"พระครูวิน

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 15 มีนาคม 2009.

แท็ก: แก้ไข
  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,687
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,012
    คมชัดลึก : คำว่า “กิจของสงฆ์” ที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกันก็คือ สิ่งที่พระสงฆ์ทำได้ หรือน่าจะทำ หรือควรจะทำ ทั้งนี้หากใช้ทรรศนะของชาวบ้านเป็นคนตัดสินว่า สิ่งใดที่จะจัดว่า เป็นกิจของสงฆ์ ก็คงไม่ลงรอยกัน ต่างคนต่างเห็น ต่างคนต่างอยากให้พระทำเช่นนั้น ไม่ทำเช่นนั้น



    กลุ่มคนที่ชอบพระเครื่องปลุกเสก ก็มองว่า พระปลุกเสก คือการทำหน้าที่ หรือทำกิจของพระสงฆ์ กลุ่มที่ไม่ชอบก็มองว่า ไม่ใช่กิจของสงฆ์
    กลุ่มคนที่ญาติพี่น้องเจ็บไข้ ป่วยอยากให้หาย หมอดูแนะนำว่า ถวายสังฆทานให้พระสงฆ์จะช่วยได้ และระบุสิ่งของที่จะถวายให้เสร็จ เมื่อญาติพี่น้องนำไปถวาย พระรับถวายก็บอกว่า พระได้ทำหน้าที่ ได้ทำกิจของสงฆ์ครบถ้วนบริบูรณ์ หากพระไม่รับประเคน ไม่รับถวาย คนนำไปถวายก็โวยวายว่า พระไม่ทำหน้าที่ ไม่ทำกิจของสงฆ์ ดังนี้เป็นต้น
    แม้กระทั่งพระด้วยกันเอง ยังมีมุมมองเรื่องกิจของสงฆ์แตกต่างกันสุดขั้ว
    ทั้งนี้เคยมีพระภิกษุบางรูป ที่ถูกยกให้เป็นซีอีโอธรรม ออกมาสัมภาษณ์เกี่ยวกับกรณีพระทำงานสังคมสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคจิต ด้วยวิธีการนำมาบวชเพื่อฝึกจิตฝึกสมาธิ ในทำนองว่า “ไม่ใช่กิจของสงฆ์”
    จนมีบางท่านตั้งคำถามว่า ก็แล้วใครกันเล่า เป็นผู้กำหนดมาตรฐานว่า อะไรเป็นกิจของสงฆ์ อะไรไม่ใช่กิจของสงฆ์ หรือใช้ความเห็นของพระบางรูป คนบางคนเป็นผู้กำหนด
    แต่หากท่านศึกษาพุทธประวัติให้ถึงแก่น โดยแท้จริงแล้ว “กิจของสงฆ์” นั้น ถูกกำหนดไว้แล้วตามนโยบายของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐ องค์แรกไปประกาศพระพุทธศาสนา ความตอนหนึ่งว่า
    “เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์และเพื่อความสุขแก่มหาชนเป็นอันมาก..ฯลฯ”
    แสดงชัดเจนว่า พระพุทธเจ้ามุ่งเน้นให้กิจของสงฆ์นั้น เป็นไปเพื่อทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นความสุข (พหุชนะหิตายะ พหุชนะสุขายะ)
    อย่างไรก็ตาม พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตฌช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) อธิบายความหมายไว้ในพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุด "คำวัด" ได้ให้ความหมายของคำว่า "กิจ" ที่ใช้เกี่ยวกับพระภิกษุ
    เช่น กิจวัตร หมายถึง กิจทางศาสนา ที่ทำประจำวัน เช่น ทำวัตรเช้า-เย็น กิจนิมนต์ หมายถึง กิจที่ต้องไปในงานต่างๆ ตามคำนิมนต์ เช่น งานบุญ งานเทศน์ งานสอน ส่วน กิจสงฆ์ หมายถึง งานที่เป็นหน้าที่ของสงฆ์ เช่น การรักษาพระธรรมวินัย การทำสังฆกรรม การดูแลรักษาวัด และการเผยแผ่ศาสนา รวมทั้งงานสงเคราะห์อื่นๆ ด้วย
    ภาพกิจของสงฆ์ ที่พุทธศาสนิกชนเห็นจนชินตามากที่สุด และอนุโมทนาบุญด้วย ต้องยกให้การให้การสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาสของ พระพิศาลธรรมพาที (พระพยอม กัลยาโณ) แห่งวัดสวนแก้ว จ.นนทบุรี
    และที่ไม่น้อยหน้ากว่ากัน คือ การเปิดโรงพยาบาลรับดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย ของ พระอุดมประชาทร (อลงกต ติกฺขปญฺโญ) วัดพระบาทน้ำพุ จ.ลพบุรี
    ส่วนกิจของสงฆ์อีกอย่างหนึ่ง ที่มีการสืบทอดมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน คือ พระหมอ-หมอพระ เช่น พระครูพิพัฒนวชิระปัญญาวุฒิ หรือ หลวงพ่อสวัสดิ์ ปญญาวุฑโฒ เจ้าอาวาสวัดนายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เป็นพระสงฆ์อีกรูปหนึ่งที่ยังคงสืบทอดตำราแพทย์แผนไทย ในการรักษาโรคต่างๆ
    พระครูกิตติวัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทัยมณี และเจ้าคณะตำบลบางจาน-หนองโสน อ.เมืองจ.เพชรบุรี หรือที่รู้จักกันในนาม หลวงพ่อน้อย พระหมอดูและพระหมอยาแห่งเมืองเพชรบุรี ฯลฯ
    ในขณะที่กิจของสงฆ์ที่คนทั่วๆ ไป อาจจะมองเป็นเรื่องแปลก แต่คนในวงการแข่งขันเรือยาว มองเป็นเรื่องปกติ คือ การเปิดโรงพยาบาลรับซ่อมเรือ ของ หลวงพ่อสมศักดิ์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณราชหงษ์ จ.อ่างทอง และกิจของสงฆ์อย่าง ของ พระครูสมุห์บุญช่วย ขันติวโร หรือที่รู้จักกันในนาม หลวงพ่อบุญช่วย เจ้าอาวาสวัดมงคลเทพประสิทธิ์ ต.ลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ผู้ทำรถวีลแชร์ แจกแก่ผู้พิการ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เป็นต้น
    [​IMG]
    สำหรับกิจของสงฆ์ ที่จะเขียนและกล่าวถึง คือ กิจของพระครูใบฎีกาสุวินท์ สุวิชานโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดโมกข์ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ หรือที่ลูกศิษย์เรียกสั้นๆ ว่า พระครูวินท์ โดยท่านได้ถูกนิมนต์มาให้ช่วยติดตั้ง ตกแต่ง และวางระบบไฟฟ้า ในการก่อสร้างปราสาทอย่างงดงามวิจิตรพิสดาร ในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระครูปัญญานนทคุณ หรือ หลวงปู่บาง อดีตเจ้าอาวาส วัดสโมสร พระเกจิอาจารย์ที่ชาวมอญกระทุ่มมืด รวมทั้งชาวมอญปทุมธานี ระหว่างวันที่ ๖-๘ มีนาคม ๒๕๕๒ นี้ ที่ วัดสโมสร ต.ไทรใหญ่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี
    [​IMG]

