ผู้รักษา ไม่น่าเลื่อมใสแก่ผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องบ้างเลย



    อาตมาไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก บวชแล้วอาจารย์พาเที่ยวอยู่ตามป่าตามเขา เรียนธรรมก็เรียนกับธรรมชาติ ต้นไม้ใบหญ้า แม่น้ำลำธาร หินผาหน้าถ้ำ เรียนไปกับเสียงนกเสียงกา เสียงสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ตามทัศนียภาพที่มีอยู่ตามธรรมชาติของมันอย่างนั้นเอง พิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้ตามความเป็นจริงของมัน

    ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมองดูทุกสิ่งทุกอย่างตามที่มันเป็นจริงเสมอเถิด

    ความจริงของธรรมชาติ สิ่งทั้งปวงก็คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ และความไม่มีตัวตนที่แท้จริง

    เมื่ออาตมารู้แจ้งแทงตลอดความจริงสามประการนี้แล้ว ปัญญาก็เกิดขึ้นแทนความเขลาได้ประจักษ์แจ้งว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น อาตมาไม่ค่อยจะได้เรียนในคัมภีร์ใบลานพอจะมีความรู้แตกฌานทางศีลธรรม

    การตอบปัญหาของคุณโยมในวันนี้อาตมาจึงตอบไปตามนิสัยของอาตมาที่ได้ศึกษาธรรมเถื่อน ๆ มาจากในป่าในดง อาตมารู้สึกจนปัญญาที่ไม่สามารถค้นหาธรรมที่ไพเราะเหมาะสมมาอธิบายให้คุณโยมฟังอย่างภูมิใจได้”
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    อย่าแยกศีล

    “ศีลมีสภาพเช่นไร พระคุณเจ้า” เขาถามอีก “.....อะไรเป็นศีลอย่างแท้จริง”
    “ความคิดในแง่ต่าง ๆ อันเป็นไปด้วยความมีสติ รู้สิ่งที่ควรคิดหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสามคอยบังคับ กาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติ ศีลที่เกิดจากการรักษาในลักษณะดังกล่าวมาชื่อว่ามีสภาพปกติ ไม่คะนองทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นกิริยาน่าเกลียด

    นอกจากความปกติดีงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มีศีลถือว่าเป็นศีลเป็นธรรมแล้ว ก็อยากจะเรียกให้ถูกว่าอะไรเป็นศีลเป็นธรรมที่แท้จริง เพราะศีลกับผู้รักษาศีลแยกกันได้ยาก

    ไม่เหมือนตัวบ้านเรือนกับเจ้าของบ้านเรือนซึ่งเป็นคนละอย่างที่พอจะแยกกันออกได้ไม่ยากนักว่า นั่นคือตัวบ้านเรือน นั่นคือเจ้าของบ้าน ส่วนศีลกับคนจะแยกจากกันอย่างนั้นเป็นการลำบากเฉพาะอาตมาแล้วแยกไม่ได้แม้แต่ผลคือความเย็นใจที่เกิดจากการรักษาศีลก็แยกกันไม่ออก”

    ถ้าแยกออกได้ศีลก็อาจกลายเป็นสินค้ามีเกลื่อนตลาดไปนานแล้ว และอาจจะมีโจรมาแอบขโมยศีลธรรมไปขายจนหมดเกลี้ยงจากตัวไปหลายรายแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ศีลธรรมก็จะกลายเป็นสาเหตุก่อความเดือดร้อนแก่เจ้าของเช่นเดียวกับสมบัติอื่น ๆ ทำให้พุทธศาสนิกชนเกิดความเอือมระอาที่จะแสวงหาศีลธรรมกัน เพราะได้มาแล้วก็ไม่ปลอดภัย


    ดังนั้นความไม่รู้ว่าเป็นอะไรเป็นศีลอย่างแท้จริง จึงเป็นอุบายวิธีหลีกภัยอันอาจเกิดแก่ศีลและผู้มีศีลได้ทางหนึ่งอย่างแยบยลและเย็นใจ อาตมาจึงไม่คิดอยากแยกศีลออกจากตัวแม้แยกได้ เพราะระวังภัยยาก แยกไม่ได้อย่างนี้รู้สึกอยู่สบาย ไปไหนมาไหนและอยู่ที่ใด ไม่ต้องเป็นห่วงว่าศีลจะหาย ตัวจะตายจากศีลแล้วกลับมาเป็นผีเฝ้ากองศีลเช่นเดียวกับคนเป็นห่วงสมบัติ ตายแล้วกลับมาเป็นผีเฝ้าทรัพย์ไม่มีวันไปผุดไปเกิด” พระอาจารย์มั่นให้อรรถาธิบาย
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ที่พึ่งแห่งตน

    วันหนึ่ง พระมหาเถระผู้ใหญ่ชั้นสมเด็จได้สั่งพระให้มาอาราธนานิมนต์พระอาจารย์มั่นให้ไปเฝ้าเพื่อที่จะสัมโมทนียกถาโดยเฉพาะ โดยปราศจากพระเณรเข้าไปเกี่ยวข้อง พระมหาเถระผู้ปราชญ์เปรื่องถามพระอาจารย์มั่นเป็นประโยคแรกว่า “ท่านอาจารย์มั่นชอบอยู่แต่ผู้เดียวในป่าในเขาไม่ชอบเกี่ยวข้องกังวลกับพระเณรตลอดจนฆราวาส เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาท่านไปศึกษากับใครจึงจะผ่านปัญหานั้น ๆ ไปได้ แม้ผมเองอยู่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยนักปราชญ์เจ้าตำรับตำราพอ
    ช่วยปัดเป่าข้อข้องใจได้ แต่ในบางครั้งบางคราวยังเกิดความงงงันอั้นตู้ไปได้ ไม่มีใครสามารถช่วยแก้ให้ตกไปได้เลย ยิ่งท่านอาจารย์มั่นอยู่เฉพาะองค์เดียวในป่าในเขาเป็นส่วนมากตามที่ผมได้ทราบมา เวลาเกิดปัญหาทางธรรมะขึ้นมา ท่านไปปรึกษาปรารถกับใคร หรือท่านจัดการกับปัญหานั้น ๆ ด้วยวิธีใด นิมนต์อธิบายให้ผมฟังด้วย”

    พระอาจารย์มั่นได้กราบเรียนตอบด้วยความนอบน้อมคารวะว่า

    “ขอประทานโอกาส เกล้ากระผมฟังธรรมและศึกษาธรรมอยู่ทั้งกลางวันกลางคืนไม่มีอิริยาบถว่าง นอกจากหลับไปเสียเท่านั้น พอตื่นขึ้นมาใจกับธรรมก็เข้าสัมผัสกันทันที ขึ้นชื่อว่าปัญหาแล้ว กระผมไม่มีเวลาที่หัวใจจะว่างอยู่เปล่า ๆ เลยมีแต่การถกเถียงโต้ตอบกันอยู่ทำนองนั้น ปัญหาเก่าตกไป ปัญหาใหม่เกิดขึ้นมา

    การถอดถอนกิเลสก็เป็นไปในระยะเดียวกันกับปัญหาแต่ละข้อตกไป ปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาก็เท่ากับรบกิเลสหน้าใหม่ ปัญหาทั้งใกล้ทั้งไกล ทั้งวงกว้างวงแคบ ทั้งวงในวงนอก ทั้งลึกทั้งตื้น ทั้งหยาบทั้งละเอียด ล้วนเกิดขึ้นและปะทะกันที่หัวใจ ใจเป็นสถานที่รบกับข้าศึกทั้งมวลและเป็นที่ปลอดเปลื้องกิเลสทั้งปวง ในขณะที่ปัญหาแต่ละข้อตกไป ที่จะมี
    เวลาไปคิดว่า เมื่อปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเราจะไปศึกษาปรารภกับใครนั้นกระผมมิได้สนใจคิดให้เสียเลา ยิ่งไปกว่าจะตั้งท่าฆ่าฟันห้ำหั่นกับปัญหา ซึ่งเป็นฉากของกิเลสแฝงมาพร้อมให้สะบั้นหั่นแหลกกันลงไปเป็นทอด ๆ และถอดถอนกิเลสออกได้เป็นพัก ๆ เท่านั้น จึงไม่วิตกกังวลกับหมู่คณะว่า จะมาช่วยแก้ไขปลดเปลืองกิเลสออกจากใจได้รวดเร็วยิ่งกว่าสติปัญญาที่ผลิตและฝึกซ้อมอยู่กับคนตลอดเวลา

