พระกริ่ง ปางต่างๆ(ถือแจกัน ดอกบัว อุ้มบาตร) ทำน้ำมนต์ได้เหมือนกันหรือไม่

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย patriots, 25 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. patriots

    patriots สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +5
    พระกริ่ง ปางต่างๆ(ถือแจกัน ดอกบัว อุ้มบาตร)
    มีความหมายต่างกันอย่างไร



    และสามารถอธิษฐานจิตทำน้ำมนต์
    ได้เหมือนกันหรือไม่ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 กุมภาพันธ์ 2015
  2. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ปางต่างๆ อาจจะมาปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาไปตามความเชื่อหรืออาจจะมีที่มาด้วยก็ได้..?

    พระกริ่ง
    มีความเชื่อว่า สร้างมาจากพระไภษัชยคุรุไวฑูรยพระพุทธเจ้าตามความเชื่อทางมหายาน..
    ซึ่งท่านเป็นหมอยา เก่งด้านการรักษาโรคต่างๆ

    พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต
    (จีน: 藥師佛/薬師; พินอิน: Yàoshīfó; ญี่ปุ่น: 薬師瑠璃光如来 Yakushi หรือ Yakushirurikō nyorai ?) เป็นพระพุทธเจ้าที่พบเฉพาะในนิกายมหายาน ไม่พบในฝ่ายเถรวาท พระนามของท่านหมายถึงพระตถาคตเจ้าผู้เป็นบรมครูแห่งยารักษาโรค ผู้มีรัศมีสีน้ำเงินดังไพฑูรย์ พระนามอื่นๆของท่านคือ พระไภษัชยคุรุตถาคต พระมหาแพทย์ราชาพุทธเจ้า พระมหาไภษัชยราชพุทธเจ้า เป็นที่นิยมนับถือในหมู่ชาวจีนและชาวทิเบต
    พระไภษัชยคุรุ - วิกิพีเดีย

    พระไภษัชยคุรุทั้ง 7
    เป็นกลุ่มของพระพุทธเจ้าตามคติของมหายานกลุ่มหนึ่ง มีจำนวน 7 พระองค์ เป็นที่นับถือกันมาในทิเบตและเนปาล โดยพระพุทธะแต่ละองค์จะมีโลกธาตุหรือพุทธเกษตรเป็นของตนเองเช่นเดียวกับแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะ ในบรรดาพระพุทธเจ้ากลุ่มนี้ พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา เป็นที่นับถือมากที่สุด(ในด้านหมอยา)

