พบพระสงฆ์ในสมาธิ!! ขอคำแนะนำจากผู้รู้ค่ะ

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย ดอกบัวแก้ว, 25 กรกฎาคม 2018.

  1. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    สาธุ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะค่ะ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ผู้บรรลุ ๒ พวก
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

    ตามนัยแห่งอรรถกถา
    ตามนัยแห่งอรรถกถา ท่านได้กล่าวไว้เป็น ๒ พวกด้วยกัน คือ
    ผู้ที่บำเพ็ญเพียรวิปัสสนา ถ้ได้ฌานมาแล้วเอาฌานนั้นแหละเป็นบาทเรียกว่า สมถยานิก และผู้บำเพ็ญไม่ได้ฌานมาก่อน เริ่มวิปัสสนาที่เดียวเรียกว่า วิปัสสนายานิก ในสองอย่างนั้น นัยแรก ออกจากฌานแล้ว กำหนดองค์ฌาน ๕ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมที่เกิดพร้อมกับองค์ฌานนั้น แล้วใคร่ครวญพิจารณาดูว่าธรรมเหล่านี้เป็นนามธรรม เพราะน้อมไป จากนั้นก็พิจารณาที่อาศัยของนามธรรม เห็นว่าหทัยรูปเป็นที่อาศัยของธรรม มหาภูตรูป และ อุปาทายรูป เป็นรูปธรรม เพราะเป็นของchipหายไปด้วยสิ่งที่เป็นข้าศึกมีความร้อน และเย็นเป็นต้น นี้เรียกว่า สมถยานิก

    สำหรับผู้ที่เป็นวิปัสสนายานิก เมื่อเจริญวิปัสสนาก็กำหนดนามธรรมทั้งหลาย มีขันธ์ ๕ เป็นต้น หรือรูปนาม ทั้งนี้เพราะนามและรูปนี้ อาศัยกันและกันท่องเที่ยวไปในสงสารสาครเหมือนมนุษย์กับเรือ ต่างก็อาศัยกันแล่นไปในมหาสมุทร ฉะนั้น อย่างนี้เป็นต้นปราศจากอัตตา ไม่เป็นคน เป็นสัตว์ ซึ่งจัดเป็นตัววิปัสสนาที่หนึ่ง เรียกว่า นามรูปปริเฉทญาณ เป็นต้น เรียกว่า วิปัสสนายานิก




    ฌานลาภีบุคคลเจริญวิปัสสนา ๒ อย่าง

    คำว่า ฌาน ก็มักจะนึกถึงรูป รูปาวจรจิต แท้จริงคำว่า ฌาน แปลว่า การเพ่งอารมณ์ และการเพ่งอารมณ์ก็มี ๒ ประการ ในนัยแห่งอัฏฐสาลินี อรรถกถา แสดงว่า

    ฌานนฺติ ทุวิธํ อารมฺมณูปนิชฺฌานํ ลกฺขณูปนิชฺฌานนฺติ = คำว่า ฌาน นั้นมี ๒ อย่างคือ อารัมมณูปนิชฌาน อย่างหนึ่ง ลักขณูปนิชฌาน อีกอย่างหนึ่ง
    ตตฺถ อฏฺฐ สมาปตฺติโย ปฐวีกสิณาทิอารมฺมณํ อุปนิชฺฌานยนฺตีติ อารมฺมณูปนิชฺฌานนฺติ สงฺขยํ คตา = ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ จัดเข้าในอารัมมณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์ มีปฐวีกสิณ เป็นต้น
    วิปสฺสนามคฺคผลานิ ปน ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม = แต่ว่าวิปัสสนาญาณ มัคคญาณ ผลญาณทั้ง ๓ นี้ ชื่อว่าลักขณูปนิชฌาน
    ตตฺถ วิปสฺสนา อนิจฺจาทิลกฺขณสฺส อุปนิชฺฌานโต ลกฺขณูปนิชฺฌานํ = ในญาณทั้ง ๓ นั้น วิปัสสนาญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปกำหนดรู้แจ้งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะ เป็นต้น
    วิปสฺสนาย กตกิจฺจสฺส มคฺเคน อิชฺฌนโต มคฺโค ลกฺขณูปนิชฺฌานํ = มัคคญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชญาณ เพราะเป็นผู้ทำให้กิจที่รู้แจ้งไตรลักษณ์ของวิปัสสนาญาณ สำเร็จลง
    ผลํ ปน นิโรธสจฺจํ ตถลกฺขณํ อุปนิชฺฌายตีติ ลกฺขณูปนิชฺฌานํ นาม = ส่วนผลญาณ ได้ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเข้าไปรู้แจ้งลักษณะอันแท้จริงของนิโรธสัจจะ

    ความแตกต่างกันระหว่างฌานทั้ง ๒

    กล่าวโดยอารมณ์ อารัมมณูปนิชฌาน มีสมถกัมมัฏฐาน เช่น ปฐวีกสิณซึ่งเป็นบัญญัติเป็นต้น เป็นอารมณ์ ส่วนลักขณูปนิชฌาน นั้น คือวิปัสสนาญาณ มีรูปนาม ไตรลักษณ์ สังขตธรรม เป็นอารมณ์ มัคคญาณ ผลญาณ มีอสังขตธรรม คือนิพพานเป็นอารมณ์
    กล่าวโดยองค์ธรรม อารัมมณูปนิชฌาน มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา และที่ประกอบกับมหัคคคตฌานทั้ง ๙ เป็นองค์ธรรม ( รูปฌาน ๕ + อรูปฌาน ๔ ) ส่วนลักขณูปนิชฌาน ก็มีวิตก วิจาร ปีติ เวทนา เอกัคคตา ที่ประกอบกับมหากุศลจิต มัคคจิต ผลจิต เป็นองค์ธรรม

    ผู้บรรลุ ๒ พวก
    ผู้บรรลุมรรค ผล นิพพาน นั้นมีอยู่ ๒ จำพวกด้วยกัน คือ สุกขวิปัสสกจำพวกหนึ่ง และฌานลาภีบุคคลอีกจำพวกหนึ่ง
    สุกขวิปัสสกบุคคล นั้นเป็นผู้บำเพ็ญวิปัสสนาญาณ จนบรรลุเป็นพระอริยบุคคล ไม่ได้บำเพ็ญสมาธิจนบรรลุฌานมาก่อน
    ฌานลาภีบุคคล นั้นเป็นผู้บำเพ็ญสมถภาวนาจนได้ฌาน แล้วเจริญวิปัสสนาภาวนาบรรลุเป็นพระอริยบุคคล ก็ฌานลาภีบุคคล


    !
    !
    !

