ปัญหาเครื่องรางของขลังและพระบรมสารีริกธาตุ โดย หลวงพ่อฤาษี

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย Ninana, 3 ตุลาคม 2012.

  1. Ninana

    Ninana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    363
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,740
    [​IMG]




    ปัญหาเครื่องรางของขลังและพระบรมสารีริกธาตุ





    ปัญหาเรื่องนี้ได้นำคำตอบของหลวงพ่อ มาเพื่อความกระจ่าง ของความหมายที่อยู่ในความรู้สึกของท่านพุทธศาสนิกชนบางท่าน ที่ยังเข้าใจไม่ครบถ้วนในความหมายของคำว่า “เครื่องรางของขลัง” ซึ่งในปัจจุบันนี้บางท่านมีความเข้าใจไปว่า พระที่ชอบแจกเครื่องรางของขลังจะทำให้คนยึดติดอยู่ในวัตถุว่าหลงใหลงมงาย

    ปัญหานี้โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา นำมาถามกันอยู่เสมอซึ่งหลวงพ่อท่านได้กรุณาอธิบายว่า

    “ความมุ่งหมายในการใช้พระคล้องคอ โดยมากพวกเรามักจะเข้าใจผิดกัน ที่พระท่านทำำพระไว้ให้คล้องคอ ก็หมายถึงว่า บุคคลใดที่มีใจเคารพในพระพุทธเจ้า มีใจเคารพในพระธรรม มีใจเคารพในพระอริยสงฆ์ แต่ทว่ามีกำลังใจที่เข้าถึงพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการ ยังอ่อนอยู่ ฉะนั้นจึงได้ทำรูปเปรียบของพระพุทธเจ้าก็ดี รูปเปรียบของพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่งก็ดี ที่เป็นที่เคารพนบถือห้อยคอไว้ ถ้าหากว่าเรานึกถึงพระท่านไม่ออกจะได้นำพระขึ้นมาดู รูปนี้เป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแนะนำให้เราปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามระบอบแห่งความดีที่เรียกกันว่า “พระธรรมวินัย”

    นี่เป็นความจริง เป็นความมุ่งหมายของผู้ทำ ต้องการอย่างนี้ หมายความว่า คนที่มีพระห้อยคอ ก็ควรจะทำใจอย่างพระหรือมิฉะนั้นคนที่มีพระห้อยคอ ก็ควรจะทำตามที่พระแนะนำให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แต่ว่าพวกเราก็กลับมาพลิกแพลง เอาพระไปตีกับชาวบ้านเขา ไปยุให้พระตีกัน

    พระที่นำมาห้อยคอนี่ พระท่านทำขึ้นมาก็ด้วยอาศัยอำนาจของพระพุทธานุภาพนะ อำนาจของพระพุทธานุภาพนี่สามารถที่จะช่วยคนที่ไม่ถึงอายุขัยให้พ้นจากอันตรายได้

    ที่เรียกว่า “พระเครื่อง” อันนี้ใช้ได้ แต่ถ้าหากจะเรียก “เครื่องรางของขลัง” อันนี้ใช้ไม่ได้ พระทุกองค์ท่านทำมาไม่ใช่ของขลัง ท่านทำมาด้วยวิชาที่เขาเรียกว่า “พุทธศาสตร์” ไม่ใช่ “ไสยศาสตร์” พุทธศาสตร์กับไสยศาสตร์มีค่าต่างกัน พวกของขลังนี่เป็นไสยศาสตร์ เขาทำมาเพื่อทำลาย สำหรับพุทธศาสตร์เขาทำมาเพื่อการสงเคราะห์ เพื่อให้บุคคลที่มีพระประเภทนี้ไว้ถ้ามีจิตใจเคารพในคุณพระรัตนตรัย ถ้าไม่ถึงอายุขัย ถ้าอันตรายของชีวิตถึงจะเกิดขึ้นก็สามารถปลอดภัยจากอันตรายนั้นได้

    (ต่อไปนี้เป็นคำตอบปัญหาของหลวงพ่อในเรื่องนี้)

    ผู้ถาม: “หลวงพ่อคะอ่านประวัติของหลวงพ่อปานแล้วมีความรุสึกว่า ถ้าเรามีวัตถุมงคลที่มีพลังสูง เช่น ยันต์เกราะเพชร ก็ดีนะคะ ตอนที่ลาว ปล่อยของมาแล้ว ของอื่นแตกหมด แต่ยันต์เกราะเพชรนี้อยู่ ไม่เป็นไร ทำให้นึกอยากได้ของที่แจ๋วๆ อย่างนั้นค่ะ”

    หลวงพ่อ: จะเอาเพชรสีอะไรล่ะ สีน้ำมันก๊าด? จะไปยากอะไร ยันต์เกราะเพชรบทเสกกับบทเขียนก็มี พระพุทธคุณ คือ อิติปิ โส บทต้น แล้วก็ทุกวันต้องบูชาด้วย อิติปิ โส ๑ จบ มีพระองค์ไหนก็เหมือนกัน หรือมีพระคล้องคอ เวลาสวด อิติปิ โส ก็นึกถึง บารมีของพระพุทธเจ้า ห้องที่สองนึกถึง บารมีพระธรรม ห้องที่สามนึกถึง บารมีพระอรหันต์ทั้งหลาย พวกบูชายันต์เกราะเพชรก็ต้องใช้บทนี้เป็นประจำ ถ้าไม่ใช้ประจำฉันก็ไม่แน่ใจว่าจะคุ้มครองได้นะ”

    ผู้ถาม: “ก็แสดงว่ายังมีวัตถุมงคลที่มีพลังสูงจริง”

    หลวงพ่อ: “มันอยู่ที่เราด้วย ทำมาให้ดีแล้ว เราดีเท่าของหรือเปล่า ถ้าเรามีความเข้มแข็งแล้วเราก็ดีเท่าของ อย่างเขาเอารถยนต์มาให้เรา เราใช้ไม่เป็น รถยนต์ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยใช่ไหม...เขาให้มาแล้วเราก็ใช้ให้ถูกทางด้วย ก่อนที่จะใช้ก็ต้องหาน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเผาอะไรพวกนี้ใช่ไหม...ก็เหมือนกัน เมื่อได้พระมาแล้ว นึกน้อมความดีของพระ นึกถึงความดีของพระ ไม่มีอะไรมาก อิติปิ โส บทเดียวพอ ทุกๆ วัน ตอนเช้าตื่นขึ้นมานึกถึงบารมี นึกถึงพระที่เรามีอยู่”

    ผู้ถาม: “บางคนห้อยพระราคาเป็นแสนก็ตาย”

    หลวงพ่อ: “ถ้าถึงวาระก็ต้องตาย ความจริงที่ให้มีพระคล้องคอ ท่านมีความหมาย ให้ทำใจเป็นพระ ว่าเราเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงสอนในหลักใหญ่ ๓ ประการ”

    ๑. สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง พวกเธอทั้งหลาย จงอย่าทำความชั่วทุกอย่าง
    ๒. กุสะลัสสูปะสัมปะทา จะสร้างแต่ความดี
    ๓. สะจิตตะปริโยทะปะนัง จงทำจิตให้ผ่องใสจากกิเลส แล้วก็ลงท้ายว่า

    เอนัง พุทธานะสาสะนัง เราขอยืนยันว่าพระพุทธเจ้าทุกองค์สอนอย่างนี้เหมือนกันหมด

    นี่ท่านต้องการทำจิตให้เป็นพระ ไม่ใช่เอาพระไปตีกับชาวบ้าน บางทีพาพระไปขโมยเขาเสียอีก พระขโมยของตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป ศีลขาดหมดแล้ว พาพระไปกินเหล้าเป็นปาจิตตีย์ พาพระไปเล่นการพนัน พระก็ถูกสึก ไมไหว ใช่ไหมคุณ

    (และปัญหาข้อสุดท้ายเรื่อง พระบรมสารีริกธาตุ)

    ผู้ถาม: “หลวงพ่อครับ กระผมมี พระธาตุ อยู่องค์หนึ่ง เราจะมีวิธีดูยังไงครับ จึงจะรู้ว่าเป็นของพระองค์จริง...?”

