ปุจฉา-วิสัชนา พระอริยเจ้าสายพระป่าธรรมยุติ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 20 ตุลาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ในขนบธรรมเนียมของศาสนาพุทธ การสอนการอบรมศาสนาพุทธเป็นของพระโดยเฉพาะหรือ ฆราวาสสอนได้หรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ศาสนาพุทธเป็นพื้นฐานของความดีที่มีอยู่ในโลกทั้งหมด ถ้าหากใครต้องการดี ไม่ว่าพระและฆราวาสสอนได้ทั้งนั้น แต่บุคคลผู้สอนนั้นมีกิเลส เมื่อสอนเข้าแล้วจึงเป็นเหตุให้เข้าข้างตัว เช่นพระพุทธเจ้าสอนให้งดเว้นฆ่าสัตว์ บางศาสนาสอนว่าฆ่าสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของหวงแหนไม่เป็นบาป พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงใจคนมีใจจึงทำบาปเป็นบาป เจตนาคือใจของผู้นั้นเป็นอกุศลอยู่แล้วจะเป็นสัตว์ที่มีเจ้าของอยู่แล้วหรือไม่ก็ตายย่อมเป็นบาปอยู่นั่นเอง หรือสอนว่าเวลาฆ่าสัตว์นั้นไปเกิดในสวรรค์อย่างนี้เป็นต้น แต่ใจของเราเป็นนรกอยู่ไม่อยากไปสวรรค์สักที ฉะนั้นผู้มีใจอยากพ้นจากความชั่วพระสอนได้ทั้งนั้น คนเรามีใจหรือไม่ รู้จักใจหรือเปล่า
    ผู้อื่นตอบแทน เขานับถือศาสนาคริสต์อย่างมั่นคง เวลาเข้าโบสถ์ศาสนาคริสต์หัดภาวนาด้วยโดยพยายามทำความสงบสัก ๕ นาที จึงเข้าใจว่าทุกศาสนาสอนให้เข้าถึงจุดเดียวกันเหตุนั้นจึงอยากทราบวิธีอบรมภาวนา
    ท่านอาจารย์ นั่นคือวิธีอบรมภาวนาแล้ว จงเจริญให้มาก ทำให้มากให้ชำนาญเถิด จะเกิดความรู้อย่างอัศจรรย์ขึ้นมาในนั้นเอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ก่อนที่จะฝึกภาวนาได้ต้องมีครูบาอาจารย์หรือเปล่า</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ต้องมีเราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้านี่เราปฏิบัติไม่มีครูบาอจารย์อาจจะผิดได้ แต่ทั้งที่มีครูอาจารย์ยังผิดได้เลยบางทีปฏิบัติไปๆ อาจมีควาเห็นผิดเกิดขึ้น แล้วเข้าใจว่าเป็นคำสอนของพุทธเจ้าก็มีความเห็นคนอื่นเป็นอื่นเป้นผิดไปหมด แล้วจากลัทธินั้นออกมาตั้งเป็นนิกายขึ้นเรื่องมีมากจึงควรระวังตัวให้ดีอย่าทำโดยไม่มีครูอาจารย์ จะผิดไปใหญ่ ผิดแล้วแก้ยาก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ถ้าเข้าใจถึงโลกุตตระ ถ้ามีอภินิหารหรือมีญาณเกิดขึ้นเราจะหยิบมาใช้ หรือจะให้มันทรงไว้อย่างนั้นเฉยๆ </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> อย่าไปพูดถึงเรื่องนั้นก่อนเลย แค่โลกียะยังทำให้ไม่ได้เวลาได้จริงๆ เข้าก็จะรู้ด้วยตนเอง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เรื่องดีเรื่องชั่วมีอยู่ทั่วไป แต่ว่าบางสังคมอาจจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น การฆ่าสัตว์ถือว่าเป็นความดี เมื่อสังคมเขาเข้าใจกันอย่งนี้จะทำให้เขาเข้าใจได้อย่างไรว่าเรื่องนี้เป็นความชั่วไม่ใช่ความดี</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ความนิยมไปตามสังคมแล้วแต่เขาจะนิยม แต่หลักความดีที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นมีเครื่องวัดอยู่ว่า ถ้าหากทำอะไรลงไปเป็นเรื่องเบียดเบียนตนทำคนอื่นลำบากก็ดีทั้งเบียดเบียนตนและคนอื่นก็เหมือนกัน อันนั้นเป็นของไม่ดีที่เราเข้าใจว่าดีมันเข้าข้างตัวเอง ถ้าหากเราเอาหลักอันนี้มาวัดแล้ว เรียกว่าความดี ในหลักพุทธศาสนาจะไม่กระทบความคิดความเห็นของใครทั้งหมดในโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ผมเป็นคนขี้กลัว ทำอย่างไรจึงจะหายกลัว</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ยอมตายก็หายกลัว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลานั่งภาวนาบางทีก็ ๑๐ นาที ๒๐ นาที หรือเป็นชั่วโมงก็เกิดภาพขึ้นมา ภาพที่เกิดไม่ใช่ความนึกคิดขึ้นมา มันเป็นภาพเฉยๆ บางทีก็เป็นภาพอวกาศ บางทีก็เป็นภาพคนแก่ และอาจจะมีภาพอะไรต่างๆ กฺดขึ้น การเกิดภาพต่างๆนี้เป็นปรากฎการณ์ของการเริ่มต้นภวนาหรือย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> พูดเรื่องการภวนาเสียก่อน ต่อเนื่องมาจากปัญหาแรกการภาวนานั้นมิได้หมายเอาอะไรมากมาย หมายความว่าเราทำใจให้สงบเพ่งพิจารณาเฉพาะความเกิดดับ คือเป็นสภาพตามเป็นจริง ถ้าหากใจไม่สงบก็ไม่เห็นความเป็นจริงทั้งๆ ที่ความเกิด ความดับของเรามีอยู่ในตัวของเรา นี่คือความมุ่งในการภาวนา อย่าไปเข้าใจว่า มันพิสดารกว่านั้น ส่วนที่มันจะพิสดารจิตมันจะละเอียดขนาดไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนภาพที่จะเกิดขึ้นมาอย่างที่ถามนี้มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งแล้วแต่บางคน บางคนก็เป็นบางคนก็ไม่เป็น ภาพที่เกิดขึ้นมานั้น บางคนจิตรวมนิดเดียวภาพก็ปรากฎ บางคนรวมยิ่งไปกว่นั้นมันก็ไม่มี อันภาพนั้นไม่เป็นปัญหาให้เห็นว่าเป็นเครื่องวัดความสงบ ให้เข้าใจแค่นั้นก็พอแล้วอย่าไปส่งตามภาพ น้อมเข้ามาหาใจคือผู้ที่ไปเห็นภาพนั้นอย่าไปเอาภาพนั้นเป็นอารมณ์ เมื่อเราจับใจผู้ไปเห็นภาพแล้วภาพก็จะหายไปเอง เราก็จะได้หลักภาวนาที่ดียิ่งขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> สมมุติว่าก่อนเรานั่งภาวนาเราทราบว่าอีก ๒-๓ วันเราจะไปที่นั้นหรือที่โน้น เวลานั่งภาวนาเห็นสถานที่นั้น และส่งใจไปตามนิมิตนั้นสามารถที่จะทำให้อนาคตเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ถ้าจิตของเรายังไม่ทันแน่นอนมันส่งส่าย ยังไม่มีอำนาจไม่สามารถจะเปลี่ยนสภาพนั้นได้ เพราะยังไม่มีกำลังพอที่จะเปลี่ยนได้ ถ้าจะได้ดีอยู่ที่เสียก่อน ให้จิตแน่วแนเต็มที่ไม่มีภาพอดีตอนาคตมีพลังเต็มที่แล้ว ถ้าหากจะใช้เราก็น้อมเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพอันนั้นอาจจะเป็นไปได้ในบางกรณีแล้วแต่บุคคล</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> บุคคลที่เห็นภาพนิมิตจะเจริญภาวนาได้ดีกว่าบุคคลที่ไม่เห็นภาพนิมิตหรือเปล่า</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ภาพต่างๆมันเป็นของจริงบ้างไม่จริงบ้าง เพราะจิตเรารักษาความสงบไม่เข้าถึงที่ สัญญา สังขาร มันปรุงก่อนเสียฉะนั้นผู้มีภาพมักจะติดภาพนั้นจึงภาวนาไม่ดีเท่าที่ควร</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ถ้าหากว่าคนที่มีความชำนิชำนาญในการภาวนา คนนั้นสามารถจะให้ความรู้เกิดขึ้นแก่คนอื่นได้หรือไม่ หรือว่าความรู้ต้องเกิดกับตัวเขาเอง</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ก็สามารถละซี อย่งพระพุทธเจ้าท่านรู้เห็นแล้วสาวกทั้งหลายท่านรู้เห็นแล้วเข้าใจตามเป็นจริงแล้วจึงสอนคนอื่น ให้เห็นตามแต่ว่าจะไปดลบันดาลให้คนอื่นเห็นตามไม่ได้ จะทำให้คนอื่นเกิดความรู้โดยมิได้สั่งสอนอะไรแก่เขาผู้นั้นเลยไม่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลาหัดทำภาวนาจะทำอย่างไรจึงจะทราบว่าทำถูกทางหรือไม่ พระพุทธเจ้ามีหลักสอนอย่างไรที่จะให้ทราบว่าเราทำถูกทาง</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ที่จะเข้าใจว่าถูกหนทางหรือผิดนั้นเราจะสังเกตได้ว่า ถ้าเรามาพิจารณาน้อมมาในตัวของเรา เพื่อชำระกายเพื่อชำระใจของตนนั้นจึงถูกหนทางพระพุทธเจ้าสอนให้เราชำระกาย วาจา และใจ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> บางคนภาวนาเพื่อจะได้ฤทธิ์ได้ปาฏิหาริย์ บางคนภาวนาแล้วปาฏิหาริย์มาเอง เมื่อเราพยายามหัดภวนาเพื่อจะได้ปาฏิหาริย์จะถูกต้องหรือไม่ หรือต้องให้ปาฏิหาริย์มาเอง</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เรื่องปาฏิหาริย์เป็นสิ่งอัศจรรย์คนชอบ แต่ก็หาได้เป็นไปตามประสงค์ทุกคนไม่ เพราะเรื่องปาฏิหาริย์โดยมากมันเป็นไปตามนิสัยวาสนาบารมีที่เคยสร้างสมอบรมมาแต่ก่อน ถ้าหากบารมีไม่มีแล้วจะหัดเท่าไรๆ ก็ไม่เป็นไปไม่ได้ ในทางพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ปฏิเสธ แต่ก็ไม่ทรงสอนทางนั้น สอนให้ละความชั่ว ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาด ส่วนปาฏิหาริย์นั้น บางท่านบางองค์จิตใจบริสุทธิ์สะอาดเต็มที่แต่ไม่มีปาฏิหาริย์ เมื่อมีปาฏิหาริย์ขึ้นมาท่านก็ชม เมื่อไม่มีปาฏิหาริย์ท่านก็ไม่ว่า</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ฉันอาหารเนื้อจะเป็นเหตุให้การภาวนาไม่ดีอย่างพวกโยคี เขาถือกัน เรื่องนี้จะมีข้อเท็จจริงอย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> มันก็มีส่วนอยู่บ้างอาหารบางอย่างซึ่งมันแสดงกับโรค เมื่อฉันเข้าไปแล้วก็ทำให้ไม่สบายบางทีเนื้อนั้นโรคของเบาคนยังต้องการอยู่ ไม่ได้รับประทานเนื้อ ภาวนาไม่ได้ มีส่วนเกี่ยวข้องกันเหมือนกัน ถ้าหากกำลังใจกล้าเพียงพอยอมสละทุกขณะ ไม่เห็นแก่ร่างกาย จิตใจมันเหนือแก่ร่างกายแล้วทอดทิ้งหมด ก็ไม่มีอุปสรรคอะไรในการภาวนา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> พวกโยคีเขาสอนว่าเวลาเราฆ่าสัตว์ เมื่อสัตว์กำลังจะตายภายในใจของมันมีความกลัว ความโกรธ และความเจ็บปวด เพราะฉะนั้นเนื้อสัตว์นั้นมันมีอาการของส่วนเกี่ยวเนื่องกับความกลัว ความโกรธ ดังนั้นเมื่อเรารับประทานเนื้อสัตว์นั้นก็เป็นผลทำให้เราโกรธ เรากลัว เราเป็นทุกข์ เรื่องนี้จริงหรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> อาจารย์ สัตว์เวลามันจะตายจะต้องมีความกลัว ความโกรธ ความเจ็บปวดเขาบอกว่ามีสารเคมีชนิดหนึ่งเข้าไปปนอยู่ในเนื้อสัตว์ด้วย คนกินเข้าไปจะต้องมีความกลัว ความโกรธและเจ็บปวด นี้เป็นความเห็นของพวกมังสวิรัติ หากสารเคมีเมื่อถูกความร้อนของไฟแล้วก้ยังไม่สลายตัว ยังคงอยู่ มนุษย์เรากินเนื้อสัตว์เข้าไปแล้วถ่ายออกมาเป็นผักเป็นหญ้าเป็นพืชผลต่างๆ แม้แต่น้ำธรรมดาๆ คนทั้งหลายพร้อมทั้งพวกมังสวิรัติกินเข้าไปก็จะต้องกลัว ต้องโกรธ และเจ็บปวดไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเมื่อยังมีการบริโภคอยู่ก็ทำที่สุดแห่งการพ้นทุกข์ไม่ได้
    โยคีเป็นนักคิดค้น คือยังไม่บรรลุถึงนิพพาน ยังไม่สิ้นสุดอาสวะกิเลสก็เลยคิดค้นที่เรียกว่า จินตมย ปัญญา หมุนไปจนเลยขอบเขต พระพุทธเจ้าได้ศึกษาและทรงทำตามมาแล้วถึง ๖ พรรษา ที่เรียกว่าทุกรกิริยาและทรงปฏิบัติแล้วทุกลัทธิไม่เป็นไปเพื่อสำเร็จมรรคผลและนิพพานทรงทราบเรื่องทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้และเห็นว่าอันนั้นมันไร้สาระจึงมาปฏิบัติภายในใจจึงสอนให้ปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางกลางๆ ให้ฉันเนื้อที่ปราศจาก ๓ ประการดังนี้ ได้เห็นเขาฆ่าเพื่อภิกษุ ๑ ได้ยินว่าเขาฆ่าเพื่อภิกษุ ๑ และสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อภิกษุ ๑ เพราะชีวิตพระเป็นอยู่ได้ด้วยคนอื่น ถ้าหากว่าไปฉันเจเสียแล้วก็คนส่วนมากไม่รับประทานเจ ตกลงก็ไปไหนไม่รอด มันอยู่ใน บังคับแต่นี่พระเข้าได้หมด เขาฉันเจก็ฉันได้ เขาฉันเนื้อก็ฉันได้ นี่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา พระองค์เห็นแล้วพระองค์จึงบัญญัติอย่างนี้ คือบัญญัติด้วยความรู้ไม่ใช่บัญญัติด้วย ความคิด คือทดสอบฝึกฝนอบรมมาแล้วด้วย และเป็นของจริงด้วย พวกที่บัญญัติมังสวิรัติ บัญญัติแล้วปฏิบัติกันมาจนปานนี้ ก็ยังไม่ปรากฎมีใครบรรลุมรรคผลนิพพานสักคนเดียว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีการตัดเส้นบริหารร่างกาย</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ก็ไม่มีปัญหาอะไร การตัดเส้นเป็นการบริหารร่างกาย การเดินจงกรม การเปลี่ยนอิริยาบถทั้ง ๔ ก็เป็นการตัดเส้นไปในตัวคือหัดสติให้อบรมสมาธิไปในตัวใน อิริยาบถทั้ง ๔ ไม่ใช่จะนั่งแต่ท่าเดียว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เคยรู้จักนักภาวนาคนหนึ่งซึ่งหัดไปๆ เลยกลายเป็นบ้า นี่คงเป็นเพราะเดินผิดหนทางใช่หรือไม่ จึงทำให้เป็นบ้าหรือเป็นเพราะกรรมของเขา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> การหัดภาวนาในทางที่ถูกไม่เป็นไปเพื่อเสียจริต ยิ่งหัดเข้าไปก็ยิ่งทำให้คนมีสติปัญญามีความสงบเสงี่ยมเรียบร้อบสุภาพขึ้น ถ้าหากว่าไม่ถูกหนทาง หัดภาวนา ไปบางทีมันอาจจะเกิดภาพนิมิตตื่นตระหนกตกใจ แล้วกลัวส่งออกไปภายนอก ไม่ได้น้อมเข้ามาภายในใจของเรา นั่นอย่างหนึ่งเสียได้เหมือนกันอีกอย่างหนึ่งนั้นคนนั้นอาจเป็นโรคประสาทอยู่ก่อนแล้วก็ได้ เมื่อทำความเพียรภาวนาก็เลยเกิดมโนภาพหลอกขึ้นมา ทำให้กลัว แล้วตกอกตกใจเลยหวาดหวั่นไหวตั้งสติไม่อยู่ หรืออีกนัยหนึ่งจะเรียกว่ากรรมก็ถูก ถ้าทางที่ถูกแล้วไม่มีเสียคนที่เป็นเช่นนั้นมิใช่เป็นง่ายๆ คนนับล้านๆ จะเกิดเป็นบ้าสักคนเดียวก็กลัวเสียแล้ว ส่วนคนเมา เหล้า เมากาม เป็นบ้ากันอยู่ทุกวันนี้ ไม่กลัวกันเลย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> การพิจารณาทางฌาน กับการพิจารณาทางสมาธิต่างกันอย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> อาจารย์ ผู้เพ่งพิจารณาแต่เรื่องฌาณบางทีไปเห็นแต่อสุภะหรือโครงกระดูกเข้าเลยไปติดอยู่แค่นั้น ไม่อยากพิจารณาเรื่องอื่นต่อไป ผู้มีปัญญาเห็นโทษทุกข์ความเกิด แม้แต่รับประทานอาหารอยู่ก็เป็นทุกข์ เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้จิตย่อมหน่ายในความเกิด เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัดในยินดี ในภาพความเกิดและภพชาติต่อไปฌานกับสมาธิการเพ่งพิจารณาผิดแผกกันอย่างนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เท่าที่เคยได้รับการอบรมมาและจากการที่ได้อ่านพบในหนังสือเกี่ยวกับเรื่องภาวนา และตามความเข้าใจเองว่าการภาวนาต้องกำหนดอารมณ์อันเดียว เช่น กำหนดลมหายใจแต่ขณะที่กำหนดลมหายใจนั้นจะต้องรู้สิ่งแวดล้อมไว้ด้วย และสิ่งแวดล้อมนั้นจะต้องไม่มารบกวนการภาวนานั้นด้วยโดยที่จะกำหนดได้ทั้งสองอย่างด้วยในขณะเดียวกัน</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> อารมณ์เดียวหมายความว่า ไม่ต้องคิดไม่ต้องทำ ความรู้สิ่งแวดล้อม ไม่ต้องส่งออกไป จึงจะเรียกว่าอารมณ์อันเดียว ให้วางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ให้เหลือออันเดียวจริงๆ ถ้าหากยังไปกำหนดสิ่งแวดล้อมอยู่ก็จะเป็นปรกติธรรมดาเหมือนกับไม่ได้ภาวนา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เข้าใจว่าเมื่อใจสงบถึงที่สุดแล้วจึงจะได้รับเสียงที่เบาที่สุดเพราะได้รับการสั่งสอนอบรมมาอย่างนั้น</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ยังไม่ถูก ยิ่งสงบเท่าไร เสียงก็ยิ่งสงบจนหายไปเลย ไม่ปรากฎ ณ ที่นั่น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> จากการภาวนาที่ให้กำหนดแต่ลมหายใจนี้ ในครั้งแรกจะทำให้มีความรู้สึกต่างๆในกาย เมื่อความรู้สึกนั้นเกิดขึ้นก็ไปกำหนดที่ความรู้สึกนั้น เมื่อความรู้สึกหายไปก็กลับมา กำหนดที่ลมหายใจใหม่สับเปลี่ยนกันไปเช่นนั้นจะเป็นการทำที่ถูกต้องหรือไม่ หรือปล่อยวางความรู้สึกอันนั้นเสีย มุ่งแต่เฉพาะลมหายใจนั้นแต่อย่างเดียวสองอย่างนี้อย่างไหนจะเป็นผ่ายถูกต้อง</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ให้พยายามตัดออกไป เรื่องอื่นที่เกิดขึ้นให้พยายามสละเสีย คือตัดออกไปเสียเพราะต้องการจะให้อยู่ในจุดเดียวเพ่งพิจารณาอยู่ที่ผู้รู้แต่อย่างเดียว ทั้งลมและความรู้สึกก็จะหายไป แล้วจะคงเหลือแต่ผู้รู้อย่างเดียว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ได้ภาวนาโดยกำหนดเอาอานาปานสติ เวลาลมละเอียดขึ้นมักจะมีอารมณ์อย่างอื่นเข้ามาแทรกอยู่เสมอ รู้สึกว่า การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก นี้บางทีก็เป็นอุปสรรคในการเจริญภาวนา ดังนั้นเวลาลมหายใจละเอียด ควรที่จะปล่อยหรือควรที่จะกำหนด</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> อาจารย์ กำหนดไม่ถูกความจริงนั้นถ้าหากลมมันละเอียดลงไปแล้ว เราตามลมละเอียดลงไป ที่อารมณ์อื่นจะมาแทรกนั้น ไม่มีเราจับลมนั้นได้จนกระทั่งลมมันละเอียดน้อมไปตาม ความละเอียดของลมอารมณ์อื่นก็จะไม่มีที่จะเข้ามาแทรกจนกระทั่งมันละเอียดเต็มที่แล้วมันวางเอง วางลมอันนั้นแล้วเข้าไป ไปอยู่ในอารมณ์อันหนึ่งของมันต่างหากมีความรู้สึกเฉพาะของมันต่างหากนั้นจึงเรียกว่าละเอียด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เมื่อกำหนดลมหายใจละเอียดที่สุดจนปล่อยวางลมหายใจ ตอนนั้นลมหายใจมันมีหรือไม่ ถ้าเราอยากจะสัมผัสลมหายใจ เราจะสามารถสัมผัสได้หรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ในตอนนั้นเกือบจะไม่มีความรู้สึกลมปรากฎ ถ้าหากสติเราไม่ละเอียดก็คล้ายกับเหมือนไม่มีในตอนนั้น ถึงแม้จะไม่ปรากฎลมแต่ลมยังระบายตามร่างกายถ้าจิตละเอียด ลมก็ละเอียดบางท่านบางองค์ไม่ปรากฎทางจมูกเลย แต่ว่าลมมันระบายทางร่างกาย ตามขุมขนได้อยู่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลากำหนดลมหายใจบางทีลมหายใจละเอียดมากจนบางที เห็นลมหายใจเกิดขึ้นแล้วดับไป บางทีก็มีอารมณ์ เกิดขึ้นพร้อมกับลมหายใจเกิดขึ้นแล้วดับไปพร้อมกับลมหายใจ อยากจะทราบว่าอย่างนี้ถูกต้องหรือเปล่า</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ถูกเหมือนกันแต่มันยังไม่ทันละเอียดจนวางลม เมื่อลมหายใจละเอียดอ่อนลงไป อารมณ์อะไรมาแทรกนิดเดียวมันก็ปรากฎ เห็นชัดขึ้นมา ถูกเหมือนกัน แต่มันยังไม่ทันละเอียดถึงกับวางลม ถ้าละเอียดเต็มที่หายหมด ลมนี้ก็จะไม่ปรากฎเลยเหตุที่วางไม่ลงเพราะยังไป เข้าใจว่าอันนั้นมันเป็นของดี แต่ก็ต้องให้ทำอย่างนี้อยู่เรื่อยไป มันจะวางของมันเอง วางลม แล้วก็ไม่รู้จะไปยึดอะไรมันเลย วางไม่ลงตรงนั้นแหละู่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> แล้วจะแก้ไขได้อย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> แก้ไขอย่างนี้ พอลมละเอียดเข้าแล้วอย่าไปเอาลมมาเป็นอารมณ์ให้จับเอาจิตผู้ไปพิจารณาลมนั้น ก็จะว่างเปล่าจากอาการใดหมด จิตก็จะรวมเข้าเป็นหนึ่ง จะไม่มีอาการใดทั้งหมด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ก่อนที่จะนั่งภาวนาทำใจให้สบายเสียก่อน แล้วกำหนดรู้ว่าตนเองเวลานี้กำลังนั่งภาวนาอยู่ ประมาณ ๑๐-๑๕ นาที มีความรู้สึกสบาย มีความสุขทั้งกายและใจแล้วความรู้สึก นั้นก็หายไปมีแต่ความว่างในใจ เป็นอยู่ประมาณ ๕-๑๐ นาทีแล้วค่อยรู้สึกตัวพร้อมทั้งรู้สึกสุขสบายที่กายและใจปรากฎขึ้นอีก มีความเข้าใจว่าเวลาภาวนาก็ต้องมีอารมณ์เราจะต้องมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะพิจารณา ถ้าหากวางอย่างที่เป็นอยู่และปล่อยให้มันเยือกเย็นสบายจะถูกต้องหรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> การที่อธิบายมาทั้งหมดนั้นถูกต้องดีแล้ว แต่ที่ปล่อยวางให้มันเยือกเย็นอยู่เฉยๆ นั้นยังไม่ถูกต้องดีนัก เพราะสมาธิต้องมีอารมณ์อันใดอันหนึ่งเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว จึงจะมั่นคงดี ในที่นี้ขอยึดเอากายเป็นอารมณ์ คือให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่เป็นนิจ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ความรู้สึกที่เข้าถึงเอกัคคตารมณ์นั้นเป็นอย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ความรู้สึกปล่อยวางว่างอยู่ของมันนั้นแหละเรียกว่า เอกัคคตารมณ์แต่ ถ้ารวมวูบเข้าไปแล้วรู้ตัวอยู่แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนเป็นเอกัคคตาจิต หรือภวังคจิต
