พระบูรพาจารย์ของ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 4 มิถุนายน 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ครูบาอาจารย์ของ "หลวงพ่อพระราชพรหมยาน


    ตามที่หลวงพ่อกล่าวถึงใน "หนังสือคู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน"




    <DD>"...ความดีที่พึงมีจากหนังสือนี้บ้างเพียงใด ผู้เขียนขออุทิศความดีนี้ถวายแด่สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ และพระอริยสาวกทุกๆ ท่าน ที่ทุกๆ ท่านได้มีความเกื้อกูลให้ความรู้ ความเข้าใจ และนำเอาความรู้นี้มาสอนเวไนยพุทธบริษัทสืบๆ มา จนถึงยุคปัจจุบัน


    <DD>และขออุทิศความดีที่มีจากหนังสือนี้ บูชาคุณครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่กรุณาแนะนำ สั่งสอนผู้เขียนมา มากบ้าง น้อยบ้าง แต่ผู้เขียนก็เคารพว่าทุกท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่คารพอย่างสูง ของผู้เขียนอยู่เสมอ ครูบาอาจารย์ที่สอนในส่วนปฏิบัติกรรมฐานนี้ มีมากท่านด้วยกันอาจจะหลงลืมชื่อเสียงของท่านไปบ้างก็ต้องกราบขออภัยมาในที่นี้ด้วย เท่าที่จำได้ในขณะนี้ก็คือ....



    <CENTER>[​IMG]


    (คลิกที่รูปภาพ..อ่านประวัติ " หลวงพ่อปาน" จากเว็บตามรอย)

    </EMBED>
    </CENTER>


    <DD>๑. พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน สุทธาวงษ์) วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นปฐมาจารย์ผู้สั่งสอนเป็นองค์แรก สอนกรรมฐานทุกตอนจนถึงระดับนิพพาน และพยายามฝึกฝนให้จนมีความเข้าใจในการปฏิบัติกรรมฐาน จนมีความเข้าใจรอบๆ พอควรแก่ปัญญาของผู้เขียน



    <CENTER>[​IMG]

    (คลิกที่รูปภาพ..อ่านประวัติ "หลวงพ่อเล็ก" จากเว็บตามรอย)</CENTER>


    <DD>๒. หลวงพ่อเล็ก เกสโร อาจารย์ที่สองรองจากหลวงพ่อปาน เป็นตัวแทนหลวงพ่อปาน ในการควบคุมดูแลในการปฏิบัติเบื้องต้น ท่านอยู่ วัดบางนมโค เช่นเดียวกัน



    <CENTER>[​IMG]

    (คลิกที่รูปภาพ..อ่านประวัติ "หลวงพ่อสังข์" จากเว็บ oknation)</CENTER>


    <DD>๓. พระครูอุดมสมาจารย์ วัดน้ำเต้า อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    <DD>๔. หลวงพ่อปั้น วัดพิกุล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    <DD>๕. หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



    <CENTER>[​IMG]

    (คลิกที่รูปภาพ..อ่านประวัติ "หลวงพ่อจง" จากเว็บตามรอย)</CENTER>


    <DD>๖. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



    <DD>๗. พระครูรัตนาภิรมย์ พระอุปัชฌาย์ของผู้เขียน วัดบ้านแพน อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    <DD>๘. หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    <DD>๙. หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี



    <DD>๑๐. หลวงพ่อเรื่อง วัดใหม่พิณสุวรรณ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี



    <DD>๑๑ .พระครูสุวรรณพิทักษ์บรรพต เจ้าคณะ ๑๑ วัดสระเกศ จังหวัดพระนคร



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    <DD>๑๒. ท่านเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี



    <DD>๑๓. ท่านเจ้าคุณ พระธรรมปาหังสณาจารย์ อดีตเจ้าอาวาส วัดประยุรวงศาวาส ธนบุรี



    <DD>๑๔. ท่านเจ้าคุณ พระมหาโพธิวงศาจารย์ เจ้าอาวาส วัดอนงคาราม จังหวัดธนบุรี



    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    <DD>๑๕. พระเดชพระคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อดีตเจ้าอาวาส วัดอนงคาราม จังหวัดธนบุรี



    <DD>๑๖. พระอาจารย์เกษม วัดดาวดึงสาวาส จังหวัดธนบุรี



    <DD>๑๗. พระอาจารย์ทอง วัดราษฎรสุนทรเจริญ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี



    <DD>๑๘. ท่านอาจารย์สุข ตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี



    <DD>ตามที่กล่าวนามมาแล้วนี้ ทุกท่านมีความดี เคยแนะนำสั่งสอนผู้เขียนมามากบ้างน้อยบ้าง แต่ละท่านต่างก็แนะนำสั่งสอนเพื่อให้เข้าใจในปฏิปทาการปฏิบัติด้วยดีทำให้ผู้เขียนได้รับความรู้ความ เข้าใจเพิ่มเติมขึ้นอีกมาก ฉะนั้น ความดีที่จะพึงมีจากหนังสือนี้ แม้เป็นหนังสือมีข้อความย่อ พอเป็นหัวข้อแนะในการปฏิบัติ จะไม่ละเอียดลออพอที่จะเป็นตำราได้ก็ตาม ผู้เขียนขออุทิศความดีนี้บูชาคุณ ทุกท่านตามที่กล่าวนามมาแล้ว



    <DD>ส่วนความผิดพลาดที่จะพึงมีในหนังสือนี้มากน้อยเพียงใด ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่ผู้เดียว ที่ผิดก็คงผิดเพราะความโง่เขลารู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้เขียนแน่นอน ส่วนที่ครูบาอาจารย์สอนมานั้น ไม่ผิดแน่



    <DD>ที่สุดนี้ ขอทุกท่านที่ได้รับและอ่านหนังสือนี้ จงเจริญผ่องใส มีอารมณ์ใจเต็มเปี่ยมด้วยผลปฏิบัติ พระกรรมฐานจงทุกท่าน..เทอญ..."



    <CENTER>พระมหาวีระ ถาวโร</CENTER>


    <HR>
    ส่วนพระมหาเถระที่หลวงพ่อให้ความเคารพนับถือมีหลายรูป เช่น

    1. พระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินทโร) วัดสามพระยา กรุงเทพฯ
    2. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผาติการาม กรุงเทพฯ
    3. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
    4. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม) วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
    5. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ

    สำหรับ "พระสุปฏิปันโน" ที่หลวงพ่อให้ความเคารพนับถือ

    1. หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก วัดชัยมงคล (วัดวังมุย) จังหวัดลำพูน
    2. พระครูสุคันธศีล (หลวงปู่คำแสน - ใหญ่) วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
    3. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง(ดอยม่อนเวียง) อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
    4. หลวงปู่คำแสน (เล็ก) คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
    5. หลวงพ่อบุญทืม พรหมเสโน วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน
    6. พระครูสันติวรญาณ (หลวงพ่อสิม) วัดถ้ำผาปล่อง เชียงดาว
    7. พระครูพรหมจักสังวร (พระสุพรหมยานเถระ; ครูบาพรหมจักสังวร) วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
    8. พระครูภาวนาภิรัตน์ (พระสุธรรมยานเถระ; ครูบาอินทจักรรักษา) วัดวนาราม (วัดน้ำบ่อหลวง) อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
    9. พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์ (ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
    10. พระครูวรเวทย์วิสิฐ (ครูบาธรรมชัย) วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
    11. พระภาวนาปัญญาวิสุทธิ์ (อำพัน บุญ - หลง) วัดเทพศิรินทราวาส จังหวัดกรุงเทพฯ
    12. หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
    13. พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่กล่อม) วัดบุปผาราม ธนบุรี
    14. หลวงปู่สี ฉันทสิริ วัดถ้ำเขาบุนนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์


    <DD>นอกจากนี้ยังคงมีพระเถรานุเถระอีกหลายรูปที่หลวงพ่อพระราชพรหมยานฯ นิมนต์มาร่วมงานประจำปีของวัดท่าซุง ซึ่งไม่สามารถจะกล่าวนามได้ทุกรูป คณะทีมงาน "เว็บวัดท่าซุง" ต้องกราบขอขมากรรมไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

    </DD>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2009
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876

    ๑.หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดอัมพวัน)
    อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี
    วัดคลองมะดัน เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง อยู่กลางทุ่งนา ในสมัยก่อนมีลำคลองผ่าน หน้าวัดและมีต้นมะดันขึ้นอยู่ชุกชุมมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า วัดคลองมะดัน แม้ว่าภายหลังได้มีการ เปลี่ยนชื่อเป็น วัดอัมพวัน แต่ชาวบ้านและคนใน จ.สุพรรณบุรี ทั่วๆ ไปยังนิยมเรียกชื่อเก่าว่า วัดคลองมะดัน เหมือนเดิม ​
    หลวงพ่อโหน่ง เกิดปีขาล ตรงกับวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๔๐๙ (บางแห่งว่า พ.ศ. ๒๔๐๘) ณ หมู่บ้านท้ายบ้าน
    ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนฝั่งคลองสองพี่น้อง ฝั่งเดียวกับวัดสองพี่น้อง เป็นบุตรคนที่สอง (บางแห่งว่า เป็นบุตรคนที่ ๔) ของนายโต นางจ้อย โตงาม อาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมอุทร ๙ คน อายุได้ ๒๔ ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง โดยพระอธิการจันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ กับพระอธิการสุด วัดท่าจัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌายะว่า อินฺทสุวณฺโณ

    เมื่อหลวงพ่อโหน่งอุปสมบทแล้วเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปหาพระน้าชาย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณเปรียญ ๙ ประโยค เพื่อศึกษาธรรมวินัย หลวงพ่อโหน่งสังเกตเห็นเจ้าคุณมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ จึงเอ่ยปากถามว่า ท่านละกิเลสหมดแล้วหรือ ท่านเจ้าคุณบอกให้หลวงพ่อโหน่งเข้าไปดูในกุฏิว่ามีอะไรบ้าง หลวงพ่อโหน่งไปเห็นโต๊ะหมู่บูชาทำด้วยมุก โต๊ะหมู่ทอง งาช้าง และสิ่งของมีค่าอีกมากมาย เมื่อออกมาจากกุฏิ หลวงพ่อโหน่งกราบลาท่านเจ้าคุณน้าชายกลับมาจำพรรษายังวัดสองพี่น้องตามเดิม แล้วเดินทางไปจำพรรษาที่วัดทุ่งคอกเพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการจันทร์ อุปัชฌาย์ของท่าน

    หลวงพ่อโหน่งศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อจันทร์ได้ ๒ พรรษา เดินทางมาศึกษาต่อวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จนกระทั่งมีความรู้แตกฉานเป็นที่ไว้วางใจแก่หลวงพ่อเนียมได้ เมื่อตอนหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยามาเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อเนียมพูดกับหลวงพ่อปานว่า “เวลาข้าตายแล้ว เอ็งสงสัยอะไรก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ โหน่งเขาแทนข้าได้”

    นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฏว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงพ่อโหน่ง อายุ ๔๑ ปี จำพรรษาอยู่ ที่วัดสองพี่น้อง พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด) วัดปากนํ้า ได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้องและ พระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมในการอุปสมบทในครั้งนั้นคือ หลวงพ่อโหน่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และต่อมาหลวงพ่อสดก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโหน่งเช่นกัน นอกจากหลวงพ่อสดแล้ว ศิษย์ของท่านยังมี หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) วัดโพธิ์ หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก

    เมื่อหลวงพ่อโหน่งกลับไปจำพรรษาที่วัดสองพี่น้องตามเดิม จิตใจวาบหวิวชอบกล จึงเดินทางไปหาหลวงพ่อเนียมอีก ยังไม่ทันที่หลวงพ่อโหน่งจะว่าอะไร หลวงพ่อเนียมพูดขึ้นก่อนว่า “ฮื้อ! ทำไปเองนี่นา ไม่มีอะไรหร๊อก กลับไปเถอะ” หลวงพ่อโหน่งรู้สึกสบายใจขึ้น และก็มิได้เป็นอะไรอีกเลย​

