ผู้ปฏิบัติสายพระป่า ส่วนมากทำแค่สมถะ??? (ขอชี้แจง)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ตรงประเด็น, 14 เมษายน 2010.

  1. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ปัจจุบัน เวลา สนทนา กับ ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง

    จะได้ยิน การกล่าวที่คล้ายๆกับ ในบทธรรมนี้บ่อยๆ





    ขออนุญาตพูดคุยชี้แจง เสนอ และ รับฟัง เฉพาะในประเด็นเนื้อหาทางธรรม

    โดยเว้นการกล่าวพาดพิงถึงบุคคล ท่านใดๆ ก็ตาม น่ะครับ....



    ดังนั้น จึงขออนุญาต ไม่แสดงว่าบทธรรมที่นำมาลงเป็นของท่านใด จากไหน และ ขออนุญาตไม่ทำลิงค์...

    เพราะ ไม่ต้องการให้เกิดข้อขัดแย้งในประเด็นเรื่อง บุคคลส่วนตัว สำนัก ข่าวลือ และ ๆลๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาทางธรรม



    เพียงแต่ ขออนุญาต ชี้แจง ประเด็น ความเข้าใจผิด ที่ ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมืองอาจจะเข้าใจแนวทางธรรมของครูบาอาจารย์พระป่าคลาดเคลื่อนไป



    ขอบคุณครับ
     
  2. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    กรณี

    บทธรรมที่กล่าวถึงผู้ปฏิบัติ “ในสายพระป่าที่ผมเติบโตมา ส่วนมากจะทำแค่สมถะกันแทบทั้งนั้น

    เมื่อก่อน ผมเองก็ไม่เข้าใจว่า ทำไม ผู้รู้ท่านนั้น ถึงกล่าวเช่นนั้น...



    เพราะ คำว่า “ทำแค่สมถะ” นั้น ก็คือ ไม่ได้มีการเจริญวิปัสสนาเลย นั้นเอง !!!




    แต่ เมื่อได้มีโอกาสรับทราบแนวคิด การเจริญสัมมาสติ ของชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง(แนวทางลัดสั้น)

    จึง เข้าใจว่า ทำไมท่านจึงกล่าวว่า ผู้ปฏิบัติ“ในสายพระป่าที่ผมเติบโตมา ส่วนมากจะทำแค่สมถะกันแทบทั้งนั้น”



    บทธรรมนี้ กำลังบรรยาย สภาวะที่ผิดพลาด (เน้น)

    ข้อที่7 ของ ความผิดพลาด คือ "จงใจ"รู้... (จงใจ ตั้งใจ เจตนา จากพจนานุกรม มีความหมายเดี่ยวกัน)



    >>>>>>>>>



    คำสอน ของ ครูบาอาจารย์พระป่า ส่วนใหญ่ ท่านจะสอนต่อผู้ที่เป็นทันทาภิญญา(ต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นลำดับขั้น) ....

    ท่านไม่ได้เน้นสอนต่อผู้ที่เป็นขิปปาภิญญา(ปัญญาจริต ตรัสรู้อย่างฉับพลัน เช่น พระพาหิยะ; ส่วนนี้คือ ทางลัดสั้นจริงไหม เป็นอีกประเด็นน่ะครับ) ด้วย ผู้ที่เป็นขิปปาภิญญาจริงๆ ก็คงมีเป็นส่วนน้อย และ ก็จะสามารตรัสรู้อย่างรวดเร็ว จึงอาจไม่จำเป็นต้องสอนอะไรท่านมากนัก

    กล่าวคือ คำสอนของครูบาอาจารย์พระป่า จะมีการสอนให้ฝึกเจริญสติ โดยไม่ได้เน้นว่า สติที่จะเจริญต้องเป็นสติที่เกิดขึ้นเองโดยปราศจากการจงใจในขั้นการฝึกเจริญสติ


    ตัวอย่างเช่น


    โอวาทธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    พระธรรมเจดีย์ :

    นิวรณ์แลสังโยชน์นั้น ข้าพเจ้าทำไมจึงไม่รู้จักอาการ คงรู้จักแต่ชื่อของนิวรณ์แลสังโยชน์ ?

    พระอาจารย์มั่น :

    ตามแบบในมหาสติปัฏฐานพระพุทธเจ้าสอนสาวก ให้รู้จักนิวรณ์แลสังโยชน์

    พระสาวกของท่านตั้งใจ กำหนด สังเกต ก็ละนิวรณ์แลสังโยชน์ได้หมดจนเป็นพระอรหันต์โดยมาก

    ส่วนท่านที่อินทรีย์อ่อน ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็เป็นพระเสขบุคคล

    ส่วนเราไม่ตั้งใจไม่สังเกต เป็นแต่จำว่านิวรณ์หรือสังโยชน์ แล้วก็ตั้งกองพูดแลคิดไปจึงไม่พบตัวจริงของนิวรณ์และสังโยชน์ เมื่ออาการของนิวรณ์แลสังโยชน์อย่างไรก็ไม่รู้จัก แล้วจะละอย่างไรได้

    เสนอ สังเกตุ หลวงปู่มั่น ท่านไม่ได้ห้ามตั้งใจ หรือ ห้ามกำหนด




    โอวาทหลวงตา มหาบัว ญาณสัมปันโน

    สติปัฏฐาน ๔


    พระอาจารย์ มหาบัว ญาณสัมปันโน


    การบำเพ็ญเพียรที่เป็นไปตามพระประสงค์ของพระพุทธเจ้าและพระสัทธรรม คือความจงใจใคร่ต่อการประพฤติดีจริง ๆ ธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกอย่าง ควรทำด้วยความจงใจ การประกอบการงานทุกประเภทถ้าขาดความจงใจแล้ว แม้จะเป็นงานเล็กน้อย ย่อมไม่สำเร็จลงได้ด้วยความเรียบร้อยและน่าดูเลย เพราะ ความจงใจเป็นเรื่องของสติและหลักใจ ที่จะยังงานนั้น ๆ ให้สำเร็จ ได้ขาดไปจากตัวและวงงาน ผู้มีสติและหลักใจประจำตัวและงานจึงชื่อว่าผู้มีความเพียรไปในตัว

    ทั้งกิจนอกการในถ้าขาดความจงใจเป็นเครื่องจดจ่อต่องานแล้ว แม้ผู้เป็นนายช่างทำสิ่งต่าง ๆ ซึ่งมีความฉลาดอยู่บ้าง ทำอะไรมีความสวยงามและแน่นหนามั่นคง แต่ถ้าขาดความจงใจใคร่ต่องานแล้ว แม้งานนั้นจะสำเร็จก็ย่อมลดคุณภาพและความสวยงาม ฉะนั้นความตั้งใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยผู้มุ่งต่อผลของงานอันสมบูรณ์จึงไม่ควรมองข้ามไป

    เราเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ ควรเห็นความตั้งใจจดจ่อต่อธุระหน้าที่ที่ตนจะพึงทำทุกประเภท โดยมีความรู้สึกอยู่กับงานนั้น ๆ

    แม้ที่สุดปัดกวาดลานวัด เช็ดถูกุฎีและศาลา ปูอาสนะ ตั้งน้ำใช้น้ำฉัน ตลอดการเคลื่อนไหวไปมา เหลือบซ้ายแลขวา ควรมีสติประจำอยู่ทุก ๆ ขณะ ชื่อว่าผู้มีความเพียรประจำตน

    การฝึกหัดนิสัยเพื่อเป็นคนมีสติอันเคยชิน จำต้องอาศัยการงานเป็นเครื่องฝึกหัด

    การประกอบการงานภายนอกแต่ละประเภทเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

