ผลที่เกิดขึ้นในโลกนี้ ล้วนมาจาก “กรรม” ทั้งสิ้น

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 26 สิงหาคม 2017.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    บุญใหญ่พาหนีกรรม
    เมษายน 25, 2018 โดย ธ. ธรรมรักษ์

    บุญใหญ่พาหนีกรรม
    31195572_2308941735786312_3013711885120831488_n.jpg
    ในความวุ่นวาย อุปสรรคทั้งปวงที่เกิดขึ้น
    นอกจากขาดสติ ปัญญาในการแก้ไขแล้ว

    ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลกรรมไม่ดีที่ทำมานั้น
    ได้เวลามาส่งผลตามลำดับ ตามเวลา ตามหน้าที่

    อยู่ในช่วงที่เรียกว่า บุญเราน้อย
    ถ้าบุญเรามากจริง เราคงไม่เหนื่อยกันขนาดนี้

    ในทุกช่วงเวลาชีวิต อย่าประมาทในการสะสมบุญบารมี
    การสร้างบุญนั้นขอให้ยึดมั่นในบุญกิริยาวัตถุ 10
    จากทาน ศีล ภาวนา


    การสร้างบุญไม่ใช่ใช้เงินมากๆ แล้วได้บุญมาก
    แต่อยู่ที่จิตบริสุทธิ์มากๆ ถึงได้อานิสงส์มาก

    เพื่อให้บุญนั้นพาชีวิตเราให้เป็นสุข
    ดั่งกวางที่มีพละกำลัง วิ่งหนีหมาป่าที่ไล่ล่า
    ไล่เท่าไหร่ก็ไม่ทัน

    เปรียบดังน้ำบริสุทธิ์ที่เข้ามาเติม ละลายยาพิษ
    จนพิษนั้นส่งผลอะไรไม่ได้…

    การลด ละ เลิกกรรมชั่วนั้น
    เปรียบดังไม่หันวิ่งกลับไปให้หมาป่ากินง่ายๆ
    ไม่เติมยาพิษเพิ่มมากขึ้นในน้ำนั้น

    ขอให้พิจารณาด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยภูมิธรรม

    ขอบุญรักษา
    ธ.ธรรมรักษ์
    ขอบคุณที่มา :- https://torthammarak.wordpress.com/2018/04/25/บุญใหญ่พาหนีกรรม/
    boon kiriyavatthu 10.jpg
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    วิธีแผ่เมตตาและอุทิศส่วนกุศลที่ถูกต้อง
    1. ตั้งสติหายใจยาว ๆ ตอนที่กรวดน้ำเสร็จแล้วอธิษฐานจิตไว้ก่อน อธิษฐานจิตหมายความว่า ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ที่ลิ้นปี่ สำรวมกาย วาจา จิต ได้ตั้งมั่นแล้ว จึงขอแผ่เมตตาไว้ในใจสักครู่หนึ่ง แล้วก็ขออุทิศให้บิดามารดาของเราว่าเราได้บำเพ็ญกุศล
    ท่านจะได้บุญได้ผลแน่ ๆ เดี๋ยวนี้ด้วย ผมเรียนถวายนะ มิฉะนั้นผมจะอุทิศไปยุโรปได้อย่างไร
    หายใจยาว ๆ ตั้งสติก่อน หายใจลึก ๆ ยาว ๆ แล้วก็แผ่เมตตาก่อน มีเมตตาดีแล้ว ได้กุศลแล้ว เขาก็อุทิศเลย อโหสิกรรม ไม่โกรธ ไม่เกลียด ไม่พยาบาทใครอีกต่อไป และเราจะขออุทิศให้ใคร ญาติบุพเพสันนิวาสจะได้ก่อน ญาติเมื่อชาติก่อนจะได้มารับ เราก็มิทราบว่าใครเป็นพ่อแม่ในชาติอดีตใครเป็นพี่น้องของเรา เราก็ไม่ทราบ แต่แล้วเราจะได้ทราบตอนอุทิศส่วนกุศลนี้ไปให้ เหมือนโทรศัพท์ไป เขาจะได้รับหรือไม่ เราจะรู้ได้ทันที
    ขณะที่ท่านสวดมนต์อุทิศให้ว่า ยาเทวตา...., อิมินา.... เป็นต้น ท่านจะรู้นะว่าย้อนกลับมา เหมือนเราโทรศัพท์ไป อ๋อ มีคนรับ เขาจะย้อนตอบเราว่าฮัลโหล เป็นต้น นี่ก็เช่นเดียวกัน เราจะปลื้มปีติทันทีนะ เราจะตื้นตันขึ้นมาเลย ถ้าท่านมีสมาธิ น้ำตาท่านจะร่วงนะ ขนพองสยองเกล้าเป็นปีติเบื้องต้น ถ้าท่านมาสวดมนต์กันส่งเดช ไม่เอาเหนือเอาใต้ ท่านไม่อุทิศ ท่านจะไม่รู้เลยนะ ขอฝากท่านนวกะไว้ด้วย วันนี้ท่านทำบุญอะไร สร้างความดีอะไรบ้าง ดูหนังสือ ท่องจำบทอะไรได้บ้าง ก็อุทิศได้
    2. การแผ่เมตตาจะต้องมีสมาธิก่อนมีพลังส่ง มีเมตตาในตัวเองก่อน แล้วค่อยแผ่อุทิศให้เขาจะได้ผล ถ้าโยมปราศจากเมตตาอย่าอุทิศ ไม่มีได้ผล ไม่ได้ผลจริง ๆ อาตมาทำมาแล้ว แผ่ได้ผลต้องมีเมตตาครบอย่างต่ำ ๘๐% ไม่อย่างนั้น แผ่ไม่ออกหรอก เหมือนยิงปืนตกปากกระบอกไม่มีแรงส่ง ขาดสมาธิ ขาดสติปัญญา ขาดความสามารถ ขาดความเชี่ยวชาญในการฝึก
    คนที่มีบุญถึงจะมาทำกรรมฐานได้
    ท่านทั้งหลายที่มาปฏิบัติกรรมฐาน นับว่าเป็นโชคดีของท่าน ท่านมาสร้างกำไรชีวิต ท่านมาสร้างข้อคิดให้กับตัวเอง ท่านทั้งหลายเสียสละมาเถิด จะประเสริฐในวันข้างหน้า ไม่ต้องเสียเงินเสียทองมากมาย อาตมาไม่เก็บเงิน ที่อยู่ก็ไม่ต้องเช่า ข้าวก็ไม่ต้องซื้อ อาตมาเลี้ยงเอง ไม่จำเป็นต้องมาออกค่าไฟฟ้าให้กับอาตมาหรอก อาตมาทำบุญกับโยม อาตมาเสียสละ ขาดเหลืออาตมาออกให้
    อุตส่าห์ปวารณาโยมให้มาสร้างความดีถึงเช่นนี้แล้ว โยมยังไม่สนใจก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะเป็นบาปกรรมของโยมเอง บุญมีแต่กรรมมาบัง ทำให้มาสร้างความดีไม่ได้ มีมากรายด้วยกัน เชิญชวนเท่าไรก็ไม่มา นี่แหละ กรรมมันบัง เหมือนกับคนจะถูกรถชนตาย กรรมมันบังทำให้ไม่เห็นรถ ทำให้รถชนตัวเองตาย เราขับรถชนคนตาย กรรมมาบังทำให้ไม่เห็นหรือตัดหน้ารถอย่างกระชั้นชิด เราก็ชนเขาตายเพราะเวรกรรมตามสนอง จะต้องชนตรงนี้ด้วย แล้วเขาก็ต้องตายตรงนี้ด้วย แล้วเราก็ต้องตายตรงนี้ด้วย นี่เหตุการณ์ตายตัวแล้ว เป็นกฎแห่งกรรม ถ้าท่านเจริญกรรมฐานท่านจะรู้ได้ว่าเราสร้างเวรกรรมอะไรมา
    ท่านสาธุชนทั้งหลายเอ๋ย คนที่มีบุญถึงจะมาทำกรรมฐานได้ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่ายอดสูงสุดที่เป็นมรดกโบว์แดงของเสด็จพ่อของเราคือ กรรมฐาน แต่สาธุชนทั่วโลกจะทำเหมือนกันไม่ได้เพราะนานาจิตตัง ต่างเวรต่างกรรมกันมา บางคนมาจากนรกมาเกิดในโลกมนุษย์ไม่สามารถเจริญกรรมฐานได้ เข้าวัดก็เดินผ่านไปผ่านมาเพราะกรรมมันบังจิตใจ คือทรพีทรพาอกตัญญูต่อพ่อแม่ตลอดมา คนประเภทนี้จะเจริญกรรมฐานไม่ได้ ถ้าเจริญกรรมฐาน ต้องอกแตกตาย เพราะคิดไม่ดีกับพ่อแม่ คิดจะฆ่าพ่อฆ่าแม่
    "กฎแห่งกรรม".... หลวงพ่อจรัญ :- https://talk.mthai.com/inbox/76255.html
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    มีวิธีตัดกรรมแก้กรรมตามหลักพระพุทธศาสนาบ้างไหม? อย่างไร?

    วิบากกรรม เกิดจากสิ่งที่เราเคยทำไว้ในอดีต แล้วเกิดเป็นผลบาปตามมา จะแก้ไขต้องเอาบุญแก้ให้เราสร้างบุญ ทั้งทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา สิ่งนี้ช่วยเราได้อยู่แล้ว ขอให้อยู่ในบุญเท่านั้นประการสำคัญอย่ามุ่งแต่เพียงว่าจะไปแก้ไขวิบากกรรมในอดีต ที่สำคัญคือต้องระวังอย่าไปสร้างเหตุที่ไม่ดีในปัจจุบันด้วย (อย่าสร้างกรรมใหม่) อะไรที่ไม่ดีอย่าทำ สิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งคือ อกุศลกรรม 10 ประการ คือ การฆ่าสัตว์ เบียดเบียนรังแกสัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกผิดเมียผู้อื่น, โกหกหลอกลวง, พูดส่อเสียด ยุยงให้แตกความสามัคคี, พูดคำหยาบ, พูดเพ้อเจ้อ, โลภอยากได้ของของผู้อื่น, คิดร้าย ปองร้ายผู้อื่น, เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม

    สมัยนี้มีเรื่องที่ต้องระวังอย่างหนึ่ง เมื่อก่อนโอกาสพูดคำหยาบมีไม่มาก เพราะพูดแล้วกลัวเขาโกรธ เดี๋ยวเราจะเดือดร้อน แต่ตอนนี้เทคโนโลยีพัฒนาไปไกล โอกาสที่จะพูดคำหยาบโดยไม่ถูกโจมตีกลับจัง ๆ มีมากขึ้น เช่น การไปให้ความเห็นในเว็บบอร์ด ให้ความเห็นท้ายข่าวในอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เขียนว่าเขาไปแล้วคนอ่านไม่รู้ว่าใครเขียน ดังนั้นเราจะเห็นว่า สำนวนในอินเทอร์เน็ตใช้คำค่อนข้างแรง เพราะผู้เขียนเหมือนไม่ต้องรับผิดชอบเลย อยากว่าใครก็ว่าได้เลยและถ้าไม่มีความผิดจริง ๆ ตำรวจไม่มาสืบจริง ๆ อาจจะไม่รู้ว่าใครเป็นคนว่า

    แต่กฎแห่งกรรมส่งผลเสมอ แม้นึกว่าไม่มีใครรู้ เราคงไม่ต้องรับผลแห่งการกระทำ จริง ๆ แล้วต้องรับ เพราะไม่มีอะไรหนีพ้นกฎแห่งกรรม กฎแห่งกรรมศักดิ์สิทธิ์กว่ากฎหมายบ้านเมืองเสียอีกน่ากลัวกว่าด้วย แล้วถ้าเราเกิดเข้าใจผิด ผสมโรงโจมตีไปกับเขาด้วย ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นอย่างที่เราเข้าใจ วิบากกรรมเกิดขึ้นหนักเลย ยิ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ไปตำหนิติติง โจมตีวิจารณ์ผู้ทรงศีล วิบากกรรมยิ่งหนัก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบอกว่า ผู้ประทุษร้ายบุคคลที่ไม่ประทุษร้าย ผลแห่งวิบากย่อมกลับมาสู่ผู้กระทำเอง เหมือนคนเอาธุลีพุ่งซัดทวนลมไป ธุลีจะปลิวมาเต็มหน้าเราเอง ฉะนั้นอย่าทำเด็ดขาด ถ้าไปเห็นผลของวิบากกรรมด้วยตัวเอง จะรู้ว่าน่ากลัวมากไม่คุ้มเลย

    ถ้าเราไม่ทำอกุศลกรรมบถ 10 ข้อ ก็เหมือนกับว่า เราสร้างเกราะป้องกันตัวเราไว้ดีพอสมควรและถ้าไม่ยุ่งอบายมุขด้วย ถือว่าชีวิตเราปลอดภัย 99 เปอร์เซ็นต์แล้ว นี่คือสิ่งที่เราควรทำให้ถูกต้องในปัจจุบัน และอดีตที่ผิดพลาดทั้งหลายลืมให้หมด นึกแต่เรื่องดี ๆ แล้วตั้งใจทำความดีทุกชนิดอย่างเต็มที่ อะไรที่ไม่ถูกต้องไม่ทำอีกเด็ดขาด ถ้าทำได้อย่างนี้ เราจะมีความสุขต่อไปในอนาคต

