ปัญญา : Wisdom โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 16 กุมภาพันธ์ 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    om-e0b982e0b894e0b8a2-e0b899e0b89e-e0b8a7e0b8b4e0b88ae0b8b1e0b8a2-e0b980e0b897e0b8b5e0b8a2e0b899.jpg

    “ไตรสิกขา” เป็นเครื่องมือในการพัฒนา “ปัญญา” ตามพวกเราที่เป็นพุทธศาสนิกทราบมาตั้งแต่อดีตกาล ซึ่งเป็นคำสอนที่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทรงคิดค้นขึ้นเอง และพวกเราลูกของพระพุทธองค์ทราบและเป็นที่รู้จักกันดีและปฏิบัติกันมาช้านานก่อนพระองค์จะตรัสรู้ที่จริงแล้วในระหว่างการแสวงหาหนทางสู่ความดับทุกข์

    เจ้าชายสิทธัตถะ ก็ทรงศึกษาการฝึก “สมาธิ” กับพระอาจารย์สองท่าน คำสอนของพระองค์ในส่วนของ “ศีล” และ “สมาธิ” มิได้แตกต่างไปจากคำสอนของศาสดาทั้งหลาย ทุกศาสนาล้วนเน้นความจำเป็นของการรักษา “ศีล” และยังเสนอวิธีปฏิบัติที่อาจจะทำไปสู่สภาวะปีติสุขไม่ว่าจะด้วย “การสวดมนต์” การประกอบพิธีกรรม การอดอาหารทรมานร่างกาย หรือการภาวนาในแบบต่างๆ ซึ่งการปฏิบัติเหล่านี้เพียงมุ่งหวังให้จิตเกิด “สมาธิ” ระดับลึก เป็นสภาวะสงบสุขที่ผู้ศรัทธาในศาสนาจะได้ประสบ

    การบำเพ็ญ “สมาธิ” เช่นนี้ แม้จะฝึกไม่ถึงขั้นฌานระดับต่างๆ ก็ยังมีประโยชน์มาก เพราะช่วยให้จิตสงบด้วยการเบนความสนใจออกจากสถานการณ์ที่จะทำให้เราเกิดปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยความชอบหรือชัง การนับหนึ่งถึงร้อยช้าๆ เพื่อระงับการระเบิดอารมณ์ “โกรธ” ออกมาจัดเป็น “สมาธิขั้นพื้นฐาน” ประเภทหนึ่งยังมีสมาธิแบบอื่นที่อาจดูเป็นการภาวนาที่ชัดเจนว่าการนับเลข เช่น การท่องบริกรรม หรือการเพ่งภาพ วิธีเหล่านี้ล้วนใช้ได้ทั้งสิ้น เพราะเมื่อเบนความสนใจไปยังสิ่งอื่น จิตก็ดูเหมือนจะสงบลงได้

    แต่การสงบนิ่งได้เช่นนี้ยังไม่ใช่การหลุดพ้นที่แท้จริงอยู่ที่การ “ฝึกสมาธิ” ให้ประโยชน์มาก หากเพียงส่งพ้นในระดับจิตสำนึกเท่านั้นกว่า 2,500 ปีที่แล้ว ขณะที่ยังมิได้องค์ความรู้ในเรื่องจิตวิทยาสมัยใหม่ พระบรมศาสดาได้ทรงค้นพบจิตในระดับใต้สำนึก ซึ่งทรงเรียกว่า “อนุสัย” พระองค์ทรงพบว่าการเบนความสนใจไปสู่สิ่งอื่นนั้นมีผลควบคุมได้เพียง “ตัณหา” และ “ปฏิฆะ” ในระดับจิตสำนึกเท่านั้น แต่ไม่อาจขจัดให้หมดสิ้นไปอย่างแท้จริง ครั้นเป็นการผลักให้กิเลสนั้นจมลึกลงสู่จิตใต้สำนึก และแม้ว่ามันจะไม่แสดงอาการให้เห็น ก็ยังคงมีอันตรายเท่าเดิม ดังนั้นแม้จิตที่ระดับผิวอาจดูเหมือนปกคลุมด้วยความสงบและสอดคล้อง แต่ในระดับลึกลงไปนั้น คือ ภูเขาไฟที่คุกรุ่นไปด้วยความไม่บริสุทธิ์ที่ถูกกดเอาไว้และพร้อมที่จะระเบิดมาเมื่อใดก็ได้
    ดังพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ต้นไม้ เมื่อรากหาอันตรายมิได้ มั่นคงอยู่ แม้ถูกตัดแล้ว ก็กลับงอกขึ้นได้ฉันใด ทุกข์นี้ เมื่อบุคคลยังถอน เชื้อตัณหาขึ้นไม่ได้แล้ว ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ แม้ฉันนั้น ตราบใดที่กิเลสยังคงแฝงอยู่ในจิตใต้สำนึกมันก็พร้อมที่จะแสดงตัวตนขึ้นในทันทีที่มีโอกาส ส่งผลให้เกิดความทุกข์ด้วยเหตุนี้ แม้เจ้าชาย
    สิทธัตถะ จะทรงบรรลุสมาธิขั้นสูงสุดแล้วก็ไม่อาจพอพระทัย เพียงแค่นี้ เนื่องยังมิใช่การหลุดพ้นจึงได้ทรงตัดสินพระทัยค้นหาทางดับทุกข์ต่อไป