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลานั้นรู้อยู่ว่าเหมือนกับเราอยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบ แต่รู้ว่ามีตัวเรากับมีที่อยู่เท่านั้น</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ใช่ นั้นเป็นความรู้ด้วยตนเองว่าไม่มี แต่มันยังมีอยู่ เรียกเอกัคคตาจิต ไปพูดให้คนอื่นฟังไม่รู้เรื่อง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> คนที่ไม่ชำนาญในเรื่องภาวนา ขณะที่กำลังภาวนามีเสียงอะไรมารบกวน ทำให้กำหนดลมกายใจไม่ได้ จิตใจเกิดวอกแวก ทำอย่างไรถึงจะแก้ให้หายได้ จะต้องพยายามให้อารมณ์อยู่ที่ลมหายใจหรือว่าภาวนาแล้ว กำหนดเอาเสียง</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ให้กำหนดลมหายใจอย่างเดียว เสียงไม่ต้องกังวลให้สละปล่อยวางเลยให้แยกว่านั้นเป็นภัย เป็นอันตรายแก่ภาวนาให้แน่วอยู่ในอารมณ์อย่างเดียว คือลมหายใจไม่ต้องไปคำนึงถึงมัน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ได้รับคำอธิบายว่าถ้าไปอยู่ในที่สงบสงัดก็จะสามารถกำนหดลมหายใจได้สะดวกกว่าที่จะอยู่ในที่มีสิ่งแวดล้อม อันก่อให้เกิดเสียงได้ หรือว่าจะทำได้ในสิ่งแวดล้อมทั้งสอง</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เสียงนั้นมิใช่ว่าจะเป็นคนทั้งหมด บรรดาเสียงทั้งหลายไม่ว่าจะเสียงสัตว์ เสียงคน หรือเสียงอะไร ต่ออะไร ย่อมเป็นเสียงทั้งหมดอยู่ที่ไหนๆ ก็มีเสียงเหมือนกัน ที่จะไม่ให้ได้ยินเสียงเพื่อจะปล่อยวางธุระได้ก็ด้วยใจยอมสละทิ้งปล่อยวางให้อยู่ ณ ที่หนึ่งต่างหาก จิตจะต้องอยู่ที่ลมอย่างเดียวมันจะหายไปเอง ถ้าจิตแวบลงแล้ว ก็จะไม่มีเสียงใดๆทั้งสิ้น เสียงนั้นไม่ใช่มันไม่มี มันมีอยู่แต่จิตมันไม่ได้เข้าไปยึดเหมือนกับเราดูหนังสือที่เราชอบใจหรือดูภาพยนต์หรือดูอะไรก็ตามที่เราชอบใจ ติดใจ ยินดีในเรื่องนั้นๆ คนอื่นจะมาเรียกหรือใครจะทำอะไรก็ตาม มันไม่มารบกวนเลยเสียงก็อยู่ตามสภาพของมัน หากจิตลงแน่วแน่ในอันเดียวแล้ว เสียงก็จะไม่รบกวนมิใช่มันหายไปใจมันอยู่ในอารมณ์อันเดียวต่างหาก จิตจะไม่ถูกรบกวนเลยเด็ดขาด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> สมัยนี้เสียงมันมาก สารพัดเสียงที่จะเกิดขึ้น น่าจะกำหนดเสียงมากว่าลมหายใจ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ก็เพราะเสียงมากนะซี ถ้ากำหนดเสียงมันก็จะไม่หายสักที เพราะเสียงมากนั่นแหละจึงต้องกำหนดลมหายใจ เพื่อไม่ให้เสียงมันรบกวนเดี๋ยวจะเป็นโรคประสาทตายกันหมด เราชำระเสียงแต่เข้าไปอยู่ในเสียง ยากที่จะเอาชนะมันได้กำหนดลมหายใจไม่ไปยึดเอาเสียงมา เป็นอารมณ์ จึงจะชำระเสียงได้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> การทำภาวนาจะต้องทำกสิณก่อนหรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ไม่ต้องทำกสิณก็คือการทำจิตให้อยู่ในจุดเดียวเหมือนกัน เราพิจารณาอานาปานสติ ให้จิตอยู่ในอารมณ์อันเดียว อยู่ในพวกกสิณเหมือนกัน การทำกสิณต้องไป ทำวงกลมให้มันลำบากเปล่าๆ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เข้าใจว่า ถ้าจะไม่สนใจในสิ่งแวดล้อมเลย บางทีอาจเกิดอันตรายก็ได้ เช่นอาจถึงกับตายมีคนมาฆ่าเอาก็ได้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> อย่างนั้นยังไม่เรียกว่าภาวนา ยังไม่เข้าถึงภาวนา ยังพาวนอยู่ พาวนกลัวตายอยู่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> จะต้องจุดธูปเทียนบูชาพระในวันพระหรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ไม่ว่าวันพระหรือวันปรกติธรรมดา ดอกไม้ธูปเทียนเป็นอามิสบูชา ถ้าหากว่าไม่มี มันจำเป็นก็แล้วไป ดอกไม้ธูปเทียนเป็นเครื่องบูชา อย่าประมาทเป็นการดี คือทำตั้งแต่หยาบไปหาละเอียด ถ้าหากไม่มีก็จำเป็น การทำเป็นประจำคือว่าทำทุกครั้งก่อนจะหลับนอนด้วยความเลื่อมใสเคารพนับถือย่างนิ่ง จะเป็นประโยชน์ให้อยู่เย็นเป็นสุข ตลอดถึงการทำมาหากินก็จะเจริญ งอกงาม นอนก็หลับสนิทและตื่นง่าย มีประโยชน์หลายอย่าง นี่เป็นเบื้องต้น หัดให้เป็นนิสัย ถ้าหากวันใดไม่ทำพลั้งเผลอตะไม่สบายใจ ทำแล้วทำให้สบายใจจึงควรทำประจำเป็นิจ
    การหัดภาวนารักษาศีล หรือรักษาสัจจะ ความซื่อสัตย์ สุจริต ตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเรียกว่า "ปฏิบัติบูชา" การที่มีดอกไม้ ธูปเทียนกราบไหว้บูชานี้เรียกว่า "อามิสบูชา" ทั้งสองอย่างนี้เป็น ผลประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้นจึงว่าไม่ควรประมาทควรได้ทำเป็นนิจการมีชีวิตอยู่วันหนึ่งๆ ควรทำผลประโยชน์อย่าได้ขาด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ทุกข์นั้นเป็นอย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เอาไฟจี้ดูซี กระโดดโหยงเลย นั้นทุกข์แล้ว มันทนไม่ไหว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> มายาคืออะไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> มายาคือของไม่จริง อย่างตัวของเรานี่ แท้ที่จริงมันไม่ใช่คน มันเป็นเครื่องหลอกว่าจริง ความจริงมันเป็นวัตถุธาตุที่ประกอบขึ้นมาเป็นตัวคน แล้วก็ต้องแปรปรวนสลายไปตามเดิม วัตถุธาตุนั้นปรากฎขึ้นมาแล้วก็จะแปรสภาพไปตามเดิม ไม่ใช่ของจริง เรียกว่า มายา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ตามคำสอนของศาสนาฮินดูว่า สิ่งมีชีวิตเป็นของเจริญเติบโตก้าวหน้าไปเรื่อยๆ อยากทราบว่า ตามหลักพุทธศาสนามีว่าอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้เพราะตามหลักทางศาสนาฮินดู ใช้คำว่าอาดมัน หรืออัตตา แปลว่าเจริญก้าวหน้า แต่ทางพุทธศาสนาสอนอนัตตา เป็นที่แตกต่างกันอย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ทางศาสนาฮินดู พูดถึงเซลล์มันเจริญเติบโตและเปลี่ยนสภาพไปในตัว คือว่าเจริญแต่ศาสนาพุทธถือว่าการที่เจริญนั้นมีเสื่อมไปในตัวมิใช่ว่าจะเจริญแต่ศาสนาพุทธถือว่าการที่เจริญนั้นมีเสื่อมไป มีอันอื่นมาแทน อันนั้นก็คือ อนัตตา คือสิ่งที่ไม่ถาวรเรียกว่า อนัตตาไม่ใช่ของไม่มี ของมีแต่ไม่มีสาระเรียกว่า อนัตตา เขาถือว่านั่นแหละความเจริญ อย่งคนเราที่เกิดมานี้ นับตั้งแต่เป็นเด็กเติบโตขึ้นมาจนเป็นผู้ใหญ่เขาเรียกว่า เจริญ แต่ตามหลักธรรมเรียกว่าเสื่อมไปหาตาย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ท่านอาจารย์พานั่งภาวนา พร้อมทั้งอบรมธรรมนำก่อน

