ผิดเป็นครู รู้เป็นคุณ

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย อดุลย์ เมธีกุล, 20 เมษายน 2008.

  1. อดุลย์ เมธีกุล

    อดุลย์ เมธีกุล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2007
    โพสต์:
    7,363
    ค่าพลัง:
    +11,793
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top>ผิดเป็นครูรู้เป็นคุณ


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1>การสะสมพระเครื่อง สำหรับผู้ที่เพิ่งสนใจนั้น ควรจะเริ่มจากของใกล้ตัว หรือของพื้นๆ ของถูกๆ ก่อน พร้อมกับศึกษาหาความรู้จากหนังสือพระเครื่องต่างๆ ที่มีวางขายอยู่มากมาย


    ดูภาพพระให้มากๆ จนสามารถจดจำได้อย่างแม่นยำ แล้วค่อยขยับเพดานการเช่าพระให้สูงขึ้นเป็นระยะๆ
    ที่สำคัญคือ จะต้องหาที่ปรึกษาที่ดี มีความรู้ที่แท้จริง และมีความจริงใจต่อเราด้วย
    “ที่ปรึกษา” ที่ว่านี้ก็คงไม่พ้นไปจาก “เซียนพระ” ที่หลายคนได้ยินชื่อนี้แล้วอาจจะสะพรึงกลัว เพราะได้ยินกิตติศัพท์ของเซียนพระรุ่นเก่าไปในทางภาพติดลบมาก่อน
    แต่โดยความเป็นจริงแล้ว...ในทุกวันนี้ ภาพลักษณ์ทางติดลบของเซียนพระ (บางท่าน) ในอดีตนั้น ได้หมดไปแล้ว เซียนพระจำนวนไม่น้อยในทุกวันนี้ มีจุดยืนที่พอจะเชื่อถือได้ หลายท่านกล้ารับประกันพระทุกองค์ที่ขายออกไปว่าเป็น ของแท้ และหากมีปัญหา ยินดีรับคืนโดยไม่มีเงื่อนไข
    (คืนพระคืนเงิน ไม่ใช่คืนพระ แต่เงินไม่คืน เหมือนอย่างสมัยก่อน ที่ทำเอาหลายคนขยาดไปตามๆ กัน)
    ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เซียนพระที่ดีมีคุณธรรม เชื่อถือได้ ไว้วางใจได้ นั้นมีใครบ้าง ?
    เรื่องนี้ต้องอยู่ที่ตัวท่านเอง ที่จะต้องสังเกต หรือติดตามผลงานการซื้อขายของเซียนพระที่ดีเหล่านั้น
    เมื่อทราบแล้วว่าเป็นใคร ท่านต้องไปหาด้วยตนเอง ไปเช่าพระของเขาบ้าง เมื่อมีโอกาส โดยเริ่มจากพระราคาถูกๆ ก่อนก็ได้ เพื่อจะได้เป็นมิตรไมตรีต่อกัน
    และถ้าหากมีกำลังเงินมากขึ้น ก็เช่าพระที่แพงขึ้นเป็นลำดับ จนมีความคุ้นเคยกัน วันหลังหากมีปัญหาเกี่ยวกับพระองค์ไหน เอาไปให้เขาช่วยพิจารณาให้ ว่าเป็นพระแท้หรือพระปลอม เขาก็ย่อมยินดีที่จะให้ความจริงแก่ท่าน
    การสะสมพระเครื่องที่ถูกต้อง จะต้องมีเพื่อนเอาไว้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอความรู้กัน และที่สำคัญเมื่อเอาพระให้ใครดู หากใครวิจารณ์ว่า เป็น พระปลอม ก็ต้องทำใจ รับฟังเอาไว้ แล้วหาทางเอาไปให้คนที่รู้จริงช่วยพิจารณาให้
    หรืออีกวิธีหนึ่งที่ คุณหมอต้น ศิริราช ให้สัมภาษณ์เมื่อวันก่อน ในคอลัมน์ “เส้นทางนักพระเครื่อง” ที่บอกว่า ให้เอาพระไปส่งประกวด ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่ทำให้ทราบได้ว่า พระที่มีอยู่นั้นเป็น พระแท้ หรือ พระปลอม แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายบ้างตามสมควร