    การเดินจงกรมและนั่งสมาธิภาวนาเป็นธุระชิ้นหนึ่ง ๆ

    ทั้งนี้ถ้ามีสติจดจ่อกับงานที่ทำ ชื่อว่ามีความเพียรไม่ขาดวรรคขาดตอน การฝึกหัดนิสัยของผู้ใคร่ต่อธรรมชั้นสูง จึงควรเริ่มและรีบเร่งฝึกหัดสติไปกับงานทุกประเภทแต่ต้นมือ
    เพื่อความแน่นอนและมั่นคงในอนาคตของเรา โปรดฝึกหัดนิสัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกลายเป็นคนมีสติประจำตนทั้งขณะที่ทำและขณะอยู่เฉย ๆ ถึงเวลาจะทำความสงบภายในใจ สติจะกลายเป็นธรรมติดแนบอยู่กับใจ และตั้งขึ้นพร้อมกับความเพียรได้อย่างใจหมาย ทั้งมีกำลังพอจะบังคับจิตใจให้หยั่งลงสู่ความสงบได้ตามต้องการ

    ส่วนมากที่พยายามให้จิตเข้าสู่ความสงบไม่ได้ตามใจหวังนั้น เนื่องจากสติที่เป็นแม่แรงไม่มีกำลังพอ จิตจึงมีโอกาสเล็ดลอดออกไปสู่อารมณ์ได้อย่างง่ายดาย เหมือนเด็กซนซึ่งปราศจากพี่เลี้ยงผู้ตามดูแล เด็กอาจได้รับอันตรายในเวลาใดก็ได้

    จิตที่มีความเพลินประจำตนโดยปราศจากสติตามรักษา จึงมีสิ่งรบกวนตลอดเวลาจนหาความสงบสุขไม่ได้ พี่เลี้ยงของจิตคือสติกับปัญญา คอยให้ความปลอดภัยแก่จิตตลอดสาย ที่จิตคิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ คอยพยายามปลดเปลื้องอารมณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับใจ และพยายามแสดงเหตุผลให้จิตรับทราบเสมอ ใจที่ได้รับเหตุผลจากปัญญาพร่ำสอนอยู่เป็นนิจ จะฝืนคิดและติดอารมณ์ที่เคยเป็นข้าศึกต่อไปอีกไม่ได้ การฝึกหัดสติและปัญญา เพื่อให้มีกำลังคืบหน้าไม่ล่าถอยเสื่อมโทรม โปรดฝึกหัดตามวิธีที่กล่าวมา


    เสนอ สังเกตุ ที่ หลวงตาท่านกล่าวถึง ความจงใจ ความตั้งใจ ในการเจริญสติ




    ส ติ เ ป็ น ข อ ง สำ คั ญ


    พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ)
    วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    สติเป็นของสำคัญ

    เวลามันตั้งไม่ได้อยู่ในวงใน ก็ให้มันอยู่ในวงกาย
    ไม่ได้หนีจากนี้ เป็นสัมปชัญญะอยู่ในนี้

    ระลึก เป็นที่ เป็นฐาน เป็นจุด เป็นต่อม นี่เรียกว่าสติ

    ความระลึกรู้อยู่ทั้งตัว ความรู้ตัว ซ่านไปหมดในตัวนี้ เรียกว่าสัมปชัญญะ

    รู้พร้อม รู้รอบ นี้แหละที่จะไปรวมตัวให้เป็นกำลังขึ้นมา
    กลายมาเป็นมหาสติขึ้นมาได้ เพราะอันนี้รวมตัว

    ถ้าเป็น มหาสติ แล้วตั้งไม่ตั้ง ....มันก็รู้

    มหาสติมหาปัญญาคือปัญญาที่ทำงานภายในตัวเอง โดยไม่ต้องถูกบังคับขู่เข็ญใดๆ นั้น เป็นปัญญาที่ควรแก่การรื้อภพรื้อชาติ ได้อย่างมั่นเหมาะ ไม่มีอะไรสงสัย


    • ท่านใช้ชื่อว่ามหาสติมหาปัญญา
    ก็ไปตั้งแต่ปัญญาล้มลุกคลุกคลานนี้แล
    จนกลายเป็นมหาสติมหาปัญญาขึ้นมาได้
    เพราะการฝึกการอบรมอยู่โดยสม่ำเสมอหนุนกันไปเรื่อย
    พิจารณาเรื่อยจนมีกำลังแล้วกลายเป็นอัตโนมัติขึ้นมา



    (คัดลอกบางตอนมาจาก : ธรรมวิสุทธิ์ ใน “มหาสมัยในปัจจุบัน”
    โดย พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปัณโณ) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี)








    สำหรับ แนวทาง"สติที่ยังอยู่ในขั้นฝึกฝน-สติอัตโนมัติ"นั้น....

    ครูบาอาจารย์ ท่านสอนให้พัฒนาไปตั้งแต่ ขั้น"ล้มลุกคลุกคลาน" ด้วย "การฝึกอบรมอยู่โดยสม่ำเสมอ" ..จน กลายเป็นขั้นอัตโนมัติ

    ท่านไม่ได้ ห้ามตั้งใจเจริญสติ....

    แต่ ที่เป็นสติอัตโนมัติได้นั้น เพราะ ประกอบเหตุแห่งสติครบถ้วน คือตั้งใจเจริญสติจนสมบูรณ์(วิริยินทรีย์) ผลคือ สติอัตโนมัติ(สตินทรีย์) จึงปรากฏ ....

    {การฝึกอบรมอยู่โดยสม่ำเสมอ น่าจะตรงกับ พระบาลีที่ว่า "พหุลีกตา" คือ เพียรให้ยิ่งๆขึ้นไป}









    ปล...


    การ จงใจ หรือ ตั้งใจ เจริญสติในขั้นการฝึกฝนเจริญสติ สำหรับ แนวคิดของทางชาวพุทธรุ่นใหม่ ถือว่า เป็น"ภาวะผิดพลาด" และ "ไม่ใช้การตามรู้อย่างเดียว"(มีการตั้งใจด้วย;แทรกแซงจิต) จึงเหมือนจะมองว่าการที่มีการตั้งใจ(จงใจ)เจริญสติแบบแนวทางของครูบาอาจารย์พระป่า ไม่มีส่วนแห่งวิปัสสนา


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 เมษายน 2010
  3. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    มี บทธรรม มาเสนอเพิ่ม

    เกี่ยวกับประเด็น

    การ ตั้งใจ(จงใจ เจตนา) รวมถึง การกำหนด ในช่วงแรกของการฝึกเจริญสติถือว่าเป็น"ภาวะที่ผิดพลาด" ..........ไหม???



    บางส่วนจาก

    โอวาทธรรม ท่านอาจารย์มนตรี อาภัสสโร

    ส่วนพุทธธรรมป่าละอู


    <!-- m -->
    สติจากการเคลื่อนไหว สติที่ได้จากการเดินจงกรม
    เป็นสติที่มีความมั่นคงที่สุด ใครเพิ่งเริ่มต้น
    ไม่ขอแนะนำให้นั่งสมาธิหลับตาเฉย ๆ เลย



    เทคนิคการเดินจงกรมสำหรับผู้เริ่มต้น ในช่วงแรก ๆ

    - - เอาแรงใจเข้าช่วย โดยพนมมือ มนสิการ (น้อมจิต)
    อธิษฐานว่า ขอปฏิบัติข้อวัตร เดินบูชาพระพุทธเจ้า
    แล้วลงมือเดินเสมือนพระองค์ทอดพระเนตรมอง
    (ไม่ต้องเครียด แค่รู้สึกว่าท่านมองอยู่ จะทำให้เรามีความตั้งใจขึ้น)

    - - ที่ปลายทางจงกรม ให้หยุดนิดหนึ่งตอนกลับตัว
    หมุนตัวกลับมาแล้ว สำรวจสติที่หล่นหายไปกลางทาง
    เรียกความพร้อมกายใจกลับมาอีกครั้ง (เอาล่ะ...)
    ทุกรอบ คือรอบใหม่ ตรึงขั้วหัวท้าย มั่นคงกว่ากัน

