ปริศนา (ในห้องกรรมฐาน)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tanyatornbtp, 26 เมษายน 2008.

  1. tanyatornbtp

    tanyatornbtp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +8
    ปริศนาธรรม นี้เป็นเสมือนผลงานของสติปัฏฐานสี่

    "อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก
    อยากทำถูกถามเด็กเลี้ยงควาย
    คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียว
    เดินทางเดียวอย่างเหยียบรอยกัน
    นะอยู่หัวสามตัวอย่าละ
    นะอยู่ไหน ตามไปเอามาให้ได้"

    พอดีอ่านเจอในหนังสือมักกะลีผล ชุดสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
    แล้วเกิดความสงสัยว่า แต่ละปริศนาข้อความ หมายถึงอะไร
    และตรงท่อนที่ว่า เดินทางเดียวอย่างเหยียบรอยกัน
    พิมพ์ผิดหรือเปล่าคะ
    ตรงคำว่าอย่าง น่าจะ เป็น ย่าง หรือ อย่า
    หรือว่าถูกอยู่แล้วคะ รบกวนท่านผู้รู้ช่วยคลายปริศนาด้วยคะ
    ขออนุโมทนากับวิทยาทานคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2008
  2. วิทย์

    วิทย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    2,036
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,439
    ผมเดาว่า 4 บรรทัดแรกอาจจะเป็นเรื่องราวในพระสูตร และชาดกต่างๆ

    ส่วน 2 บรรทัดสุดท้าย นะน่าจะมาจากคำว่า "นะโม" ที่แปลว่านอมน้อม นะสามอย่างก็คงหมายถึงให้ทำความนอบน้อมแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ ก็พึงปฏิบัติให้เข้าถึง พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ให้ได้
     
  3. od2499

    od2499 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    298
    ค่าพลัง:
    +532
    ข้อนี้ไม่มีอะไรอยู่ในหัวเลยครับ รอฟังเฉลยอย่างเดียว
     
  4. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,631
    ขอตอบตามความเข้าใจของผมดังนี้

    "อยากเรียนรู้ให้ถามหญิงคันหูก" ในการทอผ้าจะต้องมีแบบแผนในการทอและทำลวดลายต้องมีครูคอยแนะนำและมีความอดทนในการทอจึงจะได้เป็นผืนยาวตามที่ต้องการ เหมือนกับการฝึกกรรมฐานจะต้องมีแบบแผนมีครูบาอาจารย์ต้องทำเป็นลำดับขั้นตอนและอดทนขยันในการฝึกไม่ละทิ้งกลางคันจึงจะสำเร็จลุล่วง

    "อยากทำถูกให้ถามเด็กเลี้ยงควาย" การเลี้ยงควายผู้เลี้ยงจะต้องต้อนควายไปหากินตอนเช้าและต้อนกลับตอนค่ำ รู้แหล่งทำเลอาหาร ต้องหมั่นสอดส่องดูแลระวังไม่ให้ควายหนีหายหรือไปหากินข้าวกินพืชผักของคนอื่น ต้องคอยหมั่นนับจำนวนไม่ให้หาย เหมือนกับการฝึกกรรมฐานจะต้องทำเป็นเวลา รู้จักเลือกในการเสพอารมณ์ไม่ให้ซัดส่ายไม่สมาคมกับอารมณ์ที่ชั่ว(นิวรณ์และอุปกิเลส) ต้องคอยระวังเรื่องของศีลและคำภาวนาไม่ให้หล่นหาย

