พระธรรมธีรราชมหามุนี(ผู้มรณภาพโดยการนั่งทำสมาธิ)

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย lotte, 29 พฤศจิกายน 2004.

  1. lotte

    lotte เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    726
    ค่าพลัง:
    +4,545
    พระธรรมธีรราชมหามุนี(ผู้มรณภาพโดยการนั่งทำสมาธิ)


    ภัยในวัฏสงสาร
    จาก "วิปัสสนากรรมฐาน" ภาค ๒
    โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี

    โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดยคุณ : deedi [ 8 ส.ค. 2542 ] กระทู้ที่ 000236

    คำว่า "ภิกขเว" แปลและหมายความได้หลายอย่าง ดังนี้ คือ

    ภิกขเว เป็นคำร้องเรียกบุคคลผู้จะรับเอาพระธรรมน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อกำจัด กิเลสทั้งหลาย ให้เสื่อมคลายไปจากขันธสันดานของตน จนกระทั่งถึงอมตมหานฤพาน เป็นปริโยสาร ดังมีหลักฐานรับรองไว้ว่า

    "ภิกขเวติ ธัมมปฏิคคาหกปุคคลานมาลปนเมตัง"

    คำว่า ภิกขเว นี้ เป็นคำร้องเรียกบุคคล ผู้จะรับเอาพระธรรมน้อมนำไปปฏิบัติตาม บุคคลผู้จะรับเอาพระธรรม ในที่นี้ มีอยู่ ๔ จำพวก คือ

    ๑. ภิกษุ ได้แก่ผู้ชายที่ออกบวชในพระพุทธศาสนา

    ๒. ภิกษุณี ได้แก่ผู้ห_ิงที่ออกบวชในพระพุทธศาสนา

    ๓. อุบาสก ได้แก่ผู้ชายที่เข้าถึงพระรัตนตรัย

    ๔. อุบาสิกา ได้แก่ผู้ห_ิงที่เข้าถึงพระรัตนตรัย

    ภิกขเว ศัพท์เดิมมาจาก ภิกขุ ภิกขุ มาจาก ภย ซึ่งแปลว่า ภัย เป็นบทหน้า อิกขุ ธาตุ เป็นไปในความเห็น ต่อกันเข้าเป็น ภิกขุ หรือ ภิกขเว แปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร หมายความว่า ผู้มีปั__า พิจารณาเห็นความเป็นของไม่จิรังยั่งยืน ของรูปและนาม อยากจะหลุดพ้นไปจาก กามโลก รูปโลก อรูปโลก จึงได้ตั้งใจบำเพ็_ไตรสิกขาให้ภิ_โ_ยิ่งๆ ขึ้นไป จนได้นามว่าภิกขุ ดังกล่าวมาข้างต้นนั้น

    ภัย แปลว่า สิ่งที่น่ากลัว น่าหวาดสะดุ้ง น่าเกรงขาม มีอยู่หลายประการ จะพึงเห็นได้จาก หลักฐาน ซึ่งปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก จตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย เล่มที่ ๒๑ หน้า ๑๖๒ เป็นต้นว่า

    "จัตตารีมานิ ภิกขเว ภยานิ" ดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ภัยมี ๔ อย่าง เหล่านี้คือ

    ๑. อัตตานุวาทภยัง

    ๒. ปรานุวาทภยัง

    ๓. ทัณฑภยัง

    ๔. ทุคคติภยัง

    ๑. อัตตานุวาทภยัง แปลว่า ภัย คือ การติเตียนตนเอง หมายความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า การติเตียนตนจึงได้ละกายทุจริต วจีทุจริตเสีย แล้วประพฤติแต่กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต รักษาตนให้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี

    ๒. ปรานุวาทภยัง ภัย คือ การถูกผู้อื่นติเตียน หมายความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่าคนได้ประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ ถึงคนอื่นเขามิได้ติเตียนโดยศีลก็จริง ถึงกระนั้น เขาก็กลัวต่อการถูกตำหนิติเตียนจากผู้อื่น จึงได้ละทุจริตทางกาย วาจา ใจ รักษาตนให้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี

    ๓. ทัณฑภยัง ภัย คือ อาช_า หมายความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นโจรผู้ประพฤติผิดกฎหมายบ้านเมืองถูกจับได้ ถูกโบยด้วยแซ่บ้าง โบยด้วยหวายบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตลอดจนถึงเอาขวายผ่าอกบ้าง แทงด้วยหอกทีละน้อยจนตายบ้าง ขุดหลุมฝังเพียงเอว เอาฟางสุมครอกด้วยไฟ พอหนังไหม้เอาเหล็กไถบ้าง เชือดเนื้อออกมาทอดให้กินบ้าง รวมทั้งสิ้นมี ๓๒ ประการ ครั้นเห็นโทษเช่นนั้นแล้ว จึงพิจารณาว่าถ้าเราทำชั่วเช่นนั้น ก็จะต้องได้รับโทษอย่างนี้แน่นอน เขาไม่ยอมทำความชั่วทางกาย วาจา ใจเลย มีแต่ทำความดีตลอดไป อย่างนี้เรียกว่า กลัวต่อภัยคือ อาช_า

    ๔. ทุคคติภยัง ภัย คือ ทุคคติ ทุคคติมี ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน บุคคลบางคนในโลกนี้ พิจารณาเห็นว่า ผลชั่วของทุจริตทางกาย วาจา ใจเป็นของมีอยู่แน่นอน หากว่าเราประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ ในโลกนี้ เราก็เดือดร้อน แม้เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ ไปสู่ปรโลก เราก็จะต้องเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เป็นแน่นอน เมื่อเขากลัวต่อทุคติภัยเช่นนี้ จึงได้ละทุจริตทางกาย วาจา ใจ เสียหมดสิ้น รักษาตนให้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี อย่างนี้ เรียกว่า ภัย คือ ทุคติ

    ภัยนอกนกาที่บรรยายมาแล้วนี้ ยังมีอยู่อีกมากมายหลายประการ เช่น

    ๑. ชาติภยัง ภัย คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความเศร้าโศก ความปริเทวนาการ ความทุกข์กาย ทุกข์ใจ ประจวบกับของอันไม่เป็นที่รักใคร่ ชอบใจ พลัดพรากจากของรักใคร่ชอบใจ ปรารถนาไม่สมหวัง โดยย่อก็คือขันธ์ ๕ นี้แหละเป็นภัย

    ๒. อัคคิภยัง ภัยเกิดจากไฟ เช่น ถูกไฟไหม้บ้าน เป็นต้น

    ๓. อุทกภยัง ภัยเกิดจากน้ำ เช่นถูกน้ำท่วม คนตาย ท่วมนาทำให้ข้าวตาย ท่วมสวนเงาะ สวนทุเรียน สวนผัก สวนส้ม เป็นต้น

    ๔. โจรภยัง ภัยเกิดจากโจร

    ๕. อูมิภยัง ภัย คือ คลื่น ได้แก่ โลกธรรมทั้ง ๘ คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริ_ สุข ทุกข์

    ๖. กุมภีลภยัง ภัย คือ จระเข้ ได้แก่ ความเป็นคนเห็นแก่ปากท้อง ทนความอดอยากไม่ได้ และได้แก่ นิวรณ์ทั้ง ๕ มีกามฉันทะ พยายาท เป็นต้น

    ๗. อาวาฏภยัง ภัย คือ น้ำวน ได้แก่ กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ชาวโลกพากันเดือดร้อนเพราะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้มากมายเหลือเกิน ฆ่ากันตาย ทะเลาะวิวาทกัน เพราะกามคุณทั้ง ๕ นี้ไม่เว้นแต่ละวัน ดังนั้นกามคุณ ๕ จึงถือว่าเป็นภัยอย่างหนึ่ง

    ๘. สุสุกาภยัง ภัย คือ ปลาฉลาม ปลาฉลามมี ๒ อย่าง คือ ปลาฉลามภายนอก ได้แก่ปลาฉลามที่อยู่ในน้ำทะเล เป็นภัยแก่ประชาชนมิใช่น้อย ปีหนึ่งๆ บุคคลถูกปลาฉลามกิน ก็มีมากอยู่ และปลาฉลามภายในคือกิเลส กัดบุคคลทุกๆ คน ไม่ยกเว้นใครเลย เว้นไว้แต่พระอริยเจ้า ผู้ฆ่ากิเลสได้หมดแล้วเท่านั้น เพราะกิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลงนี้เป็นภัยแก่สรรพสัตว์อย่างร้ายแรงมาก เปรียบเหมือนข้าศึก เปรียบเหมือนยาพิษ เปรียบเหมือนหัวฝี เปรียบเหมือนอสรพิษ เปรียบเหมือนสายฟ้า สรรพสัตว์ทั่วสากลโลก จะเดือดร้อนก็เพราะปลาฉลามภายใน นี้เท่านั้นเป็นต้นเป็นเหตุ ดังนั้นนักปราช_์จึงจัดว่า เป็นภัยอันร้ายแรงมาก