    พระไภษัชยคุรุทั้ง 7 ตามความเชื่อของจีน
    พระสุนามยศศิริราชาตถาคต อยู่ที่ชยประภาโลกธาตุ มีปณิธาน 8 ประการคือ ช่วยสรรพสัตว์ให้หายจากโรคร้าย ช่วยผู้พิการให้มีร่างกายสมบูรณ์ ช่วยให้สรรพสัตว์มีโอกาสหลุดพ้นจากอนันตริยกรรม ช่วยให้สรรพสัตว์มีโภคทรัพย์สมบูรณ์ ช่วยเหลือสรรพสัตว์ที่ถูกโบยตีให้พ้นทุกข์ ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นภัยจากสัตว์ร้าย ช่วยให้สรรพสัตว์มีเมตตา ช่วยสรรพสัตว์ที่พลัดหลงให้ปลอดภัย
    พระรัตนจันทรประภาปรัชญาประภาศัพทศวรราชาตถาคต อยู่ที่สุรัตนโลกธาตุ มีปณิธาน 8 ประการคือ ช่วยให้สรรพสัตว์ประสบความสำเร็จในการค้า ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากการต้องทนหนาวร้อน ช่วยสตรีที่มักมากในกามให้พ้นจากกิเลส ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากการถูกปล้นระหว่างทาง ช่วยสรรพสัตว์ที่เดินทางกลางคืนให้ปลอดภัย ช่วยให้สรรพสัตว์หันมาศึกษาพระธรรม ช่วยสรรพสัตว์ให้หันมาตั้งมั่นในโพธิจิต ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นภัยทางโลก
    พระสุวรรณรัตนประภามัญชุจรยสิทธิตถาคต อยู่ที่บริบูรณ์คันธาลยโลกธาตุ มีปณิธาน 4 ประการคือ ช่วยสรรพสัตว์ที่ทำกรรมโดยอาชีพให้พ้นกรรม ช่วยสรรพสัตว์ที่ทำความชั่วให้พ้นกรรม ช่วยให้สรรพสัตว์มีความเมตตา ช่วยให้สรรพสัตว์ที่มีสังโยชน์ให้พ้นกรรม
    พระอโศกาวิชยตถาคต อยู่ที่อโศกาโลกธาตุ มีปณิธาน 4 ประการคือ ช่วยสัตว์ให้พ้นจากความโศก ช่วยสัตว์ให้พ้นจากอเวจีนรก ช่วยสัตว์ที่จะตกนรกในชาติหน้าให้พ้นทุกข์ ช่วยให้สรรพสัตว์ให้พ้นจากอำนาจของภูตผีปีศาจ
    พระธรรมสาครครชิตศัพทตถาคต อยู่ที่ธรรมธวัชโลกธาตุ มีปณิธาน 4 ประการคือ ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากความหลงผิดในการมีมิจฉาทิฏฐิต่อพระรัตนตรัย ช่วยให้สัตว์พบกัลยาณมิตรที่จะพาไปสู่พระโพธิญาณ ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากความขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม ช่วยให้สรรพสัตว์หันมาสร้างกรรมดี
    พระธรรมสาครชยประภาอภิญญากรีฑาตถาคต อยู่ที่วิจิตรรัตนสาครโลกธาตุ มีปณิธาน 4 ประการ คือ ช่วยให้สรรพสัตว์เลิกสร้างกรรมชั่ว ช่วยให้สรพพสัตว์หันมาสร้างกุศลกรรม ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นจากการถูกประหารชีวิต ช่วยให้สรรพสัตว์พ้นจากมิจฉาทิฐิของมาร
    พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต อยู่ที่ ศุทธิไวฑูรยโลกธาตุ มีปณิธาน 12 ประการ

    นอกจากนั้นในคัมภีร์อุตรเคราะห์นิรภัยจิรายุวัฒนาวิเศษสูตร กล่าวถึงพระพุทธเจ้าทั้งเจ็ดพระองค์นี้ว่า ทรงมีนิรมาณกายเป็นเทพเจ้า 7 องค์ รวมกับพระโพธิสัตว์ 2 องค์ กลายเป็นเทพนพเคราะห์ 9 องค์ ที่ควบคุมสรรพสิ่งในจักรวาล

    พระไภษัชยคุรุทั้ง 7 - วิกิพีเดีย
     
  3. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ส่วนประวัติพระกริ่งที่เริ่มขึ้นในไทย
    น่าจะมีข้อมูลมากอยู่..ลองค้นดูจ๊ะ

    อันนี้เป็นข้อมูลหนึ่ง

    พระกริ่ง : ที่มาและพุทธคุณ

    พระกริ่งถือเป็นของสูงมาตั้งแต่โบราณ การสร้างและการมีไว้บูชา
    ต้องเป็นไปเพื่อความสูงส่งของผู้สร้างและผู้ครอบครอง พระกริ่งที่มีอยู่ใน
    โลกนี้ได้รูปแบบศิลปะมาจากธิเบตและจีนเป็นส่วนใหญ่ แล้วได้แพร่หลาย
    มาสู่เขมรและสยามประเทศในเวลาต่อมา คติความเชื่อมีรากฐานมาจาก
    พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่เชื่อว่า พระพุทธเจ้ามี ๓ พระภาค อันได้แก่
    ๑. พระศรีศากยะมุนี หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่
    เบื้องกลาง
    ๒. พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่เบื้องตะวันออก
    ๓. พระอมิตตภะพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่เบื้องตะวันตก

