พระธรรมทูตไทยในต่างแดน หน้า 1 จาก 6

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 29 พฤศจิกายน 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    พระธรรมทูตไทยในต่างแดน*

    <table align="center" bgcolor="#ffcc33" border="1" bordercolor="#ffcc33" cellpadding="1" cellspacing="1" width="85%"> <tbody> <tr bordercolor="#ffffcc" bgcolor="#ffff99"> <td valign="top"> “จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ มา เกน เทฺว อคมิตฺถ เทเสถ ภิกฺขเว ธมฺมํ อาทิกลุยาณฺ มชฺเฌกลฺยาณํ ปริโยสานกลฺยาณํ สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺรํ ปริสุทฺธี๊ พฺรหมฺจริยํ ปกาเสถ” (วิ มหา. ๔/๓๒/๓๙)
    “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริก เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ พวกเธออย่าได้ไปร่วมทางเดียวกันสองรูป จงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ครบบริบูรณ์ บริสุทธิ์”

    </td></tr></tbody></table>
    นี่คือพุทธนโยบาย ในการส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรกของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า หลังจากได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระสาวกผู้ไปปฏิบัติหน้าที่นี้ ในกาลต่อมาเรียกว่า “พระศาสนทูต” “พระสมณทูต” หรือ “พระธรรมทูต” ซึ่งหมายถึงผู้ทำหน้าที่จาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ทั้งในและต่างประเทศ
    เนื่องจากว่า “ศาสนา” เป็นระบบความเชื่อที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคม สังคมจำต้องมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ และเป็นสื่อช่วยประสานคนในสังคมเข้าด้วยกัน ศาสนาจึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในสังคม อิทธิพลของศาสนาจึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการวางรากฐานทั้งทางด้านจารีต ประเพณี และวัฒนธรรมของสังคม รวมทั้งเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตและวิธีคิดของผู้คนในสังคม ให้รู้จักเสริมสร้างชีวิตอย่างมีสาระและมีค่าสูงสุดตามบทบัญญัติและจุดหมายของศาสนาที่ตนนับถือ
    พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม (ATHEISM) ซึ่งเกิดจากความพากเพียรพยายามของมนุษย์คือ พระพุทธเจ้า ที่สได้ทรงศึกษาค้นคว้าสัจธรรมเพื่อแก้ปัญหาชีวิตทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวม จนประสบผลสำเร็จและได้ทรงนำสิ่งที่ค้นพบออกเผยแผ่แก่ชาวโลก กระท่ะงประดิษฐานและเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง
    การประดิษฐานและเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุดแรก ได้อาศัยบทบาทของพระพุทธเจ้า และพระสาวกร่วมสมัยพุทธกาล โดยวิธีการต่าง ๆ แต่มีจุดหมายในการเผยแพร่เช่นเดียวกัน คือดำเนินตามพุทธนโยบายดังได้กล่าวข้างต้น
    แม้พระพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระสาวกทั้งหลายก็ได้ดำเนินตามพุทธปฏิปทาอย่างต่อเนื่อง ทั้งโดยส่วนตัวและเป็นหมู่คณะโดยเฉพาะ ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๑๘) มีการส่งพระธรรมทูตไปประกาศพุทธศาสนา ๙ สาย คือ
    ๑. พระมัชฌิมติกเถระ ไปแคว้นแคชเมียร์ และคันธาระ (บริเวณแคว้นแคชเมียร์ ในปัจจุบัน)
    ๒. พระมหาเทวเถระ ไปมหิสสกมณฑล (ทางทิศใต้ของแม่น้ำโคธาวารี ได้แก่ ไมซอร์ ในปัจจุบัน)
    ๓. พระรักขิตเถระ ไปวนวาสีประเทศ (เขตกะนะระ เมืองมุมไบ (MUMBAI=BOMBAY) ในปัจจุบัน
    ๔. พระโยนกธัมมรักขิตเถระ ไปอปรันตชนบท (อยู่ริมฝั่งทะเลอาระเบียน ทิศเหนือของเมืองมุมไบ)
    ๕. พระมหาธัมมรักขิตเถระ ไปมหารัฎฐประเทศ (รัฐอันธรประเทศ ในปัจจุบัน)
    ๖. พระมหารักขิตเถระ ไปโยนกประเทศ (เขตแดนบากเตรียน ในเปอร์เซีย ปัจจุบัน)
    ๗. พระมัชฌิมเถระ ไปหิมวันตประเทศ (ประเทศเนปาล ปัจจุบัน)
    ๘. พระโสณเถระ และพระอุตตระเถระ ไปสุวรรณภูมิ (บริเวณไทย และพม่า ในปัจจุบัน)
    ๙. พระมหินทเถระ ไปลังกา (ประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน)
    นี้แสดงให้เห็นว่าพระธรรมทูตในชมพูทวีปเริ่มมีบทบาทเป็นรูปธรรมที่เด่นชัด ในการไปประกาศพระพุทธศาสนานอกเหนือดินแดนในชมพูทวีป จึงถือว่าเป็นพระธรรมทูตรุ่นบุกเบิก ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน
    จากการที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระธรรมทูตไปประกาศพระศาสนาในดินแดนต่าง ๆ ทำให้โลกได้รับมรดกทางวิญญาณอันล้ำค่ายิ่ง โดยเฉพาะสายพระโสณเถระและพระอุตตรเถระ ผู้เพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติความเป็นพระธรรมทูต ทั้งด้านสมถะและวิปัสสนา ได้เดินทางมายังสุวรรณภูมิ ได้แก่ ประเทศไทยปัจจุบัน มีเมืองนครปฐมเป็นประจักษ์พยานคราวครั้งยังเป็นอาณาจักรทวาราวดีกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทยนับแต่ยุคนั้น ตกราว พ.ศ. ๓๐๐ และมีการสืบสานพระพุทธศาสนาเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน
    “พระธรรมทูต” ในความหมายภาพกว้าง ได้แก่ผู้นำธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าไปสู่ประชาชน ทั้งใกล้และไกล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาจเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้ นอกจากนี้ยังมีคำว่า “พระธรรมกถึก” “พระธรรมจาริก” ที่สามารถใช้ในความหมายทำนองเดียวกันกับ “พระศาสนทูต” “พระสมณทูต” หรือ “พระธรรมทูต” ดังระบุไว้เบื้องต้น
    อันที่จริง พระสงฆ์ที่ได้รับการบวชทุกรูป ถือว่าทำหน้าที่พระธรรมทูตด้วยกันทั้งนั้น เพราะพระสงฆ์ คือหมู่ชนที่ได้รับฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วไปเผยแผ่แก่ประชาชน แต่เพื่อให้การบริหารงานและการจัดการงานพระศาสนา มีความรัดกุดและสนับสนุนพระธรรมวินัยมากขึ้น คณะสงฆ์ไทยจึงมีกฎเกณฑ์วางแนวปฏิบัติในความเป็นพระธรรมทูตไว้เฉพาะกล่าวคือ พระธรรมทูตในประเทศไทย มี ๒ ประเภท คือ พระธรรมทูตสายในประเทศ และพระธรรมทูตสายต่างประเทศ
    เพื่อไม่ให้ตีความหมายไปไปไกลและมีมุมมองเกินบริบทในสังคมไทยปัจจุบันตามที่ผู้เขียนตั้งใจใคร่ ขออนุญาตให้คำจำกัดความหัวข้อที่ตั้งไว้ข้างต้นก่อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...