    "คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียวเดินทางเดียวไม่เหยียบรอยกัน" พระธรรมคำสอนเปรียบเหมือนบ่อน้ำที่ทุกคนที่ฝึกรรมฐานจะต้องดื่มกินแต่ทุกคนจะได้ผลไม่เท่ากัน และจะต้องผ่านลำดับขั้นตอนของสมาธิตั้งแต่ขณิกสมาธิไปจนถึงอุปจารสมาธิเหมือนกันแต่จะไม่เหมือนกันในเรื่องของการรวมของจิตบางคนจะเกิดวูบวาบตัวลอยเห็นแสง บางคนนั่งปุ๊บจิตรวมปั๊ปบางคนเกิดเวทนาฯลฯพอผ่านแล้วจิตจึงรวมก็มี บางคนนั่งสมาธิจิตนิ่งดี บางคนต้องเดินจงกรมจิตจึงนิ่ง บางคนต้องพิจารณาไตรลักษณ์ก่อนจิตจึงจะรวม บางคนใช้พุทโธจิตสงบบางคนต้องสัมมาอะระหังจิตจึงนิ่งเป็นต้นแม้แต่มรรคผลก็ได้ต่างกัน(โสดาผล สกิทาคาผล อนาคาผล อรหันตผล, สุขวิปัสสิโก วิชชาสาม วิชชาแปด ปฏิสัมภิทา)ไม่เท่ากัน แต่สุดท้ายคือหมดกิเลสเหมือนกัน

    "นะอยู่หัวสามตัวอย่าละ นะอยู่ไหน ตามไปเอามาให้ได้" เปรียบเหมือนคุณพระรัตนตรัยคือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ต้องเคารพบูชาอย่าละทิ้ง เปรียบเหมือนพระไตรปิฎกคือพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมที่ต้องศึกษาเป็นแนวทางกันหลง เปรียบเหมือนไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา(ภาวนา)จะต้องทำให้ได้ไปตามเอามาให้ได้จึงจะประสบผลสำเร็จ
     
  5. ร่มโพธิ์

    ร่มโพธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    553
    ค่าพลัง:
    +1,952
    ---อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก---
    ภาคปริยัติ-การศึกษาหาความรู้จากพระคำสอนต่างๆรวมทั้งแบบแผนธรรมเนียมที่เหมาะสมกับสมณะ..
    ---อยากทำถูกถามเด็กเลี้ยงควาย---
    ภาคปฎิบัติ-เมื่อศึกษาหาความรู้จนเข้าใจดีแล้ว ควรลงมือปฎิบัติเพื่อให้เกิดความชำนาญ และสามารถแก้ปัญหาที่เกิดได้
    ---คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียวกัน---
    ภาคปฎิเวธ-ผลที่ได้รับจากการปฎิบัติมาดีแล้วทั้งสามขั้นตอน เป็นผลบุญให้เกิดความสงบร่มเย็นทั้งโลกนี้และภพชาติต่อๆไป เหมือนบ่อน้ำที่ดับทุกข์ร้อนแก่คนทั้งปวง
    ---เดินทางเดียวอย่างเหยียบรอยกัน---
    หมายถึงให้เอาตามอย่างกันในสิ่งที่ดี ที่ทำให้เกิดมีขึ้นตามที่ผู้เป็นอริยะทั้งหลายได้ประพฤติปฎิบัติดีแล้ว
    ---นะอยู่หัวสามตัวอย่าละ---
    คือ พระรัตนะตรัยอันเป็นที่พึ่งสูงสุด ให้อยู่ประจำในใจอย่าละทิ้งเสีย
    ---นะอยู่ไหน ตามไปเอามาให้ได้---
    ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นองค์ประกอบในการเข้าถึงพระรัตนะตรัย โดยจำเป็นที่จะต้องปฎิบัติให้ครบทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา อันจะนำไปสู่ความสงบสุขที่แท้จริง
    ..............
    ว่ากันตามที่คิดได้นะครับ ท่านใดเห็นเป็นไงช่วยแนะนำด้วยครับ..
     
