ผอ.ภูมิอากาศและภัยพิบัติ เตือน ไทยยังเหลือพายุอีก 3 ลูก ฝนถล่มทั่วประเทศ!

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 15 กันยายน 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา”พายุ “มังคุด” (MANGKHUT)” ฉบับที่ 5 ลงวันที่ 15 กันยายน 2561เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (15 ก.ย. 61) พายุไต้ฝุ่น “มังคุด” (MANGKHUT) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกหรือด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 18.0 องศาเหนือ ลองจิจูด 122.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ประมาณ 204 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ และจะเคลื่อนลงทะเลจีนใต้ตอนบน ในวันนี้ (15 กันยายน 2561) หลังจากนั้น ผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน เข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ในช่วงวันที่ 16-18 กันยายน 2561 และอ่อนกำลังลงตามลำดับ ซึ่งจะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรง ทำให้บริเวณพื้นที่รับลมมรสุมด้านตะวันตกของภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่สำหรับบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักเกิดขึ้นได้ในช่วงวันที่ 17-19 กันยายน 2561 ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง รวมถึงดินโคลนถล่ม

    e0b8ade0b8b2e0b881e0b8b2e0b8a8e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a0e0b8b1e0b8a2e0b89ee0b8b4e0b89ae0b8b1e0b895.jpg

    สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 16-20 กันยายน 2561 จะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองทะเลมีคลื่นสูงกว่า 4 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง และขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งให้ระมัดระวังคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่ง ในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ด้วยจึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือ สายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมงประกาศ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 05.00 น.กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 11.00 น.

    พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 14 กันยายน 2561 – 20 กันยายน 2561 ในช่วงวันที่ 14 – 16 ก.ย. 61 บริเวณประเทศไทยมียังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ก.ย. 61 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตรข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 17-20 ก.ย. 61 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่มไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 14-19 ก.ย. 61 สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปเกาะฮ่องกง เกาะลูซอนประเทศฟิลิปปินส์ และตอนใต้ของเกาะไต้หวัน ขอให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วยเนื่องจากมีพายุอยู่บริเวณดังกล่าว

    ในช่วงวันที่ 14 – 16 ก.ย. 61 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 17-20 ก.ย. 61 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มมากขึ้น กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น “มังคุด” (MUNGKHUT) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีแนวโน้มเคลื่อนผ่านเกาะลูซอนประเทศฟิลิปปินส์และตอนใต้ของเกาะไต้หวันในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. 61 หลังจากนั้นจะเคลื่อนลงทะเลจีนใต้ตอนบนและขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของประเทศจีน แล้วผ่านเกาะไหหลำ และประเทศเวียดนามในช่วงวันที่ 16-19 ก.ย. 61 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังบริเวณประเทศเวียดนาม

    b8ade0b8b2e0b881e0b8b2e0b8a8e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a0e0b8b1e0b8a2e0b89ee0b8b4e0b89ae0b8b1e0b895-1.jpg

    ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 15-16 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ส่วนในช่วงวันที่ 17 – 20 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 15-16 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ส่วนในช่วงวันที่ 17 – 20 ก.ย. 61 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

    ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วงลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส

    ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วงในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 16-20 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียสง

    b8ade0b8b2e0b881e0b8b2e0b8a8e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a0e0b8b1e0b8a2e0b89ee0b8b4e0b89ae0b8b1e0b895-2.jpg

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 17-20 ก.ย. 61ในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 16-20 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วงในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 16-20 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-45 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตรอุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

    กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 14-16 ก.ย. 61โดยในช่วงวันที่ 14-15 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 16-20 ก.ย. 61 ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

    ล่าสุด นายเสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า อิทธิพลพายุบารีจัต ที่สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศไปแล้วแต่ยังส่งผลกระทบมีฝนตกในภาคอีสานตอนบนของไทย ระหว่างวันที่14-15 ก.ย.ขอให้เฝ้าระวังพายุลูกสำคัญตัวหลัง พายุมังคุด เป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่นระดับรุนแรงมากกำลังเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ วันที่ 15 ก.ย.จะมากระทบไทยวันที่17-19 ก.ย.นี้ ส่งผลให้ฝนหนักพื้นที่ภาคเหนือ จ.เชียงราย น่าน เชียงใหม่ และภาคอีสานบางส่วน ทั้งนี้พายุ มังคุด มาเพิ่มกำลังให้กับแนวร่องฝนที่พาดผ่านตอนกลางประเทศ รวมกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จึงส่งผลกระทบไทยฝนตกมากทั่วประเทศต้องเตือนประชาชนให้ระมัดระวังน้ำท่วมฉับพลัน ยกเว้นภาคใต้เท่านั้นไม่กระทบ รวมทั้งเขื่อนที่มีน้ำเต็มแล้วหรือใกล้เต็ม หน่วยงานที่รับผิดชอบเร่งพร่องก่อนวันที่ 17 ก.ย. เช่นเขื่อนน้ำอูน มีน้ำเต็มอยู่ต้องเร่งระบาย เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนศรีนครรินทร์ ขณะนี้พร่องน้ำเกือบ100 ล้านลบ.ม.ต่อวัน น่าจะพอมีพื้นที่รับน้ำได้อีก อย่างไรก็ตามให้ประเมินน้ำเข้าเขื่อนในหลักการบริหารเขื่อนต้องไม่ให้น้ำเต็มเขื่อน หากจะระบายเพิ่มมากว่า 100 ล้านลบ.ม. ต้องเร่งแจ้งประชาชนท้ายอ่างล่วงหน้าได้รับผลกระทบท่วมได้ ในส่วนภาคตะวันออก มีฝนมากขึ้นในพื้นที่จะกระทบลุ่มน้ำปราจีนบุรี ลุ่มน้ำนครนายก มีน้ำมากอยู่แล้วและต้องเพิ่มการระบายเขื่อนขุนด่าน เขื่อนนฤบดินจินดาด้วย สำหรับภาคกลาง เข้าช่วงฤดูฝนในช่วงมีฝนมาก แต่ไม่น่าห่วงเพราะเขื่อนใหญ่ที่มีอยู่มีพื้นที่ว่างรับน้ำได้อีก 40 เปอร์เซนต์ทั้งเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์

