พระทางมหายานและเทพ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 10 กันยายน 2005.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ขอบคุณครับไม่รบกวนดีกว่า แต่อยากได้รายละเอียดในการทำบุญพระไตรปิฏกส่งให้ที่เมล์ได้มั้ยครับ สนใจสูตรมหายานมัยผมจะส่งให้ช่วยกันเผยแพร่พุทธศาสนาครับไม่ทราบว่าเกี่ยงนิกายหรือเปล่า
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,325
    รายละเอียดในการทำบุญพระไตรปิฏก ติดตามได้จาก link ข้างล่างได้เลยค่ะ
    (จะมีการ update เรื่อย ๆ ค่ะ)
    เชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วม สร้างพระไตรปิฏก Web Version ที่ดีที่สุดในโลก

    ส่วน สูตรมหายาน
    ถ้าคุณ joni_buddhist มีเรื่องราวดีดี เกี่ยวกับพุทธศาสนา
    สามารถนำมาเผยแพร่ได้ที่เวปพลังจิตได้เลยค่ะ
    ที่นี่ไม่เกี่ยงนิกายใด ๆ ทั้งสิ้น เปิดกว้างสำหรับทุกนิกาย
    หรือแม้แต่ศาสนาอื่น ๆ ก็สามารถนำมาเผยแพร่ได้นะคะ
    เพราะทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีทั้งนั้น

    แต่สืบเนื่องจากคณะผู้จัดทำเป็นชาวพุทธ จึงนำเสนอได้แต่พุทธศาสนาค่ะ
    ถ้าสมาชิกท่านใดที่นับถือต่างศาสนา ก็สามารถนำมาเผยแพร่แบ่งปันความรู้
    กันได้ค่ะ เพื่อเป็นการเปิดกว้างทางการศึกษาเรียนรู้
     
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    อยากให้แป้งหรือพี่ๆทีมงานหาเพลงพระไตรปิฎกมาลงได้ไหมครับ
     
  4. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร
    แปลโดย
    เสถียร โพธินันทะ
    เรียบเรียง จีน—ไทย โดย เย็นเจี่ยวภิกขุ
    เอื้อเฟื้อจากสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย
    [​IMG]
    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เชตวนารามวิหารของท่านอณาถบิณฑิกเศรษฐีแขวงเมืองสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ 1250 รูป ก็โดยสมัยนั้นแลเป็นกาลแห่งภัตต์ พระผู้มีพระภาคทรงครองจีวรทรงบาตร เสด็จจาริกไปบิณฑบาตรในนครสาวัตถีโดยลำดับ ครั้นแล้วเสด็จกลับมายังเชตวนารามทรงกระทำภัตกิจเสร็จ เก็บบาตรขึ้น ชำระพระบาท ประทับนั่งสมาธิบัลลังก์
    [​IMG]
    ครั้งนั้นแล พระสุภูติผู้มีอายุได้ลุกขึ้นจากท่ามกลางประชุมสงฆ์ ทำจีวรเฉลียงบ่าด้วยการลดไหล่ขวา แล้วคุกเข่าขวาลงสู่พื้น ประคองอัญชลีมายังพระผู้มีพระภาค พลางกราบทูลถามขึ้นว่า
    สุ “ หาได้ยากนักหนา ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ที่พระตถาคตทรงคอยระฤกในการตามคุ้มครอง และอบรมสั่งสอนปวงพระโพธิสัตว์อย่างดียิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ควรจักปฏิบัติตั้งจิตของตนโดยสถานใด ควรจักควบคุมบำราบจิตของตนอย่างไรหนอพระเจ้าข้า”
    พ “ สาธุๆ สุภูติ เป็นความจริงดุจที่เธอกล่าว ตถาคตย่อมตามระฤกในการคุ้มครอง และอบรมสั่งสอนปวงพระโพธิสัตว์เป็นอย่างดี เธอจงตั้งใจฟัง เราจักแสดงแก่เธอ กุลบุตรหรือกุลธิดาใดๆ ผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ควรจักปฏิบัติตั้งจิตของตนอย่างนี้ ควรจักควบคุมบำราบจิตของตนอย่างนี้ “
    สุ “ อย่างนั้น พระสุคต ข้าพระองค์มีความปลาบปลื้มยินดีเฝ้าคอยสดับอยู่ “

    [​IMG]
    พ “ ดูก่อน สุภูติ ปวงพระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ควรจักควบคุมบำราบจิตของตนอย่างนี้ว่า สรรพสัตว์ไม่ว่าจักเป็นเหล่าใดๆ คือ จักเป็นอัณฑะชะกำเนิดก็ดี, จักเป็นชลาพุชะกำเนิดก็ดี, จักเป็นสังเสทชะกำเนิดก็ดี, จักเป็นอุปปาติกะกำเนิดก็ดี, หรือจักมีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาหรือไม่มีสัญญาก็ดี มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี เราจักโปรดสัตว์ทั้งหลายดังกล่าวนี้ ให้บรรลุสำเร็จแก่อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ โดยประการฉะนี้ ปราศจากขอบเขตแต่โดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสัตว์ใดๆเป็นผู้บรรลุสำเร็จแก่อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเลย ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา สุภูติ ถ้าพระโพธิสัตว์ยังมีความยืดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ ในปุคคละลักษณะ ในสัตวะลักษณะ ในชีวะลักษณะไซร้ นั้นหาชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ไม่
    [​IMG]
    “ อนึ่ง สุภูติ ในการบำเพ็ญทานบารมี พระโพธิสัตว์จักต้องไม่ยึดติดอยู่ในธรรม กล่าวคือจักบำเพ็ญทานด้วยความไม่ยึดถือผูกพันในรูป ไม่ยึดถือผูกพันในเสียง กลิ่น รส สัมผัส และบำเพ็ญทานด้วยความไม่ยึดถือผูกพันในธรรมารมณ์ ดูก่อน สุภูติ พระโพธิสัตว์พึงบำเพ็ญทานด้วยความไม่ยึดถือผูกพันในการบำเพ็ญทานย่อมมีบุญกุศล อันจักคิดประมาณมิได้เลย สุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน อากาศเบื้องทิศตะวันออกจักพึงคิดคำนวณประมาณได้อยู่ฤาหนอ
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ ถ้าเช่นนั้น อากาศเบื้องทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตลอดจนอากาศเบื้องบนและเบื้องล่าง จักพึงคิดคำนวณประมาณได้อยู่ฤาหนอ
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ”
    พ “ ดูก่อน สุภูติ พระโพธิสัตว์ไม่เป็นผู้มีความยึดถือผูกพันในการบำเพ็ญทานย่อมมีบุญกุศลอันไม่พึงคิด คำนวณประมาณได้ดุจกัน สุภูติ พระโพธิสัตว์พึงปฏิบัติตามคำสอนอย่างนี้แล”

    [​IMG]
    พ “ ดูก่อน สุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระตถาคตนั้นพึงจักเห็นได้ด้วยรูปลักษณะฤาหนอ”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตเจ้ามิอาจจักเห็นได้ด้วยรูปลักษณะเลย ข้อนั้นเพราะเหตุใด ก็เพราะว่าพระตถาคตเจ้าตรัสแล้วว่า รูปลักษณะนั้น โดยความจริงแล้วมิได้มีสภาวะรูปลักษณะอยู่เลย”
    พ “ ดูก่อน สุภูติ สิ่งที่มีลักษณะทั้งปวง ย่อมเป็นมายา ถ้าสามารถเห็นแจ้งว่ารูปลักษณะทั้งปวง โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะแห่งรูปลักษณะ ก็ย่อมเห็นตถาคตได้ “

    [​IMG]
    สุ “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังจักมีสัตว์ใดที่ได้สดับพระธรรมบรรยาย ฉะนี้แล้วแลบังเกิดศรัทธาอันแท้จริงขึ้นหรือหนอ “
    พ “ อย่ากล่าวอย่างนั้นซิ สุภูติ เมื่อตถาคตดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว 500 ปี หากมีบุคคลผู้ถือศีลบำเพ็ญกุศลมาบังเกิดความศรัทธาอันแท้จริงในพระธรรมบรรยาย นี้แลเขาจักถือว่านั่นเป็นความจริงไซร้ เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่า บุคคลนั้นหาได้ปลูกฝังกุศลมูลเพียงในพระพุทธเจ้า 1 พระองค์ หรือพระพุทธเจ้า 2 พระองค์ 3 พระองค์ 4 พระองค์ 5 พระองค์ไม่ แต่เขาได้ปลูกฝังกุศลในพระพุทธเจ้านับด้วยพัน เป็นอเนกนับด้วยหมื่นเป็นอเนกจักนับประมาณพระองค์มิได้ บุคคลใดได้สดับพระธรรมบรรยายนี้บังเกิดจิตศรัทธาอันบริสุทธิ์แม้เพียงชั่วขณะเดียว สุภูติ ตถาคตย่อมรู้อยู่ ย่อมเห็นอยู่ในเขาเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายนี้ได้บรรลุบุญกุศลอันจักประมาณมิได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา เพราะสรรพสัตว์เหล่านี้ย่อมจักไม่มีอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะสักษณะ ชีวะลักษณะ ไม่มีธรรมลักษณะหรืออธรรมลักษณะ ด้วยเหตุเป็นไฉน ด้วยเหตุสรรพสัตว์เหล่านี้ ถ้ายังมีจิตยึดถือผูกพันในลักษณะ ก็ชื่อว่ายังมีความยืดถือในอาตมะ ปุคคละ สัตวะ และชีวะ หากยังมีความยึดถือในธรรมลักษณะ ก็ชื่อว่ายังมีความยึดถือในอาตมะ ปุคคละ สัตวะ และชีวะ ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา หรือหากมีความยึดถือในอธรรมลักษณะ ก็ยังชื่อว่ามีความยึดถือในอาตมะ ปุคคละ สัตวะ และชีวะดุจกัน เพราะเหตุฉะนั้นแล จึงไม่ควรยึดถือในธรรมและไม่ควรยึดถือในอธรรม นี้คือเหตุผลที่ตถาคตพร่ำสอนอยู่เสมอว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงกำหนดรู้ว่าธรรมะที่เราแสดงมีอุปมาดังผู้อาศัยพ่วงแพ แม้แต่ธรรมก็ยังต้องละเสีย จักกล่าวไปใยกับอธรรมเล่า” *1
    (*1 ธรรมของพระพุทธองค์ดุจยานพาหนะมีแพเป็นต้น สำหรับผู้ข้ามพ้นทุกข์อาศัยข้ามวัฏฏสงสารเมื่อบรรลุถึงฝั่งอมตนิพพานที่ปรารถนาแล้ว ผู้นั้นก็ย่อมไม่แบกหามแพให้เป็นภาระ คงปล่อยทิ้งไว้ที่ชายฝั่งนั่นเอง แต่ในขณะที่ยังไม่บรรลุถึงฝั่งก็จำต้องอาศัยไปพลางๆ ข้อความนี้เปรียบเทียบได้กับพุทธภาษิตในอลคัททูปมสูตรแห่งบาลีมัชฌิมนิกาย-ผู้แปล )

    [​IMG]
    “ สุภูติเอย เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณฤา ตถาคตได้แสดงพระธรรมเทศนาอยู่ฤา”
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ตามความเข้าใจของข้าพระองค์ในธรรมอรรถอันพระสุคตได้ตรัสไว้ ก็ไม่มีสภาวะใดแน่นอนที่เรียกว่าพระอนุตตระสัมมาสัมโพธิ และก็ไม่มีสภาวะธรรมแน่นอนอันใดซึ่งพระองค์แสดง ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน เพราะว่าธรรมซึ่งพระผู้มีพระภาคตรัสทั้งหมดไม่ควรยึดถือ ไม่ควรกล่าว ไม่ใช่ธรรมและไม่ใช่อธรรมทั้งนี้ด้วยเหตุอันใด ด้วยเหตุว่า พระอริยะบุคคลทั้งหลายอาศัยอสังขตธรรมนี้แล้วจึงมีความแตกต่างกัน *2
    ( *2 ธรรมทั้งปวงมีความศูนย์เป็นลักษณะ จึงกล่าวไม่ได้ว่าเป็นธรรมหรืออธรรม และจากความศูนย์นี้ เราจึงแบ่งประเภทอริยบุคคลต่างๆ เช่นพระโสดา สกทาคามี อนาคามีและพระอรหันต์ ทั้งนี้เพราะธรรมทั้งปวงไม่มีสภาวะแน่นอนอยู่ได้โดยตัวมันเอง ถ้ามีสภาวะแน่นอนในตัวของมันเองไซร้ พระอริยบุคคลประเภทต่างๆนี้ก็เกิดขึ้นไม่ได้)

    [​IMG]
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ถ้ามีบุคคลใดบำเพ็ญทานบริจาคด้วยสัปตรัตนะอันเต็มเปี่ยมทั่วมหาตรีสหัสโลกธาตุ บุคคลนั้นจักได้เสวยบุญกุศลอันมากมายกระนั้นฤาหนอ”
    สุ “ มากมายนั้นแล้วพระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าบุญกุศลนั้นโดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะอันใดที่เป็นกุศล ฉะนั้นพระตถาคตเจ้าจึงตรัสว่าได้บุญกุศลมากมาย” *3
    (*3 โดยปรมัตถ์บุญกุศลก็เป็นอนัตตาหรือศูนยตา การที่ไม่ยึดถือบุญกุศลนั่นแหละ จึงนับว่าเป็นบุญกุศลโดยแท้ เพราะเป็นบุญกุศลชนิดวิวัฏฏะ-ผู้แปล)
    พ “ ถ้ามีบุคคลได้อาศัยปฏิบัติตามพระสูตรนี้ แม้ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท และประกาศสั่งสอนแก่ผู้อื่น บุญกุศลของผู้นั้นจักโอฬารยิ่งกว่าผู้ทำทานด้วยสัปตรัตนะข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา สุภูติ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตลอดจนพระพุทธอนุตตรสัมมาสัมโพธิธรรมทั้งปวงล้วนมีกำเนิดจากพระสูตรนี้ สุภูติเอย สิ่งที่เรียกว่าพระพุทธธรรมนั้น โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะพระพุทธธรรมนั้นเลย”

    [​IMG]
    “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระโสดาบันจักสามารถนมสิการว่า เราได้บรรลุโสดาปัตติผลฤา”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าพระโสดาบันบุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้เข้าสู่กระแส แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดที่เจ้าสู่กระแสเลย การไม่เข้าถึงรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและธรรมารมณ์ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าพระโสดาบัน”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระสกทาคามีจักสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุสกทาคามีผลฤา “
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าพระสกทาคามีชื่อว่าเป็นผู้จักเวียนกลับมา(ในกามาวจรภพ) อีกครั้งเดียว แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดเวียนกลับมาอีก เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า พระสกทาคามี”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระอนาคามีจักสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุอนาคามีผลฤา “
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าพระอนาคามีชื่อว่าเป็นผู้ไม่กลับมาอีก(ในกามาวจรภพ) แต่โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดที่ไม่กลับมาอีก เป็นสักแต่ชื่อว่าพระอนาคามี”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระอรหันต์จักสามารถมนสิการว่า เราได้บรรลุอรหัตตมรรคผลฤา “
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะโดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะใดที่เรียกว่าอรหันต์ ข้าแต่พระสุคต หากพระอรหันต์จักพึงมนสิการว่า เราบรรลุอรหัตตมรรคอย่างนี้ไซร้ ก็ชื่อว่าได้ยึดถือในอาตมะ ปุคคละ สัตวะ ชีวะเข้าแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่าในหมู่ผู้บรรลุอารัณยิกสมาธิอันยอดเยี่ยมนั้น ได้แก่ตัวข้าพระองค์ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ผู้ยอดเยี่ยมพ้นแล้วจากกิเลสราคะ ข้าแต่พระองค์ผู้ควรบูชา ข้าพระองค์ไม่มนสิการว่า ตัวเราได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ผู้ยอดเยี่ยมพ้นแล้วจากกิเลสราคะ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ถ้าข้าพระองค์ยังมนสิการว่า ตัวเราได้บรรลุอรหัตตมรรคอย่างนี้ไซร้ พระสุคตจักไม่ตรัสว่าสุภูติเป็นผู้ยินดีในอารัณยกปฏิปทาเลย โดยความจริงแล้วสุภูติมิได้ยึดถือในปฏิปทาเลย ฉะนั้นพระองค์จึงตรัสยกย่องว่า สุภูติเป็นผู้ยินดีในอารัณยกปฏิปทา”

    [​IMG]
    พ.” สุภูติเอย เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ณ เบื้องอดีตกาลโน้น เมื่อตถาคต(ยังเป็นพระโพธิสัตว์) อยู่ในสำนักของพระทีปังกรพุทธเจ้า ตถาคตได้บรรลุธรรมอันใดฤา”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระตถาคต (ยังเป็นพระโพธิสัตว์)อยู่ในสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้ามิได้ทรงบรรลุ ธรรมใดๆเลย” *4
    ( * 4 เมื่อครั้งพระศาสดาเรายังเสวยพระชาติเป็นโพธิสัตว์ในชาติหนึ่งเกิดเป็นดาบสชื่อสุเมธ ได้ทอดองค์ลงต่างสะพานไปในลุ่มเลน พร้อมทั้งสยายเกศาปกคลุมสถานสกปรกนั้น เพื่อพระทีปังกรพุทธเจ้าและพระอรหันต์สาวกเสด็จผ่าน สุเมธดาบสได้ตั้งความปรารถนาพระโพธิญาณในขณะที่พระทีปังกรพุทธเจ้า เสด็จเหยียบบนร่างกายของตน และได้รับพุทธพยากรณ์ว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตการ-ผู้แปล)
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน พระโพธิสัตว์บุคคลจักพึงกระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรฤาหนอ”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าการกระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรนั้น โดยความจริงมิได้มีสภาวะการกระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่ากระทำตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรเท่านั้น”
    พ “ เพราะฉะนั้นแล สุภูติ พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ทั้งปวงพึงยังจิตให้บริสุทธิ์สะอาดโดยประการอย่างนี้ กล่าวคือพึงยังจิตมิให้ยึดถือผูกพันในรูป พึงยังจิตมิให้ยึดถือผูกพันในเสียง ในกลิ่ง ในรส ในสัมผัส ในธรรมารมณ์ พึงยังจิตมิให้บังเกิดมีความยึดถือผูกพันในสภาวะใดๆ”
    “ สุภูติ อุปมาดั่งบุคคลผู้มีรูปกายสัณฐานดุจขุนเขาพระสุเมรุ เธอจักมีความคิดเห็นเป็นไฉน รูปกายแห่งบุคคลนั้นมโหฬารฤาหนอแล”
    สุ “มโหฬารนักแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุใดเล่า เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า รูปกายนั้นโดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า รูปกายอันมโหฬารเท่านั้น”

    [​IMG]
    พ “ ดูก่อนสุภูติ อุปมาดั่งจำนวนเมล็ดทรายในท้องคงคานทีแลมีแม่น้ำคงคาเป็นอันมากนับด้วยเมล็ดทรายเหล่านั้น เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน จำนวนแห่งเมล็ดทรายในคงคานทีทั้งหลาย จักนับได้ว่ามากมายอยู่ฤาหนอ”
    สุ “ มากมายนักแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เพราะคงคานทีเองก็ยังมีปริมาณมากจนมิอาจคำนวนได้ จักป่วยกล่าวไปใยถึงเมล็ดทรายในนทีเหล่านั้น”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เรากล่าวกับเธอโดยแท้จริงว่า ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใดๆนำ สัปตรัตนะซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมดุจเมล็ดทรายในคงคานทีทั่วมหาตรสหัสโลกธาตุมาบริจาคทาน จักได้บุญกุศลมากอยู่ฤาหนอแล”
    สุ “ มากมายนักแล้ว ข้าแต่พระผู้มีภาค”
    พระสัมพุทธเจ้าตรัสกันพระสุภูติว่า
    พ “ ถ้ากุลบุตร กุลธิดาใดๆหากได้ประพฤติปฏิบัติตามพระสูตรนี้ที่สุดแม้จะปฏิบัติคาถาเพียง 4 บาท หรือประกาศแสดงแก่คนอื่นๆข้อนั้นย่อมจะเป็นบุญกุศลวิเศษยิ่งกว่าบุญกุศลที่กล่าวแล้วนั้นอีก

    [​IMG]
    อนึ่ง สุภูติ ณ สถานที่ใดมีผู้ได้ประกาศแสดงพระสูตรนี้ แม้ที่สุดคาถาเพียง 4 บาท เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่า ณ สถานที่ (ประกาศแสดง)นั้น ทวยเทพมนุษย์และอสูรในโลกทั้งหลายถึงกระทำสักการบูชาดุจพระพุทธสถูปวิหาร จักป่วยกล่าวไปใยกับบุคคลผู้ปฏิบัติประพฤติตามพระสูตรนี้ทั้งหมด ตลอดจนสามารถเจริญสาธยายได้เล่า สุภูติเอย เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่า บุคคลดังกล่าวนั้นแลได้ยังความสำเร็จแล้วในธรรมอันเป็นยอดสูงสุดซึ่งหาได้โดยยาก ถ้าพระสูตรนี้ประดิษฐานอยู่ ณ สถานที่ใด ณ สถานที่นั้นย่อมชื่อว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดับอยู่ และมีพระอัครสาวกสำนักอยู่”
    [​IMG]
    ก็โดยสมัยนั้นแล พระสุภูติได้กราบทูลถามพระสัมพุทธเจ้าขึ้นว่า
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระสูตรนี้มีนามว่ากระไรพระเจ้าข้า และข้าพระองค์ทั้งหลายจักพึงรับปฏิบัติอย่างไรพระเจ้าข้า”
    พระสัมพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระสุภูติว่า
    พ “ พระสูตรนี้ชื่อว่า วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร นี้แลเป็นนามอันเธอพึงรับปฏิบัติ ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา สุภูติ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปรัชญาปารมิตานั้นโดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะแห่งปรัชญาปารมิตาเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า ปรัชญาปารมิตาเท่านั้น ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตได้แสดงพระธรรมเทศนาอยู่ฤา”
    พระสุภูติกราบทูลสนองพระสัมพุทธเจ้าว่า
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตเจ้ามิได้แสดงพระธรรมเทศนาใดๆเลย”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ปรมาณูในมหาตรีสหัสโลกธาตุ มีปริมาณมากอยู่ฤาหนอแล”
    สุ “ มากมายนักแล้ว ข้าแต่พระสุคต”
    พ “ สภูติเอย ก็ปรมาณูเหล่านั้น ตถาคตกล่าวว่าโดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะปรมาณูเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าปรมาณู ตถาคตกล่าวว่า โลกธาตุก็ไม่มีสภาวะแห่งโลกธาตุอยู่เลย เป็นสักแต่ชื่อว่าโลกธาตุเท่านั้น ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน จักถึงเห็นตถาคตได้ในมหาปุริสสลักษณะ 32 ประการฤาหนอ”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค จักเห็นพระตถาคตเจ้าโดยมหาปุริสสลักษณะ 32 ประการมิได้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าพระตถาคตเจ้าตรัสว่า ลักษณะ 32 ประการนั้น โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะแห่งลักษณะอยู่เลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าลักษณะ 32 ประการเท่านั้น”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใดๆได้สละร่างกายกอบทั้งชีวิตอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกบริจาคทาน แต่หากมีบุคคลได้ปฏิบัติตามพระสูตรนี้แม่ที่สุดเพียงคาถา 4 บาท ประกาศแสดงอรรถแก่บุคคลอื่น ย่อมมีบุญกุศลมากมายยิ่งกว่า”

    [​IMG]
    ครั้งนั้นแล พระสุภูติได้สดับพระสูตรนี้แล้ว เป็นผู้มีความซาบซึ้งแจ่มชัดในธรรมอรรถนั้น จึงบังเกิดอาการร้องไห้หลั่งน้ำตา (ด้วยความปิติ) แล้วกราบทูลพระสัมพุทธเจ้าว่า
    สุ “ หาได้ยากนัก ข้าแต่พระผู้มีภาค ในการที่พระสัมพุทธเจ้าตรัสพระสูตรอันสุขุมล้ำลึกเป็นปานฉะนี้ ในอดีตกาลนับแต่ข้าพระองค์ได้บรรลุปัญญาจักษุเป็นต้นมา มิได้เคยสดับพระสูตรดั่งนี้เลย ข้าแต่พระสุคต ถ้ามีบุคคลผู้ได้สดับพระสูตรดังกล่านี้ มีศรัทธาอันบริสุทธิ์ แล้วบังเกิดลักษณะอันแท้งจริง (กล่าวคือปัญญารู้แจ้งในสภาพตามเป็นจริง) ก็พึงสำเหนียกได้ว่าบุคคลนั้นได้บรรลุสำเร็จซึ่งคุณานิสงส์อันเยี่ยมยอดหาได้โดยยาก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ลักษณะอันแท้จริงนั้น โดยความจริงไม่มีลักษณะ ฉะนั้นพระตถาคตเจ้าจึงตรัสว่า นั่นเป็นลักษณะที่แท้จริง ข้าแต่พระผู้มีภาค ข้าพระองค์ได้สดับพระสูตรนี้ ณ บัดนี้ มีความศรัทธาและซาบซึ้งในธรรมอรรถรับปฏิบัติตาม ย่อมไม่เป็นข้อยากเย็นอะไรเลย ก็แต่ว่าในอนาคตกาลจากนี้ 500 ปี หากมีสรรพสัตว์ใดได้สดับพระสูตรนี้ แล้วแลบังเกิดความศรัทธาซาบซึ้งในธรรมอรรถรับปฏิบัติตาม บุคคบนั้นนับว่าเป็นบุคคลอย่างเยี่ยมยอดชนิดหาได้โดยยากทีเดียวพระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าบุคคลนั้นจักเป็นผู้ปราศจากความยึดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ ไม่ยึดถือผูกพันในปุคคละลักษณะ ไม่ยึดถือผูกพันในสัตวะลักษณะ ไม่ยึดถือผูกพันในชีวะลักษณะ ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน เพราะว่าอาตมะลักษณะนั้นไม่มีสภาวะลักษณะเลย ด้วยเหตุดังฤา เมื่อละความยึดถือในสรรพลักษณะทั้งปวง ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้แจ้งตรัสรู้เช่นพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย”
    พระสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระสุภูติว่า
    พ “ อย่างนั้นอย่างนั้น ถ้ามีบุคคลผู้ได้สดับพระสูตรนี้แล้วแลไม่บังเกิดความกลัว ไม่บังเกิดความครั่นคร้าม ไม่บังเกิดความระย่อ*5 เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่าบุคคลนั้นเป็นผู้หาได้โดยยาก ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน สุภูติ ตถาคตกล่าวว่า บารมีอันยอดเยี่ยมนั้นโดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสภาวะแห่งบารมีอันยอดเยี่ยมนั้นเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า บารมีอันยอดเยี่ยมเท่านั้น ดูก่อนสุภูติ ขันติบารมีนั้นตถาคตกล่าวว่าแท้จริงไม่มีสภาวะแห่งขันติบารมีนั้นเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า ขันติบารมีเท่านั้น ทั้งนี้เพราะเหตุดังฤา สุภูติเอย ณ เบื้องอดีตกาลนานโพ้น เมื่อครั้งเราถูกพระเจ้ากลิราชาตัดหั่นสรีระ *6 ครั้งนั้นเราไม่ถือมั่นในอาตมะลักษณะ ไม่ถือมั่นในปุคคละสักษณะ ไม่ถือมั่นในสัตวะลักษณะ ไม่ถือมั่นในชีวะลักษณะ ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะว่าสมัยนั้นขณะที่สรีระของเราถูกหั่นฉะเชือดออกเป็นส่วนๆ หากเรามีความถือมั่นในอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะไซร้ก็จะพึงบังเกิดความโกรธแค้นอาฆาต ดูก่อนสุภูติ อนึ่งเรายังตามระลึกถึงกาลที่ล่วงมาแล้ว 500 ชาติ เมื่อเราเป็นกษานติวาทีดาบส ในชาตินั้นเราปราศจากความถือมั่นในอาตมะลักษณะ ปราศจากความถือมั่นในปุคคลลักษณะ ปราศจากความถือมั่นในสัตวะลักษณะ ปราศจากความถือมั่นในชีวะลักษณะ ด้วยเหตุฉะนั้นแล สุภูติ พระโพธิสัตว์พึงเป็นผู้ละความยึดถือในลักษณะทั้งปวง แล้วบังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ พึงยังจิตมิให้ยึดถือผูกพันในรูป พึงยังจิตมิให้ยึดถือผูกพันในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ในธรรมารมณ์ พึงยังจิตให้ปราศจากความยึดถือผูกพันใดๆ และถ้าจิตยังมีความยึดถือผูกพันอยู่ ก็ย่อมชื่อว่าจิตมิได้ตั้งอยู่ในสถานะที่ควร(แก่อนุตตรสัมมาสัมโพธิ กล่าวคือจิตที่ตั้งอยู่ในสถานะที่ความแก่อนุตตรสัมมาสัมโพธิ ต้องเป็นจิตชนิดที่ปราศจากความยึดถือผูกพัน) ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พระโพธิสัตว์ไม่พึงบริจาคทานด้วยจิตซึ่งยึดถือผูกพันในรูป ดูก่อนสุภูติ พระโพธิสัตว์ผู้ยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ พึงบริจาคทานอย่างนี้แล ตถาคตกล่าวว่าลักษณะทั้งปวง โดยความจริงแล้ว ก็ปราศจากสภาวะแห่งลักษณะ และกล่าวว่าสรรพสัตว์ โดยความจริงแล้ว ก็ปราศจากสภาวะแห่งสรรพสัตว์ดุจกัน
    ( *5 ทั้งนี้เนื่องด้วยพระสูตรนี้แสดงเรื่อง ศูนยตา อันเป็นปรมัตถ์สุดยอด ผู้ที่ยังมีความหลงไหลอยู่เมื่อฟังแล้วก็เข้าใจว่าเป็นมิจฉาทิฎฐิ หรือเกิดความกลัวในความว่างเปล่าขึ้น ทั้งนี้โดยสัญชาติญาณแห่งภวตัณหาของสัตว์ทั่วๆไป แม้จนกระทั่งพรหมชั้นสูง พากันคิดในความมีความเป็นเมื่อมาฟังคารมปฏิเสธในพระสูตรนี้ จึงอาจเกิดความกลัวความระย่อ-ผู้แปล)
    ( *6 ในชาดกกล่าวว่า เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นกษานติวาทีดาบส (บาลี คือขันติวาทีดาบส )ครั้งหนึ่งจาริกมาพักอยู่ในราชอุทยานของพระเจ้ากลาปุหรือ กลิราชาแห่งเมืองพาราณสี วันหนึ่งพระราชาพานางสนมกำนัลประพาสอุทยาน เสวยน้ำจัณฑ์เมาบรรทมหลับไป ครั้นตื่นขึ้นไม่เห็นนางสนมกำนัลเหล่านั้น จึงเสด็จเที่ยวหามาพบนางในเหล่านั้นห้อมล้อมฟังธรรมของดาบสอยู่ พระราชาบังเกิดความหึงหวงดำรัสให้ลงโทษดาบส และถามดาบสถือธรรมอะไร พระโพธิสัตว์ตอบว่าถือขันติ พระราชาก็ยิ่งให้ทำทรมานมากขึ้น จนถึงตัดมือตัดเท้า ทรมานจนพระโพธิสัตว์มรณะภาพแล้วพระราชาจึงเสด็จกลับ ครั้นเสด็จถึงประตูอุทยานก็ถูกธรณีสูบลงสู่อเวจีมหานรก – ผู้แปล)
    ดูก่อนสุภูติ ตถาคตเป็นสัจจวาที ภูตวาที ตถวาที อวิตถวาที อนัญญถวาที สุภูติ ธรรมอันตถาคตบรรลุ มิได้เป็นสิ่งมีอยู่จรงิหรือเป็นสิ่งไร้แก่นสารก็หาไม่ *7 สุภูติ หากพระโพธิสัตว์มีจิตยึดถือผูกพันในธรรมแล้วแลบริจาคทาน อุปมาดั่งบุคคลผู้เข้าสู่สถานที่มือย่อมไม่อาจเห็นสิ่งอะไรได้เลย แต่ถ้าพระโพธิสัตว์มีจิตไม่ยึดถือผูกพันในธรรมแล้วและบริจาคทาน มีอุปมาดั่งบุคคลผู้มีจักษุสว่างและ (เข้าไปในสถาน)ที่ซึ่งมีแสงอาทิตย์สว่าง ย่อมจะเห็นชัดในรูปต่างๆได้
    ( * 7กล่าวคือจะว่ามีสภาวะโดยตัวมันเองอยู่อย่างจริงแท้ ก็ชื่อว่าตกเป็นฝ่ายอัตถิตาข้างสัสสตทิฎฐิไป จะว่าว่างเปล่าไร้สาระเสียเลยทีเดียวเป็นการปฏิเสธต่อสมมติบัญญตก็ชื่อว่า ตกเป็นฝ่ายนัตถิตา ข้างนัตถิกทิฎฐิ ธรรมะของพระพุทธองค์ไม่เป็นทั้งอัตถิตาหรือนัตถิตา เพราะพระองค์แสดงโดยปรมัตถนัยและโลกิยนัย ทั้งมิให้ยึดถือทั้งในความมีอยู่หรือไม่มีอยู่ – ผู้แปล)
    ดูก่อนสุภูติ ในอนาคตกาลเบื้องหน้า หากมีกุลบุตร กุลธิดาใดๆอาจสามารถรับปฏิบัติตามพระสูตรนี้ หรือเจริญสาธยายก็ดี อาศัยอำนาจแห่งพุทธปัญญาของตถาคตย่อมทราบชัดอยู่ซึ่งผู้นั้น ย่อมเห็นอยู่ซึ่งผู้นั้นจักสำเร็จบรรลุคุณานิสงส์อันจักประมาณมิได้และไม่มีขอบเขต”

    [​IMG]
    สุภูติเอย กุลบุตร กุลธิดาใดๆ ในยามเช้าจักบริจาคสรีระกายอันมีประมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี ในยามกลางวันยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี แม้ในยามเย็นก็ยังจักบริจาคสรีระกายอันมีปริมาณดุจเมล็ดทรายในคงคานทีออกเป็นทานก็ดี เขาจักสละสรีระตลอดกาลนับหลายร้อยพันหมื่นโกฏิกัลป์อันไม่มีประมาณ ออกบริจาคเป็นทานอยู่ตลอดก็ตาม แต่ถ้ามีบุคคลผู้ได้สดับพระสูตรนี้แล้วบังเกิดจิตศรัทธาไม่คัดค้าน บุญกุศลของเขาผู้นั้นยังประเสริฐกว่า จักป่วยกล่าวไปใยกับการที่เขาคัดลอก รับปฏิบัติ เจริญสาธยาย และอธิบายอรรถซึ่งพระสูตรนี้แก่บุคคลอื่นๆได้เล่า
    อนึ่ง สุภูติ โดยสรุปความสำคัญแล้ว ก็กล่าวได้ว่าพระสูตรนี้มีคุณานิสงส์อันจักพึงคิดคาดคะเนมิได้ หรือจักประมาณก็มิได้ประกอบด้วยคุณานิสงส์อันไม่มีขอบเขต ตถาคตประกาศพระสูตรนี้ เพื่อบุคคลผู้มุ่งต่อมหายาน และประพระสูตรนี้เพื่อบุคคลผู้มุ่งต่ออนุตตรยาน ถ้ามีบุคคลผู้สามารถรับปฏิบัติตามก็ดี เจริญสาธยายก็ดี ประกาศแสดงแก่บุคคลอื่นๆก็ดี ตถาคตย่อมทราบชัดอยู่ซึ่งผู้นั้น ย่อมเห็นอยู่ซึ่งผู้นั้น บุคคลนั้นๆทั้งหมดจักบรรลุคุณานิสงส์ซึ่งประมาณมิได้ กล่าวมิได้ ปราศจากขอบเขต และเป็นอจินไตย บุคคลผู้เช่นนี้ชื่อว่าเป็นผู้แบกคอนพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิของพระตถาคต ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุดังฤา สุภูติ หากบุคคลใดเป็นผู้ยินดีในธรรมอันคับแคบ มีความยึดถือผูกพันเห็ว่ามีอาตมะ เห็นว่ามีปุคคละ เห็นว่ามีสัตวะ และเห็นว่ามีชีวะไซร้ เขาผู้นั้นย่อมไม่สามารถรับฟังและปฏิบัติตามพระสูตรนี้ได้ และไม่สามารถเจริญสาธยายหรือประกาศพระสูตรนี้แก่บุคคลอื่นๆได้เลย
    ดูก่อนสุภูติ ในสถานที่ใดๆ ถ้ามีพระสูตรนี้ประดิษฐานอยู่สถานที่นั้นๆย่อมเป็นสถานอันทวยเทพ ตลอดจนมนุษย์และอสูรในโลกทั้งหลายจักพึงกระทำสักการบูชา เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่า ณ.สถานที่ดังกล่าวนี้แลเป็นพระสถูปเจดีย์ ควรแก่การเคารพพนมไหว้กระทำการประทักษิณ และนำบุปผาชาตินานาพรรณมาเกลี่ยบูชา

    [​IMG]
    อนึ่ง สุภูติ กุลบุตร กุลธิดาใดๆมารับปฏิบัติหรือเจริญสาธยายซึ่งพระสูตรนี้ แลแล้วถูกคนเขาดูหมิ่นย่ำยี บุคคลนั้น (คือผู้ปฏิบัติตามพระสูตรนี้) อันอกุศลกรรมแต่ปางหลังชาติก่อนสมควรแก่การจบลงสู่อบายทุคคติภูมิ แต่เมื่อเขาได้รับการดูหมิ่นย่ำยีจากคนอื่นในภพปัจจุบัน(มาชดเชย) อกุศลกรรมแต่ปางก่อนจึงดับศูนย์ บุคคลนั้นจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ
    สุภูติเอย เรามาตามระฤกได้อยู่ซึ่งอดีตนับด้วยอสงไขยกัลป์อันจักประมาณมิได้ เบื้อหน้าแต่ก่อนที่จะได้เฝ้าพระทีปังกรพุทธเจ้า เราได้เฝ้าพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย นับจำนวนแปดร้อยสี่พันหมื่นองสไขยนิยุตะองค์ *8 เราได้เฝ้าปฏิบัติบูชาพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นโดยมิพลาดโอกาสแม้ สักพระองค์หนึ่งเลย อนึ่ง หากมีบุคคลกาลอนาคตสมัยปลายแห่งพระสัทธรรม อาจสามารถรับปฏิบัติ เจริญสาธยายซึ่งพระสูตรนี้ คุณานิสงส์ซึ่งเขาพึงได้นั้น เมื่อมาเปรียบเทียบกับคุณานิสงส์ซึ่งเราบูชาพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในร้อยส่วนไม่ถึงหนึ่งส่วน (ในคุณานิสงส์ของผู้นั้น) นับด้วยพันหมื่นอสงไขยกัลป์ส่วนที่สุดจนเหลือคณานับซึ่งจะเปรียบเทียบมิได้เลย
    ( *8 ตอนนี้กล่าวถีงอานุภาพของการปฏิบัติพระสูตรนี้ ทำให้อกุศลกรรมแต่ก่อนซึ่งควรให้ผลในชาติต่อไป กลายเป็นย่นเวลาให้สั้นมาให้ผลในปัจจุบันเพียงแค่ได้รับการดูหมิ่นจากผู้อื่นเท่านั้น – ผู้แปล )
    ดูก่อนสุภูติ กุลบุตร กุลธิดาใดๆในสมัยเบื้องปลายแห่งพระสัทธรรม ได้มาปฏิบัติและเจริญสาธยายพระสูตรนี้ คุณานิสงส์อันเขาได้นั้น ถ้าเราจักพึงอธิบายโดยละเอียดสมบูรณ์ซึ่งคุณานิสงส์นั้นแล้ว หากมีผู้ใดสดับเข้าก็จะพึงบังเกิดความวุ่นวายแห่งจิต มีวิจิกิจฉาไม่เชื่อถือเลย *9 สุภูติ เธอพึงสำเหนียกไว้เถอะว่าธรรมอรรถแห่งพระสูตรนี้เป็นอจินไตย แม้ผลานิสงส์ก็เป็นอจินไตยดุจกันอย่างนี้แล”
    ( *9 กล่าวคืออานิสงส์ซึ่งกล่าวมาแต่ต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ถ้ากล่าวอธิบายอานิสงส์ทั้งหมดจะเป็นการมโหฬารพันลึก เกรงผู้เข้าไม่ถึงจะไม่เชื่อ – ผู้แปล)

    [​IMG]
    โดยสมัยนั้นแล พระสุภูติกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค กุลบุตร กุลธิดาใดๆ ผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ควรจักปฏิบัติตั้งจิตของตนโดยสถานใด ควรจักบำราบจิตของตนอย่างไรหนอพระเจ้าข้า”
    พระสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระสุภูติว่า
    พ “ กุลบุตร กุลธิดาใดๆผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ควรจักปฏิบัติตั้งจิตของตนอย่างนี้ ควรจักควบคุมบำราบจิตของตนอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้โปรดสรรพสัตว์ให้สำเร็จแก่อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แลสรรพสัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จแก่อนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้วก็จริง แต่โดยความจริงแล้วก็มิได้มีสัตว์ใดๆแม้สักผู้หนึ่งได้ดับขันธนิพพานเลย ข้อนั้นเพราะเหตุใดฤา สุภูติ ถ้าพระโพธิสัตว์ยังมีความยึดถือผูกพันในอาตมะลักษณะ ปุคคละลักษณะ สัตวะลักษณะ ชีวะลักษณะ นั่นก็หาใช่พระโพธิสัตว์ไม่ ทั้งนี้ด้วยเหตุเป็นไฉน สุภูติ โดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสภาวะธรรมที่จะ(เป็นผู้) บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั่นเอง *10
    ( * 10 คือผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นพระโพธิสัตว์ก็เป็นสภาพว่างเปล่าไร้ตัวตน แล้วจริยะธรรมอันเกิดจากสภาพว่างเปล่านั้นจักเป็นของมีอยู่ได้อย่างไร-ผู้แปล)

    ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน เมื่อตถาคตอยู่ในสำนักแห่งพระทีปังกรพุทธเจ้ามีธรรมอันใดที่เราพึงบรรลุ พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิฤา”
    สุ “ ไม่มีเลย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ตามความเข้าใจของข้าพระองค์ในธรรมอรรถของพระสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งพระองค์อยู่ในสำนักพระทีปังกรพุทธเจ้า ปราศจากธรรมอันพึงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิเลย”
    พ “ อย่างนั้นอย่างนั้น สุภูติ โดยความจริงแล้ว ย่อมไม่มีธรรมใดซึ่งตถาคตจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิเลย ดูก่อนสุภูติ หากพึงมีธรรมใดซึ่งตถาคตบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิไซร้ พระทีปังกรพุทธเจ้าก็จักไม่พยากรณ์แก่เราว่า “ในอนาคตกาลท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้ามีนามกรว่า พระศากยมุนี “ แต่ที่แท้ย่อมไม่มีธรรมใดซึ่งจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ฉะนั้น พระทีปังกรพุทธเจ้าจึงตรัสพยากรณ์แก่เราว่า“ในอนาคตกาลท่านจักได้เป็น พระพุทธเจ้ามีนามกรว่า พระศากยมุนี “ ข้อนั้นเพราะเหตุใด ก็เพราะว่า “ตถาคต” นั้น คือสภาพความเป็นอย่างนั้นแห่งธรรมดาทั้งปวง ถ้ามีผู้กล่าวว่า ตถาคตบรรลุแก่พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิไซร้ สุภูติ โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสภาวะธรรมใดเลย ซึ่งพระพุทธเจ้าจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติเอย โดยความจริงแล้วพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิอันตถาคตบรรลุนั้น ในพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ย่อมไม่มีสภาวะความมีอยู่และไม่มีอสภาวะความไม่มีอยู่เลย และด้วยเหตุดังกล่าวนั้นแล ตถาคตจึงกล่าวว่าธรรมทั้งหลายล้วนเป็นพระพุทธธรรม อนึ่ง สุภูติ ตามที่เรากล่าวว่าธรรมทั้งหลายล้วนเป็นพระพุทธธรรมนั้น โดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสภาวะแห่งธรรมทั้งหลายเลย เป็นสักแต่เรียกว่าธรรมทั้งหลายเท่านั้น
    ดูก่อนสุภูติ อุปมาดั่งบุคคลผู้มีรูปกายสูงมหึมา”
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตตรัสว่า บุคคลผู้มีรูปกายสูงมหึมาโดยแท้จริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งรูปกายสูงมหึมา เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่ารูปกายสูงมหึมาเท่านั้น”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ โดยประการเดียวกัน ถ้าพระโพธิสัตว์ยังมีวาทะกล่าวว่าเราเป็นผู้โปรดสรรพสัตว์ให้บรรลุนิพพานธาตุไซร้ ก็หาชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา สุภูติ โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะใดที่เรียกว่าพระโพธิสัตว์ ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าธรรมทั้งหลายไม่มีอาตมะ ไม่มีปุคคละ ไม่มีสัตวะ และไม่มีชีวะ
    อนึ่ง สุภูติ หากพระโพธิสัตว์มีวาทะกล่าวว่า เราจักกระทำการตบแต่งอลังการพระพุทธเกษตรอย่างนี้ไซร้ ก็หาชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ไม่ ทั้งนี้เพราะเหตุไฉน ตถาคตกล่าวว่า การตบแต่งอลังการพุทธเกษตรนั้น โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งการตบแต่งอลังการ เป็นสักแต่ชื่อว่าตบแต่งอลังการเท่านั้น สุภูติ ถ้าพระโพธิสัตว์สามารถแจ่มแจ้งเข้าถึงความจริงว่าธรรมทั้งหลายว่างเปล่าจาก ตัวตนแลของๆตนอย่างนี้ ตถาคตจึงกล่าวว่านั่นเป็นพระโพธิสัตว์อย่างแท้จริง”

    [​IMG]
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตมีมังสะจักษุฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีมังสะจักษุ ”
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตมีทิพจักษุฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีทิพจักษุ “
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตมีปัญญาจักษุฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีปัญญาจักษุ “
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตมีธรรมจักษุฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีธรรมจักษุ “
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ตถาคตมีพุทธจักษุฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตมีพุทธจักษุ “
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน อุปมาดั่งเมล็ดทรายในคงคานที ตถาคตกล่าว่านั่นเป็นเมล็ดทรายฤา “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระตถาคตตรัสเรียกว่านั่นเป็นเมล็ดทราย “
    พ.”ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน เปรียบดุจเมล็ดทรายในท้องคงคานที แลมีแม่น้ำคงคาเป็นอันมากนับด้วยเมล็ดทรายเหล่านั้น อนึ่ง มีพุทธเกษตรโลกธาตุอื่นๆอีกเท่าจำนวนเมล็ดทรายในคงคานทีทั้งปวงอีกเล่า ด้วยประการดั่งนี้พึงนับเป็นจำนวนมากหลายอยู่ฤาหนอแล “
    สุ “ มากมายนักแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค “
    พระสัมพุทธเจ้าตรัสกับพระสุภูติว่า
    “ สรรพสัตว์ในโลกธาตุทั้งปวงเหล่านั้นมีจิตประพฤติโดยประเภทต่างๆกัน ตถาคตย่อมรู้ชัดแจ่มแจ้งในจิตพฤตติต่างๆนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน ตถาคตกล่าวว่า สรรพจิตทั้งปวงนั้นโดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งจิต เป็นสักแต่ชื่อว่าจิตเท่านั้น ด้วยเหตุดังฤา สุภูติ จิตในอดีตปราศจากแก่นสารจะถือเอาก็ไม่ได้ จิตในปัจจุบันปราศจากแก่นสารจะถือเอาก็ไม่ได้ แม้จิตในอนาคตก็ปราศจากแก่นสารจะถือเอาก็ไม่ได้ดุจกัน “ *11
    ( * 11 ขณะจิตในอดีตกับไปแล้ววอดวายไปแล้วจึงไม่มีอยู่ ขณะจิตในอนาคตเล่าก็ยังไม่เกิดขึ้นไม่มีอยู่อีก ส่วนขณะจิตในปัจจุบันกำลังแปรไปไม่คงที่ อนึ่ง เพราะอาศัยอดีตกับอนาคตจึงมีปัจจุบัน ก็เมื่ออดีตไม่มีสภาวะ อนาคตก็ไม่มีสภาวะ ปัจจุบันจึงหมดความหมายไปด้วย – ผู้แปล)

    [​IMG]
    ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน ถ้ามีบุคคลใดๆนำเอาสัปตรัตนะซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมเท่าเมล็ดทรายในคงคานที ทั่วมหาตรีสหัสสโลกธาตุมาบริจาคทาน บุคคลนั้นอาศัยเหตุปัจจัยดังกล่าวนี้ ได้รับบุญกุศลมากอยู่ฤาหนอแล “
    สุ “ อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุคคลผู้นั้นอาศัยเหตุปัจจัยดังกล่าวย่อมได้รับบุญกุศลมากมายพระเจ้าข้า “
    พ “ ดูก่อนสุภูติ หากบุญกุศลจักพึงมีสภาวะอยู่จริงแท้แล้ว ตถาคตก็จักไม่กล่าวว่า เขาได้บุญกุศลมากมาย ทั้งนี้ด้วยเหตุว่าบุญกุศลนั้นปราศจากสภาวะ ตถาคตจึงกล่าวว่าผู้นั้นได้บุญกุศลมากมาย “ * 12
    ( * 12 กล่าวคือบุญกุศลที่แท้จริงนั้นเป็นศูนยตาซึ่งเป็นฝ่ายวัฏฏคามินี ถ้ายังมีความยึดถืออยู่ก็เป็นบุญกุศลชนิดฝ่ายวัฏฏคามินี - ผู้แปล)

    [​IMG]
    พ “ อนึ่ง สุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน จักเห็นพระพุทธเจ้าได้ในรูปกายอันสมบูรณ์นี้ฤา “
    สุ “ มิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นการไม่สมควรเลยที่จะเห็นพระตถาคตเจ้าในรูปกายอันสมบูรณ์นี้ ทั้งนี้เพราะเหตุใด พระตถาคตตรัสว่า รูปกายอันสมบูรณ์นั้น โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งรูปกายอันสมบูรณ์ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า รูปกายอันสมบูรณ์เท่านั้น”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน จักเห็นพระพุทธเจ้าได้ในสรรพลักษณะอันสมบูรณ์ได้อยู่ฤาหนอแล “
    สุ “ มิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นการไม่สมควรเลยที่จะเห็นพระตถาคตเจ้าในสรรพลักษณะอันสมบูรณ์นี้ ทั้งนี้เพราะเหตุใด พระตถาคตตรัสว่า สรรพลักษณะอันสมบูรณ์ โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งสรรพลักษณะอันสมบูรณ์ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าสรรพลักษณะอันสมบูรณ์เท่านั้น “

    [​IMG]
    พ “ สุภูติเอย เธออย่ากล่าวว่าตถาคตมีมนสิการว่า เราเป็นผู้แสดงธรรมแก่มวลสรรพสัตว์ เธออย่าเข้าใจอย่างนั้นเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน หากมีบุคคลกล่าวว่า ตถาคตเป็นผู้แสดงธรรม ชื่อว่าเป็นผู้ติเตียนตู่พระพุทธเจ้า เขาผู้นั้นไม่เข้าใจในวจนะของเรา สุภูติ ที่เรียกว่าการแสดงธรรมนั้น โดยความจริงแล้วไม่มีธรรมใดที่แสดงเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าการแสดงธรรมเท่านั้น “
    ก็โดยสมัยนั้นแลพระสุภูติเถระผู้มีปัญญาทูลถามพระบรมศาสดาขึ้นว่า
    สุ “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ยังจะมีสรรพสัตว์ใดในอนาคตกาล สดับธรรมนี้แล้วบังเกิดศรัทธาจิตขึ้นฤาหนอแล “
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เขา(ผู้สดับธรรมแห่งพระสูตรนี้) มิใช่สรรพสัตว์ แต่จักว่ามิใช่สรรพสัตว์เลยก็มิได้ *13 ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา ดูก่อนสุภูติ ที่ว่าสรรพสัตว์ สรรพสัตว์นั้น ตถาคตกล่าวว่าปราศจากสภาวะแห่งสรรพสัตว์ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าสรรพสัตว์เท่านั้น
    ( * 13 อรรกถากล่าวว่า ผู้ที่สดับพระสูตรนี้บังเกิดศรัทธาจิตขึ้น นับว่าเป็นสัตว์ประเภทพิเศษไม่เหมือนสรรพสัตว์ทั่วไป แต่ผู้นั้นก็ยังมีกิเลสไม่บรรลุโพธิญาณ จึงสงเคราะห์อยู่ในสรรพสัตว์ ข้าพเจ้ามีความเห็นตรงกันข้ามกับอรรกถา ข้าพเจ้าเข้าใจว่าตอนนี้แสดงว่าโดยปรมัตถ์แล้วไม่มีสัตว์ แต่โดยบัญญัติสมมติแล้วก็ยังชื่อว่าสัตว์ – ผู้แปล)

    [​IMG]
    พระสุภูติกราบทูลกับพระบรมศาสดาว่า
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อพระสัมพุทธเจ้าบรรลุตรัสรู้แก่พระปรมาภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณนั้น นับว่าเป็นการมิได้บรรลุเลยฤาหนอพระเจ้าข้า”
    พ “ อย่างนั้น อย่างนั้น สุภูติ เมื่อเราบรรลุตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ ไม่มีธรรมแม้สักส่วนเล็กน้อยส่วนหนึ่งเลยที่เราบรรลุได้ถึง เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ “

    [​IMG]
    อนึ่ง สุภูติ ธรรมทั้งหลายมีความเสมอภาคเท่ากัน ไม่มีสูงหรือต่ำ นั่นแลชื่อว่าพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ เมื่อไม่มีความยึดถือในอาตมะ ไม่ยึดถือในปุคคละ ไม่ยึดถือในสัตวะ ไม่ยึดถือในชีวะ แล้วบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหมด ก็จักชื่อว่าพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติ ที่กล่าวว่ากุศลธรรมนั้น ตถาคตกล่าวว่า โดยความจริงแล้วไม่มีสภาวะแห่งกุศลธรรมเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่ากุศลธรรมเท่านั้นแล
    [​IMG]
    อนึ่ง สุภูติ ถ้ามีบุคคลผู้นำเอากองแห่งสัปตรัตนะเท่าขุนเขาพระสุเมรุทั้งหลายใน มหาตรีสหัสสโลกธาตุมาบริจาคทาน แต่หากมีบุคคลมารับปฏิบัติเล่าเรียนสาธยาย ประกาศชี้แจงแก่ผู้อื่นซึ่งธรรมในปรัชญาปารมิตาสูตรนี้ ที่สุดแม้เพียงคาถา 4 บาท เท่านั้น คุณานิสงส์ของบุคคลแรกในร้อยส่วนเปรียบด้วยมิได้สักหนึ่งส่วน แม้นับด้วยร้อยหมื่นอสงไขยส่วนที่สุดจนเหลือประมาณคณานับ ก็เอามาเปรียบเทียบด้วย(กับคุณานิสงส์ของบุคคลหลัง) ไม่เท่าเทียมถึงได้เลย
    [​IMG]
    ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน เธออย่ากล่าวว่าตถาคตมีมนสิการว่า เราเป็นผู้โปรดสัตว์ สุภูติ เธอย่าเข้าใจอย่างนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา โดยความจริงแล้วก็ไม่มีสรรพสัตว์ใดเลยอันตถาคตจักโปรด ถ้าแลมีสรรพสัตว์อันตถาคตจักพึงโปรดไซร้ ตถาคตก็มีความยึดถือผูกพันในอาตมะ ปุคคละ สัตวะ ชีวะ สุภูติเอย การที่ตถาคตกล่าวว่า “ตัวเรา ตัวเรา” นั้น โดยความจริงแล้วก็ไม่มีตัวเราอยู่เลย ก็แต่ปุถุชนย่อมยึดถือว่ามีตัวเราอยู่ สุภูติ แม้ปุถุชนก็เถอะตถาคตยังกล่าวว่า โดยความจริงแล้ว ปราศจากสภาวะแห่งปุถุชน เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าปุถุชนเท่านั้น
    [​IMG]
    ดูก่อนสุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน จักพึงเห็นตถาคตได้ในมหาปุริสลักษณะ 32 ประการฤา “
    สุ “ อย่างนั้น อย่างนั้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พึงเห็นพระผู้มีพระภาคได้โดยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ ถ้าเห็นตถาคตได้โดยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการไซร้ พระจักรพรรดิราชก็ชื่อว่า ตถาคตซิหนอ”
    พระสุภูติกราบทูลสนองพระสัมพุทธเจ้าว่า
    สุ “ ข้าแต่พระสุคต ตามความเข้าใจของข้าพระองค์ในธรรมอรรถซึ่งพระสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ เป็นการไม่สมควรที่จะเห็นพระตถาคต โดยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการเลย”
    ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้กล่าวนิคมคาถาว่า
    “ ผู้ใดจักเห็นเราในรูป ฤาจักหาเราในเสียง ผู้นั้นย่อมชื่อว่าดำเนินทางที่ผิด ย่อมไม่สามารถเห็นตถาคตได้”

