ปาฏิหาริย์ กับ ความเชื่อ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Apinya Smabut, 26 สิงหาคม 2019.

  1. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,397
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,628
    ถาม : การเกิดศาสนาของอิสลาม ที่เชื่อถือในพระเจ้า เป็นเพราะการเห็นอะไรบางอย่างของศาสดาด้วยหรือเปล่า?
    ตอบ : ด้วย ตรงส่วนนั้นเลย เพราะคนเราส่วนใหญ่จะเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์และอัศจรรย์ก่อน แล้วหลังจากนั้นปัญญาที่เกิดจากการปฏิบัติก็ตามมา

    ถาม : พระเยซูแสดงปาฏิหาริย์ไม่กี่ครั้ง
    ตอบ : ไม่กี่ครั้งซะเมื่อไร ขนมปังสามก้อนเลี้ยงคนทั้งเมือง คนเจ็บไข้ได้ป่วยมาแตะตัวก็หายจากโรค

    ถาม : ทางคริสต์เขาจะเชื่อปาฏิหาริย์ของพระเจ้าเขามาก แต่ทางพุทธก็ยังมานั่งงงว่าปาฏิหาริย์จริงหรือเปล่า
    ตอบ : ส่วนหนึ่งพยายามที่จะใช้ปัญญา แต่บังเอิญว่าเป็นโลกียปัญญา จึงได้บอกว่าถ้าไม่ประกอบด้วยตถาคตโพธิสัทธา เรื่องอื่นก็จะไม่ตามมา เราต้องเชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าก่อน ว่าท่านรู้จริงเห็นจริง ที่หลวงพ่อวัดท่าซุงสอนมโนมยิทธิแก่พวกเราก็เพื่อพิสูจน์ตรงจุดนี้ ว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นจริงตามนั้น

    ที่มา วัดท่าขนุน
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,076
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    [​IMG]

    [​IMG]

    [262] จริต หรือ จริยา 6 (ความประพฤติปกติ, ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่ง อันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน, พื้นเพของจิต, อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน — intrinsic nature of a person; characteristic behavior; character; temperament)
    ตัวความประพฤติเรียกว่า จริยา บุคคลผู้มีความประพฤติอย่างนั้นๆ เรียกว่า จริต
    1. ราคจริต (ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม — one of lustful temperament) กรรมฐานคู่ปรับสำหรับแก้ คือ อสุภะและกายคตาสติ
    2. โทสจริต (ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด — one of hating temperament) กรรมฐานที่เหมาะ คือ พรหมวิหารและกสิณ โดยเฉพาะวัณณกสิณ
    3. โมหจริต (ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางเขลา เหงาซึมเงื่องงง งมงาย — one of deluded temperament) กรรมฐานที่เกื้อกูล คือ อานาปานสติ และพึงแก้ด้วยมีการเรียน ถาม ฟังธรรม สนทนาธรรมตามกาลหรืออยู่กับครู
    4. สัทธาจริต (ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย — one of faithful temperament) พึงชักนำไปในสิ่งที่ควรแก่ความเลื่อมใส และความเชื่อที่มีเหตุผล เช่น พิจารณาอนุสติ 6 ข้อต้น
    5. พุทธิจริต หรือ ญาณจริต (ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปในทางใช้ความคิดพิจารณา — one of intelligent temperament)
    6. วิตกจริต (ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางนึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน — one of speculative temperament) พึงแก้ด้วยสิ่งที่สะกดอารมณ์ เช่น เจริญอานาปานสติ หรือเพ่งกสิณ เป็นต้น

    Ndi 359,453;
    Ndii 138;
    Vism.101 ขุ.ม. 29/727/435; 889/555;
    ขุ.จู. 30/492/242;
    วิสุทธิ. 1/127.


    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
    http://84000.org/tipitaka//dic/d_item.php?i=262
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,076
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    อนุสสติ10 ประกอบด้วย
    1. พุทธานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงพระพุทธเจ้า และพิจารณาถึงคุณของพระองค์ 9 ประการ
    2. ธัมมานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงพระธรรม และพิจารณาถึงคุณของพระธรรม 6 ประการ
    3. สังฆานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงพระสงฆ์ และพิจารณาถึงคุณของพระสงฆ์ 9 ประการ
    4. สีลานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงศีล พิจารณาศีลที่ตนได้ปฏิบัติ ประพฤติอย่างบริสุทธิ์
    5. จาคานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงสิ่งที่ตนได้บริจาคแล้ว พิจารณาถึงคุณธรรมที่ตนได้เสียสละแล้ว
    6. เทวตานุสสติ หมายถึง การระลึกถึงเทวดาที่ตนได้ยินได้ฟังมา พิจารณาถึงคุณธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา




    7. มรณัสสติ หมายถึง การระลึกถึงความตายที่จะมีมาถึงตน พิจารณาให้เกิดความไม่ประมาท
    8. กายคตาสติ หมายถึง การระลึกถึงเกี่ยวกับร่างกาย พิจารณาความเป็นอนัตตาว่าอย่าหลงใหลในความไม่แน่นอน ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน
    9. อานาปานสติ หมายถึง การระลึกโดยการกำหนดลมหายใจเข้าออก
    10.อุปสมานุสสติ หมายถึง การระลึกถึง นิพพาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...