พระกุรดงเมืองแอมจังหวัดขอนแก่น

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย อนุชา7, 16 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. อนุชา7

    อนุชา7 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    นำมาให้ติชมดูครับเผื่อมีใครสนใจ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. พรหมธรรม

    พรหมธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +496
    อยู่ที่ไหนครับ?
     
  3. bigfoot

    bigfoot เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    952
    ค่าพลัง:
    +704
    เพิ่งเคยได้ยิน เลยSerch google
    ลิง้ค์แรก ขุดในที่นา
    พระ..กรุดงเมืองแอม

    ลิ้งค์2 เมืองโบราณดงเมืองแอม
    ก้าวทุกวินาที กับ... สหวิชา ดอท คอม

    ดงเมืองแอมก่อด้วยหินศิลาแลง
    ตอนที่แล้วได้ทราบสภาพโดยทั่วไปของชุมชนดงเมืองแอมแล้วนะคะเรามาศึกษาเมืองโบราณขนาดใหญ่ของภาคอีสานต่อไปดีกว่าค่ะ
    สภาพเมืองโบราณดงเมืองแอม และร่องรอยที่อยู่อาศัยสมัยโบราณ
    1. สภาพคูน้ำ และคันดินที่ล้อมรอบแหล่งโบราณคดี
    พื้นที่ของแหล่งโบราณคดีมีคูน้ำ และคันดินที่เป็นกำแพงเมืองล้อมรอบทำให้มีลักษณะพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมมุมขนาดใหญ่ 1 แนว แนวซ้อนอยู่ต่อเนื่องกับพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมขนาดเล็กกว่า ทำให้มีลักษณะเป็นพื้นที่มีคูและคันดินล้อมรอบซ้อนกัน 2 พื้นที่ แสดงว่าเมืองโบราณที่มีคันดินล้อมรอบแห่งนี้ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน โดยส่วนด้านทิศตะวันออกเป็นพื้นที่ที่มีคูและคันดินล้อมรอบ ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่า พื้นที่ทิศตะวันตก ซึ่งมีคูและคันดินล้อมรอบให้แยกออกจากส่วนด้านตะวันออกชัดเจนแต่มีขนาดพื้นที่น้อยกว่า
    แนวกำแพงของเมืองโบราณดงเมืองแอมมีขนาดกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 15 – 20 เมตร ลักษณะบนดินแนวกำแพงเป็นดินทราย แนวคันดินที่เป็นขอบเขตเมืองโบราณยังเห็นได้ชัดเจนที่สุดอยู่ทางด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ โดยมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ สูงระหว่าง 1.5 – 3 เมตร มีลักษณะต่อเองกันเป็นแนวโค้ง มีความยาวรวมทั้งสิ้น 5,400 เมตร พื้นที่บนคันดินส่วนใหญ่ มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ บางตอนมีไม้ป่าพืชหนาม และวัชพืชขึ้นคลุมหนาแน่น บางตอนถูกทำลายให้ขาดหายเป็นช่องสั้นๆ เพื่อทำทางสัญจร และทำเป็นพื้นที่เกษตรกรรม บางช่วงจะมีลำห้วยธรรมชาติ ตัดผ่านคันดิน และบางช่วงของคันดิน ยังคงเหลือร่องรอยของคู้น้ำเดิมอยู่
    ด้านนอกของคันดิน เป็นพื้นที่ทำนาขนาดใหญ่ บางช่วงมีหนองน้ำขนาดเล็กอยู่ตามแนวที่เป็นร่องรอยของคูน้ำ เดิมที่ล้อมรอบอยู่ด้านนอกซึ่งลัดเลาะคู่กันไปตามแนวคันดินที่ยังปรากฎให้เห็นได้อย่างชัดเจนในบางบริเวณ แต่ในบางช่วงถูกเปลี่ยนสภาพไปมาก โดยมีการตื้นเขินไปตามระยะเวลา และบางช่วงก็มีการใช้เป็นที่ทำนา มีสภาพคงเห็นเป็นเนินเตี้ยๆมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ให้เห็นแนวชัดเจน