    [​IMG]
    อนึ่ง สุภูติ หากเธอพึงมนสิการว่าเพราะเหตุตถาคตมิได้มีสรรพรูปลักษณะอันสมบูรณ์ (คือมหาปุริสลักษณะ 32 ประการและอสีตยานุพยัญชนะ 80 )แล้วบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติเอย เธออย่าเข้าใจอย่างนั้นเลยว่า เพราะเหตุตถาคตมิได้มีสรรพรูปลักษณะอันสมบูรณ์ แล้วบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ สุภูติ หาเธอมีมนสิการอย่างนี้ไซร้ บุคคลผู้บังเกิดจิตมุ่งต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ก็จักกล่าวได้ว่าธรรมทั้งปวงขาดศูนย์ เธออย่าได้มนสิการอย่างนั้นเลย ทั้งนี้เพราะเหตุใดฤา โดยควยามจริงแล้ว บุคคลผุ้บังเกิดจิตมุ่ต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิจักไม่มีวาทะกล่าวว่าธรรมทั้งปวงขาดศูนย์ได้ *14
    ( * 14 กล่าวคือยอมรับว่ามีสมมติบัญญัติตามโลกโวหาร ไม่ถือรั้นแต่ประมัตถ์อย่างเดียว เพราะการถือรั้นอย่างนั้นเป็นลักษณะของฝ่ายอุจเฉททิฏฐิไป – ผู้แปล)

    [​IMG]
    ดูก่อนสุภูติ ถ้ามีพระโพธิสัตว์นำเอาสัปตรัตนะซึ่งมีปริมาณเต็มเปี่ยมเท่าจำนวนเมล็ดทราย ในคงคานทีทั่วมหาตรีสหัสสโลกธาตุออกบริจาคทาน แต่หากมีบุคคลมารู้แจ้งว่าธรรมทั้งปวงปราศจากตัวตน เขาผู้นั้นได้สำเร็จแก่ปัญญาความตรัสรู้ *15 พระโพธิสัตว์องค์หลังนี้ได้คุณานิสงส์ประเสริฐยิ่งกว่าพระโพธิสัตว์องค์แรก ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา ดูก่อนสุภูติ เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่ยึดถือในสรรพบุญกุศลนั่นเอง”
    ( *15 แปลตามตัวอักษรจีนว่า สำเร็จความอดทน โดยอรรถหมายถึงดวงปัญญา – ผู้แปล)
    พระสุภูติกราบทูลกันพระสัมพุทธเจ้าว่า
    สุ “ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุไฉนเล่าพระโพธิสัตว์จึงไม่ยึดถือในบุญกุศลหนอพระเจ้าข้า”
    พ “ ดูก่อนสุภูติ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญกุศลแล้ว ไม่พึงบังเกิดความโลภยึดถือเอา เพราะเหตุฉะนั้นแลจึงกล่าวได้ว่าไม่ยึดถือในบุญกุศล

    [​IMG]
    อนึ่ง สุภูติ หากมีผู้กล่าวว่า ตถาคตเสด็จมาอยู่ ตถาคตดำเนินอยู่ ตถาคตประทับอยู่ ฤาตถาคตบรรทมอยู่อย่างนี้ไซร้ บุคคลผู้กล่าวนั้นมิได้เข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมอรรถอันเราแสดงไว้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา โดยความจริงแล้วพระตถาคตปราศจากที่มาและปราศจากที่ไป เหตุนั้นจึงชื่อว่าตถาคต
    [​IMG]
    ดูก่อนสุภูติ กุลบุตร กุลธิดาใดๆถ้าพิจารณากระจายมหาตรีสหัสสโลกธาตุให้เป็นผุยผงละเอียด เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน กองแห่งปรมาณูเหล่านั้นมีจำนวนมากมายอยู่ฤาหนอแล “
    สุ “ มากมายนักแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน เพราะถ้ากองแห่งปรมาณูเหล่านี้จักพึงมีสภาวะอยู่จริงไซร้ พระสัมพุทธเจ้าก็จักไม่ตรัสว่ากองแห่งปรมาณูนั้น ทั้งนี้เพราะเหตุใดเล่า พระสัมพุทธเจ้าตรัสว่ากองแห่งปรมาณู โดยความจริงแล้ว ก็ไม่มีสภาวะแห่งกองปรมาณุเลย เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่ากองปรมาณูเท่านั้น
    ข้าแต่พระสุคต มหาตรีสหัสสโลกธาตุซึ่งพระสัมพุทธเจ้าตรัสนั้น โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งโลกธาตุ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าโลกธาตุเท่านั้น ข้อนั้น เพราะเหตุไฉน ถ้าโลกธาตุพึงมีสภาวะอยู่จริงไซร้ ก็ชื่อว่าเป็นเอกฆนลักษณะ พระตถาคตตรัสว่าเอกฆนลักษณะ โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งเอกฆนลักษณะ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าเอกฆนลักษณะเท่านั้น” *16
    ( *16 อักษรจีนเขียนคำที่ให้ความหมายว่า รวมธรรมลักษณะหลายๆธรรมเข้าไว้ เช่น ในร่างกายของคนก็รวมประกอบด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ ผู้ที่จะเห็นแจ้งในสรรพธรรมว่าเป็นอนัตตาต้องทำลายฆนสัญญาดังกล่าวนี้ – ผู้แปล)
    พ “ ดูก่อนสุภูติ เอกฆนลักษณะนั้นไม่มีสภาวะโดยตัวของมันเองอยู่เลย ก็แต่ปุถุชนยึดถือว่ามีสภาวะโดยตัวของมันเองอยู่อย่างจริงแท้”

    [​IMG]
    อนึ่งสุภูติ ถ้ามีบุคคลมากล่าวว่า พระสัมพุทธเจ้าตรัสว่ามีอาตมะทัศนะ มีปุคคละทัศนะ มีสัตวะทัศนะ มีชีวะทัศนะ ดั่งนี้ไซร้ สุภูติ เธอมีความคิดเห็นเป็นไฉน บุคคลนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมอรรถอันเราแสดงไว้ฤา”
    สุ “ หามิได้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บุคคลนั้นไม่เข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมอรรถอันพระตถาคตเจ้าแสดงไว้เลย ข้อนั้นเพราะเหตุใด ก็พระสุคตตรัสแล้วว่า อาตมะทัศนะ ปุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะ โดยความจริงแล้ว ก็ปราศจากสภาวะแห่งอาตมะทัศนะ ปุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่า อาตมะทัศนะ ปุคคละทัศนะ สัตวะทัศนะ ชีวะทัศนะเท่านั้น”
    พ “ดูก่อนสุภูติ บุคคลผู้มีจิตปรารถนาต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิพึงมีความกำหนดรู้อย่างนี้ พึงมีทัศนะอย่างนี้ พึงมีศรัทธาและความเข้าใจแจ่มแจ้งในธรรมทั้งหลายไม่บังเกิดธรรมลักษณะขึ้น *17 สุภูติ ที่กล่าวว่าธรรมลักษณะนั้น ตถาคตกล่าวว่า โดยความจริงแล้วก็ปราศจากสภาวะแห่งธรรมลักษณะ เป็นสักแต่ชื่อเรียกว่าธรรมลักษณะเท่านั้น”
    ( *17 ความหมายตามอักษรจีนแปลว่า ธรรมลักษณะ แต่ในที่นี้โดยอรรถหมายถึงความไม่ยึดถือ สภาวะที่มีอยู่โดยตัวมันเอง – ผู้แปล)

    [​IMG]
    อนึ่งสุภูติ หากมีบุคคลน้ำเอาสัปตรัตนะมีปริมาณเต็มทั่วอสงไขยโลกธาตุอันไม่มีประมาณมาบริจาคทาน แต่ถ้ามีกุลบุตร กุลธิดาใดๆตั้งจิตปรารถนาต่อพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ มาปฏิบัติตามซึ่งพระสูตรนี้แม้ที่สุดคาถาเพียง 4 บาท เขารับปฏิบัติฤาเล่าเรียนสาธยายก็ดี ฤาประกาศแก่ผู้อื่นก็ดี ย่อมมีบุญกุศลวิเศษยิ่งกว่าผู้บริจาคทานนั้นเสียอีก ก็การประกาศแก่ผู้อื่นนั้นเป็นไฉน คือความไม่ยึดถือผูกพันในลักษณะ ตั้งมั่นอยู่ในตถาตาภาพธรรมดาโดยไม่หวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤา เพราะว่าสังขตธรรมทั้งปวง มีอุปมาดั่งความฝัน ดั่งภาพมายา ดั่งฟองน้ำ ดั่งเงา ดั่งน้ำค้าง และดั่งสายฟ้าแลบ พึงเพ่งพิจารณาโดยอาการอย่างนี้ “
    เมื่อพระสัมพุทธเจ้าตรัสพระสูตรนี้อวสานลง พระสุภูติผู้มีอายุพร้อมด้วยเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนปวงเทพ มนุษย์ อสูร ในโลกทั้งหลายได้สดับซึ่งพระพุทธพจน์แล้วก็พากันอนุโมทนาชื่นชมยินดี มีความศรัทธาน้อมรับไปปฏิบัติด้วยประการฉะนี้แล.
    คัดลอกจากหนังสือสารัตถธรรมมหายานของวัดโพธิ์แมนคุณาราม
    กลับเพจต้น
     
  5. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    พระสูตรมหากรุณาธารณีสูตร พระสูตรสำคัญในพุทธศาสนามหายาน เป็นพระสูตรของพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ปางพันมือพันตา ซึ่งถือเป็นปางที่ทรงมหิธานุภาพที่สุด ปางนี้เป็นปางที่พระโพธิสัตว์เจ้ามาเพื่อโปรดสัตว์ที่ดุร้ายที่สุด พระสูตรนี้เป็นพระสูตรที่ใช้ในพิธีกรรมปลุกเษกทุกสรรพสิ่ง เช่นการปลุกเษกมณฑลพิธี ปลุกเษกพระเครื่อง เป็นต้น ธารณีนี้เป็นธารณีแห่งความเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดจากอันตรายทุกประการ
    มหากรุณาคือจิตเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ไพศาล ธารณีคือมนตร์คาถาหรือคำระหัสแห่งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้าที่ได้จากฌานสมา มหากรุณาธารณีจึงเป็นธรรมมูลฐานที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ด้วยมหาเมตตา ผู้ตั้งใจสวดท่องจึงได้รับผลสนองตอบอันยิ่งใหญ่ ด้วยว่าในขณะสวดท่องธารณีนี้จะปรากฏพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์เจ้า เทพธรรมบาล 84 พระองค์คอยให้ความช่วยเหลือคุ้มครองและนำพาให้บรรลุธรรม
    คาถาหัวใจมหากรุณาธารณีสูตร
    [​IMG]
    นา.โม.รัตนา.ตา.ยา.ยะ/นะมา.อาร.ยะ.จานนา.ซา.กา.ระ/ไว.โร.จา.นะ.บู.ฮา.รา.จา.ยะ/ ตะ.ถา.กะ.ตา.ยะ/อาร.ฮา.เต.ซัม.ยา.ซัม.บุด.ดา.ยะ/นามา.ซาวา.ตะ.ถา.กะ.เต.เบ*อาร ฮา.เต.เบ*ซัม.ยา.ซัม.บู.เด.เบ*นา.มา*อาร.ยะ.อ ว.โล.กิ.เต.โช.รา.ยา/ โพ.ธิ.สัต.ตวา.ยา มหา.สัต.ตวา.ยา/มหา.กา.รู.นิ.กา.ยะ/ ตา.ยา.ถา/โอม.ดา.รา.ดา.รา/ดิ.ริ.ดิ.ริ/ ดู.รู.ดู.รู/ อิ.เด.วิิ.เด/ จา.เล.จา.เล/ปาร.จา.เล.ปาร.จา.เล/ กู.ซู.เม.กู.ซู.มา.วา.เร/ อิ.ลิ.มิ.ลิ/จิ.เต.จา. ลา.มา.ปา.นา.ยา.โซ.ฮา/***
    มหากรุณาธารณีสูตรภาษาสันสฤต
    [​IMG]
    มหากรุณาธารณีสูตรภาษาธิเบต
    [​IMG] นโม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ./ นา.มา.อา.รยา./ อ.วา.โล.กิ.เต.โซ.รา.ยา./โบ.ธิ.สัต.โต.ยา./ ม.หา.สัต.โต.ยา./ ม.หา.กา.รุ.ณิ.กา.ยะ./ โอม**สา.วา.ลา.วา.ติ /ศุ.ดา.นา.ตา.เซ. น.โม.สกา.ตวา.นิ.มัม.อา.รยา./ อ.วา.โล.กิ.เต.โซว์.รา.ลัม.ตา.บา./ น.โม.นี.ลา.เกน.ถา./ ศรี.ม.หา.ปา.ตา.ศา.มิ./ สวา.โต.ตา.ศุ.บัม./ อะ.ศี.ยัม./ สวา.สัต.โต.นะ.โม.ปา.สัต.โต.นา.มา.บา.คา./ มา.บา.เต.ตุ /ตา ยา.ถา./ โอม**อ.วา.โล.กา./ โล.กา.เต./ กา.ลา.ติ./ อี.ศี.รี./ ม.หา.โบ.ธิ.สัต.โต./ สา.โบ.สา.โบ./ มา.รา.มา.รา./ มา.ศิ.มา.ศิ.ริ.ดา.ยุ./ คู.รู.คู.รู.คา.มัม./ ตู.รู.ตู.รู.บา.ศี.ยา.ติ ./ ม.หา.บา.ศี.ยา.ติ./ ดา.รา.ดา.รา./ ดิ.ริ .ณี. /โซว์.รา.ยา./ จา.ลา.จา.ลา./ มา.มา.บา.มา.รา./ มุ.ดิ.ลิ. / เอ.ฮา.ยา.เฮ./ ศิ.นา.ศิ.นา./ อา.ลา.ศิน.บา.ลา.ศา.รี. /บา.ศา.บา.ศิน. /บา.รา.ศา.ยา./ ฮู.ลู.ฮู.ลู.มา.รา./ ฮู. รู. ฮู. รู. ศรี./ สา.รา.สา.รา./ สิ. รี. สิ. รี./ สุ. รู. สุ. รู. /บุด.ดา.ยะ.บุด.ดา.ยะ./ โบ.ดา.ยะ.โบ.ดา.ยะ./ ไม.ตรี.เย./ นี.ลา.เกน.ถา./ ตริ.ศา.รา.นา./ บา.ยา.มา.นา./ โซ. ฮา./ สิ.ตา.ยา./ โซ. ฮา./ ม.หา.สิ.ตา.ยา./ โซ. ฮา/สิ.ตา.ยา.เย./ โซว์.รา.ยา./ โซ. ฮา./ นี.ลา.เกน.ถา./ โซ. ฮา./ นี.ลา.กัน.เถ.ปัน.ตะ.ลา.ยะ./ โซ. ฮา./ โม.โบ.ลี.ศังกะ.รา.ยะ./ โซ. ฮา./ น.โม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ./ นะ.มา.อา.รยา./ อ. วา.โล.กิ.เต./ โซว์.รา.ยะ./ โซ. ฮา./ โอม**สิท.ธริน.ตุ./ มัน.ตา.รา./ ปา.ตา.เย./ โซ. ฮา//***
    NAMO RATANA TRAYAYA / NAMA ARRAYA / A VA LO KITE' SHO RAYA / BHOTI SATTO YA / MAHA SATTO YA / MAHA KARU"NI KAYA / OM** SAVA LAVATI / SUDRA NATA SE' / NAMO SKA TAVA NIMAM ARRAYA / A VALO KITE' SHORA LAMTABA / NAMO NILAKENTHA / SRI MAHA PATA SAMI / SARVA TOTA SUBAM / ARSIYUM / SARVA SATTO NAMOPA SATTO NAMA BAKA / MABATE'TU"/ TEYATA / OM**AVALOKA / LOKATE' KALATI / ISIRI / MAHA BHOTI SATTO / SABHO SABHO / MARA MARA / MASI MASI RIDAYU / GURU GURU GA MAM / TURU TURU BHASIYATI / MAHA BHASIYATI / DARA DARA / DHIRINI / SHO RAYA / JALA JALA / MAMA BAMARA / MUDHILI / A HE'YA HI / SINA SINA / ARLA SIN BALASARI / BASA BASIN / BARA SAYA / HULU HULU BARA / HURU HURU SRI / SARA SARA / SIRI SIRI / SURU SURU / BUDHA YA BUDRA YA / BHODA YA BHODAYA / MAI TRIYE' / NILA GANTHA / TRISA RANA / BAYA MANA / SO HA / SITAYA / SO HA / MAHA SITAYA / SO HA / SITA YAYE' / SHO RAYA / SO HA / NILA GANTHA / SO HA / NILA KANTHE' PAN TALAYA / SO HA / MOBOLI SANGKA RAYA SO HA / NAMO RATANA TRAYAYA / NAMA ARRAYA / A VALO KITE' / SHO RAYA / SO HA / OM**SIDTRIN TU / MANTRA / PATAYE' / SO HA //**
    ภาพสัญลักษณ์แห่งพระมหาเมตตากรุณาแห่งองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ 84 ปางในการเสด็จมาโปรดสัตว์
    หมายเหตุ การออกเสียงใต้ภาพเป็นภาษาจีน ตัวอย่าง นำมอห่อลาตันนอตอลาแหย่แย(เสียงจีน) นโม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ.(เสียงธิเบต)
    [​IMG]
    1นำมอห่อลาตันนอตอลาแหย่แย นำมอหมายถึง น้อมนอบ ห่อลาตันนอ หมายถึงรัตนะ ตอลาแหย่หมายถึงสาม แย หมายถึง นมัสการ ขอน้อมนมัสการพระรัตนไตร
    รูปองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ถือลูกประคำ ผู้ปฏิบัติจะต้องท่องสวดด้วยความศรัทธาและเมตตากรุณา
    2นำมอออรีแย นำมอ หมายถึงน้อมนอบพึ่งพิง ออรีแย หมายถึงองค์อริยะ ขอน้อมนอบพึ่งพิงพระอริยะซึ่งละบาปอกุศลแล้ว
    รูปองค์พระจินดาจักรอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ถือธรรมจักร ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติด้วยความเคารพ
    3พอลูกิตตีชอปอราแย พอลูกิตตี แปลว่าเพ่งพิจารณา ชอปอลา แปลว่า เสียงของโลก แย แปลว่าขอน้อมนมัสการ ขอน้อมนมัสการพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ผู้คอยฟังเสียงร้องทุกข์
    รูปองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ อุ้มบาตร ผู้ปฏิบัติต้องเพ่งให้เห็นองค์ท่าน
    4ผู่ทีสักตอพอแย ผู่ที แปลว่าตรัสรู้ สักตอ แปลว่ามีอารมณ์ พอแย แปลว่าคารวะ ขอน้อมคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้แก่ทุกชีวิต
    รูปองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎในรูปพระอมงบาศโพธิสัตว์ โปรดสัตว์
    5มอฮอสักตอพอแย มอฮอ แปลว่า มหา ใหญ่มาก สักตอ แปลว่าสัตว์โลก พอแย แปลว่าคารวะ ขอคารวะต่อมหาสัตว์ผู้หลุดพ้น
    รูปองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ สวดธารณีนี้
    6มอฮอเกียลูนีเกียแย เกียลู แปลว่า กรุณา นีเกีย แปลว่าจิต แย แปลว่า คารวะ ขอคารวะต่อพระผู้มีมหากรุณาจิต
    รูปองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอัศวโฆษโพธิสัตว์ ตรัสรู้เอง หลุดพ้นเอง และให้ผู้อื่นเห็นแจ้งด้วย
    7งัน หรือ โอม เป็นอักขระศักดิ์สิทธิ์ เป็นมูลฐานของธารณีทั้งมวล เป็นศูนย์รวมแห่งสรรพสิ่ง
    รูปราชาแห่งเทพ พนมมือฟังธารณีนี้ ผู้เพ่งในอักขระนี้เป็นการเพ่งถึงพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง เทพเทวาทั้งปวง

    [​IMG]
    8สักพันลาฟาอี สักพันลา แปลว่า อิสระ ฟาอี แปลว่า องค์อิสระ องค์อริยะผู้อิสระ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นจตุโลกาบาลเทพราช โปรดมารด้วยบารมี 6
    9ซูตันนอตันแซ แปลว่าการปฏิบัติธรรมต้องมีสัจจะเป็นพื้นฐาน
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นจตุโลกาบาลเทพราช พร้อมกับเทพเจ้าภูติผีปีศาจในบังคับบัญชา เพื่อให้มนุษย์เลิกทำบาป
    10นำมอสึดกิตลีตออีมงออรีแย สึดกิตรีตออีมง แปลว่าย่อมได้รับความคุ้มครอง ออรีแย ผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมได้รับความคุ้มครอง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ปรากฎเป็นพระนาคารชุนโพธิสัตว์ คุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรม ปราบปรามเหล่าศัตรู
    11พอลูกิตตีสึดฟูลาเลงทอพอ พอลูกิตตี แปลว่าจิตต้องกับธรรม สึดฟูลา แปลว่าท่องเที่ยวไปตามใจอิสระ เลงทอพอ แปลว่าเนื่องด้วยสำเร็จในมรรคผล
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสัมโภคกายของพระไวโรจนะพุทธเจ้า เพื่อโปรดสัตว์จำนวนอมิต
    12นำมอนอลากินชี แปลว่า การคุ้มครองคนดี นักปราชญ์
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระไวโรจนะพุทธเจ้า เป็นองค์ธรรมกาย ให้สัตว์โลกทั้งหลายสุขสำราญ
    13ซีรีมอฮอพันตอซาแม ซี่รีมอฮอ แปลว่าเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ พันตอซาแม แปลว่าผู้มีบุญวาสนา
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเมษศีรษะเทพเจ้า คุ้มครองผู้มีเมตตากรุณา สารพัดพิษมิอาจกล้ำกลาย
    14สักพอออทอเตาซีพง สัก แปลว่าเห็น พอ แปลว่าเสมอภาค ออ แปลว่าสรรพธรรมบริสุทธิ์ ทอเตาซีพง แปลว่า ธรรมไม่มีขอบเขต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็น อมฤตโพธิสัตว์ มือหนึ่งถือทันตโบณ มือหนึ่งถืออมฤตกุณท์ โปรดสรรพสัตว์

    [​IMG]
    15ออซียิน แปลว่าผู้ทำความดี ได้รับการชมเชย
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นยักษ์เหาะเหินราช ตรวจตราไปตามสี่ทิศ พิจารณาความผิดถูก
    16สักพอสักตอนอมอพอสัก ตอนอมอพอแค สักพอสักตอ แปลว่าพุทธธรรมไม่มีขอบเขต นอมอพอสักตอ แปลว่าพุทธธรรมเสมอภาคนอมอพอแคแปลว่าพุทธธรรมไพศาล
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเทพเจ้าภคติ ร่างใหญ่ ผิวดำ ถือมีด โปรดสรรพสัตว์ที่มีวาสนาสัมพันธ์
    17มอฟาทาเตา พระโพธิสัตว์เตือนให้สรรพสัตว์มุ่งปฏิบัติ ศูนยตาธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นกุนตาลี ถือจักรและบ่วงบาศ มีดวงตา 3 ดวง
    18ตันจิตทอ พระโพธิสัตว์ชี้ให้เห็นว่า นามพระโพธิสัตว์ มนตร์คาถา พีชะ หัสตมุทรา ปัญญาจักษุ เป็นทางเข้าสู่มรรคผล
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระอรหันต์ แสดงธรรมโปรดสัตว์
    19งัน**ออพอลูซี แปลว่าพระโพธิสัตว์ผู้มีธรรมบริสุทธิ์
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์พนมมือ แสดงกรุณาธรรม ปลดทุกข์ให้ความสุขแก่สัตว์โลก
    20ลูเกียตี แปลว่าโลกนารถ อิสระจิตไม่มัวหมอง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระมหาพรหมเทพราช โปรดสรรพสัตว์ทั้ง 10 ทิศ
    21เกียลาตี หมายถึง ผู้ปลดทุกข์ หรือผู้มีจิตในธรรมอันมั่นคง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเทพเจ้า ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั่วทศทิศ

    [​IMG]
    22อีซีรี หมายถึงกระทำตามโอวาท
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเทพเจ้ามเหศวรแห่งสวรรค์ดาวดึง นำทัพเทพยดา มาโปรดสัตว์
    23มอฮอผู่ทีสักตอ มอฮอ แปลว่า มหา ผู่ที แปลว่าเห็นโลกเป็นสูญ สักตอ แปลว่าการปฏิบัติอนัตตาธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ในปางยืนเข้าสมาธิ ผู้ทรงมหาเมตตาบริสุทธิ์ อนัตตาธรรม
    24สักพอ สักพอ แปลว่าพุทธธรรมเสมอภาค
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นคนธาลัยโพธิสัตว์นำทหารภูติ5ทิศและผู้ติดตาม มาโปรดสรรพสัตว์
    25มอรา มอรา แปลว่าผู้ปฏิบัติจะได้มโนรถแก้วมณี มอราที่2 หมายถึง แก้วมณีอันเป็นมโนรถ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็น
    พระปัณทรวาสินีโพธิสัตว์ มือขวาถือแก้วอายุวัฒนะ มือซ้ายอุ้มชูเด็ก โปรดสัตว์โลกให้มีอายุยืนยาว
    26มอซี มอซีลีทอยิน มอซี แปลว่าได้มีอิสระทันที ลีทอยิน แปลว่า ปฏิบัติจนได้วชิรธรรมกาย ได้อาสน์ดอกบัว
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระอมิตาภะพุทธเจ้า เมื่อสิ้นสัมโภคกายนี้แล้ว ต่างไปเกิดในสุขขาวดีภูมิ
    27กีลูกีลู กิตมง กีลู แปลว่าการเกิดความคิดปฏิบัติธรรม เทพเจ้าจะมารักษา กิตมง แปลว่าผู้ปฏิบัติสร้างสมบุญบารมีเป็นพื้นฐานการบรรลุธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอากาศกายโพธิสัตว์ นำทัพเทพจำนวนหมื่นโกฎิ มาโปรดสัตว์จำนวนอมิตา
    28ตูรู ตูรู ฟาแซแยตี ตูรู แปลว่าความแน่วแน่มีสมาธิ ฟาแซแยตี แปลว่าความบริสุทธิ์ ใหญ่ยิ่ง สามารถข้ามพ้นความเกิดดับ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระอุครโพธิสัตว์ คุมทหารของมยุรราชปราบปรามเหล่ามาร

    [​IMG]
    29 มอฮอฟาแซแยตี หมายถึงธรรมอันไพศาล
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นแม่ทัพมหาพละ ถือคฑา คุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรม
    30 ทอลา ทอลา เป็นธารณี ทำจิตให้เหมือนอากาศโปร่งใสไม่มีอละอองฝุ่น
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็น มหาบุรุษ ทำทุกข์กิริยา
    31 ตีรีนี ตี หมายถึงโลก รี คือสัตว์ทั้งหลายล้วนสามารถบรรลุธรรมได้ นี คือ พรหมจาริณีผู้ปฏิบัติธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสิงหราช ทดสอบการศึกษาธรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะทรงโปรดสตรีเพศ
    32 สึดฟูลาแย หมายถึง เมื่อเข้าถึงธรรมชาติแห่งสภาวะเดิมแล้ว แสงแห่งธรรมกายก็ปรากฏ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระคำรามโพธิสัตว์ มือถือคฑาทองคำ ปราบมารและบริวารของมาร
    33 เจลาเจลา หมายถึงความโกรธดุ ประกาศเสมือนเสียงคำรามฟ้าร้อง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นหักหาญโพธิสัตว์ มือถือสุวรรณจักร โปรดเหล่ามาร
    34 มอมอฟามอรา มอมอคือการทำดี สามารถทำลายความกังวล ฟามอรา คือ ธรรมอันลึกซึ้ง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอภิจารกมารวชิร มือถือสุวรรณจักรคุ้มครองสัตว์โลก ให้มีความศิริมงคล
    35 หมุกตีลี หมายถึงความหลุดพ้น
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระพุทธเจ้าพนมมือฟังและสวดธารณี ผู้ปฏิบัติตามนี้จะบรรลุพุทธผล

    [​IMG]36 อีซี อีซี หมายถึงการชักชวนตามพระศาสนา ทุกสิ่งให้เป็นไปตามธรรมชาติ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นมเหศวรเทพเจ้าโปรดทวยเทพและมนุษย์
    37 สึดนอ สึดนอ หมายถึงมหาปณิธาน
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นกาณะมารเทพราชสั่งสอนทวยเทพ
    38 ออลาเซียงฟูลาแซลี ออลาเซียง คือความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา ฟูลาแซลี หมายถึงได้ธรรมกายอันบริสุทธิ์
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ถือธนูลูกศร
    39 ฟอซอฟาเซียง ฟาซอ หมายถึงผู้มีขันติธรรม ฟาเซียง หมายถึงผุ้บรรลุธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นแม่ทัพสุวรรณมงกุฎภูมิ ถือกระดิ่งประกาศธรรมตามกาลที่เหมาะสม โปรดสรรพสัตว์
    40 ฟูลาแซแย หมายถึง ต้องรู้ด้วยตนเอง
    รูปพระอมิตาภะพุทธเจ้า สัตว์โลกผู้ระลึกถึงท่าน สวดพระนามท่าน ปฏิบัติธรรมของท่าน จะต้องได้พบกับท่าน
    41 ฟูลู ฟูลูมอรา หมายถึง การประกอบพุทธธรรมตามจิตปารถนา
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเทพเจ้าแปดคติ พนมมือ ตั้งเมตตาจิตโปรดเหล่าภูติผี
    42 ฟูลู ฟูลูซีรี ประกอบพุทธธรรมโดยปราศจากความคิดคำนึง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเทพสี่กร มือถือดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ โปรดเทพและมนุษย์

    [​IMG]
    43 ซอรา ซอรา หมายถึงความมุ่งมั่นในจิต ก็จะได้พบพระอวโลติเกศวร
    ภาพถ้ำพรหมโฆษ ที่ภูเขาพูท้อ มณฑลจีเจียง

    44 สึดลี สึดลี หมายถึงมงคลยอดเยี่ยม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์อันเปี่ยมด้วยพระเมตตา มือถือทันตโบณและกุณโฑ พรมน้ำอมฤต
    45 ซูรู ซูรู คือเสียงใบโพธิ์ร่วงหรือเสียงน้ำอมฤต
    ผู้ได้รับฟังเกิดความสงบระงับ ผู้ได้รับการอภิเษกชุ่มชื่นกายใจ อิ่มเอิ่บ เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม
    46 ผู่ทีแย ผู่ทีแย หมายถึงตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ชีวิต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ มีเด็กติดตาม แสดงความเมตตากรุณาโปรดสรรพสัตว์
    47 ผู่ทอแย ผู่ทอแย หมายถึงรู้ธรรม รู้จิต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระอานนท์เถระ ผู้เลิศในความเป้นพหูสูตร มืออุ้มบาตร โปรดสัตว์
    48 มีตีลีแย หมายถึงมหากรุณา
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระศรีอริยะเมตไตรย์โพธิสัตว์ แนะนำสรรพสัตว์ปฏิบัติมหากรุณาธรรม
    49 นอลากินชี หมายถึงปราชญ์ผู้รักษาตนเอง มีมหากรุณาจิต ปลุกสรรพสัตว์ให้ตื่นจากความหลับ พ้นทุคติ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ผู้ทรงตั้งปณิธานโปรดสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ทั่วนรกภูมิ

    [​IMG]
    50 ตีลีสึดนีนอ หมายถึงความคมของวชิระ วชิระได้ชื่อว่าแข็งแกร่งและคมที่สุดตัดทำลายอวิชชาทุกประเภทได้รวดเร็วและแน่นอน
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระรัตนธวัชโพธิสัตว์ มือซ้ายเป็นมุทรา มือขวาถือหอกสามง่ามทองคำ โปรดสัตว์
    51 พอแย มอนอ หมายถึงเสียงก้องไปทศทิศ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสุวรรณาภาธวัชโพธิสัตว์ มือถือวชิรคฑา โปรดสัตว์
    52 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จผลในนิพพาน
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสามเศียรสุอริยะ นั่งขัดสมาธิ โปรดสัตว์ด้วยนิพพานธรรม
    53 สึดทอแย หมายถึงสำเร็จในอรรถทั้งหลาย
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระสารีบุตรเถระ ทำมือท่าปทุมมุทรา รอบรู้ธรรมทั้งปวง
    54 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จเห็นแจ้งด้วยมงคลจิต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ประทับยืนเหนือมังกร หลั่งน้ำอมฤตลงในมหาสมุทร โปรดสัตว์ด้วยมงคลจิต
    55 มอฮอสึดทอแย หมายถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ เปร่งรัศมี มือถือรัตนธวัช ส่องแสงสว่างโปรดสัตว์
    56 ซอผ่อฮอ ผลสำเร็จจากการปฏิบัติกรุณาธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระโมคคัลลานะเถระ มือถือขักขระและอุ้มบาตร ระงับภยันตรายให้สัตว์โลก

    [​IMG]
    57 สึดทอยีอี สึดทอ หมายถึงสำเร็จ ยีอี หมายถึงว่างเปล่า เข้าสู่ความว่างเปล่าที่แท้จริงนั่นคือเข้าสู่สุขาวดี
    รูปบรรดาพระโพธิสัตว์และทวยเทพชุมนุมพร้อมกันที่สุขาวดี
    58 สึดพันลาแย หมายถึงความอิสระอันสมบูรณ์
    รูปกำยานพระอมิตาภะพุทธเจ้ากับพระอวโลติเกศวร
    59 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จในสภาวะธรรมอันสมบูรณ์
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอชานเถระ ใบหน้าหัวเราะชูบาตรขึ้นสูง เพิ่มพูนกำลังใจในการโปรดสัตว์
    60 นอลากินชี หมายถึงสำเร็จด้วยความรัก ความรักที่มีต่อชาวโลกดังห้วงมหาสมุทรมิมีวันเหือดแห้ง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นคีรีสาครปัญญาโพธิสัตว์ มือถือดาบทองคำ
    61 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จสมบูรณ์ด้วยโพธิสัตว์ธรรม ปล่อยวางจากทัศนแห่งปัจเจกธรรม ปัจเจกธรรมเพื่อตนเอง โพธิธรรมเพื่อสรรพสัตว์ทั้งปวง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นจัณทาลเถระ หาบงอบฟาง ถือสัทอรรถธรรมอสังสฤต โปรดสัตว์
    62 มอลานอลา มอลา คือมโนรส นอลา คือ อนุตร อนุตรผลสำเร็จด้วยจิต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นรัตนมุทรราชโพธิสัตว์ มือถือขวานทองคำ ทดสอบจิตและการกระทำของสัตว์โลก
    63 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จด้วยรู้สภาวะเดิมอันอยู่ภายในจิต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเกาซีลาเถระ สวมรองเท้าอ้อเดินบนคลื่นน้ำ เปล่งเสียงดังคลื่น เพื่อเดือนสรรพสัตว์

    [​IMG]
    64 สึดลาเจงออหมุกแคแย หมายถึงความสมานฉันท์ ความรักกันในสัตว์โลก
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเภสัชราชโพธิสัตว์ ถือสมุนไพรรักษาโรค ให้สัตว์โลก
    65 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จด้วยธรรม ธรรมเท่านั้นที่รักษาโรคทางจิตได้
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสมบูรณ์โพธิสัตว์ สวมเสื้อแดง มือทำท่ามุทรา ด้วยจิตอันสมบูรณ์ อำนวยสุขแก่สัตว์โลก
    66 ซอผ่อหม่อฮอ ออสึดทอแย ซอพอหม่อฮอ หมายถึงสัตว์ทุกประเภท ออสึดทอแย หมายถึงร่วมกันสุขสบาย
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอุตรเภสัชโพธิสัตว์ มือถือกุณโท รักษาโรคให้มนุษย์
    67 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จธรรมไปถึงฝั่งโน้น
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระสารีบุตรเถระ มือยกชูพระสูตร โปรดสัตว์ไปจุติในสุขาวดีภูมิ
    68 เจกิตลาออสึดทอแย เจกิดลา คือการใช้วชิระจักร ออสิตทอแย ความสำเร็จอันไม่มีใดเทียบ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นแม่ทัพพยัคฆ์คำราม ถือขวาน ปราบมารด้วยจิตอันมั่นคง
    69 ซอผ่อฮอ หมายถึงความสำเร็จจากการไม่ประกอบอกุศลทั้งมวล
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นบรรดาเทพมารราช ถือหอกยาว
    70 ปอทอมอกิตสึดทอแย ปอทอ แปลว่าดอกบัวแดง มอกิต คือชนะ สึดทอแย คือสำเร็จทั้งสิ้น มรรคผลประดุจบัวแดงอันบริสุทธิ์ไม่มีมลทินจากโคลนตม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสัทคนธ์เทพโพธิสัตว์ ยกกระถางธูปมโนรส คุ้มครองสัตว์โลก

    [​IMG]
    71 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จโดยไม่ยึดติด
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ โปรยดอกบัวพันกลีบ เพื่อบรรลุความปรารถนาให้สัตว์โลกมีสุข
    72 นอลากินชี พันแคลาแย นอลากินชี คือรักษาไว้ด้วยความเป็นมงคล พันแคลาแย แปลว่าเถระเพ่งโดยอิสระ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นปูราณเถระ อุ้มบาตร ช่วยสัตว์โลกให้พ้นภยันตราย
    73 ซอผ่อฮอ สำเร็จด้วยความสำนึกในสภาวะดั้งเดิม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นดาลาณีบุตรโพธิสัตว์ ถือผลไม้สดให้ทานแก่สรรพสัตว์ โปรดสัตว์ให้รู้สภาวะเดิมแท้
    74 มอพอลีเซงกิตลาแย มอพอลีเซง คือมหาวีระ กิตลาแย คือสภาวะเดิม มหาวีระผู้เห็นแจ้งในสภาวะเดิม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสมาธิญานโพธิสัตว์ นั่งขัดสมาธิจักร ถือรัตนโคมไฟ ส่องแสงไปทั่วธรรมโลกธาตุ
    75 ซอผ่อฮอ สำเร็จโดยรวมความทั้งหมดของมหากรุณาธารณีนี้
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นมหากัสสปะเถระ มือซ้ายถือประคำ มือขวาถือไม้เท้า นำสรรพสัตว์ปฏิบัติธรรม
    76 นำมอห่อลา ตันนอตอลา แหย่แย น้อมนมัสการพระรัตนไตร พระโพธิสัตว์ย้ำให้ศรัทธามั่นในพระรัตนไตร และสวดท่องธารณีอย่างต่อเนื่อง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอากาศครรภ์โพธิสัตว์ ถือดอกไม้ นั่งบนอาสน์หิน ให้สัตว์โลกมั่นคงในศรัทธา
    77 นำมอ ออรีแย น้อมนมัสการองค์อริยะ เตือนสรรพสัตว์ให้รีบเร่งปฏิบัติธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสมันตภัทรโพธิสัตว์ นั่งบนหลังคันธหัสดร์ร้อยรัตน ให้สรรพสัตว์ปฏิบัติธรรมโดยสมบูรณ์

    [​IMG]
    78 พอลูกิตตี หมายถึงพระอวโลติเกศวร ผู้นำพาสรรพสัตว์เข้าสู่สุขาวดีพุทธภูมิ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นมัญชูศรีโพธิสัตว์ นั่งอยู่บนหลังสิงหอาสน์ มือซ้ายชี้ขึ้นท้องฟ้า เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงธรรม
    79 ชอพันลาแย หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายในตา อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือรูป
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายประสาทตาที่รับรู้ เป็นลักษณะดอกบัวทองพันกลีบ
    80 ซอผ่อฮอ หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายใน หู อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือ เสียง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายประสาทหูที่รับรู้ เป็นลักษณะวางแขนลงมา ล้อมรอบองค์ด้วยเครื่องดนตรี
    81 งัน**สึดตินตู หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายใน จมูก อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือ กลิ่น
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายประสาทจมูกที่รับรู้ เป็นลักษณะชูนิ้วทั้ง5
    82 มันตอรา คือธรรมมณฑล หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายใน ลิ้น อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือ รส
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายประสาทลิ้น เป็นรูปชูมือตูละนุ่น
    83 ปัดทอแย หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายใน กาย อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือ สัมผัส
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายประสาทสัมผัส เป็นรูปยกคณฑ์บาตร
    84 ซอผ่อฮอ หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายใน ใจ อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือ อารมณ์
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายจิตประสาทและธรรมกาย เป็นรูป พระโพธิสัตว์ถือธวัชยาว สรรพสิ่งเกิดที่ใจ ความว่างเปล่าเกิดที่ใจ

    จากหนังสือมหากรุณาธารณี หลวงจีนคณาณัติจีนพรต(เย็นบุญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดทิพยวารีวิหาร เรียบเรียง อาจารย์ ล.เสถียรสุตแปลไทย
    กลับเพจต้น
     
  6. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    พระสูตรมหากรุณาธารณีสูตร พระสูตรสำคัญในพุทธศาสนามหายาน เป็นพระสูตรของพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ปางพันมือพันตา ซึ่งถือเป็นปางที่ทรงมหิธานุภาพที่สุด ปางนี้เป็นปางที่พระโพธิสัตว์เจ้ามาเพื่อโปรดสัตว์ที่ดุร้ายที่สุด พระสูตรนี้เป็นพระสูตรที่ใช้ในพิธีกรรมปลุกเษกทุกสรรพสิ่ง เช่นการปลุกเษกมณฑลพิธี ปลุกเษกพระเครื่อง เป็นต้น ธารณีนี้เป็นธารณีแห่งความเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดจากอันตรายทุกประการ
    มหากรุณาคือจิตเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ไพศาล ธารณีคือมนตร์คาถาหรือคำระหัสแห่งพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้าที่ได้จากฌานสมา มหากรุณาธารณีจึงเป็นธรรมมูลฐานที่พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ด้วยมหาเมตตา ผู้ตั้งใจสวดท่องจึงได้รับผลสนองตอบอันยิ่งใหญ่ ด้วยว่าในขณะสวดท่องธารณีนี้จะปรากฏพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้า พระอรหันต์เจ้า เทพธรรมบาล 84 พระองค์คอยให้ความช่วยเหลือคุ้มครองและนำพาให้บรรลุธรรม
    คาถาหัวใจมหากรุณาธารณีสูตร
    [​IMG]
    นา.โม.รัตนา.ตา.ยา.ยะ/นะมา.อาร.ยะ.จานนา.ซา.กา.ระ/ไว.โร.จา.นะ.บู.ฮา.รา.จา.ยะ/ ตะ.ถา.กะ.ตา.ยะ/อาร.ฮา.เต.ซัม.ยา.ซัม.บุด.ดา.ยะ/นามา.ซาวา.ตะ.ถา.กะ.เต.เบ*อาร ฮา.เต.เบ*ซัม.ยา.ซัม.บู.เด.เบ*นา.มา*อาร.ยะ.อ ว.โล.กิ.เต.โช.รา.ยา/ โพ.ธิ.สัต.ตวา.ยา มหา.สัต.ตวา.ยา/มหา.กา.รู.นิ.กา.ยะ/ ตา.ยา.ถา/โอม.ดา.รา.ดา.รา/ดิ.ริ.ดิ.ริ/ ดู.รู.ดู.รู/ อิ.เด.วิิ.เด/ จา.เล.จา.เล/ปาร.จา.เล.ปาร.จา.เล/ กู.ซู.เม.กู.ซู.มา.วา.เร/ อิ.ลิ.มิ.ลิ/จิ.เต.จา. ลา.มา.ปา.นา.ยา.โซ.ฮา/***
    มหากรุณาธารณีสูตรภาษาสันสฤต
    [​IMG]
    มหากรุณาธารณีสูตรภาษาธิเบต
    [​IMG] นโม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ./ นา.มา.อา.รยา./ อ.วา.โล.กิ.เต.โซ.รา.ยา./โบ.ธิ.สัต.โต.ยา./ ม.หา.สัต.โต.ยา./ ม.หา.กา.รุ.ณิ.กา.ยะ./ โอม**สา.วา.ลา.วา.ติ /ศุ.ดา.นา.ตา.เซ. น.โม.สกา.ตวา.นิ.มัม.อา.รยา./ อ.วา.โล.กิ.เต.โซว์.รา.ลัม.ตา.บา./ น.โม.นี.ลา.เกน.ถา./ ศรี.ม.หา.ปา.ตา.ศา.มิ./ สวา.โต.ตา.ศุ.บัม./ อะ.ศี.ยัม./ สวา.สัต.โต.นะ.โม.ปา.สัต.โต.นา.มา.บา.คา./ มา.บา.เต.ตุ /ตา ยา.ถา./ โอม**อ.วา.โล.กา./ โล.กา.เต./ กา.ลา.ติ./ อี.ศี.รี./ ม.หา.โบ.ธิ.สัต.โต./ สา.โบ.สา.โบ./ มา.รา.มา.รา./ มา.ศิ.มา.ศิ.ริ.ดา.ยุ./ คู.รู.คู.รู.คา.มัม./ ตู.รู.ตู.รู.บา.ศี.ยา.ติ ./ ม.หา.บา.ศี.ยา.ติ./ ดา.รา.ดา.รา./ ดิ.ริ .ณี. /โซว์.รา.ยา./ จา.ลา.จา.ลา./ มา.มา.บา.มา.รา./ มุ.ดิ.ลิ. / เอ.ฮา.ยา.เฮ./ ศิ.นา.ศิ.นา./ อา.ลา.ศิน.บา.ลา.ศา.รี. /บา.ศา.บา.ศิน. /บา.รา.ศา.ยา./ ฮู.ลู.ฮู.ลู.มา.รา./ ฮู. รู. ฮู. รู. ศรี./ สา.รา.สา.รา./ สิ. รี. สิ. รี./ สุ. รู. สุ. รู. /บุด.ดา.ยะ.บุด.ดา.ยะ./ โบ.ดา.ยะ.โบ.ดา.ยะ./ ไม.ตรี.เย./ นี.ลา.เกน.ถา./ ตริ.ศา.รา.นา./ บา.ยา.มา.นา./ โซ. ฮา./ สิ.ตา.ยา./ โซ. ฮา./ ม.หา.สิ.ตา.ยา./ โซ. ฮา/สิ.ตา.ยา.เย./ โซว์.รา.ยา./ โซ. ฮา./ นี.ลา.เกน.ถา./ โซ. ฮา./ นี.ลา.กัน.เถ.ปัน.ตะ.ลา.ยะ./ โซ. ฮา./ โม.โบ.ลี.ศังกะ.รา.ยะ./ โซ. ฮา./ น.โม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ./ นะ.มา.อา.รยา./ อ. วา.โล.กิ.เต./ โซว์.รา.ยะ./ โซ. ฮา./ โอม**สิท.ธริน.ตุ./ มัน.ตา.รา./ ปา.ตา.เย./ โซ. ฮา//***
    NAMO RATANA TRAYAYA / NAMA ARRAYA / A VA LO KITE' SHO RAYA / BHOTI SATTO YA / MAHA SATTO YA / MAHA KARU"NI KAYA / OM** SAVA LAVATI / SUDRA NATA SE' / NAMO SKA TAVA NIMAM ARRAYA / A VALO KITE' SHORA LAMTABA / NAMO NILAKENTHA / SRI MAHA PATA SAMI / SARVA TOTA SUBAM / ARSIYUM / SARVA SATTO NAMOPA SATTO NAMA BAKA / MABATE'TU"/ TEYATA / OM**AVALOKA / LOKATE' KALATI / ISIRI / MAHA BHOTI SATTO / SABHO SABHO / MARA MARA / MASI MASI RIDAYU / GURU GURU GA MAM / TURU TURU BHASIYATI / MAHA BHASIYATI / DARA DARA / DHIRINI / SHO RAYA / JALA JALA / MAMA BAMARA / MUDHILI / A HE'YA HI / SINA SINA / ARLA SIN BALASARI / BASA BASIN / BARA SAYA / HULU HULU BARA / HURU HURU SRI / SARA SARA / SIRI SIRI / SURU SURU / BUDHA YA BUDRA YA / BHODA YA BHODAYA / MAI TRIYE' / NILA GANTHA / TRISA RANA / BAYA MANA / SO HA / SITAYA / SO HA / MAHA SITAYA / SO HA / SITA YAYE' / SHO RAYA / SO HA / NILA GANTHA / SO HA / NILA KANTHE' PAN TALAYA / SO HA / MOBOLI SANGKA RAYA SO HA / NAMO RATANA TRAYAYA / NAMA ARRAYA / A VALO KITE' / SHO RAYA / SO HA / OM**SIDTRIN TU / MANTRA / PATAYE' / SO HA //**
    ภาพสัญลักษณ์แห่งพระมหาเมตตากรุณาแห่งองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ 84 ปางในการเสด็จมาโปรดสัตว์
    หมายเหตุ การออกเสียงใต้ภาพเป็นภาษาจีน ตัวอย่าง นำมอห่อลาตันนอตอลาแหย่แย(เสียงจีน) นโม.ระตะนะ.ตรา.ยา.ยะ.(เสียงธิเบต)
    [​IMG]
    1นำมอห่อลาตันนอตอลาแหย่แย นำมอหมายถึง น้อมนอบ ห่อลาตันนอ หมายถึงรัตนะ ตอลาแหย่หมายถึงสาม แย หมายถึง นมัสการ ขอน้อมนมัสการพระรัตนไตร
    รูปองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ถือลูกประคำ ผู้ปฏิบัติจะต้องท่องสวดด้วยความศรัทธาและเมตตากรุณา
    2นำมอออรีแย นำมอ หมายถึงน้อมนอบพึ่งพิง ออรีแย หมายถึงองค์อริยะ ขอน้อมนอบพึ่งพิงพระอริยะซึ่งละบาปอกุศลแล้ว
    รูปองค์พระจินดาจักรอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ถือธรรมจักร ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติด้วยความเคารพ
    3พอลูกิตตีชอปอราแย พอลูกิตตี แปลว่าเพ่งพิจารณา ชอปอลา แปลว่า เสียงของโลก แย แปลว่าขอน้อมนมัสการ ขอน้อมนมัสการพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ผู้คอยฟังเสียงร้องทุกข์
    รูปองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ อุ้มบาตร ผู้ปฏิบัติต้องเพ่งให้เห็นองค์ท่าน
    4ผู่ทีสักตอพอแย ผู่ที แปลว่าตรัสรู้ สักตอ แปลว่ามีอารมณ์ พอแย แปลว่าคารวะ ขอน้อมคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้แก่ทุกชีวิต
    รูปองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎในรูปพระอมงบาศโพธิสัตว์ โปรดสัตว์
    5มอฮอสักตอพอแย มอฮอ แปลว่า มหา ใหญ่มาก สักตอ แปลว่าสัตว์โลก พอแย แปลว่าคารวะ ขอคารวะต่อมหาสัตว์ผู้หลุดพ้น
    รูปองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ สวดธารณีนี้
    6มอฮอเกียลูนีเกียแย เกียลู แปลว่า กรุณา นีเกีย แปลว่าจิต แย แปลว่า คารวะ ขอคารวะต่อพระผู้มีมหากรุณาจิต
    รูปองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอัศวโฆษโพธิสัตว์ ตรัสรู้เอง หลุดพ้นเอง และให้ผู้อื่นเห็นแจ้งด้วย
    7งัน หรือ โอม เป็นอักขระศักดิ์สิทธิ์ เป็นมูลฐานของธารณีทั้งมวล เป็นศูนย์รวมแห่งสรรพสิ่ง
    รูปราชาแห่งเทพ พนมมือฟังธารณีนี้ ผู้เพ่งในอักขระนี้เป็นการเพ่งถึงพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งปวง เทพเทวาทั้งปวง

    [​IMG]
    8สักพันลาฟาอี สักพันลา แปลว่า อิสระ ฟาอี แปลว่า องค์อิสระ องค์อริยะผู้อิสระ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นจตุโลกาบาลเทพราช โปรดมารด้วยบารมี 6
    9ซูตันนอตันแซ แปลว่าการปฏิบัติธรรมต้องมีสัจจะเป็นพื้นฐาน
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นจตุโลกาบาลเทพราช พร้อมกับเทพเจ้าภูติผีปีศาจในบังคับบัญชา เพื่อให้มนุษย์เลิกทำบาป
    10นำมอสึดกิตลีตออีมงออรีแย สึดกิตรีตออีมง แปลว่าย่อมได้รับความคุ้มครอง ออรีแย ผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมได้รับความคุ้มครอง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ปรากฎเป็นพระนาคารชุนโพธิสัตว์ คุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรม ปราบปรามเหล่าศัตรู
    11พอลูกิตตีสึดฟูลาเลงทอพอ พอลูกิตตี แปลว่าจิตต้องกับธรรม สึดฟูลา แปลว่าท่องเที่ยวไปตามใจอิสระ เลงทอพอ แปลว่าเนื่องด้วยสำเร็จในมรรคผล
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสัมโภคกายของพระไวโรจนะพุทธเจ้า เพื่อโปรดสัตว์จำนวนอมิต
    12นำมอนอลากินชี แปลว่า การคุ้มครองคนดี นักปราชญ์
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระไวโรจนะพุทธเจ้า เป็นองค์ธรรมกาย ให้สัตว์โลกทั้งหลายสุขสำราญ
    13ซีรีมอฮอพันตอซาแม ซี่รีมอฮอ แปลว่าเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ พันตอซาแม แปลว่าผู้มีบุญวาสนา
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเมษศีรษะเทพเจ้า คุ้มครองผู้มีเมตตากรุณา สารพัดพิษมิอาจกล้ำกลาย
    14สักพอออทอเตาซีพง สัก แปลว่าเห็น พอ แปลว่าเสมอภาค ออ แปลว่าสรรพธรรมบริสุทธิ์ ทอเตาซีพง แปลว่า ธรรมไม่มีขอบเขต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็น อมฤตโพธิสัตว์ มือหนึ่งถือทันตโบณ มือหนึ่งถืออมฤตกุณท์ โปรดสรรพสัตว์

    [​IMG]
    15ออซียิน แปลว่าผู้ทำความดี ได้รับการชมเชย
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นยักษ์เหาะเหินราช ตรวจตราไปตามสี่ทิศ พิจารณาความผิดถูก
    16สักพอสักตอนอมอพอสัก ตอนอมอพอแค สักพอสักตอ แปลว่าพุทธธรรมไม่มีขอบเขต นอมอพอสักตอ แปลว่าพุทธธรรมเสมอภาคนอมอพอแคแปลว่าพุทธธรรมไพศาล
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเทพเจ้าภคติ ร่างใหญ่ ผิวดำ ถือมีด โปรดสรรพสัตว์ที่มีวาสนาสัมพันธ์
    17มอฟาทาเตา พระโพธิสัตว์เตือนให้สรรพสัตว์มุ่งปฏิบัติ ศูนยตาธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นกุนตาลี ถือจักรและบ่วงบาศ มีดวงตา 3 ดวง
    18ตันจิตทอ พระโพธิสัตว์ชี้ให้เห็นว่า นามพระโพธิสัตว์ มนตร์คาถา พีชะ หัสตมุทรา ปัญญาจักษุ เป็นทางเข้าสู่มรรคผล
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระอรหันต์ แสดงธรรมโปรดสัตว์
    19งัน**ออพอลูซี แปลว่าพระโพธิสัตว์ผู้มีธรรมบริสุทธิ์
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์พนมมือ แสดงกรุณาธรรม ปลดทุกข์ให้ความสุขแก่สัตว์โลก
    20ลูเกียตี แปลว่าโลกนารถ อิสระจิตไม่มัวหมอง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระมหาพรหมเทพราช โปรดสรรพสัตว์ทั้ง 10 ทิศ
    21เกียลาตี หมายถึง ผู้ปลดทุกข์ หรือผู้มีจิตในธรรมอันมั่นคง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเทพเจ้า ช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั่วทศทิศ