    หลวงพ่อ: “ฉันไม่ดูเลย ฉันคิดว่าจะบูชาอะไรก็ตาม ถ้าใจเรานึกถึงพระพุทธเจ้าก็ใช้ได้หมด จะมัวไปนั่งติดธาตุอยู่ืืำทำไม เราหาองค์ท่านไม่ดีรึ ใช่ไหม...เรามีพระบรมสารีริกธาตุอยู่ แต่ไม่นึกถึงท่านเลยจะเกิดประโยชน์อะไร
    ประโยชน์จริงๆ ก็คือว่า ถ้าเราเคารพพระพุทธเจ้าเพียงใด นั้นผลจึงจะเกิด ถ้าเรามีอยู่เราไม่เคารพ ก็ไม่มีความหมาย ดีไม่ดีจะเกิดเป็น การปรามาส เข้าอีกจะซวยใหญ่ ใช่ไหม...ว่าตรงไปตรงมานะ

    แต่ว่าถ้าเรามีอยู่จริงเราเคารพจริงก็เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวดีเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่ดี เอาอย่างนี้ดีกว่า จริงหรือไม่จริงเราก็ไหว้ เรานึกถึงพระพุทธเจ้าก็หมดเรื่อง ยังไงๆ ก็ถึงพระพุทธเจ้าแน่

    ผู้ถาม: “ถ้าหากว่าบ้านมี ๒ ชั้น แล้วเอาพระพุทธรูปไว้ข้างล่าง ถ้ามีคนเดินผ่านชั้นบนจะเป็นไรไหมคะ...?”

    หลวงพ่อ: “ไม่เป็นไรหรอก เพราะเราไม่ได้ตั้งใจปรามาส ก่อนขึ้นก็ไหว้ ขอขมาอภัยท่าน”

    ผู้ถาม: “แต่ถ้าหากเป็นพระธาตุนี่เอาไว้ชั้นล่างไม่ได้ใช่ไหมคะ...?”

    หลวงพ่อ: “มันก็ครือกัน แล้วแต่ถ้าหากว่าไม่มีความจำเป็นอะไรก็เอาไว้ชั้นบนก็ดี ใจจะได้สบาย พระพุทธรูปก็เหมือนกัน แต่ถ้าจำเป็นกรณีพิเศษเราเดินขึ้นไปโดยไม่มีใจปรามาสก็ไม่เป็นไรนะ”

    จาก หนังสือ “หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๑” หน้า ๑๑๑-๑๑๕
    หลวงพ่อพระราชพรหมยานมหาเถระ (พระมหาวีระ ถาวโร)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 ตุลาคม 2012
  2. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ

    เชิญแวะอ่านธรรมะของหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ที่
    เฟสบุ๊ค ศูนย์พุทธศรัทธา
    และร่วมกันแบ่งปันธรรมะของหลวงพ่อฯ ไปยังกระดานของท่านเพื่อเป็นธรรมทาน

    <STRONG>เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O[​IMG]
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O[​IMG]
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่www.tangnipparn.com<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา

    [​IMG]
    </O:p>
    <O:p>[FONT=border=]</O:p>[/FONT]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ตุลาคม 2012
  3. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    วันไหนลืมอาราธนาพระมาคล้องคอ
    ก็นึกถึงพระอยู่ในอก... อย่างนี้น่าจะใช้ได้
     
  4. s3515941

    s3515941 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +1,193
    "นี่ท่านต้องการทำจิตให้เป็นพระ ไม่ใช่เอาพระไปตีกับชาวบ้าน บางทีพาพระไปขโมยเขาเสียอีก พระขโมยของตั้งแต่ ๑ บาทขึ้นไป ศีลขาดหมดแล้ว พาพระไปกินเหล้าเป็นปาจิตตีย์ พาพระไปเล่นการพนัน พระก็ถูกสึก ไมไหว ใช่ไหมคุณ”


    ชอบท่อนนี้จริงๆ โดนใจดีครับ
     
  5. soft_soft

    soft_soft เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    81
    ค่าพลัง:
    +890

    อนุโมทนา เป็นอย่างสูงครับ
    ขออนุญาต พิมพ์ไว้อ่านด้วยนะครับ
     
  6. ชลกนก

    ชลกนก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +187
    หมดเลยครับที่ค้่างคาใจ แจ่มแจ้งเลย อนุโมทนา ด้วยครับ ที่นำมาลงให้ได้ความรู้
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ดูกรอานนท์ !
    บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี
    ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ
    ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๙๕/๒๖๑
     
  8. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    รูปนี้ ไม่มีใครสร้าง อัตภาพนี้ ไม่มีใครก่อ รูปเกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุ ดับไป
    เพราะเหตุดับ ฯ
    พืชชนิดใดชนิดหนึ่งที่บุคคลหว่านลงในนา ย่อมงอกขึ้นเพราะอาศัย
    เหตุ ๒ ประการ คือ รสในแผ่นดิน และยางในพืช ฉันใด ขันธ์ ธาตุ และอายตนะ ๖ เหล่านี้
    ก็เกิดขึ้น เพราะอาศัยเหตุดับไป ฉันนั้น ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕ หน้าที่ ๑๖๖/๒๘๙
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่อง
    สักการะประมาณเท่านี้หามิได้
    ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็น
    ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ
    นับถือ บูชาตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอด
    เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียก
    อย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๑๑๒/๒๖๑
     
  10. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระพุทธเจ้าไม่เคยสร้างพระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคลของคลังใดๆ
    ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้ามอบพระธรรมเป็นศาสดาแทนพระพุทธเจ้า
    ห้ามสงฆ์บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระธรรมวินัย พระพุทธเจ้าทรงอาศัยธรรม สักการะธรรม
    เคารพธรรม รูปกายของพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่ให้บูชา พระองค์ว่าเป็นรูปที่น่าเกลียด
    พระพุทธรูป เครื่องรางของขลัง พระเครืองฯ เป็นสิ่งสมมติ
    มีขึ้นหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ไม่ใช่พระธรรมวินัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2012
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สิ่งที่สูงกว่าพระเจ้าจักพรรดิและพระพุทธเจ้า

    ปัญหา พระเจ้าจักพรรดิและพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัยอะไร ในการปฏิบัติภาระหน้าที่ของพระองค์ ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักพรรดิผู้ทรงธรรมเป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษาป้องกัน คุ้มครอง กษัตริย์ผู้ตามเสด็จ กองทัพพราหมณ์ และคฤหบดีชาวนิคมและชาวชนบท สมณะและพราหมณ์ เนื้อและนก ด้วยธรรม ย่อมทรงหมุนจักรให้เป็นไปด้วยธรรมเท่านั้น จักรที่มนุษย์ ข้าศึก หรือสัตว์ใด ๆ จะหมุนไปไม่ได้ฉันใด
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงธรรมเป็นธรรมราชา ทรงอาศัยพระธรรม สักการะพระธรรม เคารพพระธรรม ยำแรงพระธรรม มีพระธรรมเป็นธง มีพระธรรมเป็นตรามีพระธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา คุ้มครอง ป้องกัน อันประกอบด้วยธรรม ไว้ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้ว ทรงหมุนจักรคือพระธรรมให้เป็นไปโดยธรรมจักรนั้น สมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนไปไม่ได้....”

