ปัญหาการบริโภคเนื้อสัตว์ โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 28 มกราคม 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    ผู้ถาม : " เรื่องการถวายอาหารพระนะครับหลวงพ่อ เวลาอุบาสิกานำอาหารไปถวายพระ แล้วก็เอาอาหารพวกเนื้อสัตว์ไปถวาย จะบาปไหมครับ...? "

    หลวงพ่อ : " ถามไม่ละเอียดนี่ อาตมาตอบไม่บาปเลยก็ได้ คือ เนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าแล้วและไปซื้อมา เราไปบังคับให้เขาฆ่าเมื่อไรละ ใช่ไหม...? "

    ผู้ถาม : " ถ้าเราไม่กินเขาก็ไม่ฆ่า "

    หลวงพ่อ : " ถ้าเขาไม่ฆ่าเราก็ไม่ซื้อ เราไม่ซื้อเขาก็ฆ่า เราไม่ซื้อคนอื่นซื้อ เขาก็ฆ่า ถ้าเราสั่งให้เขาฆ่าซิ "วันนี้ไก่ ๓ ตัวนะ" "วันนี้ขอหมูให้ฉัน ๑ ขานะ" "พรุ่งนี้จะแต่งลูกสาว เอาวัว ๓ ตัว หมู๓ ตัวนะ" อย่างนี้บาป ตั้งแต่เริ่มสั่ง พระยายมบันทึกแล้ว บันทึกตั้งแต่สั่งแล้ว ถ้าตายไปก่อน รับวัวรับหมูนะ ลงเลย "

    ผู้ถาม : " ก็หมายความว่าบาปเฉพาะ คนสั่งฆ่า กับ คนฆ่า...! "

    หลวงพ่อ : " คนไหนฆ่าสัตว์คนนั้นก็บาป คนไหนสั่งคนนั้นก็บาป เราซื้อที่เขาฆ่ามาขาย กินเท่าไรเราก็ไม่บาป เพราะไม่เป็นบาปพระพุทธเจ้าจึงไม่ห้าม ที่ไม่ห้ามเพราะว่าเขาฆ่าเป็นปกติอยู่แล้ว
    คำว่า บาป นี้แปลว่า ชั่ว บุญ แปลว่า ดี ทำชั่วแปลว่าบาป ทำดีเรียกว่าบุญ ทีนี้ชีวิตเขามีอยู่เราไปฆ่าเขา ชีวิตของเรา เราก็ไม่ต้องการให้คนอื่นเขาฆ่า ถ้าเราไปฆ่าเขาเราก็เป็นคนชั่ว ฉะนั้นถ้าเขาไปฆ่ามาแล้ว เราไปซื้อกิน อันนี้ไม่ชั่วเพราะไม่ได้สั่งให้เขาฆ่า แต่ว่าถ้าเอาเนื้อมาแล้วบอก "เฮ้ย พรุ่งนี้เพิ่มหน่อยซีเว้ย" ทีนี้เอาแน่ ต้องว่ากันอย่างนี้นะ "


    ผู้ถาม : " มีคนเขาบอกว่า การฆ่าสัตว์ คนฆ่าไม่บาปเท่าไรแต่คนกินบาป และเขายังบอกอีกว่า ถ้าไม่กินแล้วใครจะฆ่า "

    หลวงพ่อ : " คิดเอาเองมากกว่า คนกินเขาไม่ได้สั่งให้ฆ่า นี่เขาฆ่าขาย ถ้ามีขายเขาก็ซื้อกิน จะไปโทษคนกินเขาไม่ได้หรอก ถ้าคนกินสั่งให้เขาฆ่าอันนี้จึงบาป ไม่งั้นพระพุทธเจ้าคงจะห้ามพระฉันเนึ้อสัตว์ นี่เขาว่ากันเอาเอง ไม่ถูกหลักเกณฑ์อะไรหรอก พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    "เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ"
    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราถือเจตนาเป็นตัวกรรม"

    เจตนา แปลว่า ตั้งใจ ถ้าตั้งใจคิดจะฆ่าแล้วลงมือฆ่าอันนี้บาปแน่ "


    ผู้ถาม : " ถ้ารับประทาน อาหารมังสวิรัติ จะตัดกิเลสได้ หรือเปล่าคะ...? "