    พระองค์ทรงเห็น 2 ทางเลือก “ทางแรก” การเสวยสุขด้วยการตามใจตนเอง เพื่อแสวงหาความสุขมาปรนเปรอตนตามแต่ปรารถนา นี่คือโลกีย์วิถีที่คนส่วนใหญ่เลือกเดิน ไม่ว่าจะโดยรู้ตัว หรือไม่รู้ก็ตาม แต่พระองค์ทรงเห็นแล้วว่าไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความสุข เพราะไม่มีใครในโลกนี้จะสมหวังในทุกสิ่งตามใจปรารถนาตลอดชีวิตจะได้รับแต่สิ่งที่ต้องการ และไม่ต้องพบพานกับสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ทุกคนเดินตามเส้นทางนี้ล้วนต้องพบเจอความสุขอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็นความผิดหวัง หรือไม่สมหวังดังใจ แม้ขณะที่ได้สมหวังดังใจแล้วก็ยังเป็นทุกข์อีก เพราะกลัวว่าสิ่งที่ได้มาจะสูญหาย เกรงว่าความอิ่มเอมใจนี้จะไม่ยั่งยืน ซึ่งในความเป็นจริงย่อมเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว คนเหล่านี้จึงมีแต่ความร้อนรนกระวนกระวายอยู่ทุกขณะที่แสวงหาได้มา หรือพลัดพรากจากสิ่งที่ตนต้องการ ก่อนออกผนวชพระองค์ก็เคยเป็นเช่นนี้มาก่อน จึงทราบดีว่าหนทางนี้ไม่อาจนำไปสู่ความสงบสุข ทางเลือกอีกทางหนึ่ง คือ การหักห้ามตนเองเป็นการจงใจมิให้เกิดความสมหวังในสิ่งที่ตนต้องการ ในประเทศอินเดียช่วงก่อน 2,500 ปีที่แล้ว มีการปฏิบัติตามหนทางนี้อย่างเข้มข้นไม่ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงความสนุกสนานเพลิดเพลินทุกอย่างตลอดจนการใช้วิธีต่างๆ เพื่อทรมานตนเอง

