พระธาตุชัยภูมิ – ร่วมสืบสานตุงอีสาน ให้คงอยู่สู่คนรุ่นหลัง ชวนผู้เฒ่าผู้แก่

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 28 ธันวาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b895e0b8b8e0b88ae0b8b1e0b8a2e0b8a0e0b8b9e0b8a1e0b8b4-e0b8a3e0b988e0b8a7e0b8a1e0b8aae0b8b7e0b89a.jpg

    พระธาตุชัยภูมิ – ร่วมสืบสานตุงอีสาน ให้คงอยู่สู่คนรุ่นหลัง ชวนผู้เฒ่าผู้แก่ เยาวชนในท้องถิ่น ร่วมจัดทำตุงอีสาน กว่า 100 ผืน ประดับตกแต่ง รอบ พระธาตุชัยภูมิ ต้อนรับปีใหม่ ในงานออนซอนตุงหลวง เบิ่งแต่ยามซ้าว ฮอดยามแลง ระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.61 –5 ม.ค.62

    พระธาตุชัยภูมิ เตรียมจัดงาน ออนซอนตุงหลวง เบิ่งแต่ยามซ้าว ฮอดยามแลง ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม – 5 มกราคม 2562 ที่พระธาตุชัยภูมิ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานการทำตุงอีสาน ที่กำลังจะเลือนหายให้คงอยู่สู่รุ่นลูกรุ่นหลาน โดยจะนำตุงกว่า 100 ผืน มาประดับตกแต่งภายในบริเวณพระธาตุชัยภูมิ ให้โบกสะบัดท้าลมหนาวอย่างสวยสดงดงาม

    เพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2562 เป็นความตั้งใจอันแรงกล้าของ พระศากยปุตติยวงศ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามฯ ที่อยากรักษาวัฒนธรรมเก่าแก่ของอีสานที่นับวันอาจเลือนหายไปจากคนรุ่นหลังให้คงอยู่ จึงได้นำชาวบ้านและเยาวชน ตลอดจนผู้เฒ่าผู้แก่ภายในชุมชนโดยรอบพระธาตุชัยภูมิ มาร่วมด้วยช่วยกันจัดทำตุงอีสานรูปแบบต่างๆ แต่ละผืนล้วนงดงามด้วยลวดลายที่บอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติที่แตกต่างกันไป ราวได้เที่ยวชมสวรรค์บนดิน นำมาประดับตกแต่งเพื่อต้อนรับปีใหม่ ที่พระธาตุชัยภูมิ เพื่อให้เกิดเป็นสรรพสิริมงคลแก่ผู้ได้กราบไหว้บูชาองค์พระธาตุชัยภูมิ

    พระศากยปุตติยวงศ์ กล่าวว่า ภาษาอีสานจะเรียกว่า ธุง หรือทุง แต่คนส่วนใหญ่จะออกเสียงเป็นตุง ตามภาษาล้านนา ส่วนการจัดทำตุงอีสานในครั้งนี้หลัก แบ่งเป็น 2 แบบ

    คือ 1.ตุงผ้า ทอด้วยผืนผ้าหรือทอด้วยเส้นใยฝ้าย ขนาดความยาวตั้งแต่ 2 เมตร ไปจนถึง 4-5เมตร บางแห่งอาจจะทอให้มีความยาวกว่านั้นตามแต่วัตถุประสงค์ ลวดลายภายในตุงจะเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาพระพุทธเจ้า

    [​IMG] [​IMG]

    2.ตุงใยแมงมุม หลากสีสัน เป็นตุงที่ทำจากเส้นด้าย เส้นฝ้ายหรือเส้นไหม ผูกโยงกันคล้ายใยแมงมุม โดยมีไม้ไผ่เป็นโครงยึด นิยมใช้แขวนตกแต่งไว้หน้าพระประธานหรือโดยรอบงาน พิธีกรรม เพื่อปกป้องคุ้มครอง ที่แฝงด้วยภาพคติธรรมในพระพุทธศาสนา และยังมีความเชื่อว่า ตุงใยแมงมุม คือ พระฉัพพรรณรังสี หากถวายบูชาตุงนี้แล้ว จะได้รับอานิสงส์เป็นอเนกประการ

    หากแขวนไว้ที่ใดเมื่อลมโบกสะพัดพัดปลิวไปทางไหนและถูกต้องผู้ใดก็จะได้รับแต่ความเป็นสิริมงคล ซึ่งตุง ยังถูกนำมาใช้ในงานพิธีกรรมทางพุทธศาสนาและงานประเพณีในท้องถิ่น งานเทศกาลต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคต่าง ๆ

    สำหรับ ตุงหลวง คือธงชัยที่มีความหมายในคติของชาวอิสาน ว่าหากยกตุงหรือธุงไชย จะทำให้พระอุปคุตท่านทราบด้วยวิถีญาณท่านจะมาป้องกัน และขจัดอุปสรรคในบริเวณพิธีหรือสถานที่นั้น ตุงที่ใช้โดยมากจะประดับประดาในงานบุญผะเหวดเทศน์มหาชาติ หรือบุญพิธีที่สำคัญๆ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย , บูชาพระธาตุเกตุแก้วจุฬามณีเพื่ออาราธนาพระอุปคุตมารักษางาน , เพื่อให้เทพดามาอนุโมทนาบุญ และ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้บูชา

    พระศากยปุตติยวงศ์ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบัน ธุงหรือตุง ยังอยู่ในวิถีชีวิตวัฒนธรรมความเชื่อของคนอีสาน รวมถึงผู้คนในแถบลุ่มน้ำโขง และถือว่าตุง เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตามความเชื่อขอแต่ละท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ หรือจากรุ่นสู่รุ่น จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ควรค่าแก่การรักษาและอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่คู่ผืนแผ่นดินไทยไปตราบนานเท่านาน

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/amulets/news_2017724
     

แชร์หน้านี้

Loading...