พระดำรัส"องค์ภา".."รุนแรงเป็นปัญหาส่วนรวม"

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 23 พฤศจิกายน 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    "พระองค์ภาฯ"เสด็จทรงเป็นประธานประชุม "1 ปี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว"


    [​IMG]


    "พระองค์ภาฯ"องค์ทูตสันถวไมตรี ยูนิเฟม ประทานรายชื่อคนไทยร่วมหนุนยุติความรุนแรงต่อหญิง ถือว่ามากสุดในโลก ทรงเข้าร่วมอภิปราย"1 ปี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวฯ"

    <STYLE> P { margin: 0px; } </STYLE>เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 22 พฤศจิกายน พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา องค์ทูตสันถวไมตรี ยูนิเฟม เสด็จไปทรงเป็นประธานการประชุมหัวข้อ "1 ปี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 : นวัตกรรมใหม่ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวแบบมืออาชีพ" ที่อิมแพค เมืองทองธานี มีผู้เข้าร่วมประชุม 1,200 คน


    เมื่อเสด็จถึงประทานรายชื่อ ซึ่งได้จากการรวบรวมผู้ร่วมสนับสนุนยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงจากองค์กรภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ในโครงการ "ยูนิเฟม เซย์ โน ทู ไวโอเลนซ์ อะเกนสท์ วีแมน" จำนวนกว่า 3 ล้านรายชื่อให้กับ ดร.จีน เดอคูน่า ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือ "ยูนิเฟม" โดยรายชื่อที่รวบรวมได้มีจำนวนมากที่สุดในโลก ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย อาทิ เวียดนาม มีจำนวน 1 ล้านชื่อ สาธารณรัฐประชาชนจีนมี 2 แสนชื่อ


    จากนั้นพระองค์ภาประทานพระดำรัสว่า รายชื่อเหล่านี้เป็นเสียงสะท้อนที่ดังและชัดเจนของประเทศไทยว่าจะไม่ปล่อยให้เกิดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก การรณรงค์ครั้งนี้กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในระดับชาติ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการประสานความร่วมมือเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กในประเทศไทยตั้งแต่อดีตต่อไปในอนาคต ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายได้ต้องอาศัยการรณรงค์อย่างต่อเนื่องเป็นระบบและจริงจัง โดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดทัศนคติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ฝังรากลึก อันเป็นบ่อเกิดของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิง-ชาย เพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อให้เยาวชนปฏิบัติต่อบุคคลรอบข้าง ทั้งในครอบครัว โรงเรียน และชุมชนอย่างมีความละเอียดอ่อนต่อมิติเพศ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสนับสนุนสาระที่ว่าการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ความรุนแรงเป็นปัญหาของส่วนรวม และไม่ใช่เรื่องส่วนตัว


    "ในฐานะทูตสันถวไมตรีของยูนิเฟมในประเทศไทย ข้าพเจ้ามีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความพยายามในการรณรงค์เผยแพร่สาระสำคัญเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง และกระตุ้นในเยาวชนและคนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความเสมอภาคระหว่างเพศและยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก เพื่อยกระดับประเด็นยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กให้เป็นประเด็นสำคัญในวาระแห่งชาติ" พระองค์ภาตรัส


    ต่อมาทรงเข้าร่วมอภิปราย ในหัวข้อ "1 ปี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวฯ" จากนั้น ประทานอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ โดยทรงเป็นผู้ดำเนินการอภิปรายด้วยพระองค์เอง


    ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากผลสำรวจปัญหาครอบครัวในประเทศไทย มีจำนวนสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 3,680 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นความรุนแรงด้านร่างกาย ในปี 2551 มีผู้ถูกกระทำความรุนแรง 52 คนต่อวัน พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับได้ 1 ปีแล้ว พบว่ายังมีการนำไปใช้น้อยมาก ส่วนใหญ่มุ่งฟื้นฟูแต่ผู้ถูกกระทำ ขณะที่ผู้กระทำไม่ได้รับการฟื้นฟู ซึ่งผิดกับหลักการของ พ.ร.บ.ที่มุ่งฟื้นฟูทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ คณะแพทยศาสตร์กำลังจัดให้มีโครงการฟื้นฟูผู้กระทำความรุนแรง เปิดโรงซ่อมสามีที่กระทำความรุนแรง จะดำเนินการในปี 2552


