ประสบการณ์โลกทิพย์ "หลวงปู่ดูลย์ อตุโล" ยอดแห่งพระกรรมฐาน ,ภพภูมิ ,กายทิพย์ ,วิญาญาณ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย แดนโลกธาตุ, 6 มิถุนายน 2007.

  1. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    [​IMG]


    พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    วัดบูรพาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์

    [​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:71:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:71:-->[​IMG]

    (ขอกราบนมัสการหลวงปู่ดูลย์ ด้วยเศียรเกล้า แดนโลกธาตุ)

    --------------------------------------

    ๑. สุรินทร์ถิ่นกำเนิดของหลวงปู่

    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นชาวสุรินทร์โดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อ พ..๒๔๓๑ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เรื่องราวของจังหวัดสุรินทร์ถิ่นกำเนิดของหลวงปู่เมื่อสมัย ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว ตามที่หลวงปู่เล่าให้ฟังและท่านเจ้าคุณ พระโพธินันทมุนี (สมศักดิ์ ปณฺฑิโต) ได้เรียบเรียงบันทึกไว้ มีดังต่อไปนี้ <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>ชุมชนสุรินทร์ในอดีตไม่มีหลักฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่ามีมาไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ปี เคยผ่านความรุ่งเรืองมาสมัยหนึ่งในฐานะเป็นเมืองหน้าด่านจากผืนที่ราบโคราช ลงสู่แคว้นเจนละของกัมพูชา <O:p> </O:p>สุรินทร์ หรือ เมืองประทายสมันต์ หรือ ไผทสมันต์ ในอดีต อยู่ในพื้นที่ราบต่ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และมวลสัตว์ป่านานาชนิด <O:p> </O:p>หลักฐานเมืองโบราณที่พบเห็น ได้แก่ปราสาทหินหลายแห่ง เช่น ปราสาทหินภูมิโปน ปราสาทระแงง ปราสาทยายเหงา ปราสาทตาเหมือน ปราสาทจอมพระ ปราสาทเบง เป็นต้น รวมทั้งกำแพงเมืองสุรินทร์เดิมซึ่งมี ๒ ชั้น เคยตั้งตระหง่านมาเมื่อ ๑๐๐ ปีที่แล้ว ก็ยังมีหลักฐานเหลือให้เห็นได้ชัดเจน <O:p> </O:p>ในสมัยนั้นบ้านเรือนมีน้อย ไม่แออัดเหมือนทุกวันนี้ <O:p> </O:p>ด้านทิศใต้ของ วัดบูรพาราม ของหลวงปู่ เป็นกำแพงเมืองชั้นในสูงตระหง่านบังหลังคากุฏิ เพิ่งจะอันตรธานหายไปเมื่อไม่เกิน ๑๐๐ ปีมานี้เอง <O:p> </O:p>จากกำแพงเมืองชั้นในออกไปทางทิศใต้เพียง ๕๐๐ เมตร จะเป็นกำแพงเมืองชั้นนอก ซึ่งมี วัดจุมพลสุทธาวาส (วัดที่หลวงปู่เข้าอุปสมบท) อยู่ติดขอบกำแพงด้านใน <O:p> </O:p>เลยกำแพงเมืองชั้นนอกออกไปเป็นเขตชนบททั้งสิ้น ห่างออกไปไม่ถึง ๒ กิโลเมตร จะเป็น ลำห้วยเสนง ฝั่งห้วยจะมีไม้ยางป่าขนาดมหึมาเต็มไปหมด ชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ไม่ว่าหมูป่า ลิง ชะนี ค่าง แม้กระทั่งแรดก็ปรากฏให้เห็นทั่วไป <O:p> </O:p>ห่างออกไป ๕-๑๐ กิโลเมตร จึงจะพบหมู่บ้านสักแห่ง ซึ่งมีบ้านเรือนประมาณ ๔-๕ หลังเท่านั้น <O:p> </O:p>หมู่บ้านที่หลวงปู่ถือกำเนิดชื่อว่า บ้านปราสาท ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางทิศใต้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร <O:p> </O:p>หลวงปู่ได้เล่าถึงบรรพบุรุษของท่านว่า รุ่นปู่ทวดของท่านอาศัยอยู่ที่บ้านสลักได ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านตะวันออก <O:p> </O:p>ประมาณปี พ..๒๓๙๘ คุณตาของหลวงปู่ชื่อคุณตาแสร์ และญาติพี่น้องรวม ๕ ครอบครัว ตั้งใจจะพากันอพยพไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ เขมรต่ำ (ประเทศกัมพูชา) จึงเดินทางด้วยช้างมุ่งลงทางใต้ไปเรื่อยๆ <O:p> </O:p>เมื่อเดินทางไปได้ประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ก็ได้พบกับคณะของ พระยาสุรินทร์ภักดีศรีไผทสมันต์ (ม่วง) เจ้าเมืองสุรินทร์ลำดับที่ ๕ กำลังออกสำรวจพื้นที่อยู่ <O:p> </O:p>ท่านเจ้าเมืองทราบว่าครอบครัวเหล่านั้นกำลังจะไปทำมาหากินที่เขมรต่ำจึงได้ทัดทานไว้ โดยชี้แจงถึงความยากลำบากและอันตรายในการเดินทาง รวมทั้งสภาพบ้านเมืองของเขมรที่ไม่สงบเรียบร้อย ยังไม่น่าไว้วางใจ <O:p> </O:p>พร้อมกันนั้น ท่านเจ้าเมืองก็แนะนำและขอร้องให้พากันตั้งบ้านเรือนอยู่ทำมาหากิน ณ สถานที่แห่งนั้น ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ ใครใคร่จะจับจองเอาที่ดินที่นามากเท่าไรก็ได้ <O:p> </O:p>คณะผู้อพยพก็คล้อยตาม รวมทั้งยำเกรงท่านเจ้าเมืองด้วย จึงตกลงตั้งหลักแหล่งอยู่ ณ สถานที่นั้น ได้ช่วยกันหักร้างถางพงสร้างบ้านเรือนตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมา และด้วยหมู่บ้านนั้นตั้งอยู่ใกล้เคียงกับปราสาทโบราณ จึงเรียกขานกันว่า บ้านปราสาท <O:p> </O:p>คณตาแสร์ของหลวงปู่เป็นนายบ้าน ทำหน้าที่ปกครองดูแลหมู่บ้านปราสาทแห่งนั้น <O:p> </O:p>คุณตาแสร์มีลูก ๖ คน คือ ๑. นายมาก ๒. นางเงิม (มารดาของหลวงปู่) . นายม่วง ๔. นางแก้ว ๕. นางเมอะ และ ๖. นายอ่อน <O:p> </O:p>ครอบครัวของคุณตาแสร์ก็ขยายสาขาเพิ่มสมาชิกออกไป บางส่วนก็อยู่ในบ้านปราสาท บางส่วนก็อยู่ในหมู่บ้านใกล้เคียง บางส่วนก็อพยพย้ายไปอยู่ถิ่นอื่นตามวิถีชีวิตของแต่ละคน <O:p> </O:p>การประกอบอาชีพของผู้คนสมัยนั้น ได้แก่การทำไร่ เริ่มต้นด้วยการแผ้วถางป่าที่หนาทึบ เพื่อปลูกข้าว ฟัก แฟง แตงกวา สำหรับใช้ทำอาหาร นอกจากนี้ก็เก็บของป่า ล่าสัตว์ ซึ่งมีอย่างอุดมสมบูรณ์ <O:p> </O:p>สำหรับผู้หญิงทำงานบ้าน เลี้ยงลูก และดูแลสัตว์เลี้ยง มีเป็ด ไก่ หมู วัว ควาย เป็นต้น นอกจากนั้นก็ทอผ้า ปั่นด้าย เลี้ยงไหม <O:p> </O:p>บ้านเรือนก็สร้างกันอย่างง่ายๆ พออยู่ได้ ตัดโค่นต้นไม้กันเป็นต้นๆ ใช้ขวานถากไม้ทั้งต้นให้เป็นเสา หรือผ่าครึ่งแล้วถากให้บางเป็นแผ่นกระดาน นำใบไม้หรือไม้ไผ่ มาขัดแตะทำเป็นฝาบ้าน และมุงหลังคาด้วยหญ้าคา <O:p> </O:p>แต่ละบ้านจะนำไม้ไผ่มาสานเป็นโจรก คือตะกร้าหรือเข่งใบใหญ่ ภาษาเขมรพื้นเมืองเรียกว่า เจียลดอก ใช้สำหรับเก็บข้าวเปลือกไว้ทำพันธุ์หรือไว้กินตลอดปี โจรกแต่ละใบบรรจุข้าวเปลือกได้ถึง ๑๐ เกวียนก็มี บางบ้านก็ทำไว้หลายใบ <O:p> </O:p>ข้าว และพืชผลสมัยนั้นไม่มีการซื้อขายกัน ใช้วิธีแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันกันตามมีตามเกิด เงินทองไม่มีติดบ้านแม้แต่บาทเดียวก็ไม่เดือดร้อน ครอบครัวไหนทอผ้าห่ม ผ้านุ่งได้มาก หรือมีข้าวเปลือกเก็บสำรองไว้มากก็แบ่งปันครอบครัวอื่นที่ขาดแคลน ให้กู้ยืมไปกินตามความจำเป็น <O:p> </O:p>ชาวบ้านในสมัยนั้นนับถือผีปีศาจ และเทวดาอารักษ์ อย่างเหนียวแน่น พระสงฆ์องคเจ้า รวมทั้งเจ้าอาวาสบางองค์ก็เป็นผู้มีความชำนาญทางจิตทางวิญญาณ ใช้ไสยศาสตร์ และเวทย์มนต์คาถา มีการปลุกผี ปลุกพระ รักษาไข้ด้วยการเป่า เสก พ่น ประสานกระดูก ต่อกระดูก เซ่นไหว้ บวงสรวง เข้าทรง เรียกขวัญ เป็นต้น <O:p> </O:p>หยูกยาก็ใช้สมุนไพร ที่ได้เล่าเรียนและถ่ายทอดกันมาจากผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งก็เป็นการช่วยดูแลรักษากันได้บ้างตามความเหมาะสม ส่วนใหญ่ก็ได้พึ่งพาอาศัยพระโดยถือว่าพระเป็นผู้รู้กว่าใคร แม้ฆราวาสที่ทำหน้าที่เป็นหมอยาประจำหมู่บ้าน ก็จะเรียนรู้วิธีรักษาโรคเมื่อตอนบวชพระนั่นเอง <O:p> </O:p>อาหารการกินก็อาศัยผักหญ้าที่หาได้ในละแวกนั้น เกลือ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดซึ่งขาดไม่ได้ เพราะสมัยนั้นไม่มีกะปิ น้ำปลา หรือสิ่งปรุงรสอย่างอื่น เมื่อชาวบ้านจับปลาได้จะนำมาคลุกผสมกับเกลือ บรรจุไหทำเป็นปลาร้า ปลาจ่อม เก็บไว้ประกอบอาหาร หรือใช้รับประทานกับข้าว <O:p> </O:p>ครอบครัวไหนมีปลาร้าเต็มไห มีข้าวเปลือกเต็มโจรก ก็ถือว่ามีฐานะพออยู่พอกิน ไม่เดือดร้อน <O:p> </O:p>การอยู่การกินจึงเป็นไปอย่างง่ายๆ ผ้านุ่ง ผ้าถุง เสื้อผ้า ก็ทอและตัดเย็บกันเอง ผู้หญิงแต่งกายด้วยผ้า ๒ ผืน ผืนหนึ่งเป็นผ้านุ่งกระโจมอก เรียกว่า จอมปุง อีกผืนใช้ห่มเป็นสไบ ส่วนผู้ชายก็นุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียวก็ใช้ได้แล้ว ถ้ามีงานพิธีก็นุ่งโสร่งไหม ใส่เสื้อ แล้วมีผ้าขาวม้าพาดบ่าก็เป็นอันเพียงพอ <O:p> </O:p>เครื่องสำอางสำหรับผู้หญิงก็มีแป้งขาว แป้งดินสอพอง ขมิ้นผสมมะนาว สำหรับประเทืองผิว ส่วนเครื่องประดับก็มีสร้อยคอ แหวน ตุ้มหู กำไลมือ กำไลเท้า ซึ่งมักจะทำด้วยเครื่องเงิน ใช้แต่งในเทศกาลงานบุญต่างๆ <O:p> </O:p>สตรีสมัยนั้นจะต้องอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน ฝึกหัดงานฝีมือ ปั่นด้าย ทอผ้า ฝึกทำกับข้าว เพื่อผูกจิตผูกใจเพศตรงข้าม ญาติผู้ใหญ่จะดูว่า หญิงคนใดจะเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีได้ ก็ดูที่ความละเอียดประณีตของผ้าที่ทอ หรือดูที่ฝีมือการทำกับข้าว และกิริยามารยาททั่วไป <O:p> </O:p>ฝ่ายชายจะต้องขยันขันแข็งในการทำมาหากิน และต้องผ่านการบวชเรียนเสียก่อนจึงจัดว่าเป็น คนสุก สามารถเป็นผู้นำครอบครัวได้ เพราะการบวชเรียนเป็นการอบรมจิตใจ และฝึกความรู้ต่างๆ ให้เป็นภูมิรู้ภูมิธรรมประดับตน <O:p> </O:p>นี่คือชุมชนของชาวสุรินทร์ ในสมัยของหลวงปู่ เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา
    [​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:70:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:70:-->[​IMG]<!--endemo-->
     