    อนึ่ง สุกขวิปัสสกบุคคล ผู้ไม่ได้ฌานเจริญวิปัสสนาภาวนากำหนดพิจารณารูปนามที่เป็นกามธรรมเพียงอย่างเดียว เมื่อมรรคจิตเกิดขึ้นก็ย่อมบริบูรณ์พร้อมด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ จัดว่าเป็นปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิต สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ของสุกขวิปัสสกบุคคล ก็จัดเข้าเป็นปฐมฌานด้วยกันทั้งสิ้นตามที่อัฏฐสาลินีอรรถกถา แสดงไว้ว่า

    วิปสฺสนานิยาเมน สุกฺขวิปสฺสกสฺส อุปฺปนฺนมคฺโคปิ ปฐมชฺฌานิโก โหติ แปลว่า ว่าโดยวิปัสสนานิยาม แม้มรรคที่เกิดขึ้นแล้วแก่ผู้เจริญ วิปัสสนาล้วนๆ ก็ย่อมประกอบด้วยองค์ปฐมฌาน
    พระอริยะสุกขวิปัสสกบุคคล เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปัญญาวิมุตติ พระอริยะนี้มีมากกว่าพระอริยะที่เป็นฌานลาภีบุคคล ก็ฌานลาภีบุคคลนี้สำเร็จเป็นพระอริยะแล้ว


    ....................................................

    การเจริญสติปัฏฐาน
    http://pantip.com/topic/32588015/comment9

    ++++++++++++++++++++++++++

    พระอภิธัมมัตถสังคหะ

    การอบรมสมาธิเพื่ออภิญญา

    ๑. ผู้ที่มีอภิญญาได้นั้น ตามปกติต้องเป็นผู้ที่ได้ฌานและมีวสีภาวะจนสามารถเข้าฌานสมาบัติได้ทั้งรูปฌานและอรูปฌาน ครบถ้วนทั้ง ๙ ฌาน มีบ้างเป็นส่วนน้อยที่ได้เพียง รูปฌานสมาบัติ ๕ ก็มีอภิญญาได้ แต่ว่า ฌานลาภี ที่ได้ไม่ถึงรูปฌานทั้ง ๕ นั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีอภิญญา

    ๒. แม้แต่ ฌานลาภีบุคคลที่ได้ฌานสมาบัติทั้ง ๙ แล้ว จะมีอภิญญาโดยทั่วหน้าก็หาไม่ จะมีอภิญญาได้ก็ต่อเมื่อได้ฝึกฝนอบรมกันเป็นพิเศษอีกถึง ๑๔ นัยก่อน ดังต่อไปนี้

    http://abhidhamonline.org/aphi/p9/055.htm
    --------------------------------------------------
    http://abhidhamonline.org/aphi/p9/062.htm

    ทิพพจักขุญาณ ตาเป็นทิพย์ สามารถเห็นสิ่งที่อยู่ไกลมากหรืออยู่ในที่กำบังต่าง ๆ นั้นได้ ซึ่งตามปกติแล้วนัยน์ตาอย่างธรรมดาสามัญไม่สามารถที่จะเห็นเช่นนั้นได้เลย เป็นการเห็นทางมโนทวารโดยชัดเจนเหมือนกับว่าเห็นด้วยนัยน์ตาจริง ๆ (อย่างฝันก็ไม่ได้เห็นด้วยนัยน์ตา แต่ก็ชัดเจนแจ่มแจ้งเหมือนกัน) ทิพพจักขุจะเกิดได้ด้วยกสิณ ๔ คือ เตโชกสิณ โอทาตกสิณ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

    จุตูปปาตญาณ เป็นอภิญญาที่สามารถรู้จุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายใน ๓๑ ภูมิ อภิญญานี้เกิดขึ้นโดยทิพพจักขุเป็นบาท และไม่ต้องมีการบริกรรมเป็นพิเศษอีกต่างหากแต่อย่างใดเลย เมื่อทิพพจักขุเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นแต่เพียงตั้งอธิฏฐานน้อมใจไปในการจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายนั้น ๆ ก็จะรู้ได้

    ด้วยเหตุนี้ จึงถือว่า ทิพพจักขุญาณและจุตูปปาตญาณนี้เป็นอภิญญาเดียวกัน จะเรียกชื่อใดชื่อเดียวก็พึงเข้าใจว่ามีความหมายทั้ง ๒ อย่าง คือ ตาทิพย์ และรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายด้วย

    อนึ่ง ทิพพจักขุญาณ หรือจุตูปปาตญาณ นี้ยังมีญาณอื่นที่อาศัยเป็นบาทให้เกิดอีก ๒ ญาณ คือ

    ก. ยถากัมมุปคญาณ เป็นญาณที่รู้ว่าสัตว์ที่เข้าถึงความสุขและความทุกข์นั้น เพราะได้ทำกรรมอะไรมา

    ข. อนาคตังสญาณ เป็นญาณที่รู้ในกาลต่อไปทั้งของตนเองและของผู้อื่นว่า จะเป็นไปอย่างนั้น ๆ นับตั้งแต่ล่วงหน้าไปอีก ๗ วัน จนถึงไม่มีที่สุด แล้วแต่กำลังของสมาธิว่าจะมีความสามารถเพียงใด
    -----------------------------------------------------------


    อภิญญา ญาณ วิชา
    http://abhidhamonline.org/aphi/p9/063.htm


    คำว่า อภิญญา นี้บางทีก็ใช้ว่า ญาณ หรือ วิชา แทนกันได้เพราะเป็นไวพจน์แก่กันและกัน เช่นกล่าวว่าญาณ ๓ หรือ วิชา ๓ ซึ่งเป็นองค์แห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ได้แก่

    ๑. บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้

    ๒. ทิพพจักขุญาณ หรือ จุตูปปาตญาณ ตาทิพย์ และรู้จุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย

    ๓. อาสวักขยญาณ รู้วิชาที่ทำให้สิ้นกิเลสและอาสวะ

    ถ้ากล่าวถึง อภิญญา ๖ ญาณ ๖ หรือ วิชา ๖ ก็ให้เพิ่มอีก ๓ คือ

    ๔. ปรจิตตวิชานน หรือ เจโตปริยญาณ รู้จิตใจผู้อื่น

    ๕. ทิพพโสตญาณ หูทิพย์

    ๖. อิทธิวิธญาณ สำแดงฤทธิได้

    เฉพาะหมายเลข ๓ อาสวักขยญาณ เป็นอภิญญาที่ไม่ได้อาศัยรูปาวจรปัญจมฌานเป็นบาทให้เกิด แต่เป็นอภิญญาที่อาศัยเกิดจาก อรหัตตมัคคจิต จึงเรียกว่า โลกุตตรอภิญญา ส่วนที่เหลืออีก ๕ เป็นอภิญญาที่ต้องอาศัยรูปาวจรปัญจมฌาน อันเป็นโลกียจิตเป็นบาทให้เกิด จึงเรียกว่า โลกียอภิญญา