    Karma-02.jpg
    วิธีแก้กรรมอย่างถูกหลักวิชชา
    แก้กรรมและสะเดาะเคราะห์ต่างกันไหม?
    พฤติกรรมที่ทำไปแล้ว เราเปลี่ยนไม่ได้ แต่สามารถแก้ไขผ่อนหนักเป็นเบาได้ ด้วยการทำความดีไปเจือจางบาปอกุศลใหเบาบางลง แล้วไม่ไปทำอะไรผิดซ้ำอกจะเรียกตรงนี้เป็นการสะเดาะเคราะห์ทำให้เคราะห์เบาลงก็ได้ ถ้าสะเดาะเคราะห์หมายถึงอย่างนี้ก็ถือว่าถูก แต่ถ้าไปสะเดาะเคราะห์ ไปทำพิธีตัดนั่นตัดนี่อะไรต่าง ๆ นานา ก็ไม่ใช่ ต้องถือตามหลักพระพุทธเจ้า คือ ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส นี่คือการแก้ไขวิบากกรรมในอดีตที่ดีที่สุด

    ถ้าปัจจุบันเราเจอสิ่งที่ร้าย ๆ อย่าหดหู่ ให้รู้ว่าทุกอย่างมีที่มาที่ไป มีเหตุก็แสดงว่าในอดีตเราทำไว้ไม่ดี ถึงได้เกิดเรื่องอย่างนี้ขึ้น แตเมื่อรู้แล้วไม่ควรเพิกเฉย ให้แก้ด้วยการตั้งใจทำความดีในปัจจุบันให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันอะไรที่ไม่ดี ไม่ทำอีกเด็ดขาด อย่างนี้คือการเห็นตลอดทั้งสาย แล้วดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องสมกับเป็นพุทธศาสนิกชน
    :- https://www.dmc.tv/pages/top_of_week/แก้กรรม-วิธีแก้กรรม-ตัดกรรม-แก้กรรมและสะเดาะเคราะห์ต่างกันไหม.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2020
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    ดับร้อน

    โดย อ. ประณีต ก้องสมุทร


    ในท่ามกลางฤดูร้อน ท้องฟ้าโปร่งปราศจากเมฆหมอก แสงแดดแผดกล้า ความร้อนกระจายไปทั่ว ต้นไม้ใบหญ้าเหี่ยวเฉา ผู้คนพากันหลบร้อนอยู่ภายใต้ชายคาของอาคาร หรือร่มไม้ใบหนา แม้จะมีลมพัดมาเป็นครั้งคราว ลมนั้นก็พาเอาความร้อนมาด้วย ตามถนนหนทางหลายสาย และตามขุนเขาลำเนาไพร งดงามไปด้วยดอกไม้ป่าหลายสีต่างพรรณ ที่บานสะพรั่งเต็มไปทั้งต้น อาทิเช่น สีม่วงของอินทนิลและเสลา สีเหลืองของราชพฤกษ์และประดู่ สีชมพูอมขาวของชัยพฤกษ์สีแดงแสดของนกยูง แต่ความสวยสดใสของดอกไม้เหล่านั้น ก็หาช่วยให้ความร้อนคลายไปได้ไม่
    นั่นเป็นเพียงความร้อนที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล ซึ่งไม่นานก็จะแปรเป็นความเย็นชุ่มฉ่ำ เมื่อฤดูฝนเยื้องกรายมาแทนที่ และพระพิรุณโปรยปรายลงมา ให้ความชุ่มชื้นแก่ต้นไม้และแผ่นดิน
    ก็ความร้อนที่เกิดจากลมฟ้าอากาศนั้น อย่างมากก็เพียงทำให้ร้อนกาย ซึ่งยังจะมีทางบรรเทาได้ด้วยน้ำ หรือด้วยอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นหลายชนิด หรือแม้เพียงด้วยพัดใบลานเล่มเดียว
    แต่ความร้อนใจเมื่อเกิดขึ้น เราไม่อาจดับได้ด้วยน้ำ หรือด้วยอุปกรณ์เครื่องทำความเย็นเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะความร้อนใจนั้น ถึงจะมีสาเหตุมาจากสิ่งอื่น บุคคลอื่นภายนอก หรือแม้จากภายในใจของเราเอง สาเหตุเหล่านั้นก็เป็นเพียงสาเหตุที่เรายกมาอ้างกันเท่านั้น มิใช่สาเหตุที่แท้จริง สาเหตุที่แท้จริงของความร้อนใจนั้นคือกิเลส ที่หมักดองสะสมอยู่ในใจของเรามาช้านานต่างหาก ก็เราไม่มีกิเลสแล้วความร้อนใจเพราะเหตุต่างๆ เหล่านั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
    ต้นเหตุของความร้อนใจจึงอยู่ที่กิเลส คือ ราคะ โทสะ โมหะ

    พระพุทธองค์ตรัสว่า 1 สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือราคะ ร้อนเพราะไฟคือโทสะ ร้อนเพราะไฟคือโมหะ
    1 จาก อาทิตตปริยายสูตร วินัยปิฎก มหาวรรค ข้อ ๕๕
     
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    วิธีทำบุญแก้กรรม แก้กรรมได้จริงหรือ กรรมแต่ละด้านทำบุญต่างกันอย่างไร เสียงอ่านทั้งฉบับโดย โจโฉ 3 Hrs.

    คุณโฉ โจโฉ เสียงธรรม Official
    Published on Nov 20, 2016
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    เหนือฟ้ายังมีฟ้าแต่ไม่มีอะไรเหนือกฎแห่งกรรม หลวงพ่อจรัญ
    เรื่องราว กฎแห่งกรรม หลวงพ่อจรัญ ที่รวบรวมมานี้ อาจจะพอช่วยทำให้คุณไม่กล้าทำบาป ทำกรรมอีกต่อไป

    วัดอัมพวันทุกวันนี้มีความสัปปายะเหมาะแก่การปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างยิ่ง  ทั้งบรรยากาศที่ร่มรื่น  ศาลาปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ ลานจอดรถกว้างขวางสะดวกสบาย  และห้องน้ำห้องท่าที่สะอาดสะอ้านถึงกว่า 500 ห้อง  รวมถึงโรงทานที่มีอาหารและน้ำดื่มไว้คอยให้บริการแก่ผู้มาทำบุญและปฏิบัติธรรมไม่เคยขาด

    ช่วงสิบโมงเช้าและบ่ายสองโมงของทุกวัน  หลวงพ่อจรัญในวัย 86 ปีจะออกมาให้พรญาติโยมเป็นเวลาสั้น ๆ ก่อนจะกลับเข้ากุฏิเพื่อพักผ่อน  แม้ในวันนี้หลวงพ่อจะชราภาพมากจนไม่สามารถเทศน์โปรดญาติโยมได้เหมือนในอดีต  แต่ทุกคนก็สัมผัสได้ถึงความเมตตากรุณาของท่านที่ส่งผ่านแววตาและสีหน้าที่แจ่มใส  รอยยิ้มน้อย ๆ ของท่านทำให้ผู้พบเห็นเกิดความรู้สึกอบอุ่นและมั่นใจที่จะปฏิบัติตามและก้าวเดินตามท่านในทางสายกลางเส้นนี้

    ชีวิตในวัยเยาว์
    หลวงพ่อจรัญมีนามเดิมว่า จรัญ  จรรยารักษ์  เกิดเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2471  ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7  ณ ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองฯ  จังหวัดสิงห์บุรี  เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวน 10 คน ที่เกิดจาก โยมมารดาเจิม และ โยมบิดาแพ  จรรยารักษ์ ในวัยเยาว์หลวงพ่ออาศัยอยู่กับยายวัย 80 ปีที่บ้านเรือนไทยหลังใหญ่กลางดงไม้ร่มครึ้ม

    มีเรื่องเล่าว่า  ยายของหลวงพ่อมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า  และมักจัดให้มีการเทศน์มหาชาติที่บ้าน  แต่ด้วยความที่เด็กชายจรัญชอบวิ่งเล่นซุกซนยายเลยต้องจับล่ามขาไว้กับเสาเรือนให้ฟังเทศน์อยู่เป็นประจำ ทุกวันเวลาตีสี่  ยายจะลุกขึ้นมาสวดมนต์ภาวนาเป็นเวลา 1 ชั่วโมง  ส่วนเด็กชายจรัญจะลุกขึ้นก่อไฟหุงข้าวให้ยายใส่บาตร ครั้นยายให้เอาข้าวไปถวายพระ  เด็กชายจรัญก็มักนำไปกินกับเพื่อนแทน  นอกจากนี้ยังไม่สนใจศึกษาเล่าเรียน  และมักชวนเพื่อน ๆไปยิงนกตกปลาตามประสาเด็กอีกด้วย

    หลังเรียนจบชั้น ม. 4  หลวงพ่อจรัญได้ศึกษาวิชาต่าง ๆหลากหลายแขนง  ทั้งวิชาช่างกลจาก อาจารย์เลื่อน  พงษ์โสภณ และวิชาดนตรีดีดสีตีเป่าจาก หลวงประดิษฐ์ไพเราะ  ครั้งหนึ่งท่านเคยเข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  แต่เรียนได้แค่สามเดือนก็ลาออกเพราะเกิดเหตุทะเลาะวิวาทกับรุ่นพี่

    หลังจากนั้นหลวงพ่อจรัญจึงเดินทางกลับมายังบ้านเกิดที่สิงห์บุรี  และนำวิชาดนตรีที่ได้ร่ำเรียนมาประกอบอาชีพอยู่ที่อำเภอพรหมบุรี  โดยออกงานดนตรีกับ คณะจรรยารักษ์ ซึ่งมีอยู่เดิม  จนมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่ว  นอกจากมีฝืมือทางด้านดนตรีแล้ว  หลวงพ่อจรัญยังมีฝีมือทางการเขียนหนังสือ  สามารถประพันธ์เรื่อง นางอรพิมกับท้าวปาจิตต์  จนมีคณะลิเกมาขอลอกบทเพื่อนำไปแสดงเป็นลิเกหลายคณะสู่ร่มกาสาวพัสตร์

    ในวัยหนุ่มอาจกล่าวได้ว่าหลวงพ่อจรัญท่านไม่มีความสนใจในพระพุทธศาสนาเลยแม้แต่น้อย  ออกจะไม่ชอบเสียด้วยซ้ำ เพราะครั้งหนึ่งช่วงที่เป็นนักดนตรี  ท่านเคยไปเล่นดนตรีที่วัดโตนด แต่พระวัดนี้กลับพาศิษย์วัดกว่า 10 คนมารุมทำร้าย  เนื่องจากท่านเคยด่าว่าพระว่าอาศัยผ้าเหลืองหากิน  ไม่ปฏิบัติตามพระวินัย  ทำให้ท่านเกือบถูกแทงตายและถูกรุมทำร้ายจนสะบักสะบอม  โชคดีที่มีคนมาช่วยไว้ทัน  ตั้งแต่นั้นท่านจึงไม่ชอบพระ

    จนกระทั่งเมื่อท่านอายุได้ 20 ปี  โยมแม่ท่านล้มป่วยลง  ท่านจึงคิดจะบวชเพื่อตอบแทนพระคุณแม่สักหนึ่งพรรษา  แต่ปรากฏว่าการบวชครั้งนั้นเกิดสิ่งอัศจรรย์ขึ้นกับท่านจนไม่อาจลาสิกขาได้

    เรื่องมีอยู่ว่า  วันที่จะสึก  หลวงพ่อจรัญเกิดรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนขึ้นมา  แล้วท่านก็ได้ยินเสียงประหลาดดังขึ้นว่า “คุณบวชแบบนี้ดีแล้ว  จะสึกก็ไม่เป็นไร  แต่นะโมยังไม่ได้  ได้นะโมแล้วค่อยสึก”  ขณะที่ท่านกำลังนึกสงสัยว่าเป็นเสียงใคร  ก็ได้ยินเสียงดังตามมาอีกว่า  “คุณสึกก็ไม่เป็นไร  ไม่ยากอะไรนักหนา  แต่ขอถามว่าพุทธคุณได้หรือยัง  ธรรมคุณได้หรือยัง  สังฆคุณได้หรือยัง”  ซึ่งเป็นเพราะเสียงประหลาดนี้เองที่ทำให้หลวงพ่อจรัญยังครองเพศบรรพชิตมาจนถึงบัดนี้



    ธุดงค์เพื่อแสวงหาความรู้  
    เมื่อบวชเป็นพระแล้ว  หลวงพ่อจรัญได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร  เพื่อแสวงหาความรู้และประสบการณ์ทั้งทางสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน  ทั้งยังได้ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์หลายท่าน เริ่มจากเมื่อสอบนักธรรมโทได้แล้ว  ในปี 2493  หลวงพ่อจรัญได้พบ หลวงพ่อเดิม  หรือ พระครูนิวาสธรรมขันธ์  อายุ 105 ปี  แห่งวัดหนองโพธิ์  จังหวัดนครสวรรค์  หลวงพ่อเดิมเป็นผู้ที่รอบรู้ตำราพิชัยสงคราม  เชี่ยวชาญวิชาการรบในสมัยโบราณ

    ตอนแรกหลวงพ่อจรัญตั้งใจจะเรียนวิชาคาถามหานิยมกับท่าน  เพราะคิดว่าหากลาสิกขาไปประกอบอาชีพทางโลกจะได้นำไปใช้  แต่หลวงพ่อเดิมกลับให้วิชาเลี้ยงช้าง  ต่อช้างป่า  และวิชาจับช้างตกมันแทนหลังจากนั้นด้วยความเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  หลวงพ่อจรัญจึงเดินทางไปศึกษาวิชากรรมฐานกับ หลวงพ่อลี และ ท่านเจ้าคุณอริยคุณาธาร  จังหวัดขอนแก่น  โดยท่านศึกษาวิชาทำเครื่องรางของขลัง  น้ำมันมนต์  กับ หลวงพ่อจง  วัดหน้าต่าง  จังหวัดอยุธยาศึกษาวิชาสมถวิปัสสนากับ พระมงคลเทพมุนี (สด  จนฺทสโร)  หรือหลวงพ่อสด  วัดปากน้ำ  รวมถึงศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานกับ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก  ญาณสิทฺธิ)  วัดมหาธาตุ