    จักกวัตติสูตร
     
  12. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218
    โยมอุรุเวลา เขาเอาพระพุทธพจน์มาลงแบบนั้น ก็เป็นการถูกต้องแล้ว


    คนที่ไม่เห็นด้วย ระวังจะเป็นบาปกรรม จากการจาบจ้วงล่วงเกินในพระพุทธพจน์


    เพียงแต่โยมอุรุเวลา เขาเอาพระพุทธพจน์มาลงผิดกาลเทศะไปหน่อยเท่านั้น ความจริงถูกต้องทุกอย่างนั่นแหละ


    พระพุทธองค์ก็ไม่ได้ทรงสอนให้ยึดติดในวัตถุจริงๆ นั่นแหละ รวมถึง พิธีกรรมต่างๆ ด้วย


    แต่ สังคมไทย ก็คือ สังคมไทย ความเชื่อความนับถือใดๆ ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคล ถ้าไม่ได้ไปล่วงเกินใคร ก็ไม่เป็นไรหรอก จะห้อยพระ หรือ ไม่ห้อยพระ ก็ไม่ใช่ปัญหาหรอก


    ปัญหาอยู่ที่ มีศีล 5 และ กุศลกรรมบถ 10 หรือไม่ แค่นั้น


    เพราะสิ่งที่ป้องกันเราจากอบายภูมิได้ คือ คุณของพระรัตนตรัย และ ทาน ศีล ภาวนา เท่านั้น ไม่ใช่วัตถุใดๆ แต่ถ้านึกถึงพระก่อนตายได้ ก็ไปสวรรค์ก่อน (แต่ถ้าไม่ฝึกการเจริญพุทธานุสติ ไม่ฝึกจิตให้เจริญในกุศลธรรมมากๆ ใครจะไปนึกได้ทันก่อนที่จะตาย เพราะมัวแต่ไปจำรุ่นนั้นรุ่นนี้ ขลังแบบนั้นแบบนี้ ราคาเท่านั้นเท่านี้ เก่าใหม่แบบนั้นแบบนี้ ฯลฯ)


    มีพระห้อยคอ แต่ ไม่มีศีล 5 ไม่มีธรรมะในใจ ก็เท่านั้น


    ติดวัตถุมงคล ดีกว่า ติดวัตถุอัปมงคล


    เดินสายกลาง ดีที่สุด



    โยมอุรุเวลา ก่อนที่จะสอนคนอื่น สอนตัวเองหรือยัง ปฏิบัติตามพระพุทธพจน์ได้ถึงไหนแล้ว ละสังโยชน์ 3 ได้หรือยัง ปิดอบายภูมิได้หรือยัง จำธรรมะมากๆ รู้ธรรมะมากๆ สอนคนอื่นมากๆ ก็ยังกันอบายภูมิไม่ได้นะ ถ้าไม่ได้ปฏิบัติตามพระธรรมคำสอน เช่น ศีล 5 และ กุศลกรรมบถ 10 เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 ตุลาคม 2012
  13. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002

    พระพุทธเจ้าและผู้เสมอพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทรงทราบครับ


    กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เมตตาครับ


    ถือศีลห้า ยังไม่พ้นอบายฯ ผมทราบดีครับพระคุณเจ้า


    ผมไม่ได้สอนใครครับ ผมเอาพระพุทธพจน์มาลงคนตาดีย่อมเห็นธรรม
    ย่อมพิจารณาธรรมในธรรม รู้ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นครับ
    ผู้ไม่เห็นธรรม อาจารย์สอนผิด เขาเชื่ออาจารย์มากกว่าพระพุทธพจน์
    เขาทำบุญกุศลของเขามาเพียงนั้นครับ


    ผมปฏิบัติกุศลกรรมบถ ๑๐ ถืออุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘ ประการทุกวันพระ
    รับประทานข้าวมื้อเดียว ภาชนะเดียวเป็นปกติ บ้างวัน ผมผ่อนบ้าง ละบ้าง ตามประสาของโลกครับ
     
  14. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,077
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,669
    อนุโมทนา สาธุ หลวงพ่อฤาษี ท่าน พ. และเจ้าของกระทู้

    ขอแสดงความเห็น

    เรื่องพระพุทธรูป พระเครื่อง อยู่ที่เจตนาทั้งผู้สร้างและผู้ใช้ ถ้างมงาย ก็ได้ความงมงาย แต่ถ้าใช้เป็น อนุสสติ ก็เกิดประโยชน์มหาศาล

    อนุสติ ๖

    อนุสติ 10
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2012
  15. ผมยังเลวอยู่มาก

    ผมยังเลวอยู่มาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +539
    โมทนาที่คุณยกเอาพระพุทธพจน์มาให้อ่าน พระเจ้าท่านตรัสถูกต้องดีแล้ว แต่ขอเสริมว่าที่คุณกล่าวมาเองนั้นและเข้าใจนั้นไม่ใช่ถูกต้องเสียทั้งหมด เพราะคุณลืมเรื่อง ของเจดีย์ในพระพุทธศาสนาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานอนุญาติให้สร้างไว้ ซึ่งเจดีย์ในพระพุทธศาสนาที่พระองค์ทรงพุทธานุญาติให้สร้างขึ้นได้ แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
    1. พระธาตุเจดีย์

    คือ เจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือ พระธาตุ เช่น พระธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพ บรมบรรพต(ภูเขาทอง)วัดสระเกศ ใช้เก็บพระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุพระอรหันต์
    2. พระธรรมเจดีย์ เจดีย์เก็บบรรจุพระธรรมวินัย

    3. บริโภคเจดีย์

    คือ สถานที่หรือสิ่งของทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้งสี่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธบริขาร ฯลฯ

    4. อุเทสิกเจดีย์

    คือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัย โดยไม่มีการกำหนดรูปแบบอย่างชัดเจนโดย อันนี้แหละ สิ่งที่ทำให้ระลึกถึงพระองค์พระโบราณาจารย์ เถรานุเถระและพระอริยเจ้าทั้งหลาย จึงสร้างพระพุทธรูป พระผง พระเครื่อง พระพุทธบาท ฯลฯ เพื่อเป็น อุทสิกเจดีย์เพื่อรำลึกถึงพระพุทธองค์

    คนเราทุกคนระดับจิตใจต่างกัน พระพุทธองค์ท่านทราบเรื่องนี้ดีท่านจึงมีขั้นตอนในการสั่งสอนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปลายสุดคือพระนิพพาน แต่คนสมัยนี้ต้นมันไม่เอามันจะเอาปลายทางเลยมันก็เลยไม่เข้าใจเรื่องของระดับกำลังใจของคน สังเกตุไหมทำไมพระพุทธองค์ไม่ทรงเทศน์เรื่องการตัดกิเลศอย่างเดียวเอาแต่ธรรมล้วนๆอย่างเดียว ตรงกันข้ามพระองค์ท่านสอนตั้งแต่เรื่องอานิสงค์ของทาน ศีล ชาดก ฯลฯ นั่นก็เพราะอะไรก็ไม่ใช่เพื่อสงเคราะห์คนตามกำลังใจหรอกหรือ ขอโมทนากับข้อธรรมดีๆคับ สาธุ
     