  2. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    ๒. ชีวิตเมื่อวัยเยาว์

    หลวงปู่ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๓๑ ตรงกับแรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีชวด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>โยมบิดาของท่านชื่อ นายแดง โยมมารดาชื่อ นางเงิม นามสกุล ดีมาก <O:p> </O:p>หลวงปู่มีพี่น้อง คน คนแรกเป็นหญิงชื่อ กลิ้ง คนที่สองคือตัวหลวงปู่เอง ชื่อ ดูลย์ คนที่สามเป็นชายชื่อ เคน คนที่สี่และห้าเป็นหญิงชื่อ รัตน์ และ ทอง พี่น้องทั้ง ๔ คนของท่านมีชีวิตจนถึงวัยชรา และทุกคนเสียชีวิตก่อนที่จะมีอายุถึง ๗๐ ปี มีเพียงหลวงปู่เท่านั้นที่ดำรงอายุขัยอยู่จนถึง ๙๖ ปี <O:p> </O:p>พี่น้องของหลวงปู่ได้แยกย้ายไปทำมาหากินในที่ต่างๆ พอเริ่มมีพระราชบัญญัตินามสกุลออกมาใช้ แต่ละคนก็เลือกใช้นามสกุลตามที่ตนเห็นสมควร หลวงปู่ใช้นามสกุล ดีมาก ตามโยมแม่ <O:p> </O:p>มาตอนหลังหลวงปู่เปลี่ยนมาใช้นามสกุล เกษมสินธุ์ ซึ่งท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อท่านไปพำนักเพื่อศึกษาธรรมะที่จังหวัดอุบลราชธานี ประจำอยู่ที่วัด สุทัศนาราม ได้หลายปี หลานชายคนหนึ่งของท่านชื่อพร้อมตามไปอยู่ด้วย ท่านจึงตั้งนามสกุลให้ว่า เกษมสินธุ์ แล้วท่านก็เปลี่ยนใช้นามสกุลที่ตั้งใหม่นี้ด้วย <O:p> </O:p>แม้หลวงปู่จะเป็นลูกคนที่สอง แต่ก็เป็นลูกชายคนโตของครอบครัว ในช่วงแรกท่านก็ช่วยพี่สาวทำงานบ้าน ต่อเมื่อโตขึ้นจึงต้องแบกรับภารกิจมากทั้งในบ้านและนอกบ้าน นับตั้งแต่หาบน้ำ ตำข้าว หุงข้าว เลี้ยงดูน้องๆ ไปจนถึงช่วยพ่อแม่ทำไร่ไถนา และเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย <O:p> </O:p>ในบรรดาคนหนุ่มรุ่นเดียวกันแห่งบ้านปราสาท หลวงปู่จัดว่าเป็นหนุ่มหน้าตาดี ได้เปรียบเพื่อนๆ ด้านรูปสมบัติ นอกจากจะมีร่างกายแข็งแรงสุขภาพอนามัยดีแล้ว ยังมีผิวพรรณหมดจด รูปร่างโปร่งได้สัดส่วนสมทรง น่ารักน่าเอ็นดู มีท่าทางแคล่วคล่องว่องไว และยังมีอุปนิสัยเยือกเย็น อ่อนโยน ความประพฤติเรียบร้อยมาแต่เยาว์ จึงได้รับคำยกย่องชมเชยจากบรรดาญาติพี่น้อง และผู้ที่ได้พบเห็นโดยทั่วไป <O:p> </O:p>ด้วยเหตุที่ท่านมีรูปร่างงดงามนี่เอง ท่านเจ้าเมืองสุรินทร์สมัยนั้นจึงมีบัญชาให้นำตัวท่านมาร่วมแสดงละครนอก โดยเล่นเป็นตัวนางเอก <O:p> </O:p>สำหรับเรื่องราวชีวิตในอดีตนั้น นานแสนนานกว่าท่านจะเล่าให้ฟังสักครั้งหนึ่ง เมื่อมีโอกาสดีมีเวลาว่าง ท่านก็เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์เมืองสุรินทร์ลำดับถึงบุคคลสำคัญๆ ตลอดจนเครือญาติในสมัยนั้น <O:p> </O:p>หลวงปู่เล่าว่า ประมาณปี พ.. ๒๔๓๔ พระยาสุรินทรภักดีฯ (ม่วง) ผู้ที่ชักชวนคุณตาของท่านมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านปราสาท ได้ถึงแก่อนิจกรรม กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ ได้แต่งตั้ง พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญนาค) ผู้เป็นน้องชายขึ้นดำรงตำแหน่งแทน เป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ลำดับที่ ๖ <O:p> </O:p>ตอนที่หลวงปู่อายุประมาณ ๖ ขวบ ได้เกิดเหตุการณ์สู้รบกับต่างชาติ นั่นคือกรณีพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เรียกว่า เหตุการณ์ ร..๑๑๒ ชายฉกรรจ์ลูกสุรินทร์ ๘๐๐ คน ถูกเกณฑ์เข้ารับการฝึกในกองกำลังรบและส่งไปตรึงแนวรบด้านจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับกองกำลังจากเมืองอื่นๆ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากฝรั่งเศส หลังจากการปะทะกันเล็กน้อย ก็ตกลงทำสัญญาสงบศึก <O:p> </O:p>หลังจากกรณีพิพาทไม่นาน พระพิไชยณรงค์ภักดี (บุญนาค) ก็ถึงแก่กรรม พระพิไชยนครบวรวุฒิ (จรัญ) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองสุรินทร์ลำดับที่ ๗ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์ เจ้าเมืองคนนี้ถึงแก่กรรมเมื่อหลวงปู่อายุระหว่าง ๑๓-๑๔ กำลังเข้าวัยรุ่น <O:p> </O:p>พระยาพิไชยณรงค์ภักดี (บุญจันทร์) ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองสุรินทร์ลำดับที่ ๘ เป็นที่ พระยาสุรินทร์ภักดีศรีผไทสมันต์ ตามตำแหน่ง และเจ้าเมืองคนนี้เองที่บัญชาให้นำตัวท่านมาเล่นละคร <O:p> </O:p>หลวงปู่เล่าย้อนถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งท่านเล่นเป็นนางเอกละครว่า สมัยนั้นคนนิยมดูละครกันมาก สมัยนั้นมีธรรมเนียมอยู่ว่า ถ้าเป็นละครของเจ้าเมืองในหัวเมือง ต้องเอาผู้ชายแสดงทั้งหมด โดยสมมติเป็นพระเป็นนางเอา แต่ถ้าเป็นละครหลวง หรือละครของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้แสดงต้องเป็นผู้หญิงล้วน สมมติเป็นพระเป็นนางเอาเหมือนกัน <O:p> </O:p>เรื่องที่หลวงปู่เคยแสดงก็มีเรื่อง ไชยเชษฐ์ ลักษณวงศ์ จันทรกุมาร เป็นต้น จำได้ชื่อหนึ่งว่า ท่านเคยแสดงเป็นนาง ชื่อนางรัมภา ไม่ทราบว่าอยู่ในวรรณคดีเรื่องใด <O:p> </O:p>จากที่หลวงปู่เล่า พอจะสรุปได้ว่าคนสมัยโน้นกับคนสมัยนี้ มักจะคลั่งดาราเหมือนกัน ท่านเล่าว่า ครั้งหนึ่งหลังจากที่จบการแสดงแล้ว มีหญิงสาวคนหนึ่งพรวดพราดเข้ามาหาหลวงปู่ในห้องแต่งตัว คงคิดจะทอดไมตรีผูกเป็นมิตรสหายกัน นับว่าแก่นกล้ามิใช่น้อย สำหรับสภาพสังคมสมัยนั้น <O:p> </O:p>ขณะนั้น นางเอกละครของเรากำลังถอดเครื่องทรงออกทีละชิ้น ทั้งแท้ทั้งเทียม แม่สาวคนนั้นถึงกับตะลึงเมื่อทราบว่าท่านเป็นชาย เธออายมากรีบกระโดดลงจากเวที วิ่งหนีไปอย่างรวดเร็วเหมือนกระต่ายป่า <O:p> </O:p>นี่แสดงว่า หลวงปู่ของเราก็มีความสามารถในการแสดงไม่เบา ผู้หญิงแท้ๆ ยังคิดว่าท่านเป็นผู้หญิงจริงๆ แต่เมื่อเห็นท่านเป็นชายจึงรีบหนีไป <O:p> </O:p>จากเหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นว่า เด็กหนุ่มเด็กสาวสมัยนั้นเขามีจิตสำนึกในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดความเสื่อมเสีย และระวังในเรื่องระหว่างเพศเป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดความมัวหมองในความเป็นหนุ่มสาวของตน มิฉะนั้นจะถูกดูหมิ่นดูแคลนจากสายตาของสังคม <O:p> </O:p>หลวงปู่ยืนยันว่า ตลอดชีวิตของท่านมีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่เคยพ้องพานแตะต้องสตรีเพศเลยแม้แต่น้อย ตราบเท่าเข้าสู่เพศพรหมจรรย์ ดำรงชีพอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งผ้ากาสาวพัสตร์รวดเดียวตลอดชั่วอายุขัย <O:p> </O:p>เมื่อ พ.. ๒๔๔๘ หลวงปู่อายุประมาณ ๑๘ ปี ได้ลงไป บางกอก เมืองหลวงของประเทศเป็นครั้งแรก เพื่อไปซื้อเครื่องแต่งละคร เพราะตัวนางเอกต้องมาลองเครื่อง เลือกเครื่อง ให้ได้เหมาะเจาะสมตัว <O:p> </O:p>หลวงปู่เดินทางด้วยช้างจากเมืองสุรินทร์ ใช้เวลา ๔ วัน ๔ คืน จึงถึงเมืองโคราช พักช้างไว้ที่นั่น แล้วขึ้นรถไฟต่อเข้ากรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางอีก ๑ วัน ในสมัยนั้นรถไฟมีเดินแค่ กรุงเทพฯ-โคราช เท่านั้น <O:p> </O:p>เมื่อลงรถไฟที่สถานีหัวลำโพงแล้ว เห็นเมืองบางกอกสมัยนั้นไม่มีตึกรามบ้านช่องหรือผู้คนมากมายอะไร ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน เมื่อปวดท้องหนักท้องเบาก็สามารถแวะเข้าป่าสะแก หรือป่าสาบเสือข้างทางได้อย่างสบาย น้ำท่าแต่ละลำคลองก็ใสสะอาดดี อาบดื่มได้อย่างสนิทใจ <O:p> </O:p>เมื่อกลับถึงสุรินทร์แล้วก็ทำให้รู้สึกกระหยิ่มใจว่ามีบุญวาสนามิใช่น้อย ที่ได้ไปเห็นบางกอกด้วยสายตาตนเอง หลวงปู่จึงมีเรื่องเล่าให้ผู้อื่นฟังอยู่เสมอ เพราะเหตุว่าน้อยคนนักที่จะมีโอกาสวาสนาได้ไปเห็นกรุงเทพฯ ในสมัยนั้น<O:p> </O:p>

    <O:p></O:p>

    <O:p>[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:71:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:71:-->[​IMG]</O:p>
     
