พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย จิตสดใส, 16 กรกฎาคม 2010.

  1. จิตสดใส

    จิตสดใส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +1,260
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD> ความเป็นมาของวัดนาป่าพง </TD></TR><TR><TD><HR></TD></TR><TR><TD> ที่ตั้งของวัดแห่งนี้ เดิมทีเป็นผืนนาที่โยมแม่ของพระอาจารย์ยกถวาย หลังจากพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล กลับจากการออกธุดงค์ ได้มาใช้สถานที่แห่งนี้เป็นที่บำเพ็ญภาวนาและพำนักแต่เพียงผู้เดียว ในระหว่างนั้นสถานที่ดังกล่าวค่อยๆ ได้รับการพัฒนาตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ หรือประมาณ ๘ ปี นับแต่ท่านได้มาอยู่บำเพ็ญภาวนา สถานที่แห่งนี้จึงได้ขึ้นทะเบียนตั้งเป็นวัดนาป่าพงจวบจนถึงปัจจุบัน

    [​IMG]

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD> ประวัติพระอาจารย์ คึกฤทธิ์โสตฺถิผโล </TD></TR><TR><TD><HR></TD></TR><TR><TD> ประวัติในช่วงเป็นฆราวาส <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>พระอาจารย์คึกฤทธิ์ เกิดวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๐๖ ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ กรงเทพฯ ท่านจบปริญญาตรี นายร้อย จปร. สาขาวิศวกรรมเครื่องกล และ ปริญญาโท จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คณะรัฐศาสตร์ จากนั้นท่านได้ รับราชการทหาร โดยมียศหลังสุดในชีวิตฆราวาสเป็นพันตรี <O:p></O:p>
    จุดเริ่มต้นในเส้นทางธรรม <O:p></O:p>
    [​IMG] ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ขณะท่านเรียนอยู่เตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๑ ระหว่างปิดเทอม โยมแม่ของท่านได้พาไปบวชกับ หลวงพ่อชา สุภัทโท ที่วัดหนองป่าพงเป็นเวลา ๑ เดือน เป็นครั้งแรกที่ไปสู่ดินแดนแห่งความสงบวิเวก ที่ยังใช้ชีวิตแบบง่ายๆ ตามกุฏิ ใช้การจุดเทียนให้แสงสว่าง เดินตามทางใช้ไฟฉาย น้ำอุปโภค ใช้เชือกผูกกับปิ๊บหย่อนไปในบ่อดิน ช่วยกันดึงขึ้นแล้วเทใส่ถังในรถ เข็นไปไว้ตามกุฏิ ศาลา และที่ต่างๆ อาหารขบฉันที่มีไม่มาก ต้องใช้พระตัวแทนสงฆ์มาจัดแจกแบ่งปันส่วน เพื่อให้เพียงพอกับทุกชีวิตในวัด และได้พบหลวงพ่อชา ได้ใกล้ชิด และสัมผัสกับธรรมะ รวมถึงข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด งดงามน่าเลื่อมใสของท่าน สัมผัสกับจิตบริสุทธ์ทีมีอยู่จริง เกิดใคร่สนใจอยากศึกษา จึงเริ่มมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อครบกำหนดลาสิกขากลับมาสู่การศึกษาเล่าเรียน จึงตั้งใจเริ่มฝึกหัดรักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัด ตามสติกำลังอยู่ตลอดมามิได้ขาด <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>ท่านได้กลับไปยังวัดหนองป่าพงในทุกช่วงเวลาปิดเทอม จนกระทั่งได้มีโอกาสบวชอีกทีในตอนปิดเทอมชั้นปีที่ ๔ ของนายร้อย จปร. ในครั้งนี้ ท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อหลวงพ่อชา ว่า จะใช้ชีวิตฆราวาสอีกเพียง ๑๐ ปี แล้วขอให้มีเหตุปัจจัยผลักดันให้ได้ครองเพศบรรพชิตไปตลอดชีวิต <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    ชีวิตในเพศบรรพชิตครั้งสุดท้าย<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    หลังจากได้ตั้งอธิษฐานกับหลวงพ่อชาในครั้งนั้น ท่านก็ใช้ชีวิตทางโลกอย่างปรกติเรื่อยมา ท่านเล่าว่าการใช้ชีวิตโดยมีสติและธรรมะอยู่กับตัว ช่วยให้การดำเนินชีวิตทางโลกของท่านเป็นไปอย่างสะดวก ไม่เศร้าหมอง และมีส่วนสนับสนุนความเจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานเป็นอย่างมาก แต่บางครั้งการมีสติ ก็ทำให้การไปเที่ยวเตร่หรือการเที่ยวเล่นเริ่มไม่เป็นเรื่องสนุกเหมือนอย่างเคย เพราะท่านมองเห็นแต่โทษภัยของการขาดสติ โทษของการที่เผลอเพลินไปกับกิเลสต่างๆ จนในที่สุด เมื่อครบ ๑๐ ปี ตรงกับที่ได้ตั้งอธิษฐานไว้ และเป็นปีที่หลวงพ่อชาได้มรณภาพ ในกาลนั้นเองท่านได้เห็นสัจธรรมความไม่เที่ยงของสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่เว้นแม้แต่ครูบาอาจารย์ที่ท่านเคารพ ท่านจึงอาศัยสิ่งนี้เป็นอันดับแรก เป็นอนุสติเครื่องกระตุ้นเตือนใจ ผลักตัวเองให้ออกจากชีวิตทางโลก ประกอบกับเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย และไม่ค่อยเห็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตฆราวาสเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งได้รู้สึกถึงความก้าวหน้าของผลการปฏิบัติ ที่ค่อยๆ ฝึกหัดกระทำมาตลอด ๑๔ ปี นับแต่เจอหลวงพ่อชา สิ่งเหล่านี้จึงรวมมาเป็นเหตุปัจจัยผลักดันให้ท่านเข้ามาบวชอีกครั้ง <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>ครั้งนี้ท่านเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร์ ที่สำนักสงฆ์บุญญาวาส จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันเป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพง มีพระอาจารย์ตั๋น (พระอาจารย์อัครเดช ถิรจิตฺโต) เป็นเจ้าอาวาส หลังจากบวชได้ระยะหนึ่ง ในระหว่างออกปลีกวิเวกธุดงค์ร่วมกับพระเถระอีก ๒ รูป ท่านได้มาบำเพ็ญภาวนา พำนักอยู่ยังผืนนาอันเป็นของโยมแม่ท่านยกถวาย ณ.บริเวณถนนลำลูกกา คลองสิบ จังหวัดปทุมธานี เรื่อยมาจนท่านได้ ๕ พรรษา จากนั้นเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้พำนัก อยู่เพียงลำพังผู้เดียว ท่านจึงอาศัยความสันโดษวิเวกนี้ เป็นโอกาสแห่งการปฏิบัติภาวนาอย่างเต็มกำลังความสามารถ พร้อมทั้งศึกษาธรรม และวินัยจากพระโอษฐ์ควบคู่กันไป <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>ในช่วงหน้าแล้งของแต่ละปี ท่านได้หาโอกาสออกวิเวกตามป่าเขา จนในพรรษาที่ ๗ หลังออกวิเวกธุดงค์ โดยเดินจากเมืองกาญจนบุรีผ่านทุ่งใหญ่นเรศวร ขึ้นจังหวัดตาก และเมื่อกลับมาถึงคลองสิบ ได้เป็นไข้มาลาเรีย นอนป่วยอยู่ผู้เดียวเป็นเวลา ๗ วัน จึงมีคนมารับไปรักษา ผลจากอาพาธครั้งนี้ทำให้ท่านมีอาการอ่อนเพลียต่อเนื่องมาอีก ๕ ปี จึงเริ่มหายเป็นปกติ ในระหว่างนั้นสถานที่ดังกล่าวค่อยๆ ได้รับการพัฒนาตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ หรือประมาณ ๘ ปี นับแต่ท่านได้มาอยู่บำเพ็ญภาวนาสถานที่แห่งนี้ จึงได้ขึ้นทะเบียนตั้งเป็นวัดนาป่าพงจวบจนถึงปัจจุบัน <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>ท่านได้วางแนวทางการปฏิบัติของพระสงฆ์ในวัดได้อย่างชัดเจน โดยยึดแต่คำสอนที่เป็นพุทธวจนะของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทาง ท่านได้วางนโยบายในวัดให้มีความสงบสอดคล้องเหมือนกับการออกวิเวกธุดงค์ กำหนดกิจข้อวัตรของพระในวัดให้กระชับที่สุด และเป็นกฎเกณฑ์ของหมู่คณะที่ต้องเคร่งครัด เพื่อเปิดโอกาสให้พระได้มีเวลาในการภาวนามากๆ <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>ผู้ที่จะบวชในวัดนี้ควรจะต้องมีเวลาอย่างน้อย ๑ เดือน เพื่อเตรียมตัวอยู่เป็นผ้าขาวก่อนประมาณ ๒ อาทิตย์ จากนั้นบรรพชาเป็นสามเณรอีกประมาณ ๑ อาทิตย์ แล้วจึงสามารถบวชเป็นพระได้ ทั้งนี้เพื่อฝึกฝนข้อวัตรปฏิบัติ และเป็นการชำระกายใจให้บริสุทธิ์เสียก่อน เนื่องเพราะท่านเห็นว่าการบวชในระยะสั้นๆ นั้นเกิดประโยชน์น้อย และเสี่ยงต่อการทำผิดในเพศบรรพชิตได้ง่าย <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>ท่านเน้นย้ำมากในเรื่องการศึกษาและปฏิบัติธรรมะว่า ควรศึกษาโดยตรงในธรรมะจากพระโอษฐ์เท่านั้น เพราะที่ทรงตรัสถึงขีดจำกัดของสาวกที่เป็นเพียงผู้เดินตามมรรค การแสดงความเห็นของสาวกย่อมมีข้อผิดเพี้ยน ซึ่งเป็นเหตุเสื่อมและเป็นความอันตรธานแห่งธรรมวินัยของตถาคตในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต และเป็นเหตุแห่งการนับถือศาสนาพุทธที่ผิดเพี้ยนไปด้วย รวมถึงการนำพระพุทธศาสนาไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง <O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>ท่านแนะนำการศึกษาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ จากหนังสือที่ท่านพุทธทาสได้รวบรวมเฉพาะคำพูดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรง ไม่ปนความเห็นของผู้ใด มี ๕ เล่ม คือ ๑.อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น ๒.อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย ๓. ขุมทรัพย์จากพระโฮษฐ์ ๔.พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ และ ๕.ปฏิจฺจสมุปฺบาทจากพระโอษฐ์ ซึ่งทางธรรมสภาได้รวบรวมและจัดส่งให้โดยสะดวกแก่ผู้โทรสั่งซื้อ ท่านกล่าวว่า การที่พุทธบริษัทศึกษาและปฏิบัติจากคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรงนี้ จะทำให้การภาวนาเจริญก้าวหน้า และเป็นทางเดียวที่จะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. จิตสดใส

