พระกรรมฐาน ๔๐ โดยพระครูธรรมธรเล็ก

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย first, 10 กรกฎาคม 2007.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. first

    first เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2005
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +4,990
    ๒๑. อาหาเรปฏิกูลสัญญา
    <O:p</O:p สองสามวันนี้ มีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้น แล้วก็คิดว่า พวกเราทุกคนน่าจะมีความเข้าใจกันบ้าง ขณะเดียวกันบางคนอาจจะคิดไม่ได้ ตรองไม่ตกก็มีอยู่ อย่างเรื่องที่มีโยมเขียนจดหมายมาตำหนิว่า ที่เราเปิดเสียงตามสาย ไม่ว่าจะเป็นเทปธรรมะก็ดี หรือการสวดมนต์ทำวัตรก็ดี ไปรบกวนเขา <O:p</O:p
    หรือว่าอย่างเมื่อวานนี้ ที่เราส่งคุณโมเช่ก็ดี คุณชาติก็ดี คุณวีก็ดี ไปอยู่ที่ถ้ำไร่กะเตอ หรือว่าที่เราขนย้ายบรรดาเจ้าที่จากศาลต่าง ๆ ไปรวมอยู่กันในศาลที่สร้างใหม่ แล้วเจ้าอาวาส(พระอธิการอิสระ ญาณพโล) มาขอเจ้าพ่อทองผาภูมิไปไว้ที่เดิมก็ดี <O:p</O:p
    เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าหากว่าเราดูผิวเผินจะเห็นว่า เขามีความเห็นค้านกับเรา เราก็อาจจะโกรธ อาจจะไม่พอใจ ความจริงเรื่องของเจ้าพ่อทองผาภูมิ ผมบอกกล่าวท่านตั้งแต่แรกที่มาถึงแล้ว ว่าถ้ามีโอกาสแล้วผมขอย้าย ท่านเองก็ตกลง <O:p</O:p
    พวกคุณพอจะเข้าใจอยู่ เรื่องการคุยกับผีคุยกับเทวดาไม่ใช่เรื่องยาก แต่ว่าเรื่องอย่างนี้ เราบอกคนอื่นแล้ว คนอื่นเขาไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องไปชี้แจงเขา เขาเอาอย่างไร เราก็เอาอย่างนั้นส่วนเมื่อคืน เจ้าพ่อท่านไม่ได้ว่าอะไร ท่านบอกว่าเรื่องของท่าน ท่านจัดการเองได้ และบอกว่า วันนี้จะมีคนนำสมเด็จองค์ปฐมมาถวายผมด้วย ก็คอยดูไปว่าจะมีจริงไหม ?สำหรับเรื่องของเจ้าอาวาส ถ้าหากเราดูในแง่ที่ว่าท่านกลัว จึงได้ขอรูปเจ้าพ่อทองผาภูมิคืนไป <O:p</O:p
    ผมขอบอกทุกท่านว่า ความกลัวทุกประเภท มีพื้นฐานมาจากความกลัวตายทั้งหมด ผมเคยตามดูความกลัวของตัวเองเป็นปี ๆ ทุกเรื่องที่มันกลัว ลงท้ายมันกลัวตายทั้งนั้น <O:p</O:p
    อยู่ในป่ากลัวเสือกัด กัดแล้วเป็นอย่างไร ? ตาย กลัวงูกัด กัดแล้วเป็นอย่างไร ? ตาย กลัวผีหลอก ผีมันหลอกเรา เดี๋ยวมันบีบคอเรา แล้วเป็นอย่างไร ? ตาย แต่ว่าทุกท่านเข้าใจผิด เจ้าอาวาสเขาไม่ได้กลัวเจ้าพ่อในลักษณะนี้ <O:p</O:p
    อีกไม่กี่วันมันจะเป็นงานฉลองเจ้าพ่อทองผาภูมิ ถ้าไม่มีรูปอยู่ จัดงานฉลองเดี๋ยวมันอาจจะไม่ได้สตางค์ อันนี้ผิดถูกอย่างไรก็โทษเจ้าพ่อ ไม่เกี่ยวกับผม ท่านบอกว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2007
  2. first

    first เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2005
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +4,990
    แต่ว่าบุคคลในลักษณะนี้เขียนจดหมายมา เขาเขียนเป็นบัตรสนเท่ห์ ไม่มีชื่อ ไม่มีนามสกุล ไม่มีที่อยู่ ก็แปลว่า จริง ๆ แล้วเขาไม่ต้องการประโยชน์อะไรจากจดหมายนี้อย่างแท้จริง <O:p</O:p
    เขาต้องการอย่างเดียวก็คือระบายออก เพราะเก็บความชั่วไว้ไม่อยู่ เราน่าจะสงสารเขามากกว่า ถ้ามีโอกาสเขามาขอการสงเคราะห์ ก็สงเคราะห์เขาไป เขาเป็นคนปากไว มือไว ไม่สามารถระงับความชั่วในใจไว้ได้ <O:p</O:p
    เราเห็นมันไหลออกมา เราเห็นแล้วว่ามันไม่ดี เราก็อย่าไปทำเป็นคนปากไว เป็นคนมือไวแบบนั้น พวกเราทุกคนเป็นนักปฏิบัติ ต้องพยายามเก็บงำความชั่วเอาไว้ในใจ ในลักษณะขังเสือไว้ในกรง อย่าให้มันออกทางวาจา อย่าให้มันออกมาทางกาย <O:p</O:p
    ขังมันไว้นานๆ เดี๋ยวเสือมันหมดแรง มันก็ตายไปเอง ไม่ใช่กระทบ ก็หลุดปาก อันนั้นมันใช้ไม่ได้ แสดงว่าเราก็ชั่วพอ ๆ กับเขา เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ จริง ๆ แล้วมันไม่มีอะไร แต่ถ้าเราไปคิด ไปปรุงไปแต่งเมื่อไหร่ มันจะมีทันที มันก็จะเป็นโทษแก่เราทันที<O:p</O:p
    ทุกสิ่งทุกอย่างมันเลยไปแล้ว มันผ่านไปแล้ว มันเป็นอดีตไปแล้ว เรารับรู้แล้วก็วางไว้ตรงนั้น มันก็จบ แต่ถ้ารับแล้วแบกเอาไว้ เราก็จะทุกข์ เราก็จะลำบากของเราเอง <O:p</O:p
    ถ้าอย่างนี้โทษใครไม่ได้ เท่ากับเราไปแส่หาความทุกข์ใส่ตัว แทนที่กำลังใจจะอยู่กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แทนที่กำลังใจจะอยู่กับพระนิพพาน เรากลับเอากำลังใจไปรับแรงกระทบ <O:p</O:p
    รับแล้วก็แบกเอาไว้ มาปรุงมาแต่ง เหมือนยังกับแม่ครัวทำอาหาร ใส่สารพัดเครื่องปรุงเข้าไป รสชาติดีมาก แต่กินเข้าไปแล้วเป็นโทษแก่ตัวเอง ปวดท้องปวดไส้ แทบจะเป็นแทบจะตาย ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย<O:p</O:p
    ในเมื่อกล่าวมาถึงเรื่องของแม่ครัว เรื่องของอาหาร วันนี้ก็ขอกล่าวถึงกรรมฐานอีกกองหนึ่ง คืออาหาเรปฏิกูลสัญญา คือเราจะต้องพิจารณาให้เห็นว่า อาหารที่เราฉันไปทุกวัน จริง ๆ แล้วมันเป็นของสกปรก <O:p</O:p
    เขาไม่ต้องการให้เรากินอาหารเข้าไปเพื่อความอ้วนพีของร่างกาย เพื่อความผ่องใสของผิวพรรณ เพื่อไปกระตุ้นกิเลสให้เกิดขึ้น จุดมุ่งหมายของการกินจริงๆ ก็คือ กินเพื่อยังอัตภาพร่างกายนี้ให้อยู่ได้เท่านั้น <O:p</O:p
    เป็นการระงับดับความกระวนกระวาย ที่จะเกิดขึ้นจากอาการหิวกระหายของร่างกาย เพื่อที่จะประคับประคองร่างกายนี้ไว้ ใช้ปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วจะไปเพลิดเพลินอยู่ในรส <O:p</O:p
    เราต้องมาแยกแยะให้เห็นจริงว่า รสอาหารหรือว่าตัวอาหาร ที่จริงแล้วมันเกิดขึ้นจากอะไร ? ทุกวัน ๆ เราฉันอาหารลงไป มื้อเช้าก็ดี มื้อเพลก็ดี เราเคยพิจารณาบ้างหรือไม่ ? ไม่ใช่ว่าอันนี้อร่อย เราก็กินแต่อันนี้ ฉันแต่อันนี้ ไม่ต้องเปลี่ยนไปอย่างอื่นเลย <O:p</O:p
    ถ้าอย่างนั้น ตายเมื่อไรลงนรก..! จำไว้เลยว่า ถ้าครั้งแรกตักอาหารมาแล้วมันอร่อย การตักครั้งที่สองนี่ให้มีสติระมัดระวังไว้ เรากำลังกินตามใจกิเลส หรือว่าเรากินเพื่ออยู่กันแน่ เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ต้องมีสติระวังอยู่เสมอ <O:p</O:p
    ดังนั้น การฉันอาหารเขาถึงได้มี ปฏิสังขา โยนิโส ปิณฑปาตัง ปฏิเสวามิ ก็คือ พิจารณาอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า เราฉันเพื่อยังอัตภาพร่างกายนี้ ให้อยู่สำหรับปฏิบัติธรรมเท่านั้น ไม่ฉันเพื่อความอ้วนพีของร่างกาย ไม่ฉันเพื่อความผ่องใสของผิวพรรณ ไม่ฉันพวกสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้น เพื่อให้ราคะมันกำเริบ <O:p</O:p
    เราต้องพิจารณาแยกแยะให้ออกว่า อาหารต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมา คือมาจากผักอย่างหนึ่ง มาจากเนื้อสัตว์อย่างหนึ่ง เนื้อสัตว์ทั้งหลายก็มีเลือด มีคาวเป็นปกติ เวลาสัตว์มันตาย มันเน่าทุกตัว ประกอบไปด้วยน้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง เหม็นสกปรกเป็นปกติ <O:p</O:p
    ขณะเดียวกันสัตว์ที่เขาเลี้ยง ถ้าเคยไปดูก็จะเห็น ไม่ว่าจะวัว จะหมู จะไก่ มันคลุกอยู่กับขี้กับเยี่ยวของมันเอง ความสกปรกมันอยู่ทั้งภายนอกอยู่ทั้งภายใน ภายนอกคือ มันคลุกขี้คลุกเยี่ยวของมันเอง <O:p</O:p
    ภายในก็คือในร่างกายของมันก็มีขี้ มีเยี่ยวเป็นปกติ มีเลือด มีน้ำเหลือง น้ำหนองเป็นปกติ เรานำมาทำอาหาร กลิ่นคาวมันก็ปรากฏอยู่ชัดอยู่แล้ว อันนี้เห็นได้ง่าย คือเมื่อเช้าเดินบิณฑบาตอยู่ในตลาด ผ่านเขียงหมูก็ดี ผ่านร้านขายปลาก็ดี ที่เขาสับไว้เป็นท่อน ๆ <O:p</O:p
    ก็ดูเอา อันไหนเป็นเลือด อันไหนเป็นน้ำเหลือง อันไหนเป็นไขมัน เป็นอะไรเห็นหมด ถ้าเดินใกล้ๆ กลิ่นก็ปรากฏชัด นั่นเป็นสิ่งที่เราไปนิยมยินดี เมื่อทำขึ้นมาแล้วว่ามันอร่อยอย่างนั้น มันรสดีอย่างนี้ <O:p</O:p
    ในเรื่องของผักผลไม้ มันก็มีพื้นฐานมาจากความสกปรก มันเกิดขึ้นกับพื้น ดินต้องอาศัยปุ๋ย ยิ่งระยะหลังๆ มีการปลูกกันเป็นล่ำเป็นสัน ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ ก็ยิ่งต้องอาศัยปุ๋ยมากขึ้น ปุ๋ยมันก็เกิดจากขี้จากเยี่ยวของสัตว์นั่นเอง <O:p</O:p
    พวกไม้ใบก็ต้องการพวกที่มาจากยูเรีย ก็คือมาจากเยี่ยวหรือปัสสาวะ พวกไม้ดอกไม้ผลก็ต้องการพวกฟอสฟอรัส พวกโปแตสเซียม ซึ่งถ้าหากว่าไม่ต้องเกรงใจกัน ก็คืออาจจะนำขี้ไก่ ขี้วัว ใส่ลงไปในแปลงผัก แปลงผลไม้นั้น <O:p</O:p
    หรือถ้าหากอย่างที่เมืองจีนเขาทำเป็นปกติ คือ ใช้ขี้คนเลย เดินเทเป็นหาบ ๆ กลิ่นเหม็นตลบไปเป็นกิโล ๆ แต่ผักงามมาก ใบเขียวจนดำ ต้นสูงใหญ่น่ากินมาก เราเห็นหรือยังว่าพื้นฐานจริง ๆ มันมาจากไหน ? <O:p</O:p
    หรือถ้าหากว่าเป็นต้นไม้ใหญ่หน่อยหนึ่ง บางทีก็เอาซากสัตว์ตายไปโยนทิ้งไว้โคนต้น เน่าเหม็นตลบ ไม่มีใครอยากผ่านแถวนั้น แต่ว่าต้นไม้มันดูดซึมไป เอาไปเป็นอาหารแล้วก็ออกมาเป็นผล รอให้เราไปกิน <O:p</O:p
    เราอาจจะเห็น เออ..มะม่วงผลนี้น่ากินจัง สุกเหลืองอร่ามเชียว ขนุนผลนี้น่ากินจัง กลิ่นหอมไปไกลเชียว นั่นมันอาจจะเพิ่งดูดสารอาหารจากหมาเน่าทั้งตัวไปก็ได้ ต้องพิจารณาให้เห็น ต้องดูให้เป็น <O:p</O:p
    แล้วเรื่องของผักผลไม้ ถ้าหากว่าเราล้างสะอาด แล้วปัญญาเราน้อย พิจารณาไม่เห็น ก็เอาแค่ว่าจริง ๆ แล้วมันกำลังเน่า มันกำลังสลายตัว แต่ว่าพอมันเน่ากำลังได้ที่ ยังไม่ทันจะหมดสภาพ เราก็ชิงเอามากินเสียก่อน <O:p</O:p
    ถึงได้บอกว่า แหม..มันสุกเหลืองน่ากิน มันสุกแดงน่ากิน ความจริงเลยจากนั้นไปนิดเดียว มันก็จะเน่าดำแล้ว เพราะฉะนั้น เรากำลังกินสิ่งที่กำลังเน่าอยู่ ในเมื่อเรากินสิ่งที่กำลังเน่า กินสิ่งที่มีแต่ความสกปรก ร่างกายของเราก็สกปรกด้วย<O:p</O:p
    อาหารที่เรากินเข้าไป ไม่ว่าจะดีแสนดีขนาดไหน จะเป็นอาหารฮ่องเต้ ประเภท อุ้งตีนหมี เป๋าฮื้อน้ำแดง อะไรก็ตาม ถึงเวลาหมดสภาพออกมา มันก็เป็นขี้เป็นเยี่ยวเหมือนกัน <O:p</O:p
    ถ้าถ่ายทิ้งเอาไว้ใกล้ ๆ ก็คงจะได้ด่ากันไปสามวันเจ็ดวัน ยังดีว่าสมัยนี้เรามีห้อง น้ำห้องส้วมมิดชิด ไม่อย่างนั้นถ้าเป็นส้วมหลุมอย่างสมัยก่อน ก็ต้องเดินห่างเป็นกิโล กลิ่นมันเน่า มันเหม็นไกลเหลือเกิน <O:p</O:p
    อย่างที่เทวดา พรหม ท่านไม่อยากใกล้มนุษย์ เพราะว่ากลิ่นอาหารที่เน่าเหม็นมันระเหยออกทางผิวหนัง ท่านมีความเป็นทิพย์ ท่านได้กลิ่นเหม็นจากที่ไกลเป็นโยชน์ มันสกปรกขนาดนี้ <O:p</O:p
    แล้วที่แน่ ๆ อาหารมันห้ามร่างกายให้ไม่แก่ได้ไหม ? กินดีขนาดไหนมันก็แก่ มันห้ามร่างกายไม่ให้ตายได้ไหม ? กินดีขนาดไหนมันก็ตาย ถ้าไม่ให้มันกิน มันก็หิวเหลือเกิน ชิคัจฉา ปรมโรคา ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง คือ มันเสียดแทงอยู่ตลอดเวลา <O:p</O:p
    คำว่าโรค โรคะ คือ ความเสียดแทง วันหนึ่ง ๆ ต้องหาให้มันกินให้ครบมื้อ ถ้าไม่ครบมื้อมันก็รบกวนเรา มีความทุกข์ขนาดนั้น การดิ้นรนไปหาอาหาร มันก็ต้องทำการทำงานด้วยความเหนื่อยยาก <O:p</O:p
    ไม่ต้องดูไกล ดูนายขั้ว ดูนายโอ ดูนายไก่ ต้องมาทำงานก่อสร้างให้เราอยู่ นั่นก็เพื่อหาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องของตัวเอง มันเหนื่อยยากขนาดไหน ? เราไปแบกปูน แบกทราย เราก็เหนื่อยแทบตาย <O:p</O:p
    เขาเองเขาจำเป็นต้องทำตามหน้าที่ ไม่ครบวันเลิก เลิกไม่ได้ เขาเหนื่อยกว่าเรา ทุกข์กว่าเราเยอะ ในเมื่อกินดีขนาดไหนก็ตาม มันก็ห้ามความแก่ไม่ได้ กินดีขนาดไหนก็ตาม มันก็ห้ามความเสื่อมไม่ได้ กินดีขนาดไหนก็ตาม มันก็ห้ามความตายไม่ได้ ไม่ให้มันกิน มันก็ยิ่งปรากฏความทุกข์ให้เห็นชัด ขึ้นชื่อว่าร่างกายที่เป็นทุกข์อย่างนี้ เราต้องคอยกินให้มันอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ เรายังอยากได้มันหรือไม่ ? ถ้าเราเห็นทุกข์ตรงนี้ชัดเจนแล้ว คาดว่าทุกคนคงไม่อยากได้ร่างกายอีก <O:p</O:p
    เพราะว่าความเหนื่อยยากทุกประการ มันเกิดมาจากเรื่องของอาหาร เป็นเรื่องของอาหารเกือบทั้งหมด คนเราถ้าไม่ต้องกินเสียอย่างเดียว เรื่องอื่นกวนเราน้อยมาก ในเมื่อเราเห็นความทุกข์ตรงนี้อย่างชัดเจนแล้ว เรายังอยากเกิดอีก ก็ต้องบอกว่าสิ้นสติ..!<O:p</O:p
    ในเมื่อเราพิจารณาเห็นอย่างชัดเจนอยู่แล้วว่า ร่างกายนี้ถึงเอาอาหารเข้าไปหล่อเลี้ยง มันก็ยังคงค่อย ๆ เสื่อมไป ในที่สุดก็สลาย ก็ตาย ก็พัง ในระหว่างที่ดำรง ชีวิตอยู่นี้ ก็ต้องทุกข์ยากเหลือเกิน ในการที่จะเอาอาหารมาหล่อเลี้ยงร่างกาย <O:p</O:p
    ดังนั้น ขึ้นชื่อว่าการเกิดมามีร่างกายเช่นนี้ เราไม่พึงปรารถนามันอีกแล้ว ตั้งใจให้แน่วแน่ว่า ถ้าหากว่ามันตายลงไป เราจะไม่เกิดมากินให้มันทุกข์แบบนี้อีกแล้ว ใครไม่รู้ว่ามันทุกข์ขนาดไหน ก็ลองนั่งเคี้ยวปากเปล่า ๆ ตัวเองสัก ๓ นาที ๕ นาที จะรู้ว่ามันเมื่อยปากขนาดไหน ? <O:p</O:p
    หรือไม่ก็ยกมือทำท่าตักอาหาร ยกขึ้นยกลงสักครึ่งชั่วโมงติดต่อกัน มันจะรู้ว่ามันเมื่อยมือขนาดไหน ? ความทุกข์ที่เกิดจากอาหาร มันเกิดอยู่ตลอดเวลา เกิดอีกเมื่อไหร่ก็ทุกข์อีก เพราะฉะนั้นเราไปนิพพานดีกว่า เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ก็ให้จับคำภาวนาต่อไป โดยใช้การจับภาพพระ หรือว่าเอาใจเกาะพระนิพพาน ตั้งใจว่าถ้ามันหมดอายุขัย หรือเกิดอุบัติเหตุอันตรายใดๆ ต้องตายลงไป เราขอไปอยู่พระนิพพานแห่งเดียว<O:p</O:p
    ถ้าทำอย่างนี้ได้ก็ชื่อว่า เราปฏิบัติในอาหาเรปฏิกูลสัญญา ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมฐาน ๔๐ กองได้แล้ว แต่ว่าต้องให้มันทรงตัว คือทุกครั้งที่นั่งอยู่หน้าวงอาหาร ให้รู้ทันทีว่า อาหารมีพื้นฐานมาจากความสกปรกโสโครก
    กินเข้าไปร่างกายเราก็สกปรกโสโครก ถ่ายออกมาก็เป็นของสกปรกโสโครก ขณะที่กินก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่กินก็ยิ่งทุกข์เข้าไปอีก ขึ้นชื่อว่าการเกิดมาทุกข์เช่นนี้ เราไม่ต้องการเกิดอีกแล้ว เราต้องการอย่างเดียวคือพระนิพพานให้วางกำลังใจตรงจุดนี้ ทุกครั้งที่นั่งอยู่ข้างวงอาหาร ถ้าอย่างนั้นท่านก็ไม่ต้องเสียเวลาสวดปฏิสังขา โยนิโสฯ ไม่ต้องเสียเวลาไปพิจารณาเรื่องอื่น กำลังใจจะทรงตัวอยู่ตลอดเวลาเอง สำหรับวันนี้ ให้วางกำลังใจของเรา ส่วนหนึ่งอยู่กับการจับภาพพระ หรือคำภาวนา ส่วนที่เหลือก็เตรียมตัวทำวัตรสวดมนต์ของเราต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ<O:p</O:p
    วันศุกร์ที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๗<O:p</O:p
    <O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2007
  3. suthamma