    - - เวลาเดิน ไม่ต้องสนใจอะไรทั้งนั้น นอกจากฝ่าเท้ากระทบปึ้บ ๆ ๆ ๆ ๆ
    ไม่ต้องสนแม้ก้าวซ้ายขวา ไม่ต้องสนแม้เย็นร้อนอ่อนแข็ง
    ไม่ต้องสนใจทำให้รู้สึกว่ากายเคลื่อนไหว ไม่ต้องคิดอะไรทั้งนั้น
    รู้เท้าแค่นั้น ปึ้บ ๆ ๆ ๆ เผลอไปคิดเมื่อไหร่ ก็กลับมารู้อยู่ที่เท้า


    เมื่อรู้ของหยาบเช่นนี้ได้ชัดขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว
    มันจะย้อนกลับมาดูใจได้ง่ายขึ้นเอง
    เริ่มต้นก็เอาอย่างนี้ก่อน เอากำลังก่อน

    - - ถ้าฟุ้งซ่านแรง ให้ลงเท้าให้หนักขึ้นอีกนิด
    (อย่ากระแทกแรงเกิน ดูสุขภาพตัวเองด้วย) : )
    วิหารธรรมก็คือตัวที่กระทบพื้น ปึ้บ ๆ ๆ ๆ นี่แหละ
    ให้น้ำหนักนี้เรียกสติเรากลับคืนมา

    - - ใช้วิ่ง หรือว่ายน้ำ เพื่อให้รู้กายได้ไหม "ได้"
    ทำได้เหมือนกัน ดีเหมือนกัน
    แต่อย่าลืมกลับมาเดินจงกรมด้วย
    เพราะจะเป็นรูปแบบที่ให้ความมั่นคงกว่ากัน

    - - เดินไป เปิดธรรมะของครูบาอาจารย์ฟังไปด้วยได้ไหม "ไม่ควร"
    เอาเท้ากระทบที่เรารู้นี่แหละ ให้ชัดที่สุด พอแล้ว
    เดี๋ยวอีกหน่อยฟังไปด้วยก็จะติด เป็นมีอามิสไปด้วย
    เอาแค่เดินรู้เท้าเราอย่างเดียวพอแล้ว



    ในขั้นการฝึกฝน หรือ ในขณะที่ฟุ้งซ่านมากๆ ...ท่านอาจารย์มนตรีท่านไม่ได้ห้ามกำหนดเฉพาะฝ่าเท้าน่ะครับ...ลองอ่าน ดีๆ
     
  4. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    มี บทธรรม ที่เกี่ยวกับการฝึกฝนเจริญสติ-สมาธิ มาเสนอเพิ่ม



    พระอาจารย์ตั๋น วัดป่าบุญญาวาส จังหวัดชลบุรี
    เทศน์เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เรื่องปฏิปทาที่เหมาะสม



    "....ตามหลัก ผู้ที่จิตไม่สงบในเบื้องต้น ในเวลาเดินจงกรมให้ทำสติอยู่ที่กรรมฐานที่ภาวนาเท่านั้น ถ้าเผลอสติออกไปก็ตั้งสติใหม่ขึ้นมา เผลอสติก็ตั้งสติขึ้นมาอยู่กับกรรมฐานเรา ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องคิดเรื่องอดีตเรื่องอนาคต อย่าไปหลงกลกิเลส ปรุงแต่งส่งเสริมไป.... จะว่าบังคับ จะว่าควบคุม ก็ช่างเถอะ เราจะทำสติสมาธิก่อน ..."

    ๆลๆ

    "....ฝึกอย่างนี้เรื่อยๆ หรือนั่งสมาธิก็ตาม กำหนดระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นั่่งคู้บัลลังก์ขัดสมาธิ กำหนดสติอยู่กับกรรมฐานที่เราภาวนา จะกำหนดอาปานสติ หรือ พุทธานุสติ หรือ กรรมฐานบทใดบทหนึ่งก็แล้วแต่ ให้ทำจิตให้ว่างจากอารมณ์ ไม่ต้องคิดถึงเรื่องอดีต เรื่องอนาคต เรื่ิองปัจจุบัน ให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน ถ้าเรานั่งอยู่กับหมู่ ให้เราทำใจให้เหมือนนั่งอยู่บนท้องฟ้าคนเดียว กำหนดสติอยู่กับกรรมฐานของเราเท่านั้นแหละ ถ้าคิดเรื่องอดีต ก็ตั้งสติขึ้นมาใหม่ คิดถึงเรื่องอนาคตก็ตั้งสติขึ้นมาใหม่อยู่กับลมหายใจเข้าออก อยู่กับคำบริกรรมภาวนา ทำอย่างนี้ไปก่อน .....สำหรับผู้ที่ไม่มีความสงบ ทำอย่างนี้ไปก่อน ใครจะว่าบังคับก็ตาม ควบคุมก็ตาม ไม่สนใจ.... เราจะควบคุมจิตใจเราให้ได้หนิ ปล่อยจิตใจมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติแล้ว เค้ายังฝึกช้างให้เชื่องได้ ฝึกม้าให้หายพยศ ฝึกหมาให้เชื่องได้ ทำไมใจตัวเราฝึกให้ดีไม่ได้ จะฝึกให้มันนิ่ง นิ่งไม่ได้เหรอ กำหนดอยู่ตรงนั้นแหละ

    ถ้ามันเครียดตึง ปวดศรีษะ ปวดร่างกาย ปวดเส้น มันตึงไปก็รู้จักวางจิตให้เป็นกลางหน่อยผ่อนลงมาหน่อย อย่าไปเพ่งมากมายนัก

    พอผ่อนลงไปมากก็หย่อน เกิดนิวรณ์ อันนี้ก็หย่อนเกินไป กำหนดสติให้ถี่ขึ้นมาหน่อย

    หาความเป็นกลางให้ได้ ทำยังไงสมาธิจึงจะเกิดขึ้น หาความพอดีให้ได้


    "...



    ...........................................



    ความเห็นส่วนตัว


    1.ท่านอาจารย์ตั๋น ไม่ได้ห้ามผู้เริ่มฝึดเจริญภาวนาตั้งใจ(จงใจ เจตนา)เจริญสติ เช่นกัน...ท่านใช้คำว่า "ตั้งสติ"

    ท่านกล่าวชัดเจนครับ ว่า

    "....ผู้ที่จิตไม่สงบในเบื้องต้น ในเวลาเดินจงกรมให้ทำสติอยู่ที่กรรมฐานที่ภาวนาเท่านั้น ถ้าเผลอสติออกไปก็ตั้งสติใหม่ขึ้นมา เผลอสติก็ตั้งสติขึ้นมาอยู่กับกรรมฐานเรา..."

    และ

    "สำหรับผู้ที่ไม่มีความสงบ ทำอย่างนี้ไปก่อน ใครจะว่าบังคับก็ตาม ควบคุมก็ตาม ไม่สนใจ"



    2.ปัญหาในการฝึกฝนเจริญสติ

    ไม่น่าจะอยุ่ที่ประเด็น "ยังคงมีความตั้งใจ(จงใจ เจตนา)เจริญสติไหม"? ...

    แต่ น่าจะอยู่ที่ประเด็น "ตั้งใจ พอดี-พอเหมาะ ไหม?" มากกว่า.

    ตามที่ท่านกล่าวว่า

    "....ถ้ามันเครียดตึง ปวดศรีษะ ปวดร่างกาย ปวดเส้น มันตึงไปก็รู้จักวางจิตให้เป็นกลางหน่อยผ่อนลงมาหน่อย อย่าไปเพ่งมากมายนัก

    พอผ่อนลงไปมากก็หย่อน เกิดนิวรณ์ อันนี้ก็หย่อนเกินไป กำหนดสติให้ถี่ขึ้นมาหน่อย

    หาความเป็นกลางให้ได้ ทำยังไงสมาธิจึงจะเกิดขึ้น หาความพอดีให้ได้ ..."