  6. s_klongkleaw

    s_klongkleaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +239

    อนุโมทนากับทุกท่านครับ เห็นด้วยกับความคิดของคุณร่มโพธิ์
     
  7. อนูดิน

    อนูดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +2,012
    สาธุ อนุโมทนามิครับ
    อ้อ ตรง...หญิงทอหูกฯ..น่าจะเพิ่มว่า ต้องมีความละเอียดพิถีพิถันรอบคอบด้วย อันเป็นแนวที่หลวงพ่อจรัญฯยึดมาตลอด สักแต่ว่าทำทำไป หลวงพ่อไม่เคยสรรเสริญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2008
  8. KomAon11

    KomAon11 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    4,803
    ค่าพลัง:
    +18,982
    ไม่รู้เลยครับ เพิ่งได้ยินนี่แหละ อ่านดูแล้วมึนตึ๊บเลย เหอๆ

    เป็นเรื่องมรรค 8 หละมังครับ ..
     
  9. tanyatornbtp

    tanyatornbtp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +8
    (i) ขอกราบขอบพระคุณสำหรับการไขปริศนาธรรมมาก ๆ เลยคะ
    มิฉะนั้นอาจทำให้ดิฉันเข้าใจผิดไปตลอด
    เพราะตีความไปว่า หญิงคันหูก เปรียบเหมือน คนที่ไม่ชอบการเสวนาพูดคุย
    เด็กเลี้ยงควาย อุปมาเหมือน คนที่ไม่ชอบคิดอะไรคือไม่ใช้สมอง
    ซึ่งถ้าเราไปถามปัญหาอะไรกับคนสองประเภทนี้
    ก็คงไม่ได้คำตอบ (เหมือนเป็นปริศนาให้รู้ว่า "ตนย่อมเป็นที่พึ่งของตนเอง"
    และให้เอาแบบอย่างคือ ให้พูดน้อย ขยันให้มาก และอย่าใช้สมองคิด)
    คนสามบ้าน ก็คิดเอาเองว่า น่าจะเป็น สมถะกรรมฐาน ในแบบที่แตกต่างกัน
    น้ำบ่อเดียว เปรียบเป็น วิปัสสนากรรมฐาน
    นะ ก็คือ นะโม หรือ นอบน้อม ซึ่ง ก็ต้องใช้จิตใจในการนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
    ส่วนนะตัวหลังก็คือ ใจ (ซึ่งเมื่อจิตแจ้งแล้ว เห็นไตรลักษณ์แล้ว จึงจะพบได้)


    ขอเรียนถามอีกว่า

    ฌาน และ ญาณ มีความหมายต่างกันอย่างไรคะ?
    ฌานเป็นเหตุ ญาณเป็นผลใช่หรือไม่?
    ฌาน คือ เพ่ง คือ สมถะ และ ญาณ คือ ไม่เพ่งแต่รู้ คือ วิปัสสนา ใช่หรือไม่?

    ขออนุโมทนากับคำตอบด้วยคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2008
  10. ร่มโพธิ์

    ร่มโพธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    553
    ค่าพลัง:
    +1,952
    เคยอ่านหนังสือของหลวงพ่อ ท่านสอนดังนี้ครับ...
    ณาน คือ ชิน...หมายถึงอารมณ์ที่ชินกับสิ่งนั้นๆ คือพอเรานึกถึงอารมณ์ใดอารมณ์นั้นก็ทรงตัวพอดี ไม่ตั้งตั้งท่าตั้งทางให้เสียเวลาครับ (กำลังใจเต็ม)
    ญาณ หมายถึง เครื่องรู้ หรือความรู้ที่เกิดขึ้นมาจากการที่เราทำสิ่งนั้นๆด้วยความชิน (ทรงณาน)...ซึ่งจะเกิดขึ้นมากน้อยก็แล้วแต่บารมีที่สะสมมาครับ...
     
  11. tanyatornbtp

    tanyatornbtp สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +8
    ถ้าคนที่ไม่เคยอ่านตำราเลย จะทราบไหมคะว่าตนได้ฌานไหนแล้ว หนึ่ง หรือ สอง หรือ สาม หรือ สี่?
     