  16. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    [๑๓๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อน พวกภิกษุผู้อยู่จำพรรษาในทิศทั้งหลายย่อม
    มาเพื่อเฝ้าพระตถาคต พวกข้าพระองค์ย่อมได้เห็น ได้เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุเหล่านั้นผู้ให้เจริญใจ
    ก็โดยกาลล่วงไปแห่งพระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์จักไม่ได้เห็น ไม่ได้เข้าไปนั่งใกล้ พวกภิกษุ
    ผู้ให้เจริญใจ ฯ
    ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา
    สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นไฉน คือ
    ๑. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระ
    ตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ
    ๒. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า
    พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ
    ๓. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า
    พระตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ
    ๔. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า
    พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้
    แลเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ
    ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า พระตถาคต
    ประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ก็ดี พระตถาคตทรงยัง
    อนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    ในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง
    ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
    [๑๓๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติในมาตุคามอย่างไร ฯ
    การไม่เห็น อานนท์ ฯ
    ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อการเห็นมีอยู่ จะพึงปฏิบัติอย่างไร ฯ
    การไม่เจรจา อานนท์ ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อต้องเจรจา จะพึงปฏิบัติอย่างไร ฯ
    พึงตั้งสติไว้ อานนท์ ฯ
    [๑๓๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ จะพึงปฏิบัติในพระสรีระของ
    พระตถาคตอย่างไร ฯ
    ดูกรอานนท์ พวกเธอจงอย่าขวนขวาย เพื่อบูชาสรีระตถาคตเลยจงสืบต่อพยายาม
    ในประโยชน์ของตนๆ เถิด จงเป็นผู้ไม่ประมาทในประโยชน์ของตนๆ มีความเพียร มีตนอัน
    ส่งไปแล้วอยู่เถิด กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตก็ดี
    ผู้เลื่อมใสยิ่งในตถาคตมีอยู่ เขาทั้งหลายจักกระทำการบูชาสรีระตถาคต ฯ
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เขาทั้งหลาย จะพึงปฏิบัติในพระสรีระของ ตถาคตอย่างไร ฯ
    ดูกรอานนท์ พึงปฏิบัติในสรีระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระสรีระ
    พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ
    ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ก็เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไร ฯ
    ดูกรอานนท์ เขาห่อพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลีแล้วห่อ
    ด้วยผ้าใหม่ โดยอุบายนี้ ห่อพระสรีระพระจักรพรรดิด้วยผ้า ๕๐๐ คู่ แล้ว เชิญพระสรีระลงในร
    างเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอื่น แล้วกระทำจิตกาธารด้วยไม้หอมล้วน ถวาย
    พระเพลิงพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิ สร้างสถูป ของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
    เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้า จักรพรรดิ ด้วยประการฉะนี้แล พวกกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตเป็นต้น
    พึงปฏิบัติในสรีระตถาคตเหมือนที่เขาปฏิบัติพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิ พึงสร้างสถูปของ ตถาคต
    ไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ชนเหล่าใดจักยกขึ้นซึ่งมาลัยของหอมหรือจุณ จักอภิวาท หรือจักยังจิต
    ให้เลื่อมใสในสถูปนั้น การกระทำเช่นนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
    แก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน ฯ
    [๑๓๔] ดูกรอานนท์ ถูปารหบุคคล ๔ จำพวก ถูปารหบุคคล ๔ จำพวกเป็นไฉน
    คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นถูปารหบุคคลจำพวก หนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
    เป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่ง สาวกของพระตถาคต เป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่ง พระเจ้าจักร
    พรรดิ เป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่ง ฯ
    ดูกรอานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จึงเป็นถูปารหบุคคล ชนเป็นอันมาก ยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นสถูปของพระผู้มีพระภาคอรหันต
    สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้ เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
    กายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลก สวรรค์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล พระตถาคตอรหันต
    สัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นถูปารหบุคคล ฯ
    ดูกรอานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงเป็น
    ถูปารหบุคคล ชนเป็นอันมากยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นสถูปของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น พวก
    เขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    เพราะอาศัยอำนาจประโยช ข้อนี้แล พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงเป็นถูปารหบุคคล ฯ
    ดูกรอานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สาวกของพระตถาคต จึงเป็นถูปารห
    บุคคล ชนเป็นอันมากยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นสถูปของสาวก ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา
    สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใส ในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
    ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล สาวกของพระตถาคตจึงเป็น
    ถูปารหบุคคล ฯ
    ดูกรอานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร พระเจ้าจักรพรรดิจึงเป็น ถูปารหบุคคล
    ชนเป็นอันมากยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นสถูปของพระธรรมราชา ผู้ทรงธรรมนั้น พวกเขายังจิต
    ให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะ
    อาศัยอำนาจประโยชน์ข้อนี้แล พระเจ้าจักรพรรดิจึงเป็นถูปารหบุคคล ดูกรอานนท์ ถูปารหบุคคล
    ๔ จำพวกนี้แล ฯ
    [๑๓๕] ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปสู่วิหารยืนเหนี่ยวไม้คันทวย ร้องไห้อยู่ว่า เรา
    ยังเป็นเสขบุคคลมีกิจที่จะต้องทำอยู่ แต่พระศาสดาของเรา ซึ่งเป็นผู้อนุเคราะห์เรา ก็จักปรินิพพาน
    เสีย ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งถาม พวกภิกษุว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์ไปไหน
    พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ท่านอานนท์นั้น เข้าไปสู่วิหารยืนเหนี่ยวไม้คันทวย
    ร้องไห้อยู่ว่า เรายังเป็นเสขบุคคล มีกิจที่จะต้องทำอยู่ แต่พระศาสดาของเรา ซึ่งเป็นผู้ อนุเคราะห์
    เรา ก็จักปรินิพพานเสีย พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งกะภิกษุรูปหนึ่งว่า เธอจงไปเถิดภิกษุ จงบอก
    อานนท์ตามคำของเราว่า ท่านอานนท์ พระศาสดารับสั่งหาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระดำรัสของ
    พระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่ใกล้ ครั้นเข้าไปหาแล้วบอกว่า ท่านอานนท์
    พระศาสดา รับสั่งหาท่าน ท่านพระอานนท์รับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ
    ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
    ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านว่า อย่าเลย
    อานนท์ เธออย่าเศร้าโศก ร่ำไรไปเลย เราได้บอกไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ
    ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรักของ ชอบใจทั้งสิ้นต้องมี เพราะฉะนั้นจะพึงได้ใน
    ของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหน สิ่ง ใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทำลายเป็น
    ธรรมดา การปรารถนา ว่าขอสิ่งนั้นอย่าทำลายไปเลย ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรอานนท์
    เธอได้ อุปัฏฐากตถาคตด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ซึ่งเป็น
    ประโยชน์เกื้อกูล เป็นความสุข ไม่มีสอง หาประมาณมิได้มาช้านาน เธอได้กระทำบุญไว้แล้ว
    อานนท์ จงประกอบความเพียรเถิด เธอจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยฉับพลัน ฯ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายพระอรหันต
    สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใด ได้มีแล้วในอดีตกาล ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคทั้งหลาย
    นั้นอย่างยิ่ง ก็เพียงนี้เท่านั้น คือเหมือนอานนท์ของเรา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใด
    จักมีในอนาคตกาล ภิกษุผู้เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคทั้งหลายนั้น อย่างยิ่งก็เพียงนี้เท่านั้น
    คือเหมือนอานนท์ของเรา อานนท์เป็นบัณฑิต ย่อมรู้ว่า นี้เป็นกาลเพื่อจะเข้าเฝ้า พระตถาคต
    นี้เป็นกาลของพวกภิกษุ นี้เป็นกาลของพวกภิกษุณี นี้เป็นกาลของพวกอุบาสก นี้เป็นกาลของ
    พวกอุบาสิกา นี้เป็นกาลของพระราชา นี้เป็นกาล ของราชมหาอำมาตย์ นี้เป็นกาลของพวกเดียรถีย์