    เมื่อมาจำพรรษาที่วัดคลองมะดัน ท่านฉันอาหารเจ ก่อนออกบิณฑบาต นมัสการต้นโพธิ์ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาใส่บาตรถวายสังฆทาน ท่านเอามารดามาอยู่ที่วัดด้วย ปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม เคร่งครัดในการอบรมสั่งสอนพระเณรและลูกศิษย์วัด ไม่รับเงิน เจริญวิปัสสนากรรมในป่าช้าเป็นประจำ ถือสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์สินมีค่าเลยแม้แต่น้อย สร้างสาธารณูปการสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกเป็นอันมาก​
    จากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้ฌานของหลวงพ่อแก่กล้า สามารถทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ พระทำผิดวินัย
    ท่านสามารถรู้ได้โดยไม่ต้องเห็น พระที่ไปรุกขมูลทะเลาะเบาะแว้งกัน ท่านก็รู้ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยไปหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดันโดยไม่บอกเล่าเก้าสิบ หลวงพ่อโหน่งสั่งลูกศิษย์เตรียมจัดที่จัดทางไว้ ว่าวันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา
    มีเรื่องเล่าว่า ใครนิมนต์ท่านไปไหนมาไหน ท่านต้องถามพระประจำตัวในกุฏิท่านก่อนเสมอ ถ้าพระท่านบอกไปได้ ท่านก็ไป ถ้าพระท่านบอกไม่ให้ไป ท่านก็ไม่ไป ​

    แม้กระทั่งการสร้างพระประธานองค์ย่อม ท่านก็ถามพระว่า สร้างได้ไหม พระบอกว่าสร้างได้ ท่านก็สร้างตามนั้น แต่ท่านไม่ทราบว่าจะหาช่างปั้นช่างหล่อที่ไหน พระก็บอกให้เดินไปทางโน้นทางนี้ ท่านก็เดินตามนั้น พบช่างมาช่วยปั้นและหล่อตามที่พระบอก เมื่อหล่อเสร็จช่างก็หายตัวไปเฉยๆ โดยไม่บอกกล่าว
    ท่านก็ตกใจว่า อ้าว....เงินค่าจ้างยังไม่ได้จ่าย เป็นการเบียดเบียนเขา จึงเดินย้อนไปตามทางเดิมถึงจุดที่พบช่าง ก็บอกลักษณะหน้าตาถามชาวบ้าน ชาวบ้านบอกไม่รู้จัก คงเป็นคนถิ่นอื่น เมื่อกลับกุฏิก็ถามพระว่า จะไปตามช่างได้ที่ไหน ​

    พระบอกไม่ต้องไปตาม เพราะช่างคนนี้ไม่ธรรมดา เป็น ช่างเทวดา มาช่วย เมื่อหมดหน้าที่ท่านก็ไปตามเรื่องของท่าน ไม่ต้องไปตามหรอก ถึงตามก็ไม่เจอ หลวงพ่อโหน่ง เป็นศิษย์รุ่นพี่ของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ร่วมอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ก่อนหลวงพ่อเนียมมรณภาพ ท่านได้สั่งเสียกับหลวงพ่อปานว่า ถ้าข้าตาย มีอะไรขัดข้องก็ให้ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง นะ เมื่อหลวงพ่อเนียมมรณภาพ แล้วราวหนึ่งปี หลวงพ่อปานก็ธุดงค์มาหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดัน มาถึงวัดตอนบ่ายวันหนึ่ง ท่านก็นั่งรออยู่ใต้ต้นไม้ คิดว่าหลวงพ่อโหน่งคงจำวัด ​

    แต่หลวงพ่อโหน่งรู้ด้วยญาณของท่าน จึงเปิดหน้าต่างออกมา เห็นหลวงพ่อปานนั่งรออยู่ จึงว่า อ้อ มาถึงแล้วเรอะ ฉันรออยู่แต่เช้าเชียว คืนนั้น หลวงพ่อปานต่อวิชากับหลวงพ่อโหน่งในโบสถ์ ทั้งหลวงพ่อโหน่งกับหลวงพ่อปานเข้าสมาบัติเต็มอัตรา ไม่ถึงครึ่งคืนทุกอย่างก็จบสิ้นกระบวนความ
    เมื่อตอนหลวงพ่อโหน่งมรณภาพ ปี 2477 หลวงพ่อปานไปสร้างวัดอยู่ลพบุรีทราบข่าว ได้สั่งกรรมการวัดคลองมะดันว่า อย่าเพิ่งเผาศพหลวงพ่อโหน่ง ถ้าร่างไม่เน่า ให้รอท่านก่อน ​

    ปรากฏว่าร่างหลวงพ่อโหน่งไม่เน่า แต่กรรมการวัดก็รีบเผาเสีย หลวงพ่อปานมาถึงก็เทศนากรรมการวัดเสียกัณฑ์ใหญ่ว่า พวกแกอยู่กับพระอรหันต์ทุกวี่วัน ช่างไม่รู้บ้างเลย ท่านอธิษฐานทิ้งตัวไว้นะ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานมรณภาพ วันที่ วันที่ ๒๕ ธ.ค. ๒๔๗๗ ท่านก็อธิษฐานทิ้งตัวไม่เน่าอีกเหมือนกัน สรุปแล้ว ตั้งแต่พระอาจารย์ใหญ่คือ หลวงพ่อเนียม ลงมาจนถึง หลวงพ่อโหน่ง และ หลวงพ่อปาน เมื่อมรณภาพแล้ว ร่างกายไม่เน่าทุกองค์ โดยไม่ต้องฉีดยาอย่างปัจจุบัน​


    วัตถุมงคล
    พระพิมพ์ต่างๆ ของท่านมีอาทิ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ลีลา พิมพ์พระสมเด็จสามชั้นและฐานคู่ พิมพ์จันทร์ลอย พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์พระชินราช พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์กลีบบัว พิมพ์พระตรีกาย พิมพ์โมคคัลลาน์สารีบุตร พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์พระปิดตา พิมพ์นาคปรก พิมพ์ปางไสยาสน์ พิมพ์กำแพงศอก ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พิมพ์ซุ้มกอ ซึ่งออกเป็นพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ค่านิยมก็แตกต่าง กันไปตามสภาพ
    นอกจากนี้ พระพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย ก็ได้รับความนิยมเช่นกันแบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานมีบัว และพิมพ์ฐานไม่มีบัว ​

    ส่วนพระพิมพ์อื่นๆ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ พระลีลาหรือพระกำแพงนิ้ว พระสมเด็จฐานคู่ และอีกหลายๆ พิมพ์ที่ไม่ได้เอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้ ต่างได้รับความนิยมทุกๆ พิมพ์ตามสภาพความงามของพระองค์นั้นๆ
    พระเครื่องที่ท่านสร้างขึ้นและเสกแล้ว ท่านจะเก็บไว้ในโอ่ง ท่านจะหยิบใส่พานตั้งตรงหน้าท่านจำนวนหนึ่ง เพื่อแจกแก่ญาติโยมไปเรื่อยๆ เมื่อข่าวหลวงพ่อโหน่งสร้างพระและแจกพระแพร่กระจาย ออกไปมีประชาชนทั้งใกล้ และไกลมารับแจกพระจากท่านเป็นจำนวนมาก ทุกๆ วัน หลวงพ่อโหน่งต้องเพิ่มกิจวัตร ในการแจกพระเป็นเวลานาน ​

    นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อโหน่งยังได้นำพระอีกส่วนหนึ่ง ไปบรรจุไว้ที่ปูชนียสถาน หลายแห่งภาย ในวัดคลองมะดัน และที่วัดทุ่งคอกด้วย ส่วนที่เหลือก็แจกให้แก่ผู้ที่มาขอตลอดอายุขัยของท่าน
    เมื่อหลวงพ่อโหน่งมรณภาพแล้ว พระก็ยังเหลืออยู่ อาจารย์ฉวย ปัญญารตนะ เจ้าอาวาส รูปต่อมาก็ได้ทำตามเจตนารมณ์ ของหลวงพ่อโหน่งทุกประการ คือ แจกพระหลวงพ่อโหน่งให้แก่ผู้ที่มาทำบุญเรื่อย มาจนอาจารย์ฉวยมรณภาพลง พระที่แจกก็ยังไม่หมด ​

    อาจารย์หนำ ยะสะสี เจ้าอาวาสรูปต่อมา ก็ได้แจกพระหลวงพ่อโหน่ง ตามเจ้าอาวาสรูปก่อน พระหลวงพ่อโหน่ง จึงได้หมดไปในที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระหลวงพ่อโหน่งสร้างไว้หลายพิมพ์และมีจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริงว่าสร้างมากเท่าไร จะรู้เพียงว่าสร้างด้วยเนื้อดินเผาทั้งหมด ​

    นอกจากพระเครื่องชนิดเล็กๆ สำหรับห้อยคอติดตัวแล้ว หลวงพ่อโหน่ง ยังได้สร้างพระขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้บูชาตั้ง ไว้ในบ้านอีกด้วย เช่น พระกำแพงศอกเนื้อดินเผาและพิมพ์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระรูปเหมือนหลวงพ่อโหน่ง แบบลอยองค์แบบพระบูชา เนื้อทำด้วยปูน เป็นต้น โดยท่านจะเขียนคำอวยพรไว้ด้านหลังองค์พระเป็นภาษาไทยไว้ด้วย
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]

    ๒. หลวงพ่อเนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี
    เมื่อเอ่ยถึงหลวงปู่เนียม ผู้คนทั้งหลายจะต้องเรียกชื่อท่านควบกับชื่อวัดไปด้วย หรือเมื่อเอ่ยชื่อวัดน้อยนี้ก็ต้องควบชื่อท่านเข้าไปด้วยเช่นกัน เพราะในสุพรรณบุรีมีวัดที่ชื่อวัดน้อยหลายแห่งด้วยกัน แต่วัดอื่นๆ ก็ไม่ติดปากผู้คนเหมือนวัดน้อย หลวงปู่เนียม
    วัดน้อยเป็นวัดเก่าอายุกว่าร้อยปี มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่สร้างโดยผู้ใดไม่ปรากฏ อยู่ในท้องที่ตำบลโตกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี วัดน้อยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคม เส้นเดียวของเมืองสุพรรณบุรี สู่เมืองบางกอก​



    สมัยเมื่อ๕๐ปีที่แล้วก่อนจะมีถนนมาลัยแมนตัดจากนครปฐมมายังตัวเมืองสุพรรณวัดน้อยอยู่ระหว่างอำเภอบางปลาม้ากับตัวจังหวัด คิดระยะทางทางน้ำ ก็จะอยู่ห่างตัวเมืองสุพรรณราวเจ็ดแปดกิโลเมตร
    สมัยเมื่อราวๆ ร้อยปีที่ผ่านมา วัดน้อยมีความเจริญสูงสุด เพราะครองวัดโดยพระมหาเกจิ-เถราจารย์นามกระเดื่อง ผู้เชี่ยวชาญทางคันถธุระ วิปัสสนาธุระและวิทยาคมชื่อหลวงปู่เนียม
    ในสมัยที่หลวงปู่ครองวัดอยู่ วัดน้อยของหลวงปู่ มีพระเณรมากกว่าวัดอื่นๆ ในละแวกใกล้เคียง และค่อนข้างจะคลาคล่ำไปด้วยผู้ศรัทธาที่มาให้ท่านช่วยรักษาความเจ็บไข้ได้ป่วยด้วยยาสมุนไพร น้ำมนต์และอาคม ที่ชะงัดมากเห็นผลทันตาก็เรื่องหมาบ้าและงูพิษกัด เพียงเสกเป่าพรวดออกไปแล้วบอกว่า เอ้า ! มึงไปได้แล้ว ก็ไม่เห็นมีใครตายสักราย น้ำมนต์ของท่านเล่าลือว่าศักดิ์สิทธิ์นัก​



