ประสบการณ์ การฝึกวิปัสสนา

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย solardust, 8 เมษายน 2017.

  1. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    249
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,770
    เหมือนเคยนะครับ เอาเรื่องที่เคยผ่านมาสมัยยังหนุ่มๆมาเล่าให้ฟัง (ให้อ่าน)
    เล่าอย่างเดียวนะครับ ถามเยอะก็ตอบไม่ถูก รู้น้อย รู้เฉพาะตัวเท่าที่เล่านี่แหละ

    ก่อนอื่นนะครับ วิปัสสนาคืออะไร
    วิปัสสนาคือ การคิด หรือการนึก ที่ใช้กำลังฌานเป็นฐานในการคิด หรือการนึกนั้น
    แล้วก็ไม่ได้หมายถึงการคิด หรือการนึกทั่วๆไปนะครับ
    หมายความเฉพาะเจาะจงลงไป เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับความจริงของชีวิต เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น

    ถ้าฝึกวิปัสสนา โดยไม่มีกำลังฌานมาเป็นฐานรอง ตามทฤษฏีแล้ว วิปัสสนานั้นไม่มีผล
    ผมเห็นในอินเตอร์เน็ตใช้คำว่า วิปัสสนึก รู้สึกจะออกแนวประชดประชันนิดๆ
    แต่ในความคิดผม ถ้าทำ ถึงไม่มีผลก็จัดว่าเป็นการฝึกเหมือนกัน

    แล้วทำไมต้องวิปัสสนา
    ยกตัวอย่างนะครับ เช่น
    เวลาเราอ่านหนังสือธรรมมะ เราอาจเรียนรู้ได้ว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีในทุกคน เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นต้น
    แต่ในใจลึกๆ ไม่มีใครยอมรับมันได้ รู้ว่าความตายเป็นเรื่องธรรมชาติก็จริง รู้ว่าทุกคนต้องตายก็จริง
    พอตัวเองจะตายกลับกลัวจนลนลาน พอคนที่รักจะตาย หรือตายลงไป ก็ร้องไห้เสียใจเป็นวรรคเป็นเวร
    ทำใจไม่ได้ เป็นซะอย่างนั้น

    จิตที่ผ่านวิปัสสนามาแล้ว จะยอมรับความตายว่าเป็นเรื่องธรรมชาติจริงๆ
    ตัวเองตายก็เฉยๆ คนที่รักตายก็เข้าใจว่าเรื่องธรรมดา ไม่ร้องไห้เสียใจ เข้าใจได้ว่ายังไงเสีย คนทุกคนก็ต้องตาย เป็นต้น

    อันนี้ยกตัวอย่างง่ายๆตัวอย่างเดียวนะครับ คือเรื่องของความตาย
    แต่เรื่องอื่นๆ ก็จะมีลักษณะคล้ายๆอย่างนี้ คือมีอาการเหมือนปลงตก ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมต่างๆ เป็นธรรมดา
     
  2. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    249
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,770
    ไม่ทำวิปัสสนาได้ไหม....
    น่าจะได้นะครับ แต่แนะนำว่าน่าจะทำ ต่อให้ไม่ได้อะไรเลย มันก็จะเป็นนิสัยติดไปชาติต่อๆไปได้
    อีกอย่าง เป็นข้อสังเกตุของผมเองนะครับ คือ

    1. เวลาจิตมีกำลังเพิ่มขึ้น จากการทำสมาธิ ทุกด้านของจิตจะมีกำลังเพิ่มขึ้นด้วย แม้แต่เรื่องชั่วๆ นิสัยชั่วๆในใจ ก็จะถูก amplify ให้มีกำลังมากขึ้นตามไปด้วย
    การทำวิปัสสนาที่ตรงกับจุดเสียของเรา จะลดกำลังด้านชั่วลงไปได้ ไม่ให้มันออกมาแสดงกำลังเพ่นพ่านรกหูรกตาชาวบ้านเขา