    พล.ต.ท.ชัชวาล สุขสมจิตร์ ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กล่าวว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้สมบูรณ์แบบ ในระยะเวลา 1 ปีมีผู้มาร้องทุกข์เพียง 429 คดีเท่านั้น นับว่าน้อยมาก ชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน เพื่อให้ พ.ร.บ.นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


    นายธราธร จิตมหาวงศ์ ผู้แทนสำนักอัยการสูงสุด กล่าวว่า ระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา มีคดีความรุนแรงขึ้นมาถึงชั้นศาลเพียง 51 คดีเท่านั้น แบ่งเป็นคดีความรุนแรงต่อผู้หญิง 49 คดี และความรุนแรงต่อเด็ก 2 คดี สะท้อนให้เห็นว่ายังมีผู้หญิงที่ถูกทำร้ายอีกมากในสังคมไทย ส่วนปัญหาที่พบหลังจากบังคับใช้ พ.ร.บ. ส่วนใหญ่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงถอนคำร้องทุกข์ไม่ดำเนินคดีต่อ ส่งผลให้คดีต้องยุติลงทันที ทำให้กระบวนทางกฎหมายไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่


    นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการบ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ เหตุผลสำคัญเกิดจากสังคมไทยยังมองเรื่องความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว แม้กฎหมายจะเปลี่ยน แต่ถ้าวัฒนธรรมไม่เปลี่ยนก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พระองค์ภาเคยตรัสกับตนว่า ปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องของสังคม ดังนั้น หากต้องการให้ปัญหาลดลง สังคมต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ และต้องบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
    -------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1227361188&grpid=01&catid=42
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 พฤศจิกายน 2008
  2. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    พระดำรัส"องค์ภา" "รุนแรงเป็นปัญหาส่วนรวม"

    หยุดกระทำต่อ"หญิง-เด็ก" ให้เสมอภาคระหว่างเพศ ทรงส่ง3ล้านชื่อให้ยูนิเฟม



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา องค์ทูตสันตวไมตรี "ยูนิเฟม" ทรงเป็นประธานดำเนินการอภิปรายในหัวข้อ 1 ปี พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน


    </TD></TR></TBODY></TABLE>พระองค์ภาฯทรงย้ำความรุนแรงเป็นปัญหาส่วนรวม ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เผย 1 ปี พ.ร.บ.ความรุนแรงฯค่อนข้างล้มเหลว ชาวบ้านไม่รู้เรื่อง เจ้าหน้าที่นำไปใช้ไม่เป็น จนมีผู้ร้องทุกข์เพียง 429 คดี คดีขึ้นสู่ศาลแค่ 51 คดี เพราะเหยื่อถอนคำร้องทุกข์ มองเป็นเรื่องส่วนตัว

    เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 22 พฤศจิกายน พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา องค์ทูตสันถวไมตรี ยูนิเฟม เสด็จไปทรงเป็นประธานการประชุมหัวข้อ "1 ปี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 : นวัตกรรมใหม่ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวแบบมืออาชีพ" ที่อิมแพค เมือง ทองธานี มีผู้เข้าร่วมประชุม 1,200 คน

    เมื่อเสด็จถึงประทานรายชื่อซึ่งได้จากการรวบรวมผู้ร่วมสนับสนุนยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงจากองค์กรภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ ในโครงการ "ยูนิเฟม เซย์ โน ทู ไวโอเลนซ์ อะเกนสท์ วีแมน" จำนวนกว่า 3 ล้านรายชื่อให้กับ ดร.จีน เดอคูน่า ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือ "ยูนิเฟม" โดยรายชื่อที่รวบรวมได้มีจำนวนมากที่สุดในโลก ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชีย อาทิ เวียดนาม มีจำนวน 1 ล้านชื่อ สาธารณรัฐประชาชนจีนมี 2 แสนชื่อ