    หลวงพ่อ : " ถ้าตัดได้จริง พระพุทธเจ้าคงยอมตามที่พระเทวทัตขอพรแล้ว ฉันลองมา ๓ ปี เมื่อบวชใหม่ ๆ ฉันไม่กินเนื้อสัตว์ด้วย แล้วฉันหนเดียวด้วย และฉันไม่บอกชาวบ้านด้วย ถ้าบอก ชาวบ้านก็ต้องทำอาหารลำบาก ก็ไปบิณฑบาตธรรมดา แต่เนื้อสัตว์เราไม่กิน บางวันไม่มีอะไรมาให้เลย ก็กินเกลือกับหัวหอมกินผักเป็นอาหาร ลองมา ๓ ปี ไม่เห็นกิเลสมันลดเลย แต่ว่าถ้าไม่กินได้นี่ดีนะ ฉันสรรเสริญ ถ้าเป็นฆราวาสนะ เพราะว่าจะได้ไม่กังวลเรื่องเนื้อสัตว์ จิตของเราก็ตัดบาปไปจุดหนึ่ง ใช่ไหม ...
    ในปฐมบัญญัติของสิกขาบท สังฆาทิเสส ข้อที่ ๑๐ มีเรื่องเล่าว่า พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ โอ้โฮ ... นี่อยู่อเวจีทั้งคู่ ใครไปอเวจี ไปมอง ๆ ดูนะ พระเทวทัตยีนกางแขนกางขา โกกาลิกะนั่งชันเข่า หอกเสียบสบาย ๆ แล้วก็พระกฏโมรกติสสกสะ พระที่เป็นบุตรของนางขัณฑเทวี และ พระสมุทททัต ชักชวนให้พระสงฆ์แตกกัน ใครบ้างล่ะ ... พระเทวทัต เป็นหัวหน้าโจก โกกาลิกะ รองประธาน พระกฏโมรกติสสกสะ และ พระสมุทททัตชักชวนให้สงฆ์แตกกัน พร้อมทั้งบอกแผนการที่จะเสนอแผนการให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น มี ๕ ข้อ ซึ่งเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไม่อนุญาต และตนจะนำข้อเสนอขึ้นประกาศแก่มหาชน

    ข้อเสนอ ๕ ข้อนั้น คือ อันนี้ฟังให้ดีนะ ข้อนี้ดีมาก เวลานี้คนที่ปฎิบัติผิดมีเยอะ ไปหลงผิดว่าไอ้ที่เราทำนี่ดีนี่หว่า ข้อเสนอของพระเทวทัต ๕ ข้อ เวลานี้พระสาวกของพระเทวทัตก็มีเยอะเหมือนกัน ถือว่า ๕ ข้อ ที่พระเทวทัตขออนุญาตนี้ นึกว่าเป็นของดีกันนัก สงสารชาวบ้าน ข้อเสนอของเทวทัต ๕ ข้อ คือ

    ๑. ภิกษุพึงอยู่ป่าตลอดชีวิต เข้าละแวกบ้าน ต้องมีโทษ หมายความว่า พระทุกองค์ที่บวชแล้ว ห้ามเข้าหมู่บ้านโดยเด็ดขาด ต้องอยู่เฉพาะในป่า ห้ามโผล่หน้าเข้ามาในบ้าน

    ๒. ภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต เป็นวัตร หมายถึง ปฎิบัติ ต้องบิณฑบาตตลอดชีวิต ผู้ใดรับนิมนต์ไปฉันตามบ้านต้องมีโทษ นี้เป็นความต้องการของพระเทวทัต รู้แล้วว่าทำไม่ได้ แต่แกล้งขอ

    ๓. ภิกษุพึงใช้ผ้าบังสุกุล หมายความว่าผ้าเปื้อนฝุ่น ผ้าเศษผ้าที่เขาทิ้งตามกองขยะบ้าง ตามที่ต่าง ๆ บ้าง ตามที่เขาพันผีไว้บ้าง นำมาซัก นำมาย้อม มาปะติดปะต่อเป็นจีวรจนตลอดชีวิต ผู้ใดรับจีวรที่ชาวบ้านถวายต้องมีโทษ

    ๔. ภิกษุพึงอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ผู้ใดเข้าที่มุงที่บังที่มีหลังคาต้องมีโทษ

    ๕. ภิกษุไม่พึงฉันเนึ้อสัตว์ ผู้ใดฉันต้องมีโทษ

    เห็นไหม ... การขอนี่เขาขอเพื่อเป็นการลบล้างไม่ใช่ทำได้ ภิกษุเหล่านั้นเห็นมีทางชนะร่วมด้วยว่า พระพุทธเจ้าแพ้แหง ๆ พระเทวทัตต้องชนะการเสนอญัตติแบบนี้ พระเทวทัตจึงได้เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลข้อเสนอ ๕ ประการนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    "ดูก่อน เทวทัต ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ป่า ก็จงอยู่ป่า

    ผู้ใดปรารถนาจะอยู่ในละแวกบ้าน ก็จงอยู่ในละแวกบ้าน

    ผู้ใดปรารถนาจะเที่ยวบิณฑบาต ก็จงเที่ยวบิณฑบาต

    ผู้ใดปรารถนาจะใช้ผ้าบังสุกุล ก็จงใช้ผ้าบังสุกุล

    ผู้ใดปรารถนาจะใช้ผ้าไตวจีวรจากฆราวาสถวาย ก็จงรับได้

    เราอนุญูาตที่นอนที่นั่ง ณ โคนไม้ตลอด ๘ เดือน หมายความว่าที่ไม่ใช่ฤดูฝน เป็นฤดูหนาว หรือฤดูแล้ง ถ้าจะไปยังงั้นก็ได้