    [​IMG]
    “ไฟเกือบ ๔,๐๐๐ ดวง ที่ประดับอยู่ในตัวปราสาท ผ่านมืออาตมาทุกดวง ซึ่งกว่าจะเสร็จสวยสมบูรณ์อย่างที่เห็น ใช้เวลากว่า ๑ เดือน ทำงานตั้งแต่เช้าถึงตีหนึ่งตีสองเอาให้เสร็จทันงาน ที่สำคัญ คือ ตลอดทั้งงาน ไฟดวงใดดวงหนึ่งจะขาดหรือดับไม่ได้ พระมาเป็นช่างไฟฟ้าใครจะมองว่าไม่ใช่กิจของสงฆ์ก็ได้ แต่อาตมาทำงานเพื่อถวายครูบาอาจารย์ ทำเพื่อวัดอย่างนี้ ก็เรียกว่ากิจของสงฆ์ได้เช่นกัน” นี่คือคำยืนยันของ พระครูวินท์
    [​IMG]
    ก่อนจะมาวางระบบไฟฟ้า ในการก่อสร้างปราสาท ในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่บาง พระครูวินท์ได้เป็นไปช่วยติดตั้งไฟฟ้าในงานพระราชทานเพลิงศพ อดีตรองเจ้าอาวาสวัดทรงธรรม และอดีตเจ้าอาวาสวัดแค ซึ่งทั้ง ๒ วัด อยู่ใน อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
    นอกจากนี้ ยังติดตั้งระบบไฟฟ้าในงานประจำปีของวัดคันลัด งานประจำปีวัดแค ขณะเดียวกันก็ยังซ่อมแซมและติดตั้งไฟฟ้าในวัดโมกข์ทั้งหมด โดยไม่ต้องจ้างช่างให้เสียปัจจัย
    พระครูวินท์ เล่าย้อนอดีตให้ฟังว่า ครั้งแรกตั้งใจจะบวชแก้บนเพียง ๕ วัน โดยก่อนที่จะบวชนั้น ได้เปิดบริษัทรับเหมาก่อสร้างบ้าน และวางระบบไฟฟ้ากับญาติ ระหว่างที่บวชอยู่นั้น อดีตหลวงพ่อเจ้าอาวาสเห็นว่า มีความรู้ทางช่าง จึงให้ช่วยดูแลงานก่อสร้างศาลาการเปรียญ โดยคิดอยู่ในใจเสมอว่า หากศาลาสร้างเสร็จก็จะสึก
    หลังจากศาลาสร้างเสร็จ ก็มีงานก่อนสร้างอื่นๆ ให้ดูแลอีก ดูไปดูมาก็รวมแล้ว ๑๕ ปี ทั้งนี้ ระหว่างที่คุมงานก่อสร้างของวัดนั้น ก็เรียนนักธรรมไปด้วย โดยสอบได้นักธรรมชั้นเอก
    จากนั้นก็สมัครเรียนต่อที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) จนจบปริญญาตรี สาขาการจัดการเชิงพุทธ รุ่นแรก และขณะนี้กำลังเรียนปริญญาโท ในสาขาเดียวกัน
    จากประสบการณ์ทำงานก่อสร้าง และติดตั้งระบบไฟฟ้า พระครูวินท์ พูดไว้อย่างน่าคิดว่า
    “สิ่งที่พระขาด และฆราวาสก็ขาดด้วยเหมือนกัน คือ ความรู้เชิงช่าง โดยเฉพาะความรู้เรื่องไฟฟ้า ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด แต่คนกลับรู้น้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้ จึงมีคนจำนวนไม่น้อยสูญเสียทรัพย์สิ้น เพราะไฟไหม้ที่มีเหตุจากไฟฟ้าลัดวงจร บางรายถึงกับเสียชีวิตก็มีอยู่ไม่น้อย และถ้าสืบให้ลึกลงไปทุกเรื่อง มีเหตุมาจากความประมาท หรือไม่มีสตินั่นเอง”