    จากนั้นพระองค์ภาประทานพระดำรัสว่า รายชื่อเหล่านี้เป็นเสียงสะท้อนที่ดังและชัดเจนของประเทศไทยว่าจะไม่ปล่อยให้เกิดความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก การรณรงค์ครั้งนี้กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในระดับชาติ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการประสานความร่วมมือเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กในประเทศไทยตั้งแต่อดีตต่อไปในอนาคต ซึ่งจะบรรลุเป้าหมายได้ต้องอาศัยการรณรงค์อย่างต่อเนื่องเป็นระบบและจริงจัง โดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดทัศนคติทางสังคมและวัฒนธรรมที่ฝังรากลึก อันเป็นบ่อเกิดของความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิง-ชาย เพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อให้เยาวชนปฏิบัติต่อบุคคลรอบข้าง ทั้งในครอบครัว โรงเรียน และชุมชนอย่างมีความละเอียดอ่อนต่อมิติเพศ เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องสนับสนุนสาระที่ว่าการกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ ความรุนแรงเป็นปัญหาของส่วนรวม และไม่ใช่เรื่องส่วนตัว

    "ในฐานะทูตสันถวไมตรีของยูนิเฟมในประเทศไทย ข้าพเจ้ามีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนความพยายามในการรณรงค์เผยแพร่สาระสำคัญเพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง และกระตุ้นในเยาวชนและคนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความเสมอภาคระหว่างเพศและยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก เพื่อยกระดับประเด็นยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กให้เป็นประเด็นสำคัญในวาระแห่งชาติ" พระองค์ภาตรัส

    ต่อมาทรงเข้าร่วมอภิปราย ในหัวข้อ "1 ปี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวฯ" จากนั้น ประทานอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมอภิปรายร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ โดยทรงเป็นผู้ดำเนินการอภิปรายด้วยพระองค์เอง

    ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากผลสำรวจปัญหาครอบครัวในประเทศไทย มีจำนวนสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 3,680 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นความรุนแรงด้านร่างกาย ในปี 2551 มีผู้ถูกกระทำความรุนแรง 52 คนต่อวัน พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับได้ 1 ปีแล้ว พบว่ายังมีการนำ ไปใช้น้อยมาก ส่วนใหญ่มุ่งฟื้นฟูแต่ผู้ถูกกระทำ ขณะที่ผู้กระทำไม่ได้รับการฟื้นฟู ซึ่งผิดกับหลักการของ พ.ร.บ.ที่มุ่งฟื้นฟูทั้งผู้กระทำและผู้ถูกกระทำ คณะแพทยศาสตร์กำลังจัดให้มีโครงการฟื้นฟูผู้กระทำความรุนแรง เปิดโรงซ่อมสามีที่กระทำความรุนแรง จะดำเนินการในปี 2552

    พล.ต.ท.ชัชวาล สุขสมจิตร์ ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กล่าวว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้สมบูรณ์แบบ ในระยะเวลา 1 ปีมีผู้มาร้องทุกข์เพียง 429 คดีเท่านั้น นับว่าน้อยมาก ชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างชัดเจน เพื่อให้ พ.ร.บ.นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    นายธราธร จิตมหาวงศ์ ผู้แทนสำนักอัยการสูงสุด กล่าวว่า ระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา มีคดีความรุนแรงขึ้นมาถึงชั้นศาลเพียง 51 คดีเท่านั้น แบ่งเป็นคดีความรุนแรงต่อผู้หญิง 49 คดี และความรุนแรงต่อเด็ก 2 คดี สะท้อนให้เห็นว่ายังมีผู้หญิงที่ถูกทำร้ายอีกมากในสังคมไทย ส่วนปัญหาที่พบหลังจากบังคับใช้ พ.ร.บ. ส่วนใหญ่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงถอนคำร้องทุกข์ไม่ดำเนินคดีต่อ ส่งผลให้คดีต้องยุติลงทันที ทำให้กระบวนทางกฎหมายไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างเต็มที่

    นางทิชา ณ นคร ผู้อำนวยการบ้าน กาญจนาภิเษก กล่าวว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังมีปัญหาในทางปฏิบัติ เหตุผลสำคัญเกิดจากสังคมไทยยังมองเรื่องความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องส่วนตัว แม้กฎหมายจะเปลี่ยน แต่ถ้าวัฒนธรรมไม่เปลี่ยนก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ พระองค์ภาเคยตรัสกับตนว่า ปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องของสังคม ดังนั้น หากต้องการให้ปัญหาลดลง สังคมต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติ และต้องบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ---------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/matichon/...1p0101231151&sectionid=0101&selday=2008-11-23
     

แชร์หน้านี้

Loading...