ฝอยท่วมหลังช้างพุทธคุณแห่ง..."พระคาถาชินบัญชร"

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย pongio, 28 กันยายน 2013.

  1. pongio

    pongio เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    843
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +6,850
    ฝอยท่วมหลังช้างพุทธคุณแห่ง..."พระคาถาชินบัญชร" : ชั่วโมงเซียน โดย อ.โสภณ

    คำว่า "ชินบัญชร" ความหมายตามตัวอักษร แปลว่า "กรง ซี่กรงของพระชินเจ้า"

    คำว่า "ชิน" ซึ่งแปลว่า ผู้ชนะ อันหมายถึงพระชินเจ้าหรือพระพุทธเจ้า

    คำว่า "บัญชร" ซึ่งแปลว่า กรง ลูกกรง ซี่กรง รวมกันเป็นชินบัญชร ซึ่งเป็นประดุจแผงเหล็กหรือเกราะเพชรที่แข็งแรง สามารถปกป้องคุ้มกันอุบัติภัย อันตรายและศัตรูหมู่มารทั้งปวงได้

    พระคาถาชินบัญชรบทเต็มนั้นมีทั้งหมด ๑๕ บท ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการบริกรรมคาถา หากท่านมีเวลาน้อย ไม่สามารถที่จะสวดพระคาถาชินบัญชรฉบับเต็มได้ ก็ขอให้สวดพระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ ซึ่งมี ๒ แบบ ดังนี้ แบบที่ ๑ "ชินะปัญชะระ ปะริตตัง มัง รักขะตุ สัพพะทา" ส่วนแบบที่ ๒ "วิญญาณสัมปันโน อิติปิโส ภะคะวา นะโมพุทธายะ" แต่พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อซึ่งมี ๒ แบบ ไม่ใช่หัวใจพระคาถาชินบัญชร

    ส่วนหัวใจพระคาถาชินบัญชร ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ทอดออกมาเพื่อถวายเหนือหัวจุฬาลงกรณ์ (ร.๕) ในสถูปเจดีย์ เมื่อ ร.ศ.๘๙ ซึ่งมีทั้งหมด ๓๑ ตัว ดังนี้ "ชะ จะ ตะ สะ สี สัง หะ โก ทะ กะ เก นิ กุ โส ปุ เถ เส เอ ชะ ระ ถะ ขะ อา ชิ วา อา วะ ชิ สัง อิ ตัง" ทั้งนี้หากนำไปเปรียบเทียบหัวใจพระคาถาอื่นๆ หัวใจพระคาถาชินบัญชรทั้ง ๓๑ ตัว บางตัวก็เป็น คำแรกของแต่ละบท แต่บางตัวก็อยู่กลางบท ในขณะที่หัวใจพระคาถาอื่นๆ จะเป็นคำแรก

    สำหรับพุทธคุณของพระคาถาชินบัญชร การใช้คำว่า ดีทุกด้าน หรือ ครอบจักรวาลนั้น อาจจะน้อยไป จึงมีการใช้คำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" กล่าวคือ ผู้ใดได้สวดภาวนา พระคาถาชินบัญชรนี้ เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้

    ๑.เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล

    ๒.ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ากล้ำกราย

    ๓.ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม

    ๔.เกิดลาภผลพูนทวี

    ๕.ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ

    ๖.ตลอดจนคุณไสย ต่าง ๆ

    ๗.ทำน้ำมนต์รดแก้สรรพโรคภัย

    และ ๘.เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณ ตามแต่จะปรารถนา

    นอกจากพระคาถาชินบัญชรจะขึ้นชื่อว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" ยังมีพระคาอีกบทหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" เช่นกัน คือ พระคาถายอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก ที่ว่า "จิ เจ รุ นิ" ๔ คำนี้ โบราณเรียกว่า เป็นหัวใจพระอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริจเฉท โดยแต่ละตัวมีความหมายดังนี้

    จิ หมายความว่า เจตสิก คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด

    เจ หมายความว่า เจติสิก มีจำนวน ๕๒ มี ผัสสะ เวทนา มนสิการ โลภะ โทสะ โมหะ วิจิกิจฉา ศรัทธา สติ ปัญญา เป็นต้น

    รุ หมายความว่า รูป คือ ธรรมชาติที่มีความเสื่อมสิ้นสลายไปเพราะปัจจัยที่ไม่ถูกกัน มีความเย็น ความร้อน เหลือบ ยุง ริ้น ไร เป็นต้น

    นิ หมายความว่า นิพพาน คือ ธรรมชาติที่พ้นไปจากรูปนามขันธ์ ๕

    พุทธานุภาพแห่งชินบัญชร

    พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ตกทอดมาจากลังกาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ค้นพบในคัมภีร์โบราณได้ดัดแปลงแก้ไขแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษได้เนื้อถ้อยกระทงความสมบูรณ์แปลออกมาแล้วมีแต่สิ่งสิริมงคล แก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ

    พระคาถานี้เป็นการอัญเชิญพระพุทธานุภาพแห่งพระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้าที่ได้เคยมาตรัสรู้ก่อนหน้านั้น จากนั้นเป็นการอัญเชิญพระอรหันต์ขีณาสพ อันสำเร็จคุณธรรมวิเศษแต่ละองค์ไม่เหมือนกัน นอกนั้นยังอัญเชิญพระสูตรต่างๆ อันโบราณาจารย์เจ้าถือว่า เป็นพระพุทธมนต์อันวิเศษแต่ละสูตรมารวมกันสอดคล้องเป็นกำแพงแก้วคุ้มกันตั้งแต่กระหม่อมจอมขวัญของผู้ภาวนาพระคาถาลงมาจนล้อมรอบตัว จนกระทั่งหาช่องโหว่ให้อันตรายสอดแทรกเข้ามามิได้

    มีคติความเชื่อตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้ เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กลํ้ากราย ไปทางใด ย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใด ๆ สวด ๑๐ จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ
     

แชร์หน้านี้

Loading...