ป้องกัน ห่างไกล "โรคกระดูกพรุน"

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย alfed, 22 ตุลาคม 2018.

  1. alfed

    alfed สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    15
    ค่าพลัง:
    +135
    ป้องกัน ห่างไกล "โรคกระดูกพรุน"
    #กระดูกพรุน #WorldOsteoporosisDay #Osteoporosis #HealthyMe
    44407277_264729917449076_5713733055592529920_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_ht=scontent.fbkk14-1.jpg
    วันที่ 20 ตุลาคม ของทุกปี เป็น “วันกระดูกพรุนโลก” (World Osteoporosis Day)"เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงการดูแลรักษากระดูก ป้องกันการเป็นโรคกระดูกพรุนในอนาคต
    .
    กระดูกพรุน เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และความผิดปกติของกระดูกอาจมิได้เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด แต่จะเป็นภัยค่อย ๆ คืบคลานเข้ามาหาเราอย่างช้า ๆ เตรียมตัวและป้องกันให้ห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนด้วยการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงและควรทำตั้งแต่วัยหนุ่มสาวก่อนอายุ 30 ปี ในวัยหลังอายุ30 ปี กระดูกจะมีความหนาแน่นสูงสุด และจะค่อนข้างคงที่อีก ประมาณ 15-20 ปี จากนั้นจะเริ่มลดลง (ทำได้เพียงชะลอการทำลายกระดูกเท่านั้น)
    .
    ผู้หญิงที่ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนหลังหมดประจำเดือน หรือ หรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ 45 ปีกระดูกจะเริ่มสูญเสียแคลเซียมอย่างรวดเร็วจนเกิดกระดูกพรุนและกระดูกหักได้ กระดูกพรุนเป็นโรคที่เกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
    .
    ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว
    - อายุ
    - การได้รับสารอาหารโดยเฉพาะแคลเซียมไม่เพียงพอ (บริโภคแคลเซียมน้อยกว่า 400 มิลลิกรัม)
    - กรรมพันธุ์ (มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน)
    - หมดประจำเดือน
    -การสูบบุหรี่
    - ขาดการออกกำลังกาย
    - ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นประจำ
    - การใช้ยาสเตียรอยด์เกินขนาด
    - ภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น โรคต่อมไทรอยด์
    - เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคทางเดินอาหารผิดปกติ
    .
    การป้องกันโรคกระดูกพรุน
    - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ(เช่น การวิ่ง เต้นแอโรบิก เป็นต้น ) และควรเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมในแต่ละวัย (ไม่ใช้แรงหักโหม)
    - รับแสงแดดอ่อนๆ เป็นประจำ
    (วันละ 15 นาทีต่อวันเพียงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง)
    - รักษาน้ำหนักตัวอย่าให้ต่ำกว่าเกณฑ์ (ผอมเกินไป)
    - หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกพรุน
    เช่น ไม่รับประทานอาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์มากเกินไป
    - ไม่รับประทานอาหารเค็มจัดหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง
    - ไม่ดื่มน้ำอัดลมปริมาณมาก
    - หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ในปริมาณมาก
    (กาแฟไม่ควรดื่มเกินวันละ ๓ แก้ว แอลกอฮอล์ไม่เกินวันละ ๒ หน่วยดื่ม ซึ่งเทียบเท่าแอลกอฮอล์สุทธิ ๓๐ มล.)
    - รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีที่เพียงพอ อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม เนยแข็ง ปลาที่กินได้ทั้งกระดูก (เช่น ปลาไส้ตัน) กุ้งแห้ง เต้าหู้แข็ง ถั่วแดง ผักสีเขียวเข้ม (เช่น คะน้า ใบชะพู) งาดำคั่ว
    - งดการสูบบุหรี่
    - ระวังการใช้ยาบางชนิด เช่น ยากล่อมประสาท ยาที่มีสารสตีรอยด์ ยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ ยาเหล่านี้เร่งการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย
    (ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ)
    -รักษาโรคหรือภาวะที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคคุชชิง
    - ตรวจร่างกายเป็นประจำ
    --------------------------------------------------
    Credit: Healthy Me
    https://www.facebook.com/Good.Healthy.Me/
     

แชร์หน้านี้

Loading...