    suthamma ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,440
    ค่าพลัง:
    +36,485
    (f) หนังสือกระโถนข้างธรรมาสน์ฉบับพิเศษ กรรมฐาน ๔๐ จำนวนพิมพ์ ๕,๐๐๐ เล่ม ราคา ๑๒๐,๐๐๐ บาท เริ่มแจกวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๐ ครับ (f)
     
  4. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,518
    ค่าพลัง:
    +27,187
    ตั้ง5000เล่มไปซัก9โมงน่าจะยังเหลือนะขอรับ แหะๆ
     
  5. คนเก่า

    คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,053
    ยังจะห่วงจำศีลอีก พ่อหมีควาย
     
  6. first

    first เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2005
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +4,990
    ๒๒. จตุธาตุววัฏฐาน ๔
    <O:p
    เรื่องของอาหาเรปฏิกูลสัญญานั้น มีอยู่จุดหนึ่งที่ต้องระมัดระวัง คือว่าเมื่อเราพิจารณาอาหารจนเป็นปกติแล้ว บางทีมันจะเกิดอาการ สะอิดสะเอียน หมดความคิดที่จะฉันอาหารนั้น <O:p</O:p
    ถ้าเราเห็นว่ามันสกปรกจริงๆ บางท่านถึงกับฉันอาหารไม่ได้ไปหลาย ๆ วัน ตัวนี้ต้องระมัดระวังให้ดี อย่าลืมว่า เราเองยังมีชีวิตอยู่ ยังจำเป็นต้องอาศัยร่างกายนี้เพื่อการปฏิบัติธรรม <O:p</O:p
    ถ้าหากว่าเราไม่ฉันอาหารเข้าไป ร่างกายทรงอยู่ไม่ได้ เราก็จะเสียผลของการปฏิบัติไป ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องหลับหูหลับตา สักแต่ว่าฉันมันเข้าไป อันนั้นจึงจะเป็นการที่เรียกว่า ฉันโดยไม่ติดในสี ในกลิ่น ในรส อย่างแท้จริง <O:p</O:p
    ส่วนอีกข้อหนึ่งก็คือ ถ้าหากว่าเราทำไปจนอารมณ์ใจมันทรงตัวแล้ว การพิจารณาอาหารถือว่าเป็นปกติแล้ว คราวนี้เราต้องพิจารณาดูอีกข้อหนึ่งว่า อาหารนั้นเหมาะกับธาตุขันธ์ของเราหรือไม่ ? <O:p</O:p
    ถ้าหากว่าอาหารนั้นไม่เหมาะกับธาตุขันธ์ของเรา ฉันเข้าไปแล้วเกิดเป็นโทษกับร่างกาย ทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้กระวนกระวาย ทำให้ไฟธาตุกำเริบ หรือทำให้ธาตุใดธาตุหนึ่งมันบกพร่องหรือล้นเกิน ทำให้ร่างกายมันไม่สบายขึ้นมา เราก็เสียการปฏิบัติเช่นกัน<O:p</O:p
    ถ้าอยู่ในลักษณะนั้น เราก็พยายามงดเว้น อย่างที่ผมทำอยู่ ถ้าของที่มันเย็นเกินไป อายุของผมมันมากแล้ว ไฟธาตุมันน้อย ถ้าฉันของเย็นเข้าไปมาก มันจะเป็นไข้ หรือว่าเป็นหวัด จับไข้ไปเลย<O:p</O:p
    ผมก็พยายามเลี่ยงพวกของเย็น อย่างพวกฟักแฟงแตงกวาอะไรพวกนั้น จะไม่แตะต้องมัน แต่ขณะเดียวกัน ธาตุขันธ์ของผม กลับไม่เหมาะกับอาหารร้อนอีก เพราะฉะนั้น พวกข้าวเหนียว ผมก็ยุ่งกับมันไม่ได้ <O:p</O:p
    ให้พยายามสังเกตตัวเองว่า ฉันอะไรเข้าไปแล้ว มันเหมาะสมกับร่างกาย ฉันอะไรเข้าไปแล้ว มันไม่เหมาะสม แล้วค่อยเลือกสิ่งที่มันเหมาะสมสำหรับตัว แต่ตรงจุดที่เราบอกให้เลือกมันนี้ อย่าไปเลือกในสิ่งที่เราเห็นว่ามันอร่อย <O:p</O:p
    อย่าไปเลือกในสิ่งที่เราว่ารสมันดี สีสันวรรณะมันดี ให้เลือกเพราะรู้จริงๆ ว่า มันเหมาะแก่ร่างกายของเรา อันไหนไม่เหมาะ ถ้าญาติโยมเค้าประเคนมา ก็ฉันมันเสียหน่อยหนึ่ง เพื่อเป็นการฉลองศรัทธา แล้วก็หันไปฉันในสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเอง <O:p</O:p
    แต่ว่าบางทีผมเจอญาติโยมบางท่าน ไม่มีอุเบกขาในทานบารมี ประเคนของมาแล้ว ก็นั่งจ้องอยู่นั่นแหละ ถ้าพระไม่ฉันก็เซ้าซี้ให้ฉัน ถ้าอย่างนั้น บางทีผมก็ต้องยอมรับว่า เราคงจะสร้างกรรมเอาไว้มาก ทำให้ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้ได้ <O:p</O:p
    เมื่อทำใจว่าเราจำเป็นต้องรับกรรมอันนี้ ผมก็ฉันให้เขาเต็มที่ แล้วผมก็ไปนอนจับไข้เอง พยายามเลี่ยงในสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับตัว ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และต้องมีสติรู้อยู่เสมอว่า... <O:p</O:p
    เมื่อฉันเข้าไป มันก็ไม่สามารถจะห้ามความเสื่อมได้ ฉันเข้าไป มันก็ไม่สามารถจะห้ามความตายได้ เพียงแต่มันสามารถระงับความกระวนกระวายของร่างกาย ทำให้ร่างกายมีกำลังทรงตัวอยู่ เพื่อการปฏิบัติของเราได้<O:p</O:p
    เราต้องไม่ลืมหน้าที่ของความเป็นพระ อย่างที่หลวงพ่อท่านเคยย้ำอยู่เสมอๆ ว่า นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ เอตัง กาสาวัง คเหตวา เรารับผ้ากาสาวพัสตร์นี้มา เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน <O:p</O:p
    หน้าที่อื่นของเรานั้นไม่ใช่ คันถธุระนั้นไม่ใช่ เราศึกษา เราทำในคันถธุระ เพื่อเป็นการเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียดของการปฏิบัติ แต่หน้าที่หลักของเราจริง ๆ ก็คือ การสวดมนต์ ทำวัตร ปฏิบัติพระกรรมฐาน สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นหน้าที่หลัก อันอื่นเป็นเรื่องรองลงไปทั้งหมด <O:p</O:p
    ในแต่ละวันที่เราทำสิ่งต่าง ๆ ให้สังเกตใจของเรา ถ้ามันมีอารมณ์กระทบ เข้ามาในด้านดี เป็นที่น่าพอใจ พอมันกระทบเข้ามาแล้ว จิตใจของเรามันพอง มันฟู มันยินดีหรือไม่ ? <O:p</O:p
    ถ้าเป็นด้านที่ไม่ดี กระทบเข้ามาแล้ว มันยุบ มันกำลังใจตก มันไปเศร้าหมองอยู่กับมันหรือไม่ ? ไม่ว่าจะยินดีกับมัน หรือยินร้ายกับมันก็ตาม กำลังใจของเรายังใช้ไม่ได้ทั้งคู่ อย่างที่กล่าวไว้ว่า พอกระทบแล้วก็ทิ้งมันกองไว้ตรงนั้น ไม่ใช่รับมันเข้ามา มาปรุงมาแต่ง มาแบกมันเอาไว้ แล้วก็มาคร่ำครวญว่ามันทุกข์เหลือเกิน ลำบากเหลือเกิน อันนั้นเราทุกข์เพราะตัวเราเอง ลำบากเพราะตัวเราเอง ไม่ต้องโทษใคร <O:p</O:p
    ถ้าเราไม่แบกมันขึ้นมา มันก็ไม่ทุกข์ไม่ลำบาก สักแต่ว่ากอง ๆ มันไว้ตรงหน้า กระทบมาก็กองไว้ตรงนั้น ได้เห็นมา ได้ยินมา ได้กลิ่นมา ได้รสมา ได้สัมผัสมา กองมันไว้ตรงนั้น<O:p</O:p
    ต้องมีการสำรวมอินทรีย์ คือ ระมัดระวังในสิ่งที่มากระทบ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเราให้เป็นปกติ ต้องมี โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกิน มากเกินไปมันก็จะเซื่องซึม ง่วง เพราะว่าไฟธาตุมันต้องลงไปที่กระเพาะ เพื่อไปย่อยอาหาร <O:p</O:p
    มันทำให้มีเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองน้อยลง มันก็จะซึมจะง่วง อยากจะนอนเป็นปกติ ถ้าฉันน้อยจนเกินไป ธาตุขันธ์มันย่ำแย่ โรคกระเพาะมันกำเริบได้ เพราะฉะนั้น ต้องดูว่ามันเหมาะแก่ตัวเองเท่าไร ?<O:p</O:p
    โภชเน มัตตัญญุตา คือ ต้องรู้จักประมาณ ไม่มากเกิน ไม่น้อยเกิน ให้มันพอเหมาะพอดีแก่ธาตุขันธ์ของเรา ไม่ใช่ว่าว่าจนเกินไป แล้วก็นอนหลับทั้งวัน หรือไม่ก็น้อยจนเกินไป แม้กระทั่งยามค่ำคืน ท้องมันร้อง ตาสว่างอยู่ หลับไม่ลงก็มี <O:p</O:p
    ต้องมี ชาคริยานุโยค คือ การปฏิบัติธรรมะของผู้ตื่นอยู่ คำว่าผู้ตื่น คือ เป็นผู้มีสติรู้อยู่ตลอดเวลา จะหลับ จะตื่น จะยืน จะนั่ง มีสติควบคุมอยู่ตลอด รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราเป็นพระ กิจใดก็ตามที่เป็นกิจสงฆ์ เราต้องทำให้ครบถ้วนสมบูรณ์ <O:p</O:p
    โดยเฉพาะหน้าที่ของเรา คือ ชำระจิตใจให้ผ่องใสจากกิเลส ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ จะได้ไม่เสียทีที่ฉันข้าวของโยมเข้าไป ไม่เสียทีที่เขาเลี้ยงเรามา ถ้าเราไม่สามารถชำระจิตใจของเราให้ผ่องใสได้ อย่างน้อยๆ ก็ให้มีฌานสมาบัติอยู่<O:p</O:p
    ซึ่งมันจะกดกิเลสให้ดับลงชั่วคราว มันสามารถผ่องใสได้ ตราบใดที่เราไม่คลายกำลังฌานออกมา พูดง่ายๆ ว่า ไม่ได้มากก็เอาน้อย อย่างน้อยๆ ต้องได้สักส่วนใดส่วนหนึ่ง การบวชเข้ามาเป็นการเสี่ยงอย่างยิ่ง เพราะว่าโอกาสที่จะพลาดลงอบายภูมิ มันมีมากเกินกว่า ๙๐ % ในเมื่อเราลงทุนเสี่ยงเข้ามาแล้ว ถ้าไม่ขึ้นข้างบนก็ลงข้างล่าง โอกาสที่จะอยู่กลางๆ มันมีน้อย เราต้องทุ่มเททำให้มันจริงๆ จังๆ ดู <O:p</O:p
    คำว่าจริงจังก็คือ ทำให้สม่ำเสมอ ทำให้เป็นระบบ ทำให้เป็นเวลา แล้วพยายามประคับประคอง รักษาอารมณ์ใจนั้นไว้กับเรา ให้อยู่กับมันให้มากที่สุด ให้นานที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ถ้าเราทำอย่างสม่ำเสมอจริงจัง ผลจะเกิดได้ง่าย<O:p</O:p
    เรื่องของการปฏิบัติ เป็นเรื่องของคนเอาจริง เป็นเรื่องของปรมัตถบารมี กำลังใจที่เป็นสามัญบารมี(ขั้นต้น)ก็ดี อุปบารมี(ขั้นกลาง)ก็ดี มันจะทำได้ไม่ตลอด มันต้องเป็นปรมัตถบารมีเท่านั้น ในเมื่อตัวเราเองขึ้นชื่อว่าเป็นปรมัตถบารมีแล้ว ถ้าไปอ่อนแอเหยาะแหยะอยู่กับมัน ถึงเวลาอันโน้นก็ไม่ไหว อันนี้ก็ไม่ไหว ถ้าอย่างนั้นมันจะเอาดีไม่ได้ มันต้องได้ทุกอย่าง ไหวทุกเรื่อง ถ้าไม่ได้ให้มันตายไปเลย ถ้าเราทุ่มเทกำลังใจในลักษณะอย่างนี้ได้ การปฏิบัติของเรา ก็จะเห็นผลเร็ว<O:p</O:p
    สำหรับวันนี้ก็จะมากล่าวถึงกรรมฐานอีกกองหนึ่งคือ จตุธาตุววัฏฐาน ๔ คือการพิจารณาให้เห็นร่างกายอันนี้ว่า มันประกอบขึ้นมาจากธาตุ ๔ อย่าง คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ภาษาบาลีเรียกว่า มหาภูตรูป ๔<O:p</O:p
    กรรมฐานข้อนี้ สำหรับท่านที่ติดอยู่ในร่างกายของตัวเอง ว่าเป็นเรา เป็นของเรา ความจริงก็ไม่ต่างจากกายคตานุสติกรรมฐานสักเท่าไร แต่ว่ามันสามารถพิจารณาแยกแยะเป็นส่วน ๆ <O:p</O:p
    เพียงแต่ว่าไม่ได้แยกว่า มันเป็นเนื้อ เป็นหนัง เป็นกระดูก เป็นเส้นเอ็น เป็นอวัยวะภายในภายนอก มันแยกออกเป็นธาตุแต่ละธาตุแต่ละส่วน เราจะได้เห็นว่า สภาพร่างกายนี้จริง ๆ แล้วมันเป็นอย่างไร ? <O:p</O:p
    ร่างกายของเราประกอบขึ้นมาจากธาตุ ๔ อย่าง <O:p</O:p
    ส่วนที่แข็ง จับได้ ต้องได้ เป็นธาตุดิน<O:p</O:p
    ส่วนที่เหลว ไหลอยู่ในร่างกายของเรา เป็นธาตุน้ำ<O:p</O:p
    ส่วนที่พัดไปมา ในร่างกายของเรา เป็นธาตุลม <O:p</O:p
    ส่วนที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เป็นธาตุไฟ <O:p</O:p
    ท่านให้แยกออกมาเป็นส่วน ๆ ๔ ส่วน พระพุทธเจ้าตรัสว่า เหมือนกับนายโคฆาต ฆ่าโคแล้วก็ชำแหละออกเป็นส่วนๆ ทั้งหมด ๔ ส่วนด้วยกัน เราก็มาแบ่งแยกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนี้ออกเป็น ๔ ส่วนตามธาตุของมันดูบ้าง<O:p</O:p
    ส่วนที่แข็ง เป็นแท่ง เป็นก้อน เป็นชิ้น เป็นอัน จัดเป็นธาตุดิน ได้แก่ ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ กระดูก เยื่อในกระดูก เส้นเอ็น ตับ ไต ไส้ ปอด หัวใจ อาหารใหม่ อาหารเก่า เป็นต้น พวกนี้จัดเป็นธาตุดิน<O:p</O:p
    ส่วนที่เป็นของเหลวในร่างกาย คือ ธาตุน้ำ ได้แก่ เลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำตา น้ำลาย น้ำดี เหงื่อ ไขมันเหลว ปัสสาวะ <O:p</O:p
    ไขมันเหลว คือ ไตรกีเซอไรท์ที่มันอยู่ในเลือด พระพุทธเจ้าท่านรู้จักมันตั้งแต่สมัยโน้นมาแล้ว อันนี้ก็แยกไว้ส่วนหนึ่ง ถ้าหากว่านึกไม่ออก กองมันทิ้งไว้ไม่ได้ ก็นึกถึงกะละมังใหญ่ๆ สักใบ ใส่มันไว้ตรงหน้าก็ได้<O:p</O:p
    ส่วนที่เป็นธาตุลม คือลมที่พัดขึ้นเบื้องสูง พัดลงเบื้องต่ำ พัดไปทั่วร่างกาย (อันนี้เป็นความดันโลหิต) ลมที่ค้างอยู่ในท้องในไส้ของเรา(คือพวกแก๊ส) ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อันนี้แยกไว้อีกส่วนหนึ่ง ถ้านึกไม่ออกจริงๆ ก็เอาถุงสักใบใส่มันเอาไว้ หรือลูกโป่งสักใบ ใส่มันเอาไว้ตรงหน้าเรา <O:p</O:p
    ส่วนที่เป็นธาตุไฟ คือ ความอบอุ่นของร่างกายของเรา ได้แก่ ไฟธาตุที่กระตุ้นร่างกายให้เจริญเติบโต ไฟธาตุที่เผาผลาญร่างกายให้ทรุดโทรมลง อันนี้ฝรั่งเขาค้นพบแล้ว เขางงมากว่ามันเป็นไปได้อย่างไร ? <O:p</O:p
    เขาค้นพบว่า ร่างกายเราต้องการออกซิเจน แต่ขณะเดียวกันออกซิเจนนั่นแหละ ที่ทำให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นมาในร่างกาย ทำลายร่างกายของเราให้โทรมลงไปทุกวัน ๆ เพราะว่าเขาไม่รู้ในจุดนี้ เขาก็เลยงง <O:p</O:p
    ไฟธาตุที่กระตุ้นร่างกายให้เจริญเติบโต ไฟธาตุที่เผาผลาญร่างกายของเราให้ทรุดโทรมลง ไฟธาตุที่ช่วยในการสันดาปย่อยอาหาร ไฟธาตุที่ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายของเรา<O:p</O:p
    อันนี้แยกไว้อีกส่วนหนึ่ง ถ้าหากว่านึกไม่ออก ไม่สามารถที่จะแยกมันออก ก็นึกถึงกองไฟสักกองหนึ่ง อยู่ตรงหน้าของเราก็ได้ แล้วเจ้าไฟธาตุทุกตัว มันก็คือส่วนหนึ่งของไฟกองนั้น <O:p</O:p
    ในเมื่อเราแยกออกมาครบ ๔ ส่วนแล้ว เราจะเห็นว่าไม่มีอะไรที่เป็นเรา เป็นของเราเลย ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแล้วสักแต่ว่าเป็นธาตุ เมื่อถึงวาระถึงเวลา มันมาผสมโรงกัน ปรุงกันขึ้นมาเป็นรูป มีหัว มีหู มีหน้า มีตา <O:p</O:p
    เราได้อาศัยอยู่แค่ชั่วครั้งชั่วคราว ตามบุญตามกรรมที่ทำมา เราก็ไปยึดว่าเป็นตัวกู เป็นของกู แต่จริงๆ แล้ว มันมีอะไรที่เป็นตัวกู ของกูหรือไม่ ? ก็ดูมันเอาไว้ ดูมันให้เห็นให้ชัดเจนว่า มันสักแต่ว่าเป็นเปลือกที่เราอาศัยอยู่เท่านั้น <O:p</O:p
    เราอาศัยอยู่กับเปลือกนี้ ขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ เรามีความสุขหรือไม่ ? มันมีแต่ความทุกข์อยู่ตลอดเวลา มันหิว มันกระหาย มันร้อน มันหนาว มันเจ็บไข้ได้ป่วย มันสกปรกโสโครกเป็นปกติ เราก็ต้องลำบากยากแค้น ในการหาให้มันกิน หาให้มันดื่ม<O:p</O:p
    พามันไปถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะ รักษาพยาบาลมันยามเจ็บป่วย ดูแลทำความสะอาดมัน ไม่ให้มันสกปรกโสโครกจนกระทั่งเราเองถึงกับทนไม่ได้ มันมีความทุกข์ของมันอยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่เรายังเกิดมามีร่างกายนี้ มันก็ยังทุกข์อีก <O:p</O:p
    ถ้าธาตุใดธาตุหนึ่งมันบกพร่อง อาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับร่างกาย ก็ต้องมาลำบาก ต้องมาทุกข์ยากอยู่กับมัน เสียเวลารักษาพยาบาลดูแลเอาใจใส่มัน นั่นก็ยังไม่เท่าไร ถ้ามันบกพร่องมาก ๆ เติมให้มันไม่ไหว หนุนมันเท่าไหร่ก็ไม่ขึ้น มันก็หมดสภาพ ตาย <O:p</O:p
    อันดับแรก ถ้าหากว่าตาย ธาตุลมมันจะขาดออกไปก่อน เมื่อธาตุลมมันขาด ไม่มีตัวหนุนเสริม ธาตุไฟมันก็ดับ เมื่อธาตุไฟมันดับ มันอันตรธานไป เหลือแต่ธาตุดินกับธาตุน้ำ ตอนแรกยังมีธาตุไฟอยู่ คอยควบคุมธาตุน้ำไม่ให้ล้นเกิน ให้พอเหมาะพอดี <O:p</O:p
    แต่พอไม่มีธาตุไฟไปคอยควบคุมมัน ธาตุน้ำมันก็ล้นเกิน ดันร่างกายให้อืดพองขึ้นมา อันนี้คืออุทุมาตกอสุภ วันก่อนสอนไปแล้ว พอถึงเวลาตายไปแล้วสักสองวัน สามวัน มันก็เริ่มเขียว ๆ ช้ำ ๆ ขึ้นมา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2007
  7. first