    จิตเป็นของอันเดียวไม่ใช่ของมาก เรามาอบรมภาวนาก็คือเราต้องการเข้าถึงจิตอันเดียวคือ เข้าถึงถึงจิตเดิมนั่นเอง จิตเป็นของเร็วที่สุดตามไม่ทันที่ว่าจิตมากเพราะไปวิ่งตามมันเหมือนกับเงา ถ้าไปวิ่งมันวิ่งด้วย ถ้าหยุดแล้วมันก็หยุดด้วยเรา

    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> หัดภาวนาครั้งแรกรู้สึกฟุ้งซ่านมากหาความสงลไม่ได้ทุกข์ เวทนาก็มากหาความสบายมิได้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ไม่ว่าใครทั้งหมดเรื่องภาวนาไม่ใช่ของเป็นง่ายๆ คนที่เป็นเองเรียกว่า วาสนาสูงส่งที่สุด โดยมากที่อยากจะมาภาวนาก็เพราะเห็นทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้แหละต้องฝ่าฝืนอุปสรรคบากบั่น เพื่อจะให้พ้นทุกข์ คือหัดทำความสงบ ถ้าไม่เห็นทุกข์อย่างนี้แล้ว ไม่มีใครอยากภาวนาให้พ้นจากทุกข์เลย ภาระมีกันทุกคน แม้แต่พระ อย่างเราๆ เห็นกันอยู่นี่แหละก็มีภาระ พระพุทธเจ้า ยิ่งมีภาระยิ่งกว่านี้อีก ไม่มีใครสักคนที่ไม่มีภาระปัญหาประจำชีวิตฆราวาส เป็นอย่างหนึ่งของพระเป็นอีกอย่างหนึ่งมีเท่าๆกันนั่แหละ แต่พระพุทธเจ้า หรือผู้รู้ทั้งหลายท่านทำแล้วสละทิ้งได้ไม่ข้อง อารมณ์นั้นๆ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> การพิจารณาส่วใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ถ้าไม่ชัดควรกลับมากำหนดลมหายใจดีหรือว่าควรพิจารณาไตรลักษณ์ดี</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ให้วกกลับมาพิจารณาลมหายใจให้สงบเสียก่อนจึงจะพิจารณาพระไตรลักษณ์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ก่อนที่จะทำความสงบได้จะต้องพิจารณากายเสียก่อนเสมอจะเป็นไปได้หรือไม่ถ้าหากจะเข่าความสงบเลย โดยปล่อยวางเฉยๆ ไม่พิจารณาอะไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ได้แต่ต้องอาศัยความชำนาญก่อนให้พิจารณากายให้ชำนาญเสียก่อน มันจึงจะมีหลัก ถ้าปล่อยวางเฉยๆอีกหน่อยมันจะไม่มีหลักยึดเสื่อมได้ง่าย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> บางครั้งเวลาพิจารณากายอยู่เกิดไฟเผาจนไม่มีอะไรเหลือรู้สีกว่าชัดเจนเหลือเกิน</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> นั่นเป็นปฏิภาคนิมิต อย่าไปถือเอาเป็นจริงเป็นจังเลย ขอให้ถือเพียงเป็นเครื่องวัดของจิตเท่านั้นก็พอแล้ว คือแน่วแน่เป็นสมาธิแล้วจึงเกิดแต่มิใช่เกิดทั่วไปเป็นได้แต่บุคคลเท่านั้นบางคนจิตจะสงบเท่าไรๆ ก็ไม่เกิด </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> บางครั้งเดินภาวนาอยู่เห็นน้องสาวกำลังเดินจงกรม ไฟลุกไหม้เผาเสื้อผ้าของผู้นั้นหมดแต่เขาหาได้มีความร้อนรนเพราะถูกไฟเผาไหม้ นี่เป็นเพราะเหตุอะไร หมายความว่าอย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> คนพิสดาร เห็นโน่นเห็นนี่แล้วก็เพลินไปตาม ไม่มีอะไรเป็นนิมิตรภาวนาเฉยๆ ไฟเผาร่างกาย ถ้าจะอธิบายก็กิเลสเผากายแต่มันไม่ร้อนแสดงถึงไม่กระทบใจนั่นเอง</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> มีอุปทานมากในการเห็นโน่นเห็นนี่บางครั้งออกจากภาวนาแล้วจิตใจยังไปครุ่นคิดแต่นิมิตที่เห็นอยู่ ไม่ยอมปล่อยทิ้งง่ายๆ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ไม่เข้ามาดูใจตน คือไมเข้าไปดูผู้ที่ไปเห็น ถ้าจับอันนี้ได้แล้วมันก็วาง จิตตอนนี้มันกำลังสบาย เห็นโน่นเห็นนี่ยิ่งชอบใจ เลยลืมน้อมเข้าหาตัวเอง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> บางครั้งอยากจะจับจิตเข้าไปในขวด</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ส่งออกนอกแล้วไม่ได้ การหาใต้องหาภายในซิ ผู้รู้กับสิ่งที่ไปรู้ไปเห็นมันเป็นคนละอย่างกัน ให้จับเอาตัวรู้ผู้เห็นนั่นแหละจึงจะถูก สิ่งที่รู้ที่เห็นนั้นจะหายหมด</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ขณะนี้เข้าใจดี ถ้าหากมีอะไรเกิดขึ้นจะรีบไปภาคอีสาน</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ถ้าหากไปไม่ทันแล้วจะว่าอย่างไร การภาวนาต้องพึ่งตนเอง การที่จะหวังพึ่งคนอื่นมันจะไหวหรือ หัดพึ่งตนเองให้ได้ในปัจจุบันเดี๋ยวนี้แหละจึงเรียกว่า ภาวนามีหลัก ถ้ายังพึ่งตนเองไม่ได้ก็ยังไม่มีหลักให้จับอย่างนี้ หลักคือหัวใจของเรา เรามาจับหลัก อันนี้ให้ได้แล้วได้ชื่อว่าพึ่งตนเอง นี้อะไรกันพอมันเสื่อมก็วิ่งแจ้นไปภาคอีสาน </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> แต่ก่อนไม่เข้าใจ เมื่อท่านอาจารย์อธิบายอย่างนี้แล้วจะพยายามทำ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ที่มาอบรมเพื่อต้องการอย่างนี้แหละ คนที่อบรมเป็นแล้วแต่ยังจับหลักไม่ได้ ก็ได้ชื่อว่ายังไม่มันคงพอ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ภาวนา คืออะไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ภาวนาคือบรมใจให้สงบ คือให้อยู่ในอารมณ์อันเดียวอย่าให้เที่ยวไปในอารมณ์ต่างๆ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> จะต้องต่อสู้กับอุปสรรคขนาดไหน ถึงจะได้ผลในการภาวนา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> อุปสรรคอะไรก็ตามเถิด ถ้าหากเราสละลงไปได้เรียกว่า เราสามารถเอาชนะอุปสรรคนั้นๆได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ภาวนามีที่สิ้นสุดหรือเปล่า</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ก็ขึ้นอยู่กับอุบาย ถ้าหากใจไม่สงบสักทีมันก็ไม่สิ้นไม่สุด</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นมาก็มีที่สิ้นสุด ความตายก็มีที่สุดทุกสิ่งทุกอย่างก็มีที่สุด การภาวนาก็เหมือนกัน อยากทราบว่ามีชั้นใดชั้นหนึ่งที่เป็นที่สุดหรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> มันก็เหมือนกันแหละความวุ่นวายเกิดขึ้นได้ สัญญาอารมณ์เกิดขึ้นได้ ความส่งส่ายเกิดขึ้นได้ ความสงบมัน ก็สงบลงได้เหมือนกัน เกิด-ดับเหมือนกัน ที่สุดก็คือ ความสงบ ชั้นไหนภูมิไหนก็ภาวนาอยู่เหมือนกันต่อเมื่อนิพานเสียเมื่อไร นั่นแหละสิ้นการภาวนา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> จะต้องยอมเสียสละอะไรบ้างจึงจะภาวนาได้่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> สละในปัจจุบัน อะไรๆทิ้งหมด ในปัจจุบันนั่นแหละ ในขณะนั้นแหละ สละแล้วมันก็ไม่หายไปไหน คือสละภายในใจเฉยๆ อย่างเราสละบ้านหรือ สละตัวของเราเอง ไม่เอาเป็นอารมณ์ เพียงแต่สละ ภายใน กายมันก็ยังเท่าเก่า บ้านมันก็ยังเท่าเก่า สละลง ปัจจุบันเฉยๆ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม




    </TD><TD vAlign=top>
    เวลาภาวนาจะต้องกำหนดลมหายใจอย่างเดียว หรืออย่างอื่นก็ได้ครับ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์







    </TD><TD vAlign=top>
    อย่างอื่นก็ได้เหมือนกัน กำหนดพุทโธๆ หรือลมหายใจก็ได้ขอให้จิตรวมลงได้ก็ใช้ได้ทั้งนั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>ผู้ถาม



    </TD><TD vAlign=top>เวลากำหนดอานาปานสติ ถ้าหากว่าภาวนาดีขึ้นหรือเลวลงจะทราบได้อย่างไรครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์







    </TD><TD vAlign=top>เราภาวนาอะไรก็ตาม รู้ได้ตรงที่ว่า ถ้าหากมันดีขึ้นใจก็สงบลง ใจก็อยู่ ถ้าไม่ดี การภาวนาก็ยิ่งฟุ้งซ่านไปใหญ่</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>ผู้ถาม



    </TD><TD vAlign=top>จะกำหนดความตายก่อนจะได้หรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์







    </TD><TD vAlign=top>กำหนดเอาความตายเลยได้ คือให้พิจารณาอย่างนี้ เมื่อตายแล้วก็ไม่มีอะไรเหลือสักอย่าง เหลือแต่ใจอย่างเดียวสิ่งทั้งหมดของภายนอกก็ทิ้ง ตัวของเราก็ทิ้งให้พิจารณาอย่างนี้ มิใช่พิจารณาตายเฉยๆใช้ไม่ได้พิจารณาให้เห้นสาระของกายคือจิต แล้วกำหนดจิตใจให้สงบลงได้ จึงจะเป็นประโยชน์่</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>ผู้ถาม



    </TD><TD vAlign=top>การเพ่งความตายหรือกำหนดความตายจะเริ่มต้นอย่างไรดีครับ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์







    </TD><TD vAlign=top>ก็ไม่มีพิธิอะไรกำหนดเอาความตายเลยทีเดียวคือว่ากำหนด ลมหายใจก็เป็นการกำหนดความตายไปในตัว คือการสูดหายใจเข้า-ออก ถ้ามันสูดไม่เข้า ก็ตาย ถ้ามันไม่ออก ก็ตายอานาปานสติกับมรณานุสติอันเดียวกันตายแล้วสลายเป็น ดิน น้ำ ไฟ ลม ถามแผ่นดินนี้ ถ้าใจมันสงบมันก็ชัดเองดอก ถ้าไม่สงบแล้วพิจารณาเท่าไรๆ ก็ไม่ชัด </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>ผู้ถาม



    </TD><TD vAlign=top>ก่อนที่จะบวชจะต้องขออนุญาตก่อนหรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์







    </TD><TD vAlign=top>การบวชต้อง คือได้รับอนุญาตจากบิดามารดาเสียก่อน นี่เป็นประการแรกและยวังมีอีกหลายประการด้วยกัน จึงจะบวชได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>ผู้ถาม

    </TD><TD vAlign=top>การภาวนาจะเป็นผลให้ชำระล้างบาปได้หรือไม่ กล่าวคือผู้ที่กระทำภาวนานั้นหากได้กระทำบาปมาก่อนแล้ว การภาวนาจะเป็นผลให้บาปนั้นหายใจหรือไม่่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์