    อย่าว่าแต่จะได้ถึงซึ่งอภิญญาเลย แม้การเจริญสมถกัมมัฏฐาน จนกว่าจะได้ฌานนั้น ก็มิใช่ว่าจะกระทำได้โดยง่ายดายนัก ต้องมีใจรักอย่างที่เรียกว่า มีฉันทะมีความพอใจเป็นอย่างมาก มีความพากเพียรเป็นอย่างยิ่ง ประกอบด้วยเอาใจจิตใจจ่ออย่างจริงจัง ทั้งต้องประกอบด้วยปัญญารู้ว่าฌานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นบาทที่ก้าวขึ้นไปสู่ความหลุดพ้น แล้วจึงตั้งหน้าเจริญภาวนาตามวิธีการจนเกิดฌานจิต ฌานจิตที่เกิดจากการปฏิบัติเช่นที่ได้กล่าวแล้วทั้งหมดนี้ มีชื่อเรียกว่า ปฏิปทาสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยการประพฤติปฏิบัติ ได้ฌานด้วยการเจริญสมถภาวนา

    ยังมีบุคคลอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ได้เจริญสมถภาวนามาก่อน แต่ว่า เมื่อได้เจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียวมาตามลำดับ จนบรรลุอรหัตตมัคค อรหัตตผล ก็ถึงพร้อมซึ่งฌานด้วยก็มี อย่างนี้เรียกว่า มัคคสิทธิฌาน เป็นการได้ฌานด้วยอำนาจแห่งมัคค บางองค์ก็ได้ถึงอภิญญาด้วย เช่น พระจุฬปัณถกเถรเจ้า เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็มีอภิญญาด้วย คือมีอิทธิฤทธิถึงสำแดงปาฏิหาริย์เป็นพระภิกษุหลายรูปจนเต็มพระเชตวันวิหาร
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ในเรื่องวิมุตตินี้ ท่านผู้รู้ได้รวบรวมจาก พระไตรปิฏก อรรถกถา ไว้ดังนี้

    http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=32

    ๓๒. วิมุตติ
    ถาม วิมุตติ คืออะไร?

    ตอบ พระพุทธศาสนาแสดง วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
    ๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
    ๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
    ๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน
    ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็นโลกุตตระ ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่า วิมุตติญาณ
    ใน อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ว่า
    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

    ขยายความ โดยปริยายหนึ่งๆ ว่า :-
    เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยใจ ได้แก่ ผลสมาธิ คือสมาธิที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
    ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ผลปัญญา คือปัญญาที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
    เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยพระอภิธรรมแล้ว เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ จึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับอรหัตตผลจิต ก็เจโตวิมุตตินั้น ได้แก่ เอกัคคตาหรือสัมมาสมาธิ ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ปัญญาหรือสัมมาทิฐิ ที่ประกอบด้วยอรหัตตผลจิต
    อริยมรรค ชื่อว่า กำลังหลุดพ้นจากกิเลส
    อริยผล ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วจากกิเลส
    อริยมรรคนั้นเป็นกุศลจิตมี ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
    อริยผลเป็นผลของมรรคเป็นวิบากจิต ก็มี ๔ เท่ากับอริยมรรค คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
    ในขณะที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้น ทำลายกิเลสให้ขาดเป็นสมุจเฉทแล้วดับไป ผลจิตอันเป็นวิบากจะเกิดขึ้นสืบต่อจากมรรคจิตทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาเกิดคั่นในระหว่างนั้น นั่นคือเมื่อมรรคอันเป็นเหตุเกิดขึ้นแล้วดับลง ผลของมรรคจะเกิดต่อทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่น
    การที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้นแล้วดับไปผลจิตอันเป็นวิบากก็เกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องรอเวลา นี้แหละชื่อว่า อกาลิโก เพราะไม่มีกาลเวลาในการให้ผลกุศลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมหากุศลหรือฌานกุศลเมื่อเกิดขึ้นและดับไปแล้วที่จะให้ผลทันทีเหมือนมรรคจิตหามีไม่ ต้องรอเวลาที่จะให้ผลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นมรรคจิตเท่านั้นจึงชื่อว่า อกาลิโก กุศลอื่นๆ ไม่ชื่อว่าอกาลิโก

    ในอรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สัททสูตร กล่าวว่า สมาธิชื่อว่า เจโตวิมุตติ เป็นผลของสมถะ และที่สมาธิได้ชื่อว่าเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ
    ปัญญาชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เป็นผลของวิปัสสนา และที่ปัญญาได้ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจากอวิชชา

    ใน คัมภีร์บุคคลบัญญัติ แสดงวิมุตติของพระอรหันต์ ๒ อย่าง คือ อุภโตภาควิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ไม่มีเจโตวิมุตติ
    อุภโตภาควิมุตติ ได้แก่ บุคคลที่ได้สมาบัติ ๘ คือได้ทั้งรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ออกจากสมาบัติแล้วเจริญวิปัสสนา เห็นความเสื่อมไปสิ้นไปของสังขารทั้งหลายด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยมรรคปัญญา กล่าวคือบุคคลประเภทอุภโตภาควิมุตตินี้พ้นจากรูปกายคือรูปฌานด้วยอรูปฌานหรืออรูปสมาบัติ และเพราะเจริญฌานที่มีอรูปเป็นอารมณ์ จึงชื่อว่าพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติก่อนเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงพ้นจากนามกาย คือกิเลสด้วยอริยมรรคเป็นครั้งที่สอง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอุภโตภาควิมุตตบุคคล เพราะหลุดพ้นจากส่วนสองคือ ๒ ครั้ง ครั้งแรกพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ ครั้งที่ ๒ พ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค
    ท่านจัดบุคคลที่ชื่อว่าอุภโตภาควิมุตติไว้ ๕ พวกคือบุคคลที่ได้อรูปสมาบัติ ๔ ออกจากอรูปสมาบัติแต่ละสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วจึงบรรลุพระอรหัตต์จัดเป็น ๔ พวก กับพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว บรรลุพระอรหัตต์อีกพวกหนึ่ง จึงเป็น ๕ พวก
    สรุปว่า บุคคลที่ได้ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตินั้น ได้แก่พระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น

    ปัญญาวิมุตติ ได้แก่บุคคลผู้มิได้ถูกต้องสมาบัติ ๘ ด้วยกาย แต่หลุดพ้นจากกิเลสเพราะเห็นด้วยปัญญา ท่านจัดปัญญาวิมุตติบุคคลไว้ ๕ พวก คือพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก คือเจริญวิปัสสนาล้วนๆ พวกหนึ่ง และบุคคลผู้ออกจากรูปฌาน ๔ แต่ละฌานแล้วเจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหันต์อีก ๔ พวกคือ
    ออกจากปฐมฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากทุติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑
    ออกจากตติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากจตุตถฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์อีก ๑ จึงรวมเป็น ๕ พวก ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ พวกนี้ไม่มีท่านใดเลยที่ได้สมาบัติ ๘ อย่างมากก็ได้เพียงรูปฌาน ๔ เท่านั้น
    ถึงกระนั้น บุคคลทั้งสองพวกนี้ คือทั้งอุภโตภาควิมุตติและปัญญาวิมุตติต่างก็ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงเป็นสมุจเฉทวิมุตติด้วยกันทั้งสิ้น