  3. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    ๓. สู่ร่มกาสาวพัสตร์


    ช่วงที่อยู่ในคณะละครนี่เอง ท่านได้มีโอกาสเรียนรู้หนังสือไทย พออ่านเขียนได้บ้างจากเพื่อนในคณะ ทั้งนี้เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีโรงเรียน คนที่อยากเรียนหนังสือจึงต้องบวชเรียน หรือไม่ก็ต้องเดินทางไปแสวงหาความรู้ที่บางกอกเมืองหลวงเท่านั้น <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    หลวงปู่อยู่กับคณะละครถึง ๔ ปีเศษ แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใครๆ ก็ต้องรู้สึกว่าน่าเพลิดเพลินและน่าลุ่มหลงเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะอยู่ในวัยกำลังงามแล้ว ท่านยังเป็นนักแสดงที่มีผู้นิยมชมชอบมากอีกด้วย ถึงกระนั้นหลวงปู่ของเราก็มิได้หลงใหลกับสิ่งเหล่านั้นเลย ตรงกันข้าม ท่านกลับมีอุปนิสัยโน้มเอียงไปทาง เนกขัมมะ คืออยากออกบวช <O:p> </O:p>
    หลวงปู่ได้พยายามขออนุญาตบวชจากบิดามารดาหลายครั้ง แต่ก็ถูกคัดค้านเรื่อยมา เนื่องจากขาดกำลังสำคัญที่จะช่วยแบ่งเบาภาระการงานของครอบครัว เพราะท่านเป็นบุตรชายคนโต เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของบ้าน <O:p> </O:p>
    หลวงปู่เฝ้าอ้อนวอนขออนุญาตลาบวชหลายครั้ง จนในที่สุด บิดามารดาไม่อาจขัดขวางความตั้งใจจริงของท่านได้ จึงได้อนุญาตให้บวชตามความปรารถนา แต่บิดาก็ได้กล่าวในน้ำเสียงที่ออกจะเป็นการประชดว่า ถ้าบวชแล้วต้องไม่สึก หรืออย่างน้อยต้องให้ได้เป็นเจ้าอาวาส <O:p> </O:p>
    ความจริงคุณปู่ของท่านเคยบวชและได้เป็นเจ้าอาวาสมาแล้ว ด้วยเหตุนี้กระมัง ที่มีส่วนส่งเสริมอุปนิสัยของท่านให้โน้มเอียงไปทางบรรพชาตั้งแต่เยาว์วัย คือมีอุปนิสัย รักการบุญ และเกรงกลัวบาป มิได้เพลิดเพลินคึกคะนองไปในวัยหนุ่มเหมือนคนทั่วๆ ไป <O:p> </O:p>
    เมื่อหลวงปู่ได้รับอนุญาตให้บวชเมื่อท่านอายุได้ ๒๒ ปี พวกตระกูลเจ้าเมืองที่เคยชุบเลี้ยงท่านได้เป็นผู้จัดแจงเรื่องการบวชให้ครบถ้วนทุกอย่าง <O:p> </O:p>
    หลวงปู่ได้เข้าอุปสมบทก่อนเข้าพรรษา เมื่อ พ.. ๒๔๕๓ ณ พัทธสีมา วัดจุมพลสุทธาวาส ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองรอบนอกของจังหวัดสุรินทร์ในสมัยนั้น โดยมีท่าน พระครูวิมลสีลพรต (ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูบึก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ ท่านพระครูฤทธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ <O:p> </O:p>
    ในการอุปสมบทครั้งนี้ ท่านอุปสมบทในคณะ มหานิกาย ทั้งนี้เพราะ คณะธรรมยุต ในสมัยนั้นยังไม่มีในจังหวัดสุรินทร์ <O:p> </O:p>
    หลวงปู่ได้รับฉายาว่า อตุโล หมายถึง ผู้ไม่มีใครเทียบได้ <O:p> </O:p>
    นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ก็เท่ากับเป็นบาทก้าวแรกแห่งการแสวงหาความจริง บนเส้นทางธรรมของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล อันเป็นความจริงที่นำไปสู่การดับทุกข์อย่างถึงที่สุดและสิ้นเชิง<O:p> </O:p>
     
  4. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]



    ๔. ปีติ ๕ การฝึกกัมมัฏฐานครั้งแรก


    เมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว หลวงปู่มีความปรารถนาแรงกล้าที่จะศึกษาธรรมให้ยิ่งขึ้นเป็นลำดับ เมื่อดำริอย่างนั้นจึงได้ไปขอจำพรรษาที่วัดบ้านคอโค ตำบลคอโค ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านของท่านไปทางตะวันตก ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ออกไปประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ต้องเดินทางด้วยเท้าฝ่าป่ารกชัฏไป <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    ที่วัดคอโคได้ชื่อว่าเป็นวัดที่สอนการเจริญกัมมัฏฐานของจังหวัดสุรินทร์ ในสมัยนั้น มี หลวงพ่อแอก เป็นเจ้าอาวาส และเป็นครูฝึกกัมมัฏฐานท่านแรกสำหรับหลวงปู่ <O:p> </O:p>
    การสอนพระกัมมัฏฐานและการอบรมความรู้ด้านพระศาสนา เมื่อสมัย ๘๐ ปีที่แล้ว เป็นการกระทำไปตามมีตามเกิด ถือความเห็นของครูอาจารย์เป็นหลัก <O:p> </O:p>
    วิธีสอนกัมมัฏฐานของ หลวงพ่อแอก ในครั้งนั้น ท่านให้เริ่มต้นด้วยการจุดเทียนขึ้นมา ๕ เล่ม แล้วนั่งบริกรรมว่า ขออัญเชิญปีติทั้ง ๕ จงมาหาเรา บริกรรมไปจนกว่าเทียนจะไหม้หมด จัดว่าเป็นกุศโลบายที่แยบยลเท่าที่มีในสมัยนั้น <O:p> </O:p>
    หลวงปู่ได้พากเพียรปฏิบัติตามคำชี้แนะของพระอาจารย์อย่างเคร่งครัด ใช้ความอุตสาหะและพยายามท่องบ่นบริกรรมไปจนตลอดพรรษาโดยมิได้ลดละ แต่ก็ไม่บังเกิดผลอันใด <O:p> </O:p>
    จนแล้วจนรอด ความรู้สึกอิ่มใจ ความดื่มด่ำที่เรียกว่า ปีติทั้ง ๕ ก็ไม่ได้ปรากฏขึ้นในดวงหทัย <O:p> </O:p>
    ไม่ว่าจะเป็น ขุททกาปีติ คือปีติเล็กน้อยพอขนชูชัน น้ำตาไหล <O:p> </O:p>
    หรือ ขณิกาปีติ ได้แก่ ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ <O:p> </O:p>
    หรือ โอกกันติกาปีติ ได้แก่ ปีติเป็นระลอก หรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซ่าลงมาในกายดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง <O:p> </O:p>
    หรือ อุพเพงคาปีติ คือ ปีติโลดลอยเป็นอย่างแรง ให้รู้สึกใจฟู แสดงอาการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน หรือ ให้รู้สึกตัวเบาโลดลอยขึ้นมาในอากาศ เป็นต้น <O:p> </O:p>
    ตลอดจน ผรณาปีติ คือ ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านเอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ อันเป็นปีติที่ประกอบกับสมาธิกระทั่งนำไปสู่จิตรวม <O:p> </O:p>
    หลวงปู่เคยกล่าวถึงจิตรวมว่า "เมื่อจิตรวมสงบแล้ว คำบริกรรมก็หลุดหายไปเอง แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน รสเดียวกัน คือมีวิมุติเป็นแก่น มีปัญญาเป็นยิ่ง"<O:p> </O:p>
    การเพียรพยายามของหลวงปู่ตลอดทั้งไตรมาสในครั้งนั้น ไม่บังเกิดผลเลย ได้เห็นแต่เทียน ๕ เล่ม มิได้บังเกิดปีติทั้ง ๕ ตามความปรารถนา <O:p> </O:p>
    หลวงปู่ได้ให้ข้อสังเกตในภายหลัง เมื่อท่านผ่านการปฏิบัติกระทั่งได้พบธรรมะในใจแล้ว ท่านให้ข้อสรุปจากประสบการณ์แห่งธรรมปฏิบัติของท่านว่า <O:p> </O:p>
    "การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้ เพราะผลมันเป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้น เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน จึงต้องสร้างวัตถุ สี แสง และคำสำหรับบริกรรม เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน" <O:p> </O:p>
    นอกจากหลวงปู่จะฝึกบริกรรมเพื่ออัญเชิญปีติทั้ง ๕ ตามที่กล่าวแล้ว ท่านยังทดลองฝึกทรมานร่างกายเพื่อเผาผลาญกิเลสในตัว เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ด้วยการเข้มงวดกวดขันในการขบฉันอาหาร โดยลดจำนวนคำข้าวที่ฉันให้น้อยลงไปเรื่อยๆ เช่น วันก่อนเคยฉัน ๑๐ คำ วันต่อมาลดเหลือ ๙ คำ ๘ คำ ลดลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งร่างกายซูบผอม ยามลุกขึ้นเดินก็โซเซ โงนเงน ไม่มีเรี่ยวแรง <O:p> </O:p>
    เมื่อฝึกทรมานร่างกายด้วยการอดอาหารติดต่อกันหลายวัน หลวงปู่ก็พบว่ามิได้มีผลอะไร นอกจากร่างกายซูบผอมอ่อนโรยพลัง ในที่สุดท่านก็ตัดสินใจเลิก แล้วก็กลับมาฉันอาหารดังเดิม <O:p> </O:p>
    นอกจากปฏิบัติกัมมัฏฐาน และฝึกทรมานร่างกายตามวิถีแห่งโยคะแล้ว หลวงปู่ก็ได้ท่องบ่นบทสวดมนต์ เจ็ดตำนาน บ้าง สิบสองตำนาน บ้าง แต่มิได้เรียนพระธรรมวินัย ซึ่งถือเป็นข้อวัตรปฏิบัติเพื่อฝึกฝนขัดเกลากาย วาจา ใจ เพื่อให้เป็นรากฐานของสมาธิภาวนา หลวงปู่ไม่ทราบเรื่องนี้ เพราะไม่ได้รับการบอกกล่าวแต่อย่างใด <O:p> </O:p>
    นอกจากนี้ ระหว่างที่อยู่ที่นั่นท่านยังถูกใช้ให้สร้างเกวียน และเลี้ยงโคอีกด้วย ท่านจึงเกิดความรู้สึกสลดสังเวช และเกิดความเบื่อหน่าย แต่ท่านก็อดทนอยู่ได้นานถึง ๖ พรรษา

    [​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:71:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:71:-->[​IMG]
     
  5. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]



