ปรารถนาพุทธภูมิ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย จันทโค, 13 พฤศจิกายน 2009.

  1. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603

    พระพุทธเจ้ามีอยู่ ๓ ประเภท คือ
    ๑.
    ปัญญาธิกะ พระพุทธเจ้า
    ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๒๐ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ แบ่งเป็น ๓ ช่วงครับคือ
    - ปรารถนาด้วยใจ ใช้เวลา ๗ อสงไขย
    - ปรารถนาด้วยวาจา ใช้เวลา ๙ อสงไขย
    - ช่วงสุดท้าย เป็นช่วงที่ได้รับพยากรณ์ ใช้เวลา ๔ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ ( พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเป็นแบบ ปัญญาธิกะ )



    ๒.
    สัทธาธิกะ พระพุทธเจ้า
    ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๔๐ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ แบ่งเป็น ๓ ช่วงครับคือ
    - ปรารถนาด้วยใจ ใช้เวลา ๑๔ อสงไขย
    - ปรารถนาด้วยวาจา ใช้เวลา ๑๘ อสงไขย
    - ช่วงสุดท้าย เป็นช่วงที่ได้รับพยากรณ์ ใช้เวลา ๘ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ ( พระพุทธเจ้ากกุสันโธ พระพุทธเจ้าโคนาคม พระพุทธเจ้ากัสสปะ เป็นแบบสัทธาธิกะ )


    ๓.
    วิริยาธิกะ พระพุทธเจ้า
    ใช้เวลาบำเพ็ญบารมี ๘๐ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ แบ่งเป็น ๓ ช่วงครับคือ
    - ปรารถนาด้วยใจ ใช้เวลา ๒๗ อสงไขย
    - ปรารถนาด้วยวาจา ใช้เวลา ๓๖ อสงไขย
    - ช่วงสุดท้าย เป็นช่วงที่ได้รับพยากรณ์ ใช้เวลา ๑๖ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ ( พระศรีอาริย์ เป็นแบบ วิริยาธิกะ )

    เวลาทำบุญให้ท่านตั้งจิตอธิฐานว่า ด้วยบุญนี้ ขอให้ข้าพเจ้านาย.....ได้เป็นพระพุทธเจ้าประเภท.......ด้วยเทอญๆๆๆๆๆๆๆๆ

    ให้ท่านลองอ่านดูครับว่าชอบประเภทไหน แล้วให้ท่านตั้งจิตอธิฐานเอาครับ[/QUOTE]
     
  2. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ธรรมของพระโพธิสัตว์ ( ประจำใจพระโพธิสัตว์อยู่เสมอทุกชาติ )
    ธรรมเหล่านี้สัมพันธ์กันตลอดเวลาไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย เพราะธรรมแต่ละข้อนั้นต่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้น.....
    เมื่อพระโพธิสัตว์ให้ ทาน จุดมุ่งหมายในการให้ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ผู้รับไม่มีคิดที่จะเป็นเหตุให้เกิดการเบียดเบียนผู้อื่น
    การไม่มีความคิดที่จะเบียดเบียนผู้อื่นทั้งกาย วาจา ใจ นี้จัดเป็น ศีล
    เมื่อเกิดความคิดในการให้ทาน จิตใจย่อมผ่องใสปราศจากนิวรณ์
    การที่จิตปราศจากนิวรณ์ จัดเป็น เนกขัมมะ
    แน่นอน ในการบำเพ็ญทานนั้น ย่อมตั้งใจใช้การพินิจพิจารณาเหตุผล เพื่อให้ทานเกิดประโยชน์มากที่สุด
    การพินิจพิจารณาเช่นนี้ จัดเป็น ปัญญา
    ความตระหนี่เป็นอุปสรรคสำคัญในการบำเพ็ญทาน พระโพธิสัตว์จำต้องพยายามละความตระหนี่ที่เกิดขึ้นขัดจังหวะอยู่ตลอดเวลา
    การพยายามละความตระหนี่เช่นนี้ จัดเป็น วิริยะ
    นอกจากพยายามละความตระหนี่ซึ่งเป็นบาปที่คอยขัดขวางไม่ให้การทำความดีก้าวหน้าแล้ว พระโพธิสัตว์จะต้องยอมทนทุกข์ทรมานจากการเสยสละ
    เพราะในบางครั้งสิ่งที่สละนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากหรือเสมอด้วยชีวิต แต่เมื่อเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับ ถึงตนเองจะต้องลำบากท่านก็ยอมสละให้ได้
    การยอมทุกข์ทรมานเพื่อให้ผู้อื่นเป็นสุขเช่นนี้ จัดเป็น ขันติ
    พระโพธิสัตว์ เมื่อตัดสินใจให้ทานแล้วก็ย่อมทำตามการตัดสินใจ หรือเมื่อพูดว่าจะให้อะไรแก่ใครแล้ว ท่านก็พร้อมจะให้เสมอ ไม่เคยกลับคำ
    การพูดหรือทำตรงตามการตัดสินใจนั้น จัดเป็น สัจจะ
    การทำอย่างที่พูดหรือตัดสินใจไปแล้วนั้น บางครั้งทำไปแล้ว อาจจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นขัดขวางซึ่งทำใหเกิดความท้อถอยแต่พระโพธิสัตว์จะยึดมั่นอยู่ในสัจจะนั้น พยายามฝ่าฟันอุปสรรคเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้
    ความมั่นคงแน่วแน่เช่นนี้ จัดเป็น อธิฐาน
    การให้ของพระโพธิสัตว์ย่อมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความปรารถนาดี และเป็นความปรารถนาดีชนิดที่เป็นอัปปมัญญา ไม่มีขอบเขตจำกัดไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เป็นความปรารถนาดีที่แผ่ไปให้แม้กระทั้งศัตรู
    ความรักความปรารถนาดีอย่างกว้างขวางนี้ จัดเป็น เมตตา
    แน่นอนว่า ในการให้นั้น พระโพธิสัตว์ย่อมมิได้มุ่งหวังผลตอบแทนหรือเพื่อเกียรติยศชื่อเสียง ท่านสามารถบังคับใจให้อยุ่เหนือสิ่งตอบแทนทางวัตถุเหล่านี้ ทั้งนี้เป็นเพราะท่านรู้จักปล่อยวางประคับประคองใจให้เป็นกลาง
    การวางใจให้เป็นกลางได้เช่นนี้ จัดเป็น อุเบกขา
    จากเหตุผลดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่า ธรรมะเหล่านี้ย่อมสัมพันธ์กันอยู่เสมอ เพื่อเกื้อหนุนให้พระโพธิสัตว์ได้บรรลุถึงพระนิพพานอันเป็นจุดหมายปลายทาง ฉะนั้น จึงเรียกว่า " บารมี " แปลว่า " คุณธรรมเครื่องช่วยให้ถึงฝั่งคือพระนิพพาน "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 เมษายน 2010
  3. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สาธุ ผมกราบอนุโมทนากับสิ่งที่ท่าน ปรารถนา ด้วยนะครับ

    ท่านถามน่ารักดีจังครับ ถามได้ละเอียดดีจัง โดนจู่โจมแบบนี้ผมจะเริ่มงัยดี
    ในตำราเล่าว่าพระโพธิสัตว์เวลาที่ท่านทำบุญทั้งหลายๆๆๆอย่าง ท่านจะอธิฐานว่า " ด้วยบุญนี้ขอให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้รื้อสัตว์ ขนสัตว์ทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุและแสนโกฏิจักรวาลให้ข้ามพ้นทะเลทุกข์ทั้งหลายด้วยเทอญ......."

    บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญก็มีอยู่ ๑๐ ประการ คือ
    ความดีอย่างยิ่งยวด เป็นธรรมอันเลิศ ธรรมอันประเสริฐ ที่พระบรมโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญ สั่งสมไปโดยลำดับ เพื่อจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มี 10 ประการ หรือที่เรียกว่า บารมี 10 ทัศน์ คือ

    1. ทานบารมี คือ การให้ทาน
    2. ศีลบารมี คือ การละเว้นบาป และความชั่วทั้งปวง
    3. เนกขัมมบารมี คือสละการพัวพันในเรื่องกามเรื่องครอบครัว แล้วหลีกเร้นแสวงหาทางหลุดพ้น
    4. ปัญญาบารมี คือ การเสาะหา แสวงหาความรู้ที่นำไปสู่ความหลุดพ้น
    5. วิริยบารมี คือ ความหมั่นเพียรไม่ท้อถอย กล้าที่จะสู้กับอุปสรรค
    6. ขันติบารมี คือ ความอดทน อดกลั้น ต่อสิ่งที่น่ายินดี และไม่น่ายินดี
    7. สัจจบารมี คือ ความตั้งใจมั่นที่จะทำความดี
    8. อธิษฐานบารมี คือ การตั้งความปรารถนาเพื่อบรรลุเป้าหมายในหนทางของความดี
    9. เมตตาบารมี คือ ความปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    10. อุเบกขาบารมี คือ ความวางเฉยต่อสุข และทุกข์ หรือมีความยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

    บารมีทั้ง 10 ทัศน์นี้ เป็นสิ่งที่ต้องสั่งสมมาหลายภพหลายชาติจนติดเป็นนิสัย บารมี 10 ทัศน์ แท้จริงก็คือนิสัยที่ดีเลิศ 10 อย่างนั่นเอง ซึ่งเริ่มต้นจากการสั่งสมทาน ศีล ภาวนา มาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเข้มข้นขึ้นมาในระดับที่เกิดสัมมาทิฏฐิอย่างเหนียวแน่น เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิต ว่าเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงนำไปสู่การตั้งเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่จะทำพระนิพพานให้แจ้งเพื่อให้หลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร มีใจใหญ่พอที่จะทุ่มเทชีวิตเป็นเดิมพัน ในการทำความดีทุกรูปแบบ ซึ่งเราเรียกบุคคลประเภทนี้ว่า พระโพธิสัตว์จึงเป็นที่มาของการบำเพ็ญบารมี 10 ทัศน์ ทั้ง 3 ระดับ คือ

    1. บารมีอย่างธรรมดา เรียกว่า บารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง
    2. บารมีอย่างปานกลาง เรียกว่า อุปบารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง ชนิดที่ยอมสละได้แม้เลือดเนื้อ
    และอวัยวะเพื่อความดีนั้น
    3. บารมีอย่างสูงสุดอุกฤษฏ์ เรียกว่า ปรมัตถบารมี คือ การบำเพ็ญความดีอย่างยิ่ง ชนิดที่ยอมสละได้แม้ด้วยชีวิต

    เมื่อบารมีทั้ง 10 จำแนกออกเป็นองค์ละ 3 บารมีอย่างนี้ จึงรวมเป็น บารมี 30 ทัศน์

    ตัวอย่าง อดีตชาติของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน พระองค์เสวยพระชาติเป็นพรหมฤาษี ท่านสละร่างกายให้แม่เสือกินเพื่อรักษาชีวิตลูกเสือ พอท่านสละชีวิตแล้วท่านก็อธิฐานให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตเพื่อรื้อสัตว์ ขนสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้นทะเลทุกข์ทั้งหลาย.........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 เมษายน 2010
  4. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ท่านครับ
    เรื่องนี้ต้องของบอกก่อนนะครับ ว่าไม่ค่อยแน่ใจเท่าไร

    แดนสุขาวดี เป็นสวรรค์ทางนิกายมหายานที่อยู่ทางจีน นะครับ

    ส่วนทางนิกายเถรวาท ที่อยู่ทางไทย ไม่มีกล่าวถึงเรื่องนี้ กล่าวแค่ว่าสวรรค์มี ๖ ชั้นคือ

    สวรรค์ชั้นที่ 1

    จาตุมหาราชิกาภูมิ



    สวรรค์ชั้นแรกอยู่เหนือโลกมนุษย์ขึ้นไป 46,000 โยชน์ เป็นแดนสุขาวดี มีเทวราชผู้ยิ่งใหญ่ 4 พระองค์
    ทรงเป็นผู้ปกครองดูแล จึงได้ชื่อว่า จาตุมหาราชิกาเทวภูมิ คือ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพ
    มีท้าวจาตุมหาราช ทรงเป็นใหญ่

    สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีเมืองใหญ่เป็นเทพนครอยุ่ถึง 4 เทพนคร แต่ละเทพนครมีป้อมปราการ กำแพงทองทิพย์
    เหลืองอร่ามงามนัก ประดับประดาไปด้วยสัตตรัตนะแก้ว 7 ประการ

    ภายในเทพนครอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้น มีปราสาทแก้ว ซึ่งเป็นวิมานที่อยู่ของเทพยดาชาวฟ้าทั้งหลาย
    ตั้งเรียงรายอยู่มากมาย

    นอกจากนี้ ยังมีสระโบกขรณี ซึ่งมีน้ำใสยิ่งกว่าแก้ว เต็มไปด้วยดอกบัวนานาชนิด ส่งกลิ่นทิพย์
    หอมตลบอบอวลไปทั่วบริเวณ มีดอกไม้นานาพรรณ สีสันวิจิตรตระการตา และมีรุขชาติต้นไม้สวรรค์
    ซึ่งมีผลอันโอชายิ่ง

    มิ่งไม้ในสวงสวรรค์ มีดอกมีผลเป็นทิพย์ ปรากฏให้เหล่าชาวสวรรค์ได้ชื่นชมตลอดกาล
    ไม่มีวันร่วงโรยและหมดไปเลย

    สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา จำแนกย่อยพื้นที่บริเวณของหมู่เทพละเอียดลงไปอีก ตามขั้นตอนการถือกำเนิดเอาไว้
    ดังนี้

    - อุปัตติเทพ
    การถือกำเนิดด้วยการอุบัติขึ้นมา โดยมีกายทิพย์ หรือ กายละเอียด เป็นวัยหนุ่มสาวขึ้นมาทันใด
    ถ้าเป็นเพศชาย เมื่อสร้างบุญไม้มากพอที่จะมีวิมานของตนเอง
    ก็จะไปถือกำเนิดเป็นบุตรของเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง
    ถ้าเป็นเพศหญิง เมื่อสร้างบุญมาไม่มากพอที่จะมีวิมานของตนเอง ต้องไปถือกำเนิดเป็นบาทบริจาริกา
    ของเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง
    ถ้าหญิงหรือชายสร้างบุญไว้น้อย
    ก็จะถือกำเนิดเป็นเทพผู้คอยดูแลในเรื่องเครื่องทรงของเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง
    ถ้าสร้างบุญกุศลไว้มากพอ ก็จะอุบัติขึ้นมาเป็นเจ้าของวิมาน พรั่งพร้อมด้วยบริวาร
    และสิ่งของอันเป็นทิพย์

    - บาดาล
    ภพที่ใกล้มนุษย์มากที่สุด มีลักษณะเป็นงูต่าง ๆ

    - ภูมะ
    ที่อยู่ของภูมิเจ้าที่ต่าง ๆ

    - รุกขภูมิ
    ภูมิที่อยู่เหนือหัวเราขึ้นไปเพียงศอกเดียว มีวิมานอยู่บนต้นไม้

    - ฉิมพลีภูมิ
    ดินแดนแห่งเทพผู้มีปีก กึ่งเทพ กึ่งสัตว์ มีฤทธิ์มาก

    - คนธรรพ์ภูมิ
    ดินแดนรอยต่อระหว่างมนุษย์โลกกับเทวโลก

    - หิมพานต์
    ดินแดนรอยต่อระหว่างมนุษย์โลกกับเทวโลก

    - บรรพภูมิ
    ดินแดน แห่งฤาษีผู้บำเพ็ญพรต ที่หลบลี้จากโลกมนุษย์

    - อโยธยาภูมิ
    ภูมิของผู้มีบุญคุณต่อแผ่นดิน เช่น พ่อหลักเมือง

    - ลับแลภูมิ
    ภูมิของหญิงสาวที่บำเพ็ญเพียร ถือสัจจะเป็นหลัก

    - ภุมมา
    ที่สถิตของเทพบุตร เทพธิดาต่างๆ ที่ยังมีกิเลศ เป็นภูมิที่อยู่ต่อจากมนุษย์ภูมิขึ้นไป
    มีเทวดาผู้เป็นใหญ่ เป็นมหาราชอยู่ 4 องค์ ได้แก่

    ท้าวธตรัฏฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองคันธัพพเทวดา
    ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครอบกุมภัณฑ์เทวดา
    ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคเทวดา
    ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ อยู่ทางทิศเหนือของเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยักขเทวดา

    มหาราชทั้ง 4 นี้ เป็นผู้รักษามนุษยโลก หรือ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล
    มีหน้าที่สอดส่องดูมนุษย์ที่ประกอบผลบุญแล้วรายงานต่อพระอินทร์ เพื่อให้ได้ไปเกิดในสรวงสวรรค์
    มีสถานที่ปกครองตั้งแต่กลางเขาสิเนรุ ลงมาจนถึงมนุษยโลก มีอาณาเขตแผ่ออกไปจดขอบจักรวาล
    เทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมินี้ทั้งหมด เป็นบริวาลภายใต้อำนาจของมหาราชทั้ง 4

    เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์ กับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ แล้ว 50 ปีมนุษย์ เท่ากับ 1วัน
    ของเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ


    ที่อยู่ของเทวดา
    เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา มีอยู่ตั้งแต่กลางเขาสิเนรุ จนกระทั่งพื้นดินที่มนุษย์อยู่


    ทางไปสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสไว้ในทานสูตรว่า...