     
  5. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    มี บทธรรมเทศนา ของ หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย เกี่ยวกับเรื่อง การเจริญสติ มาลงเพิ่ม ครับ



    อุบายที่จะทำให้ตัณหาดับนั้นคือทำอย่างไร

    ทำสติอย่างเดียว

    สิ่งใดเกิดขึ้นทางตาทำสติรู้ ถ้าจิตเกิดความยินดียินร้าย พิจารณาหามูลเหตุว่าทำไมจึงยินดียินร้าย
    เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็เหมือนกัน ในเมื่อสัมผัสเข้าแล้วเกิดความพอใจ ไม่พอใจ มาทำสติพิจารณาสิ่งนั้น

    แม้ว่าเราจะไม่รู้จริงเห็นจริง แต่เราเอาสิ่งนั้นเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ โดยธรรมชาติของจิตแล้ว ถ้าหากว่ามีสิ่งรู้แล้วมีสติระลึกอยู่กับสิ่งนั้น ในเมื่อตั้งใจ สนใจ เอาใจใส่ จดจ้องดูอยู่ตลอดเวลา เป็นการปฏิบัติคือการทำสมาธิ เป็นการเจริญสมถวิปัสสนาไปในตัว

    เพราะสิ่งใดที่เราดูด้วยความมีสติสัมปชัญญะ ย่อมเป็นอุบายให้จิตสงบเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมมีปีติ มีความสุข และมีเอกัคคตา เช่นเดียวกับการภาวนาอย่างอื่น

    จุดหมายของการภาวนา คือ การสร้างพลังสติสัมปชัญญะ

    เพราะฉะนั้น จุดมุ่งหมายของการเจริญสมถวิปัสสนา ที่แน่ๆ ที่สุด อยู่ตรงที่ฝึกฝนอบรมให้มีสติสัมปชัญญะมีพลังเข็มแข็ง ซึ่ง เรียกว่า สติพละ

    สติพละสามารถที่จะประคับประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติเมื่อประสบกับอารมณ์ต่างๆ สตินทรีย์ เมื่อสติพละเพิ่มกำลังขึ้นกลายเป็นสตินทรีย์ เป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวงสามารถที่จะปฏิวัติตนไปสู่การค้นคว้าพิจารณาหาเหตุผลในสิ่งนั้นๆ จนกระทั่งรู้แจ้งเห็นจริงตามกฎแห่งความเป็นจริง

    เมื่อสตินทรีย์มีพลังแก่กล้าขึ้น จะกลายเป็นสติวินโย คือมีสติเป็นผู้นำ กระชับแน่นอยู่ที่ดวงจิตของผู้ปฏิบัติไม่พรากจากกันตลอดเวลา ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด หลับ และตื่น สายสัมพันธ์แห่งสติสัมปชัญญะตัวนี้จะต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย



    เสนอ สังเกตุ

    หลวงพ่อพุธ ท่านกล่าวถึงการเจริญสติในเบื้องต้นด้วยคำว่า "ทำสติ" ....ซึ่ง มีคำว่า "ตั้งใจ" และ "จดจ้อง" อยู่ด้วย





    ผมจึงเสนอว่า

    ครูบาอาจารย์พระป่า ไม่ว่าจะองค์ไหนๆ ก็ไม่เคยห้าม"ตั้งใจ"เจริญสติในเบื้องต้น ครับ



    ส่วน สติที่เป็นอัตโนมัติ ท่านก็แสดงไว้ว่า ก็พัฒนาไปจาก สติในขั้นฝึกฝน นี้ละครับ...หาใช่ว่า รอให้เผลอๆ แล้ว สติอัตโนมัติจึงจะเกิดขึ้นเองลอยๆแบบปราศจากเหตุปัจจัย(อเหตุ-อปัจจโย)


    >>>>>>>>>







    ปล...


    กรณี ของท่านที่เป็นขิปปาภิญญา นั้น ท่านเปรียบเสมือนน้ำที่กำลังจะเต็มตุ่มอยู่แล้ว. พอได้น้ำเพิ่ม1ขันก็เลยเต็มตุ่ม เลยดูเหมือนว่า ง่ายๆ ลัดสั้นๆ ไม่ได้จงใจอะไรๆ .....และ การตรัสรู้ของท่าน จะเป็นอย่างรวดเร็ว จนเหมือนไม่มีลำดับขั้นตอน...

    ซึ่ง เรา-ท่าน คงจะนำกรณีของท่านที่เป็นขิปปาภิญญานั้น มาเป็นประเด็นหลักของการเสวนาเรื่อง การฝึกเจริญสติ ไม่ได้
     
  6. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ภาษา ที่ ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง ใช้กัน


    จะมีอีกคำหนึ่ง ก็คือ "สติปลอม" ซึ่ง สื่อถึง สติที่ยังไม่เป็นเองโดยอัตโนมัติ และ บางครั้งจะกล่าวโยงไปถึง "มิจฉาสติ"


    เสนอ พิจารณาคำอธิบาย มิจฉาสติ


    จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    มิจฉาสติ (ระลึกผิด ได้แก่ ความระลึกถึงเรื่องราวที่ล่วงแล้ว เช่น ระลึกถึงการได้ทรัพย์ การได้ยศ เป็นต้น ในทางอกุศล อันจัดเป็นสติเทียม เป็นเหตุชักนำใจให้เกิดกิเลสมีโลภะ มานะ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น— wrong mindfulness)




    ผมเห็นว่า

    มิจฉาสติ ในความหมายที่แสดงในพจนานุกรม ที่นี้ ไม่น่าจะรวมถึง สติในขั้นการฝึกฝนที่ยังคงมีความ"ตั้งใจ"อยู่(ยังไม่เป็นอัตโนมัติ)....

    เพราะ สติในขั้นการฝึกฝนที่ยังคงมีความ"ตั้งใจ"อยู่ ถึงแม้นจะยังไม่เป็นสติอัตโนมัติ แต่ ก็ไม่นำไปในทางอกุศล(หวังว่า คงไม่มีท่านใดเข้าใจว่า ครูบาอาจารย์พระป่าสอนให้เจริญสติที่นำไปสู่อกุศลน่ะครับ )

    หรือ จะกล่าวให้กระชับ ก็น่าจะเป็นว่า สติในขั้นฝึกฝนนั้น มาถูกทางแล้ว แต่ ยังไม่บริบูรณ์...การปฏิบัติ คือ เดินหน้าต่อไปในทิศทางเดิม แต่ เพียรให้ยิ่งๆขึ้นไป(พหุลีกตา)



    ในขณะที่ มิจฉาสตินั้น มาผิดทาง ตั้งแต่ต้น เลย...นำไปสู่อกุศล . การปฏิบัติ คือ ต้องยุติ และ ไปเริ่มใหม่ในแนวทางที่ถูกต้อง
     
  7. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    เรื่อง สติอัตโนมัติ(รวมถึงองค์แห่งอริยมรรคอื่นๆอีกด้วย) ที่ พ้นความตั้งใจ พ้นความจงใจ พ้นเจตนา คือ เป็นเองโดยสมบูรณ์ในขณะนั้น




    เสนออ่าน


    สนทนาธรรมภาคปฏิบัติ ปฏิปัตติวิภัชน์

    โดย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


    ผ. ถามว่า การปฏิบัติก็มุ่งต่อความพ้นจากกิเลส แต่ทำไมตั้งใจจะละอาสวะให้หมดไป จึงไม่หมดไปได้อย่างใจ

    ฝ. ตอบว่า อาสวะเป็นกิเลสที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ต้องอาศัยอริยมรรคที่เป็นกุศลพ้นเจตนาจึงละไว้ได้

    การตั้งใจละนั้นเป็นกุศลที่ประกอบด้วยเจตนา เพราะฉะนั้นจึงละอาสวะไม่ได้ คงละได้แต่กิเลสที่ประกอบด้วยเจตนา แต่ก็ละได้ชั่วคราว ภายหลังอาจเกิดขึ้นได้อีก เพราะเป็นโลกิยกุศล

    ผ. พูดว่า อ้อ อย่างนี้นี่เล่า ข้าพเจ้าไม่รู้ว่ากิเลสที่ไม่ประกอบด้วยเจตนา ต้องละด้วยกุศลที่พ้นจากเจตนา คือ อริยมรรค ส่วนกิเลสที่ประกอบด้วยเจตนา เป็นกรรมวัฏฝ่ายบาป ต้องละด้วยกุศลที่ประกอบด้วยเจตนา ซึ่งเป็นกรรมวัฏฝ่ายบุญ

    ฝ. พูดว่า ถ้าตั้งใจจะละอาสวะได้ง่าย ๆ เหมือนอย่างตั้งใจทำกรรมวัฏฝ่ายบุญแล้ว พระอรหันต์ก็คงหาได้ง่าย ๆ ในโลก พระอริยสงฆ์คงไม่น่าอัศจรรย์เท่าไหร่ แม้พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี เสขบุคคล ๓ จำพวกนี้ก็ต้องอาศัยอริยมรรค ซึ่งเป็นกุศลที่พ้นจากเจตนา จึงจะฆ่าสังโยชน์ได้




    เรื่อง กุศลที่พ้นเจตนาอันเป็นเหตุให้ละสังโยชน์ได้ นั้น .... ครูบาอาจารย์พระป่ารุ่นก่อนๆ ท่านกล่าวไว้นานแล้ว....