    หมายเหตุ
    สมาบัติ ๘ นั้นได้แก่ รูปฌาน ๔ คือปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน และอรูปฌาน ๔ คืออากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    นิโรธสมาบัติหรือสัญญาเวทยิตนิโรธ คือการเข้าสมาบัติด้วยการดับสัญญาและเวทนา ซึ่งรวมไปถึงการดับจิตและเจตสิกอื่นๆ พร้อมทั้งรูปที่เกิดจากจิตด้วย แต่รูปที่เกิดจากกรรม จากอุตุและอาหารยังคงเป็นไปอยู่ เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติจึงยังมีชีวิตอยู่ ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้นั้นมี ๒ พวก คือพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น พระอริยบุคคลนอกจากนั้นเข้าไม่ได้ และท่านจะเข้านิโรธสมาบัติกันอย่างมาก ๗ วัน ก่อนเข้าท่านจะต้องทำบุพกิจ ๔ อย่าง คือ
    ๑. อธิษฐานไม่ให้บริขารและร่างกายของท่านเป็นอันตราย
    ๒. อธิษฐานขอให้ออกจากฌานได้โดยไม่ต้องมีใครมาเรียก เมื่อสงฆ์ต้องการพบท่าน
    ๓. อธิษฐานขอให้ออกจากฌานได้โดยไม่ต้องมีใครมาเรียก เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์จะพบท่าน
    ๔. พิจารณาอายุของท่านว่าจะอยู่ได้ครบ ๗ วันหรือไม่ ถ้าอยู่ครบ ท่านก็อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า ถ้าอยู่ไม่ครบ ๗ วัน ท่านก็กำหนดเวลาเข้าให้น้อยกว่า ๗ วัน

    ________________________________________
    ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    มหาเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ

    จูฬเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    สัททสูตร

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓
    ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
     
  4. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เพิ่มเติมให้ เจ้าของกระทู้อีกนิดนึงครับ

    สติปัฏฐาน มันเหมือน บันใดสี่ทิศ

    ขึ้นบันไดฝั่งทิศไหนได้ก่อน มันจะไปถึงยอดหมด
    ไม่ใช่ว่า ต้องเริ่มจากกายก่อน แล้วไปเวทนา แล้วไปจิต แล้วไปธรรม อันนี้คือเข้าใจผิด

    ขึ้นทางไหนได้แล้ว สุดทางมันจะเจอยอด เหมือนกันกับบันไดสี่ทิศ
    ไม่ใช่ขึ้นทางทิศที่ 1 แล้วไปต่อทิศที่ 2 แล้วไปต่อทิศที่3 แล้วไปต่อ ทิศที่4 จึงจะถึงยอด
    ไม่ใช่อย่างนั้น
     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ปัญญาวิมุตติ ได้แก่บุคคลผู้มิได้ถูกต้องสมาบัติ ๘ ด้วยกาย แต่หลุดพ้นจากกิเลสเพราะเห็นด้วยปัญญา ท่านจัดปัญญาวิมุตติบุคคลไว้ ๕ พวก คือพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก คือเจริญวิปัสสนาล้วนๆ พวกหนึ่ง และบุคคลผู้ออกจากรูปฌาน ๔ แต่ละฌานแล้วเจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหันต์อีก ๔ พวกคือ
    ออกจากปฐมฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากทุติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑
    ออกจากตติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากจตุตถฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์อีก ๑ จึงรวมเป็น ๕ พวก ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ พวกนี้ไม่มีท่านใดเลยที่ได้สมาบัติ ๘ อย่างมากก็ได้เพียงรูปฌาน ๔ เท่านั้น
    ถึงกระนั้น บุคคลทั้งสองพวกนี้ คือทั้งอุภโตภาควิมุตติและปัญญาวิมุตติต่างก็ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงเป็นสมุจเฉทวิมุตติด้วยกันทั้งสิ้น

    ลองพิจารณาดูครับ ว่าจริงหรือไม่
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
    [​IMG]
    [​IMG]

    อรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล,
    พระอรหันต์ ๔ คือ
    ๑. พระสุกขวิปัสสก
    ๒. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)
    ๓. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
    ๔. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔);

    สุกขวิปัสสก พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก
    เช่น ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา เป็นต้น;
    http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D8%A1%A2%C7%D4%BB%D1%CA%CA%A1&detail=on



    อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง,
    ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ
    ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
    ๒. ทิพพโสต หูทิพย์
    ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
    ๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
    ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
    ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป,
    ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา

    ลองพิจารณาด้วยตัวเองครับ
    ถ้าไม่ได้ปฏิบัติกรรมฐาน กสิณ10 รูปฌาน อรูปฌาน จะสำเร็จได้หรือไม่

    ลองพิจาณาดูครับ กรรมฐาน 40 วิธี

    การที่จะบรรลุอรหันต์ผลใน สายต่างๆ ไม่มีสายจริงหรือไม่ พิจารณาดูด้วยตัวเองได้ครับ

    ดูกรวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นธรรม. วักกลิเป็นความจริง บุคคลเห็นธรรม ก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม." ข้อความข้างต้นนั้น พระพุทธองค์ตรัสต่อพระวักกลิ ปรากฏอยู่ในวักกลิสูตร เป็นข้อความที่ผู้สนใจศาสนาน่าจะได้รับรู้กันทุกคน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2018
  7. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    "สุกขวิปัสสก พระผู้เจริญวิปัสสนาล้วนสำเร็จพระอรหัต มิได้ทรงคุณวิเศษอย่างอื่นอีก
    เช่น ไม่ได้ฌานสมาบัติ ไม่ได้อภิญญา เป็นต้น;"

    อันนี้หลอกเด็กติดตำราได้ แต่หลอกนักปฏิบัติไม่ได้


    ศาสนาพุทธ หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา ไม่ว่าจะเป็นเจโตวิมุติ หรือปัญญาวิมุติ
    ก็เรียก ปัญญาวิมุติ

    จะมากน้อย ขึ้นอยู่กับ ปัญญา กับ สมาธิ
    ยกตัวอย่างเช่น

    พระสุขวิปัสโก สมควรจะบอกว่า
    ท่านไม่คล่องในอภิญญาหรือ
    ท่านมี ปัญญา เจ็ดส่วน สมาธิ สามส่วน


    พระฉฬภิญโญ
    ท่านมี ปัญญา สามส่วน สมาธิ เจ็ดส่วน
    อาศัยกำลังสมาธิ มากกว่าปัญญา


    พระเตวิชโช
    ท่านมี ปัญญา สี่ส่วน สมาธิ หกส่วน
    อาศัยกำลังสมาธิ มากกว่าปัญญา


    พระปฏิสัมภิทามรรค
    อาศัยปัญญาห้าส่วน สมาธิห้าส่วน
     
  8. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณทุกๆท่านที่เมตตามาให้ความรู้ตลอดจนคำแนะนำนะค่ะ
    -คุณปราบเทวดา
    -คุณhyuga
    -คุณSaber
    -คุณhastin