    เราอนุญาตเนื้อสัตว์ที่บริสุทธิ์โดย ๓ ส่วน คือ

    ๑. ไม่ได้เห็นเขาฆ่า

    ๒. ไม่ได้ยินเขาฆ่าเพื่อถวายพระ

    ๓. ไม่ได้รังเกียจคิดว่า เนื้อสัตว์นึ้น่ากลัวเขาฆ่าเพื่อเรา เช่น เขาฆ่าเจาะจงเพื่อจะให้ภิกษุบริโภค

    พระเทวทัตดีใจที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ยอมรับสมเจตนาจึงได้เที่ยวประกาศให้เห็นว่า พระพุทธเจ้าไม่ยอมอนุญาตข้อเสนอที่ดีของตน ทำให้คนที่มีปัญญาทราม คนไร้ปัญญูาบางคนเห็นว่า พระสมณโคดมเป็นผู้มักมาก

    โอ้โฮ ... ดีจริง ๆ นะ พระผู้มีพระภาคเจ้ามักมากแล้วใครจะมักน้อยอีก แต่คนที่เข้าใจเรื่องดี กลับติเตียนพระเทวทัตเอาแล้วซิ ... นี่พระไม่ดีทำให้ชาวบ้านแตกกัน ความทราบถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้เรียกประชุมสงฆ์ ไต่สวนพระเทวทัตเป็นสัตย์แล้ว จึงได้ทรงติเตียนและทรงบัญญัติสิกขาบทว่า

    "ห้ามภิกษุพากเพียรเพื่อทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เมื่อภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง ภิกษุทั้งหลายพึงสวดประกาศเป็นการสงฆ์เพื่อเลิกข้อประพฤตินั้นเสีย ถ้าสวดถึง ๓ วาระยังไม่เลิก ต้องอาบัติสังฆาทิเสส"

    จำไว้ให้ดีนะ นี่บท ๕ ข้อนี้ ทวนเสียอีกทีนะ

    ๑. ภิกษุพึงอยู่ป่าตลอดชีวิต เข้าละแวกบ้านต้องมีโทษใครเขาจะทำ

    ๒. ภิกษุพึงถือบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต ถูกรับนิมนต์ฉันตามบ้านต้องมีโทษ

    ๓. ภิกษุพึงใช้ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าเปื้อนฝุ่น ผ้าเศษผ้าที่เขากองทิ้งไว้ หรือผ้าห่อผีห่อคนตายตลอดชีวิต ถ้ารับผ้าที่เขาถวายต้องมีโทษ

    ๔. ภิกษุต้องอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ตลอดฤดูน้ำฤดูฝนไม่รู้ ถ้าเข้าบ้านที่มีหลังคาต้องมีโทษ

    ๕. ภิกษุไม่ฉันเนื้อสัตว์ ผู้ใดฉันมีโทษ

    ทั้ง ๕ ข้อนี้พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตนะ

    เมื่อเห็นคนด้วยเมื่อเจอะพระเขาทำอย่างนี้นะละก็ญาติโยม อย่าถือว่าเขาเป็นคนเคร่งครัดนะ ต้องถือว่าเขาเป็นคนละเมิดพระดำรัสสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็แล้วกัน ... "


    ผู้ถาม : " กระผมเป็นฆราวาสกินอาหารมื้อเดียว ทำอย่างนี้โดยตลอด ไม่ทราบว่าจะมีอานิสงส์เป็นไปข้างหน้าอย่างไรครับ ... ? "

    หลวงพ่อ : " อานิสงส์ปัจจุบัน คือ
    ๑. เปลืองอาหารน้อย เพราะกินเวลาเดียว

    ๒. มีเวลาทำงานมากขึ้น ข้างหน้าต่อไปอานิสงส์ใหญ่ คือตาย

    ... ก็แค่กินเวลาเดียวยังวัดฐานะอะไรไม่ได้เลย อย่าไปนึกว่ามันดีเด่นกับใครเขานะ กินเวลาเดียว กิน ๒ เวลา กิน ๓ เวลา มีความหมายเสมอกัน สำคัญว่า "ใจตัดกิเลสได้หรือเปล่า" เขาเอากันตรงนั้น ถ้าถือแค่กินนี่มันเป็นมานะทิฏฐิ เป็นกิเลสหยาบมาก อีกอย่างหนึ่งตายเร็วมาก อย่าไปนึกว่าดีนะ และถ้านั่งคุยว่านี่ฉันกินเวลาเดียว เสร็จเลย โอ้อวด นี่เป็นมานะกิเลสพังเลย "


    ผู้ถาม : " อย่างนี้แทนที่จะไปดี ก็เลยไป... "