    นอกจากนั้นท่านก็ยังศึกษาพระอภิธรรมกับ พระอาจารย์เตชิน(ชาวพม่า) ที่วัดระฆัง  ศึกษาการพยากรณ์จาก สมเด็จพระสังฆราช(อยู่  ญาโณทโย)  วัดสระเกศฯ  และศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทางจิตกับ อาจารย์ พ.อ.ชม  สุคันธรัต ด้วย

    เผชิญกฎแห่งกรรม
    ในระหว่างที่บวชเป็นพระนี้  หลวงพ่อจรัญต้องรับผลกรรมที่ทำไว้ในวัยเด็กครั้งแล้วครั้งเล่า  บางครั้งก็หนักหนาสาหัสจนแทบเอาชีวิตไม่รอดเลยทีเดียว

    เรื่องมีอยู่ว่า  ครั้งหนึ่งมีคนขี้เหล้าจ้างท่านด้วยเงิน 1 บาท  ให้นำเต่า 7 ตัวไปต้มเพื่อเป็นกับแกล้ม  ท่านจึงนำเต่าทั้งหมดไปต้มในหม้อน้ำที่น้ำกำลังเดือดพล่าน  แต่คงเพราะหม้อดินเผาที่ใช้ต้มคงเก่ามากแล้ว  เมื่อเต่าพากันดิ้นขลุกขลักอยู่ในหม้อ  หม้อจึงแตกออกเป็นสองเสี่ยง  เต่าทั้งหมดหลุดออกมาได้และยังไม่ตาย  จึงพยายามตะเกียกตะกายหนีสุดชีวิตเข้าไปซุกตัวอยู่ใกล้กอไผ่  เมื่อเด็กชายจรัญวิ่งตามเพื่อจะจับมาต้มอีก  เขาก็ต้องตกตะลึงกับภาพที่เห็นเพราะเต่าใช้สองขาหน้าปาดน้ำตาที่ไหลพราก ๆ ออกมา  เหมือนสำนวนไทยที่ว่า “ร้องไห้น้ำตาเป็นเผาเต่า” ไม่มีผิด  ด้วยความสงสารเขาจึงปล่อยเต่าทั้งหมดไป

    ขณะที่บวชเป็นพระ  หลวงพ่อรู้ล่วงหน้าว่าท่านต้องรับผลกรรมครั้งนั้น  วันหนึ่งคนที่ท่านรู้จักที่บางปะอินไม่สบาย  ท่านจึงตั้งใจไปเยี่ยม  โดยจ้างรถปิ๊กอัพไปกับคนขับสองคน  ระหว่างทางกลับฝนตกหนักมาก  ถนนลื่น  รถยนต์เสียหลักพลิกคว่ำแปดตลบหลวงพ่อดิ้นขลุกขลักอยู่ในรถ  เพราะประตูรถล็อกหมด  ศีรษะถูกกระแทกทั้งบนและล่าง  รถพังหมดทั้งคัน  พอดีมีคนผ่านมาช่วยไว้จึงรอดชีวิตมาได้  แต่ท่านก็ต้องปวดแสบปวดร้อน  ผิวหนังถลอกอยู่นานนับเดือน

    อย่างไรก็ตาม  แม้หลวงพ่อจรัญจะเจริญกรรมฐานแผ่เมตตาขออโหสิกรรมแก่เต่า  แต่กรรมเวรที่ทำไว้ยังไม่หมดแค่นั้น  แถมครั้งที่สองยังหนักหนากว่าครั้งแรก  คราวนี้ท่านประสบอุบัติเหตุอีกครั้ง  โดยรถที่ท่านนั่งมาประสานงากับรถทัวร์อย่างแรง  จนร่างของท่านพุ่งทะลุกระจกรถกระเด็นออกไปหลายวา  แล้วตกลงมาหน้าบ้านของเจ้าของโรงงานทำอิฐในสภาพคอหักพับมาอยู่ที่หน้าอกหนังศีรษะเปิดจากหน้าผากไปถึงท้ายทอย  เลือดเต็มปากเต็มคอ

    โชคดีที่มีคนมาพบเข้า  จึงอุ้มหลวงพ่อจรัญใส่รถขนอิฐแล้วนำไปส่งโรงพยาบาล  แต่บังเอิญว่ารถไม่มีเบาะ  หม้อน้ำรถก็ไม่มีฝาปิดต้องใช้ผ้าอุดแทน  ซึ่งอยู่ในตำแหน่งก้นของหลวงพ่อจรัญพอดิบพอดี  ระหว่างทางที่จะไปโรงพยาบาล  ท่านได้ยินเสียงเต่า  พร้อมเห็นภาพเต่าโผล่ออกมาแล้วพูดว่า “สมน้ำหน้า  เดี๋ยวกูจะซ้ำมึง ๆ” พอขาดคำ  น้ำในหม้อน้ำก็พุ่งขึ้นมาลวกใส่หลวงพ่อจรัญตั้งแต่หัวไปตลอดตัว  ท่านต้องทนทุกข์ทรมานไปตลอดทาง  และเมื่อไปถึงโรงพยาบาลสิงห์บุรี  หมอก็บอกกับญาติโยมว่าท่านเสียชีวิตแล้ว  ให้นำไปวัด  เตรียมจัดงานศพได้เลย ทว่าขณะที่บุรุษพยาบาลกำลังเข็นหลวงพ่อไปเย็บแผลล้างเลือดเตรียมเข้าห้องดับจิตนั้น  หลวงพ่อได้ฟื้นคืนสติ  จึงตั้งอธิษฐานจิตว่า  “ด้วยเดชะบุญกุศล  ท้าวเวสสุวัณ  เจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้า  ถ้าข้าพเจ้าใช้หนี้กรรมในโลกมนุษย์หมดแล้วก็ยินดีจะไป  แต่ถ้าข้าพเจ้ายังใช้หนี้กรรมไม่หมด  ข้าพเจ้าขอสาบานต่อท้าวเวสสุวัณว่า  ขอให้ข้าพเจ้ากลับมาแก้ตัว  สร้างกรรมดีใช้หนี้ให้หมด  ถ้าหมดแล้วข้าพเจ้าจะไม่กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก”

    เมื่อสิ้นคำอธิษฐาน  ปรากฏว่าบุรุษพยาบาลเข็นรถไปตกร่องประตูเหล็ก  และจากแรงกระแทกนี่เองทำให้กระดูกคอของหลวงพ่อซึ่งขาดอยู่เกิดติดกันขึ้นมา  หลวงพ่อจรัญกลับฟื้นคืนสติ  ทางโรงพยาบาลจึงส่งตัวท่านไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลเลิดสิน  กรุงเทพฯ  เมื่อพ้นระยะวิกฤติแล้ว  จึงส่งตัวท่านกลับมารักษาต่อที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ระหว่างนี้ท่านต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสเป็นเวลากว่า 50 วัน  หิวน้ำก็ไม่สามารถดื่มได้  ต้องหยอดด้วยหลอดกาแฟ  เวลาฉันข้าวก็ต้องใส่เข้าไปข้าง ๆ ปากทีละน้อย  ขบฉันอาหารเลือดก็ไหลตลอดเวลา  ในช่วงเวลาที่ต้องรับผลกรรมนี่เอง  หลวงพ่อจรัญจึงนึกถึงกรรมที่เคยทำกับนกขึ้นมาได้อีกเรื่องหนึ่ง…

    เรื่องมีอยู่ว่า…ในวัยเด็กท่านชอบยิงนกตกปลา  ครั้งหนึ่งท่านยิงนกจนปีกหัก  ตกลงบนคันนา  มันพยายามวิ่งหนีสุดชีวิต  แต่เด็กชายจรัญกลับวิ่งไล่ตามแล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น  เจ้านกตัวนั้นตกใจหันมาจิกมือท่านเต็มแรงจนเลือดพุ่งกระฉูด  ด้วยความเจ็บแค้น  เด็กชายจรัญจึงจับนกหักคอ  ถลกหนังหัว  โดยไม่สนใจว่าเจ้านกตัวนั้นจะร้องลั่นและสิ้นชีวิตด้วยความเจ็บปวดทรมาน  และผลกรรมในวันนั้นก็ตามมาให้ผลกับท่านอย่างที่ปรากฏอยู่ในขณะนั้นเอง

    เรื่องราวการให้ผลของกรรมของหลวงพ่อจรัญนั้นมีมากมายหลายเรื่อง  สำหรับคนที่ชอบโกหกสบถสาบาน  หลวงพ่อเล่าว่า ในวัยเด็กท่านมักจะขโมยเงินของยายบ่อย ๆ  เมื่อถูกจับได้ก็ไม่ยอมรับ  พร้อมทั้งสาบานว่า “ถ้าขโมยจริงขอให้ฟ้าผ่า (แต่ไม่ตาย)”ผลกรรมในครั้งนั้นส่งผลให้วันหนึ่งขณะที่หลวงพ่อกำลังเทศน์โปรดญาติโยมอยู่ที่กุฏิหลังปัจจุบัน  ตอนบ่ายสี่โมงเย็นได้เกิดฟ้าผ่าลงมาที่ตัวของหลวงพ่อจนจีวรไหม้  แต่เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่ร่างกายของหลวงพ่อไม่ได้รับอันตรายใด ๆ  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้ให้หลวงพ่อย้อนคิดถึงคำสาบานที่ให้ไว้กับยาย  และมักยกตัวอย่างเรื่องนี้มาสอนญาติโยมให้ปฏิบัติตัวอยู่ในศีลในธรรมเสมอ

    ในเรื่องกฎแห่งกรรมนี้  หลวงพ่อจรัญได้ชี้แนะแนวทางสำหรับคนที่อยากหมดเวรหมดกรรมไว้ว่า
    “อย่าไปสร้างเวรสร้างกรรมต่อไป  แค่นี้ก็พอแล้ว  ค่อยทยอยใช้  ไม่นานก็หมดไปเอง  กรรมเราเป็นคนทำ  เราก็ต้องเป็นคนแก้จะไปให้คนอื่นแก้ไม่ได้  การเจริญกรรมฐานทำให้รู้กฎแห่งกรรมว่าเคยทำอะไรไว้  จะได้แก้กรรม (ชดใช้กรรม) ของตัวเอง  แล้วแผ่ส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร  ที่ร้ายจะกลายเป็นดี  ลูกหลานจะมั่งมีศรีสุข  ประกอบอาชีพการงานมีเงินไหลนอง  ทองไหลมา”
    :- http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/4379.html
     
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    คุณอนันต์ของพาหุงมหากาฯ

    ครั้งหนึ่งหลวงพ่อจรัญฝันว่าได้พบกับ สมเด็จพระพนรัตน์  วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา  โดยในฝันท่านแนะให้หลวงพ่อจรัญเดินทางไปยังวัดใหญ่ชัยมงคล  เมื่อตื่นขึ้นหลวงพ่อจรัญจึงไปยังวัดนี้  และได้พบบทสวดมนต์ที่สมเด็จพระพนรัตน์ถวายให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสวดเป็นประจำคือ“พาหุงมหาการุณิโก”  ซึ่งเป็นบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ  พระธรรมคุณและพระสังฆคุณ  ตั้งแต่นั้นหลวงพ่อจรัญก็สอนการสวดพาหุงมหากาฯให้แก่ญาติโยมเรื่อยมา

    “พาหุงมหากาฯเป็นบทสวดมนต์ที่มีค่าที่สุด  มีผลดีที่สุด เพราะเป็นชัยชนะอย่างสูงสุดของพระบรมศาสดาจากพญามาร  และด้วยอำนาจแห่งบารมีธรรมโดยแท้  ผู้ใดได้สวดเป็นประจำทุกวันจะมีชัยชนะ  มีความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน  มีสติระลึกได้  จะตายก็ไปสู่สุคติภูมิ  ต้องสวดพาหุงมหากาฯก่อนแล้วจึงมาถึงชินบัญชร  ให้จดจำกันเอาไว้  นั่นแหละมงคลในชีวิต”
    เสียงสวด พาหุงมหากา อิติปิโส108 - หลวงพ่อจรัญ



    0:10 มหานมัสการ
    0:39 พระพุทธคุณ
    1:05 พระธรรมคุณ
    1:24 พระสังฆคุณ
    2:20 พุทธชัยมงคลคาถา
    5:48 ขัยปริตร
    7:10 ภะวะตุสัพ
    7:59 อิติปิโส 108
    DrSeripiput Srimuang
    Published on Jan 12, 2013
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2018
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    BadKarma.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • BadKarma.jpg
      BadKarma.jpg
      ขนาดไฟล์:
      119.4 KB
      เปิดดู:
      1,134
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    “…12 ข้อคิดเกี่ยวกับกรรมดีกรรมชั่วและการให้ผลของกรรม…”