    คำว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตนนั้น กระผมได้ประจักษ์กับใจตนเองขณะปัญหาแต่ละข้อเกิดขึ้น และสามารถแก้ไขกันลงได้ทันท่วงทีด้วยอุบายวิธีของสติปัญญาที่เกิดกับคนโดยเฉพาะ มิได้ไปเที่ยวคว้ามาจากตำราหรือคัมภีร์ใดในขณะนั้น แต่ธรรมคือสติปัญญาในหลักธรรมชาติ หากผุดออกรับออกรบและแก้ไขกันไปในตัวและผ่านพ้นไปได้โดยลำดับไม่อับจน

    แม้จะมีอยู่บ้างที่เป็นปัญหาลึกลับและสลับซับซ้อนที่จำต้องพิจารณากันอย่างละเอียดละออและกินเวลานานหน่อย แต่ก็ไม่พ้นกำลังของสติปัญญาที่เคยใช้ได้ผลมาแล้วไปได้ จำต้องทลายลงในเวลาหนึ่งจนได้
    ด้วยเหตุดังที่ได้กราบเรียนมา กระผมจึงมิได้สนใจใฝ่ฝันในการอยู่กับหมู่คณะเพื่ออาศัยเวลาเกิดปัญหาจะได้ช่วยแก้ไขแต่สนในใยดีต่อการอยู่คนเดียว ความเป็นผู้เดียวเปลี่ยวกายเปลี่ยวใจ เป็นสิ่งที่พอใจแล้วสำหรับกระผมผู้มีวาสนาน้อยแม้ถึงคราวเป็นคราวตายก็อยู่ง่ายตายสะดวก ไม่พะรุงพะรังห่วงหน้าห่วงหลัง สิ้นลมแล้วก็สิ้นเรื่องไปพร้อม ๆ กัน ต้องขอประทานโทษที่เรียนตามความโง่ของตนจนเกินไป ไม่มีความแยบคายแสดงออกพอเป็นที่น่าฟังบ้างเลย”

    พระมหาเถระได้ฟังแล้วก็อนุโมทนาด้วยความเลื่อมใสในธรรมที่พระอาจารย์มั่นเล่าถวายเป็นอย่างยิ่งว่า “ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้สามารถสมกับชอบอยู่ในป่าในเขาคนเดียวจริง ๆ ธรรมที่แสดงออกผมจะไปเที่ยวค้นดูใน
    คัมภีร์ไม่มีวันเจอเลย เพราะธรรมในคัมภีร์กับธรรมที่เกิดจากใจอันเป็นธรรมในหลักธรรมชาติต่างกันอยู่มาก แม้ธรรมใน
    คัมภีร์ที่จารึกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าว่าเป็นธรรมบริสุทธิ์ เพราะผู้จารึกเป็นคนจริงคือเป็นบริสุทธิ์เหมือนพระองค์ แต่พอตกมานาน ๆ ผู้จารึกต่อ ๆ มาอาจไม่เป็นผู้บริสุทธิ์อย่างแท้จริงเหมือนรุ่นแรก ธรรมจึงอาจมีทางลดคุณภาพลงตามส่วนของผู้จารึกพาให้เป็นไป

    ฉะนั้นธรรมในคัมภีร์กับธรรมที่เกิดขึ้นจากใจอย่างสด ๆ ร้อน ๆ จึงน่าจะต่างกันแม้เป็นธรรมด้วยกัน ผมหายสงสัยในข้อที่ถามท่านด้วยความโง่ของตนแล้ว แต่ความโง่ชนิดนี้ทำให้เกิดประโยชน์ได้ดี เพราะถ้าไม่ถามแบบโง่ ๆ ก็จะไม่ได้ฟังอุบายแบบฉลาดแหลมคมจากท่าน

    วันนี้ผมจึงเป็นทั้งฝ่ายขายความโง่และซื้อความฉลาด หรือจะเรียกว่า ถ่ายความโง่เขลาออกไป ไล่ความฉลาดเข้ามาก็ไม่ผิด ผมยังสงสัยอยู่อีกเป็นบางข้อ คือที่ว่าพระสาวกท่านทูลลาพระศาสนาออกไปบำเพ็ญอยู่ในที่ต่าง ๆ เวลาเกิดปัญหาขึ้นมาก็กลับมาเฝ้าทูลถามพระพุทธเจ้าเพื่อให้ทรงช่วยชี้แจงปัญหานั้น ๆ จนเป็นที่เข้าใจ แล้วจึงทูลลาออกไปบำเพ็ญเพียรตามอัธยาศัยนั้น เป็นปัญหาประเภทใด พระสาวกจึงไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ต้องมาทูลถามให้พระองค์ทรงช่วยชี้แจงแก้ไข”


    พระอาจารย์มั่นกราบเรียนว่า

    “เมื่อมีผู้ช่วยให้เกิดผลรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเวลานาน นิสัยคนเราที่ชอบหวังพึ่งผู้อื่นย่อมจะต้องดำเนินตามทางลัด ด้วยความแน่ใจว่า ต้องดีกว่าตัวเองพยายามไปโดยลำพัง นอกจากทางไกลไปมาลำบากจริง ๆ ก็จำต้องตะเกียกตะกายไปด้วยกำลังสติปัญญาของตน แม้จะช้าบ้างก็ทนเอา เพราะพระพุทธเจ้าผู้ทรงรู้เห็นโดยตลอดทั่วถึงทรงแก้ปัญหาข้อข้องใจ ย่อมทำให้เกิดความกระจ่างแจ้งชัดและได้ผล


    ดังนั้นบรรดาสาวกที่มีปัญหาข้องใจจึงต้องมาทูลถามให้ทรงพระเมตตาแก้ไขเพื่อผ่านไปได้อย่างรวดเร็วสมปรารถนาแม้กระผมเองถ้าพระองค์ยังพระชนม์อยู่และอยู่ในฐานะจะพอไปเฝ้าได้ก็ต้องไป เพื่อทูลถามปัญหาให้สมใจที่หิวกระหายมานาน ไม่ต้องมาถูไถคลืบคลานให้ลำบากเสียเวลาดังที่เป็นมา เพราะการวินิจฉัยโดยลำพังตัวเองเป็นการยากลำบากมาก แต่ต้องทำเพราะไม่มีที่พึ่ง นอกจากตัวเองเป็นที่พึ่งของตัวเองดังที่กราบเรียนแล้ว

    ความมีครูอาจารย์สั่งสอนโดยถูกต้องแม่นยำคอยให้อุบาย ทำให้ผู้ปฏิบัติตามดำเนินไปโดยสะดวกราบรื่นและถึงเร็ว ผิดกับการดำเนินไปแบบเดาสุ่มโดยลำพังตนเองอยู่มาก ทั้งนี้กระผมเห็นโทษในตัวกระผมเอง แต่ก็จำเป็นเพราะไม่มีอาจารย์คอยให้อุบายสั่งสอนในสมัยนั้น ทำไปแบบต้นเตาล้มลุกคลุกคลานผิดมากกว่าถูก