    จิตสดใส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +1,260
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>แนวทางของวัดนาป่าพง </TD></TR><TR><TD><HR></TD></TR><TR><TD> พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโลได้วางแนวทางการปฏิบัติของพระสงฆ์ในวัดได้อย่างขัดเจน โดยยึดแต่คำสอนที่เป็นพุทธวจนะของพระพุทธเจ้าเป็นแนวทาง ท่านได้วางนโยบายในวัดให้มีความสงบสอดคล้องเหมือนกับการออกวิเวกธุดงค์ กำหนดกิจข้อวัตรของพระในวัดให้กระชับที่สุด และเป็นกฎเกณฑ์ของหมู่คณะที่ต้องเคร่งครัด เพื่อเปิดโอกาสให้พระได้มีเวลาในการภาวนามากๆ

    [​IMG] [​IMG]

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD style="TABLE-LAYOUT: fixed; HEIGHT: 300px" vAlign=top colSpan=3><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>เกณฑ์การเข้าปฎิบัติ,บวช </TD></TR><TR><TD><HR></TD></TR><TR><TD> ผู้ที่จะบวชในวัดนี้ควรจะต้องมีเวลาอย่างน้อย ๑ เดือน เพื่อเตรียมตัวอยู่เป็นผ้าขาวก่อนประมาณ ๒ อาทิตย์ จากนั้นบรรพชาเป็นสามเณรอีกประมาณ ๑ อาทิตย์ แล้วจึงสามารถบวชเป็นพระได้ ทั้งนี้เพื่อฝึกฝนข้อวัตรปฏิบัติ และเป็นการชำระกายใจให้บริสุทธิ์เสียก่อน เนื่องเพราะท่านเห็นว่าการบวชในระยะสั้นๆ นั้นเกิดประโยชน์น้อย และเสี่ยงต่อการทำผิดในเพศบรรพชิตได้ง่าย
    ระเบียบการพักปฏิบัติธรรม วัดนาป่าพง
    ๑. ลงทะเบียนที่สำนักงานมูลนิธิพุทธโฆษณ์ (อาคาร ข๓) วัดนาป่าพง เเละรับกุญเเจ ในช่วงเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.
    ๒. พักปฏิบัติธรรมได้ครั้งละไม่เกิน ๓๐ วัน
    ๓. เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย สำรวมกาย วาจา ใจ
    ๔. นำเครื่องนอนเเละอุปกรณ์ในการรับประทานอาหารส่วนตัวมาด้วย เพื่อไม่เป็นภาระเเก่คณะสงฆ์
    ๕. งดใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดในบริเวณสถานที่ฟังธรรมเเละปฏิบัติธรรม เพื่อไม่ให้รบกวนผู้ปฏิบัติธรรมคนอื่น
    ๖. ทำความสะอาดที่พัก ปิดประตู หน้าต่าง ดูเเลน้ำ-ไฟ เเละเก็บขยะทิ้งให้เรียบร้อยก่อนกลับบ้าน
    ๗. เก็บของใช้ส่วนตัว กลับไปด้วย อย่าทิ้งไว้ เช่น สบู่ หลอดยาสีฟัน ฯลฯ
    ๘. ก่อนกลับบ้าน ให้นำกุญเเจส่งคืนที่สำนักงานมูลนิธิพุทธโฆษณ์ (อาคาร ข๓) วัดนาป่าพง ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.