    แต่ ท่านไม่ได้ห้ามตั้งใจเจริญสติในช่วงฝึกฝน น่ะครับ

    สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ขิปปาภิญญาแล้ว.... การจะนำไปสู่ กุศลที่พ้นเจตนา นั้น ก็ต้องอาศัยเจตนา คือ ความพากเพียรพัฒนาเป็นไปในเบื้องต้น .....หรือ อาจจะกล่าวได้ว่า ต้องมีความตั้งใจในเบื้องต้นเสียก่อน จนเมื่ออินทรีย์ทั้งห้าพอเหมาะ อริยมรรคบริบูรณ์ ความเป็นอัตโนมัติจึงปรากฏ
     
  8. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ในประเด็น



    ตัณหา ที่เป็นเบื้องหลังของการจงใจ(ตั้งใจ)ฝึกเจริญสติ ที่จัดเป็นภาวะ"ผิดพลาด"

    [ตามความเชื่อที่ว่า การจงใจ(ตั้งใจ)ฝึกเจริญสตินั้น เป็น มิจฉาวายามะ และ นำไปสู่ มิจฉาสติ]



    เสนอประเด็นเพิ่มเติม จาก





    ตัณหา ในบทความนี้ เป็นเหตุให้การปฏิบัติธรรมเนิ่นช้า(ไม่ลัดสั้น???) ….ซึ่ง ตัณหา ในบทความนี้ นำไปสู่ การจงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติ ซึ่งใช้คำว่า"การพยายามทำสติ" อันถือว่าเป็นมิจฉาวายามะ และ นำไปสู่มิจฉาสติ ....

    [การไม่จงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติ จึงเป็นทางลัดสั้น???]



    ตัณหา ในบทความนี้เป็นความหมายแห่ง “ตัณหาในปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์เกิด”(ตัณหาเป็นผู้สร้างภพ;จากบทความ) .......ซึ่ง น่าจะตรงกับ ตัณหา๓ หรือ ตัณหา๖ นั้นเอง




    หมายเหตุ... “ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ” คือ ฉันทราคะ (พระบาลี ฉนฺทราโค)

    ส่วนคำว่า "ธรรมตัณหา" นั้น หมายถึง ความทะยานอยากในธรรมารมณ์ .ไม่ใช่ ความอยากในการเจริญสติ อะไรหรอกน่ะครับ




    เสนอ พิจารณา ความหมายของคำว่า “ฉันทะ” และ คำว่า“อยาก”


    จาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    .


    ...............................


    อยาก


    ข้อสังเกต...

    คำว่า “อยาก” กับ “ปรารถนา” มีความหมายเดียวกัน

    ดังนั้น “ฉันทะ” ที่หมายถึงความปรารถนา จึงมีความหมายครอบคลุมถึงคำว่า “อยาก” เช่นกัน



    คำว่า ฉันทะ นั้น

    นอกเหนือจาก ฉันทราคะ คือ "อยากที่เป็นเหตุนำไปสู่ทุกข์" แล้ว...

    ก็ ยังมี ฉันทะในอิทธิบาท คือ "อยากที่เป็นเหตุนำออกจากทุกข์"... อีกด้วย!!!



    อิทธิ แปลว่า สำเร็จ . อิทธิบาท ก็คือ คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย ….
    จุดที่ถือว่า เป็นความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมายในพระพุทธศาสนา คือ พ้นทุกข์
    อิทธิบาท ก็คือ คุณธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ .... จุดสุดท้าย ก็คือ บรรลุอรหัตตผล นั่นเอง

    อิทธิบาท เริ่มด้วย ฉันทะ คือ ปรารถนาหรือ อยากที่จะพ้นทุกข์ ....จึงนำไปสู่ วิริยะ(เพียร พยายาม )....ตามมาด้วย จิตตะ (ตั้งจิต) และ วิมังสา(ใคร่ครวญ)... จึงนำไปสู่ความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง(บรรลุอรหัตตผล)ในที่สุด



    ขออนุญาต เน้น เปรียบเทียบ

    # ฉันทราคะ(ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ; เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกับ ตัณหาในปฏิจจสมุปบาท) เป็นเหตุนำไปสู่ ทุกข์

    แต่

    #ฉันทะแห่งอิทธิบาท .... ที่ถึงแม้น แปลไทย จะมีความหมายว่า “อยาก”เช่นกัน.... แต่ เป็น “อยากพ้นทุกข์” เป็นเหตุเริ่มต้น ของการนำออกจากทุกข์





    ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านไม่เคยห้ามอยากพ้นทุกข์เลย...
    ที่ท่านสอนคือ ไม่ให้เพียงแต่อยากแล้วไม่ลงมือปฏิบัติ ....
    และ เวลาเพียรปฏิบัติ ก็ เพียรให้พอดี .... ไม่เพียรน้อยไป จนกลายเป็นเหลาะแหละ... และ ไม่เพียรมากไปจนกลายเป็นเครียดเกร็ง
    ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านจึงสอนให้” เพียรอย่างพอดี”... ตรงกับ พระพุทธพจน์ที่ว่า “ บุคคลจะล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร” นั้นเอง


    ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านไม่เคยห้ามตั้งใจ(จงใจ)ในการฝึกเจริญสติเลย....
    ที่ท่านสอนคือ "ตั้งใจให้พอดี" ....ไม่ตั้งใจน้อยเกินไปจนขาดสติ.... และ ไม่ตั้งใจมากเกินไปจนเครียดเกร็ง







     
  9. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ประเด็น เรื่อง "ถิรสัญญา"




    เป็นคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์รุ่นหลังพุทธกาล... คำๆนี้ ไม่มีในสมัยพุทธกาล



    ถิรสัญญา ในปัจจุบัน กำลังเป็น"หัวใจของการเจริญสัมมาสติ" ของ ชาวพุทธรุ่นใหม่...

    เพราะ ถิรสัญญา คือคำตอบของคำถามที่ว่า

    "ถ้า ไม่ให้จงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติ แล้ว สัมมาสติจะปรากฏได้อย่างไร???"

    (เป็นคำถามที่สืบเนื่องมาจากแนวคิดที่ว่า การจงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติเป็นภาวะที่ผิดพลาด)



    ซึ่งคำตอบ ก็คือ เจริญถิรสัญญา นั่นเอง





    อนึ่ง...

    ถ้า ถิรสัญญา เป็นสิ่งที่สำคัญในการ "วินิจฉัยชี้ ถูก-ผิด ของการเจริญสติ "ในลักษณะที่ว่า

    "หากจงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติ โดยตรง เป็น มิจฉาสติ; แต่ ถ้าไม่จงใจ(ตั้งใจ)เจริญสติโดยตรง แต่ เจริญถิรสัญญาแทน แล้ว สัมมาสติจะเกิดเองโดยปราศจากความจงใจ " แล้ว

    ก็น่าจะมีปรากฏชัดๆ สักแห่ง ในระดับพระสูตร ที่แสดง ห้ามไม่ให้ตั้งใจ(จงใจ)เจริญสติ... น่ะครับ
     
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    53
    ค่าพลัง:
    +4,024
    โมทนา สาธุธรรม
    ได้ธรรมไปพิจารณาเพื่อความแจ่มชัดในแนวทางปฏิบัติตนเป็นอันมาก ...
     