    ถาวรวัตถุที่เชื่อกันว่าสร้างมาในสมัยหลวงปู่ที่ยังพอมีให้เห็นก็คือ มณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาท วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ ศาลาข้างสระน้ำ ซึ่งสิ่งก่อสร้างทั้งสามนี้มีสภาพเป็นซากที่ถูกทอดทิ้งใช้การไม่ได้แล้ว
    ถนนมาลัยแมน ที่สร้างขึ้นมาเมื่อราว ๕๐ ปีก่อน ทำให้สุพรรณบุรีเป็นเมืองเปิดขึ้นมาโดยทันที แม่น้ำท่าจีนที่เคยเป็นเส้นทางคมนาคมเดียวสู่บางกอกเริ่มลดความสำคัญ การเดินทาง และการส่งสินค้าเข้าออกเมืองสุพรรณทางเรือก็ค่อยเปลี่ยนเป็นทางรถยนต์และรถไฟ หน้าวัดที่คลาคล่ำด้วยหรือแพ เริ่มน้อยลงๆ จนไม่มีเลยในปัจจุบัน ผู้คนจะไปไหนๆไม่จำเป็นต้องผ่านวัดน้อยอีกแล้ว ผู้คนที่มาทำบุญที่วัดน้อยลง คนรุ่นหนุ่มสาวที่พอมีกำลังทำบุญแทบไม่เหลือติดหมู่บ้าน วัดในตำบลโตกครามก็มีมากเสียจนผู้คนในตำบลนี้ ไม่สามารถที่จะอุปถัมภ์ได้ทุกวัด​



    ความเสื่อมโทรมของวัดน้อยค่อยๆ เริ่มขึ้นพร้อม ๆ กับความเจริญของจังหวัดสุพรรณบุรี
    ในวัดน้อยเองขณะนี้ก็มีพระเณรอยู่ในวัดเพียงไม่ถึงสิบรูป แค่เพียงดูแลถาวรวัตถุ เช่น กุฏิ วิหาร มณฑป หอฉัน ศาลา ที่หลวงปู่สร้างไว้ ไม่ให้ผุพังไปตามกาลเวลาก็ดูจะเป็นเรื่องยากเสียแล้ว รายได้เข้าวัดน้อยมากสมชื่อวัด น้อยเสียจนทำอะไรไม่ค่อยได้ บางวันพระเณรต้องหุงหาอาหารไว้ฉันกันเอง ผู้คนที่จะมาที่วัดน้อยในปัจจุบันนี้ ร้อยทั้งร้อยจะแวะมาเพียงเพื่อมากราบรูปหล่อของหลวงปู่เนียมในมณฑปเท่านั้น​




    ประวัติของหลวงพ่อเนียม



    ขุนดอน เขียนประวัติของหลวงพ่อในนิตยสารพระเครื่องชื่อ พุทโธ ฉบับเดือนพฤษภาคม- เดือนกรกฎาคม ๒๕๓๑ และคุณทนงทิพย์ ม่วงทอง เขียนในฉบับเดือนกรกฎาคม ๒๕๓๕ มีเนื้อความใกล้เคียงกันว่า
    หลวงปู่เกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๒ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ท่านเป็นคนบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีโดยกำเนิด มารดาของท่านเป็นคนบ้านป่าพฤกษ์ ตำบลตะค่า อำเภอบางปลาม้า ส่วนบิดาเป็นคนบ้านส้อง ตำบลมดแดง อำเภอศรีประจันต์ แต่ได้ย้ายมาลงหลักปักฐานอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิงตามประเพณี หลวงปู่มีพี่สาวชื่อจาด ท่านเป็นคนที่สอง มีน้องชายหนึ่งคนชื่อเสียงใดไม่ปรากฏ​



    การศึกษาของท่านก็คงเหมือนลูกชาวบ้านทั่วไปคือ เรียนอักขรวิธีและภาษาบาลีจากพระในวัดใกล้บ้าน
    เมื่อครบบวช (พ.ศ.๒๓๙๒-๒๓๙๓) ก็บวชตามประเพณี คาดว่าคงเป็นวัดป่าพฤกษ์หรือไม่ก็วัดตะค่า
    เล่ากันว่าเมื่อท่านอยู่ในสมณเพศแล้วท่านก็เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย มูลกัจจายนสูตร วิปัสสนา และเวทย์มนต์คาถาจากพระเถรานุเถระสำนักต่างๆ ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าท่านมาพำนักอยู่วัดใดและเป็นศิษย์สำนักใดแน่ บ้างก็ว่าท่านมาอยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ บ้างก็ว่าวัดโพธิ์ วัดทองธรรมชาติ และวัดระฆังโฆสิตาราม​



    ในสมัยนั้นเมื่อกล่าวถึงพระคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของวิปัสสนาธุระแล้ว ต้องยกให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) หลวงปู่ช่วง วัดรังสี (ขณะนี้รวมเป็นวัดเดียวกับวัดบวรฯ) หลวงปู่คำ วัดอัมรินทร์ หลวงปู่จันทร์ วัดพลับ
    ขุนดอนเขียนว่า ถ้าหลวงปู่มาอยู่วัดระฆังฯ ก็ต้องเป็นศิษย์ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แน่ เพราะสมเด็จท่านมีพระชนม์ชีพอยู่จนถึง พ.ศ. ๒๔๑๕ สำหรับคุณทนงทิพย์ เขียนว่า คุณทองหยด จิตตวีระ อดีต ส.ส. สุพรรณบุรี เคยเล่าให้คุณบดินทร์ สุประสงค์ อดีตผู้พิพากษาศาลสุพรรณบุรีฟังว่า บิดาของท่านเคยเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ ตอนมาอยู่ที่วัดน้อยแล้ว หลวงปู่เคยส่งคุณพ่อของท่านและศิษย์คนอื่นๆ อีกหลายคน ให้ไปศึกษาเล่าเรียนที่วัดระฆังฯ เรื่องนี้น่าจะเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่าหลวงปู่เนียมต้องเคยเป็นศิษย์วัดระฆังฯ ด้วย​



    เล่ากันว่าหลวงปู่พำนักเล่าเรียนอยู่ที่เมืองบางกอกถึง ๒๐ พรรษา เมื่อร่ำเรียนจนจบกระบวนการแล้ว ท่านก็กลับมาอยู่ที่วัดที่ท่านบวชชั่วระยะหนึ่ง แล้วก็ย้ายไปอยู่ที่วัดรอเจริญ อำเภอบางปลาม้า (อยู่เยื้องลงมาทางใต้ของวัดน้อยไม่กี่ร้อยเมตร) ท่านอยู่ที่วัดรอเจริญได้ไม่นาน ชาวบ้านวัดน้อยเห็นแววของท่านก็มานิมนต์ท่านให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดน้อยที่ทรุดโทรมและกำลังจะร้าง เพราะขาดสมภารเจ้าวัด เมื่อท่านมาอยู่วัดน้อยตามศรัทธาของชาวบ้านแล้วก็ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างหอฉัน และบูรณะโบสถ์ วิหาร จนดี มีสภาพเป็นวัดขึ้นมาอีกครั้ง วัดน้อยเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ มีพระเณรมากขึ้นทุกปี
    เล่ากันว่าทุกก่อนเข้าพรรษาชาวบ้านทั้งในละแวกนิ่งและละแวกใกล้เคียงจะนำบุตรหลานมาให้ท่านบวชให้มากมาย และที่จำพรรษาที่วัดน้อยก็มีเกือบสิบรูปทุกปี​




    ศิษย์ของหลวงปู่เนียม



    คุณมนัส โอภากุล (พ่อของคุณแอ๊ด คาราบาว) คนสุพรรณผู้เชี่ยวชาญและโด่งดังจากการรวบรวมค้นคว้าและเขียนเรื่องพระเกจิอาจารย์และพระเครื่องเมืองสุพรรณบุรีจนเป็นที่รู้จักกันดีในวงการพระเครื่องได้เขียนว่า
    สุพรรณบุรีมีพระเกจิอาจารย์ดังมากที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศ และพระเกจิอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ผู้ทรงวิทยาคมที่ถือว่าเป็นที่สุดยอดของพระมหาเกจิ-เถราจารย์ของเมืองสุพรรณก็คือหลวงปู่เนียม
    คุณมนัสกล่าวว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่เนียมที่ดังๆ ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศก็มีหลายรูปด้วยกัน ที่ท่านค้นคว้ามาได้มีหลวงพ่ออ่ำ แห่งวัดชีปะขาว อ.บางปลาม้า หลวงพ่อรูปนี้หลวงพ่อเนียมเป็นผู้บวชให้และมีศักดิ์เป็นหลานของท่านด้วย ที่ดังระดับประเทศก็คือ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อ.สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ และอีกรูปก็คือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ (พระราชพรหมยาน) แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี​



    ไตรภาคี ตรีเพชร เซียนพระเครื่องท่านหนึ่งได้เขียนเรื่องของหลวงปู่เนียมและหลวงพ่อโหน่งไว้ในนิตยสารพระเครื่องชื่อ พุทโธ ฉบับที่ ๖ เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ ว่าหลวงปู่เนียมเป็นพระนักปฏิบัติธรรม เชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน และมีวิทยาคมแก่กล้า ที่หลวงพ่อปานมาฝากตัวขอเป็นศิษย์ และได้รับการถ่ายทอดทั้งวิชาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและวิทยาคมไปจนหมดสิ้น ครั้นเมื่อเรียนจบแล้วก่อนจะลากลับสู่สำนักเดิม หลวงปู่เนียมยังได้ส่งเสียว่าในวันข้างหน้าถ้าติดขัดสงสัยในเรื่องคำสอนของท่าน ขอให้ไปสอบถามหลวงพ่อโหน่ง ศิษย์รุ่นพี่ (ห่างกันหลายปีและไม่ทันเห็นกันในขณะนั้น) โดยบอกว่า ถ้าข้าตายไปแล้ว หากสงสัยอะไร ให้ไปถามท่านโหน่ง วัดคลองมะดัน เขาพอแทนข้าได้​



    ใหญ่ ท่าไม้ เซียนพระ เจ้าของนิตยสารพระเครื่องดังของเมืองไทยอีกท่านหนึ่ง ได้เขียนถึงความเป็นพระอริยสงฆ์ของหลวงปู่เนียมและหลวงพ่อโหน่งศิษย์อาวุโสของท่าน ในนิตยสารพระเครื่องชื่อ มหาโพธิ์ ฉบับพิเศษ ที่ ๑๓ ว่าหลวงปู่เนียมและหลวงพ่อโหน่งเป็นพระผู้มีอภิญญาสูง รู้เวลาตายของตนเอง เพราะทั้งสองท่านมรณภาพในท่านอนพนมมือ​




    ปาฏิหาริย์และวัตถุมงคลของหลวงปู่เนียม



    มีเรื่องเล่าสืบทอดกันมาถึงปาฏิหาริย์ของหลวงปู่เนียมมากมาย ประวัติและปาฏิหาริย์ของท่านได้ถูกเขียนลงในนิตยสารพระเครื่องดังๆ หลายฉบับ พระเครื่องที่ท่านทำขึ้นมาเพื่อแจกสานุศิษย์มีหลายพิมพ์ด้วยกัน ได้แก่ พิมพ์พระประธาน พิมพ์พระคง พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์พุทธลีลา พิมพ์ขุนแผน และที่ดังมากก็คือพิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์มารวิชัยเศียรโล้น และพิมพ์เศียรแหลม พระของหลวงปู่ทุกพิมพ์เป็นเนื้อชินตะกั่ว มีรูปทรงไม่สวยนัก แต่มีพุทธคุณสูงยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องคงกระพัน ขณะนี้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในมือของคนรุ่นลูก หลาน เหลนของสานุศิษย์แท้ ๆ ของท่าน ในพื้นที่บางปลาม้า ซึ่งเห็นห้อยคอเดี่ยวๆ และไม่ค่อยจะมีใครยอมปล่อยให้หลุดจากคอ พระของหลวงปู่จึงไม่ค่อยมีให้เห็นในตลาดพระ ส่วนที่เล็ดลอดออกมาบ้างก็มีสนนราคาเป็นเรือนหมื่นทุกพิมพ์
    นอกจากพระเครื่องแล้ว ที่กล่าวตรงกันว่าศักดิ์สิทธิ์นักคือน้ำมนต์ของท่านและการรักษาพิษงูและหมาบ้า