    หมายเหตุ
    ๑. ระเบียบนี้คณะสงฆ์พิจารณาเปลี่ยนเเปลงได้ตามความเหมาะสม
    ๒. ติดต่อประสานงานได้ที่
    ๒.๑ คุณรัฐนันท์ (เอ็ม) ๐๘๖ - ๐๘๔๖๒๙๙
    ๒.๒ คุณณัฐธนัน (เล็ก) ๐๘๔ - ๑๒๓๒๔๕๐

    คณะสงฆ์วัดนาป่าพง
    ลำลูกกาคลอง ๑๐ จ.ปทุมธานี

    [​IMG]

    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>ระเบียบภายในวัดนาป่าพง </TD></TR><TR><TD><HR></TD></TR><TR><TD>"ตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม เป็นผู้เคารพต่อธรรม"
    - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๓๗/๙๙

    ๑. การสำรวมในศีล : "มาเถิดพวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยมรรยาท เเละโคจรอยู่เถิด, จงเป็นผู้เห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายเเม้เป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด"
    -
    ห้ามนำสุราเข้ามาดื่ม เเละนำสัตว์มีชีวิตเข้ามาทำอาหารในบริเวณวัด
    - ห้ามขับรถ เข้า-ออก เร็วเกินควร เพราะเสียงจะรบกวนผู้กำลังปฏิบัติธรรม
    - ต้องถอดหมวก ถอดรองเท้าก่อน จึงเข้าไปในวัดด้วยอาการสำรวม

    ๒. การสำรวมในทวารทั้งหลาย : "มาเถิดพวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย มีสติคอยอารักขา มีสติคอยปกป้อง มีใจถูกคุ้มครองเเล้ว ประกอบด้วยใจอันสติคอยอารักขาเเล้วอยู่เถิด"
    - จงสงบ กาย วาจา ใจ ให้มาก อย่าคะนอง ปาก มือ เเละเท้า
    - ห้ามเปิดวิทยุ เเละการละเล่นต่างๆ ภายในบริเวณวัด

    ๓. การหยุดพูดพล่าม : "มาเถิดพวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้พูดเเต่น้อยคำ จงทำการหยุดการพูดพล่ามเสียเถิด"
    - ปิด งดการใช้โทรศัพท์ เเละสิ่งอุปกรณ์ใดๆ อันจะรบกวนสมาธิผู้อื่นในธรรมศาลา หรือที่ประชุมฟังธรรม

    ๔. การหลีกออกจากหมู่ ด้วยกาย : "มาเถิดพวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้สมาทานการอยู่ป่า จงเสพเฉพาะเสนาสนะอันเงียบสงัดที่เป็นป่า เเละป่าชัฏเถิด"
    - ไม่มีกิจจำเป็น ห้ามเข้าไปคลุกคลีในกุฏิกับพระภิกษุ เเละสามเณร
    - ห้ามเก็บผลไม้ เเละเข้ามากินในวัด จะเป็นการก่อกวนความสงบ

    ๕. ความเห็นชอบ : "มาเถิดพวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีสัมมาทิฐิ ประกอบด้วยความเห็นชอบเถิด"
    - ต้นไม้ เเละสัตว์ป่าเป็นสมบัติอันล้ำค่า จงช่วยกันรักษาเพื่อลูกหลาน
    - พุทธศาสนิกชน ทุกเพศทุกวัย เพื่อหายพยศ ลดมานะ ละทิฐิ โปรดปฏิบัติดังนี้
    - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๕๖/๑๑๔

    "ภัยย่อมไม่มีจากบัณฑิต: ความชั่วย่อมไม่มีจากบัณฑิต: อุปสรรคย่อมไม่มีจากบัณฑิต .... เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงทำในใจว่า "เราทั้งหลาย จักเป็นบัณฑิต", ดังนี้ ... พวกเธอทั้งหลายพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้เเล"
    - อุปริ.ม.๑๔/๑๖๖/๒๓๕

    แหล่งอ้างอิง www.watnapahpong.org/aboutrule.aspx
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...