ผอ.กกท.สกล"จินดา เดชภิมล" เลื่อมใสศรัทธา-บูชา"หลวงปู่มั่น"

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 23 กันยายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    ผอ.กกท.สกล"จินดา เดชภิมล" เลื่อมใสศรัทธา-บูชา" หลวงปู่มั่น"

    คอลัมน์ พระเครื่องคนดัง

    สุพจน์ สอนสมนึก



    [​IMG]

    ไม่ได้เป็นเซียนพระมืออาชีพ แต่เนื่องจากเป็นคนภาคอีสาน และนับถือพุทธศาสนา "จินดา เดชภิมล" ผู้อำนวยการศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จังหวัดสกลนคร (ผอ.กกท.สกลนคร) ตั้งแต่เกิดจนปัจจุบันจึงมักไปหาพระบ่อยครั้ง หรือเรียกว่า มีพระดีพระเด่นที่ไหนมักจะไปกับเขาด้วยทุกครั้ง

    เมื่อได้มาแล้วก็เก็บไว้บูชา ไม่ได้มีการนำมาเป็นพุทธพาณิชย์ เหมือนคนอื่นที่มักนิยมกัน

    "ผมเป็นคนที่เกิดอยู่ที่จังหวัดสารคาม และเมื่อรับราชการย้ายมาอยู่สกลนครปี 2539 ก็ไม่ได้คิดว่าจะได้ย้ายมาอยู่ในถิ่นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในทางสายวิปัสสนากัมฐาน จึงทำให้เมื่อว่างเว้นจากการทำงานก็จะคอยแวะเวียนไปกราบครูบาอาจารย์หลายท่านที่ยังอยู่ อาทิ หลวงปู่บุญหนา อำเภอพรรณนานิคม, หลวงตาแตงอ่อน อำเภอวานรนิวาส, และหลวงปู่ผ่าน หลากหลายมากมายในเมืองสกลนคร"

    เมื่อเข้าไปคารวะนมัสการก็ทำให้สบายใจ และบางแห่งก็ได้วัตถุมงคลติดตัวมาด้วย เรียกว่าไปทำบุญได้สิ่งที่เป็นมงคลติดตัวมาอีกอย่างหนึ่ง ยิ่งทำงานด้านการกีฬาก็ต้องยิ่งมีสมาธิในการทำงาน เพราะก็เหมือนกับนักกีฬา หากเราไม่มีสมาธิทำอะไรก็พลาดได้ง่าย เพราะจิตใจวอกแวก

    "เมื่อมาอยู่ที่สกลนครใหม่ก็ได้ศึกษาประวัติพระเกจิอาจารย์มากมาย และมีความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะหลวงปู่มั่นนั้น เป็นพระที่อาจกล่าวได้ว่าจะหาที่ใดเหมือนแทบไม่มี ซึ่งมีความศรัทธาและก็พยายามที่จะหาสิ่งที่เป็นคล้ายแนวระลึก น้อมนำมาใส่ตนเองไว้ ในที่สุดผมก็ได้ พระผงรูปเหมือนหลวงปู่มั่นมาบูชาอาราธนาติดตัว ด้านหลังองค์พระเป็นรูปเจดีย์ ภาษาเซียนบอกว่า รุ่นหลังเจดีย์ โดยมีพระผู้ใหญ่ที่เคารพให้มา จากนั้นก็นำมาห้อยขึ้นคอติดตัวไว้ตลอดเวลา"

    การที่ห้อยนั้นไม่ได้หวังที่จะต้องการให้เกิดการคงกระพัน หรือไปสู้รบอะไร แต่เมื่อห้อยมาแล้วทำให้เราเกิดสมาธิ เมื่อจะคิดจะทำก็ให้นึกถึงพระไว้ก่อน โดยเฉพาะหลวงปู่มั่น จึงทำให้เกิดความสงบจิตใจสงบลง คิดอะไรก็มีสติ ทำอะไรก็เกิดสติ

    ดังนั้นการห้อยพระขึ้นคอ ก็แล้วแต่ใครจะนิยมชมชอบแบบใด แต่งสิ่งที่ทุกคนมุ่งหวังเมื่อห้อยขึ้นคอก็คงไปในทิศทางเดียวกัน ความดีงาม อยู่รอดปลอดภัย และให้เกิดความชื่อมั่นในตนเองขึ้นมา และมุ่งหวังในสิ่งที่ได้รับจากพุทธคุณในสิ่งนั้น

    สิ่งสำคัญทำให้เกิดความสงบสุข เป็นมงคลแก่ชีวิต


    Ref.
    http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud07230949&day=2006/09/23
     

แชร์หน้านี้

Loading...