  12. ร่มโพธิ์

    ร่มโพธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    553
    ค่าพลัง:
    +1,952
    อย่าไปติดสิ่งสมมติที่เป็นตัวหนังสือ..ว่าอาการอย่างนั้นคือณานนั้น...
    เพราะบางคนอาจจะไม่เกิดอาการเหล่านั้นเลย...
    เมื่อใจเข้าถึงแล้วซึ่งความสงบ...จิตซึ่งเป็นตัวรู้จะบอกเราเอง...
     
  13. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ผมก็อยากทราบว่าปริศนาที่ถูกต้องเป็นอย่างไรจึงกูเกิ้ลดูหลาย ๆ แห่งจึงได้บทสรุปดังนี้ครับจากที่นี่
    http://209.85.175.104/search?q=cach...นะอยู่ไหน+ตามไปเอามาให้ได้&hl=th&ct=clnk&cd=2


    ผมขอร่วมแสดงความเห็นในปริศนาธรรมไว้ดังนี้

    อยากเรียนรู้ถามหญิงทอหูก อยากได้ความรู้จริงให้ไปศึกษายังสำนักของท่านผู้รู้จริง ในที่นี้หมายถึงต้องการไปนิพพานก็ให้ศึกษาจากท่านผู้รู้จักนิพพานดี ถ้ามัวไปถามจากท่านผู้ไม่รู้จักไม่ได้คำตอบที่ถูกต้อง จะผิดหนผิดทางเสียเวลาเปล่า ๆ

    อยากทำถูกถามเด็กเลี้ยงควาย ธรรมชาติของเด็กเลี้ยงควายไม่ค่อยได้สงสัยมาก เขาให้เลี้ยงควายก็เลี้ยงไปได้แต่รู้ว่าถ้าปล่อยให้ควายกินหญ้ากินน้ำ คอยต้อนมันบ้างถ้ามันออกนอกทุ่ง ไม่ได้ลงไปคลุกกับมันมากไม่ต้องคอยขี่อยู่ตลอดเวลา ผูกบ้างปล่อยบ้าง ตัวเองก็ดูอยู่ห่าง ๆ บางทีตัวยังแอบไปเล่นเรื่อยเปื่อยก็มี แต่ในที่สุดควายก็โตจับไปขายได้ เปรียบกับการปฏิบัติ เอาให้
    มันพอดีอย่าไปยึดมั่นให้มันเหนียวแน่นมาก ให้มันเป็นธรรมชาติ เอาแบบเบา ๆ มันจะผ่อนคลายและเห็นได้ชัดเจนในที่สุด

    คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียว ต่างคนต่างสถานที่เมื่อได้ลิ้มรสน้ำในบ่อเดียวกันย่อมได้รสชาดที่เหมือนกัน เปรียบกับการปฏิบัติในแนวทางต่างกันเพื่อจุดมุ่งหมายในพระนิพพานเหมือนกัน เมื่อถึงซึ่งนิพพานแล้วต่างก็ได้รับรสแห่งพระนิพพานเช่นเดียวกันไม่มีผิดเพี้ยน ถ้าเพี้ยนไปแสดงว่าดื่มน้ำคนละบ่อ

    เดินทางเดียวอย่าได้เหยียบรอยกัน การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงอนุตรสัมโพธิญาณนั้นมีทางปฏิบัติได้หลายแนวทางแต่เพื่อจุดมุ่งหมายปลายทางที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นสมถะหรือวิปัสนา ซึ่งกลมกลืนกันจนแยกไม่ออก พวกปฏิบัติทางวิปัสนาอาจดูหมิ่นว่านั่นมันสมถะ พวกที่ปฏิบัติทางสมถะบอกว่าต้องเอาให้จิตสงบก่อนแล้วจึงจะวิปัสนา จริง ๆ แล้วขณะปฏิบัติวิปัสนาก็มีสมาธิความสงบสมถะอยู่นั่นเองส่วนท่านที่ปฏิบัติทางสมถะนั้นเมื่อจิตนิ่งว่างลงพอเกิดอาการณ์ทางจิตรับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ ก็เห็นไตรลักษณ์ในรูปนามเหมือนกัน ว่าไปแล้วการปฏิบัติไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัวอย่าได้ดูหมิ่นเพื่อนร่วมปฏิบัติเลย