    ๕. ไปศึกษาพระปริยัติที่จังหวัดอุบล


    ในช่วงทศวรรษที่ ๒๔๕๐ ตลอดทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การศึกษาในแวดวงสงฆ์คึกคักอย่างยิ่งที่จังหวัดอุบลราชธานี ทั้งนี้ด้วยการริเริ่มสร้างสรรค์ของท่านเจ้าประคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) และด้วยการสานเสริมเติมต่อของพระเดชพระคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสเถระ) จนกล่าวได้ว่าจังหวัดอุบลราชธานี เป็นทิศาปาโมกข์ของผู้รักการเรียนในพระปริยัติโดยแท้ <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    ในปี พ.. ๒๔๕๘ ขณะที่หลวงปู่ดูลย์ยังพำนักที่วัดบ้านคอโค ท่านก็ได้ยินกิตติศัพท์เกี่ยวกับการสอนการเรียนพระปริยัติที่จังหวัดอุบลราชธานี ตามแบบของมหามกุฎราชวิทยาลัยแห่งวัดบวรนิเวศวิหาร หลวงปู่มีความปีติอย่างล้นพ้นเมื่อได้ทราบข่าวนี้ และมีความปรารถนาแรงกล้าที่จะได้เดินทางไปศึกษายังจังหวัดอุบลฯ <O:p> </O:p>
    หลวงปู่ได้เพียรขออนุญาตพระอุปัชฌาย์ที่จะเดินทางไปศึกษา แต่ก็ถูกทัดทานในเบื้องต้น เพราะในระยะนั้นการเดินทางจากสุรินทร์ไปอุบลราชธานีลำบากยากเข็ญเป็นอย่างยิ่ง <O:p> </O:p>
    หลวงปู่เพียร วิริโยขออนุญาตหลายครั้ง เมื่อพระอุปัชฌาย์เห็นความมุ่งมั่นของหลวงปู่ จึงได้อนุญาต ท่านได้ออกเดินทางไปกับพระภิกษุอีก ๒ องค์ คือ พระคง และ พระดิษฐ์ <O:p> </O:p>
    เมื่อท่านได้เดินทางไปถึงอุบลราชธานี หลวงปู่ต้องประสบปัญหาในเรื่องที่พัก เนื่องจากหลวงปู่บวชในมหานิกาย ขณะที่ วัดสุปัฏนาราม และ วัดสุทัศนาราม แหล่งศึกษาพระปริยัติธรรมนั้นเป็นวัดฝ่ายสงฆ์ธรรมยุต <O:p> </O:p>
    โชคดีที่ได้พบ พระมนัส ซึ่งได้เดินทางมาเรียนอยู่ก่อนแล้ว ได้ให้ความช่วยเหลือฝากให้อยู่อาศัยที่ วัดสุทัศนารามได้ แต่ในฐานะพระอาคันตุกะ ทำให้ความราบรื่นในทางการเรียนค่อยบังเกิดขึ้นเป็นลำดับ <O:p> </O:p>
    การเล่าเรียนพระปริยัติธรรมในช่วงปี พ.. ๒๔๕๐ กว่าๆ นั้น เป็นไปอย่างเข้มงวด การไล่ หรือการสอบพระธรรมบทหรือวินัยมุขต่างๆ นั้น ผู้สอบจะถูกไล่เรียงซักถามเป็นรายตัวตามเนื้อหาที่เรียนมาเป็นบทๆ จนจบ ผู้ที่สอบได้จึงถือได้ว่าเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยความเพียรพยายามอย่างที่สุด <O:p> </O:p>
    หลวงปู่สามารถสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรี นวกภูมิ เป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นความสำเร็จอย่างสูงในสมัยนั้น <O:p> </O:p>
    นอกจากนี้หลวงปู่ยังได้เรียนบาลีไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์) ด้วย เพราะความหมายแห่ง บาลี คือภาษาที่ได้จดจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในทางพระพุทธศาสนา ดังนั้น การศึกษาเล่าเรียนในทางปริยัติธรรม โดยเนื้อแท้ก็คือการศึกษาภาษาบาลีนั่นเอง <O:p> </O:p>
    หลวงปู่ได้เรียนบาลีไวยากรณ์ จนสามารถแปลพระธรรมบทได้ <O:p> </O:p>
    แม้จะนำความรู้ในระดับ นักธรรมตรี ไปเทียบกับ เปรียญธรรม ๙ ประโยค ซึ่งเป็นคุณวุฒิสูงสุดในทางปริยัติธรรม อาจถือได้ว่าห่างไกลกันเป็นอย่างยิ่ง เหมือนกับนำความรู้ระดับชั้นประถมปีที่ ๑ ไปเทียบกับปริญญาเอกก็น่าจะได้ <O:p> </O:p>
    แต่สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ การศึกษาในทางปริยัติธรรมของหลวงปู่นั้น เกิดขึ้นในทศวรรษ ๒๔๕๐ เช่นเดียวกับการศึกษาในทางโลกเมื่อประมาณ ๘๐ ปีก่อน การได้เรียนถึงประถมปีที่ ๑ หรือ ๒ ก็นับว่ายอดเยี่ยมล้ำเลิศแห่งยุคสมัยแล้ว
    ภายหลังต่อมา เมื่อหลวงปู่มีพรรษาแก่กล้า ผ่านประสบการณ์ด้านธรรมปฏิบัติมามาก และมาตั้งโรงเรียนสอนปริยัติธรรมที่วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์แล้ว คราวหนึ่งที่นักเรียนของท่าน มีพระภิกษุสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้เป็นองค์แรก และในงานฉลองพัดประโยค ๙ ในครั้งนั้น หลวงปู่ได้ให้โอวาทในเชิงปรารภธรรมว่า
    <O:p></O:p>ผู้ที่สามารถสอบเปรียญ ๙ ประโยคได้นั้น ต้องมีความเพียรอย่างมาก และมีความฉลาดเพียงพอ เพราะถือว่าเป็นการจบหลักสูตรฝ่ายปริยัติ และต้องแตกฉานในพระไตรปิฎก การสนใจในทางปริยัติอย่างเดียวพ้นทุกข์ไม่ได้ ต้องสนใจปฏิบัติทางจิตต่อไปอีกด้วย
    โดยไม่ต้องตั้งคำถามว่า ทำไม หลวงปู่ก็ให้คำอธิบายสั้นๆ ว่า
    "พระธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น ออกไปจากจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ทุกสิ่งทุกอย่างออกจากจิตใจ อยากรู้อะไรค้นได้ที่จิต"
    <O:p>ที่หลวงปู่กล่าวเช่นนี้ มิได้หมายความว่าหลวงปู่จะมองข้ามบทบาทและความหมายของปริยัติ เนื่องเพราะการศึกษาในทางปริยัตินั้นเป็นรากฐาน หรือสะพานอันก่อให้เกิดความรู้ ที่จะเชื่อมโยงไปสู่ความเข้าใจในธรรมะ แต่จะขาดการปฏิบัติไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด
    ปริยัติเพียงอย่างเดียวพ้นทุกข์ไม่ได้ ปัจจัยชี้ขาดโดยแท้จริงอยู่ที่การปฏิบัติทางจิต

    [​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:71:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:71:-->[​IMG]
    </O:p>
     
  6. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]

    พระราชวุฒาจารย์ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ก่อนมรณภาพ ๑๒ วัน


    <H3 style="TEXT-ALIGN: center" align=center>


    . เข้าสู่สงฆ์ฝ่ายวิปัสสนาธุระ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    เมื่อหลวงปู่ประสบผลสำเร็จในการเล่าเรียนด้านปริยัติในระดับหนึ่งแล้ว สิ่งที่ยังคงค้างคาในใจของท่านในขณะนั้นก็คือ ความต้องการที่จะเปลี่ยนจากนิกายเดิม มาเป็น ธรรมยุติกนิกาย หรือ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ <o:p></o:p>

    (คณะสงฆ์ได้แบ่งลักษณะการบริหารออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายคันถธุระ ซึ่งเป็น มหานิกาย กับฝ่าย วิปัสสนาธุระ ซึ่งเป็น ธรรมยุติกนิกาย ทั้ง ๒ ฝ่ายปฏิบัติธรรมเพื่อความสำเร็จในเป้าหมายเดียวกัน แต่ฝ่ายมหานิกายเน้นทางสร้างฐานพระศาสนา คือ สอนคนทั่วไป ส่วนฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เน้นการฝึกตนเองไปสู่ความหลุดพ้น) <o:p></o:p>

    แม้หลวงปู่จะมีความต้องการญัตติใหม่อย่างยิ่งก็ตาม แต่หาได้ดำเนินไปด้วยความราบรื่น ทั้งนี้มิใช่ว่าหลวงปู่ของเราจะอ่อนด้อยไม่เหมาะสม หากแต่พระเถระผู้ใหญ่มีสายตายาวไกลมากกว่า <o:p></o:p>

    กล่าวคือ พระธรรมปาโมกข์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลในขณะนั้นเห็นว่า "อยากให้ท่านเล่าเรียนไปก่อน ไม่ต้องญัตติ"<o:p></o:p>

    พระคุณเจ้าได้ชี้แจงเหตุผลว่า "เนื่องจากทางคณะสงฆ์ธรรมยุต มีนโยบายจะให้ท่านกลับไปพัฒนาการศึกษาพระปริยัติธรรม ที่จังหวัดสุรินทร์ บ้านเดิมของท่านให้เจริญรุ่งเรือง เพราะถ้าหากญัตติแล้ว เมื่อท่านกลับไปสุรินทร์ท่านจะต้องอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากไม่มีวัดฝ่ายธรรมยุตที่จังหวัดสุรินทร์เลย"<o:p></o:p>

    สำหรับ พระธรรมปาโมกข์ องค์นี้ก็คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสสเถระ ในเวลาต่อมานั่นเอง ท่านเป็นพระอาจารย์ผู้แรกเริ่มสอนพระปริยัติธรรมในภาคอิสาน โดยเปิด สำนักเรียนอุบลวิทยาคม ณ วัดสุปัฏนาราม ในเมืองอุบลราชธานี ทำให้การศึกษาภาษาบาลีและธรรมได้แพร่กระจายไปทั่วมณฑลอิสานเป็นลำดับมา <o:p></o:p>

    แม้พระผู้ใหญ่จะทัดทานการญัตติของหลวงปู่ดูลย์ จะเปี่ยมด้วยเจตนาอันดี แต่หลวงปู่มิได้มีความประสงค์จะกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่จังหวัดสุรินทร์ <o:p></o:p>

    แท้จริงแล้ว หลวงปู่ต้องการเป็นพระนักปฏิบัติ ดังนั้นความเพียรในการขอญัตติ จึงยังดำเนินต่อไป <o:p></o:p>

    จะสังเกตได้ว่า การดำรงและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของหลวงปู่ มักจะเริ่มต้นด้วยการมีอุปสรรคเสมอ และสุดท้ายก็สำเร็จลงได้ด้วยความพยายามและความตั้งใจจริงของท่าน ซึ่งการญัตติในครั้งนี้ก็เช่นกัน <o:p></o:p>

    เหตุการณ์ต่อมา ซึ่งจะนับว่าเป็นโชคของหลวงปู่ก็ว่าได้ ที่ท่านได้มีโอกาสรู้จักคุ้นเคยกับ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ซึ่งท่านรับราชการครู ทำหน้าที่สอนฆราวาส ทั้งที่ยังเป็นพระสงฆ์อยู่ที่วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี <o:p></o:p>

    หลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่ดูลย์ มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน แต่หลวงปู่ดูลย์อ่อนพรรษากว่า <o:p></o:p>

    หลวงปู่ทั้งสององค์มีความสนิทสนมกันมากขึ้นเป็นอันดับ หลวงปู่สิงห์เห็นปฏิปทาในการศึกษาเล่าเรียน พร้อมทั้งการประพฤติปฏิบัติกิจในพระศาสนาของหลวงปู่ดูลย์ ว่าเป็นไปด้วยความตั้งใจจริง จึงได้รับภาระในเรื่องการขอญัตติจนกระทั่งประสบผลสำเร็จ <o:p></o:p>

    ดังนั้นใน พ.ศ. ๒๔๖๑ ขณะมีอายุ ๓๐ ปี หลวงปู่จึงได้ญัตติจากนิกายเดิม มาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในธรรมยุติกนิกาย ณ พัทธสีมา วัดสุทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระศาสนดิลก ( ชิตเสโน เสน ) เจ้าคณะมณฑลอุดร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ <o:p></o:p>

    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม นับเป็นกัลยาณมิตรอันยอดเยี่ยมของหลวงปู่ <o:p></o:p>

    กล่าวในทางประวัติความเป็นมา หลวงปู่สิงห์ เป็นพระภิกษุที่สอนหนังสือให้ฆราวาส ภายหลังที่ท่านได้กราบนมัสการ หลวงปู่มั่น-พระอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><st1:personName w:st="on" ProductID="ใหญ่ เป็นลำดับมา">ใหญ่ เป็นลำดับมา</st1:personName> ภายในห้วงนึกคิดของท่านก็เริ่มแปรเปลี่ยน เนื่องจากเพราะคำชักชวนของ พระอาจารย์ใหญ่ ดังกึกก้องในโสตประสาทเสมอ <o:p></o:p>

    "การบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์จะต้องปฏิบัติกรรมฐาน คือ พิจารณา ตจปัญจกกัมมัฏฐาน เป็นเบื้องแรก เพราะเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง"<o:p></o:p>

    กล่าวกันว่าจากการฝึกปฏิบัติภาวนาตามคำแนะนำของ หลวงปู่มั่น อย่างเอาจริง ถึงกับ หลวงปู่สิงห์ มองเห็นศิษย์อันเป็นฆราวาสทั้งชายหญิง กลายเป็นโครงกระดูกน้อยใหญ่ นั่งเรียน และเคลื่อนไหวก๊อกแก๊ก ก๊อกแก๊ก อยู่ในชั้นเรียนที่ท่านกำลังสอนอยู่ พอวันรุ่งขึ้นท่านก็สะพายกลดธุดงค์ ออกบำเพ็ญเพียรตามป่าเขาลำเนาไพรตั้งแต่นั้นมา <o:p></o:p>

    หลวงปู่สิงห์ ได้รับสมญาว่าเป็น แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม นั่นคือ ท่านได้รับมอบหมายภาระจาก หลวงปู่มั่น ให้นำพระภิกษุสงฆ์สายพระกัมมัฏฐาน ออกทำการเผยแพร่ธรรมะในแนวทางปฏิบัติ จนกระทั่งแพร่หลายมาจนทุกวันนี้ <o:p></o:p>

    ช่วงหลังสุด หลวงปู่สิงห์ ได้มาสร้าง วัดป่าสาลวัน ที่จังหวัดนครราชสีมา และพำนักอยู่ที่วัดแห่งนี้ จนวาระสุดท้ายในชีวิตของท่าน <o:p></o:p>

