พระซื้อข้าว ฉันได้ไหมครับ..

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Fabreguz, 28 พฤศจิกายน 2012.

  1. Fabreguz

    Fabreguz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    645
    ค่าพลัง:
    +1,911
    มีข้อสงสัยดังนี้
    .
    1. พระซื้อข้าวฉันได้ไหมครับ เพราะเห็นเยอะอยู่ที่พระไปซื้ออาหาร ฉันที่ร้านอาหาร โดยส่วนตัวคิดว่าพระน่าจะ ฉันได้แต่อาหารที่ บิณฑบาตร มา หรือมีผู้ถวาย เท่านั้น ส่วนซื้อเองนี่ พระไม่น่าจะซื้อ ขาย อะไรได้นะครับ.. ( แล้วอย่างเช่น ซื้อหนังสือมาอ่าน ซื้อบัตรเติมเงินโทรศัพท์มาใช้ อย่างนี้ละ )

    2. พระควร เจิมรถ.. ทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ เจิมบ้าน หรือไม่

    3. พระไปนอนที่บ้านกับพ่อแม่ ได้หรือไม่ครับ ถ้าพ่อแม่ นิมนต์

    ที่ผมถามนี่ไม่ได้ลบหลู่นะครับ เผื่อในอนาคต ผมบวช จะได้รู้ว่าสิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ ขอบคุณครับ
     
  2. rattanaphan

    rattanaphan คุณเข้ม สหายแห่งธนนม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +386
    1. โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๘ เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
    [๑๐๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน อันเป็นสถานที่
    พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์. ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร เป็น
    กุลุปกะของสกุลหนึ่ง รับภัตตาหารอยู่เป็นประจำ ของเคี้ยวของฉันอันใดที่เกิดขึ้นในสกุลนั้น.
    เขาย่อมแบ่งส่วนไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร. เย็นวันหนึ่งในสกุลนั้นมีเนื้อเกิดขึ้น เขาจึงแบ่งส่วนเนื้อนั้นไว้ถวายท่านพระอุปนันทศากยบุตร. เด็กของสกุลนั้นตื่นขึ้นในเวลาเช้ามืด ร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า. บุรุษสามีจึงสั่งภรรยาว่า จงให้ส่วนของพระแก่เด็ก เราจักซื้อของอื่นถวายท่าน. ครั้นแล้วเวลาเช้าท่านอุปนันทศากยบุตร นุ่งอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่สกุลนั้น แล้วนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย.
    ทันใด บุรุษนั้นเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร กราบแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง,
    ได้กราบเรียนว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อเย็นวานนี้มีเนื้อเกิดขึ้น, ผมได้เก็บไว้ถวายพระคุณเจ้าส่วนหนึ่ง,
    จากนั้นเด็กคนนี้ตื่นขึ้นแต่เช้ามืดร้องอ้อนวอนว่า จงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า ผมจึงได้ให้เนื้อส่วนของพระคุณเจ้าแก่เด็ก, พระคุณเจ้าจะให้ผมจัดหาอะไรมาถวายด้วยทรัพย์กหาปณะหนึ่ง ขอรับ.

    ท่านพระอุปนันทศากยบุตรถามว่า เธอบริจาคทรัพย์กหาปณะหนึ่งแก่เรา แล้วหรือ?
    บุ. ขอรับ ผมบริจาคแล้ว.
    อุ. เธอจงให้กหาปณะนั้นแหละแก่เรา.

    บุรุษนั้นได้ถวายกหาปณะแก่ท่านพระอุปนันทศากยบุตร ในทันใดนั้นเอง แล้วเพ่งโทษ
    ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ รับรูปิยะเหมือนพวกเรา.

    ภิกษุทั้งหลายได้ยินบุรุษนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
    ไฉน ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงได้รับรูปิยะเล่า? แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
    ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า ดูกรอุปนันทะ ข่าวว่าเธอรับรูปิยะจริงหรือ?
    ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
    ทรงติเตียน
    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ
    ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ, ไฉนเธอจึงได้รับรูปิยะเล่า? การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว. โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่
    ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว.
    ทรงบัญญัติสิกขาบท
    พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนท่านพระอุปนันทศากยบุตร โดยอเนกปริยายดั่งนี้แล้วตรัส
    โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ
    ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย
    ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม
    การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงกระทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
    เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
    เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ (เพื่อข่มบุคคลผู้ประพฤติไม่ดี)
    เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุมีศีลเป็นที่รัก ๑
    เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ (เพื่อป้องกันความเสื่อมมิให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน)
    เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ (เพื่อป้องกันความเสื่อมมิให้เกิดขึ้นในอนาคต)
    เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ๑
    เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
    เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
    เพื่อถือตามพระวินัย ๑. (เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์จัดระเบียบสงฆ์)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
    พระบัญญัติ
    ๓๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. เรื่องพระอุปนันทศากยบุตรจบ.