    คำว่า วัฏสงสาร แยกเป็น ๒ ศัพท์ คือ วัฏ + สงสาร

    วัฏฏะ แปลว่า วน หรือ หมุน มีอยู่ ๓ อย่าง คือ

    ๑. กิเลสวัฏฏ์ วน คือ กิเลส ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน

    ๒. กรรมวัฏฏ์ วน คือ กรรม ได้แก่ ภพ สังขาร

    ๓. วิปากวัฏฏ์ วน คือ วิบาก ได้แก่วิ__าณนาม รูป อายตนะ ๖ ผัสสะ เวทนา

    เพราะกิเลสมีอยู่ จึงเป็นเหตุให้ทำกรรมที่เป็นบุ_บ้าง เป็นบาปบ้าง เพราะทำกรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดผลแห่งกรรม เพราะผลของกรรมจึงเป็นเหตุให้กิเลสเกิดขึ้นอีก และทำกรรมอีก เกิดวิบากอีก ในที่สุดก็วนกันไปวนกันมาอย่างนี้ จนหาเบื้องต้นและที่สุดไม่ได้ ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจทั้ง ๔ จากนั้นก็ไม่สามารถที่จะออกจากภพ หรือจากโลกได้ เหมือนตาบอดลัก หรือพายเรือในหนอง ฉะนั้น

    นิทานคนตาบอดลัก คนตาบอดริอ่านเป็นขโมย เข้าไปลัก เขา จับ ได้แล้วขึ้นขี่หลังตี เรื่อยไป ก็เดินวนอยู่ในคอกเรื่อยไป แต่ จะเดินไปถึงไหนอย่างไรก็หารู้ไม่ ตี เรื่อยไปจนสว่าง นึกว่าคงไปไกลแล้ว ที่แท้ เดินวนอยู่ในรั้วบ้านนั่นเอง จนเจ้าของตื่นขึ้นมาเห็น และร้องถามว่า นั่นจะเอา เขาไปไหน จึงรู้สึกว่าตนหลงตี เสียแย่ ในที่สุดก็วนเวียนอยู่ในรั้วบ้านนั่นเอง การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตาของตัวบอดไม่แลเห็นทางออก จึงได้วนอยู่ไม่รู้จักสิ้นสุด ข้อนี้ฉันใด ปุถุชนที่ถูกอวิชชาครอบงำอยู่ก็ฉันนั้น ไม่เห็นอริยสัจ ไม่เห็นลู่ทางที่จะสลัดออกไปจากโลก หรือจากกองทุกข์ได้ ไม่ผิดอะไรกับคนตาบอดลัก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น เพราะเหตุฉะนั้น เราท่านทั้งหลายจึงพากันท่องเที่ยวไปๆ มาๆ อยู่ในสังสารวัฏไม่รู้จักสิ้นสุด ส่วนอุปมา คนพายเรือในหนอง กระจ่างดีอยู่แล้ว ถึงจะพายไปจนเมื่อย จะช่วยกันสักสิบพาย ก็พายวนอยู่ในหนองนั่นเอง

    ถ้าเห็นอริยสัจ ๔ แล้ว จะพ้นทุกข์ พ้นวัฏฏะ พ้นสังสาร ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีก มีหลักฐานอ้างอิงปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ หน้า ๕๓๖ - ๕๔๒ ว่า

    จตุนนัง อริยสัจจานัง ยลาภูตัง อทัสสนา

    สังสริตัง ทีฆมัทธานัง ตาสุ ตาเสวว ชาตีสุ

    การที่เราท่านทั้งหลาย ได้พากันเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร

    ตลอดกาลนานหลายหมื่นหลายแสนชาติ ก็เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอด

    อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง

    ตานิ เอตานิ ทิฏฐานิ ภวเนตติ สมูหตา

    อุจฉินนัง มูล ทุกขัสส นัตถีทานิ ปุนปัภโว

    อริยสัง ๔ เหล่านั้น เราและท่านทั้งหลาย ได้เห็นแล้ว ได้ถอนตัณหา

    ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว ตัดมูลรากของทุกข์ให้หมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว

    เย ทุกขัง นัปปชานันติ อโถ ทุกขัสส สัมภวัง

    ยัตถ จ สัพพโส ทุกขัง อเสสัง อุปรุชัฌติ

    ตั_จ มัคคัง น ชานันติ ทุกขูปสมคามินัง

    เจโตวิมุตติ หินา เต อโถ ปั__าวิมุตติยา

    อภัพพา เต อนุตกิรยาย เต เว ชาติชรูปคา

    ชนเหล่าใด ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ โดยประการ

    ทั้งปวง ไม่รู้มรรคอันเป็นหนทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

    ไม่สามารถจะทำที่สุดแห่งทุกข์ในวัฏฏะได้ จึงต้องเข้าถึงความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตลอดไป

    เย จ ทุกขัง ปชานันติ อโถ ทุกขัสส สัมภวัง

    อัตถ จ สัพพโส ทุกขัง อเสสัง อุปรุชัฌติ

    ตั_จ มัคคัง ปชานันติ ทุกขูปสมคามินัง

    เจโตวิมุตติสัมปันนา อโถ ปั__าวิมุตติยา

    ภัพพา เต อนุตกิริยาย น เต ชาติชรูปคา

    ชนเหล่าใด รู้ทุกข์ รู้เหตุเกิดของทุกข์ รู้ความดับทุกข์โดยประการ

    ทั้งปวง รู้มรรค ๘ อันเป็นทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ชนเหล่านั้น

    ถึงพร้อมด้วยเจโตวิมุตติ และปั__าวิมุตติ สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์

    ในวัฏฏะได้ ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย ตลอดไป

    คำว่า สงสาร นั้น แปลว่า ท่องเที่ยวไป หมายความว่า แล่นไปในภพน้อยภพให_่ คือไปสู่สุคติบ้าง ไปสู่ทุคติบ้าง สงสารนั้นมีอยู่ ๓ อย่างคือ

    ๑. เหฏฐิมสงสาร สงสารเบื้องต่ำ ได้แก่ อบายภูมิ ๔

    ๒. มัชฌิมสงสาร สงสารท่ามกลาง ได้แก่มนุษย์ ๑ เทวดา

    ๓. อุปริมสงสาร สงสารเบื้องบน ได้แก่ รูปพรหม และอรูปพรหม

    ภิกขเว แปลว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร หมายความว่า ผู้พิจารณาเห็นรูปกับนามว่า เป็นบ่อเกิดแห่งภัยต่างๆ ทั้งภัยภายนอกและภายใน แล้วไม่ประมาทไม่นอนใจอยู่ รีบแสวงหาโมกขธรรมต่อไป เช่น พระรัฐบาลเป็นตัวอย่าง ท่านได้พิจารณาเห็นว่าา รูปนามนี้มีแต่ถูกความชรานำเข้าไปหาความตาย ไม่ยั่งยืนเลย ไม่มีอะไรเป็นเครื่องป้องกัน ไม่เป็นให_่จำเพาะตน ไม่มีอะไรเป็นของๆ ตนเลยแม้แต่น้อย ทุกคนจำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา ดังนี้

    คำว่า ภิกขเว แปลและหมายความได้อย่างอื่นอีก ภิกขเว แปลว่า ผู้ทำลายกิเลส กิเลสนั้นมีมากมายหลายประการ เช่น กิเลส ๓ กิเลส ๑๐ กิเลส ๕๐๐๐ เป็นตัวอย่าง แต่เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว มีอยู่เพียง ๓ ประการเท่านั้น คือ

    ๑. กิเลสอย่างหยาบ ล่วงออกมาทางกายกับวาจา มีฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น

    ๒. กิเลสอย่างกลาง ล่วงออกมาทางใจ ได้แก่ นิวรณ์ทั้ง ๕ มีกามฉันทะ พอใจในกามคุณ ๕ เป็นต้น