    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม นับเป็นกัลยาณมิตรอันยอดเยี่ยมของหลวงปู่ดูลย์ นอกจากรับเป็นภาระช่วยให้หลวงปู่ได้ญัตติอยู่ในฝ่ายธรรมยุตแล้ว ต่อมาได้นำพาให้หลวงปู่เข้าเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฎฐานอีกด้วย <o:p></o:p>

    นับเป็นคุณูปการใหญ่หลวงยิ่ง ในชีวิตของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ของเรา



    <o:p>[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:71:-->[​IMG]<!--endemo--> <!--emo&:71:-->[​IMG]</o:p>

    <o:p> </o:p>

    <O:p> </O:p>
    </H3>
     
  7. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p> </o:p>​
    ๗. เข้าเป็นศิษยฺ์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต<o:p></o:p>
    เมื่อหลวงปู่ญัตติเข้าเป็นสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตแล้ว ท่านก็มีสิทธิ์เป็นพระอยู่ในวัดสุทัศนารามได้อย่างสมบูรณ์ มิใช่อยู่เยี่ยงพระอาคันตุกะเหมือนเมื่อก่อน กิจกรรมการเรียนด้านปริยัติของท่านยังคงดำเนินต่อไป เพียงแต่เมื่อเข้ามาอยู่ใต้ชายคาแห่งสายวิปัสสนาธุระแล้ว ข้อวัตรปฏิบัติก็มีความเคร่งครัดรัดกุมมากขึ้น ทำให้ท่านมีใจใฝ่ศึกษาโดยเน้นการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง<o:p></o:p>
    ในช่วงระหว่างทศวรรษ ๒๔๖๐ นั้น ไม่เพียงแต่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ติสสเถระ เท่านั้น ที่ทรงบทบาทเป็นอย่างสูงด้านพระพุทธศาสนาในภาคอิสาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดอุบลราชธานี <o:p></o:p>
    อีกท่านหนึ่งที่ได้รับความเคารพรัก และศรัทธาเป็นอย่างสูง ก็คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายพระกรรมฐาน <o:p></o:p>
    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงปู่มั่น เดินทางจาก วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ มาพำนักที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี <o:p></o:p>
    นับเป็นข่าวใหญ่ แพร่กระจายไปในหมู่สงฆ์ และประชาชนทั่วไป ทำให้บรรดาพระภิกษุสามเณร และชาวบ้านร้านตลาดทั้งปวง พากันแตกตื่นหลั่งไหลไปฟังธรรมเทศนาของ หลวงปู่มั่น กันเป็นโกลาหล <o:p></o:p>
    หลวงปู่สิงห์ ได้ชักชวน หลวงปู่ดูลย์ ไปกราบเพื่อฟังเทศน์ และศึกษาธรรมะจาก พระอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:smarttags" /><st1:personName w:st="on" ProductID="ใหญ่ ที่วัดบูรพา">ใหญ่ ที่วัดบูรพา</st1:personName> เช่นเดียวกับคนอื่นๆ <o:p></o:p>
    พระอาจารย์ใหญ่ กล่าวเมื่อพบหน้า หลวงปู่สิงห์ ว่า<o:p></o:p>
    "เราได้รอเธอมานานแล้ว อยากจะพบและชักชวนไปปฏิบัติธรรมด้วยกัน" <o:p></o:p>
    พระอาจารย์ใหญ่มั่น ได้กล่าวในตอนนั้นอีกว่า <o:p></o:p>
    "การบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ จักต้องปฏิบัติกัมมัฏฐาน คือ พิจารณาตจะปัญจกะกัมมัฏฐานเป็นเบื้องแรก เพราะเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง"<o:p></o:p>
    จากนั้น หลวงปู่สิงห์ กับ หลวงปู่ดูลย์ ก็ถวายตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ตลอดมา <o:p></o:p>
    หลวงปู่ทั้งสององค์พากันไปฟังเทศน์จากพระอาจารย์ใหญ่เป็นประจำ ไม่เคยขาดแม้สักครั้งเดียว <o:p></o:p>
    นอกจากจะได้ฟังธรรมะแปลกๆ ที่สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ มีความลึกซึ้ง รัดกุม และกว้างขวาง เป็นที่น่าอัศจรรย์แล้ว ยังมีโอกาสเฝ้าสังเกตปฏิปทาของท่านพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="ใหญ่ ที่งดงามเพียบพร้อม">ใหญ่ ที่งดงามเพียบพร้อม</st1:personName> น่าเลื่อมใสทุกอิริยาบถอีกด้วย ทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงใจ แต่ละคำพูดมีนัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ไหนมาก่อน จึงทำให้หลวงปู่ทั้งสององค์เพิ่มความสนใจ ใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานให้มากยิ่งๆ ขึ้นไป <o:p></o:p>
    การศึกษาเล่าเรียนด้านพระปริยัติธรรม ของหลวงปู่ดูลย์มีความก้าวหน้าตามลำดับ ท่านได้พิจารณาตามข้อธรรมเหล่านั้น จนแตกฉานช่ำชองพอสมควร และได้พิจารณาเห็นว่า การเรียนพระปริยัติธรรมอย่างเดียวนั้น เป็นแต่เพียงการจำหัวข้อธรรมะได้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติให้เกิดผล และรู้รสพระธรรมอย่างซาบซึ้งนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก <o:p></o:p>
    หลวงปู่จึงได้บังเกิดความโน้มเอียงไปในทางปฏิบัติ คือ ธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างแน่วแน่ จึงได้ตัดสินใจที่จะออกธุดงค์กัมมัฎฐาน ในฤดูหลังออกพรรษานั้นอย่างแน่นอน เป็นเหตุให้การเรียนทางปริยัติธรรมในห้องเรียนของท่านเป็นอันสิ้นสุดลง <o:p></o:p>
    ต่อไป คือการเข้าสู่ห้องเรียนที่เป็นธรรมชาติอันกว้างใหญ่ไพศาล ประกอบทั้งดินฟ้ามหาสมุทร รวมทั้งการเสาะแสวงหาตัวเองในโลกภูมินี้ก็กว้างไกลสุดแสน เหลือที่จะประมาณได้<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>​
     
  8. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    ๗. เข้าเป็นศิษยฺ์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

    <H3 style="TEXT-ALIGN: center" align=center>เมื่อหลวงปู่ญัตติเข้าเป็นสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตแล้ว ท่านก็มีสิทธิ์เป็นพระอยู่ในวัดสุทัศนารามได้อย่างสมบูรณ์ มิใช่อยู่เยี่ยงพระอาคันตุกะเหมือนเมื่อก่อน กิจกรรมการเรียนด้านปริยัติของท่านยังคงดำเนินต่อไป เพียงแต่เมื่อเข้ามาอยู่ใต้ชายคาแห่งสายวิปัสสนาธุระแล้ว ข้อวัตรปฏิบัติก็มีความเคร่งครัดรัดกุมมากขึ้น ทำให้ท่านมีใจใฝ่ศึกษาโดยเน้นการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง
    ในช่วงระหว่างทศวรรษ ๒๔๖๐ นั้น ไม่เพียงแต่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ติสสเถระ เท่านั้น ที่ทรงบทบาทเป็นอย่างสูงด้านพระพุทธศาสนาในภาคอิสาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดอุบลราชธานี
    อีกท่านหนึ่งที่ได้รับความเคารพรัก และศรัทธาเป็นอย่างสูง ก็คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายพระกรรมฐาน <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    เมื่อปี พ.. ๒๔๕๘ หลวงปู่มั่น เดินทางจาก วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ มาพำนักที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี <O:p> </O:p>
    นับเป็นข่าวใหญ่ แพร่กระจายไปในหมู่สงฆ์ และประชาชนทั่วไป ทำให้บรรดาพระภิกษุสามเณร และชาวบ้านร้านตลาดทั้งปวง พากันแตกตื่นหลั่งไหลไปฟังธรรมเทศนาของ หลวงปู่มั่น กันเป็นโกลาหล <O:p> </O:p>
    หลวงปู่สิงห์ ได้ชักชวน หลวงปู่ดูลย์ ไปกราบเพื่อฟังเทศน์ และศึกษาธรรมะจาก พระอาจารย์ใหญ่ ที่วัดบูรพา เช่นเดียวกับคนอื่นๆ <O:p> </O:p>
    พระอาจารย์ใหญ่ กล่าวเมื่อพบหน้า หลวงปู่สิงห์ ว่า
    "เราได้รอเธอมานานแล้ว อยากจะพบและชักชวนไปปฏิบัติธรรมด้วยกัน"
    พระอาจารย์ใหญ่มั่น ได้กล่าวในตอนนั้นอีกว่า <O:p> </O:p>
    "การบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ จักต้องปฏิบัติกัมมัฏฐาน คือ พิจารณาตจะปัญจกะกัมมัฏฐานเป็นเบื้องแรก เพราะเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง"
    จากนั้น หลวงปู่สิงห์ กับ หลวงปู่ดูลย์ ก็ถวายตัวเป็นศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ตลอดมา <O:p> </O:p>
    หลวงปู่ทั้งสององค์พากันไปฟังเทศน์จากพระอาจารย์ใหญ่เป็นประจำ ไม่เคยขาดแม้สักครั้งเดียว <O:p> </O:p>
    นอกจากจะได้ฟังธรรมะแปลกๆ ที่สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ มีความลึกซึ้ง รัดกุม และกว้างขวาง เป็นที่น่าอัศจรรย์แล้ว ยังมีโอกาสเฝ้าสังเกตปฏิปทาของท่านพระอาจารย์ใหญ่ ที่งดงามเพียบพร้อม น่าเลื่อมใสทุกอิริยาบถอีกด้วย ทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงใจ แต่ละคำพูดมีนัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังจากที่ไหนมาก่อน จึงทำให้หลวงปู่ทั้งสององค์เพิ่มความสนใจ ใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานให้มากยิ่งๆ ขึ้นไป <O:p> </O:p>
    การศึกษาเล่าเรียนด้านพระปริยัติธรรม ของหลวงปู่ดูลย์มีความก้าวหน้าตามลำดับ ท่านได้พิจารณาตามข้อธรรมเหล่านั้น จนแตกฉานช่ำชองพอสมควร และได้พิจารณาเห็นว่า การเรียนพระปริยัติธรรมอย่างเดียวนั้น เป็นแต่เพียงการจำหัวข้อธรรมะได้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติให้เกิดผล และรู้รสพระธรรมอย่างซาบซึ้งนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก <O:p> </O:p>
    หลวงปู่จึงได้บังเกิดความโน้มเอียงไปในทางปฏิบัติ คือ ธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างแน่วแน่ จึงได้ตัดสินใจที่จะออกธุดงค์กัมมัฎฐาน ในฤดูหลังออกพรรษานั้นอย่างแน่นอน เป็นเหตุให้การเรียนทางปริยัติธรรมในห้องเรียนของท่านเป็นอันสิ้นสุดลง ต่อไป คือการเข้าสู่ห้องเรียนที่เป็นธรรมชาติอันกว้างใหญ่ไพศาล ประกอบทั้งดินฟ้ามหาสมุทร รวมทั้งการเสาะแสวงหาตัวเองในโลกภูมินี้ก็กว้างไกลสุดแสน เหลือที่จะประมาณได้