    รักษาพิษงูและพิษหมาบ้า



    สมัยก่อนไม่ว่าท้องไร่ท้องนาถิ่นไหนจะมีงูชุกชุมมาก แต่ละปีจะมีผู้ถูกงูพิษกัดตายหลายราย เพราะไม่มีเซรุ่มจะฉีด เช่นเดียวกับคนโดนหมาบ้ากัดจะต้องตายทุกรายไป คุณสมบัติ พัดขุนทด (มาลา) บุตรสาวของสมุห์เหลือ มาลาอดีตสรรพากรจังหวัดสุพรรณบุรี พี่สาวของคุณวิภาวัลย์ ต้นสายเพ็ชร (มาลา) ผู้ที่พาผู้เขียนไปรู้จักวัดน้อยเล่าว่า คุณยายของท่านเล่าให้ฟังว่าเมื่อครั้งเป็นเด็ก ได้ถูกหมาบ้ากัดแถวๆ บ้านหลังวัดกลาง พ่อแม่ต้องพานั่งเรือพาย พายไปตามลำน้ำท่าจีน ผ่านวัดสวนหงษ์ วัดรอเจริญ และวัดอะไรต่อมิอะไรอีกหลายวัดไปให้หลวงปู่รักษาให้​



    เมื่อไปถึงท่าน ท่านก็ทักว่า มึงโดนไอ้ดำมันกัดเอาใช่ไหม มันเพิ่งวิ่งผ่านหน้ากูไปเมื่อกี้นี้เอง แล้วท่านก็เป่าพรวดๆ ให้ แล้วว่า มึงไม่ตายแล้ว อายุยืนซะด้วยนะมึง (หมาไม่ได้วิ่งไปทางวัดน้อยดอก วัดของท่านอยู่ห่างที่เกิดเหตุไปหลายกิโลเมตร ท่านคงเห็นโดยญาณ) แล้วคุณยายก็อยู่มาจนถึงอายุ ๙๓ ปี​




    น้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์



    เล่ากันว่าครั้งหนึ่งมีคนจีนคนหนึ่ง ตั้งบ้านเรือนอยู่แถววัดโพธิ์คอย ซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ ไกลวัดน้อยนัก ได้พายเรือมาหาท่านด้วยความร้อนรน เนื่องด้วยลูกสาวของแกป่วยหนัก รักษาทางยามาก็มากแล้วอาการก็ไม่ทุเลา ซ้ำทำท่าจะแย่ลงทุกที (บางคนเล่าว่าลูกสาวเจ็บท้องจะคลอดลูก แต่ลูกไม่ออก เจ็บปวดทุรนทุราย)
    มาถึงวัดก็เห็นหลวงปู่อยู่บนหลังคาศาลาท่าน้ำ กำลังช่วยพระเณรมุงหลังคากันอยู่ ด้วยความรีบร้อนก็ตะโกนเรียกหลวงปู่ให้ลงมาช่วยทำน้ำมนต์ให้หน่อย แต่ท่านก็คงให้รอก่อนหรืออย่างไรไม่แจ้ง​



    เถ้าแก่คงร้อนใจและเซ้าซี้ท่านจนน่ารำคาญ และอาจจะเป็นด้วยท่านต้องการจะแสคงอภินิหารหรือรำคาญเถ้าแก่คนนั้น ไม่มีใครเดาได้ ท่านจึงตะโกนจากหลังคาศาลาท่าน้ำว่า มึงตักน้ำที่ตีนท่านั่นแหละไป กูเสกไว้แล้ว แล้วท่านก็มุงหลังคาต่อ
    เถ้าแก่คนนั้นไม่รู้จะทำท่าไหน คงโมโหไม่เบา นั่งมุงหลังคาอยู่เห็นชัดๆ เสกแสกอะไรกัน แต่ก็สิ้นท่าแล้ว ชีวิตลูกสาวแขวนอยู่บนเส้นด้าย จะพาไปโรงพยาบาลหลวงก็อยู่บางกอกโน่น แจวเรือไปสามวันสองคืนก็ยังไม่ถึง เมื่อร้อยปีก่อนโน้นเรือเมล์แดงก็ยังไม่มี ถึงมีก็เถอะก็ต้องวิ่งกันถึงค่อนวันกว่าจะถึง
    หมดท่าแล้ว หลวงปู่ให้ตักเอาน้ำที่หัวบันไดท่าน้ำไป ก็ต้องเอา ใจน่ะ ไม่ค่อยจะเชื่อเอาเสียเลยแต่ก็ไม่รู้จะทำท่าไหน เล่าว่าเถ้าแก่คนนั้นจ้วงตักเอาน้ำนั้นไปด้วยความโมโหและไม่เลี่อมใสว่าน้ำในแม่น้ำจะเป็นน้ำมนต์ได้อย่างไร ครั้นจะไม่เอาก็เกรงใจ เกรงว่าวันหน้าจะเข้าหน้ากันไม่ได้​



    พอพายเรือกลับ เลยหน้าวัด พ้นสายตาหลวงปู่ ก็หยิบเอาขวดหรือไหที่ใส่มา เททิ้งด้วยความโมโห และก็เกิดปาฏิหาริย์ขึ้น คือน้ำนั้นเทไม่ออก และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา คนสุพรรณต่างก็รู้กันว่า น้ำในแม่น้ำหน้าวัดหลวงปู่เนียมศักดิ์สิทธิ์เท่ากับน้ำมนต์ที่ท่านทำขึ้นมา เพียงอธิษฐานจิตคิดถึงหลวงปู่ก็เอาไปใช้ได้เช่นกัน
    ขุนดอน เขียนต่ออีกว่า พระยาศิริชัยบุรินทร์ ปลัดเทศาภิบาลมณฑลนครไชยศรี เมื่อครั้งมาตรวจราชการเมืองสุพรรณบุรี ก็มาแวะกราบขอพรจากหลวงปู่ และขอให้ท่านอาบน้ำมนต์ให้ หลวงปู่ท่านก็สั่งให้ไปอาบน้ำที่ท่าน้ำหน้าวัดรวมกับชาวบ้าน แม้ว่าท่านพระยาจะตะขิดตะขวงใจในเรื่องน้ำหน้าวัด ทั้งมีความเหนียมอายชาวบ้านและบริวารแต่ก็ยอมทำตาม และปรากฏว่าอีกไม่นาน ท่านเจ้าคุณพระยาก็ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเทศาเมืองนครสวรรค์​



    แม้หลายสิบปีหลังจากที่ท่านมรณภาพไปแล้ว พวกชาวเรือชาวแพที่ล่องผ่านหน้าวัด ก็ยังเชื่อว่าน้ำหน้าวัดใช้แทนน้ำมนต์ได้ คุณสำราญ แก้ววิชิต (อายุ ๖๘ ปี) ลูกหลานวัดน้อย และขณะนี้ก็เป็นกรรมการวัดได้เล่าว่า
    ตอนที่แกเป็นเด็กมักจะมาเล่นกับเพื่อน ๆ ที่ศาลาท่านาหลังที่หลวงปู่สร้างไว้เป็นประจำ สมัยนั้นเรอแพยังล่องขึ้นลงไปมาเสมอ และมีเรือเมล์แดงวิ่งรับส่งคนโดยสารระหว่างสุพรรณกับบางกอกแล้ว เมื่อเรือแจวหรือเรือโยงมาถึงหน้าวัดพวกชาวเรือเหล่านั้น (ส่วนมากเป็นคนจีน) ก็จะเริ่มจุดธูปอาราธนาขอพร เอาธูปนั้นปักไว้ที่หัวเรือ เสร็จแล้วก็คว้ากระป๋อง ตักน้ำหน้าวัด สาดขึ้นหลังคาเรือ ส่วนพวกเรือเมล์ ก็จะลดความเร็วลง แล้วผู้โดยสารทั้งหนุ่มสาวเฒ่าชราจะเอื้อมมือลงไปวักเอาน้ำหน้าวัดขึ้นลูบหัวลูบหน้าแทนน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล​
    แม้ขณะนี้ก็ยังเห็นคนเฒ่าคนแก่ มาตักเอาน้ำมนต์ในตุ่มหน้าองค์ท่านไปใช้ ซึ่งก็เชื่อกันว่าศักดิ์สิทธิ์ เหมือนเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่



    ญาณวิเศษรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า



    ไตรภาคี กล่าวถึงหลวงปู่เนียมว่า หลวงปู่สำเร็จอภิญญา สามารถล่วงรู้อนาคตและรู้ความในใจของคนที่สนทนากับท่านได้ โดยเขียนว่าหลวงพ่อปานเคยเล่าให้ศิษย์ของท่านฟังว่า
    วันหนึ่งแมวของหลวงปู่เนียมตาย ไป วันนั้นขณะที่หลวงปู่ฉันข้าวร่วมวงอยู่กับพระลูกวัดสองรูป อยู่ดีๆ หลวงปู่เนียมก็หัวเราะก๊ากขึ้นมาอย่างไม่มีปี่มีขลุ่ยแล้วก็เอ่ยขึ้นว่า เออ อีไฝของกูมันดีเว้ย มันไปเกิดเป็นคนแล้ว แล้วก็เอ่ยต่อถึงชื่อของผัวเมียคู่หนึ่งที่ท้ายตลาดคอวัง​



    พระลูกวัดที่ร่วมวงได้ยินท่านพูดและจำไว้ด้วยความสงสัย อีกหนึ่งปีต่อมาพระสองรูปนั้นก็ลองไปที่ตลาดคอวังเพื่อพิสูจน์คำพูดของหลวงปู่ โดยไปถามหาผัวเมียคู่ที่หลวงปู่เนียมพูดถึง ก็พบว่ามีลูกสาวเกิดมาแล้วอายุได้หนึ่งเดือน มีรูปพรรณตรงกับที่หลวงปู่บอกไว้ คือมีไฝที่ริมฝีปากเหมือนแมวตัวที่ตายไปเมื่อปีที่แล้วจริง พระทั้งสองรูปบอกความจริงให้สองผัวเมียทราบถึงการมาพิสูจน์ของท่าน
    สองผัวเมียดีใจที่ลูกของตนคือแมวของหลวงปู่กลับชาติมาเกิด เมื่อเด็กอายุได้สามเดือน จึงพากันมาที่วัดแล้วเอาเด็กไปประเคนที่หน้าตัก บอกยกให้เป็นลูกหลวงปู่​



    หลวงปู่ทำท่าตกใจถามว่า พวกมึงเอาอีหนูนี่มาประเคนให้กูทำไม
    ถามไปถามมาก็รู้เรื่องพระลูกวัดสองรูปที่ไปหาผัวเมียคู่นั้น หลวงปู่จึงให้พระทั้งวัดมายืนให้ผัวเมียคู่นั้นดูว่าเป็นพระรูปใดที่ไปหา แต่พระทั้งสองรูปได้หลบไปซ่อนตัว กลัวโดนด่าอยู่หลังวัด หลวงปู่ก็รู้ว่าไปแอบที่ไหน จึงให้พระรูปหนึ่งไปตาม แต่พระทั้งสองรูปขอให้มาโกหกว่าตามหาไม่พบ พระรูปนั้นก็กลับมาบอกหลวงปู่ตามที่สั่งกัน​



    ท่านก็สวนคำไปว่า มันจะพบได้ยังไงวะ ก็มันสั่งมึงให้มาบอกกูว่าหาไม่เจอนี่หว่า
    เรื่องรู้เหตุการณ์ล่วงหน้านี้มีการเขียนถึงหลายคนด้วยกัน ขุนดอน เขียนว่า
    วันหนึ่งมีพระหนุ่ม 4 รูป จากวัดสุวรรณภูมิ เข้ามากราบหลวงปู่ หลวงปู่ก็ทักว่าจะมาหาฤกษ์สึกใช่ไหมล่ะ ยังความแปลกใจให้กับพระทั้ง 4 รูปนั้นมาก หลวงปู่ก็ดูฤกษ์ให้ด้วยความเมตตา แต่สำหรับพระอีกรูปหนึ่งท่านได้ห้ามไว้ บอกว่าชะตาไม่ดี อย่างเพิงสึกตอนนี้ สึกออกไปก็ถึงตาย ท่านไม่ยอมให้ฤกษ์กับพระรูปนั้น ในที่สุดพระทั้ง 4 รูปก็ลากลับ​