  11. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อาจเพราะคนเมืองรุ่นใหม่ ถูกหล่อหลอมด้วยเทคโนโลยี
    ศึกษาธรรมผ่านอินเตอร์เนท มีปัญญาทางโลก(สัญญา)มาก
    ตกผลึกความคิด จากการอ่าน ฟัง ดู ไม่ได้ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง
    ต่างจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติแต่เก่าก่อนที่เคี่ยวกรำตนเอง
    ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาอย่างเอาชีวิตเข้าแลก

    คนเมืองรุ่นใหม่ มัวเมาในอารมณ์ เป็นทาสของวัตถุ
    จิตใจขาดที่พึ่ง เป็นไปตามกระแสของโลก
    แห่แหนไปตามกระแสโฆษณาชวนเชื่อ
    ได้ยินว่าใครเป็นพระโสดาบัน พระอรหันต์ ก็พร้อมจะศรัทธา
    เมื่อศรัทธาแล้ว จะสอนผิดถูกอย่างไรไม่รู้
    ถึงอ่านธรรมของผู้ที่ตนศรัทธาแล้ว อาจรู้สึกชอบกล
    ก็จะมองข้ามไป คิดแต่ว่าเพราะตนยังปฏิบัติน้อย
    ก็เลยไม่อาจเข้าใจธรรมที่ผู้ที่ตนศรัทธาแสดง...เท่านั้น

    แล้วก็เป็นการสร้างกระแสกันในหมู่ชาวพุทธ
    ผู้ต้องการสร้างศรัทธา แทบทุกรายตอนนี้จะมาแนวเดียวกันหมด
    คือ ผมปฏิบัติสายพระป่า...
    แต่ปฏิเสธการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
    จะมาอ้างว่าเป็นสายพระป่าได้ยังไง ยังสงสัยอยู่

    แล้วก็จะมีบทพูดเดียวกันว่า การทำสมาธิเป็นแค่สมถะเท่านั้น

    เพราะผู้พูดไม่ได้ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาจริงดังอ้างนั่นเอง
    จึงไม่รู้ว่า การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนานั้น
    เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาอยู่ในตัวอยู่แล้ว

    นั่นคือ การที่จิตจะสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิได้นั้น (สมถะ)
    จิตต้องปล่อยวางอารมณ์ต่างๆออกไปได้ (วิปัสสนา)

    และการที่จิตจะมีพลังที่จะปล่อยวางอารมณ์ต่างๆออกไปได้ (วิปัสสนา)
    จิตจะต้องมีพลังสมาธิ สงบตั้งมั่น จึงจะทำได้ (สมถะ)

    นั่นคือ ทั้งสติ สมาธิ ปัญญา ล้วนเป็นอัญญะมัญญะปัจจัย
    เกื้อกูลซึ่งกันและกันตลอดสายในการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
    เพื่อให้จิตสงบตั้งมั่นมากขึ้น และปล่อยวางอารมณ์ต่างๆออกไปได้มากขึ้นเร็วขึ้น
    ตามกำลังของการเจริญสติ (สติปัฏฐาน ๔ )

    (smile)
     
  12. ผู้หันหลังให้ด้านมืด

    ผู้หันหลังให้ด้านมืด สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +11
    ประเด็นของพระป. แห่งศรีราชา คงต้องถกเถียงกันไปอีกนาน
    คนที่ศรัทธาในพระป. อธิบายอะไรไปก็ไม่ฟ้ง
    คงต้องขึ้นอยู่กับบุญของแต่ละบุคคล ว่าใครจะมีบุญได้เจอหนทางหลุดพ้นที่แท้จริง
     
  13. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ประเด็นแนวคิด ที่ว่า


    การฝึกเจริญสัมมาสติที่จะนำไปสู่วิปัสสนาได้นั้น ต้องปราศจาก การจงใจ ตั้งใจ หรือ การกำหนด (ปราศจากตัณหา อันเป็นเบื้องหลังของการจงใจ ตั้งใจ หรือ การกำหนด นั่นเอง) ….

    ถ้า มีการจงใจ ตั้งใจ หรือ การกำหนด อยู่ ในการฝึกเจริญสติ ....สติที่บังเกิดขึ้นจะไม่ใช่สัมมาสติ และ ไม่นำไปสู่วิปัสสนา





    ### ตรงจุดนี้ อยากเสนอ ให้ย้อนกลับไปอ่าน คำสอนการเจริญสติ ที่ ครูบาอาจารย์พระป่า เช่น ที่ หลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัว หลวงพ่อพุธ ท่านสอน เอาไว้.... ใน คห.ข้างต้น

    จะเห็น ได้ว่า คำสอนการฝึกเจริญสติที่ครูบาอาจารย์พระป่าท่านสอน ท่าน ไม่ได้ห้ามการจงใจ ไม่ได้ห้ามการตั้งใจ ไม่ได้ห้ามการกำหนด แต่อย่างใดเลย.

    นอกจาก ไม่ห้ามแล้ว.... ท่านยังกล่าวชัดๆ ว่า ในการฝึกเจริญสตินั้น พึงตั้งใจ และ ให้กำหนด เสียอีก!!!

    ดังนั้น ผู้ที่ฝึกเจริญสติตามแนวทางคำสอนของครูบาอาจารย์พระป่า จึง ไม่ได้กลัว หรือ ไม่มามัวกังวล กันว่า ต้องไม่จงใจน่ะ ต้องไม่ตั้งใจน่ะ ต้องไม่กำหนดน่ะ ในเวลาเจริญสติ...




    แต่ ถ้าใช้มาตรฐานการวินิจฉัย ตามแนวทางใหม่ แล้ว

    ก็ต้องวินิจฉัยว่า ...ผู้ปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของครูบาอาจารย์พระป่า ต้อง " ทำแค่สมถะ "( ไม่เข้าข่ายว่ามีส่วนแห่งการเจริญวิปัสสนา)

    เพราะ ผู้ปฏิบัติตามแนวทางคำสอนของครูบาอาจารย์พระป่า ยังคงมีการจงใจ ยังคงมีการตั้งใจ ยังคงมีการกำหนด ในการฝึกเจริญสติอยู่ นั้นเอง
     
  14. นวกะ36

    นวกะ36 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +2,997
    สมถกรรมฐานคืออะไร

    สมถกรรมฐาน คือกรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ ได้แก่การปฏิบัติธรรมด้วยการบริกรรม เป็นการบำเพ็ญเพียรทางจิตโดยใช้สติเป็นหลัก ไม่เกี่ยวกับการใช้ปัญญา มุ่งให้จิตสงบ ระงับจากนิวรณ์ซึ่งเป็นตัวขัดขวางจิตไม่ให้บรรลุความดีเป็นสำคัญ
    สมถกรรมฐาน เป็นอุบายวิธีที่หยุดความฟุ้งซ่านแห่งจิตซึ่งมักจะฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ กล่าวคือ หยุดความคิดของจิตไว้ โดยใช้สติยึดดึงอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งมาบริกรรมจนกระทั่งจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้น และสงบระงับไม่ฟ้งซ่านต่อไป

    สมถกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งบริหารจิตเป็นหลัก คู่กับ วิปัสสนากรรมฐาน ที่มุ่งการอบรมปัญญาเป็นหลัก


    อ้างอิง
    ที่มา :สมถกรรมฐาน - วิกิพีเดีย
     
  15. นวกะ36

    นวกะ36 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +2,997
    วิปัสสนากรรมฐานคืออะไร