    </H3>
     
  9. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    ๘. ออกธุดงค์


    การบวชของ หลวงปู่ดูลย์ นั้น ความจริงท่านมิได้มีเจตนาที่จะรุ่งโรจน์ทางด้านปริยัติธรรม หรือด้านการปกครอง ถึงแม้ สมเด็จพระมหาวีรวงค์ ติสสมหาเถระ ตั้งความหวังว่าจะให้หลวงปู่เป็นผู้นำในการเผยแพร่ และปกครองเสมือนเป็นหูเป็นตาแทนท่านในเขตเมืองสุรินทร์ก็ตาม <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    แต่เนื้อแท้และความปรารถนาอย่างแท้จริงของหลวงปู่ คือ การออกปฏิบัติ ปรารภความเพียรในความวิเวกต่างหาก เป็นความต้องการที่เคยมาดหมายไว้ เมื่อแรกบวชที่จังหวัดสุรินทร์ และที่อุตส่าห์รอนแรมมาจังหวัดอุบลราชธานี ก็เพื่อการนี้ <O:p> </O:p>
    ด้วยความตั้งใจของท่าน และเมื่อ หลวงปู่สิงห์ ออกปากชวนให้ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่าเขาแห่งภาคอิสาน จึงสอดรับกับความต้องการของหลวงปู่อย่างดียิ่ง <O:p> </O:p>
    ครั้นออกพรรษาแล้ว เมื่อปลายปี พ.. ๒๔๖๑ นั้นเอง หลวงปู่มั่นพระอาจารย์ใหญ่ ก็ออกธุดงค์อีก หลวงปู่ทั้งสองสหาย คือ หลวงปู่สิงห์ และหลวงปู่ดูลย์ ก็ตัดสินใจเด็ดขาด สละละทิ้งการเรียนการสอน ออกจาริกธุดงค์ ติดตามพระปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ ไปทุกหนทุกแห่ง จนตลอดฤดูกาลนอกพรรษานั้น <O:p> </O:p>
    ตามธรรมเนียมธุดงค์กัมมัฏฐานของ พระอาจารย์ใหญ่มั่น นั้นมีอยู่ว่า เมื่อถึงกาลเข้าพรรษา ไม่ให้จำพรรษารวมกันมากเกินไป ให้แยกย้ายกันไปจำพรรษาตามสถานที่อันวิเวก ไม่ว่าจะเป็นวัด เป็นป่า เป็นเขา โคนไม้ ลอมฟาง เรือนว่าง หรืออะไรตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคล แต่ละคณะ <O:p> </O:p>
    ขณะเดียวกัน เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็จะถึงวาระแห่งการประชุมกัน หากทราบข่าวว่า พระอาจารย์ใหญ่มั่น อยู่ ณ ที่ใด ก็จะพากันไปจากทุกทิศทาง มุ่งตรงไปยัง ณ ที่นั้น <O:p> </O:p>
    ความประสงค์ก็เพื่อเรียนพระกัมมัฏฐาน และเล่าแจ้งถึงผลของการประพฤติปฏิบัติที่ผ่านมา <O:p> </O:p>
    เมื่อมีอันใดผิด พระอาจารย์ใหญ่ ก็จะช่วยแนะนำแก้ไข อันใดถูกต้องดีแล้ว ท่านจะได้แนะนำข้อกัมมัฏฐานให้ยิ่งๆ ขึ้นไป <O:p> </O:p>
    ในพรรษาแรกที่ร่วมออกธุดงค์ติดตาม พระอาจารย์ใหญ่มั่น นี้ หลวงปู่บอกว่ายังไม่มีอะไรมาก เพียงแต่เป็นการฝึกการใช้ชีวิตแบบพระป่า และใช้หลักความรู้ในการฝึกปฏิบัติเบื้องต้น เป็นการสร้างฐานความรู้ให้มั่นคง <O:p> </O:p>
    สำหรับผู้ที่มีความตั้งใจจริงอย่างหลวงปู่แล้ว ท่านไม่ปล่อยเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ ท่านได้เร่งการฝึกปฏิบัติความเพียรอย่างเคร่งครัด โดยมี ฉันทะ คือ ความเชื่อมั่นและศรัทธาในความสำเร็จที่หวังว่าจะต้องเกิดขึ้นในตัวท่านอย่างแน่นอน <O:p> </O:p>
    จากการได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติกับท่านพระอาจารย์ใหญ่ ตลอดการออกธุดงค์ในช่วงนี้ ทำให้หลวงปู่เกิดความเลื่อมใสในแนวทางธุดงค์กัมมัฏฐานเป็นอย่างยิ่ง <O:p> </O:p>
    เมื่อใกล้ฤดูกาลเข้าพรรษาในปีนั้น (.. ๒๔๖๓) คณะของหลวงปู่ ซึ่งนำโดยหลวงปู่สิงห์ ก็แยกย้ายจากพระอาจารย์ใหญ่ พาหมู่คณะแสวงหาที่สงบวิเวก เพื่อบำเพ็ญเพียรในช่วงเข้าพรรษาต่อไป
     
  10. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    ๙. เหนือความตาย

    คณะที่นำโดย หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ก็มี พระอาจารย์บุญ พระอาจารย์สีทา พระอาจารย์หนู และ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล รวม ๕ องค์ เมื่อแยกทางจาก พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต แล้ว ก็เดินธุดงค์เลียบเทือกเขาภูพานไปเรื่อยๆ
    เมื่อถึง ป่าท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้พิจารณาเห็นว่าสภาพป่าแถวนั้น มีความเหมาะสมที่จะอยู่จำพรรษา จึงได้สมมติขึ้นเป็น สำนักป่าท่าคันโท แล้วทั้ง ๕ องค์ ก็อธิษฐานอยู่จำพรรษา ณ สถานที่นั้น <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    เมื่อพิจารณาที่จำพรรษาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทุกองค์ก็ตั้งสัจจะปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ ดำเนินข้อวัตรปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของพระอาจารย์ใหญ่อย่างสุดชีวิต <O:p> </O:p>
    ป่าท่าคันโท แถบเทือกเขาภูพานในสมัยนั้น ยังรกชัฏ อุดมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ที่ร้ายกาจก็คือ มีไข้ป่าชุกชุม ชาวบ้านเรียกว่า "ไข้หนาว" ใครก็ตามที่เป็นจะมีอาการหนาวสั่น เหมือนมีคนจับกระดูกเขย่าให้โยกโคลนไปทั้งกาย <O:p> </O:p>
    ปรากฏว่าพระทุกองค์ ยกเว้นพระอาจารย์หนูเพียงองค์เดียว ที่ไม่ถูกพิษไข้หนาวเล่นงานเอา นอกนั้นต่างล้มเจ็บได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสด้วยกันทั้งสิ้น <O:p> </O:p>
    ในท่ามกลางป่าทึบดงเถื่อนเช่นนั้น หยูกยาอะไรก็ไม่มี ได้แต่เยียวยาช่วยกันรักษากันไปตามมีตามเกิด <O:p> </O:p>
    ในกลางพรรษา พระสหธรรมิกรูปหนึ่งก็ถึงแก่มรณภาพไปต่อหน้าต่อตา ยังความสลดสังเวชให้กับหมู่เพื่อนเป็นอย่างยิ่ง <O:p> </O:p>
    อย่างไรก็ตาม ความตายมิอาจทำให้เกิดความหวั่นไหวรวนเร ในหมู่พระนักปฏิบัติทั้ง ๔ รูปที่เหลืออยู่ <O:p> </O:p>
    เมื่อจัดการฝังสรีระของพระสหธรรมิกแล้ว ต่างองค์ต่างก็รีบเร่งความเพียรหนักยิ่งขึ้น เสมือนหนึ่งจะช่วงชิงชัยชนะเหนือความตายที่รุกคืบเข้ามา <O:p> </O:p>
    เบื้องหน้าคือความตาย เบื้องหน้าคือความยากลำบาก เบื้องหน้าคือการจากพระสหธรรมิกที่ร่วมเส้นทางกันมา นับเป็นบททดสอบอันเด็ดขาดยิ่ง ที่ต้องเผชิญเป็นครั้งแรกในชีวิตธุดงค์ของหลวงปู่ <O:p> </O:p>
    สำหรับหลวงปู่ดูลย์ เมื่อต้องประสบชะตากรรมเช่นนี้ ก็ได้อาศัยความสำเหนียกรู้ เผชิญกับความตายอย่างเยือกเย็น<O:p> </O:p>
    ความเป็นจริงที่เห็นและเป็นอยู่ก็คือ การเผชิญกับโรคาพยาธิ ขณะที่หยูกยาขาดแคลนอย่างหน้าใจหาย <O:p> </O:p>
    หลวงปู่เกิดความคิดขึ้นในใจว่า สิ่งที่จะพึ่งได้ในยามนี้ก็มีแต่ อำนาจพุทธคุณ เท่านั้น แม้ท่านจะได้รับพิษไข้อย่างแสนสาหัส ด้วยใจอดทนและมุ่งมั่น ท่านได้รำลึกถึงพระพุทธคุณ แล้วตั้งสัจวาจาอย่างแม่นมั่นว่า <O:p> </O:p>
    "ถึงอย่างไร ตัวเราคงไม่พ้นเงื้อมมือแห่งความตายในพรรษานี้แน่แล้ว แม้เราจักตาย ก็จงตายในสมาธิภาวนาเถิด"
    จากนั้นหลวงปู่ก็เริ่มปรารภความเพียร ตั้งสติให้สมบูรณ์เฉพาะหน้า ธำรงจิตให้อยู่ในสมาธิอย่างมั่นคงทุกอิริยาบถ พร้อมทั้งพิจารณาความตาย คือใช้ มรณานุสติกัมมัฏฐาน เป็นอารมณ์ โดยมิได้ย่อท้อพรั่นพรึงต่อมรณภัยที่กำลังคุกคามจะมาถึงตัวในไม่ช้านี้เลย <O:p> </O:p>
    เมื่อไม่หวาดหวั่นต่อความตาย แล้วความตายจะมีบทบาท และความหมายอะไรอีกเล่า !
     
  11. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    ๑๐. แยกจิตออกจากกิเลส


    ณ ป่าท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ นี้เอง แม้จะเป็นพรรษาแรกของการปฏิบัติกัมมัฎฐานก็ตาม แต่ด้วยความพยายามและด้วยปณิธานอันแน่วแน่ไม่ลดละ ผลแห่งการปฏิบัติก็เริ่มบังเกิดขึ้นอย่างเต็มภาคภูมิ
    กล่าวคือ ในระหว่างที่นั่งภาวนาซึ่งเริ่มตั้งแต่หัวค่ำไปจนถึงตอนดึกสงัด จิตของท่านค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบ เกิดความปีติชุ่มเย็น แล้วเกิดนิมิตที่ชัดเจน คือได้เห็นองค์พระพุทธรูปปรากฏขึ้นในตัวท่าน สวมทับร่างของท่านได้สัดส่วนพอดี จนดูประหนึ่งว่าท่านเองเป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    ท่านพยายามพิจารณารูปนิมิตนั้นต่อไปอีก ก็จะเห็นเป็นอย่างนั้นอยู่ตลอด แม้กระทั่งออกจากสมาธิแล้ว รูปนิมิตนั้นก็ยังเห็นติดตาอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งเช้าได้เดินออกบิณฑบาตสู่ละแวกบ้านของชาวบ้านแถบนั้น นิมิตก็ยังปรากฏอยู่เช่นนั้น ท่านสังเกตดูนิมิตนั้นไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้ปริปากบอกใครเลย <O:p> </O:p>
    ขณะเดินทางกลับจากบิณฑบาต ก่อนที่รูปนิมิตนั้นจะหายไป หลวงปู่ได้พิจารณาถึงตัวท่านเอง ก็ปรากฏเห็นกระดูกทุกสัดส่วนอย่างชัดเจน ด้านนอกมีเนื้อและหนังหุ้มพันเอาไว้ เมื่อเพ่งพิจารณาต่อ ก็เห็นว่ากระดูกและเนื้อหนังเหล่านั้นล้วนแต่ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นเอง <O:p> </O:p>
    เมื่อพิจารณาเห็นอย่างนั้น ท่านเกิดความรู้สึกไม่อยากฉันอาหารในวันนั้น แต่รู้สึกอิ่มเอิบจากการที่จิตเป็นสมาธิ จึงทำความเพียรต่อไป ก็ปรากฏว่ารูปนิมิตนั้นหายไป พอออกจากสมาธิแล้วปรากฏว่าฤทธิ์ไข้ที่ท่านเป็นอยู่ก็หายไปสิ้น เหมือนถูกปลิดทิ้งไปตั้งแต่นั้น <O:p> </O:p>
    นี่คือความมหัศจรรย์ ! <O:p> </O:p>
    หลวงปู่เร่งกระทำความเพียรต่อไปอีก โดยเดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้างสลับกันไปตลอดทั้งวันทั้งคืนอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ด้วยอาศัยความอิ่มเอิบแห่งจิตที่เป็นสมาธิ <O:p> </O:p>
    เมื่อจิตสงบได้ที่ พลันก็บังเกิดแสงแห่งพระธรรมปรากฏแก่จิตของท่านอย่างแจ่มแจ้ง จนกระทั่งท่านสามารถแยกจิตกับกิเลสออกจากกันได้ <O:p> </O:p>
    รู้ได้ชัดเจนว่า อะไรคือจิต และอะไรคือกิเลส <O:p> </O:p>
    จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต <O:p> </O:p>
    และเข้าใจสภาพเดิมของจิตที่แท้จริงได้ <O:p> </O:p>
    ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังรู้ได้อย่างแจ่มแจ้งด้วยว่า กิเลสส่วนไหนละได้แล้ว และส่วนไหนบ้างที่ยังละไม่ได้ <O:p> </O:p>
    ในครั้งนั้น หลวงปู่ยังไม่ได้เล่าให้ใครฟัง นอกจากบอกหลวงปู่สิงห์ให้ทราบเพียงว่า จิตของท่านเป็นสมาธิเท่านั้น ซึ่งหลวงปู่สิงห์ก็ชมว่า "ท่านมาถูกทางแล้ว" และอนุโมทนาสาธุด้วย <O:p> </O:p>
    หลวงปู่รู้สึกบังเกิดความแจ่มแจ้งในตนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน รอให้ถึงเวลาออกพรรษา จะได้ไปกราบเรียนให้พระอาจารย์ใหญ่ทราบ และขอคำแนะนำในการปฏิบัติขั้นต่อไป
     