    หลวงพ่อ : " ก็ไปดี หมายความว่าก่อนจะไปก็เปลืองน้อย เพราะฉะนั้นอย่าถือเป็นเรื่องสำคัญนะ ไอ้กินเวลาเดียว ๒ เวลา กินเนื้อสัตว์ ไม่กินเนื้อสัตว์ นี่ อย่านะ อย่าถือเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ต้องตอบอย่าง หลวงปู่แหวน เคยมีคนมาเล่าให้ฟัง มีคนหนึ่งแกบอกหลวงปู่แหวนว่า
    "เวลานี้ผมถือมังสวิรัติครับ ไม่กินเนื้อสัตว์"

    หลวงปู่แหวนท่านบอก

    "ไอ้วัวควายกินหญู้าตั้งนาน ไม่เห็นเป็นพระอรหันต์ซักตัว"

    ตอบนำสมัย ไม่ไช่ทันสมัย ถ้าเรื่องเป็นความจริงตามนั้น แต่การกินไม่มีความหมายในการปฎิบัติ แต่ปฎิบัติจริง ๆ มันขึ้นอยู่กับ

    ๑. เข้าถึงสะเก็ดพระศาสนาแล้วหรือยัง

    ๒. เข้าถึงเปลือก เข้าถึงกระพี้ เข้าถึงแก่นแล้วหรือยัง

    เข้าถึงแก่นนี่ยังใช้ไม่ได้นะ ยังเป็นเหยื่อของอบายภูมิ จะต้องเข้าถึงพระโสดาบันเป็นอย่างต่ำ เขาวัดกันตรงนี้ อย่าไปวัตกันแค่กิน "


    ผู้ถาม : " คนทำบุญให้ทานที่กินเนื้อสัตว์ กับคนทำบุญให้ทานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ อันไหนจะได้อานิสงส์มากกว่ากันคะ ... ? "

    หลวงพ่อ : " อานิสงส์แบบไหนล่ะ อานิสงส์ไปนรก หรืออานิสงส์ไปสวรรค์ อานิสงส์มันมี ๒ อย่าง ทำบาปก็มีอานิสงส์จะลงขุมไหนแน่ ถ้าทำบุญก็มีอานิสงส์ อย่างเลวก็ไปสวรรค์ อย่างกลางไปพรหม อย่างดีที่สุดไปนิพพาน คนที่ไม่ทำบุญเลยแม้ไม่กินเนื้อสัตว์ก็มีสิทธิ์ไปอยู่กับเทวทัตได้ มีไหมคนไม่ทำบุญเลย คนที่ทำบุญไม่กินเนื้อสัตว์ อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าฉันเนื้อสัตว์นะ พระที่ฉันเนื้อสัตว์ไปนิพพานนับไม่ถ้วน เขาไม่ได้กินสัตว์เป็น เขาซื้อมากินไม่มีบาป "

    ผู้ถาม : " ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็เพราะว่าไปมองเห็นเนื้อสัตว์แล้วมีเลือดมีคาว เลยกินไม่ได้เจ้าค่ะ "

    หลวงพ่อ : " อย่างนี้ไม่เป็นไร ถ้าเห็นว่าสกปรกเป็น อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันนี้เป็นปัจจัยให้บรรลุพระอนาคามีหรือพระ อรหันต์ นี่เป็นพื้นฐานใหญู่นะ ถ้าเห็นแบบนั้นเกิดนิพพิทาญาณแล้ว นิพพิทาญาณเป็นปัจจัยให้ได้พระอนาคามี ต่อไปถ้าเว้นจริงเป็นสังขารุเปกขาญูาณ เป็นอรหันต์ คนที่จะเป็นอรหันต์ได้ ถ้าไม่คล่องในบทนี้เป็นไม่ได้ มี กายคตานุสสติ กับ อสุภกรรมฐานเป็นพื้นฐาน
    พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ในสมัยพุทธกาล ไม่เสวยและฉันเนื้อสัตว์ เป็นต้น

    ๑. ต้องไม่ฉันเนื้อสัตว์ ๑๐ ประการ มีเนื้อมนุษย์ เป็นต้น

    ๒. เนื้อนั้นจะต้องเป็นปวัตตมังสะ คือ ที่เขาขายแกงกินกันตามปกติของเขา โดยพระไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจสงสัยว่าเขาฆ่าเนื้อเจาะจงถวายตน

    ๓. ก่อนการฉันอาหารเนื้อทุกคราว จะต้องพิจารณาเสียก่อนเพื่อป้องกันไม่ไห้ฉันเนื้อต้องห้ามข้างต้น
    "