    2. ไม่อยู่ในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า พิจารณาเองนะครับ

    3. พระนอน(จำวัด) ในบ้านได้ แต่ต้องดูข้อบัญญัติพระวันัยอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น พระนอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๓ คืน หรือไม่? หรือในชายคาเดียวกันมีสตรีอยู่ด้วยหรือไม่? หากท่านนอนบ้านบ่อยๆ อันนี้ไม่เหมาะสมเป็นที่สังคมติเตียน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2012
  3. Jt Odyssey

    Jt Odyssey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,687
    ค่าพลัง:
    +12,591

    รักษาศีลของพระให้ได้ทั้ง 227 ข้อ จะได้สิ้นสงสัย
     
  4. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    ***ตอบดังนี้ครับ

    1. นิสสัคคิยปาจิตตีย์ โกสิยวรรค สิกขาบทที่ ๙
    โย ปะนะ ภิกขุ นานัปปะการะกัง รูปิยะสังโวหารัง.....
    “อนึ่ง ภิกษุใดถึงความซื้อขายด้วยรูปิยะมีประการต่างๆ,
    เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.”


    2.๗. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่น อย่างที่สมณพราหมณ์
    ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา
    เห็นปานนี้ คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน
    ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกระเทย ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่
    พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน
    ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์
    ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ใส่ยา ชะแผล แม้ข้อนี้
    ก็เป็นศีลของเธออีกประการหนึ่ง.

    ***นี่คือส่วนหนึ่งในการทำ เดรัจฉานวิชา ยังมีอีกมาก แต่สิกขาบทในส่วนนี้ไม่มีการปรับความผิด แต่ผิดพระวินัย

    3.ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๕
    โย ปะนะ ภิกขุ อะนุปะสัมปันเนนะ อุตตะริท๎วิรัตตะติรัตตัง.....
    “อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับอนุปสัมบัน ยิ่งกว่า
    ๒-๓ คืน เป็นปาจิตตีย์.”


    ปาจิตตีย์ มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๖
    โย ปะนะ ภิกขุ มาตุคาเมนะ สะหะเสยยัง กัปเปยยะ.....
    “อนึ่ง ภิกษุใดสำเร็จการนอนร่วมกับมาตุคาม เป็น

    ปาจิตตีย์.”
     
  5. สหพัฒน์

    สหพัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +710
    มันก็อยู่ในพระธรรมวินัย ทั้ง 3 ข้อแหละครับ มันก็มีบางข้อที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ บางข้อก็ปาจิตตีย์บางข้อก็ทุกกฎ ถ้าจะบวชจริงๆก็อ่านหนังสือ อริยวินัย น่ะครับ หรือโหลดไฟล์มาอ่านก็ได้ มีให้โหลด แต่ตอนผมบวชผมใช้หนังสือเล่มจริงศึกษาเอาครับ แต่ถ้าจะเป็นพระผู้ปฏิบัติหวังความพ้นทุกข์จริงๆ ก็ไม่ควรล่วงศีลแม้ข้อเล็กน้อย
    ขอให้ทุกท่านจงเจริญในธรรม...
     
  6. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,816
    ค่าพลัง:
    +15,099
    ผิดพระวินัย ครับ แต่ก็เห็นมีอยู่ทั่วไป เพราะเป็นอาบัติที่แก้ไขได้!
     
  7. kikinlala

    kikinlala เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    4,939
    ค่าพลัง:
    +8,842
    คิดว่าถ้าจำเป็นก็น่าจะทำได้ค่ะ เช่นซื้ออาหารฉันเอง ถ้าออกไปธุระข้างนอกไม่มีใครใส่บาตร จะฉันอะไร ..ก็ต้องซื้อฉันเอง
     
  8. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +3,776
    ผมอาจจะตอบแบบบ้านๆนะครับ เรื่องพระวินัยก็อ่านจากพี่ๆข้างบน
    ๑ ถ้าพระหิวมากจริงๆ ก็ควรซื้อกิน
    เหมือนนั่งรถโดยสาร... อย่างไปเรียนหรือไปหาโยมแม่ที่ป่วยหนัก
    เดินไม่ไหว ไกลแค่ ๕๐๐ กิโลเมตร ก็ต้องจ่ายตังค์ค่ารถโดยสาร
    วินัยมีอยู่ แต่ผมเคยได้ยินมาว่า เหตุอันควรไม่ควรต้องรู้เรื่องใช้ปัญญา