    "ถ้าผู้ใดให้ทานโดยหวังผลบุญจากการให้ทาน เมื่อตายไปจะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา"

    "ดูกรสารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลมีความหวังให้ทานมีจิตผู้พันในผลแห่งทานแล้วให้ทาน
    มุ่งการสั่งสมทาน ให้ทาน ด้วยคิดว่า เราตายไปแล้วจักได้เสวยผลแห่งทานนี้ เขาผู้นั้น เมื่อตายไป
    ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมหาราช"
     
  5. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สวรรค์ชั้นที่ 2

    ดาวดึงส์ภูมิ



    อยู่เหนือจาตุมหาราชิกาขึ้นไป 46,000 โยชน์

    ดาวดึงส์ หรือ ดาวดึงสา คือ ภูมิอันเป็นที่เกิดของบุคคล 33 คน ที่ได้สร้างกุศลไว้ในอดีต มีมาฆมานพ
    เป็นหัวหน้า เมื่อตายแล้วก็ได้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ พร้อมบริวารอีก 32 รวมเป็น 33
    เป็นเทวดาชั้นผู้ใหญ่ในชั้นดาวดึงส์

    ดาวดึงสานี้ เป็นผืนแผ่นดินผืนแรก ที่เกิดขึ้นในโลกหลังจากโลกนี้ถูกทำลายด้วยน้ำ เมื่อน้ำงวดลง
    แผ่นดินผืนแรกที่โผล่ขึ้นก่อนแผ่นดินอื่น ๆ ก็คือ ยอดเขาสิเนรุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    นี้เอง

    ลักษณะของดาวดึงส์ภูมิ เป็นมหานครใหญ่ อาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล เหนือเขาสิเนรุราชบรรพต ปรางค์ ปราสาท
    ล้วนแล้วไปด้วยแก้วอันเป็นทิพย์ แวดล้อมรอบเทวนครด้วยปราการกำแพงแก้วทิพย์ อีกเช่นกัน
    มีประตูกำแพงแก้วถึง 1,000 ประตู เมื่อประตูเหล่านั้นเปิดออกแต่ละครั้ง ปรากฏเสียงดังไพเราะยิ่งนัก

    ในท่ามกลางพระนครนั้น มีปราสาทพิมานอันมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลืออยู่วิมานหนึ่ง คือ ไพชยนตปราสาทพิมาน
    มีรูปทรงสูง ประดับไปด้วยแก้ว 7 ประการ งามสุดจะพรรณนา เป็นที่ประทับแห่งสมเด็จพระอมรินทราธิราช

    เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์ กับ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้ว 100 ปีในมนุษย์ เท่ากับ 1
    วันในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

    เทวดาที่อยู่ชั้นดาวดึงส์
    มีอยู่ 2 จำพวก
    - ภุมมัฏฐเทวดา
    เทวดา ที่อยู่บนพื้นดิน ได้แก่ พระอินทร์ และ เทวดาผู้ใหญ่ 32 องค์ พร้อมทั้งบริวาร และเทวอสุรา 5 จำพวก
    ที่อยู่ใต้เขาสิเนรุ

    - อากาสัฏฐเทวดา
    เทวดา ที่อยู่ในอากาศ ได้แก่ เทวดาที่มีวิมานลอยไปในกลางอากาศ ตั้งแต่เหนือพื้นดินยอดเขาสิเนรุ
    ไปจดขอบจักรวาล บางวิมานก็มีเทวดาอยู่ บางวิมานก็ไม่มีเทวดาอยู่

    ความเป็นอยู่ของเทวดาในชั้นดาวดึงส์
    ล้วนแต่เป็นผู้เสวยทิพยสมบัติจากผลบุญที่ได้กระทำไว้ อารมณ์ที่ได้รับในชั้นดาวดึงส์
    จึงล้วนแต่เป็นอารมณ์ที่ดีเลย เทพบุตรจะมีวัย 20 ปี ส่วนเทพธิดามีวัย 16 ปี เหมือนกันทุก ๆ องค์
    ไม่มีการแก่ เจ็บ ตาย ให้เห็น มีแต่ความสวยงาม เป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดไป

    เทพบุตรองค์หนึ่ง อาจจะมีนางฟ้าเป็นบาทบริจาริกา(ภรรยา) 500-1,000 หรือมากกว่า
    ขึ้นอยู่กับบุญบารมีที่ได้ทำไว้

    เทวดาในโลกนี้ มีการไปมาหาสู่ เบียดเบียนกันเช่นเดียวกับมนุษยโลก มีนักดนตรี นักร้อง เทพบุตร เทพธิดา
    มีความรักใคร่ปรารถนาเป็นคู่ครองกัน หากขาดคู่ครอง ก็ย่อมจะเกิดความเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่ของตน
    ไม่เบิกบานรื่นเริงเหมือนเทวดาที่มีคู่ครอง

    เทวดาในชั้นดาวดึงส์ทั้งหลาย ต่างก็ไปหาความสุขสำราญในสวนทั้ง 4 แห่ง
    พร้อมด้วยบริวารของตนอย่างสำเริงสำราญ

    คุณธรรม 7 ประการ ที่ทำให้เป็นพระอินทร์
    ผู้ที่ปรารถนาจะเกิดเป็นพระอินทร์ จะต้องหมั่นสร้างบุญกุศลโดยสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องมีคุณธรรม
    7 ประการ
    1.เลี้ยงดูบิดา มารดา
    2.เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล
    3.กล่าววาจาอ่อนหวาน
    4.ไม่กล่าวคำส่อเสียด
    5.ไม่มีความตระหนี่
    6.มีความซื่อสัตย์
    7.ระงับความโกรธได้
    ปัจจุบันพระอินทร์ หรือ ท้าวสักกะเทวราช องค์นี้ ได้สำเร็จโสดาบันแล้ว
    ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในสักกปัณหสูตร นับเป็นพระอริยบุคคลขั้นแรกในพระพุทธศาสนา
    และอยู่ในดาวดึงส์ภิภพนี้ต่อไปจนสิ้นอายุขัย
    เมื่อจุติจากชั้นดาวดึงส์แล้ว จะมาบังเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมนุษยโลก และ
    สำเร็จเป็นพระสกทาคามีบุคคล

    เมื่อสิ้นชีพแล้วก็ไปกลับไปเกิดในชั้นดาวดึงส์อีก และได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี
    เมื่อสิ้นอายุแล้ว จะไปบังเกิดเป็นพรหมโลก ในชั้นสุทธาวาสภูมิขั้นต้น คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี
    และ อกนิฏฐาภูมิ ตามลำดับ และเข้านิพพาน ในชั้นสุดท้าย

    สถานที่สำคัญในดาวดึงส์ภูมิ
    สวรรค์ชั้นที่ 2 มีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากมาย ทำให้เกิดเป็นพุทธศาสนสถาน
    ที่สำคัญของเทวโลกหลายแห่ง ดังนี้

    ศาลาสุธรรมาเทวสภา
    สถานที่ฟังธรรมในเทวโลก บรรดาเทวดาทั้งหลายจะมาประชุมกันเพื่อฟังธรรม โดยมีท้าวสักกะเทวราช
    องค์อมรินทร์เป็นประธาน
    ศาลาแห่งนี้ ประกอบด้วยรัตนะ 7 ประการ สูง 500 โยชน์ วัดโดยรอบได้ 1,200 โยชน์
    พื้นที่ประกอบด้วยแก้วผลึก เสาเป็นทอง
    เครื่องบน คือ ขื่อ คาน ระแนง ทำด้วยรัตนะทั้ง 7 หลังคามุงด้วยอินทนิล
    เพดาน เสา ประกอบด้วยแก้วประพาฬ ลวดลายต่าง ๆ ช่อฟ้า ใบระกา ทำด้วยเงิน
    ตรงกลางศาลา เป็นที่ตั้งธรรมาสน์ สูง 1 โยชน์ ทำด้วยรัตนะทั้ง 7 ปกกั้นด้วยเศวตฉัตรสูง 3 โยชน์
    ข้างธรรมาสน์ เป็นที่ประทับของท้าวโกสีย์เทวราช ถัดไปเป็นที่ประทับของเทวดาผู้ใหญ่ 32 องค์ และ
    เทวดาอื่น ๆ