    จขกท.มีเป้าหมายในการเดินทางที่ชัดเจนค่ะ
    การเกิดนั้นเป็นทุกข์ ไม่อยากกลับมาเกิดล่ะค่ะกำลังเดินทางอยู่อาจจะช้าหน่อย. แม้หนทางจะมีอุปสรรคแต่ก้อจะพยายามค่ะ

    ขอไปทำการบ้านอ่านทบทวนข้อมูลรายละเอียดดูก่อนนะค่ะ หากจะชี้แนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแก้นิมิตรจะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

    ถ้ามีปัญหาติดขัดในการปฏิบัติเดี๋ยวจะตั้งกระทู้ถามใหม่ในครั้งต่อไป. หวังว่าท่านผู้รู้จะมาแนะนำและชี้แนะเหมือนคราวครั้งนี้นะค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  9. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    หากจะมีข้อมูลหรือรายละเอียดใดเพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติสำหรับจขกท. โปรดชี้แนะเพิ่มเติมได้เลยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ
     
  10. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เจ้าของกระทู้ พยายามฟังพระเทศน์บ่อยๆ จะแม่นในวิธีการ

    พอแม่นในวิธีการแล้ว นิมิตเกิดขึ้น ไม่มีแก้ มีแต่กำหนดรู้ที่จิตอย่างเดียว

    อุปสรรค์จะไม่มีข้ออ้างใดๆในการภาวนา
    หากยังมีข้ออ้างใดๆในการภาวนา แสดงว่าต้องกลับไปทบทวนฟังวิธีการใหม่
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถ้า จขกท เคยอ่านหนังสือประวัติหลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอรหันต์สายหลวงปู่มั่น นั้น

    ท่านเทศน์สอนลูกศิษย์ มีในหนังสือบันทึกประวัติท่านครับ

    ว่าหลวงปู่มั่นสอนลูกศิษย์ว่า เวลาท่าน พิจารณากระดูก นั้น ถ้าท่านพิจารณากระดูกอย่างเดียว ท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์ไปท่านจะไม่มีฤทธิ์ใดๆ เวลาท่านพิจารณากระดูกให้ท่านเพ่งกระดูกให้ถึงฌานสี่ เมื่อท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านจะมีฤทธิ์ .อยู่ในหนังสือเล่มนึงของประวัติลูกศิษย์ท่านนะคับ ผมจำได้คร่าวๆประมานนี้ครับ อ่านมานานจะสิบปีละ ที่เคยอ่านตอนนั้น

    แสดงว่าเป็นสาวกภูมิ ผมแนะนำดังนี้ครับ

    ถ้าต้องการเป็นสาย สุขวิปสโก

    ให้ จขกท พิจารณา สติปัฏฐานสี่ กาย เวทนา จิต ธรรม หมวดใดหมวดนึงในจิต ครับ

    กาย เวทนา จิต ธรรม เลือกมาหมวดนึงแล้วพิจารณาในจิตที่เป็นสมาธิ ซ้ำทุกๆวันครับ

    เป็นทางผ่านของอริยเจ้าในสายการปฏิบัติพระป่าครับ

    ส่วนเรื่องดอกบัวนั้น ผมแนะนำได้ดังนี้ คือ ปฏิบัติให้เป็น กาย ของสติปัฏฐานสี่ อธิบายให้เข้าใจก็คือ ให้ พิจารณาดอกบัวนั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้กำหนดดอกบัวนั้นพิจารณาเป็นสิ่งไม่เที่ยง บาๆๆแล้วแต่ปัญญาจะพิจารณา แล้วกำหนดให้เน่าสลายลงไปครับ หลังจากนั้นก็ขึ้นรูปนิมิตใหม่ ทำซ้ำๆไปเรื่อย เป็นร้อยเป็นพันครั้ง ครับ และนำให้พิจารณาตามนี้ครับในทุกๆวัน

    แต่ถ้า จขกข ต้องการที่จะเข้าอัปนาสมาธิ ให้ จขกท บริกรรมพุทโธมิให้ขาดสายไปเรื่อยๆในจิตที่เข้าสมาธิ ภาวนาพุทโธมิให้ขาดสายจนกว่าจะออกจากการปฏิบัติกรรมฐาน ทำติดต่อกันไปเรื่อย บริกรรมไม่ให้ขาดสายทุกวันครับ แล้วเมื่อผ่านไปจิตจขกท มีกำลังเมื่อใหม่ จิตจะลงอัปนาสมาธิ ได้ครับ

    ลองปฏิบัติดูครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2018
  12. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    อย่างของผม ปฎิบัติตามแนว หลวงปู่ดู่ และ วัดท่าซุง ซึ่งมีการสร้างนิมิตทั้งคู่
    หลวงปู่ดู่มีสอนกรรมฐานเปิดโลก วัดท่าซุงสอน พุทธานุสติ สร้างไว้ 2 ที่เลย กลางอกและเหนือศรีษะ

    อย่างหมวดกาย เวลาจิตรวมเป็นสมาธิ ก็มักเกิดนิมิต เป็น กระดูก อวัยวะภายใน ร่างกายเป็นโพลง
    เป็นธาตุที่มาประชุมกันบ้าง เป็นซากศพบ้าง
    อย่าง อนัตตา วิญญาณฐีติ พวกนี้ก็เป็นนิมิตเหมือนกัน แต่เราไม่ได้สร้างขึ้นเอง เมื่อถึงวาระพร้อม มันก็เห็นได้

    เราก็ต้องเรียนรู้ว่านิมิตใด เป็นนิมิตของกรรมฐาน อันไหนไม่ใช่ ถ้านิมิตกรรมฐานเกิดแล้วไม่ยอมพิจารณา
    เสียโอกาสไปเลย วาระมันอาจจะเลยไป หรือไม่เกิดอีก

    การปฎิบัติมีหลายแบบ เน้นสติ เน้นปัญญา เน้นสมาธิ
     
  13. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    ขอบคุณค่ะ ดอกบัวที่ปรากฏในจิตจะผูดขึ้นมาเองเวลาที่เข้าสมาธิ จิต นิ่่่่่่่งสงบ แต่เท่าที่อ่านดูจากท่านที่มาชี้แนะท่านอื่นๆ อาจด้วยความที่จขกท.ปักฐานจิตไว้ที่กึ่งกลางระหว่างอก พิจารณารักษาจิตตรงนี้ เมื่อเกิดนิมิตรดอกบัวขึ้นที่นี่. จึงเป็นไปได้ที่เอาสติไปกำหนดไว้ที่ดอกบัว แต่การทำกรรมฐานของจขกท.ไม่เคยกำหนดให้มีนิมิตรเลยค่ะ มันจะผุดขึ้นมาเองเวลาที่สงบ นิ่ง สงัด
     