    นี้เป็นกาลของพวกสาวกเดียรถีย์ ฯ
    [๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๔ ประการนี้ มีอยู่ในอานนท์
    อัพภูตธรรม ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุบริษัทเข้าไปเพื่อจะเห็นอานนท์
    ด้วยการที่ได้เห็น ภิกษุบริษัทนั้นย่อมยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น แม้ด้วยการ
    แสดงธรรม ภิกษุบริษัทนั้นก็ยินดี ภิกษุบริษัทยังไม่อิ่มเลย อานนท์ย่อมนิ่งไปในเวลานั้น
    ถ้าภิกษุณีบริษัท ... อุบาสกบริษัท ... อุบาสิกาบริษัทเข้าไปเพื่อจะเห็นอานนท์ ด้วยการที่ได้เห็น
    อุบาสิกาบริษัทนั้นย่อมยินดี ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกาบริษัทนั้น แม้ด้วยการแสดง
    อุบาสิกาบริษัทนั้นก็ยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่อิ่มเลย อานนท์ย่อมนิ่งไปในเวลานั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๔ ประการนี้แลมีอยู่ในอานนท์ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมน่าอัศจรรย์ ๔ ประการนี้ มีอยู่ในพระเจ้าจักรพรรดิ
    ถ้าขัตติยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยการที่ได้เฝ้า ขัตติย บริษัทนั้นย่อมยินดี ถ้าพระเจ้า
    จักรพรรดิมีพระราชดำรัสในขัตติยบริษัทนั้น แม้ด้วยพระราชดำรัส ขัตติยบริษัทนั้นก็ยินดี ขัตติย
    บริษัทยังไม่อิ่มเลย พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมทรงนิ่งไปในเวลานั้น ถ้าพราหมณ์บริษัท ... คฤหบดี
    บริษัท ... สมณบริษัท เข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยการที่ได้เฝ้า สมณบริษัทนั้นย่อมยินดี ถ้า
    พระเจ้าจักรพรรดิมีพระราชดำรัสในสมณบริษัทนั้น แม้ด้วยพระราชดำรัส สมณ บริษัทนั้นก็ยินดี
    สมณบริษัทยังไม่อิ่มเลย พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงนิ่งไปใน เวลานั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๔ ประการ มีอยู่ใน อานนท์ ฉันนั้น
    เหมือนกัน ถ้าภิกษุบริษัทเข้าไปเพื่อจะเห็นอานนท์ ด้วยการที่ได้เห็น ภิกษุบริษัทนั้นย่อมยินดี
    ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น แม้ด้วยการแสดง ภิกษุบริษัทนั้นย่อมยินดี ภิกษุบริษัท
    ยังไม่อิ่มเลย อานนท์ย่อมนิ่งไป ในเวลานั้น ถ้าภิกษุณีบริษัท ... อุบาสกบริษัท ... อุบาสิกาบริษัท
    เข้าไปเพื่อ จะเห็นอานนท์ ด้วยการที่ได้เห็น อุบาสิกาบริษัทนั้น ย่อมยินดี ถ้าอานนท์ แสดงธรรม
    ในอุบาสิกาบริษัทนั้น แม้ด้วยการแสดง อุบาสิกาบริษัทนั้นก็ยินดี อุบาสิกาบริษัทยังไม่อิ่มเลย
    อานนท์ย่อมนิ่งไปในเวลานั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๔ ประการนี้แล มีอยู่
    ในอานนท์ ฯ
    [๑๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคอย่าเสด็จปรินิพพานในเมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมืองนี้เลย นคร
    ใหญ่เหล่าอื่นมีอยู่ คือ เมืองจัมปา เมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมืองโกสัมพี
    เมืองพาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์
    มหาศาล คฤหบดี มหาศาลที่เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระตถาคต มีอยู่มากในเมืองเหล่านี้ ท่าน
    เหล่านั้น จักกระทำการบูชาพระสรีระของพระตถาคต ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ เธออย่าได้กล่าว
    อย่างนี้ว่า เมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมืองดังนี้เลย ดูกรอานนท์ แต่ปางก่อน มีพระเจ้าจักรพรรดิ
    ทรงพระนามว่ามหาสุทัสสนะ ผู้ทรงธรรม เป็น พระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มี
    มหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ
    เมืองกุสินารานี้ มีนามว่า กุสาวดี เป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ โดยยาวด้านทิศบูรพา
    และทิศประจิม ๑๒ โยชน์ โดยกว้างด้านทิศทักษิณและทิศอุดร ๗ โยชน์ กุสาวดี ราชธานีเป็น
    เมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีชนมาก มนุษย์หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ ง่าย ดูกรอานนท์ อาลกมันทา
    ราชธานีแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย เป็นเมืองที่มั่งคั่ง รุ่งเรือง มีชนมาก ยักษ์หนาแน่น และมีภิกษาหา
    ได้ง่าย แม้ฉันใด กุสาวดี ราชธานีก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นเมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีชนมาก มนุษย์
    หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ง่าย กุสาวดีราชธานีมิได้เงียบจากเสียงทั้ง ๑๐ ประการ ทั้ง กลางวัน
    และกลางคืน คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียง
    ขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงประโคม และเสียงเป็นที่ ๑๐ ว่า ท่านทั้งหลายจงบริโภค จงดื่ม
    จงเคี้ยวกิน จงไปเถิดอานนท์ เธอจงเข้าไปใน เมืองกุสินารา แล้วบอกแก่พวกเจ้ามัลละเมือง
    กุสินาราว่า ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย พระตถาคตจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้ พวก
    ท่านจงรีบออกไปกัน เถิดๆ พวกท่านอย่าได้มีความร้อนใจในภายหลังว่า พระตถาคตได้ปรินิพพาน
    ในคามเขตของพวกเรา พวกเราไม่ได้เฝ้าพระตถาคตในกาลครั้งสุดท้าย ท่านพระอานนท์ทูลรับ
    พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปในเมืองกุสินาราลำพังผู้เดียว
    สมัยนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ประชุม กันอยู่ที่สัณฐาคารด้วยกรณียกิจบางอย่าง ลำดับนั้น
    ท่านพระอานนท์เข้าไปยัง สัณฐาคารของพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ครั้นแล้วได้บอกแก่พวกเจ้า
    มัลละเมืองกุสินาราว่า ดูกรวาสิฏฐะทั้งหลาย พระตถาคตจักเสด็จปรินิพพานในปัจฉิมยาม แห่ง
    ราตรีในวันนี้ พวกท่านจงรีบออกไปเถิดๆ พวกท่านอย่าได้มีความร้อนใจใน ภายหลังว่า พระ
    ตถาคตได้ปรินิพพานในคามเขตของพวกเรา พวกเราไม่ได้เฝ้า พระตถาคตในกาลเป็นครั้งสุดท้าย
    พวกเจ้ามัลละกับโอรส สุณิสาและปชาบดีได้ สดับคำนี้ของท่านพระอานนท์แล้ว เป็นทุกข์เสีย
    พระทัย เปี่ยมไปด้วยความทุกข์ใจ บางพวกสยายพระเกศา ประคองหัตถ์ทั้งสองคร่ำครวญอยู่
    ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมา ดุจมีบาทอันขาดแล้ว ทรงรำพันว่า พระผู้มีพระภาคจักเสด็จปรินิพพาน
    เสียเร็วนัก พระสุคตจักเสด็จปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลก จักอันตรธานเสีย
    เร็วนัก ฯ
    ครั้งนั้น พวกเจ้ามัลละกับโอรส สุณิสา ปชาบดี เป็นทุกข์เสียพระทัยเปี่ยมไป
    ด้วยความทุกข์ใจ เสด็จเข้าไปยังสาลวันอันเป็นที่แวะพักของเจ้ามัลละ ทั้งหลาย เสด็จเข้าไปหา
    ท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์ได้มีความดำริว่า ถ้าเราจักให้พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา
    ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทีละองค์ๆ พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราจักมิได้ถวายบังคมพระผู้มีพระ
    ภาคทั่วกัน ราตรีนี้จักสว่างเสีย ถ้ากระไร เราควรจะจัดให้พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคโดยลำดับสกุลๆ ด้วยกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้ามัลละมีนามอย่างนี้
    พร้อมด้วยโอรส ชายา บริษัทและอำมาตย์ ขอถวายบังคมพระบาท ทั้งสองของพระผู้มีพระภาค
    ด้วยเศียรเกล้า ฯ
    ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จัดให้พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราถวายบังคม พระผู้มี
    พระภาคโดยลำดับสกุล ด้วยกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้ามัลละ มีนามอย่างนี้ พร้อม
    ด้วยโอรส ชายา บริษัท และอำมาตย์ ขอถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วย
    เศียรเกล้า โดยอุบายเช่นนี้ ท่านพระอานนท์ ยังพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ให้ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคเสร็จโดยปฐมยามเท่านั้น ฯ
    [๑๓๘] ก็สมัยนั้น ปริพาชกนามว่า สุภัททะ อาศัยอยู่ในเมืองกุสินารา สุภัทท
    ปริพาชกได้สดับว่า พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรี ในวันนี้แหละ สุภัทท
    ปริพาชกได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ก็เราสดับถ้อยคำของพวก ปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์
    และปาจารย์กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราว
    พระสมณโคดมจัก ปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ อนึ่ง ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้
    ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่เราก็มีอยู่ เราเลื่อมใสในพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ย่อมสามารถ
    จะแสดงธรรมแก่เรา โดยประการที่เราจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ฯ
    ลำดับนั้น สุภัททปริพาชกเข้าไปยังสาลวันอันเป็นที่แวะพักของพวกเจ้า มัลละเข้าไป
    หาท่านพระอานนท์ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้สดับถ้อยคำของพวก
    ปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์ กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จะอุบัติในโลก ในบางครั้ง บางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้
    แหละ อนึ่ง ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าก็มีอยู่ ข้าพเจ้าเลื่อมใสในพระสมณ
    โคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าโดย ประการที่ข้าพเจ้าจะพึง
    ละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ข้าแต่ท่านอานนท์ ขอโอกาส เถิด ข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม
    เมื่อสุภัททปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวตอบสุภัททปริพาชกว่า อย่าเลย
    สุภัททะ ท่านอย่า เบียดเบียนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคทรงลำบากแล้ว แม้ครั้งที่สอง
    สุภัททปริพาชก ... แม้ครั้งที่สาม สุภัททปริพาชกก็ได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้สดับ
    ถ้อยคำของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์ กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันต
    สัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก ในบางครั้งบางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยาม
    แห่งราตรีในวันนี้แหละอนึ่ง ธรรมเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้าก็มีอยู่ ข้าพเจ้า
    เลื่อมใสใน พระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมย่อมสามารถจะแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้าโดย
    ประการที่ข้าพเจ้าจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ขอโอกาสเถิด
    ข้าพเจ้าควรได้เฝ้าพระสมณโคดม แม้ครั้งที่สาม ท่านพระอานนท์ ก็ได้กล่าวตอบสุภัททปริพาชก
    ว่า อย่าเลย สุภัททะ ท่านอย่าเบียดเบียนพระตถาคต เลย พระผู้มีพระภาคทรงลำบากแล้ว
    พระผู้มีพระภาคทรงได้ยินถ้อยคำท่านพระอานนท์เจรจากับสุภัททปริพาชก ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค
    จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า อย่าเลยอานนท์ เธออย่าห้ามสุภัททะ สุภัททะจงได้เฝ้า
    ตถาคต สุภัททะจักถามปัญหา อย่างใดอย่างหนึ่งกะเรา จักมุ่งเพื่อความรู้ มิใช่มุ่งความเบียดเบียน
    อนึ่ง เราอันสุภัททะถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความอันใดแก่สุภัททะนั้น สุภัททะจักรู้ทั่วถึงข้อ
    ความนั้นโดยฉับพลันทีเดียว ฯ
    ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้บอกสุภัททปริพาชกว่า ไปเถิดสุภัททะ พระผู้มีพระภาค
    ทรงทำโอกาสแก่ท่าน สุภัททปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว
    ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควร
    ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์เหล่านี้ใด เป็นเจ้าหมู่
    เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี
    คือบูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครณฐนาฏ
    บุตร สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ได้ตรัสรู้ตามปฏิญญาของตนๆ หรือว่าทั้งหมดไม่ได้ตรัสรู้
    หรือว่าบางพวกไม่ได้ตรัสรู้ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่าเลย สุภัททะ ที่ข้อถามนั้นงดเสียเถิด ดูกรสุภัททะ
    เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว สุภัททปริพาชก
    ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัย
    ใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓
    หรือสมณะที่ ๔ ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ ๑
    ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ ในธรรม
    วินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง ก็ภิกษุ
    เหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
    [๑๓๙] ดูกรสุภัททะ เราโดยวัยได้ ๒๙ ปี บวชแล้ว ตามแสวงหาว่า อะไรเป็นกุศล
    ตั้งแต่เราบวชแล้ว นับได้ ๕๑ ปี แม้สมณะผู้เป็นไปในประเทศแห่งธรรมเป็นเครื่องนำออก ไม่มี
    ในภายนอกแต่ธรรมวินัยนี้ ฯ
    สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔ ก็มิได้มี ลัทธิอื่นว่างจากสมณะ ผู้รู้ทั่วถึง
    ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
    [๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภัททปริพาชก ได้กราบ ทูลว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง
    นัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิดบอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีป
    ในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดย
    อเนกปริยาย ฉันนั้น เหมือน กัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์
    ว่าเป็นสรณะข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาค ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสุภัททะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา หวัง
    อุปสมบท ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน เมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุ ทั้งหลายเต็มใจแล้ว
    จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้ ฯ
    สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวัง
    บรรพชา หวังอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือนเมื่อล่วงสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว
    จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความ เป็นภิกษุไซร้ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี
    เมื่อล่วงสี่ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบทเถิด ฯ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเช่น
    นั้น เธอจงให้สุภัททปริพาชกบวชเถิด ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของ พระผู้มีพระภาคแล้ว
    สุภัททปริพาชกได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูกรท่านอานนท์ ผู้มีอายุ เป็นลาภ
    ของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระศาสดาทรงอภิเษกด้วยอันเตวาสิกา ภิเษก ในที่เฉพาะพระพักตร์
    ในพระศาสนานี้ สุภัททปริพาชกได้บรรพชา อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค ก็ท่านสุภัทท
    ปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความ
    เพียร มีตนส่งไปแล้วอยู่ ไม่ช้านานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่
    กุลบุตร ทั้งหลายผู้มีความต้องการ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญา อันยิ่ง
    ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จ
    แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ท่านสุภัททะได้เป็นอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์
    ทั้งหลาย ท่านเป็นสักขิสาวกองค์ สุดท้ายของพระผู้มีพระภาค ฯ
    จบภาณวารที่ห้า
    [๑๔๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์
    บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี
    ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ
    ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ดูกรอานนท์ บัดนี้
    พวกภิกษุยัง เรียกกันและกันด้วยวาทะว่า อาวุโส ฉันใด โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ไม่ควรเรียกกัน
    ฉันนั้น ภิกษุผู้แก่กว่า พึงเรียกภิกษุผู้อ่อนกว่า โดยชื่อหรือโคตร หรือโดยวาทะว่า อาวุโส แต่
    ภิกษุผู้อ่อนกว่าพึงเรียกภิกษุผู้แก่กว่าว่า ภันเต หรืออายัสมา ดูกรอานนท์ โดยล่วงไปแห่งเรา
    สงฆ์จำนงอยู่ ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างได้ โดยล่วงไป แห่งเรา พึงลงพรหมทัณฑ์แก่
    ฉันนภิกษุ ท่านพระอานนท์กราบทูลถามว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ก็พรหมทัณฑ์เป็นไฉน
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ ฉันนภิกษุพึงพูดได้ตามที่ตนปรารถนา ภิกษุทั้งหลาย
    ไม่พึงว่า ไม่พึงกล่าว ไม่พึง สั่งสอน ฯ
    [๑๔๒] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ความสงสัยเคลือแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือในข้อปฏิบัติ จะพึงมี
    บ้างแก่ภิกษุ แม้รูปหนึ่ง พวกเธอจงถามเถิด อย่าได้มีความร้อนใจภายหลังว่า พระศาสดาอยู่
    เฉพาะหน้าเราแล้ว ยังมิอาจ ทูลถามพระผู้มีพระภาคในที่เฉพาะพระพักตร์ เมื่อพระผู้มีพระภาค
    ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นพากันนิ่ง แม้ครั้งที่สอง ... แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาครับสั่ง
    กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ในมรรค หรือในข้อปฏิบัติจะพึงมีบ้างแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง พวกเธอจงถามเถิด อย่าได้มีความ
    ร้อนใจในภายหลังว่า พระศาสดาอยู่เฉพาะหน้าเรา แล้ว เรายังมิอาจทูลถามพระผู้มีพระภาคในที่
    เฉพาะพระพักตร์ แม้ครั้งที่สามภิกษุ เหล่านั้น ก็พากันนิ่ง ฯ
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายบางทีพวกเธอ
    ไม่ถาม แม้เพราะความเคารพในพระศาสดา แม้ภิกษุผู้เป็นสหาย ก็จงบอกแก่ภิกษุผู้สหายเถิด
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุพวกนั้น พากันนิ่ง ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบ
    ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เลื่อมใส
    ในภิกษุสงฆ์อย่างนี้ว่า ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือ
    ใน ข้อปฏิบัติ มิได้มีแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร อานนท์
    เธอพูดเพราะความเลื่อมใสตถาคตหยั่งรู้ในข้อนี้เหมือนกันว่า ความสงสัย เคลือบแคลงใน
    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในมรรค หรือในข้อปฏิบัติ มิได้มีแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ในภิกษุ
    สงฆ์นี้ บรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ภิกษุรูปที่ต่ำที่สุด ก็เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็น
    ผู้เที่ยงมีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ
    [๑๔๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
    เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาท
    ให้ถึงพร้อมเถิด ฯ
    นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ หน้าที่ ๙๕/๒๖๑