    2. ในการปฏิบัติธรรม จิตเราเหมือนกับต้นไม้หรือกิ่งไม้ ที่ถูกดึงถูกโน้ม ลงไปด้านใดด้านหนึ่ง
    สมมุติเราเรียกด้านที่กิ่งไม้ถูกดึงเข้าไปหาว่า ด้านความดี ด้านที่กิ่งไม้ค่อยๆถูกดึงห่างออกมา เรียกว่าด้านความชั่ว
    ตอนที่ปล่อยมือหรือเลิกปฏิบัติธรรม กิ่งไม้ที่ถูกปล่อยมันไม่ได้เด้งกลับไปอยู่ตรงตำแหน่งเดิมนะครับ โน่น...เลยเข้าไปฝั่งความชั่ว....สุดตัว
    กว่าจะหลุดออกมาจากเรื่องที่อยาก กว่าจะหลุดออกมาจากเรื่องที่หลง กว่าจะเข้ามาอยู่ตำแหน่งปรกติ กว่าจะปฏิบัติธรรมได้อีกรอบนี่ บางคนเป็นปี
    วิปัสสนาเหมือนเราเอาไฟไปลนกิ่งให้แรงดีดกลับมันน้อยลง หรือหาอุปกรณ์ช่วยยึดไปลดแรงดีดกลับของกิ่งไม้ลง

    ทีนี้จะทำวิปัสสนาละ ทำยังไงได้บ้าง (เอาจากเคยทำนะครับ)
    ทำได้สองแบบ
    แบบแรก เป็นแบบเบสิค คือเข้าสมาธิไปก่อน ให้ลึกที่สุด ให้นิ่ง ให้สบาย แล้วถอยออกมาวิปัสสนา แล้วจบ

    แบบสอง แบบแกว่ง เริ่มที่สมาธิก็ได้ เริ่มที่วิปัสนาก็ได้ แบบนี้ใช้เวลาที่มีเรื่องมารุมเร้ามาก หรือสำหรับคนที่ไม่ถนัดการทำสมาธิ เข้าได้ไม่ลึก
    อาจจะเริ่มที่สมาธิก็ได้ พอรู้สึกนิ่งซักพัก ก็ถอยออกมาคิด คิดจนปลงในเรื่องที่ค้างคาอยู่ จนรู้สึกปลงตกหน่อยๆ ใจร่มลงนิดๆ แล้วก็กลับเข้าสมาธิไปอีก แล้วก็กลับมาวิปัสสนาอีก
    สลับไปสลับมาแบบนี้ไปเรื่อยๆ

    ส่วนตัวผม ผมลองมาทั้งสองแบบ คือถ้าไม่มีเรื่องอะไรมากวนใจ ก็ใช้แบบแรกตอนจบจากสมาธิก็บังคับตัวเองให้ยกเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้นมาคิดให้ปลงตกไปซักเรื่องนึง ก็จบแล้ว
    เวลาที่มีเรื่องมาให้คิดเยอะๆก็ใช้วิธีที่สอง ค่อยๆปลดเรื่องที่กังวลอยู่ไปที่ละเรื่อง จนไม่มีอะไรค้างอยู่ในใจ
    สาวกภูมิที่เป็นสุกวิปัสสโก ก็ใช้วิธีนี้แหละครับ บางโมเมนต์ที่เข้าฌานไปแว่บนึงแบบไม่รู้ตัว แล้วถอยออกมาทำวิปัสนา วิปัสสนานั้นก็มีผล
     
  3. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    249
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,770
    ทีนี้ตัวอย่างวิธีคิด
    อันนี้แล้วแต่คนนะครับ อะไรก็ได้ ไม่มีข้อบังคับตายตัว
    ตัวอย่างเช่น ความที่บำเพ็ญบารมีมาต่างกัน เวลาที่ยกเรื่องไตรลักษณ์ขึ้นมาวิปัสสนา แม้แต่พระโพธิสัตว์เองก็มีความจับใจในไตรลักณ์ไม่เหมือนกัน
    เวลาพิจารณาธรรมต่างๆที่ต้องอิงเข้ากับไตรลักษณ์
    พวกวิริยธิกะ จะยกขึ้นเทียบทุกขัง เป็นหลัก
    พวกสัทธาธิกะ จะยกขึ้นเทียบอนิจจัง เป็นหลัก
    พวกปัญญาธิกะ จะยกขึ้นเทียบอนัตตา เป็นหลัก