    สามรูปที่ท่านดูฤกษ์ให้ ก็สึกออกไปตามฤกษ์ และพระรูปที่สี่นั้น ร้อนผ้าเหลือง ไม่ยอมฟังคำทัดท่านของหลวงปู่ ก็พลอยสึกไปด้วย แล้วกลับไปอยู่บ้าน หัวค่ำคนหนึ่ง ไม่ทันที่ผมจะยาวถึงครึ่งองคุลี ขณะที่นั่งคุยกันกับพ่อแม่พี่น้องที่ชานบ้าน ได้มีคนร้ายแอบซุ่มอยู่ข้างล่างยิงปืนเข้ามาที่กลุ่มญาติ พอสิ้นเสียงปืน ท่ามกลางความตะลึงของคนทั้งบ้าน ปรากฏว่าทิดสึกใหม่หงายหลังลงสิ้นใจทันทีเพราะลูกปืนเจาะเข้าที่หัวพอดี
    ตั้งแต่นั้นมา เมื่อหลวงปู่พูดว่ากล่าวทักท้วงสิ่งใด ชาวบ้านจะเชื่อถือ ไม่กล้าตะแบงกับท่านอีกเลย​



    มีเรื่องเล่าสืบทอดกันมาอีกเรื่องว่า ท่านสามารถสื่อความหมายรู้เรื่องกับสัตว์เลี้ยงของท่าน เขาเล่ากันว่าท่านเลี้ยงไก่ หมา กับแมวไว้มากมาย บนกุฏิของท่านยั้วเยี้ยไปด้วยแมว ชาวบ้านจะเห็นว่า วันๆ ถ้าว่างจากพูดคุยกับคนท่านก็จะพูดกับสัตว์พวกนี้เหมือนดังว่ามันรู้ภาษา พอมันร้องอี๊ดอ๊าดตอบ ท่านก็พูดต่อคำกับมันเป็นเรื่องเป็นราว คนในละแวกวัดน้อยหลายคนหาว่าท่านเป็นบ้า ร้อนวิชา ที่ใช้เวลาวัน ๆ ถ้าไม่พูดกับคน ก็พูดคุยกับแมว หมา กา ไก่ ในวัดและมีวัตรแปลก ๆ อยู่เสมอ​



    คุณมงคล วงษ์ลือ (อายุ ๖๑ ปี) ลูกหลานวัดน้อยอีกคน ที่ผู้เขียนไปพบขณะแวะไปกราบหลวงพ่อครั้งที่สามเล่าถึงอภินิหารของหลวงปู่ให้ฟังอีกมากมาย น่าสนุกสนานคล้ายๆ กับที่เขียนลงในนิตยสารพระเครื่องหลายฉบับ ซึ่งถ้าคนรุ่นใหม่ได้ฟังก็คงไม่มีใครเชื่อ แต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับตอนที่หลวงพ่อปานเดินทางมาฝากตัวเป็นศิษย์นั้นน่าสนใจ​



    ท่านเล่าว่า เมื่อหลวงพ่อปานธุดงค์มาถึงวัดน้อย เห็นพระแก่ๆ ครองสบงเก่า ๆ มอมแมมทำงานวัดอยู่กับพระเณร หลวงพ่อปานก็เดินตรงเข้าไปสนทนาด้วย แล้วถามหาหลวงปู่เนียม ท่านก็บอกว่าฉันนี่แหละชื่อเนียม ถึงได้รู้กัน ก็คงมีการกราบกรานขอโทษขอโพยกันตามธรรมเนียมที่จุดไต้ตำตอ เพราะไม่คาดว่าพระแก่มอมแมมจะเป็นพระเถราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ จึงปวารณาตัวขอเป็นศิษย์ ครั้งแรกท่านก็ปฏิเสธท่าเดียว โดยถ่อมตนเองว่า เป็นลูกศิษย์ฉันจะได้อะไร คนแถวนี้เขาว่าฉันบ้ากันทั้งนั้น หลวงปู่ท่านทำไม่สนใจไล่กลับลูกเดียว แต่โดยคำแนะนำของพระลูกวัด บอกให้หลวงพ่อปานค้างคืนอยู่ที่วัดก่อน คงประกอบกับความอุตสาหะของหลวงพ่อปานด้วย ท่านก็ทำตามคำแนะนำ​



    ครั้นพอเวลากลางคืนยามดึกสงัด หลวงปู่ก็ให้พระไปตามหลวงพ่อเข้าไปพบที่กุฏิ เขาว่าหลวงพ่อปานตกใจมาก เพราะรูปร่างหน้าตาของหลวงปู่เนียมที่เห็นนั้น ผอมเกร็ง-ดำ-แก่และมอมแมม ตอนนี้ครองจีวรเรียบร้อยสะอาดสมบูรณ์ สดใส ผิดกับที่พบเมื่อตอนกลางวันเป็นคนละคนเลย นั่งอยู่เหมือนจะรอให้ท่านเข้าพบ ในที่สุดหลวงพ่อปานก็ได้เป็นศิษย์ดังที่เรารู้กัน
    เล่าขานสืบกันมาอีกว่าตลอดระยะเวลาที่หลวงปู่มีชีวิตอยู่นั้น ไม่เคยมีใครถ่ายรูปท่านได้ -ขุนดอน เขียนไว้ว่าเมื่อครั้งพระประมาณฯ เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน นำฝรั่งช่างรังวัด๒ คนมารังวัดที่ ในเขตเมืองสุพรรณ เพื่อออกโฉนดให้ราษฎร์ เมื่อรังวัดมาถึงท้องที่วัดน้อย ก็ได้ถือโอกาสเข้าขอถ่ายรูปหลวงปู่ โดยให้ฝรั่งเอากล้องถ่ายรูปของทางราชการช่วยถ่ายให้ ตัวคุณพระประมาณฯ นั้น เคยรู้กิตติศัพท์มาแล้วว่ามีคนเคยมาขอถ่ายรูปหลวงปู่หลายรายแล้ว แต่ก็ไม่สำเร็จสักราย คราวนี้มีกล้องฝรั่งอย่างดีมาด้วย ก็อยากจะลองพิสูจน์สักหน่อย มันก็น่าจะติด​




    คุณพระฯ ได้นิมนต์หลวงปู่และพระทั้งวัดมานั่งเรียงลำดับแล้วถ่ายรูปหมู่และถ่ายเดี่ยวด้วย แต่จะเป็นกี่รูปไม่ทราบ ครั้นเมื่อนำฟิล์มไปล้างอัดเป็นรูปออกมา ความอัศจรรย์ก็ปรากฏคือ ในทุกภาพที่อัดออกมาไม่มีรูปของหลวงปู่ติดอยู่ด้วยเลย ที่ถ่ายเดี่ยวข้างโอ่งน้ำมนต์ก็ติดแต่ตัวโอ่ง เล่ากันว่าทั้งตัวคุณพระประมาณฯ และฝรั่งทั้งสองคนต่างก็เลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงปู่ยิ่งนัก และได้ปวารณาตัวฝากตัวขอเป็นศิษย์หลวงปู่​




    ถ่ายรูปไม่ติด



    อย่างไรก็ตามท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าแล้วรูปถ่ายที่ลูกศิษย์ลูกหาเอาใส่กรอบบูชาและที่เอาลงหนังสือกันนั้นมาจากไหน จึงขอเรียนว่า รูปของหลวงปู่ที่ได้มามีเพียงรูปเดียว เป็นรูปที่ถ่ายได้หลังจากที่ท่านมรณภาพแล้ว คือท่าที่เขาจัดให้ท่านนอนตะแคงบนตั่งเตียง ส่วนรูปท่านั่งนั้นเล่ากันว่า ช่างได้เอารูปหน้าของท่านไปตัดต่อสวมกับส่วนลำตัวของพระภิกษุรูปอื่น โดยมีการตกแต่งส่วนใบหน้าที่ไม่ชัดขึ้นมาโหม่ ทำให้ดูเป็นหน้าค่อนข้างกลมและศีรษะล้านไปหน่อย​




    ทดสอบวิชากับหลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย



    ขุนดอน เล่าว่า วันหนึ่งท่านให้ชาวบ้านเตรียมภัตตาหารเลี้ยงพระไว้ ๕๐ สำรับ ซึ่งยังความแปลกใจให้ชาวบ้านมาก เพราะหลวงปู่ไม่เคยบอกว่าพรุ่งนี้จะมีงานอะไร วันที่ว่าก็ไม่ใช่วันพระ พระเณรในวัดก็มีแค่ไม่ถึงสิบรูป สงสัยเป็นหนักหนาก็พากันไปกามท่าน ท่านก็ยิ้มๆ แล้วบอกว่า พวกมึงทำมาเถอะน่า ชาวบ้านไม่กล้าซักไซ้มากกลัวท่านจะเอ็ดเอา​



    วันรุ่งขึ้นต่างก็พากันนำอาหารมาตามที่ท่านขอ ดูชุลมุนวุ่นวายราวกับมีงานใหญ่ ครั้นพอถึงเวลาเพล ก็ไม่เห็นมีพระเณรที่ไหนจะมาฉัน ต่างซุบซิบกันว่าท่านจะเล่นอะไรอีกละนี่ แต่เลยเพลมาครู่เดียวก็พากันตกตะลึงด้วยความอัศจรรย์ใจ เพราะเห็นพระเณรจำนวนมาก แบกกลดเดินตามพระแก่ ๆ รูปหนึ่งเป็นแถวเข้ามาในวัด ชาวบ้านเห็นหลวงปู่ออกไปปฏิสันฐานทักทายกับหลวงพ่อองค์นั้นแบบคนรู้จักกัน ทั้งๆ ที่ไม่เคยพบเห็นกันมาก่อน แล้วหลวงปู่ก็นำพระเณรทั้งหมดขึ้นไปบนหอฉัน ภายหลังชาวบ้านก็ทราบว่าหลวงพ่อรูปนั้นคือ หลวงปู่ปานแห่งวัดบางเหี้ย คลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ เจ้าของเขี้ยวเสือที่ศักดิ์สิทธิ์ของนักเลงพระในปัจจุบัน​



    ซึ่งท่านนำพระเณรสานุศิษย์เกือบร้อยรูปธุดงค์ลัดเลาะตามทางเกวียนผ่านมาเพื่อไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลย์ เมื่อจวนเวลาเพลก็ธุดงค์มาใกล้วัดน้อย และพอได้ยินกลองเพลดังขึ้น ก็เกิดลมพายุขึ้นอย่างแรงจนพระเณรที่แบกกลดพะรุงพะรังแทบจะทรงตัวไม่อยู่ เล่ากันว่าหลวงปู่ปานแปลกใจในปรากฏการณ์นี้มาก ท่านยืนหลับตาสงบเงียบอยู่ชั่วครู่ แล้วก็บอกพระเณรลูกแถวของท่านว่า จะต้องแวะฉันเพลที่วัดน้อยซะแล้ว เพราะเจ้าวัดท่านนิมนต์ให้แวะ ไม่ควรขัดศรัทธาและทันใดนั้นเองพายุนั้นก็สงบลงทันที




    ห้ามฝนตกในงานวัด



    เล่ากันว่าเมื่อต้นฤดูฝนปีหนึ่ง ท่านมีอายุครบ ๖ รอบ (ราวๆ พ.ศ. ๒๔๔๔-๒๔๔๕) ชาวบ้านร่วมใจกันจัดงานทำบุญแซยิดให้ท่าน โดยจัดเป็นงานใหญ่ มีเทศน์หลายธรรมาสน์ มีการออกร้านมีการละเล่น ลิเก ลำตัด เพลงฉ่อย หนังตะลุง ฯลฯ สมโภชฉลองกันอย่างเอิกเกริกแบบงานประจำปี มีร้านขายดอกไม้ธูปเทียน และทองบูชาหลวงพ่อในโบสถ์ มีร้านรวงขายของเล่น จับรางวัลและขายอาหารเพียบพร้อม ซึ่งบังเอิญช่วงเวลานั้นเข้าหน้าฝนแล้ว​



