ประสบการณ์ ขณะบรรลุธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย bamrung, 24 ตุลาคม 2006.

  1. ทรงกลด มั่นสิงห์

    ทรงกลด มั่นสิงห์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
     
  2. ทรงกลด มั่นสิงห์

    ทรงกลด มั่นสิงห์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    การวิมุต ไม่วิมุต ไม่ได้อยู่ที่การพูดเร่องอดีตหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับว่า ขณะพูด ผู้พูดมีสติหรือไม่ต่างหาก ไม่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่วิมุตสิ เพราะพระองค์มักจะหยิบยกเรื่องในอดีตชาติมาสอนสาวกอยู่เสมอ
    การพูดเรื่องต่างๆ ไม่ว่าในอดีตหรือในอนาคต หากมีสติรู้เท่าทันอยู่ตลอดเวลา ไม่หลงไปกับเรื่องที่พูด นั่นแหละคือวิมุติล่ะ แม้จะเป็นวิมุติชั่วขณะ แต่ก็ดีกว่าพูดด้วยอาการที่ขาดสติอย่างสิ้นเชิง
     
  3. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    งูๆปลาๆว่า ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้รู้ ให้รู้ถึงเหตุเละผลที่จะได้รับ อย่างน้อย ก้รู้ตัวรู้ตนในปัจจุบัน สามารถทำกิจการงานใดๆสำเร็จได้โดยง่าย ย่อมเป็นผู้กำหนดทิศทางของตนเองได้ว่าจะตกทุขได้ยากหรือสุขสบายอย่างไร ก้ล้วนแต่ตัวเองเป็นผู้เลือกเดินเองทั้งสิ้น สำหรับผู้ที่รู้ชัดแจ้งแล้วก้ไม่มีสิ่งใดๆที่ ต้องถามใครหรือต้องประกาสให้ใครทราบ แต่ก้รู้ชัดเจนว่าตนนั้นกำลังเป็นไปอย่างไร
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    รู้เหตุแห่งการเกิด และรู้วิธีการดับ
    และในขณะที่ยังใช้ชีวิตปกติ
    ก็รู้วิธีในการดำเนินชีวิตไปสู่หนทางแห่งการพ้นทุกข์
    ซึ่งมีฐานมาจากการรู้เหตุของการเกิดและรู้วิธีดับ
    นั่นหละครับ...หรือ การรอบรู้ในกองสังขารนั่นหละครับ
    ส่วนมาก นักปฏิบัติ จะพอมีสติทางธรรมที่ทำให้รู้เท่าทัน
    และมีปัญญาทางธรรมที่จะดับได้เร็ว และก็
    กำลังอยู่ในช่วงที่เพิ่มปัญญาทางธรรมตรงนี้อยู่
    แต่ก็มีบ้าง ที่บางท่าน จะเกิดปัญญาญานบ้าง
    ในบ้างเรื่อง คือเรื่องนั้นๆ ไม่มีผลต่อจิตใจตนเองเลย
    แต่ถ้าท่านไปเข้าใจตนเองว่าท่าน บรรลุ
    ท่านจะเสร็จเลย ตกม้าตายได้ และเรื่องพวกนี้
    ซึ่งมันต้องอาศัย การฝึก สังเกตุเพิ่มขึ้นเข้าไปอีก
    ว่าเหตุเกิดเพราะอะไร(ส่วนมากจะรู้ว่ามันเกิดจากกำลังสติทางธรรมแต่ไม่ค่อยได้สังเกตุกันว่าเกิดเพราะอะไร)
    และดับไปตอนไหน และที่สำคัญก็คือ มันดับเพราะอะไร
    (ส่วนมากตอนดับมักจะไม่ทันกัน คือ ลืมหรือไม่ก็
    ไปเรื่องอื่นๆไปแล้ว)
    ส่วนมากนักปฏิบัติ ที่พอเข้าใจอะไรได้แล้ว
    หรืออ่านจากหลายๆท่านที่มาคอมเมมต์
    จะอยู่ในช่วงการดำเนินชีวิตไปสู่หนทางแห่งการพ้นทุกข์อยู่