    b8ade0b8b2e0b881e0b8b2e0b8a8e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a0e0b8b1e0b8a2e0b89ee0b8b4e0b89ae0b8b1e0b895-3.jpg

    ทั้งนี้ พายุโซนร้อนที่เกิดขึ้นมาบริเวณเอเซียใต้ในทุกปีมี 26 ลูก ซึ่งพายุขณะนี้เกิดขึ้นแล้ว 23 ลูก ตั้งแต่ต้นปีในจำนวนนี้เป็นพายุไต้ฝุ่น 9 ลูก ฉะนั้นจะเหลืออีก 3 ลูก ที่น่าจะมีพายุเกิดขึ้น ยังไม่รู้เส้นทางไปแนวใด ส่งผลกับไทยหรือไม่ต้องเฝ้าระวัง ที่ผ่านมายังไม่มีพายุเข้าไทยโดยตรง ซึ่งเดือน ก.ย.เป็นช่วงพายุมากที่สุด ถ้าผ่านไปเดือนต.ค.จะน้อยลง ดังนั้น 2 สัปดาห์นี้ยังเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตามฝนตกชุกช่วงนี้ส่งผลดีให้เก็บน้ำในเขื่อนได้มาก เพราะมีปรากฏการณ์แอลนิโญ่ พายุหมดเร็ว เป็นสัญญาแล้งเกิดขึ้นตลอดช่วง 2 ปีข้างหน้าเข้าสู่วิกฤติภัยแล้งรุนแรงเช่นเดียวกับปี 58 เริ่มแล้งตั้งแต่เดือน ต.ค. พ.ย. นี้ซึ่งเตือนเกษตรกรผลผลิตจะเสียหายจากภัยแล้ง การบริหารน้ำเขื่อนต้องสำรองไว้ใช้เกิดภัยแล้ง 2 ปีข้างหน้าด้วย

    b8ade0b8b2e0b881e0b8b2e0b8a8e0b981e0b8a5e0b8b0e0b8a0e0b8b1e0b8a2e0b89ee0b8b4e0b89ae0b8b1e0b895-4.jpg

    อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำฝนตกปีนี้ ยังน้อยกว่าปี60 และปี60ก็มีฝนน้อยกว่าปี54 ซึ่งบางหน่วยงานกลับบอกว่ามีฝนเท่ากัน ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ตนได้ไปพูดกับนายกรัฐมนตรี ได้เข้าใจแล้วว่า ถ้าดูค่าเฉลี่ยรวมทั่วประเทศปี60เท่ากับปี54 แต่ฝนตกหนักที่ภาคใต้ ส่วนภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคกลาง ตกน้อยจึงไม่ท่วมกรุงเทพ –ปริมณฑล ซึ่งไม่เกี่ยวกับมีพื้นที่ทุ่งแก้มลิง 13 ทุ่งมาช่วยแต่อย่างใด ถ้าหากฝนมากอย่างปี54 แก้มลิงก็โดนท่วมหมดเช่นกัน ฝนปีนี้น้อยกว่าปี 54 มาก ปัจจุบันฝนตกภาคเหนือ 1.1 พันมม. ในปี 54 ตกในภาคเหนือ 1.4 พันมม. จึงไม่ต้องกลัวน้ำท่วม ล่าสุดปริมาณน้ำผ่าน จ.นครสวรรค์ ยังมีน้อยอยู่ โดยปีนี้ในอัตรา 3.1 พันล้านลบ.ม. ปี 54 ในอัตรา 9 พันล้านลบ.ม. ต่างกันมากเกือบ3 เท่าตัว ปีที่แล้ว 5 พันล้านลบ.ม. ดังนั้นปีนี้จะไม่ท่วมพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง ไม่ต้องกังวล ไม่กระทบกรุงเทพฯแน่นอน เพราะสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีน้ำน้อยกว่าปีที่แล้ว ส่วนค่าเฉลี่ยฝนปีนี้ยังมากกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 30ปี



    เรียบเรียงโดย

    นายลัทธภพ แก้วโย​

    ขอบคุณที่มา
    http://www.tnews.co.th/contents/478249
     

แชร์หน้านี้

Loading...