    [​IMG]<!-- THE POST -->
     
  2. bamrung

    bamrung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    839
    ค่าพลัง:
    +1,524
    ในอนาคตอันไกล้นี้ มนุษย์จะไม่ทานเนื้อสัตว์อีก เพราะเนื้อสัตว์จะหาทานยากมาก ท่านจำคำนี้ไว้ เมื่อถึงวันนั้นท่านจะรู้เองว่าเหตุใด
    ในประเทศภูฐานเขาเคร่งศาสนามาก เขาก็ทานเนื้อสัตว์เหมือนกัน แต่หาทานยากมากต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะประเทศเขาไม่มีการฆ่าสัตว์เลย ประชาชนทุกคนรักษาศีลห้าได้ดี ต่างจากประเทศเราที่คนที่ทำปาณาติบาตกันเยอะ ทั้งเพื่อกิน เพื่อขาย และฆ่าเพราะเพื่อความสนุกสนาน บรรยากาศของสังคมจึงไม่สงบเหมือนภูฐาน
     
  3. panthouch

    panthouch เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +105
    หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ ท่านเป็นผู้ ประเสริฐ ต่อ พุทธศาสนา เป็นผู้พูดตรงจุด เป็นผู้เปิดความรู้ ที่หารู้ที่อื่นได้ยากมากๆ ทั้งการปฎิบัติ และคำสอน .......
     
  4. Nar

    Nar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,154
    ค่าพลัง:
    +37,385
    องค์หลวงพ่อท่านกล่าวโดยยกคำสอนของพระพุทธเจ้ามาอ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสมาดีแล้ว ไม่มีเหตุผลใดมาลบล้างได้ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้รู้แจ้งโลก ย่อมมีเหตุและผลเลิศประเสริฐแล้วครับ สาธุ ครับ
     
  5. นืเฟร

    นืเฟร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +433
    เราบัญญัติห้ามเนื้อสัตว์ไว้ในข้อความแห่งคัมภีร์เหล่านี้คือ
    1.หัสดิกักสยะ
    2.มหาเมฆะ
    3.นิรวาณางคุลี มาลิกา
    4.ลังกาวตารสูตร