    นะอยู่หัวสามตัวอย่าละ นะโมตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธัสสะ ฯ สามจบ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้จำแนกธรรมสั่สอนสัตว์อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นผู้ไกลจากกิเลศ ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยพระองค์เอง ให้นอบน้อมแสดงกตัญญูกตเวทิคุณแด่องค์พระผู้สั่งสอนสัตว์ทั้งสามโลก

    นะอยู่ไหนตามไปเอามาให้ได้ สติอันเป็นประทานของธรรมทั้งปวง ให้มีสติในปัจจุบัน ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด อย่าหลงอดีตหลงอนาคตจะไม่ได้พบธรรม

    ขอร่วมแสดงความเห็นไว้ดังนี้ครับ
     
  14. มารพรหม

    มารพรหม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +17
    ตามที่หลวงพ่อของกระผมท่านเคยเล่าให้ฟังนะครับ ไม่ได้มีใจความเหมือนกับท่านทั้งหลายกล่าวกัน
    ครับผม ก่อนที่เราจะตีความหมายของปริศนาธรรมนี้ เราต้องทราบความสำคัญของแต่ละประโยค
    อย่างตรงๆก่อนครับ ท่านเขียนถูกแล้วครับไม่ผิดแต่จะเพี้ยนไปเพราะต่างภาษาครับผม

    อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก คนทอหูกหรือ คนทอผ้า เขาจะดูแต่งานที่กำลังทอตรงหน้า คือมีสติอยู่ในปัจจุบันไม่ไปตามคิดถึงว่า เอใกล้เสร็จหรือยัง แต่เขาจะเพ่งอยู่เฉพาะตรงที่จะเอาด้ายสอดใส่ ทอซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้น ทำไปเลื่อยๆ จะไปทอลัดไม่ได้ การบำเพ็ญภาวนา
    ก็เหมือนกันครับ ต้องรู้ในปัจจุบัน

    อยากทำถูกให้ถามเด็กเลี้ยงควาย ถอดถอนทิฐิมานะปล่อยวางความรู้เดิมๆ ให้หมดอย่าแบกไว้
    ทั้งยศฐาบันดาศักดิ์ทั้งหลายทั้งปวง สละทิ้งให้หมด ทิฐิมานะ ความถือตัวความทรนงอย่าให้หลงเหลือไว้ จึงจะเข้าถึงธรรม

    คนสามบ้านกินน้ำบ่อเดียว หมายถึง ไม่ว่าใครๆก็แล้วแ่ต่ตางคนต่างมา ต่างคนต่างชาติกำเนิด
    แต่ต้องตกสู่ความเป็นสามัญลักษณ์ททั้งสิ้น ต้องดื่มกินความเสมอกันแห่งสังขารทุกๆคนไปไม่มีข้อ
    ยกเว้น ทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว

    เดินทางเดียวอย่างเหยียบรอยกัน หลวงพ่อผมท่านเอาตรงๆอย่างงี้แหละครับ เพราะรู้สึกว่าธรรมบทนี้
    มาจากภาษาอีสานนะ อย่างเหยียบรอยกัน อย่างคำนี้ หากจะเทียบเคียงในภาษาอีสานกับภาษาไทย จะแปลว่าเดินครับ แต่การออกเสียงของภาษาอีสาน
    เป็นเสียงค่อนค่างจะสูง ไม่สามารถเขียนให้อ่านออกเสียงตามภาษาอีสานได้ จึงเพี้ยนเป็นอย่าง
    ซึ่งหากแปลความตามภาษาไทย จะได้ความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง และ ไม่เข้ากับประโยคทั้งหมด
    ด้วยครับ หลวงพ่อผมท่านจึง ให้ความหมายว่า การที่จะไปสู่การหลุดพ้นได้นั้น มีเพียงทางเดียว
    ที่เรียกว่าทางสายเอก หากหลุดออกนอกทางนี้แล้ว ไมสามารถไปถึงเป้าหมายได้แน่นอน ทางสาย
    เอกนั้นก็คือ อริยมรรค 8 ครับ ซึ่งย่อลงมา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และท่านยังกล่าวอีกว่า
    ศีลต้องเป็นศีลแท้ ไม่ใช่ศีลเทียม ศีลแท้คือ การสำรวม การสังวร การรักษากายให้เรียบร้อยดี
    ไม่ทำสิ่งที่เป็นโทษภัย
    สามธิ คือการั้งใจไว้ให้มั่นคง ไม่วอกแวก ไม่ปล่อยให้ไหลไปตามอำนาจของอารมณ์และสิ่งยั่วยุ ต่างๆ
    ปัญญา ความรอบรู้ในกองแห่งสังขาร รู้อย่างถ่องแท้ รู้ด้วยใจไม่ใช่รู้ด้วยการนึกคิด แต่รู้อย่างแท้
    อัน เป็นผลอันเกิดจากการปฏิบัติ ความรู้ด้วยปัญญานี้ จะทำให้เราไม่หวั่นไหวเลย มีจิตมุ่งตรง
    อย่างมั่นคง ไม่คล้อยตามกระแสอื่นๆที่คอยโน้ทน้าวทำให้เราหลงทาง ปัญญามีหลายละดับ
    จนถึงปัญญาขั้นสูงสุด อันสามมารถถ่ายถอนกิเลสตัญหาได้อย่างหมดจดแท้จริง

    นะอยู่หัวสามตัวอย่าละ หมายถึง ผู้ปฏิบัติ ต้องมีเป้าหมายที่มั่นคง มีความเที่ยงตรงต่อการปฏิบัติ
    ไม่ให้ทิ้ง ความน้อมน้อม ต่อ พระพุทธเจ้า ต่อพระธรรม ต่อพระสงฆ์ ห้ามดูหมิ่นเหยียดหยาม
    ถึงแม้ว่าในตอนแรกๆ อาจจะเป็นการศรัทธาที่เกิดจากการ นึกน้อมใจ หรือ การข่มเอาไว้ ก็ตาม
    ในช่วงนี้จิตใจอาจจะมีบางครั้ง นึกท้อ นีกไม่เชื่อเรื่องของพระพุทธเจ้า พระธรรมพระสงฆ์ เกิดขึ้นมาบ้าง ก็อย่าได้ทอย อย่าทิ้งโดยเด็จขาด

    นะอยู่ไหนามไปเอามาให้ได้ หมายถึง นะโม อันหมายถึงความนอบน้อม อย่างจริงใจ อันเป็นผลที่เกิดจากการปฏิบัติ นะัตัวนี้ เปรียบได้กับผลของมะม่วง ในขนะที่เราปลูกต้นมะม่วง
    เราไม่จำป็นต้องไปนั่งคิดว่า เมื่อไหร่ผลมะม่วงจะออก เพียงเราปลูก ดูแล รักษาต้น พอถึงเวลา
    ผลของมะม่วงย่อมงอกออกมาเองโดยไม่ได้บีบบังคับ เพียงเราเดินามทางอย่างถูกต้องเท่านั้น
    เมื่อผลออก เราได้กินผลของมะม่วง รสชาิติเป็นอย่างไร ย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง รู่อย่างนั้นเป็นความรู้
    ที่แน่นอน ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนแล้ว เพราะเราได้กินเองแล้ว ต่อให้มีคนมีบอกว่ามะม่วง
    มีรสชาติเป็นอย่างนั้นๆๆๆ เราก็ไม่หวั่นไหว เพราะเรากินมาแล้วนั่นเอง