    แต่สำคัญที่ความหมายมั่นปั้นมือเป็นเจตนาที่เด็ดเดี่ยวอาจหาญมาก ไม่ยอมลดละล่าถอยจึงพอมีทางทำให้สิ่งที่เคยขรุขระมาโดยลำดับ ค่อย ๆ กลับกลายคลายตัวออกทีละเล็กละน้อยพอให้ความราบรื่นชื่นใจ ได้มีโอกาสคลืบคลานและเดินได้เป็นลำดับมา พอได้ลืมตามองโลกดูธรรมได้เต็มตาเต็มใจดังที่กราบเรียนให้ทราบแล้ว"

    พระมหาเถระพอใจในคำตอบของพระอาจารย์มั่นมาก วันนั้นได้ สัมโนทนียกถากันอยู่เป็นเวลานาน แต่ละล้วนเป็นข้ออรรถข้อธรรมภาคปฏิบัติชั้นสูงตลอดถึงเรื่องอภิญญา 6 อันเป็นความรู้ยิ่งในพระพุทธศาสนา
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    วัดป่าสาลวัน

    พระอาจารย์มั่นได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯ ขณะที่พักอยู่วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา มีคณะศรัทธายาติโยมเป็นจำนวนมากมาถามปัญหาธรรมพระอาจารย์มั่นได้ตอบไปเป็นที่ทราบซึ้งถึงใจทุกรายมีคำตอบอยู่ข้อหนึ่งที่น่าสนใจใคร่นำมาลงไว้ ณ ที่นี้


    ท่านตอบว่า"อาตมาบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าในเขาคนเดียวแทบตาย สลบไปสามหนและรอดตายมาได้ ไม่เห็นมีใครเอามาร่ำลือเลย ครั้นพออาตมาลืมหูลืมตาธรรมะมาบ้างจึงมีคนหลั่งไหลไปหา ร่ำลือกันว่าอาตมาเป็นผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ อาตมาไม่ใช่ผู้วิเศษอะไร ใครอยากได้ของดีอาตมาจะบอกให้เอาบุญ ของดีมีอยู่กับตัวเราทุกคนจงพากันปฏิบัติเอาทำเอา เมื่อเวลาตายแล้วจะไม่ต้องพากันวุ่นวายเที่ยวนิมนต์หาพระมาให้บุญกุสลามาติกา นั่นไม่ใช่เกาถูกที่คันนะ จะหาว่าอาตมาไม่บอก ต้องรีบเกาให้ถูกที่คันเสียแต่บัดนี้ โรคคันจะได้หาย


    คือจงเร่งทำความดีเสียแต่บัดนี้จะได้หายห่วง หายห่วงกับอะไรๆที่เป็นสมบัติของโลกมิใช่สมบัติอันแท้จริงของเรา แต่พากันจับจองเอาแต่ชื่อของมันเปล่า ๆ ตัวจริงไม่มีใครเหลียวแล สมบัติในโลกเราแสวงหามาเป็นความสุขแก่ตัวพอหาได้ จะแสวงหามาเป็นไฟเผาตัวก็ทำให้ฉิบหายได้จริง ๆ




    ข้อนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและความโง่เขลาของผู้แสวงหาแต่ละราย ท่านผู้พ้นทุกข์ไปได้ด้วยความอุตส่าห์สร้างความดีใส่ตน จนกลายเป็นสรณะของพวกเรา จะเข้าใจว่าท่านไม่เคยมีสมบัติเงินทอง เครื่องหวงแหนอย่างนั้นหรือ เข้าใจว่าเป็นคนร่ำรวยสวยงามเฉพาะในสมัยของพวกเราเท่านั้นหรือ จึงพากันหวงจนไม่รู้จักเป็นรู้จักตาย


    บ้านเมืองเราสมัยนี้ไม่มีป่าช้าสำหรับฝังหรือเผาคนตายอย่างนั้นหรือ จึงสำคัญว่าตนจะไม่ตาย พากันประมาทจนลืมเนื้อลืมตัว กลัวแต่จะไม่ได้กินไม่ได้นอนกลัวแต่จะไม่ได้เพลิดเพลิน ประหนึ่งโลกจะดับสูญจากไปในเดี๋ยวนี้ จึงพากันรีบตักตวงเอาแต่ความไม่เป็นท่าใส่ตนแทบหาบไม่ไหว อันสิ่งเหล่านี้แม้แต่สัตว์เขาก็มิได้เหมือนมนุษย์

    เราอย่าสำคัญตนว่าเราสามารถเก่งกาจฉลาดยิ่งรู้กว่าเขาเลย ถึงกับสร้างความมืดมิดปิดตาทับถมตัวเองจนไม่มีวันสร่างซา เมื่อถึงเวลาจนตรอกอาจจนยิ่งกว่าสัตว์ ใครจะไปทราบได้ ถ้าไม่เตรียมทราบไว้เสียแต่บัดนี้ซึ่งอยู่ในฐานะที่ควร


    อาตมาต้องขออภัยที่พูดออกจะหยาบคายไป แต่คำพูดที่สั่งสอนให้คนละชั่วทำดีต้องพูดถึงแก่นแบบนี้แหละ"
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แดนอีสาน

    พระอาจารย์มั่นพักอยู่นครราชสีมาพอสมควรแล้ว ก็ออกเดินทางไปที่อุดรฯ พักอยู่ที่วัดโพธิสมภารณ์กับท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ ต่อจากนั้นก็ไปจำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์อยู่ 2 พรรษา คณะศรัทธาทางสกลนครมีคุณแม่นุ่ม ชุวานนท์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์เก่าแก่ของท่าน ได้พร้อมกันมาอาราธนานิมนต์ให้ไปโปรดทางสกลนครซึ่งท่านเคยอยู่มาก่อน
    ท่านยินดีรับอาราธนาในปลายปี พ.ศ.2484 และไปพักอยู่วัดสุทธารามสกลนคร โอกาสนี้เอง มีผู้มาขอถ่ายภาพท่านไว้บูชากราบไหว้ท่านอนุญาติให้ถ่ายได้ นับเป็นครั้งที่ 4 ที่ท่านอนุญาตให้ถ่ายภาพได้ เพราะถ้าท่านไม่อนุญาตแล้วจะถ่ายไม่ติดเลย

    นับเป็นเรื่องแปลกมหัศจรรย์ การขออนุญาตให้ถ่ายรูปครั้งแรกท่านให้ถ่ายเมื่อกลับจากงานฌาปนกิจศพพระอาจารย์ เสาร์ กันตสีโร ครั้งที่ 2 ให้ถ่ายที่วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ครั้งที่ 3 ให้ถ่ายที่บ้านฝั่งแดง อำเภอพระธาตุพนม และเนื่องด้วยท่านอนุญาตให้ถ่ายภพได้ 4 วาระนี้เอง จึงทำให้บรรดาผู้เคารพเลื่อมใสในตัวท่านทั้งหลายได้มีรูปถ่าย
    ของท่านไว้กราบไหว้บูชามาจนทุกวันนี้

    ท่านพักอยู่วัดสุทธาวาสพอสมควรแล้วท่านก็ออกเดินทางไปพักที่สำนักป่าบ้านนามน ซึ่งเป็นสำนักกระต๊อบเล็ก ๆ สำหรับพระธุดงค์กรรมฐานบำเพ็ญเพียร พักอยู่พอสมควรแล้วก็ย้ายมาพักจำพรรษาก็บ้านโคกห่างจากบ้านนามนราว 2 กิโลเมตร ออกพรรษาแล้วก็กลับไปพักที่วัดบ้านนามนอีก จากนั้นก็ไปพักบ้านห้วยแคนและพักที่วัดร้างชายเขาบ้านนาสีนวลหลายเดือนพอดีล้มป่วยลง แต่ท่าก็บำบัดด้วยธรรมโอสถจนหายเป็นปกติ ตกเดือนเมษายน พ.ศ.2485 ท่านเดินทางไปฌาปนกิจศพพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร ที่อุบลฯ เสร็จแล้วก็กลับมาจำพรรษาที่บ้านนามนตำบลตองโขบ เขตอำเภอเมืองสกลนคร
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บ้านหนองเสือ