    ลังกาวตารสูตร
    “พระตถาคตเจ้าผู้ทรงอรหันต์ได้ตรัสรู้อย่างถูกถ้วนแล้วและได้ตรัสความเป็นกุศลหรืออกุศลแห่งการบริโภคเนื้อสัตว์แก่เรา, เพื่อว่าเราและสาวกอื่นๆ ในพระพุทธศาสนาในปัจจุบันและอนาคตจะได้ประกาศสัจธรรมอันนี้แก่เขาเหล่าโน้นผู้บริโภคเนื้อสัตว์ เพื่อเป็นการทำลายความอยากในเนื้อสัตว์ของเขานั้นๆ เสีย”
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า
    โอ มหาบัณฑิต! ด้วยน้ำหนักแห่งเหตุผลอันมากมายเหลือจะประมวล บ่งแสดงว่าเนื้อทุกชนิดเป็นสิงที่ควรปฏิเสธโดยสาวกแห่งพระพุทธศาสนา ผู้มีใจเปี่ยมอยู่ด้วยความกรุณาสำหรับเขาเหล่านั้น เราจักกล่าวแต่โดยย่อๆ
    โอ มหาบัณฑิต! ในวัฎฎสงสารอันไม่มีใครทราบที่สุดในเบื้องต้นนี้ สัตว์ผู้มีชีพได้พากันท่องเที่ยวไปในการว่ายเวียน ในการเกิดอีกตายอีก ไม่มีสัตว์แม้แต่ตัวเดียวที่ในบางสมัยไม่เคยเป็น แม่ พ่อ พี่น้องชาย พี่น้องหญิง ลูกชาย ลูกหญิง หรือเครือญาติอย่างอื่นๆ แก่กัน สัตว์ตัวเดียวกันย่อมถือปฏิสนธิในภพต่างๆ เป็นกวาง หรือสัตว์สองเท้า สัตว์สี่เท้าอื่นๆ เป็นนก ฯลฯ ซึ่งยังนับได้ว่าเป็นเครือญาติของเราโดยตรง สาวกแห่งพระพุทธศาสนาจะทำลงไปได้อย่างไรหนอ จะเป็นผู้สำเร็จแล้วหรือยังเป็นสาวกธรรมดาอยู่ก็ตาม ผู้เห็นอยู่ว่าสัตว์เหล่านี้ทั้งหมดเป็นภราดรของตน, แล้วจะเชือดเนื้อเถือหนังของมันอีกหรือ?
    โอ มหาบัณฑิต! เนื้อสุนัข เนื้อฬา อูฐ ม้า โค และเนื้อมนุษย์เหล่านี้ เป็นเนื้อที่ประชาชนไม่รับประทาน แม้กระนั้นเนื้อของสัตว์เหล่านี้ถูกนำมาปลอมขายในนามของเนื้อแกะภายในเมืองเพราะเห็นแก่เงิน เพราะเหตุนี้เนื้อสัตว์จึงเป็นสิงที่ไม่ควรกินโดยสาวกแห่งพระพุทธศาสนา
    โอ บัณฑิต! เพราะว่า เนื้อย่อมเกิดมาจากเลือดและน้ำอสุจิ เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นสิ่งไม่ควรบริโภคสำหรับสาวกแห่งพระพุทธศาสนา ผู้ประสงค์ต่อความสะอาดบริสุทธิ์
    และเพราะมันเป็นการสร้างความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นในระหว่างกันและกัน โอ บัณฑิต! เพราะฉะนั้น เนื้อจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภคโดยบรรพชิตแห่งพระพุทธศาสนาผู้ประสงค์มิตรภาพในเพื่อนสัตว์ด้วยกันทุกถ้วนหน้า
    ตัวอย่างอันประจักษ์ เช่น เมื่อสัตว์ได้เห็นนายพรานป่า ชาวประมง หรือนักกินเนื้ออื่นเดินมาแม้ในระยะอันไกล สัตว์ทั้งหลายก็สะดุ้งกลัวเสียแล้ว บางครั้งหรือสัตว์บางชนิดขาดใจตายเพราะความกลัว เนื่องจากมันรู้ดีว่าเขาจะฆ่ามัน ทำนองเดียวกัน สัตว์ตัวน้อยๆ อื่นๆ ในท้องฟ้า บนบก หรือในน้ำก็ตาม เมื่อได้เห็นนักกินเนื้อแต่ที่ไกล หรือได้กลิ่นด้วยจมูกอันไวของมันก็จะพากันวิ่งหนีไปไกล พร้อมกับความรู้สึกอยู่ในใจว่า เขาเหล่านั้นเป็นผี ยักษ์ อสุรกายล้างผลาญ, นั่นเพราะความกลัวต่อ ความตายของมัน
    เนื้อเป็นสิ่งที่ควรกินสำหรับผู้ใจดำอำมหิต เป็นสิ่งที่มีกลิ่นน่ารังเกียจ, เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมเสีย และเป็นสิ่งที่จะถูกห้ามกันโดยสัตบุรุษ, โอ บัณฑิต ! เนื้อนี้เป็นของไม่ควรบริโภคโดยพุทธสาวก
    โอ บัณฑิต! สัตบุรุษย่อมบริโภคเฉพาะแต่อาหารที่สมควรแต่ท่านผู้บริสุทธิ์ ไม่ยอมบริโภคเนื้อและเลือดเพราะฉะนั้นควรที่สาวกแห่งพระพุทธศาสนาจะต้องไม่บริโภคเนื้อสัตว์เลย
    พระพุทธเจ้าผู้ซึ่งเยือกเย็นไปด้วยพระกรุณา มีพระทัยเต็มเปี่ยมไปด้วยความเป็นที่พึ่ง ที่ป้องกันแก่ดวงใจของปวงสัตว์และมีพระสัมปชัญญะสมบูรณ์ พอที่จะไม่ปล่อยให้เป็นโอกาสสำหรับความเสื่อมเสียระบาดขึ้นได้เลยนั้น ย่อมจะทรงบัญญัติเนื้อสัตว์ว่าเป็นสิ่งไม่ควรบริโภค