    [​IMG]
    22อีซีรี หมายถึงกระทำตามโอวาท
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเทพเจ้ามเหศวรแห่งสวรรค์ดาวดึง นำทัพเทพยดา มาโปรดสัตว์
    23มอฮอผู่ทีสักตอ มอฮอ แปลว่า มหา ผู่ที แปลว่าเห็นโลกเป็นสูญ สักตอ แปลว่าการปฏิบัติอนัตตาธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ในปางยืนเข้าสมาธิ ผู้ทรงมหาเมตตาบริสุทธิ์ อนัตตาธรรม
    24สักพอ สักพอ แปลว่าพุทธธรรมเสมอภาค
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นคนธาลัยโพธิสัตว์นำทหารภูติ5ทิศและผู้ติดตาม มาโปรดสรรพสัตว์
    25มอรา มอรา แปลว่าผู้ปฏิบัติจะได้มโนรถแก้วมณี มอราที่2 หมายถึง แก้วมณีอันเป็นมโนรถ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็น
    พระปัณทรวาสินีโพธิสัตว์ มือขวาถือแก้วอายุวัฒนะ มือซ้ายอุ้มชูเด็ก โปรดสัตว์โลกให้มีอายุยืนยาว
    26มอซี มอซีลีทอยิน มอซี แปลว่าได้มีอิสระทันที ลีทอยิน แปลว่า ปฏิบัติจนได้วชิรธรรมกาย ได้อาสน์ดอกบัว
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระอมิตาภะพุทธเจ้า เมื่อสิ้นสัมโภคกายนี้แล้ว ต่างไปเกิดในสุขขาวดีภูมิ
    27กีลูกีลู กิตมง กีลู แปลว่าการเกิดความคิดปฏิบัติธรรม เทพเจ้าจะมารักษา กิตมง แปลว่าผู้ปฏิบัติสร้างสมบุญบารมีเป็นพื้นฐานการบรรลุธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอากาศกายโพธิสัตว์ นำทัพเทพจำนวนหมื่นโกฎิ มาโปรดสัตว์จำนวนอมิตา
    28ตูรู ตูรู ฟาแซแยตี ตูรู แปลว่าความแน่วแน่มีสมาธิ ฟาแซแยตี แปลว่าความบริสุทธิ์ ใหญ่ยิ่ง สามารถข้ามพ้นความเกิดดับ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระอุครโพธิสัตว์ คุมทหารของมยุรราชปราบปรามเหล่ามาร

    [​IMG]
    29 มอฮอฟาแซแยตี หมายถึงธรรมอันไพศาล
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นแม่ทัพมหาพละ ถือคฑา คุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรม
    30 ทอลา ทอลา เป็นธารณี ทำจิตให้เหมือนอากาศโปร่งใสไม่มีอละอองฝุ่น
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็น มหาบุรุษ ทำทุกข์กิริยา
    31 ตีรีนี ตี หมายถึงโลก รี คือสัตว์ทั้งหลายล้วนสามารถบรรลุธรรมได้ นี คือ พรหมจาริณีผู้ปฏิบัติธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสิงหราช ทดสอบการศึกษาธรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะทรงโปรดสตรีเพศ
    32 สึดฟูลาแย หมายถึง เมื่อเข้าถึงธรรมชาติแห่งสภาวะเดิมแล้ว แสงแห่งธรรมกายก็ปรากฏ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระคำรามโพธิสัตว์ มือถือคฑาทองคำ ปราบมารและบริวารของมาร
    33 เจลาเจลา หมายถึงความโกรธดุ ประกาศเสมือนเสียงคำรามฟ้าร้อง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นหักหาญโพธิสัตว์ มือถือสุวรรณจักร โปรดเหล่ามาร
    34 มอมอฟามอรา มอมอคือการทำดี สามารถทำลายความกังวล ฟามอรา คือ ธรรมอันลึกซึ้ง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอภิจารกมารวชิร มือถือสุวรรณจักรคุ้มครองสัตว์โลก ให้มีความศิริมงคล
    35 หมุกตีลี หมายถึงความหลุดพ้น
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระพุทธเจ้าพนมมือฟังและสวดธารณี ผู้ปฏิบัติตามนี้จะบรรลุพุทธผล

    [​IMG]36 อีซี อีซี หมายถึงการชักชวนตามพระศาสนา ทุกสิ่งให้เป็นไปตามธรรมชาติ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นมเหศวรเทพเจ้าโปรดทวยเทพและมนุษย์
    37 สึดนอ สึดนอ หมายถึงมหาปณิธาน
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นกาณะมารเทพราชสั่งสอนทวยเทพ
    38 ออลาเซียงฟูลาแซลี ออลาเซียง คือความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา ฟูลาแซลี หมายถึงได้ธรรมกายอันบริสุทธิ์
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ถือธนูลูกศร
    39 ฟอซอฟาเซียง ฟาซอ หมายถึงผู้มีขันติธรรม ฟาเซียง หมายถึงผุ้บรรลุธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นแม่ทัพสุวรรณมงกุฎภูมิ ถือกระดิ่งประกาศธรรมตามกาลที่เหมาะสม โปรดสรรพสัตว์
    40 ฟูลาแซแย หมายถึง ต้องรู้ด้วยตนเอง
    รูปพระอมิตาภะพุทธเจ้า สัตว์โลกผู้ระลึกถึงท่าน สวดพระนามท่าน ปฏิบัติธรรมของท่าน จะต้องได้พบกับท่าน
    41 ฟูลู ฟูลูมอรา หมายถึง การประกอบพุทธธรรมตามจิตปารถนา
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเทพเจ้าแปดคติ พนมมือ ตั้งเมตตาจิตโปรดเหล่าภูติผี
    42 ฟูลู ฟูลูซีรี ประกอบพุทธธรรมโดยปราศจากความคิดคำนึง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเทพสี่กร มือถือดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ โปรดเทพและมนุษย์

    [​IMG]
    43 ซอรา ซอรา หมายถึงความมุ่งมั่นในจิต ก็จะได้พบพระอวโลติเกศวร
    ภาพถ้ำพรหมโฆษ ที่ภูเขาพูท้อ มณฑลจีเจียง

    44 สึดลี สึดลี หมายถึงมงคลยอดเยี่ยม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์อันเปี่ยมด้วยพระเมตตา มือถือทันตโบณและกุณโฑ พรมน้ำอมฤต
    45 ซูรู ซูรู คือเสียงใบโพธิ์ร่วงหรือเสียงน้ำอมฤต
    ผู้ได้รับฟังเกิดความสงบระงับ ผู้ได้รับการอภิเษกชุ่มชื่นกายใจ อิ่มเอิ่บ เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติธรรม
    46 ผู่ทีแย ผู่ทีแย หมายถึงตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ชีวิต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ มีเด็กติดตาม แสดงความเมตตากรุณาโปรดสรรพสัตว์
    47 ผู่ทอแย ผู่ทอแย หมายถึงรู้ธรรม รู้จิต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระอานนท์เถระ ผู้เลิศในความเป้นพหูสูตร มืออุ้มบาตร โปรดสัตว์
    48 มีตีลีแย หมายถึงมหากรุณา
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระศรีอริยะเมตไตรย์โพธิสัตว์ แนะนำสรรพสัตว์ปฏิบัติมหากรุณาธรรม
    49 นอลากินชี หมายถึงปราชญ์ผู้รักษาตนเอง มีมหากรุณาจิต ปลุกสรรพสัตว์ให้ตื่นจากความหลับ พ้นทุคติ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ผู้ทรงตั้งปณิธานโปรดสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ทั่วนรกภูมิ

    [​IMG]
    50 ตีลีสึดนีนอ หมายถึงความคมของวชิระ วชิระได้ชื่อว่าแข็งแกร่งและคมที่สุดตัดทำลายอวิชชาทุกประเภทได้รวดเร็วและแน่นอน
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระรัตนธวัชโพธิสัตว์ มือซ้ายเป็นมุทรา มือขวาถือหอกสามง่ามทองคำ โปรดสัตว์
    51 พอแย มอนอ หมายถึงเสียงก้องไปทศทิศ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสุวรรณาภาธวัชโพธิสัตว์ มือถือวชิรคฑา โปรดสัตว์
    52 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จผลในนิพพาน
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสามเศียรสุอริยะ นั่งขัดสมาธิ โปรดสัตว์ด้วยนิพพานธรรม
    53 สึดทอแย หมายถึงสำเร็จในอรรถทั้งหลาย
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระสารีบุตรเถระ ทำมือท่าปทุมมุทรา รอบรู้ธรรมทั้งปวง
    54 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จเห็นแจ้งด้วยมงคลจิต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ประทับยืนเหนือมังกร หลั่งน้ำอมฤตลงในมหาสมุทร โปรดสัตว์ด้วยมงคลจิต
    55 มอฮอสึดทอแย หมายถึงความสำเร็จอันยิ่งใหญ่
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ เปร่งรัศมี มือถือรัตนธวัช ส่องแสงสว่างโปรดสัตว์
    56 ซอผ่อฮอ ผลสำเร็จจากการปฏิบัติกรุณาธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระโมคคัลลานะเถระ มือถือขักขระและอุ้มบาตร ระงับภยันตรายให้สัตว์โลก

    [​IMG]
    57 สึดทอยีอี สึดทอ หมายถึงสำเร็จ ยีอี หมายถึงว่างเปล่า เข้าสู่ความว่างเปล่าที่แท้จริงนั่นคือเข้าสู่สุขาวดี
    รูปบรรดาพระโพธิสัตว์และทวยเทพชุมนุมพร้อมกันที่สุขาวดี
    58 สึดพันลาแย หมายถึงความอิสระอันสมบูรณ์
    รูปกำยานพระอมิตาภะพุทธเจ้ากับพระอวโลติเกศวร
    59 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จในสภาวะธรรมอันสมบูรณ์
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอชานเถระ ใบหน้าหัวเราะชูบาตรขึ้นสูง เพิ่มพูนกำลังใจในการโปรดสัตว์
    60 นอลากินชี หมายถึงสำเร็จด้วยความรัก ความรักที่มีต่อชาวโลกดังห้วงมหาสมุทรมิมีวันเหือดแห้ง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นคีรีสาครปัญญาโพธิสัตว์ มือถือดาบทองคำ
    61 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จสมบูรณ์ด้วยโพธิสัตว์ธรรม ปล่อยวางจากทัศนแห่งปัจเจกธรรม ปัจเจกธรรมเพื่อตนเอง โพธิธรรมเพื่อสรรพสัตว์ทั้งปวง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นจัณทาลเถระ หาบงอบฟาง ถือสัทอรรถธรรมอสังสฤต โปรดสัตว์
    62 มอลานอลา มอลา คือมโนรส นอลา คือ อนุตร อนุตรผลสำเร็จด้วยจิต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นรัตนมุทรราชโพธิสัตว์ มือถือขวานทองคำ ทดสอบจิตและการกระทำของสัตว์โลก
    63 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จด้วยรู้สภาวะเดิมอันอยู่ภายในจิต
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเกาซีลาเถระ สวมรองเท้าอ้อเดินบนคลื่นน้ำ เปล่งเสียงดังคลื่น เพื่อเดือนสรรพสัตว์

    [​IMG]
    64 สึดลาเจงออหมุกแคแย หมายถึงความสมานฉันท์ ความรักกันในสัตว์โลก
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นเภสัชราชโพธิสัตว์ ถือสมุนไพรรักษาโรค ให้สัตว์โลก
    65 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จด้วยธรรม ธรรมเท่านั้นที่รักษาโรคทางจิตได้
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสมบูรณ์โพธิสัตว์ สวมเสื้อแดง มือทำท่ามุทรา ด้วยจิตอันสมบูรณ์ อำนวยสุขแก่สัตว์โลก
    66 ซอผ่อหม่อฮอ ออสึดทอแย ซอพอหม่อฮอ หมายถึงสัตว์ทุกประเภท ออสึดทอแย หมายถึงร่วมกันสุขสบาย
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอุตรเภสัชโพธิสัตว์ มือถือกุณโท รักษาโรคให้มนุษย์
    67 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จธรรมไปถึงฝั่งโน้น
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นพระสารีบุตรเถระ มือยกชูพระสูตร โปรดสัตว์ไปจุติในสุขาวดีภูมิ
    68 เจกิตลาออสึดทอแย เจกิดลา คือการใช้วชิระจักร ออสิตทอแย ความสำเร็จอันไม่มีใดเทียบ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นแม่ทัพพยัคฆ์คำราม ถือขวาน ปราบมารด้วยจิตอันมั่นคง
    69 ซอผ่อฮอ หมายถึงความสำเร็จจากการไม่ประกอบอกุศลทั้งมวล
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นบรรดาเทพมารราช ถือหอกยาว
    70 ปอทอมอกิตสึดทอแย ปอทอ แปลว่าดอกบัวแดง มอกิต คือชนะ สึดทอแย คือสำเร็จทั้งสิ้น มรรคผลประดุจบัวแดงอันบริสุทธิ์ไม่มีมลทินจากโคลนตม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสัทคนธ์เทพโพธิสัตว์ ยกกระถางธูปมโนรส คุ้มครองสัตว์โลก

    [​IMG]
    71 ซอผ่อฮอ หมายถึงสำเร็จโดยไม่ยึดติด
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ โปรยดอกบัวพันกลีบ เพื่อบรรลุความปรารถนาให้สัตว์โลกมีสุข
    72 นอลากินชี พันแคลาแย นอลากินชี คือรักษาไว้ด้วยความเป็นมงคล พันแคลาแย แปลว่าเถระเพ่งโดยอิสระ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นปูราณเถระ อุ้มบาตร ช่วยสัตว์โลกให้พ้นภยันตราย
    73 ซอผ่อฮอ สำเร็จด้วยความสำนึกในสภาวะดั้งเดิม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นดาลาณีบุตรโพธิสัตว์ ถือผลไม้สดให้ทานแก่สรรพสัตว์ โปรดสัตว์ให้รู้สภาวะเดิมแท้
    74 มอพอลีเซงกิตลาแย มอพอลีเซง คือมหาวีระ กิตลาแย คือสภาวะเดิม มหาวีระผู้เห็นแจ้งในสภาวะเดิม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสมาธิญานโพธิสัตว์ นั่งขัดสมาธิจักร ถือรัตนโคมไฟ ส่องแสงไปทั่วธรรมโลกธาตุ
    75 ซอผ่อฮอ สำเร็จโดยรวมความทั้งหมดของมหากรุณาธารณีนี้
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นมหากัสสปะเถระ มือซ้ายถือประคำ มือขวาถือไม้เท้า นำสรรพสัตว์ปฏิบัติธรรม
    76 นำมอห่อลา ตันนอตอลา แหย่แย น้อมนมัสการพระรัตนไตร พระโพธิสัตว์ย้ำให้ศรัทธามั่นในพระรัตนไตร และสวดท่องธารณีอย่างต่อเนื่อง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นอากาศครรภ์โพธิสัตว์ ถือดอกไม้ นั่งบนอาสน์หิน ให้สัตว์โลกมั่นคงในศรัทธา
    77 นำมอ ออรีแย น้อมนมัสการองค์อริยะ เตือนสรรพสัตว์ให้รีบเร่งปฏิบัติธรรม
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นสมันตภัทรโพธิสัตว์ นั่งบนหลังคันธหัสดร์ร้อยรัตน ให้สรรพสัตว์ปฏิบัติธรรมโดยสมบูรณ์

    [​IMG]
    78 พอลูกิตตี หมายถึงพระอวโลติเกศวร ผู้นำพาสรรพสัตว์เข้าสู่สุขาวดีพุทธภูมิ
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ ปรากฎเป็นมัญชูศรีโพธิสัตว์ นั่งอยู่บนหลังสิงหอาสน์ มือซ้ายชี้ขึ้นท้องฟ้า เพื่อให้สรรพสัตว์เข้าถึงธรรม
    79 ชอพันลาแย หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายในตา อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือรูป
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายประสาทตาที่รับรู้ เป็นลักษณะดอกบัวทองพันกลีบ
    80 ซอผ่อฮอ หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายใน หู อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือ เสียง
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายประสาทหูที่รับรู้ เป็นลักษณะวางแขนลงมา ล้อมรอบองค์ด้วยเครื่องดนตรี
    81 งัน**สึดตินตู หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายใน จมูก อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือ กลิ่น
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายประสาทจมูกที่รับรู้ เป็นลักษณะชูนิ้วทั้ง5
    82 มันตอรา คือธรรมมณฑล หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายใน ลิ้น อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือ รส
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายประสาทลิ้น เป็นรูปชูมือตูละนุ่น
    83 ปัดทอแย หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายใน กาย อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือ สัมผัส
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายประสาทสัมผัส เป็นรูปยกคณฑ์บาตร
    84 ซอผ่อฮอ หมายถึง ผู้ซึ้งแล้วอายตนะภายใน ใจ อันเชื่อมต่อกับอายตนะภายนอกคือ อารมณ์
    รูปพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ บรรยายจิตประสาทและธรรมกาย เป็นรูป พระโพธิสัตว์ถือธวัชยาว สรรพสิ่งเกิดที่ใจ ความว่างเปล่าเกิดที่ใจ

    จากหนังสือมหากรุณาธารณี หลวงจีนคณาณัติจีนพรต(เย็นบุญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดทิพยวารีวิหาร เรียบเรียง อาจารย์ ล.เสถียรสุตแปลไทย
    กลับเพจต้น
     
  7. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.มุ.นี.มุ.นี.มา.หา.มุ.นี.เย.โซ.ฮา./
    [​IMG]
    ธิเบตเรียก ศากยะ.ถุบ.ปะ ภาษาจีน เรียก เสกเกียโมวนีฮุก อักขระประจำองค์ คือ มุ
    พระศากยะมุนีพุทธเจ้า ในมุมมองแห่งปรัชญาสาวกยานพระองค์ทรงเป็นอริยะบุคคลแห่งประวัติศาสตร์ซึ่งได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระสัมมาสัม โพธิญาน ส่วนในมุมมองแห่งมหายานพระองค์เป็นยิ่งกว่าบุคคลในประวัติศาสตร์ ด้วยมหายานเชื่อว่าพระองค์ทรงบรรลุความเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้ามานานแล้ว และด้วยพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ พระองค์จึงมาเพื่อกระตุ้นเตือนให้สรรพสัตว์ที่เริ่มจะหลงระเริงไปในสังสารวัฏฏและหาหนทางหลุดพ้นไม่พบ พระองค์ทรงรับความทุกข์ยากลำบากเพื่อปฏิบัติให้เป็นตัวอย่างแด่สรรพสัตว์ ธรรมะ 84000 บทที่พระองค์ทรงประทานให้แก่ชาวโลก ทุกบทสามารถนำพาสรรพสัตว์เข้าสู่วิมุติสุขได้ทั้งนั้น คงมีสักบทที่ตรงกับจริตของเรา แล้วมุ่งเน้นไปในทางนั้น การบรรลุโพธิญานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้แน่นอน หลักธรรมทั้งปวง เป็นเครื่องมือให้เรา ได้รู้ ได้ดำเนินการ ได้รับผล แห่งอริยะสัจ4 ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นนิกายใด อยู่ที่ไหนในโลก อริยะสัจแรกคือทุกข์ ไม่มีสรรพสัตว์ใดไม่เป็นทุกข์ เทพเทวาเป็นทุกข์ด้วยความหลงในความเป็นเทพแห่งตนเมื่อถึงวันที่ต้องสิ้นสุดความเป็นเทพความทุกข์ยิ่งทวีความรุนแรง เป็นเท่าทวี ยังมีทุกข์ที่มองไม่เห็นของเทพด้วยกันคือทุกข์ซึ่งเกิดจากการไม่สามารถสู่ความหลุดพ้นได้ ด้วยว่าภพแห่งเทพเต็มเปี่ยมด้วยโลกียะสุข อสูรมีชีวิตอยู่ในบ่วงแห่งความโกรธความริษยาเทพตั้งหน้ารบราแย่งชิงโลกียะสุขจากเทพอยู่เป็นประจำ ทุกข์ของมนุษย์ถือเป็นทุกข์ที่สมบรูณ์คือรวมเอาทุกข์สรรพสัตว์อีก5ภูมิมารวมไว้ ได้ในสิ่งที่ไม่ต้องการเป็นทุกข์ ไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ แต่ก็เป็นความโชคดีประการหนึ่งของมนุษย์ ก็คือมีแต่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถปฏิบัติเพื่อสู่ความหลุดพ้นได้ ด้วยว่ามนุษย์ได้สัมผัสทุกข์ทุกรูปแบบ คือสามารถรู้และสัมผัสกับทุกข์ได้เต็มรูปแบบ เมื่อรู้จริง ก็จะได้หนทางที่ถูกต้องจริงไปสู่ความหลุดพ้น เดรัจฉาน ทุกข์ด้วยความโง่เขลา ฆ่ากันเพื่อการดำรงชีวิต เปรต ทุกข์จากความโลภหิวกระหายอยู่ตลอดเวลาไม่มีความพอเพียง สัตว์ในนรกภูมิ ทุกข์จากการถูกทรมาน สภาวะจิตที่ต่ำ ปฏิบัติอวิชชาทั้งหลายทั้งปวงอยู่เป็นประจำ จึงต้องถูกคุมขังทรมาน อริยะสัจข้อที่2คือ เหตุแห่งทุกข์ เมื่อรู้ว่าสรรพสัตว์ทั้งปวงเป็นทุกข์ด้วยอะไร นั่นคือรู้เหตุแห่งทุกข์ สรุปเหตุแห่งทุกข์ได้ความว่าเกิดจาก 1 ความอยากได้ 2 ความอยากเป็น 3 ความไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น 4 ความอิจฉาริษยา 5 ความเย่อหยิ่งถือตัว อริยะสัจข้อ 3 ผลของการดับทุกข์ คือ การบรรลุพุทธภาวะซึ่งเป็นความสุขอันนิรันดร อันเป็น ผลของการปฏิบัติ อริยสัจข้อที่ 4 มรรค ทางปฏิบัติ สู่การดับทุกข์
     
  8. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์อวโลติเกศวร
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.มา.นี.เปด.เม.โฮุม.
    [​IMG]

    พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ธิเบตเรียก เชนเรซิก จีนเรียก พระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธทั่วโลก พระองค์ทรงเป็นตัวแทนแห่งพระมหากรุณาของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระองค์ถือกำเนิดขึ้นด้วยพระมหากรุณาแห่งพระอมิตาภะพุทธเจ้า น้ำตาแห่งความสงสารในความหลงผิดของสรรพสัตว์ บังเกิดเป็นองค์พระอวโลติเกศวรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ชักจูงสรรพสัตว์พ้นห้วงทุกข์
    ในภาพพระโพธิสัตว์ทรงพระขรรด์คือพระมัญชูศรีโพธิสัตว์ซึ่งทรงเป็นตัวแทนแห่งพระปัญญาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง และพระโพธิสัตว์อีกองค์ที่หน้าดุๆคือวัชรปาณีโพธิสัตว์ซึ่งเป็นตัวแทนแห่งพลังของพระพุทธเจ้าทั้งปวง พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในปางต่างๆมากมายเพื่อให้เหมาะสมแก่ภาระกิจที่จะโปรดในแต่ละครั้ง
    มหากรุณาเป็นคุณสมบัติประการหนึ่งที่เป็นตัวบ่งบอกคุณลักษณะของความเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระโพธิสัตว์ และเป็นพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งที่ต้องปฏิบัติในการปฏิบัติพุทธตันตระธรรม โดยใช้ชื่อเรียกว่า โพธิจิต หลักการของโพธิจิต คือการตั้งปณิธานในการปฏิบัติเพื่อนำพาสรรพสัตว์ให้พ้นจากทุกข์หรือช่วยยกระดับของสรรพสัตว์ให้สูงขึ้น การให้สิ่งที่ดีแก่ผู้อื่นแน่นอนผู้รับย่อมได้ผลจากการนั้น แต่ผลที่ผู้ให้ได้รับนั้นยิ่งใหญ่กว่า การเห็นธรรมชาติของอัตตา อนัตตา อารมณ์ ความโลภ ความโกรธ ทุกประการเกิดขึ้นพร้อมกัน โพธิจิตเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าเรายังคงยึดถือในอัตตา ความโลภ ความโกรธ ดังนั้นผลแห่งการตั้งปณิธานในโพธิจิตผู้ให้จึงเป็นผู้ได้รับผลอย่างแท้จริง
    พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ในภาพเป็นปางสี่แขนซึ่งชาวธิเบตถือว่าท่านเป็นผู้ปกป้องชาวธิเบต ชาวธิเบตมากกว่า99เปอร์เช็นที่บูชาท่านและภาวนาคาถาหัวใจของท่านอยู่เป็นประจำ โอมมานีเปดเมโฮุม มีทั่วทุกซอกทุกมุมของธิเบต องค์อวโลติเกศวรโพธิสัตว์ท่านพระวรกายสีขาวกระจ่างสดใส สวมมงกุฎพุทธเจ้าห้าพระองค์ ผมดำมวยเป็นจุก สองมือพนมถือจินดามณี มือขวาถือประคำหินผลึก มือซ้ายถือดอกบัวแปดกลีบ ใบหน้ายิ้มน้อยๆฉายแววแห่งพระเมตตา เชื่อกันว่าสายตาของท่านมองสู่ผู้ใดผู้นั้นได้รับพลังในการบำบัดทุกข์ ไหล่ซ้ายมีหนังกวางพาดอยู่ สวมอาภรณ์สัมโภคกายห้าสี นุ่งผ้าไหมสีแดง สวมเครื่องประดับกายหลากหลาย โดยเฉพาะสวมสร้อยสามเส้น เส้นแรกสั้นอยู่บริเวณคอ เส้นที่สองอยู่บริเวณอก เส้นที่สามยาวถึงสะดือ นั่งในท่าวัชรอาสน์บนแท่นบัวรัศมีจันทร์ ประกายแสงห้าสีเปล่งออกจากพระวรกาย
    ความหมายแห่งองค์ท่าน เศียรเดียวคือความรู้แจ้งแทงตลอดในพุทธธรรม สี่แขนหมายถึงพรหมวิหารสี่ กายขาวคือจิตเดิมทรงความบริสุทธิ์ปราศจากมลทินทั้งมวล ไม่ตกอยู่ในภาวะสงสัยลังเลสับสน มงกุฎคือปัญญาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งห้า ผมดำคือความบริสุทธิ์แห่งสภาวะปัจจุบัน อาภรณ์ห้าสีเปรียบดังพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ สีแดงของผ้านุ่งคือสัญลักษณ์แห่งตระกูลปัทม ตุ้มหูเปรียบดังการคอยฟังเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากสรรพสัตว์ทั้งหกภูมิ สร้อยคอสั้นคือการปฏิบัติได้มาซึ่งฌานองค์อักโษภยพุทธเจ้า สร้อยขนาดกลางคือการปฏิบัติได้มาซึ่งทานบารมีแห่งองค์พระรัตนสัมภวพุทธเจ้า สร้อยเส้นยาวคือการปฏิบัติได้มาซึ่งขันติบารมีแห่งองค์อโมฆสิทธิพุทธเจ้า ท่านั่งคือการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ท่าพนมมือคือปัญญาและพลังแห่งหนทาง ลูกประคำเปรียบดังการหลุดพ้นของสรรพสัตว์หนึ่งลูกต่อหนึ่งชีวิตที่พ้นทุกข์
    ความหมายในคาถาหัวใจ
    โอม สีขาว คือองค์ปัญญาของท่าน ฌานบารมีของท่านได้ขจัดความเฉื่อยชา หลงในความสุขสบายของอัตตา ไม่ต้องเข้าสู่ภูมิเทวดา ดุจดังพระรัตนสัมภวะพุทธเจ้าทางทิศใต้
    มา สีเขียว คือเมตตาจิตของท่าน ขันติบารมีของท่านได้ขจัดความริษยา การแสวงหาชัยชนะด้วยเล่ห์กลต่างๆ ไม่ต้องเข้าสู่ภูมิอสูร ดุจดังพระอโมฆสิทธิพุทธเจ้าทางทิศเหนือ
    นี สี เหลือง คือกาย วาจา ใจ การกระทำ และบุญบารมีของท่าน ศีลบารมีของท่านได้ขจัดความยึดติดในตน ความปารถนาไม่สิ้นสุด ไม่ต้องเข้าสู่ภูมิมนุษย์ ดุจดังพระวัชรปาณิโพธิสัตว์
    เปด สีฟ้า คือเสมอภาพ ปัญญาบารมีของท่านได้ขจัดความโง่เขลา ชาด้าน เก็บกด ไม่ต้องเข้าสู่ภูมิเดรัจฉาน ดุจดังพระไวโรจนพุทธเจ้าอยู่ตรงศูนย์กลาง
    เม สีแดง คือความอิสระ ความมั่งคั่ง ทานบารมีของท่านได้ขจัดความโลภ ความหิวกระหาย ไม่ต้องเข้าสู่ภูมิเปรต ดุจดังพระอมิตภพุทธเจ้าทางทิศตะวันตก
    โฮุม สีดำ คือมหาเมตตากรุณา วิริยะบารมีของท่านได้ขจัดความโกรธแค้น การต้องการทำลาย ไม่ต้องเข้าสู่นรกภูมิ ดุจดังพระอักโษภยพุทธเจ้าทางทิศตะวันออก
    อานิสงฆ์ในการปฏิบัติธรรมในองค์พระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ดุจดังแก้วสารพัดนึก
     
  9. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์มัญชูศรี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์ [​IMG]โอม.อา.รา.ปา.จา.นา.ดี
    [​IMG]
    ธิเบตเรียก จัม.บาล.จัง. จีนเรียก บุนซูซือลีผู่สักพระองค์ทรงเป็นปัญญาแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวง
    ภาพพระมัญชูศรีโพธิสัตว์มีหลายลักษณะ ในภาพเป็นปางที่แพร่หลายที่สุด มีหนึ่งเศียรสองกร มือขวาถือกระบี่แห่งปัญญา (กระบี่แห่งปัญญาอันคมกริบตัดขาดอวิชชาทั้งมวล)มือซ้ายอยู่ในท่ามุทราหมุนธรรมจักรถือสายบัวดอกบัวขึ้นไปทางไหล่ซ้าย บนดอกบัวมีพระสูตรปรัชญาปารามิตาสูตร(
    "พระสูตรหัวใจแห่งปัญญานำพาข้ามฟากฝั่ง"เสริมสร้างปัญญาอันสมบูรณ์พร้อมเพื่อเข้าสู่โลกุตระ) นั่งในท่าวัชรอาสน์ บางลักษณะก็นั่งในท่าครึ่งวัชระห้อยเท้าซ้ายลงมา หรือบ้างก็นั่งมาบนหลังสิงโต(สิงโตเป็นสัญลักษณ์แห่งเจ้าป่าไม่มีความกลัวในอุปสรรคทั้งปวง)บทปฏิบัติในองค์มัญชูศรีโพธิสัตว์ มีหลายบทเปลี่ยนไปตามวรรณะแห่งองค์ท่าน เช่นสีขาว สีดำ สีแดง ในแต่ละบทของการปฏิบัติก็ไม่เหมือนกัน พุทธเกษตรของท่านอยู่ที่ภูเขาอูไท่ มีความเชื่อกันว่ากษัตริย์ และปรมาจารย์ ในธิเบตและจีนที่ทรงความสามารถและธรรมคือองค์อวตารของท่าน ดังเช่น ลองเชนปะ สซองคาปา และสังฆราชแห่งนิกายสักยะทุกองค์
    ความหมายในคาถาหัวใจ
    โอม การของสรณะเพื่อเข้าสู่การปฏิบัติธรรม
    อา การเข้าสู่ศูนยตาสภาวะไม่เกิดไม่ดับ
    รา ความบริสุทธิ์ไปแปดเปื้อนด้วยเหตุแห่งวัฏฏ
    ปา ความเท่าเทียมกัน(สรรพสัตว์เท่าเทียมกันในการบรรลุ)
    จา ในศูนยตาสภาวะไม่จำเป็นต้องมีธรรมและการปฏิบัติ
    นา ในศูนยตาสภาวะปราศจากรูปแบบใดๆ
    ดี อักขระประจำองค์
    การเข้าใจความหมายในคาถาหัวใจขององค์พระมัญชูศรีโพธิสัตว์ขึ้น อยู่กับความรู้ลึกซึ้งในปรัชญาปารามิตาสูตร(ดูในพระสูตรหัวใจแห่งปัญญานำพาข้ามฟากฝั่ง)
     
  10. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์ปารามิตตา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์
    [​IMG]
    ตา.ยา.ถา.โอม.คะ.เต.คะ.เต.ปา.รา.คะ.เต.ปา.รา.สัง.คะ.เต.โบ.ธิ.โซ.ฮา.

    [​IMG]
    ธิเบต เรียก เศส.เรบ.กยี.ภา.โรล.ตู.ชิน.มา. จีนเรียก ปอ แย ปอ ลอ มิก ตอ พระองค์ทรงเป็นบุคคลาธิษฐานแห่งการข้ามสู่ฝั่งโลกุตระ
    พระอวโลติเกศวร ได้ทรงสอนคำสอนปรัชญาปารามิตาไว้แด่ หมู่พระโพธิสัตว์สัมโภคกาย และได้ตกทอดคำสอนนี้แก่มนุษย์โดยผ่านทาง คุรุนาครชุน พระสูตรปรัชญาปารามิตา เป็นพระสูตรสำคัญในพุทธศาสนามหายานและวัชรยาน "คำสอนประกายแห่งปัญญานำพาข้ามฟากฝั่ง"
    ในพุทธตันตระยาน การบรรลุเกิดจากการแปรเปลี่ยน โลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นพลังหนึ่งในตัว ให้เป็นพลังในการสู่โพธิญาน ทุกสรรพสิ่งที่บังเกิดสัมผัสรับรู้ได้ในมณฑลแห่งการปฏิบัติ ทุกภาพทุกประสบการณ์ในชีวิตบังเกิดเป็นนิมิต ทุกกระแสเสียงคือการภาวนามนตราของพระพุทธองค์ ของพระโพธิสัตว์ ทุกความคิดคือกระแสจิตแห่งมณฑล อันดำรงตนอยู่ในศูนยตาสภาวะอันไร้ขอบเขต ผู้ปฏิบัติมิได้เห็นการเริงระบำของหมู่ทวยเทพด้วยตา หรือได้ยินมนตราดังกึกก้องรอบบริเวณ ด้วยหู รับรู้ถึงแสงสีวิจิตรพิศดารในดวงจิต หากการได้เห็นได้ยินเสียงหรือได้รับรู้ในสิ่งต่างที่บังเกิดขึ้นและยึดติดกับมัน ก็จะทำให้อัตตาความยึดมั่นถือมั่นแข็งแกร่งมากขึ้น ในประสพการณ์อันสูงสุดในมณฑล ทุกภาพ ทุกเสียง ทุกสีสันเป็นเพียงอุปมาอุปไมย ดังเช่นหากคุณประสบกับโทสะจริตอันเด่นชัด คุณย่อมถ่ายทอด มันเป็นรูปของเปลวเพลิงอันโช่ติช่วง โลภะจริตในรูป ของเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ อัตตาตัวตนในรูปซากมนุษย์ใต้พระบาทองค์ยิดัม ตั้งแต่โบราณกาลผู้ฝึกฝนพุทธตันตระได้สร้างงานจิตรกรรมในรูปแบบต่างๆ ในรูปบุคคลาธิษฐาน ในรูปสัญลักษณ์แห่งมโนอันกระจ่างชัด ในรูปลัญลักษณ์แห่งพลังจักรวาล ฯลฯ ไว้มากมาย สำหรับผู้ฝึกฝนพุทธตันตระ การเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งถึงพลังแห่งจักรวาลในรูปของสัญลักษณ์ ลวดลาย สีสัน และทรวดทรงจึงไม่ใช่เรื่องของจิตนาการหรือปรุงแต่ง หากแต่เป็นธรรมชาติอันจริงแท้ เปรียบดังบทเพลงอันแสนไพเราะได้สร้างความเคลิบเคลิ้ม และรู้สึกได้ถึงอารมณ์อันสุนทรีจนสามารถบรรยายเป็นรูปลักษณ์และสร้างสรรค์เป็นประติมากรรมขึ้นจากบทเพลงนั้น กระแสเสียงได้กลายสภาพเป็นสิ่งที่มีรูปร่าง สีสีสัน มีลวดลาย บุคคลาธิษฐาน รูปสัญลักษณ์ สีสันลวดลายทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น นั่นคือ "มหามุทรา" ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ โลกทั้งโลกคือสัญลักษณ์ สัญลักษณ์ในมหามุทราเป็นสัญลักษณ์ในปรมัตถ์สัจจ์ ไม่ใช่ในแง่ของสมมุติสัจจ์ ดังนั้นมหามุทราจึงเป็นสุดยอดแห่งสัญลักษณ์อันอันคมชัด กระจ่างใสของสรรพสิ่งที่มีอยู่จริง
    องค์ปารามิตาถือว่าท่านเป็นสัญลักษณ์หนึ่งเดียวอันเกิดจากพระสูตร ซึ่งก็คือ
    พระสูตรปรัชญาปารามิตา อันเป็นพระปัญญาสู่นิพพานของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ท่านถือเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ด้วยว่าพุทธเจ้าทุกพระองค์อาศัยพระสูตรปรัชญาปารามิตาเข้าสู่ความเป็นพุทธะ
    องค์ปารามิตาโพธิสัตว์ท่านกายสีเหลืองทอง หนึ่งเศียร สี่แขน มือขวาถือวัชระสีทองเก้าแฉก มือซ้ายถือพระสูตรปรัชญาปารามิตาสีทอง สองแขนด้านหน้าอยู่ในท่าสมาธิ นั่งในท่าวัชรอาสน์ สวมอาภรณ์สัมโภคกาย คาถาหัวใจของพระสูตรปรัชญาปารามิตาก็คือคาถาหัวใจขององค์ท่าน ซึ่งก็มีความหมายว่า"มหาสติ เกิดปัญญา นำพาข้ามวัฏฏสู่ฝั่งพุทธภูมิ"
    อ้างอิงหนังสือTHE MYTH OF FREEDOM AND THE WAY OF MEDITATION เชอเกียม ตรุงปะเขียน
    5 ธันวาคม 2543
     
  11. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    ส่งเรื่องมหายานมาให้แล้วนะครับ
     
  12. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#ffffff>
    พระไภษัชยคุรุไวฑูรยะประภาราชพุทธเจ้า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    ตา.ยา.ถา./โอม.บี.ศยา.ซิด.บี.ศยา.ซิด.มาหา.บี.ศยา.ซิด.บี.ศยา.ซิด.รา.จา.ซา.มุ.คา.เต.โซ.ฮา./
    [​IMG]
    ธิเบต เรียก ซัง.เกีย.มน.ลา จีนเรียก เอี๊ยะซือฮุก
    พระพุทธเจ้าแห่งทิศตะวันออก จอมราชันย์แห่งศาสตร์การแพทย์ พระวรกายสีน้ำเงินประดุจท้องฟ้าอันมหาศาล พระหัตถ์ขวาในท่าภาวนา พระหัตถ์ซ้ายถือบาตรยาหรือหม้อยา พระกริ่งที่สร้างกันในประเทศไทยก็คือพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ศาสตร์การแพทย์คือศาสตร์ที่พระศากยะมุนีพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นสุดยอดแห่งศาสตร์ทั้งปวง การแพทย์แห่งพุทธเน้นแนวทางในการรักษาแบบองค์รวม นั้นคือเน้นความสัมพันธ์ในการรักษาทั้ง กาย วาจา ใจไปพร้อมกัน โดยใช้สมุนไพรใบยา การภาวนามนตรา สมาธิจิต ความอ่อนแอในทางสุขอนามัยของสรรพสัตว์ซึ่งเป็นตัวขัดขวางการบำเพ็ญเพียรเพื่อสู่การหลุดพ้น เป็นเหตุให้พระไภษัชยพุทธเจ้าต้องเสด็จมาเพื่อโปรดสรรพสัตว์ พระองค์ทรงเข้าร่วมในกิจกรรมทางการแพทย์ทุกขั้นตอน พีธีกรรมในการปรุงยาพระองค์ทรงเป็นประธานและผู้ลงมือกระทำการเพื่อความมีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งยา ในการรักษา การภาวนาพระองค์ทรงประทานคาถาในการภาวนาเพื่อความเชื่อมั่น แน่วแน่ในการสู่สุขภาพที่ดี การสมาธิ น้อมอัญเชิญพระองค์เข้าสู่ตัวเรา หลอมรวมพระองค์และเราเป็นหนึ่งเดียว ความเจ็บป่วยทั้งปวง ถูกหลอมละลายเป็นอากาศธาตุ พระองค์และเราเข้าสู่ศูนยตาสภาวะ เราออกจากสมาธิในสภาวะว่างเปล่านั่นคือ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆมลายหายไปด้วย ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันในวงการแพทย์อย่างกว้างขวางว่า สมาธิจิตเป็นยาวิเศษชนิดหนึ่งในการบำบัดความเจ็บป่วย การรักษาในแนวทางแห่งพุทธนี้ไม่เพียงได้ความสุขทางกายเพียงประการเดียว สมาธิจิตที่ได้เป็นยานพาหนะนำพาเราเข้าสู่การหลุดพ้น สู่ความเป็นพุทธะในที่สุด บังเกิดความสุขอันนิรันดร
     
  13. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    ท้าวเวสสุวรรณ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.ไว.ซา.วา.นา.เย.โซ.ฮา./
    [​IMG]
    ท้าวเวสสุวรรณหรือท้าวกุเวร ธิเบตเรียก นัม.โถ.เซ. จีนเรียก ใช้ป๋อเทียนอ๊วงหรือพีซามึ้งเทียนอ๊วงหรือแป๊ะไช้ซิ้ง ท่านมีสองสถานะคือสถานะเทพผู้ประทานทรัพย์องค์ขาว และสถานะหนึ่งในท้าวจตุโลกบาล
    ตำนานได้กล่าวไว้ว่า เมื่อก่อนพระศากยะมุนีพุทธเจ้าจะปรินิพพานได้สั่งความแก่ท้าวจตุโลบาลไว้ว่าในอนาคตต่อไปพุทธศาสนาจะประสพกับอุปสรรค
    มากมายพวกนอกศาสนา พวกไม่หวังดีต่อพุทธศาสนาจะทำร้ายพุทธศาสนาขอให้ท้าวจตุโลกบาลช่วยกันปกป้องรักษาพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ได้ทำหน้าที่ปกป้องพิทักษ์รักษาพุทธศาสนาและผู้ปฏิบัติธรรมเสมอมา
     
  14. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    [​IMG]<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width=743><TABLE height=70 width=350 align=center background=../pics/banner350.gif border=0><TBODY><TR><TD>
    พระพุทธรูปสำคัญของไทย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=44>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=5 align=center bgColor=#cccccc border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD vAlign=center><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=310 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center bgColor=#cc6600 height=25>
    หลวงพ่อเพชร
    </TD></TR><TR><TD vAlign=center bgColor=#ff9900 height=25>
    วัดท่าหลวง จ.พิจิตร
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellPadding=10 width=560 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>องค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปมีพระพุทธลักษณะที่งดงามและทรงพุทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ วัดท่าหลวง(พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร
    หลวงพ่อเพชรนอกจากจะเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามทรงรูปศิลป์แล้วพระพุทธลักษณะองค์หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรก หล่อด้วยโลหะสำริด ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ซ้ายสังฆาฎิสั้นเหนือพระอุระ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว สูง ๓ ศอก ๓ นิ้ว ที่ที่ประทับนั่งนบฐานที่มีรูปบัวคว่ำบัวหงายรอบรับ สร้างในระหว่างปีพุทธศักราช ๑๖๖๐ ถึง ๑๘๘๐ สร้างมาแล้วประมาณ ๘๘๒ ปีหลวงพ่อเพชรยังเป็นพระพุทธรูปทรงอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยกิตติศัพท์นานัปประการเมื่อใครได้ไปเที่ยวเมืองพิจิตรจะต้องไปนมัสการหลวงพ่อเพชร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ที่ว่าหลวงพ่อเพชรทรงอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เนื่องจากมีประชาชนที่นับถืออย่างมาก เมื่อใครมีเรื่องเดือดร้อน เช่น ของหาย หรือมีความทุกข์ยากที่จะบนบานศาลกล่าวขออำนาจหลวงพ่อเพชรให้ช่วยปกป้องรักษา หรือปัดเป่าความทุกข์ยากให้หมดไป เดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร ก็จะช่วยทุกรายเมื่อผู้นั้นพ้นทุกข์ก็จะนำหัวหมู เป็ด ไก่ ขนม ไปถวายแด่หลวงพ่อเพชรที่พระอุโบสถกลิ่นธูปและควันเทียนจะไม่ขาดระยะ ชาวพิจิตรทุกผู้ทุกนาม ต่างให้ความเคารพนับถืออย่างสูงต่อพระองค์หลวงพ่อเพชร ทั้งยังเป็นมิ่งขวัญศูนย์รวมใจของชาวพิจิตร พลังแห่งความนัยถือ พุทธานุภาพของหลวงพ่อเพชรจะไม่จางหายไปจากหัวใจของชาวพุทธ
    ประวัติการสร้างหลวงพ่อเพชรยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชัดแน่นอน เพียงแต่มีตำนานเล่าขานกันสืบมาตั้งแต่้ครั้งบรรพกาลว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เกิดขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงได้ไปปราบปรามจองทอง เมื่อเดินทัพมาถึงเมืองพิจิตร แม่ทัพก็ได้สั่งให้หยุดพักรี้พลที่เมืองพิจิตร ซึ่งทางเจ้าเมืองพิจิตรก็ได้ให้การต้อนรับปฏิสันถารเป็นอย่างดี ซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่กองทัพเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกองทัพกรุงศรีอยุธยาหายเหนื่อยแล้ว จึงออกเดินทางจากเมืองพิจิตร แต่ก่อนที่จะจากกันเจ้าเมืองพิจิตรได้ไปปรารภกับแม่ทัพว่า ถ้าปราบขบถเสร็จเรียบร้อยดีแล้วขอให้หา พระพุทธรูปงาม ๆ มาฝากสักองค์หนึ่ง ฝ่ายทางแม่ทัพเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ยุ่งยากนัก จึงรับปากว่าจะหามาให้ตามความต้องการ หลังจากนั้นก็มุ่งสู่จอมทอง เมื่อไปถึงได้ปราบขบถจอมทองจนราบคาบ ก่อนเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาก็นึกถึงคำร้องของเจ้าเมืองพิจิตร จึงอัญเชิญหลวงพ่อเพชรจากจอมทองมาด้วย โดยประดิษฐานบนแพลูกบวบล่องมาตามลำน้ำแม่ปิง เมื่อมาถึงเมืองกำแพงเพชรก้ได้ฝากหลวงพ่อเพชรไว้กับเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมาเมื่อเจ้าเมืองพิจิตรทราบข่าวจึงพร้อมด้วยชาวเมืองพิจิตรเป็นจำนวนมาก ได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ที่วัดนครชุม (เมืองพิจิตรเก่า) ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตรซึ่งนำความชื่นชมโสมนัสมาสู่ชาวพิจิตรเป็นอย่างมาก
    จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕มีพระราชประสงค์จะหาพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามเพื่อนำไปไว้ที่วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร เจ้าพระศรีสุริยศักดิ์ สหมุเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก จึงได้สั่งให้หระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) เจ้าเมืองพิจิตร ขณะนั้นแสวงหาพระพุทธรูปที่สวยงามตามพระราชประสงค์ เมื่อได้รับคำสั่งดังนั้นพระยาเทพาธิบดีจึงออกตรวจดูพระพุทธรูปทั่ว ๆ ไปในเมืองพิจิตร ก็พบว่าองค์หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามตามพระราชประสงค์ และเพื่อสะดวกในการขนย้าย จึงได้จ้างชาวณวนคนหนึ่งชื่ออาง ทำการทะล่วงหุ่นดินภายในองค์หลวงพ่อเพชรการทะลวงหุ่นดินนั้นก็เพื่อต้องการให้น้ำหนักเบา แล้วนำขึ้นเกวียนมาลงเรือชะล่า มีปรำลากจูงด้วยเรือพาย และเมื่อมาถึงเมืองพิษณุโลกก็เทียบท่าอยู่หน้าวัดพระศรีมหาธาตุหลังจากนั้นเจ้าเมืองพิจิตร พระยาเทพาธิบดี ก็ได้ไปกราบเรียนสมุหเทศาภิบาลว่า ได้นำองค์หลวงพ่อเพชรมาถึงเมืองพิษณุโลกแล้ว และกราบเรียนต่อไปว่า การนำหลวงพ่อเพชรมาครั้งนี้ชาวเมืองพิจิตรทุกคนมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอันมาก เพราะเสียดายในองค์หลวงพ่อเพชรในฐานะที่เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่เดิม เมื่อได้ทราบดังนั้น สมุหเทศาภิบาลจึงได้โปรดทราบตรวจดูพระพุทธรูปก็เห็นว่างดงานจริง ๆ ดังคำบอกเล่าของเจ้าเมืองพิจิตร แต่มีขนาดองค์ใหญ่โตเกินไป อีกประการหนึ่งก็เห็นว่าเป็นการทำลายจิตใจของชาวเมืองพิจิตรจึงได้สั่งให้เจ้าเมืองพิจิตรนำกลับไปไว้ที่เมืองพิจิตรตามเดิมการนำเอาหลวงพ่อเพชรกลับมายังเมืองพิจิตรคราวนี้นั้น ไม่ได้นำไปไว้ที่อุโบสถที่วัดนครชุมเหมือนเดิม แต่นำมาไว้ที่วัดท่าหลวง โดยทำปรำคลุมไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อประชาชนรู้ข่าวการนำองค์หลวงพ่อเพชรกลับมาที่เมืองพิจิตรต่างก็พากันมาปิดทองนมัสการอยู่ที่วัดท่าหลวง จึงได้ปรึกษาหารือกันจะแห่แหนหลวงพ่อเพชรกับไปวัดนครชุมอย่างเดิมส่วนราษฎรทางเมืองใหม่เห็นว่า เมืองพิจิตรได้ย้ายมาตั้งใหม่แล้ว หลวงพ่อเพชรก็ควรจะอยู่เป็นมิ่งขวัญของชาวเมืองใหม่ด้วย จึงไม่ยินยอมให้ชาวเมืองเก่านำกลับไปวัดนครชุมเหตุการณ์ตอนนี้มีผู้เล่าขานว่า ขนาดเกิดการยื้อแย่งกัน และถึงขั้นการเตรียมอาวุธเข้าประหัตประหารกัน เดือดร้อนถึงพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรในขณะนั้น ต้องออมห้ามทัพด้วยเดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร ประกอบกับชาวเมืองพิจิตรเคารพนับถือท่านมาก ศึกครั้งนั้นจึงยุติลง และได้ชี้แจงว่าจะหล่อหลวงพ่อเพชรจำลองเท่ากับขนาดองค์จริงเพื่อนำกลับไปให้ชาวเมืองเก่าแทนองค์หลวงพ่อเพชรองค์จริง ส่วนหลวงพ่อเพชรองค์จริงนั้นขอให้ประดิษฐานไว้ที่วัดท่าหลวงซึ่งท่านเป็นเจ้าโอวาสอยู่ และถ้าชาวเมืองเก่าจะมานมัสการก็ไม่ไกลเกินไปนัก ชาวเมืองพิจิตรก็เชื่อฟังแต่โดยดีไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น
    องค์หลวงพ่อเพชรจึงประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าหลวงตราบเท่าทุกวันนอีกเหตุกรณ์หนึ่งที่องค์หลวงพ่อเพชรได้ประดิษฐานที่วัดท่าหลวงนั้น มีคนเล่าสืบต่อกันมาว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธชินราชจากวัดศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมพิตร ซึ่งพระองค์ไดเดปรดเกล่า ฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ พรองค์จึงมีพระกระแสรับสั่งให้สืบหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะที่งดงามสมควรที่จะนำไปแทนพระพุทธชินราชได้ จึงมีคำสั่งให้เจ้าเมืองพิจิตรนำองค์หลวงพ่อเพชรไปยังเมืองพิษณุโลก ข่าวการที่ราชการจะนำองค์หลวงพ่อเพชรไปล่วงรู้ไปถึงประชาชน ต่างพากันเสียดายและหวงแหนองค์หลวงพ่อเพชรเป็นอันมาก จึงได้คบคิดกับนายอาง ซึ่งเป็นชาวญวนจัดการทะลวงหุ่นดินภายในองค์หลวงพ่อเพชรออก เพื่อให้น้ำหนักเบาสะดวกในการขนย้าย เมื่อจัดการทะลวงหุ่นดินออกแล้วก็ช่วยกันย้ายองค์หลวงพ่อเพชรไปซ่อนไว้ในป่า และเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ มิได้หยุดหย่อนข่าวการนำองค์หลวงพ่อเพชรเคลื่อนย้าย หาได้พ้นการติดตามและค้นหาของเจ้าหน้าที่ทางบ้านเมือง ผลที่สุดก็ใช้อำนาจบังคับให้นำองค์หลวงพ่อเพชรมาจากเมืองเก่า และได้นำมาพักไว้ชั่วคราวที่วัดท่าหลวง เพื่อรอการนำไปยังเมืองพิษณุโลกชาวเมืองพิษณุโลกก็เช่นเดียวกันกับชาวเมืองพิจิตร เมื่อทางราชการจะนำองค์หลวงพ่อพระพุทะชินราชไปจากพวกเขา ต่างก็พากันหวงแหนโศกเศร้าเสียใจ ร้องให้กันทั่งเมือง เป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก ทานเจ้าคุณสมุหเทศาภิบาล จึงไดนำความเรื่องนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงทราบก็เห็นใจชาวเมืองพิษณุโลก จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ระงับการนำพระพุทธชินราชไปกรุงเทพฯ โดยจะหล่อพระพุทธชินราชจำลองประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรแทน เมื่อหลวงพ่อพุทธชินราชไม่ได้เคลื่อนย้ายไปกรุงเทพฯ องค์หลวงพ่อเพชรจึงประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร จนกระทั่งปัจจุบันนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระอมิตาภะพุทธเจ้า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.อา.มิ.เด.วา.เช./
    [​IMG]
    ธิเบตเรียก โอด.ปาก.เมด. จีนเรียก ออมีทอฮุก อักขระประจำองค์คือ ฮรี
    พุทธลักษณะปางฌานหรือสมาธิเพชรทรงบาตร พระวรกายสีแดง ธาตุไฟ พาหนะนกยูง ประทับอยู่ทิศตะวันตก ศักติปานทรา สัมโภคกายคือพระอวโลติเกศวรโพธิสัตว์ นิรมานกายคือพระศากยะมุนีพุทธเจ้า สัญลักษณ์คือดอกบัว พระองค์เป็นต้นตระกูลปัทม ตระกูลปัทมคือธรรมชาติอันบริสุทธิ์ อาสวะทั้งมวลแม้สัมผัส แม้ยึดติดกับดอกบัวแต่ก็ไม่สามารถแทรกซึมเข้าเนื้อในได้ ย่อมสลัดทิ้งได้ทุกเมื่อ ปรีชาฌานแห่งตระกูลปัทม คือ ความมุ่งมั่นความใฝ่ฝัน ความเบิกบานยินดี ความเที่ยงตรงแห่งการบรรลุพุทธ ในด้านตรงข้ามคือตันหา การล่อลวง ความต้องการเป็นเจ้าของ ความทะยานอยาก
    พระอมิตาภะพุทธเจ้าความหมายตามพระนามคือแสงสว่างสุดประมาณ ไม่มีหมด ไม่มีที่ไปไม่ถึง พระองค์ไม่ใช่ผู้สร้างสรรพสิ่ง แต่สรรพสิ่งมีพระองค์เป็นธรรมชาติ ดังนั้นพระอมิตาภะพุทธเจ้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของสรรพสิ่ง การกินอยู่หลับนอน เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ฉะนั้นการกินอยู่หลับนอนจึงมีพระอมิตาภะพุทธเป็นองค์ประกอบด้วยเช่นกัน การที่พระองค์ทรงนกยูงเป็นพาหนะก็ด้วยว่าธรรมชาติของแต่ละสรรพสิ่งมีสิ่งที่เหมาะสมเฉพาะตัวเท่านั้น นกยูงกินสิ่งที่มีพิษเป็นอาหารทำให้ปีกหางขนสวยงามและแข็งแกร่ง แต่ถ้ามนุษย์กินสิ่งที่มีพิษเช่นนั้นก็ตายสถานเดียว ดังนั้นการดำเนินตามธรรมชาติของตนเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุด
     