    พอเวลาใกล้ค่ำผู้คนก็ทยอยเข้ามาเรื่อยๆ แต่ปรากฏว่ามีกลุ่มเมฆดำที่ก่อตัวมาจากที่อื่นถูกลมพัดพามาปกคลุมท้องฟ้าเหนือบริเวณวัดดูมืดครึ้มไปหมด แล้วฝนก็พรำๆ ลงมา ชาวบ้านเริ่มวิ่งหลบเข้าหาที่กำบังกัน ตามใต้ถุนกุฏิและศาลา ดูกลุ่มเมฆแล้วฝนต้องตกหนักแน่ ทุกคนคาดกันว่างานนี้ต้องพังแน่นอน พวกร้านรวงที่ไม่มีหลังคากำบัง ก็โกลาหลเริ่มขนย้ายข้าวของหาที่หลบฝน ขณะนั้นเองคนทั้งหลายก็เห็นหลวงปู่เดินออกมาจากกุฏิ ยืนแหงนมองดูท้องฟ้า สักพักใหญ่ๆ แล้วเดินวนไปมาแบบเดินจงกรม อีกชั่วครู่ท่านก็ตะโกนบอกชาวบ้านว่าไม่ต้องเก็บข้าวของแล้วเทวดาท่านช่วยไล่ฝนไปแล้ว​



    ชาวบ้านต่างก็แหงนมองดูฟ้าก็เห็นปรากฏการณ์อัศจรรย์ขึ้น กล่าวคือเห็นกลุ่มเมฆหนาทึบนั้นแตกตัวลอยห่างออกไป แล้วท้องฟ้าเหนือวัดก็ค่อยแจ่มใสขึ้น เม็ดฝนที่พรำลงมาก็ขาดเม็ดไป ผู้คนก็เริ่มทยอยกันเข้ามาจนเต็มงาน เล่ากันว่าเมื่องานเลิกผู้คนที่อยู่ห่างวัดออกไปสักหน่อยก็ต้องเดินท่องน้ำกลับบ้าน​





    ปราบคุณไสย



    คุณป้าทรัพย์ เหลนชวดจาด พี่สาวของหลวงปู่ ที่ผู้เขียนไปหาเพื่อขอประวัติของหลวงปู่ เล่าว่าชวดจาดเคยคุยให้ฟังว่า หลังฤดูเก็บเกี่ยวของทุกปี จะมีคนกลุ่มหนึ่งรู้จักกันว่า เป็นพวกลาวข่าจากหมู่บ้านห่างไกล รวมกลุ่มตระเวนมาตามหมู่บ้านต่างๆ พวกนี้จะร่อนเร่มาขายเครื่องยาสมุนไพร-เครื่องรางของขลังของเผ่า หรือทั้งขาย แลก และขอข้าวสาร ข้าวเปลือก เสื้อผ้าและของอื่นใดที่เหลือกินเหลือใช้จากชาวบ้าน ตระเวนกันเป็นแรมเดือนและเข้าไปแทบจะทุกหมู่บ้านเลย ตกเย็นคนพวกนี้ก็จะมารวมพลค้างแรมกันตามวัด ซึ่งโดยทั่วไปค่อนข้างจะกว้างขวางโล่งเตียนปราศจากสัตว์ร้าย​



    วันหนึ่งที่วัดน้อยก็มีคนกลุ่มนี้มาอาศัยพักแรม รวมพลและรวมเสบียงที่ขอมาได้ ตกเย็นมีการหาปลาโดยการทอดแห วางข่ายกันแถวปากคลองข้างวัด มาประกอบอาหาร ส่วนที่เหลือก็ทำเค็มตากแห้งไว้เป็นเสบียง ที่ๆ ทำปลาและตากปลาก็คือพื้นสะพานศาลาท่าน้ำหน้าวัดหลังนั้นนั่นแหละ เป็นที่สกปรกเกะกะมาก หลวงปู่มาเห็นเข้าขณะที่พวกมันกำลังทำปลาอยู่พอดี ท่านก็เอ็ดเอาว่าไอ้พวกนี้นรกจะกินหัว จับปลาหน้าวัดแล้วทำเลอะเทอะเกะกะไปหมด พระเณรจะอาบน้ำอาบท่าก็ไม่ได้ ขวางไปหมด ไปๆ พวกมึงไปทำกันที่อื่น​



    ท่านคงว่าไปมากกว่านี้ แล้วท่านก็หันหลังเดินกลับและแล้วท่านก็ต้องเหลียวขวับกลับมา เพราะมีเสียงแซกๆ มาข้างหลัง หัวปลาสดๆ ที่เจ้าพวกนั้นตัดแยกไว้เตรียมทำเค็ม กองไว้บนพื้นสะพานนั้นเอง กระดืบตามหลังท่านมาเป็นขบวน ท่านหันหลังกลับทันที ชี้มือไปที่กลุ่มลาวข่านั้นแล้วตวาดว่า พวกมึงจะทำอะไรกู หัวปลาเหล่านั้นก็หยุดอยู่กับที่ ท่านคงด่าต่อไปอีกเป็นแน่
    เพียงครู่เดียวแล้วเจ้าลาวข่าคนสูงอายุที่เป็นจ่าฝูง ที่นั่งเฉยๆ ดูลูกเมียทำปลาอยู่ใกล้ๆ ก็ตัวงอหน้านิ่วคิ้วขมวด พวกลูกเมียและพวกบริวารทั้งหลายก็รู้ได้ทันทีว่า ไอ้ตัวจ่าฝูงโดนหลวงปู่เล่นงานกลับแล้ว ต้องกราบขอโทษขอให้หลวงปู่ถอนอาคมให้
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ย่นระยะทาง


    คุณป้าทรัพย์ เล่าแถมอีกสองเรื่อง เรื่องที่หนึ่งว่าแม่ของแกเล่าว่า ครั้งหนึ่งหลวงปู่ได้รับตราตั้งอะไรจำไม่ได้ ซึ่งต้องไปรับตาลปัตรที่เมืองบางกอก เมื่อถึงกำหนดแล้วก็ไม่เห็นหลวงปู่กระตือรือร้นที่จะไป พวกลูกหลานลูกศิษย์ลูกหาก็มาเตือนให้ไป ท่านก็ได้แต่เออๆ แต่ไม่ไปสักที เตือนแล้วเตือนอีกหลายหน เพราะกลัวว่าท่านจะลืมและเลยกำหนด มาวันหนึ่งก็มาเซ้าซี้ให้ท่านไปอีก ท่านก็บอกไปว่า กูไปรับมาแล้วโว้ย พวกลูกศิษย์ก็เถียงว่าหลวงพ่อไปเมื่อไหร่ ฉันเห็นหลวงพ่ออยู่วัดทุกวัน ท่านก็เถียงกลับว่า เออ กูไปรับมาแล้วซิวะ แล้วท่านก็เดินเข้ากุฏิถือตาลปัตรพัดยศออกมาให้ดู​



    ไปรับบิณฑบาตที่พระพุทธบาท สระบุรี



    มีเรื่องเล่าถึงการย่นระยะทางไปมาตามที่ต่างๆ คล้ายกับที่คุณป้าทรัพย์เล่าเรื่องหลวงปู่ไปรับพัดที่เมืองบางกอก เรื่องมีอยู่ว่า ไม่ว่าฝนจะตกฟ้าจะร้องอย่างไร หลวงปู่ต้องนำขบวนพระลูกวัดออกรับบิณฑบาตเป็นกิจวัดร ถ้าหน้าแล้งก็อาจเดินไปตามทางหลังวัด หรือไม่ก็ทางน้ำโดยเรือพาย อยู่มาวันหนึ่งในเดือนสาม ซึ่งเป็นหน้าเทศกาลไหว้พระพุทธบาท สระบุรี ท่านให้พระลูกวัดออกไปบิณฑบาตกันเอง​



    ครั้นเมื่อพระลูกวัดกลับมาแล้ว และตั้งวงฉันเช้า หลวงปู่ก็เอาบาตรของท่านออกมาร่วมวงด้วย เมื่อท่านเปิดฝาบาตรเท่านั้น พวกพระลูกวัดต่างก็แปลกใจมาก เพราะในบาตรนั้นมีข้าวปลาอาหารและไข่เค็มเต็มบาตร จึงพากันถามท่านว่าไปรับบิณฑบาตบ้านไหน ท่านก็ตอบหน้าตาเฉยว่า ข้าไปบิณฑบาตที่พระพุทธบาท สระบุรี​



    เหตุการณ์แปลก ๆ เช่นนี้เกิดขึ้นอีกครั้งตอนเช้ามืดของวันหนึ่ง ท่านให้พระลูกวัดไปบิณฑบาตกันเองอีก โดยบอกว่าวันนี้ได้รับนิมนต์ไว้ แล้วท่านก็แยกเดินไปทางหลังวัด ชั่วครู่ใหญ่ ๆ ท่านก็กลับ เมื่อพระลูกวัดกลับก็ตั้งวงฉันร่วมกันเช่นปกติ คราวนี้ในบาตรของหลวงปู่มีข้าวและอาหารอื่นดีๆ ทั้งนั้นเต็มบาตรมาอีก พระลูกวัดถามท่านอีกว่าไปบ้านใครมา คราวนี้ท่านก็ตอบหน้าตาเฉยอีกว่า วันนี้พวกรุกขเทวดาที่สถิตย์อยู่แถวชายป่าข้าง หลังมณฑป มานิมนต์ไปรับบาตร​



    ใช้มนตร์บังตาข้าราชบริพารของพระพุทธเจ้าหลวง



    เรื่องนี้เป็น เรื่องล่าสุดที่ผู้เขียนได้รับฟังมาสดๆ ร้อนๆ จากพระเดชพระคุณท่านพระครูสุมณฑ์ภาวนานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอบางปลาม้า และเจ้าอาวาสวัดกลาง เมื่อวันไปทำบุญกระดูกให้สมุห์เหลือ-คุณครูบุญส่ง มาลา บิดา-มารดาของมัคคุเทศก์ที่พาผู้เขียนไปกราบนมัสการรูปหล่อของหลวงปู่เป็นครั้งแรก

    ท่านหลวงพ่อวัดกลางเล่าว่า มีเรื่องเขียนในจดหมายเหตุว่า เมื่อครั้งที่สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จโดยชลมารค มาตรวจราชการที่เมืองสุพรรณบุรี เมื่อราวๆ ร้อยปีที่ผ่านมา ชาวบ้านชาวเมืองและวัดวาอารามสองฟากฝั่งลำน้ำท่าจีนตามรายทางเสด็จ ต่างประดับธงทิวรอรับเสด็จกันถ้วนทั่ว รวมทั้งวัดน้อยของหลวงปู่ด้วย​



    การเสด็จครั้งนี้ นอกจากจะแวะนมัสการหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์เป็นปฐมแล้ว พระองค์ท่านก็ได้แวะขึ้นเยี่ยมวัดบางวัดตามรายทางด้วย ในครั้งนั้นพระองค์ทรงทราบถึงประวัติความเป็นมาของหลวงปู่เนียมเป็นอย่างดีจึงได้รับสั่งว่า เมื่อขบวนเรือถึงวัดน้อยให้แวะเยี่ยมหลวงปู่ด้วย จะเป็นเหตุใดไม่ปรากฏ เที่ยวแรกขบวนเรือแจวกันเพลิน ผ่านเลยวัดน้อยขึ้นไปจนถึงวัดถัดไป จึงเอะอะกันว่าเลยวัดไปแล้วเกือบคุ้งน้ำ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็รับสั่งให้กลับเรือ แต่แล้วก็เกิดการแจวเรือเลยวัดอีกจนได้ พวกพนักงานเรือคราวนี้เหงื่อท่วมตัวแล้วด้วยเกรงพระราชอาญา กราบทูลขอพระราชทานอภัยโทษ และจะกลับขบวนเรืออีกครั้งเพื่อจะแวะให้ได้​



