ประสพการณ์ธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NaCl, 9 สิงหาคม 2020.

  1. NaCl

    NaCl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +289
    เอามาฝากทุกท่านที่สนใจในธรรม ครับ

    เป็นเรื่องราวประสพการณ์ปฏิบัติธรรมที่ได้ทั้งความรู้และเรื่องราวน่าติดตามของญาติธรรมท่านหนึ่ง ซึ่งได้เขียนบันทึกนี้ลงในเว็บเด็กดี ขอเชิญติดตามอ่านครับ มี 14 ตอน

    https://writer.dek-d.com/story/writer/view.php?id=2076898
     
  2. Mdef

    Mdef เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2017
    โพสต์:
    1,367
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,869
    ประสบการณ์-ประสพการณ์

    คำในภาษาไทยที่มักจะเขียนและออกเสียงกันไม่ค่อยถูกอีกคำหนึ่ง ก็คือคำว่า “ประสบการณ์” (ปฺระ-สบ-กาน) ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า experience คำนี้มักมีผู้พูดเป็น “ปฺระ-สบ-พะ-กาน” อยู่เสมอ ทั้งในหมู่ผู้รู้และคนทั่ว ๆ ไป

    เหตุที่มีผู้ชอบพูดเป็น “ปฺระ-สบ-พะ-กาน” อยู่เสมอ ๆ นั้น จะโทษว่าเขาพูดผิดก็ไม่ถูกต้องนัก ทั้งนี้เพราะคำว่า experience ในภาษาอังกฤษนี้ เดิมคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ท่านบัญญัติไว้ว่า “ประสพการณ์” ที่ “ประสพ” ใช้ พ พานสะกด จึงได้ออกเสียงว่า “ปฺระ-สบ-พะ-กาน” ซึ่งก็ฟังเพราะหูและเหมาะกับลิ้นของคนไทยดี ทั้งยังเข้าลักษณะ “อุจจารณวิลาส” (อุด-จา-ระ-นะ-วิ-ลาด) แห่งนิรุกติศาสตร์อีกด้วย แต่เมื่อกระทรวงศึกษาธิการส่งศัพท์บัญญัติเหล่านั้นมาให้คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยแห่งราชบัณฑิตยสถานรับรอง คณะกรรมการได้แก้ศัพท์บัญญัติคำนี้เป็น “ประสบการณ์” ที่ “ประสบ” ใช้ บ สะกด จึงต้องอ่านว่า “ปฺระ-สบ-กาน” แต่โดยเหตุที่พูดกันเป็น “ปฺระ-สบ-พะ-กาน” มาจนติดบางท่านจึงไม่สามารถปรับตัวให้พูดเป็น “ปฺระ-สบ-กาน” ได้ แต่คนรุ่นใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทราบว่าใช้ “ประสพการณ์” มาก่อน ก็มักจะอ่านถูกต้อง

    คำว่า “ประสบการณ์” นี้ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้บทนิยามไว้ว่า “น. ความจัดเจนที่เกิดจาการการกระทำหรือได้พบเห็นมา.”

    ส่วนคำว่า “ประสพ” นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ท่านเก็บไว้เป็นรูปคำนาม และให้ความหมายไว้เพียงความหมายเดียว คือ “การเกิดผล” ถ้าหากเขียนเป็น “ประสพการณ์” โดยใช้ พ สะกดก็จะต้องแปลว่า “เหตุแห่งการเกิดผล” ซึ่งจะไม่ตรงกับความหมายของคำว่า experience ในภาษาอังกฤษ

    ความจริงคำว่า “ประสพ” ตรงกับคำบาลีว่า “ปสว” (ปะ-สะ-วะ) นั้น แปลว่า “ประสบ ประสูติ เสวย” หรือแปลว่า “ดอกไม้ ลูกไม้” ก็ได้ และตรงกับภาษาสันสกฤตว่า “ปฺรสว” (ปฺระ-สะ-วะ) แปลง ว เป็น พ ก็เป็น “ประสพ” แต่เพราะเหตุที่คำว่า “ประสพ” มีความหมายได้หลายอย่างด้วยกัน ถ้าเราเขียนเป็น “ประสพการณ์” จะทำให้ตีความไปได้ต่าง ๆ ท่านจึงใช้ “ประสบ” บ สะกด ซึ่งก็แผลงมาจากคำว่า “สบ” ในภาษาไทยที่แปลว่า “พบ เช่น สบโชค ปะ เช่น สบเหมาะ ถูก เช่น สบใจ” นั่นเอง

    อย่างไรก็ตาม คำนี้ควรเขียนให้ถูกต้องตามศัพท์บัญญัติและพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถาน เป็น “ประสบการณ์” ที่ “ประสบ” ใช้ บ สะกดอย่างเดียว.

    ผู้เขียน : ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม
    ที่มา : ภาษาไทยไขขาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา. ๒๕๒๘. หน้า ๓๔๐-๓๔๒.
     
  3. maokvid-1800

    maokvid-1800 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,923
    ค่าพลัง:
    +2,262
    บ น่าจะมี อิทธิพลมาจาก ทางวิชาการ ตะวันตก เน้นความ
    เป็น วัตถุ จับต้องได้ วัดค่าได้

    จึงใช้ บ ที่มี รส(อรรถ) ของ ธรรม ไปทาง ประจว"บ"เหมาะ
    หรือ ส"บ"กัน ซึ่งเป็นเรืองของ รูปธรรม

    ส่วน "พ" ซึ่งเป็น รากศัพท์เดิมนั้น เน้น จิตวิญญาณด้วย
    การทำสมาธิ ไปเห็นนั้น เห็นนี้ จึงเป็น "สภาวะ" หรือ ภพ
    ซึ่งก็จะใช้ "พ" เป็น รากศัพท์

    ประสพการณ์ทางธรรมปฏิบัติ สมาธิ ฌาณ ญาณ

    ประสบการณ์การเรียน สอนงาน อ่าน เขียน ทำ

    ก็จะสามารถเลือกใช้ เพื่อนใช้แสดง หก สี่ เอี่ยว ก็ได้ ไมว่ากัน
     
  4. ฐานธมฺโม

    ฐานธมฺโม ทำลายเพื่อสร้างใหม่ ให้ดี ให้งาม..

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2019
    โพสต์:
    12,916
    ค่าพลัง:
    +4,612
    ถ้าโยมหวีกับบางคนมาอ่าน คงบอกว่า "หลงนิมิต" เป็นแน่แท้..

    เรื่องแบบนี้มันต้องประสบเองกับตัว ถึงจะเข้าใจ..

    ว่าแต่ว่า บุคลิกโยมน้องเอ๋ เหมือนใครบางคนในเว็บนี้ก็ไม่รู้..

    ช่างคล้ายกันเหลือเกิน..

    :):)
     

แชร์หน้านี้

Loading...