พระกับเงิน (เฟเบียน - ทะไลลามะ)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 21 ธันวาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    พระกับเงิน​
    <!--sizeo:3--><!--/sizeo-->เฟเบียน - ทะไลลามะ <!--sizec--><!--/sizec-->


    <!--sizeo:3--><!--/sizeo-->เฟเบียน : ในฐานะพุทธศาสนิกชน ท่านคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องของเงินล่ะครับ ผมเคยได้ยินมาว่าท่านไม่จับต้องเงินเลยหรือครับ

    ทะไลลามะ : แน่นอนฉันจับต้องและใช้เงิน มันเสียหายตรงไหนล่ะ

    เฟเบียน : แต่ผมเคยสังเกตเห็นว่า ท่านจะไม่เปิดซองที่ใส่ปัจจัยเลย

    ทะไลลามะ : นั่นเป็นเพราะว่าฉันยกมอบให้ทางสำนักงานของเราเป็นผู้จัดการเรื่องการจับจ่ายใช้สอยปัจจัยที่เราได้รับมา ฉันจับต้องเงินได้ บทปฏิญาณตนของพระภิกษุสงฆ์นั้นได้ว่าไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า ภิกษุไม่ควรจับต้องทอง นั่นเป็นข้อห้าม

    อย่างไรก็ตามหากว่ากันตามหลักปฏิบัติของพระโพธิสัตว์ หากมีคนเอื้อเฟื้อต้องการมอบเงินให้คุณด้วยความจริงใจและศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม และหากคุณปฏิเสธที่จะรับเงินนั้นไว้ อาจทำให้ผู้ให้ผิดหวังและเป็นทุกข์ได้

    ในกรณีเช่นนี้ ให้ภิกษุสามารถรับเงินนั้นได้ สาระสำคัญข้อปฏิบัตินี้คือการลดความยึดติดนั่นเอง นี่เป็นประเด็นเกี่ยวกับการครอบครองใช้สอยเครื่องนุ่งห่ม ตัวอย่างเช่นเครื่องนุ่งห่ม รวมทั้งบาตร และผ้าปูอาสนะ เป็นส่วนหนึ่งของอัฐบริขารของภิกษุสงฆ์ มีทั้งหมดสิบสามรายการที่ภิกษุจะถือเป็นของตนเอง หากมีมากกว่านี้ เช่นฉันเองก็มีผ้าจีวรมากกว่าหนึ่งชุด ก็ต้องถือว่าไม่ใช่ของ ๆ เรา ถือเป็นของเจ้าอาวาสหรือของพระภิกษุรูปอื่นไปเสีย ข้อปฏิบัติเหล่านี้เป็นเครื่องลดการยึดติดให้น้อยลงนั่นเอง ภิกษุไม่สามารถอ้างสิทธิ์การถือครองอะไรก็ตามนอกเหนือจากสิบสามรายการนี้ ภิกษุต้องพึงสังวรหรือวางท่าทีทางใจเสมอว่า "สิ่งนี้ไม่ใช่ของเรา เราใช้สอยเครื่องอัฐบริขารเหล่านี้เพียงเพื่อช่วยเหลือรับใช้ผู้อื่น"

    ข้อปฏิบัติเหล่านี้ใช้กับพระภิกษุและภิกษุณีโดยเฉพาะ ไม่ได้ใช้กับพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยในพิธีอุปสมบท สิ่งที่ผู้บวชจะต้องปรับเปลี่ยนมีสามส่วนคือ คือ การเปลี่ยนท่าทีทางใจ เปลี่ยนชื่อ และเปลี่ยนเครื่องนุ่งห่ม นับจากวันบวชเป็นต้นไป เราต้องอุทิศทั้งชีวิตและจิตใจในการฝึกปฏิบัติ โดยมีพระนิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุด ทางออกเรื่องการกินอยู่คือการออกบิณฑบาต เราเรียกว่า "การแผ่บุญอย่างเท่าเทียม" เขาถวายสิ่งใดเราก็รับไว้ ภิกษุจะฉันภัตตาหารได้ในช่วงหลังดวงอาทิตย์ขึ้นในตอนเช้าจนถึงเวลาเที่ยงหรือก่อนที่ตะวันตกจะเลยศีรษะ หลังจากเที่ยงวันแล้ว ภิกษุไม่ฉันอาหารขบเคี้ยวใด ๆ จุดประสงค์คือการลดละความยึดติด

    เฟเบียน : แล้วการยึดติดในเงินตราโดยทั่วไปล่ะครับ ผู้คนมักจะถือว่าเงินของตัวเป็นสมบัติส่วนตัวและคลั่งไคล้ไปกับมัน

    ทะไลลามะ : หากเราจะมองลึกลงไปอีกนิด ฉันคิดว่าการยึดติดหรือกลไกลการทำงานของความอยาก โดยทั่วไปมีกันสองประเภท หากจะกล่าวโดยทั่วไปแล้ว ฉันเองก็มีเงินไว้ใช้สอยอยู่ประมาณสองสามพันดอลลาร์ ซึ่งฉันก็รู้สึกว่าเป็นสมบัติของฉัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าฉันจะใช้เงินซื้ออาหาร หรือเสื้อผ้า หรืออะไรต่อมิอะไรให้กับตัวเองเงินเหล่านี้เป็นทุนสำหรับโครงการสังคมสงเคราะห์ต่าง ๆ

    ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่ฉันได้รับเงินบริจาคจากชาวธิเบตคนหนึ่งเป็นจำนวนหนึ่งแสนรูปี ฉันก็รู้สึกดีใจและคิดว่า "เอาล่ะ ตอนนี้ฉันมีเงินแล้วล่ะ" ! แล้วบางครั้งก็รู้สึกอยากโน่นอยากนี่ขึ้นมาเหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่อยากเพื่อตัวเองนะ สำหรับการใช้สอยส่วนตัวนั้น ฉันได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลอินเดียและเงินปันผลบางส่วนที่ได้รับจากกองทุนส่วนตัว เงินก้อนนี้ฉันใช้ซื้อข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นนาฬิกา เป็นต้น ในส่วนเงินทำบุญที่ได้รับบริจาคโดยเฉพาะที่บริจาคในนามของผู้ป่วยหรือผู้ป่วยใกล้ตาย ฉันจะใช้มันอย่างระมัดระวังมาก ส่วนใหญ่ก็เป็นไปเพื่อการศึกษาและการพัฒนาระดับจิตใจเป็นหลัก ก็อาจจะมีความรู้สึกปรารถนาต่าง ๆ แวบเข้ามาเป็นช่วง ๆ นะ แต่มักจะไม่เกี่ยวกับความอยากส่วนตัว

    แต่ถ้าเราลองมาพิจารณากรณีของพวกบรรษัทยักษ์ใหญ่ที่สามารถสร้างผลกำไรทางธุรกิจอย่างมหาศาล หากเรานำผลกำไรเหล่านี้ไปใช้เพื่อการช่วยเหลือผู้ยากไร้ การพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยไม่ได้เป็นไปเพื่อบำรุงบำเรอวิถีชีวิตที่ฟุ่มเฟือยของคนจำนวนน้อย ก็ถือได้ว่านี่เป็นตัวอย่างของสิ่งที่เรียกว่า "ธรรมะฉันทะ" (right desire) หรือความต้องการที่เป็นธรรม.

    <!--sizec--><!--/sizec--><!--sizeo:2--><!--/sizeo-->จากหนังสือ กล้าฝันเพื่อมนุษยชาติ
    Imagine All the People
    ว่าด้วยเรื่องเงิน การเมือง และชีวิตที่ควรจะเป็น
    เฟเบียน โอเอกิ สัมภาษณ์
    วิศิษฐ์ วังวิญญู , ณัฐฟัส วังวิญญู แปล
    <!--sizec--><!--/sizec--><!--sizeo:2--><!--/sizeo-->สำนักพิมพ์ "สวนเงินมีมา" <!--sizec--><!--/sizec-->
     
  2. *44*

    *44* เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    528
    ค่าพลัง:
    +1,808
    เราเคยเห็นพระญี่ปุ่น ขับรถเก๋งนะ
    พระที่ใต้หวัน ก็ขับรถตู้ เช่นกัน
    ส่วนตัว คิดว่า น่าจะโอเค เพราะมันจำเป็น
    ขอบคุณ ที่นำบทความดี ๆ มาให้อ่าน
     
  3. ทิดหนึ่ง

    ทิดหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +768
    ขอบคุณที่นำบทความดี ๆ มาเผยแพร่ให้รับรู้กันครับ
    โดยส่วนตัว..ในปัจจุบันหลายสำนักก็ยังยึดถือพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดเรื่อง
    เงิน เรื่อง "รูปิยะ"เนี่ย ก็ดีครับเพราะเป็นการดำรงศรัทธาให้เกิดขึ้นต่อไป
    แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ครับ ที่ในปัจจุบันกาล ปัจจัย ก็มีส่วนสำคัญต่อการดำรงเพศสมณะ
    ผมเห็นเป็นเรื่องธรรมดาครับ ที่ท่านจะจับต้อง จะใช้จ่ายได้ตามเหตุ ตามผล ตามแต่
    จะสมควร ความจริงมันเป็นเรื่องเจตนาในการใช้จ่ายมากกว่า...หากพระคุณเจ้าท่าน
    ใช้จ่ายเพื่อบำรง ศาสนสถาน เพื่อดูแลเหล่าพระภิกษุ สามเณร หรือบริวารทั้งหลายที่
    ดำรงชีวิตในศาสนสถานนั้น ๆ ก็เป็นเรื่องที่สมควรอยู่ อีกอย่างคือใช้จ่ายปัจจัยทั้งหลาย ตามจิตเจตนาของเจ้าของที่เขาได้ถวาย และแจ้งเจตจำนงค์ ไว้อย่างถูกต้องนั่นแหละ เป็นเรื่องที่สมควรที่สุด
    ......เรื่องอย่างนี้ เป็นเรื่องที่พูดกัน แบบหาข้อยุติยากนะครับ
    ......ก็แล้วแต่ เพื่อน ๆ จะพิจารณากัน...ทิดหนึ่งมีความเห็นอย่างนี้ ก็บอกกันให้
    รับรู้
    .....บอกแล้วไงครับ เป็นเรื่องของ เจตนาในการใช้สอยปัจจัย นั้น ๆ น๊อ
     

แชร์หน้านี้

Loading...