    2. สภาพร่องรอยที่อยู่อาศัยสมัยโบราณ
    ร่องรอยที่อยู่อาศัยสมัยโบราณนั้น ได้พบพื้นที่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณมีลักษณะเป็นเนินสูงเด่นกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ภายในเขตเมืองโบราณดงเมืองแอม โบราณศิลปวัตถุ กระจัดกระจายอยู่โดยทั่วไปตามผิวดิน ปัจจุบันเป็นพื้นที่ทำการเกษตร ส่วนพื้นที่ด้านทิศตะวันออกไม่พบวัตถุโบราณตามผิวดิน และราษฎรไม่เคยพบวัตถุโบราณใดๆ เลย แต่ด้านทิศตะวันออกเป็นบริเวณที่พบกองศิลาแลงอยู่ที่บริเวณวัดศรเมืองแอมซึ่งได้พบ ศิลาจารึก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 (กรมศิลปากร , 2540) อยู่บริเวณนั้นด้วย ซึ่งเชื่อกันว่าบริเวณที่เป็นซากโบราณสถานที่เคยมีอยู่ในอดีต ปัจจุบันเรียก “กู่บ้านดงเมืองแอม”
    3. สภาพร่องรอยสิ่งก่อสร้างสมัยโบราณ
    บริเวณที่ 1 อยู่บริเวณทางเข้าหมู่บ้าน ราษฎรในท้องถิ่นเชื่อกันว่าเป็นประตูเมืองบริเวณนี้มีก้อนศิลาแลงและอิฐกระจายอยู่และมีลักษณะเป็นหลุมลงไป สันนิษฐานว่าคงเป็นโบราณสถานอยู่นอกเมือง และคงเคยถูกลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ
    บริเวณที่ 2 อยู่ที่วัดศรีเมืองแอมซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่เนินสูงในบริเวณกลางหมู่บ้านดงเมืองแอม อย่างไรก็ตาม บริเวณพื้นพบก้อนศิลาแลงที่ก่อเรียงกันขึ้น มีศิลาจารึกทำจากหินทรายจารึกอักษรบัลวะอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12 และเศษภาชนะดินเผาที่ชาวบ้านำมาวางไว้บริเวณแนวศิลาแลงอยู่ด้วย ประชาชนในท้องถิ่นเรียกบริเวณนี้ เรียกว่า “กู่” และเชื่อกันว่าอาจเป็นซากของโบราณสถานที่สำคัญของเมืองโบราณดงเมืองแอม อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์วิทยากรท้องถิ่นทราบว่า แผ่นจารึกนี้มิได้พบที่นี่มาแต่เดิม แต่นำมาจากพื้นที่ในเขตเมืองโบราณ ซึ่งเป็นที่นาของชาวบ้าน คนหนึ่งที่มีบ้านพักอาศัย อยู่บ้านโนนน้ำผึ้ง
    บริเวณที่ 3 อยู่บริเวณที่เป็นที่อยู่อาศัยสมัยโบราณในพื้นที่ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของดงเมืองแอม ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นเนินสูงเด่นกว่าพื้นที่ส่วนอื่นๆ ภายในเขตเมืองโบราณดงเมืองแอม บริเวณนี้พบกองเศษอิฐและศิลาแลงกระจายคลุมพื้นที่ราว 20 ตารางเมตร กรมศิลปากร เคยใช้เครื่องมือวัดความต้านทานของแรงแม่เหล็กบริเวณนี้พบว่า บริเวณนี้น่าจะมีสิ่งก่อสร้างทรงสี่เหลี่ยมฝังอยู่และเชื่อว่าอาจเป็นซากโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งในเมืองโบราณดงเมืองแอม
    บริเวณที่ 4 อยู่บริเวณห้วยเสือเต้นระหว่างเนินบริเวณทิศตะวันตกถึงบ้านโนนน้ำผึ้ง พบศิลาแลงเป็นจำนวนมาก บริเวณนี้จึงสันนิษฐานว่า อาจเป็นฝายโบราณในสมัยก่อน
     
  4. อนุชา7

    อนุชา7 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    อยู่ที่อำเภอเขาสวนกวาง
    จ.ขอนแก่น
     

แชร์หน้านี้

Loading...