    พอตกหน้าแล้งพรรษาที่ 3 ก็มีญาติโยมจากบ้านหนองผือนาใน ไปอาราธนาท่านให้มาโปรดที่หมู่บ้าน ท่านรับนิมนต์มาพักจำพรรษาที่บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม สกลนคร พอมาถึงบ้านหนองผือท่านก็ล้มป่วยไข้มาลาเรียอยู่แรมเดือนจึงหาย บ้านหนองผือที่ท่านมาจำพรรษาอยู่นี้ ตั้งอยู่ในหุบเขาทั้ง สี่ด้านมีป่าและภูเขาล้อม
    รอบประชาชนทำนาได้สะดวกเป็นแพ่ง ๆ ไป ป่ามีมาก เหมาะสำหรับพระธุดงค์จะเลือกหาที่วิเวกบำเพ็ญกรรมฐานตามอัธยาศัย

    เมื่อข่าวว่าพระอาจารย์มั่นมาจำพรรษาอยู่ที่นี่ บรรดาพระธุดงค์จากที่ต่าง ๆ ก็พากันหลั่งไหลมากราบเยี่ยมและฟังโอวาทท่านมิได้ขาดจากพวกอุบาสกอุบาสิกาจากจังหวัดต่าง ๆ ก็พากันหลั่งไหลมาทุกวัน ทำให้บ้านหนองผือกลายเป็นจุดศูนย์กลางของพระธุดงค์กรรมฐานและอุบาสกอุบาสิกาไปในสมัยนั้น พระอาจารย์มั่นพักอยู่บ้านหนองผือ 5 พรรษานานเป็นพิเศษ เพราะชราภาพอายุ 75 ปีแล้วไปไหนมาไหนไม่สะดวกเหมือนแต่ก่อน
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ทุกขสัจจะ

    สุขภาพของพระอาจารย์มั่น นับวันยิ่งทรุดโทรมลง ถิ่นที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่ชุกชุมไปด้วยไข้ป่ามาลาเรีย พระเณรและประชาชนที่หลั่งไหลไปกราบเยี่ยม ท่านตั้งสั่งให้รีบกลับถ้าจวนเข้าหน้าฝน แต่ถ้าเป็นหน้าแล้งก็อยู่ได้นานหน่อย พระเณรเป็นไข้ป่ากันมาก ใครเป็นเข้าแล้วก็ลำบากต้องใช้ความอดทนต่อสู้กับโรค เพราะยาแก้ไขไม่มีใช้กันเลยใน
    วัดเนื่องจากยาหายาก ไม่เหมือนสมัยทุกวันนี้ ถ้าใครเป็นไข้ป่าเข้า พระอารย์มั่นจะสั่งให้ใช้ธรรมโอสถรักษาแทนยาคือ ให้พิจารณาทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้นด้วยสติปัญญาตามแนววิปัสสนาอย่างเข้มแข็งและแหลมคมไม่เช่นนั้นก็แก้ทุกขเวทนาไม่ได้ ไข้ไม่สร่างไม่หายได้ ก็ปรากฏว่าด้วยวิธีนี้พระเณรลูกศิษย์ของท่านที่ป่วยไข้ก็มักจะหายไข้ในเวลารวดเร็วแทบทุกรูป


    ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติกรรมฐานสายของพระอาจารย์มั่นปฏิบัติแนวสมถยานิก คือเอาสมถะกรรมฐานเป็นยานพาหนะนำไปสู่วิปัสสนา แล้วเอาวิปัสสนาเป็นทางนำไปสู่ มรรคผล นิพพานต่อไป หมายความว่าเจริญสมถะกรรมฐานจนได้ฌานแล้วเอาฌานเป็นบาทเจริญวิปัสสนาต่อจนรู้แจ้งเห็นจริงสัจจธรรมทั้ง 4 ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น


    ลูกศิษย์ของท่านสำเร็จฌานสูงต่ำตามภูมิธรรมของของแต่ละคนอยู่แล้ว เมื่อพระอาจารย์สั่งให้ใช้กำลังใจในฌานสมาธิพิจารณาทุกขเวทานาเป็นวิปัสสนา ความเจ็บไข้นั้นก็พลันหายไปด้วยอำนาจธรรมโอสถน่าอัศจรรย์


    การใช้สติปัญญาพิจารณาทุกขเวทนา พระอาจารย์มั่นพร่ำสอนพระเณรลูกศิษย์อยู่เสมอ ทั้งเวลาปกติและเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์ เพราะจิตจะได้หลักยึด ในเวลาจวนตัวเข้าจริง ๆ จะได้ไม่อ่อนแอท้อแท้เสียทีให้กับมรณะภัยในวาระสุดท้ายเพื่อจะได้เป็นผู้กำชัยชนะในทุกขสัจจะได้อย่างประจักษ์ใจและอาจหาญต่อคติธรรมดาคือความตายการรู้ทุกขสัจจะด้วยสติปัญญาจริง ๆ (ไม่ใช่รู้ด้วยสัญญาความจำได้หมายรู้) ไม่มีอาลัยในสังขารต่อไป จิตยึดแต่ความจริงที่เคยพบพิจารณาแล้วเป็นหลักใจตลอดไป


    เมื่อถึงคราวจวนตัวเข้ามาสติปัญญาประเภทนั้นจะเข้ามาเทียมแอก เพื่อลากเข็นทุกข์ด้วยการพิจารณาให้ถึงความปลอดภัยทันที ไม่ยอมทอดธุระจมทุกข์อยู่ดังแต่ก่อนเมื่อครั้งที่ยังไม่เคยกำหนดรู้ทุกข์เลย
    สติปัญญาแหลมคมประเภทนี้จะเข้าประชิดข้าศึกคือทุกขเวทนาทันที
    กิริยาท่าทางภายนอกก็เป็นเหมือนคนไข้ทั่ว ๆ ไป มีการอิดโหยโรยแรงเป็นธรรมดา แต่กิริยาภายใน คือใจกับสติปัญญาจะเป็นลักษณะทหารเตรียมออกแนวรบ ไม่มีการสะทกสะท้านหวั่นไหวต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นมากน้อยขณะนั้นมีแต่การค้นหามูลความจริงของกาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นที่รวมแห่งทุกข์ในขณะนั้นอย่างเอาจริงเอาจัง


    ไม่กลัวว่าตนต่อสู้หรือทนทุกข์ต่อไปไม่ไหว หากกลัวแต่สติปัญญาของตนจะไม่รู้รอบทันกับเวลาที่ต้องการเท่านั้นซึ่งผู้มีกำลังใจอาจหาญในธรรมอยู่แล้วการพิจารณาทุกขเวทนาย่อมจะไม่พ้นสติปัญญาศรัทธาความเพียรไปได้เลย เมื่อรู้แจ้งความจริงแล้ว ทุกข์ก็จริง กายก็จริง ใจก็จริง ต่างอันต่างจริงไม่มีอะไรรังควานรังแกบีบคั้นกัน สมุทัยที่ก่อเหตุให้เกิดทุกข์ก็สงบตัวลง ไม่คิดปรุงว่ากลัวทุกข์กลัวตายกลัวไข้ไม่หายอันเป็นอารมณ์เขย่าใจให้ว้าวุ่นขุ่นมัวไปเปล่า ๆ เมื่อสติปัญญารู้รอบแล้วไข้ก็สงบลงในขณะนั้น