    first เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2005
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +4,990
    อันนี้คือวินีลกอสุภ พอสักสี่ห้าวัน ร่างกายที่เป็นธาตุดินมันทนไม่ไหว ธาตุน้ำมันทลายเขื่อนออกมาแล้ว ผิวกายปริแตก น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนองไหลโซมเลย อันนี้คือวิปุพกอสุภ สอนไปแล้ว พิจารณาได้ มองให้เห็นมันค่อย ๆ เปื่อย ค่อย ๆ เน่า โซมลง ๆ จนกระทั่งเน่าเปื่อยไปหมด เหลือแต่โครงกระดูกอยู่ อันนี้คืออัฎฐิกอสุภ สอนไปแล้ว พิจารณาให้เห็น มีสัตว์ต่างๆ มากัด มาฉีก มาทึ้ง มาดึง มาลากไปกิน อวัยวะส่วนต่างๆ โดนงับ โดนกัด โดนฉีก โดนทึ้ง เว้าไปแหว่งมา อันนี้ก็เป็น วิกขายิตกอสุภ จนกระทั่งมันหลุดออกเป็นชิ้น ๆ กระจัดกระจายไป อันนี้เป็น วิกขิตกอสุภ เราสามารถพิจารณารวมกันเข้าไปได้ จนกระทั่งโครงกระดูกหลุดกระจัดกระจายไปทุกส่วน จากของใหม่ก็เป็นของเก่า ค่อย ๆ เปื่อยผุพัง ย่อยสลายจมดินไป ไม่มีอะไรเหลือเลยแม้แต่นิดเดียว ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ คืนไปสู่ความเป็นธรรมชาติของมัน แล้วตัวเราของเรามีหรือไม่ ?เมื่อมาถึงตรงจุดนี้ ก็จะเห็นว่า จริง ๆ แล้วมันไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเราเลย มันเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด จากเด็กเล็ก ๆ เป็นเด็กโต เป็นเด็กหนุ่มเด็กสาว เป็นหนุ่มเป็นสาว เป็นวัยกลางคน เป็นคนแก่ แล้วก็ตาย <O:p</O:p
    มันอาจจะตายตั้งแต่เด็กก็ได้ ตั้งแต่หนุ่มสาวก็ได้ ตั้งแต่กลางคนก็ได้ หรือมาตายตอนแก่ก็ได้ ระหว่างที่ดำรงชีวิตอยู่ ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ ทุกข์ของการเกิด ทุกข์ของการแก่ ทุกข์ของการเจ็บ ทุกข์ของการตาย ทุกข์ของการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ ทุกข์ของการปรารถนาไม่สมหวัง ทุกข์ของการกระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ทุกข์ของการหิว การกระหาย ทุกข์ของความร้อน ทุกข์ของหนาว ทุกข์ของความเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกข์ของความสกปรกโสโครก ต้องอึดอัด ต้องทนอยู่กับมัน ความทุกข์มันมีอยู่เป็นปกติ ท้ายสุดมันก็สลาย มันก็ตาย มันก็พัง บังคับบัญชามันไม่ได้ ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา กลายเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ไฟ ลม คืนแก่ธรรมชาติเขาไป <O:p</O:p
    ในเมื่อมันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เราก็จะเห็นชัดเจนว่า มันไม่เที่ยง ระหว่างที่มันตั้งอยู่ มันก็มีแต่สิ่งที่เราต้องทน ต้องฝืนอยู่กับมัน มันก็เป็นทุกข์ ท้ายสุดมันก็สลาย ก็ตาย ก็พังไป ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเรา<O:p</O:p
    เราเกิดอีกเมื่อไร ก็ต้องเจอร่างกายที่ไม่เที่ยงอย่างนี้อีก เกิดอีกเมื่อไหร่ ก็ต้องเจอร่างกายที่เป็นทุกข์อย่างนี้อีก เกิดอีกเมื่อไหร่ ก็เจอร่างกายที่ไม่มีอะไรยึดถือมั่นหมายได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราอย่างนี้อีก <O:p</O:p
    ถึงเวลามันจะป่วย มันก็ป่วย ถึงเวลามันจะตาย มันก็ตาย บังคับบัญชามันไม่ได้ ต้องทุกข์ต้องทนอยู่กับมันอย่างนี้ แล้วเรายังอยากจะเกิดมามีร่างกายอย่างนี้อยู่หรือไม่ ? มันไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราเลย<O:p</O:p
    มันสักแต่ว่าเป็น ธาตุ ๔ ประกอบกันขึ้นมาให้เราอาศัยอยู่ชั่วคราว ถึงวาระถึงเวลามันก็สลายไป พังไป เราก็ต้องไปตามบุญตามกรรมที่เราทำมา ถ้าหากว่ายังไม่พ้นตายพ้นเกิด ก็ต้องวนเวียนไปมีอัตภาพร่างกายอย่างนี้อีก อาจจะย่ำแย่กว่านี้ คือเป็นสัตว์นรก เป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือดีกว่านี้หน่อยก็เป็นเทวดา เป็นพรหม แต่ว่ายังไม่สามารถหลุดพ้น ถ้าไม่ใช่ท่านที่เป็นพระอริยเจ้าแล้ว ก็พร้อมที่จะลงสู่อบายภูมิอยู่ตลอดเวลา เรายังต้องการร่างกายนี้อยู่หรือ ?<O:p</O:p
    เมื่อเราเห็นจริงแล้วว่า มันไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา จิตเราก็ปลดออกจากความต้องการของจุดนั้น ตั้งใจว่า ถ้าหากว่าถึงวาระถึงเวลา มันตาย มันพัง เราก็ขอไปพระนิพพานแห่งเดียว <O:p</O:p
    แล้วจับคำภาวนา จับลมหายใจเข้าออกควบไปด้วย จับภาพพระควบไปด้วย ภาวนาจนอารมณ์ใจทรงตัวถึงที่สุด ก็เรียกว่าเราเป็นผู้ปฏิบัติในจตุธาตุววัฏฐาน ๔ ได้อย่างที่เราต้องการ แต่ว่าไม่ใช่ปฏิบัติในลักษณะทรงอารมณ์ภาวนาเฉย ๆ ให้ใช้ปัญญาประกอบด้วย <O:p</O:p
    ให้เห็นอยู่ตลอดเวลาว่า ไม่ว่าร่างกายของเราก็ดี ร่างกายของเขาก็ดี จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นคนเป็นสัตว์ก็ตาม มันสักแต่ว่าประกอบขึ้นมาจากธาตุ ๔ เกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด<O:p</O:p
    ขณะดำรงชีวิตอยู่มีแต่ความทุกข์ ไม่มีอะไรให้ยึดถือมั่นหมายได้ ท้ายที่สุดมันก็สลาย ก็ตาย ก็พังไป ร่างกายของเราก็ยึดถือไม่ได้ ร่างกายของเขาก็ยึดถือไม่ได้ สักแต่ว่าเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ให้อาศัยอยู่ ถ้าทำกำลังใจถึงจุดนี้ได้เต็มที่ จะเห็นคน เห็นสัตว์ เห็นผู้หญิง เห็นผู้ชาย เห็นข้าวของเครื่องใช้ มันจะเห็นเหมือนๆ กัน คือ สักแต่ว่าประกอบขึ้นจากธาตุ ๔ เป็นกองทุกข์ เป็นที่รวมของความทุกข์ และไม่สามารถที่จะบังคับบัญชามันได้อย่างใจ<O:p</O:p
    เพราะฉะนั้นเราไม่เอามันอีกดีกว่า คิดว่าถ้าตายแล้วเราขอไปพระนิพพานแห่งเดียว เอาใจจดจ่ออยู่กับพระนิพพานไว้ เอาใจจดจ่อกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ของเราเอาไว้ ให้ใจมันทรงตัวอยู่ตรงจุดนั้น ไม่มาผูกพันกับร่างกายที่มันไม่เที่ยง ร่างกายที่เป็นทุกข์ ร่างกายที่มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ให้มีปัญญาเห็นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา แยกมันออกจากเราอยู่ตลอดเวลา อย่าได้เห็นว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา แม้สักนิดเดียว เพราะว่าถ้าเห็นว่ามันเป็นเราเป็นของเราแม้แต่น้อยหนึ่ง เราก็ยังต้องเกิด เราก็ยังต้องทุกข์ต่อไป <O:p</O:p
    การปฏิบัติในจตุธาตุววัฏฐาน ๔ ซึ่งเป็นกรรมฐานอีกกองหนึ่ง เหมาะสำหรับท่านที่เป็นพุทธิจริต หรือว่าท่านที่เป็นราคะจริตก็สามารถที่จะปฏิบัติได้ ถ้าสามารถแยกแยะมันออกจริง ๆ ก็จะไม่มีอะไรให้เรายึดถือมั่นหมาย ให้ยินดียินร้ายกับมันได้เลย <O:p</O:p
    สำหรับตอนนี้ขอให้ทุกคน ประคับประคองอารมณ์ที่ทำได้ ที่ทรงตัวอยู่นั้น ให้อยู่กับเรา โดยการแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งให้ควบคุมมันเอาไว้ ส่วนที่เหลือจะได้ปฏิบัติหน้าที่ของเราต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ<O:p</O:p
    วันเสาร์ที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๔๗<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระบรมธาตุนิมิตร วัดพระธาตุผาเงา เชียงแสนและพระธาตุจอมหมอกแก้ว แม่ลาว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2007
  8. first

    first เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2005
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +4,990
    ๒๓. พรหมวิหาร ๔<O:p</O:p