    โอ บัณฑิต! ในโลกนี้มีคนอันมาก ซึ่งกล่าวคำเท็จเทียมต่อพระพุทธดำรัสให้ผิดไปจากความจริง เขากล่าวกันว่าบรรดาผู้ซึ่งคัดค้านอาหารอันสมควรแต่ท่านผู้บริสุทธิ์แห่งสมัยเพรงกาล ย่อมกินอาหารเหมือนนักกินเนื้อย่อมเที่ยวใส่ความทุกข์เจ็บปวดให้แก่สัตว์น้อยๆ ที่มีชีวิตอยู่ในอากาศ บนบกและในน้ำ เที่ยวรบกวนรังควานมัน ทั้งที่นี่และที่นั่นอยู่เสมอ สมณภาพของเขาถูกทำลายเสียย่อยยับแล้ว พราหมณภาพของเขาถูกทำให้เศร้าหมองเสียแล้ว, เขามิได้ประกอบด้วยศรัทธาและสมาจาร คนชนิดนี้แหละที่กล่าวคำเท็จเทียมมากมายหลายชนิดแต่พระพุทธวจนะ
    โอ บัณฑิต! มีกลิ่นที่น่ารังเกียจ ไม่น่าบริโภคอยู่ในเนื้อสัตว์ เช่นเดียวกันกลิ่นแห่งศพ แม้เหตุผลเพียงเท่านี้เนื้อก็เป็นของไม่ควรบริโภคสำหรับพุทธศาสนิกชนอยู่แล้ว ถ้าหากว่าศพถูกเผา และเนื้อสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งถูกเผา มันก็จะมีกลิ่นมันน่ารังเกียจ ไม่แตกต่างอะไรกันเลย ดั่งนั้น บรรพชิตในพระพุทธศาสนาผู้หวังความบริสุทธิ์จะไม่บริโภคเนื้อใดๆ เลย
    เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกเกียจกันแล้วสำหรับท่านผู้บริสุทธิ์ และสาวกของท่าน ในกรณีที่จะพยายามเพื่อโมกษะและความตรัสรู้, เพราะฉะนั้นสาวกผู้ดำเนินตามทางอันสูงยิ่งนี้ ทั้งครอบครัวลูกหญิงชายย่อมอยู่อย่างเต็มใจว่า มันเป็นสิ่งที่ถูกเกียจกันในทุกๆ กรณีที่พยายามเพื่อสมาธิ
    โอ บัณฑิต! เพราะฉะนั้น เนื้อทุกๆ ชนิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรบริโภคสำหรับพุทธศาสนิกชน ซึ่งเป็นผู้ที่ปรารถนาจะมีสาธุคุณในทางจิตทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น
    นักกินเนื้อย่อมเป็นเหยื่อแห่งโรคหลายชนิด เช่น โรคไส้เดือน โรคพยาธิ โรคเรื้อน โรคเจ็บในท้อง ฯลฯ
    โอ บัณฑิต! เรากำลังประกาศว่า การกินเนื้อสัตว์เป็นการกินเนื้อบุตรของตนเองอยู่ดังนี้ แล้วจะกล่าวไปอย่างไรได้ที่เราจะบัญญัติให้สาวกของเรากินเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นของจัดไว้ต้อนรับของพวกคนใจอำมหิต เป็นของถูกห้ามโดยท่านสัตบุรุษทั่วไป, เต็มไปด้วยมลทิน, ปราศจากคุณใดๆ,ไม่เหมาะสมที่จะบริโภคสำหรับผู้บริสุทธิ์, และเป็นของควรห้ามเด็ดขาดโดยประการทั้งปวง
    โอ บัณฑิต! เราได้บัญญัติไว้แล้วสำหรับอาหารอันสมควรซึ่งได้กำหนดนิยมกันมาแล้ว โดยบรรดาท่านผู้บริสุทธิ์แห่งสมัยเพรงกาล, ได้แก่ อาหารที่ปรุงขึ้นจากข้าว ลูกเดือย ข้าวสาลี สารแห่งหญ้ามุญชะ อูรทะ และมสุร ฯลฯ นมส้มน้ำนม นม น้ำตาลสด น้ำตาล และน้ำตาลกรวด ฯลฯ
    โอ บัณฑิต ! ในกาลก่อน มีพระราชาครองราชสมบัติอย่างผาสุกพระองค์หนึ่ง นามว่า ราชาสิงหะเสาทโส ต่อมาได้กลายเป็นผู้ละโมบอย่างแรงในการบริโภคเนื้อ ในที่สุดถึงกับใช้เนื้อคนเป็นอาหาร เนื่องจากความอยากได้เป็นไปแก่กล้าหนักเข้า เพราะเหตุนั้น พระองค์ถูกถอดออกจากความเป็นพระราชา โดยพระสหายเสนาบดีและประยูรญาติของพระองค์เองและคนอื่นๆ ต่อจากนั้นต้องสละราชสมบัติ ถูกเนรเทศออกไปจากแว่นแคว้นของพระองค์โดยประชาชน ต้องรับทุกข์ทรมานอันใหญ่หลวงเนื่องจากเนื้อสัตว์เป็นต้นเหตุ
    โอ บัณฑิต ! ก็ในปัจจุบันชาตินี้เอง เขาเหล่านั้นซึ่งเคยชินเกินไปในการกินเนื้อสัตว์ ในมาตรฐานที่เมื่อความอยากเป็นรุนแรงเข้าก็กินเนื้อคนได้(ในยามขาดแคลน), ย่อมเป็นผู้ละโมบในการกิน และเป็นเหมือนยักษ์ ปีศาจร้าย ครั้น ถึงอนาคตชาติหน้า เพราะอำนาจจิตคิดฝังแน่นในการอยากกินเนื้อ เขาย่อมตกไปสู่กำเนิดแห่งสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น สิงโต เสือ สุนัขป่า สุนัขไน แมว สุนัขจิ้งจอก นกเค้า และ ฯลฯ โอ บัณฑิต ! มิใช่เพราะเนื้อจะเป็นของต้องกินหรือการฆ่าเป็นของต้องทำก็หามิได้ ในกรณีนั้นๆ ส่วนมากทั้งหมดเป็นเพราะการเห็นแก่เงิน, จึงฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต แม้จะเชื่องและปราศจากอันตรายแต่อย่างใดก็ได้ถูกฆ่า การฆ่าเพราะเหตุอื่นนั้นมีน้อยที่สุด มันเป็นการทรมานใจเขามากในเมื่อใจเต็มไปด้วยความอยากกินเนื้ออย่างแรงกล้า คนก็กินเนื้อคนได้อยู่เสมอ จะต้องกล่าวไปทำไมกะเนื้อสัตว์ เนื้อนก ฯลฯ ส่วนมากที่สุดเนื่องจากความโง่เง่าเข้าใจผิด มนุษย์จึงได้รับความกระวนกระวายใจโดยความอยากในเนื้อสัตว์ คนฆ่านก ฆ่าแกะและปลา โดยใช้ข่ายหรือเครื่องกล การฆ่ามันเหล่านั้นซึ่งเป็นสัตว์หาอันตรายมิได้ นั่นก็เพื่อหวังจะให้ได้เงิน