    ครับผม กระผมได้สดับมาดังนี้ครับผม ควรไม่ควรถูกไม่ถูกอย่างไร ก็ขออภัยไว้ด้วยนะครับผม

    ขอบคุณครับ
     
  15. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,631
    อนุโมทนาครับ

    เมื่อเป็นปริศนา ก็สุดแท้แต่ว่าภูมิปัญญาของผู้คิดค้นว่าจะตีความหมายได้ว่าอย่างไร แต่ถ้าเมื่อรวมลงแล้วเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นเพื่อมรรคผลนิพพานในที่สุดแล้ว ก็ควรน่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง
     
  16. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    (good)
     
  17. ทำดีทันทีทำได้ทุกที่

    ทำดีทันทีทำได้ทุกที่ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2008
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +2
    หนังสือธรรมะนิยายชุดสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
    โดยเริ่มตั้งแต่ มักกะลีผล, นารีผล, สัตว์โลกฯ, วัฏจักรชีวิต
    เป็นหนังสือธรรมะนิยายอิงประวัติของหลวงพ่อจรัญฯ วัดอัมพวัน
    เขียนโดย รศ.ดร.สุจิตรา อ่อนค้อม ผมว่าเป็นหนังสือชุดที่ดีมาก ๆ เลย
    ทำให้ผู้ที่เริ่มเรียนรู้ธรรมะใหม่ ๆ ตลอดจนถึงผู้ที่มีศรัทธาอยู่แล้ว
    ให้มีกำลังใจเพิ่มยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับเป็นของขวัญให้เพื่อน ๆ และญาติพี่น้อง
    ได้อ่านเพราะว่านอกจากจะได้มีความเห็นถูกตรงในเรื่องพุทธศาสนา
    แล้วยังสนุกด้วยครับ
     
  18. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    ตอนนี้ผมก็ฟังธรรมนิยายชุดนี้ที่คุณทำดีฯแนะนำกำลังออกอากาสโดยสถานีวิทยุสังฆทานธรรมตอนบ่ายสองถึงบ่ายสามทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ครับ ใครสนใจเปิดฟังได้ครับที่FM 89.25 สถานีที่นนทบุรีครับ
     