    วิปัสสนากรรมฐาน คือ กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา, กรรมฐานทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง หมายถึงการปฏิบัติธรรมที่ใช้ปัญญาพิจารณาเป็นหลัก
    วิปัสสนากรรมฐาน บำเพ็ญได้ โดยการพิจารณาสภาวธรรมหรือนามรูป คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะอินทรีย์ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ เห็นด้วยปัญญาว่าสภาวธรรมเหล่านี้ ตกอยู่ในสามัญลักษณะหรือไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เท่านั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
    วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่มุ่งอบรมปัญญาเป็นหลักคู่กับ สมถกรรมฐาน ซึ่งมุ่งบริหารจิตเป็นหลัก ในคัมภีรทางพระศาสนาทั้งพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั่ว ๆ ไปมักจัดเอาวิปัสสนาเป็นแค่ สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เพราะในวิภังคปกรณ์พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนั้น ทั้งนี้ก็ยังพอจะอนุโลมเอาวิปัสสนาว่าเป็นภาวนามยปัญญาได้อีกด้วย เพราะในฏีกาหลายที่ท่านก็อนุญาตไว้ให้ ซึ่งท่านคงอนุโลมเอาตามนัยยะพระสูตรอีกทีหนึ่ง และในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรคท่านก็อนุโลมให้เพราะจัดเข้าได้ในภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุข้อ 10.
    รายละเอียดวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือการเจริญปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ การปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ดังบรรยายไว้โดยละเอียดในมหาสติปัฏฐานสูตร ในพระไตรปิฎก
    ระหว่างปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อผู้ปฏิบัติกำลังมนสิการขันธ์ 5 อย่างหนึ่งอย่างใดอยู่โดยไตรลักษณ์ ผู้ปฏิบัติอาจเกิดวิปัสสนูปกิเลส (คือ อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา 10 อย่าง) ชวนผู้ปฏิบัติให้เข้าใจผิด คิดว่าตนได้มรรคผลแล้ว คลาดออกนอกวิปัสสนาวิถีได้



    อ้างอิง
    • พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
    • พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "พุทธธรรม".
    • พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิเถร ป.ธ.9) "วิปัสสนากรรมฐาน" ภาค 1 เล่ม 1. (รวบรวมจากบรรยายถาม-ตอบทางวิทยุกระจายเสียง ในปีพ.ศ. 2503-2507
    ที่มา :วิปัสสนากรรมฐาน - วิกิพีเดีย
     
  16. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677


    เห็นด้วยครับ





    ระลึกถึง

    สมาธิภาวนา4ประเภท ตาม พระบาลี โรหิตัสวรรค



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑

    ๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
    เป็นไฉน คือ

    สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑





    พิจารณา กัน จากพระพุทธพจน์ดั้งเดิม(หลักฐานชั้น1) เลยดีกว่า ครับ



    คำว่า "สมาธิภาวนา" ที่ปรากฏในพระสูตรนี้
    ครอบคลุมทั้ง

    สมถะ(ข้อ๑ และ ข้อ๒)
    สมถะผสมวิปัสสนา(ข้อ๓)
    และ วิปัสสนา(ข้อ๔)




    เสนอ พิจารณาความหมายของ


    สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑

    จากพระสูตร กัน



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
    ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ



    พระสูตร ตรงจุดนี้.... นักวิปัสสนาบางท่าน ที่ผมเคยเสวนาด้วย ยังเคยแสดงท่าทีแบบ งงๆ เมื่อเห็นพระพุทธพจน์ตรงจุด สมาธิภาวนาประเภทที่๔ นี้.
    ท่านเปรยๆ ในลักษณะ ที่ว่า "เอ ....นี่ มันวิปัสสนากรรมฐาน นี่หว่า??? ":eek:



    คำว่า "สมาธิภาวนา" ในสมัยพุทธกาลจึงครอบคลุมถึงคำว่า "วิปัสสนากรรมฐาน" ในยุคหลังพุทธกาล(และ ที่ใช้กันในปัจจุบันด้วย) ด้วย


    กล่าวคือ คำว่า สมาธิภาวนา นั้น นอกจากหมายถึงการกระทำให้เจริญขึ้นซึ่งสมาธิแล้ว ยัง ครอบคลุมถึงการนำสมาธิไปใช้ประโยชน์...

    ซึ่ง จุดมุ่งหมายสุดท้ายในการเจริญสมาธิภาวนา ก็คือ การสิ้นอาสวะ นั่นเอง
     
  17. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677

    จาก บทความนี้ สมถะ ไม่เกี่ยวกับการใช้ปัญญา???




    แต่ สมถะ ในระดับพระสูตร แสดง

    [๘๓๑]เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
    มีสติปัฏฐาน ๔
    สัมมัปปธาน ๔
    อิทธิบาท ๔
    อินทรีย์ ๕
    พละ ๕
    โพชฌงค์ ๗
    ถึงความเจริญบริบูรณ์

    บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนาคู่เคียงกันเป็นไป

    เขาชื่อว่ากำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ละธรรมที่ควรละด้วยปัญญาอันยิ่ง
    เจริญธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำให้แจ้งธรรม ที่ควรทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์




    สมถะในอริยมรรค จากพระพุทธพจน์ จึงเป็นธรรมที่ควรเจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง



    หรือ พระสูตรที่ทรงแสดง อานันตริกสมาธิญาณ ...ขณะจิตที่จะตรัสรู้ ก็ จะต้องมี สมถะ(สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ) ปรากฏร่วม ในขณะนั้นเสมอ


    จาก

    พระไตรปิฎก เล่มที่ 31

    [๒๑๑]ปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะ ความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอานันตริกสมาธิญาณอย่างไร

    เอกัคคตาจิตอันไม่ฟุ้งซ่านด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะเป็นสมาธิ

    ญาณเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธินั้นอาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปด้วยญาณนั้น

    สมถะมีก่อนญาณมีภายหลัง

    ด้วยประการดังนี้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายย่อมมีได้ด้วยญาณนั้น


    เพราะเหตุนั้น
    ท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการตัดอาสวะขาดเพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่านเป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ


    ๆลๆ


    [๒๑๔] คำว่า อาสวา ความว่าอาสวะเหล่านั้นเป็นไฉน
    อาสวะเหล่านั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไป ณ ที่ไหน

    ทิฏฐาสวะทั้งสิ้น กามาสวะ ภวาสวะอวิชชาสวะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่อบายย่อมสิ้นไปด้วยโสดาปัตติมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคนี้

    กามาสวะส่วนหยาบ ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้นย่อมสิ้นไปด้วยสกทาคามิมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งสกทาคามิมรรคนี้

    กามาสวะทั้งสิ้น ภวาสวะ อวิชชาสวะ อันตั้งอยู่ร่วมกันกับกามาสวะนั้นย่อมสิ้นไปด้วยอนาคามิมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอนาคามิมรรคนี้

    ภวาสวะ อวิชชาสวะย่อมสิ้นไปไม่มีส่วนเหลือด้วยอรหัตมรรค
    อาสวะเหล่านี้ย่อมสิ้นไปในขณะแห่งอรหัตมรรคนี้

    ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น
    ชื่อว่าปัญญาเพราะอรรถว่ารู้ชัด

    เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการตัดอาสวะขาด เพราะความบริสุทธิ์แห่งสมาธิอันเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่านเป็นอานันตริกสมาธิญาณ ฯ




    ขยายความ คำว่าอานันตริกสมาธิ จาก พุทธธรรม


    สมาธิที่เลิศประเสริฐสุด ก็คือสมาธิที่ช่วยให้ตรัสรู้ หรือ สมาธิที่ช่วยให้ปัญญากำจัดกิเลสและหลุดพ้นได้ เรียกอย่างวิชาการว่าสมาธิที่เป็นองค์แห่งมรรค หรือสมาธิในมรรค (มัคคสมาธิ)

    สมาธิอย่างนี้มีชื่อเรียกพิเศษว่า อานันตริกสมาธิ (บางแห่งเพี้ยนเป็น อนันตริกะ บ้าง อานันตริยะ บ้าง)