  14. ดอกบัวแก้ว

    ดอกบัวแก้ว สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2018
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +12
    จขกท.ขอเล่าถึงการปฏิบัตินิดนึงนะค่ะ
    ปกติจะเดินจงกรม 45-60นาที นั่งสมาธิ 60นาที
    ปฏิบัติทุกวันยกเว้น ส-อา ลูกไม่ได้ไปโรงเรียนต้องดูแลทั้งวันค่ะ
    นั่งสมาธิโดยกำหนดพุท-โธๆๆๆ สติดูที่ลมหายใจเข้า-ออก พอจิตรวมลงเป็นสมาธิ พุทโธหาย ดูลมหายใจแบบสบายๆ สักพักลมหายใจหาย จะรู้สึกจิตลอยเด่นกึ่งกลางระหว่างอก นำสติไปกำกับดูที่จิตนั้น. ดูเฉยๆไม่ได้เพ่งนะค่ะ พิจารณาดูรอบๆจิต
    กาย เวทนา แยกเป็นกองๆ เห็นกายเป็นอีกกอง เวทนาเป็นอีกกอง จิตก้ออีกกอง สติก้อเป็นอีกต่างหาก กำหนดรู้ ณ ปัจจุบัน เอาที่เด่นสุดเวทนาๆๆเกิดดูเวทนา คือใช้สติ ระลึกรู้อย่างปวดก้อรู้ปวด สุขรู้สุข อันนี้ผ่านจนมามีความรู้สึกถึงเวทนาดับ มาที่จิตเด่นที่สุด ก้อกำหนดภาวนาใช้สติดูที่จิตนี้ ในช่วงนี้ จะรู้สึกอิ่ม นิ่ง สงบ สงัด จะรู้สึกอิ่มเอิม อยู่ในจิต จนดอกบัวผุดขึ้นมา ก้อดูที่ดอกบัว
    เมื่อเช้าได้ใช้สติพิจารณารู้ดูรอบๆดอกบัว เปรียบเหมือนเราไปเดินดูวัตถุในพิพิธภัณฑ์ ถอยห่าง เข้าใกล้ ทำอย่างนี้อยู่สักพักใหญ่ ความคิดผุดขึ้นมาว่า มันซ้อนทับกัน มันคนละอัน

    ขณะนั้นจะเห็นดอกบัวขยายใหญ่ขึ้นและหดลงเล็กกว่า ฐานความรู้สึกตัวผู้รู้ เห็นทับซ้อนกัน กำหนดย้ายฐานจิตมาไว้ที่กึ่งกลางระหว่างคิ้ว. ใช้สติตามรู้ย้ายมาที่กึ่งกลางระหว่างคิ้ว. ดอกบัวอยู่กึ่งกลางระหว่างอก ยังอยู่ก้อแค่รู้ เหมือนการมองผ่านๆ ไม่เอาจิตไปปัก เห็นตัวความคิดผุดขึ้นมา เสียดาย สวยดี คือตอนนี้เห็นความคิดชัดเจน

    ฐานจิตกึ่งกลางระหว่างคิ้วเป็นกองหนึ่ง
    ดอกบัวกลางอกเป็นอีกกองหนึ่ง
    ความคิดเป็นอีกกองหนึ่ง
    สติเป็นอีกกองหนึ่ง

    เห็นความคิดอีกว่า สุดท้ายก้อไม่คงที่ไม่คงทน พรัดพรากจากไป เห็นจิตกระเพื่อม แล้วรู้สึกได้ว่าสมาธิกำลังจะถอยออก. ค่อยๆถอยออกจากสมาธิ
    ออกมาเจอเวทนาปวดมาก กำหนดรู้เวทนา จนจิตนิ่งเป็นปกติ ก้อออกจากสมาธิ แผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลตามที่ได้ทำมา
    เมื่อออกจากสมาธิจะนึกขึ้นว่า วันนี้เราอาจต้องตายได้อยู่กับครอบครัวเป็นวันสุดท้าย ถึงเวลาไปก้อต้องไป มาก้อมาคนเดียว ถ้าไปก้อไปคนเดียว
    แล้วก้อมีสติทุกอิริยาบท. มีหลุดมีเผลอบ้าง แต่ก้อพยายามใช้สติดึงกลับมา
    อันนี้ที่จขกท.ปฏิบัติอยู่นะค่ะ หากท่านใดจะแนะนำหรือเพิ่มเติมเช่นไรยินดีน้อมรับค่ะ ขอบคุณค่ะ.
     
  15. Chabob1

    Chabob1 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2018
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +22
    ผมเคยผ่านแบบพี่มาแล้วครับ ผมว่าพี่มีคำตอบอยู่ลึกๆนะ ว่าตัวเองเป็นพุทธภูมิ เพราะผมเคยปรารถนาพุทธภูมิแล้วมีนิมิตรแบบพี่ เวลานั่งสมาธิเห็นทุกข์ร้องหมร้องไห้ออกมาดื้อๆเลยครับ ส่วนนิมิตรดอกบัว ตอบตัวเองก่อน ถ้าวันนึงมันหายไปทุกข์ไหม ถ้าเห็นแล้วยินดีไหม ผมปราบนิมิตรตัวนี้ คือไม่สนใจ ก่อนจะไม่สนใจต้องอกหักจากมันก่อน คือเราจะแสวงหามันก่อนรู้สึกยินดีและสงสัย สุดท้ายเราจะทุกข์กับมัน ถ้าตอนนี้พี่อยู่ในจุดอยากสลัดทิ้งไม่อยากเห็นแล้วน่าเบื่อมาก พี่จับเดินปัญญาเลย ลดเวลานั่งมาเหลือครึ่งชม. เดินสติระหว่างวันเพิ่มขึ้น แล้วอยู่กับรู้เวลานั่งเห็นอีก รู้อย่าไปสงสัย อย่าไปคิด อย่าไปเพ่ง เอาสติรวมมาแค่รู้ มันจะแยกอะไรปล่อยมันแล้วก็รู้เฉยๆ พอออกมาจากสมาธิสิ่งที่เห็นคืออดีต อยู่กับรู้ปัจจุบัน อนาคตจะเห็นอีกไหมนะ นั่งสมาธิลดลงสมาธิจะหายไหมนะ ไม่ต้องคิด ทิ้งความฟุ้งซ่านไป อยู่กับลมหายใจ ถ้ามีสติรู้ว่าคิด ก็รู้แค่คิด ถ้านั่งสมาธิมันจะไม่อยากเห็น จะเห็นยังไง อย่าไปสนใจ แค่รู้ก็พอ รู้ว่าเราอยู่อารมณ์ไหน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องหาคำตอบเรื่องนิมิตรจะหายรึยัง ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆก่อน ลองเปลี่ยนคือเลิกเพ่งกลางอก แต่กำหนดรู้ทั่วร่างกายดู มีสติทั่วร่าง

    เห็นก็สงสัย ไม่เห็นก็สงสัย งั้นรู้แค่ว่าสงสัยพอ

    ปล.กว่าผมจะเลิกสนใจผมก็โดนมันหลอกซะน่วมเลย จนผมด่าอ่ะ นิมิตบ้าไร ทำให้ปวดหัว 5555 นิมิตมันกะล่อนครับ เรายิ่งหาคำตอบมันยิ่งปั่นให้ปวดหัว ถ้าจิตเราหยุดมันก็หยุด ส่วนเรื่องพุทธภูมิผมไม่การันตีนะ พี่ก็ต้องสังเกตุตัวเองส่วนนึง จะปรารถนาอะไรก็ตามแต่ นิมิตรแบบนี้มันใช้ไม่ได้จริง ที่ใช้ได้คือ เราใช้ชีวิตอยู่บนสังคมง่ายขึ้นไหม ทุกข์เบาลงไหม