    http://www.komchadluek.net/detail/20090305/3787/พระครูวิน”...พระครูช่างไฟ.html
     
  2. natspdo

    natspdo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +1,505
    พระนอกจากรู้ธรรมแล้วก็ต้องรู้ศิลปะวิทยาด้านอื่น ๆ ปัญหาคือพระมีธรรมแต่ขาดศิลปะวิทยาททางโลก ฆาราวาสมีศิลปะวิทยาแต่ธรรมยังไม่เติมเต็ม พระใช้อินเตอร์เน็ต ทำกิจกรรมกับส่วนรวมก็ว่า เช่น พระพยอมท่านเป็นนักบริหารจัดการที่ดี ยังมีอีกหลายรูปที่เป็นพระศูนย์รวมความเจริญ ผมดูรายการโทรทัศน์จำชื่อท่านไม่ได้ แต่ดูแล้วประทับใจมาก
    พระท่านกล่าวว่า "มีอยู่วันหนึ่งมีงานบุญสร้างอุโบสถอาตมาได้บอกบุญ มากบ้างน้อยบ้างช่วยกันทำ แต่อาตามได้ยินประโยคจากโยมท่านหนึ่ง ที่ต้องยืมเงินมาทำบุญ อาตมาฟังแล้วเกิดคิดว่า เรากำลังเอาเปรียบโยมหรือเปล่าทำให้เดือดร้อนหรือเปล่า" ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาพระท่านก็เริ่มคิดว่าน่าจะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมดีกว่านี้ ท่านสร้างโรงเลี้ยงเด็กอ่อน ท่านสร้างธนาคารเพื่อการเกษตร สร้างศูนย์อาชีพชุมชนทำให้คนในชุมชน มีอาชีพ และเป็นศูนย์รวม ผมดูแล้วประทับใจมาก ท่านบอกว่า อยากตอบแทนโยมเขา ผมคิดว่าเหมือนกับในสมัยก่อนที่มีวัดเป็นศูนย์รวม ยังมีอีกมากมาย เกี่ยวกับกิจของสงฆ์ เช่น การสวดชัยมงคลคาถาออกรบออกไปฆ่าฟันกัน ปัญหาอยู่ที่เรา ๆ ที่เป็นฆารวาสนี่แหละ
     

แชร์หน้านี้

Loading...