  16. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระอาทิพุทธเจ้า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์[​IMG]อะ.ดา.มา.ดา.ตู.อา/
    [​IMG]
    พระพุทธเจ้าพระองค์แรก
    สันสกฤตเรียก สมันตรพุทธเจ้า ธิเบตเรียกกุนตูซังโป จีนเรียกโพวเฮี่ยงฮุก
    อาทิพุทธเป็นพระพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นมาพร้อมกับโลกประจำอยู่ชั่วนิรันดรเป็นแหล่งกำเนิดแห่งพระพุทธเจ้า ทั้งหลายทั่วจักรวาล พระองค์ทรงเป็นธรรมกายดั้งเดิม ด้วยอำนาจฌานของพระองค์ทำให้เกิดธยานิพุทธ5พระองค์ คือพระไวโรจน์พุทธ พระอักโษภยพุทธ พระรัตนสัมภาวพุทธ พระอมิตภพุทธ พระอโมฆสิทธิ ดังนั้นอาทิพุทธก็คือต้นแบบแห่งพุทธภาวะทั้งมวล
    พุทธลักษณะ อาทิพุทธในนิกายดั้งเดิมของธิเบต เป็นรูปบูชาพุทธะวรรณะสีน้ำเงิน ในปางสมาธิมุทรา ส่วนใหญ่ไม่ทรงศิราภรณ์ มาคู่กับศักดิชื่ออาทิธรรม ในนิกายใหม่เป็นรูปบูชาในปางวัชระธารา เป็นรูปพุทธะวรรณะสีน้ำเงิน ทรงศิริภรณ์ ถือวัชระในหัตถ์ซ้ายขวาไข้วเหนือพระอุรา
    อาทิพุทธเจ้าทรงเป็นธรรมกายดั้งเดิมนั่นคือพระองค์คือพุทธภาวะ ซึ่งอยู่นอกเหนือการบรรยาย จะว่าพระองค์เป็นแสงสว่างสุกสกาวก็ได้ จะว่าพระองค์เป็นความเวิ้งว่างแห่งบรรยายกาศก็ได้ พระองค์เป็นท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลก็ได้ ด้วยเหตุว่าพระองค์เป็นธรรมชาติอันเปลือยเปล่าแห่งสรรพสิ่ง ในนิกายนิงมาปะดั้งเดิมจึงได้สร้างสัญลักษณ์แห่งพระองค์ด้วยรูปอันปราศจากการปรุงแต่งใดๆ พระวรกายสีน้ำเงินดังท้องฟ้าอันเวิ้งวางสุกใส ไม่ทรงศิราภรณ์ใดๆ
    ธรรมชาติแห่งสรรพสัตว์ ด้วยมุมมองแห่งพุทธตันตระยานในหลักการแห่งตรีกาย ประกอบด้วยกายเนื้อและกายทิพย์และธรรมกาย กายเนื้อหรือนิรมานกายก็คือกายที่เห็นได้ด้วยตาซึ่งเกิดจากส่วนผสมอันกลมกลืนกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ตัวในการแสวงหาหนทางเพื่อให้เกิดธาตุรู้ ส่วนกายทิพย์หรือสัมโภคกายอันเป็นแหล่งเก็บแห่งธาตุรู้หรือเป็นตัวปัญญา การรู้ธรรมชาติแห่งนิรมานกายให้ผลเป็นพลังแห่งปัญญา ความชัดเจนแจ่มแจ้งของสัมโภคกาย อันเกิดจากการกระตุ้นของพลังแห่งปัญญา ทำให้เกิดพลังแห่งเมตตา และนี่คือคำอธิบายว่าพระโพธิสัตว์ทั้งปวงเป็นตัวแทนแห่งมหาเมตตาของ พระพุทธองค์ด้วยว่าพระโพธิสัตว์เป็นสัมโภคกายแห่งพุทธองค์ การรวมกันระหว่างพลังปัญญาและพลังเมตตา นั่นคือพุทธภาวะหรือองค์ธรรมกาย ด้วยหลักปรัชญาแห่งมหามุทรา ที่ว่า
    สรรพสิ่งคือสัญลักษณ์ องค์ศักติในมณฑลการปฏิบัติพุทธตันตระจึงบังเกิดขึ้น ในหนังสือพุทธศาสนาระหว่าง2500ปีที่ล่วงแล้ว ได้กล่าวถึงพุทธตันตระยานว่า การที่มีผู้กล่าวว่า พุทธตันตระเป็นสาขาหนึ่งของลัทธิไศวะหรือตันตระฮินดูนั้น เป็นบุคคลที่ไม่ได้ศึกษาพุทธตันตระฉบับเดิมจริงๆ ถึงแม้ลักษณะภายนอกจะเหมือนกัน แต่วิธีปฏิบัติและจุดประสงค์ต่างกันอย่างสิ้นเชิง พุทธตันตระเกิดก่อนฮินดูตันตระเป็นเวลาช้านาน ปรัชญาแห่งฮินดูตันตระมีว่า เมื่อรวมเข้ากับศักติแล้ว จะเพียบพร้อมไปด้วยอำนาจ เพราะการรวมกันของพระศิวะกับศักติ โลกจึงถูกสร้างขึ้น ตรงข้ามกับพุทธตันตระ ไม่ต้องการสร้างโลก ไม่ต้องการอำนาจ เพียงต้องการศูนยตาสภาวะ สภาวะที่ไม่ได้เกิดจากการสร้าง หรือเกิดจากการปรุงแต่ เป็นสภาวะธรรมชาติ มีอยู่โดยปกติก่อนการสร้างและพ้นจากการสร้างทั้งปวง
     
  17. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE width="100%" border=1><TBODY><TR><TD width="100%">
    พระโพธิสัตว์ดาราเขียว
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คาถาประจำองค์[​IMG]โอม.ตา.เร.ตู.ตา.เร.ตู.เร.โซ.ฮา.
    [​IMG]
    ธิเบตเรียก ดอล.มา.ชาง.คู. จีนเรียก เสี่ยกิ๊วโต๋วบ้อ หรือเลกโต๋วบ้อ ดอล มา ชาง คู
    ชื่อเดิมคือดารากวนอิมโพธิสัตว์ ดาราภาษาสันสกฤตคือพระแม่ผู้เมตตา ท่านเป็นปางอวตารปางหนึ่งของพระโพธิสัตว์กวนอิม และท่านก็คือองค์ที่ชาวจีนเรียกว่าน่ำไฮ้กวนอิม องค์กวนอิมโพธิสัตว์ท่านมีความผูกพันกันสรรพสัตว์ในวัฏฏสงสารมาก สรรพสัตว์ที่ตกอยู่ในทุกข์มีมากมายมหาศาลแต่ผู้ที่สามารถโปรดสัตว์ได้มีเพียงนิดเดียวประดุจน้ำหนึ่งหยดกับมหาสมุทร ด้วยพระเมตตาท่านจึงได้แบ่งภาคเพิ่มขึ้นเป็นกวนอิมพันมือเพื่อช่วยงานโปรดสัตว์ได้มากขึ้น แต่ก็ยังไม่พอ งานมากเกินกว่าจะทำได้ ท่านจึงได้แบ่งภาคเพิ่มขึ้นอีก เป็นองค์พระแม่ดาราเขียวหรือเสี่ยกิ๊วโต๋วบ้อซึ่งเป็นองค์หลักของพระแม่ดาราทั้งยี่สิบเอ็ดองค์(องค์ดาราเขียวที่เป็นหนึ่งในยี่สิบเอ็ด ไม่ใช่องค์หลักนี้ แต่เป็นการแบ่งภาคร่างขององค์หลัก) คนส่วนใหญ่รู้จักแต่กวนอิมโพธิสัตว์ไม่รู้จักพระแม่ดารา ซึ่งที่ถูกต้องแท้จริงแล้วภาพกวนอิมโพธิสัตว์ในรูปผู้หญิงเกือบทั้งหมดนั้นเป็นภาพของพระแม่ดาราซึ่งเกิดมาจากองค์หลักคือ กวนอิมโพธิสัตว์นั่นเอง ในอินเดียโบราณมีบทปฏิบัติในองค์พระแม่ดารามากมายเป็นไปตามภาคร่างที่ปรากฏ บางตำนานได้กล่าวไว้ว่าหลังจากพระแม่ดาราได้เกิดขึ้นแล้ว ได้ไปตั้งปณิธานต่อหน้าพระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า ว่าจะโปรดสัตว์ทั่วจักรวาลให้พ้นจากทะเลทุกข์ และนี่เองเป็นที่มาของชื่อพระแม่ดาราเขียว อนิสงฆ์ในการปฏิบัติธรรมในองค์พระแม่ดารา ขจัดอกุศลกรรม หมู่มารหลีกหนี ขอบุตรชายหญิงได้สมใจ ขอทรัพย์ได้ทรัพย์ ขออายุได้อายุ ขอสุขภาพได้สุขภาพ สุดท้ายช่วยคุ้มครองปกป้องผู้ต้องการเข้าสู่พุทธภูมิให้ได้เข้าสู่พุทธภูมิ
     
  18. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    พระอาทิตย์ สุริยเทพ (๑)
    ********************
    สุริยเทพ หรือ เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ ถ้าไม่นำประวัติของท่านยุคหลัง ๆ มายึดถือ โดยค้นประวัติไปยังความเชื่อสมัยโบราณของมนุษย์แล้ว กลับตรงกันข้ามกับความเชื่อสมัยหลัง คือ สมัยปัจจุบันนี้ เราถือว่า สุริยเทพ เป็นเพียงเทพเจ้าธรรมดาองค์หนึ่ง ไม่ใหญ่ไปกว่าเทพผู้ยิ่งใหญ่ของพราหมณ์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และ พระพรหม แต่ในสมัยอียิปต์เมื่อห้าพันกว่าปีมาแล้ว ถือว่า เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ อันทรงพระนามว่า “รา” เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ มีอำนาจสูงสุดในสวรรค์

    [​IMG]
    พระอาทิตย์ สุริยเทพ
    ต่อมาพวก ปารซี ที่นับถือลัทธิบูชาไฟ ก็ยกย่องอาทิตยเทพว่า ทรงมีมหิทธานุภาพสูงสุด ที่เป็นเช่นนี้อาจจะเนื่องด้วยประเทศต่าง ๆ อันก้าวพ้นจากสมัยหินขึ้นมา มีชีวิตความเป็นอยู่ด้วยการเกษตรกรรม หรือ กสิกรรม เป็นหลัก จำต้องอาศัยดิน ฟ้า อากาศ อันพอดีไม่แปรปรวน โดยเฉพาะพระสุริยเทพผู้ให้แสงสว่าง และความร้อนอันเหมาะสมกับฤดูกาล ทำให้พืชถึงกาลเวลางอกงามเต็มที่ มีผลิตผลอันไพบูลย์ เอามาใช้ดำรงชีวิตต่อไป ดวงอาทิตย์ทำให้ต้นกล้าเจริญงอกงามเต็มที่ แล้วยังมีความร้อน ใช้ตากของต่าง ๆ การรู้คุณของดวงอาทิตย์ว่ามีประโยชน์มหาศาลนี้เอง ทำให้มนุษย์เคารพพระอาทิตย์มากกว่าเทพองค์อื่น
    ในพุทธประวัติตอนหนึ่ง เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป “ปางถวายเนตร” ที่เป็นพระประจำวันของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ หลังจากพระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้ทรงเสด็จไปประทับยืน ณ กลางแจ้ง เบื้องทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยส้นพระบาททั้งสองชิด ปลายเท้าแยก ปล่อยพระกร (แขน) ทั้งสอง ไว้เบื้องหน้า ประสานพระหัตถ์ทั้งสองไว้ที่กลางลำพระองค์ โดยพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ทรงทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตร (ลืมตาตลอดเวลา) เป็นเวลาถึง ๗ วันด้วยกัน สถานที่ประทับยืนนั้นได้มีนามปรากฎว่า "อนิมิสเจดีย์" มาจนทุกวันนี้
    จากพระอิริยาบถที่ประทับยืนดังกล่าว ได้เป็นมูลเหตุที่ท่านโบราณาจารย์ได้คิดแบบอย่างสร้างองค์พุทธปฏิมากรในลักษณะนี้ขึ้น จะเรียกว่าเป็นการบังเอิญหรือไม่ก็ตามที ดวงอาทิตย์ ในภูมิทักษานั้นท่านกำหนดให้อยู่ประจำ ณ ทิศอีสาน ทิศเดียวกับที่พระพุทธองค์ประทับยืน ที่ทรงลืมพระเนตรตลอดนั้นคงจะเป็นด้วยพระองค์ ทรงมีพระประสงค์ที่จะนอบน้อมบูชาแด่ "ดวงอาทิตย์" ดังที่มีการขานพระนามพระปางนี้ว่า "ถวายเนตร" มาถึงตอนนี้แล้วหลายท่านอาจจะสงสัยหรือข้องใจได้ว่าผู้เขียน "มั่วนิ่ม" หรือเปล่า อะไรกัน ? เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ยังต้องบูชา "สุริยเทพ" ซึ่งมีศักดิ์ศรีด้อยกว่าด้วยหรือ ? ข้อนี้ขอเรียนให้ทราบว่า อันลักษณะนิสัยของ "พระมหาบุรุษ" นั้น แม้จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้วพระองค์ก็มิได้เย่อหยิ่ง ทะนงตน ถือดี อวดเด่น ยกตนข่มท่าน แต่ประการใด แต่ทรงมีพระนิสัยนอบน้อมสุภาพ รู้การใดควรไม่ควร
    แม้แต่สมัยที่พระพุทธองค์ ทรงเสวยพระชาติเป็น พระยานกยูงทอง เพื่อบำเพ็ญพระบารมีนั้น ก็ยังทรงน้อมเคารพสักการะดวงอาทิตย์ ทุกเช้า และ เย็น ทำให้เกิดความสวัสดีมีชัย นายพรานกี่คนก็ตาม ไม่สามารถจะจับนกยูงทองโพธิสัตว์ได้ รายละเอียดเพิ่มเติม หาอ่านได้ในเรื่อง พระพุทธรูปประจำวันเกิด ที่เคยนำเสนอไปแล้ว สำหรับผู้ที่เข้าไปในเวปไซด์ของผม ก็สามารถคลิกเข้าไปอ่านได้เลย ผมได้ทำ Link ไว้ให้แล้ว
    พระสุริยเทพ หรือ เทพเจ้าเกี่ยวกับดวงอาทิตย์ของชาติต่าง ๆ มักมีปกติโคจร จากทิศตะวันออก มาสู่ทิศตะวันตก ใช้เวลาประมาณ ๑๒ ชั่วโมง ก็จะลับขอบฟ้า ต่อจากนั้นในเวลาเท่ากันก็จะโผล่พ้นขอบฟ้าขึ้นมาทางทิศตะวันออกอีก ได้โคจรเป็นนิจสินเช่นนี้ ชั่วนิจนิรันดร์ พระอาทิตย์ จึงได้ชื่อว่า “เทพเจ้าผู้จรชั่วนิจนิรันดร์” ไม่เคยพักร์ (คือ เดินถอยหลัง) เหมือนดาวพระเคราะห์องค์อื่น ๆ ขนาดพญาวานรหนุมานชาญสมร ในเรื่องรามเกียรติ์ ตอน พระลักษณ์ถูกหอกโมกขศักดิ์ เหาะขึ้นไปเพื่อจะขอให้ท่านหยุดรถทรง หรือ การเคลื่อนที่ เพราะต้องการประวิงเวลา ในการที่จะต้องสรรหาตัวยา สังกรณีตรีชวา อันเป็นตัวยาสำคัญที่จะรักษาพระลักษณ์ให้หายขาด ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น พระองค์ก็ยังทรงปฏิเสธ ไม่สามารถทำได้ แต่ก็ทรงพระกรุณาขับรถทรงเข้าไปในหมู่เมฆ เพื่อให้บดบังลำแสงของพระองค์ ทำให้ดูเหมือนสว่างช้า เป็นการช่วยเหลือพระลักษณ์ทางอ้อม
    พระอาทิตย์ เป็นพระเอกบนท้องฟ้าในยามกลางวัน ส่วนพระจันทร์นั้น จะคือนางเอกของสวรรค์ในภาคกลางคืน พระอาทิตย์เป็นเทพเจ้าแห่งการเกษตรกรรม และการครองชีพในกลางวัน พระจันทร์ก็เช่นเดียวกัน เป็นนางเอกแห่งท้องนภากาศ อันมืดมิดสนิทของราตรีกาล เป็นที่นับถือกันในระหว่างพวกโจร หรือ พวกมิจฉาทิฐิ และพวกเดินทางกลางคืน ที่ต้องอาศัยแสงจันทร์
    ประวัติความเป็นมา หรือชาติกำเนิดของพระอาทิตย์นั้น แบ่งออกเป็นสองนัย คือ ความเชื่อของพวกตะวันตก ได้แก่ กรีก โรมัน และความเชื่อของพวกตะวันออก ได้แก่ ฮินดู หรือ พราหมณ์ ซึ่งฝ่ายหลังนี้ มีมากมายหลายคัมภีร์ด้วยกัน เช่น คัมภีร์พระเวท คัมภีร์ไตรเพท คัมภีร์ปุรณะ ฯลฯ และยังได้กล่าวถึงพระองค์ท่านในเรื่องต่าง ๆ มากมาย เช่น ในรามายณะ , มหาภารตะ , หริศวัต ฯลฯ ดังจะได้นำเสนอให้รับทราบกันต่อไปนี้
    ความเชื่อของพราหมณ์ (ฮินดู) ซึ่งแพร่หลายต่อไปยังหลายประเทศในซีกโลกตะวันออก ในคัมภีร์ไตรเพท กล่าวว่ามีถึง ๘ องค์ มีชื่อต่าง ๆ กัน เชื่อกันว่าทั้ง ๘ องค์นั้น เป็นโอรสของพระกัศปะประชาบดี กับ พระนางอทิติ แต่ได้ทอดทิ้งพระมรรตตาณะฑะเสียองค์หนึ่ง คงนำไปเฝ้าพระเป็นเจ้าเพียง ๗ องค์ ต่อมาไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ จึงยอมรับพระมรรตตาณะฑะ เป็นอาทิตย์ ด้วย จึงรวมเป็นพระอาทิตย์ ๘ องค์ ได้แก่
    ๑. วรุณาทิตย์ ๒. มิตราทิตย์ ๓. อริยมนาทิตย์ ๔. ภคาทิตย์ ๕. องศาทิตย์ ๖. อินทราทิตย์ ๗. ธาตราทิตย์ ๘. สุริยาทิตย์
    องค์ที่มีนามว่า สุริยาทิตย์ นี่แหละ คือ พระมรรตตาณะฑะ ที่พระมารดา คือ พระนางอทิติ ไม่พาไปเฝ้าพระผู้เป็นเจ้า จะด้วยเหตุผลกลใดไม่ทราบ จึงไม่ได้อยู่บนเทวโลกอย่างพระอาทิตย์องค์อื่น ๆ ทั้ง ๗ องค์แรก จึงคงเที่ยวขับราชรถอยู่ระหว่างเทวโลก กับ มนุษย์โลก ตราบเท่าทุกวันนี้
    ามคัมภีร์พระเวท พระอาทิตย์ จะมีนามนัยหนึ่งว่า พระสูรย์ หรือ พระสุริยเทพ มีหน้าที่ให้แสงสว่าง และความอบอุ่นต่อมนุษย์ สัตว์ และพืชพันธุ์บนพื้นโลกนี้ มีบางแห่งเรียกว่า สวิตฤ (สวิต์ฤ) ขี่ราชรถเทียมม้าสีแดง ๗ ตัว
    มีเรื่องเล่าว่า พระสุริยเทพ มีชายาหลายนาง แต่ที่ปรากฎนามเสมอ ๆ ได้แก่ นางสัญญา ซึ่งเป็นธิดาของพระวิศวกรรม หรือ พระวิสสุกรรม มีพระโอรสด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ พระมนูไววัสวัต (หรือ อีกนามหนึ่งว่า ท้าวสัตยพรต) และ พระยม (หรือ พระธรรมราชา) และมีพระธิดา ๑ พระองค์ คือ พระนางยมี (หรือ ยมุนา ซึ่งเป็นชื่อแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำยมนา หรือ ยมุนา)
    เนื่องจากพระสุริยเทพมีพระวรกายรุ่งโรจน์ ร้อนแรง เหลือทน นางสัญญา จึงให้ นางฉายา (คือ เสกตัวแทนเอาไว้) ไปเป็นเมียแทน ส่วนตนนั้นก็ออกบวชบำเพ็ญพรตเป็น โยคินี อยู่ในป่า และไม่ต้องการให้พระสวามีจำได้ จึงจำแลงแปลงร่างเป็นม้า มีฉายานามว่าอัศวินี อย่างไรก็ตาม พระสุริยเทพก็มีอิทธิฤทธิ์เหมือนกัน เมื่อรู้ความจริงเข้า จึงแปลงร่างไปสมสู่ เป็นคู่ผัวตัวเมีย จนเกิดลูกแฝดด้วยกัน คือ อัศวิน กับ เวรันต์ แล้วจึงพาพระนางกลับมายังสำนักเดิมแห่งตน
    ฝ่ายพระวิศวกรรมผู้พ่อตา (ในปางที่แยกมาจากพระวิษณุ หรือ พระอิศวร จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระวิษณุกรรม) จึงจับพระสุริยะมากลึง เพื่อขัดถูขูดผิวกายที่สว่างมาก ๆ ออกเสีย ๑ ส่วน ใน ๘ ส่วน ผิวที่ขูดออกไปนั้น หากปล่อยให้ตกลงยังพื้นโลก ก็จะทำให้โลกไหม้เป็นจุณ พ่อตาจึงได้นำไปสร้างเป็น จักร ถวายพระนารายณ์ ตรีศูล ถวายพระอิศวร ตรีวัชระ (ตรีเพชร) ถวายพระอินทร์ คฑา (ไม้เท้า) ถวายท้าวกุเวร (หรือ ท้าวเวสสุวัณ)หอก ถวายแด่พระขันธกุมาร และนอกจากนี้ยังนำไปสร้างเป็นอาวุธแจกจ่ายให้เทพยดาอื่น ๆ อีก จำนวนมาก
    ในรามายณะ หรือ รามเกียรติ์ กล่าวว่า พระสุริยเทพ หรือ พระอาทิตย์ เป็นบิดาของ พญาสุครีพ อัน เกิดแก่นาง สวาหะ ลิงผู้ครองนครกีษกินธยา (ขีดขิน) ในมหาภารตะ ว่า เป็นบิดาท้าวกรรณะ ผู้ครองแคว้นองคราษฎร์ (เมืองเบงคอล) ผู้เป็นเสนาบดีแม่ทัพฝ่ายโกรพ ในหริศวัต ว่า เป็นบิดาของพระมนูไววัสวัต ซึ่งเป็นบิดาของ ท้าวอิกษวากุ ผู้เป็นบรมชนกแห่งกษัตริย์สุริยวงศ์ ผู้ครองนครศรีอโยธยา และ นครมิถิลา และ พระมนู ฯ นั้น ยังมีพระธิดาชื่อ พระนางอิลา ซึ่งต่อมาได้เป็นพระมเหสีของ พระพุธเทวราช พระพุธกับพระนางอิลา มีโอรส คือ ท้าวปุรูรพ บรมกษัตริย์แห่งจันทรวงศ์ กับมีความนิยมกันว่า คราวพระสูรย์ แปลงเป็นม้าอยู่นั้น ได้พบพระฤษี ชื่อ ยาญวัลกย์ ได้บอก พระอรชุนยัชุรเวท ให้แก่ พระยาญวัลกย์
    พระอาทิตย์ หรือ พระสุริยาทิตย์ ถ้ากล่าวในหมู่เทวดา กลุ่มดาวตรีทศเคราะห์ เรียกว่า ระวิ (ระวี หรือ ระพี) และยังมีชื่อต่างกันออกไป เช่น ทินกร (ผู้ทำวัน), ทิวากร (ผู้ทำวัน) ,ภาสกร (ผู้ทำแสงสว่าง), ประภากร (ผู้ทำแสงสว่าง) , อาภากร (ผู้ทำแสงสว่าง), สวิตฤ (ผู้เลี้ยง) , อรหบดี (ผู้เป็นใหญ่ในวัน), โลกจักษุ (ผู้เป็นตาโลก) , สหัสสรกิรณะ (ผู้มีแสงพันหนึ่ง) และ วิกรรตตะณะ (ผู้ถูกขูดแสงออก)
    ในคัมภีร์ไตรเพท ยังกล่าวไว้ว่า พระสุริยาทิตย์ นั้น มีเนตร (ตา) เป็นทอง มีกร (แขน) เป็นทอง และมีชิวหา (ลิ้น) เป็นทอง ทรงรถเทียมม้าเท้าด่างขาว แต่ในคัมภีร์ปุรณะ แสดงว่า รูปร่างพระอาทิตย์ มีสีกายแดงแก่ มี ๓ เนตร ๔ กร ถือดอกบัว ๒ ข้าง อีกสองข้าง ข้างหนึ่งให้พร อีกข้างหนึ่งกวักให้บูชา นั่งมาบนดอกบัวหลวง มีรัศมีเปล่งปลั่งรุ่งโรจน์อยู่รอบกาย มีสารถี คือ พระอรุณ
    ราชรถของพระอาทิตย์นั้น ท่านว่า เทียมด้วยม้า ๗ ตัว แต่บางคัมภีร์ว่า ความจริงเทียมด้วยม้าตัวเดียว แต่มี ๗ หัว เช่นเดียวกับนาค ๗ หัว มีตัวเดียวนั่นเอง ที่กล่าวแตกต่างกันไป เนื่องจากนักปราชญ์ทางศาสนาฮินดู ต่างมีหลากหลายความคิด แล้วแต่จะกล่าวสรรเสริญยกย่องเทพเจ้าแห่งตน เลอเลิศประเสริฐศรีเพียงใดนั่นเอง
    แต่ในทางโหราศาสตร์ไทย ท่านว่า พระอาทิตย์ มีผิวกายดำแดง ผิวเนื้อสองสี พื้นทับทิม ประดับอาภรณ์ ด้วยเครื่องทรงเป็นแก้วมณีแดง หรือ ปัทมราคะ ทรงราชสีห์ เป็นพาหนะ เป็นเทพที่อุบัติขึ้นในจักรวาลก่อนดาวพระเคราะห์ทั้งมวล เป็นธาตุไฟ ร้อนรุ่งโรจน์ร้ายแรงยิ่ง มีกำลัง ๖ ทางศาสนาฮินดูเรียกว่า “สุริยเทพ” สถิตอยู่เบื้อง ทิศอิสาณ แปลว่า “ทิศแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่”
    ส่วนชาติกำเนิดนั้น ท่านว่า เคยกระทำบุญกุศลกรรมที่สร้างไว้แต่ปางบรรพ์ ด้วยการเคยทำบุญตักบาตรข้าวสุกบรรจุด้วยขันทองคำ แด่พระภิกษุสงฆ์ในอดีตกาล พระอิศวรจึงได้นำเอาศีรษะราชสีห์จำนวน ๖ ตัว มาห่อด้วยผ้าแดง ปลุกเสกด้วยคาถาอาคมขลัง ด้วยเดชะพระเวทย์กล้าแข็ง ศีรษะราชสีห์นั้น จึงกลับกลายมาเป็น“พระอาทิตย์เทพบุตร” มีกายสีแดง สถิตอยู่บนวิมานเหนือดวงอาทิตย์ มีอำนาจครอบครองวิมาน ฉะนั้น พระอาทิตย์ จึงมีกำลัง ๖ ตามชาติกำเนิด และมีอุปนิสัยรักยศ รักอำนาจ และหยิ่งด้วยเกียรติคุณ เกียรติยศศักดิ์ศรี มีมานะอดทน และเจ้าชู้ เชื่อในความรู้ความสามารถแห่งตน สมกับหลักเกณฑ์ของโหรโบราณท่านว่า “ดูยศศักดิ์อัครฐาน ให้ดูอาทิตย์”
    พระจันทร์ เทพแห่งสวรรค์ยามรัตติกาล (๑)
    ********************
    มวลสรรพสิ่งในโลกนี้มักมีของที่เป็นคู่กันเสมอ มีชายก็ต้องมีหญิง มีมืด ก็ย่อมมีสว่าง มีกลางวัน ก็ย่อมมีกลางคืน เป็นคติของมนุษย์ที่ให้คำนิยามไว้ในลัทธิคู่ (Dualism) ในเมื่อกลางวันมีพระอาทิตย์ ส่องสว่างกลางเวหา กลางคืนก็ย่อมมีพระจันทร์ ส่องสว่างท่ามกลางมวลหมู่ดาราน้อยใหญ่ แห่งราตรีกาลเช่นเดียวกัน
    พระจันทร์ ทรงความงามยามราตรีกาล ส่องแสงสว่างนวลไปทั่วป่าเขาลำเนาไพร หุบเขา แม่น้ำ และหมู่บ้าน จนนครใหญ่ ๆ ในท่ามกลางความมืดปรากฎก็แต่แสงดาวแพรวพราว หลังจากดวงพระสุริยาอันมีแสงแรงกล้า แผ่รังสีความร้อนไปทั่วทุกหัวระแหง เมื่อตะวันรอนลับฟ้าไปแล้ว ก็มีแต่ดวงจันทร์อันเยือกเย็นเข้าแทนที่ เป็นดวงตาสวรรค์ในยามที่นิกรชาวโลกบางพวก ต่างก็หลับใหลจากการเหน็ดเหนื่อยในการประกอบอาชีพในตอนกลางวัน ได้แสวงหานิทราเข้าทดแทนกัน แต่ชนบางชนิด จะชื่นชมกับความสง่าที่แสนจะอ่อนหวานของดวงศศิธร พร้อมกับคิดฝันไปต่าง ๆ เฉกเช่น สุนทรภู่ กวีเอกของไทย ได้รจนาคำกลอนไว้ใน นิราศพระประธม ดังนี้
    ตะวันรอนอ่อนอับ พยับแสง ดูดวงแดง ดังจะพาน้ำตาไหล
    ยังรอรั้งสั่งฟ้าด้วยอาลัย ค่อยไรไร เรืองลับ วับวิญญาณ์
    พระจันทร์จรจำรูญข้างบูรพทิศ กระต่ายติดแต้มสว่างกลางเวหา
    โอ้กระต่ายหมายจันทร์ถึงชั้นฟ้า เทวดายังช่วยรับประคับประคอง
    มนุษย์หรือถือดีว่ามีศักดิ์ มิรับรักเริดร้างให้หมางหมอง
    ไม่เหมือนเดือนเหมือนกระต่ายเสียดายน้อง จึงขัดข้อง ขัดขวางทุกอย่างไป
    น้ำค้างพรมลงเฉื่อยเรื่อยเรื่อยริ้ว หนาวดอกงิ้ว งิ้วออกดอกไสว
    เกสรงิ้ว ปลิวฟ้า มายาใจ ให้ทราบในทรวงช้ำสู้กล้ำกลืน
    โอ้งิ้วป่าพาหนาวเมื่อคราวยาก สุดจะฝากแฝงหน้าไม่ฝ่าฝืน
    แม้นงิ้วเป็นเช่นงานเมื่อวานซืน จะชูชื่นช่วยหนาวเมื่อคราวครวญ
    โอ้ดูเดือน เหมือนได้ผลวิมลพักตร์ ไม่ลืมรักรูปงามทรามสงวน
    กระจ่างแจ้งแสงจันทร์ยิ่งรัญจวน คะนึงหวลนิ่งนอนอ่อนกำลัง

    แต่ก็มีเหมือนกันที่คนอีกมากมายหลายพวก ที่อาศัยแสงจันทร์อำนวยความสะดวกในด้านการเดินทาง ออกไปประกอบอาชีพยามค่ำคืน เช่น เหล่านักเดินทางแสวงหาโชคกลางทะเลทราย ที่กางเต๊นท์หลบแดดอันทารุณอยู่ในตอนกลางวัน ก็ออกเดินทางพร้อมกับคาราวาน ดูเหมือนว่า จันทราเจ้าจะอำนวยความสวัสดีให้แก่พ่อค้า วาณิช ผู้พเนจร ร่อนเร่ ฝ่าป่าดงทะเลทรายอันเวิ้งว้าง ก็เพื่อหวังโชคลาภมาสู่ตน ให้คุ้มกับที่ลงทุนลงแรงไป บางพวกเป็นพรานป่าล่าสัตว์ ก็อาศัยแสงจันทร์ยามค่ำคืนในการส่องสัตว์ นอกจากนี้แสงจันทร์ยังอำนวยความสะดวกให้แก่พวกมิจฉาชีพทั้งหลาย ที่ออกหากินในเวลากลางคืนอีกด้วย
    ด้วยเหตุนี้ เมื่อมนุษย์คิดฝันถึงดวงจันทร์ ถึงเทพเจ้าผู้ประจำดวงจันทร์ จึงวาดภาพไปว่า ท้าวเธอเป็นเทพเจ้าแห่งความคิดฝัน จินตนาการ เป็นเทพเจ้าแห่งพาณิชย์ เจ้าแห่งการล่าสัตว์ และพร้อมกันนั้นก็เป็นที่พึ่งของเหล่าหัวขโมย รวมทั้งโจรใจบาปหยาบช้าสามานย์ทั้งปวงด้วย
    ว่าด้วยตำนานความเชื่อ ถึงประวัติเทพเจ้าประจำดวงจันทร์นั้น ก็มีมาด้วยกันหลายฝ่าย เช่นเดียวกับพระอาทิตย์ หรือ เทพเจ้าองค์อื่น ๆ ของไทย – อินเดีย หรือตะวันออก ก็เชื่อไปอีกแบบหนึ่ง ส่วนของฝรั่ง เช่นพวกกรีก โรมัน ก็มีความเชื่อไปอีกแบบ แต่แล้วก็มีนัยยะแห่งความหมายถึงเทพองค์เดียวกันนั่นเอง นักศึกษาโหราศาสตร์ที่ดี พึงต้องสดับตรับฟังเรื่องราวของเทพเจ้าทุกฝ่าย เพื่อที่จะเอาเรื่องราวนั้น มาปะติดปะต่อ และมาเป็นข้อพิจารณาในเรื่องของอุปนิสัย และการดำเนินชีวิตต่าง ๆ ของบุคคลที่เกิด และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาว และเทพเจ้าองค์นั้น ๆ
    ในตำนานความเชื่อของไทย ที่ได้รับอิทธิพลมาจากฮินดู หรือ พราหมณ์ เชื่อว่าพระจันทร์เป็นเพศชาย เป็นพระโอรสของ พระอัตริมุนี และ พระนางอนสูยา ซึ่งเป็นพระธิดาองค์หนึ่งของพระทักษะ พระจันทร์มีพระชายาถึง ๒๗ องค์ หรือ ๒๗ ดาวฤกษ์ หรือ กลุ่มดาว ๒๗ กลุ่ม ที่โหรนำมาใช้ในการกำหนดฤกษ์ยามกัน โดยพิจารณาจากดาวจันทร์ ที่โครจรผ่านกลุ่มดาวทั้ง ๒๗ กลุ่มนั้น และพระชายาทั้ง ๒๗ องค์นั้น ล้วนเป็นบุตรีของพระทักษะ (อย่าเพิ่งงงนะครับ ว่า เอ ทำไม พระทักษะ เป็นทั้งตา และพ่อตาของพระจันทร์ แล้วจะขยายให้ฟังในเรื่องของพระทักษะในภายหลัง)
    พระทักษะนี้ อาจจะหมายถึง จักรราศีกระมัง ด้วยเมื่อพระจันทร์โคจรรอบ ๒๗ กลุ่มดาวฤกษ์ ก็ครบรอบจักรราศีพอดี และในบรรดานางทั้ง ๒๗ องค์ หรือ ๒๗ ดาวฤกษ์ มี นางโรหิณี เป็นที่รักที่สุด ซึ่งก็เข้าเค้าความจริง เพราะว่าดาวฤกษ์โรหิณีอยู่กึ่งกลางราศีพฤษภ เป็นดาวฤกษ์ที่ ๔ เมื่อจันทร์โคจรเข้าสู่ราศีนี้ จะเป็นมหาอุจจ์ มีกำลังเข้มแข็งที่สุด และเข้มแข็งยิ่งกว่าราศีใด ๆ
    เพราะพระจันทร์ลำเอียง รักนางโรหิณีมากกว่าชายาองค์อื่น ๆ ทำให้ชายาเหล่านั้นไปฟ้องพระทักษะผู้พ่อตา พระทักษะโกรธจึงแช่งให้พระจันทร์ เป็นหมันและเป็นฝีในท้อง แต่บรรดาบุตรีขอร้องให้คลายความรุนแรงในคำแช่งนั้น พระทักษะจึงผ่อนให้โรคนั้นเป็นขึ้นมาบ้างบางระยะ ซึ่งก็ตรงกับพระจันทร์ ที่มีโอกาสเต็มดวงแจ่มใสเบิกบาน ในยามข้างขึ้น โดยจะเต็มดวงในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันจันทร์เพ็ญ) และจะค่อย ๆ ริบหรี่แสงลงในวันข้างแรม จนมืดมิดสนิทในวันแรม ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน (วันจันทร์ดับ)
    จันทร์มีกำลังสูงสุดในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ก็เพราะว่า ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ นั้น อาทิตย์โคจรอยู่ในราศี พิจิก เดินเล็งจันทร์มหาอุจจ์ อันโคจรอยู่ในกลุ่มดาวฤกษ์โรหิณี ณ ราศีพฤษภ พอดี
    พระทักษะ พ่อตาของพระจันทร์นั้น เป็นบรมเทพผู้ยิ่งใหญ่ นามของพระองค์แปลว่า ผู้ทรงฤทธิ์ , ผู้มีอำนาจและปัญญาเลิศ ฯลฯ นามเหล่านี้ระบุบ่งว่า พระองค์ย่อมทรงมีอำนาจในการสร้างสรรค์ และอาจรังสฤษดิ์ใด ๆ ก็ได้ พระทักษะเป็นโอรสของพระพรหม และเป็นหนึ่งในปชาบดี บางครั้งเรียกยกย่องว่า พระองค์คือ บดีแห่งปชาบดีด้วยซ้ำไป
    อย่างไรก็ดี ความสำคัญของพระองค์ยังไม่สู้รู้จักกันนัก จนชวนให้เข้าใจไขว้เขวไปต่าง ๆ แต่ท่านปรัสสร ผู้รจนาเกี่ยวกับคำภีร์ทวยเทพ ได้ประมาณอายุกาลไว้ว่า “ในทุก ๆ สมัย พระทักษะ และสิ่งต่าง ๆ ถือจุติขึ้นมา และแล้วก็ถูกทำลายไป”
    คัมภีร์ฤคเวท รจนาไว้ว่า พระทักษะแยกมาจากอทิติ และขณะเดียวกัน อทิติก็แยกมาจากทักษะ เป็นปัญหาวนเวียนอยู่ (พอ ๆ กับไก่เกิดมาจากไข่ หรือ ไข่เกิดมาจากไก่ นั่นแหละ มันมีโอกาสเป็นไปได้ในทำนองเดียวกัน) นักปราชญ์บางท่านให้ข้อคิดว่า อทิติ คือ สภาวะนิรันดร ส่วน ทักษะ คือ อำนาจทางวิญญาณ เป็นพลังเพศชาย ส่วนอทิติ คือ พลังเพศหญิง
    หากจะนำไปเทียบกับอภิปรัชญาของจีน พระทักษะ ก็น่าจะคือ หยาง เพศชาย มีธรรมชาติอยู่นิ่ง ส่วนอทิติ คือ หยิน เพศหญิง ซึ่งแยกออกไปจากหยาง หรือจะเปรียบเทียบในทางวิทยาศาสตร์ อทิติ มีสภาวะเป็นอิเลคตรอน (ฝ่ายลบ) วนเวียนอยู่รอบโปรตอน (ฝ่ายบวก) คือ ทักษะ อยู่ชั่วนิรันดร์ (อันนี้ หากผู้อ่านท่านใดไม่มีความเข้าใจ หรือมีความรู้พื้นฐานในทางฟิสิกส์ ในเรื่องของ สสาร พลังงาน มาก่อน ก็คงต้องอ่านผ่าน ๆ ไป ก็แล้วกัน)
    บางตำราก็ว่า พระทักษะ คือ ปชาบดีผู้สร้างสรรค์ เพราะว่า พระองค์คือโอรสของนางอทิติ พระองค์จึงคือ อาทิตย์ ทำให้สามารถอนุมานได้ว่า พระองค์คือ “วิศวเทวา” คือ เป็นสภาวะของดาวฤกษ์ อยู่แกนกลางของระบบสุริยะ ระบบใดระบบหนึ่ง (ในห้วงจักรวาล มีดาวฤกษ์มากมายนับไม่ถ้วน จึงทำให้เกิดระบบสุริยะอีกมากมาย ไม่เฉพาะระบบสุริยะของเราเท่านั้น สรุปก็คือ พระอาทิตย์ หรือ ดาวฤกษ์ มีหลายดวง และอาทิตย์แต่ละดวง ก็อาจจะมีดาวพระเคราะห์เป็นบริวารมากมายหลายดวง โคจรโดยรอบเช่นกัน)
    ใน มหาภารตะ บรรยายว่า พระทักษะแยกออกมาจากหัวมือขวาของพระพรหม ส่วนพระชายาของพระองค์ ก็แยกออกมาจากหัวแม่มือซ้ายของเทพองค์เดียวกัน ใน ปุราณะ กล่าวถึง กำเนิดของพระองค์ทำนองเดียวกันนี้ และก็กล่าวว่า พระองค์วิวาหะกับพระธิดาของ ปรียาวรันตะ ที่เกิดจากหลานสาวของพระมนู มีการกล่าวถึงจำนวนบุตรของท่านไว้ด้วย แต่ไม่สู้แน่นอนนัก บ้างก็ว่า ๒๔ องค์ หรือ ๕๐ , ๖๐ องค์ แตกต่างกันไป
    ส่วนพระมนู คัมภีร์ว่า พระองค์ทรงมอบพระธิดา ๑๐ องค์ ให้แก่ธรรมะ กับอีก ๑๓ นาง ให้แก่กัศยะปะ ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นมารดาของเทพเจ้า มนุษย์ ยักษ์ นก งู กับสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ส่วนอีก ๒๗ นาง ให้วิวาหะกับโสมเทพ หรือ พระจันทร์ (ก่อให้เกิดจำนวน ๒๗ นักษัตร หรือ เหย้าของพระจันทร์) พระธิดาอีกองค์หนึ่งของพระทักษะ นาม สาติ หรือ สติ เพราะว่าเกิดการไม่กินเกลียว หรือ ไม่ลงรอยกัน ระหว่างพระทักษะผู้บิดา กับ พระสวามีของนาง ก็คือ พระศิวะ นางจึงกระโดดเข้ากองไฟ ทำลายตนเอง
    คัมภีร์มหาภารตะกับปุราณะว่า พระทักษะนั้นเกิดสองครั้ง คัมภีร์มหาวันดร ว่า พระองค์เป็นบุตรของ ประเฉทัสสะ กับ มาริษา ซึ่งมีบุตร ๗ องค์ มีนามดังนี้ โกรฑะ ทามัส ทามา วิกริต องคีรัส กาทมะ และอัสวา พระทักษะยังมีประวัติแปลกออกไปอีก คือ บางแห่งว่า พระองค์เป็นทั้งบิดา และแยกออกมาจากดวงจันทร์ ทำให้ธรรมชาติของพระองค์ เป็นสองนัยอยู่
    ใน หริวงศ์ ยิ่งพิสดารออกไป คือ ระบุว่า องค์วิษณุเทพนั้น ได้กลายเป็นพระทักษะ และได้รังสฤษฏ์สัตว์โลกนานาชนิดขึ้น ทำให้เข้าใจว่า แท้จริง คือ พระผู้สร้างนั่นเอง
    พระทักษะเป็นเพศชาย ต่อมา ด้วยการบำเพ็ญโยคะจึงอาจกลายร่างเป็นสตรี ที่มีร่างอันสคราญตา จนได้เกิดธิดาโฉมงามจำนวนมาก พระองค์ได้แจกจ่ายให้แต่งงานกับใครต่อใคร และเกี่ยวข้องกับพระมนู โดยกล่าวมาแล้วข้างต้น
    การที่ได้พรรณนาความเป็นมาของพระทักษะอย่างยืดยาว ก็เพราะต่อไป เทพพระองค์นี้ จะได้ไปเกี่ยวข้องกับประวัติเทพเจ้าพระองค์อื่นอีก จึงน่าจะรู้ภูมิหลังของพระองค์ให้ดี ดังกรณีเหตุสำคัญที่เกิดขึ้น อย่าง “พิธีบูชายัญของพระทักษะ” คราวหนึ่ง ได้ก่อเหตุร้ายแรงขึ้น มีกล่าวไว้ใน “ทาอิทตริยะ สังหิตา” ว่า พระศิวะบุตรเขยของพระทักษะ เป็นผู้เข้ามาขัดขวาง เรื่องมีอยู่ว่า
    พระทักษะได้เชิญเทพเจ้าทุกองค์ แต่ไม่เชิญพระรุทธ (ซึ่งต่อมาจะเป็นพระอิศวร) เข้าไปในพิธียันตรกรรมครั้งนี้ พระรุทธจึงยิงศรเข้าไปในโรงพิธีกรรม และทำร้ายผู้พยายามจะกินชิ้นส่วนในเครื่องบูชา จึงทำให้พิธีแตก
    เรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้ใน รามายณะ (หรือ รามเกียรติ์) และ มหาภารตะ หากใครได้อ่าน หรือได้ดูหนังอินเดียประเภทนี้ คงจะผ่านหูผ่านตามาบ้าง แต่ถ้ายังไม่ได้อ่าน หรือ ได้ดู ในตอนหน้าจะมาเล่าให้ฟัง ถึงรายละเอียด อันเป็นเหตุให้สะเทือนเลือนลั่นไปทั้งสวรรค์เลยทีเดียว และจะทราบว่า ทำไม ? พระทักษะ ถึงไม่อัญเชิญพระรุทธ หรือ พระศิวะ เข้าร่วมพิธียันตรกรรมอันสำคัญนี้ มันน่าจะมีอะไรเคลือบแฝงอยู่
    การที่พระทักษะจัดพิธียันตกรรมขึ้น แล้วไม่เชิญพระรุทธ หรือ พระศิวะ เข้าร่วมพิธีนั้น เป็นความเชื่อของพวกฮินดูที่นับถือพระนารายณ์ มากกว่าพระศิวะ หรือพวกที่เรียกตนเองว่า ไวษณพนิกาย พวกนี้มีความเชื่อว่า พระอิศวรนั้น มีฤทธิ์น้อยกว่าพระนารายณ์ หากจะสู้กันจริง ๆ พระนารายณ์ชนะแน่นอนร้อยเปอร์เซ็นต์ ชัวร์ พวกนี้แม้แต่พระพุทธเจ้าของเรา เขายังเชื่อว่า เป็นปางหนึ่งในสิบของพระนารายณ์ที่อวตารลงมา เรียกว่า พุทธาวตาร ดังจะเห็นได้จากเรื่อง นารายณ์สิบปาง ดังนั้น คัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องนี้ คือ รามายณะ (รามเกียรติ์) และ มหาภารตะ จึงเป็นของพวกนิกายที่นับถือ พระศิวะ หรือ พระอิศวรว่าเป็นใหญ่ที่สุดในสวรรค์ ซึ่งเชื่อว่า พระศิวะ หรือ พระอิศวร นั้น เก่งกว่าพระนารายณ์ ถึงกับให้พระนารายณ์ และพระพรหม เป็นบริวาร หรือ ผู้ช่วยฝ่ายซ้าย และฝ่ายขวา ดังที่เราท่านทราบกันดีอยู่แล้ว
    มาเข้าเรื่องที่ว่า เมื่อพระทักษะจัดพิธียันตกรรมแล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง ถ้าพระศิวะ หรือ พระอิศวร ไม่เข้ามามีบทบาทหรือปล่อยเลยตามเลย ก็จะถือเป็นการหมิ่นพระเกียรติเจ้าแห่งสรวงสวรรค์อย่างแรง ดังนั้น เมื่อปวงเทพเทวาทั้งหลาย รวมทั้งพระนารายณ์ ที่กำลังอยู่ในพิธียันตกรรม หรือ พิธีเสริมสร้างพลังอำนาจแก่พระนารายณ์ และเทพต่าง ๆ ที่เข้าพิธี กำลังทำพิธีอยู่นั้น พระอิศวรก็เสด็จมายังพิธี ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้รับเชิญ เมื่อการณ์เป็นเช่นนั้น แทนที่เหล่าเทวดาน้อยใหญ่ จะเชิญพระอิศวรเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธี กลับแสดงอาการไม่พอใจ และรวมหัวกันขับพระอิศวรออกไปจากพิธีตอนกำลังถวายของ
    ส่วนพระอุมา ซึ่งเป็นพระชายาของพระอิศวร ซึ่งพระนางเธอเป็นเทพประจำภูเขา ทรงเห็นว่าพระสวามีกำลังถูกหลู่พระเกียรติอย่างแรง พระนางจึงยุให้พระสวามีสำแดงฤทธิ์ในที่นั้น เป็นการต่อต้าน ว่ากันด้วยเหตุผลแล้ว พระอิศวรนั้น มีความพอใจในอัตภาพของพระองค์ ดังนั้น จึงไม่แสดงอาการอะไรออกมาแต่แรก แต่เมื่อถูกพระชายายุยง เท่านั้น ตบะของพระองค์ก็แตก
    พระศิวะ หรือ พระอิศวร จึงรังสฤษฎ์ “วีระภัทรา” อันมีสภาวะเป็นดวงไฟแห่งชะตากรรม แล้วทรงบันดาลให้สำแดงความน่ากลัวต่าง ๆ และยังเรียกพวกกึ่งเทพมาอีกนับร้อย โดยพระองค์ส่งฤทธิ์ให้พวกเขาเหล่านั้น จึงสร้างความโกลาหล ไม่มีใครปราบได้ การทำลายพิธีรุนแรงถึงกับนำเอาภูเขามาบิดเป็นเกลียว ภูเขาสะเทือนเลือนลั่น เกิดลมกรมกระหน่ำซ้ำเข้ามา ท้องมหานทีปั่นป่วนวุ่นวายไปหมด สภาพอันวินาศน์สยดสยอง ได้ถูกเขียนพรรณนาไว้ดังนี้
    พระอินทร์ ถูกเหวี่ยงลงนอนแผ่ แล้วโดนกระทืบซ้ำ, ไม้เท้าของ พระยม นั้นหักสะบั้น , พระสรัสวดี (พระชายาของพระพรหม) และ มาตฤส หรือ พระลักษมี (พระชายาของพระนารายณ์) ซึ่งถือว่าเป็นเทพมารดา ถูกกัดพระนาสา (จมูก) , พีระมิตร (บางตำราว่า คือ พระอาทิตย์) พระภคะ ถูกควักดวงตาออก , พระภูชาน ถูกชกฟันหักหลุดลงไปในลำคอ, พระจันทรา ถูกทุบซะสะบักสะบอม, พระกร (แขน) ของ พระวาหะนี (หรือ พระอัคนี – ไฟ) ถูกตัดออก, พระภตคุ (ฤาษี) ถูกถอนเคราออก, พราหมณ์ ถูกขว้างด้วยห่าก้อนศิลา หัวร้างข้างแตกไปตาม ๆ กัน, พระปชาบดี ถูกทุบตี จนน่วมไปทั้งตัว, บรรดาเทพเจ้าอื่น ๆ ตลอดจนครึ่งเทพ ที่เข้าร่วมพิธี ต่างก็หลบหนีจากคมดาบ คมศร ที่พุ่งซัดเข้าใส่ราวกับฝนแสนห่า ฯลฯ
    พระทักษะ ผู้เป็นเจ้าพิธี ถึงกับตะลึง และเกิดความหวาดกลัว จึงได้กล่าว ขอลุแก่โทษแก่พระสยมภู (ในที่นี้ หมายถึง พระศิวะ หรือ พระอิศวร) ซึ่งกำลังโกรธจัด ซึ่งเป็นการยอมรับว่า พระศิวะมีอำนาจเหนือกว่า บางตำราว่า พระทักษะ ได้ตัดเศียรของตนโยนลงในกองไฟ แต่พระศิวะได้ทรงชุบชีวิตขึ้นมาจากความตาย ส่วนเศียรได้มอดไหม้มลายไป ไม่อาจกลับคืนได้ จึงต้องเอาหัวแพะเข้ามาสวมแทน (บางตำราว่าเป็น หัวแกะ)
    เหตุโกลาหลตอนนี้ คัมภีร์ “หริวงศ์” ของฝ่ายไวษณพนิกาย กล่าวเทิดทูนพระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ ไว้ในตอนจบ แปลกออกไป เพราะกลัวจะเสียเหลี่ยม หรือ ถูกหักหน้า คือ เมื่อพระศิวะทำลายพิธีอย่างมหาวินาศน์ จนเทวดาและผู้ทรงฤทธิ์ต่าง ๆ ต่างปลาตไปสิ้นด้วยความเกรงกลัว ทันใดนั้น พระวิษณุก็ถลันเข้ามา เอากรค้ำคอของพระศิวะ บังคับให้หยุดแสดงฤทธิ์ กระทำการข่มขู่นั้นเสีย และให้ยอมรับว่า องค์วิษณุเป็นนาย มีอำนาจเหนือกว่าผู้อื่นทั้งสามโลก โดยแท้จริง
    นี่คือคำรจนาคัมภีร์ของอีกฝ่ายหนึ่ง คือ พวกนับถือวิษณุ ซึ่งไม่ยอมรับว่า พระอิศวรเป็นใหญ่กว่า แต่ในตอนหลังก็ดูเหมือนจะยอมรับกัน ถึงอย่างไร กำเนิดของสองเทพเจ้า ก็ยังข่มขู่กันในที ฝ่ายศิวะก็ว่า วิษณุเกิดจากศิวะ ฝ่ายวิษณุก็วา ศิวะเกิดจากวิษณุ แต่โดยแท้จริงโดยสภาวะของธรรมชาติ พระศิวะน่าจะเป็นโปรตรอน มีสภาวะอยู่กลาง เป็นใหญ่และอยู่เฉย ๆ หากเกิดยุคเข็ญในโลก ก็ต้องส่ง พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ ซึ่งก็คือ อิเลคตรอน ไปปราบ เพราะเป็นฝ่ายเคลื่อนไหว มิได้อยู่เฉย ๆ ที่จริง ทั้งสองต่างก็ประกอบอยู่ด้วยกัน เป็นอันเดียวกัน ขาดสิ่งใดก็ไม่เป็นองค์สมบูรณ์ กล่าวคือ แท้จริงก็เป็นสิ่งอันเดียวกัน ต่างก็แยกออกมาทำหน้าที่คนละทางต่างหาก
    มาเข้าเรื่องของประวัติความเป็นมาของพระจันทร์กันต่อ ในส่วนที่เป็นของฮินดูนั้น ยังไม่จบ ได้มีการกล่าวถึงกำเนิดพระจันทร์ ในทางโหราศาสตร์ว่า พระอิศวรผู้เป็นเจ้า สร้างพระจันทร์ จากนางฟ้า ๑๕ องค์ โดยร่ายเวทให้นางฟ้าทั้ง ๑๕ องค์ ให้ละเอียดลง แล้วหุ้มห่อด้วยผ้าสีเหลืองอ่อน (Light Yellow) แล้วทรงประพรมด้วยน้ำอมฤต ก็บังเกิดเป็นพระจันทร์เทพบุตรขึ้นมา มีกายเป็นสีนวล ทรงเครื่องทิพย์อาภรณ์แก้วประมวลนิวัตร และวิมานแก้วสีมุกดา ทรงอัศวราช (ม้า) เป็นพาหนะ สถิตในบูรพาทิศ มีกำลัง ๑๕