    1. ผลจากกรรมดีมีจริง ผลจากกรรมชั่วก็มีจริง จงเชื่อว่า ทุกสิ่งที่คุณทำไม่มีวันสูญและจะตามสนองคุณไม่วันใดก็วันหนึ่ง ไม่ภพใดก็ภพหนึ่ง ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง
    2. เพียงแค่คิดดี นั่นก็เป็นกุศลแล้ว เพียงแค่คิดชั่ว นั่นก็เป็นอกุศลแล้ว จงหมั่นดูแลความคิดของตนอยู่เสมอ เพราะจุดเริ่มต้นของการ กระทำมาจากความคิด ทันทีที่คิด กรรมเกิดขึ้นแล้ว ทันทีที่พูดและกระทำไปตามความคิด กรรมย่อมส่งผลโดยสมบูรณ์
    3. โกงเขามาหนึ่งบาท ต้องชดใช้หนึ่งล้านบาท ให้เขาไปหนึ่งบาท ได้กลับคืนหนึ่งล้านบาท ไม่ว่ากรรมดีกรรมชั่ว ย่อมส่งผลรุนแรงเป็นร้อยเท่าพันทวี เชื่อเถอะว่า ไม่มีผลประโยชน์ใดที่คุ้มค่าพอจะให้เราลงมือทำความชั่วเลย
    4. เมื่อทำดี จงอย่าหวังสิ่งตอบแทน แม้แต่อานิสงส์จากผลบุญ อย่าทำดีเพื่อหวังรวย อย่าทำดีเพื่อหวังลาภ ยศ สรรเสริญ ขอให้คิดว่า เรากำลังทำดีเพื่อละความตระหนี่ ละความโลภ ความโกรธ ความหลงและอัตตาตัวตน
    5. กรรมดีและกรรมชั่วนำมาหักลบกลบหนี้กันไม่ได้ กรรมดีส่วนกรรมดี กรรมชั่วส่วนกรรมชั่ว แต่ถ้าเราทำความดีบ่อยๆ ผลจากกรรมดีย่อมหนุนนำ จากร้ายกลายเป็นดีได้ จากชีวิตที่ไม่ดี ก็ค่อยๆ กลับมาเจริญรุ่งเรืองได้ เปรียบเหมือนน้ำผสมเกลือ ความเค็มคือกรรมชั่ว ส่วนน้ำคือกรรมดี แม้เดิมทีน้ำจะมีรสเค็มจากเกลือ แต่ถ้าเราหมั่นเติมน้ำบ่อยๆ เกลืออาจไม่ได้หายไปไหน แต่สุดท้ายความเค็มจะค่อยๆ เจือจางไปได้ด้วยน้ำเปล่าที่เปรียบได้กับการทำดี
    6. การกระทำบางอย่าง เป็นการสร้างทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ย่อมส่งผลทั้งร้ายดี เช่นเมื่อจับปลามาฆ่า เพื่อทำกับข้าวให้แม่กิน ผลกรรมจากการฆ่าปลาย่อมเกิดขึ้น ผลกรรมจากการให้ข้าวให้น้ำแม่ย่อมเกิดขึ้นเช่นกัน ถ้าเป็นไปได้ จงกระทำแต่กรรมที่มีเพียงผลบุญ อย่าทำกรรมที่ส่งทั้งผลบุญและบาปในคราเดียว
    7. ชีวิตเป็นเช่นไร เกิดจากผลกรรมทั้งสามวาระ หนึ่งกรรมอดีตชาติเปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ สองกรรมหรือการกระทำที่ผ่านมาในชาตินี้ เปรียบเหมือนการดูแลรดน้ำพรวนดิน สามกรรมในขณะจิตนั้นๆ เปรียบเหมือนการเก็บพืชผลของต้นไม้ ถ้าได้เมล็ดมาไม่ดี แต่การดูแลดี และใส่ใจในการเก็บเกี่ยว ก็ย่อมได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ แต่ถ้าได้เมล็ดพันธุ์ที่ดีมาแล้ว กลับไม่ใส่ใจดูแล ซ้ำยังเก็บผลผลิตแบบทิ้งๆ ขว้างๆ แม้เริ่มต้นดี แต่ท้ายที่สุดอาจไม่ได้อะไรเลย ชีวิตคนๆ หนึ่ง จะร้ายจะดี ไม่ได้เป็นผลของกรรมวาระใดวาระหนึ่ง แต่เกิดจากผลกรรม และเหตุปัจจัยหลายๆ วาระมารวมกัน
    8. กรรมอดีตแก้ไม่ได้ แต่เราสามารถใช้เวลาในปัจจุบันในการสร้างกรรมดีใหม่ๆ ได้ ใครที่ชีวิตไม่ดีอย่าเพิ่งท้อ หมั่นสร้างกรรมดีต่อไป ไม่ช้ากรรมดีจะให้ผลแน่นอน
    9. บางคนทำชั่วแต่ดูว่าได้ดี เพราะกรรมดีที่เคยทำไว้ในอดีตยังหนุนนำ หมดอานิสงส์จากกรมดีเมื่อไหร่ กรรมชั่วที่ทำไว้ย่อมให้ผลเป็นวิบากอันตราย บางคนทำดีแทบตายแต่ดูว่าไม่ดี นั่นก็เป็นเพราะเขาเคยสร้างกรรมชั่วมาก่อน หมั่นสร้างกรรมดีต่อไป ไม่นานชีวิตย่อมดีขึ้นเป็นลำดับ
    10. ยามชีวิตกำลังขึ้น อย่าลำพอง เพราะเรายังมีผลจากกรรมชั่วไล่ล่าอยู่ ขอให้สร้างความดี ขอให้ใช้บุญต่อบุญไปเรื่อยๆ ยามชีวิตกำลังย่ำแย่อย่าได้ท้อแท้ เพราะคนเราย่อมมีกรรมทุกชนิดรอให้ผลอยู่ ยึดมั่นในความดีแล้วทำต่อไป วันหนึ่งกรรมดีที่เคยสร้างไว้ ย่อมให้ผลเป็นสิ่งดีๆ ตอบแทน
    11. จงทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพราะเราไม่รู้หรอกว่า ผลกรรมที่กำลังจะมาถึงตัวเราเร็วๆ นี้ เป็นผลกรรมชนิดไหน ถ้าเรารับผิดชอบหน้าที่อย่างเต็มกำลัง ประกอบกับกรรมดีหนุนนำ ชีวิตย่อมพุ่งทะยานแบบก้าวกระโดด แต่ถ้าเรารับผิดชอบหน้าที่ดีแล้ว แต่มีกรรมชั่วมาเบียดบัง อย่างน้อยที่สุด ชีวิตก็ยังไม่ย่ำแย่จนเกินไปเพราะความไม่งอมืองอเท้าของเราเอง
    12. สัตว์โลกทุกตัวตนอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งกรรม ต่างตนต่างมีกรรมและวาระที่ต้องชดใช้กรรมเป็นของตนเอง กรรมเป็นสิ่งมองไม่เห็นและบางครั้งหลายอย่างในชีวิตอาจดูไม่ยุติธรรม แต่เชื่อเถอะว่า ระบบกรรมเป็นระบบที่ยุติธรรมยิ่งกว่าระบบใดๆ ในจักรวาล ชีวิตของเราที่เห็น เป็นชีวิตที่ยุติธรรมและเหมาะสมกับเราที่สุดแล้ว ทุกคนจะได้ในสิ่งที่ควรได้ จะพบในสิ่งที่ควรพบ ไม่ว่าชีวิตของเรากำลังเผชิญกับอะไรอยู่ จะความทุกข์หรือความสุข จะความเสื่อมโทรมหรือความเจริญรุ่งเรือง จงเผชิญหน้ากับทุกสิ่งอย่างเบิกบาน บางครั้งกรรมอาจส่งผลกับชีวิต ให้ต้องสูญเสียทรัพย์สมบัติ ผู้คน หรือแม้แต่เกิดทุกข์ภัยกับร่างกาย แต่กรรมไม่อาจส่งผลต่อใจที่อยู่เหนือสถานการณ์ได้ หนทางพ้นไปจากกรรมมีอยู่หนทางเดียว นั่นคือฝึกใจของเราให้อยู่เหนือสถานการณ์ใดๆ ร้ายไม่หวั่นไหว ดีไม่ลำพอง ยกใจขึ้นเป็นผู้เห็นมิใช่ผู้เล่น เพ่งเข้าไปในความจริงว่า กายใจนี้ไม่ใช่เรา และไม่ใช่สิ่งที่เราควรสำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวเราของเรา เมื่อประจักษ์ความจริงข้อนี้แก่ตนเมื่อไหร่ จิตย่อมสลัดทิ้งอัตตาตัวตน แม้กรรมมีอยู่ แต่ผู้รับกรรมย่อมไม่มีอีกต่อไป…

    ขอบคุณข้อมูลจาก FB : พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    กรรม ๑๒ ประการ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
    ในหนังสือวิสุทธิมรรค แต่งโดยพระพุทธโฆสาจารย์พระเถระ ชาวอินเดีย ได้แบ่งกรรมไว้ ๑๒ ประเภท โดยท่านแบ่งเป็น ๓ หมวด ตามประเภทการให้ผลของกรรม คือ กรรมให้ผลตามกาล กรรมให้ผลตามหน้าที่ และกรรมให้ผลตามความหนักเบา

    หมวดกรรมให้ผลตามกาล
    ๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้
    ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า
    ๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อๆ ไป
    ๔. อโหสิกรรม กรรมที่เลิกให้ผล คือ ให้ผลเสร็จไปแล้ว หรือหมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไป

    หมวดกรรมให้ผลตามหน้าที่
    ๕. ชนกกรรม กรรมที่แต่งมาดีหรือชั่ว
    ๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมที่สนับสนุน คือ ถ้าชนกกรรมเดิมแต่งดี ส่งให้ดียิ่งขึ้น แต่งให้ชั่ว ก็ส่งให้ชั่วยิ่งขึ้น
    ๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้นหรือขัดขวางกรรมเดิม เช่น เดิมแต่งมาดี เบียนให้ชั่ว เดิมแต่งมาชั่ว เบียนให้ดี
    ๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือ พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น กรรมเดิมแต่งไว้ดีเลิศ กลับทีเดียวเป็นขอทาน หรือแต่งไว้เลวมาก กลับทีเดียวเป็นมหาเศรษฐีไปเลย

    หมวดกรรมให้ผลตามความหนักเบา
    ๙. ครุกรรม กรรมหนักฝ่ายดี เช่น ทำสมาธิจนได้ฌาน ฝ่ายชั่ว เช่น ทำอนันตริยกรรม มีฆ่ามารดาบิดา เป็นต้น เป็นกรรมที่ให้ผลโดยไม่มีกรรมอื่นมาขวางกั้นได้
    ๑๐. พหุลกรรม กรรมที่ทำจนชิน เกิดจากการทำบ่อยๆ ทำสั่งสมไปนานเข้าก็พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่ทำครุกรรมมา กรรมนี้ก็จะส่งผลทันที
    ๑๑. อาสันนกรรม กรรมที่ทำเมื่อใกล้ตาย หรือที่เอาจิตใจจดจ่อนึกถึงในเวลาใกล้ตาย ส่งผลให้ไปสู่ที่ดีหรือชั่วได้ เหมือนโคแก่ที่อยู่ปากคอก แม้แรงน้อยเมื่อเปิดคอกก็ออกได้ก่อน
    ๑๒. กตัตตากรรม กรรมสักแต่ว่าทำ คือ เจตนาไม่สมบูรณ์ อาจจะทำด้วยความประมาทรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ก็ส่งผลดีร้ายให้ได้ ในเมื่อไม่มีกรรมอื่นจะให้ผลแล้ว

    ดังกล่าวข้างต้นว่า กรรม คือสิ่งที่ทำโดยมีเจตนา ซึ่งถ้าจะดูว่าผลกรรมสัมพันธ์กับชีวิตอย่างไร ไม่ต้องดูไกล แต่คุณสมบัติของมนุษย์คือศีล ๕ ถ้าผิดศีลข้อใด มันจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของกรรมนั้น นี่เรียกว่า หลักกรรมกับการเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้ทำ เช่น

    ปาณาติบาต ถ้าติดตัวมา ๖๐% ไม่รู้จักแก้ รับรองเป็นอัมพาตเป็นง่อยเปลี้ยเสียขา สามวันดีสี่วันไข้ โดนฆ่า โดนทำร้าย โดนทรมาน ถ้าไม่สร้างความดีไว้ต้องสร้างบุญ คือกรรมฐานแก้จึงจะบรรเทา

    อทินนาทาน ถ้าติดตัวมา ๖๐% ไปเบียดเบียนทรัพย์เขาครั้งอดีตที่ผ่านมา หรือในปัจจุบันก็ตาม รับรองต้องถูกโกง ถูกปล้นจี้ ถูกแย่งชิง วิ่งราว ของหาย ถูกไฟไหม้บ้าน ออกมาในรูปแบบนี้แน่

    กาเมสุมิจฉาจาร ถ้าติดตัวมา ๖๐% ชู้สาวนานาประการในอดีตชาติ มาชาตินี้ครอบครัวหาความสุขไม่ได้ เป็นผู้หญิง มีสามีเป็นของเขาหมด ถ้าเป็นผู้ชาย มีภรรยามีชู้หมด ต้องระวังไว้อย่าได้ทำ

    มุสาวาท ถ้าติดตัวมา ๖๐% หลอกลวงหวังเอาลาภเขา พูดส่อเสียดคำหยาบ เพ้อเจ้อ รับรองโดนหลอก โดนโกง นี่กรรมพูดไม่มีความจริงออกมาแบบนี้ตลอด

    สุราเมรัย ถ้าติดตัวมา ๖๐% รับรองปัญญาอ่อน ถ้าดื่มสุราต่อไปอีกจะกลายเป็นคนวิกลจริต เป็นโรคประสาท คนบ้านั้น เป็นกรรมมาจากเอาสุราไปดื่มในงานบำเพ็ญกุศล ในวัดวาอาราม เป็นต้น