    </TD><TD vAlign=top>บาปที่ทำด้วยเจตนาอันแรงกล้าไม่สามารถลบล้างได้ บาปทำด้วยไม่มีเจตนาพอจะลบล้างได้บ้างกรณี การทำภาวนาลงในปัจจุบันไม่คิดถึงอดีต อนาคต จะลบล้างบาปเล็กๆน้อยๆ ลงบ้าง แต่มิได้หมายความว่าบาปนั้นไม่ให้ผล เป็นแต่ทำใจให้สงบได้ในขณะที่ลงปัจจุบันเท่านั้น</TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เคยภาวนากำหนดอารมณ์ เช่น กำนหดกระดูก แล้วท่านอาจารย์ให้จับผู้รู้ เมื่อกำหนดกระดูก กระดูกที่เพ่ง อยู่ก็หายไปว่างเฉยๆ บางทีก็มีแยบคาย ใครไปรู้จักความว่างกระดูก ใจมันก็นิ่งอยู่ในกระดูก แต่เวลาพิจารณาใครเป็นผู้รู้ใจมักจะส่ายไปหาอารมณ์อื่นๆ ดังนั้นจะแก้ไขอย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ให้ใจมันอยู่ที่กระดูกนั้นเสียก่อน จะนานเท่าไรก็ช่างมันนับเป็นปีๆ อย่างน้อย ๕ ปี จึงจะชำนาญ ต่อนั้นไปถ้ามันไม่ไปไม่มาจริงๆ คืออยู่เฉยๆ จึงพิจารณา คือพิจารณาอันนั้นแหละ พิจารณาผู้รู้สึกว่าเฉยๆอยู่ที่ไหน แล้วจับตัวผู้รู้นั้นให้ได้ อย่าไปพิจารณามันเร็วนัก ไม่ชำนาญแล้วจะเสียไป การภาวนาต้องทำกันจริงๆ เป็นปีๆ พอภาวนาเป็นอะไร นิดๆ หน่อยๆ อยากให้เกิดความนั้นนี้ เดี๋ยวก็เสื่อมเสียเก่าก็ไม่ได้ใหม่ก็ไม่ดี </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ใจมันเดือดร้อนเพราะอยากจะให้ใจมันเข้าเต็มที่ และอดที่จะกดใจให้เข้าถึงจุดนั้นไม่ได้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> นั่นแหละความอยากเป็นเหตุ พอกดใจจะให้เข้าถึง มีแต่ความเดือดร้อนไม่สงบ การทำความเพียรต้องมีแยบคายคอยพิจารณาความสงบนั้น ทำใจให้เย็นๆจึงจะถูก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ยากเหลือเกินในการภาวนา้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> จะว่ายากก็ยาก ถ้าจับใจคือผู้เป็นกลางได้แล้ว จะขยันหมั่นเพียรพยายามมองดูผู้นั้นอยู่เสมอ คำว่ายากแลง่ายจะหายไปมีแต่ความพอใจอยากเห็นตัวใจ คือผู้รู้อยู่เสมอตลอดกลางวันกลางคืน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ไม่ได้ภาวนามากมายอะไร หลังจากนั่งประมาณ ๑๐-๑๕ นาทีก็รู้สึกว่าใจสงบ หลังจากนั้นรู้สึกง่วงนอน ดังนั้นจะแก้ไขอย่างไร</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> คือตอนนั้นมันปล่อยวางเฉยๆพอมันสงบไม่มีเครื่องยึดเครื่องอยู่ไม่มีเครื่องพิจารณา ความสงบก็เลยมาเป็นความง่วง ฉะนั้นเมือสงบแล้วจึงน้อมเข้ามาพิจารณาความไม่เที่ยง ความทุกข์ในร่างกาย เป็นอนัตตา ให้พิจารณาอยู่ในองค์ไตรลักษณ์เป็นเครื่องอยู่ ถ้าเราไปเฉยๆไม่มีเครื่องอยู่ มันก็เลยง่วงนอน</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ผู้เป็นฆราวาส มีภาระ มีครอบครัว มีลูกก็หลายคน ไม่มีโอกาสได้ออกบวช อยากจะทราบว่าผู้เป็นฆราวาสนั้นจะภาวนาได้ขนาดไหน</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ตามที่ท่านว่าไว้ ฆราวาสก็ถึงอรหันต์ได้ แต่อยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน ต้องออกบวชหรือมิฉะนั้นก็นิพพาน แต่ว่าถึงอย่างไร ก็ช่างเถิด ไม่ต้องคำนึงถึงได้ชั้นภูมิอะไรดอก เราต้องการความสุข เราเกิดขึ้นมาในโลกนี้ก็ต้องการความสุขจึงต้องหัดภาวนาเพื่อให้เกิดความสงบ ในชั่วครู่หนึ่งที่เราภาวนา อยู่นั้นได้รับความสุขก็ดีแล้วอย่าไปใฝ่ถึงมรรคผล นิพพานเลย</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ได้แต่เพียงนึกอยู่ว่าอยากจะออกบวช กลัวว่าเมื่อออกมาบวชแล้วก็จะติดอยู่เพียงเท่านี้ จึงอยากจะถามว่า จะมีเวลาไหนหรือไม่ที่พอจะรู้สึกตัวว่าถึงเวลาที่จะออกมาบวชได้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เรื่องนั้นมันเป็นไปเอง คือว่าเราได้รับความสุขสงบจากการอบรมภาวนานี้แล้วนั้นมันจะบวชได้แค่ไหนขนาดใดนั้นเป็น อีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ยากที่ใครจะตัดสินได้ บางทีขณะทำภาวนาได้รับความสุขสงบ นึกอยากออกบวช เมื่อบวชแล้วกลับวกคืนมาอีก ยุ่งกว่าเก่าก็มีมากมาย ฉะนั้นอย่าเลยให้อยู่ไปเสียก่อน ทำไปก่อนอย่างนี้ล่ะ</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> อยากบวชเหมือนกันแต่โยมทางบ้านไม่ยอม</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เอาละไม่ต้องบวชหรอก เอาไว้เป็นอุปัฏฐากดี เรามาทีหลังจะได้นำเทียว </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> อยากจะเกิดอีกสักสองชาติ แต่ไม่อยากเกิดมาเป็นทุกข์ อยากจะได้รับแต่ความสุข จึงขอกราบเรียนถามว่า การทำบุญชาตินี้จะส่งผลไปถึงชาติหน้าได้หรือไม่และจะได้รับบุญในชาติหน้านี้หรือเปล่า</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เกิดมาต้องเป็นทุกข์แน่โยม จะต่างกันก็ทุกข์มากทุกข์น้อยเท่านั้นแหละ การทำบุญต้องส่งไปให้ชาติหน้าแน่ ของเราทำแล้วจะไปไหน การทำบุญไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์โดยตรงแต่เป็นทางทำทุกข์ให้น้อยลง การภาวนานั้นซีเป็นทางนำทุกข์ให้หมดไป ฉะนั้นใครก็ตามปรารถนาว่าขอเกิด ๒ ชาติ ๕ ชาติ ถ้าเราภาวนาไม่ดี จะปรารถนาอย่างไรก็ไม่ได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เป็นฆราวาสต้องมีภาระพันธะอยู่กับครอบครัว เมื่อทำความเพียรด้วยการภาวนาจนจิตเป็นสมาธิได้รับความสุขแล้ว มิได้คิดถึงเรื่องอนาคตข้างหน้า เพราะทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิด-ดับๆ ตามหลักพุทธศาสนาถูกต้องแล้ว ก็เพียรอยากจะได้ความสุขอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น อยากจะทำความเพียรภาวนาให้เป็นสมาธิอยู่ต่อไปก็ยังต้องติดอยู่กับบ่วงมีเครื่องผูกพันอยู่ จะทำอย่าไร จึงขอกราบเรียนถามวิธีที่จะให้รับความสุขนี้อยู่เรื่อยๆไป</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> เป็นธรรมดาผู้ที่ต้องการอยากจะได้รับความสุข เมื่อเห็นผู้ที่บวชเข้ามาแล้ว ไม่มีภาระพันธะอะไร เข้าใจว่าจะได้รับความสุข แท้จริงผู้บวชแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท จะต้องคิดถึงหน้าที่ของตนว่ากิจสิ่งใดข้อวัตรอันใดที่ตนควรทำแล้วยังไม่ได้ทำกรรมอันใดที่ผิดไม่ควรทำเราละแล้วหรือยัง ความดีมีพอแล้วหรือที่จะภาคภูมิใจแก่ตัวเองและไม่ให้เดือดร้อนภายหลัง เหล่านี้เป็นความเดือดร้อนของพระ เป็นพระก็ดี เป็นฆราวาสก็ดี มีความเดือดร้อนไปคนละอย่าง ถ้าเป็นผู้ไม่ประมาทพิจารณาตนเองอยู่เป็นนิจ จะพ้นจากทุกข์ไม่ว่า พระและฆราวาสด้วยการทำความสงบสุขอันปราศจากนิวรณ์ ๕ มีความมุ่งมั่น ในอารมณ์นั้นอยู่เสมอถึงอารมณ์ใดจะมารบกวนก็ไม่ไหวก็ตาม </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ทำไมบางทีบางคนรู้แล้วเลิกได้ถอนได้ อันนั้นจะเป็นเหตุปัจจัยหรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> บางทีทำไปบางคนรู้แล้วเลิกได้นั้น เป็นเพราะปัจจัย บุญวาสนา ปัญญาบารมีของเขาแก่กล้า อีกนัยหนึ่งคือ ปัญญาบารมีเขาแก่กล้านั่นเองจึงมีแยบคาย ให้เลิกละได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ที่อาตมาพูดนี้เป้นเรื่องภาวนาโดยเฉพาะจึงเข้าถึงหลักพุทธศานา ถ้ายังไม่ได้ภาวนายังไม่ถึงศาสนาที่แท้จริง พุทธศาสนาสอนถึงใจตน คนไม่เห็นใจของตนแล้วจะไปถึงศาสนาได้อย่างไร การละชั่วทั้งปวงก็ต้องเห็นด้วยใจขอตนเองแล้ว ก็จะทำไม่ได้ ถึงทำไปก็สักแต่ ทำไม่มั่นคง การชำระใจของตนให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ยิ่งแล้วใหญ่ ถ้าไม่เห้นใจของตนแล้วจะไปละได้อย่างไร ความเศร้าหมองและความผ่องใสอยู่ที่ใจเห็นได้ด้วยตนเอง การภาวนาที่เห็นใจของตนอย่างเดียวเท่านั้นแหละ เป็นการถึงศาสนาโดยแท้ นอกไปจากนี้เช่นการบำเพ็ญทานและรักษาศีลเป็นเครื่องประกอบเท่านั้น หาได้ชื่อว่าถึงศาสนาโดยแท้ไม


    ผู้ถาม วัตร นั้นหมายความถึงอะไร

    ท่านอาจารย์ วัด คำหนึ่ง กับ วัตร อีกคำหนึ่ง


    วัด หมายถึงที่ทำศาสนาพิธีต่างๆ คือพุทธศาสนานิกชนไปร่วมกันทำพิธีต่างๆ แม้แต่พระสงฆ์ที่อยู่ในที่นั้นก็ต้องกิจของสงฆ์ มิใช่ทำเป็นวัดแล้วอยู่เฉยๆไม่ทำอะไร จะกลายเป็นคนขี้เกรียจไปเสีย


    วัตร หมายถึง การปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบของผู้นั้น เช่นหญิงปฏิบัติเอาใจสามี ไม่ละเมิดล่วงเกินอยู่ในโอวาทคำสั่งสอนที่ดีงามของสามี เรียกว่า หญิงมีข้อวัตรอันดีงาม พุทธศาสนิกชนได้สลับคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วนำเอาไปปฏิบัติตามได้ชื่อว่าพุทธศาสนิกชนผู้นั้นมีข้อวัตรอันดีงาม