    เดินสายกลาง เดินสายกลางเดินตามใครครับ?

    ผมเดินสายกลางครับ เดินตามทางเก่าที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ สังเวชนียสถานมี ๔ แห่ง พระพุทธเจ้าตรัสไว้มีแค่นี้ ก็มีแค่นี้ครับ นอกเหนือจากที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้าครับ ถ้าบอกว่าเป็นคำสอนของพระสงฆ์ก็ใช่ครับ แต่ผมยึดคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก คำสาวกผมก็ฟังครับ ฟังแล้ว ใคร่ครวญแล้วพระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส ผมวางทิ้งครับ
     
  17. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    มีด้วยหรือ ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า


    เปิดใจให้กว้างกว่านี้หน่อยนะ โยมอุรุเวลา


    คนมีหลายประเภท หลายระดับ พระพุทธองค์ก็ได้ทรงทำการเปรียบเทียบไว้ให้แล้ว ว่า คนมี 4 ประเภท ดังมีปรากฏในพระไตรปิฎก


    ครูบาอาจารย์บางองค์ที่โยมกำลังพาดพิงและทำการวิจารณ์ ท่านก็ต้องมีความดีของท่าน มีกุศโลบายของท่าน มีครูบาอาจารย์ที่เป็นหน่อพุทธภูมิ เป็นพระอริยเจ้า จำนวนไม่น้อยเลย ที่เมตตาอนุเคราะห์ในเรื่องของวัตถุมงคล เพราะท่านเล็งเห็นซึ่งประโยชน์ในทางธรรม คือ ความเป็นอนุสติ เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ นี่แหละ แต่สิ่งที่ท่านมุ่งเน้น ก็คือ ธรรม นั่นแหละ


    เปลือก ก็คือ เปลือก ผู้มีปัญญา ย่อมแยกแยะได้


    ผู้ขาดปัญญาทางธรรม ยังแยกแยะไม่ได้ ก็ต้องให้โอกาสเขา จะเป็นไรไป


    เป็นชาวพุทธ มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน นับเป็นสิ่งที่ดี มิใช่หรือ


    เมื่อก่อน อาตมาเอง ก็ติดในวัตถุมงคลมาก่อน ปัจจุบันนี้ปล่อยวางหมดสิ้น แต่ก็ไม่เคยห้ามใคร ไม่เหยียดหยามดูหมิ่นดูแคลนสติปัญญาวาสนาบารมีของผู้ใด


    เมื่อถึงเวลา ศรัทธาจะพัฒนาไปสู่ปัญญา ด้วยตัวของตัวเองนั่นแหละ


    การชี้แนะผู้อื่น ถ้าเขาไม่เชื่อเรา ก็ควรจะยุติด้วยอุเบกขาธรรม เพื่อป้องกันการเกิดอกุศลจิตอกุศลกรรมต่อกัน ยิ่งนำพระพุทธพจน์มาลง มาใช้ต่อคนที่ยังมีกิเลส คนที่ยังยึดติดอยู่ คนที่ไม่รู้ เขาก็อาจปรามาสในพระพุทธพจน์เอาได้


    เราต่างหาก ที่ควรระมัดระวังในการนำเอาพระพุทธพจน์มาแสดง


    พระพุทธเจ้า เวลาที่พระองค์จะทรงสอนใคร ก็ดูพื้นฐาน ดูอุปนิสัย ดูจริตอัธยาศัย ดูวาสนาบารมีของผู้ฟังก่อน ไม่ใช่จะแสดงธรรมแบบสุ่มสี่สุ่มห้า


    พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น มีหลายระดับ ไม่ใช่จะเอาแต่พระธรรมชั้นสูงมาแสดงอย่างพร่ำเพรื่อได้ ควรรู้จัก สัปปุริสธรรมทั้ง 7 ประการด้วย คือ รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาล รู้จักชุมชน และ รู้จักบุคคล ธรรมที่นำมาแสดง จึงจะได้ประโยชน์


    ขอธรรมอันแท้ที่เกิดจากปัญญาญาณ มิใช่เกิดจากสัญญาความจำ จงเกิดขึ้นในจิตของโยมอุรุเวลาเทอญ


    ละสังโยชน์ 3 ให้ได้ แล้วใจจะเป็นสุข จะเข้าใจในพระธรรมของพระพุทธเจ้ามากกว่านี้ และยังมีพระธรรมที่สูงกว่า ประเสริฐกว่านี้ รออยู่ ซึ่งไม่ได้อยู่ในตำรา ให้ค้นหาเอา ว่าอยู่ที่ใด