    ๒ ถ้าเขามีศรัทธา ก็ไม่ควรขัด เจิมซะหน่อย
    เขาปีติแล้วสอนธรรมะต่อ... ได้ผลแรงนักแล
    อีกอย่าง เวลาเขานิมนต์ เขาก็ได้ทำบุญ ไม่ว่าจะสังฆทานหรือเลี้ยงพระ
    เขามีทุกข์อะไร เขาก็มาหาเรา มาคุยกับเรา... ไม่ห่างพระศาสนาใช่มั้ย
    อย่าลืมว่ากำลังใจคนเราไม่เท่ากัน ดึงมาได้เท่าไหร่ก็ควรดึง
    ไม่งั้นเขาร่วงลงนรกใช่มั้ย

    ๓ นิมนต์แล้วก็ไปนอนได้ แต่ก็อย่าไปนอนนานเกินพระวินัย ก็แค่นั้น...
    บ้านผมก็มีพระมาจำวัดบ่อยๆ ตกเย็นท่านนำไหว้พระทำวัตรเย็น
     
  9. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    รักษาจิตไม่ให้เกิด ราคะ โทสะ โมหะ ได้มากเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น
    ไม่ต้องกลัว กังวลเกินไป ก็จะสามารถเป็นอริยบุคคลได้
    เพราะสิกขาบทของภิกษุ บางข้อนั้นถ้าละเมิดแล้วก็มีวิธีแก้ไขได้อยู่ แต่เราก็ต้องพยายามอย่าให้ละเมิด เป็นสุดยอดดี

    ที่สำคัญที่จิต ถ้าเรารักษาจิตได้ ทุกอย่างก็อยู่ในนั้นอยูู่แล้ว ครับผม
    มีตัวอย่าง ว่า พระท่านบวชมาแล้ว เห็นว่ามีข้อบังคับเยอะ จึงอึดอัด กลัวผิด จึงคิดจะสึก แต่ยังมีบุญ ไปพบพระพุทธองค์เข้า พระองค์จึงทรงแนะนำให้รักษาจิต โดยตรัสถามว่า ภิกษุ เธอจะรักษาอย่างหนึ่งได้หรือไม่ ? พระท่านทูลถามว่า รักษาอะไรพระเจ้าข้า ? พระองค์ตรัสว่า รักษาจิต เท่านั้น ฯ รายละเอียดศึกษาเพิ่มเติมได้ นะครับ

    เสขสูตรที่ ๔
    [๕๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศทุกกึ่งเดือน ซึ่งกุลบุตรผู้ปรารถนาประโยชน์พากันศึกษาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายสิกขา ๓ นี้ ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด สิกขา ๓ เป็นไฉน คืออธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓นี้แล ที่สิกขาบท ๑๕๐ นั้นรวมอยู่ด้วยทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา เธอย่อมล่วงสิกขาบทเล็กน้อยบ้าง ย่อมออกจากอาบัติบ้าง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไม่มีใครกล่าวความเป็นคนอาภัพเพราะเหตุล่วงสิกขาบทนี้
    แต่ว่าสิกขาบทเหล่าใด เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ สมควรแก่พรหมจรรย์
    เธอเป็นผู้มีศีลยั่งยืน และมีศีลมั่นคงในสิกขาบทเหล่านั้น สมาทานศึกษาอยู่ใน
    สิกขาบททั้งหลาย เธอทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้
    เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ก็หรือว่า
    เมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
    เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอด
    วิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
    หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามี
    ผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยัง
    ไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะ
    โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมดสิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น
    เธอเป็นพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ หมด
    สิ้นไป ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระสกทาคามี
    เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง มา
    สู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง
    ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระเอกพิชีโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมด
    สิ้นไป มาบังเกิดยังภพมนุษย์นี้ครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็
    หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็นพระโกลังโกละโสดาบัน
    เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปสู่ ๒ หรือ ๓ ตระกูล (ภพ) แล้ว
    จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ก็หรือว่าเมื่อยังไม่ถึง ยังไม่แทงตลอดวิมุตตินั้น เธอเป็น
    พระสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ยังท่องเที่ยวไปใน
    เทวดาและมนุษย์อย่างมากเพียง ๗ ครั้ง แล้วจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทำได้เพียงบางส่วน ย่อมให้สำเร็จได้เพียง
    บางส่วน ผู้ทำให้บริบูรณ์ ย่อมให้สำเร็จได้บริบูรณ์อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวสิกขาบททั้งหลายว่า ไม่เป็นหมันเลย ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๑๙๘ - ๖๒๓๑. หน้าที่ ๒๖๔ - ๒๖๖.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=6198&Z=6231&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=528
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://www.84000.org/tipitaka/read/?
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๐ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_20
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2012
  10. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,516
    ค่าพลัง:
    +9,769
    อาราธนานิมนต์พระภิกษุมาตอบได้ไหมครับ เพราะน่าจะมีแนวปฏิบัติจริงๆ
    เพราะเหตุการณ์นี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...