    พระไภษัชคุรุพุทธเจ้านี้เองเป็นที่มาของพระกริ่ง ชื่อของพระองค์
    แปลว่า พระพุทธเจ้าที่เป็นครูด้านยาอายุวัฒนะ รักษาโรคภัย ไข้เจ็บ
    พระองค์เป็นที่นิยมนับถือของพุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานเป็นอย่างสูงยิ่ง
    เพราะมีพระสูตรบรรยายไว้ว่า ในคราที่ยังเสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงตั้งมหาปณิธานไว้
    ๑๒ ประการ เพื่อโปรดสรรพสัตว์ให้บรรลุถึงความต้องการ ในยามที่พระองค์ทรงสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้
    ๑. ให้มีกายที่ผ่องใส
    ๒. ให้พ้นจากอบายคติ
    ๓. ให้ได้รับโภคสมบัตินานาประการ พ้นจากความจน
    ๔. ขอให้มีสัมมาทิฐิ
    ๕. ขอให้ศีลไม่วิบัติ
    ๖ ขอให้พ้นจากกายไม่สมบูรณ์
    ๗. ขอให้ความเจ็บป่วยจงปราศไปสิ้น มีบ้านเรือนพรั่งพร้อมด้วยธนสารสมบัติและมีญาติมิตรที่ดี
    ๘. ขอให้สตรีเพศที่เบื่อหน่ายต่อเพศแห่งตนสามารถเปลี่ยนเป็นเพศชายได้ตามปรารถนา
    ๙. ขอให้หลุดพ้นจากข่ายแห่งมาร และเหล่ามิจฉาทิฐิทั้งปวง
    ๑๐. ขอให้พ้นจากอาญา ทัณฑกรรม คดีความ และการคุมขังใดๆ ตลอดจนการถูกข่มเหงรังแกเหยียดหยาม
    ๑๑. ขอให้พ้นจากความหิวกระหาย อดอยากอาหาร ขาดซึ่งเครื่องอุปโภคบริโภคอันปราณีตและให้มีความ
    อิ่มหนำสำราญ ได้รับธรรมรสและมีความสุขในเบื้องปลาย
    ๑๒. ขอให้บริบูรณ์ด้วยอาภรณ์นุ่งห่ม เครื่องประดับ และเครื่องบำรุงความสุขต่างๆ

    สำหรับพระกริ่งของไทยนั้นถือว่า “พระกริ่งปวเรศวัดบวรฯ” เป็นพระกริ่งที่ถูกสร้างเป็นครั้งแรกโดยสมเด็จ
    พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรฯ
    สร้างขึ้นเพื่อประทานแก่เจ้านายในวังที่คุ้นเคย หรือที่
    ท่านเคยเป็นพระครูอุปัชฌาย์ให้ โดยสร้างจากตำราที่ตกทอดจากสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว สมัยอยุธยา พระกริ่ง
    ปวเรศในปัจจุบันถือเป็นจักรพรรดิ์พระเครื่องเนื้อโลหะที่มีราคาเช่าบูชาสูงที่สุด ส่วนพระเครื่องเนื้อผงได้แก่ พระสมเด็จ
    วัดระฆังฯ
    ความเชื่อด้านพุทธคุณของพระกริ่ง พุทธศาสนาฝ่ายมหายานเชื่อว่าเมื่อได้บูชา หรือรำลึกนึกถึงจะประสบ
    ความสำเร็จได้ดั่งใจหวัง ๑๒ ประการ

    ส่วนความเชื่อของไทยเชื่อว่ามีพุทธคุณด้านการรักษาโรค หรือคุ้มครองให้ผู้บูชามีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง
    ปราศจากโรคภัยมาเบียดเบียน นอกจากนั้นพระกริ่งยังมีพุทธคุณด้านให้ลาภสมบัติ หรืออวยทรัพย์สินเงินทอง และให้
    สรรเสริญสมบัติหรืออวยชื่อเสียงเกียรติคุณ รวมทั้งป้องกันภยันตรายต่างๆ