    พวกเราทั้งหมดต้องไม่ลืมว่า การปฏิบัตินั้นเราจะทิ้งของเก่าไม่ได้ อันไหนเคยทำได้แล้ว ต้องทบทวนเอาไว้เสมอๆ เพื่อความคล่องตัว เพราะว่ากรรมฐานที่สอนอยู่นี้ ตั้งใจว่ามันมีเวลาก็จะสอนให้ครบทั้งสี่สิบกองไปเลย <O:p</O:pถ้ากองใดกองหนึ่งที่เราทำแล้วมันได้ผล ก่อนขยับต่อไปกองอื่น ต้องทบทวนกำลังใจของเราในกองกรรมฐานนั้น ให้ทรงตัวให้เต็มที่เสียก่อน ถ้าเราไม่ทบทวนเอาไว้ ถึงเวลากิเลสข้อใดข้อหนึ่งมันเข้ามาตีเรา เราอาจจะรับมือไม่ทัน เพราะขาดความคล่องตัว<O:p</O:p
    สำหรับตอนนี้ ให้ทุกคนนึกถึงลมหายใจเข้าออก พร้อมกับคำภาวนาให้เป็นปกติ หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" พุทเข้า โธออก หายใจเข้าผ่านจมูก ผ่านกึ่งกลางอก ลงไปสุดที่ท้อง <O:p</O:p
    หายใจออกจากท้อง ผ่านกึ่งกลางอก มาสุดที่ปลายจมูก "พุท" เข้า จมูก อก ท้อง "โธ" ออก ท้อง อก จมูก กำหนดความรู้สึกทั้งหมดของเรา ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออก การหายใจเข้า หายใจออก ให้ปล่อยไปตามปกติ ตามธรรมชาติของมัน <O:p</O:p
    อย่าไปบังคับมัน แค่ตามรู้ไปเฉย ๆ ว่าตอนนี้มันหายใจเข้า ตอนนี้มันหายใจออก มันจะแรง จะเบา จะยาว จะสั้น ภาวนาอย่างไร กำหนดใจรู้ตามไปเท่านั้นหายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" หรือ เราถนัดคำภาวนาอื่น ก็ใช้คำภาวนาอื่นไป<O:p></O:p>
    กำหนดใจไหลตามลมหายใจเข้า ไหลตามลมหายใจออก แรก ๆ ใหม่ ๆ จิตมันหยาบอยู่ มันอาจจะจับไม่ได้ครบทั้งสามฐาน อันนั้นไม่เป็นไร ขอให้พยายามกำหนดรู้ พออารมณ์ใจแวบไปสู่อารมณ์อื่น ก็ให้ดึงมาอยู่กับลมหายใจเข้าออกของเราใหม่ <O:p</O:pมันแวบไปเมื่อไหร่ก็ดึงมันกลับมา แวบมันออกไปเมื่อไหร่ก็ดึงมันกลับมา ให้อยู่เฉพาะหน้าของเรา หายใจเข้า พุท หายใจออก โธ ทำสบาย ๆ ไม่ต้องเคร่งเครียดกับมัน ตามดูตามรู้ลมหายใจอย่างเดียว ดูว่าตอนนี้หายใจเข้า ดูว่าตอนนี้หายใจออก พร้อมกับคำภาวนา <O:p</O:p
    จากนั้น ให้กำหนดจิตเบา ๆ สบาย ๆ นึกว่าตรงหน้าของเรามีพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง ที่เรารักเราชอบมากที่สุด จะเป็นพุทธรูปยืน นั่ง นอนแล้วแต่เราชอบ ให้อยู่ห่างจากเราไปในระดับที่กำหนดใจได้สบาย ๆ ว่าท่านอยู่ตรงนั้น <O:p</O:p
    อย่าลืมว่านี่ไม่ใช่ตาเห็น เพราะฉะนั้นอย่าใช้สายตาเพ่ง กำหนดความรู้สึกทั้ง หมดอยู่ที่ภาพพระพุทธรูป ง่าย ๆ สบาย ๆ จะชัดหรือไม่ชัด จะเห็นหรือไม่เห็นก็ช่างมัน ขอให้เรามั่นใจว่าตรงหน้าเรามีภาพพระอยู่ก็ใช้ได้ <O:p</O:p
    หายใจเข้า ดึงลมหายใจจาก ภาพพระ ผ่านจมูก ผ่านอก ไปสุดที่ท้อง หายใจออก ลมหายใจออกจากท้อง ผ่านอก ผ่านจมูก ไปสุดที่พระ หายใจเข้าจากพระ ผ่านจมูก อก ท้อง หายใจออกจากท้อง อก จมูก ไปสุดที่พระ หายใจเข้า พุท หายใจออกโธ <O:p</O:p
    ยิ่งภาวนามาก ยิ่งหายใจเข้าออกมาก ภาพพระก็ยิ่งสว่างขึ้น ชัดเจนขึ้น แจ่มใสขึ้น พุท หายใจเข้า โธ หายใจออก พุท หายใจเข้าภาพพระสว่างขึ้น โธ หายใจออกภาพพระสว่างขึ้น <O:p</O:p
    เมื่อกำลังใจของเรานิ่งดีแล้ว สนิทแนบแน่นอยู่กับภาพพระนั้นแล้ว คราวนี้ให้กำหนดใจพร้อมกับคำภาวนาว่า ขอให้ภาพพระนี้ใหญ่ขึ้น หายใจเข้าภาพพระก็ใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น หายใจออกภาพพระก็ใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น <O:p</O:p
    เอาทีละน้อย อย่ากำหนดพรวดพราดทีเดียว เราต้องการผล คือต้องการคุณภาพ ไม่ได้ต้องการความคล่องตัวมาก ปริมาณมาก หายใจเข้า พุท หายใจออก โธ หายใจเข้าภาพพระใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น หายใจออกภาพพระใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น <O:p</O:p
    กำหนดใจจดจ่อแน่วแน่ อยู่กับภาพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเบื้องหน้าของเรา หายใจเข้าท่านก็ใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น หายใจออกท่านก็ใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น จนกระทั่งภาพพระโตขึ้นเรื่อย ๆ โตเต็มไปทั้งแผ่นดินแผ่นฟ้า โตเต็มไปทั้งจักรวาล สว่างไสวอย่างหาประมาณไม่ได้ อยู่ข้างหน้าของเรา<O:p</O:p
    จากนั้น กำหนดกำลังใจ ขอให้ภาพพระเล็กลง เล็กลงแบบช้า ๆ หายใจเข้าภาพพระเล็กลง แต่ยังคงสว่างไสวอยู่เหมือนเดิม หายใจออกภาพพระเล็กลง แต่ยังคงสว่างไสวอยู่เหมือนเดิม <O:p</O:p
    หายใจเข้าภาพพระเล็กลง หายใจออกภาพพระเล็กลง จนกระทั่งภาพพระลงมาเหลือเท่าเดิม แค่ที่เราเห็นได้สบาย ๆ ภาพพระตรงหน้าของเราเล็กลง พอที่เราจะกำหนดได้สบาย ๆ สว่างไสวอยู่ตรงหน้า<O:p</O:p
    จากนั้น กำหนดต่อไปว่า หายใจเข้าภาพพระเล็กลง แต่ยังคงสว่างไสวอยู่อย่างนั้น หายใจออกให้ภาพพระใหญ่ขึ้น สว่างขึ้น หายใจเข้าให้ภาพพระเล็กลงสว่างอยู่อย่างนั้น หายใจออกให้ภาพพระใหญ่ขึ้นสว่างไสวขึ้น <O:p</O:p
    เข้าเล็กลง ออกใหญ่ขึ้น ลมหายใจเข้าภาพพระเล็กลง ลมหายใจออกภาพพระใหญ่ขึ้น จากนั้นกำหนดใจให้นิ่งเบา ๆ สบาย ๆ อยู่ที่ภาพพระนั้น ให้ภาพพระเป็นภาพพระที่เราชอบใจ อยู่ในขนาดที่เรากำหนดได้สบาย ๆ จะใหญ่จะเล็กอยู่ที่เราชอบ <O:p</O:p
    แล้วกำหนดจิตดึงเอาภาพพระนั้นเข้ามาไว้เหนือศีรษะของเรา ตอนนี้ภาพพระมาสว่างไสวอยู่เหนือศีรษะของเรา หันหน้าไปด้านเดียวกับเรา จากนั้น เราหายใจเข้าให้ภาพพระไหลจากศีรษะ ผ่านอก ลงไปที่ท้อง เป็นองค์เล็ก <O:p</O:p
    หายใจออกให้ภาพพระไหลจากท้อง ผ่านอก ขึ้นไปบนศีรษะ เป็นองค์ใหญ่ หายใจเข้า ภาพพระเป็นองค์เล็ก สว่างไสวอยู่ที่ท้อง หายใจออก ภาพพระกลายเป็นองค์ใหญ่ ไปสว่างไสวอยู่เหนือศีรษะ <O:p</O:p
    หายใจเข้าภาพพระเล็กลง ไปสุดอยู่ที่ท้อง สว่างใสสะอาดอยู่ที่นั่น หายใจออกภาพพระเลื่อนขึ้นไปอยู่บนศีรษะ เป็นองค์ใหญ่สว่างไสวอยู่ที่นั่น คราวนี้กำหนดภาพพระให้อยู่บนศีรษะนิ่งๆ สว่างไสวอยู่อย่างนั้น <O:p</O:p
    จากนั้น ขอให้ความสว่างจากภาพพระแผ่คลุมตัวของเราลงมา จากศีรษะลงมาถึงหน้าผาก ถึงดวงตา ถึงจมูก ถึงปาก ถึงคาง ถึงไหล่ ถึงต้นแขน ถึงปลายแขน สะโพก ส้นเท้า ปลายเท้า ภาพพระที่แผ่รัศมีสีขาวใสสะอาดคลุมลงมา จนกระทั่งตัวเราก็ใส ก็สว่างเหมือนกับภาพพระไปด้วย <O:p</O:p
    จากนั้น ดึงเอาภาพพระเข้ามาในอกของเรา ให้สว่างไสวไปทั้งกายของเรา กำหนดใจให้ความสว่างจากองค์พระ แผ่กว้างจากตัวของเราออกไปรอบข้าง ลักษณะเหมือนกับโยนดินหรือหินลงในน้ำ แล้วน้ำกระเพื่อมเป็นวงแผ่กว้างออกไป กว้างออกไป <O:p</O:p
    ให้กำหนดใจว่า รัศมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเมตตาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ รัศมีสีขาวใสสว่างที่แผ่กว้างออกไปทุกที ๆ ตั้งใจว่าเราไม่เป็นศัตรูกับใคร เราเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั่วทั้งโลก <O:p</O:p
    ..ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น จงอย่าได้มีเวรมีกรรมและเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอให้พากันล่วงพ้นจากความทุกข์ มีแต่ความสุขโดยเสมอหน้ากันเถิด..<O:p</O:p
    กำหนดภาพพระให้สว่างไสว แผ่กว้างออกไปทุกที ๆ กว้างเต็มไปทั้งสถานที่นี้ เต็มไปทั้งวัดนี้ กว้างเต็มไปทั้งตลาด ทั้งหมู่บ้าน ทั้งตำบล ทั้งอำเภอ ทั้งจังหวัด กว้างออกไป กว้างออกไป ให้ตั้งใจด้วยความปรารถนาดีอย่างจริงใจว่า<O:p</O:p..มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ผู้ที่ชีวิตของท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตกล่วงไปแล้วในวันหนึ่งคืนหนึ่ง ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงไปเสวยสุขในสุคติภพโดยทั่วหน้ากันเถิด.. <O:p</O:p
    กำหนดให้ภาพพระสว่างไสว แผ่รัศมีกว้างออกไปเรื่อย ๆ ครอบคลุมไปทั้งจังหวัด ทั้งประเทศ ทั้งทวีป ทั้งโลก จนกระทั่งโลกทั้งโลกก็เหมือนยังกับเป็นอะไรเล็ก ๆ อยู่ใต้ร่างกายของเรา <O:p</O:p
    รัศมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่แผ่กว้างไกลออกไป เหมือนกับทำให้ร่างกายของเราใหญ่โตเต็มแผ่นดินแผ่นฟ้า โลกทั้งโลกเหลือเพียงเล็กนิดเดียวอยู่ใต้กายของเรานี่เอง ไม่มีจุดไหนที่กำลังจากเมตตาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความใสสว่างเยือกเย็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะแผ่ไปไม่ถึง ให้ตั้งใจว่า<O:p</O:p
    ..มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ผู้ที่ชีวิตของท่านทั้งหลายเหล่านั้น ตกอยู่ในความทุกข์ยาก เศร้าหมอง เดือนร้อน ลำเค็ญ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ เจ็บไข้ได้ป่วย พิกลพิการใดๆ ก็ดี ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงได้ล่วงพ้นจากความทุกข์ทั้งหลายนั้นเถิด..<O:p</O:p
    กำหนดใจให้พระรัศมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่กว้างออกไป กว้างออกไป ทั่วทั้งโลกนี้ ทั่วทั้งจักรวาลนี้ ทั่วทั้งจักรวาลอื่น สรรพสัตว์ทั้งหลายไม่ว่าจะอยู่ในดวงดาวไหน จักรวาลไหน ก็มีส่วนรับในพระเมตตาบารมี ที่ใสสะอาด สว่าง เยือกเย็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยทั่วถึงกัน ให้ตั้งใจว่า<O:p</O:p
    ..มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น ผู้ที่ชีวิตของท่านทั้งหลายเหล่านั้น มีความสุขความเจริญดีอยู่แล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงมีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยเถิด..<O:p</O:p
    กำหนดให้พระเมตตาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แผ่กว้างไกลออกไปจากอนันตจักรวาลทั้งหลาย ไปสู่ภพภูมิของเหล่าสัตว์นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ทั้งหมด เทวดาทั้งหมด มารทั้งหมด พรหมทั้งหมด ตลอดจนพระทุกองค์ในพระนิพพาน <O:p</O:p
    ให้กำลังใจนี้แผ่ไปจนถึงทุกภพทุกภูมิ ทุกหมู่ทุกเหล่า ตั้งความปรารถนาไว้ว่าขอให้เขาพ้นทุกข์ มีแต่ความสุขโดยทั่วหน้ากัน ให้กำหนดใจว่า <O:p</O:p
    ..มนุษย์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น พึงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กันและกัน เสียสละให้ปัน ช่วยเหลือเกื้อ กูลแก่ผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์ยากยิ่งกว่าตน ให้พ้นทุกข์ เพื่อยังโลกนี้ไปสู่สันติสุขอันสมบูรณ์ด้วยเถิด..<O:p</O:p
    กำหนดให้ภาพขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เลื่อนสูงขึ้น ลอยสูงขึ้นสูงขึ้นไป สูงขึ้นไปสู่เขตของอากาศเทวดา สู่เขตของพรหมทั้งหลาย จนกระทั่งไปปรากฏอยู่ในพระนิพพานเป็นปกติ <O:p</O:p
    ตอนนี้ให้กำหนดว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในพระวิมานบนพระนิพพาน สว่างไสวอยู่ตรงหน้าของเรา น้อมจิตน้อมใจกราบลงตรงนั้น ตั้งใจว่าภายใต้เมตตาพระบารมีขององค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ <O:p</O:p
    ถ้าหากว่ามีกิจใดที่ลูกทั้งหลายจะกระทำแล้ว เพื่อเกื้อพระศาสนา เพื่อแบ่งเบาภาระของหลวงปู่ หลวงพ่อ และเพื่อมรรคผลนิพพานของลูกเอง ขอให้ลูกทั้งหลายสามารถทำกิจนั้นได้สำเร็จลุล่วงโดยพลัน<O:p</O:p
    ธรรมใดที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุงได้รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ขอให้ลูกทั้งหลายได้รู้เห็นธรรมนั้นในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด กำหนดใจให้แน่วนิ่งอยู่กับภาพพระที่สว่างไสวอยู่ตรงหน้า<O:p</O:p
    สำหรับวันนี้ จริง ๆ แล้วจะสอนในเรื่องของพรหมวิหาร ๔ แต่พรหมวิหาร ๔ ในขณะที่เราวางกำลังใจนั้น มันทรงตัวยาก จึงได้แนะนำให้ใช้ประกอบกับภาพพระ ประกอบกับลมหายใจเข้าออก กำหนดให้ทรงเป็นฌานเต็มที่ไปเลย <O:p</O:p
    พรหมวิหาร ๔ เป็นกำลังใจที่ทรงได้ยาก เพราะว่าต้องออกมาจากน้ำใสใจจริงของเราเอง ดังนั้น ถ้าไม่อาศัยเกาะกับภาพพระ ไม่อาศัยเกาะกับลมหายใจเข้าออก เราจะทำให้ทรงตัวลำบาก<O:p</O:p
    พรหมวิหาร ๔ ประกอบไปด้วย<O:p</O:p
    ๑.เมตตา คือรักเขาเสมอด้วยตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นหญิงหรือชาย ยากจน ร่ำรวย สวยงาม หรืออัปลักษณ์ เราก็มีความรักความปรารถนาดีต่อเขา โดยเสมอหน้ากัน <O:p</O:p
    ๒.กรุณา มีความสงสาร ปรารถนาที่จะช่วยเหลือเขาทั้งหลาย ให้พ้นจากความทุกข์ เต็มสติกำลังที่เราทำได้ <O:p</O:p
    ๓.มุทิตา เมื่อเห็นเขาอยู่ดีมีสุขก็พลอยยินดีด้วย ไม่มีความอิจฉาริษยาใด ๆ <O:p</O:p
    ๔.อุเบกขา เมื่อขวนขวายสงเคราะห์เต็มที่แล้ว ไม่สามารถช่วยให้เขาดีกว่าเดิมได้ ก็ปล่อยวาง ยอมรับว่าเป็นกฎของกรรม<O:p</O:p
    เมตตาบารมีนี้มีอานิสงส์มาก ท่านกล่าวไว้ว่า หลับอยู่ก็เป็นสุข ตื่นอยู่ก็เป็นสุขจะไม่ฝันเห็นสิ่งร้าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายจะรักษาเรา จะไม่เป็นอันตรายด้วยอำนาจของอาวุธ ของไฟ ของยาพิษ <O:p</O:p
    ช่วยให้สมาธิทั้งหลายทรงตัวได้ง่าย ช่วยให้ศีลทั้งหลายมีความทรงตัวได้ง่าย เป็นผู้ที่มีหน้าตาผิวพรรณแจ่มใสอยู่เสมอ เพราะว่าจิตประกอบไปด้วยความเมตตาเป็นปกติ ถ้าหากว่าตายก็จะเป็นผู้ที่ไม่หลงตาย <O:p</O:p
    เพราะว่าจิตใจสงบเยือกเย็น เกาะความดีเป็นปกติ ถ้าหากว่าเข้าไม่ถึงพระนิพพาน ก็จะมีพรหมเป็นที่ไปเป็นปกติ อานิสงส์ของเมตตาพรหมวิหารทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าใครปฏิบัติได้ ก็จะทรงอยู่กับตนตลอดเวลา <O:p</O:p
    เป็นที่รักของคนทั่วไป เป็นที่รักของสัตว์ทั่วไป เป็นที่รักของเทวดา มาร พรหม ตลอดจนเข้าถึงพระนิพพานได้ง่าย เมตตาพรหมวิหารนี้ถ้าทรงตัวได้จริงๆ อานิสงส์ต่ำสุดจะเกิดเป็นพรหมเป็นปกติ กำลังในการปฏิบัติของเรา เมื่อเราตั้งใจหวังสงเคราะห์ผู้อื่น มีความรักความสงสาร อยากช่วยเหลือให้เขาพ้นทุกข์ เป็นผู้ไม่นิ่งดูดายในความลำบากของคนอื่น ไม่มีความอิจฉาริษยาใคร พลอยยินดีเมื่อเห็นเขาอยู่ดีมีสุข<O:p</O:p
    และสำคัญที่สุดตัวอุเบกขา ถ้าหากว่าไม่สามารถจะสงเคราะห์ได้ โดยการพยายามทุกอย่างเต็มที่แล้ว ก็รู้จักปล่อยวาง เพื่อจิตใจของเราจะได้ไม่เศร้าหมอง อารมณ์ของเราจะได้ทรงตัวผ่องใสเป็นปกติ <O:p</O:p
    ถ้าทำไปเรื่อยๆ มันจะเป็นสังขารุเปกขาญาณ รู้จักปล่อยวางในสังขารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสังขารที่เป็นขันธ์ ๕ มันจะอยู่หรือมันจะตายก็เรื่องของมัน มันอยู่เราดูแลรักษามันด้วยความรักความเมตตาอย่างเต็มที่ ถ้ารักษาแล้วมันไม่ดีขึ้น มันจะตาย ก็เป็นเรื่องของมัน<O:p</O:p
    เราสงเคราะห์ช่วยเหลือคนอื่น สัตว์อื่นอย่างเต็มที่ ถ้าสงเคราะห์ช่วยเหลือเต็มที่แล้ว ไม่สามารถที่จะสงเคราะห์ได้ เราก็ปล่อยวาง เป็นเรื่องของกฎของกรรม<O:p</O:p
    ถ้าหากว่าจิตใจทรงสังขารุเปกขาญาณอย่างนี้เป็นปกติ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในโลกนี้ ไม่มีความปรารถนาจะเกิดเป็นเทวดา เป็นพรหม ขึ้นชื่อว่าการเกิดที่เป็นทุกข์เราไม่ต้องการ เราต้องการพระนิพพานแห่งเดียว <O:p</O:p
    เอาจิตจดจ่อให้มั่นคง อยู่เบื้องหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในนิพพานอย่างที่สอนมาแต่แรก กำหนดใจให้ภาพพระสว่างไสวอยู่เฉพาะหน้าของเรา ตั้งใจว่านี่คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ท่านประทับอยู่ในพระนิพพาน <O:p</O:p
    ถ้ามันหมดอายุขัย ตายลงก็ดี หรือว่ามันตายด้วยอุบัติเหตุ อันตรายใดๆ ก็ดี เราขอมาอยู่ที่นี่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ ขอมาอยู่ที่พระนิพพานนี้แห่งเดียว<O:p</O:p
    สำหรับตอนนี้ เวลาที่จะทำต่อไม่เพียงพอแล้ว ขอให้ทุกคนคลายกำลังใจออกมาช้า ๆ เอาความรู้สึกส่วนหนึ่งจับภาพพระให้เป็นปกติ ให้เห็นภาพพระชัดเจนสว่างไสว สะอาดเยือกเย็นนั้นเป็นปกติ ส่วนกำลังอีกส่วนหนึ่งเราจะได้ควบคุมร่างกาย เพื่อทำหน้าที่ของเราต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ<O:p</O:p
    วันอาทิตย์ที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
    สมเด็จองค์ปฐม วัดพระธาตุจอมสวรรค์ และหลวงพ่อหยกเจ็ดสี <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2007
  9. first