    ส่วนเรื่องมีพระมาสอนธรรม ส่วนตัวผมว่า เหมือนเท๊กซี่หมอชิตอ่ะ เราจะถูกสอนมาว่าเท๊กซี่หมอชิตส่วนใหญ่มันโกง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีดีเลย เท๊กซี่หมอชิตก็มีดี แต่จะดูยังไง อยู่ที่เรา แต่ส่วนใหญ่จะเตือนมาว่าอย่าไปเชื่อ บางคันพาอ้อมโลก บางคนมาทางลัด ถึงไหมถึงชัว แต่ถึงแบบเสียเวลาหรือไม่เสียเวลาแค่นั้นเอง เรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์แต่ล่ะคน เท๊กซี่กับนิมิตรเหมือนกัน มีรถส่วนตัวชัวกว่า แต่ถ้าเรามีรถขับรถคล่องเท๊กซี่ก็ไม่จำเป็นจะต้องสนใจมัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2018
  16. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    นิมิตที่เกิดขึ้นอย่าไปสนใจครับ

    สนใจตัวที่เห็นนิมิตแล้ว จิตมีอาการอย่างไร ให้กำหนดรู้อาการอย่างนั้น
    จิตนิ่ง กำหนดรู้นิ่ง จิตเฉยๆกำหนดรู้จิตเฉยๆ จิตมีความคิด กำหนดรู้ความคิด
    จิตมี อารมณ์อะไร กำหนดรู้อย่างนั้นไปตรงๆ
    นิมิตจะแปรเปลี่ยนไป จิตเกิดอารมณ์ ดีใจ เศร้าใจ สงสัย อะไร กำหนดรู้ที่จิตอย่างเดียว
    นิมิตปล่อยมันไป ประครองจิต ให้กำหนดรุ้เฉยๆที่จิต

    เพื่อ สร้างสติให้เป็นพละ มากขึ้น ฉะนั้น นิมิตจะมาแปรเปลี่ยนไปในรูปแบบไหน
    อย่าไปกำหนดรู้นิมิต หรือกำหนดย้ายนิมิตไปที่ต่างๆบลาๆ กำหนดรู้ที่จิต อย่างเดียว

    นิมิตจะย้ายไปต่างๆนาๆด้วยตัวมันเองก็อย่าไปกำหนดตาม กำหนดรู้ที่จิตอย่างเดียว
     
  17. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,115
    ค่าพลัง:
    +3,085
    ฐานจิตกึ่งกลางระหว่างคิ้วเป็นกองหนึ่ง
    ดอกบัวกลางอกเป็นอีกกองหนึ่ง
    ความคิดเป็นอีกกองหนึ่ง
    สติเป็นอีกกองหนึ่ง

    เย็นนี้ลองทำแบบนี้นะครับ
    หลังจากเข้าสมาธิแล้ว พิจารณา อนิจจัง จนรู้สึกว่าตัน
    แล้วพิจารณา ทุกข์ ต่างๆของการมีชีวิต
    แล้วมาพิจารณา อสุภะ แล้ว มรณา

    แล้วมาพิจารณาตัวเอง มีกาย มีจิต แยกกันอยู่ เมื่อตายแล้วจิตออกจากกายไปมีกายใหม่เรื่อยไป
    ชีวิตเราเป็นไปตามกรรมตลอดไป ไม่จบไม่สิ้น
     
  18. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ถ้าไม่ได้ "อฐิษฐาน" ขอตรงนี้ไว้ก่อน ก็คงโดน "ไอ้บ้าหอบตำรา" มันชักจูงไป "บ้าตำรากับมัน" ไปเรียบร้อย ปิดมรรคผล ไปแล้ว
    +++ ถ้าทำได้ ถูกต้องจริง ตรงนี้ คือ "สัมโพชฌงค์ 7" ที่มี "มหาสติปัฏฐาน 4 เป็นรากฐาน"
    +++ ออร่าสี "ทองประกายแสด" ใช่หรือไม่
    +++ พระสงฆ์ ที่ปรากฏเป็น "ทองคำ หรือ ประดุจทองคำ" คือ อรหันต์สงฆ์สาวก
    +++ ที่หลวงปู่บอก ก็ คือ "ไม่ให้โยมเป็นนักอ่านแต่ให้เป็นนักภาวนา" ตรงนี้ "ชัดเจน" นะ ว่า "นักภาวนา ย่อมไม่บ้า ในการอ่าน/ฟัง"

    +++ แต่มี "ไอ้บ้า เมาตำรา" มันมาโพสท์ในกระทู้นี้ ตรงนี้แหละ ที่ "หลวงปู่ เตือนไว้" อย่าไปตามมัน


    +++ หากคุณ "ตามไอ้บ้า เมาตำรา เมื่อไร" มรรคผลของคุณ ย่อมถึงความวิบัติ ได้โดยง่าย


    +++ ตามที่หลวงปู่ว่าเอาไว้ "โยมจะไปดูอะไรไปอ่านอะไร อ่านกายใจของเรานี้" ตรงนี้คือ "รู้กาย/รู้สึกกาย รู้จิต/รู้สึกจิต" เท่านั้น


    +++ การ "อ่านมาก ก็เมาตำรามาก แล้วก็จะทำให้ บ้ามาก ตามมา" การอ่าน/ฟัง ถือเป็น "จิตส่งออก" แล้ว "มโนมั่ว" ไปตามที่อ่าน/ฟัง

    +++ ตรงท่อนนี้แหละ ที่ทำให้ผม ลังเล ในการที่จะตอบ เพราะ "หลวงปู่ดู่ ปรารถนา พุทธภูมิ"

    +++ แต่มรรควิถีของ "หลวงปู่เหรียญ/หลวงปู่ดุลย์/หลวงพ่อพุธ" นั้น "ตัดพุทธภูมิ" แล้ว จบไปเลย ในชาตินี้

    +++ แต่มันมี ทะแม่ง ๆ อยู่ตรงที่ "ลงชื่อตัวหนังสือสีทองเขียนว่า. หลวงปู่ดู่"

    +++ ตรงนี้ คล้ายเป็นการ "บอกเป็นนัย ๆ ว่า" ท่าน "ขาดและจบได้ ในชาตินี้เหมือนกัน"

    +++ นิมิตในท่อนนี้ "ให้ฟังหูไว้หู ให้เก็บไว้เป็นข้อมูลเฉย ๆ" เพราะการบอกเป็นนัย ๆ นี้ "มาจากหลวงปู่ของคุณ"
    +++ ที่ "หลวงปู่" ท่านนี้ปรากฏมา เพราะ คุณ เคยผูกพันธ์มากับท่าน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง "แว่ว ๆ ว่า สหธัมมิก"