    ต้นปาริชาต (กัลปพฤกษ์)
    อยู่ในอุทยานทิพย์ปุณฑริกวัน มีบริเวณกว้างขวาง มีกำแพงล้อมรอบ 4 ด้าน
    กลางสวนนั้นมีต้นไม้ทองหลางใหญ่แผ่สาขาอยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งชื่อว่า ต้นปาริชาต หรือ กัลปพฤกษ์
    ซึ่งเป็นต้นไม้ทิพย์

    ต้นกัลปพฤกษ์ นี้ 100 ปี ถึงจะออกดอกครั้งหนึ่ง เมื่อถึงคราวนั้น ดอกไม้ในสวรรค์นี้ก็จะบานสะพรั่ง
    เหล่าเทพบุตร เทพธิดา ก็จะพากันมารื่นเริง ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาเฝ้าจนกว่าดอกไม้จะบาน

    เมื่อดอกไม้สวรรค์บานแล้ว จะปรากฏแสงรุ่งเรืองงดงามยิ่งนัก
    รัศมีดอกปาริชาติจะส่องรัศมีรุ่งเรืองไปไกลหลายหมื่นวา เมื่อลมรำเพยพัดพาไปในทิศใด
    ย่อมส่งกลิ่นหอมไปในทิศนั้น เป็นระยะไกลแสนไกล

    ดอกไม้นี้จะบานสะพรั่งไปทุกกิ่งก้านทั่วทั้งต้น ถ้าเทพบุตรเทพธิดาองค์ใด
    ปรารถนาจะได้ดอกปาริชาตก็จะตกลงมาในมือดั่งรู้ใจ ถ้ายังไม่ได้รับในมือ ดอกก็ยังไม่ทันตกลงดิน
    โดยมีลมชนิดหนึ่ง จะพัดชูดอกไว้ในอากาศ จนกว่าเทพยดาผู้ใดประสงค์ก็จะมารับเอาไป

    บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
    แท่นศิลาแก้ว สีแดงดังดอกชบา อ่อนนุ่มดังฟูก
    เมื่อพระอินทราธิราชประทับพักผ่อนอิริยาบถอยู่เหนือแท่นศิลาอาสน์แล้ว แท่นทิพย์นี้ก็จะอ่อนยุบลงไป
    และเมื่อพระองค์ทรงลุกขึ้น แท่นศิลาก็จะฟูขึ้นเต็มตามเดิม
    เป็นแท่นศิลาที่ประหลาดมหัศจรรย์ยุบและฟูเองโดยธรรมชาติ

    สวนสวรรค์
    อุทยาทิพย์ที่มีความรื่นรมย์ สนุกสนาน หาที่เปรียบไม่ได้ในมนุษยโลก เต็มไปด้วยบุพผาชาตินานาพรรณ
    มีสระโบกขรณีอันทิพย์ มีน้ำใสดั่งแก้ว มีก้อนศิลาที่เป็นทิพย์ รัศมีรุ่งเรือง มีแท่นที่นั่งอันอ่อนนุ่ม
    สีใสสะอาด เหล่าเทพบุตรเทพธิดา ก็จะมาในสวนสำราญเหล่านี้อย่างไม่ขาดสาย

    อุทยานทิพย์ มีชื่อเสียง 4 อุทยาน ได้แก่
    - นันทวันอุทยาน
    - จิตรลดาวันอุทยาทิพย์
    - มิสกวันอุทยาทิพย์
    - ปารุสกวันอุทยานทิพย์

    พระเกศจุฬามณีเจดีย์
    สร้างด้วยแก้วอินทนิลอันเป็นทิพย์ มีความสวยงามรุ่งเรืองยิ่งนัก ยอดพระเจดีย์เป็นทองคำบริสุทธิ์
    ประดับด้วยรัตนะ 7 ประการ สูง 80,000 วา มีกำแพงทองคำล้อมรอบทั้ง 4 ทิศ มีความยาว 160,000 วา
    ประดับด้วยธงนานาชนิด พระเจดีย์นี้เป็นที่บรรจุสิ่งที่มีค่ายิ่ง 2 อย่างคือ
    - พระเกศโมลี ขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ มวยผมที่ตัดออก ขณะที่เสด็จออกบรรพชา และได้อธิษฐานว่า
    "ถ้าจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ขอให้มวยพระเกศโมลีจงลอยขึ้นไปบนนภากาศเถิ
    อย่าได้ตกลงสู้พื้นปฐพีเลย" ครานั้นสมเด็จพระมหาอมรินทราธิราช ผู้เป็นใหญ่ในชั้นดาวดึงส์นี้
    จึงนำเอาพระผอบทองมารองรับพระเกศโมลีไว้ แล้วนำขึ้นไปบนดาวดึงส์สวรรค์
    สร้างเจดีย์สำหรับบรรจุพระโมลีโดยเฉพาะ

    - พระบรมธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องขวา ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ในสมัยที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    โทณพราหมณ์ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
    ได้นำเอาพระเขี้ยวแก้วซ่อนไว้ที่ผ้าโพกศีรษะ แล้วจึงได้จัดพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือออกเป็น 8
    ส่วนเพื่อถวายแก่กษัตริย์ต่างๆ ในครั้งนั้น
    ท้าวสักกะเทวราชจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเขี้ยวแก้วจากผ้าโพกศีรษะของโทณพราหมณ์นั้น
    ลงสู่ผอบทองคำทิพย์อีกทอดหนึ่งด้วยกิริยาอันเลื่อมใส
    แล้วรีบเสด็จมาประดิษฐานบรรจุไว้ในพระเกศจุฬามณีเจดีย์นี้

    ทางไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    สร้างเสบียงไว้นำทางคือ บุญกุศล พยายามทำตนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม
    ห้ามตนไม่ให้ทำกรรมอันหยาบช้าลามก
    อย่าให้บังเกิดความสกปรกแห่งกาย วาจา ใจ
    ในทานสูตรกล่าวไว้ว่า...

    "ถ้าผู้ใดทำทานโดยไม่หวังผลบุญของการทำทาน แต่ทำทานโดยคิดว่า การทำทานนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม
    เมื่อตายลงย่อไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์"

    "ดูกร สารีบุตร ในการให้ทานนั้น บุคคลไม่มีความหวังให้ทาน ไม่มีจิตผูกพันในผลแห่งทาน แล้วให้ทาน
    ไม่มุ่งการสั่งสมให้ทาน ไม่ได้ให้ทานด้วยคิดว่า ตายไปแล้ว เราจักได้เสวยผลทานนี้
    แต่ให้ทานด้วยความคิดว่า การให้ทาน เป็นการกระทำที่ดี
    เขาผู้นั้น ให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำการกิริยาตายไป
    ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาทั้งหลายในชั้นดาวดึงส์สวรรค์"
     
  6. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สวรรค์ชั้นที่ 3

    ยามาภูมิ



    ยามาภูมิอยู่ในอากาศ สูงกว่ายอดเขาสิเนรุ 42,000 โยชน์
    เป็นภูมิที่สวยงามและประณีตกว่าสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นสวรรค์ที่พรั่งพร้อมด้วยความสุขที่เป็นทิพย์
    ปราศจากความยากลำบากใด ๆ ถึงซึ่งความสุขอันเป็นทิพย์วิมาน และทิพยสมบัติก็ปราณีตมาก

    พระสยามเทวธิราช หรือเรียกว่า พระสุยามะ หรือ ท้าวสุยามะเทวราช ผู้มีอายุยืนถึง 2,000 ปีทิพย์
    เป็นผู้ปกครองสวรรค์ชั้นยามา

    เทวดาทั้งหลายที่อยู่ในชั้นนี้ เรียกว่า ยามา หรือ ยามะ เป็นจำพวกอากาสัฏฐเทวดาจำพวกเดียว
    เพราะมีวิมานลอยอยู่ในอากาศเป็นที่อยู่
    เทวดาที่อยู่ในภูมิสูงขึ้นไปกว่าชั้นนี้ก็ล้วนแต่เป็นอากาสัฏฐเทวดาทั้งสิ้น