    first เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2005
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +4,990
    ๒๔. อุปกิเลส ๑๐ อรูปฌาน ๔

    ในการปฏิบัติธรรมของเรานั้น เราจะพบกับอารมณ์ใจในระดับต่าง ๆ ที่ความจริงแล้วเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเราขาดปัญญากับการพิจารณา ไปน้อมใจเชื่อเข้าว่านั่นเป็นธรรมะแท้ นั่นเป็นมรรค นั่นเป็นผล นั่นเป็นที่สุดของการปฏิบัติ มันก็จะกลายเป็นกิเลสทันที บาลีเรียกว่าอุปกิเลส <O:p></O:p>
    อุปกิเลสมีอยู่ด้วยกัน ๑๐ ประการ ด้วยกัน<O:p></O:p>
    ๑. โอภาส แปลว่า แสงสว่าง เมื่อท่านปฏิบัติไป จิตเริ่มเข้าถึงอุปจารสมาธิ จะเห็นเป็นแสงสว่างขึ้นมา สว่างมาก ๆ บางทีถึงขนาดเราคิดว่า มีใครเอาไฟมาส่องหน้าก็มี หรือสว่างแต่น้อย ๆ ก็มี แสงจะเป็นจุด เป็นแต้ม เป็นขีด เป็นดวงก็มี <O:p</O:p
    หลายรายคิดว่า พอเห็นแสงสว่างก็คือบรรลุแล้ว เข้าถึงจุดที่ตัวเองต้องการแล้ว จริง ๆ แล้วนั่นยังไม่ได้ขึ้นชั้นอนุบาลเลย ฉะนั้น ถ้ามีแสงสว่างเกิดขึ้น ให้ทำใจเฉย ๆ สบาย ๆ อยู่กับมัน ให้เข้าใจว่า นั่นเป็นเรื่องปกติของการปฏิบัติ ถ้าเราไม่สนใจมัน สมาธิก็จะเจริญก้าวหน้ามากขึ้น <O:p</O:p
    ๒. ปีติ แปลว่า ความอิ่มเอิบใจ ตัวปีติมีทั้ง ขณิกาปีติ ขนจะลุกซู่ซ่าเป็นพัก ๆ ขุททกาปีติ น้ำตาไหล โอกกันติกาปีติ ตัวโยกไปโยกมา หรือเกิดอาการดิ้นเหมือนอย่างกับการปลุกพระ หรือผีเจ้าเข้าสิง <O:p</O:p
    อุเพ็งคาปีติ ลอยขึ้นทั้งตัว ลอยไปรอบสถานที่ หรือว่าลอยไปไกล ๆ ก็ได้ ผรณาปีติ รู้สึกว่าตัวพอง ตัวใหญ่ ตัวรั่ว ตัวทะลุ มีสิ่งต่าง ๆ หลั่งไหลจากร่างกายออกมามากมาย หรือบางรายก็รู้สึกว่า แตกระเบิดละเอียดไปเลยก็มี <O:p</O:p
    นี่ยังไม่ขึ้นประถมหนึ่งเลย แต่หลายรายพอเกิดอาการดังนี้ ก็คิดตัวเองบรรลุเสียแล้ว ยิ่งถ้าหากว่าลอยได้ ก็คิดว่าเราบรรลุมรรคผลแล้วถึงได้เหาะได้ บินได้อย่างนี้ ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมาก ยกเว้นว่า ถ้าเราจะรู้เท่าทันมัน ไม่ได้สนใจ ไม่ได้ใส่ใจในมัน ปล่อยให้มันเกิดขึ้นเต็มที่ ถึงวาระมันก็จะก้าวข้ามไปเอง<O:p</O:p
    ๓. ปัสสัทธิ แปลว่า ความสงบ ความสงบระงับนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อจิตก้าวเข้าสู่ภาวะของปฐมฌานเป็นอย่างน้อย รัก โลภ โกรธ หลง ที่เป็นไฟใหญ่สี่กอง จะโดนอำนาจของฌานกดดับสนิท แต่เป็นการดับเพียงชั่วคราว <O:p</O:p
    ยิ่งเป็นฌานสี่แล้ว ยิ่งนิ่งสนิทชนิดที่รัก โลภ โกรธ หลง ไม่มีโอกาสที่จะเกิดได้เลย ยกเว้นจะคลายสมาธิออกมา ทำให้คนเข้าใจว่าตัวเองเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว เพราะไม่มีรัก โลภ โกรธ หลง เหลืออยู่เลย ทำให้ไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติ<O:p</O:p
    ๔. อธิโมกข์ แปลว่า น้อมใจเชื่อ พอกำลังใจเริ่มเป็นทาน เริ่มเป็นสมาธิ เริ่มเห็นคุณความดีในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เริ่มเห็นคุณความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จิตใจก็จะน้อมเชื่อ แบบปราศจากปัญญาประกอบ <O:p</O:p
    ถ้าหากว่าเป็นอธิโมกขศรัทธา เชื่อโดยไม่มีปัญญาประกอบ บางทีก็อาจจะโดนพาหลงไปได้ง่าย ยิ่งถ้ามีทิพจักขุญาณอยู่ด้วย โดนชักนำโดยเทวปุตตมารก็ดี โดยกิเลสมารก็ดี จะคิดว่าตัวเองได้ดีแล้ว ได้มรรคได้ผลแล้ว ทั้ง ๆ ที่มันเป็นแค่ตัวศรัทธาเบื้องต้นเท่านั้น<O:p</O:p
    ๕. ปัคคาหะ แปลว่า มีความเพียรมาก บางคนเดินจงกรมกันข้ามวันข้ามคืน นั่งสมาธิกันข้ามวันข้ามคืน แล้วไปคิดว่า สิ่งที่ตัวเองทำได้มากนั้นคือมรรคผล อันนี้ก็เป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง <O:p</O:p
    นั่นเป็นแค่การปรารภความเพียรของเรา ซึ่งบางทีก็ประกอบไปด้วยกำลังของฌานสมาบัติ อารมณ์ใจทรงตัว ทำให้ไม่อิ่ม ไม่เบื่อไม่หน่ายในการปฏิบัติ บางรายทุ่มเทไม่กินไม่นอนเลยเป็นเวลาหลาย ๆ วันก็มี <O:p</O:p
    โอกาสที่ร่างกายทนไม่ไหว ประสาทร่างกายรับไม่ได้ ถึงเวลาจะเกิดอาการที่เรียกว่า สติแตก หรือ กรรมฐานแตก ก็มีมาก เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ต้องคอยระมัดระวังให้ดี<O:p</O:p
    ๖. สุข แปลว่า ความสุข เป็นความสุขเยือกเย็นจนบอกไม่ถูก พอกำลังใจเริ่มเข้าสู่เขตของฌาน สุขกับเอกัคตารมณ์ ที่เป็นอารมณ์ของฌานนั้น ต่างกันเพียงนิดเดียวเท่านั้นเอง ถ้าจิตไม่ละเอียดจริงๆ แยกมันไม่ออกซะด้วยซ้ำไป <O:p</O:p
    ความสุขของคนกำลังที่ทรงฌานนั้น มันสุขเยือกเย็นอย่างบอกไม่ถูก อย่างที่กล่าวแล้วว่า รัก โลภ โกรธ หลง ที่เป็นไฟเผาเราอยู่ โดนกดดับไป ความสุขเยือกเย็นนั้นอธิบายเป็นคำพูดไม่ได้ ทำให้เราหลายคนเข้าใจว่า ความสุขนี้คือมรรคผลที่เราต้องการ อันนั้นไม่ใช่ นี่เป็นแค่ความสุขในโลกียฌานเท่านั้น<O:p</O:p
    ๗. ญาณ แปลว่า เครื่องรู้ มีความรู้ต่าง ๆ เกิดขึ้น จากอำนาจของทิพจักขุญาณ สามารถเห็นผี เห็นเทวดา เห็นนรก เห็นสวรรค์ได้ ก็ไปคิดว่านั่นเป็นมรรค เป็นผลแล้ว ความจริงญาณเป็นเครื่องมือสำหรับยืนยันคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น <O:p</O:p
    คือเครื่องรู้ที่เกิดขึ้นจะช่วยยืนยันได้ว่า นรกมี เปรตมี อสุรกายมี เทวดามี มารมี พรหมมี พระนิพพานมี แต่เราไปคิดว่าได้มรรคผลแล้ว ทำให้เราติดอยู่แค่นั้น ไม่สามารถจะก้าวข้ามไปสู่ความดีที่สูงกว่านั้นได้<O:p</O:p
    ๘. อุเบกขา แปลว่า ความวางเฉย กำลังใจปล่อยวาง ตั้งมั่น ไม่ยุ่งกับใครเลย รัก โลภ โกรธ หลง อะไรมากระทบก็ตาม เฉยอย่างเดียว ก็ทำให้คนเข้าใจผิดอีกเช่นกัน ว่านี่ได้มรรคได้ผลแล้ว <O:p</O:p
    ความจริงอุเบกขาแบบนั้น เป็นกำลังของโลกียฌานเท่านั้น ถ้าหากว่าเป็นกำลังของโลกุตตระ คือเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าจริง ๆ มันจะเป็นสังขารุเปกขาญาณ คือ การปล่อยวางเพราะพิจารณาเห็นจริงแล้ว สภาพจิตยอมรับมันว่ามีธรรมดาเป็นอย่างนั้น<O:p</O:p
    ถ้าหากว่ากระทบอะไรก็เฉย อันนั้นให้ระวังเอาไว้ ต้องสังเกตอารมณ์ใจตัวเอง ว่า ยังมีความหนักแน่นอยู่หรือเปล่า ? ถ้าหากว่ามีความหนักแน่นอยู่ นั่นเป็นกำลังของฌานเท่านั้น <O:p</O:p
    ถ้าหากว่าปล่อยวางได้แบบสบาย ๆ ไม่ต้องเสียเวลาไปกด ไม่ต้องเสีย เวลาไปบังคับมัน อันนั้นถึงจะเป็นความดีที่แท้จริง แต่ว่าอาจจะเป็นความดีขั้นต้น ๆ ก็ได้ ต้องระมัดระวังอยู่เสมอ<O:p</O:p
    ๙. อุปัฎฐาน แปลว่า จิตใจมีความตั้งมั่น คือ มันทรงตัวแน่วแน่ ด้วยกำลังของสมาธิ ไม่ว่าจะยุงกิน ริ้นกัด อะไรมากระทบ เสียงได้ยิน จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัสอะไรก็ตาม จิตใจมันตั้งมั่น ทรงตัว ไม่วอกแวก ไม่ไปปรุง ไม่ไปแต่งกับมัน ก็ทำให้คนเข้าใจว่าได้มรรคได้ผลแล้วเช่นกัน ความจริงก็ไม่ใช่อีก<O:p</O:p
    ๑๐. นิกกันติ แปลว่า มีความใคร่น้อย คือความอยากได้ใคร่ดีอะไรต่าง ๆ มันไม่มี หรือมีน้อยมาก อะไร ๆ ที่มากระทบ ที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้กลิ่น ที่ได้รส ที่สัมผัสก็ตาม มันไม่ได้อยากได้ใคร่ดีอะไรเลย อารมณ์กามราคะนิ่งสนิทแทบจะไม่ปรากฏ<O:p</O:p
    ตรงนี้ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะว่าตัวนี้มันก็คล้ายๆ กับตัวความสงบเช่นกัน เพราะว่าจิตเป็นฌานสมาบัติ เวลามีสิ่งที่มากระทบ มันสร้างความสะเทือนใจให้กับเราไม่ได้ ในเมื่อมันไม่สามารถจะสร้างความหวั่นไหวให้กับเรา ก็ทำให้เราเข้าใจว่า เราได้มรรคได้ผลแล้ว<O:p</O:p
    อุปกิเลส แปลว่า ใกล้กิเลส คือ จวนจะเป็นกิเลสอื่น ถ้าเรามีสติ มีสัมปชัญญะ มีปัญญาประกอบ เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่เสมอ อุปกิเลสก็จะเป็นแค่อุปกิเลสเท่านั้น แต่ถ้าเราไปคล้อยตามมัน คิดว่าตัวเองได้มรรคได้ผลแล้ว อันนั้นจะเป็นกิเลสทันที <O:p</O:p
    เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ต้องระมัดระวังให้ดี เมื่อมันเกิดขึ้น ให้มีสติรู้เท่าทันว่า มันเป็นแค่อุปกิเลสเท่านั้น ไม่อย่างนั้น ถ้าโดนมันชักมันจูง น้อมใจตามไป คิดว่าตัวเองได้มรรคได้ผลแล้ว ก็จะพาให้เสียการปฏิบัติ <O:p</O:p
    ยิ่งถ้ากำลังใจลดลง กิเลสเกิดขึ้นมาใหม่ รัก โลภ โกรธ หลง เกิดขึ้นมาใหม่ ก็จะเกิดอาการจิตตก กำลังใจตก สมาธิตก เพราะคิดว่าตัวเองชั่วเสียแล้ว บางคนทนไม่ได้ สติแตกเตลิดเปิดเปิงไปเลยก็มี<O:p</O:p
    สำหรับวันนี้ จะกล่าวถึงกรรมฐาน ๔ กองสุดท้าย เราได้เรียนมาแล้ว ๓๖ กอง คือ อนุสติ ๑๐ กสิณ ๑๐ อสุภกรรมฐาน ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัฎฐาน ๑ และพรหมวิหาร ๔ รวมเป็น ๓๖ กอง<O:p</O:p
    วันนี้จะกล่าวถึง ๔ กองสุดท้าย คือ อรูปฌาน ๔ อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องยาก แต่ว่าควรจะศึกษาเอาไว้ เมื่อถึงวาระที่กำลังมันเพียงพอ เราจะได้มีแนวทางปฏิบัติได้ง่าย <O:p</O:p
    เรื่องของอรูปฌานทั้ง ๔ กองนี้ เราต้องมีพื้นฐานมาจากกสิณ ๑๐ เมื่อได้กสิณทั้ง ๑๐ กองแล้ว เอากสิณ ๙ กอง คือ ปฐวีกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ อาโปกสิณ โลหิตกสิณ ปีตกสิณ โอทาตกสิณ นีลกสิณ และ อาโลกกสิณ <O:p</O:p
    ทั้ง ๙ กองนี้ กองใดกองหนึ่งยกขึ้นมาเป็นนิมิต เว้นไว้เสียแต่อากาสกสิณ เพราะว่าอากาสกสิณเป็นการจับความว่างอยู่แล้ว ลักษณะมันคล้ายคลึงกัน ถึงไม่สามารถนำมาใช้กับอรูปฌานทั้ง ๔ ได้ <O:p</O:p
    การปฏิบัติในอรูปฌานนั้น เราต้องทำกสิณได้คล่องตัว แล้วตั้งนิมิตของกสิณขึ้นมา เมื่ออารมณ์ใจทรงตัวเต็มที่แล้ว ผู้ที่ปฏิบัติในอรูปฌานจะมีอารมณ์คิดด้วยว่า <O:p</O:p
    ความทุกข์ทั้งหลายก็ดี สิ่งต่างๆที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สร้างความทุกข์ให้แก่เราก็ดี มันมีพื้นฐานมาจากร่างกายนี้คือรูปนี้ทั้งสิ้น<O:p</O:p
    ดังนั้น ท่านทั้งหลายเหล่านี้ จะตั้งความปรารถนาไว้ว่า เราไม่ต้องการร่างกายนี้อีกเราไม่ต้องการมีรูปนี้อีก เพราะมีเมื่อไหร่ก็ลำบากกับมันเมื่อนั้น จากนั้นก็กำหนดกำลัง ใจให้คิดถึงความว่างของอากาศแทน <O:p</O:p
    ในเมื่อจิตไม่ต้องการรูป ก็อธิษฐานขอให้ภาพกสิณนี้หายไป ให้ความว่างไร้ขอบเขตของอากาศปรากฏขึ้นแทน แล้วใช้คำภาวนาว่า อากาสา อนันตา..อากาสา อนันตา ว่าไปเรื่อย ๆ จนกำลังทรงเต็มที่ คือ เท่ากับฌานสี่ <O:p</O:p