    +++ หลวงปู่ ท่าน "ตัดพุทธภูมิ ขาดแล้ว จบแล้ว" ส่วนคุณ ยังไม่ขาด ยังไม่จบ
    +++ จาก "ปรากฏการณ์" ที่เกิดขึ้นมากับคุณนี้ "ตัวคุณเอง" ควรไปหา "หลวงปู่ดู่" ด้วยตัวคุณเอง

    +++ แล้วถามท่านแบบ คนภายนอกเดาความไม่ออก แบบ "ถามต่อหน้าท่าน" ว่า

    =============================================
    +++ "การลงชื่อตัวหนังสือสีทอง" นั้น คือ "ลิขิตทองคำ ที่ขาดจากพุทธภูมิ เข้าสู่ อริยะภูมิ เรียบร้อยแล้ว ใช่หรือไม่"
    =============================================
    +++ ประโยคนี้ "คุณต้อง ไปถามด้วยตัวคุณเอง ถึงวัด" และควร "รีบไป ในขณะที่ ท่านยังครองสังขารขันธ์อยู่" อย่าประมาท

    +++ การที่ "หลวงปู่ดู่ ชี้ทางไปที่ สายการปฏิบัติธรรมของ หลวงปู่มั่น" นั้น มีนัยยะที่สำคัญ นับเป็นการ "เปลี่ยนเส้นทางเดิน" เต็มตัว

    +++ และตรงนี้แหละ ที่ทำให้ท่านปรากฏ "ลิขิตทองคำ ที่ขาดจากพุทธภูมิ เข้าสู่ อริยะภูมิ ไปแล้ว"

    +++ เรื่องตรงนี้ "คุณ ต้องไปสอบถามกับตัวท่านเอง" ไม่ต้องไปตาม "เรื่องเล่า ที่มาจากคนอื่น" ทั้งสิ้น
    +++ สำหรับผมแล้ว ปรากฏการณ์ที่คุณสัมผัสมานี้ "ไม่ใช่นิมิต" มีเหตุที่ชี้ว่า "ไม่ใช่" จากตรงนี้

    1.
    +++ ตรงนี้ "อยู่ใน โพชฌงค์ 7" เต็มตัว มายาจิต ไม่สามารถจะเกิดได้ "ไม่ใช่นิมิต"

    +++ สติสัมโภชฌงค์ ตั้งได้จนผ่าน ปีติสัมโพชฌงค์

    2.
    +++ ตรงนี้ผ่าน ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ จน "รู้อาการของ กิริยาจิต อันเป็น สมาธิสัมโพชฌงค์"

    3.
    +++ สมาธิสัมโพชฌงค์ ตั้งมั่นได้ดี จนถึง อุเบกขาสัมโพชฌงค์

    4.
    +++ "รู้เท่าทันจิต" "บังคับจิต กลับสู่ฐานได้" ท่ามกลางสถานการณ์ ณ ปัจจุบัณขณะ

    5.
    +++ สามารถกลับเข้าสู่ "อุเบกขาสัมโพชฌงค์" ได้ ท่ามกลางสถานการณ์

    +++ การมีทั้ง "สติ+สัมปชัญญะ ที่มาจาก โพชฌงค์ 7" นั้น ไม่มี "นิมิตฟุ้งซ่าน เพ้อเจ้อ เรื่อยเปื่อย" เข้ามาเจือปนได้

    +++ กรณีของคุณเป็น "จิตสื่อสาร" เต็มตัว เฉพาะตัว จาก "หลวงปู่ดู่" และมีแต่คุณเท่านั้น ที่ควรไป "ติดต่อด้วยตนเอง" กับท่าน นะครับ
     
  19. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ ตรงนี้ คือ "ลักษณะของผู้ที่ ปรารถนา พุทธภูมิ"

    +++ หากปรารถนาที่จะ "หลุดพ้น"

    +++ 1. ให้ปฏิบัติในแนวของ "พระป่าสายหลวงปู่มั่น" ตามที่ หลวงปู่ดู่ ชี้เอาไว้

    +++ 2. ให้ไปหา "หลวงปู่ดู่" ด้วยตนเอง แล้วท่านจะชี้หนทางในการ "ลาพุทธภูมิ" ให้
     
  20. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,571
    ค่าพลัง:
    +9,966
    +++ อาการในท่อนนี้ของคุณ ทำให้ผม ตัดสินใจเข้ามาตอบ แล้วจะ "ปรับปรุง ภาษาของคุณ" ให้ตรงตามอาการ ดังนี้
    +++ ให้คุณ ตรวจสอบเอาว่า "ภาษา" ที่ผมใช้นั้น "ตรงตามอาการของคุณ" 100% หรือไม่
    +++ ตรงนี้ ชี้ถึง "ความ เป็น สภาวะรู้" ของคุณ ปรากฏมาบ้างแล้ว เพียงแต่ "ขาดความเข้าใจ นิดหน่อย" เท่านั้น
    +++ การปฏิบัติของคุณ "เลยล่วงพ้นตำรา มาไกลมากแล้ว" เหลือแต่การปฏิบัติใน บริเวณสุดท้าย เท่านั้น ของคุณให้เริ่มต้นที่

    +++ 1. ให้ "แยกสัพสิ่ง" ออกเป็นส่วน ๆ ตามเดิม ให้เริ่มต้นที่นี่

    +++ 2. ณ ขณะที่มัน "ยังแยกอยู่" ให้สำรวจว่า "ความเป็น ตน (ไม่ใข่กาย)" มีอยู่หนือไม่

    +++ 3. หากยังมีอยู่ "ให้ รู้ รอบ ความเป็นตน" อีกที จนกว่า "ตน" จะโดนแยก ออกไปแบบเดียวกับ "สัพสิ่ง"

    +++ 4. เมื่อ ความเป็นตน "หลุด" ออกไปแล้ว ให้ "แสกน" ว่า

    +++ 5. สภาวะของ "สติรู้" นี้ มี "เกิด/แก่/เจ็บ/ตาย รวมทั้งทุกข์" อาศัยอยู่ได้หรือไม่

    +++ 6. นอกจากนั้น "ให้สแกนรู้" ว่า "สภาวะเนื้อธาตุทุกชนิด" อาศัยเจือปน อยู่ได้หรือไม่

    +++ 7. ให้รู้ว่า "สภาวะรู้/จิตสงบ" นี้ มันมีอยู่นานแล้วหรือไม่ (สภาวะธรรมนี้ "มีอยู่นานแล้ว")

    +++ 8. และนี่คือ "ลืมตาตื่น สู่ จิตหนึ่ง" ของหลวงปู่ดูลย์ หรือไม่

    +++ นอกจากนี้ "คุณย่อมรู้ดี" ว่าควรจะทำอย่างไรต่อไปได้ ด้วยตัวคุณเอง

    +++ ขอให้ "เจริญและรุ่งเรืองในธรรม" ณ โอกาสวันอาสาฬหบูชานี้ นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...