    แปลว่าสมาธิที่ให้ผลต่อเนื่องไปทันทีคือทำให้บรรลุอริยผลทันทีไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้

    สมาธิชนิดนี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ไม่มีสมาธิอื่นใดเทียมเท่า (ขุ.ขุ.25/7/6: ขุ.สุ.25/314/368) ถึงหากจะเป็นสมาธิระดับต่ำก็ถือว่าประเสริฐกว่าสมาธิอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น
    สมาธิระดับรูปฌาน หรืออรูปฌานก็ตาม (ขุทฺทก. อ.198; สุตฺต.อ.2/27)

    อานันตริกสมาธินี้ท่านกล่าวถึงในที่อื่นๆ อีกทั้งบาลีและอรรถกา ผู้สนใจพึงดู ที.ปา.11/373/289 ฯลฯ





    อานันตริกสมาธิ คือ เอกัคคตาแห่งจิต(สมถะ) ที่หากบังเกิดขึ้นแล้ว ในขณะจิตต่อมาจะบรรลุอริยมรรคมรรคผลทันทีโดยไม่มีอะไรคั่นหรือแทรกระหว่างได้



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 เมษายน 2010
  18. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    (ต่อ ในประเด็น สมถะ เกี่ยวกับ ปัญญา ไหม?)


    ...........................................


    แม้นแต่ ผู้ที่เจริญอริยมรรคโดยใช้วิปัสสนานำหน้า .... สมถะ ก็จะต้องปรากฏเช่นกัน


    จาก พุทธธรรม หน้า 331

    "....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้

    จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."
     
  19. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ขอ นำ บทธรรม สมถะ-วิปัสสนา ที่ ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านแสดงเอาไว้มาเสนอ



    โอวาทธรรม ที่ หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต

    ท่านแสดงต่อ หลวงปู่ หลุย จันทสาโร


    "การนอน การสงบเข้าฌาน เป็นอาหารของจิตและร่างกายอย่างหนึ่ง

    สมถะต้องพักจิตสอบอารมณ์

    ส่วน วิปัสสนาจิตเดินไตรลักษณ์ให้รู้อริยสัจ

    เหนื่อยแล้วเข้าพักจิต พักจิตหายเหนื่อยแล้ว จิตตรวจอริยสัจอีก ดังนี้


    ฉะนั้น ให้ฉลาดการพักจิตการเดินจิต ทั้งวิปัสสนาและสมถะ


    พระโยคาวจรเจ้าทิ้งไม่ได้ ชำนิชำนาญทั้งสองวิธีจึงเอาตัวพ้นจากกิเลสทั้งหลาย ไปได้ เป็นมหาศีล เป็นมหาสมาธิ เป็นมหาปัญญา

    มีศีลทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด พร้อมทั้งจิต เจตสิก พร้อมทั้งกรรมบถ 10 ไม่กระทำผิดในที่ลับและที่แจ้งสว่างทั้งภายในและภายนอก มีมหาสติรอบคอบหมด วิโมกข์วิมุติ อกุปธรรม จิตบริสุทธิ์ จิตปกติ เป็นจิตพระอรหันต์สว่างแจ้งทั้งภายนอกภายในสว่างโร่”


    ................................



    ปล...

    นี่เป็นหลักฐาน ที่แสดงว่า ครูบาอาจารย์พระป่า ท่านไม่ได้สอนให้ลูกศิษย์ เจริญเฉพาะสมถะ แต่อย่างเดียว น่ะครับ
     
  20. ตรงประเด็น

    ตรงประเด็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +677
    ขออนุญาตนำเสนอ


    การจัดเข้าคู่ ใน ลักษณะ ” เปรียบเทียบ สมถะ กับ วิปัสสนา “ ตามแนวทางชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง.ที่ อาจจะมีส่วนให้เกิดความเข้าใจว่า ผู้ปฏิบัติตามสายพระป่าส่วนมากทำแค่สมถะ


    จาก




    เสนอ

    ให้สังเกตคำว่า สมถะ ที่นำมาจัดเข้าคู่ ใน ลักษณะ เปรียบเทียบ กับคำว่า วิปัสสนา ในบทความนี้.



    โดยย้อนไปศึกษาจากพระอภิธรรมปิฎกเปรียบเทียบว่า สมถะ ในบทความนี้ หมายถึงสมถะชนิดใด ระหว่าง
    1.มิจฉาสมาธิ
    2.สัมมาสมาธิที่ยังคงเป็นโลกียะ
    3.สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ

    กล่าวคือ ในระดับพระอภิธรรมปิฎก คำว่า สมถะ นั้น จะครอบคลุมความหมาย ของ ทั้ง3ข้อ.

    ที่ ขอเสนอเน้นให้เพ่งเล็ง ก็คือ ในระดับพระอภิธรรมปิฎก.... คำว่า สมถะ นั้น ครอบคลุมความหมายถึง สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ ด้วย

    พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
    ธรรมสังคณีปกรณ์

    โลกุตตรกุศลจิต
    มรรคจิตดวงที่ ๑

    [๒๕๓] สมถะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?

    ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมถะ มีในสมัยนั้น


    .................................




    เรา-ท่าน ลองย้อนกลับไปดู บทธรรมของทาง แนวทางชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง กัน น่ะครับ


    สมถะ ที่ “เหมือนคนที่ตกลงในกระแสน้ำ ว่ายอยู่ในน้ำ ย่อมเห็นสิ่งต่าง ๆ ไม่ชัดเจน” ย่อม ไม่น่าจะจัดว่าเป็น สัมมาสมาธิในองค์มรรคที่เป็นโลกุตระ น่ะครับ. { คงไม่มีใครเห็นว่า การตกลงไปในกระแสน้ำ และ ต้องคอยว่ายอยู่ในน้ำ(เพื่อไม่ให้จม) จึง มองเห็นสิ่งต่างๆ(สภาวธรรม) ไม่ชัดเจน นั้น .....เปรียบเป็น สัมมาสมาธิในองค์มรรค น่ะครับ.}


    ใน นัยยะ แห่งความหมายของบทธรรมนี้ คือ

    การนำเอาสมถะที่ไม่ใช่สัมมาสมาธิในองค์มรรค มา เข้าคู่เปรียบเทียบกับ วิปัสสนา ..... เป็นลักษณะ ผิดฝา-ผิดตัว คือ การนำ สมถะที่ผิดหรือยังไม่สมบูรณ์พร้อม มาวางเปรียบเทียบกับ วิปัสสนา





    ชาวพุทธรุ่นใหม่คนเมือง จำนวนมาก ที่มักจะกล่าวถึง สมถะ ในความหมายที่ไม่ครอบคลุมถึงสัมมาสมาธิในองค์มรรค. ดัง ที่เคยได้รับทราบ เช่น การระมัดระวังไม่ให้จิตเป็นสมถะเวลาเจริญสติ (มักจะใช้ คำว่า ระวังไม่ให้จิตเป็นสมถะ รวมๆ โดย ไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่า ระวังจิตไม่ให้เป็นมิจฉาสมาธิ ).

    ถ้า ใครเคยอ่านผ่านตากระทู้ในพันทิพ(ห้องศาสนา) อาจจะเคยเห็นกระทู้หนึ่ง ตั้งกระทู้ ถาม แบบงงๆ ว่า สัมมาสมาธิในองค์มรรคนับว่าเป็นสมถะหรือ ???...

    ซึ่ง ผมมองว่า น่าจะสืบเนื่องจากบทธรรมในลักษณะนี้




    ขอ เสนอ น่ะครับ ว่า

    ถ้าจะนำ สมถะ มาจัดเข้าคู่ในลักษณะเปรียบเทียบ กับ วิปัสสนา ....
    สมควร นำสมถะที่ถูกต้องสมบูรณ์(สัมมาสมาธิในองค์มรรค) มาวางเปรียบเทียบ กับ วิปัสสนา ครับ.

    จึง จะเป็นการ ถูกฝา-ถูกตัว


     

แชร์หน้านี้

Loading...