    การสะสมพระโดยไม่มีการลงทุนเลย ย่อมมีโอกาสได้ "พระแท้" น้อยมาก ยกเว้นแต่ท่านที่มีคุณปู่คุณทวดเป็นนักสะสมพระมาก่อน
    การเช่าพระตามแผงจร แผงแบกะดินทั่วๆ ไป องค์ละไม่กี่สิบบาท ไม่กี่ร้อยบาท โอกาสที่จะได้พระแท้มีน้อยเต็มที การสะสมพระแท้ จึงต้องลงทุน มากน้อยตามแต่ประเภทพระที่อยากได้
    คอลัมน์ “ผิดเป็นครู รู้เป็นคุณ” ในวันนี้ยังคงได้รับภาพพระจากท่านผู้อ่านจำนวนมาก หลายท่านสะสมกันแต่ พระสมเด็จ กันเป็นว่าเล่น มีกันท่านละ ๑๐-๒๐ องค์ ชวนสงสัยว่า ไปได้มาอย่างไร ? ทำไมถึงได้มาง่ายจริงๆ ?
    ผมเองอยู่ในวงการพระมากว่า ๒๕ ปี เพิ่งจะได้มีโอกาสสัมผัสจับต้อง พระสมเด็จแท้ๆ ไม่เกิน ๕๐ องค์ และได้เป็นเจ้าของเพียงแค่ ๒ องค์เท่านั้น แถมยังเป็นพระชำรุดอุดซ่อมเล็กน้อย เช่ามาเมื่อ ๒๐ ปีก่อน ยังเก็บบูชาอยู่จนทุกวันนี้ หลังจากนั้นมาก็ไม่มีโอกาสได้ พระสมเด็จ อีกเลย เพราะราคาสุดเอื้อมจริงๆ
    ขอเรียนว่า พระสมเด็จแท้ๆ โอกาสที่จะอยู่ตามแผงพระจรทั่วๆ ไปนั้น หาได้ยากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร
    ยิ่งตามต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นแผงพระ หรือตามบ้านคนทั่วไป เรื่องพระสมเด็จแท้ๆ ไม่ต้องไปค้นหาให้ยากเย็นเลย
    แม้แต่ร้านพระใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ น้อยนักที่เขาจะวางโชว์ พระสมเด็จ เอาไว้หน้าร้าน เพราะเขาจะเอาให้เฉพาะคนที่คิดว่าสนใจจริงๆ ดูเท่านั้น
    ก่อนอื่น เขาดูหน้าคนที่คิดว่าจะกล้าซื้อพระเงินล้านเสียก่อนว่า จะมีปัญญาซื้อไหม ถึงจะเอาพระสมเด็จมาให้ดู แถมยังต้องเข้าไปดูในห้องส่วนตัวอีกด้วย ไม่ใช่ให้ยืนส่องกันอย่างสบายๆ ตามหน้าแผงพระที่พบเห็นกันทั่วๆ ไป
    เพราะพระสมเด็จแท้ๆ องค์หนึ่งราคาต้องเป็นล้านขึ้นไปทั้งนั้น เกิดตกหล่นลงไป ชำรุดแตกหัก ก็ได้เรื่องเดือดร้อนกันแน่
    ท่านผู้อ่านที่มีพระอยู่ในครอบครอง หากต้องการให้พิจารณาว่า เป็นพระแท้หรือพระปลอม ส่งภาพพระของท่านไปถึง...แล่ม จันท์พิศาโล หน้าพระเครื่อง นสพ. "คม ชัด ลึก" ถนนบางนา-ตราด เขตบางนา กทม.๑๐๒๖๐
    ภาพพระทุกใบ ขอให้เขียนชื่อ และเบอร์โทรศัพท์ของท่านไว้ที่หลังภาพด้วย ทุกภาพจะต้องยินยอมอนุญาตให้นำลงพิมพ์เผยแพร่ในคอลัมน์นี้ เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ท่านผู้อ่านโดยทั่วกัน...ขอขอบคุณ
    0 แล่ม จันท์พิศาโล 0



    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ที่มา คม ชัด ลึก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 เมษายน 2008
  2. ปทุมธานี

    ปทุมธานี ยอมไม่ทำดีกว่าทำร้ายคนอื่น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    1,876
    ค่าพลัง:
    +1,217
    เป็นข้อมความที่เตือนสตินักสะสมพระรุ่นใหม่ได้ดีมากครับ ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...