    การพิจารณาทุกเวทนาในเวลาเจ็บไข้ได้ทุกข์พระธุดงค์กรรมฐานในป่าที่ปฏิบัติแนวสมถะยานิกสายพระอาจารย์มั่น ท่านชอบพิจารณาเป็นข้อวัตรของการฝึกซ้อมสติปัญญาให้ทันกับเรื่องของตัว โดยมากก็เรื่องทุกข์ ทั้งทุกข์กาย ทั้งทุกข์ใจ การบริกรรม พุทโธ ซึ่งยึดประจำใจตลอดชีวิตนั้น ก็ใช่ว่าจะบริกรรมแต่พุทโธอันเป็นสมถตะพึดตะพือแต่อย่างเดียวก็หาไม่
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พุทโธ คือ หัวใจ

    พุทโธ เป็นเพียงบาทฐานยานพาหนะของจิต คือทำให้จิตเกิดพลังงานตามหลักกรรมฐาน เพื่อที่จะก้าวไปสู่วิปัสสนาคือการจัดระบบจิตให้บริสุทธิ์โดยถาวร เพื่อแยกความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับกิเลศให้ขาดจากกันเพื่อทำให้เกิดการสุดสิ้น การเกิด การดับ การสืบต่อ นั่นคือ มรรคผล นิพพานสมถะกับวิปัสสนาต่างกันที่ตัวหนังสืออย่างหนึ่ง ต่างกันที่อารมณ์อย่างหนึ่ง


    ** สมถะเขียนอย่างหนึ่งและมีอารมณ์ 40 อย่าง

    ** ส่วนวิปัสสนาเขียนอีกอย่างหนึ่งและมีปรมัตถ์คือรูปนามเป็นอารมณ์


    ท่านที่เข้าใจไปว่า พระอาจารย์มั่นบริกรรมแต่พุทโธตามแนวสมถกรรมฐาน หาใช่เป็นพระวิปัสสนากรรมฐานแต่อย่างใดไม่ จึงเป็นความคิดเห็นที่ผิดค้นเดาเอาตามสัญญาของตนเอง หาได้ใช้วิจารณญาณให้ลึกซึ้งกว้างขวางเท่าทันสติปัญญาของพระอาจารย์มั่นไม่ ว่าธรรมดาพระภิกษุที่บวชเรียนเข้ามาในพระบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ย่อมจะมุ่งกระทำให้แจ้งซึ่ง มรรคผล พระนิพพาน ตามหลักสูตรพระพุทธศาสนา

    พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างพระอาจารย์มั่น ก็คงจะไม่หลงติดอยู่กับฌานสมาบัติอันเป็นเพียงโลกีย์ฌานจนมองไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะเท่าที่พระเณรลูกศิษย์ลูกหาของท่านจำนวนมากมายอย่างเช่น หลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ปั๋ง หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ถ้ำขาม หลวงปู่ขาววัดถ้ำกองเพล พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม (พระสุทธิธรรมรังษีคัมภีร์เมธาจารย์) เป็นต้น ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ต่างก็ยืนยันว่าพระอาจารย์มั่นผู้เป็นปรามาจารย์นั้น เป็นผู้ไม่หิว ไม่หลง ไม่ต้องแสวงหาอะไรอีกแล้ว เพราะท่านมีสัจจะธรรมทั้ง 4 อยู่ในกายในใจอย่างสมบูรณ์แล้ว คือบรรลุความรู้แจ้งเห็นจริงจบหลักสูตรสูงสุดในพระพุทธศาสนาแล้วนั่นเอง



    ผู้ที่บรรลุความรู้แจ้งเห็นจริงได้มรรค ผล นิพพาน จะต้องบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานถ้าไม่บำเพ็ญวิปัสสนาย่อมไม่มีทาง ดังนั้นข้อกล่าวหาที่ว่า พระอาจารย์มั่นไม่ใช่พระวิปัสสนากรรมฐานจึงเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดของผู้ไม่รู้จริงเป็นผู้ที่รู้น้อยพลอยรำคาญคอยจ้องแต่จะจับผิดผู้อื่นด้วยมิจฉาทิฐิอย่างน่าสงสาร
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สมาธิเกิดปัญญา

    สมถกรรมฐาน คือ การสร้างสมาธิ วิปัสสนา คือ การสร้างปัญญา สมาธิปัญญาเหมือนป้อมหรือหลุมเพลาะปัญญาเปรียบเสมือนอาวุธ การสร้างสมาธิเปรียบเสมือนการอัดดินปืนเข้ากระสุนหรือฝังตัวอยู่ในป้อมฉะนั้น สมาธิจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก มีคุณาสิสงค์มาก


    ศีลเป็นเบื้องต้นแห่งมรรคก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไรนัก ปัญญาอันเป็นเบื้องปลายแห่งมรรคก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไรนัก ส่วนสมาธิอันเป็นท่ามกลางแห่งมรรคนั้นยากมาก เพราะเป็นการบังคับปรับปรุงด้านจิตใจการทำสมาธิสมถกรรมฐานเปรียบเสมือนปักเสาสะพานกลางแม่น้ำใหญ่ไหลเชี่ยวกรากย่อมเป็นสิ่งลำบากแต่เมื่อปักได้แล้วย่อมเป็นประโยชน์
    แก่ศีลและปัญญาวิปัสสนา


    ศีลนั้นเหมือนปักเสาสะพานในฝั่งนี้ปัญญาเหมือนปักเสาสะพานข้างฝั่งโน้นแต่ถ้าเสากลางคือ “ สมาธิ” ไม่ปักแล้วเราจะทอดสะพานข้ามแม่น้ำคือ “โอฆสงสาร” ได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้เอง พระอาจารย์มั่นจึงเดินเข้าป่าธุดงควัตรเพื่อปฏิบัติสมถกรรมฐานภาวนา พุทโธ เป็นเบื้องต้นเพื่อสร้างฌานสมาธิคือปักเสาสะพานกลางแม่น้ำโอฆสงสาร ส่วนปัญญาหรือวิปัสสนานั้นเป็นเรื่องภายหลังที่จะพึงทำให้แจ่มแจ้งแทงตลอดนั่นแล


    คนบางพวกยังเข้าใจไปต่าง ๆ อยู่เช่นเข้าใจว่าสมาธิไม่ต้องทำ ทำเอาปัญญาเลยทีเดียว เรียกว่า “ปัญญาวิมุติ”การเข้าใจเช่นนี้ไม่ถูก ความจริงปัญญาวิมุติกับเจโตวิมุติ ทั้งสองประการนี้ย่อมมีสมาธิเป็นรากฐานจึงจะเป็นไปได้ ต่างกันแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้น ลักษณะของปัญญาวิมุตินั้น ครั้งแรกต้องมีการไตร่ตรองพิจารณา เรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ เสียก่อนจิตจึงค่อย ๆ สงบ เมื่อจิตสงบแล้วจึงเกิดวิปัสสนาญาณขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จนรู้แจ้งเห็นจริงในสัจจะธรรมทั้ง 4 นี้ คือลักษณะของปัญญาวิมุติ


    เจโตวิมุติ นั้น ไม่ต้องมีการพินิจพิจารณาเท่าไรนัก เป็นแต่ข่มจิตให้สงบลงไปถ่ายเดียวจนกว่าจะเป็น อัปปนาสมาธิ วิปัสสนาญาณก็จะบังเกิดขึ้นในที่นั้นได้รู้แจ้งเห็นจริงตามแนวความจริงของสภาวธรรม
    หรือถ้าวิปัสสนายังไม่เกิด ขึ้นก็จะต้องถอนจิตลงมาอยู่ในขั้นอุปจาระสมาธิแล้วยกเอาวิปัสสนาขึ้นไตร่ตรองพินิจพิจารณาจนถึงที่สุด วิปัสสนาญาณก็จะบังเกิดขึ้น อย่างนี้เรียกว่าเจโตวิมุติ คือเจริญสมาธิก่อน แล้วจึงค่อยเกิดปัญญาภายหลัง