    [​IMG]
    ยังมีเรื่องเล่าถึงกำเนิดพระจันทร์อีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวพันกับพระอาทิตย์ และ พระราหู ก็คือ เมื่อชาติหนึ่งอันนานโพ้น เศรษฐีหัสวิไสย มีบุตร ๓ คน ครั้นเมื่อถึงกาลมีภรรยาแล้ว บุตรทั้ง ๓ คนได้นิมนต์พระมาทำบุญ ครั้นถึงเวลาตักบาตร พี่ชายใหญ่ได้ขันทองคำ คนรองได้ขันเงิน ส่วนน้องคนสุดท้อง ไม่มีขันใส่บาตร จึงได้เอากระทายที่ทำด้วยไม้มาเป็นภาชนะ พี่ชายคนโตอธิษฐานขอไปเกิดเป็นพระอาทิตย์ ส่องแสงสว่าง ให้พลังงานความร้อนแก่มวลมนุษย์ พี่ชายคนรองอธิษฐานขอไปเกิดเป็นพระจันทร์ ส่องโลกในเวลากลางคืน น้องคนสุดท้องได้ยินดังนั้นก็โกรธ จึงอธิษฐานขอไปเกิดเป็นพี่ชายใหญ่ของพระอาทิตย์ และพระจันทร์ ครั้นเมื่อทั้ง ๓ ถึงกาลมรณะแล้ว พี่ชายสองคน ได้ไปเกิดเป็นพระอาทิตย์ และพระจันทร์ สมความปรารถนา ส่วนน้องคนสุดท้องนั้น ไม่สมปรารถนาที่จะเกิดเป็นพี่ชายพระอาทิตย์และพระจันทร์ แต่ก็สมปรารถนาที่เกิดมามีรูปร่างใหญ่โต กว่าพระอาทิตย์ และ พระจันทร์ เพราะไปเกิดเป็นพระราหู อุปราชแห่งพวกอสูร และเมื่อพระราหู โคจรมาพบกับพระอาทิตย์ ก็จะจับอมเอาไว้ ทำให้ เกิดสุริยคราส หรือ ราหูอมตะวัน และเมื่อโคจรมาเจอพระจันทร์ ก็จะจับพระจันทร์อมไว้เช่นกัน ทำให้เกิดจันทรคราส หรือ ราหูอมจันทร์ ดังที่หลายท่านทราบกันมาบ้างแล้ว
    อินเดีย หรือ ฮินดู เรียก พระจันทร์ ว่า โสมเทพ โสม นั้น แปลว่า ดวงจันทร์ นั่นเอง แต่ในอีกทัศนะหนึ่ง โสม คือ น้ำเหล้า ทำให้มึนเมา เพราะโสมเป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง สีเป็นน้ำนม เอามาหมักทำน้ำเมรัย หรือ กลั่นเป็นเหล้า เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการบวงสรวงเทวดา มิให้มากระทำย่ำยีเอา ส่วนผู้ที่จะดื่มแทนเทพเจ้าก็คือ พราหมณ์ ด้วยพราหมณ์ คือ ตัวแทนของเทพ หากพราหมณ์ได้รับความชื่นบาน สบายใจ ผลสะท้อนก็จะถึงเทพเจ้าที่ตั้งใจสังเวยนั้นด้วย
    การใช้น้ำโสมเซ่นสรวงนี้ มีการกล่าวไว้อย่างเอิกเกริกใน คัมภีร์ฤคเวท พิธีกรรมนั้นจะต้องใช้มนต์กำกับ เพื่อจะให้การบวงสรวงนั้นเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า ผลของการกระทำเช่นนี้ เชื่อว่า จะทำให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ และพ้นจากการกระทำย่ำยีต่าง ๆ บางทีก็มีการแนะให้บริจาค เพื่อขจัดความตระหนี่ให้หมดไป พระโสม จึงคือ เทพเจ้าองค์เดียวกันกับ เทพเจ้าของน้ำโสม แต่แท้ที่จริง เทพเจ้าของน้ำโสม หรือ เมรัย นี้ ในเทพปกรณัมของกรีกถือว่า คือ เทพเจ้าแบคคัส หรือ ไดโอนิซุส เป็นเพศชาย ส่วนพระจันทร์ คือ ไดอาน่า เพศหญิง ซึ่งจะได้นำเรื่องทั้งสองนี้มากล่าวในตอนต่อไป
    เทพเจ้าของอินเดียนั้น นำมานับถือโดยพวกอารยัน บรรดาธรรมชาติ เมื่อให้โทษย่อมสำแดงฤทธิ์เสมอ เช่น เกิดฟ้าผ่า ก็ย่อมนึกไปถึงพระอินทร์ เกิดวาตภัยร้ายแรง ก็นึกถึงพระวายุ ฯลฯ และนับถือท่าน เพื่อขจัดปัดเป่าให้พ้นภัยพิบัติเหล่านั้น ครั้นเมื่อนำน้ำโสมมาเข้าพิธี ได้เห็นฤทธิ์ของน้ำโสมมีอานุภาพ สามารถทำให้ผู้คนใจฮึกเหิม ก็เชื่อว่า เป็นด้วยอำนาจเทพเจ้านั้น ๆ เป็นผู้บงการ พืชที่นำมากลั่นเป็นสุราและเมรัย จึงถือว่าเป็นเจ้าแห่งพืชทั้งปวง กรรมวิธีในการเตรียมการแต่ละขั้นตอน ถือว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของพิธีเซ่นสรวงสังเวยเทพเจ้าทั้งสิ้น พิธีกรรมดังว่ามานี้ ยังคงยึดถือกันอยู่ในบางแห่ง ดังเช่น ที่ อเวสต้า ในเปอร์เซีย ซึ่งเคยเป็นขอบขัณฑ์ส่วนหนึ่งของอินเดียโบราณ
    โสมเทพ เทพเจ้าแห่งน้ำเมรัยนี้ ต่อมาได้มีชื่อซ้ำซ้อนกับเทพเจ้าดวงจันทร์ แต่น้ำโสมที่กลั่นจากพืชบางชนิด ได้เปลี่ยนสภาพมาเป็น โอสถธิปติ คือ เทพเจ้าแห่งโอสถ และสมุนไพร ดังนั้น โสมเทพ จึงมีอำนาจคลุมไปถึงความหมายหลายอย่าง เช่น พระจันทร์ คือ ผู้คุ้มครองดวงดาว และเป็นเมรัยเทพ กับผู้รักษาด้วยสมุนไพร แต่ว่าเราไม่อาจจะหาคำจำกัดความว่า โสมเทพ กับ เทพเจ้าแห่งดวงจันทร์ ไปรวมกันได้อย่างไร แต่การที่ผสมผสานกันจนไม่อาจแยก หรือ ผู้นับถือไม่เต็มใจจะแยกจากกัน ก็เพราะได้อนุโลมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเสียแล้ว
    ดังเช่น พิธีประกอบการสังเวยโสมเทพนั้น ทำกันตอนกลางคืน แบบเดียวกับการดื่มเหล้า หรือเมรัยของผู้คนทุกวันนี้ ก็นิยมดื่มหลังจากแดดร่มลมตกแล้ว หรือ ตอนค่ำคืนก็ยิ่งเหมาะ ในประเทศฝ่ายอาหรับ มีกฎหมายระบุไว้ ห้ามดื่มสุรากลางวัน ส่วนกลางคืนไม่ห้าม (จากนิทราชาคริต) ดังนี้ การสังเวยโสมเทพในเวลากลางคืน จึงมาผสมผสานกับโสมเทพดวงจันทร์ ซึ่งชื่อเดียวกัน ด้วยประการฉะนี้
    บรรดาเทพเจ้าของฮินดู หรือ อินเดีย นับแต่โบราณกาล ล้วนเป็นเพศชายทั้งสิ้น แม้พระจันทร์ ที่ทางฝ่ายตะวันตกจะถือเป็นเพศหญิง แต่พวกฮินดูก็ยังคงเชื่อว่าเป็นเพศชายมาจนทุกวันนี้ แต่เมื่อล่วงยุคสมัยเมื่อเกิดลัทธิ “ฮินดูตันตระ” หลังพุทธกาลประมาณเกือบพันปี จึงเกิด “ลัทธิศักติ” ให้หญิงเป็นใหญ่ พลังแฝงของเพศชายกลายเป็นหญิง ดังเช่น รูปอรรธนารีศวร คือ พระอิศวร ครึ่งหนึ่งเป็นหญิง หรือเพศหญิง เช่นพระอุมา ในอีกภาคหนึ่งจะโหดร้าย เรียกว่า นางกาลี หรือบางทีแยกเป็นทุรคา เป็นต้น ล้วนเป็นภาคร้ายของนางกาลีทั้งนั้น อย่างไรก็ดี ในลัทธิฮินดูนั้น สมัยแรกเทพทรงฤทธิ์จะมีเพศเป็นชาย พระจันทร์จึงต้องเป็นชาย
    ส่วนยุโรปนั้น ยึดถือปกรณัมนิยายาของกรีกเป็นหลัก ถือว่า พระจันทร์ เป็นเพศหญิง เป็นเทพีแห่งดวงจันทร์ คือ ไดแอนน่า หรือ อาร์เตมีส ผู้มีประวัติบางส่วน คล้ายกับพระจันทร์ของฮินดู คือ เป็นผู้คุ้มครองกิจกรรมในยามค่ำคืน คุ้มครองผู้ค้าขาย ผู้ผจญภัย และรวมทั้งพวกโจรและขโมย พระนางไดแอนน่า ทรงถือศร ชอบล่าสัตว์ในยามค่ำคืน กล่าวกันว่า พระนางเธอค่อนข้างดุ และใจแข็ง บ้างก็ว่า เธอมีความพยาบาทมาก
    พระอังคาร เทพเจ้าแห่งสงคราม (๑)
    ********************
    ในบรรดาเทพเจ้าแห่งดาวพระเคราะห์ หรือบริวารของดวงอาทิตย์แห่งสุริยระบบ มีพระอังคารองค์เดียวที่ค่อนข้างจะมุทะลุ ดุดัน เจ้าโทสะ ชอบทะเลาะเบาะแว้ง จนเรียกว่า ดาวสงคราม หรือ เทพเจ้าแห่งสงคราม ซึ่งตรงกับลักษณะนิสัยของเทพเจ้าในปกรณัมของกรีก คือ เทพเจ้ามาส์ ซึ่งเป็นดาวนักรบ และมีนิสัยโมโหโกรธา เหมือนกัน
    โหรไทย ยกย่องว่า อังคาร ให้พลังเข้มแข็งในดวงชะตา จนถึงแก่กล่าวว่า “ดูกล้า ดูขยัน ให้ดูอังคาร” บุคคลใดมีดาวอังคารเด่นในดวงชะตา คือ กุมลัคน์ อยู่ในภพกัมมะ หรือ ลอยเหนือศีรษะขณะเกิด ท่านว่า เป็นตำรวจ ทหาร ดี แต่คนที่มีอังคารเด่น แล้วไม่ได้เป็นตำรวจทหารก็มี และมักจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน เนื่องจากความกล้า ความขยันขันแข็ง นั่นเอง
    พระอังคาร ถือว่า เป็นดาวบาปเคราะห์ อันเป็นดาวให้โทษฉับพลันอันดับหนึ่ง เป็นตัวการทำให้มนุษย์ถึงฆาตอย่างปัจจุบันทันด่วน หรือ ตายโหง เป็นดาวที่ส่งผลในด้านการทำลายล้าง พลัดพราก สูญเสีย เป็นดาวที่ส่งผลในด้านอุบัติเหตุ , การผ่าตัด และการทะเลาะวิวาทกันอย่างรุนแรง ทำไม ? ถึงเป็นเช่นนั้น เราลองมาศึกษาประวัติเรื่องราวของเทพองค์นี้ ทั้งคติความเชื่อของอินเดีย และ กรีก กันก่อน แล้วค่อยย้อนเข้ามาถึงความหมายในด้านอื่น ๆ และการพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ของดาวอังคาร ในดวงชะตา
    อินเดีย เรียก พระอังคาร ว่า “มังคลา” ถึงอย่างไรก็ยังคงถือว่าเป็นมูลเหตุให้เกิดสงคราม จึงมีภาวะเช่นเดียวกับ กรรติเกยะ (เทพเจ้าแห่งสงคราม) พระองค์ทรงเป็นโอรสของพระศิวะ และแม่ธรณี เหตุที่เป็นโอรสของนางธรณี พระองค์จึงทรงพระนามที่เรียกว่า อังการคะ เภาวมะ ภูมีบุตร มหิสุต และพระองค์ก็ยังถูกเรียกว่า ศิวะฆะรมาจา (เกิดจากรสอันหวานของพระศิวะ), กากะนลมุข (คบไฟแห่งสวรรค์ – ด้วยดาวอังคารมีสีแดงก่ำ เห็นได้ชัดเจนบนท้องฟ้า สีแดงเหมือนไฟ), โลหิตา (สีแดง), นวฤดี (ผู้มีรังสีทั้งเก้า), กรรติเกยะ (เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม)
    เทพเจ้ากรรติเกยะ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สกันทะ นักรบผู้มีชื่อโด่งดังในมหาภารตยุทธ และ รามายณ บ้างก็ว่า คือ องค์เดียวกับพระอังคาร มีพิเศษอยู่อย่างหนึ่งไม่เหมือนใคร คือ ทรงเป็นโอรสของพระรุทธ หรือ พระศิวะ ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ต้องผ่านครรภ์ หรือ ร่างสตรี
    เรื่องมีอยู่ว่า พระศิวะ ได้นำเชื้อ (อสุจิ) ของพระองค์ หลอมลงไปในกองไฟ แล้วนำมาใส่ในแม่น้ำคงคา จึงเกิดเป็น กรรติเกยะ เพราะเหตุประการฉะนี้ พระองค์จึงมีชื่อเรียกอีกว่า อัคนิภ และ คงคา-ชา ทรงได้รับการเลี้ยงดูจาก กฤติกา (ดาวลูกไก่) นับแต่นั้นมา จึงมี ๖ เศียร
    พระลักษณะของพระอังคารนั้น มีผู้พรรณาไปหลากหลายความ จนกล่าวว่า กำกวมกันไปก็มี ดังเช่น กล่าวว่า ทรงเหมือนพระอัคนี (ไฟ), คงคา (แม่คงคา) และ บรรพตี (พระชายาพระอิศวร) อย่างไรก็ดี ตำนานของพระอังคารอีกหลายแห่ง ยืนยันว่า พระนางบรรพตี คือ พระมารดาของพระองค์โดยแท้
    ส่วนใหญ่การอุบัติขึ้นของเทพเจ้าตามคติฮินดู ก็มักจะมีเหตุ อย่างเช่น การอวตารของพระวิษณุแต่ละครั้งก็มีเหตุ ถ้าไม่มีเหตุก็ไม่มีผล คัมภีร์ท่านรจนาไว้ว่า พระอังคารอุบัติขึ้นมา ก็เพื่อจะทำลายยักษ์ทาระกะ ยักษ์ทาระกะนี้ เป็น เป็นยักษ์ที่น่ากลัว มักก่อสงครามต่อสู้กับเหล่าทวยเทพเสมอมา กล่าวกันว่า ยักษ์พวกนี้เกิดจากคิติ ซึ่งชักจูงมาโดยกัศยป เป็นสภาวะยักษ์มาร คล้ายความชั่วร้าย ที่ต้องเกิดมาคู่กับเทวดาฝ่ายธรรมะ พวกนี้ การที่รบกับเทวดาได้ ก็ย่อมมีฤทธิ์อันน่าเกรงขาม และมีใบหน้าบึ้งตึง โหดเหี้ยมมาก ทางสวรรค์จึงจำเป็นจะต้องมีนักรบผู้มีฝีมือ กำลังกล้าอย่างพระอังคาร อุบัติขึ้นมาปราบ
    ปางที่เสด็จจุติมาปราบยักษ์นี้ พระอังคารเสด็จไปโดยนกยูง อันมีนามว่า ปาราวันนี พระหัตถ์ทรงง้างศร พร้อมที่จะปล่อยออกจากแล่ง พระชายาของพระกรรติเกยะ คือ เกามารี หรือ เสนา การศึกษาพระอังคาร ถ้าศึกษาจากพระนาม หรือ ฉายาของพระองค์ ก็อาจจะทราบเหตุผล และ ชีวประวัติของพระองค์ได้พอสมควร ดังนี้
    มหาเสนา (นามนี้ หมายถึง เป็นนักรบ เป็นแม่ทัพของแผ่นดิน), เสนาบดี (ก็หมายถึง ปุโรหิต หรือ มนตรีแผ่นดิน ซึ่ง ดาวอังคาร มีความหมายถึงสิ่งนี้ด้วย), สิทธิเสน (ผู้เป็นใหญ่ในกลุ่มนักสิทธิ์ ซึ่งเป็นครึ่งคนครึ่งอมนุษย์ ที่จริงเป็นคนธรรมดา เมื่อบำเพ็ญสมาธิแก่กล้า ก็ไปอยู่ป่าเขา จนมีฤทธิ์ อาจเหาะเหินเดินอากาศได้ บ้างก็ว่า อังคาร คือ เพทยาธร ก็เป็นพวกอมนุษย์ประเภทหนึ่ง อยู่ในกลุ่มเหล่านักสิทธิ์), ยุทธรังคะ หรือ กุมาร (คือ เด็กชาย), คูหะ (ผู้มีความลึกลับหรือซ่อนเร้น), ศักติธร (ผู้ถือหอก เพราะทรงถือหอกเป็นอาวุธ), สุภาพปัญญา (เป็นนามที่ทางอินเดียใช้เรียกพระอังคาร), บุตรแห่งคงคา(ดังได้กล่าวแล้วว่า กำเนิดพระองค์ เกี่ยวข้องกับแม่คงคา จึงทรงถูกเรียกชื่อนี้), สรรู (หมายถึง เกิดในพุ่มไม้หนา), ทรกาชิต (ผู้พิชิตยักษ์ทรกา), ทวาทศ และ ทวาทศจักขุ (ผู้มีมือ ๑๒ มือ มีตา ๑๒ ตา), ริชุกายา (ผู้มีร่างตรง กล่าวคือ พระอังคาร มีลักษณะองอาจผึ่งผาย ยืดหน้าอก ร่างตรง)
    ณ เชิงเขาหิมาลัย มีทางสายหนึ่ง เป็นทางราบเรียบ เกิดจากการแผลงศรจากภูเขาไกรลาสมาทางทิศใต้ มีมูลเหตุดังเรื่องที่จะยกมาอ้างถึง คือ พระอินทร์ กับ กรรติเกยะ (พระอังคาร) ต่างก็ถือตัวว่า มีฤทธิ์ มีกำลังด้วยกันทั้งคู่ จึงตกลงจะประลองกำลังกัน โดยการวิ่งแข่งรอบภูเขาหิมาลัย พอพากันมาถึงเชิงเขา ต่างก็ไม่พอใจ ด้วยทางไม่สะดวก ดังนี้ กรรติเกยะ จึงพุ่งหอกไปยังภูเขา ทำให้เป็นทางยาว หอกคู่มือของพระอังคารนี้ ถูกพุ่งไปยังสัตว์ร้ายมหิงสา และยังนำมาใช้ต่อสู้กับพวกยักษ์ทรกา อันเป็นศัตรูของเทวดา ซึ่ง กรรติเกยะ ประสบชัยชนะในการต่อสู้ทุกครั้ง
    พระอังคารเป็นนักรบฝีมือเข้มแข็ง เพราะว่าพระองค์เกิดแต่แม่พระธรณีกับพระศิวะ ในอีกคัมภีร์หนึ่งอ้างว่า พระองค์เป็นโอรสของแม่พระธรณีกับพระนารายณ์ อีกตำราหนึ่งว่า ทรงเกิดจากพระอิศวร โดยยันตพิธี คือ เอาเชื้อพระอิศวรใส่ลงไปในกองไฟ แล้วชุบด้วยแม่น้ำคงคา เพราะเหตุนี้จึงเรียกว่า บุตรพระคงคา ตำนานฝ่ายนี้ดูจะเป็นที่เชื่อถือยกย่องกันมาก อย่างไรก็ดีที่ว่า พระอังคารเป็นโอรสของพระนารายณ์นั้น มีมาในคัมภีร์โบราณว่า
    พระอังคาร เกิด ณ เมืองอวันติ เป็นกษัตริย์ในวงศ์ภารทวาราชโคคา หรือ วาสิฏฐโคตร พระองค์มีร่างสูงใหญ่ วรรณะดำแดง ทรงพัสตราภรณ์สีแดง ดังนี้ สีแดงจึงเป็นสีของพระอังคาร (ที่จริงสีอันเหมาะกับดาวอังคาร คือ สีม่วงแดง หรือ ชมพู อันเป็นสีแดงเจือทับทิม พระองค์ทรงทัดดอกไม้สีม่วงแดง ทรงศัสตราวุธประจำตน คือ หอก กระบอง และ ศูล -อาวุธเหมือนดาบ แต่ปลายแหลม) ส่วนพาหนะของพระอังคารนั้น ในสมัยเมื่อปราบยักษ์ทาระกะ (ทรกา) ทรงนกยูง บ้างก็ว่า แกะ แต่ในที่แห่งหนึ่งว่า ทรงกระบือ (จากคัมภีร์เฉลิมไตรภพ)

    [​IMG]
    พระอังคาร เทพเจ้าแห่งสงคราม
    ในคัมภีร์เฉลิมไตรภพ กล่าวว่า พระอิศวรผู้เป็นเจ้า สร้างพระอังคารด้วยมหิงสา (กระบือ) ๘ ตัว ทรงร่ายพระเวทให้ละเอียดลง แล้วห่อด้วยผ้าสีแดงอ่อน ๆ ของแก้วเพทาย แล้วพรมด้วยน้ำอมฤต ก็เกิดเป็นองค์พระอังคาร เทพเรืองฤทธิ์ขึ้น มีกายเป็นแก้วสีเพทาย (แดงสลัว) บ้างก็ว่าสีลูกหว้า ทรงรัตนโกเมน (แดงแก่)เป็นอาภรณ์ และมีสีวิมานเป็นสีทับทิม (แดง) ทรงราชกาสร (ควาย) เป็นพาหนะ มีหน้าที่รักษาเขาพระสุเมรุ โดยสถิตในอาคเนย์ทิศ (ตะวันออกเฉียงใต้) มีกำลัง ๘ ธาตุลมกรด
    ส่วนพระอังคารในตำรับเทพปกรณัมของตะวันตก มีความที่นักปราชญ์รจนาไว้ว่า ท้าวเธอเป็นเทพบุตร มีพระนามว่า มาส์ หรือ แอเรส เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม ทรงเกิดจากเทพบิดรเซอุส กับ พระนางเฮรา แม้ว่ามาส์ จะเป็นโอรสแท้ ๆ ของพระนางเฮรา ผู้เป็นเทพมารดรแห่งสวรรค์ ณ เขาโอลิมปัส แต่โอรสผู้นี้มีกรรม ด้วยเป็นที่เกลียดชังของบิดาและมารดา แถมยังเทพอื่น ๆ ไม่ค่อยชอบหน้า อาจจะเป็นเพราะบุคลิกลักษณะอันกล้าแข็งไม่นุ่มนวล หรือ เพราะทรงใจคอเหี้ยมโหด กระหายโลหิต ชอบการสงครามก็ได้ แม้มาส์จะชอบรบพุ่ง ตีรันฟันแทง เป็นที่รู้ ๆ กัน บางคัมภีร์แถบตะวันตกได้ผูกเรื่องราวว่า ทรงเป็นเทพเจ้าที่แสนขลาดและใจเสาะมาก พอครั้นได้รับบาดเจ็บ ก็จะร้องและวิ่งหนี กล่าวเช่นนี้ ดูจะเป็นอาการที่ตรงกันข้ามกับนักรบ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้
    ตรงกันข้าม ชาวกรีกกลับรักบูชาเทพเจ้าอพอลโล หรือ สุริยเทพ หรือ อะธีน ส่วนมาส์นั้น ต่อมาได้กลายเป็นเทพบุตร ที่ชาวโรมันชาตินักรบ เคารพบูชายิ่งกว่าอื่นใด ในการศึกสงครามทุกครั้ง เมื่อชาวโรมันได้ชัยชนะ ก็จะปล้นสะดม ขนข้าวของ จับเชลย ได้สมบัติพัสถานมามาก ชาวโรมันซึ่งเป็นชาตินักรบใฝ่ใจในการรบพุ่ง และชอบการรุกราน จึงบูชาเทพเจ้ามาส์อย่างยิ่ง พวกเขาได้ถือเอาแบบฉบับว่า ถ้าชีวิตได้ปลดปลงในการสงคราม ก็จะมีเกียรติอันสูงส่ง ไม่มีสิ่งใดเทียบ (บ้างก็ว่าได้ไปขึ้นสวรรค์)
    ที่จริงนั้น เทพเจ้าสงครามตัวจริง คือ อีริส แต่ไม่เป็นที่รู้จักกันนัก กลับไปยกย่องเทพเจ้ามาส์เสียหมด อีริส เป็นน้องสาวของแอเรส (อังคาร) คำว่า อีริส มีความหมายว่า ความบาดหมาง โอรสของ อีริส คือ สะไตรพ์ ส่วนผู้อยู่เคียงข้าง แอเรส หรือ มาส์ ตลอดเวลาคือ เอนโย ซึ่งตำนานเทพเจ้าของ กรีกระบุว่า คือ เทพเจ้าแห่งสงครามขนานเดิมโดยแท้ เทพเอนโย ซึ่งชาวโรมันเรียกว่า เบลโลน่า มีลักษณะที่คู่ควรอย่างยิ่ง เพราะไม่ว่าพระนางจะย่างกรายไป ณ แห่งหนตำบลใด จะเกิดบรรยากาศอันน่าสะพรึงกลัว ณ ที่นั้น ทุกคนจะประหวั่นใจ อกสั่นขวัญหาย กล่าวกันว่า ตามแนวมรรคาที่พระนางเธอเดินผ่าน จะสะเทือนเลือนลั่น อึกทึกไปด้วยเสียงแห่งการต่อสู้ และการโรมรันพันตูตลอดทาง
    เทพปกรณัมของกรีกพรรณาไว้ว่า เทพเจ้ามาส์ เป็นคู่ชู้กับเทพีอาโฟร์ไดท์ (โรมันเรียก วีนัส) เคยลักลอบได้เสียกัน จนสามีของวีนัส คือ เทพเจ้าวัลคัน ผู้เป็นช่างเหล็กแห่งสวรรค์ ได้ประดิษฐ์ตาข่ายเป็นแหเอาไปครอบจับตัวคู่ชู้มาประจาน จนเป็นที่กล่าวขานกันทั่วไป สำหรับเมืองหรือหลักแหล่งที่สถิตแน่นอนของมาส์นั้น ยังไม่เป็นที่ยุติกันว่า จะคือที่ไหน บ้างก็ว่าคือเมืองเทรซ ซึ่งตั้งอยู่เบื้องทิศตะวันออกของกรีก บ้างก็ว่า คือ ที่อื่น ๆ ที่เข้าใจกันว่าเมืองเทรซ คือ เมืองของพระองค์ ก็ด้วยสังเกตจากอุปนิสัยใจคอของผู้คนพลเมืองที่นี่ มักจะกักขฬะ และแสนจะโหดเหี้ยมยิ่งนัก
    สัตว์ประจำตนของเทพเจ้ามาส์ หรือ แอเรส คือ นกแร้ง กับ สุนัข ซึ่งไม่มีเจ้าของ ผิดกับพระอังคาร เทพฝ่ายไทยที่ขี่กระบือ หรือของอินเดียทรงนกยูง นกยูงกับแร้งพอจะใกล้เคียงกันที่ว่าเป็นนก หากว่าจะพิจารณาดูอีกที แร้งน่าจะเหมาะสมกว่า ด้วยเทพเจ้ามาส์ หรือ อังคารเทพ เป็นตัวฆาต ทำให้ตาย ย่อมคู่กับนกแร้ง ผู้ถือการกินซากศพเป็นอาหาร
    พระพุธ เทพเจ้าแห่งการติดต่อสื่อสาร การเดินทาง (๑)
    ********************
    จากการศึกษาประวัติเทพเจ้าดาวพระเคราะห์เท่าที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านและนักศึกษาจะเห็นแล้วว่า ประวัติและเรื่องราวทั้งมวล ล้วนแต่รจนาเรียบเรียงขึ้นมาจากเรื่องราว อันเป็นสถิติของดาวพระเคราะห์นั้น ๆ ที่มีทั้งให้คุณและให้โทษ โดยเน้นหนักไปที่ลักษณะเฉพาะตัว หรือ เอกลักษณ์ของดาว ที่เราจะได้นำมาศึกษา และใช้พิจารณาดวงชะตา
    การศึกษาโหราศาสตร์นี้ นับว่าเป็นวิทยาการเก่าแก่ของมนุษยชาติ สืบอายุไปถึงสมัยพวก “คาลเดีย” แห่งดินแดนเมโสโปรเตเมีย ลุ่มแม่น้ำไทกรีส ก่อนคริสตกาลหลายพันปีเลยทีเดียว จากนั้นก็ไปฟูเฟื่องที่ อิยิปต์ กรีก และ โรม ตามลำดับ
    การใช้ดาวพระเคราะห์มาทำนายทายทักอดีต และอนาคตของบุคคล และสรรพสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ได้มีการจดจำ ทำบันทึก จับสถิติจากดวงดาวแล้วนำมาเทียบเคียงกับความเป็นไปในการดำเนินชีวิต และเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีมาแต่ครั้งโบราณกาลร่วม ๗ – ๘ พันปี จนได้กลายมาเป็นตำราทางโหราศาสตร์ มากมายหลายแขนงให้ได้ศึกษาเล่าเรียนกันจนทุกวันนี้ และการที่จะจดจำเรื่องราวต่าง ๆ สถิติต่าง ให้ได้ผลดี และยืนยาวสืบทอดไปชั่วลูกหลาน วิธีการที่โบราณชนเห็นว่าดีที่สุดก็คือ แต่งเรื่องราวประวัติของเทพเจ้าขึ้นมา ให้มีบทบาทในการดำเนินชีวิตเหมือนกับบุคคล ไม่ว่าจะเป็นลักษณะนิสัยใจคอ การงาน หรือการดำเนินกิจกรรม ความรักใคร่ในกามารมณ์ ความสำเร็จก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค ฯลฯ ซึ่งเทพแต่ละองค์ ล้วนมีที่มาและลีลาในการดำเนินชีวิตแตกต่างกันไป เราจึงได้อาศัยจุดนี้แหละมาแยกแยะพิจารณาลักษณะอันให้คุณ และโทษของดาวต่าง ๆ ซึ่งใช้ได้ผลดีดังที่ได้นำเสนอไปบ้างแล้ว

    [​IMG]
    พระพุธ
    พระพุธ หรือ เทพเจ้าแห่งดาวพุธ (Mercury) นั้น ถือได้ว่าเป็นเทพเจ้าแห่งการติดต่อ สื่อสาร การเดินทาง เนื่องจาก ดาวพุธนั้น เป็นดาวพระเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด ดังนั้นวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ จึงใช้ระยะเวลาสั้นกว่าดาวพระเคราะห์อื่น ๆ ทุกดวง หากเราสังเกตให้ดี จะพบว่า ในดวงชะตาของบุคคลนั้น พุธ (๔) เป็นดาวดวงหนึ่ง ที่มักจะโคจรร่วมกับอาทิตย์ คือ อยู่ในราศีเดียวกับอาทิตย์ หรือมิเช่นนั้นก็อยู่ไม่ห่างจากอาทิตย์เกิน ๑ ราศี คือ ไม่ข้างหน้า ก็ข้างหลัง เมื่ออาทิตย์จรไปไหน พุธก็จะจรไปไม่ห่าง และเป็นดาวที่มีการโคจรไม่แน่นอน คือ พักร์ (เดินถอยหลัง) มนฑ์ (เดินอืดอาด ชักช้า) และ เสริต (เดินเร็ว) มากที่สุด จึงมีฉายาในทางโหราศาสตร์ว่า “พุธ รวนเร”
    ดาวพุธ เป็นดาวที่มีความหมายในเรื่องของ มันสมอง หรือ สติ (ความระลึกได้ ความจำได้ )โดยตรง โบราณท่านว่า “ดูเจรจาอ่อนหวานให้ดูพุธ” ดังนั้น คนที่จะพูด จะคิด จะแสดงอาการออกมาให้ดูว่า นิ่มนวล อ่อนหวาน รู้กาละเทศะ ไม่ขัดใจใคร ไม่ขัดอารมณ์ใคร จะต้องดูที่ดาวพุธ หรือ ตัวสมอง เป็นสำคัญ บางคนนั้น พูดไม่คิด พูดได้ ทำไม่ได้ดังคิด หรือพูดไม่เข้าหูคน ทำให้กลายเป็นคนแข็งกระด้าง สังคมรังเกียจ ไม่น่าคบหา ดีไม่ดีก่อให้เกิดศัตรูตามมาโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น หากดาวพุธในดวงชะตาของใครเสียล่ะก็ ต้องระวังให้หนักในเรื่องของคำพูด ความคิด การกระทำ ให้จงหนัก เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรคศัตรูได้ เนื่องจาก พุธนั้นเป็นดาวเจ้าเรือนอริ ของลัคนาโลกธรรม ที่ราศีเมษ ซึ่งผมได้เคยกล่าวย้ำแก่นักศึกษาหลายครั้งว่า พุธนั้น แม้จะเป็นศุภเคราะห์ก็จริง แต่วันดีคืนดี มันอาจให้โทษได้ทุกเมื่อ ก็เพราะความรวนเร ไม่แน่นอนของมันนี่แหละ
    การติดต่อสื่อสารนั้น ส่วนมากเราใช้ปากในการเจรจา คำพูดที่ออกจากปากสำคัญมาก ดังที่ท่านสุนทรภู่กล่าวไว้ว่า “เป็นมนุษย์สุดดีที่ลมปาก จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา” การพูดก็ดี หรือการติดต่อสื่อสารอื่น ๆ ด้วยการเขียนก็ดี ล้วนต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ และสติ เข้ากำกับ จึงจะทำให้การพูด การเขียน ออกมาสละสลวย รื่นหู ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ มากกว่าเกิดโทษ คนที่มีพุธกุมลัคน์ สัมพันธ์กับลัคน์ (ลอยเหนือศีรษะ, ตรีโกณ, โยคหน้า – หลัง, นำหน้า) และไม่เสีย คือ ไม่เป็นประ เป็นนิจ หรือถูกบาปเคราะห์เบียนมาก ๆ มักจะเป็นคนที่พูดจาดี มีพรสวรรค์ในการพูด การเขียน งานประพันธ์ รู้จักควบคุมอารมณ์ มีการสงวนท่าที รู้การใดควรไม่ควร ทำให้สังคมเห็นว่า เป็นผู้มีมารยาทดี กิริยาอาการอ่อนหวาน แต่ถ้าพุธในดวงชะตาเสีย คือ อยู่ในภพทุสถานะ (อริ,มรณะ และวินาศนะ) หรือ เป็นประ เป็นนิจ ถูกบาปเคราะห์เบียนมาก ๆ ก็จะทำให้เป็นคนพูดจาไม่อยู่กับร่องกับรอย พูดจาเชื่อถือไม่ได้ พูดโพล่งออกมา โดยขาดสติและความยั้งคิด หรือ ปากเสีย ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรค ทุกข์โทษ เข้าข่าย “ปลาหมอตายเพราะปาก” ได้
    ก่อนที่จะกล่าวถึงความหมายจของพุธในด้านอื่น ๆ เราควรได้มาศึกษาประวัติของเทพเจ้าองค์นี้กันก่อนจะดีกว่า ซึ่งเรื่องราวและประวัติของท่าน ก็มีที่มาไม่แตกต่างไปจากเทพองค์อื่น ๆ ที่ผ่านมา คือ มีมาทั้งในความเชื่อของชาวตะวันออก ได้แก่ ฮินดู และ ตะวันตก ได้แก่ กรีก และโรม ขอเริ่มประวัติจากความเชื่อของฮินดู หรือ พราหมณ์อินเดีย ก่อนก็แล้วกัน
    ดาวพุธนั้น ถ้าเรียกแบบฮินดู ภาษาอังกฤษจะเขียนว่า Buddha คำเดียวกับพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาของเรานั่นเอง แต่แท้จริงนั้น เทพเจ้าดาวพุธ กับ พระพุทธองค์นั้น เป็นคนละเรื่อง คนละองค์กัน เพียงแต่พวกพราหมณ์มักจะมั่วนิ่ม เอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความเชื่อของคนในศาสนาอื่น ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาตน ประเภท ยกตนข่มท่านก็ได้ อย่างกรณีที่ว่า พระพุทธเจ้า ของเรานั้นเป็นปางหนึ่งของพระนารายณ์ ในภาค “พุทธาวตาร”ป็นต้น
    พระพุธ ตามลัทธิความเชื่อของชาวตะวันตก คือ กรีก และโรม คือ เทพเจ้าเมอร์คิวรี่ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการแพทย์ และเทพเจ้าผู้สื่อสารจากสวรรค์มายังโลก ซึ่งรายละเอียดในความเชื่อของตะวันตก จะได้นำมากล่าวในภายหลัง
    พระพุธ ในความเชื่อของฮินดู กล่าวว่า เป็นโอรสของพระโสม (พระจันทร์) เกิดจากนางโรหิณี อีกตำราหนึ่งก็ว่า เกิดจากนางดารา ชายาของพระพฤหัสบดี ซึ่งพระจันทร์ไปแย่งตัวมา และเกิดลูกกับพระจันทร์ เป็นเรื่องพิพาทถึงขนาดต้อรบราฆ่าฟันกันใหญ่โตในสวรรค์ แต่ผลที่สุด พระโสม ก็ต้องคืนนางดาราให้พระพฤหัสบดี สามีเดิมไป พระพุธ ซึ่งเป็นโอรสพระจันทร์ที่ติดท้องไปด้วย ต่อมาพระพุธได้เข้าพิธีวิวาห์กับนางอิลา พระราชธิดาของพระมนูไววัสวัต จนเกิดโอรสกับนาง มีนามว่า ปุรูราวัส เพราะพระพุธทรงมีปัญญาทางการรจนาหนังสือ และกวีนิพนธ์ พระองค์จึงทรงรจนาบทสวดฤคเวทขึ้น
    และเพราะเหตุจากโคตรของบิดามารดา พระองค์จึงได้ชื่อว่า เสาวยะ และ ระฮูหิณี ผู้นับถือมักจะเรียกพระองค์ว่า ประหารชน, รถหน, ทังกา, ศยามางกะ (ผู้มีผิวกายดำ) เพราะว่า พระพุธ เป็นโอรสพระโสมติดท้องไป จึงทำให้พระพฤหัสบดีเข้าใจผิดคิดว่าเป็นลูกของตน จนนางดาราต้องเปิดเผยความจริงว่า พระโสม คือ บิดาของเด็ก เหตุนี้ พระโสม จึงตั้งนามโอรสว่า พระพุธ
    พระพุธมีสีกายสีเขียว และทรงถือขอช้าง ประทับบนคอช้างพาหนะ รัศมีของพระองค์แจ่มใสเป็นปรอท ในตำราโหราศาสตร์ ได้กล่าวถึงกำเนิดพระพุธ ไว้ว่า พระอิศวรผู้เป็นเจ้า ได้สร้างพระพุธขึ้นด้วยพญาคชสาร ๑๗ ตัว โดยเอามาป่นลง แล้วห่อด้วยผ้าสีเขียวใบไม้ (Green) ประพรมด้วยน้ำอมฤต บังเกิดเป็นพระพุธเทพเทวา สีกายเป็นสีแก้วมรกต และมีวิมานเป็นสีมณี ทรงคชคเชนทร (ช้าง) เป็นพาหนะ สถิตอยู่ในทักษิณทิศ (ใต้) มีกำลัง ๑๗ ธาตุน้ำในมหาสมุทร
    จะเห็นว่า พระพุธนั้น เกี่ยวข้องกับช้าง และช้างก็เป็นสัตว์มีเขี้ยวงา เปรียบได้กับฟันของคนเรานั่นเอง ดังนั้น หากพุธในดวงชะตาผู้ใดเสียหาย หรือ ถูกบาปเคราะห์เบียนมาก ๆ สุขภาพปากและฟันมักไม่ดี มักฟันหัก ฟันหลอ ดังตำนานโหราศาสตร์ท่านรจนาไว้ว่า “ในปางก่อน พระพุธเกิดเป็นพญาฉัททันต์ พระอังคารเป็นายโสณอุดร เลื่อยงาพญาฉัททันต์” ซึ่งจากตำนาน จะบ่งบอกนัยแห่งความหมายว่า พระอังคารให้โทษแก่พระพุธ ดังนั้น เมื่ออังคารจรทับพุธ หรือ ทำมุมกากบาทกับพุธ ก็อาจจะปวดฟัน ถึงกับต้องถอนฟันได้
    เป็นที่น่าแปลก และน่าสังเกตอยู่อย่างหนึ่งก็คือ บุคคลที่มีพุธกุมลัคน์ มักจะอ้วนเหมือนช้าง อย่างน้อยก็ไม่ผอมแห้งแรงน้อย ดูตุ้ยนุ้ย หรือเจ้าเนื้อ แต่เท่าที่ผมสังเกต คนที่อ้วน และเจ้าเนื้อนั้น มักจะมีดาวธาตุลม คือ มฤตยู (๐) ศุกร์ (๖) ราหู (๘) และ เกตุ (๙) สัมพันธ์กับลัคนามาก ๆ อย่างนี้ แม้จะไม่อ้วนมาแต่ก่อน ก็อาจจะอ้วนท้วนได้ในภายหลัง โดยเฉพาะสตรีหลังคลอดบุตร ถ้าไม่รู้จักควบคุมน้ำหนัก หรือ หาทางลดน้ำหนักล่ะก็ มีหวังส่งเข้าประกวดราชินีช้างได้อย่างแน่แท้
    ดาวพุธ นอกจากจะหมายถึงช้างแล้ว ยังหมายถึงสุนัข ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีเขี้ยว ชอบลอบกัดน่อง หรือสะโพกเด็ก ๆ อยู่เสมอ เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ครั้งหนึ่ง พระพุธ ได้เคยเกิดเป็นสุนัข กล่าวคือ ในกาลครั้งหนึ่ง พระจันทร์เกิดเป็นคนเข็ญใจ จึงไปกู้เงินพระราหู ซึ่งเกิดเป็นคฤหบดีมาทำทุน นานวันเข้า เงินทุนที่กู้มานั้นก็ร่อยหรอลงไป และการค้าขายก็ไม่ดีขึ้น จนทำให้พระจันทร์ไม่อาจหาเงินไปชำระหนี้ตามกำหนดได้ ต้องตกระกำลำบาก หนีพระราหูเจ้าหนี้ไปซ่อนตน พระเสาร์ผู้พ่อค้า เป็นมิตรของพระราหู ขณะที่เดินทางไปค้าขาย บังเอิญพบแหล่งที่พระจันทร์ซ่อนตัวอยู่ จึงนำความไปบอกพระราหูผู้สหาย พระจันทร์จึงถูกพระราหูจับกุมตัวไป ระหว่างทาง พระพุธ ซึ่งเกิดเป็นสุนัข เห็นเข้า ก็สงสารพระจันทร์ จึงโดดเข้ากัดพระราหู พระจันทร์จึงหนีรอดไปได้
    ด้วยเหตุแห่งตำนานที่ว่านี้ ในทางโหราศาสตร์ จึงได้จัดให้ พระพุธ เป็นคู่ศัตรูกับพระราหู และ เป็นคู่มิตรกับพระจันทร์ , ส่วนพระเสาร์ กับ พระราหู นั้น เป็นมิตรกัน
    โหรสมัยโบราณนั้น ดูจะไม่ค่อยไว้วางใจดาวพุธเท่าไรนัก ดูเหมือนจะเกรงกลัวอำนาจของดาวพุธ ที่มาจรทับลัคนา หรือ ต้องกับดาวอื่น ๆ เปรียบเหมือนพุธเป็นดาวบาปเคราะห์ หรือน้อง ๆ ดาวบาปเคราะห์ที่ให้โทษดวงหนึ่งเลยทีเดียว ก็อย่างที่ผมบอกไว้แต่แรกน่ะแหละครับ อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจดาวพุธ เป็นอันขาด เพราะดาวพุธเป็นดาวที่รวนเรที่สุด เอาแน่นอนอะไรไม่ได้ ดีก็อาจจะดีใจหาย ถ้าร้ายก็อาจจะร้ายน่าดู
    จากสถิติที่ผ่านมา หลายคนครับ ที่โดนเขี้ยวงา งูกัด หมากัด แมลงกัดต่อย ฯลฯ ในช่วงที่พุธโคจรทับลัคน์ หรือทำอะไรติดขัดไปหมด ไม่ราบรื่น ในช่วงที่พุธทับลัคน์ เพราะพุธ เป็นดาวเจ้าเรือนอริของลัคนาโลกธรรมที่ราศีเมษ ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง พุธ มักจะเดินผิดปกติ คือพักร์ มนฑ์ เสริตบ่อยครั้ง อาจเป็นจังหวะที่พุธกำลังเดินผิดปกติอยู่ก็ได้ เลยก่อให้เกิดโทษได้ นอกจากจะกลัวดาวพุธแล้ว โหรโบราณยังกลัววันพุธอีกด้วย ถึงกับห้ามเด็ดขาด ในการแต่งงานวันพุธ และคนที่เกิดวันพุธ ตอนกลางคืน (คือ หลังพระอาทิตย์ตกดิน ถึงรุ่งเช้าวันใหม่ พระอาทิตย์ขึ้น วันพฤหัสบดี) ว่า เกิดในวันราหูเลยทีเดียวเชียว
    พระพฤหัสบดี ผู้เป็นใหญ่แห่งสวรรค์ (๑)
    ********************
    ในบรรดาดาราใหญ่น้อยของห้วงนภากาศ หากปราศจากดวงจันทร์เสียดวงเดียว ก็ยังมีดาวพฤหัสบดี นับว่าเป็นดาวที่สุกสว่างที่สุด จนได้รับฉายาว่า “ราชาแห่งดวงดาว”
    พระพฤหัสบดีโดยแท้จริง เป็นเพียงดาวพระเคราะห์บริวารดวงอาทิตย์แห่งสุริยระบบของเรา ถ้าเทียบกับดาราใหญ่น้อยบนท้องฟ้า พฤหัสบดีอาจจะเล็กกระจิ๋วหลิว บางดวงเป็นดาวฤกษ์ หรือเป็นกลุ่มจักรวาล แต่เพราะอยู่ไกล จึงเห็นแสงน้อยกว่า บางดวงก็ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเราเป็นร้อยเป็นพันเท่า แต่ถ้ามองบนโลกก็ต้องนับว่าดาวพฤหัสบดีสว่างที่สุด ย่อมทรงอิทธิพลทางศุภผลอย่างเต็มที่
    เพราะดาวพฤหัสบดีเป็นดาวศุภเคราะห์ จึงเป็นตัวแทนของฝ่ายธรรมะ และเป็นดาวที่ให้ลาภผล ให้ความสมบูรณ์พูนสุข และแก้ไขข้อขัดข้องให้ปลาตไป เพราะว่าดาวพฤหัสบดีมีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาดาวพระเคราะห์ด้วยกัน อันดาวบาปเคราะห์อื่นที่ว่าร้าย คือ อังคาร (๓) มฤตยู (๐) เสาร์ (๗) ราหู (๘) เนปจูน (น) พลูโต (พ) ถ้าพระพฤหัสบดี (๕) คุ้มอยู่แล้ว ก็พอจะแก้ไขได้
    เทพเจ้ารุ่นเก่าของอินเดีย พระพฤหัสบดี น่าจะคือ พระอินทร์ ด้วยถือสายฟ้า (วชิระ) เป็นอาวุธ ส่วนของกรีก เทพบิดรจูปีเตอร์ (เซอุส) ผู้สถิตอยู่บนยอดเขาโอลิมปัส ทรงสายฟ้าเป็นอาวุธ จูปีเตอร์ก็คือ ดาวพฤหัสบดี จึงน่าจะคล้ายกับพระอินทร์ ด้วยพระอินทร์นั้นทรงเป็นใหญ่ในสวรรค์ เทวดาของชาวพุทธ ก็ถือว่า พระอินทร์ทรงเป็นหัวหน้าเทวดา และเป็นเทวดาสัมมาทิฎฐิ
    แต่อินเดียรุ่นหลัง ได้แยกกันพระพฤหัสบดีออกมาต่างหาก เป็นเทวดาอีกองค์หนึ่ง ถือกันว่า พฤหัสบดี เป็นดาวครู เรียกกันว่า คุรุ วันพฤหัสบดีจึงถือว่าเป็นวันครูด้วย ดังได้กล่าวแล้วว่า เทวดารุ่นแรกนั้น พระอินทร์เป็นใหญ่ คติพุทธว่าทรงเป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในรามเกียรติ์ของอินเดียนั้น พระอินทร์แม้จะมีฤทธิ์ แต่เมื่อรบก็ยังแพ้อินทรชิตลูกทศกัณฐ์ด้วยซ้ำไป ไม่ยิ่งใหญ่เท่าจูปีเตอร์ ดาวพฤหัสบดี (๕) เทวดาฝรั่ง อำนาจของจูปีเตอร์ (เซอุส) นั้น ถึงแก่ปราบอสูร ปราบใครได้หมดบนสวรรค์ แต่ตอนนี้ เราจะมาศึกษาตามคติอินเดียกันเสียก่อน
    ในคัมภีร์ฤคเวท เรียกชื่อ ๒ อย่าง คือ พฤหัสบดี และ พรหมันสปติ ยกย่องกันว่าเป็นเทวดาที่เป็นใหญ่ และเป็นที่นับถือเหนือเทวดาทั้งหลาย กล่าวว่า พระองค์เป็นผู้อ่อนน้อม เสียสละ เป็นบรรพชิต ทรงเชื่อมระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า ทรงคุ้มครองมนุษยชาติ และขจัดความชั่วร้าย
    ในสมัยแรก พระพฤหัสบดี ทรงปรากฎองค์ในฐานะนักบวช มีวัตรปฏิบัติแบบพระ ด้วยมีพรรณนาอยู่ใน คัมภีร์ปุโรหิตา (ครอบครัวพระ) จนยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในสังคมสืบมา พระองค์จึงได้รับฉายาว่า “บิดรแห่งเทพเจ้า” ทรงมีอำนาจ และพลังสร้างสรรค์กว้างไพศาลมาก สัญลักษณ์ของพระองค์คือ“การเปล่งรัศมี” และ “สีทอง” ทรงมีพระสุรเสียงดุจดังฟ้าคำราม
    ต่อมาปรากฎเรื่องราวว่า ทรงปฏิบัติตนแบบฤษี รถทรงของพระองค์ซึ่งเรียกว่า “นิติโกษา” ขับเคลื่อนด้วยม้าสีเทา ๘ ตัว ในคัมภีร์กล่าวว่า พระองค์เป็นบุตรของฤษีอังคีรส จึงได้ชื่อว่า ผู้คุ้มครองอังคีรส ความที่ทรงใฝ่ในธรรมะ จึงถูกเรียกกันว่า อนิมิษาจารย์ จักษะ อิทยา อินเทศยา พระชายาของพระองค์ คือ นางดารา ซึ่งถูกพระโสม (พระจันทร์) ช่วงชิงเอาไป จนเกิดสงครามใหญ่ที่เรียกว่า ทาระกะมายา มีเทวดาถือหางทั้งสองข้าง ทางฝ่ายพระโสมนั้น มีผู้เข้าพวกด้วยคือ อุษานัส รุทธ ยักษ์ไดทะยะ กับ ทานวัส ส่วนพระอินทร์กับเหล่าบริวารเทวดานั้น เข้าข้างพฤหัสบดี ความรุนแรงของสงครามเกิดความสะเทือนไปถึงแกนกลางโลก จนพระพรหมต้องออกมาหย่าศึก แล้วบังคับให้พระโสมคืนนางดาราแก่พฤหัสบดีไป นางดารามีโอรสกับพระโสมติดมาด้วย คือ พระพุธ
    ยังมีในบางตำนานจากคัมภีร์อื่น เช่น คัมภีร์มัสยา และ ภควตา ปุราณะ กล่าวถึงฤษีได้รับน้ำนมจากโลกผ่านพระพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี คือ บิดาของภารัตวาจา เกิดจากมนทา ซึ่งคือ ภริยาของอุทยา กฎหมายโบราณฉบับหนึ่ง กล่าวถึงพระพฤหัสบดีว่า ทรงมีภาวะเป็นวยาสะ ในฐานะโลกบาลองค์ที่ ๔ บางคัมภีร์เรียกพระองค์ว่า ชีวะ หรือ ชีโว (คัมภีร์โหราศาสตร์โบราณมักเรียกชื่อนี้) บ้างก็เรียกว่า ผู้ทำให้ชีวิตดำรงอยู่, ดีดิวิสง (ผู้สว่าง) , ธิษานะ (ผู้มีปัญญา), ด้วยความที่ทรงเป็นเจ้าแห่งโวหาร จึงถูกเรียกว่า “กีสบดี” (เทพเจ้าแห่งการเจรจา)