  12. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><!--mstheme-->
    [​IMG]
    <SCRIPT language=JavaScript><!--MSFPhover = (((navigator.appName == "Netscape") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 3 )) || ((navigator.appName == "Microsoft Internet Explorer") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 4 ))); function MSFPpreload(img) { var a=new Image(); a.src=img; return a; }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav1n=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav1h=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav2n=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav2h=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav3n=MSFPpreload("../_derived/dharma1.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav3h=MSFPpreload("../_derived/dharma1.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav4n=MSFPpreload("../_derived/picture.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav4h=MSFPpreload("../_derived/picture.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT>
    <!--mstheme-->​

    </TD></TR><!--msnavigation--></TBODY></TABLE><!--msnavigation--><TABLE dir=ltr cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><!--msnavigation--><TD vAlign=top><!--mstheme-->โอ้ โพธิ์พฤกษ์เย็น คุณะเด่นเกษมสรรพ์ บัดนี้ พระดับขันธ์ ดุจะ โพธิหักลาญ

    <!--msthemeseparator-->[​IMG]

    ๑๑. กราบนมัสการหลวงปู่มั่น

    กาลเวลาที่รอคอยได้มาถึง เมื่อออกพรรษาในปีนั้น ซึ่งเป็นปี พ..๒๔๖๕ พระที่จำพรรษา ณ เสนาสนะป่าท่าคันโท กาฬสินธุ์ ต่างก็แยกย้ายกันเดินธุดงค์ต่อไป เพื่อค้นหาพระอาจารย์ใหญ่ คือ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>


    หลวงปู่ดูลย์ ร่วมเดินธุดงค์ไปกับหลวงปู่สิงห์ แล้วต่อมาก็แยกทางกัน ต่างองค์ต่างก็มุ่งตามหาพระอาจารย์ใหญ่ตามประสงค์ <O:p></O:p>


    หลวงปู่ออกจาริกตามลำพังมาถึง หนองหาร จังหวัดสกลนคร แวะไปพำนักที่ เกาะเกต อันถือกันในหมู่พระธุดงค์ว่าเป็นแดนแห่งความขลังและอาถรรพ์แรง ชาวบ้านในแถบนั้นต่างก็เกรงกลัวไม่กล้าเข้าไป และก็ขอร้องไม่ให้หลวงปู่เข้าไป เกรงท่านจะไม่ปลอดภัย <O:p></O:p>


    แต่หลวงปู่ของเรากลับเห็นว่าสถานที่แห่งนั้นเหมาะสมที่จะบำเพ็ญภาวนา เพราะเป็นที่สงบสงัด ชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปรบกวน เหมาะสมยิ่งนักที่จะตรวจสอบความแข็งแกร่งของจิต <O:p></O:p>


    หลวงปู่พำนัก ณ สถานที่แห่งนั้นหลายวัน แล้วจึงเดินทางต่อไปจนถึงบ้านตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน สกลนคร สอบถามชาวบ้านได้ความว่ามีพระธุดงค์จำนวนมากชุมนุมในป่าใกล้ๆ หมู่บ้านนั่นเอง หลวงปู่รู้สึกยินดีอย่างมาก คิดว่าคงจะเป็นพระอาจารย์ใหญ่มั่นอย่างแน่นอน <O:p></O:p>


    หลวงปู่รีบรุดไปสถานที่แห่งนั้น และพบว่าเป็นความจริง เห็นหลวงปู่สิงห์และพระรูปอื่นๆ นั่งด้วยอาการสงบแวดล้อมพระอาจารย์ใหญ่อยู่ <O:p></O:p>


    พระอาจารย์ใหญ่หันมาทางหลวงปู่ แล้วบอกแก่คณะว่า "โน่นๆ ท่านดูลย์มาแล้ว! ท่านดูลย์มาแล้ว"


    หลวงปู่มีความปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง จนถึงกับรำพันในใจว่า "ด้วยอำนาจพระพุทธคุณ ประสงค์อย่างไรก็สำเร็จอย่างนั้น" <O:p></O:p>


    หลวงปู่เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์ใหญ่ด้วยความเคารพอย่างสุดซึ้ง ได้สนทนาธรรมกันอยู่นานพอสมควร โดยพระอาจารย์ใหญ่เป็นผู้สอบถาม และหลวงปู่ดูลย์เป็นผู้กราบเรียน


    ถึงตอนหนึ่ง หลวงปู่ดูลย์กราบเรียนพระอาจารย์ใหญ่ว่า <O:p></O:p>


    "เดี๋ยวนี้กระผมเข้าใจแล้ว กระผมได้ทำความรู้จักกับกิเลสของกระผมได้ดีแล้ว คือ ถ้ารวมกันทั้งหมด แล้วแบ่งเป็น ๔ ส่วน ส่วนที่หนึ่ง กระผมละได้เด็ดขาดแล้ว ส่วนที่สอง กระผมละได้ครึ่งหนึ่ง และส่วนที่สามกับส่วนที่สี่ กระผมยังละไม่ได้ขอรับ" <O:p></O:p>


    เมื่อได้ยินดังนั้น พระอาจารย์ใหญ่จึงเอ่ยว่า "เก่งมาก ฉลาดมาก ที่สามารถรู้จักกิเลสของตนเอง และการปฏิบัติที่ผ่านมา ที่เล่าบอกนั้น ก็เป็นการถูกต้องดีแล้ว"


    จากบทสนทนานี้ แสดงให้เห็นว่า การบำเพ็ญเพียรตามแนวคำสอนของพระพุทธองค์ก็คือ การค้นหาความจริงของตนเอง เป็นการมองลึกลงไปในสภาพตัวตนที่เป็นจริงของตน และอีกประการหนึ่งเป็นการค้นหาสภาพความเป็นจริงแห่งกองทุกข์ นั่นคือกิเลส <O:p></O:p>


    เพราะหากไม่รู้จักตนเอง และไม่รู้จักกิเลส ก็ไม่รู้จักกองทุกข์ เมื่อไม่รู้จักกองทุกข์ ก็ไม่สามารถดับทุกข์ให้หมดสิ้นไปได้ เป้าหมายสูงสุดคือ สามารถดับทุกข์อย่างชนิดไม่มีเหลืออยู่เลย <O:p></O:p>


    พระอาจารย์ใหญ่ และหลวงปู่ดูลย์ ได้สนทนาธรรมกันด้วยความเคร่งเครียด จริงจัง แล้วพระอาจารย์ก็มอบการบ้านให้หลวงปู่ไปพิจารณา ความเป็นอนิจจังของสังขาร และภาวะแห่งการแปรเปลี่ยนโดยเริ่มจากกาย และสังขารแห่งตน <O:p></O:p>


    โดยพระอาจารย์ใหญ่ได้บอกเป็นคำบาลี เป็นการบ้านให้หลวงปู่นำไปพิจารณาว่า "สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา"


    นี่คือการบ้านที่พระอาจารย์ใหญ่มอบให้หลวงปู่ ก่อนการอำลาในครั้งนั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2007
  13. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><!--mstheme-->

    <SCRIPT language=JavaScript><!--MSFPhover = (((navigator.appName == "Netscape") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 3 )) || ((navigator.appName == "Microsoft Internet Explorer") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 4 ))); function MSFPpreload(img) { var a=new Image(); a.src=img; return a; }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav1n=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav1h=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav2n=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav2h=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav3n=MSFPpreload("../_derived/dharma1.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav3h=MSFPpreload("../_derived/dharma1.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav4n=MSFPpreload("../_derived/picture.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav4h=MSFPpreload("../_derived/picture.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT>
    <!--mstheme-->​

    </TD></TR><!--msnavigation--></TBODY></TABLE><!--msnavigation-->ขออภัยโทษทีนะครับ ..ผิดพลาดมากมายอย่างงี้
    กลัวไม่ทันเวลา..อาจะอ่านยากบ้าง..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2007
  14. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    [​IMG]
    <SCRIPT language=JavaScript><!--MSFPhover = (((navigator.appName == "Netscape") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 3 )) || ((navigator.appName == "Microsoft Internet Explorer") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 4 ))); function MSFPpreload(img) { var a=new Image(); a.src=img; return a; }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav1n=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav1h=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav2n=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav2h=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT> <SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav3n=MSFPpreload("../_derived/dharma1.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav3h=MSFPpreload("../_derived/dharma1.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT> <SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav4n=MSFPpreload("../_derived/picture.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav4h=MSFPpreload("../_derived/picture.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT>

    <!--mstheme--><!--msnavigation--><!--msnavigation--><TABLE dir=ltr cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><!--msnavigation--><TD vAlign=top><!--mstheme-->โอ้ โพธิ์พฤกษ์เย็น คุณะเด่นเกษมสรรพ์ บัดนี้ พระดับขันธ์ ดุจะ โพธิหักลาญ


    <!--msthemeseparator-->
    [​IMG]


    ๑๒. เป็นทุกข์เพราะความคิด


    หลังจากหลวงปู่ดูลย์ได้รับคำแนะนำ พร้อมทั้งรับ การบ้าน จากพระอาจารย์ใหญ่แล้ว จึงได้กราบลาและปลีกตัวไปบำเพ็ญภาวนาตามลำพัง


    หลวงปู่นั่งเข้าที่ทำสมาธิ ประเดี๋ยวเดียวจิตก็สงบ แล้วยกหัวข้อธรรม ซึ่งเป็นการบ้านที่ว่า สพฺเพ สงฺขารา สพฺพสญฺญา อนตฺตา ขึ้นพิจารณาเพียงชั่วประเดี๋ยวเดียวก็เกิดความสว่างแจ้งในธรรม คือเห็น ปฏิจฺจสมุปฺบาท กระจ่างชัดตลอดสาย นั่นคือ


    เห็นความเป็นมาของสังขารทั้งหลายว่า เกิดจากความคิดปรุงแต่งของวิญญาณที่ได้รู้จากอายตนะของตนนั่นเอง เมื่อละสังขารเหล่านี้ได้ ความทุกข์ก็ดับหมดตลอดสาย และนี่คือหลักการของปฏิจจสมุปบาท


    แม้จะไม่มีคำอธิบายโดยพิสดารในที่นี้ แต่เมื่อนำคำสอนของหลวงปู่ในหนังสือ หลวงปู่ฝากไว้ มาพิจารณา จะเห็นว่าท่านพูดสั้นๆ เพียงว่า


    คนสมัยนี้เขาเป็นทุกข์เพราะความคิด


    ที่ใจเป็นทุกข์เพราะเกิดความยึดมั่น แล้วมีการปรุงแต่งในความคิดขึ้น และอุบายที่จะละความทุกข์ก็คือ หยุดการปรุงแต่ง แล้วปล่อยวางให้เป็น


    นี่คือหลักการ แต่การจะทำเช่นนั้นได้ต้องอาศัยภาวนา ทำใจให้สงบ จึงจะเกิดพลัง มีสติปัญญามองเห็นเหตุเห็นผล แล้วจิตก็จะมีการปล่อยวางได้ เมื่อละความยึดมั่นได้ ความทุกข์ในสิ่งนั้นก็หมดไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2007
  15. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><!--mstheme-->

    <SCRIPT language=JavaScript><!--MSFPhover = (((navigator.appName == "Netscape") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 3 )) || ((navigator.appName == "Microsoft Internet Explorer") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 4 ))); function MSFPpreload(img) { var a=new Image(); a.src=img; return a; }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav1n=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav1h=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav2n=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav2h=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT>
    <!--mstheme-->​

    </TD></TR><!--msnavigation--></TBODY></TABLE>​
    <!--msnavigation-->
    <TABLE dir=ltr cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><!--msnavigation--><TD vAlign=top><!--mstheme-->