    การที่อาตมามาสิงคโปร์คราวนี้ด้วยคามคำอาราธนาของแม่ชีชวน ด้วยเธอคิดว่าพี่น้องและชาวสิงคโปร์หลายคน ที่ต้องการอยากศึกษาธรรมะ แต่ไม่มีโอกาสได้ศึกษาเพราะไม่มีครูอาจารย์จึงได้นิมนต์มา พอมาเห็นคนสิงคโปร์เข้าจริงๆ โอ้โฮ คนสิงคโปร์มิใช่คนป่าเถื่อนไม่รู้ธรรมะธัมโมอะไร แท้จริงแล้วคนสิงคโปร์เป็นปราชญ์ รู้จักถามสาระลึกซึ้งล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์แก่นักปฏิบัติทั้งนั้น ทั้งๆที่ครูบาอาจารย์และพระก็ไม่เคยสอนมาเลย อาตมามาคราวนี้เห็นว่ามีคุณค่ามหาศาล และคนสิงคโปร์ก็ควรจะเป็นหนี้บุญคุณของแม่ชีชวนไว้ในโอกาสนี้ด้วยและเมื่อได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติอันดีงามถูกต้องแล้ว จงพากันนำไปปฏิบัติอย่าได้ประมาทให้เป็นผู้มีวัตรดีอย่าได้เป็นวัตรล้างก็เป็นเครื่องนำความสุขมาให้ได้ตลอดกาลนาน
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ขอกราบเรียนใหม่ ครั้งแรกกำหนดลมหายใจเข้าออก เวลาเกิดเวทนาขึ้นให้ทิ้งลมหายใจเข้า-ออก ให้กำหนดเวทนาจะได้หรือไม่่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ไปกำหนดเวทนาก็ได้แต่เอาให้แน่วแน่จริงๆ จนเป็นอารมณ์อันเดียว ไม่ยอมส่งไปโน่นนี่ เดี๋ยวเวทนาอันนี้ก็หายไป ยังเหลือแต่ความสุขสงบวางเฉยอยู่คนเดียว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลาเวทนาเกิดขึ้นมา อยากให้เวทนาหายไป แต่มันไม่ยอมหายเลยเกิดความรำคาญ ต่อมาเลยคิดว่า เจ็บมันก็เป็นเรื่องของเจ็บมันก็เป็นอย่างนี้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> นั่นแหละให้เห็นสภาพอันนี้นั้นแหละคือให้เห็นสภาพของจริง คือมันเป็นสิ่งหนึ่งอยู่อย่างนั้น ให้เห็นสภาพความเป็นจริงเพราะเราไม่ยอมเห็นตามความเป็นจริงต่างหาก เราไปยึดว่าเป็นเราความเจ็บก็เป็นเรื่องของความเจ็บ ใจมันไปยึดว่าเป็นเราทั้งหมดมันก็เลยทุกข์ นี่แหละหัดตรงนี้หัดไม่ให้ทุกข์ตรงนี้ทุกข์มีอยู่เหมือกับทุกขเวทนามีอยู่ ถ้าเราไม่ยึดเราก็ไม่ทุกข์ เราหัดตรงนี้หาความสุขใส่ตัวให้จงได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> จะต่อสู้หรือจะยอมแพ้ต่อเวทนาดีี้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ต้องต่อสู้ซี เราเกิดมาไม่ว่าจะอยู่ในสภาพเช่นไรล้วนแต่ต่อสู้กันทั้งนั้นไม่ต่อสู้อย่างหนึ่ง ก็ต้องต่อสู้อีกอย่างหนึ่งต้องมีด้วยกันทั้งนั้น เช่นการภาวนาก็มีเวทนาเป็นข้าศึก ถ้าเราไม่ต่อสู้ ยอมแพ้ คราวนี้ทีหลังมันต้องยอมแพ้อีก การต่อสู้ทางพุทธศาสนาแทนที่จะใช้กำลังประหารกันด้วยอาวุธ เปล่า ตรงกันข้ามกลับทิ้งอาวุธแล้วยอมสละทิ้งกายและใจ เลยชนะเด็ดขาด การประหารกันด้วยอาวุธก็ต้องกลับ แพ้กันด้วยอาวุธ นี่ไม่มีอาวุธ ชนะแล้วไม่ต้องแพ้กันอีกต่อไป เราเกิดมาในโลกต้องใช้ของในโลกให้เป็น เช่นร่างกายเกิดจากธาตุ ๔ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม ประสมครบถ้วนจึงเกิดเป็นคนได้ เมื่อเกิดมาแล้วต้องบริหารรักษาด้วยประการต่างๆ หน้าที่ของมัน เมื่อเรารู้ว่าการรักษาเป็นทุกข์ เราจึงยอมสละการบริหารหรือรักษานั้น ก็เป็นสุขเท่านั้นเอง ใช้โลก และธรรมให้เป็นจึงจะเป็นประโยชน์ ถึงคราวใช้โลกก็ต้องใช้ เมื่อโลกใช้ไม่ได้ แล้วก็ต้องใช้ธรรม ต้องหัดทั้งสองอย่างไว้ให้ชำนาญจะใช้โลกนี้ก็ได้ ในเมื่อจำเป็น เมื่อโลกนี้ใช้ไม่ได้แล้วก็ต้องใช้ธรรม</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> กำหนดส่วนต่างๆในกาย เวลากำหนดหนักๆเข้า รู้สึกแปลกมาก คือมีความรู้เห็นตัวทั้งหมดนอกจากศีรษะ อารมณ์ภายนอกรู้แต่ไม่ยึด ดังนั้นเมื่อไปยึดศีรษะเลย มองไม่เห็นตัว การที่เป็นอยู่เช่นนี้เข้าใจว่า เข้าถึงอุปจารสมาธิ ทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าถึงอัปปนาได้ หรือว่าจะต้องตั้งหน้าดูแต่อาการที่เป็นอยู่อย่างนี้</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ที่เราพิจารณาชิ้นส่วนของอวัยวะในกายของเรานั้น มีความรู้สึกว่าเห็นส่วนใดส่วนหนึ่ง แล้วไปอยากให้เห็น ส่วนที่ยังไม่เห็นต่อไป อารมณ์ภายนอกไม่เข้าไปยึด มันก็ดีแล้วนี่ยังอยากเข้าถึงอัปปนาอีกด้วย ขอให้เป็นไปเองเถิด อย่าไปอยากได้อยากถึงเลยของพรรคนี้ ไม่ใช้ของทำได้ง่าย เป็นอะไรแล้วขอให้รักษาอันนั้นไว้เสียก่อน ความอยากเป็นเหตุให้คนจมอยู่ในโลกนี้มากต่อมากแล้ว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เมื่ออารมณ์ภาวนาอันหายไป แต่ว่ามันยังมีความรู้สึกอยู่ด้วยความสุขสงบ</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> อันนั้นมันดีทีเดียว มันเข้าถึงอัปปนาสมาธิแล้วน่ะซี คราวนี้มันมีความรู้สึกของมันอยู่ต่างหากแต่มันไม่เข้าไปยึดอะไรทั้งหมด</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> ทำอย่างไรจึงจะเข้าอัปปนาสมาธิได้นาน</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> ยังไม่ชำนาญ หัดเข้าจนให้ชำนาญจึงจะอยู่ได้นาน อัปปนาสมาธิไม่ใช่ของแต่งเอาได้ง่าย จะเป็นแต่ละครั้งก็ทั้งยาก ขอให้ตั้งสมาธิเบื้องต้น คือ ขณิกะสมาธิ อุปจารสมาธิให้ชำนาญเสียก่อนอัปปนาจะเกิดเอง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width=100>
    ผู้ถาม
    </TD><TD vAlign=top> เวลานั่งภาวนาแล้วใจมันสงบ ไม่ไปยึดอะไร แต่ยังรู้สึกในสิ่งแวดล้อมอยู่เช่นกัน เวลาเสียงเกิดขึ้นความสงบก็หายไปเหตุที่มันหายไปนี้ก็เพราะเราไปยึดเอาเสียงใช่หรือไม่</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=100>
    ท่านอาจารย์
    </TD><TD vAlign=top> มันก็เป็นอย่างนั้นล่ะซี ถ้าความสงบหายไปก็หมายความว่าใจส่งไปตามเสียงหรือเรียกว่ามันกระเทือนแต่ว่า มันไม่หวั่นไหวอย่างที่อธิบายให้ฟัง ใจมันอยู่ด้วยความกระเทือนนั้น หมายความว่า ประสาทรับรู้มันยังได้ยินอยู่มันกระเทือนถึงใจกระเทือนแค่ไม่ทราบว่าอะไร เป็นอะไรนั้นเรียกว่ามันกระเทือน แต่ว่ามันไม่วิพากษ์วิจารณาไปตามเสียงนั้น จึงเรียกว่าไม่หวั่นไหว</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...