    สำหรับอรูปฌานแรกนี้ นิมิตจะปรากฏเป็นอากาศที่กว้างขวางไม่มีที่สิ้นสุด สามารถย่อให้เล็กได้ ขยายให้ใหญ่ได้เช่นกัน ถ้าหากว่าทำได้ดังนี้แล้ว ก็ชื่อว่า ได้อรูปฌานที่หนึ่ง คือ อากาสานัญจายตนฌาน<O:p</O:p
    เราก็ทำอรูปฌานที่สองต่อไป ให้ตั้งภาพกสิณขึ้นมา แล้วกำหนดถึงความไม่มีขอบเขตของอากาศ จนกระทั่งอารมณ์ใจทรงตัวแล้ว จากนั้นใช้อารมณ์คิดต่อไปว่า ถึงแม้ว่าอากาศนั้นจะกว้างขวางไม่มีที่สิ้นสุด แต่ยังมีวิญญาณ(สภาพจิตที่รับรู้ของเรา) สามารถกำหนดมันได้อยู่ <O:p</O:p
    ดังนั้น แม้ว่าเราไม่มีกายแล้ว แต่ถ้ายังมีจิต คือ วิญญาณในการรับรู้นี้ มันก็ยังสามารถรู้สุข รู้ทุกข์ได้ ดังนั้น เราไม่ต้องการแม้แต่วิญญาณนี้ แล้วภาวนาว่า วิญญาณัง อนันตัง..วิญญาณัง อนันตัง <O:p</O:p
    จับความไม่มีขอบเขตของวิญญาณ คือ ความไม่ปรารถนาแม้แต่ร่างกายนี้ แม้แต่จิตนี้ไปเรื่อย พร้อมกับคำภาวนา จนทรงตัวเป็นฌานสี่เต็มที่ของมัน ก็ได้ชื่อว่าเราปฏิบัติใน วิญญาณัญจายตนฌาน เป็นอรูปฌานที่สองได้<O:p</O:p
    หลังจากนั้น ก็ให้ปฏิบัติในอรูปฌานที่สามต่อไป คือ ตั้งภาพกสิณขึ้นมาเช่นเดิม แล้วทิ้งภาพนั้นเสีย พิจารณาต่อว่า การมีรูปนี้ก็ดี การมีจิตวิญญาณนี้ก็ดี มันก็ล้วนแต่เป็นตัวพาให้ทุกข์ พาให้ลำบากทั้งสิ้น ความจริงแล้วทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่มีอะไรทรงตัวอยู่ได้<O:p</O:p
    แม้แต่ภาพกสิณที่เราตั้งขึ้นมา มันก็ทรงตัวไม่ได้ เพราะว่าเราต้องเพิกมันทิ้งเสีย ไปจับความไม่มีอะไรทรงตัวเหลืออยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างในที่สุดมันก็สลาย ก็ตาย ก็พังไปทั้งสิ้น คน สัตว์ วัตถุธาตุ สิ่งของ บ้านเรือนโรง ภูเขา อะไรก็ตาม <O:p</O:p
    ในที่สุดมันก็สลายลง ไม่มีแม้แต่นิดเดียวจะหลงเหลืออยู่ได้ แล้วจับคำภาวนาว่า นัตถิ กิญจิ..นัตถิ กิญจิ กำหนดใจว่าไม่มีอะไรเหลืออยู่แม้แต่น้อยหนึ่ง จนอารมณ์ใจทรงเป็นฌานสี่เต็มที่ ก็ชื่อว่าเราทำอรูปฌานที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนฌานได้แล้ว <O:p</O:p
    เมื่อได้อรูปฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ แล้ว ก็ให้ทำอรูปฌานที่ ๔ ก็คือ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อันนี้จะจับยากอยู่ซักนิดหนึ่ง เพราะว่ามีสัญญา(ความรู้ได้หมายจำ) ทำเป็นเหมือนคนไม่มีสัญญา <O:p</O:p
    เห็นก็ทำเป็นไม่เห็น ได้ยินก็ทำเป็นไม่ได้ยิน ได้กลิ่นก็ทำเป็นไม่ได้กลิ่น ได้รสก็ทำเป็นไม่ได้รส สัมผัสก็ทำเป็นไม่ได้สัมผัส มันร้อนถ้าหากว่าป้องกันได้ ก็ป้องกันให้มัน ถ้าป้องกันไม่ได้ มันอยากร้อนก็เรื่องของมัน <O:p</O:p
    มันหนาวถ้าป้องกันได้ ก็ป้องกันให้มัน ถ้ามันป้องกันไม่ได้ ก็เรื่องของมัน มันหิวถ้ามีให้มันกินก็กิน ถ้าไม่มีให้มันกินก็เรื่องของมัน มันกระหายถ้ามีให้มันดื่มก็หาให้มันดื่ม ถ้าไม่มีก็เรื่องของมัน <O:p</O:p
    ทำตัวเหมือนคนไม่มีสัญญา กระทบอะไรก็อยู่แต่ในกำลังของสมาธิ กำลังของฌานอย่างเดียว เมื่อตั้งภาพกสิณขึ้นมาแล้ว เพิกภาพนั้นหายไป จับอยู่ในอารมณ์ของการมีสัญญา เหมือนกับไม่มีสัญญา จนกำลังใจทรงตัวเป็นฌานสี่เต็มที่ ก็ชื่อว่าเราทำอรูปฌานที่ ๔ คือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานได้แล้ว <O:p</O:p
    จากนั้นให้พยายามสลับการเข้าฌานไปมาให้คล่องตัว เป็นอรูปฌานที่ ๑ อรูปฌานที่ ๔ อรูปฌานที่ ๒ อรูปฌานที่ ๓ หรือว่า ๑ ๒ ๓ ๔ แล้ว ๔ ๓ ๒ ๑ สลับเข้าสลับออกอย่างนี้จนเคยชิน กำลังของอรูปฌานนี้มีอานุภาพมาก มีกำลังสูงมาก <O:p</O:p
    โดยเฉพาะมีอารมณ์คิดที่ใกล้เคียงวิปัสสนาญาณมาก โบราณาจารย์จึงได้กล่าวว่า ถ้าใครได้อรูปฌานแล้วเจริญวิปัสสนาญาณต่อ แค่ชั่วเคี้ยวหมากแหลกเดียวก็เป็นพระอรหันต์ไปแล้ว <O:p</O:p
    ตอนนี้พวกท่านไม่สามารถทำให้เต็มที่ได้ ก็ลองฝึกลองซ้อมดูก่อน เพื่อจะได้เป็นแนวทางที่เราเข้าถึงไว้ เมื่อถึงเวลาที่เราทรงฌานสมาบัติได้เต็มที่ เราก็มาฝึกปรือของเราต่อไป เพื่อให้เข้าถึงที่สุดของมัน <O:p</O:p
    กำลังของอรูปฌานนี้เนื่องจากว่ามีพื้นฐานมาจากกสิณแล้ว มีความคล่องตัวมาจากกสิณแล้ว ดังนั้น ถ้าหากว่าก้าวเข้าถึงความเป็นอริยเจ้า ตั้งแต่พระอนาคามีขึ้นไป ก็จะเกิดเป็นปฏิสัมภิทาญาณขึ้น คือ มีความสามารถครอบคลุมทั้งสุขวิปัสสโก วิชชาสาม อภิญญาหก <O:p</O:p
    ผู้ที่ได้ฤทธิ์ได้อภิญญาทำอะไรได้ ผู้ได้ปฏิสัมภิทาญาณก็ทำได้ และมีความคล่องตัวกว่า ทั้งยังมีความสามารถพิเศษก็คือ <O:p</O:p
    ๑.อัตถปฏิสัมภิทา มีความสามารถรู้ธรรมะได้ลึกซึ้ง ครบถ้วนบริบูรณ์ รู้ทุกเนื้อหาอย่างเข้าถึงแก่น แจกแจงได้ละเอียดลออครบถ้วน<O:p</O:p
    ๒.ธัมมาปฏิสัมภิทา มีความเข้าใจธรรมะอย่างทั่วถึง ว่าแต่ละหัวข้อมีที่มาที่ไปอย่างไร ชี้แจงเหตุผลได้อย่างแจ่มแจ้ง<O:p</O:p
    ๓.ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีความคล่องแคล่ว สามารถอธิบายเรื่องราวทุกอย่างได้ชัดเจน จะโดยย่อก็ดี โดยพิสดารก็ดี อย่างละเอียดลึกซึ้งก็ดี หรือว่าโดยสั้น ๆ ก็ดี อธิบายได้ถูกต้องแจ่มแจ้ง โดยไม่เสียใจความและไม่เยิ่นเย้อ <O:p</O:p
    ๔.นิรุตติปฏิสัมภิทา คือ สามารถรู้ทุกภาษา ไม่ว่าจะภาษาคน ภาษาสัตว์ ภาษาดวงดาวไหน ภาษาของภพไหน ภูมิไหน จะมีความเข้าใจทั้งหมด <O:p</O:p
    อย่าลืมว่าอานุภาพของปฏิสัมภิทาญาณสี่นั้น กว้างขวางมาก สูงมาก ดังนั้น ถึงแม้ท่านจะทำอรูปฌานได้คล่องแล้ว ถ้ายังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า ตั้งแต่อนาคามีขึ้นไป ปฏิสัมภิทาญาณทั้งสี่ก็จะไม่ปรากฏแก่ท่าน<O:p</O:p
    ดังนั้น จึงให้เราศึกษาแนวทางเอาไว้ ถึงเวลาจะได้ลองทำดู จะได้ปฏิบัติดู ที่กล่าวมานี้ เพราะว่าจริตนิสัยของคนแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน บางทีพื้นฐานของท่าน อาจจะมีของเก่ามาแล้ว ในกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง ถึงได้ต้องกล่าวตั้งแต่อานาปานุสติกรรมฐานขึ้นมา จนกระทั่งอรูปฌาน ๔ รวมแล้ว ๔๐ กองครบถ้วน <O:p</O:p
    เพื่อที่เราชอบใจกองไหน จะได้ใช้กองนั้น แต่อย่าลืมว่า ถ้าเราทำกรรมฐานกองไหนได้แล้ว ถึงเวลาเราจะก้าวขึ้นกองต่อไป ต้องทบทวนของเก่าให้มีความคล่อง ตัวอยู่เสมอ ให้ได้เต็มที่เท่าที่เราทำได้ แล้วค่อยขยับไปกองต่อไป หรือว่าถ้าเราถนัดกองใดกองหนึ่ง จับเฉพาะกองใดกองหนึ่ง ทำให้ได้มรรคให้ได้ผลไปเลย ก็จะเป็นเรื่องที่วิเศษยิ่ง <O:p</O:p
    ความจริงในการปฏิบัตินั้น ถ้ามีความคล่องตัวแล้ว เราสามารถที่จะประยุกต์กรรมฐานหลาย ๆ กองเข้าด้วยกัน จนเป็นระบบการปฏิบัติเฉพาะตัวของเราเอง อย่างที่ผมสอน พวกท่านไปในตอนแรก ๆ <O:p</O:p
    ถ้ารู้จักพิจารณาแยกแยะ จะเห็นว่ากรรมฐานเกือบทั้ง ๔๐ กอง จะรวมอยู่ในนั้นทั้งหมดแล้ว เพียงแต่ท่านจะแยกมันออกหรือไม่เท่านั้น ความจริงแล้วกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง เมื่อเราทำจริง ๆ ก็เข้าถึงที่สุดได้ทั้งสิ้น <O:p</O:p
    แต่เนื่องจากว่าสายครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่ปานก็ดี หลวงพ่อวัดท่าซุงก็ดี ท่านศึกษามาในกรรมฐาน ๔๐ และทำได้คล่องตัวทุกกอง เมื่อตกทอดมาถึงยุคของพวกเรา ก็ควรที่จะเลียนแบบปฏิปทาของครูบาอาจารย์ไว้<O:p</O:p
    เราศึกษากรรมฐาน ๔๐ เอาให้ได้มากกองที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อว่าถึงเวลาไปพบกับหลักการปฏิบัติแนวอื่น เราจะได้รู้ว่ามาจากกรรมฐานกองไหน จะได้ไม่ต้องไปปฏิเสธเขาว่าอันนี้ใช้ไม่ได้ เพราะว่าหลักการปฏิบัติทั้งหมด ล้วนแล้วแต่อยู่ในกรรมฐาน ๔๐ และมหาสติปัฏฐานสูตรทั้งสิ้น เพียงแต่จะยกจุดไหนขึ้นมาเท่านั้น <O:p</O:p
    ธรรมะเฉพาะของแต่ละสายไม่มี ธรรมะเฉพาะของแต่ละครูบาอาจารย์ไม่มี ธรรมะทั้งหลายทั้งปวงล้วนแล้วแต่เป็นของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น พระองค์ท่านรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ถึงได้นำมาสั่งสอนสืบต่อ ๆ กันมา <O:p</O:p
    เพียงแต่ว่าครูบาอาจารย์ท่านใดถนัดแบบไหน ท่านก็นำแบบนั้นมาสอน แล้วทำให้ลูกศิษย์ไปเที่ยวแยกว่า เป็นสายนั้น เป็นสายนี้ ความจริงก็สายพระพุทธเจ้าทั้งหมดนั้นเอง <O:p</O:p
    เราทำไม่ได้คล่องตัวทั้ง ๔๐ กอง เอากองใดกองหนึ่งเป็นหลัก แล้วพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยงของร่างกายนี้ว่า มันเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด <O:p</O:p
    ในขณะที่ดำรงชีวิตอยู่ก็มีแต่ความทุกข์ เกิดอีกเมื่อไหร่ก็ต้องทุกข์อย่างนี้อีก ไม่มีอะไรเป็นเราเป็นของเราให้ยึดถือมั่นหมายได้ ตัวเราก็ดี คนที่เรารักก็ดี ของที่เรารักก็ดี ทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็ดี ในที่สุดก็เสื่อมสลายตายพังไปทั้งสิ้น<O:p</O:p
    ดังนั้น เราควรที่จะเอาจิตเกาะพระ เกาะนิพพานให้เป็นปกติ เมื่อถึงเวลาเราตายแล้วไปนิพพาน จะได้พ้นจากการเกิดมาทุกข์แบบนี้ กำลังใจในทุกวันของเรา ให้ทรงตัวอย่างนี้ เมื่อทำกรรมฐานกองใดกองหนึ่งแล้ว ให้พิจารณาวิปัสสนาญาณต่อเนื่อง เพื่อเข้าถึงมรรคเข้าถึงผล จึงชื่อว่าเป็นนักปฏิบัติที่แท้จริง <O:p</O:p
    ตั้งแต่กล่าวมาข้างต้นจนบัดนี้ ที่เป็นกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง สมัยที่ผมเองทำอยู่ครูบาอาจารย์ท่านไม่ได้มาจี้ มาสอนลักษณะอย่างนี้ ท่านบอกว่าเทปมี หนังสือมี ไปศึกษาเอา ไปทำเอา ติดขัดตรงไหนแล้วค่อยมาถาม <O:p</O:p
    แต่เนื่องจากว่าพวกท่านทั้งหมด ต้องการในลักษณะที่มีผู้ชักนำบ้าง เพื่อความทรงตัวได้ง่ายของอารมณ์ และอีกอย่างคือ กล่าวเอาไว้เพื่อเป็นแบบแผนให้กับคนที่ฝึกปฏิบัติต่อไป จะได้มีแนวทางไว้ <O:p</O:p
    ได้นำกรรมฐานทั้ง ๔๐ กองมากล่าวโดยครบถ้วนแล้ว ก็คิดว่านี่เป็นครั้งสุดท้ายในการที่จะมานำการปฏิบัติกัน ต่อไปท่านก็นำเอาแบบนี้ไปฝึกไปซ้อม ไปปฏิบัติ ติดขัดตรงไหนก็มาสอบถาม ผมจะชี้แจงให้ฟัง ว่าขั้นต่อไปของมันเป็นอย่างไร สำหรับตอนนี้ก็ให้รักษากำลังใจของเราให้ทรงตัวเอาไว้ เพื่อที่จะได้ทำวัตร สวดมนต์ของเราต่อไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ<O:p</O:p
    วันจันทร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗
    ภาพพระวิหารถ้ำ อาศรมไผ่มรกต เชียงราย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00078.JPG
      DSC00078.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2 MB
      เปิดดู:
      149
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 ธันวาคม 2007
  10. first