    เหตุผลที่ต้องทรมานตนเองก็เพื่อขจัดนิสัยที่เคยชิน แต่จะสร้าง “ตัณหา” และ “ปฏิฆะ” และเพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ ซึ่งผู้เคร่งศาสนาทั่วโลกต่างพากันปฏิบัติอย่างเข้มงวดเช่นนี้ และในช่วงเวลาหลายปีที่ออกผนวชเจ้าชายสิทธัตถะก็ได้ทรงปฏิบัติเช่นกัน โดยทรงทดลองทรมานพระวรกายด้วยวิธีต่างๆ จนผ่ายผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก แต่ก็พบว่ายังไม่อาจหลุดพ้น การทรมานตนไม่อาจชำระจิตให้บริสุทธิ์ได้ ตราบใดที่จิตยังมีกิเลสอยู่ เรายังคงไม่ปลอดภัยหรือได้เป็นสุข แม้ศีลจะมีประโยชน์ หากแต่เพียงความตั้งใจมั่นยังไม่อาจรักษาไว้ได้ แม้ว่าการฝึกสมาธิพอจะช่วยได้บ้าง ก็เพียงช่วยแก้ปัญหาได้บางส่วน แต่ไม่มีผลระดับลึกของจิต ที่ยังมีรากเหง้าของกิเลสอันเป็นปมปัญหานอนเนื่องอยู่ ตราบเท่าที่จิตไร้สำนึกยังมีรากเหง้านี้ยังฝักแฝงอยู่ เราจะไม่มีวันได้พบความสุขที่แท้จริงอันจีรังยังยืนและไม่อาจหลุดพ้น การหักห้ามตนนั้นไม่จำเป็นต้องปฏิบัติเข้มงวดจนสุดขีด เราอาจห้ามใจตนเองพอประมาณ เว้นจากความปรนเปรอความต้องการที่อาจก่อให้เกิดอกุศลกรรม การควบคุมตัวเองแบบนี้ยังดีกว่าตามใจตนเอง เพราะอย่างน้อยเราก็ไม่ต้องทำบาป แต่หากหักห้ามใจตนด้วยการเก็บกดความรู้สึก กลับจะไปเพิ่มความเครียดให้จิตจนถึงสะดุ้งที่อันตรายความปรารถนาทั้งมวลที่ถูกกดเอาไว้เปรียบเหมือนน้ำที่ถูกกักอยู่ในเขื่อนของการข่มกลั้นตนเอง อันใดที่เขื่อนพังทลายลง กระแสน้ำแห่งการทำลายล้างย่อมไหลบ่าออกมา

    เมื่อใดรากเหง้าของ “กิเลส” ถูกขจัดออกไปจากจิตได้เราย่อมปลอดภัยจากบาปที่เกิดจากการตามใจตนเองและไม่จำเป็นต้องคอยหักห้ามตัวเองอีกต่อไป เพราะหมดสิ้นแรงกระตุ้นที่จะทำบาปไม่ต้องเครียดที่จะคอยแสวงหาหรือผลักไสสิ่งใดอีกต่อไป ทำให้มีชีวิตอย่างเป็นสุข การ “ขจัดรากเหง้า” ความไม่บริสุทธิ์ทั้งหลายต้องใช้วิธีที่สามารถเจาะลึกไปยังส่วนลึกของจิตเพื่อขจัดต้นตอของกิเลส และนี่คือ “วิธีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงค้นพบ” ซึ่งเป็นการ “พัฒนาปัญญา” ที่ช่วยทำพระองค์ไปสู่การรู้แจ้ง เราอาจเรียกวิธีนี้ว่า “วิปัสสนาภาวนา” หมายถึงการพัฒนาปัญญาหยั่งรู้ในธรรมชาติของตนเอง “ปัญญา” ที่เล็งเห็นและช่วยขจัดรากเหง้าของความทุกข์ทรงค้นพบและปฏิบัติโดยวิธีนี้จนบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเช่นเดียวที่ทรงแสดวงธรรมโปรดทุกคนตลอดจนพระชนม์ชีพ และนี่คือ คำเทศนาส่วนที่พระพุทธองค์ให้ความสำคัญสูงสุดโดยตรัสย้ำอยู่เสมอว่า

    “อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา “สมาธิ” อัน “ศีลอบรมแล้ว” ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ “ปัญญา” อัน “สมาธิอบรมแล้ว” ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ “จิต” อัน “ปัญญาอบรมแล้ว” ย่อมหลุดพ้นอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะฯ

    ทั้งศีลและสมาธิล้วนมีคุณค่าแต่ความมุ่งหมายที่แท้จริงในการรักษาศีลและฝึกสมาธิ คือ การเตรียมพร้อมไปสู่ “ปัญญา” เพราะการพัฒนาปัญญาเท่านั้นจะทำให้เราได้พบ “ทางสายกลาง” แท้จริงที่อยู่ระหว่างการเสวยสุขและการข่มกลั้นตน อันเป็นสองวิธีที่แตกต่างกันสุดขั้ว