    โอ บัณฑิต ! ในกรณีแห่งอาหารที่ เราได้บัญญัติแก่สาวกนั้น มิใช่เป็นเนื้อสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเลย ซึ่งเป็นของควรกิน ไม่เป็นเหตุควรถูกกิน ไม่ใช่สิ่งที่ควรสมมุติว่าควรกิน ในการอนาคตกาล ในหมู่สงฆ์ของเราจะเกิดมีคนบางคน ซึ่งกำลังสมาทานข้อปฏิบัติแห่งบรรพชิต และกำลังปฏิญาณตนเป็นศากยบุตร กำลังครองผ้ากาสาวพัสตร์สีแดงหม่น จะเป็นผู้มัวเมาและประกอบตนคลุกเคล้าอยู่ในความเพลิดเพลิน เขาจะมีจิตที่เต็มไปด้วยความปรารถนาลามก บัญญัติข้อปฏิบัติที่ผิดแบบแผนขึ้นใหม่ เขาเหล่านั้นเป็นผู้อยากเงี่ยนและติดรส และจะเรียบเรียงพระคัมภีร์ให้มีข้อความเท็จ อันจะเป็นเครื่องยืนยัน และโต้แย้งอย่างพอเพียงสำหรับการกินเนื้อสัตว์กัน เขาจะบัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ เขาจะกล่าวข้อความที่ส่งเสริมการกินเนื้อสัตว์ เขาจะกล่าวว่าเราตถาคตได้บัญญัติไว้เรื่องนี้ เช่นนี้ และว่าเราตถาคตนับมันเข้าไว้ในสิ่งทั้งหลายที่ควรกิน และว่าพระภควันต์ก็ได้ทรงเสวยเนื้อสัตว์โดยพระองค์เอง
    แต่ โอ บัณฑิต ! เรามิได้เคยบัญญัติเนื้อสัตว์ไว้ในสูตรใดหรือกล่าวว่ามันเป็นของกิน หรือนับมันเข้าในประเภทของดีที่ควรกิน
    โอ บัณฑิต ! อริยสาวกทั้งหลาย ไม่บริโภคแม้แต่สิ่งที่คนธรรมดาชอบกิน นิยมกันว่าดี, เขาเหล่านั้นจะมาบริโภคเนื้อและเลือด ซึ่งเป็นของควรปฏิเสธได้อย่างไรเล่า? เหล่าสาวกของตถาคตเป็นผู้เดินตามแนวทางแห่งสัจธรรม คนผู้มีปัญญาเครื่องคิดค้นของตนเอง และบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายอื่นๆ (แห่งพระพุทธเจ้าองค์อื่นๆ) ก็เป็นเช่นเดียวกันเขาเหล่านั้นมิใช่ผู้กินเนื้อสัตว์ , พระตถาคตเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนๆ ก็เป็นดังนั้น...พระตถาคตเจ้าทั้งหลายมีสัจธรรมเป็นพระกายของพระองค์ ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่ด้วยสัจธรรม, ไม่ทรงดำรงกายด้วยเนื้อสัตว์ ท่านเหล่านั้นไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์อย่างใดๆ เลย พระองค์ทรงเพิกถอนความอยากในโลกกียวัตถุได้ทั้งหมดแล้ว ท่านเหล่านั้นปราศจากมลจิตอันเป็นมูลแห่งความทุกข์ ท่านเต็มเปี่ยมด้วยปรีชาญาณอันไม่ข้องขัดในอันจะหยั่งทราบสิ่งซึ่งเป็นกุศลและอกุศล ทรงทราบสิ่งทั้งปวง, เห็นแจ้งสิ่งทั้งปวง, พระองค์ทรงมองไปที่สรรพสัตว์คล้ายกับบุตรของพระองค์เอง, ทรงประกอบด้วยมหากรุณาธิคุณ โดยทำนองเดียวกันนี้ เราจะบัญญติให้สาวกของเราบริโภคเนื้อลูกของเราได้อย่างไรเล่า ? และเราเองก็จะบริโภคมันได้อย่างไรเล่า !

    พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของสรรพสัตว์จริงหรือ หรือเป็นเพียงศาสนาของมนุษย์ นักบวชในศาสนาอาจจะทำใจให้อยู่เหนือรสชาติของอาหารได้ แต่เราน่าจะมองไปที่ผู้เสียหายซึ่งคือสัตว์ที่ถูกฆ่า ว่ามันพร้อมใจให้เรากินหรือไม่
     
  6. nippitarnit

    nippitarnit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +182
    กราบ กราบ กราบ หลวงพ่อของลูกๆ สาธุ สาธุ สาธุ



    สัพเพ สังขารา อะนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
     

แชร์หน้านี้

Loading...