    เป็นหลักไม่ได้หมายความว่า ยกมาแค่อันเดียวนะครับ ยกมาหมดแหละ แต่ที่จับใจกว่า ที่ยกขึ้นเทียบแล้วรู้สึกว่า กินอารมณ์กว่า สลดกว่า ปลดปลงกว่า จะต่างกัน แค่นั้น

    ทีนี้พอเราจะทำ เราก็เทียบเข้าหลักไตรลักษณ์ไปก่อน ทั้งหมด

    ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าเราจะตัดเรื่องชีวิต เรื่องคน เรื่องความผูกพันธุ์กับผู้คนในโลกนะครับ เราก็อาจจะเริ่มต้นคิดที่
    ชีวิตทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ตั้งอยู่ไม่ได้นานเป็นทุกข์ บังคับควบคุมไม่ได้เสื่อมสลายตายไปในที่สุดเป็นอนัตตา
    ทั้งตัวเรา ทั้งคนที่เรารัก ทั้งคนที่เราเกลียด ทั้งคนที่เราเฉยๆ ทั้งคนที่เรารู้จัก ทั้งคนที่เราไม่รู้จัก ที่หมู่สัตว์ทั้งหลายที่รายล้อม และห่างไกล สุดท้ายก็ตายหมด

    แล้วก็วกเข้าไปเกาะ ไปสรุปกับไตรลักษณ์ตัวที่จับใจเรามากที่สุด ก่อนที่จะเลิก หรือวนไปเข้าสมาธิต่อ เช่น
    สุดท้ายก็ตาย สุดท้ายก็ว่างเปล่า หาแก่นสารหาสาระอะไรให้ยึดถือไม่ได้ จะชาตินี้ จะชาติไหน จะเป็นใคร จะเป็นอะไร ก็เกิดแล้วก็ตาย วนว่ายไปไม่สิ้นสุด สุดท้ายก็มีแต่ความว่างเปล่า

    อีกตัวอย่างนึง สมมุติว่าเราจะตัดเรื่องข้าวของเงินทอง เราก็อาจจะเริ่มต้นคิดที่
    สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง มีความเสื่อมสลายแตกหัก พังลงไปเป็นธรรมดา บังคับควบคุมไม่ได้ วันนี้เป็นของเรา อีกวันก็อาจเป็นของคนอื่นไปแล้ว
    ต่อให้เป็นของของเราคนเดียว สุดท้ายถ้ามันไม่เสื่อมสลายแตกหักพังไปจากเรา เราเองก็อาจจะตายจากมันไปซะเอง
    จะบ้าน จะรถ จะเสื้อผ้า จะแก้วแหวน เงินทอง ทรัพย์สินใดๆ ไม่ว่าในโลกนี้หรือในโลกไหน ก็ตาม

    แล้วก็ตามสูตรนะครับ วกไปสรุปให้ตัวเองนิดนึงก่อนเลิก หรือก่อนจะเข้าสมาธิไปอีกรอบ
    สุดท้ายก็แตกหัก สุดท้ายก็ผุพัง สุดท้ายก็สลายไปในที่สุด สุดท้ายมันไม่ไปจากเรา เราก็ต้องไปจากมัน สุดท้ายก็ไม่มีแก่นสารสาระอะไรให้ยึดถือ สุดท้ายก็มีแต่ความว่างเปล่า
     
  4. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    249
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,770
    ส่วนของผมพอบิลท์อารมณ์ถึงตรงนี้
    ไม่ว่ากรรมฐานต้นจะเป็นอะไร พอมาถึงตรงนี้ถ้าจะวนไปเข้ากรรมฐานอีกรอบ ของผมจะทิ้งกรรมฐานตัวต้นไปโดยอัตโนมัติ จะเหลือแต่ความว่างเป็นอารมณ์กรรมฐานแล้วเข้าสมาธิไป