    “การรักษาศีล” : ช่วยให้เราได้งดเว้นจากการกระทำทั้งหลายที่พาให้จิตใจเกิดความเร่าร้อน การบำเพ็ญสมาธิ : ช่วยทำให้จิตใจสงบยิ่งขึ้นพร้อมที่จะใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสำรวจตนเอง แต่การ “พัฒนาปัญญา” เท่านั้นที่ทำให้เราสามารถเจาะลงไปถึงส่วนที่ลึกที่สุดของ “จิต” เพื่อค้นความจริง…“ภายในตนเอง” และ “ปลดปล่อยตนเอง” ให้เป็น…“อิสระ” จาก “อวิชชา” หรือ… “ความไม่รู้จริง” และจาก…“อุปาทาน” หรือ…“ความยึดมั่นถือมั่น” นั่นเอง “การพัฒนาปัญญา” มี 2 ข้อ คือ “สัมมาสังกัปปะ” และ “สัมมาทิฏฐิ” จัดอยู่ในหมวดที่ 3 ของอริยมรรคมีองค์แปด

    กล่าวโดยสรุป… “สัมมาสังกัปปะ” หรือความดำริชอบในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนนั้น เราไม่จำเป็นต้องหยุด “ความคิดให้หมด” แล้วจึงค่อยภาวนา ความนึกคิดอาจยังคงมีอยู่ แต่หากเรารักษา “สติ” ไว้ได้จากขณะหนึ่งไปยังอีกขณะหนึ่ง ก็เพียงพอที่จะเริ่มวิปัสสนาได้ แม้ความนึกคิดยังคงอยู่แต่รูปแบบความคิดจะเปลี่ยนไปเพราะการมี “สติ” อยู่กับ “ลมหายใจ” จะช่วยให้ “ตัณหา” และ “ปฏิฆะ” สงบลง จิตมีความสงบเยือกเย็นลงในระดับจิตสำนึกเป็นอย่างน้อย และเริ่มครุ่นคิดในเรื่อง “ธรรมะ” เรื่องหนทางสู่ความหลุดพ้น ความยากลำบากที่เกิดในช่วงแรกของการรักษา “สติ” อยู่กับ “ลมหายใจ” ให้ผ่านพ้นไปแล้วหรือลดลงไปบ้าง เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว “จิต” เราก็พร้อมจะก้าวไปฝึก “สัมมาทิฏฐิ” อันเป็นขั้นต่อไป

    “สัมมาทิฏฐิ” หรือความเห็นชอบ คือ “ปัญญาที่แท้จริง” แค่การพิจารณาเรื่อง “สัจธรรมนั้นยังไม่เพียงพอ”…เราต้องปฏิบัติให้รู้แจ้งเห็นเจ้งด้วยตนเอง ให้เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นอยู่ มิใช่ตามที่มันดูเหมือนจะเป็นความจริงที่เปลือกนอก คือ สิ่งที่เราจะต้องเจาะลึกเข้าไปเพื่อพบความจริงสูงสุดภายในตัวของเราและเพื่อ “ขจัดความทุกข์”

    ปัญญา มี 3 แบบ คือ แบบที่ 1 : ปัญญาที่ได้รับมา เรียกว่า สุตมยปัญญา แบบที่ 2 : ปัญญาจาการคิดพิจารณา เรียกว่า จิตมยปัญญา แบบที่ 3 : ปัญญาจากการประสบด้วยตนเอง เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

    แบบ 1 สุตมยปัญญา คือ ปัญญาจากการได้รับมาเป็นปัญญาที่เรียนรู้จากผู้อื่น เช่น โดยการอ่านหนังสือ โดยการฟังเทศน์ ฟังธรรม เป็นต้น ประเภทนี้ คือ ปัญญาของคนอื่นที่เราได้เห็นได้ยินมาแล้วยอมรับเป็นของตนเอง ซึ่งอาจยอมรับมาเพราะความเขลาหรือยอมรับเพราะความโลภ หรือยอมรับเพราะความกลัว เป็นการยอมรับเพราะโง่เชื่อคนง่าย หรืออยากได้สิ่งตอบแทนหรือการขู่เข็ญบังคับจำเป็นต้องจำนนเชื่อ ฉะนั้นไม่ว่าจะยอมรับเพราะมีศรัทธาอันมืดบอด เพราะชอบหรือกลัวก็ตาม ก็ไม่ใช่ปัญญาของเรา เพราะไม่ได้เกิดจากประสบการณ์ของตนเอง แต่เป็น… “ปัญญาที่ขอยืมจากผู้อื่นมา”