    ยิ่งกว่า การเข้าใจ คือ การเข้าถึง


    ขอเจริญพร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2012
  18. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    คุณอุรุเวลา คงไม่เห็นด้วยกับเรื่องพระเครื่องกระมัง

    ซึ่งก็ไม่แปลก เพราะคนที่ไม่เห็นด้วยส่วนใหญ่ที่ผมรู้
    ไม่ใช่พระอริยเจ้าเลย

    พระอริยเจ้าท่านข้ามเรื่องพระเครื่องไปแล้ว
    ท่านกราบพระพุทธรูปได้สนิทใจ
    เพราะท่านไม่ติดในรูป

    การไม่ติดในรูปนั่นแหละจึงจะเข้าใจเรื่องพระพุทธรูปและพุทธานุสสติ

    พวกที่ติดในรูปก็จะมีปัญหากับรูป

    ส่วนเรื่องพุทธพจน์บทพระบาลี...
    เป็นการตู่พระพุทธองค์โดยแท้
    พึงระวังนะครับ

    จะนำพุทธพจน์ลงมา ต้องมั่นใจจริงๆว่าพระพุทธเจ้าตรัสตอบเรื่องนั้นๆ
     
  19. ธรรมรังสี

    ธรรมรังสี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2011
    โพสต์:
    189
    ค่าพลัง:
    +2,218

    พระพุทธเจ้าออกบวช โยมออกบวชตามพระพุทธเจ้าได้ไหมละ


    พระพุทธเจ้ามีพระสัพพัญญุตญาณ โยมมีพระสัพพัญญุตญาณไหมละ


    ทางสายกลาง ก็คือ มัชฌิมาปฏิปทา


    แต่ก็ขึ้นอยู่กับ วาสนาบารมีของแต่ละบุคคลด้วย


    พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบังคับใคร ว่าต้องสำเร็จอรหันต์ในชาตินี้ สำเร็จพระโสดาฯ ก็ยังได้ หรืออย่างน้อยที่สุด ก็เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นปุถุชนที่ดี เป็นอุบาสกอุบาสิกาที่ดี มีความศรัทธาในคุณพระรัตนตรัยบ้าง พระพุทธองค์ก็ทรงยอมรับแล้ว และนั่นก็เป็นสายกลางของเขาแล้ว


    สายกลางของอาตมา รับรองว่า โยมอุรุเวลาทำตามไม่ได้แน่


    อดอาหารครั้งละ 7 วัน ฉันแต่น้ำเปล่า หรือ เดินจงกรม 12 ชั่วโมง นั่งสมาธิ 8 ชั่วโมง (เป็นบางวัน ไม่ใช่ทุกวัน) นอกนั้น ทำกิจของสงฆ์


    แม้กระนั้น อาตมาก็ไม่เคยกะเกณฑ์ผู้หนึ่งผู้ใดให้มาทำตาม เพราะเข้าใจในระดับของพระธรรม และ ทางสายกลาง ของใครของมัน นี่แหละ


    สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง อาตมาก็ไปมาครบทุกแห่งแล้ว แต่เวลาเจริญภาวนา อาตมาเจริญที่จิต ไม่ใช่สถานที่ จึงไม่มีปัญหากับสถานที่ใดๆ จะเป็น สังเวชนียสถาน หรือ ที่ไหนๆ อาตมาก็ภาวนาได้ ไม่เลือกกาลสถานที่


    พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ดีอยู่แล้ว ประเสริฐอยู่แล้ว อยู่ที่ปัญญาของคนต่างหาก ว่าจะถึงหรือไม่


    ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตรัสเอาไว้ โยมอุรุเวลาจะไม่เอาด้วย แล้วโยมอุรุเวลามาใช้คอมฯ ทำไมละ ทิ้งไปเลยสิ ภาษาไทย พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงใช้ ทรงใช้ภาษาบาลี โยมอุรุเวลาก็เขียนเป็นภาษาบาลีมาเลยสิ จะใช้ทำไมภาษาไทย พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนซะหน่อย


    คำของพระสงฆ์ ถึงจะไม่ใช่พระพุทธพจน์ แต่ก็มองข้ามไปไม่ได้ดอก


    คำของพี่ชาย ถึงจะไม่ใช่ของพ่อของแม่ ก็ควรฟังเอาไว้บ้าง และในเมื่อพ่อแม่ หรือ พระพุทธเจ้า ไม่อยู่แล้ว การศึกษาพระธรรมวินัย อันเป็นเสมือนศาสดาแทนองค์พระพุทธเจ้า ก็ต้องละเอียดรอบคอบด้วย จะนำมาแสดงหรือนำมาใช้ ก็ต้องรู้จักระมัดระวัง ศึกษาแนวทางของพระพุทธองค์ให้ดี ก่อนที่จะนำเอาพระธรรมของพระองค์ท่านมาใช้


    โยมอุรุเวลายึดเฉพาะคำสอนของพระพุทธเจ้า แล้วทำตามได้ทุกเรื่องหรือ หรือแค่เอาพระพุทธพจน์ไว้ข่มคนอื่น แต่ตนเองก็ยังไปไม่ถึงไหน กดหัวคนอื่น เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี ภาคภูมิใจว่า ตัวฉันนี้รู้ดีรู้มากที่สุด
     
  20. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,489
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เมตตาครับ ผมบวชมาแล้วครับ บวชตามประเพณี บวชแบบไม่รู้ มีความตั้งใจไว้ว่าจะบวชอีก ได้หรือไม่อยู่ที่บุญวาสนาครับ

    ผมไม่ได้มองข้ามคำของพระสงฆ์ครับ พระคุณเจ้ากล่าวไว้ถูกต้องแล้วครับ พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงใช้ภาษาไทย และพระพุทธเจ้าทรงห้ามพระสงฆ์แสดงธรรมภาษาอื่น ให้แสดงพุทธวัจน์เป็นภาษาเดิม ผมเข้าใจว่าเป็นภาษามคธ ผมศึกษาพระไตรปิฏก ผมศึกษาจากไทย(บาลีสยามรัฐ) ไปบาลี(บาลีสยามรัฐ) ทำให้เข้าใจว่าทำไม พระพุทธเจ้าไม่ให้ใช้ภาษาอื่น เหมือนแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยครับ ความลึกของคำขาดหายไปครับ ผมอ่านพระสูตรภาษาไทยจบ ก็ชอบอ่านภาษาบาลีไปด้วยครับ บางคำแปลไม่ได้แต่ก็ชอบอ่านครับ

    พระคุณเจ้าปฏิบัติดีแล้วครับ ผมเป็นฆราวาสเป็นทางแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี มีกิจมาก มีภาระมาก ปฏิบัติไม่ได้เหมือนพระคุณเจ้าเป็นแน่ครับ ผมเป็นฆราวาสสั่งสมสุตะไป เวลาปฏิบัติน้อย ผมเอาคำของพระพุทธเจ้ามาโพสต์ ไม่ได้บังคับให้ใครเชื่อครับ แล้วแต่บุญวาสนาของผู้นั้นครับ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เชื่อคำของพระองค์ แต่พระองค์ให้จดจำธรรมให้นำธรรมไปปฏิบัติ รู้เห็นได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่น แล้วคำของอาจารย์จะให้ผมเชื่อเลยได้อย่างไร คำของอาจารย์ขัดกับพุทธวัจน์ ผมฟังครับ แต่ผมไม่เอามาใคร่ครวญ ผมวางทิ้งครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...