ผู้ใดกล่าวพระธรรมและพระวินัยตามองค์พระสัมมาฯ ควรเงี่ยหูฟังได้หมด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 30 เมษายน 2018.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,301
    ค่าพลัง:
    +12,628
    แม้ผู้กล่าวพระธรรมพระวินัยจะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสน์จะอาวุโสมากน้อยพรรษามากพรรษาน้อย
    ก็ไม่บังควรยก(กล่าว)โทษ ติเตียนใดๆ
    ควรเงี่ยหูฟังได้หมด
    หากคำที่กล่าวนั้นกล่าวตามพุทธพจน์
    โดยไม่มีการต่อเติม หรือลดทอน
    เช่น กล่าวพระสูตร เป็นต้น
     
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ใช่พูดง่ายคือครบทั้งบริษท
    ไม่ใช่แบบตัดต่อ
    แล้วยึดตามที่ตนเข้าใจ
    และเที่ยวกล่าวหา
    โดยขาดเหตุและผลในปัจจุบัน
    และยกตนเป็นที่สุด
    แบบนี้เรียก มารศาสนา
    ที่อาศัยพุทธฯ เพื่อยกตน
    เป็นกมลสันดานของ
    ภูมิอสูรกาย
    ซึ่งไม่ดี และควรเลี่ยงครับ
     
  3. รัศมีสุริยา

    รัศมีสุริยา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2018
    โพสต์:
    82
    ค่าพลัง:
    +53
    พระพุทธเจ้าสอนธรรมเป็นเพียงใบไม้ในกำมือเท่านั้น ยังมีใบไม้เต็มป่า คิดว่าคือ ธรรม แบบใดที่พระองค์ยังไม่ได้บอกได้สอน
    ในพระไตรปิฎก ประกอบด้วย 3 หมวดใหญ่ คือ
    1.พระวินัยปิฎก ว่าด้วยพระพุทธบัญญัติที่เกี่ยวกับศีลหรือสิกขาบท ตลอดจนพิธีกรรมแของพระสงฆ์ ที่จะต้องปฏิบัติ

    2.พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยประมวลพระธรรมเทศนาและคำบรรยายธรรมที่ตรัสให้เหมาะแก่บุคคลและโอกาส เป็นประมวลหลักธรรมที่ทรงแสดงโดยบุคลาธิษฐานหรือทรงใช้สมมติโวหาร ตลอดจนบทธรรมภาษิต

    3.พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยพระพุทธพจน์อันเกี่ยวกับหลักธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมล้วน คือ พระพุทธพจน์ที่แสดงสภาวธรรมโดยปรมัตถ์ คือ มีอยู่จริง หรือเป็นความหมายที่แท้จริงของสรรพสิ่ง ซึ่งได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ซึ่งเป็นธรรมอันยิ่งละเอียดลุ่มลึกยิ่งกว่าธรรมทั้งปวง

    ในบรรดาทั้งสามหมวดนี้หมวดอภิธรรมนับว่ายากที่สุด
    เปรียบเสมือนวิชาคณิตศาสตร์แคลคูลัสถอดสมการที่บางคนชอบบางคนไม่ชอบ การพูดถึงธรรมก็เช่นกันบางทีไม่อาจยกได้มาทั้งหมด
    หากเปรียบกับใบไม้ในมือพระพุทธองค์แล้วแม้พูดถึงธรรมเฉกเช่นใบไม้แค่ใบเดียวแต่ทำให้ผู้พบเห็นเข้าใจในธรรมมากขึ้นเป็นไปเพื่อการดับทุกข์ และเจตนาดีแล้วย่อมเป็นกุศลกับผู้นั้น
    แต่หากไม่เป็นด้วยเจตนาดีแล้วย่อมเป็นอกุศลกับผู้นั้นเองครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...