    ถ้าเป็นเรื่องอื่นก็ประมาณนี้แหละครับ เรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ เรื่องความดี ความชั่ว สารพัดสารพัน ที่คั่งค้างในใจ ถ้าเป็นมันสิ่งที่เนื่องกับโลก มันอยู่ในกฏไตรลักษณ์นี่หมดแหละครับ
    ทำได้เรื่องนึง ก็เอาไปประยุกต์กับเรื่องอื่นๆได้หมด
    แต่ถ้ากำลังที่ใช้ตั้งต้นคิด ไม่ใช่กำลังฌานเรื่องที่จะตัดมันให้ขาดได้นี่ ไม่มีนะครับ ทำได้แค่ฝึกให้เป็นนิสัยติดตัวข้ามภพข้าชาติไปเท่านั้น

    ก็ตามหลักนะครับ
    จะเข้านิพพาน ก็ต้องผ่านมรรคมีองค์แปด
    หนึ่งในองค์แปดของมรรคก็คือสัมมาสมาธิ
    ก็คือกำลังของสมาธิในระดับฌานที่จะเอามาใช้นี่แหละครับ

    ส่วนท่านที่ติดอธิษฐานเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ เช่นท่านที่เป็นพุทธภูมิ เป็นพระโพธิสัตว์อยู่นี่ ใช้กำลังฌานระดับไหนมันก็ไม่ขาดนะครับ ติดแหง็กอยู่เป็นเพื่อนกันไปแบบนี้แหละ

    สองตัวอย่างข้างบนนี้ เป็นแค่ตัวอย่างจากที่เคยทำมานะครับ เวลาทำจริงก็ของใครของมัน
     
  5. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    249
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,770
    ส่วนวิธีการตรวจสอบนะครับ
    ต้องเอาตัวเองเข้าไปเทียบกับสังโยชน์ 10 ประการ ว่าอะไรบ้างที่มันยังมีกำลังแรงอยู่ เราก็เอาตัวนั้นไปทอนกำลังมันออกด้วยวิปัสสนา
    แต่ของผม สมัยหนุ่มๆเนี่ยสังโยชน์ 10 คืออะไร ไม่รู้จักนะครับ
    สมัยนั้น ผมใช้วิธิถามตัวเองว่า เรายังมีอะไรติดค้างอยู่หรือเปล่า หรือยังมีอะไรในโลกที่เหนี่ยวรั้งเราไว้อีกหรือเปล่า แล้วก็เข้าสมาธิไป

    ในสมาธิผมจะเห็นตัวเองเป็นดวงกลมดวงหนึ่ง แล้วจะมีเส้นใสๆเล็กๆเกาะติดอยู่รอบๆ ล็อคเอาไว้ กับอะไรซักอย่างที่มองไม่เห็น
    แล้วนิมิตในสมาธิจะบอกผมเองว่า เส้นนี้คืออยากรวย เส้นนั้นคืออยากเรียน เสันโน้นคืออยากมีครอบครัว เส้นถัดไปคืออยากมีรถ สารพัดเส้นเรียงกันเป็นตับ เป็นต้น
    ส่วนตัวแล้ว ผมไม่คิดว่าวิธีนี้จะเป็นมาตรฐานอะไรได้นะครับ น่าจะเป็นวิธีเฉพาะตัวมากกว่า เพราะไม่เคยได้ยืนที่ไหนมาก่อน

    ทีนี้พอเรารู้ว่าอะไรมันเหนี่ยวเราอยู่ ไม่ว่าจะโดยการเอาใจตัวเองเข้าเทียบกับสังโยชน์ 10 หรือจะใช้วิธีแบบผมก็ตาม
    เราก็ยกมันมาวิปัสสนาทีละเรื่อง ทีละเรื่องจนหมด
    จนวันหนึ่ง รู้สึกแล้วว่า พร้อมแล้วที่จะไปให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดแบบนี้
    ใจมันโล่ง โปร่ง มีความรู้สึกว่าไม่แคร์ ไม่ห่วงอะไรเลย อยู่หรือตายไปตอนนี้ก็ไม่ได้รู้สึกยินดียินร้ายอะไรอีกแล้ว
    ลองมองไปรอบๆตัว เส้นทุกเส้นที่รั้งเราเอาไว้ก็ไม่มีแล้ว
    ความรู้สึกในสมาธิบอกว่า ถ้าจะไป ต้องไปตอนนี้ ไม่อย่างนั้นเวลาเปลี่ยน สภาพแวดล้อมเปลี่ยน เส้นพวกนี้จะกลับมาอีก