  19. HS6GFT

    HS6GFT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +171
    คนสามบ้าน

    ผมอ่านมานานแล้ว..สงสัยนัก ถามว่า คนสามบ้าน กินน้ำบ่อเดียวกัน เดินทางเดียวกัน ไม่เหยียบรอยกันปริศนาธรรมนี้ มันเป็นแนวคิดสำหรับผู้เรียนเรื่องธาตุและดวงแก้ว ของ สำเร็จลุน ให้ตีความเอาแล้วจะสำเร็จในเรื่องธาตุ และดวงแก้ว.
    บางอันก็แจ้งว่า หกสองหก ยกออกสองตัว คุณแก้วอยู่หัว คำเดิมอย่าเสีย ผู้ใดคิดได้ บ่ห่อนได้เมีย
    ผู้ใดคิดเสีย บ่มิเป็นแก่นสาร ผู้ใดคิดสบจะได้พบพระศรีอารย์ ผู้ใดคิดกราน บ่มิพานพบเลย อันนี้มาจากคัมภีร์พระเวทย์เทพสาริกบุตร
    และอีกอันหนึ่ง ของหลวงปู่ สุภา กันตะสีโล ตำรานี้ก็ได้เรียนมาจากพระอระหันต์โพนเสม็ดประเทศลาว
    ซึ่งสำเร็จลุนได้ถ่ายทอดให้ไว้และเรียนสืบต่อกันมา ท่านว่าไว้ดังนี้ แก้วสิบหก ยกเอาสี่ตัว พระพุทธเจ้าอยู่หัวตัวเดียวอย่าละ ทุกอย่างที่ว่ามานี้เป็นแนวทางการตีปริศนาธรรม แบบการเดินดวงแก้วและธาตุซึ่งโบราณท่านย่นย่อหัวใจพระไตรปิฎก และคุณพระพุทธเจ้า เอาไว้เป็นหลักภาวนาเพื่อให้เข้าถึงธรรม เป็นพระกรรมฐานเรื่องธาตุ แนวนี้ทำให้เกิดอภิญญาจิตได้เร็ว ได้กำหนดเป็นดวงแก้ว และธาตู มาพิจารณาและยกจิตเข้าสู่พระไตรลักษณ์ จนแยกกายและจิตออกจากกัน และพิจารณาธาตุเกิดตัวรู้ คือสติ รู้เท่าทันอารมณ์ รู้ธาตุ รู้รูปรู้นาม จนไม่ยึดติดในสังขาร และเข้าใจถึงธรรมในทีสุด คือพระนิพพาน
    ทุกวันนี้คนตี ไปกันเลอะมากบางคนก็ได้มาแต่ปัญหา แต่ไม่ได้ศึกษาเรื่องธาตุเลยไม่รู้ เพราะดวงแก้วขอเป็นดวงแก้วของพระพุทธองค์แต่ละองค์ ที่ลงมาตรัสรู้ธรรม อย่าง องค์พระพุทธเจ้านะกุกุสันโธ ดวงแก้วท่านเป็น ดวงแก้วมณีโชติ ทำนองนี้เป็นต้น หรือใครคิดเห้นอย่างไรก็ลองช่วยกันคิดมาครับ.เพราะผมสังเกต ปริศนาธรรมนี้ทุกครั้งที่อ่านและจับประเด็นดูเกี่ยวข้องการเดินดวงแก้ว และธาตุทั้งสิ้น ท่านจะไม่บอกตรงๆ ให้ใช้ปัญญาพิจารณาเอา แล้วจะเข้าถึงธรรม โดยใช้ดวงแก้วและธาตุ และจะเข้าถึงพระนิพพานที่สุดเพราะมันเป็นการพิจารณาเรื่องธาตุกรรมฐาน ซึ่งอยู่ใน 40กอง ใครถูกจริตอย่างไรก็พิจารณาไปเถิด และนอกจากนี้ยังมีปริศนาอีกเยอะ ในอุปเท่ห์การใช้ ดวงแก้วและธาตุ ท่านบอกว่า
    ให้ตีเอา อุ คือพี่ อะคือตัวเรา นะ คือ พ่อ มะ คือแม่ อย่างนี้เป้นต้นครับ ท่านก็ไม่บอกตรงๆ ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมให้ไปดูตามเวปนี้จากประเทศลาว แล้วจะกระจ่างขึ้นครับ ดูเรื่องธรรมอภิปราย 1-16 ของหลวงตาจันพี มณีวงศ์ ท่านได้อธิบายโดยละเอียดมากครับ http://luongta.com/inside2Html/tha/inside2thaichap11.htm
    http://luongta.com/dharmaboteintvwEng.htm#Disc1
    ว่าที่มาของธาตุและดวงแก้ว มันหมายความว่าอะไครับลองพิจารณาเอาครับ ในการที่จะเอามาปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้ผลตามความปรารถนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2008
  20. ป.วิเศษ

    ป.วิเศษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    329
    ค่าพลัง:
    +411

    ถูกต้องแล้วค่ะ อนุโมทนาแด่เจ้าของกระทู้ และผู้ตอบกระทู้ทุกท่านค่ะ

    หญิงทอหูก ขณะทอก็จะตั้งใจดูอยู่แต่ ตัวกระสวย ของเครื่องทอหูก จิตที่แนวแน่

    ต่อเส้นด้าย เส้นต่อเส้นเหมือนสมาธิที่เป็นเส้นด้ายต่อเนื่องกันเหมือนจิตที่กำหนดดีแล้ว

    ผ้าที่ทอจากจิตที่แน่วแน่ก็จะออกมาสวยงามค่ะ

    อนุโมทนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...