    เทวดาในชั้นยามาภูมิ ล้วนเป็นผู้มีบุญมาก หน้าตางดงามรุ่งเรืองนัก มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างผาสุก
    เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ตามสมควรแก่อัตภาพ ทิพย์วิมานเป็นปราสาทเงิน ปราสาททอง ปราศจากแสงพระอาทิตย์
    และพระจันทร์ เพราะว่าอยู่สูงกว่าพระอาทิตย์ และ พระจันทร์ มากมายนัก
    มีความสว่างอันเกิดจากรัศมีแห่งแก้ว และรัศมีจากกายของเหล่าเทวดาทั้งหลาย ถ้าดอกไม้บานก็จะเป็นกลางวัน
    ดอกไม้หุบจะเป็นกลางคืน

    เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์ กับ สวรรค์ชั้นยามาภูมิแล้ว 200 ปีในมนุษย์ เท่ากับ 1 วันในสวรรค์ชั้นยามา

    ทางไปสวรรค์ชั้นยามา

    ต้องพยายามสร้างบุญ ต้องเป็นผู้หนักแน่นในการบำเพ็ญบุญ
    ในทานสูตร กล่าวไว้ว่า...
    "ถ้าผู้ใดทำทานโดยไม่คิดว่าเป็นการทำดี แต่คิดว่าบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย
    ได้เคยทำบุญทำทานมาโดยตลอด เราก็ควรได้ทำตามประเพณีที่ท่านเคยทำมา
    ถ้าผู้นั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป
    ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นยามา"

    "ดูกร เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
    กระทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลประมาณยิ่ง แต่ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย
    เมื่อถึงกาลกิริยาตายไปแล้ว เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา"



    สวรรค์ชั้นที่ 4

    ดุสิตาภูมิ



    ห่างไกลจากสวรรค์ชั้นยามาภูมิ ขึ้นไปเบื้องบนประมาณ 42,000 โยชน์ เป็นแดนสุขาวดี
    เป็นที่สถิตอยู่แห่งปวงเทวดาชาวฟ้าทั้งหลาย ผู้ไม่มีความทุกข์ ปราศจากความร้อนใจ แต่กลับมีแต่ความยินดี
    และ ความแช่มชื่นอยู่เป็นนิตย์ อีกทั้งยังเป็นภูมิที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
    ก่อนที่จะไปบังเกิดในมนุษยโลก และ บำเพ็ญเพียรจนสำเร็จอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ยังเป็นที่เกิดของผู้ที่จะเป็นอัครสาวก ก่อนที่จะไปบังเกิดในมนุษยโลกอีกด้วย

    ดังนั้นเทวดาที่อยู่ในชั้นดุสิตาภูมินี้ จึงนับว่าเป็นเทวดาที่ประเสริฐกว่าเทวดาในภูมิอื่อน ๆ โดยมี
    สมเด็จพระสันดุสิตเทวาธิราช ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเทวาธิบดี

    เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์ กับสวรรค์ชั้นดุสิตาภูมิแล้ว 400 ปีในมนุษย์ เท่ากับ 1
    วันในสวรรค์ชั้นดุสิตาภูมิ

    ดุสิตาภูมิ เป็นเทพนครที่ตั้งกลางนภากาศ มีปราสาทวิมานอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน

    - รัตนวิมาน คือ วิมานแก้ว
    - สุวรรณวิมาน คือ วิมานทอง
    - รชตวิมาน คือ วิมานเงิน

    ปราสาทวิมานเหล่านี้ ตั้งอยู่เรียงรายเป็นระเบียบสวยงาม แต่ละวิมานเป็นปราสาททิพย์
    มีความวิจิตรตระการเหลือที่จะพรรณนา มีรัตนปราการกำแพงแก้วล้อมรอบทุก ๆ วิมาน
    มีรัศมีรุ่งเรืองเลื่อมพรรณราย สวยงามยิ่งกว่าปราสาทวิมานแห่งเทวดาทั้งหลาย ในสรวงสวรรค์ชั้นยามาภูมิ

    เทวสถานชั้นนี้ มีสระโบกขรณี และ สวนขวัญอุทยานทิพย์อีกมากมาย
    สำหรับเป็นที่เที่ยวพักผ่อนให้ได้รับความชื่นบานเริงสราญแห่งเทพยดาชาวฟ้าทั้งหลาย

    ปวงเทพเจ้าทั้งหลาย ผู้เคยได้สร้างกามาวจรกุศลกรรมและผลวิบากแห่งกามาวจรกุศลกรรม ชักนำให้มาอุบัติเกิด ณ
    โลกสวรรค์ชั้นดุสิตาภูมินี้ แต่ละองค์มีความสง่างามกว่าเหล่าเทวดาชั้นต่ำ ๆ
    มีจิตใจรู้บุญรู้ธรรมเป็นอย่างดี มีจิตยินดีต่อการที่จะได้สดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาเป็นยิ่งนัก

    ทุกวันธรรมสวนะ ปวงเทพเจ้าเหล่าดุสิตาภูมินี้ ย่อมจะมีเทวสันติบาตประชุมฟังธรรมกันอยู่เสมอมิได้ขาด
    โดยมีสมเด็จพระสันดุสิตเทวาธิราช ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเทพยสภาบดี
    ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์ทรงเป็นเทพเจ้าผู้เป็นพหูสูต
    เป็นผู้รู้ธรรมแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอันมาก จึงทรงมีพระอัธยาศัยน้อมไปในการแสดงธรรม
    และสดับตรังฟังพระธรรมเทศนา

    ปัจจุบันนี้ สมเด็จพระศรีอริยะเมตไตรย พระโพธิสัตว์ผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือ
    เป็นที่รู้จักกันในหมูพุทธบริษัทว่า จะได้ตรัสเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตอันตรกัปที่ 13 แห่งภัทรกัปนี้
    พระองค์ก็สถิตอยู่ ณ สรวงสวรรค์ชั้นนี้ และมักได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงธรรม
    โปรดเหล่าเทพบริษัทในดุสิตสวรรค์นี้อยู่เสมอ

    ทางไปสวรรค์ชั้นดุสิต

    ต้องอุตส่าห์พยายามสร้างบุญกุศล ชอบสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา เพื่ออบรมปัญญาให้เจริญผ่องใส
    ไม่หวั่นไหวโยกคลอน ในการประกอบกุศล ไม่เป็นผู้มัวเมาประมาทในวัยและชีวิตของตน เร่งสร้างกุศล เช่น
    บำเพ็ญทาน และรักษาศีลเป็นนิตย์

    ในทานสูตรกล่าวไว้ว่า...
    "ผู้ใดให้ทานโดยไม่คิดว่าทำตามบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ที่เคยทำมาจนเป็นประเพณี
    แต่ให้ทานโดยคิดว่าเราหุงหากิน สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้หุงหากิน ถ้าเราไม่ให้ทาน
    ก็เป็นสิ่งไม่ควรอย่างยิ่ง
    เมื่อเขาตายลง ก็ย่อมไปบังเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต"



    สวรรค์ชั้นที่ 5

    นิมมานรดีเทวภูมิ



    เทวภูมินี้ เป็นที่สถิตของปวงเทพเจ้า ผู้มีความยินดีเพลิดเพลินในกามคุณารมณ์
    ที่เนรมิตขึ้นตามความพอใจของตนเอง โดยมีเทพเจ้ามเหศักดิ์ ทรงนามว่า สมเด็จท่านท้าวสุนิมมิตเทวาธิราช
    ทรงเป็นอธิบดีผู้ปกครอง จึงได้ชื่อว่า นิมมานรดีภูมิ คือ ภูมิเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพ
    อันมีสมเด็จพระนิมมิตเทวาธิราช ทรงเป็นอธิบดี

    ภายในเทพนคร มีปราสาทเงิน ปราสาททอง และปราสาทแก้ว ทั้งมีกำแพงแก้ว กำแพงทอง อันเป็นของทิพย์
    เป็นวิมานที่อยู่ของเหล่าเทวดา

    นอกจากนั้น พื้นภูมิภาคยังมีสภาวะเป็นทองราบเรียบเสมอกัน มีสระโบกขรณี และ สวนอุทยานอันเป็นทิพย์
    สำหรับเป็นที่เที่ยวเล่นสำราญแห่งเหล่าชาวสวรรค์นิมมานรดีทั้งหลาย
    เช่นเดียวกับสมบัติทิพย์ในสวรรค์ชั้นดุสิต ต่างกันแต่ว่าทุกอย่างที่นี่มีสภาวะสวยสดงดงามกว่า
    และประณีตกว่าทิพยสมบัติในดุสิตภูมิ

    เทพยดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นนี้ มีรูปทรงสวยงามน่าดูชม ยิ่งกว่าชาวสวรรค์ชั้นที่ต่ำกว่าทั้งหลาย
    และมีกายทิพย์ ซึ่งมีรัศมีรุ่งเรืองเป็นยิ่งนัก หากเขาเกิดความปรารถนาจะเสวยสุขด้วยกามคุณารมณ์สิ่งใด
    เขาย่อมเนรมิตเอาได้ตามความพอใจชอบใจแห่งตนทุกสิ่งทุกประการ ไม่มีความขัดข้อง
    และเดือดเนื้อร้อนใจในกรณีใด ๆ เลย ปรองดอง รักใคร่ และได้รับความสุขสำราญชื่นบาน ทุกถ้วนหน้า

    ทางไปสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

    ผู้ที่จำอุบัติในสวรรค์ชั้นนี้ ต้องเพียรบริจาคทานเป็นอันมาก อย่างเสมอต้นเสมอปลาย จิตใจบริสุทธิ์
    รักษาศีลไม่ขาดตกบกพร่อง ต้องอุตส่าห์ก่อสร้างกองบุญกุศลให้ยิ่งใหญ่ อบรมจิตใจของตนให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง
    ไม่ให้สกปรกลามกมีมลทิน พยายามรักษาศีลไม่ให้ขาด มีใจสมบูรณ์ด้วยศีล ผลวิบากแห่งทาน
    และศีลอันสูงส่งเท่านั้น จึงจะบันดาลให้ไปอุบัติเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ได้

    ในทานสูตรกล่าวไว้ว่า...
    "ผู้ใดทำทานโดยไม่คิดว่าเราหุงหากิน แต่สมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ได้หุงหากิน
    เราจะไม่ให้ทานก็ไม่บังควรอย่างยิ่ง แต่ได้คิดว่าเราจะให้ทานเหมือนอย่างฤาษีทั้งหลาย
    ที่ได้กระทำมาในอดีต เมื่อตายลงย่อมไปบังเกิดเป็นเทวดา ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี"


    สวรรค์ชั้นที่ 6

    ปรนิมมิตวสวัตตีเทวภูมิ[/b]



    สวรรค์ชั้นสูงสุดของแดนสุขาวดี ตั้งอยู่ในอากาศ ห่างจากนิมมานรดี 42,000 โยชน์
    เทวดาในชั้นปรนิมมิตวสวัตตีภูมินี้ ทั้งที่เป็นเทพบุตรและเทพธิดา เวลาใดที่ปรารถนาจะเสวยในกามคุณ
    ก็มีเทวดาที่รู้ใจเนรมิตให้ เมื่อได้เสวยกามคุณสมความปรารถนาแล้ว สิ่งที่เนรมิตมาก็จะสิ้นไป
    เทวดาชั้นปรนิตมิตวสวัตตีจึงไม่มีคู่ครองประจำเหมือนเทวดาในสวรรค์ชั้นอื่น ๆ

    วิมาน ทิพยสมบัติ และร่างกาย ของเทวภูมิชั้นนี้มีความสวยงามประณีต มากกว่าเทวดาในชั้นนิมมานรดี
    มีอายุยาวกว่าประมาณ 4 เท่า ถือว่าเป็นยอดภูมิ คือ ภูมิที่สูงสุดของเทวดาในเทวภูมิ 6

    เทวภูมิชั้นนี้ เป็นที่สถิตอยู่ของเหล่าเทพยดาจำพวกมารทั้งหลาย โดยมีสมเด็จพระปรนิมมิตเทวราช และ
    สมเด็จพระปรนิมมิตวสวัตตีมาราธิราช ทรงเป็นอธิบดี จึงได้ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ คือ
    ภูมิที่อยู่แห่งทวยเทพ

    อำนาจปกครองมิได้อยู่แต่เฉพาะเทวดาที่อยู่ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีภูมิเท่านั้น
    แต่ยังมีอำนาจปกครองทั่วไปถึงสวรรค์ชั้นต่ำลงอีก 5 ชั้นด้วย คือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต
    นิมมานรดี และมีการปกครองที่แตกต่างจากเทวภูมิอื่น คือแบ่งเป็น 2 แดน อยู่กันฝ่ายละแดน
    มีเขตแดนกั้นในระหว่างกลาง ต่างฝ่ายต่างอยู่ หากมีกิจจำเป็นจึงจะไปมาหาสู่แก่กัน

    แดนเทพยดา มีสมเด็จพระปรนิมมิตเทวราช ทรงเป็นพระเทวาธิราชปกครอง

    แดนมาร มีท้าวปรนิมมิตวสวัตตีมาราธิราช ปกครอง

    เมื่อเทียบเวลาระหว่างมนุษย์ กับ สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีภูมิแล้ว 1,600 ปีในมนุษย์ เท่ากับ 1
    วันในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวาวัตตี

    ทางไปสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี

    ผู้ที่จะมาอุบัติในสวรรค์ชั้นนี้ ต้องอุตส่าห์ก่อสร้างกองการกุศลให้ยิ่งใหญ่
    อบรมจิตใจให้สูงส่งด้วยคุณธรรม เมื่อจะให้ทานรักษาศีล ก็ต้องบำเพ็ญอย่างจริงจัง
    ด้วยศรัทธาอย่างยิ่งยวดและถูกต้อง และผลวิบากแห่งทานและศีลอันสูงยิ่งเท่านั้น
    จึงจะบันดาลให้ไปอุบัติสวรรค์ชั้นนี้ได้

    ในทานสูตรกล่าวไว้ว่า...
    "ผู้ใดทำทาน โดยไม่ได้คิดว่าทำทานตามฤาษีในอดีตที่เคยทำมา แต่คิดว่าทำทาน
    เพื่อให้จิตเกิดความปลาบปลื้มปิติในบุญที่ทำ เมื่อตายลง ย่อมไปเกิดเป็นเทวดา
    ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี"
     
  7. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    แล้ว สูงว่านั้น ก็จะเนียกว่าพรหมโลก ครับ ลองอ่านดูนะครับ ก็อปมาให้ท่านอ่านสนุกๆๆๆเล่นๆๆครับ



    พรหมโลก อยู่สูงขึ้นไปจากสวรรค์ชั้นที่ ๖ อีกมาก เป็นชั้นซ้อน ๆ กันขึ้นไป แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ ๆ คือ รูปพรหมและอรูปพรหม คติทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า
    ผู้ที่ทำสมาธิจนบรรลุถึงรูปฌานคือฌานที่มีรูปนิติเป็นอารมณ์ รูปฌานนั้นย่อมมีวิบากให้ไปเกิดเป็นรูปพรหม
    ผู้ที่ทำสมาธิสูงขึ้นไปกว่ารูปฌาน คือทิ้งรูปนิมิต กำหนดอรูปนิมิตคือนิมิตที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ จนได้บรรลุอรูปฌานคือฌานที่มีอรูปนิมิตเป็นอารมณ์ ฌานนั้นก็มีวิบากให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม คำว่า พรหม ท่านแปลว่า เจริญ รุ่งเรือง หมายความว่า เจริญรุ่งเรืองด้วยคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น
    รูปพรหมนั้นมีสูงขึ้นไปเป็นชั้น ๆ ตามภูมิฌานดังต่อไปนี้
    ชั้นปฐมรูปฌาน
    ๑. พรหมปาริสัชชา แปลว่า เป็นบริษัทของพรหม ท่านอธิบายว่า เกิดในบริษัทของมหาพรหม เป็นผู้บำรุงมหาพรหม ที่กล่าวในชั้นที่ ๓
    ๒. พรหมปุโรหิต แปลว่า เป็นปุโรหิตของพรหม ท่านอธิบายว่า คือปุโรหิตของพวกมหาพรหมดั่งกล่าว
    ๓. มหาพรหม แปลว่า พรหมผู้ใหญ่ ท่านอธิบายว่า ใหญ่กว่าพวกพรหมปาริสัชชา เป็นต้น เช่น มีวรรณะยิ่งกว่า มีอายุยืนกว่า