    ของผมนะครับ พออยู่ในสภาพนั้น ก็รู้สึกว่า ถ้าเราต้องการ เราสามารถที่จะ""ดับสนิท""ได้
    พอจะออกจากสภาพที่""มีอยู่"" ก็ไม่รู้จะไปยังไงนะครับ แต่ความรู้สึกบอกว่าถ้าพุ่งออกไปตรงๆ ออกไปจากบริเวณที่ถูกล็อคอยู่ จะมีอีกสภาพหนึ่ง จะมีอีกที่หนึ่งรออยู่ แล้วต้องจังหวะนี้เท่านั้น
    ก็พุ่งออกไปเต็มแรง ไปไหนไม่รู้นะครับ แต่ต้องรีบไปก่อน
    ปรากฏว่า ไปไม่ได้ มีอะไรบางอย่างรั้งไว้ เหลียวกลับไปดู ก็มองเห็นภาพในสมาธิ เป็นเส้นเล็กๆบางๆ ใสแจ๋ว เส้นเดียว เหนี่ยวดวงกลมเอาไว้
    พอเห็นเส้นนั้น ก็รู้ว่าเราอธิษฐานอะไรบางอย่างข้ามภพข้ามชาติมา ถ้าไม่ถอนเสียก็นิพพานไม่ได้ ต้องติดอยู่แบบนี้ไปอีกนาน
    พอจะถอนก็ดันตัดใจถอนไม่ได้ซะอีก เพราะนับเวลาดูก็ปรากฏว่ามาเกินครึ่งทางไปแล้ว เสียดายเวลา
    สุดท้ายก็นี่แหละครับ ก็ยังอยู่จนมาทุกวันนี้เนี่ยแหละ....

    อันนี้ย้ำอีกทีนะครับ ว่าเป็นวิธีเฉพาะตัว ไม่ได้บอกว่าที่เคยทำมาถูกทางหรือเปล่านะครับ
    แค่เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า เคยฝึกมาแบบนี้ เคยเห็นสภาพที่ตัวเองถูกร้อยรัดอยู่ในโลกแบบนี้ จากนิมิตในสมาธิเท่านั้น
    วิธีที่ถูกต้องคือ จับอารมณ์จิตตัวเองเข้าเทียบกับสังโยชน์ 10
     
  6. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    249
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,770
    สรุปนะครับ
    เรื่องสังโยชน์ 10 เรื่องมรรคมีองค์แปด เรื่องการทำวิปัสสนาเนี่ย
    เป็นเรื่องเฉพาะที่จะเรียนรู้กันได้ ก็เฉพาะเวลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงเมตตาประกาศพระพุทธศาสนาไว้ในโลกนะครับ

    พ้นไปจากเวลาแบบนี้ คำสอนแบบนี้ก็จะเลือนหายไปด้วย
    ต่อให้ปัญญาเราไม่ถึง ต่อให้ความเพียรเราไม่ถึง ต่อให้บารมีเราไม่ถึง ต่อให้รอบของการบำเพ็ญเพียรเราไม่ถึง ที่จะสำเร็จมรรคผลใดๆจากการทำวิปัสสนาได้
    เราก็ควรทำให้เป็นนิสัยติดตัวข้ามภพชาติไปนะครับ

    เกิดมาเจอพระพุทธศาสนาแล้ว
    นอกจากเรื่องบุญทุกบุญที่ต้องเร่งทำให้ยิ่งๆขึ้นไปแล้ว
    นอกจากเรื่องพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่ต้องศึกษาให้เข้าใจยิ่งๆขึ้นไปแล้ว
    เรื่องทักษะในการตัดกิเลสก็เป็นอีกเรื่องที่ควรจะต้องฝึกฝนให้ยิ่งๆขึ้นไปด้วย
    รอบถึงเมื่อไร บารมีถึงเมื่อไร การบรรลุธรรมก็จะได้เป็นแบบปฏิบัติสบาย บรรลุง่ายนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...