    [​IMG]
    คัมภีร์เฉลิมไตรภพ อันเป็นคัมภีร์เกี่ยวกับโหราศาสตร์โดยตรง กล่าวว่า พระอิศวรทรงสร้างพระพฤหัสบดี โดยการเอาฤษี ๑๙ ตน มาร่ายเวทป่นให้ละเอียด แล้วเอาผ้าสีแสด (Bright red, Orange) มาห่อผงนั้น จึงประพรมด้วยน้ำอมฤต ได้บังเกิดเทพเจ้าขึ้น มีนามว่า พระพฤหัสบดี มีสีกายเป็นสีแก้วไพทูรย์ ทรงทิพยอาภรณ์ สุวรรณรัตนรูจี แจมด้วยมุกดาหาร และมีวิมานเป็นสีบุษราคัม กับทรงมฤคราช (กวางทอง) เป็นพาหนะ รูปเขียนมักเขียนเป็นรูปพระพฤหัสบดี เป็นฤษี ถือกระดานชนวน ขี่กวางทอง ซึ่งเป็นทัศนะตามโหราศาสตร์ ตามคติทั่วไปยุติกันว่า พระพฤหัสบดี ทรงมีอำนาจครองสีเหลือง อัญมณีสำหรับดวงชะตาผู้มีดาวพฤหัสบดีเด่น หรือ คุ้มครอง คือ บุษราคัม ซึ่งเป็นพลอยสีเหลือง ประจำเทพเจ้าดาวพระเคราะห์ดวงนี้
    ตำนานชาติเวรของดาวพระเคราะห์ กล่าวว่า ณ กาลครั้งหนึ่ง พระพฤหัสบดี เกิดเป็นนกอีลุ้ม พระจันทร์เกิดเป็นเหยี่ยว บินมาจับนกอีลุ้ม นกอีลุ้ม จึงหันไปหลบซุกซ่อนอยู่ในรอยเท้าโค เหยี่ยวบินโผลงมาปะทะมูลดินแห้งกับรอยเท้าโค อกแตกตาย กับอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวว่า ในกาลสมัยหนึ่ง พระจันทร์ มีความกำเริบ เพราะเหตุที่ทำพิธีราชสูระสำเร็จ จึงไปลอบลักพานางดาราผู้ซึ่งเป็นชายาแห่งพฤหัสบดีมา ครั้นผัวติดตามไปขอคืน ก็ไม่ยอมให้ ผลสุดท้ายเลยเกิดรบกันใหญ่ ระหว่างพวกเทวดากับเทวดาด้วยกัน ที่เรียกว่า “เทวาสุรสงคราม” ผลของการรบสงบลงด้วยมีพระพรหมมาห้าม และบังคับให้พระจันทร์ ส่งนางดาราคืนให้แก่พระพฤหัสบดี แต่ในระหว่างที่นางดาราได้ไปตกอยู่กับพระจันทร์ จึงได้เสียกับพระจันทร์ จนมีครรภ์กับพระจันทร์แล้ว ภายหลังเมื่อประสูติโอรสออกมา คือ พระพุธ
    จากเรื่องราวดังกล่าวนี้ ได้ข้อสรุปว่า พระพฤหัสบดี (๕) นั้น เป็นศัตรูกับพระจันทร์ (๒) ดังนั้น เมื่อดาวสองดวงนี้กุมกันในดวงชะตาผู้ใด ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี อย่างน้อยก็มักจะมีปัญหาอุปสรรคศัตรูเข้ามาเบียดเบียน ถ้าเป็นดวงชาย ก็มักจะเดือดร้อนใจเพราะผู้หญิง ถ้ามีภรรยา ก็มักจะคบชู้สู่ชาย ประพฤตินอกใจ หรือได้คู่อายุแก่กว่า ถ้าเป็นดวงหญิง ก็มักจะได้คู่ที่มีอายุแก่กว่ากันหลายปี มักมีปัญหากับพ่อแม่ผู้ปกครอง ไม่ค่อยอยู่ในโอวาท หรือรักนวลสงวนตัว ทำให้เสื่อมเสียแก่วงศ์ตระกูล ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น
    เทพเจ้าดาวพระเคราะห์ที่เป็นฤษีนั้นมี ๒ องค์ คือ พฤหัสบดี และ ศุกร์ พฤหัสบดีนั้นเป็นครูของฝ่ายธรรมะ ส่วนศุกร์นั้น เป็นครูของพวกร้าย เช่น พวกแทตย์ ทานพ อสูร เหตุนี้ เมื่อพระศุกร์เข้าข้างพระจันทร์ในคราวสงครามกับดาวพฤหัสบดี บรรดาศิษย์ของพระศุกร์ คือ พวกอสูร แทตย์ และทานพ ก็เข้าข้างพระจันทร์ด้วยในครั้ง “เทวาสุรสงคราม” จนโลกสะเทือนเลือนลั่นดังได้กล่าวมาแล้ว
    รูปจำหลักศิลาในอินเดีย เมื่อจำหลักพระพฤหัสบดี จะทำเป็นรูปฤษีสวมชุดหนังเสือ มือขวาถือลูกประคำ มือซ้ายถือกระดานชนวน บางรูปก็ทำเป็นฤษีหนีบกระดานชนวนไว้ที่สีข้างซ้าย บางรูปมี ๔ กร ถือกระดานชนวน แจกัน ไม้เท้า และหนังสือ
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับดาวพฤหัสบดี หรือ ผู้เกิดวันพฤหัสบดี ให้ใช้พระพุทธรูปปางสมาธิ และสวดบูชาบทขัดพระปริตร บทปุเรนตัมโพ
    เมื่อพฤหัสบดี เสวยอายุ กำลังดาวพฤหัสบดี มีถึง ๑๙ จึงให้ผลดียาวนาน แต่ก็มีบางครั้ง ส่วนไม่ดีก็มาแผ้วพานด้วย เพราะแม้ดาวพฤหัสบดีจะเป็นศุภเคราะห์ แต่ก็มีบาปเคราะห์ผลัดเวียนกันมาแทรกไปตามลำดับ
    พฤหัสบดีเป็นดาวครู เป็นที่รู้กันอย่างดี ตั้งแต่ชาวบ้านร้านถิ่นไปจนถึงวงการชั้นสูง วันพฤหัสบดี จึงเรียกว่า วันครู พิธีไหว้ครูต้องทำวันพฤหัสบดี จะทำวันอื่นไม่ได้ คนโบราณถือว่า วันนี้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นวันต้องห้าม จะเอาไปใช้ประกอบกิจกรรมอันเป็นโลกีย์วิสัย เช่น งานแต่งงาน, หมั้นหมาย, เปิดบาร์-ไนท์คลับ, สถานเริงรมย์, โรงภาพยนตร์ ฯลฯ ไม่ได้ ถ้าใครขืนทำ มักพบกับผลร้ายตามมา มากกว่าผลดีจะบังเกิด ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ เห็นมาเยอะแล้ว
    พฤหัสบดี นอกจากจะหมายถึงครูแล้ว ยังหมายถึง ศาสนา, สิ่งศักดิ์สิทธิ์, คุณงามความดีด้วย ดาวพฤหัสบดีเป็นประธานฝ่ายศุภเคราะห์ ซึ่งมีฤทธิ์แสดงผลในด้าน การเจริญเติบโต, การขยาย, การเพิ่มพูนรายได้, โชคลาภ, ส่วนใหญ่พฤหัสบดี จะเป็นตัวนำลาภผล ความสำเร็จ ความสมหวัง มาสู่บุคคล ซึ่งตรงกันข้ามกับดาวเสาร์ (๗) อันเป็นประธานฝ่ายบาปเคราะห์ จะแสดงผลในด้านอุปสรรค, การสูญเสีย, การล่าช้า, ความล้มเหลว, ผิดหวัง หดหู่เซื่องซึม และโชคร้าย
    ดาวพฤหัสบดี เป็นกุญแจสำคัญ ที่จะบันดาลให้ดวงชะตาของบุคคลพลิกฟื้นจากความล้มเหลว มาสู่ความสำเร็จสมหวัง การมีโชคลาภ ความสมปรารถนา พฤหัสบดี ย้ายราศีหนึ่งไปสู่ราศีหนึ่ง โดยปกติ ใช้เวลาหนึ่งปี ดังนั้น ดวงชะตาของบุคคลในแต่ละขวบปี อาจหันเหจากความเลวร้าย มาสู่ความดีก็ได้ แล้วแต่จังหวะแง่มุมที่ดาวพฤหัสบดีเคลื่อนย้ายราศีมาแสดงคุณให้
    พระศุกร์ จอมโลกีย์แห่งสวรรค์ (๑)
    ********************
    ดาวศุกร์เป็นดาวอันกระจ่างบนท้องฟ้า จะส่องประกายเจิดจ้าให้เห็นในยามเย็น ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า “ดาวประจำเมือง” แต่ถ้าปรากฎในยามเช้าตรู่ก่อนอรุโณทัย ก็จะเรียกกันว่า “ดาวประกายพรึก” เพราะเหตุด้วยดาวศุกร์มีปกติโคจร มักติดสอยห้อยตามอาทิตย์ไปตลอด บางฤดูกาลอยู่หน้าดวงอาทิตย์ บางฤดูกาลอยู่หลัง ดาวพระศุกร์เป็นพระเคราะห์ดวงเดียวที่ยกย่องกันว่า ทรงความแจ่มใส ความรื่นเริงชื่นบาน เป็นดาวที่อำนวยความสุขทางโลกีย์แก่มนุษย์โดยแท้ จนมีข้อห้ามว่า วันศุกร์เป็นวันรื่นรมย์ ไม่ควรเอาไปเผาผี จะเกิดการลักเพศ เดือดร้อนต่าง ๆ นานา ดังคำคล้องจองที่ว่า “เผาผีวันศุกร์ ให้ทุกข์คนยัง”
    แบบเดียวกับวันพฤหัสบดี อันเป็นวันครู ท่านห้ามมิให้เอาไปใช้แต่งงาน เพราะการแต่งงานเป็นเรื่องของโลกีย์ จะทำให้ดาวพฤหัสบดีมัวหมอง
    ในทัศนะของชาวอินเดีย ถือว่าศุกร์ของเขามีฤทธิ์มีเดช เป็นเพศชาย และเป็นอาจารย์ของฝ่ายที่ตรงข้ามกับเทวดา คือ พวกยักษ์ และอสูร เป็นต้น
    ส่วนศุกร์ในทัศนะของชาวกรีกโบราณถือว่า เป็นเทพธิดาผู้มีฤทธิ์ และเป็นเพศหญิง เธอผู้มีนามว่า เทพธิดาวีนัส เกิดจากฟองคลื่นในมหาสมุทร มีความงามเป็นเลิศ และเป็นเทพผู้อำนวยและคุ้มครองความรัก
    เราลองศึกษาพระศุกร์ในทัศนะของชาวภารตะ ซึ่งมีเรื่องราวที่ท่านรจนาไว้ดังนี้
    พระศุกร์ เป็นโอรสของภฤคุ และไดทะยะ (ไดทะยะคุรุ) พระองค์จึงมีฉายาว่า บุตรของกาลี ส่วนชายาของพระศุกร์ คือ อสุสรมา หรือ สต-ภาวะ พระราชธิดาของพระศุกร์ ผู้ทรงพระนามว่า เทวยานี ได้แต่งงานกับยะยาติ กษัตริย์แห่งจันทรวงศ์ สามีของนางไม่สู้จะเชื่อถือในพระศุกร์ จึงถูกพระศุกร์สาป
    พระศุกร์ยังทรงปัญญาและชาญฉลาด ทรงคือองค์เดียวกับอุสานะ ผู้แต่งบทบัญญัติทางในกฎหมายหริวงศ์ พรรณนาไว้ว่า พระองค์เสด็จไปหาพระศิวะเพื่อขอให้พระศิวะทรงช่วยคุ้มครองพวกอสุราในการต่อสู้กับเทวดา เพราะพระศุกร์เป็นอาจารย์ของยักษ์ และพวกฝ่ายตรงข้ามกับเทวดา
    เพื่อที่จะให้ทรงมีฤทธานุภาพยิ่ง ๆ ขึ้น พระศุกร์ได้บำเพ็ญเพียรปฏิบัติโยคะ ทำ “ทุกรกิริยา เอาหัวห้อยลง แล้วยังสูดควันกองฟางนับพันปี
    เมื่อเกิดสงครามเทวาสุรสงคราม (คราวพระจันทร์แย่งนางดารา) ผู้เป็นชายาของพระพฤหัสบดีไป เกิดสงครามใหญ่บนสวรรค์ ในขณะพระศุกร์ไปช่วยยักษ์รบกับเทวดานั้น พระวิษณุได้ประหารมารดาของพระองค์เสีย พระศุกร์จึงสาปพระวิษณุให้ลงมาเกิด ๗ ครั้งบนโลกมนุษย์ และคำสาปของพระศุกร์นั้น ศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นผลให้พระนารายณ์ต้องอวตารลงมาเกิดบนมนุษย์โลก เพื่อปราบยุคเข็ญถึง ๗ ครั้ง บนโลกมนุษย์ เป็นไปตามคำสาป จากนั้นก็ทำพิธีชุบมารดาขึ้นมาใหม่ ฝ่ายเทวดาต้องคอยขัดขวาง เพื่อมิให้พิธีนั้นประสบความสำเร็จ มิฉะนั้นพระศุกร์จะมีฤทธิ์มากขึ้น พระอินทร์จึงส่งพระธิดาของพระองค์ ผู้มีนามชยันติ ให้ไปล่อลวงทำลายตะบะพระศุกร์เสีย
    แต่นางชยันติ ชะรอยจะรักพระศุกร์ จึงไปรอจนพระศุกร์สำเร็จการประกอบพิธี แล้วจึงบอกความจริงให้ทราบในภายหลัง พระศุกร์ได้นางมาเป็นพระชายา
    พระศุกร์เป็นอาจารย์มีชื่อเสียง ผู้นับถือพระศุกร์จึงเรียกพระองค์ว่า ภควา บ้างก็เรียกพระองค์ว่า ภิกขุ แต่ที่จริงนั้น พระองค์ทรงมีพระนามที่เรียกขานกันต่าง ๆ ดังนี้
    กาวี หรือ กาวยะ, กวี เป็นดาวพระเคราะห์ที่มีนามว่า อปูชิต, มฆภาวะ (บุตรของมฆะ), โสรสานสู (ผู้มีรังสี ๑๙ รังสี) และ เศวต (ขาว)
    เทวดาพระเคราะห์ศุกร์ มักจะมีผู้ทำรูปพระองค์เป็นเทวดาเพศชาย มี ๒ กร (บ้างก็มี ๔ กร ที่มีสี่กรนั้น ถือแจกัน ไม้เท้า ลูกประคำ และ คทา บางทีก็มีรูปพระศุกร์เสด็จประทับยืนบนรถเทียมม้า ๘ หรือ ๑๐ ตัว สีกายของพระองค์ที่นิยมทำในอินเดีย มักจะทำเป็นสีขาว แต่ในไทยนั้นถือว่า พระศุกร์ต้องสีฟ้า หรือ สีน้ำเงิน จำพวกอัญมณีสำหรับดาวศุกร์ ก็คือ ไพลิน พลอยสีฟ้า หรือ สีขี้นกการเวก ที่เรียกว่า ราชาวดี
    ดาวศุกร์ ถ้าสัมพันธ์กับลัคนาแล้ว โหรฝ่ายฮินดู นับถือกันนักว่า มักรู้อดีต ปัจจุบัน และอนาคต และว่าจะมีความสุขกับคู่ครอง พระศุกร์ท่านรู้เวทมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ อาจชุบคนที่ตายแล้วให้ฟื้นขึ้นได้
    ดาวศุกร์ หรือ พระศุกร์ ในทัศนะของชาวอินเดียถือว่า มีฤทธิ์เดชมาก บางทีดาวศุกร์จะเป็นตัวโลกีย์ฌานละกระมัง เพราะพระเถระที่เก่งในทางอิทธิฤทธิ์ ส่วนใหญ่มักจะมีดาวศุกร์สัมพันธ์กับดวงชะตาทั้งสิ้น ข้อนี้ เมื่อนึกถึงคำคล้องจองเกี่ยวกับคุณสมบัติของดาวศุกร์ ท่านกล่าวว่า “ดูโภคสมบัติ ให้ดูศุกร์”
    ข้อนี้แหละที่ชวนพิศวง ในทัศนะของคนไทยถือว่า อิทธิพลของดาวศุกร์ มักบันดาลให้ร่ำรวยและมีโภคสมบัติ จนกระทั่งโหรโบราณเขาดูศุกร์ตัวเดียว ถ้าศุกร์เด่นสัมพันธ์ดีกับลัคนา เขาทายว่า จะมีหลักฐาน มีโภคสมบัติ และก็ถูกต้องทุกรายไป
    แต่สำหรับฝรั่ง โดยเฉพาะชนชาติกรีกแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ถือว่าเทพีวีนัส เกิดจากฟองสมุทร และเป็นเทพธิดาแสนสวย ทั้งยังเป็นเทพธิดาแห่งศิลปะกับความรัก
    จากทัศนะของเรื่องราวแต่ละท้องถิ่นของโลก เป็นการมองสภาวะของดาวศุกร์คนละแง่ คนอินเดียกับคนไทยส่วนใหญ่ ประเพณีแต่งงานมักคลุมถุงชน ไม่ค่อยใส่ใจในความรัก ถ้าพอใจอิสตรีและมีเงินมากพอ ก็อาจจะแสวงหาภริยาน้อยมาบำเรอตนเท่าไรก็ได้ ส่วนฝรั่งนั้นเขาถือประเพณีผัวเดียวเมียเดียว จึงถือความรักเป็นใหญ่ และถือในด้านศิลปะ ชาวยุโรปเพ่งเล็งถึงเรื่องความรัก เรื่องศิลปะ เรื่องความสวยงามของบ้านเมือง ดูแล้วก็ตรงกับลักษณะโภคสมบัติของไทย
    การศึกษาเทพนิยายทั้งทางอัสดงคตประเทศ กับทางฝ่ายบุรพทิศ แล้วเอามารวมกันเข้า เราก็จะได้ลักษณะอันแท้ของดาวศุกร์ ทำให้สามารถที่จะตีความเกี่ยวกับดาวพระเคราะห์ดวงนี้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ดังเช่น คุณสมบัติของดาวศุกร์ เท่าที่เราแสวงหาได้ คือ เป็นดาวศิลปะ ความรัก ความรื่นเริง เป็นผู้ทรงคุณความรู้ฝ่ายโลกีย์ มีฤทธิ์ฝ่ายโลกีย์ฌาน มีอำนาจเหนือยักษ์มาร
    การศึกษาเรื่องดาวศุกร์ จึงมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาให้เข้าใจกันเสียก่อน ถ้าเข้าใจเสียตอนนี้ ต่อไปข้างหน้าจะไม่ต้องเกิดความพิศวงสงสัยขึ้นมาอีก
    พระศุกร์ในคัมภีร์เฉลิมไตรภพ รจนาไว้ว่า “พระอิศวร ทรงนำวัว ๒๑ ตัว เอามาร่ายพระเวทจนป่นละเอียด จากนั้นก็พรมด้วยน้ำอมฤต กลายเป็นพระศุกร์ มีวิมานเป็นสีทอง (น่าจะเป็นแก้วน้ำเงิน) ทรงพระโคอุสุภราชเป็นพาหนะ แล้วมอบให้เป็นผู้รักษาเขาพระสุเมรุทางทิศอุดร”

    [​IMG]
    ตอนนี้เราลองศึกษาพระศุกร์ในแง่เป็นอาจารย์ของพวกอสูร ทานพ และแทตย์ ซึ่งมีพรรณนาไว้ในปางวามนาวตาร คือ
    พระศุกร์ เป็นปุโรหิตของท้าวพลี และพวกแทตย์ ยกทัพขึ้นไปรุกรานพระอินทร์ พระอินทร์จึงไปเฝ้าพระกัศยปเทพบิดร ขอให้พระนารายณ์อวตารเป็นพราหมณ์หนุ่ม ผู้มีนามว่า วามน พระวามน พราหมณ์หนุ่ม ได้ไปขอดินแดนต่อท้าวพลีชั่ว ๓ ย่าง ท้าวพลีก็อำนวยให้ โดยออกปากยกให้ แม้พระศุกร์ผู้เป็นอาจารย์จะรู้เท่าทัน จะคอยท้วงห้ามปรามมิให้ท้าวพลีรับคำ ท้าวพลีมีกรรมบังตา กลับไม่ฟังเสียง
    พระศุกร์ผู้เป็นอาจารย์ จึงแปลงกายเข้าไปอยู่ในพระเต้า เมื่อท้าวพลีรินน้ำอุทิศให้ น้ำจะไม่ไหลออก พระวามนรู้ทัน จึงเอายอดหญ้าคาตำลงไปในรูน้ำเต้า ถูกตาของพระศุกร์เจ็บปวด เลยไม่อาจกั้นน้ำไว้ได้ ท้าวพลีจึงหลั่งน้ำอุทิศให้ตามประเพณีโบราณ
    ตำรามูลพยากรณ์เล่าไว้สำหรับประโยชน์ในการจดจำว่า พระศุกร์กับพระเสาร์เป็นศัตรูกัน พระศุกร์กับพระอังคาร เป็นมิตรกัน ครั้งหนึ่ง พระอังคารไปเกิดเป็นกบ พระเสาร์เกิดเป็นงู พระศุกร์เกิดเป็นรุกขเทวดา งูเห็นกบก็เข้าไล่จะกิน กบหนีเข้าไปในโพรงไม้ของรุกขเทวดา รุกขเทวดาจึงตวาดงู งูตกใจหนีไป กบจึงพ้นจากงูกินฉะนี้
    สำหรับการพรรณนาพระศุกร์ออกเป็นรูปปั้น รูปเขียน ก็จะต้องอาศัยความที่ท่านพรรณนาไว้ กล่าวคือ พระศุกร์ท่านเป็นอาจารย์ของอสูรและแทตย์ ดังนี้ ถึงหน้าตาของท่าน ก็ควรจะเป็นแบบแทตย์ (ลักษณะกึ่งอสูร กึ่งคน) การแต่งเนื้อแต่งตัวก็ต้องให้มีมุ่นชฎาแบบฤษี สีผ้าเป็นสีจำปา ด้วยเป็นสีคล้ายหนังเสือ ทรงขี่โคอุสุภราช ดังลักษณะที่กล่าวไว้แต่ต้นว่า บางตำราว่ามี ๔ กร เป็นเทวดาพระเคราะห์ มือทั้งสี่ถือ แจกัน ไม้เท้า ลูกประคำ และคทา พระศุกร์บางทีก็เทียมรถม้า ๘ หรือ ๑๐ ตัว
    สิ่งบูชาสำหรับดาวศุกร์ หรือ ผู้เกิดวันศุกร์ หรือเมื่อพระศุกร์เสวยอายุ ศุกร์เข้าเสาร์แทรก (เบญจเพส) ให้บูชาพระพุทธรูปปางรำพึง แล้วสวดด้วยคาถาบทขัดธชัคคสูตร การสวดต้องให้ได้ ๒๑ จบ ตามกำลังของดาวศุกร์ที่มีอยู่ ๒๑
    พระเสาร์ เทพเจ้าแห่งความทุกข์ระทม (๒)
    ********************
    มารับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพระเสาร์ จากตำนานของไทย ที่ตกทอดมาจากอินเดียอีกต่อหนึ่งกล่าวไว้ว่า พระเสาร์ เป็นโอรสของพระสุริยเทพ (พระอาทิตย์) กับ นางฉายา แต่ในบางคัมภีร์ก็ว่า ทรงเป็นโอรสของ บาลารามะ กับ นางเรวดี พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักกันดีในนาม อาระ โกณะ และ โกรทา และด้วยการคุ้มครองการครอบงำของเสาร์ อิทธิพลของเทพเจ้าดวงนี้ ให้โทษร้ายแรง ยังมีชื่ออื่นอีกที่เรียกพระองค์ คือ ครูราทีส (ผู้มีตาอันชั่วร้าย) พระองค์ คือ มันทะ “ผู้เชื่องช้า” และ บันกู “ผู้ขาพิการ”
    ที่เรียกว่า “ผู้ขาพิการ” นี้ ก็แปลก คือ ประวัติของพระเสาร์ กล่าวว่า พระองค์ขาเสียข้างหนึ่ง ว่าถึงในดวงชะตาผู้ใด ถ้าเสาร์กุมลัคน์ มักจะขาพิการ มิฉะนั้นก็เดินขาพันกันเหมือนงู บางตำราว่า เสาร์ คือ งู การเดินจึงแปลกไป เพราะงูส่วนใหญ่ใช้อาการเลื้อย ซึ่งมีลักษณะอาการ คดเคี้ยวไปมา ไม่มีงูตัวไหนเลื้อยเป็นเส้นตรงได้ ส่วนที่เรียกว่า “ผู้เชื่องช้า” นั้น ก็เพราะ ดาวเสาร์เป็นดาวใหญ่ มักมีผลทำให้กิจการงานต่าง ๆ ที่ดำเนินอยู่ ต้องเชื่องช้า หรือ แชเชือนออกไป เสาร์ทำให้มีอุปสรรคเกิดขึ้น ชื่อของพระเสาร์ยังมีอีก คือ สาเนส- จารา (ผู้เคลื่อนไปช้า ๆ ) , สรรพทาฉิ (ผู้มีรังสี ๗ รังสี) และ อสิตา (ผู้มืด)

    [​IMG]
    จากตำนานโหราศาสตร์ เล่าว่า พระอิศวรผู้เป็นเจ้า ได้เอาเสือ ๑๐ ตัว ตามกำลังของดาวเสาร์ โดยร่ายพระเวทให้เสือป่นลงเป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีดำ (สีของดาวเสาร์) พรมด้วยน้ำอมฤต บังเกิดเป็นเทพบุตร มีนามว่า พระเสาร์ มีกายสีดำ (อสิต) บ้างก็ว่าสีเขียวแก่คล้ำ คำว่า “อสิต” แปลว่า ดำ เป็นสีของราตรีอันมืดมิด ทรงอาภรณ์สีดำ ขาพิการ มีรัศมี ๗ แฉก วิมานสีมรกต ทรงเสือเป็นพาหนะ
    ในปกรณ์อีกแห่งหนึ่งกล่าวว่า พระเสาร์ เป็นคนชาติศูทร อีกตำราหนึ่ง ว่าเกิดใน กัศยปโคตร ว่าเสาร์ มีเพศเป็นกะเทย รูปร่างก็เช่นลักษณะดาวเสาร์ คือ ตาสีน้ำผึ้ง มีแววดุ ร่างผอมสูง ผิวดำจัด ฟันใหญ่ ผมหยาบเหมือนขนลา พัสตราภรณ์สีดำ มีอาวุธ คือ ศูล และ ธนู ใช้นกแร้งเป็นพาหนะ หรือ กาก์ (น่าจะเป็นอีกา)
    ตำนานคำพยากรณ์เล่าว่า เสาร์ เป็นพญานาค หรือ งูใหญ่ พระอังคาร เป็นหมองู ได้จับเอางูไปทรมานให้คนดู งูได้รับความลำบากเป็นอันมาก อีกเรื่องหนึ่ง คือ พระเสาร์ เป็นไม้ตะเคียน พระอังคาร เป็นพระยาโปริสาต ขณะไปล่าสัตว์ในป่า ไปสะดุดตอตะเคียนโดนเสี้ยนตำ ได้รับทุกข์ทรมานมาก จากตำนานคำพยากรณ์ที่ว่าไว้ ในทางโหราศาสตร์ หากเสาร์ (๗) กับ อังคาร (๓) จรถึงกัน คือ ทับกัน เล็งกัน หรือ กากบาทกัน ต้องระวังอันตรายอันเกิดจากเสี้ยนหนาม ปืนผาหน้าไม้ ของมีคม หรือไม่เช่นนั้น มักจะเหนื่อยกาย เหนื่อยใจ ได้รับทุกขทรมานอย่างแสนสาหัส
    ในด้าน พระพุทธรูปประจำวันเสาร์ หรือ พระเสาร์ ให้ใช้ ปางนาคปรก เป็นพระพุทธรูปประจำตน หรือผู้ที่ดาวเสาร์เสวยอายุ หรือ ให้โทษแก่ดวงชะตา เช่น ทับลัคน์ หรือ เล็งลัคน์ ควรบูชาพระพุทธรูปปางนาคปรก ด้วยพระคาถา ยะโตหัง ฯ จะช่วยคุ้มครองฤทธิ์ร้ายของพระเสาร์ได้
    รูปบูชาพระเสาร์ นอกจากรูปพระเสาร์ขี่เสือถือธนู กับ ศูล (หอกสั้นปลายง่ามเดียว ในภาพประกอบเรื่อง มี ๓ ง่าม เรียก ตรีศูล) บางรูปก็นิยมให้พระเสาร์ขี่พญาแร้ง มี ๒ กร ถือศูลและธนู เช่นกัน ที่อินเดียมีรูปพระเสาร์แปลกไป คือ มี ๔ กร ถือ ธนู ทวน และศูล บางรูปเป็นเทพยืนบนหลังแร้ง อันเป็นพาหนะ มี ๒ กร ถือไม้เท้า และแจกัน บ้างก็เป็นพระเสาร์ ถือไม้เท้า และลูกประคำ รถทรงเทียมด้วยแร้ง ๘ ตัว
    จากตำนานพระอาทิตย์ดังกล่าวข้างต้น ถือว่า พระเสาร์เป็นโอรสของพระอาทิตย์ กับ นางฉายา พระเสาร์เป็นเจ้าแห่งการกสิกรรม การที่จะหว่านเมล็ดข้าว หรือ พืช จะต้องบวงสรวงบูชาพระเสาร์ก่อน จึงจะเกิดผลดี
    เสาร์ในทัศนะคัมภีร์อียิปต์โบราณ แทนตัวเลข ๑๓ เป็นรูปโครงกระดูก ขี่ม้า ถือเคียวขนาดยักษ์ คอยเกี่ยวชีวิต พร่าชีวิตมนุษย์ให้ไปสู่โลกของความตาย เสาร์จึงเป็นดาวแห่งมหันตทุกข์โดยแท้
    ดาวพระเคราะห์เสาร์ ในทัศนะของฝรั่ง เสาร์ คือ โครนัส เจ้าแห่งสวรรค์ ที่ถูกเซอุส หรือ จูปีเตอร์ บุตรคนสุดท้องยึดอำนาจได้ และปกครองสวรรค์สืบต่อมา ซึ่งเรื่องเดิมนี้ เป็นปฐมกำเนิดของเทพเจ้ากรีก และ โรมัน โดยแท้
    เรื่องมีอยู่ว่า สมัยปฐมของสวรรค์นั้น โลกและสวรรค์ได้อุบัติขึ้นเอง เดิมทีเดียวนั้น สรรพธาตุต่าง ๆ รวมตัวกันเป็นหมอกมหึมา เรียกว่า เชาวส์ หรือ เคออส เต็มไปด้วยความมืดมนอนนธกาลหลายกัปป์หลายกัลป์ ต่อมา โลก ก็อุบัติขึ้นมาเป็นมวลอันไพศาล มีสัญลักษณ์เป็นจอมมารดาของปวงสรรพสิ่ง มีนามว่า จี หรือ เจีย แวดล้อมด้วยสวรรค์ อันเป็นดวงดาวพร่างพรายดารดาษไปทั่ว เรียก สวรรค์เป็นเพศชาย นั้นว่า ยูเรนัส ทั้งยูเรนัส กับ เจีย มีมหิทธิฤทธิ์เหลือที่จะประมาณได้ อาจบันดาลให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด อาจรังสฤษดิ์ใคร ๆ ก็ได้ แล้วแต่ปรารถนา
    ภายหลังเมื่อบทกวีนิพนธ์ พรรณนาภาพพจน์นี้อย่างละเอียด ก็ได้เหตุสาวต่อไปว่า เคออส คือ ปฐมเทพ ส่วน จี หรือ เจีย คือ เพศหญิง ได้ร่วมสมพงษ์กัน และก่อกำเนิดบุตรขึ้นมา เรียกว่า เอรีบัส ซึ่งก็คือ ความมืด หรือ เทพแห่งความมืด ได้สืบต่อจากเคออส ครองโลกานุโลกในอวกาศ มีกำเนิดบุตรสองคน คือ อีเธอร์ (เทพเจ้าแห่งแสงสว่าง) กับ เฮเมอรา คือ ทิวาเทพ บุตรสองคนนี้ เมื่อสมสู่กัน ก็ได้ยึดอำนาจ ถอดผู้ให้กำเนิดออกจากฐานอำนาจ แล้วตั้งตนเป็นใหญ่แทน
    อีเธอร์ กับ เฮเมอรา จึงให้บุตร คือ กามเทพ หรือที่เรียกว่า คิวปิด มาช่วยกันสร้างโลกกับทะเลขึ้น (ในขั้นแรก ตำนานกามเทพเกิดมาแล้วแต่รุ่นแรก มาสมัยหลัง กลายเป็นว่า กามเทพเป็นบุตรของวีนัส เทพีแห่งความรัก) แผ่นดิน กับ ทะเล ภูเขา ถูกสร้างขึ้นมาพร้อมกับสัตว์ จากนั้นสวรรค์ จึงถูกเนรมิตขึ้นมาบ้าง
    จี กับ ยูเรนัส มีบุตรและธิดา ๑๒ องค์ เป็นยักษ์มหึมา ชื่อ ไทแทน บิดากลัวความใหญ่โตของบุตร เหลือประมาณ จึงจับไปขังไว้ใต้บาดาลลึกที่เรียกว่า ทาร์ทะรัส จองจำไว้อย่างแน่นหนา ส่วนโครนัสลูกคนสุดท้อง ได้รอดมาได้ โดยเจ้าแม่จี ปล่อยให้หลุดจากพันธนาการ พร้อมกับมอบอาวุธให้เป็นเคียวเกี่ยวข้าวเล่มใหญ่
    โครนัสนี่เอง คือ ดาวพระเสาร์ คำว่า โครนัส แปลว่า กาลเวลา และได้จู่โจมจับบิดาได้ ยูเรนัสผู้บิดาโกรธ จึงสาปแช่งให้โครนัส ถูกลูก ๆ แย่งอำนาจในภายหน้า นี่เอง เป็นสาเหตุให้โครนัส เทพเจ้าดาวเสาร์ ต้องกลืนกินลูกตนเอง ขังเอาไว้ในท้อง แต่ที่สุด เขาก็ถูกจูปีเตอร์ ลูกคนสุดท้องแย่งอำนาจจนได้ ดังเล่าไว้แต่แรกแล้ว ทั้งยังถูกบังคับให้สำรอกเอาบุตรคนอื่น ๆ ที่ถูกกลืนไว้ในท้อง ให้หลุดออกมาด้วย เช่น พลูโต เนปจูน ฯลฯ เป็นต้น
    ดาวพระเคราะห์เสาร์จึงเป็นดาวพระเคราะห์แห่งกาลเวลา ที่คอยเก็บเกี่ยวชีวิตมนุษย์ให้ล่วงพ้นไปด้วยความชรา และ ความเจ็บไข้ โบราณจึงถือว่า ดาวพระเสาร์เป็นดาวทุกข์โทษด้วยประการฉะนี้ กาลเวลาได้กลืนหมดทุกสิ่งทุกอย่าง จากปัจจุบันกลายเป็นอดีต ไม่มีสิ่งใดที่จะล่วงพ้นกฎเกณฑ์นี้ไปได้
    ดาวเสาร์ มีสีดำ ด้วยสีดำเป็นสีของความตาย ความเสื่อมสลายของสรรพสิ่งต่าง ๆ ทุกสิ่งไม่อาจพ้นอำนาจของอนิจจังไปได้
    จากเรื่องราวที่ได้มีการบันทึก เล่าเรื่องสืบต่อกันมา ในเรื่องของพระเสาร์ หรือ ดาวพระเคราะห์อื่น ๆ ที่ได้นำเสนอก่อนหน้านั้น จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อของชาวตะวันออก หรือ ตะวันตกก็ตาม ประวัติของเทพเจ้าแต่ละองค์ มักจะเกี่ยวข้องพัวพัน เป็นวงศาคณาญาติกัน และมักจะมีเวรกรรมผูกพันกัน สืบทอด “กฎแห่งกรรม” กันต่อมาเป็นทอด ๆ เช่น การแย่งชิงอำนาจของโครนัส หรือ พระเสาร์ ที่แย่งชิงอำนาจจากบิดา คือ ยูเรนัส และในที่สุด ก็ถูกจูปีเตอร์ หรือ พระพฤหัสบดี แย่งชิงอำนาจไปอีกต่อหนึ่ง แม้แต่เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด ก็ยังไม่อาจล่วงหลุดพ้นกฎแห่งกรรมไปได้ แล้วเราท่าน ที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดวงดาว หรือ กรรมแต่ปางก่อนส่งผลมาให้ในปัจจุบัน แน่ใจล่ะหรือ ว่าจะ “หนีพ้นกฎแห่งกรรม” ไปได้โดยง่าย ด้วยวิธีการเซ่นบวงสรวงบูชาเทพเจ้าประจำดวงดาว โดยเฉพาะ พระราหู อย่างที่รู้ ๆ เห็น ๆ กันอยู่ ลองตรองดูนะครับ จะได้ไม่เป็นเหยื่อรายต่อไป
    เรื่องของพระเสาร์ในคัมภีร์ของทางฝ่ายอินเดีย ดูเหมือนจะไม่มีบทบาทอะไรมากนัก ทั้งที่บรรดาดาวพระเคราะห์ที่ให้โทษแล้ว เห็นจะไม่มีดาวใด ที่จะแสดงฤทธิ์เดชแห่งความชั่วร้ายได้เท่าดาวเสาร์ ซึ่งดาวเสาร์เป็นดาวร้ายขนาดได้ฉายาว่าเป็น “ประธานฝ่ายบาปเคราะห์” โบราณาจารย์ท่านจึงกล่าวไว้ว่า “ดูโทษทุกข์ให้ดูเสาร์” ด้วยเสาร์หมายถึง อุปสรรค ความเศร้า การพลัดพราก ความเจ็บไข้ และภาระอันหนักหน่วงของชีวิต
    โหราศาสตร์สากล ได้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับดาวเสาร์ไว้ว่า “ดาวเสาร์ มีความหมายถึง เรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย, หนี้สิน, มรดก, อาคารเก่าแก่, คนสูงอายุ, การพิมพ์, การบริหารงาน, การขุดค้น, ทำงานกลางดิน, การหว่าน, คฤหาสน์, ที่ดิน, เหมืองแร่, ของหนัก, การติดต่อกับนักกฎหมาย, ปุ๋ย และการร่วมทุน”
    ความหมายเหล่านี้ เป็นความหมายที่นักโหราศาสตร์ได้ให้คำนิยามไว้นานแล้ว สมัยเมื่อยังไม่ได้มีการค้นคว้าความสำคัญของดาวพระเคราะห์ใหม่อีก ๔ องค์ คือ มฤตยู, เนปจูน, พลูโต และแบคคัส ซึ่งบางอย่างนั้น อาจจะหมายถึงดาวอื่น เช่น การขุดค้นทางโบราณคดี การขุดสมบัติ และการขุดเหมืองแร่ ควรเป็นหน้าที่ของดาวพลูโต ด้วย สมบัติใต้ดินนั้น ย่อมเกี่ยวข้องกับดาวพลูโตโดยตรง (รายละเอียดติดตามในเรื่องของดาวพลูโต)
    คฤหาสน์ใหญ่ ควรเกี่ยวกับดาวเนปจูน ด้วยเนปจูนนั้น มีความหมายเกี่ยวกับ ความลึกลับซับซ้อน ความห่างไกลสุดลูกหูลูกตาดุจท้องทะเลหรือมหาสมุทร คฤหาสน์ที่ใหญ่ พระราชวัง หรือ อาคารที่ใหญ่โต มีหลายชั้น หลายห้อง หลายด้าน ยากที่จะเดินได้ทั่วถึงโดยง่าย ควรเป็นเรื่องของเนปจูน
    อิทธิพลดาวเสาร์ของไทย มีความหมายดังนี้ ถ้าเป็น บุคคล หมายถึง บุคคลที่ค่อนข้างขี้เหร่ รูปร่างสูง ผิวเนื้อดำ หลังค่อม ท่าทางเซื่องซึม เงื่องหงอย ไม่ค่อยช่างพูด ทำงานก็ชักช้าอืดอาด ไม่ทันอกทันใจ การที่จะพรรณนาลักษณะบุคคลดาวเสาร์ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง ควรเอาลักษณะของราศีมังกร ซึ่งเป็นราศีเกษตรของเสาร์มาผสมผสานด้วย
    ราศีมังกร หรือ งู โบราณท่านจึงกล่าวว่า คนลักษณะเสาร์มักเดินขาพันกันเหมือนงูเลื้อย ลักษณะผิวดำตามสีของเสาร์ ลำตัวยาว แขนขายาว นิ้วมือยาว โหราศาสตร์สากล กล่าวถึงราศีมังกรไว้ว่า ถ้าเป็นอวัยวะในร่างกาย หมายถึง หัวเข่า ผิวหนัง ผม กระดูก และม้าม
    พระราหู เทพอสูรผู้อหังการ์ (๓)
    ********************
    ก่อนที่จะได้สดับเรื่องราว ความแค้นเคือง ระหว่าง พระราหู กับ พระอาทิตย์ และพระจันทร์ เรามาพิจารณาเรื่องราวประวัติความเป็นมาของพระราหูในทางโหราศาสตร์ และเรื่องของชาติเวรกับดาวพระเคราะห์คู่มิตร คือ เสาร์ และ พระเคราะห์คู่ศัตรู คือ พุธ กันก่อนนะครับ
    ในคัมภีร์โหราศาสตร์ ได้บันทึกเรื่องราวกำเนิดพระราหูเอาไว้ว่า พระอิศวรผู้เป็นเจ้า สร้างพระราหูขึ้นโดยใช้ศีรษะผีโขมด ๑๒ หัว มาป่นลง แล้วประพรมด้วยน้ำอมฤต ก็บังเกิดเป็นองค์พระอสุรินทร์เรืองฤทธิ์ มหิทธานุภาพ เกรียงไกรขึ้น มีสีกายเป็นทองสัมฤทธิ์ (ดำสลัว – Dark) ทรงทิพย์สุวรรณแสงสีใสสะอาด และมีวิมานเป็นสีนิล มีมหาสุบรรณราช (พญาครุฑ) เป็นพาหนะ สถิตย์ในทิศพายัพ มีกำลัง ๑๒ ธาตุลมพายุ

    [​IMG]
    จากคัมภีร์โหราศาสตร์ ท่านจะเห็นว่า โหรโบราณนั้นยกย่องพระราหู เป็นเทพที่สำคัญองค์หนึ่ง ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ และ พระเสาร์ ในคัมภีร์ดังกล่าว ไม่ได้บอกเลยว่า พระราหูนั้น เป็น อสูร ยักษ์มาร มีหน้าตาดุร้าย แถมยังให้อยู่ทิพย์วิมานดุจเดียวกับเทวดา และมีพาหนะเป็นครุฑ ดุจเดียวกับพระนารายณ์เสียอีก
    พระราหูนั้น เป็นศัตรูกับพระพุธ เป็นมิตรกับพระเสาร์ ในทางโหราศาสตร์ และมักจะไม่ลงรอย หรือ มักให้โทษกับดาวทุกดวง เช่น พระอาทิตย์ พระพฤหัสบดี พระอังคาร ดังเรื่องราวที่จะนำเสนอ คือ
    ในอดีตปฐมกาลล่วงมาแล้ว พระอาทิตย์ (๑) เกิดเป็นพญาครุฑ พระพฤหัสบดี (๕) เกิดเป็นพระอินทร์ พระเสาร์ (๗) เกิดเป็นพญานาค และ พระอังคาร (๓) เกิดเป็นพญาราชสีห์ ทั้งหมดดำริที่จะสร้างสระน้ำไว้ให้เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์และเทวดา จึงพากันไปปรึกษาพระราหู (๘) พระราหูกล่าวว่า เราไม่ได้อาศัยน้ำและแผ่นดินนั้นด้วย แต่นั้นมา เทวดาทั้ง ๔ ก็เคียดแค้นต่อพระราหู ครั้นประชุมกันสร้างมหาสระ ชื่อว่า “สุรามฤต” เสร็จแล้ว ก็คิดอ่านช่วยกันรักษา ฝ่ายพระอินทร์ (๕) รักษาทางด้านเขาพระสุเมรุ พญาครุฑ (๑) รับรักษาทางด้านเขาสตบริภัณฑ์ พญาราชสีห์ (๓) รับรักษาทางป่าหิมพานต์ พญานาค (๗) รับรักษาทางด้านมหาสมุทร เป็นดังนี้อยู่จำเนียรกาลนานมา เกิดภัยพิบัติ เหตุวันหนึ่ง พญาครุฑ (๑) ไล่จะจิกกินพญานาค (๗) พญานาค หนีไปพึ่งพระราหู (๘) ขอร้องให้ช่วยชีวิต พระราหูเห็นดังนั้น จึงตวาดว่า เหวยครุฑใจบาป เองมาไล่พวกข้าทำไม พญาครุฑ ตอบว่า นาคนี้เป็นอาหารของเรา พระราหูโกรธทยานเข้าวิ่งไล่ พญาครุฑ (๑) ก็แล่นหนีไปพึ่งพระอินทร์ (๕) พระราหูไม่อาจไล่เข้าไปได้ก็หยุดอยู่ และเกิดกระหายน้ำเป็นกำลัง จึงลงไปกินน้ำในสระสุรามฤต พระอินทร์เห็นดังนั้น ก็ขว้างจักรไปถูกกายพระราหูขาดสองท่อน เดชะอำนาจที่ได้ดื่มน้ำสุรามฤต จึงมิตาย
    อีกเรื่องหนึ่ง ที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายก็คือ การที่พระราหูถูกจักรพระนารายณ์ขาดออกเป็นสองท่อน เนื่องจากไปขโมยดื่มน้ำอมฤต ด้วยการแปลงร่างเป็นเทวดาเข้าไปรับแจก แล้วพระอาทิตย์ พระจันทร์ ทราบเข้า ก็เลยไปฟ้องพระนารายณ์ จึงถูกพระนารายณ์กว้างด้วยจักรขาดออกเป็นสองท่อน แต่ไม่ตาย ด้วยเหตุที่ดื่มน้ำอมฤต เข้าไปแล้ว รายละเอียดเรื่องนี้ ผมจะไม่เล่าด้วยตนเอง แต่จะขอคัดลอกเรื่องเล่าของ “หลวงปู่พุทธอิสระ” แห่ง วัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม มาให้อ่านและพิจารณากัน จะได้ทราบแนวความคิดเห็น และเรื่องราวที่เหมือน และแตกต่างจากที่ได้ยินได้ฟังมา ดังนี้
    ลูกรัก...ทำไมเจ้าจึงมีชีวิตที่ หลง หลอก และลืม ตลอดเวลา แล้วเจ้าจะรู้หรือไม่ว่า คำตอบสุดท้ายที่เจ้าจะได้ คือ ความเมา ประมาท และขาดสติ
    ปัจจุบันมีผู้สนใจบูชา ราหู เป็นจำนวนมากในเวลาที่มีการเกิดปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ คือ อุปราคา ซึ่งเป็นเพียงการเกิดเงาบัง ดวงอาทิตย์ หรือ ดวงจันทร์ ตามวิถีการโคจรของดวงดาวเท่านั้นเอง
    หลวงปู่ได้เป็นห่วงลูกหลาน ที่หลงงมงายกับการบูชา ราหู ซึ่งเป็นที่มาของ บทโศลกข้างต้น ที่ท่านได้กล่าวขึ้นมา เมื่อตอนแสดงธรรมประจำต้นเดือน วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2545 หลวงปู่จึงได้ดำริให้นำเรื่องของราหู ซึ่งเป็นเพียงอสูรตนหนึ่งมาลงเป็นนิทานธรรมะ ให้ลูกหลานได้อ่าน และทราบกันโดยที่มาของนิทานเรื่องนี้ มาจากหนังสือโบราณที่กล่าวถึงกำเนิดเทวะ ในตอนที่กล่าวถึงว่า...
    เทพและมารทั้งหลายได้มีความรู้สึกกลัวความแก่ ความเจ็บ และความตาย อีกทั้งประจวบกับบรรดามาร และเทพทั้งหลายได้เห็น พวกพ้องมิตรสหายทั้งหลายได้หมดบุญหมดวาสนาจากอัตภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จะต้องไปเกิดในที่อันไม่พึงปรารถนา ต่างฝ่ายต่างก็ให้ปริวิตกกังวล กลัวเวลาแห่งการที่ต้องไปเกิด ในที่อันไม่น่าปรารถนาของตนจะมาถึง ต่างก็พยายามแสวงหาวิธีเอาตัวรอด จากมรณะ
    และภพภูมิอันไม่พึงปรารถนา
    ทั้งเทพและพรหม มารทั้งปวงก็พากันมาประชุม ปรึกษาหาวิธีแก้มรณกรรม อันจะเกิดขึ้นแก่ตน (เข้าใจว่ายุคนั้นคงจะยังไม่ปรากฏ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ จึงยังไม่มีใครบอก และสอนถึงวิธีพ้นจากเกิด แก่ เจ็บ และตาย) ทุกตนในเทวสภา และพญามารทั้งหลาย ก็เห็นสมควรจะต้องไปปรึกษาท่านผู้รู้และท่านผู้รู้เหล่านั้นก็คือ ครู อาจารย์ของตน ซึ่งเป็นฤๅษีดาบส อยู่ ณ ป่าหิมวันต์ ครั้นปรึกษาเป็นที่ตกลงกันเช่นนั้นแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็สำแดงเดชานุภาพ เหาะมาสู่ ณ ที่พักแห่งอาจารย์ของตน และพากันแจ้งเหตุที่มาหาให้แก่อาจารย์ของตนได้ฟัง บรรดาเทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ของเทพและมารทั้งหลาย ได้เห็นความปริวิตกของสัทธิวิหาริก คือ ลูกศิษย์ของตนเช่นนั้น ก็นั่งพิเคราะห์ดูด้วยญาณ (ซึ่งมิได้ประกอบด้วยปัญญาหยั่งรู้) ก็ได้รู้วิธีที่จะเอาชนะมรณกรรมได้ ด้วยการหาของบริสุทธิ์ และศักดิ์สิทธิ์ทั้งพันชนิด และน้ำบริสุทธิ์ทั้งหมื่นโลกธาตุมารวมกัน และ คละประกอบด้วยเทพมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่หมื่นคาบ และใช้เทพโอสถที่มีชีวิตทั้ง ๗ ชนิด บดเข้าด้วยกันด้วยภูเขาสิเนรุมาศ และใช้น้ำตาของพญานาคทั้ง ๘ เป็นตัวผสาน
    เมื่อเทพฤๅษีทั้งหลายได้รู้วิธีเอาชนะมรณกรรมแล้ว ก็แจ้งแก่บรรดาเทพและมาร ผู้เป็นลูกศิษย์ พร้อมกับให้แยกย้ายกันไปหาสรรพยาทั้งหลาย เทพและมารทั้งปวง เมื่อได้ฟังมาว่ามีวิธีที่จะเอาชนะมรณกรรมได้โดยการกวนยาวิเศษ (หรือ น้ำอมฤต) ก็โห่ร้องด้วยความลิงโลด แล้วจัดแบ่งหน้าที่ที่จะไปเอาของวิเศษทั้งหลายในทิศทางต่าง ๆ มารวมกัน
    ครั้นเมื่อได้ของวิเศษมาครบตามจำนวนที่ต้องการแล้ว เทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ทั้งหลายก็มีบัญชาให้พญาครุฑไปยกเขาพระสุเมรุ มาทำเครื่องบด แล้วให้พระธรณีเนรมิตสถานที่บด พร้อมทั้งสั่งการบรรดาเทพและมารทั้งปวง ให้เทของวิเศษทั้งหลายรวมกัน แล้วให้พญาครุฑวางเขาพระสุเมรุทับ แล้วสั่งให้พญานาคทั้งเจ็ดเนรมิตกายให้ยืดยาวประดุจดังเชือกเส้นใหญ่ทั้งเจ็ดรวมกัน ให้เทวะทั้งหลายจับปลายเชือกด้านซ้าย ยักษ์และมารทั้งหลายจับปลายเชือกด้านขวา เทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ของเทวดาอยู่ด้านหน้า เทพฤๅษีผู้เป็นอาจารย์ของยักษ์และมารทั้งหลายอยู่ด้านหลัง ทั้งสองด้านได้พร้อมกันสาธยายเทพมนต์ ในขณะที่เทพและมารช่วยกันฉุดเชือกนาค เพื่อให้เขาพระสุเมรุนั้นหมุนไปทางด้านซ้ายและขวา โดยมีพญาครุฑคอยหัวเหาะพยุงเขาพระสุเมรุอยู่ด้านบน ยาทิพย์นี้ใช้เวลาบดอยู่เจ็ดปี เจ็ดเดือน เจ็ดวันจึงจะสำเร็จ
    ในขณะที่กำลังบดยาทิพย์ด้วยความขะมักเขม้น เหล่าเทวดาทั้งหลายก็ออกอุบายให้ยักษ์และมารทั้งปวงออกกำลังดึงแต่ฝ่ายเดียว เมื่อถึงคราวที่ฝ่ายตนจะดึงก็พากันใช้นิ้ว เอื้อมไปแหย่สะดือพญานาคเมื่อพญานาคโดนแหย่สะดือ ก็ให้รู้สึกแสยง ยกตัวให้สั้นลง ในขณะที่ยักษ์ทั้งหลายดึงอยู่ด้วยก็ทำให้เขาพระสุเมรุหมุนไปทางเทวดา ทำให้ดูประหนึ่งว่า เทวดาดึงให้หมุนด้วยกำลัง และเป็นจังหวะที่เทวดาทั้งปวงส่งเสียงให้เหมือนว่ากำลังจะออกแรงอย่างเต็มที่ ทำอยู่ดังนี้ตลอดไป เจ็ดปี เจ็ดเดือน และเจ็ดวัน
    ครั้นเมื่อยาทิพย์ปรุงสำเร็จเสร็จสิ้นแล้ว เทพฤๅษี พญาครุฑ พญานาค ยักษ์มาร ทั้งหลายก็พากันอ่อนแรงไม่สามารถขยับเขยื้อนได้ เหล่าเทวดาทั้งหลายเห็นได้ที ก็ชิงเอายาทิพย์ทั้งหลาย เหาะขึ้นไปยังทิพย์วิมานของตน
    กล่าวฝ่ายพญามาร ยักษ์ ครุฑ และนาคทั้งหลาย เมื่อได้สติฟื้น ก็ได้พากันมาสำรวจดูยาทิพย์ จึงได้รู้ว่าหายไปหมดแล้วพร้อมกับหมู่เทวดาทั้งปวง ก็พากันโกรธแค้นเทวดา แต่ก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้ เพราะครูฤๅษีได้ห้ามไว้ว่า เมื่อเทวดานั้นได้กินยาทิพย์นั้นเข้าไปแล้ว จักเป็นผู้มีเดช มีอานุภาพมาก และฆ่าก็จะไม่ตาย เราทั้งหลายไม่สามารถต่อกรได้ มารทั้งหลาย ต่างฝ่ายต่างก็เก็บเอาความเจ็บแค้นเอาไว้ในอุรา แล้วพากันกลับไปยังที่อยู่ของตน
    ในหมู่ของมารทั้งหลาย ยังมียักษ์ตนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า อสุรินทรราหู ซึ่งเป็นบุตรของ นางยักษ์ชื่อวิปจิตกับ เทพชื่อพฤหัส ได้ครุ่นคิดเคียดแค้นแน่นอยู่ในอก คิดหาวิธีที่จะชิงเอายาทิพย์กลับคืนมาจากเทวดาให้ได้ คิดไปคิดมาจึงนึกขึ้นมาได้ว่า บิดาของเราคือพระพฤหัส ซึ่งเป็นเทวดา ถึงเราจะมีมารดาเป็นยักษ์ แต่เราก็มีเลือดของพ่ออยู่ด้วย ถ้าเราแปลงกายเป็นเทพไปเข้าร่วมหมู่ของเทวดาเพื่อจะขอแบ่งยาทิพย์ พวกเทพเหล่านั้นคงจะจับเราไม่ได้ ถึงแม้ว่าพวกเทพเหล่านั้นจะสามารถสัมผัสกลิ่นอันเป็นทิพย์ได้ เราก็มีกลิ่นกายของเทวดาอยู่ในตัวเหมือนกัน พวกมันคงจะไม่รู้หรอกน่า ว่าเราแปลงกายไป คิดดังนั้นแล้ว อสุรินทรราหูร่ายเวทย์จำแลงกายเป็นเทวดา แล้วก็เหาะขึ้นไปสู่เทวสภาพร้อมกับเข้าไปสู่หมู่ของเทวดาทั้งหลายเพื่อขอส่วนแบ่งยาทิพย์
    ขณะนั้นเหล่าเทวดาทั้งหลายก็กำลังประชุมฉลองชัยชนะ ที่สามารถใช้กลอุบายเอาชนะพญามารและยักษ์ทั้งหลายได้ พร้อมกับชิงเอายาทิพย์มาเป็นของตน ได้สำเร็จ และแจกจ่ายยาทิพย์ให้แก่เหล่าเทวดาทั้งหลาย
    ขณะนั้นอสุรินทรราหู จำแลงก็ได้รับส่วนแบ่งยาทิพย์กับเขาด้วย มิทันช้า อสุรินทรราหูจำแลงก็รีบกลืนยาวิเศษนั้นทันที ยาก็ได้สำแดงเดช ทำให้อสุรินทรราหู และเทวดาทั้งปวงมีอาการมึนเมาไปกันทั่วหน้า มนต์ที่จำแลงแปลงกายก็คลายออก เทพอาทิตย์ และจันทร์ ได้สังเกตเห็นว่า อสูรแปลงกายมากินยา ก็พากันโวยวาย และเรียกพวกเทวดาให้ช่วยกันจับ เป็นที่ตะลุมบอนโกลาหล แต่ก็หาจับได้ไม่
    เมื่อจับเป็นไม่ได้ ก็ต้องจับตาย เหล่าเทวดาทั้งหลายก็พากัน รุมตีฟันอสุรินทรราหู เป็นการใหญ่ แต่ก็หาได้ทำอันตรายแก่อสุรินทราหูได้ไม่ แถมยังแสดงเดชา รุกรบ ต่อยตี หมู่เทวดาทั้งหลายจนพ่ายแพ้หนีกระเจิดกระเจิง เหล่าเทพและเทวดาทั้งหลายก็พากันวุ่นวาย (ถ้ามีคำถาม ถามว่าก็ไหนเมื่อเทพเหล่านั้น ก็ได้กินยาทิพย์เหมือนกัน แต่ทำไมถึงสู้ยักษ์ตนเดียวไม่ได้ ข้อนี้ต้องวินิจตรงชื่อ คงจะเข้าใจได้ง่ายดี ที่ว่าต้องวินิจฉัยตรงชื่อ ก็เพราะ ตามความหมายของคำว่า ยักษ์ หรือ อสูร แปลว่า ผู้ไม่พ่าย ผู้มีเดช ผู้มีอำนาจ ผู้มีกำลัง ส่วนคำว่า เทวดา เทพ แปลว่า ผู้มีรูปสวย ผู้มีบุญ ผู้มีสุข ผู้มีวาสนา) เพราะฉะนั้น เหล่าเทวดาถึงจะมีจำนวนมาก แต่ก็หาได้มีกำลัง มีเดชเท่ากับอสูรไม่ เมื่ออสุรินทรราหู ได้ชัยชนะแก่หมู่เทวาดา ก็มีจิตกำเริบ ไล่ทำร้ายและทำลายอาละวาดไปทั่วแดนสวรรค์
    อ่านมาถึงตรงนี้ มันทะแม่ง ๆ ยังไงไม่ทราบ ก็เคยต้องออกมาค้านสักหน่อย เพราะคำแปลของหลวงปู่นั้น มันไม่เข้ากับพจนานุกรม หรือตรงกับรากศัพท์บาลี สันสกฤตเลยครับ ในความเห็นของผมนะครับ ที่บรรดาเหล่าเทวดาไม่อาจทำร้ายราหูได้นั้น เพราะขนาดรูปร่างที่ต่างกันมาก ราวภูเขา กับ ต้นไม้ ต่างหากล่ะครับ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ราหูนั้น มีรูปร่างใหญ่โตขนาดจับพระอาทิตย์ กับ พระจันทร์ มาอมได้อย่างสบาย นับประสาอะไรเทพองค์อื่น ๆ ที่คงมีขนาดไล่เรี่ยกับพระอาทิตย์ และ พระจันทร์ จะทำอะไรราหูได้ ยิ่งดื่มยาวิเศษ หรือ น้ำอมฤต เข้าไปด้วยแล้ว ต่อให้เทวดามาเป็นร้อยเป็นพัน ราหูก็บ่ยั่นหรอกครับ
    เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา มาว่ากันต่อเลยนะครับ ว่าหลังจากที่พระราหู ไล่เตะ ไล่ต่อย เทวดาทั้งหลาย กระเจิดกระเจิง โกลาหล อลม่าน ไปทั่วแคว้นแดนสวรรค์แล้ว เหตุการณ์จะเป็นอย่างไรต่อไป
    ข้างฝ่าย พระอาทิตย์ และ เทพจันทร เห็นท่าไม่ดีก็เหาะไปเฝ้า พระนารายณ์ ทูลเรื่องทั้งหลายให้เทพ ผู้เป็นใหญ่ได้ทรงทราบ พระนารายณ์เป็นเจ้าได้ทรงสดับรับฟังแล้วก็ทรงกริ้ว ทรงบริภาษด้วยวาจาที่เกริ้ยวกราดว่า "ไอ้อสูรตัวขลาด บังอาจกำเริบขึ้นมาราวีบนแดนสวรรค์เชียวหรือ"
    ว่าแล้วก็ทรงขว้างจักรแก้วออกไปตัดร่างของอสุรินทรราหู ขาดเป็นสองท่อน ท่อนขาถึงบั้นเอวก็หลุดกระเด็นออกไปนอกจักรวาล เหลือแต่ท่อนหัวกับตัว ถึงกระนั้น ก็มิอาจทำให้อสุรินทรราหูถึงแก่ความตายได้ไม่ และด้วยความตกใจกลัว อสุรินทรราหู ก็เหาะหนีมายังที่อยู่ของตน และพกพาความโกรธแค้นอาทิตย์ และจันทร ที่เป็นเหตุให้เกิดเรื่องวุ่นวายบนสวรรค์ และเป็นเหตุให้กายของตนขาดเป็นสองท่อน
    อสุรินทรราหู กลับมาคิดแค้นต่อเทพอาทิตย์และจันทร ว่า เพราะเทพสองตนนี้ทีเดียวเป็นผู้บอกให้เหล่าเทวารุมทำร้ายตน และ เป็นเพราะเทพสองตนนี้อีกเหมือนกัน ที่เป็นผู้ไปบอกองค์นารายณ์จนเป็นเหตุให้ข้วางจักรแก้วมาตัดร่างตน ถึงกับขาดเป็นสองท่อน ความอัปยศอดสู และเจ็บช้ำนี้ เราจะตอบแทนคืนให้เทพทั้งสอง อย่างสาสม