    แต่เราต้องมาเพิ่มการสังเกตุตรงนี้เข้าไปอีกครับ
    มันถึงจะพัฒนาต่อไปได้ ให้พึ่งระลึกไว้ว่า
    หากเรื่องใด มันยังผุด ขึ้นมาได้อีก
    แสดงว่า ตัวจิต มันยังไม่รู้เหตุแห่งการเกิด
    และมันยังไม่มีปัญญามากพอที่จะตัดเรื่องนั้นได้จริงๆ

    ที่ต้องพูดเพราะหลายท่าน ที่เริ่มมีปัญญาทางธรรม
    มักจะตัดในหลายๆเรื่องได้เร็ว แต่กลับพบว่า
    ทำไมเรื่องนั้น ๆ พอเวลาผ่านไป มันถึงผุดขึ้นมาได้อีก
    ก็นั้นหละครับ เพราะมันเป็นระดับปัญญาทางธรรม
    ไม่ใช่ปัญญาญานยังไงหละครับ

    ดังนั้นเมื่อรู้ว่าตนเอง มาถูกทางแล้ว
    ก็ค่อยๆเพิ่มการสังเกตุเข้าไปอีก
    เรื่องพวกนี้ ต้องอาศัยเวลา อาศัยวาระ
    และองค์ประกอบอื่นๆที่จะหนุนให้เกิด
    เป็นปัญญาญาน.

    ให้ระวัง อย่าไปคิดว่า เรื่องนี้ ไม่มีผลกับจิตเรา
    ณ เวลานั้น มันจะเป็นปัญญาญาน หรือ คิดว่า
    ตนเองเข้าใจและบรรลุอะไร เพราะนั่นมันแค่
    ตัดได้เร็วชั่วคราว แต่มันยังนอนกองเป็นอนุสัย
    จริต วิบาก ที่อยู่ในจิตเรา ที่เพียงรอวันที่จะผุด
    ขึ้นมาได้อีกเท่านั้นเอง จนกว่าเราจะถึงระดับ
    ปัญญาญาน ถึงจะชัวนะครับ

    กิริยาของจิต ที่ตัดได้จริงๆ
    ถ้ามันตัดอะไรได้แล้ว
    แม้ให้นึก ให้คิด ให้ระลึก ให้นึกถึง
    ก็จะไม่มีทางผุดขึ้นมาได้ครับ
    พูดง่ายๆ จิตถ้ามันตัดคือมันตัดจริงๆ
    มันจะไม่ดึงเข้ามาร่วมอีกเลย

    ปล. ค่อยๆเป็นค่อยไปกันนะครับ
     
  5. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,916
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,494

    ธรรมุทธัจจ์ , วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาวะที่ทำให้วิปัสสนามัวหมองข้องขัด, สภาพน่าชื่นชม ซึ่งเกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนาในขั้นที่เป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา) แต่กลายเป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา โดยทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงชะงักหยุดเสีย ไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐
    คือ
    ๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน

    ๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว

    ๓. ญาณ ญาณหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด

    ๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆเลย

    ๕. สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

    ๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน

    ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง

    ๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด

    ๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

    ๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส ธรรมทั้งหมดนี้ (เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม) โดยตัวมันเอง มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน จึงเกิดโทษ เนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเองว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นฌานขั้นนั้นขั้นนี้


    ในพระไตรปิฎก เรียกอาการฟุ้งซ่านที่เกิดจากความสำคัญผิด เอาโอภาสเป็นต้น นั้นเป็นมรรคผลนิพพาน ว่า "ธัมมุทธัจจะ" (ธรรมุธัจจ์ ก็เขียน)
     
  6. Dhamma2

    Dhamma2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2017
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +121
    ผู้บรรลุธรรมย่อมทราบได้ด้วยตนเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...