    ปัญญาอันใดที่พุทธบริษัทได้ศึกษาเล่าเรียนมารอบรู้ในพุทธวัจนะ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะโดยสมบูรณ์แล้ว ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้กว้างขวางสมารถที่จะชี้แจงอรรถาธิบายในข้ออรรถข้อธรรมได้โดยเรียบร้อยชัดเจนแต่ถ้าไม่บำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้นในตน ดูหมิ่นว่าการบำเพ็ญสมถะไม่สำคัญก็เปรียบประหนึ่งบุคคลที่ขับเครื่องบินไปในอากาศสามารถจะมองเห็นเมฆและดาวเดือนได้โดยชัดเจน แต่เครื่องบินที่ตนขับขี่อยู่นั้นได้เที่ยวเร่ร่อนไปบนอากาศจนลืมสนามที่จะร่อนลง ในที่สุดน้ำมันเชื้อเพลิงก็จะหมด เครื่องบินนั้นก็จะตกลงมาพินาศสิ้น


    นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ติดอยู่ในความรู้ ความคิดเห็นของตนว่าเลิศแล้วสูงอยู่แล้ว ถ้าไม่ก่อสร้างบำเพ็ญสมาธิให้เกิดขึ้น ถือเสียว่าสมาธิเป็นขั้นต่ำควรจะเจริญปัญญาวิมุติเลยทีเดียว ย่อมจะได้รับโทษเหมือนคนขับขี่เครื่องบินที่ร่อนอยู่ในอากาศแต่ไม่แลเห็นสนามบินฉะนั้น


    ผู้บำเพ็ญสมถกรรมฐานเอาสมาธิ ก็เท่ากับเป็นผู้สร้างสนามบินไว้แล้วอย่างดีก่อนที่จะขึ้นขับเครื่องบิน ครั้นเมื่อถึงปัญญาก็จะถึงวิมุติโดยปลอดภัย พระอาจารย์มั่นบำเพ็ญวิปัสสนาจนสำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดก็ได้อาศัยหลักนี้บทภาวนาพุทโธของท่านจึงเป็นเพียงยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะประจำใจตลอดชีวิตแต่เมื่อเจริญวิปัสสนาท่านก็
    จะปล่อยวางพุทโธเพื่อใช้ปัญญาห้ำหั่นกับกิเลศอย่างเต็มสติกำลังความเพ่งเพียรไม่มีลดละท้อถอย


    มิฉะนั้นจะเรียกว่าเป็นผู้รู้อริยสัจ 4 ได้อย่างไร ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมจะเป็นหลักรู้แก่ใจของนักบวชอยู่แล้วมรรคก็ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา จึงจะเรียกว่ามรรคสัจจ์ เมื่อไม่ทำให้เกิดขึ้นในตนก็ย่อมไม่รู้เมื่อไม่รู้แล้วจะสามารถเป็นปรามาจารย์พาลูกศิษย์ดำเนินได้ล่ะหรือ ?


    แต่ความจริงที่ปรากฏในสมัยที่พระอาจารย์มั่นมีชีวิตอยู่และภายหลังที่ท่านดับขันธ์ไปแล้ว ลูกศิษย์ของท่านเป็นจำนวนมาก ต่างก็ดำเนินตามรอยของท่าน จนได้รับคำยกย่องเคารพศรัทธาเลื่อมใสว่า เป็นพระสุปฏิปันโนปฏิบิตดีปฏิบัติชอบ อาทิเช่น หลวงปู่แหวน หลวงปู่สิม หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว พระอาจารย์ลี วัดอโศการาม หลวงปู่ตื้อ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ฯลฯ เป็นต้น
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ฝนมหัศจรรย์ (ตอนจบ)

    [​IMG]



    พอจวนถึงวันงานฌาปนกิจท่าน พระเณรและประชาชนต่างก็หลั่งไหลมาจากทุกทิศทุกทางทั้งใกล้และไกลจนเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับแทบเป็นลมรับไม่หวาดไม่ไหว หาที่พักให้ไม่พอ
    กับจำนวนคนและจำนวนพระเณรที่มาวัดต่าง ๆ ในตัวจังหวัดเต็มหมด ส่วนประชาชนนั้นพักแน่นโรงแรมทุกแห่ง ที่พักอยู่ตามทุ่งนาก็มีเป็นหมื่น เป็นกองเกวียนคาราวานมาจากถิ่นต่าง ๆ
    เหมือนงานนมัสการพระธาตุพนมไม่มีผิด พระธุดงค์ที่มาจากป่าจากเขาจำนวนพัน ๆ รูปนั้นกางกลดอยู่ในป่ารอบ ๆ วัดมองเห็นกลดขาวเปรี๊ยะไปทั้งป่าเครื่องไทยทานอาหารที่ประชาชนต่างมีศรัทธานำมาสมโภชโมทนา ขนใส่รถยนต์มาจากจังหวัดต่าง ๆ กองเท่าภูเขาเลากา โดยเฉพาะข้าวสารนับเป็นพัน ๆ กระสอบโรงครัวทานขนาดใหญ่ทำกันทั้งวันทั้งคืน (๓ คืน ๔ วัน) สำหรับผ้าไตรที่ประชาชนคณะศรัทธานำมาเพื่อถวายบังสุกุลอุทิศ ส่วนกุศลถวายเท่านั้นเป็นจำนวนกองใหญ่ยิ่งกว่ากองผ้าโรงงานทอผ้าเสียอีก งานนี้ทำพิธีเปิดมีกำหนด 3 คืน 4 วัน เริ่มแต่วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถวายเพลิงเวลา 6 ทุ่มในคืนวันขึ้น 13 ค่ำ


    ผู้คนในขณะนั้นแออัดเยียดยัดบริเวณวัดประหนึ่งจะล้นแผ่นดินขยับติงตัวแทบไม่ได้ เมรุที่บรรจุศพสร้างขึ้นในบริเวณที่พระอุโบสถอยู่ในเวลานี้สร้างเป็นจัตุรมุขมีลวดลายสวยสง่างามมาก
    ท้องฟ้าขณะนั้นเดือนหงายกระจ่างสว่างนวลปราศจากเมฆอากาศหนาวเยือกเย็นเมื่อถึงเวลาถวายเพลิง ทันใดก็เกิดเหตุมหัศจรรย์ ปรากฏมีเมฆขาวก้อนหนึ่งลอยละลิ่วมาในเบื้องอากาศและหยุดนิ่งอยู่เหนือเมรุ ทามกลางสายตาของผู้คนในพิธีงานนับหมื่น ๆ คน


    ครั้นแล้วเมฆขาวก้อนนั้นก็ปรอยปรายละอองฝนลงมาตกต้องกระทบร่างกายผู้คนให้เย็นฉ่ำ พร้อม ๆ กับเปลวไฟในเมรุได้ลุกขึ้นเผาศพท่านพระอาจารย์มั่น ละอองฝนโปรยปรายอยู่ 15 นาทีเมฆขาวประหลาดนั้นจึงค่อย ๆลอยจากไปช้า ๆ เลือนหายไปท่ามกลางความสว่างไสวแห่งแสงเดือนหงาย เหตุการณ์ประหลาดมหัศจรรย์นี้พระเณรและประชาชนทั้งหลายในพิธีงานต่างก็ได้ประจักษ์ทั่วกัน และไม่มีใครกล้าปฏิเสธได้ว่าไม่จริง