    แต่ถ้าเราไม่ทำผิดศีล ชีวิตเรามันก็เปลี่ยนไปทางดีในเรื่องนั้นๆ

    พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม)
    เครดิต : นาฬิกาชีวิต ถูกลิขิตด้วยกฎแห่งกรรม
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    kam01_300.jpg
    กุศโลบายการเผชิญกรรม (ดร.ไชย ณ พล)
    ดร.ไชย ณ พล (ศิยะ ณัญฐสวามี)

    โดยปกติแล้ว
    อำนาจกรรมเก่าจะส่งผลมากระทำต่อชีวิตเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
    อีกส่วนหนึ่งเป็นผลจากกรรมใหม่ซึ่งมีพลังมากกว่า
    ด้วยเหตุที่กรรมใหม่มีกำลังมากกว่านี้เอง
    ความเพียรจึงให้ผลได้
    ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
    บุคคลย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร
    หรือสุภาษิตที่เราทราบกันดีว่า
    ความเพียรนำมาซึ่งความสำเร็จ
    ดังนั้น คนจนจึงอาจร่ำรวยได้หากขยัน
    คนโง่ก็อาจฉลาดขึ้นได้หากหมั่นศึกษา
    คนเลวก็อาจสำเร็จอรหันต์ได้
    หากบำเพ็ญเพียรอย่างเอาจริงเอาจัง

    จึงสรุปได้ว่า อำนาจที่มีผลต่อชีวิตมาก คือกรรมปัจจุบันนั่นเอง
    เราจึงสามารถหนีพ้นกรรมเก่า หรือบรรเทาให้เบาบางลง
    หรือเบี่ยงเบนวิบากต่างๆ ออกไปให้พ้นตัวได้
    หากอำนาจกรรมใหม่ของเราดีพอ
    และมีปริมาณมากพอด้วยกุศโลบายดังนี้

    การเผชิญเวรกรรมที่พัวพันชีวิตต่างๆ นั้น
    มีกุศโลบายอันแยบคาย
    เพื่อให้ได้ประโยชน์จากวิบากกรรมแต่ละบ่วง ดังนี้

    ๑. การทรงสติแล้วใช้ปัญญา
    เมื่อถึงวาระรับกรรม
    หากเป็นผลกรรมดีอย่าลิงโลดตายใจ
    จะก่อให้เกิดความประมาท ควรทรงสติมั่นไว้
    แล้วใช้ปัญญาบริหารผลกรรมดีนั้น
    เพื่อสรรค์สร้างกรรมดีใหม่สืบเนื่องไปให้ยิ่งกว่าเดิม
    จึงจะชื่อว่าใช้กรรมดีอย่างกำไร

    หากเป็นผลกรรมเลวก็อย่าท้อแท้ตีโพยตีพาย
    ปัญหาทุกปัญหาย่อมมีทางออกที่เหมาะสมเสมอ
    หากเราสุขุม รอบคอบ ย่อมหาทางออกนั้นเจอ
    แต่หากโวยวายเสียก่อน
    นอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาใดๆ แล้ว
    ยังสร้างปัญหาใหม่ทับถมยิ่งขึ้น
    เกิดอารมณ์ร้ายจิตใจเสื่อมทราม และเหนื่อยยากเปล่าๆ
    เมื่อจำต้องเผชิญผลกรรมเลวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    ก็จงยอมรับความจริงว่าเราสร้างเหตุที่ไม่ดีไว้ ผลจึงออกมาไม่ดีดังนี้

    ดังนั้น พึงเปลี่ยนกรรมเลวให้เป็นกรรมดีเสีย

    เพื่อผลที่ดีในอนาคต โดยสรรสนองตอบด้วยดีทุกครั้งที่เราเผชิญวิบากนั้น

    ในขณะที่เหตุการณ์ที่ประสบคือผลกรรมเก่า
    ส่วนการสรรสนองตอบคือกรรมใหม่
    ไม่ว่าผลกรรมเก่าจะเป็นอย่างไร
    เรามีสิทธิ์สรรค์สร้างกรรมใหม่ให้ดีได้ตามกำลังสติปัญญา
    ตัวอย่างเช่น
    หากเราเคยตบหน้าเพื่อนที่ไม่มีความผิดไว้ในอดีต
    มาปัจจุบันทำให้เราโดนตบหน้าทั้งๆ ที่ไม่มีความผิดบ้าง

    เมื่อเผชิญสถานการณ์นี้ เราอาจเลือกสนองตอบได้สามประการคือ
    ก. ตบตอบ
    หากเราตบตอบก็เป็นการชำระหนี้กรรมเก่า
    แล้วสร้างกรรมใหม่ที่ไม่ดีขึ้นมาเป็นบ่วงใหม่อีก
    ในอนาคตต้องเจอกันอีก และต้องตบกันอีก
    ข. เฉย
    หากเราเฉย ไม่มีอารมณ์หรือปฏิกิริยาใดๆ
    เกิดขึ้นก็เป็นการชำระหนี้เก่า
    แล้วก็ไม่ได้สร้างกรรมใหม่ใดๆ ต่อกัน
    จึงหมดสิ้นกันไปอาจจะไม่ต้องเจอกันอีก
    หรือหากเจอกันอีกก็ไม่ต้องตบตีกัน
    ค. ให้อภัยแล้วแผ่เมตตาด้วยไมตรี

    หากเราทำเช่นนี้ตอบบนพื้นฐานของความเข้าใจอย่างแท้จริง
    ก็เป็นการชำระหนี้กรรมเก่าหมดสิ้น แล้วสร้างกรรมใหม่ที่ดีแทน
    ในกรณีนี้เจอกันอีกย่อมเป็นมิตรกันและอาทรต่อกัน
    นี่เป็นวิธีเปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร
    และเปลี่ยนจากบ่วงกรรมเลงเป็นบ่วงกรรมดี

    นี่คือ วีธีการใช้สติปัญญาในการเผชิญกรรม

    ๒. การหลบในฌาณสมาบัติ

    เมื่อเราเข้า รูปฌาณสี่ อรูปฌาณสี่ และนิโรธสมาบัติ
    ร่างกายจะหยุดทำงานชั่วคราว
    ซึ่งเป็นการระงับกลไกการเสวยวิบากกรรมไปชั่วขณะ
    และธรรมดาผลกรรมทั้งหลายจะเข้ามาเป็นวาระ
    เมื่อหมดเวลาแล้วก็จำต้องผ่านไป

    หากเราอยู่ในฌาณสมาบัติลึกๆ ดังกล่าว
    ในขณะที่วิบากกรรมเข้ามา เราก็ไม่ต้องไปเสวยผลกรรมนั้น
    ทั้งขณะเดียวกันการทรงฌาณสมาบัติ
    ก็เป็นการสร้างกรรมใหม่อันเป็นมหากุศลให้บังเกิดขึ้นอีกด้วย

    ๓. การแทรกแซงกรรม

    กรรมแต่ละชนิด ให้ผลไม่พร้อมเพียงกัน
    ซึ่งขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของความตั้งใจ
    และความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกระทำดังนี้

    ก. ครุกรรม

    ซึ่งหมายถึงกรรมหนัก เช่น การเจริญฌาณสมาบัติ
    การกระทำต่อพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ พ่อ แม่ และสังคม
    จะให้ผลทันทีที่ได้กระทำและให้ผลสืบเนื่องตลอดไปจนกว่าจะเข้านิพพาน

    ข. อาจิณณกรรม
    ซึ่งคือการกระทำที่ทำจนเป็นนิสัย จะให้ผลเร็วรองลงมา
    และสืบเนื่องนานเท่าที่กรรมนั้นยังคงเป็นนิสัยอยู่
    ค. ลหุกรรม
    ซึ่งคือกรรมเบา เช่น การรังเกียจสัตว์อื่น
    จะให้ผลช้าและมีวาระรับผลสั้น
    ง. กัตตากรรม
    ซึ่งคือ กรรมที่กระทำโดยไม่ได้ตั้งใจ
    ได้แก่ อุบัติเหตุทั้งหลายเป็นต้น
    จะให้ผลเมื่อกรรมประเภทอื่นๆ อ่อนตัวลงแล้ว
    และเมื่อมีความประมาทเป็นปัจจัย

    เมื่อเราทราบว่ากรรมแต่ละประเภท ให้ผลต่างกันดังนี้
    เราก็สามารถจัดสรรชุดกรรมของเราให้สมควรได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2018
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    (ต่อ)
    ตัวอย่างเช่น
    หากผลกรรมที่เรากำลังจะเผชิญในอนาคตอันใกล้นี้
    คือผลกรรมเลวจากอาจินณกรรมและลหุกรรมหลายชุด
    เราก็สามารถแทรกแซงกลไกกรรมได้
    ด้วยการสร้างครุกรรมที่เป็นกุศลขึ้นมาทันที
    ครุกรรมซึ่งมีความเข้มข้นกว่าย่อมให้ผลก่อน
    อาจินณกรรมและลหุกรรมก็ต้องถอยห่างออกไป
    หากกรรมที่เราต้องรับผล เป็นกรรมเลว
    ประเภทครุกรรมเหมือนกัน
    เราก็สามารถบรรเทาความเลวร้ายที่จะประสบได้
    โดยการสร้างครุกรรมที่เป็นกุศลขึ้นมา

    เมื่อกรรมที่มีน้ำหนักเท่ากันมาในวาระเดียวกันดังนี้
    จะไม่อาจทำให้วาระของอีกกรรมหนึ่งถอยร่นไป
    แต่จะรับกรรมพร้อมกันคือ ทั้งผลกรรมเลว และผลกรรมดี
    ซึ่งก็ยังดีกว่าที่จะรับแต่ผลกรรมเลวอย่างเดียว
    เพราะถ้าไม่มีกรรมดีมาแล้วจะหาทางออกจะปัญหาไม่เจอ
    อนึ่ง การแทรกแซงกรรมนี้
    กรรมทั้งหลายที่เราเคยทำไว้ก็ยังอยู่
    เพียงแต่เราจัดลำดับใหม่ตามน้ำหนัก
    และอำนาจในการสนองผลของกรรมเท่านั้น
    ๔. การคลายขันธ์
    ใน การฝึกสมาธิแบบผ่อนคลายจนทำให้ร่างกายและจิตใจสงบระงับ
    จะมีการปรับองค์ประกอบภายในขันธ์ใหม่
    สิ่งผิดปกติต่างๆ ในขันธ์ทั้งหลายจะถูกขับออกไปจากกายและใจด้วย

    เป็นหลักธรรมดาของทุกสิ่งในจักรวาลนี้ที่ถ้าลดอุณหภูมิให้สงบเย็นลง
    องค์ประกอบภายในจะจัดเรียงตัวกันใหม่ให้เป็นระเบียบมากขึ้น


    ยิ่งเย็นลงเท่าใด องค์ประกอบภายในก็จะมีความเป็นระเบียบเท่านั้น
    ยิ่งองค์ประกอบภายในประสานกลมกลืนกันด้วยระเบียบอันดีเพียงใด
    ก็จะขจัดสิ่งแปลกปลอมออกไปได้มากเพียงนั้น
    ยิ่งขจัดสิ่งแปลกปลอมออกไปได้มากเพียงใดก็บริสุทธิ์มากเพียงนั้น
    ยิ่งบริสุทธิ์มากเพียงใดก็จะมีอนุภาพเพิ่มพูนมากเพียงนั้นดังเหล็ก

    เมื่อเป็นเหล็กธรรมดาโมเลกุลของมันจะไม่เป็นระเบียบ
    ยุ่งเหยิง สับสน จะเป็นเหล็กที่ด้อยอานุภาพ
    แต่เมื่อลดอุณหภูมิให้เย็นลง
    โมเลกุลของเหล็กนั้นจะเรียงตัวกันใหม่ให้เป็นระเบียบ
    ในขณะที่โมเลกุลจัดเรียงตัวกันใหม่นั้น
    โมเลกุลประเภทเดียวกันก็จะเกาะตัวเข้าหากัน
    โมเลกุลที่แปลกปลอมต่างพวกก็จะถูกเบียดออกจากกลุ่ม
    เมื่อโมเลกุลของเหล็กทั้งหมดเรียงตัวกันเป็นระเบียบจนเป็นเนื้อเดียวกันดีแล้ว
    ก็จะมีอำนาจดึงดูดเกิดขึ้นกลายเป็นแม่เหล็ก
    หรือที่เห็นกัน ชัดอยู่เป็นประจำก็คือน้ำ
    หากเรานำไปต้มให้ร้อน ก็จะเดือดพลุ่งพล่าน
    หากลดอุณหภูมิให้เย็นลงมันก็สงบนิ่ง
    แต่ถ้าทำให้เยือกเย็นยิ่งยวดแล้ว
    ก็จะแข็งแกร่งกลายเป็นน้ำแข็งขึ้นมา
     
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    (ต่อ)
    ในทำนองเดียวกัน คนก็เช่นกัน
    หากจิตใจเร่าร้อนมากก็ฟุ้งซ่าน ตะเกียกตะกาย ทุรนทุราย
    หากสงบเย็นลงก็จะนุ่มนวลมั่นคง
    แต่หากเยือกเย็นจนเป็นปกติแท้แล้วก็นิ่งสนิท
    มีความเบิกบานคงทนถาวรและมีอำนาจสูง
    ดังนั้น กรรมเลวอันเป็นสิ่งผิดปกติในร่างกายและจิตใจ
    จึงอาจ มลายไปได้ด้วยการคลายขันธ์
    เพราะกรรมทั้งหลายย่อมสะสมอยู่ในขันธ์นั่นเอง