    <!--msthemeseparator-->
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><!--mstheme-->
    [​IMG]
    <SCRIPT language=JavaScript><!--MSFPhover = (((navigator.appName == "Netscape") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 3 )) || ((navigator.appName == "Microsoft Internet Explorer") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 4 ))); function MSFPpreload(img) { var a=new Image(); a.src=img; return a; }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav1n=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav1h=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav2n=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav2h=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT> <SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav3n=MSFPpreload("../_derived/dharma1.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav3h=MSFPpreload("../_derived/dharma1.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT> <SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav4n=MSFPpreload("../_derived/picture.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav4h=MSFPpreload("../_derived/picture.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT>
    <!--mstheme-->
    </TD></TR><!--msnavigation--></TBODY></TABLE><!--msnavigation--><TABLE dir=ltr cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><!--msnavigation--><TD vAlign=top><!--mstheme--><H3 align=center>โอ้ โพธิ์พฤกษ์เย็น คุณะเด่นเกษมสรรพ์ บัดนี้ พระดับขันธ์ ดุจะ โพธิหักลาญ


    <!--msthemeseparator-->
    [​IMG]
    ๑๓. ตายแล้วไปไหน


    ครั้งนั้น เมื่อหลวงปู่ดูลย์อยู่รับการอบรมสั่งสอน และปฏิบัติอาจาริยวัตรแด่พระอาจารย์ใหญ่นานพอสมควร ก็ได้กราบลาปลีกตัวออกธุดงค์แสวงหาความวิเวกต่อไป

    ในช่วงนี้ (พ.ศ. ๒๔๖๓) คาดว่าหลวงปู่จะธุดงค์ไปทางจังหวัดสุรินทร์ระยะหนึ่ง แล้วจึงขึ้นไปทางอิสานเหนือ ไปทาง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีสามเณรติดตามไปด้วยองค์หนึ่ง

    หลวงปู่และเณรได้อธิษฐานจำพรรษาที่ชายป่าแห่งหนึ่ง ใกล้ บ้านกุดก้อม

    ต่อมาไม่นานนัก สามเณรก็อาพาธ (ป่วย) เกิดเป็นไข้หนาวอย่างแรง หยูกยาจะรักษาก็ไม่มี ในที่สุดสามเณรก็ถึงแก่มรณภาพ ลงไปต่อหน้าต่อตา ด้วยสภาพที่ชวนสังเวชยิ่งนัก

    หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า "สงสารเณรมาก อายุก็ยังน้อย หากมียารักษา เณรคงไม่ตายแน่"

    ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ ๒ ที่หลวงปู่ได้อยู่ใกล้ชิดกับความตาย คือ ครั้งแรกเมื่อจำพรรษาที่สำนักป่าท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อพระสหธรรมิก ของท่านรูปหนึ่งได้มรณภาพในกลางพรรษา

    จากการที่สามเณรมรณภาพในครั้งนั้น หลวงปู่ได้คอยสังเกต พิจารณาอาการตายของคนเราว่าเป็นอย่างไร จิตหรือวิญญาณออกไปทางไหน หรืออย่างไร ท่านได้เห็นแจ้งโดยตลอด

    ด้วยเหตุผลบางประการ ท่านเจ้าคุณ พระโพธินันทมุนี (อดีต พระครูนันทปัญญาภรณ์) เห็นว่าไม่สมควรที่จะบันทึกไว้ในที่นี้

    ในหนังสือ หลวงปู่ฝากไว้ หลวงปู่พูดถึงความตาย หรือตายแล้วไปไหน อยู่ตอนหนึ่งเหมือนกัน เรื่องนี้อยู่ภายใต้หัวข้อ ต้องปฏิบัติจึงหมดความสงสัย ซึ่งบันทึกไว้ว่า :-

    เมื่อมีผู้ถามถึงการตาย การเกิดใหม่ หรือถามถึงชาติหน้าชาติหลัง หลวงปู่ไม่เคยสนใจที่จะตอบ หรือเมื่อมีผู้กล่าวค้านว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ ว่านรกสวรรค์มีจริงหรือไม่จริงประการใด หลวงปู่ไม่เคยค้นคว้าหาเหตุผลเพื่อจะเอาค้านใคร หรือไม่เคยหาหลักฐาน เพื่อยืนยันให้ใครยอมจำนนแต่ประการใด ท่านกลับแนะนำว่า

    ผู้ปฏิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้าชาติหลัง หรือนรกสวรรค์อะไรก็ได้ ให้ตั้งใจปฏิบัติให้ตรงศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแน่วแน่ก็พอ

    ถ้าสวรรค์มีจริงถึง ๑๖ ชั้น ตามตำรา ผู้ปฏิบัติดีแล้วก็ย่อมได้เลื่อนฐานะของตนเองโดยลำดับ

    หรือถ้าสวรรค์นิพพานไม่มีเลย ผู้ปฏิบัติดีแล้วในขณะนี้ ก็ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุข เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ

    และในตอนท้าย หลวงปู่สอนว่า :-

    การฟังจากคนอื่น การค้นคว้าจากตำรานั้น ไม่อาจแก้ข้อบกพร่องข้อสงสัยได้ ต้องเพียรปฏิบัติ ทำวิปัสสนาญาณให้แจ้ง ความสงสัยก็หมดไปเองโดยสิ้นเชิง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </H3>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2007
  16. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD><!--mstheme-->
    [​IMG]
    <SCRIPT language=JavaScript><!--MSFPhover = (((navigator.appName == "Netscape") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 3 )) || ((navigator.appName == "Microsoft Internet Explorer") && (parseInt(navigator.appVersion) >= 4 ))); function MSFPpreload(img) { var a=new Image(); a.src=img; return a; }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav1n=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav1h=MSFPpreload("../_derived/home_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav2n=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav2h=MSFPpreload("../_derived/history1.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT> <SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav3n=MSFPpreload("../_derived/dharma1.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav3h=MSFPpreload("../_derived/dharma1.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT> <SCRIPT language=JavaScript><!--if(MSFPhover) { MSFPnav4n=MSFPpreload("../_derived/picture.htm_cmp_nature110_hbtn.gif"); MSFPnav4h=MSFPpreload("../_derived/picture.htm_cmp_nature110_hbtn_a.gif"); }// --></SCRIPT>
    <!--mstheme-->
    </TD></TR><!--msnavigation--></TBODY></TABLE><!--msnavigation--><TABLE dir=ltr cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><!--msnavigation--><TD vAlign=top><!--mstheme-->โอ้ โพธิ์พฤกษ์เย็น คุณะเด่นเกษมสรรพ์ บัดนี้ พระดับขันธ์ ดุจะ โพธิหักลาญ

    <!--msthemeseparator-->
    [​IMG]
    ๑๔. สร้างความศรัทธา


    เมื่อสามเณรที่ติดตามหลวงปู่มรณภาพลงแล้ว หลวงปู่ก็พำนักจำพรรษา แต่เพียงองค์เดียว ณ บ้านกุดก้อม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร นั่นคือสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ นับเป็นเหตุการณ์ที่น่าสลดสังเวชยิ่ง

    ชาวบ้านได้กราบอาราธนาหลวงปู่ให้ไปจำพรรษา ณ วัดม่วงไข่ บ้านกุดก้อม แห่งเดียวกันนั้นเอง ซึ่งพอจะเป็นที่สบายเหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติ ท่านก็อนุโลมตามคำอาราธนา

    ที่วัดม่วงไข่นั้นมีพระเณรจำพรรษาอยู่ด้วยกันหลายรูป มีท่าน ครูบาญาคูดี เป็นเจ้าอาวาส ท่านเป็นพระที่มีอัธยาศัยน้ำใจดี ได้แสดงความเอื้อเฟื้อและให้การต้อนรับหลวงปู่ ในฐานะพระอาคันตุกะเป็นอย่างดี

    ตลอดพรรษานั้นหลวงปู่ พำนักอยู่ในโบสถ์แต่เพียงรูปเดียว เพราะเห็นเป็นที่สงบสงัด เหมาะแก่การปฏิบัติภาวนา

    หลวงปู่ดำเนินตามปฏิปทาของ พระอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทตฺโต โดยมิได้ขาดตกบกพร่อง ปฏิบัติข้อวัตรต่างๆ ของพระธุดงค์อย่างเคร่งครัดครบถ้วนทุกประการ เช่น เดินบิณฑบาตทุกวัน ตลอดจนเดินจงกรม และทำสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องทุกอิริยาบถ มีความสำรวมระวังและทำด้วยความมีสติ

    ทั้งท่านเจ้าอาวาส และพระภิกษุสามเณรที่จำพรรษาอยู่ในวัดนั้น เห็นข้อวัตรปฏิบัติและปฏิปทาของหลวงปู่ มีความสงบเยือกเย็นน่าเลื่อมใส ชนิดที่พวกตนไม่เคยเห็นมาก่อน ก็เกิดความพิศวงอยู่ในใจ และแสดงความสนใจในการปฏิบัติของหลวงปู่เป็นอันมาก

    เมื่อพระภิกษุและสามเณรเหล่านั้นมีความสนใจ ไต่ถามถึงข้อวัตรปฏิบัติเหล่านั้น หลวงปู่ก็อธิบายถึงเหตุและผลให้ฟังอย่างแจ่มแจ้ง ได้เน้นถึงภารกิจหลักของพระภิกษุสามเณร ซึ่งเป็นพุทธบุตร ได้ชื่อว่าเป็นผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร จึงได้ละฆราวาสวิสัยออกมาบวชในบวรพุทธศาสนา ว่ามีหน้าที่โดยตรงอย่างไรบ้าง

    ท่านอธิบายข้อธรรมะ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติธุดงควัตรอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง ด้วยถ้อยคำและเนื้อหาที่ครบถ้วนบริบูรณ์ พร้อมทั้งมีความหมายลึกซึ้ง สัมผัสถึงแก่นใจของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง

    บรรดาพระภิกษุสามเณรเหล่านั้น ต่างก็รู้สึกซาบซึ้ง เลื่อมใสศรัทธาในพระธรรมเทศนาที่ไพเราะ สมบูรณ์ด้วยเหตุและผล และแปลกใหม่ไปจากที่เคยได้ยินได้ฟังมา จึงพร้อมใจกันปฏิญาณตนขอเป็นศิษย์ และดำเนินตามปฏิปทาของพระธุดงค์กัมมัฏฐาน ตามแบบอย่างของหลวงปู่หมดทั้งวัด

    ในบรรดาพระเณรวัดม่วงไข่ ที่ศรัทธาในหลวงปู่นั้น มีสามเณรรูปหนึ่ง ชื่อว่า สามเณรอ่อน มีวิริยะอุตสาหะแรงกล้าในธรรมปฏิบัติ ได้เจริญรุ่งเรืองในพระศาสนาในกาลต่อมา จนเป็นพระมหาเถระ ฝ่ายวิปัสสนาธุระที่เป็นที่เคารพศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนอย่างกว้างขวาง

    สามเณรอ่อน ในขณะนั้นก็คือ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ แห่งสำนัก วัดป่านิโครธาราม อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ในเวลาต่อมานั่นเอง

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  17. แดนโลกธาตุ

    แดนโลกธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2006
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    7
    ค่าพลัง:
    +23,976
    เดี๋ยวมาต่อนะครับ..
     
  18. ผ่อนคลาย

    ผ่อนคลาย Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    5,774
    ค่าพลัง:
    +12,932
    สวัสดีครับ ทุกท่าน
    ดูวิธีการลบกระทู้หรือโพสต์ของตนเองที่ลายเซ็นต์ผมนะครับ
     
  19. putipongb

    putipongb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    594
    ค่าพลัง:
    +3,843
    อนุโมทนาครับ ขอกราบหลวงปู่ด้วยความเคารพ สังฆังวันทามิ และที่ขาดไม่ได้คือขอขอบคุณคุณแดนโลกธาตุที่ขยันนำประวัติและธรรมะของพระอริยสงฆ์มาลงให่อ่านบ่อยๆขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  20. freedom

    freedom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2005
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +301
    เยื่ยมเลยครับ อนุโมทนา สาธุการด้วยครับ..........



    ธรรม ที่หลวงปู่แสดงไว้ตอนหนึ่งซาบซึ้งใจมากครับ

    ..............


    จิตที่ส่งออกนอกเป็น สมุทัย
    ผลของจิตที่ส่งออกนอกเป็น ทุกข์
    จิตที่เห็นจิตเป็น มรรค
    ผลของการที่จิตเห็นจิตเป็น นิโรธ

    และ.........

    ผู้ใดเข้าถึงแห่งความเป็นกลางได้ผู้นั้นพ้นจากทุกข์ทั้งปวง(verygood) (verygood) (verygood) สาธุ สาธุ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มิถุนายน 2007

แชร์หน้านี้

Loading...