    แต่สมเด็จพระพุทธเอาหลวงกลับไม่คือโทษอะไรตรัสว่า ไม่ต้องแวะแล้ว เจ้าวัดเขาคงไม่ยินดีต้อนรับเราและแล้วก็เสด็จเลยไปแวะที่วัดตะค่า (วัดตะเคียนทองในปัจจุบัน) ให้ท่านสมภารรดน้ำมนต์ให้แทน และได้ถวายเครื่องอัฐบริขาร จำนวนหนึ่งให้เจ้าอาวาส ซึ่งท่านเจ้าอาวาสรูปนั้นก็เก็บรักษาไว้ไม่ยอมนำออกใช้ และเมื่อสองสามปีที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบสิ่งของเหล่านั้น และเป็นเรื่องฮือฮากันในหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อต้นปี ๒๕๓๙ นี้เอง​



    คราวนี้ย้อนกลับมาทางด้านวัดน้อยบ้าง มีเรื่องเล่าขานกันสืบมาว่า แม้คราวนั้นจะมีการประดับประดาธงทิวรับเสด็จตามธรรมเนียม ตามวัดทั้งหลายพระเณรจะต้องมีการสวดชยันโตถวายพระพรเมื่อขบวนเรือมากึงหน้าวัด ที่วัดน้อยก็เช่นกัน แต่พวกลูกศิษย์ลูกหาได้สังเกตเห็นหลวงปู่เก็บตัวเงียบอยู่ในกุฏิ ไม่ออกมาสวดชยันโตร่วมกับพระลูกวัด จึงเข้าไปถามกันภายหลังถึงเหตุที่ไม่คอยรับเสด็จเหมือนสมภารวัดอื่น​



    หลวงปู่ก็ว่า ก็กูมัวแต่ใจหายใจคว่ำนั่งภาวนากลัวว่าพระองค์ท่านจะแวะวัดกูนะซิวะ
    พวกลูกศิษย์ญาติโยมก็ซักถามว่า มันเรื่องอะไรกันใครๆ ก็อยากให้เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินแวะเยี่ยมกันทั้งนั้น
    หลวงปู่ก็ตอบว่า พวกมึงดูซิวัดกูมีอะไร หมา-แมว-ไก่เกลื่อนไปทั้งวัด ยิ่งบนกุฏิกู มันขี้กันเกลื่อน เหม็นไปหมดแล้วจะให้กูเอาหน้าที่ไหนไปรับเสด็จพระองค์ท่าน​



    ศพของหลวงปู่ไม่เน่าเปื่อย



    มีเรื่องของหลวงปู่ในหนังสือเรื่องพระเครื่องของหลวงพ่อปาน โดยคุณบุรี รัตนา ตอนหนึ่งอ้างว่าหลังจากที่หลวงปู่มรณภาพแล้ว ทางวัดได้เก็บศพของท่านไว้ระยะหนึ่ง จึงได้ทำพิธีถวายเพลิงศพของท่าน เมื่อสัปเหร่อเปิดหีบศพเพื่อประกอบพิธีกรรมตามประเพณี ปรากฏว่าศพของหลวงปู่ไม่เน่าเปื่อยและไม่มีกลิ่นเหม็น หลวงพ่อปานซึ่งท่าน ได้มาช่วยงานในฐานะศิษย์ ได้ขอให้ทางวัดเก็บศพของหลวงปู่ไว้ให้สานุศิษย์ได้สักการะบูชา แต่บรรดาคณะกรรมการวัดได้ปฏิเสธท่าน โดยอ้างว่าได้เตรียมการถวายเพลิงไว้แล้ว และแขกเหรื่อก็มากันเต็มวัดแล้ว จำเป็นต้องดำเนินการไปตามกำหนดการเดิม เล่ากันว่าหลวงพ่อปานเสียใจมากที่คนพวกนั้นไม่ฟังคำทักท้วงของท่าน เราท่านลองคิดดูซิว่าถ้าศพของหลวงปู่ถูกเก็บรักษาอยู่ถึงวันนี้ วัดน้อยจะมีสภาพเช่นทุกวันนี้หรือไม่ก็เหลือที่จะเดาได้​



    ดอกเทียนตกจากท้องฟ้าวันถวายเพลิงศพหลวงปู่



    เรื่องนี้เล่าโดยป้าทรัพย์อีก โดยบอกว่าฟังมาจากคุณแม่ของท่าน ว่างานถวายเพลิงศพหลวงปู่นั้นเป็นงานใหญ่มาก ลูกศิษย์ลูกหามากันเป็นร้อยเป็นพัน มีทั้งพวกเจ้านายขุนนางชั้นผู้ใหญ่จากบางกอก และหัวเมืองใกล้เคียง พวกพระเถรานุเถระ-พระเกจิอาจารย์ดัง ๆ ทั้งที่เป็นสหธรรมิกและศิษยานุศิษย์ของท่าน หน้าวัดคลาคล่ำไปด้วยเรือเมล์ เรือพาย เรือแจว บนศาลาวัดมีวงระนาด วงดังของบางปลาม้า สองวงประชันกัน ตกกลางคืนมีมหรสพฉลองกระดูกครึกครื้นเหมือนงานประจำปี เวลาถวายเพลิงศพท่านนั้นวันนั้นท้องฟ้ามืดครึ้มทั้ง ๆ ที่เป็นกลางฤดูร้อน ครั้นได้เวลาถวายเพลิงยังไม่ทันที่คนสุดท้ายจะลงจากเมรุ ฝนก็โปรยปรายลงมา แต่ก็ไม่มากนักพอได้เปียกเย็นหัวกันเท่านั้น​



    แต่ที่อัศจรรย์ที่สุดก็คือ พวกที่จะลงเรือกลับบ้านได้เห็นว่าที่ท้องน้ำหน้าวัด มีดอกเทียนแบบที่หยดลงในขันน้ำมนต์ลอยเกลื่อนไปหมด ผู้คนที่เห็นพากันเอะอะลอยเรือแย่งกันเก็บดอกเทียนเป็นโกลาหล ป้าทรัพย์เล่าว่าขณะนี้ดอกเทียนที่ว่านั้นยังอยู่บนหิ้งบูชาของลูกหลานของคนบางคนที่เก็บได้มาในวันนั้น​



    แกเล่าต่อว่าพอศพท่านไหม้หมด เถ้าถ่านและเศษกระดูกของหลวงปู่ที่ไหม้ไม่หมดบนเชิงตะกอนยังไม่ทันจะเย็น สัปเหร่อก็ยังไม่ทันจะขึ้นไปทำพิธีเก็บอัฐิของท่าน พวกลูกศิษย์ลูกหาก็เฮโลขึ้นไปแย่งอัฐิที่ยังหลงเหลือบนเชิงตะกอนกันคนละชิ้นสองชิ้น บ้างก็เอาเข้าปากเคี้ยวกลืนกินจนหมดสิ้น ฉะนั้นส่วนที่เหลือบรรจุอยู่ในสถูปของท่านขณะนี้ก็คือเถ้าถ่านไม้ฟืนและอังคารธาตุของท่านเท่านั้น​



    มีเรื่องเล่าขานถึงอภินิหารของหลวงปู่มากมาย ฟังแล้วน่าสนุกเพราะผู้เล่าและผู้เขียนเรื่องของท่านถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดราวกับอัดเทปไว้ ถ้าผู้อ่านต้องการอ่านให้สนุกก็ไปหาอ่านเอาเองจากหนังสือที่ได้อ้างอิง แต่อย่างไรก็พอสรุปได้ว่าหลวงปู่เนียมนั้นเก่งกล้ามีอภินิหารเป็นที่เลื่องลือและเป็นสุดยอดของพระมหาเกจิเถราจารย์ที่คนเมืองสุพรรณรุ่นเก่าให้ความเคารพบูชามาก บางคนกล่าวเปรียบเทียบว่าท่านเป็นเสมือนท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โต) ของเมืองสุพรรณ​



    เรื่องเล่าขานถึงปาฏิหาริย์ของหลวงปู่มีอีกมากมาย นอกจากน้ำมนต์ท่าน้ำ แมวที่เลี้ยงไว้กลับชาติไปเกิดเป็นคน การทดสอบวิชากับหลวงปู่ปานวัดบางเหี้ย ห้ามฝนไม่ให้ตกในงานแซยิดของท่าน ก็มีเรื่องเทศนาโปรดผีสาวท้องแก่ผูกคอตายใกล้ ๆ วัด ไม่ให้มาอาละวาดหลอกหลอนพระเณรและชาวบ้าน ฟังแล้วสนุกสนานน่าทึ่งพอ ๆ กับเรื่องแม่นาคพระโขนง​



    เรื่องราวของท่านบางเรื่องก็น่าจะเป็นไปได้จริง ๆ ในสมัยนั้นยุคนั้น แต่ก็มีการเขียนเรื่องหรือเล่าแต่งเติมเอาวันเวลาและโดยเฉพาะเรื่องคำพูดคำจา ที่ถ่ายออกมาราวกับว่าถอดออกมาจากเทปหรือผู้เขียนอยู่ในเหตุการณ์ด้วย จนทำให้เรื่องที่เอามาเขียนดูเป็นเรื่องนิยายไป อาจไม่เป็นที่น่าเชื่อถือของผู้อ่านผู้ฟังที่เป็นคนรุ่นใหม่ เพราะในยุคนั้นไม่ปรากฏว่ามีพระเกจิอาจารย์ดัง ๆ เช่นในยุคก่อน จึงไม่ขอนำมาเขียนในที่นี้ และส่วนที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็รวบรวมมาจากการเขียนและคำบอกเล่ามาจากแหล่งที่เอ่ยชื่ออ้างอิงมา ทั้งนี้เพื่อมิให้เรื่องของหลวงปู่ต้องสูญหายไปกับกาลเวลา จะเท็จจริงแค่ไหนขอท่านได้วินิจฉัยกันเอาเอง​



    เรื่องปาฏิหาริย์อีกเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนเพิ่งได้ฟังและได้เห็นคือขณะที่กำลังจะไปกราบองค์ท่านเพื่อขอเก็บเถ้าธูปและดอกไม้แห้งหน้าองค์หลวงปู่ และร่อนเอาฝุ่นผงจากอิฐผุจากผนังวิหารหลังเก่าเพื่อใช้เป็นมวลสารสร้างพระเครื่องถวายให้วัดเอาไว้แจกพรรคพวกที่ผู้เขียนชักชวนมาทอดผ้าป่าเพื่อรวบรวมเป็นทุนสมทบกับผู้ใจบุญท่านอื่น ๆ ที่มาบริจาคเงินสมทบทุนสร้างมณฑปถวายหลวงปู่​



    ได้ยินชาวบ้านแถวนั้นคนหนึ่งยืนคุยกับคนต่างถิ่นที่แวะมากราบหลวงปู่ว่า อภินิหารของหลวงปู่นั้นน่าทึ่งนัก ที่โคนมะขามใหญ่มีกิ่งมะขามขนาดโตกว่าโคนขา ยาวหลายวากองอยู่ข้าง ๆ แกเล่าว่ากิ่งมะขามกิ่งนี้ปกติเคยแผ่ออกไปอยู่เหนือหลังคาศาลา อยู่ ๆ มาเกิดแห้งไปเฉย ๆ ทุกคนมีแต่ความวิตกว่าไม่วันหนึ่งวันใด ถ้ามันผุและหักลงมา หลังคาศาลาต้องพังเป็นแถบแน่ ๆ คิดจะตัดออกก่อนที่มันจะผุและหักลงมา ก็ยังไม่ได้ทำ ทุกคนได้แต่ภาวนาในใจขอบารมีหลวงปู่ช่วยให้กิ่งมะขามใหญ่ อย่าเพิ่งหักลงมาเลย เพราะหลังคาต้องพังแน่ ๆ​



    และแล้ววันนั้นก็มาถึง คืนหนึ่งไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีพายุพัดมาทำให้กิ่งมะขามกิ่งมหึมานั้นหักลงมา เช้าของวันรุ่งขึ้นทุกคนต้องเกิดอาการขนหัวลุก เห็นกิ่งมะขามใหญ่ลงมากองอยู่กับพื้นดิน แต่กระเบื้องหลังคาศาลาที่ว่าไม่มีแตกแม้แต่แผ่นเดียว และทุกคนก็ไม่รู้ว่ามันหักท่าไหนจึงไม่โดนหลังคา
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