    การถวายเพลิงศพไม่ได้ใช้ถ่านหรือฟืนตามปกติ หากถวายด้วยไม้จันทร์ที่มีกลิ่นหอมที่คณะศรัทธาจากฝั่งประเทศลาวจัดถวายผสมด้วยธูปหอมเป็นเชื้อเพลิง นับแต่ขณะถวายเพลิงจนถึงเวลาเก็บอัฐิ ได้มีคณะกรรมการทั้งพระและฆราวาสคอยเฝ้าดูแลอย่างกวดขันใกล้ชิดตลอดเวลาเพื่อป้องกันประชาชนผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธา ถึงขนาดเข้ายื้อแย่งอัฐิ และเถ้าอังคารธาตุ ด้วยความเผลอสติ



    อัฐิพระธาตุ

    อัฐิพระอาจารย์มั่น ได้ถูกคณะกรรมการแบ่งแจกไปตามจังหวัดต่าง ๆ ที่มีผู้มาในงานเพื่อนำไปเป็นสมบัติของกลางโดยมอบไปกับพระที่มาในงานในนามของจังหวัดนั้น ๆ เชิญไปบรรจุไว้ในสถานที่ต่าง ๆตามแต่จะเห็นควร ส่วนประชาชนก็แจกเหมือนกัน

    แต่คนมากต่อมากการแจกจึงไม่ทั่วถึงอัฐิที่แจกไปประมาณ 20 จังหวัด คณะกรรมการเห็นใจประชาชนที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาพระอาจารย์มั่นที่ไม่ได้รับแจกอัฐิจึงได้อนุญาตให้ประชาชนเข้าเก็บกวาดเอาเถ้าถ่านที่เศษเหลือจากอัฐิที่เก็บแล้วไปสักการบูชาได้ปรากฏว่าประชาชนต่างก็แย่งกันเก็บกวาดชุลมุนจนเกลี้ยงเกลา ไม่มีเหลือแม้แต่เศษฝุ่น ยิ่งกว่าบริเวณนั้น ถูกขัดถูเสียอีก


    1.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)
    2.พระพรหมมุณี (ผิน สุวโจ)

    3.พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโส)

    4.พระเทพวรคุณ (อ่ำ)

    5. -

    6.พระเทพญาณวิศิษฐ์ (เดิม)

    7.พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)

    8.พระธรรมบัณฑิต
    9. พระญาณวิศิษฐ์ (สิงห์ ขนฺตฺยคโม)

    10.พระราชพิศาลสุธี (ทองอินทร์)

    11. -

    12. หลวงปู่ขาว อนาลฺโย

    13. -

    14.พระราชสุทธาจารย์ (พรหมา โชติโก)

    15.พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี

    16. -

    17.พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

    18.พระอาจารย์กว่า สุมโน

    19.พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน

    20.หลวงพ่อขุนศักดิ์

    21 หลวงพ่อทองสุข

    22. –

    23. –

    24.พระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุข สุจิตโต)

    25.พระราชคุณาภรณ์

    26.พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม

    27.พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ

    28.พระอาจารย์อ้วน

    29.พระอาจารย์สาม อภิญฺจโน

    30.พระรัตนากรวิสุทธิ์ (ดุลย์ อตุโล)

    31. –

    32. –

    33.พระเกตุ วณฺณโก

    34. –

    35.พระสุธมฺมคณาจารย์ (แดง)

    36.พระครูปัญญาวราภรณ์

    37.พระวินัยสุนทรเมธี

    38.พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน

    39.พระครูวิฒิวราคม (พุฒ)

    40.พระอาจารย์อ่อนสา

    ต่อมาปรากฏว่าอัฐิของพระอาจารย์มั่นที่แจกจ่ายไปยังที่ต่าง ๆ นั้น ได้กลายเป็นพระธาตุไปหมด แม้แต่เส้นผมของพระอาจารย์มั่นที่มีผู้เก็บไปบูชาในที่ต่าง ๆก็กลายเป็นพระธาตุได้เช่นเดียวกันกับอัฐิของท่านนับเป็นเรื่องอัศจรรย์ และที่มีแปลกอยู่อีกคือผู้มีพระธาตุสององค์ อธิษฐานขอให้เป็นสามองค์ก็ได้สมปรารถนาบางคนมีพระธาตุอยู่ 2 องค์ อธิษฐานเป็นสามองค์กลับกลายเป็นรวมกันเข้าเป็นองค์เดียวก็มีปัญหา

    เรื่องอัฐิพระอาจารย์มั่นกลายเป็นพระธาตุนี้ ท่านอาจารย์พระมหาบัวญาณ สัมปันโนวัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ผู้เป็นศิษย์เอกอีกองค์หนึ่งของพระอาจารย์มั่น ได้อธิบายไว้ว่า อัฐิของพระอรหันต์ก็ดี ของสามัญชนก็ดี ต่างก็เป็นธาตุดินชนิดเดียวกัน การที่อัฐิกลายเป็นพระธาตุได้นั้น ขึ้นอยู่กับใจหรือจิตเป็นสำคัญ อำนาจิตของพระอรหันต์ท่านเป็นอริยจิต เป็นจิตที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลศโสมมต่าง ๆ อำนาจจิตของพระอรหันต์อาจมีอำนาจซักฟอกขันธ์ให้เป็นธาตุบริสุทธิ์ไปตาม ส่วนของตน อัฐิจึงกลายเป็นธาตุขันธ์ไปได้


    แต่อัฐิหรือกระดูกของสามัญชนทั่วไป แม้จะเป็นธาตุดินเช่นเดียวกัน แต่จิตสามัญชนเต็มไปด้วยกิเลส จิตไม่มีอำนาจและคุณภาพพอที่จะซักฟอกธาตุขันธ์ของตนให้เป็นขันธ์บริสุทธิ์ได้ อัฐิจึงต้องกลายเป็นสามัญธาตุไปตามวิสัยของคนมีกิเลส จะเรียกไปตามภูมิของธาตุว่าว่า อริยจิต อริยธาตุและสามัญจิต สามัญธาตุก็คงไม่ผิด เพราะคุณสมบัติของจิตและธาตุ ระหว่างพระอรหันต์กับสามัญชนย่อมแตกต่างกันอย่างแน่นอน ดังนั้นอัฐิจึงจำต้องต่างกันอยู่โดยดี ผู้สำเร็จพระอรหันต์ทุกองค์เวลานิพพานอัฐิต้องกลายเป็นพระธาตุด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้นหรือเปล่านั่น ข้อนี้ยังเป็นเรื่องน่าสงสัยไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้อย่างนั้นทุก ๆ องค์เพราะว่ากาลเวลาตั้งแต่บรรลุพระอรหันต์จนถึงวันนิพพาน


    พระอรหันต์ แต่ละองค์มีเวลาสั้นยาวแตกต่างกัน พระอรหันต์ที่บรรลุธรรมวิเศษ แล้วมีเวลาทรงขันธ์อยู่นานปี เวลานิพพานมาถึงอัฐิยาอมมีทางกลายเป็นพระธาตุได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะเวลาที่ทรงขันธ์อยู่นานจิตที่บริสุทธิ์ย่อมจะทรงขันธ์อยู่นาน เช่นเดียวกับการสืบต่อแห่งชีวิต ด้วยการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายดังมีลมหายใจเป็นต้นมีการเข้าสมาบัติประจำอิริยาบถเสมอซึ่งเป็นการซักฟอกธาตุขันธ์ให้บริสุทธิ์ไปตามส่วนของตนทุกวันทุกคืนโดยลำดับครั้นถึงเวลานิพพานอัฐิจึงกลายเป็นพระธาตุไป เมื่อผสมเข้ากับธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    ซึ่งแผ่กระจายอยู่ทุกอณูบรรยากาศของโลกส่วนพระอรหันต์ที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้วมิได้ทรงขันธ์อยู่นานเท่าที่ควรเมื่อถึงเวลานิพพานอัฐิจะกลายเป็นพระธาตุได้เหมือนพระอรหันต์ที่ทรงขันธ์อยู่ นานหรือไม่นั้น ยังเป็นปัญหาที่เหมือนพระอรหันต์ที่ทรงขันธ์อยู่นานนั้นยังเป็นปัญหาที่ตอบไม่สนิทใจพระอรหันต์ที่เป็นนันทาภิญญา คือรู้ได้ช้าค่อยเป็นค่อยปือบำเพ็ญไปถึงขั้นอนาคามีผลแล้วติดอยู่นานกว่าจะก้าวขึ้นอรหัตภูมิได้จะต้องพิจารณาท่องเที่ยวไปมาอยู่ในระหว่าง อรหัตตมรรค อรหัตตผลจนกว่าจิตจะชำนิชำนาญและมีกำลังเต็มที่จึงผ่านไปได้ในขณะที่กำลังพิจารณาอยู่ในขั้นอรหัตตมรรคเพื่ออรหัตผลนี้เป็นอุบาย