    เมื่อเราเป็นผู้กระทำ ความรู้สึกว่าเป็นผู้กระทำก็อยู่ในขันธ์
    เมื่อเราคลายขันธ์ปรับองค์ประกอบใหม่ให้ปกติ
    เอาความเป็นผู้กระทำออกเสีย
    หรือในกรณีที่ถูกกระทำก็เอาความเป็นผู้ถูกระทำ ออกเสีย
    ก็จะไม่มีวาระแห่งการทวงหนี้กรรมใดๆ อีก
    เพราะไม่มีความเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ใดๆ สำหรับกรรมนั้นๆ แล้ว
    วิธี การคลายขันธ์นี้
    บุคคลจะไม่สามารถคลายขันธ์จนหมดกรรมทุกประการได้
    เพราะการประกอบกันของขันธ์แต่ละชนิด
    ก็เป็นกรรมและผลกรรมเช่นกัน
    กระนั้นบุคคลสามารถรักษาปกติสุขแห่งร่างกายและจิตใจ
    ทั้งบำบัดสิ่งผิดปกติอันเลวร้ายออกจากขันธ์ได้ด้วยการคลายขันธ์นี้
    การคลายขันธ์ขณะนั่งสมาธินั้น
    อาจเรียกได้ว่าเป็นการคลายมลทินออก
    ซึ่งอาจมีอาการต่างๆ ทางร่างกายปรากฏขึ้น
    และเมื่อคลายขันธ์แล้วก็จะเกิดความปีติสุขตามมา เช่น
    ก. คลายขันธ์ที่ระบบประสาททั้งห้า
    มีอาการขนลุกชูชัน น้ำตาไหล เป็นต้น
    ปีติสุขที่เกิดเรียกว่า ขุททกาปีติ
    ข. คลายขันธ์ในเส้นประสาทภายใน รู้สึกแปลบๆ
    ปีติที่เกิดเรียกว่า ขณิกาปีติ
    ค. คลายขันธ์ตามเซลล์รู้สึกซู่ ซ่านไปทั้งตัว
    ปีติที่เกิดเรียกว่า โอกันติกาปีติ
    ง. คลายขันธ์ในโครงสร้าง ลอยขึ้นมาจากพื้น
    ปีติที่เกิดเรียกว่า อัพเพคาปีติ
    จ. คลายขันธ์ตามอวัยวะต่างๆ
    รู้สึกเย็นเอิบอาบไปทั่วสรรพางค์กาย
    ปีติที่เกิดเรียกว่า พรณาปีติ
    เมื่อคลายขันธ์จนเกิดปีติขึ้น
    กรรมก็เป็นอันคลายไปเป็นชุดๆ กรรมก็จะเบาบางลง
    ขันธ์ก็จะสะอาดขึ้นโดยลำดับ

    ๕. การอโหสิกรรม
    การ ให้อโหสิกรรมเป็นการตัดบ่วงกรรม
    กรรมที่ได้รับการให้อโหสิแล้ว
    เป็นโมฆะกรรมย่อมไม่ให้ผลใดๆ อีก
    ดังนั้น กรรมใดที่มีเจ้ากรรมนายเวรผูกบ่วงพยาบาทอยู่
    และเจ้ากรรมนายเวรนั้นก็ได้มาปรากฏต่อหน้าแล้ว
    ก็พึงประกาศอโหสิกรรมแก่กัน โดยตั้งจิตอธิษฐานว่า

    กรรมชั่วอันใดที่ท่านได้กระทำแล้วต่อ ข้าพเจ้า
    ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
    อันทำให้ท่านต้องตกระกำลำบากอยู่
    หรือจะตกระกำลำบากในกาลต่อไป
    ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้แก่บาปเวรนั้นของท่าน
    ขอท่านอย่าได้เสวยผลกรรมอันทุกข์ทรมานนั้นเลย
    และหากมีกรรมชั่วอันใดที่ข้าพเจ้ากระทำแล้วต่อท่าน
    ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี
    ขอท่านจงงดโทษอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด
    ข้าพเจ้าจักสำรวมระวังในกาลต่อไป?


    จากนั้นก็แผ่เมตตาและอุทิศส่วน กุศล
    ไปยัง เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งใกล้และไกล
    ก็จะตัดกรรมเก่าอันไม่สมควรเสียได้
    แล้วหมั่นเจริญกรรมใหม่อันสมควรต่อไป
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    (ต่อ)
    ๖. การก้าวล่วงกรรม
    ในกรณีเรากระทำผิดไว้และสำนึกแล้ว
    แต่ไม่ทราบว่าเจ้ากรรมนายเวรอยู่ไหน
    หรือเจ้ากรรมนายเวรยังไม่ให้อภัย
    หากเราสำนึกผิดอย่างเดียวจะรู้สึกเสียใจต่อการกระทำของตนเอง
    แล้วจมอยู่กับ ความไม่พึงพอใจในการกระทำของตนเอง
    ในกรณีดังนี้
    พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้ก้าวล่วงออกจากกรรมเสีย
    โดยการกำหนดอธิษฐานจิตตั้งใจให้มั่นว่ากรรมนั้นๆ เป็นสิ่งไม่สมควร
    ต่อไปนี้ตลอดนิรันดรเราจะไม่กระทำกรรมนั้นอีกเป็นอันขาด
    เมื่อเราตั้งใจแน่วแน่ดังนี้แล้ว
    ใจของเราจะก้าวออกจากกรรมนั้นได้
    และนับแต่นี้เป็นต้นไป
    กรรมดังนั้นจะไม่เกิดขึ้นในใจของเราอีกเป็นอันขาด
    นี้เป็นเทคนิคการก้าวล่วงออกจากกรรม
    ๗. การชำระจิตให้บริสุทธิ์
    การชำระจิตให้บริสุทธิ์เป็นการยกระดับจิตใจ ให้หลุดพ้นจากอำนาจทั้งปวง
    แม้อำนาจกรรมเมื่อทำลายอัตตาแห่งอวิชชาได้แล้วก็ไม่มีผู้กระทำ
    เมื่อไม่มีผู้กระทำก็ไม่ถูกกระทำ
    และไม่ต้องรับผลของการกระทำใดๆ
    บางท่านอาจสงสัยว่า ครั้งพระพุทธองค์ทรงพระชนม์อยู่
    ทำไมยังต้องรับผลกรรมเก่าด้วยเล่า
    การที่ท่านรับผลกรรมเก่านั้น เพราะท่านยังดำรงขันธ์อยู่
    การบันทึกกรรมก็บันทึกไว้ด้วยขันธ์
    (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
    เมื่อละความพัวพันในขันธ์ ๕ ได้
    จึงไม่ต้องระคนกรรมใดๆ อีกแม้แต่น้อย
    ทรงอยู่ในความหมดจดผ่องแผ้วนิรันดร
    ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า

    เราสิ้นบุญและบาปแล้ว
    เว้นแล้วจากความเดือดร้อนทั้งปวง
    ไม่มีความโศก ไม่มีความคับแค้น ปราศจากอาสวะ จักปรินิพพาน

    และเมื่อท่านละขันธ์ ๕ เข้าสู่ปรินิพพานแล้ว
    จึงดำรงอยู่ในวิมุติสุขอันไม่เสื่อมสลายที่กรรมใดๆ
    ก็ไม่อาจระแคะระคายได้

    แม้เราจะมีกุศโลบายการเผชิญกรรมอันแยบคายนานาประการ
    กระนั้นบุคคลพึงตระหนักไว้ว่า

    กรรมทั้งหลายเป็นอจินไตย คือไม่มีที่สิ้นสุด
    ตั้งแต่เป็นสัตว์เซลล์เดียวพัฒนาตนมาโดยลำดับ
    จนเป็นมนุษย์ชั้นสูงอย่างนี้ ทำกรรมมาแล้วนับไม่ถ้วน
    มีบ่วงกรรมอันประมาณมิได้ถักสานเป็นชะตาชีวิตและสัมพันธ์อันซับซ้อนอยู่


    ดังนั้น อย่าคิดว่าเราจะล้างกรรมให้หมดจะได้สะอาด มันเป็นไปไม่ได้
    เพราะอนันตกรรมย่อมไม่อาจถูกทำลายได้หมด
    แต่เราอาจบรรเทาเบาบาง เบี่ยงเบน
    หรือระงับเป็นบ่วงกรรมไปได้
    และสามารถยกระดับจิตใจเข้าสู่ความบริสุทธิ์
    จนหลุดพ้นอำนาจกรรมทั้งปวงได้
    การเผชิญกรรมด้วยกุศโลบายที่ดีต่างๆ เหล่านี้
    ก็คือกรรมใหม่ประการหนึ่ง
    ซึ่งเป็นการพยายามใช้ปัญญา
    และศิลปะอันแยบยลจัดวิถีชีวิตของบุคคลให้ดีขึ้น
    ซึ่งคือวิธีการบริหารดวงชะตาชีวิตนั่นเอง
    เมื่อปัญญาชนบริหารดวงชะตาชีวิตตนด้วยความชาญฉลาด
    ย่อมดำรงชีวิตได้อย่างเป็นประโยชน์ได้โดยสมควร
    (คัดลอกบางตอนมาจาก “การบริหารชะตาชีวิต”
    โดย อ.ไชย ณ พล, จัดพิมพ์โดย สถาบันธรรมาธิปไตย, หน้า ๓๒-๔๔)
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    รวมคำสอน “ดร.ไชย ณ พล (ศิยะ ณัญฐสวามี)”
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=48689
    • ในทางโลก
    ท่านจบการศึกษาระดับ Ph.D ทางวิทยาศาสตร์
    (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
    • ในทางธรรม
    ท่านเคยบวชเรียน ศึกษาปริยัติวิจัยธรรมจากทั้งพระไตรปิฎก
    และจากครูบาอาจารย์หลายท่าน
    รวมทั้งฝึกปฏิบัติด้วยตนเองตามแนวทางคำสอนของครูบาอาจารย์ด้วย
    ครูบาอาจารย์สำคัญที่ท่านเคารพนับถือมากองค์นึง
    คือ หลวงพ่อคง จัตตมโล วัดเขาสมโภชน์ จ.ลพบุรี ค่ะ
    ท่านเคยกล่าวไว้ในคำนำหนังสือเล่มหนึ่งว่า
    สมัยเด็กๆ ท่านชอบฝึกจิตกีฬา เป็นของเล่นประจำก่อนนอนน่ะค่ะ
    ปัจจุบันท่านมีงานเขียนในนามปากกาอื่นๆ
    เท่าที่ทราบ ได้แก่
    ศิยะ ณัญฐสวามี / สุภญาณ / อัครศุภเศรษฐ์ และศุภเศรษฐ์ ฯลฯ
    ขอบคุณที่มา :- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=29706
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    อาจารย์ยอด : นางลิ้มใจร้าย [กรรม] new

    อาจารย์ยอด
    Published on Aug 5, 2018
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2018
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    pig.jpg

    วางดาบเพชฌฆาต ชีวิตเกิดดับ นายจางคนฆ่าหมู มีบ้านอยู่ข้างวัด ทุกเช้าเมื่อได้ยินเสียงตีระฆังในวัด เขาก็จะตื่นขึ้นมาฆ่าหมูเป็นกิจวัตรประจำวัน วันหนึ่ง เจ้าอาวาสฝันเห็นชายหญิงห้าคน ทุกคนใส่เสื้อผ้าสีดำ มาคุกเข้าขอร้องว่า พรุ่งนี้เช้าขออย่าตีระฆัง เมื่อตื่นขึ้นมาท่านไม่สนใจจะไปนอนต่ออีก ก็เห็นคนใส่เสื้อสีดำมาอ้อนวอนว่า ชีวิตเกิดดับขึ้นอยู่กับชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น อาจารย์โปรดรีบไปสั่งคนตีระฆังเถิด ครั้นพระอาจารย์ตกใจตื่น รู้สึกแปลกใจมากจึงไปสั่งคนตีระฆังว่า พรุ่งนี้เช้าไม่ต้องตีระฆังนะ

    รุ่งเช้า ท่านเจ้าอาวาสไปบิณฑบาต เดินผ่านหน้าบ้านนายจาง นายจางกล่าวว่า ท่านอาจารย์ครับ ทำไมวันนี้ไม่ตีระฆังล่ะ ทำให้ผมเสียงานหมดเลย เมื่อเจ้าอาวาสได้เล่าถึงสาเหตุ นายจางกล่าวว่า ท่านฝันเห็นคนห้าคนหรือ? ผมไว้ชีวิตแม่หมู่แค่ไม่กี่ชั่วโมง ก็ได้ลูกหมูห้าตัว ฮ่า ฮ่า เจ้าอาวาสประนมมือกล่าวว่า อามิตตาพุทธ แล้วก็เล่าเรื่องราวของกฏแห่งกรรมให้เขาฟัง และเตือนให้เขาเปลี่ยนอาชีพเสีย นายจางฟังแล้ว พลันก็เกิดความรู้แจ้ง เชื่อฟังคำของเจ้าอาวาสโดยเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น ความจริงเขาเป็นคนไม่มีบุตรไม่ช้าก็ได้บุตรชายคนหนึ่ง ขยันศึกษาเล่าเรียนจนสอบได้เป็นขุนนาง
    :- https://www.tumsrivichai.com/นิทานสอนใจ/วางดาบเพชฌฆาต-ชีวิตเกิดดับ.html
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,588
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    เจริญพร ท่านสาธุชนผู้ฟังทุกท่าน

    อาตมภาพจะได้กล่าวถึงเหตุผลที่ว่า "ทำไมจึงต้องปฏิบัติธรรม ?"