    [​IMG]
    ณ บัดนั้นเป็นต้นมา อสุรินทรราหูก็เฝ้าคอยที่จะหาโอกาสราวี แก่อาทิตย์ และจันทร อยู่ตลอดเวลา มีอยู่ครั้งหนึ่งเทพอาทิตย์และจันทร จะไปประชุมยังเทวสภา ระหว่างทางอสุรินทรราหูได้มาคอยดักทำร้าย เทพทั้งสองก็เหาะหนี จวนเจียนหนีไม่พ้น แต่เผอิญเหาะมาทางทิศที่ตั้งแห่งภูเขาไกรลาศ ซึ่งเป็นที่อยู่ของ บิดรเทพ คือ เทพผู้เป็นพ่อของเทพทั้งหลาย เทพอาทิตย์และจันทร ก็เหาะหนีเข้าไปยังที่อยู่ของบิดรเทพ
    อสุรินทรราหู ตามมาติด ๆ เมื่อเห็นว่าศัตรูของตนหนีไปพึ่งผู้มีเดชรุ่งเรืองเช่นนี้ อสูรก็มาหยุดคิดว่า เพราะคราวที่แล้วเราผลีผลามรุกไล่ติดตามเทพทั้งสองไปโดยไม่ได้ดูตาม้าตาเรือ จนเป็นเหตุให้กายเราขาดเป็นสองท่อน เที่ยวนี้ขืนติดตามมันเข้าไปอีก อาจหัวขาดออกจากตัวอีกก็ได้ คิดดังนั้นแล้ว ก็คำราม ด้วยความเคียดแค้นว่า ฝากไว้ก่อนนะไอ้ขี้ขลาด คราวหน้าถ้าเห็นอีก ข้าจะกินเสียให้หนำใจ ว่าแล้วก็เหาะกลับไปยังที่อยู่ของตน
    ฝ่ายเทพบิดร เมื่อเห็นอาทิตย์และจันทรเทพ เหาะมาสู่ยังที่พักของตนอย่างลุกลี้ลุกลน ก็ถามขึ้นมาด้วยความสงสัย เทพทั้งสองจึงเล่าแจ้งแถลงไขให้ทรงทราบ และขอร้องให้เทพบิดรทรงช่วย พระบิดร จึงทรงเนรมิตอาชาสีแดงพร้อมราชรถให้แก่อาทิตย์เทพ และเนรมิตอาชาสีขาว ๘ ตัวพร้อมราชรถให้แก่จันทรเทพ ประทานให้เอาไว้เป็นพาหะหลบหนีอสูร แล้วทรงสั่งว่า คราใดที่ท่อนขาของอสุรินทรราหูลอยมาติดตัว ท่านทั้งสองจะต้องโดนอสูรกลืนกิน
    กล่าวฝ่ายอสุรินทรราหู เมื่อไม่สามารถจะทำร้ายอาทิตยเทพ และจันทรเทพได้ดังหวัง ก็ให้รู้สึกหงุดหงิด งุ่นง่าน จึงเหาะขึ้นไปสู่สรวงสวรรค์ ไปอาละวาดไล่ทำร้ายเหล่าเทวดาทั้งหลายจนเป็นที่หนำใจ แล้วก็เหาะกลับยังที่อยู่ของตน
    ครั้นอสุรินทรราหูไปแล้ว เทพและเทวดาทั้งหลาย ก็ออกจากที่ซ่อนไปเฝ้าพระอินทร์ ยังเทว สภา แล้วประชุมปรึกษาว่าจะทำการป้องกันไม่ให้อสุรินทรราหูมาไล่ทำร้ายได้อย่างไร องค์อินทร์ก็ทรงตรัสว่า สรรพสิ่งในโลก เมื่อมีจุดเด่นก็ต้องมีจุดด้อย อสูรตนนี้ถึงมันจะกินยาทิพย์ฆ่าฟันไม่ตาย
    แต่ก็ต้องมีวิธีทำลายอาถรรพ์ และทำร้ายชีวิตมันได้เหมือนกัน อยู่ที่ว่าใครจะเป็นผู้ไปล้วงเอาความลับนี้มาได้ เหล่าเทวะทั้งหลายพากันนิ่งเงียบและนั่งก้มหน้า ไม่มีผู้ใดที่จะขันอาสา เวลาผ่านไปสักครู่ ก็มีเสียงดังก้อง กังวาลมาทางด้านท้ายแถวว่า ข้าพเจ้าท้าวจาตุมมหาราชทั้ง ๔ ขอขันอาสาที่จะไปล้วงความลับของอสูรตนนี้
    หมู่เทวะทั้งหลาย ต่างหันมามองท้าวมหาราชทั้ง ๔ ด้วยแววตาและดวงจิต ที่ชื่นชมความกล้าหาญเสียสละ ของมหาราชทั้ง ๔ องค์อินทร์ ก็ทรงถามว่า ท่านทั้ง ๔ เห็นประโยชน์อะไรในการขันอาสาครั้งนี้ ข้าพเจ้าทั้ง ๔ เห็นความสุขสงบควรจะมีต่อหมู่มหาเทพทั้งหลาย ถ้าสามารถกำจัดอสูรร้ายนี้ได้ และอีกอย่าง ข้าพเจ้าทั้ง ๔ เท่านั้น เป็นผู้ควรต่อการครั้งนี้ เหตุเพราะหมู่เทวะทั้งหลายมีกลิ่นกายไอสวรรค์ปรากฏอยู่ทั่วทุกท่าน ถ้าจะจำแลงแปลงกายเป็นอสูร อสุรินทรราหูผู้มีปัญญา และประสาทสัมผัสที่ว่องไวอาจจะจับพิรุธได้ และมีอันตราย
    แต่ข้าพเจ้าทั้ง ๔ เป็นผู้ไม่มีกลิ่นไอสวรรค์ และเป็นผู้ไม่มีกลิ่นไออสูร ข้าพเจ้าทั้ง ๔ จึงเป็นผู้เหมาะแก่การอาสาไปล้วงความลับของอสุรินทรราหู ด้วยประการฉะนี้เจ้าข้า สาธุ สาธุ ดีแล้ว มหาราชทั้ง ๔ ท่านช่างเป็นผู้กล้า และเสียสละยิ่ง ปวงเทพทั้งหลายก็พากันปล่งสาธุการสรรเสริญ
    ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ก็เหาะมายังที่อยู่ของอสุรินทรราหู และร่ายเวทย์แปลงกายเป็นอสูรน้อย เข้าไปขันอาสา รับใช้ต่อกิจการต่าง ๆ จนเป็นที่รักใคร่ของจอมอสูร และยอมสอนวิทยาการต่าง ๆ ให้จนหมดพุง อสูรแปลงทั้ง ๔ กล่าวกับอสุรินทรราหูผู้เป็นอาจารย์ว่า " ท่านอาจารย์ที่เคารพ หมู่เทวดามีอยู่ด้วยกันจำนวนมาก จะพากันรุมทำร้ายท่านอาจารย์ ท่ายอาจารย์ต้องระวัง พวกกระผมเป็นห่วง"
    อสุรินทรราหูจึงได้กล่าวกับศิษย์ของตนว่า "เจ้าทั้ง ๔ มิต้องเป็นห่วง หมู่เทพทั้งหลายไม่สามารถจะฆ่าเราได้หรอก เพราะเรามีวิธีรักษาอาถรรพ์ของยาทิพย์ให้อยู่ได้ เราจะบอกต่อเจ้าให้ฟัง แต่เจ้าจะต้องให้สัจจะแก่เราว่า จะไม่บอกใคร”
    มหาราชทั้ง ๔ รับปาก อสุรินทรราหูก็บอกความลับแก่ศิษย์ของตน ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ เมื่อได้รู้ความลับของอสุรินทรราหู ก็ปลีกตัวเหาะกลับมายังเทวสภา ปวงเทพทั้งหลายเมื่อได้เห็นท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ กลับมาสู่เทวสภา ก็พากันปริวิตกว่า กิจที่ไปสืบความลับของจอมอสูรจะสำเร็จไหมหนอ ฝ่ายมหาราชทั้ง ๔ เมื่อมาถึงเทวสภาแล้วก็ตรงเข้าไปอัญชลีแก่องค์อินทรราชผู้เป็นใหญ่ แล้วกราบทูลว่า "บัดนี้ภารกิจที่ข้าพระองค์ทั้ง ๔ ขันอาสาไปปฏิบัติได้สำเร็จลุล่วงแล้วพระเจ้าข้า"
    มหาเทพผู้เป็นประธานในหมู่เทพทั้งปวงก็ตรัสถามว่า แล้วมีวิธีใดที่จะกำจัดจอมอสุรินทรราหู ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ จึงกราบทูลว่า " ข้าแต่จอมอัมรินทร์ปิ่นสวรรค์ ข้าพเจ้าทั้ง ๔ ไม่สามารถบอกความลับแก่ผู้ใดได้ เหตุเพราะข้าพเจ้าทั้ง ๔ ได้รับปากกับจอมอสูรไว้แล้วว่า ถ้าได้ล่วงรู้ความลับที่จะสังหารจอมอสูรแล้ว จะไม่บอกแก่ใครเป็นอันขาดพระเจ้าข้า แต่ถ้าเมื่อใดที่อสุรินทรราหูจอมอสูร ขึ้นมาอาละวาดบนสรวงสวรรค์อีก ข้าพเจ้าทั้ง ๔ ขออาสาที่จะหาวิธีกำราบจอมอสูรให้พ่ายแพ้ไปจนได้ พระเจ้าข้า "
    จอมอัมรินทร์ผู้เป็นใหญ่ และเหล่าเทพทั้งปวง เมื่อได้ฟังท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ กล่าวเช่นนั้น ก็โสมนัสยินดี พากันเปล่งสาธุการจนดังกังวาลก้องไปทั่วโลกทั้งสาม แล้วเหล่าเทพทั้งหลาย ก็ได้กล่าวสรรเสริญแก่ท่านท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ว่า ท่านทั้ง ๔ ช่างเป็นผู้กล้าหาญ เสียสละ กตัญญู และรักษาสัจจะเป็นเลิศ
    กล่าวฝ่ายอสุรินทรราหูอยู่ในที่พำนักของตน เมื่อได้ยินเสียงแช่ซ้องสาธุการของชาวสวรรค์ ก็คิดเคืองใจจิตว่า ไอ้พวกมดพวกปลวกนี้ชักกำเริบใหญ่ บังอาจส่งเสียงรบกวนเวลาพักผ่อนของเรา เห็นทีจะต้องขึ้นไปอาละวาดเสียให้เข็ดหลาบ คิดดังนั้นแล้ว จอมอสูรผู้มีเดช ก็สำแดงฤทธิ์ เหาะขึ้นไปสู่นภากาศแล้วร่ายเวทย์เนรมิตกายให้กว้างใหญ่ แล้วแผ่อำนาจบาตรใหญ่ตวาดออกไปว่า ไอ้พวกมดปลวก ขี้ขลาดทั้งหลายชักกำเริบ บังอาจรบกวนเราผู้เป็นใหญ่ซึ่งกำลังพักผ่อนอาศัยอยู่ใต้บาดาล เห็นทีวันนี้ เราจะกลืนกินพวกเจ้า ให้สาสมกับโทษทัณฑ์ ที่บังอาจรบกวนเรา ว่าแล้วจอมอสูร ก็อ้าปากขึ้น ซึ่งดูลึกล้ำ และกว้างใหญ่ สามารถดูดอมดวงดาวในมหาจักรวาลไว้ได้ทีเดียว แม้แต่เทวสภาขององค์อินทร ที่ว่ากว้างใหญ่สามารถบรรจุปวงเทพทั้งหลาย ได้ถึงแปดหมื่นสี่พันโกฏิ ก็ยังไม่ทำให้กระพุ้งแก้มของจอมอสูรโป่งพองขึ้นมาได้
    ฝ่ายหมู่เทวะน้อยใหญ่ เมื่อได้เห็นจอมอสุรินทรราหูแสดงเดช เพื่อจะกลืนกินพวกตนไปพร้อมกับ เทวสภา ก็ให้เกิดอาการหวาดผวาระวังสะดุ้งกลัว พากันหลีกหนีหลบซ่อน เป็นที่สับสนอลหม่าน หาได้มีผู้ใดคิดจะต่อกรจอมอสูรไม่
    ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ เมื่อเห็นอสุรินทรราหูสำแดงเดชเพื่อจะกลืนกินเทวสภาเช่นนั้น มหาราชทั้ง ๔ ก็ออกไปยืนปรากฏอยู่ในทิศทั้ง ๔ ของเทวสภา แล้วก็ร่ายเวทย์สำแดงตนให้จอมอสูรใด้เห็นเป็นสองภาพ คือ ภาพหนึ่งเป็นอสูรน้อย แล้วเปลี่ยนมาเป็นเทพพิทักษ์ทิศ กลับไปกลับมาอยู่ดังนี้เป็นสองคำรบแล้ว
    อสุรินทรราหู เมื่อได้เห็นดังนั้น ก็จำได้ว่า เทพพิทักษ์ทิศทั้ง ๔ นี้ คือ อสูรน้อยลูกศิษย์เรา แล้วเราก็เป็นผู้บอกวิธีที่จะทำให้เราตายได้อย่างไร เห็นทีเราจะเสียรู้เทพพิทักษ์ทิศทั้ง ๔ นี้เสียเป็นได้ เมื่อคิดดังนั้นแล้วอสุรินทรราหูก็รีบหุบปาก หดตัวเหาะหนีลงสู่บาดาลที่อยู่แห่งตนทันที
    นับแต่แต่บัดนั้นมา เหล่าเทพเจ้าและมหาเทพทั้งหลาย ก็สถาปนาให้ท่านท้าวจาตุมหาราช เป็นเทพพิทักษ์สวรรค์ และโลกในทิศทั้ง ๔ มีหน้าที่อภิบาลดูแลสวรรค์ และโลกให้สงบสุขตลอดเวลา
    บทความท้ายเรื่อง
    มีผู้ถามว่า ทำไมเทวดาถึงขี้โกง ไม่แบ่งยาทิพย์ให้แก่พวกอสูร อันนี้ก็คงจะตอบลำบากซักหน่อยนะ เพราะฉันมิใช่เทวดา แต่ถ้าจะให้ พวกเทวดาคงคิดว่า ถ้าขืนปล่อยให้พวกอสูรได้กินยาทิพย์คงจะยุ่งเป็นแน่ เพราะขนาดไม่ได้กินยาทิพย์ และเวลารบกันระหว่างอสูรกับเทวดา บ่อยครั้งที่เทวดาเป็นผู้พ่ายแพ้ เพราะสู้กำลังอำนาจของอสูรไม่ได้ เมื่อสู้ไม่ได้เทวดาก็ต้องหนีกลับเข้าประตูสวรรค์ เมื่อเข้าไปสู่ประตูสวรรค์แล้ว พวกอสูรก็จะไม่กล้าติดตามเข้าไป เพราะเกรงกลัวบารมีของเทพพิทักษ์ทั้ง ๔ หรืออีกนัยหนึ่ง สรวงสวรรค์และวิมานทั้งหลายนั้นเกิดด้วยบุญฤทธิ์ พวกอสูรเป็นผู้มิได้ทำบุญมาแต่เก่าก่อน หรือถ้าทำก็ทำบุญมาน้อย เลยไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของสวรรค์และวิมานทั้งหลาย เช่นเดียวกัน ตราบใดที่เหล่าเทวดารบชนะพวกอสูร ซึ่งส่วนใหญ่ก็รบด้วยอุบายปัญญา ถ้าจะลุ้นด้วยฝืมือแล้ว คงจะยาก เอาเป็นว่าเมื่อเทวดาฟลุ๊กรบชนะ พาไพร่พลรุกรบติดตามอสูรไปจนถึงประตูบาดาล อสูรหนีเข้าประตูบาดาลได้ เทวดาก็หมดสิทธิ์ติดตามต่อไป เหตุเพราะเมืองบาดาลเป็นเมืองที่
    เต็มไปด้วยความมืดและอับชื้น หนึ่งวันจะเห็นแสงสว่างเพียงแค่สองชั่วยามเท่านั้น เหตุที่เป็นเช่นนี้ คงเป็นเพราะบุญกรรมของคนพาลทั้งหมดที่ได้สร้างสมเอาไว้ เมื่อตายไปหลังจากชดใช้กรรมหนัก ๆ ทั้งหลายบนโลกมนุษย์หมดสิ้นหรือเบาบางลงแล้ว ก็ไปเกิดในอัตภาพของอสูร หรือยักษ์ มีรูปร่างหน้าตา น่าเกลียด ขาดปัญญา มีแต่พละกำลัง และจมปลักอยู่ในความโลก โกรธ หลง เช่นนั้นเพราะฉะนั้น พวกเทวดาก็เลยไม่กล้าที่จะเหยียบย่างกล้ำกราย เข้าไปในเขตของพวกอสูรด้วยประการฉะนี้
    ผมได้คัดเอาเรื่องเล่าของพระราหู ตอนแปลงกายเข้าไปดื่มน้ำอมฤต ของหลวงปู่พุทธอิสระ มาให้อ่านกันโดยไม่ตัดตอน ก็หวังให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณาเปรียบเทียบ อันไหนที่ผมเห็นว่า มันท่าจะไม่ไหว ไม่เข้าเรื่อง ผมก็ต้องออกมาค้าน ไม่ได้มุ่งหวังจับผิด หรือ คิดร้ายใด ๆ เผอิญหากใครเป็นลูกศิษย์สำนักนี้ แล้วเข้ามาอ่านเจอเข้า จะได้ไม่เข้าใจผิด อันที่จริง เทวดา ก็เป็นปุถุชน ยังหนาแน่นด้วยกิเลส ตัณหา ราคะ ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ามนุษย์หรอกครับ ดังนั้น กลอุบายต่าง ๆ การเอารัดเอาเปรียบ การชิงดีชิงเด่น ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา นี่เป็นคำตอบของผม ที่ว่า ทำไม เทวดาจึงเห็นแก่พวกพ้องของตัว ไม่แบ่งน้ำอมฤตให้กับพวกอสูร ยักษ์ มาร นาค ครุฑ ฯลฯ ที่มีส่วนร่วมในการกวนน้ำอมฤต แม้แต่พระฤาษีผู้เป็นอาจารย์ เป็นต้นคิด เป็นผู้กำกับการกวน หรือ ปรุงยา ยังไม่มีส่วนได้รับเลย เหตุผลเดียวที่ไม่ได้ เพราะเป็นมนุษย์ ไม่ใช่ เทวดา ไม่เกี่ยวกับว่า อสูร ยักษ์ มาร นาค ครุฑ ฯลฯ เป็นตัวร้าย ถ้ากินเข้าไปแล้ว จะทำให้เกิดความเดือดร้อนหรอกครับ เพราะถ้าฤาษีกินเข้าไป ดวงจิตระดับฤาษี ผู้ทรงตบะเดชะ บำเพ็ญเพียรบารมีมานาน มีหรือ ที่จะคิดร้าย หรือ ให้โทษแก่ปวงมนุษย์ และเหล่าเทพทั้งหลายนิทานเกี่ยวกับพระราหูอยู่อีกเรื่องหนึ่ง คล้ายคลึงกับเรื่องที่อ่านมาแล้วบางส่วน กล่าวคือ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว นานเท่าใดไม่ปรากฎ มีเศรษฐีท่านหนึ่งนามว่า หัสวิไชย แต่เดิมเศรษฐีท่านนี้ไม่ได้ร่ำรวยอะไร เป็นคนหาเช้ากินค่ำธรรมดาคนหนึ่ง แต่ด้วยความขยันขันแข็ง และสู้อดออม มานะบากบั่นทำการค้า เดินทางรอนแรมไปต่างบ้านต่างเมืองเพื่อซื้อขายสินค้า จนทำให้ตั้งตัวได้ มีฐานะร่ำรวยที่สุดในเมืองเลยทีเดียว
    เศรษฐีหัสวิไชย มีลูกชาย ๓ คน ล้วนมีความรู้ สติปัญญา และความสามารถทัดเทียมกัน เมื่อก่อนจะตาย ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้ ให้แบ่งทรัพย์สมบัติออกเป็นสี่ส่วนเท่า ๆ กัน ทั้งสามส่วนแบ่งให้กับลูกทั้งสาม อีกหนึ่งส่วนนั้น ให้เอาไปทำบุญ แจกจ่ายคนยากไร้ และบำรุงพระพุทธศาสนา แต่เศรษฐีท่านนี้ ยังมีของสำคัญอยู่ ๓ ชิ้น ที่ไม่ได้ระบุว่าจะให้ใคร เป็นขันข้าวสำหรับใส่บาตร แต่ทำด้วยภาชนะที่แตกต่างกัน คือ ใบแรกทำด้วยทองคำ ใบที่สองทำด้วยเงิน ส่วนใบที่สามทำด้วยกะลามะพร้าว และใบที่สามนี่แหละ นัยว่า ทำมาจากกะลามะพร้าวที่มีตาเดียว ที่เรียกว่า “กะลาตาเดียว” ซึ่งถือว่าเป็นของวิเศษเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่หาได้ยาก ผู้ใดได้ครอบครองไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีฐานะความเป็นอยู่มั่นคง (รายละเอียดเรื่องนี้ จะนำมาเล่าให้อ่านกันในภายหลัง)
    เมื่อท่านเศรษฐีตายลง ในส่วนของขันใส่บาตรทั้งสามที่ไม่ได้ระบุนั้นก็ก่อให้เกิดปัญหา คนโต ในฐานะที่เกิดก่อน เลยขอใช้อภิสิทธิ์ของความเป็นพี่คนโต ด้วยการยึดเอาขันทองคำเป็นของตน เมื่อนำไปใส่ข้าวเพื่อทำบุญใส่บาตรในตอนเช้า ได้อธิษฐานว่า เกิดชาติหน้าฉันใด ก็ขอให้เกิดมามีร่างกายสว่างไสวเจิดจ้าไปทั่วจักรวาล พี่คนรองก็ได้ถือโอกาสของความเป็นพี่ ได้ยึดเอาขันเงินไปครอบครอง เมื่อนำไปใส่ข้าวสำหรับใส่บาตรพระ เมื่อได้ยินพี่คนโตอธิษฐานเช่นนั้น ก็อธิษฐานบ้างว่า เกิดชาติหน้าฉันใด ก็ขอให้มีร่างกายสว่างไสวนุ่มนวล เย็นตา เย็นใจไปทั่วจักรวาล
    ส่วนน้องคนสุดท้อง ไม่มีทางเลือก ก็ต้องรับเอาขันที่ทำด้วยกะลามะพร้าวตาเดียวเอาไว้ (โดยที่ตนเองก็ไม่ทราบความสำคัญ หรือ คุณประโยชน์อะไร) ด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่เกิดมาเป็นคนสุดท้อง และถูกพี่ ๆ ใช้สิทธิในการเป็นพี่แย่งเอาขันทองคำ และ ขันเงินไป ก็เลยเอาขันนั้นใส่ข้าว ก่อนจะตักข้าวใส่บาตรพระ ก็ได้อธิษฐานดัง ๆ ให้พี่ทั้งสองคนได้ยินว่า เกิดชาติหน้าฉันใด ก็ขอให้มีร่างกายใหญ่โต จนสามารถบดบังรัศมีกายของพี่ทั้งสองได้
    ด้วยเหตุนี้ เมื่อทั้งสามได้ตายจากโลกนี้ไปแล้ว พี่คนโตก็ไปเกิดเป็น พระอาทิตย์ คนรองก็ไปเกิดเป็น พระจันทร์ ส่วนน้องคนสุดท้องก็ไปเกิดเป็น พระราหู และจากนิทานเรื่องนี้แหละครับ ที่เป็นที่มาของเครื่องรางของขลังอันศักดิ์สิทธิ์ อันเกี่ยวเนื่องกับพระราหู คือ พระราหูแกะด้วยกะลามะพร้าวตาเดียว ของหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม ถือเป็นต้นตำรับ และมีราคาค่าบูชาแพงเกือบแสนบาท ในสมัยปัจจุบัน หากจะเช่าหาไว้บูชา ต้องระวังให้มาก ของปลอม ของเทียม ของเลียนแบบ ของที่ทำภายหลัง มีมากมายก่ายกองกว่าของจริง หลายพันเท่า

    [​IMG]
    ราหูแกะด้วยกะลาตาเดียว หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง นครปฐม
    กะลามะพร้าวตาเดียวดีอย่างไร ? โบราณท่านว่า ดีทางด้านลาภผลความสำเร็จ หากผู้ใดมีไว้ประจำบ้าน ยิ่งนำไปตักข้าวสำหรับหุงกินด้วยแล้ว จะทำให้เจริญด้วยโภคทรัพย์ มีฐานะความเป็นอยู่มั่นคง ไม่ขาดแคลน ไม่ตกอับ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้กระมัง เศรษฐีหัสวิไชย ถึงได้ร่ำรวย และตั้งตัวได้ ก็เพราะมีกะลามะพร้าวตาเดียวไว้บูชา โดยได้เก็บไว้ในที่สำคัญดุจเดียวกับขันที่ทำด้วยทองคำและเงิน เรื่องนี้ถือเป็นความเชื่อเฉพาะบุคคลที่สืบทอดมา ขอให้ทุกท่านอ่านโดยใช้วิจารณญาณกันเอาเองนะครับ
    ในทางโหราศาสตร์นั้น ราหูไม่ใช่ดาว แต่เป็นจุดคำนวณที่เกิดจากสุริยุปราคา มาซ้ำรอยเดิมในระยะ ๑๘ ปี ๑๐ วัน ๘ ชั่วโมง กล่าวคือ จุดคราสนั้น เป็นจุดที่อยู่กับที่ แต่ดาวพระเคราะห์โลกโคจรผ่านไป จึงดูเหมือนราหูเดินถอยหลัง เมื่อมาถึงจุดเดิมในระยะ ๑๘ ปี เศษ ดังกล่าว ก็จะเกิดคราสอีกครั้งหนึ่ง โดยมีจุดเบี่ยงจากจุดเดิมห่างออกไป ๑๑ องศา ๕๐ ลิปดา
    แม้ราหูจะไม่ใช่ดาว แต่ก็นำมาใช้ในการพยากรณ์ทางด้านโหราศาสตร์มาแต่สมัยโบราณกาล ท่านจัดความสำคัญของราหู เสมือนดาวบาปเคราะห์ร้ายดวงหนึ่ง ที่ให้โทษรุนแรงไม่น้อยไปกว่าเสาร์ และ อังคาร ราหูนั้น ถ้าจรเข้าภพไหนในดวงชะตา จะให้โทษแก่ภพนั้นเสมอ อย่างเช่น
    “ราหูทับลัคน์ แม้สูงศักดิ์สุราลัย จะจากยศไกล วิบากใจไฟเผาผลาญ”
    “ราหูปะทะลัคน์ ระมัดมักอริวอน อย่าพลั้งเล่ห์คนวอน และรับกิจธุระพาล จองคุณจะคืนโทษ ทุรยศประหนึ่งพราน บินบอกธุระสถาน ก็กระทำประทุษฐแทน”
    “อสุรินโท โคจรลี ถึงราศีลัคนา พิเภกมีโทษา พี่โกรธาขับเสียไกล ความร้ายจักมีมา จะวิวาททั้งข้าไท จะเกิดร้อนอัคคีภัย โรคาไข้ในขันธมาร”
    จะเห็นได้ว่า ราหูนั้นเมื่อจรทับลัคนา จะมีแต่เรื่องทุกข์ใจ เหมือนไฟเผาผลาญ บางคนถึงกับตกอับ ชะตาชีวิตตกต่ำ เสื่อมยศ เสื่อมลาภ มีศัตรูคอยคิดร้าย คนพาลเข้ามาเบียดเบียน ทำอะไรมักมีปัญหาอุปสรรคร้อยแปด ทำคุณกลับได้โทษ คนที่เคยช่วยเหลือก็เมินหน้าหนี ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางร้ายมากกว่าดี ต้องจรต้องเดินทาง หรือพลัดที่นาคาที่อยู่ เดือดร้อนที่อยู่อาศัย บางรายอาจโดนไฟไหม้บ้าน หรือ เจ็บไข้ไม่สบาย ได้รับอุบัติเหตุร้ายแรง ไม่นอนโรงพยาบาล ก็นอนวัด (ก็ตายน่ะแหละ) ถือเป็นช่วงที่ดวงตก จึงต้องระวังให้มาก
    ราหูจรเข้าภพที่ ๒ (กฎุมพะ) มักมีเรื่องเสียเงิน ขาดรายได้ การค้าตกต่ำ ทะเลาะปากเสียงกับคนพาล เอกสารสำคัญ หรือสัญญาต่าง ๆ มักมีปัญหา หรือสูญหาย ไม่ควรค้ำประกันใคร ฯลฯ
    ราหูจรเข้าภพที่ ๓ (สหัชชะ) เพื่อนฝูงวงสังคม ญาติมิตร มักนำความเดือดร้อนมาให้ เดินทางไปไหนให้ระวังอันตรายจากคนพาล พวกจี้ปล้น หรืออุบัติเหตุ ต้องระวังการถูกหลอกลวงจากพวก ๑๘ มงกุฎ โดยเฉพาะการคบหากับคนแปลกหน้า หรือคนที่ไม่คุ้นเคย ต้องระวังให้มาก
    ราหูจรเข้าภพที่ ๔ มักเปลี่ยนแปลงโยกย้ายที่อยู่อาศัย เดินทางไกล พลัดที่นาคาที่อยู่ หากอยู่บ้านก็มักจะมีปัญหากับคนในบ้าน หรือเพื่อนบ้าน หากมีรถยนต์ก็มักจะต้องเสียเงินซ่อม หรือเปลี่ยนรถใหม่ ต้องระวังอุบัติเหตุอันตรายในการเดินทางให้มาก
    ราหูจรเข้าภพที่ ๕ (ปุตตะ) บุตรบริวาร สัตว์เลี้ยง ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา มักจะได้รับทุกข์ หรือนำความเดือดร้อนมาให้ นำเรื่องร้อนใจมาสู่ การเสี่ยงโชคไม่ดี ความรักไม่สมหวัง อย่าเชื่อคารมใครง่าย ๆ อย่าโลภมาก อาจถูกหลอกลวงได้
    ราหูจรเข้าภพที่ ๖ (อริ) อย่าคิดว่าเป็นเรื่องดี ทำนองว่า บาปเคราะห์เข้าภพทุสถานะ เสียพบเสียกลายเป็นดี เพราะไม่ใช่กฎตายตัวเสมอไป ราหูจรเข้าภพอริ ต้องระวังอุบัติเหตุอันตราย คนคิดร้ายให้มาก เป็นระยะที่ไม่ควรไว้ใจคนแปลกหน้า หรือเดินทางไปในที่เปลี่ยว กลับบ้านดึก ๆ ดื่น ๆ เพื่อนฝูง วงสังคม เพื่อนร่วมงาน มักสร้างปัญหาให้บ่อยครั้ง
    ราหูจรเข้าภพที่ ๗ (ปัตนิ) มักทะเลาะวิวาทกับคนรักคู่ครอง บางรายถึงกับแยกทาง หรือ เลิกราหย่าร้างได้ คนโสดหากพบรัก มักอกหักผิดหวัง หรือได้คู่ที่ไม่ดี แต่ก็มีหลายรายได้คู่เป็นชาวต่างชาติ ต่างภาษา ต่างศาสนา ต่างฐานะความเป็นอยู่ (ฐานันดร) มีตำหนิ คือ รูปร่างหน้าตาไม่สวยสดงดงาม หรือ เป็นหม้ายผ่านการมีเรือนมาแล้ว
    ราหูจรเข้าภพที่ ๘ (มรณะ) ไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป อาจมีเรื่องร้ายเช่นเดียวกับราหูจรเข้าภพอริ ทั้งนี้เนื่องจาก ภพที่ ๖ (อริ) และ ภพที่ ๘ (มรณะ) เป็นจุดที่ตั้งของมุมปลายหอก หากมีบาปเคราะห์อื่น ๆ จรเข้ามาเสริมอีกมุมหนึ่ง ก็จะครบสองมุม ให้โทษแก่ลัคนาอย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงต้องระวัง อย่าประมาทว่า ราหูจรเข้าภพทุสถานะ แล้วร้ายจะกลายเป็นดี บางรายอาจร้ายหนักกว่าเดิมเสียอีก ยิ่งราหูมาจากเรือนที่ดี เช่น เป็นดาวเจ้าเรือนลัคน์ เรือนการเงิน เรือนวาสนาสุขภาพ (ศุภะ) หรือ เรือนการงาน ฯลฯ ยิ่งต้องระวังให้มาก เพราะอาจเกิดเหตุร้าย เกิดเรื่องเสียหายแก่เรือนนั้น ๆ ได้
    ราหูจรเข้าภพที่ ๙ (ศุภะ) สุขภาพร่างกายไม่ค่อยดี มักเจ็บไข้ไม่สบาย เกียรติยศชื่อเสียง วาสนาบารมี ตกต่ำ มีเรื่องต้องเสื่อมเสีย คนนินทา หมาดูถูก ทำอะไรมักไม่สำเร็จ มีปัญหาอุปสรรคบ่อยครั้ง อาจมีเรื่องราวทะเลาะวิวาทกับคนพาล หลีกเลี่ยงที่จะขึ้นโรงขึ้นศาล หรือมีคดีความได้ เป็นดีที่สุด
    ราหูจรเข้าภพที่ ๑๐ (กัมมะ) การงานมีปัญหาอุปสรรคมากมาย เพื่อนร่วมงานมักไม่ให้ความร่วมมือ หรือคอยปัดแข้งปัดขา เจ้านายไม่ให้ความสำคัญ อาจทำให้เบื่อหน่ายถึงกับเปลี่ยนแปลงโยกย้ายงาน หรือออกจากงาน ตกงานได้ เป็นระยะที่มักจะพบกับคนพาล คนไม่ดี เข้ามาเบียดเบียนเรื่องต่าง ๆ ไม่ควรเริ่มงานใหม่ หรือทำธุรกิจอะไรที่ใหญ่เกินตัว โอกาสพลาดและล้มเหลวมีมาก
    ราหูจรเข้าภพที่ ๑๑ (ลาภะ)ลาภผลการเสี่ยงไม่ค่อยดี เล่นมากเสียมาก เล่นน้อยเสียน้อย ไม่เล่นเลยจะดีกว่า เพื่อนใกล้ชิด คนสนิท หรือผู้ที่เคยให้การสนับสนุน มักแปรพักตร์ เห็นคนอื่นดีกว่าตน เป็นระยะที่ไม่ควรไว้วางใจใครง่าย ๆ โดยเฉพาะคนสนิท หรือ ใกล้ชิด เพราะอาจเดือดร้อน เข้าข่าย รู้หน้า แต่ไม่รู้ใจ แม้เพื่อนที่รู้ใจกันมาก่อน ก็อาจเปลี่ยนใจ ปันใจ ให้คนอื่นได้
    ราหูจรเข้าภพที่ ๑๒ (วินาศนะ) ไม่ใช่เรื่องดีนัก ภพนี้เป็นภพเร้นลับ ปิดบัง ซ่อนเร้น ต้องระวังคนที่เข้ามาใกล้ชิด หรือเข้ามาตีสนิท เพราะเขาอาจเข้ามาเพื่อหวังผลประโยชน์ หรือมีเจตนาร้ายแอบแฝงก็ได้ เดินทางไปไหนมาไหนต้องระวังคนร้าย คนพาล เช่นเดียวกับราหูจรเข้าภพอริ และมรณะ เพราะมันอาจเกิดขึ้นมาได้ โดยที่เราไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว หรือ ตั้งหลักได้ทัน
    จากตัวอย่างคำพยากรณ์ในเรื่องของราหูจรเข้าภพหรือเรือนต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า ราหูนั้นจรเข้าเรือนใด มักให้โทษแก่เรือนนั้นไม่มีข้อยกเว้น เหมือนบาปเคราะห์อื่น ๆ ทั้งนี้เพราะราหูไม่ใช่ดาว แต่เป็นจุดคำนวณคราส เป็นบ่อเกิดแห่งความมืดมิด เห็นผิดเป็นชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว จริงอยู่ที่ว่า หากราหูนั้นเป็นดาวเจ้าเรือนที่ให้คุณ เช่น เป็นดาวเจ้าเรือนลาภะ เมื่อจรเข้าภพปัตนิ ก็มักจะได้ลาภผลจากคนรัก คู่ครองเพศตรงข้าม แต่เนื่องจากราหูเป็นบาปเคราะห์ร้าย ดังนั้น ผลเสียในเรื่องเกี่ยวกับคนรัก คู่ครอง เพศตรงข้าม ต้องเกิดขึ้นแน่ เช่น เป็นระยะที่ลุ่มหลงมัวเมา เห็นฝ่ายตรงข้ามดีไปซะหมด โดยไม่พิจารณาถึงข้อเสียหรือจุดบกพร่อง มีหลายรายที่ได้คู่แตกต่างกันมาก ทั้งอายุ ฐานะความเป็นอยู่ ต่างชาติ ต่างภาษา ต่างศาสนา รสนิยม ทัศนคติ ฯลฯ เมื่อตกร่องปล่องชิ้นกัน ใช้ชีวิตร่วมกัน นานไป ก็จะเกิดปัญหาตามมา หากปรับตัวเข้าหากันไม่ได้ ในที่สุดก็ต้องเลิกราหย่าร้างกัน เป็นต้น
    สำหรับตัวอย่างคำพยากรณ์ราหูจรเข้าภพหรือเรือนนั้น เป็นตัวอย่างที่ให้ไว้อย่างกว้าง ๆ ทีนี้จะเป็นจริงหรือไม่ ? ก็ต้องพิจารณาสิ่งอื่น ๆ ประกอบ เช่น ราหูจรเข้าภพนั้น เรือนนั้น จะต้องพิจารณาว่า ราหูเป็นดาวเจ้าเรือนอะไร หรือ เป็นดาวที่ลอยอยู่ในเรือนอะไร เมื่อจรเข้ามาแล้ว ทับดาวอะไรในเรือนนั้น ๆ ต้องพิจารณาว่า มีดาวบาปเคราะห์อื่น ๆ มาทำมุมเสริมให้โทษร่วมกับราหูหรือไม่ ? ดาวเจ้าเรือนที่ราหูจรเข้าไปนั้น ถูกเบียนมากน้อยเพียงไร ? ถึงค่อยพยากรณ์ออกไป อย่าเห็นเพียงราหูเข้าเรือนใด แล้วพยากรณ์ว่าเรือนนั้นจะเกิดโทษ โดยไม่พิจารณาสิ่งอื่น ๆ ประกอบ อย่างนั้นถือเป็นความประมาท โอกาสที่จะทำนายพลาด ย่อมเกิดขึ้นแน่นอน
    ตำราไทยแต่ดั้งเดิม ได้รจนาไว้ว่า ราหูเป็นมิตรกับเสาร์ ดาวคู่นี้เมื่อพบกัน มักจะมีลาภใหญ่ แต่นั่นก็เป็นลักษณะแบบคู่มิตรพบกันทั่วไป แล้วเกิดลาภใหญ่ ดังเช่น อาทิตย์ (๑) พบพฤหัสบดี (๕), ศุกร์ (๖) พบอังคาร (๓) , พุธ (๔) พบจันทร์ (๒) เป็นต้น แต่ก็นั่นแหละครับ ถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อดาวร้าย ไม่ว่าจะเป็นดาวอะไร แม้จะเป็นคู่มิตรกัน ทำให้เกิดลาภก็จริงอยู่ ส่วนโทษนั้นต้องเกิดแน่นอน
    ดังเช่น ศุกร์ (๖) จรทับอังคาร (๓) มีลาภ เราจะต้องพิจารณาว่า ศุกร์ (๖) เป็นดาวอะไร ถ้าศุกร์ (๖) เป็นดาวเจ้าเรือนลัคน์ โคจรไปทับดาวอังคาร (๓) หรือ เสาร์ (๗) หรือ ราหู (๘) ย่อมจะสะเทือนถึงบุคคลผู้นั้น ตามลักษณะของ ศุภเคราะห์จรไปทับบาปเคราะห์ย่อมเกิดโทษ อาจเจ็บไข้ไม่สบาย หรือ พบอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ เสมือนคนเดินทาง เมื่อฝ่าดงหนาม หรือ ถนนที่มีดินขรุขระ ก็ย่อมเจ็บตัว หรือเดินอย่างลำบากเป็นของธรรมดา
    หรือ ดาวเสาร์ (๗) เป็นดาวเจ้าเรือนภพที่ ๔ คือ บ้าน ยวดยานพาหนะ เมื่อดาวราหู (๘) คู่มิตร จรเข้าทับ แม้จะมีลาภก็จริง แต่ภพที่ ๔ ย่อมสะเทือน แบบเดียวกับบาปเคราะห์จรเข้าภพที่ ๔ ได้เห็นมามากแล้วว่า มักจะมีการโยกย้ายที่อยู่ หรือ เดินทาง หรือ เกิดรถเสีย รถชนกันเสียหายอันชาติกำเนิด หรือ ตัวตนของพระราหูนั้น ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า มีเรื่องราวความเชื่ออยู่ ๒ แนว หรือ ๒ ลัทธิความเชื่อ คือ ถ้าเชื่อในแนวทางดั้งเดิมของศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดู ราหูจะเป็นฝ่ายอธรรม เพราะพราหมณ์หรือฮินดูนั้น ถือว่า พวกอสูร เป็นฝ่ายชั่วร้าย อยู่ตรงกันข้ามกับเทวดา ที่เป็นฝ่ายดีงาม ถ้าเชื่อในแนวนี้ล่ะก็ หน้าตาของพระราหู หรือ พวกอสูร หรือ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แทตย์” จะมีหน้าตาที่ค่อนข้างอัปลักษณ์ ใกล้เคียงกับยักษ์ หรือ พวกกุมภัณฑ์ กล่าวคือ ผมหยิก ตาโต จมูกบาน มีเขี้ยวงอกออกมา อย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ เห็นกันอยู่ตามภาพวาด และปฏิมากรรมต่าง ๆ
    แต่ถ้าเชื่อในแนวทางพระพุทธศาสนา ที่มีมาในภายหลัง โดยเฉพาะคัมภีร์โลกบัญญัติ ที่แต่งโดยสมเด็จพระพุฒโฆษาจารย์ หรือ ในคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องกับภพภูมิต่าง ๆ เช่น ไตรภูมิพระร่วง ที่มีมาแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ก็จะกล่าวถึงพวกอสูร หรือ พระราหู ซึ่งเป็นอสูรตนหนึ่ง ไว้ในภพภูมิเดียวกับเทวดา แต่ไม่จัดให้อยู่ในขอบเขตของสวรรค์ชั้นใด ไม่ขึ้นอยู่กับการปกครองของเทพเทวดาองค์ใดทั้งสิ้น มีนครหรือเมืองเป็นของตนเอง อยู่ที่เชิงเขาสิเนรุมาศ มีน้ำล้อมรอบ ที่เรียกว่า “นครอสูรใต้พิภพ”
    อย่างที่บอกเอาไว้แต่ต้นที่ว่า พวกอสูรนั้น แต่เดิมถือกำเนิดอยู่บนสวรรค์อันเป็นที่ตั้งของชั้นดาวดึงส์ มีชื่อเรียกขานว่า “เนวาสิกเทพ” แน่นอนที่ว่า ย่อมมีกายทิพย์ สมบัติทิพย์ ไม่ต่างจากเทวดาทั่วไป ดูเหมือนว่า จะอยู่ในภพภูมิที่สูงกว่าเทวดาชั้นที่หนึ่ง ที่ชื่อว่าชั้นจาตุมหาราชิกาเสียอีก แต่เนื่องจากถูกพวกของพระอินทร์ หรือ “มฆเทพ” ที่อุบัติขึ้นมาในสวรรค์ชั้นเดียวกับพวกเนวาสิกเทพในภายหลัง ใช้กลอุบายด้วยการมอมเหล้าสวรรค์ หรือ ที่เรียกว่า “น้ำคันธบาน” จนหมดสติทุกตัวตน จึงถูกพวกของพระอินทร์ที่ไม่ได้เมา แต่แกล้งเมา จับโยนจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แล้วสถาปนาตนเองขึ้นเป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นนี้แทน
    และเมื่อพวกเนวาสิกเทพ ฟื้นคืนสติขึ้นมา ก็เสียใจพากันร้องห่มร้องไห้ ที่เสียรู้พวกของพระอินทร์ ที่มอมเหล้าพวกตน จึงได้พากันสาบานตนว่า แต่นี้ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน จะไม่ขอแตะต้องน้ำคันธบาน หรือ เหล้าอีกต่อไป และขนานนามพวกของตนเองเสียใหม่ว่า “อสุรา” แปลว่า “ผู้ไม่ดื่มเหล้า” มาจนทุกวันนี้
    เมื่อพวกอสูรแต่ดั้งเดิมถือกำเนิดเป็นเทวดา เมื่อถูกจับโยนลงมาจากสวรรค์ ด้วยบุญกุศลเก่าที่เคยสร้างสมเอาไว้ยังไม่หมดสิ้น ก็ได้เกิดนครใหญ่ขึ้นมา เพียบพร้อมไปด้วยปราสาท ราชวัง และสิ่งอันเป็นทิพย์อุบัติขึ้นรองรับ ก็เลยเกิดนครอสูรใต้พิภพ หรือ อยู่ใต้สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือ อยู่เชิงเขาสิเนรุมาศ มีน้ำล้อมรอบ เป็นถิ่นที่อยู่ของพวกอสูร หรือ เทพอสูร นั่นเอง
    อันรูปร่างหน้าตาของพวกอสูรนั้น ท่านผู้รู้ในด้านศิลป ได้วาดให้มีลักษณะใบหน้าไปทางยักษ์ แต่ไม่เหมือนยักษ์ ถ้าสังเกตให้ดี ๆ ยักษ์จะมีเขี้ยวที่โง้งยาวออกมามากกว่า และเขี้ยวนั้น มักจะโง้งขึ้น แต่พวกอสูรนั้น มีเขี้ยวที่เล็กกว่า และโง้งลง เหตุที่เป็นดังนี้ คงเนื่องมาจากต้องการให้เกิดความแตกต่าง ระหว่างเทวดา และพวกอสูรเป็นสำคัญ เพราะอันที่จริงแล้ว พวกอสูรนั้น เมื่อกำเนิดเป็นเทวดา ก็ย่อมจะมีรูปร่างหน้าตาที่สวยสดงดงาม คงไม่น่าเกลียดน่ากลัวเหมือนยักษ์มาร ปีศาจแน่นอน
    ในพระสูตรต่าง ๆ ได้มีการกล่าวถึงพระราหูไว้หลายพระสูตรด้วยกัน โดยเฉพาะในมหาสมัยสูตร ที่กล่าวถึงการเข้าเฝ้าของพวกพรหม เทวดา ต่าง ๆ ก็จะมีการกล่าวถึงพระราหูเข้าเฝ้าอยู่ด้วย ลองคิดดูนะครับว่า ถ้าราหูเป็นพวกยักษ์มาร หรือ พวกอยู่ชั้นอบายภูมิ ที่ต่ำกว่ามนุษย์เสียอีก จะมีโอกาสได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเชียวหรือ และถ้าหากพวกอสูรไม่ใช่พวกที่เกิดบนสวรรค์ หรือ เป็นเทวดาพวกหนึ่ง จะมีฤทธิ์อำนาจ บุญบารมี ถึงกับขนาดยกทัพขึ้นไปต่อกรกับพวกเทวดา เพื่อแย่งชิงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์คืนได้อย่างไร ดังนั้น บทสรุปในความเชื่อของพุทธศาสนาก็คือ อสูร หรือ พระราหู คือ เทวดาพวกหนึ่ง ที่ไม่มีสวรรค์จะอยู่ เนื่องจากถูกแย่งชิงไป และมีชื่อเรียกใหม่ว่า อสุรา หรือ เทพอสูร ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
    เป็นธรรมดาครับ ที่การวาดภาพของพวกอสูรให้แตกต่างจากเทวดา ก็เพื่อการแยกแยะ ไม่งั้นภาพของการสู้รบกัน คงจะแยกไม่ออกว่า ฝ่ายใดเป็นเทวดา ฝ่ายใดเป็นอสูร อาจเป็นไปได้ว่า พวกอสูรนั้น เมื่อเกิดความแค้น ความโกรธ ก็ย่อมทำให้ใบหน้าที่สวยงามนั้น ดุดัน น่าเกลียด น่ากลัว หรือไม่ก็นัดกันจำแลงกายให้ต่างจากพวกเทวดา ไม่งั้นคงฆ่ากันเองแน่ นี่ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ใบหน้าของพวกอสูร หรือ พระราหู กระเดียดไปทางพวกยักษ์
    พวกอสูรนั้น ชั่วร้าย เป็นฝ่ายอธรรมจริงหรือ ? ไม่มีเรื่องราวตอนใดในพระพุทธศาสนา ที่บ่งบอกเช่นนั้น การที่ฝ่ายพ่ายแพ้ เพราะเสียรู้ ถูกแย่งชิงถิ่นที่อยู่ แล้วเกิดอาการอยากได้คืน ยกทัพไปเพื่อจะแย่งชิงกลับมา เป็นพวกชั่วร้ายล่ะก็ ผมว่าพวกพระอินทร์น่าจะชั่วร้ายกว่า เพราะไปแย่งชิงของเขาก่อน แต่ก็นั่นแหละครับ ชนะเป็นเจ้า แพ้เป็นทาส หรือ เป็นโจร เป็นขบถ มันเป็นเรื่องธรรมดาทุกยุคสมัย แม้กระทั่งบนสวรรค์ก็ไม่เว้น อย่าลืมว่า เทวดา ก็ยังมีกิเลสอยู่นะครับ ดังนั้น เรื่องการรบราฆ่าฟัน แย่งชิงอำนาจกันย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ต่างอะไรกับมนุษย์เดินดินกินข้าวแกงหรอกครับ
    พวกเทวดานั้น ถ้าสามารถเอาเปรียบพวกที่ต่ำต้อยกว่าได้ ก็จะเอาเปรียบทันที อย่างกรณีของการกวนน้ำอมฤตเช่นกัน ฝ่ายที่คดโกง หรือ เบี้ยวนั้น คือ พวกเทวดาครับ และการที่พระราหูแอบไปขโมยน้ำอมฤตดื่มนั้น จะว่าราหูชั่วร้ายคงไม่ได้ เพราะพวกอสูร หรือ พวกอมนุษย์ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา อันได้แก่ พวกคนธรรพ์ อนันตยักษ์ นาค ครุฑ ฯลฯ ล้วนมีส่วนช่วยในการกวนน้ำอมฤต ย่อมจะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่ง แต่นี่ไม่เป็นเช่นนั้น พวกเทวดาถือโอกาสเมื่อกวนน้ำอมฤตเสร็จ ก็เอาน้ำอมฤตทั้งหมด ยึดเอาไว้เป็นของตน พากันเหาะลิ่วนำไปยังที่อยู่ของตน โดยอ้างว่า ถ้าพวกอื่นที่ไม่ใช่พวกตนดื่มเข้าไป จะเป็นภัยต่อชาวโลก ดูเหมือนจะเป็นข้ออ้างที่ใคร ๆ ก็อ้าง และกล่าวหากันได้ เป็นธรรมหรือไม่ คิดอ่านกันเอาเอง
    พูดถึงน้ำอมฤตนั้น ถือเป็นเรื่องของความเชื่อพวกฮินดูหรือพราหมณ์ ในทางพระพุทธศาสนานั้น สรรพสัตว์ในโลกนี้ ไม่ว่าภพภูมิใด ย่อมมีการเวียนว่าย ตายเกิด ไม่มีชีวิตที่นิรันดร์หรอกครับ เว้นแต่สำเร็จมรรคผลนิพพาน เป็นอรหันตบุคคลเท่านั้น การที่พระราหูถูกจักรพระนารายณ์ตัดขาดเป็นสองท่อน แล้วไม่ตาย ด้วยอำนาจของน้ำอมฤตที่พระราหูดื่มเข้าไป พวกเทวดาที่จะได้รับส่วนแบ่งน้ำอมฤต น่าจะเป็นพวกเทวดาที่มีความสำคัญ เช่น พวกเทวดานพเคราะห์ หรือ พวกเทวดาที่เป็นใหญ่ทั้งหลาย เพราะท่านเหล่านี้ ล้วนมีบทบาทสำคัญต่อชาวโลก เช่น เทพอัคคี เทพแห่งพายุและฝน เทพแห่งนรก เทพแห่งการกสิกรรม ฯลฯ เป็นต้น น้ำอมฤตคงมีไม่มากพอให้กับเทวดาทุกตัวตนแน่นอน
    ในทางพระพุทธศาสนา ได้กำหนดอายุของสัตว์ในภพภูมิต่าง ๆ พวกเทวดาก็เช่นเดียวกัน ย่อมมีอายุตามกำหนดเอาไว้ ไม่มีเทวดาตนใดมีอายุเกินไปกว่าที่กำหนดแน่ อย่างเช่น เทวดาในชั้นที่หนึ่ง จาตุมหาราชิกา จะมีอายุเพียง ๕๐๐ ปีทิพย์, ชั้นที่สอง ดาวดึงส์ ๑๐๐๐ ปีทิพย์ ฯลฯ เป็นต้น จะยกตัวอย่างการคิดคำนวณอายุของมนุษย์ กับเทวดาทั้งสองชั้น คือ
    ๕๐ ปีของมนุษย์ เป็น ๑ วัน ๑ คืน ของเทพชั้นจาตุมหาราชิกา ๓๐ วันคืน เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือน เป็น ๑ ปี ๕๐๐ ปีทิพย์ เป็นกำหนดอายุของเทพเหล่านั้น เท่ากับ ,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์
    <?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 path=" m@4@5 l@4@11@9@11@9@5 xe" stroked="f" filled="f" o:spt="75" o:preferrelative="t" coordsize="21600,21600"><v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0 "></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0 "></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1 "></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2 "></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth "></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight "></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1 "></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2 "></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth "></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0 "></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight "></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0 "></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:lock v:ext="edit" aspectratio="t"></o:lock></v:shapetype><v:shape id=_x0000_s1025 style="WIDTH: 5.25pt; HEIGHT: 5.25pt; mso-wrap-distance-left: 11.25pt; mso-wrap-distance-right: 11.25pt" coordsize="21600,21600" alt="" type="#_x0000_t75"><v:imagedata o:href="http://www.prapitum.mbu.ac.th/phrarpitum/images/transparent.gif" src="astgd_50_files/image001.gif"></v:imagedata></v:shape> ๑๐๐ ปี ของมนุษย์เป็น ๑ วัน ๑ คืน ของเทพชั้นดาวดึงส์ ๓๐ วันคืน เป็น ๑ เดือน ๑๒ เดือนเป็น ๑ ปี ,๐๐๐ ปีทิพย์ เป็นกำหนดอายุของเทพชั้นดาวดึงส์ เท่ากับ ๓๖,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์
    การกำหนดอายุของสัตว์ในภพภูมิต่าง ๆ นั้น ใช่ว่า ผู้ที่ถือกำเนิดในภพภูมินั้น จะต้องมีอายุยืนยาวเท่าที่กำหนดไว้เท่ากันทุกตัวตน อย่างเช่น มนุษย์ในสมัยปัจจุบัน ได้มีการกำหนดเอาไว้มากที่สุดเพียง ๑๐๐ ปี แต่จะมีสักกี่คนที่จะมีอายุยืนยาวถึง ๑๐๐ ปี บางคนอาจจะเกินร้อย บางคนอาจจะตายก่อนหน้านั้น เกิดเพียงวันเดียว นาทีเดียวตายก็ยังมี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบุญทำกรรมแต่ง ดังนั้น การกำหนดอายุของสัตว์ในภพภูมิต่าง ๆ จึงเป็นเพียงมาตรฐานทั่วไป ที่สัตว์ในภพภูมินั้นจะมีอายุอยู่ได้เท่านั้นเอง
    การอุบัติของเทวดาหรือสัตว์โลกในภพภูมิต่าง ๆ นอกจากมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน ล้วนเป็นการอุบัติขึ้นในทันทีทันใด มีร่างกายเป็น โอปปาติกะ คือ มีกายที่ละเอียดมาก ไม่อาจมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ และการอุบัติขึ้นนั้น ก็เกิดขึ้นทันทีทันใด เกิดขึ้นมาเป็นตัวตน เป็นผู้ใหญ่ทันที ไม่ต้องมาเกิดเป็นทารก หรือเด็กอ่อน เหมือนคนหรือสัตว์เดรัจฉาน และเมื่อตายจากภพภูมินั้น ร่างกายก็จะสูญสลายหายไปเอง ไม่มีซากศพแต่อย่างใด พวกโอปปาติกะที่ว่านี้ ได้แก่พวก เทวดา พรหม เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และพวกอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น นาค ครุฑ คนธรรพ์ ยักษ์ กุมภัณฑ์ รวมไปถึง พวกอสูรที่เป็นเทวดาตกสวรรค์ด้วย
    ที่บรรยายเรื่องของอายุของสัตว์ในภพภูมิต่าง ๆ นั้น เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในเรื่องของความเชื่อของศาสนาพุทธ กับ พราหมณ์ ว่าต่างกันอย่างไร เวลาพูดคุยกัน จะได้ไม่มาเถียงกันหน้าดำหน้าแดง เพราะลัทธิความเชื่อที่ต่างกัน แม้กระทั่งรูปลักษณ์ของพระราหู ก็อยู่ในขอบข่ายเดียวกัน ก่อนที่จะคุยกันในเรื่องนี้ ต้องตกลงกันก่อน ว่าจะคุยกันในเรื่องของลัทธิความเชื่อในศาสนาใด ไม่งั้นเดี๋ยวตีกันตายแน่ กว่าจะหาข้อยุติได้
    เรื่องราวของพระราหู ถ้าจะให้เป็นฝ่ายร้าย ต้องถือให้เป็นเรื่องของโหราศาสตร์โดยเฉพาะ ด้วยเหตุที่ ราหูนั้น เป็นคราสร้าย เป็นบาปเคราะห์ที่ให้โทษ จะเรียกว่า ท่านมีหน้าที่ให้โทษแก่มวลมนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก เมื่อถึงเวลาที่มนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต้องรับกรรมตามกำหนด หรือ ตามกรรมเวรที่ได้ก่อไว้ ลำพังตัวท่านเอง ไม่ได้ชั่วร้าย แต่หน้าที่ของท่าน ทำให้ท่านต้องทำ ต้องบันดาลให้เป็นไป เหมือนกับพญามัจจุราช มีหน้าที่คร่าชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งหลาย เมื่อถืงเวลา หรือ พญายมบาล เทพเจ้าแห่งขุมนรก ที่มีหน้าที่ลงโทษสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่ต้องตกนรก และลงมาชดใช้กรรม ถือเป็นหน้าที่ของท่าน จะมาว่าท่านโหดร้ายคงไม่ได้
    เรื่องของพญามัจจุราช เทพเจ้าแห่งความตาย กับ พระยายมราช หรือ พระยม เทพเจ้าแห่งขุมนรก มีหลายท่านยังเข้าใจผิด คิดว่าท่านเป็นเทพองค์เดียวกัน แท้ที่จริงแล้ว ทั้งสองพระองค์ ต่างเป็นเทพคนละองค์กัน มีหน้าที่ต่างกัน เรื่องเหล่านี้ ผมจะขยายรายละเอียดให้ทราบกัน ในเรื่องของดาวเกตุ หรือ พระเกตุ และ ดาวพลูโต หรือ พระยม ที่จะนำเสนอในตอนต่อไป ซึ่งความเห็นของผม อาจจะเพี้ยน หรือ ผิดแผกแตกต่างจากท่านผู้รู้ท่านอื่นบ้าง ท่านจะเชื่อหรือไม่ ? ก็ขอให้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของท่านก็แล้วกัน
    พระเกตุ จอมวิปริต อาเพท (๑)
    ********************
    พระเกตุ ตามคติของฮินดู หรือ พราหมณ์ คือ ส่วนหางของพระราหู เรียกว่า หางมังกร ที่ถูกตัดขาดจากลำตัวของพระราหู แต่เพราะพระราหูลักลอบดื่มน้ำอมฤตคราวเทวดากวนเกษียรสมุทร พระราหูจึงไม่ตาย กายท่อนบนยังคงลอยไปกลางนภากาศ คอยจับอาทิตย์กับจันทร์อม นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า ส่วนหางของพระราหู คือ พระเกตุ นั้น เมื่อถูกตัดขาดออกจากกัน จากเดิมที่เป็นเทพองค์เดียวกัน ก็เกิดการอุบัติของเทพองค์ใหม่ กลายเป็นสององค์ หรือดาวพี่ดาวน้อง ดาวคู่แฝดกัน ในโหราศาสตร์ระบบพลูหลวง จึงได้จัดให้ ดาวราหู และ ดาวเกตุ ที่เป็น ดาวเทียม (คือ สมมุติให้เป็นดาว เพราะแท้ที่จริงตามธรรมชาติแล้ว ทั้งสองคือจุดคำนวณคราส) เป็นเกษตรอยู่ในราศีเมถุน ที่แปลว่า คนคู่ ฝาแฝด หรือ คนเสพกาม
    เมื่อพระราหูถูกตัดออกเป็นสองท่อนแล้ว ด้วยอำนาจบุญฤทธิ์ของเทวดาที่มีกายเป็นโอปปาติกะ คือ เป็นการทิพย์ที่ละเอียดเกิดขึ้นทันทีทันใด ดังนั้น กายท่อนล่างที่ถูกตัดขาดไปนั้น ก็งอกเงยขึ้นมาใหม่ แต่แทนที่จะกลายเป็นหางมังกรเหมือนเดิม กลับกลายเป็นเท้าสองข้างเหมือนเทพทั่วไป เรื่องนี้ไม่ได้เป็นความคิดเห็นของกระผมเพียงคนเดียวนะครับ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะอย่าลืมว่า แม้จิ้งจก ที่ถูกตัดหาง ยังสามารถมีหางงอกเงยขึ้นมาใหม่ได้ นับประสาอะไรกับเทพอสูรอย่างพระราหู ที่ดื่มน้ำอมฤต มีความเป็นอมตะ จะไม่สามารถเนรมิตกายท่อนล่างขึ้นมาใหม่ หรือ อุบัติกายท่อนล่างขึ้นมาใหม่ได้
    ลองคิดดูนะครับ คิดง่าย ๆ ถ้าราหูมีกายครึ่งท่อนอย่างที่เข้าใจโดยทั่วไป ราหูคงไม่มีพาหนะเป็นถึงพญาครุฑ (หรือบ้างก็ว่า ม้าทรง ๘ ตัว) ดุจเดียวกับพระนารายณ์ได้ และคงลำบากน่าดู หากจะต้องนำทัพ ไปสู้รบกับเทวดาในฐานะอุปราชแห่งนครอสูรใต้พิภพ ทีนี้ถ้าท่านสงสัยว่า เอ เวลาภาพวาดพระราหูอมอาทิตย์ กับ อมจันทร์ ทำไม ไม่เคยเห็นส่วนล่างของพระราหูเลย ก็ลองคิดง่าย ๆ ว่า เวลาเทพเทวดาที่เหาะอยู่บนสวรรค์ โดยปราศจากรถทรง หรือ พาหนะทรงนั้น ว่าส่วนหัว ส่วนลำตัว ส่วนท้าย หรือ ขา จะต้องอยู่ในแนวระนาบ หรือ แนวนอน (แบบซุปเปอร์แมนน่ะแหละ) ยิ่งต้องใช้ความเร็วในการไล่ล่าด้วยแล้ว จำเป็นมากที่ต้องเหาะท่านี้ เหมือนนกบิน หรือ เครื่องบินน่ะแหละ จะมามัวเหาะล่องลอย อ้อยอิ่ง เหมือนปกติทั่วไปแบบเมขลาล่อแก้ว คงไม่ทันการ หรือ ทันกิน (อม) พระอาทิตย์ กับ พระจันทร์ แน่
    ทีนี้มาดูกายท่อนล่าง ที่เป็นส่วนหางกันบ้าง ใครที่คิดว่า พระเกตุมีแต่หาง ไม่มีส่วนบนของลำตัว และส่วนหัวล่ะก็ คิดผิดเต็มประตูเลยทีเดียว ลองคิดง่าย ๆ นะครับ คนเราหากมีกายครึ่งท่อนล่าง จะไปทำอะไรได้ พระเกตุก็เช่นกัน เป็นถึงเทพพระเคราะห์องค์หนึ่ง มีฤทธานุภาพน้อง ๆ พระราหู คงเป็นไปไม่ได้ที่มีกายแค่ครึ่งท่อนล่าง ดังนั้น เมื่อถูกตัดขาดแล้ว จึงได้อุบัติกายท่อนบนขึ้นมาใหม่ ในหนังสือประเพณีพิธีมงคลของไทย ได้กล่าวถึงพระเกตุเทวราชว่า “ทรงซึ่งทิพยสุวรรณอาภรณ์ วิภูษิต ทรงพระยามังกรเรืองฤทธิ์เป็นพาหนะ พร้อมด้วยเทพยสุราฤทธิ์เรืองเดชแวดล้อมเป็นบริวาร สถิตในสถานปัจฉิมทิศ” แปลง่าย ๆ ก็คือ มีกายเป็นสีทองคำสุกอร่าม มีพระยามังกรเป็นพาหนะ เป็นเทวดาพระเคราะห์อยู่ประจำทิศปัจฉิม ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ ท่าน จ.เปรียญ ผู้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้กล่าวว่า นำมาจากร่ายดุษฎีสังเวยพระเคราะห์ ซึ่งเป็นของเก่ามีมาแต่สมัยโบราณ
    ในหนังสือ “เทวโลก” ของ อ.พลูหลวง กล่าวว่า เกตุ มีผิวกายเป็นสีทองแดง หรือไม่ก็สีของควัน เป็นหมอกมัว (ขาวอมเทา) มีม้าทรง ๘ ตัว เช่นพระราหู มีกายเป็นแบบบุคลาธิษฐาน (คือ แต่งขึ้นมา) เป็นเทวดา หรือ เทพอสูร บางแห่งถือว่า เกตุ คือ ดาวหาง ลูกอุกกาบาต และดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙ ของสุริยะระบบ ซึ่งต่อมาได้มีการค้นพบดาวพระเคราะห์เพิ่มเติมในภายหลัง ความเชื่อนี้ก็หมดไป เพราะว่า พระเคราะห์ดวงที่ ๗ นั้น คือ ยูเรนัส ดวงที่ ๘ คือ เนปจูน ดวงที่ ๙ คือ พลูโต และดวงที่ ๑๐ คือ ดาว ทรานสพลูโต หรือ ดาวแบคคัส ซึ่งผมจะได้นำมาเสนอตามลำดับต่อไป
    สำหรับประวัติเรื่องราวความเป็นมาของพระเกตุ ว่าถือกำเนิดอย่างไร เป็นลูกเต้าเหล่าใคร คงไม่ต้องบรรยายนะครับ เพราะว่า ประวัติเรื่องราวของพระเกตุ ก็คือเรื่องเดียวกันกับพระราหูนั่นแหละ แต่เมื่อกายถูกตัดออกแล้ว ถึงได้แยกเป็นเทพองค์ใหม่ มีหน้าที่และบทบาทต่าง ๆ แยกออกไปจากพระราหู ในทางโหราศาสตร์ไทย ในเรื่องของเทวดาประจำทิศทั้ง ๘ ไม่อาจจัดเกตุให้อยู่ในทิศใดได้ตามคัมภีร์มหาทักษา จึงได้จัดพระเกตุเอาไว้ในภูมิกลาง ดังที่เคยได้นำผังภาพตำแหน่งเทวดาประจำทิศ มาเสนอไว้ในตอนที่ผ่าน ๆ มาแล้ว
    สำหรับความเชื่อของเกตุทางด้านโหราศาสตร์นั้น มีความเชื่ออยู่ ๒ แบบ คือ เชื่อแบบฮินดู ต้นตำรับ กับ เชื่อแบบไทย ๆ ที่มีมาและนำมาใช้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกตุฮินดูนั้น ถือว่า เป็นส่วนหางที่ถูกตัดขาดจากตัวราหู จึงโคจรอยู่ราศีตรงข้ามกับราหูเสมอ และมีสมผุส หรือ องศาที่เท่ากัน ส่วนเกตุไทยนั้น คำนวณขึ้นมาต่างจากฮินดู คือ ใช้วิธีคิดคำนวณแบบดาราศาสตร์ ดังได้กล่าวมาแต่ต้นแล้วว่า จุดคราส คือ สุริยคราส นั้น มีอนุกรมเป็นชุด ๆ แต่ละอนุกรมเมื่อโคจรครบรอบจักรราศีแล้ว จะตรงกับ ๑๘ ปี ๑๐ วัน ๘ ช.ม. เสมอ และปกติการโคจร มักจะถอยหลัง สวนทางกับดาวพระเคราะห์อื่น ๆ ทั่วไป
    ทีนี้เกตุไทยก็ถือเอาจากราหูนั่นเอง โคจรในปีหนึ่ง อาทิตย์จะตัดกับราหู หรือ พบกับราหูในราศีเดียวกัน และมีสมผุสที่สนิทกัน ระยะเวลาที่จะพบและสนิทแต่ละครั้ง เอาเวลาช่วงนั้นมาคำนวณหาเกตุขึ้น จึงเกิดเป็นคราสน้อย เกตุจึงเป็นบาปเคราะห์และเป็นไฟแดง เมื่อโคจรสู่ราศีใด จะให้โทษเสมอ โดยปกติแล้ว เกตุจะมีวงโคจรรอบหนึ่งในจักรราศี คือ ครบทุกราศี เท่ากับ ๖๗๙ วัน หรือ โคจรอยู่ในแต่ละราศี หรือ ย้ายราศีแต่ละครั้ง อยู่ในช่วง ๒ เดือน ดังนั้น โอกาสที่เกตุกับราหู จะเดินทันกัน หรือ อยู่ราศีเดียวกัน เดินแซงหน้า ย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่าย เพราะเกตุเดินเร็วกว่า ดังที่ได้บอกเอาไว้แล้ว หากเกตุ กับราหู เดินทันกัน หรือ ร่วมราศีเดียวกันเมื่อไร โอกาสที่จะให้โทษร้ายแรงมากยิ่งขึ้น ย่อมมีแน่นอน เพราะเท่ากับ หัวและหาง พี่และน้อง ร่วมด้วยช่วยกัน บันดาลความวิบัติ หรือ ให้โทษแก่ดาว หรือ เรือนที่ราหูกับเกตุ อยู่ร่วมกัน และโคจรให้โทษในราศีเดียวกัน เสริมกำลังให้แก่กันและกันดี ๆ นั่นเอง
    เกตุนั้น มีอานุภาพการให้โทษน้อง ๆ ราหู แต่จะรุนแรงขนาดไหนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับว่า เกตุนั้น ได้รับกระแสร่วมด้วยช่วยกัน หรือ ได้รับการเสริมแรง เสริมกำลัง จากราหู หรือ บาปเคราะห์อื่น เช่น อังคาร เสาร์ มฤตยู เนปจูน พลูโต ในมุมกุม หรือ ร่วมธาตุ มากน้อยแค่ไหน หากได้รับกระแสมากเท่าไร ก็จะให้โทษมากเท่านั้น บางทีหลายดวงชะตา เมื่อเกตุจรมาทับลัคนา และได้รับกระแสจากบาปเคราะห์ร้ายหลาย ๆ ดวง ก็อาจทำให้กับอายุสั้น ตายโหง หรือ ตายก่อนวัยอันสมควรได้
    เกตุ เป็นดาววิปริตอาเพท แค่การกำเนิดของดาว ก็แปลก แตกต่าง วิปริต อาเพท จากดาวอื่น ๆ หรือ เทพพระเคราะห์อื่น ๆ ดังได้กล่าวมาแล้ว ดังนั้น เมื่อเกตุจรเข้าเรือนใด หรือ กุมดาวใด ย่อมก่อให้เกิดความวิปริตอาเพท ความไม่แน่นอน ความไม่ลงตัว ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่ไม่มีวันจบสิ้นโดยง่าย ในช่วงที่เกตุจรให้โทษอยู่ เช่น เกตุจรเข้าเรือนกฎุมพะ มักจะก่อให้เกิดปัญหา อุปสรรคในเรื่องของการเงิน และการเจรจา หลายรายทีเดียว มักจะเป็นหนี้สินในช่วงที่เกตุจรเข้าเรือนการเงิน หรือ มีเรื่องที่ต้องเสียเงิน แบบไม่เต็มใจ คือ จำใจต้องเสียไป เช่น เสียค่าปรับ หมดไปกับการพนัน เสียดอกเบี้ยให้กับธนาคาร หรือ ถูกธนาคารเรียกเก็บค่าธรรมเนียม มักจะก่อหนี้สินในช่วงนี้ หรือ เป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว เช่น ลูกค้าจ่ายเช็ค แล้วเช็คเกิดเด้ง หรือไม่ก็นำเช็คไปเข้าบัญชีไม่ทัน ทำให้เงินขาดบัญชี เสียค่าปรับมากมาย ทั้ง ๆ ที่ไม่น่าจะเสีย เหล่านี้เป็นต้น
    เกตุ เป็นดาวเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ภูติผีปีศาจโดยตรง คนที่มีเกตุกุมลัคน์ในดวงชะตา มักจะมีสัมผัสพิเศษเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ บ้างก็พบเห็น หรือ ฝันเห็นภูตผีปีศาจ หรือ คนแปลกหน้า ที่ไม่เคยพบเห็น หรือรู้จักกันมาก่อน หรือมักจะฝัน หรือ ได้ไปในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ฝันเห็นลัทธิพิธีกรรมแปลก ๆ มักมีสังหรณ์ที่แม่นยำ ทำอะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ ต่างจากผู้คนในยุคสมัย หรือ รุ่นราวคราวเดียวกัน
    เหตุที่เกตุเป็นดาวที่ข้องแวะกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จิตวิญญาณ ภูติผีปีศาจนั้น คงเป็นเพราะชาติกำเนิดของเกตุ ที่ผิดแผกแตกต่างไปจากเทพองค์อื่น คือ เกตุนั้นอุบัติขึ้นมาจากท่อนล่างที่ถูกตัดขาดของพระราหู และได้นิรมิตกาย หรือ อุบัติกายท่อนบนขึ้นมาใหม่ เหมือตายแล้วเกิดใหม่ และพวกที่ตายแล้วเกิดใหม่ หรือ ฟื้นคืนชีพ มักจะมีสังหรณ์ที่แม่นยำ สามารถสัมผัสกับสิ่งเร้นลับต่าง ๆ ได้ดี คนที่เกตุกุมลัคน์หลายดวงทีเดียว ที่ผ่านวิกฤติช่วงของความเป็นความตายมาแล้ว คือ อาจได้รับอุบัติเหตุอย่างหนัก หรือ ป่วยหนัก ปางตาย แต่ก็รอดตาย หรือ แคล้วคลาดมาได้ แล้วมักจะมีสัมผัสวิเศษ หรือ สังหรณ์ที่แม่นยำ ฝันที่แม่นยำ หรือเป็นจริง
    สัญลักษณ์ของเกตุไทยนั้น คือ เลข ๙ หรือ เลขอุณาโลม ที่เป็นตัวแทนของตาที่สามของพระอิศวร หรือ พระศิวะ ตามลัทธิของฮินดู อยู่เหนือหน้าผาก ตรงกึ่งกลางหว่างคิ้วทั้งสอง ซึ่งเลข ๙ นี้ ไทยเราก็เชื่อว่า เป็นเลขศักดิ์สิทธิ์ มีจิตวิญญาณเข้าครอบงำ เป็นเลขที่มีความหมายเกี่ยวกับ นวโลกุตรธรรม คือ หลักธรรมที่นำให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ได้แก่ สัมมาอริยมรรค มีองค์ ๘ และ นิพพานผล ๑ รวมเป็น องค์ ๙ ถือเป็นเลขศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา เช่นกัน
    ดังนั้น บุคคลที่เกตุกุมลัคน์ หากได้กระแสที่ดีจากศุภเคราะห์หลายดวง มักจะมีอายุยืน ไม่ตายด้วยโรคร้าย หรือ อุบัติเหตุ ไม่ตายโหง หรือ ตายก่อนวัยอันสมควร ดังคำทำนายของโหรโบราณที่ว่า ดูอายุ ให้ดูเกตุ แต่ก็นั่นแหละ การที่เกตุกุมลัคน์ ใช่ว่าจะไม่ตายก่อนวัยอันสมควร ตายโหง หรือ อายุยืนทุกคนไป ที่อายุสั้นก็มีมาก อาจเป็นเพราะว่า ลัคนา และดาวเจ้าเรือนลัคน์ โดนเบียนอย่างมาก ดังนั้น การพิจารณาในเรื่องของอายุนั้น จะพิจารณาเพียงเกตุแต่อย่างเดียวหาได้ไม่ ต้องพิจารณาตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัด ซึ่งผมได้เขียนบทความเรื่อง “ดวงชะตาถึงฆาต” เอาไว้ ลองไปหาอ่านกันเอาเอง ไม่อยากเอาของเก่ามาเล่าใหม่
    อันภาพวาด หรือ ปฏิมากรรม เกี่ยวกับรูปลักษณ์ของพระเกตุนั้น ผมเองก็จนใจที่จะหามาให้ดู เพื่อประกอบบทความนี้ได้ เพราะในบางท่านอาจจะเชื่อว่า เกตุนั้น ไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน ไม่มีถิ่นที่อยู่ เสียด้วยซ้ำไป หากจะวาดรูปลักษณ์ขึ้นมา ก็จะหาความแน่นอน ลงตัวไม่ได้ เลยไม่ค่อยมีใครเขาวาดกัน ปล่อยให้เกตุ เป็นดาวเกี่ยวกับความนึกคิด จิตวิญญาณที่ว่างเปล่าต่อไป ใครจะเสริมหรือปรุงแต่งอย่างไร สุดแต่ใจของแต่ละคน นี่แหละคือความวิปริตอาเพทอีกประการหนึ่งของเกตุ ที่ต่างจากพระเคราะห์อื่นทั่วไป
    เนื่องจากเกตุเป็นดาวเกี่ยวกับจิตวิญญาณ ภูติผีปีศาจ ความเป็นความตาย ของคนและสรรพสัตว์ทั้งหลายบนโลกมนุษย์ ดังนั้น จึงมีผู้รู้หลายท่าน เชื่อว่า หากจะนำเกตุมาเปรียบเทียบกับเทพเจ้าของไทยเราแล้ว น่าจะตรงกับเทพแห่งความตาย หรือ พญามัจจุราช มากที่สุด เรื่องนี้ ผมเองก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะเท่าที่ผมสังเกตการสิ้นอายุขัย หรือ ดวงชะตาถึงฆาตหลายต่อหลายดวง มักจะมีเกตุ เป็นตัวการเข้ามาส่งผลในดวงชะตาเสมอ ๆ ไม่จรทับลัคน์ ก็ จรทับดาวเจ้าเรือนลัคน์ หรือ ไม่ก็ทำมุมสัมพันธ์ที่ดี กับลัคนา และ ดาวเจ้าเรือนลัคน์ ในมุมตรีโกณ หรือ ศูนยพาหนะ (นำหน้า) เสมอ
     