    วิธีซักฟอกธาตุขันธ์ในตัวด้วยเวลานิพพานอัฐิอาจกลายเป็นธาตุได้ ส่วนพระอรหันต์ที่เป็น ขิปปาภิญญา คือรู้ได้เร็วบรรลุอรหันต์ได้รวดเร็ว และนิพพานไปเร็วพระอรหันต์ประเภทนี้ไม่แน่ใจ
    ว่าอัฐิจะกลายเป็นพระธาตุได้หรือประการใด เพราะจิตบริสุทธิ์ของท่านเหล่านี้ไม่มีเวลาทรงและซักฟอกธาตุขันธ์อยู่นานเท่าที่ควร พระธาตุขันธ์ของพระอาจารย์มั่น แสดงความมหัศจรรย์ให้กับผู้เก็บรักษาด้วยประการต่าง ๆ เป็นที่เล่าลือกันทั่วไปมีหลักฐานมั่นคงซึ่งไม่สามารถจะนำมาลงที่นี่ให้ได้หวาดไหว


    แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ยืนยันถึงอำนาจพลังจิตของผู้ทรงภูมิธรรมสูงว่า มีพลังยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ไม่มีอะไรจะปิดกั้นไว้ได้ คือพระธาตุของพระอาจารย์มั่นนี้ ถูกเก็บไว้ในครอบแก้วแล้วปิดฝาแข็งแรง
    แล้วนำไปใส่ตู้เซฟไว้แน่นหนาป้องกันคนขโมย ปรากฏว่าพระธาตุสององค์สามารถเพิ่มจำนวนขึ้นได้เป็น 3 องค์ 9 องค์ และต่อมาก็หายไปหมด ครั้นต่อมาอีกก็กลับมามีอยู่ครบจำนวนทั้ง 9 องค์อีก ทั้งๆ ที่ไม่มีใครไปแตะต้องตู้เซฟเลย แสดงว่าพระธาตุสามารถเข้าออกตู้เซฟเข้าออกตู้เซฟผ่านเข้าไปเข้าออกในครอบแก้วได้เองด้วยอำนาจพลังจิตของพระอรหันต์ ดังนั้นจึงยุติปัญหาที่มีผู้สงสัยกันมากว่า พระเครื่องของขลังที่เราท่านนำไปอัดกรอบพลาสติกบ้างเลี่ยมกรอบทองบ้างซึ่งเป็นการบรรจุพระเครื่องของขลังไว้ในที่ปกปิดแน่นหนานั้น เวลาเราท่าน
    ประสบเหตุเภทภัยอันตราย อานุภาพของพระเครื่องของขลังนั้นจะออกมาจากกรอบพลาสติก หรือกรอบทองที่อัดไว้แน่นหนาได้หรือไม่ขอตอบว่า อานุภาพของพระเครื่องสามารถผ่านเข้าและออกได้ไม่มีอะไรจะปิดกั้นไว้ได้เลย ภูเขาทั้งลูกก็กั้นอานุภาพพลังจิตไมได้ ตู้เหล็กหนามิดชิดปิดแน่นเช่นตู้เซฟก็ไม่สามารถจะปิดกั้นอานุภาพพลังจิตไว้ได้ ดังเช่นพระธาตุของพระอาจารย์มั่นเป็นตัวอย่างที่กล่าวแล้ว


    แม้ว่าพระอาจารย์มั่นมรณภาพไปแล้วทางรูปกาย แต่ความสำคัญทางนิมิตภาพที่ปรากฏเป็นองค์ท่าน ยังคงปรากฏอยู่เสมอทางห้วงกระแสจิตภาวนาของบรรดาพระกรรมฐานที่เป็นสานุศิษย์ของท่านราวกับว่าอาจารย์มั่นยังมีชีวิตอยู่ พระกรรมฐานที่ปฏิบัติทางจิตภาวนาและเจริญวิปัสสนาเมื่อเกิดขัดข้องขบปัญหาใด ๆ ไม่แตก ไม่รู้จะดั้นด้นไปปรึกษากับพระอาจารย์องค์ใด

    พระอาจารย์มั่นจะมาแสดงนิมิตภาพในทางกระแสจิตให้เห็นแล้วแสดงบอกอุบายธรรมวิธีแก้ไข ดุจดังสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่แสดงธรรมให้ฟังฉะนั้น เมื่อบอกอุบายแล้วนิมิตภาพของท่านก็จะหายไปนับเป็นเรื่องลึกลับ ซึ่งสำหรับผู้ไม่เคยปรากฏหรือไม่เคยได้ยินได้ฟังมา อาจคิดว่านิมิตภาพพระอาจารย์มั่นที่มาปรากฏในวิถีจิตสมาธิของลูกศิษย์นั้นอาจจะเป็นความวิปลาสของศิษย์เป็นนิมิตเหลวไหล ลวงจิตด้วยอำนาจอุปาทานก็ได้

    แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้นพระกรรมฐานทุกองค์ที่เป็นศิษย์ ที่เคยได้รับการสั่งสอน บอกอุบายแก้ปัญหาธรรมที่ขัดข้องนั้น ๆ ในทางนิมิต ต่างก็ยืนยันตรงกันว่า เมื่อนำเอาอุบายที่นิมิตของพระอาจารย์มั่นสั่งสอนไปปฏิบัติตามแล้ว สามารถปฏิบัติธรรมลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็วแม่นยำถูกต้องไม่ผิดพลาดน่าอัศจรรย์

    ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้ทรงความรู้จริงเห็นจริงเต็มภูมิวาสนาบารมีของท่าน ดังนั้นบรรดาความรู้ที่เกี่ยวกับอภิญญาของท่าน จึงสามารถแสดงออกได้อย่างเต็มภูมิ โดยไม่สนใจว่า บรรดานักปราชญ์ทั้งหลายที่ฝังหัวอยู่แต่ในหนังสือในคัมภีร์จะเชื่อหรือไม่เชื่อ จะตำหนิหรือชมเชยใด ๆ ท่านไม่เอาใจใส่เลย ภูมิธรรมภายในนับแต่ ศีล สมาธิ ปัญญา ทุกขั้น ตลอดถึงวิมุติพระนิพพานท่านแสดงออกมาอย่างอาจหาญและเปิดเผย

    -----------------------------
    ขอกราบแทบเท้าพ่อแม่ครูอาจารย์ทุกท่านด้วยชีวิต
    และอนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ
     
  19. ตาลเดี่ยว

    ตาลเดี่ยว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    195
    ค่าพลัง:
    +425
    อนุโมทนาสาธุครับ ผมเองก็สนใจศึกษาคำสอนและแนวปฏิบัติของหลวงปู่ท่านอยู่เช่นกันและมีความศรัทธาหลวงปู่มั่นเป็นอย่างมากครับ
     
  20. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    ขอบคุณคุณเต้มาก อนุโมทนาด้วยค่ะ สาธุค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...