    ๓. กิเลสอย่างละเอียด ได้แก่ อนุสัยกิเลส นอนอยู่ในสันดานของแต่ละบุคคล

    กิเลสมีทั้งดีและไม่ดี กิเลสไม่ดี เพราะเหตุว่าทำคนให้ชั่ว เช่น โลภะ เป็นกิเลส ทำให้คนโลภ ให้โกง โทสะ ก็เป็นกิเลส ทำคนให้โกรธกันและทะเลาะกัน ให้ฆ่ากัน โมหะ ก็เป็นกิเลส ทำคนให้ลุ่มหลงมัวเมาประมาท กิเลสดี เพราะทำให้คนสร้างความดี ตัวอย่างเช่น หากจะตั้งปั_หาถามว่า เรารักษาศีลกันทำไม ก็จะตอบได้ว่า รักษาศีล เพื่อให้กาย วาจา เรียบร้อย กิเลสหยาบๆ ทำให้กาย วาจา ไม่เรียบร้อย กิเลสหยาบๆ นี้ เราจะปราบได้ด้วยศีล

    เราเจริ_สมาธิ เช่น ภาวนา พุทโธๆ เป็นต้น เพื่อให้ใจสงบจากกิเลส กิเลสอย่างกลาง คือ นิวรณ์ ๕ เรียกว่าปริยุฏฐานกิเลส จะปราบให้สงบได้ด้วยสมาธิ

    เราเจริ_วิปัสสนาเพื่อตัดกิเลส คือ อนุสัย ซึ่งนอนดองอยู่ในใจของแต่ละบุคคล ให้เด็ดขาดออกไป

    เราจะปราบกิเลสละเอียดนี้ได้ด้วยปั__า ปั__ามี ๓ ขั้น คือ สุตมยปั__า ปั__าเกิดจากการฟังอย่างหนึ่ง จินตามยปั__า ปั__าเกิดจากการนึกคิดเอาอย่างหนึ่ง ภาวนามยปั__า ปั__าที่เกิดจากการเจริ_วิปัสสนาอย่างหนึ่ง อนุสัยกิเลส คือ กิเลสอย่างละเอียด เหมือนขี้ตะกอน นอนอยู่ก้นตุ่มนี้ ต้องปราบด้วยปั__าขั้นที่ ๓ คือภาวนามยปั__า

    กิเลสทั้งหลาย คือ โลภะ โทสะ โมหะนี้จะไปเด็ดขาดลงที่ตรง _าณที่ ๑๔ คือ มรรค_าณ เมื่อมรรค_าณเกิด

    ตามที่บรรยายในปั_หาข้อที่ว่า กิเลสดี เพราะเป็นเหตุให้คนทำความดี เช่นจะรักษาศีลก็เพราะมีกิเลส จะเจริ_สมถะก็เพราะมีกิเลส จะเจริ_วิปัสสนาก็เพราะมีกิเลส ถ้าไม่มีกิเลสก็ไม่รู้ว่า จะรักษาศีลและเจริ_สมถะ เจริ_วิปัสสนากันทำไม อุปมาเหมือนกันกับนักมวย เมื่อเวลาขึ้นเวทีต้องมีคู่ชก จะชกลมชกแล้งคนเดียวไม่ได้

    พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ_าณ ก็เพราะทรงชนะกิเลส คือ ละกิเลส ตัดกิเลส ฆ่ากิเลส ประหารกิเลสได้โดยเด็ดขาดนั่นเอง ต้องดับกิเลสได้จึงจะถึงพระนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงได้ตอบปั_หานี้โดยเทศนาโวหารว่ากิเลสดี แม้สมเด็จพระชินสีห์ได้ทรงแสดงพระธรรมไว้ ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ก็ล้วนแต่ทรงแนะนำพร่ำสอนให้พุทธบริษัทได้ทราบชัดซึ่งอุบายวิธี ที่จะเอาชนะกับกิเลสขั้นต่ำ ขั้นกลาง และขั้นละเอียด ผู้ที่จะเอาชนะกิเลสได้ก็ต้องปฏิบัติตามมหาสติปัฏฐาน ๔ ดังที่ได้บรรยายมาฉะนี้

    จาก "วิปัสสนากรรมฐาน" ภาค ๒ โดย พระธรรมธีรราชมหามุนี หน้า ๑๘ - ๒๖
     

แชร์หน้านี้

Loading...