    อีกนัยหนึ่ง "มีความจำเป็นอย่างไรบุคคลเราจึงต้องปฏิบัติธรรม ?" หรือว่า "ปฏิบัติธรรมแล้วจะได้อะไร ?" ซึ่งความจริงปัญหาข้อนี้ก็ดูเหมือนว่าเป็นปัญหาหญ้าปากคอก เป็นปัญหาที่ตอบได้ง่ายที่สุดสำหรับผู้ที่มีความสนใจหรือใฝ่ใจในการศึกษาและปฏิบัติธรรมเป็นประจำอยู่แล้ว แต่สำหรับท่านที่ยังไม่ได้สนใจในธรรมปฏิบัติก็อาจจะคิดว่า

    "ปฏิบัติธรรมไปแล้วจะได้อะไร สู้ไปดิ้นไปเต้นกับเพื่อนๆ ในเธคในผับ หรือในร้านคาราโอเกะ มันกว่าเป็นไหนๆ คนร่ำรวยอย่างเช่นนักธุรกิจ นักอุตสาหกรรมชาวไทยและชาวต่างประเทศ ก็ไม่เห็นจะไปเข้าวัดเข้าวา แต่ก็เห็นเขาร่ำรวยมีเงินทองมีบ้านหลังใหญ่ๆ มีรถราดีๆ ขี่กันถมไป ความรู้ความสามารถในการประกอบกิจการงานในอาชีพเท่านั้นแหละ ที่จะทำให้บุคคลเจริญรุ่งเรืองด้วยโภคทรัพย์ ให้อยู่ดีมีสุขได้ โภคทรัพย์เท่านั้นแหละที่สนองความต้องการความปรารถนาได้ทุกอย่าง บุญก็ซื้อได้ อำนาจก็ซื้อได้ ลาภ ยศ สักการะทั้งหลายก็ซื้อได้ด้วยเงินทั้งนั้น เพราะฉะนั้นก็ไม่เห็นว่าจะต้องไปเข้าวัดเข้าวาปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร และว่าไปทำบุญ บุญจะช่วยอะไรได้" บุคคลที่คิดอย่างนี้ก็คงจะมีมากเหมือนกัน

    วันนี้อาตมภาพ จะเฉลยปัญหาที่ตั้งเป็นหัวข้อเรื่องในวันนี้ว่า "ทำไมจึงต้องปฏิบัติธรรม" และที่ว่า "ปฏิบัติธรรม" นั้น จะปฏิบัติอย่างไร ? เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา พอสมควรแก่เวลาต่อไป

    ก่อนอื่นขอให้ท่านผู้ฟังมาทำความเข้าใจ คำว่า "ปฏิบัติธรรม" กันก่อน

    คำว่า "ปฏิบัติ" ก็หมายถึง การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ การกระทำทางกาย ภาษาพระท่านเรียก "กายกรรม" ได้แก่ การกระทำการงานต่างๆ การประกอบอาชีพต่างๆ เป็นต้น การกระทำทางวาจา ท่านเรียก "วจีกรรม" ได้แก่ การพูดจาเป็นภาษาต่างๆ เพื่อสื่อความหมายให้เป็นที่เข้าใจกันได้ ส่วนการกระทำทางใจ ท่านเรียก "มโนกรรม" ได้แก่ ความคิดอ่านต่างๆ

    ความประพฤติ ปฏิบัติทางกาย ทางวาจา และทางใจ ที่เรียกว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม เหล่านี้ ถ้าเป็นไปในทางที่ให้เกิดคุณประโยชน์ ให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง ให้เกิดความสันติสุขแก่ชีวิตตนเอง และ/หรือแก่ชีวิตของผู้อื่น และทำให้จิตใจสงบ บริสุทธิ์ผ่องใส ไม่ขุ่นมัวเศร้าหมอง ความประพฤติปฏิบัติหรือการกระทำเช่นนั้น จัดเป็น "กรรมดี" ภาษาพระเรียกว่า "กุศลกรรม" คือกรรมที่เป็นบุญกุศล อันเป็นคุณลักษณะที่ดี หรือเป็นคุณความดีของบุคคลผู้ประกอบกรรมดีเช่นนั้น บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ จึงชื่อว่า "เป็นคนดีมีคุณธรรม"

    ส่วนความประพฤติปฏิบัติทางกาย ทางวาจา และทางใจ ที่เป็นไปในทางที่ให้เกิดโทษ ให้เกิดความเสื่อม ให้เกิดความทุกข์เดือดร้อนแก่ชีวิตของตนเอง และ/หรือแก่ชีวิตของผู้อื่น และทำให้จิตใจเร่าร้อน กระวนกระวาย ไม่สงบ ขุ่นมัว เศร้าหมอง ความประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น จัดเป็น "กรรมชั่ว" ภาษาพระท่านเรียกว่า "อกุศลกรรม" คือกรรมที่เป็นบาปอกุศล อันเป็นลักษณะที่ชั่ว ที่ไม่ดี ของบุคคลที่ประพฤติเช่นนั้น บุคคลผู้ประพฤติเช่นนั้นจึงชื่อว่า "เป็นคนชั่ว เป็นคนไม่ดี ไม่มีคุณธรรม"

    เพราะฉะนั้น คำว่า "ธรรม" ณ ที่นี้จึงหมายถึง คุณความดี ข้อปฏิบัติที่ดี ที่ผู้มีปกติประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ได้ ชื่อว่า "คนดี" ซึ่งย่อมได้รับผลจากความประพฤติปฏิบัติที่ดีเช่นนี้ ให้เป็นผู้มีความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขในชีวิต และยังเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลอื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ได้รับความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขไปด้วยกัน

    ส่วนความชั่ว หรือ ความไม่ดี ข้อปฏิบัติที่ไม่ดี ชื่อว่า "อธรรม" ที่ผู้มีปกติประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น ได้ชื่อว่า "คนชั่ว" ซึ่งย่อมได้รับผลจากความประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น เป็นความเสื่อม เป็นโทษ เป็นความทุกข์เดือดร้อนในชีวิตและยังความทุกข์เดือดร้อนโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้เกิดแก่ผู้อื่นอีกด้วย

    กรรมดี และ กรรมชั่ว ที่บุคคลประพฤติปฏิบัติทางกาย ทางวาจา และทางใจ นั้นนั่นแหละที่ให้ผลดี เป็นความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข หรือที่ให้ผลไม่ดี เป็นความเสื่อม ความทุกข์เดือดร้อน ตามลักษณะแห่งกรรมดีหรือกรรมชั่วที่บุคคลหรือสัตว์โลกได้ประพฤติปฏิบัติไปแล้ว

    ดังพระพุทธดำรัสในพระไตรปิฎกสังยุตตนิกาย สคาถวรรค ว่า

    กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
    ผู้มีปกติกระทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี
    ผู้มีปกติกระทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว

    หรือกล่าวโดยย่อว่า "ทำดี ย่อมได้ดี ทำชั่ว ย่อมได้ชั่ว" ไม่ช้าก็เร็ว นี้เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เป็นสัจจธรรม ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้ คือ ได้ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองอย่างลึกซึ้งแจ่มแจ้ง ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ คือในคืนวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อ 2585 ปีที่ผ่านมานี้

    กฎเกณฑ์ของธรรมชาติ อันเป็นสัจจธรรม ข้อนี้แหละ ที่เป็นเรื่องยากแก่ปุถุชนผู้ยังมีกิเลสเครื่องเศร้าหมองจิตใจอยู่หนาแน่น จะสามารถรู้เห็น หรือเข้าใจลึกซึ้งแจ่มแจ้งได้ เป็นวิสัยของผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติธรรม คือผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จึงสามารถจะรู้-เห็น หรือเข้าใจลึกซึ้ง แจ่มแจ้งตามพระสัจจธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ได้ตามระดับภูมิธรรมที่ผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติทั้งท่านปฏิบัติได้

    เพื่อให้เข้าใจกฎเกณฑ์ธรรมชาตินี้ อาตมภาพจะขอเล่าเรื่องอาการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ 2585 ปีที่ผ่านมานี้ มีปรากฏอยู่ในโพธิราชกุมารสูตร ให้ท่านผู้ฟังได้ทราบเป็นเครื่องประกอบการพิจารณานำความเข้าใจเรื่องนี้ว่า

    ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้น เมื่อพระมหาโพธิสัตว์เจ้าได้เสวยพระกระยาหารที่นางสุชาดานำมาถวายแล้ว ได้ทรงพักผ่อนพระอิริยาบถ ณ บริเวณป่าเต็ง-รัง ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้นเวลาเย็นได้เสด็จไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ์ ได้ทรงรับหญ้าคาจากโสตถิพราหมณ์ แล้วทรงปูลาดเป็นที่ประทับนั่งใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์นั้น ได้ทรงอธิษฐานรัตนบัลลังก์ว่า หากจะได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ขอจงปรากฏรัตนบัลลังก์ เมื่อได้ทรงเห็นรัตนบัลลังก์ปรากฏแล้ว จึงทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่า หากไม่ได้บรรลุโมกขธรรมคือธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นแล้ว แม้เลือดเนื้อจะเหือดแห้งไป จนเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ก็จะไม่ทำลายบัลลังก์คือจะไม่ลุกจากที่ เสด็จประทับนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่งในท่าขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ไปสู่บูรพาทิศ คือทิศตะวันออก ไปทางฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตอนพลบค่ำ

    ในยามต้นแห่งราตรี คือในเวลาหัวค่ำ ได้ทรงเจริญสมถภาวนา คือ อุบายวิธีเป็นเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา ได้แก่ กามฉันทะ คือความยินดีพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งสัมผัสทางกาย อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวลไปในเรื่องต่างๆ เป็นต้น ให้หมดสิ้นไป ด้วยการเจริญสมาธิรูปฌาน 4 ถึงจตุตถฌาน มีพระทัยผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ทั้งหลาย อ่อนโยนควรแก่งาน แล้วจึงทรงน้อมพระทัยไปเพื่อ "ปุพเพนิวาสานุสติญาณ" เป็นวิชชาที่ 1 คือ ปรีชาญาณหยั่งรู้-เห็น อดีตชาติของพระองค์เองและสัตว์โลกอื่นทั้งหลาย ที่เคยเป็นอยู่ในภพชาติก่อนๆ ตายแล้วก็เกิดๆๆ ในภพภูมิใหม่ ที่ดีเรียกว่า สุคติภพบ้าง ไปที่ไม่ดีเรียกว่า ทุคติภพบ้าง ทรงได้เห็นสัตว์โลกทั้งหลายต่างเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น นับภพนับชาติไม่ถ้วน บ้างก็ไปเกิดในสุคติภพ คือภพภูมิที่ดี ได้แก่ ไปเกิดในภพมนุษย์ ในเทวโลก พรหมโลก เป็นต้น บ้างก็ไปเกิดในทุคติภพ คือภพภูมิที่ไม่ดี ได้แก่ ไปเกิดในภพภูมิของเปรต สัตว์นรก อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ซึ่งมีมากต่อมาก มากกว่าไปเกิดในภพภูมิที่ดีเสียอีก เป็นอันว่า พระองค์ได้ทรงรู้-ทรงเห็น ตั้งแต่พรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก ทั่วตลอดถึงโลกของเปรต สัตว์นรก อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน จึงทรงมีพระดำริว่าอะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์โลกไปเกิดในสุคติภพบ้าง ทุคติภพบ้างอย่างนี้

    ในยามกลางแห่งราตรี คือในตอนดึก จึงได้ทรงเจริญสมถภาวนาเพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์ ด้วยการเจริญสมาธิถึงจตุตถฌานอีก จนพระทัยผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยนควรแก่งานแล้ว จึงทรงน้อมพระทัยไปเพื่อ "จุตูปปาตญาณ" เป็นวิชชาที่ 2 คือปรีชาญาณหยั่งรู้-เห็น จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย กล่าวคือ รู้-เห็น ว่าสัตว์โลกทั้งหลายทำกรรมดีก็ตาม ทำกรรมชั่วก็ตาม เมื่อตายลงแล้ว กรรมใดที่ทำหน้าที่เป็นชนกกรรมก็จะนำให้ไปเกิดในภพภูมิใหม่ ตามลักษณะของกรรมที่ทำหน้าที่เป็นชนกกรรมนำให้ไปเกิดนั้น เช่นถ้าว่าเป็นกรรมดีเป็นบุญกุศลในระดับภูมิจิตของมนุษย์ เรียกว่า "มนุษยธรรม" ของเทวดาเรียกว่า "เทวธรรม" nbsp; หรือของพรหม เรียกว่า "พรหมธรรม" ก็จะนำให้ไปเกิดเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา หรือเป็นพรหม ตามระดับแห่งกรรมดี หรือภูมิธรรมนั้นๆ ถ้าว่าเป็นกรรมชั่วหรือบาปอกุศลในระดับภูมิจิตของเปรต สัตว์นรก อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน ก็จะนำให้ไปเกิดเป็นสัตว์นั้นตามระดับภูมิจิตนั้นๆ หรือกล่าวโดยย่อว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า กมฺมุนา วตฺตตี โลโก "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"