    พรหม ๓ พวกนี้ ท่านว่าสถิตอยู่ในชั้นเสมอกัน แต่มีความรุ่งเรืองกว่ากัน เป็นที่เกิดของผุ้ที่ได้ปฐมฌาน คือรูปฌานที่หนึ่ง
    ถ้าได้อย่างอ่อนก็ให้เกิดในพวกพรหมปาริสัชชา
    ถ้าได้อย่างกลางก็ให้เกิดในพวกพรหมปุโรหิตา
    ถ้าได้อย่างกล้าแข็งก็ให้เกิดในพวกมหาพรหม
    ชั้นทุติยรูปฌาน
    ๔. ปริตตาภา แปลว่า มีรัศมีน้อย คือ มีแสงสว่างน้อยกว่าพรหมชั้นสูง ๆ ขึ้นไป
    ๕. อัปปมาณาภา แปลว่า มีรัศมีไม่มีประมาณ คือมีแสงสว่างมากเกินที่จะประมาณได้
    ๖. อาภัสสรา แปลว่า มีรัศมีซ่านไป คือแผ่ออกไปแต่ที่นั้นที่นี้ดุจสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ เพราะมีขันธสันดานเกิดจากฌานที่มีปิติ อีกนัยหนึ่ง อาภัสสรา แปลว่า มีรัศมีพวยพุ่ง คือหยดย้อยออกเหมือนย้อยหยดออกจากสรีระ หรือดุจเปลวไฟแห่งโคมประทีป อีกอย่างหนึ่ง อาภัสสรา แปลว่า มีปกติสว่างไสวด้วยรัศมี.
    พรหม ๓ จำพวกนี้สถิตอยู่ในชั้นเดียวกัน แต่มีรัศมีรุ่งเรืองกว่ากัน เป็นที่เกิดของผู้ที่ได้ทุติยฌานคือรูปฌานที่สอง ถ้าได้อย่างอ่อนก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมปริตตาภา ถ้าได้อย่างกลางก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมอัปปมาณาภา ถ้าได้อย่างแข้งกล้าก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมอาภัสสรา. ชั้นตติยรูปฌาน
    ๗. ปริตตสุภา แปลว่า มีรัศมีสรีระสวยงามน้อย คือ น้อยกว่าพวกพรหมชั้นสูงขึ้นไป
    ๘. อัปปมาณสุภา แปลว่า มีรัศมีแห่งสรีระสวยงามไม่มีประมาณ คือ พวกเกินที่จะ ประมาณได้
    ๙. สุภกิณหา แปลว่า มากมายไปด้วยรัศมีที่สวยงามคือ มีรัศมีผุดสว่างทั่วไป แผ่ซ่านออก จากสรีระเป็นอันเดียวกัน มีสิริเหมือนอย่างแท่งทองที่โรจน์รุ่งอยู่ในหีบทอง
    พรหม ๓ จำพวกนี้สถิตอยู่ในชั้นเดียวกัน แต่มีรัศมีรุ่งเรืองกว่ากัน เป็นที่เกิดของผู้ได้ตติยฌานคือรูปฌานที่ ๓ ถ้าได้อย่างอ่อนก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมปริตตสุภา ถ้าได้อย่างปานกลาง ก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมอัปปมาณสุภา ถ้าได้อย่างแข็งกล้าหรือประณีตก็ให้เกิดเป็นพวกพรหมสุภกิณหา.
    ชั้นจตุตถรูปฌาน

    ๑๐. เวหัปผลา แปลว่า มีผลไพบูลย์ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจของฌาน ชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ได้จตุตถฌานคือฌานที่ ๔ ไม่ได้แบ่งเป็น ๓ ชื่อสำหรับผู้ได้อย่างอ่อน อย่างปานกลาง และอย่างประณีต กล่าวไว้ชื่อเดียวรวม ๆ กันไป
    อีกนัยหนึ่ง ถ้าแบ่งรูปฌานออกเป็น ๕ ชั้น ชั้นของพรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา และมหาพรหม สำหรับผู้ได้ปฐมฌานอย่างอ่อน อย่างกลาง และอย่างประณีต ชั้นของพรหมปริตตาภา อัปปมาณาภา และอาภัสสรา สำหรับผู้ได้ทุติยฌานและตติยฌาน อย่างอ่อน อย่างปานกลาง และอย่างประณีต ชั้นของพรหมปริตตสุภา อัปปมาณสุภา และสุภกิณหา สำหรับผู้ได้จตุตถฌานอย่างอ่อน อย่างปานกลาง และอย่างประณีต ชั้นของพรหมเวหัปผลา สำหรับผู้ได้ปัญจมฌานคือฌานที่ ๕
    ๑๑. อสัญญี แปลว่า ไม่มีสัญญาเสียเลย พรหมชั้นนี้เป็นที่เกิดของผู้ได้ฌานสมาบัติ เพราะเพ่งอยู่เป็นนิตย์ว่าจิตไม่มี เช่น นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาบางพวก ผู้เห็นโทษในจิตว่า ราคะ โทสะ โมหะ ล้วนอาศัยจิตเกิดขึ้น มีความเห็นว่า ความไม่มีจิตเป็นของดี เป็น นิพพานในปัจจุบัน จึงเพ่งอยู่เป็นนิตย์ว่าจิตไม่มี ๆ สำรอก ดับนามขันธ์ ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไปโดยลำดับ ยกตัวอย่าง สัญญาคือความจำหมาย ก็ทำให้เลือนลืม ไม่กำหนดไว้ทุกสิ่งทุกอย่าง น่าจะเป็นอย่างที่เรียกว่าทำให้ดับไป เมื่อปฏิบัติอย่างนี้จนได้ถึงจตุตถฌาน ก็ให้ไปเกิดเป็นพรหมชั้นอสัญญีสัตว์ มีแต่รูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร (ความปรุงคิด) ไม่มีวิญญาณอะไร ๆ ทั้งสิ้น และเวลาตายจากมนุษย์ ถ้ายืนตายก็ไปเกิดเป็น พรหมยืน ถ้านั่งตายก็ไปเกิดเป็น พรหมนั่ง ถ้านอนตายก็ไปเกิดเป็น พรหมนอน คือ ตายในอิริยาบถใดก็ไปเกิดเป็นพรหมมีอิริยาบถนั้น และก็อยู่ในอิริยาบถนั้นจนถึงจุติ ท่านอธิบายว่า ในเวลาจุติ พอเกิดสัญญาขึ้น ก็จุติจากกายนั้น ท่านอธิบายไว้ในที่บางแห่งอีกว่า ในเวลาว่างพระพุทธศาสนา มีนักบวชในลัทธิเดียรถีย์บางพวกเจริญวาโยกสิณได้ถึงจตุตถฌาน เห็นโทษในจิตดั่งกล่าว จึงเพ่งความไม่มีจิตเป็นอารมณ์ ครั้นตายก็ไปเกิดเป็นอสัญญีพรหม การทำสมาธิไม่ให้มีสัญญาเสียเลยนี้ ลองพิจารณาดู เมื่อทำได้ก็จะมีอาการดับจิต (ดับจิตสังขาร) หมดความรู้สึกอะไร ๆ ทุกอย่าง อย่างอ่อนก็เหมือนหลับหรือสลบไป อย่างแรงก็เหมือนตาย (แต่ไม่ตาย) ไม่มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอะไรในเวลานั้นทุกอย่าง ทำให้ดับลงไปได้ ในขณะที่อยู่อริยาบถใด ก็จะอยู่ในอิริยาบถนั้น เช่นเดียวกับที่ท่านว่าไปเกิดเป็นอสัญญีสัตว์ อยู่ในอิริยาบถอย่างเดียวกับเมื่อเวลาตาย น่าจะตรงกับที่ไทยเราเรียกว่า พรหมลูกฟัก ซึ่งมีเพียงขันธ์หนึ่ง ได้แก่รูปขันธ์เท่านั้น ไม่มีนามขันธ์ เป็นพรหมภายนอกพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาไม่ได้สอนให้ปฏิบัติเพื่อไปเกิดเป็นพรหมพวกนี้ วิธีปฏิบัติทุกอย่างทำนองนี้ จึงไม่ใช่พระพุทธศาสนา ในที่บางแห่ง จัดชั้นอสัญญีนี้ไว้หน้าชั้นเวหัปผลา และทั้งสองชั้นนี้อยู่ในพื้นชั้นเดียวกัน. (เรื่อง ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า ได้ดำเนินมาถึงพรรษาที่ ๖ ในพรรษานี้ยังไม่พบเรื่องอะไรมาก จึงเล่าเรื่องพระพุทธเจ้าในอดีต เรื่องกัปกัลป์ เรื่องโลกจักรวาล เรื่อยมาถึงเรื่องนรกสวรรค์ แทรกเข้าไว้เป็นปุคคลาธิษฐานเต็มที่ เพื่อให้เห็นคติความเชื่อถือเก่าแก่ในเรื่องเหล่านี้ที่ได้เชื่อถือกันมาแต่ในครั้งไหนไม่รู้ แต่ก็ได้หลั่งไหลเข้ามาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาทุกชั้น
    ชั้นอสัญญีพรหมหรือพรหมลูกฟัก ซึ่งเป็นพรหมภายนอกพระพุทธศาสนา พรหมชั้นสุทธาวาส ๕ ต่อจาก พรหมชั้นเวหัปผลา หรือต่อจาก พรหมอสัญญีสัตว์ ซึ่งนับเป็นพรหมชั้นที่ ๑๑ ก็ถึง พรหมชั้นสุทธาวาส คำว่า สุทธาวาส แปลว่า อาวาส คือที่อยู่ของผู้บริสุทธิ์ หรือ ที่อยู่อันบริสุทธิ์ หมายถึงนิวาสภูมิของท่านผู้บริสุทธิ์เหล่านั้น คำว่า ผู้บริสุทธิ์ ในที่นี้หมายเฉพาะพระอนาคามีและพระอรหันต์ คือ พระอริยาบุคคลชั้นอนาคามีในโลกนี้สิ้นชีวิตแล้ว ท่านว่าไปเกิดอยู่ในชั้นสุทธาวาส และจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ นิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น ไม่มีกลับลงมาอีก ท่านจึงว่า สุทธาวาสเป็นที่อยู่ของพระอนาคามีและพระอรหันต์ หมายถึงพระอนาคามีดั่งกล่าวและพระอรหันต์ที่สำเร็จภายหลังจากที่ขึ้นมาเกิดในสวรรค์แล้ว สุทธาวาสนี้มีอยู่ ๕ ชั้น นับต่อจากชั้น ๑๑ เป็นลำดับไปดั่งนี้.
    ๑๒. วิหา แปลว่า ไม่ละฐานของตนโดยกาลอันน้อย หรือไม่เสื่อมจากสมบัติของตน เป็นภูมิ สุทธาวาสชั้นต้น
    ๑๓. อตัปปา แปลว่า ไม่สะดุ้งกลัวอะไร หรือ ไม่ทำผู้ใดผู้หนึ่งให้เดือดร้อน เป็นภูมิ สุทธาวาสชั้นสอง
    ๑๔. สุทัสสา แปลว่า ดูงาม คือมีรูปงามน่าดู เป็นภูมิสุทธาวาสชั้นสาม
    ๑๕.สุทัสสี แปลว่า ดูงาม คือมีรูปงามน่าดู เป็นภูมิสุทธาวาสชั้นสี่
    ๑๖.อกนิฏฐา แปลว่าไม่มีเป็นรอง เพราะมีสมบัติอุกกฤษฏ์ เป็นภูมิสุทธาวาสชั้นห้า สุทธาวาสทั้ง ๕ ชั้นนี้นับเข้าในพรหมชั้นจตุตถรูปฌาน คือฌานที่มีรูปกัมมัฏฐาน เป็น อารมณ์ชั้นที่สี่. ชั้นอรูปฌาน ๔ ต่อจากนั้นภูมิชั้นของพรหมผู้ที่มาเกิดเพราะได้อรูปฌาน จัดเป็น ๔ ชั้น ตามภูมิฌาน ดังนี้
    ๑. อากาสานัญจายตนะ คือ ชั้นของพรหมผู้ได้อรูปฌาน เพราะได้เจริยอรูปกัมมัฏฐาน ว่าอากาศไม่มีที่สุด ซึ่งเป็นอรูปที่หนึ่ง
    ๒.วิญญาณัญจายตนะ คือ ชั้นของพรหมผู้ได้อรูปฌานเพราะด้เจริญ อรูปกัมมัฏฐานว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ซึ่งเป็นอรูปที่สอง
    ๓. อากิญจัญญายตนะ คือ ชั้นของพรหมผู้ได้อรูปฌานเพราะได้เจริญอรูปกัมมัฏฐานว่า น้อยหนึ่งนิดหนึ่งก็ไม่มี ซึ่งเป็นอรูปที่สาม
    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ คือ ชั้นของพรหมผู้ได้อรูปฌานเพราะได้เจริญอรูปกัมมัฏฐานที่ละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก จนดับสัญญาอย่างหยาบเหลือแต่สัญญาอย่างละเอียด จึงเรียกว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ (เพราะวิถีจิตละเอียดมาก) ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่( เพราะยังมีสัญญาละเอียดอยู่ ไม่ใช่สิ้นสัญญาเสียหมดเลย) ซึ่งเป็นอรูปที่สี่