  19. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    <TABLE style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=4 cols=1 borderColorDark=#0000ff cellPadding=4 width=242 bgColor=#00ffff borderColorLight=#008000 border=8><TBODY><TR><TD width=208><CENTER>พระพุทธรูปประจำวันเกิด</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    วันอาทิตย์ พระปางถวายเนตร
    ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ หรือผู้ที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวอาทิตย์ กล่าวคือ มีอาทิตย์เด่นในดวงชะตา ในทางโหราศาสตร์ท่านว่า ผู้นั้นมักรักเกียรติ รักศักดิ์ศรี ชอบเป็นผู้นำไม่ชอบอยู่ภายใต้บังคับของใคร เปรียบเหมือน "ดวงอาทิตย์" ที่เป็นประธานของสุริยจักรวาล เป็นต้นกำเนิดของดาวพระเคราะห์ทั้งหลาย ก่อกำเนิดพลังงานความร้อนและแสงสว่าง เป็นดาวสำคัญยิ่งในดวงชะตา จัดอยู่ในประเภทดาวศุภเคราะห์ให้คุณในด้านความมั่นคง เกียรติยศชื่อเสียง และยังมีความหมายในด้านดวงตาอีกด้วย หากดาวอาทิตย์ในพื้นดวงถูกบาปเคราะห์เบียนมาก ๆ ก็จะทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับตา เช่น ต้อเนื้อ ต้อกระจก บางทีอาจทำให้พิการถึงกับตาบอดได้
    จากความหมายของ "ดวงอาทิตย์" ในทางโหราศาสตร์นี่เอง ทำให้บรรพชนของไทยเรา ที่มีภูมิความรู้ในด้านโหราศาสตร์ และพุทธศาสนา อย่างพวกปุโรหิต โหราจารย์ในราชสำนัก ท่านจึงได้กำหนดให้ "พระพุทธรูปปางถวายเนตร" เป็นพระบูชาสำหรับผู้เกิดวันอาทิตย์ หรือ มีดาวอาทิตย์เด่นในดวงชะตา เพื่อเสริมบุญบารมีในด้านความเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าด้วยเกียรติยศ ขจัดความมืดบอด ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ให้แสงสว่าง และแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง
    [​IMG]
    สำหรับความเป็นมาของพระปางถวายเนตรนี้ได้มีการกล่าวถึงไว้ใน "พุทธประวัติ" หลายต่อหลายเล่มด้วยกัน และกล่าวตรงกัน ดังนี้ ครั้งเมื่อพระบรมศาสดาได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ได้ประทับเสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความสงบ ระงับด้วยกิเลสตัณหาราคะทั้งปวง) อยู่ ณ ภายใต้ร่มไม้พระศรีมหาโพธิ์ที่พระองค์ได้ประทับในคืนวันตรัสรู้ เป็นระยะเวลาถึง ๗ วัน
    หลังจากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปประทับยืน ณ ที่กลางแจ้งเบื้องทิศอีสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยส้นพระบาททั้งสองชิด ปลายเท้าแยก ปล่อยพระกร (แขน) ทั้งสอง ไว้เบื้องหน้า ประสานพระหัตถ์ทั้งสองไว้ที่กลางลำพระองค์ โดยพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย ทรงทอดพระเนตรต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยไม่กระพริบพระเนตร (ลืมตาตลอดเวลา) เป็นเวลาถึง ๗ วันด้วยกัน สถานที่ประทับยืนนั้นได้มีนามปรากฎว่า "อนิมิสเจดีย์" มาจนทุกวันนี้
    จากพระอิริยาบถที่ประทับยืนดังกล่าว ได้เป็นมูลเหตุที่ท่านโบราณาจารย์ได้คิดแบบอย่างสร้างองค์พุทธปฏิมากรในลักษณะนี้ขึ้น จะเรียกว่าเป็นการบังเอิญหรือไม่ก็ตามที ดวงอาทิตย์ ในภูมิทักษานั้นท่านกำหนดให้อยู่ประจำ ณ ทิศอีสาน ทิศเดียวกับที่พระพุทธองค์ประทับยืน ที่ทรงลืมพระเนตรตลอดนั้นคงจะเป็นด้วยพระองค์ทรงมีพระประสงค์ที่จะนอบน้อมบูชาแด่ "ดวงอาทิตย์" ดังที่มีการขานพระนามพระปางนี้ว่า "ถวายเนตร" มาถึงตอนนี้แล้วหลายท่านอาจจะสงสัยหรือข้องใจได้ว่าผู้เขียน "มั่วนิ่ม" หรือเปล่าอะไรกัน ? เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ยังต้องบูชา "สุริยเทพ" ซึ่งมีศักดิ์ศรีด้อยกว่าด้วยหรือ ? ข้อนี้ขอเรียนให้ทราบว่า อันลักษณะนิสัยของ "พระมหาบุรุษ" นั้น แม้จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้วพระองค์ก็มิได้เย่อหยิ่ง ทะนงตน ถือดี อวดเด่น ยกตนข่มท่าน แต่ประการใด แต่ทรงมีพระนิสัยนอบน้อมสุภาพ รู้การใดควรไม่ควร
    ดังเช่นครั้งหนึ่ง คราวพระองค์เสด็จกลับจากกิจนิมนต์ หรือโปรดสัตว์ ขณะเข้าสู่พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อมาถึงหน้าประตู ได้ทอดพระเนตรเห็น "พระอนุรุทธิ์" กำลังแสดงธรรมโปรดบรรดาพุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญอยู่ แทนที่พระพุทธองค์จะรีบเสด็จเข้าในทันที กลับทรงประทับยืนรอจนกว่าการแสดงธรรมจะเสร็จสิ้นลง ความทราบถึงพระอนุรุทธิ์ในภายหลัง ท่านได้กล่าวขอขมาอภัยที่ต้องทำให้พระพุทธองค์ต้องทรงประทับยืนคอยอยู่นาน พระพุทธองค์กลับตรัสว่า " เธอไม่ผิดดอก เพราะตถาคตเอง ก็ต้องนอบน้อมบูชาพระธรรมดุจกัน " มาถึงตรงนี้ ท่านผู้เกิดวันอาทิตย์ หรือมีลักษณะนิสัยเย่อหยิ่ง ทะนงตน ไม่ก้มหัวให้ใคร หากได้บูชาพระปางนี้แล้ว คงจะเป็นอุทาหรณ์สอนใจให้เจริญรอยตามบาทพระพุทธองค์ได้ไม่มากก็น้อย
    เรื่องการบูชา "ดวงอาทิตย์" หรือ "สุริยเทพ" นี้ มีมาแต่โบราณกาล ก่อนพระพุทธศาสนาเสียอีก พวกอียิปต์โบราณ ในสมัยที่ยังมี "ฟาโรห์" ปกครอง ถึงกับยกย่องให้เป็นใหญ่เหนือเทพใด ๆ ทั้งปวง โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "เทพเจ้ารา" หรือ "รา สุริยเทพ" รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่อง "สุริยเทพ" นี้ ท่านคงจะติดตามได้ในภายหลังในคอลัมน์นี้ ในบทความชุด "เทวดาในโหราศาสตร์" หวังว่าคงไม่พลาดการติดตาม
    ในทางพระพุทธศาสนาได้มีบทสวดมนต์ เพื่อนอบน้อมแก่ "ดวงอาทิตย์" หรือ "สุริยเทพ" เช่นกัน เป็นบทสวดมนต์เก่าแก่ใน "เจ็ดตำนาน" ที่มีชื่อเรียกว่า "โมรปริต" ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร พระอริยสงฆ์อันเป็นที่เคารพกราบไหว้ของคนทั้งประเทศ ท่านได้นำหัวใจของบทสวดมนต์บทนี้ ในตอนที่ว่า "นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุติยา " หรือที่เรียกกันว่า "หัวใจพญานกยูงทอง" มาจารึกเอาไว้ในด้านหลังเหรียญรูปเหมือนของท่านทุกรุ่น ด้วยโบราณาจารย์ท่านกล่าวว่า ผู้ใดเจริญโมรปริตทุกค่ำเช้า จะปลอดจากอันตรายทั้งปวง อันเกิดจากขวากหนามเครื่องดักทั้งหลาย และสรรพอันตรายอันรออยู่เบื้องหน้า เหมือนกับพญานกยูงทองที่เจริญพระคาถานี้ไว้แล้ว สามารถมีชีวิตยืนยาวมาจนเผลอสติถูกบ่วงนายพราน เพราะเสียงของนางนกยูงต่อ แต่เมื่อถูกจับไปแล้วก็สามารถเอาตัวรอดได้เพราะบารมีแห่งการเจริญพระคาถาโมรปริตนี้เอง รายละเอียดเกี่ยวกับบทสวด "โมรปริต" นี้ หากท่านผู้ใดสนใจ ลองหาดูได้จาก "เจ็ดตำนาน" ที่มีการพิมพ์แพร่หลาย จำหน่ายทั่วไป บทสวดบางเล่มอาจจะมีคำแปลเป็นภาษาไทยเอาไว้ด้วย ลองดูตัวอย่างสักเล็กน้อยเป็นไรครับว่าพญานกยูงทองนั้น กล่าวบูชาพระอาทิตย์เมื่อแรกขึ้นไว้อย่างไร ? ทำไมถึงส่งผลทางด้านคุ้มครองได้อย่างดีนัก
    " อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง" แปลว่า "พระอาทิตย์นี้อุทัยขึ้นมา เป็นผู้ให้ดวงตาแก่โลก เป็นเจ้าใหญ่ (ในการให้แสงสว่าง) สาดแสงสีทองส่องปฐพี เพราะเหตุนั้น ข้า ฯ ขอนอบน้อมพระอาทิตย์ ผู้สาดแสงสีทองส่องปฐพีนั้น ข้า ฯ อันท่านคุ้มครองแล้ว พึงอยู่เป็นสุขตลอดเวลากลางวันนี้ "
    เป็นไงครับ บทขึ้นต้นที่กล่าวบูชาพระอาทิตย์ หลังจากพญานกยูงทองกล่าวบูชาสุริยเทพแล้ว ยังได้กล่าวบูชาพระพุทธเจ้าในอดีต ในบทที่สอง แล้วจึงออกไปหาอาหาร และเมื่อพระอาทิตย์จะอัสดง ก็ได้กล่าวบูชาพระอาทิตย์ กล่าวเหมือนบทแรก แต่เปลี่ยนจากให้คุ้มครองตอนกลางวันเป็นตอนกลางคืน แล้วจึงตามด้วยบทนอบน้อมบูชาคุณพระพุทธเจ้า ถึงจะพักผ่อนหลับนอน ครับ โบราณท่านว่า ผู้ใดได้สวดบูชาโมรปริตทุกค่ำเช้า จะนิรันตราย ไม่ตายโหงด้วยอาการอันทุเรศต่าง ๆ ถึงซึ่งความสุขความเจริญทั้งปวง
    ตำนานนกยูงทอง ในโมรชาดก ทุกนิบาต เล่าไว้ว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เกิดเป็นนกยูงทอง งามน่าชมยิ่งนัก นกนั้นรู้จักระวังรักษาตัวดีเป็นที่สุด ที่อยู่ก็หาที่ลี้ลับและไกลตามือมนุษย์ คือขึ้นไปอยู่บนยอดเขาสูงชื่อ "ทัณฑกหิรัญบรรพต" ยิ่งกว่านั้น ยังมีพรหมมนต์สำหรับร่ายป้องกันตัวให้ปลอดภัยวันละ ๒ คาบ คือเมื่อพระอาทิตย์อุทัยคาบ ๑ เมื่อพระอาทิตย์อัสดงคาบ ๑ เป็นกิจวัตร พิธีร่ายนั้น ต้องไปจับที่ตรงยอดสูงแห่งภูเขาลูกนั้น ตาเพ่งดูพระอาทิตย์ ซึ่งกำลังโผล่ขึ้นหรือลับลงไป พลางก็ร่ายพรหมมนต์ ตอนพระอาทิตย์อุทัยใช้มนต์บทที่หนึ่ง คือ อุเทตะยัญจักขุมา ฯลฯ เพื่อเป็นเครื่องคุ้มกันรักษาให้ปลอดภัยในถิ่นที่ไปหาเหยื่อ ตอนพระอาทิตย์อัสดง ใช้มนต์บทที่สอง คือ อะเปตะยัญจักขุมา ฯลฯ เพื่อเป็นเครื่องคุ้มกันรักษาให้ปลอดภัยในถิ่นที่อยู่อาศัย ทำเช่นนี้เป็นนิตย์มิได้ขาด ก็แคล้วคลาดปราศจากภัยอยู่ตลอดมา
    แต่ถึงแม้นกยูงทองจะระมัดระวังอย่างไร ก็ไม่พ้นจากสายตามนุษย์ไปได้ ด้วยว่าวันหนึ่งพรานป่าคนหนึ่งเที่ยวด้อมไปถึงถิ่นนั้น ก็ได้เห็นนกยูงทองบนยอดเขาทัณฑกหิรัญบรรพตนั้น ไม่ได้ทำอะไร แต่กลับมาบอกให้ลูกชายของตนทราบไว้ ต่อมาพระราชเทวีของพระเจ้าพาราณสีพระนามว่า "เขมา" ทรงพระสุบินนิมิตว่า ได้เห็นนกยูงทองกำลังแสดงธรรมอยู่ ครั้นตื่นบรรทมแล้ว จึงทูลแด่พระราชาว่า พระนางมีพระประสงค์จะฟังธรรมของนกยูงทอง พระราชาจึงตรัสถามอำมาตย์ว่า นกยูงทองมีหรือ ? อำมาตย์ทูลว่า "พวกพราหมณ์คงจะทราบ" พวกพราหมณ์รับรองว่า นกยูงสีทองมีอยู่จริง แต่ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน ทูลว่า "พวกพรานคงจะรู้" พระองค์จึงมีรับสั่งให้เรียกบรรดาพรานป่าเข้ามาประชุมพร้อมกัน แล้วตรัสถามถึงเรื่องนกยูงทอง บุตรของตาพรานป่าคนนั้นก็กราบทูลให้ทรงทราบว่า มีนกยูงทองตัวหนึ่งอาศัยอยู่ที่ทัณฑกหิรัญบรรพต พระองค์จึงรับสั่งให้ไปจับมาถวาย พรานนั้นเสาะทราบถิ่นที่ยูงทองลงไปหาเหยื่อแล้วจึงไปวางบ่วงในที่นั้น พยายามดักอยู่ถึง ๗ ปี ไม่สามารถจับยูงทองได้ เพราะยูงทองแคล้วคลาดบ้างบ่วงไม่แล่นบ้าง ในที่สุดตนเองก็ถึงแก่ความตายอยู่ในป่านั้น
    ฝ่ายพระนางเขมาราชเทวี เมื่อไม่สมพระประสงค์ก็เสียพระทัย สิ้นพระชนม์ไป พระเจ้าพาราณสีทรงพิโรธว่า พระราชเทวีของพระองค์ต้องสิ้นพระชนม์ เพราะนกยูงทองตัวนั้นเป็นเหตุ จึงมีรับสั่งจารึกลงในแผ่นทองมีใจความว่า "มีนกยูงทองตัวหนึ่งอาศัยอยู่บนยอดเขาทัณฑกหิรัญบรรพต หากผู้ใดได้กินเนื้อของมัน ผู้นั้นจะมีอายุยืน ไม่แก่ ไม่ตาย " ดังนี้ แล้วให้บรรจุใส่หีบทองเก็บไว้ เมื่อพระราชาองค์นั้นสิ้นพระชนม์แล้ว พระราชาองค์อื่นขึ้นครองราชย์แทน ได้ทราบความในแผ่นทองนั้น มีพระประสงค์จะมีพระชนมายุยืน จึงรับสั่งให้พรานคนหนึ่งไปจับนกยูงทองตัวนั้น ฝ่ายพรานคนนั้นแม้จะได้พยายามสักเท่าใด ก็ไม่สามารถที่จะจับนกยูงทองตัวนั้นได้ จนกระทั่งตนเองต้องตายอยู่ในป่าเช่นเดียวกับพรานคนก่อน และโดยทำนองเดียวกันนี้ พระราชาก็เปลี่ยนไปถึง ๖ พระองค์
    ครั้นตกมาถึงสมัยพระราชาองค์ที่ ๗ แห่งพรหมทัตวงศ์ พระราชาองค์นี้ก็มีรับสั่งให้พรานป่าไปจับนกยูงทองตัวนั้น โดยมีพระประสงค์เช่นเดียวกับพระราชาในรัชกาลก่อน ๆ นายพรานคนนี้ปัญญาหลักแหลม ไปสังเกตการณ์อยู่หลายวัน จึงรู้เค้าว่า นกยูงตัวนั้นไม่ติดบ่วงเพราะมีมนต์ขลัง ต้องจับก่อนร่ายมนต์จึงจะจับได้ เมื่อตรองเห็นอุบายแล้ว ก็กลับลงไปชายป่า จับนางนกยูงได้ตัวหนึ่งนำมาเลี้ยงไว้จนเชื่อง หัดให้รำและร้องจนชำนาญดีแล้ว ครั้นได้โอกาสเหมาะก็อุ้มนางนกยูงไปแต่เช้าตรู่ ก่อนเวลาที่นกยูงทองจะร่ายมนต์ จัดการวางบ่วงเรียบร้อยแล้ว ปล่อยนางนกยูงลงใกล้ ๆ บ่วงนั้น และทำสัญญาณให้นางนกยูงรำแพนส่งเสียงร้องอยู่ก้องป่า
    คราวเมื่อความวิบัติจะมาถึง พอนกยูงทองได้ยินเสียงของนางยูงก็เกิดความกระสัน ให้กระสับกระส่ายเร่าร้อนใจด้วยอำนาจกิเลส ไม่สามารถจะสาธยายมนต์ตามที่เคยปฏิบัติมา เผลอตัวบินไปหานางนกยูงโดยเร็ว เลยติดบ่วงที่พรานดักไว้ พรานจับได้ก็นำไปถวายพระเจ้าพาราณสี
    พอพระเจ้าพาราณสีทอดพระเนตรเห็นรูปสมบัติของนกยูงทองนั้นแล้วก็พอพระทัย และทรงพระกรุณาโปรดปรานมาก ทรงลืมการที่จะเสวยเนื้อนกยูงนั้นเสียสิ้น มาอ่านคำโต้ตอบที่พระอรรถกถาจารย์เจ้าท่านแต่งไว้ ระหว่างพระราชากับนกยูงทองโพธิสัตว์ ดูซิครับ ว่าช่างน่าฟัง ได้ข้อคิดดีจริง ๆ
    นก ข้าแต่มหาราช พระองค์รับสั่งให้จับข้าพระองค์ เพราะอะไร ?
    ราชา ได้ทราบว่า ผู้ใดได้กินเนื้อของเจ้า ผู้นั้นไม่แก่ไม่ตาย เพราะเหตุนั้น ข้าปรารถนาจะได้กินเนื้อของเจ้า แล้วเป็นคนไม่แก่ไม่ตาย ข้าจึง ให้จับเจ้ามา
    นก ข้าแต่มหาราช ท่านผู้ใดได้กินเนื้อข้า ฯ ผู้นั้นเป็นคนไม่แก่ไม่ตาย สบายไป แต่ตัวข้า ฯ สิต้องตาย
    ราชา ถูกละ เจ้าต้องตาย
    นก เมื่อข้าพระองค์ยังต้องตาย ก็แล้วท่านคิดเห็นกันอย่างไร จึงว่าได้กินเนื้อข้าฯแล้วจักไม่ตาย
    ราชา เขาว่า เพราะเจ้ามีขนเป็นสีทอง หายากนัก เพราะฉะนั้น ผู้ใดกินเนื้อ แล้วจักไม่แก่ ไม่ตาย
    นก ข้าแต่มหาราช ที่ข้าพระองค์เกิดมีขนเป็นสีทองนี้ จะเป็นขึ้นเองโดยไม่มีเหตุหามิได้ ข้าฯจะกราบทูลเหตุให้ทรงทราบ แต่ปางก่อน ข้า ฯ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อยู่ในพระนครนี้แหละ ข้า ฯ รักษาเบญจศีลเป็นนิตย์ และชวนชาวประชากรในพระราชอาณาเขตให้รักษาด้วย พอข้า ฯ ตายไป ได้ไปเกิดอยู่ในภพดาวดึงส์อยู่จนสิ้นอายุในภพนั้น แล้วจึง เกิดมาเป็นนกยูงนี้ เพราะผลแห่งอกุศลกรรมอย่างหนึ่งตามมาให้ผล ส่วนเหตุที่ขนข้า ฯ เป็นสีทอง ก็ด้วยอานุภาพแห่งเบญจศีลที่ได้รักษาแต่ปางบรรพ์นั่นเอง
    ราชา เจ้ากล่าวว่า เจ้าเคยเป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ในพระนครนี้ ฯลฯ คำที่เจ้ากล่าวนี้ พวกเรา จะเชื่อได้อย่างไร มีอะไรเป็นสักขีพยานบ้างหรือไม่
    นก มีพระเจ้าข้า
    ราชา อะไรเล่า
    นก ในเวลาที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น ข้าพระองค์นั่งรถประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้ว เหาะไปได้ รถคันนั้นข้าพระองค์ให้ฝังไว้ใต้พื้นสระมงคลโบกขรณี ขอพระองค์จงรับสั่งให้กู้รถนั้นขึ้นมาเถิด รถนั้นจักเป็นสักขีของข้าพระองค์
    พระราชารับสั่งให้ไขน้ำออกจากสระ แล้วให้จัดการกู้รถขึ้นมาได้ จึงทรงเชื่อคำพระโพธิสัตว์ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้โอกาส ก็แสดงธรรมแด่พระราชา ขอให้พระราชาทรงตั้งอยู่ในเบญจศีล พระราชาทรงเลื่อมใสมาก ทรงบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยราชสมบัติ (คือยกราชสมบัติให้ครอบครอง)พระโพธิสัตว์รับแล้ว ก็ถวายคืนแด่พระราชา อยู่อีก ๒ - ๓ วัน ถวายโอวาทพระราชาให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท แล้วก็บินกลับไปสู่ภูเขาทัณฑกหิรัญบรรพต อันเป็นนิวาสสถานนั้นแล
    เป็นไงครับ ชาดกเรื่อง "พญานกยูงทอง" อ่านแล้วได้ข้อคิดอะไรจากชาดกเรื่องนี้บ้าง ชาดกก็ดี เรื่องเล่าก็ดี นิทานก็ดี อ่านแล้วต้องใช้ปัญญาพิจารณากำกับ แม้กระทั่งสิ่งที่ได้อ่าน ได้ยินได้ฟังมา พระพุทธองค์ท่านสอนไว้ใน "กาลามสูตร" ว่า อย่าเพิ่งเชื่อทันทีทันใด คิดใคร่ครวญพิจารณาหาเหตุหาผลให้ดีเสียก่อน จับจุดให้ได้ว่า ไอ้ที่เล่ามาให้ฟังทั้งหมดนั้นเพื่ออะไร ? อย่างเรื่องนกยูงทองก็เช่นกัน อ่านแล้วต้องคิดไปด้วยนะครับว่า เจ้านกยูงทองที่ว่านั้นมันมีจริงหรือ ? แถมยังบินได้สูงไปอาศัยอยู่ยอดเขาที่คนไปไม่ถึง พูดภาษาคนได้ มีคาถาอาคมดีอีกต่างหาก ฯลฯ หากท่านอ่านเรื่องนี้เพื่อคลายความเครียดจากการงาน เหมือนอ่านนิทาน หรือดูหนังสนุก ๆ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คืออ่านแล้วไม่คิดอะไรมาก นานไปเดี๋ยวก็ลืม แต่ถ้าหากท่านได้อ่านแล้วใช้ปัญญาพิจารณากำกับ มาลองวิเคราะห์กันว่า "พญานกยูงทอง" หรืออีกนัยคือ "พระโพธิสัตว์" อันเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธองค์ ที่ทรงบำเพ็ญพระบารมีก่อนที่จะมาตรัสรู้นั้น อาจมีจริง หรือ ไม่มีจริงก็ได้
    มาว่ากันในข้อที่ " ไม่น่าจะมีจริง" ก่อน ถ้าท่านเชื่อในทำนองที่ว่า บรรดาพระชาติต่าง ๆ ของพระพุทธองค์นั้น ที่ว่าบำเพ็ญพระบารมีมาถึง ๕๐๐ ชาติ เกิดเป็นทั้งสัตว์ และคน เกือบทุกชนิดหรือทุกประเภท เป็นเรื่องที่พระพุทธองค์ทรงสมมติขึ้น เป็นสื่อการสอนการแสดงธรรมอย่างหนึ่ง เพื่อให้บรรดาสาวกหรือพุทธศาสนิกชนเข้าใจได้โดยง่าย หากท่านเข้าใจและเชื่อตามเหตุผลนี้ ผมว่าเหตุผลของท่าน "ใช้ได้" เพราะบางทีตัวละครในเรื่องที่เล่า โดยเฉพาะตัวเอกที่เป็นพระโพธิสัตว์ด้วยแล้ว ดูออกจะมีอะไรที่แปลกพิสดาร เหลือเชื่อ มีภูมิรู้ ภูมิปัญญา ต่างจากสัตว์อื่น หรือ คนโดยทั่วไป ที่พึงจะกระทำได้ การศึกษา "พุทธประวัติ" หรือ ประวัติชีวิตของพระศาสดาในศาสนาต่าง ๆ นั้น ย่อมขาดไม่ได้ที่จะต้องมีการสอดแทรก "ปาฎิหาริย์" ลงไปด้วย ไม่ว่าสิ่งที่สอดแทรกลงไปนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มศรัทธาปสาทะในองค์ศาสดานั้น ๆ
    ตัวอย่างในพุทธประวัติก็มีมากมายหลายตอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพุทธปาฎิหาริย์เพื่อปราบพวกเดียรถีย์ และพวกที่มากด้วยทิฐิ ซึ่งท่านผู้รู้ทั้งหลายเรียกคำอธิบายด้านปาฎิหาริย์ว่า "บุคคลาธิษฐาน" คือ สมมติตัวตนขึ้นมาเปรียบเทียบให้เห็นจริง เพื่อง่ายต่อความเข้าใจ และได้วิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นจริงเอาไว้ด้วยว่าควรจะเป็นเช่นไร เรียกว่า "ธรรมาธิษฐาน"
    ในเรื่องที่พุทธองค์ทรงลืมพระเนตรพิจารณา "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" โดยไม่กระพริบและหลับตาตลอดเวลา ๗ วันนั้น ท่านผู้รู้ได้ให้เหตุผลว่า "เป็นการทบทวนความทรงจำต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วโดยลำดับ ความหมุนเวียนผันแปรอันเกิดขึ้นตามอำนาจของสังขารจักรก็มาหยุดลงแค่นี้ ต้นมหาโพธิ์ต้นนี้เป็นที่ให้กำเนิดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสัจจธรรมอันบริสุทธิ์ สามารถชำระกิเลสนานาชนิดของสัตว์โลกได้อย่างศักดิ์สิทธิ์ ทรงพอพระทัยในการตรัสรู้นี้อย่างยิ่ง" นี่คือเหตุผลในแง่ของธรรมาธิษฐาน ส่วนเหตุผลที่ทรงบูชาพระอาทิตย์ ด้วยการเพ่ง "อาโลกกสิณ" (การเพ่งแสงสว่าง) ทรงเข้านิโรธสมาบัติ เสวยวิมุตติสุขนั้น เป็นเหตุผลในเชิงบุคคลาธิษฐาน ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
    ทีนี้หากท่านเชื่อเรื่องที่เล่ามาทั้งหมด ๕๐๐ ชาติ ว่า "เป็นเรื่องจริง และมีโอกาสเป็นไปได้" ผมเองก็ไม่ว่าท่านหรอกครับว่า "งมงาย ไร้เหตุผล" เพราะผมเองก็เชื่อเหมือนท่าน เหตุที่ผมเชื่อนั้น เพราะผมเชื่อในหลักกรรม เชื่อในความแตกต่างของบุคคล และสรรพสิ่ง เชื่อว่าคนเรามีระดับสติปัญญาต่างกัน มีผิวพรรณวรรณะ มีวาสนาบารมี มียศถาบรรดาศักดิ์ หรือ ฐานะที่ต่างกัน เมื่อมีคน "ปัญญาอ่อน" ได้ ก็ย่อมมี "อัจฉริยะบุคคล" ได้ เมื่อมีคนรูปร่างสวยสดงดงามดุจนางฟ้า ก็ย่อมมีคนรูปร่างหน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ ชนิดที่ผู้ชายเห็นแล้วต้องโกยอ้าว อย่างตัวละครในนิทานพื้นบ้านเรื่อง "แก้วหน้าม้า" ได้เช่นกัน อย่างนกยูงทองนั้น ทำไม นกยูงจะมีขนสีทองไม่ได้ ช้างเผิอก ควายเผือก จรเข้เผือก ยังมีให้เห็นเลยครับ ในเรื่องบอกว่า "นกยูงทองตัวนี้บินได้ ทำรังบนภูเขาสูง พูดและเข้าใจภาษามนุษย์ มีคาถาอาคมดี แสดงธรรมได้ ระลึกชาติได้ มีอายุยืนยาว ขนาดเปลี่ยนพระราชามา ๖ องค์แล้วยังไม่ตาย" ทั้งหมดนี้อาจจะเป็นจริงก็ได้ ถ้าเราเชื่อในแง่ของ "ความเป็นอัจฉริยะ" ที่ต้องนำเอาเรื่องนี้มาเขียน เพราะต่อไปภายภาคหน้าบทความของผม อาจจะมีเรื่องราวในทำนองนี้ มาเล่าสู่กันฟังอีก เลยขอฝากแง่คิดเอาไว้ให้พิจารณากันเสียก่อน
    เรื่อง "นกยูงโพธิสัตว์" นี้ มีข้อคิดที่ดีในเรื่องของ "การเอาชีวิตหนึ่งมาต่ออีกชีวิตหนึ่งนั้น ไม่ควรกระทำ " หรือในตอนที่นางนกยูงต่อส่งเสียงร้อง จนทำให้นกยูงโพธิสัตว์ "ตบะแตก" จนไม่อาจท่องมนต์ได้นั้น ก็เป็นข้อเตือนใจอีกข้อหนึ่งนะครับว่า "กิเลสตัณหา ราคะนั้น ไม่เคยปราณีใคร" ขนาดนกยูงทองโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีมานานยังพลาด (ด้วยยังไม่หมดกิเลสตัณหาราคะ ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน)นับประสาอะไรมนุษย์ปุถุชนที่มากด้วยกิเลสตัณหา ราคะอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ จะไม่พลาดเข้าสักวัน
    ท่านที่ได้รับคาถาโมรปริตจากผมไปแล้ว หากท่านสามารถท่องบ่นบูชาได้ทุกวันทั้งเช้าค่ำ ไม่ละความเพียรพยายามอย่างพญานกยูงทองล่ะก็ ผมเชื่อว่า "ต้องคุ้มครองท่านได้สวดบยิ่งท่านได้บูชาพระปางถวายเนตรด้วยพุทธมนต์บทนี้ด้วยแล้ว ก็จะเพิ่มผลานิสงส์มากขึ้น อย่างน้อยก็จะได้เกิด"พุทธานุสติ" ถึงเรื่องราวแห่งพระพุทธองค์ตามที่ผมได้นำเสนอในตอนต้น ส่วนท่านที่ไม่มีเวลามากพอจะสวดบูชาพระปางถวายเนตรด้วยพระคาถา " อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา " แต่เพียงสั้น ๆ วันละ ๖ จบ ตามกำลังวันของดาวอาทิตย์ทุกเช้าค่ำ ก็ย่อมได้ หรือหากท่านมีเหรียญรูปเหมือนของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านก็สามารถใช้คาถาหัวใจนกยูงทองที่ว่า " นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุติยา" สวดภาวนากำกับเหรียญได้ แต่การสวดพระคาถาหัวใจนกยูงทองนั้น ท่านได้สวด ๓ จบ ๗ จบ หรือ ๙ จบ ตามแต่สะดวกครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...