    นี้เป็นกฎเกณฑ์ตามธรรมชาติ ไม่มีผู้ใดทำให้ ไม่มีใครเป็นผู้สร้าง ไม่มีใครเป็นผู้นำไปเช่นนั้นได้ นอกจากว่า ตนเองเป็นผู้ทำกรรมเช่นไร ดี หรือ ชั่วก็ตาม ย่อมต้องได้รับผลกรรมเช่นนั้น เปรียบดังบุคคลปลูกพืชพันธุ์ชนิดใด ก็ย่อมได้รับผลชนิดนั้น ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า "ยาทิสํ วปเต พีชํ ตาทิสํ ลภเต ผลํ" "บุคคลหว่านพืชชนิดใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น" จึงได้ทรงมีพระดำริต่อไปว่า อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์โลกมีความคิดเห็นถูกบ้างผิดบ้าง จึงทำกรรมดีบ้าง ชั่วบ้าง ให้ได้รับผลเป็นความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ตามกรรมดีกรรมชั่วที่ให้ผล ไปบังเกิดในสุคติภพบ้าง ทุคติภพบ้าง อย่างนั้น

    ในยามปลายแห่งราตรี คือนับตั้งแต่เวลาค่อนรุ่นไปถึงเวลาใกล้รุ่งอรุณ ได้ทรงเจริญสมถภาวนาถึงจตตุถฌานเพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญาอีก จนพระทัยผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา อ่อนโยนควรแก่งาน แล้วทรงน้อมพระทัยไปเพื่อ "อาสวักขยญาณ" เป็นวิชชาที่ 3 โดยได้ทรงพิจารณาสาวหาเหตุในเหตุ ไปถึงต้นเหตุให้เกิดทุกข์ ก็ได้ทรงค้นพบธรรมที่เกี่ยวเนื่องเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาทธรรม มีอยู่ 12 ข้อ แต่จะขอยกมากล่าวแต่เพียง 2-3 ข้อ พอเข้าใจว่า

    เพราะอวิชชา คือความไม่รู้อดีต ไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและทั้งอนาคต หรืออีกนัยหนึ่งไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล คือ ไม่รู้เงื่อนต้น เงื่อนปลาย เช่นว่า ความไม่รู้เหตุปัจจัย แห่งความเจริญรุ่งเรืองสันติสุข และความไม่รู้เหตุปัจจัยแห่งความเสื่อม ความเป็นโทษ ความเป็นทุกข์เดือดร้อน ของชีวิต คือความไม่รู้แจ่มแจ้ง บาปบุญคุณโทษ และผลของบาปบุญคุณโทษ ตามที่เป็นจริง นี้ประการหนึ่ง และ ความไม่รู้ความจริงอย่างประเสริฐ ในทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ได้แก่ มรรค ผล นิพพาน และความไม่รู้ในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ได้อย่างถาวร นี้ประการหนึ่ง นี้เองที่เป็นเหตุปัจจัยให้ปุถุชนผู้ยังมีกิเลสหนาแน่นอยู่ มีความคิดเห็นผิด แล้วก็พูดผิด ทำผิด ประกอบการงานหรืออาชีพที่ผิดๆ ไปจากทำนองคลองธรรมบ้าง มีความคิดเห็นถูกต้องจึงพูดถูก ทำถูก ประกอบการงานหรืออาชีพถูกต้อง ตามทำนองคลองธรรมบ้าง ก็ย่อมได้รับผลเป็นความทุกข์บ้าง เป็นสุขบ้างไปตามกรรม และแม้จะได้รับผลเป็นความสุขบ้างก็ไม่ยั่งยืน เมื่อสิ้นผลบุญก็ต้องเสวยผลจากกรรมชั่วที่เคยได้เคยกระทำไว้แล้วแต่อดีต คอยติดตามให้ผล หมุนเวียนเปลี่ยนไปอย่างนี้ ตราบใดที่ยังไม่ได้กระทำความดีให้แก่กล้าพอที่จะสามารถกำจัดตัดกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ให้หมดสิ้นไป ได้ถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงได้ ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดไปสุคติบ้าง ทุคติบ้าง เป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ตามกรรมไม่มีสิ้นสุดอย่างนี้

    สัตว์โลกทั้งหลายรวมทั้งสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน มีโลกธรรม 8 ได้แก่ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และความทุกข์ เป็นต้น เหล่านี้ ล้วนเป็นธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม คือส่วนที่เป็นของเหลง ของแข็ง อุณหภูมิ และลมปราณ และกรรมดี กรรมชั่วที่คอยติดตามให้ผล เหล่านี้ เป็นต้น ประกอบขึ้นคุมกันอยู่ในสภาวะพอเหมาะ ตั้งอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย จึงมีสภาพไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว และได้ตรัสว่า ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา แปลความว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นแหละเป็นอนัตตา คือมิใช่ตัวตนของใครแท้จริง กล่าวคือลงท้ายก็ต้องแตกสลายหมดสภาพเดิมของมันไปทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเป็นของใคร ที่แท้จริงแต่ประการใด แม้แต่ตัวเราก็ไม่เป็นตัวตนของเราไปตลอดได้ ต้องแก่ ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วก็ตายไปหมดด้วยกันทั้งสิ้น ต้องพลัดพรากจากสิ่งของหรือบุคคลที่เรารักที่หวงแหนทั้งนั้น นี้เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่มีแก่ธรรมชาตที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งทั้งหมดในโลกในจักรวาลเสมอกันหมด เรียกว่า สามัญญลักษณะ หรือ "ไตรลักษณ์" ลักษณะ คือ 3 ได้แก่ ความเป็นสภาพไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และมิใช่ตัวตนที่แท้จริงของใคร (อนตฺตา)

    ความตั้งอยู่แห่งกำหนดกฎเกณฑ์ของธรรมชาติอย่างนี้ เรียกเป็นภาษาพระว่า "ธรรมฐิติ" "ธรรมนิยาม" ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ตรัสเห็นแจ้งแล้ว และได้ทรงเห็นแจ้งแทงตลอดสัจจธรรมทั้ง 4 คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ กล่าวคือ ความที่สัตว์โลกกับทั้งสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยกัน ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ดังนี้ ใครยึดถือด้วยตัณหา ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา และด้วยทิฏฐิ คือความเห็นผิดว่าเป็นตัวตน เราเขา ของเราของเขา แล้วเป็นทุกข์ ชื่อว่า "ทุกขสัจ"นี้เป็นสัจธรรมข้อ 1 ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ตรัสเห็นแล้ว

    อวิชชา คือความไม่รู้อดีต ไม่รู้อนาคต ไม่รู้ทั้งอดีตและอนาคตและไม่รู้แจ้งเห็นแจ้งในสัจจะทั้ง4 เป็นมูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ กล่าวคือ เป็นเหตุให้เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ชื่อว่า "สมุทัยสัจ" นี้เป็นสัจจะอีกข้อ 1 ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ตรัสเห็นแล้ว อธิบายเรื่อง กิเลส ว่าได้แก่ ความโลภ ราคะ 1 โทสะ โกรธ พยาบาท 1 ความหลงไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง 1 เรื่อง ตัณหา ว่าได้แก่ ความทะยานอยากในกามหรือในอารมณ์ที่น่ารัก น่าใคร่ ชื่อว่า กามตัณหา 1 ความทะยานอยากในภพ คือในความเป็นนั่น เป็นนี่ หรือความอยากเกิดอีก ชื่อว่า ภวตัณหา 1 ความทะยานอยากในวิภพ คือในความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น หรืออยากให้พ้นไปจากสภาวะที่ตนเกลียดชัง หรือไม่ปรารถนา หรือความดิ้นรนไม่อยากเกิด ชื่อว่าวิภวตัณหา 1 ได้แก่ ความยึดถือในสังขารธรรมทั้งหลายทั้งปวง ความสิ้นอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง เป็นสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ชื่อว่า "นิโรธสัจ" นี้เป็นสัจจธรรมอีกข้อ 1 ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้ ตรัสเห็นแล้ว

    ทางสายกลางอันเป็นข้อปฏิบัติ 8 ประการ ให้ถึงความสิ้นทุกข์ ได้อย่างถาวร ชื่อ "มรรคสัจ" หรือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ (1) สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบในอริยสัจ 4 (2) สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ ได้แก่ ดำริออกจากกิเลส โทสะ โมหะ เป็นต้น 2 ข้อ นี้สงเคราะห์เข้าในอธิปัญญาสิกขา คือการศึกษาอบรมในปัญญาอันยิ่ง (3) สัมมาวาจา การกล่าววาจาชอบ เว้นการกล่าววาจาไม่จริง หยาบคายเป็นต้น (4) สัมมากัมมันตะ การประกอบการงานชอบ (5) สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพที่ชอบ ไม่หลอกลวงเขาเลี้ยงชีวิต 3 ข้อนี้ สงเคราะห์เข้าในอธิศีลสิกขา คือ การศึกษาอบรมในศีลอันยิ่ง (6) สัมมาวายามะ ความเพียงชอบ คือเพียรกำจัดกิเลสที่มีอยู่ในจิตตสันดาน ความเพียรระวังมิให้กิเลสเกิดใหม่อีก ความเพียรประกอบบุญกุศลให้เกิดขึ้นในจิตตสันดาน และเพียรรักษาบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม ให้เจริญแก่กล้าเป็นบารมี อุปบารมี ถึงปรมัตถบารมี (7) สัมมาสติ ความมีสติชอบ คือ ความระลึกได้ในสภาวะของกาย เวทนา จิต และโลกิยธรรม ว่าประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งอย่างไร พิจารณาให้เห็นแจ้ง สภาวะของสังขารธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ว่ามีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา คือ มิใช่ตัวตนที่แท้จริงอย่างไร ตลอดถึงโลกุตตรธรรม คือมรรค ผล นิพพาน อันเป็นวิสังขารธรรม ว่ามีสภาวะตามที่เป็นจริงอย่างไร และ (8) สัมมาสมาธิ คือ สมาธิชอบ ได้แก่ การเจริญรูปฌาน 4 เพื่อกำจักกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา ให้จิตใจบริสุทธิ์ ผ่องใส อ่อนโยนควรแก่งานเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรม และสัจจธรรมตามที่เป็นจริง 3 ประการหลังนี้ ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา คือการศึกษาอบรมจิตอันยิ่ง อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ เป็นสัจจธรรมอีกข้อ 1 ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ตรัสเห็นแล้ว

    ความตรัสรู้ ตรัสเห็น คือความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยพระองค์เอง ในสภาวะของสังขารธรรมทั้งปวง ว่าเป็นสภาพไม่เที่ยง (อนิจฺจํ) เป็นทุกข์ (ทุกฺขํ) และเป็นสภาพมิใช่ตัวตนที่แท้จริงของใคร (อนตฺตา) และความเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ในสัจจะทั้ง 4 คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ รวมทั้งความเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ในทางเจริญ ทางเสื่อมแห่งชีวิต คือว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อันเป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่ยังไม่เคยมีใครได้ค้นพบคือได้รู้แจ้งเห็นแจ้งมาก่อน จึงได้ทรงสั่งสอนให้ประพฤติปฏิบัติทางกาย ทางวาจา และทางใจ ด้วยการศึกษาอบรมตน 3 ประการ คือ อธิศีลสิกขา การศึกษาอบรมศีลอันยิ่ง อธิจิตตสิกขา การศึกษาอบรมจิตอันยิ่ง อธิปัญญาสิกขา การศึกษาอบรมปัญญาให้เห็นแจ้ง รู้แจ้งในสภาวธรรม และสัจจธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ ตรัสเห็นมาแล้ว

    ความประพฤติปฏิบัติที่ดี ที่เป็นบุญกุศล ได้แก่ ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น เพื่อเลิกละความชั่ว หรือบาปอกุศลทั้งหลาย เพื่อปฏิบัติตนให้อยู่แต่ในคุณความดี และเพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส และให้เจริญขึ้นเป็น อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา คือการศึกษาอบรมตนในศีลอันยิ่ง ในจิตอันยิ่ง และในปัญญาอันยิ่ง อันมีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 อันเป็นทางดำเนินชีวิตให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง และสันติสุข สำหรับตน ไม่เป็นไปในทางเสื่อม เป็นโทษ เป็นความทุกข์เดือดร้อน ให้ถึงที่สุดความหลุดพ้นจากกิเลสเหตุแห่งทุกข์ ได้บรรลุมรรคผล นิพพาน ที่เป็นบรมสุขอย่างถาวร ดังที่พระอริยเจ้าพระอรหันตเจ้าทั้งหลายที่ท่าน ได้ประพฤติปฏิบัติ และได้บรรลุตามรอยบาทของพระพุทธองค์ มาแล้วนี้ ชื่อว่า การปฏิบัติธรรม

    เมื่อท่านทั้งหลายได้เข้าใจเหตุผลของการศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อถึงซึ่งความเจริญและสันติสุข และความพ้นทุกข์ ตามแนวทางพระพุทธศาสนา อันเป็นแก่นสารของชีวิต อย่างนี้แล้ว ก็จงเร่งขวนขวายศึกษาและปฏิบัติธรรม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขสำหรับตนให้ยิ่งๆ ขึ้นไป อย่าได้หลงประมาทมัวเมาในชีวิต จนตายเปล่าไปโดยไม่ได้พบแก่นสารของชีวิต เป็นโมฆะชีวิต คือ ชีวิตสูญเปล่า จะได้ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา แล้วก็ได้อบรมตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้ ตามสมควรแก่ภูมิธรรม

    สุดท้ายนี้ อาตมภาพ ขอความสุขสวัสดี จงมีแด่ท่านผู้ฟังทุกท่าน เจริญพร.

    พระมหาเสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.6 เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วันอาทิตย์ ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2540
    :- http://www.dhammakaya.org/ปาฐกถาธรรม/ทำไมจึงต้องปฏิบัติธรรม
     
  20. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,095
    sa254.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...