    อรูปทั้ง ๔ ชั้นนี้ ละเอียดกว่ากันขึ้นไปโดยลำดับ รวมพรหมทั้งรูปทั้งอรูปเป็น ๒๐ ชั้น ถ้ายกอสัญญีพรหมเสียก็มี ๑๙ ชั้น
     
  8. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ท่านครับ
    ถ้าอยากรู้ไรเพิ่มก็ลองถามมานะครับ จะไปหาข้อมูลมาให้อ่านนะครับ
    " แต่ผมไม่รู้ชะตากรรมของการบำเพ็ญเป็นพุทธเจ้า

    ผมไม่รู้ว่าบำเพ็ญ แล้วต้องไปชดใช่กรรมในนรกไหม ถ้าปรารถนาพุทธภูมิ

    ไม่รู้ด้วยว่า จะไปเกิดยังไง แล้วเกิดที่ไหน

    จึงอยากจะทราบขึ้นตอนทั้งหมด ของการบำเพ็ญ ตั้งแต่สิ้นชีวิต จนถึงชาติใหม่ "


    ประโยคนี้ไม่ตกนรกหรอกครับ ถ้าไม่ทำบาปนะครับ เชื่อผมสิ

    ส่วนขั้นตอนก็อ่าน " บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญก็มีอยู่ ๑๐ ประการ "
     
  9. หมิงฮุ้ย

    หมิงฮุ้ย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +206
    สาธุ อนุโมทนาบุญกับ คุณต้นละ ด้วยครับ ที่ปรารถนาโปรดสัตว์โลกนะครับ
     
  10. Ghzz_Z

    Ghzz_Z Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +68
    ท่านพี่ saipote ครับ
    พุทธภูมิ คือ ขน ครับ
    นิพพาน คือ ไปคนเดียว ครับ
    ผมเด็กใหม่ล่าสุด งัยก็ขออภัยด้วยนะครับ
     
  11. Onn_N

    Onn_N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +372
    ท่านนี้แปลกจังเลยนะ
    หวงความรู้ ก็เป็นเนอะ ถ้าไม่อยากบอกหรือไม่รู้ก็ไม่ต้องตอบสิ อายเขาเปล่า.....
    ผมเองเห็นแต่ว่า " การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง "
     
  12. Onn_N

    Onn_N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +372
    ไม่รู้ก็บอกมาเถอะ
     
  13. Onn_N

    Onn_N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +372
    คนที่ยึด น่าจะเป็นท่านนะ
    ไม่ให้ก็ไม่ต้องตอบสิ
    เป็นอะไรมากป่ะ ........
     
  14. Onn_N

    Onn_N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +372
    การว่าง ที่ท่านกล่าวนะ น่าจะเป็นของคนที่หมดกิเลสนะครับ
    ส่วนคนที่บำเพ็ญ เขาต้องการ ขน และช่วยนะครับ ไม่มีอะไรต้องว่างครับ
    ให้ท่านว่างคนเดียวเถอะ..........
     
  15. Onn_N

    Onn_N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +372
    อนุโมทนาครับ เห็นด้วยครับ
     
  16. Onn_N

    Onn_N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +372
    ไม่มีใครวิ่งหรอก
    วิ่งนะเหนื่อย อิอิ
     
  17. Onn_N

    Onn_N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +372
    โอ้.........มายก็อด
    มียานเล็ก ยานใหญ่ด้วย............
    ไม่เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสเรื่อง หินยาน มหายานเลยๆๆๆๆๆ
    สงสัยสับสนในชีวิตมากๆๆๆๆๆๆๆๆ.....
     
  18. Onn_N

    Onn_N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +372
    อยากมีหลายแบบนะครับ
    ที่ดูมา จขกท....เขาอยากแบบ จะช่วย นะครับ
    แต่อยากของท่านนี้สิ คือ .............????ท
     
  19. Onn_N

    Onn_N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +372


    กราบอนุโมทนาด้วยครับ
    ได้ความรู้เพิ่มมากเลยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2010
  20. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ครับผม ขอบคุณมากๆๆนะครับที่เข้ามาอ่าน
    แล้วไม่ทราบว่าท่าน ปรารถนา ไหมครับ ???
    งัยก็ บุญทั้งหลายที่ผมทำมาในอดีตนานแสนนานก็ขอมอบให้ท่านด้วยนะครับ ขอให้ท่านสำเร็จดังที่ท่านต้องการนะครับ สาธุๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...