ประเทศไทยเนื้อหอมหนักมาก “ไมโครซอฟต์-อเมซอน” ดาหน้าขอเข้ามาลงทุน

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 16 พฤศจิกายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b984e0b897e0b8a2e0b980e0b899e0b8b7e0b989e0b8ade0b8abe0b8ade0b8a1e0b8abe0b899e0b8b1e0b881e0b8a1.jpg

    “สมคิด” ปลื้ม! ไมโครซอฟ-อเมซอน ขอลงทุนในไทย แม้เศรษฐกิจโลกจะไม่ดี สั่งคลังหามาตรการรองรับหากเศรษฐกิจโลกไม่ฟื้นตัว พร้อมจวกสื่อบางสำนัก รายงานผลความเสี่ยงทำธุรกิจไทยของ WEF คลาดเคลื่อน ชี้เป็นข้อกังวลในอนาคต 10 ปี ข้างหน้า ไม่ใช่ปัจจุบัน ด้าน “กอบศักดิ์” มั่นใจต่างชาติมาลงทุนในไทยแน่


    นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังประชุมมอบนโยบายแก่ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงการคลังว่า ขณะนี้มีบริษัทดิจิทัลยักษ์ใหญ่ของต่างประเทศ ได้แก่ ไมโครซอฟ (Microsoft) และบริษัทอีคอมเมิร์ซ ได้แก่ อเมซอน (Amazon) เดินทางเข้ามาเพื่อแสดงความต้องการขอลงทุนในไทยและขอให้ช่วยอำนวยความสะดวก เบื้องต้นได้แนะนำบริษัททั้ง 2 แห่ง เข้ามาหารือกับ รมว.คลัง และ รมว.ดีอีแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี เนื่องจากในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกไม่ดีนัก แต่นักลงทุนต่างชาติยังต้องการมาลงทุนในประเทศไทย


    นอกจากนี้ ในภาวะที่เศรษฐกิจโลกไม่ค่อยดี จึงได้เรียกผู้บริการกระทรวงการคลังเพื่อหารือและประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจ เพื่อเตรียมตัวออกมาตรการมารองรับถ้าหากเศรษฐกิจโลกยังไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นมา ส่วนกรณีมีบางสำนักข่าวแปลข่าวรายงานเรื่องความเสี่ยงระดับภูมิภาคในการประกอบธุรกิจ (Regional Risk of Doing Business 2019) ที่จัดทำโดยสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ซึ่งระบุว่า ในปี 62 ไทยมีความเสี่ยงในการทำธุรกิจ 5 อันดับแรกคือ 1.เศรษฐกิจฟองสบู่ 2.ความล้มเหลวของรัฐบาล 3.การโจมตีทางไซเบอร์ 4.ภัยพิบัติทางธรรมชาติและโดยมนุษย์ และ 5.ความไม่มั่นคงทางสังคมนั้น เป็นเพียงความกังวลของภาคเอกชนต่อประเด็นที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งยังไม่ได้เกิดขึ้นในสถานการณ์ปัจจุบัน และไทยไม่มีสัญญาณฟองสบู่อย่างแน่นอน


    ด้านนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า ขณะนี้นักธุรกิจรายใหญ่ของหลายรายสหรัฐฯกำลังพิจารณาหาช่องทางในการลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยได้เดินทางเข้ามาหารือเพื่อขอให้รัฐบาลไทยช่วยส่งเสริมการลงทุนให้เกิดขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าว ถือเป็นผลพวงมาจากการทำสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้นักธุรกิจสหรัฐฯ พยายามหาพื้นที่ ลงทุนใหม่ โดยหันมามองที่ภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น เช่น ประเทศไทยที่มีความพร้อมมากกว่าหลาย ประเทศ ซึ่งล่าสุดนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไปช่วยหาทางส่งเสริมและจัดเตรียมสิทธิประโยชน์จูงใจให้นักลงทุนเหล่านี้มาลงทุนในประเทศไทยให้ได้

    “ตอนนี้มีนักธุรกิจต่างชาติเข้ามาพบกับรัฐบาลต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่พอดีกับการวางรากฐานเพื่ออำนวยความสะดวกทางด้านการลงทุนเอาไว้หลายเรื่อง เช่น โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี การส่งเสริมการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ระหว่างประเทศ การมีศูนย์วิจัยและพัฒนา การมอบสิทธิประโยชน์พิเศษต่างๆ และยังมีการอำนวยความสะดวกนักลงทุนต่างชาติด้วยการจัดทำสมาร์ทวีซ่าด้วย สิ่งที่ทำทั้งหมด ได้เริ่มเห็นผลในปีนี้ และปีหน้า”

    นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า ล่าสุดได้มีบริษัท วีเอ็มแวร์ (VMWare) สหรัฐฯ ซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ทางด้านซอฟต์แวร์ของโลก ได้เดินทางมาหารือกับนายสมคิดเพื่อหาช่องทางการขยายธุรกิจ และลงทุนในไทย พร้อมทั้งขอความร่วมมือกับรัฐบาลด้านการพัฒนาบุคลากรด้านไอทีกับไทย 10,000 คน ใน 4 ปี ในพื้นที่อีอีซี โดยบริษัทดังกล่าวยังเตรียมเข้ามาช่วยพัฒนาระบบการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ในประเทศไทย เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในด้านเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และยังเข้ามาพัฒนาระบบปฏิบัติการคราวด์ในไทยด้วย

    ทั้งนี้ยังได้มีการหารือถึงความร่วมมือทางด้านดิจิทัล โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซี การทำศูนย์ข้อมูลภาครัฐและการบริการคราวด์ เพราะบริษัทดังกล่าวมีความเชี่ยวชาญด้านโครงการพื้นฐานดิจิทัลสมัยใหม่ระดับโลก ซึ่งปัจจุบันบริษัท วีเอ็มแวร์ มีรายได้ต่อปีมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 300,000 ล้านบาท โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่พาโลอัลโตแคลิฟอร์เนีย และซิลิคอน วัลเล่ย์ มีลูกค้ากว่า 500,000 บริษัท และมีพันธมิตรกว่า 75,000 พันธมิตรทั่วโลก เช่น อาเมซอน เว็บเซอร์วิส กูเกิล ไมโครซอฟต์ และอาลี คราวด์ โดยมีคนงานทั่วโลกกว่า 25,000 คน


    “นอกจากวีเอ็มแวร์แล้ว ยังมีอีกหลายบริษัทที่เข้ามาพบกับรัฐบาล เช่น อเมซอน และยังมีรายอื่นๆทั้งที่มาแล้ว และเตรียมตัวมาอีก ซึ่งถือเป็นโอกาสดีของไทยที่จะมีนักลงทุนเดินทางเข้ามาหาช่องทางลงทุนที่หลากหลาย เพราะจะมีทั้งจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ยุโรป และสหรัฐฯ”.


    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/news/business/1705285
     

แชร์หน้านี้

Loading...