    first เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2005
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +4,990
    (cry) ในที่สุดพระกรรมฐาน ๔๐ ทั้งหมดก็ลงครบ เป็นตอนสุดท้ายแล้ว นะครับ กราบอนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ....ท่านใดอยากได้เป็นหนังสือพิมพ์รวมเล่ม ก็ต้องรีบหน่อยครับ ที่บ้านอนุสาวรีย์ ถึงวันที่ ๓๐ ธันวาคมนี้เท่านั้นครับ(good)
     
  11. suthamma

    suthamma ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,440
    ค่าพลัง:
    +36,485
    (good) ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ที่สละเวลาทุกเดือนนำธรรมะมาแจกจ่ายแก่ทุกคน ภารกิจอันยาวนานก็สิ้นสุดลงแล้ว แปลว่าคุณเฟิร์สจบกิจแล้วใช่ไหมครับ ? (good)
     
  12. Raindrops

    Raindrops เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    180
    ค่าพลัง:
    +1,147
    โมทนาคะ

    เฮ้อ...โชคดีที่มาอ่านกระทู้นี้ตอนที่ลงครบทุกตอนและได้หนังสือแล้ว
    ไม่งั้นคงกระวนกระวายใจเพราะไม่แน่ใจว่าถ้าอ่านตอนที่ยังลงไม่ครบหรือยังไม่ได้หนังสือจะช่วยเพิ่มหรือลดความอยากได้หนังสือกันแน่ [​IMG]

    ตอนนี้ได้หนังสือมาแล้ว..สบายใจ (deejai)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2007
  13. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,518
    ค่าพลัง:
    +27,187
    โอ้โห กลับถึงบ้านปั๊บปั่นปุ๊บเลยนิ 6.23pm
    เสร็จ 6.57pm ก่อนทุ่มอีก
    แล้วค่อยไปกิน+อาบน้ำอุจจาระ
    กลับมาโพสต์ปิด 7.42pm
    ขยันสุดๆ
    โมทนาด้วยจ้า
     
  14. first

    first เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2005
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +4,990
    สาตุ๊..ขออนุญาตรับพรใส่เกล้าครับ

    ท่านอาจารย์เคยสอนว่า ..ถ้ามันยังยึด หัวหาด ไม่ได้แกก็อย่าหวังว่าจะเอาดีได้ ..ถึงแม้พระอรหันต์ที่จบกิจแล้วท่านก็ยังไม่ไว้ใจ ..จนกระทั่งตายแล้วจบกิจจริงๆ ถึงค่อยมาพูดกัน..ผมเองยังไม่มีสักอย่างที่ท่านว่ามา..

    เห็นปีใหม่นี้ท่านบอกว่า ที่ท่านทำมาทั้งหมด อยู่ใน หนังสือพระกรรมฐาน ๔๐ นี้แล้ว.. ผมขอไม่มากหรอกครับ ..ขอแค่ท่านอาจารย์ ..ไปอยู่ที่ไหน... ผม ..ไปอยู่ที่นั้นด้วย ..แค่นี้ผมก็พอใจแล้วครับ..(deejai) (ping-love

    ส่วนต่อจากนี้ไป ก็ต้องรอก่อนครับ ว่าท่านจะเมตตาให้นำสิ่งใดมาลงเพื่อเป็นธรรมทานต่อไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2008
  15. เถรี

    เถรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +6,511
    สาธุ...ถ้าพี่เฟิร์สจบกิจเมื่อไหร่ อย่าลืมมาสงเคราะห์น้องนะคะ[​IMG]

    น้องยังต้วมเตี้ยมอยู่เลย ยังต้องเกาะชายผ้าเหลืองของผู้อื่นอีกนาน [​IMG]
     
  16. คนเก่า

    คนเก่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,355
    ค่าพลัง:
    +15,053
    พระอาจารย์อยู่ในผ้าเหลือง
    พี่เฟริสท์ก็ต้องไปอยู่ในผ้าเหลืองตามพระอาจารย์นะจ๊ะ
    ไม่งั้นผิดสัจจะวาจาด้วย
     
  17. เถรี

    เถรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +6,511
    ข้างนอกใส่เสื้อผ้าสีอะไรไม่ว่า
    แต่ข้างในขอ "ใจเป็นพระ" แบบนี้เถรี ขอเกาะไปตลอดดดดดด [​IMG]



    อ่านมาตั้งเยอะแล้ว หนูไม่ค่อยได้เรื่องสักกอง
    สงสัยคงเป็นประเภทอ่านแล้วกองไว้ตรงนั้น แต่ถ้าเป็นเรื่องกิเลส หนูมี รักโลภ โกรธ หลง ครบทุกกอง [​IMG]

    หนูละอายค่ะ หลวงพ่อ !!! [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มกราคม 2008
  18. Seel

    Seel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    260
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,604
    อุ๊ยยย โมทนาใส่เกล้าอย่างยิ่ง และขอ คาระวะ 3 จอก หุหุหุ
     
  19. koisung

    koisung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    494
    ค่าพลัง:
    +3,469
    อยากได้หนังสือ...

    จะมีใครกรุณาส่งไปรษณีย์มาระยองมั๊ยน๊อ...
     
  20. suthamma

    suthamma ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,440
    ค่าพลัง:
    +36,485
    [​IMG] แจ้งให้ทราบครับ หนังสือกรรมฐาน ๔๐ ที่เหลือจากแจกปีใหม่ พระอาจารย์ท่านให้วางจำหน่าย เล่มละ ๑๐๐ บาทครับ มีที่บ้านอนุสาวรีย์ตอนต้นเดือนครับครับ [​IMG]
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...