    แบบ 2 จิตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากประสบการณ์โดยตรงของตัวเอง ที่ได้ประจักษ์แจ้งกับความจริงด้วยตนเองเป็น “ปัญญาแท้จริง”…ที่เราจะได้อาศัยให้ช่วยเปลี่ยนชีวิตของเราด้วยการ “ละทิ้งนิสัยดั้งเดิมของจิต” “ในทางโลก” ปัญญาที่เกิดจากประสบการณ์โดยตรง อาจไม่ใช่สิ่งจำเป็นหรือเหมาะสมทุกครั้งเสมอไป เช่น การเชื่อคำเตือนให้ระวังอันตรายจากไฟ หรือเชื่อเพราะไตร่ตรองตามเหตุผลก็ย่อมเพียงพอแล้ว แต่…“ในทางธรรม” ปัญญาที่เกิดจากประสบการณ์เท่านั้นที่จะช่วยให้เราหลุดพ้นจากกิเลสได้

    “ปัญญาจากแบบที่ 1 และปัญญาจากแบบที่ 2 ปัญญาจากการได้เห็นได้ฟังร่วมกับปัญญาจากการวิเคราะห์พิจารณาด้วยเชาวน์ปัญญาของตนเองจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อมัน “บันดาลใจให้เรา” พัฒนาไปสู่ปัญญาแบบที่ 3 คือ “ภาวนามยปัญญา” กล่าวคือ ถ้าเราพอใจเพียงการพิจารณาความจริงโดยการตรวจสอบและทำความเข้าใจด้วยสติปัญญา แต่ไม่พยายามเข้าถึงความจริงด้วยตนเอง
    ความเข้าใจระดับเชาวน์ปัญญาเหล่านี้ก็จะกลายเป็นพันธนาการแทนที่จะเป็นเครื่องช่วยให้ “หลุดพ้น” (ตรงข้ามถ้าเราเพียงยอมรับปัญญาจากผู้อื่นไม่พิจารณาไตร่ตรองเสียเลยย่อมจะเป็นพันธนาการกีดขวางการเข้าถึงภาวนายมปัญญา)

    ท้ายสุดนี้ กล่าวโดยสรุปได้ว่า เราเพื่อนมนุษย์ด้วยกันจะต้องเข้าถึงความจริงด้วยประสบการณ์ของตนด้วยการปฏิบัติภาวนาเพราะมีเพียงวิธีนี้เท่านั้นที่จะช่วยให้จิตเป็น “อิสระ” การรู้แจ้งของคนอื่น อย่างมากสุดก็แค่ช่วยบันดาลใจและให้แนวทางกับเราได้ปฏิบัติตามเท่านั้น สุดท้ายทุกคนต้องปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น ดังพุทธพจน์ที่ว่า ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียรเถิด พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกทาง ผู้ใดดำเนินไปตามทางนี้แล้ว ย่อมจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การจะเข้าถึงสัจธรรมและเผชิญความจริงแท้โดยตรงได้ต้องศึกษาจากภายในตัวของเราเท่านั้น สิ่งที่อยู่ภายนอกเป็นเพียงเรื่องไกลตัว มีเพียงการสำรวจภายในตัวเองเท่านั้นที่จะช่วยให้เราได้ประจักษ์กับความจริงแท้ ความพิเศษในคำสอนของพระผู้มีพระภาคที่ทรงมอบแก่ชาวโลก คือ “วิธีปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความจริงแท้ภายในตนเอง ซึ่งเป็นการพัฒนา “ภาวนามยปัญญา” วิธีปฏิบัติที่ว่านี้คือ “วิปัสสนาภาวนา” นั่นเองไงเล่าครับ

    om-e0b982e0b894e0b8a2-e0b899e0b89e-e0b8a7e0b8b4e0b88ae0b8b1e0b8a2-e0b980e0b897e0b8b5e0b8a2e0b899.png

    เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่ -e0b982e0b894e0b8a2-e0b899e0b89e-e0b8a7e0b8b4e0b88ae0b8b1e0b8a2-e0b980e0b897e0b8b5e0b8a2e0b899-1.png

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1972991
     

แชร์หน้านี้

Loading...