    พระกริ่ง : ที่มาและพุทธคุณ - taradpra.bth.cc
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2015
  4. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,761
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    พระกริ่ง ได้รับการยอมรับและศรัทธาในสังคมมากกว่า ได้กล่าวโดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ<SUP id=cite_ref-1 class=reference>[1]</SUP> อาจเนื่องจากรูปแบบของพระกริ่งนั้นคือ พระไภษัชยคุรุ ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์ว่า พระกริ่งที่สร้างขึ้นทุกองค์เป็นพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตทั้งสิ้น และความเชื่อที่ว่าพระไภษัชยคุรุนั้น มีอำนาจพุทธานุภาพทำให้ผู้ที่บูชาหายจากความเจ็บป่วยไข้และพ้นภัยจากอันตรายทั้งปวง การสร้างพระกริ่งที่เป็นพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตขนาดเล็กขึ้นเพื่ออาศัยบารมีของพระไภษัชยคุรุนี้ ช่วยขจัดภยันตรายต่างๆและให้ผู้ที่พกพาติดตัวระหว่างเดินทางปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงจากที่พกติดตัว<SUP id=cite_ref-2 class=reference>[2]</SUP> จึงเป็นมูลเหตุที่สำคัญในการนับถือพระกริ่งเป็นเสมือนเครื่องรางและนำติดตัว กล่าวได้ว่า พระกริ่งปวเรศ เป็น พระกริ่งรุ่นแรก ที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาในลักษณะ พระกริ่ง ในเวลาต่อมาอย่างแพร่หลาย
    ..
    พระกริ่งในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มสร้างที่มีความโดดเด่นมากในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2382 จัดได้ว่าเป็นพระกริ่งยุคเริ่มบุกเบิกและมีพลังพุทธนุภาพแรงที่สุด พระกริ่งปวเรศเริ่มมีชื่อเสียงในวงแคบๆตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาถึงยุคของรัชกาลที่ 5 พระกริ่งที่โด่งดังในอดีตล้วนแต่เป็นพระกริ่งที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต เนื่องจากพระกริ่ง และพระกริ่งปวเรศมีจำนวนการสร้างมากแต่จำนวนเกือบทั้งหมดถูกเก็บรักษาไว้ในกรุของวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ทำให้บุคคลทั่วๆไปในยุคหลังสมัยรัชกาลที่ 5 แทบไม่เคยพบเห็นและรู้จัก

    ภาพรวมของพระกริ่งปวเรศแบ่งออกเป็น 5 ยุค ดังต่อไปนี้
    พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 1 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2394 ถึง พ.ศ. 2408 ในสมัยของ รัชกาลที่ 4 มีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระบาทสมเด็จฯปวเรศ), ตำแหน่ง วังหน้าและ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต
    พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 2 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2408 ถึง พ.ศ. 2411 ในสมัยของ รัชกาลที่ 4 ตำแหน่ง วังหน้า ว่างเว้น และ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต
    พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 3 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 24011 ถึง พ.ศ. 2415 ในสมัยของ รัชกาลที่ 5 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ตำแหน่ง วังหน้าองค์สุดท้าย และ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต
    พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 4 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2415 ถึง พ.ศ. 2428 ในสมัยของ รัชกาลที่ 5 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ตำแหน่ง วังหน้าองค์สุดท้าย
    พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 5 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2428 ถึง พ.ศ. 2435 ในสมัยของ รัชกาลที่ 5 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เนื่องจากไม่มีตำแหน่งวังหน้า ผู้ที่มีอาวุโสของพระญาติวังหน้า จึงได้มีบทบาทสำคัญยุคสุดท้ายของพระกริ่งวังหน้าในยุคที่ 5

    ความเชื่อและคตินิยม..

    1. สำหรับความเชื่อในเรื่อง เครื่องราง ของคนไทย มีมาแต่ครั้งโบราณ ดังจะเห็นได้ในวรรณกรรมที่มีการกล่าวถึงอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะ เครื่องราง ที่นักรบใช้ติดตัวในยามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ห้าวหาญไม่เกรงคลัวข้าศึก โดยเชื่อกันว่า เครื่องราง ที่สร้างขึ้นด้วยวิชาไสยศาสตร์ชั้นสูง โดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมอันเข้มขลัง จะสามารถช่วยคุ้มครองป้องกันภัยรอบตัวได้เป็นอย่างดี <SUP id=cite_ref-3 class=reference>[3]</SUP>
    2. ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันและเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต<SUP id=cite_ref-4 class=reference>[4]</SUP>
    3. อาราธนาทำ น้ำมนต์ เมื่อเวลาเรารู้สึกดวงไม่ดี มีเคราะห์ หรือเจ็บป่วย นำพระกริ่งปวเรศ หรือพระกริ่ง (องค์แทนพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาสพุทธเจ้า) <SUP id=cite_ref-5 class=reference>[5]</SUP> อาราธนาบารมีของพระองค์ท่านทำน้ำพระพุทธมนต์ ดื่ม รด อาบ กินเพื่อความสวัสดี มีชัยปราศจากโรคภัยและกำจัดปัดเป่าอัปมงคล อันตราย ภัยพิบัติต่างๆ
    <SUP id=cite_ref-6 class=reference>พระกริ่งปวเรศ - วิกิพีเดีย</SUP>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กุมภาพันธ์ 2015

แชร์หน้านี้

Loading...