    [​IMG]


    ประวัติวัดหน้าต่างนอก

    ่ืพระครูสมบูรณ์จริยธรรม( พระอาจา์รย์แม้น อาจารสมฺปนฺโน)
    เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันได้เล่าถึงประวัติของ
    วัดหน้าต่างนอก พอสังเขปว่า ท่านได้ฟังมาจากคำบอกเล่าของ
    หลวงพ่ิอสังข์ วัดน้ำเต้า เจ้าคณะฺ์อำเภอบางบาล
    หลวงพ่อไวทย์ วัดบรมวงศ์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธ์กบเจา อำเภอบางบาล หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้วเจ้าคณะอำเภอบางไทรถึงประวัติของ
    วัดหน้าต่างนอกอย่าง ตรงต่อกันว่า​


    วัดหน้าต่างนอกนี้ได้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยาเมื่อประมาณปีพ.ศ.2300
    ซึ่งหลวงปู่เณรเป็นผู้ดำเนินก่อสร้างขึ้นเหตุที่ชื่อวัดหน้าต่างนอกนั้น ก็มีเหตุอยู่สองประเด็นด้วยกัน
    ประเด็นแรก กองทัพพม่าที่ยกมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้ตั้งค่ายใกล้กับสะพานสีกุก ทางกองทัพกรุงศรีอยุธยาก็ได้ให้
    ทหารหน่วยสอดแนมสอดส่องดูว่า ข้าศึกจะขยับเขยื้อนไปทางไหน โดยให้ดูด้วยการเปิดหน้าต่าง หน้าต่างใน
    หมายถึง ใกล้ชายแม่น้ำน้อย ก็คือที่ตั้งวัดหน้าต่างใน หน้าต่างนอก หมายถึง ทางนอกทุ่งก็คือที่ตั้งวัดหน้าต่างนอก
    ประเด็นที่สอง ในสมัยโบราณนั้น พระสงฆ์ท่านเคร่งครัดในทางปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน และได้มีการกล่าวเอาไว้ว่า เดิมทีตรงวัดหน้าต่างนอกเป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมของพระสงฆ์วัดหน้าต่างใน ต่อมาหลวงปู่เณรได้สร้างเป็นขึ้น
    อาจจะตั้งชื่อวัดโดยอรรถโดยธธธรรมก็ได้เช่น วัดหน้าต่างนอกท่านหมายเอา อายตนะภายใน
    คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเมื่อหลวงปู่เณรได้มรณภาพไปแล้ว ทางคณะสงฆ์ คณะอุบาสกอุบาสิกา
    ได้อาราธนาหลวงปู่เอี่ยมขึ้นมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนหลวงปู่เณรสืบมา​


    ปฎิปทาของหลวงปู่เอี่ยมเป็นที่เลื่องลือกันมากในสมัยนั้นท่านเป็นพระปฏิบัติในด้านพระกัมมัฎฐานน้ำมนต์ของ
    ท่านศักดิ์สิทธิ์์์์ืมากผูุุุุ้คนเลื่อมใสศรัทธาไปมาหาสู่เพื่อสักการะไม่ขาดสาย
    ครั้นพอต่อมาหลวงปู่เอี่ยมท่านได้มรณภาพ สิ้นอายุขัย ทางคณะสงฆ์จึงได้อาราธนาหลวงปู่อินทร์ ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็้นเจ้าอาวาสแทนหลวงปู่เอี่ยม ต่อมาหลวงปู่อินทร์ืืืืืได้ลาสิกขาบททางคณะสงฆ์จึงได้อารธนาหลวงพ่อจง ซึ่งบวชอยู่วัดหน้าต่างใน มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เมื่อหลวงพ่อจงได้มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้า
    อาวาสวัดหน้าต่างนอกนั้น ท่านก็ได้บูรณะอุโบสถหลังเก่าซึ่เดิมทีเป็นเรือนไม้ แล้วก็ได้บูรณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตลอดทั้งวิหารซึ่งคู่กับอุโบสถนั้น แล้วก็ได้สร้างพระพุทธฉายขึ้นที่หน้าวัด​


    ขึ้นเป็นอนุสรณ์และได้สร้างเรือหงส์ขึ้นอีกหนึ่งลำจากนั้นได้ซ่อมแซมเสนาสนะเช่น กุฏิมีสภาพทรุดโทรม ให้อยู่ในสภาพที่ดี เป็นต้นจนกระทั่งหลวงพ่อท่านอายุย่างเข้า 93 ปี กับ 10 เดือนท่านก็มาป่วยด้วยโรคอัมพาตอยู่เดือนหนึ่งแล้วท่านก็มรณภาพลงเมื่อวันจันทร์ เดือน 3 พ.ศ.2508 ทางคณะกรรมการจึงได้ทำฌาปนกิจศพหลวงพ่อจง พ.ศ.2509 จากนั้นก็ได้อาราธนาพระอาจารย์ไวยท์ ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส และได้แต่งตั้งเมื่อพ.ศ.2510 พระอาจารย์ไวยท์ได้เป็นเจ้าอาวาสเพียง 5 เดือนก็ได้มรณภาพลง จากนั้นก็้จึงได้อาราธนาพระอารย์พุท ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส พระอาจารย์พุทเป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้เพียง 3 ปีราว​

    พ.ศ.2514พระอาจารย์พุทก็ได้มรณภาพลงจากนั้นพ.ศ.2515ทางคณะกรรมการจึงได้อาราธนาพระอาจารย์แม้น หรือพระครูสมบูููููููููุรณ์จริยธรรม จากวัดกลางคลองสาม อำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี มารักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เมื่อเดือนสี่ พ.ศ.2515 และเป็นเจ้าอาวาสสมาจนถึงปัจจุบัน

    ประวัติหลวงพ่อจง

    หลวงพ่อจง พุทธัสสโร ท่านมีนามเดิมว่า “จง” กำเนิดมาในตระกูลชาวนาในท้องที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    เรียกว่าเป็นเชื้อสายแห่งคนดีศรีอยุธยาอีกคนหนึ่ง ที่ทั่วสรรพางค์กายล้วนเต็มเปี่ยมด้วยเลือดนักสู้ สมชาติชายไทย บิดาท่านมีนามว่า นายยอด มารดานามว่า นางขลิบ ซึ่งท่านทั้งสองมีบุตร-ธิดาด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน คือ

    1. เด็กชายจง ต่อมาคือ หลวงพ่อจง พุทธัสสโร เป็นบุตรคนโต
    2. เด็กชายนิล เป็นคนรอง ต่อมาคือพระอธิการนิล เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน
    3. เด็กหญิงปลิก เป็นน้องคนเล็ก และเป็นผู้หญิงคนเดียว

    สำหรับวันเดือนปีเกิดหรือวันถือกำเนิดของหลวงพ่อจง พุทธัสสโร นั้น เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ล่วงเลยผ่านพ้นมานาน อีกทั้งการบันทึกก็มิได้มีหลักฐานที่เด่นชัด เป็นแต่ระบุไว้พอรู้ความว่า ได้กำเนิดในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ณ วันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีวอก อันเป็นวันขึ้น 8 ค่ำ ที่ตรงกับวันที่ 6 เดือนมีนาคม พ.ศ.2415 และด้วยเวลานั้นยังไม่มีการใช้ชื่อสกุล จึงไม่มีการระบุชื่อนามสกุลเดิมของท่านไว้


    วัยเยาว์

    เด็กชายจง บุตรชายคนโตของคุณพ่อยอด คุณแม่ขลิบ เมื่อกำเนิดลืมตาดูโลกแล้ว ได้รับการเลี้ยงดูตามฐานะแห่งตระกูล เช่นลูกหลานชาวท้องทุ่งท้องนาทั้งหลาย มิได้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีลักษณะพิเศษเกินกว่าเด็กชาวนาคนอื่น ๆ เลยแม้แต่น้อย

    หรือแม้แต่อากัปกริยาที่จะแสดงอาการส่อแววว่า ในโอกาสต่อมาเมื่อเติบใหญ่แล้ว ชีวิตจะต้องก้าวเข้ามาสู่ฐานะภิกษุสงฆ์ อันเป็นที่เคารพบูชาของมวลชนทั้งหลาย ดังที่ปรากฎเป็นเกียรติคุณเป็นที่ล่ำลือกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

    แต่ทว่าชีวิตในวัยเยาว์ของหลวงพ่อจง หรือเด็กชายจงในเวลานั้น กลับปกปิดความเป็นคนเหนือคนสามัญทั้งหลายไว้อย่างมิดชิดแนบแน่น ด้วยการอยู่ในฐานะเช่นผู้อาภัพอับโชค อุดมไปด้วยทุกขโรคามากกว่าชีวิตที่เป็นสุข มีความร่าเริงเบิกบานตามวิสัยเด็กทั้งหลายโดยทั่วไป

    ด้วยการที่เด็กชายจง ถูกโรคาพยาธิเบียดเบียนมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย จึงทำให้รูปร่างหน้าตาในสมัยเป็นเด็กค่อนข้างจะผอมโซ หน้าตาซีดเซียว ร่างกายไม่แข็งแรงดังเช่นลูกชาวนาทั้งหลาย ซ้ำยังมีอุปนิสัยค่อนข้างจะขี้อาย เซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้น ชอบเก็บตัวอยู่ตามลำพัง ลักษณะดังเป็นเช่นเด็กทุพพลภาพ

    ที่ร้ายไปกว่านั้น เด็กชายจงยังถูกเคราะห์กรรมซ้ำเติมให้มีอาการหูอื้อจนเกือบหนวก รับฟังเสียงอะไรต่างไม่ถนัดชัดเจน นัยน์ตามืดมัว ฝ้าฟาง มองอะไรไม่ชัดเจน ทำให้อากัปกริยาการเคลื่อนไหวไปมาพลอยเชื่อช้าแบบเก้ ๆ กัง ๆไปด้วย และเป็นคนพูดน้อย ชนิดถามคำก็ตอบคำ หรือไม่ยอมพูดเอาเสียเลยก็มี เหล่านี้คือบุคคลิกภาพในสมัยเยาว์วัยของเด็กชายจง


    เป็นเช่นยามเฝ้าบ้าน

    จากบุคคลิกภาพดังกล่าวมาของเด็กชายจง ผสมกับสุขภาพที่ไม่สู้จะสมบูรณ์นัก วัยเยาว์อันควรเป็นวัยที่แจ่มใสสดชื่น จึงเต็มไปด้วยความออดแอดขี้โรค ยิ่งเติบโตจากอายุ 8 ขวบ ไปแล้ว อาการต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยิ่งแสดงทีท่าว่าจะกำเริบหนัก เลยทำท่าว่าจะไปไหนมาไหนโดยลำพังไม่ได้เสียเลย
    เขาว่าคืนนี้มีลิเกสนุกอยากจะไปดู ก็ต้องให้ญาติพี่น้องจูงไม้จูงมือไต่เต้าตามหัวคันนา บุกน้ำท่องโคลน เดินเดาสุ่มตามหลังคนอื่นไป พอไปถึงแล้วถึงเวลาลิเกเล่น มองเห็นตัวลิเกมั่งไม่เห็นมั่งไปตามเรื่อง เพราะสายตาไม่ดี และมักจะหลบฝูงชนออกไปซุ่มดูอยู่ห่าง ๆ ตามโคนต้นไม้ห่างจากผู้คนอื่น ๆ ไม่นิยมการไปรวมกลุ่มอยู่กับใคร ๆ

    การไปดูลิเกของเด็กชายจง จะว่าเป็นการหาความบันเทิงจากการฟังเสียง ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ ก็เพราะนอกจากตาไม่แจ่มใสแล้ว หูก็ยังไม่สามารถฟังเสียงอะไรได้ถนัดอีกด้วย เสียงกลอง เสียงปี่ พิณพาทย์ เครื่องเสียงประกอบการแสดงของลิเก ถึงฟังได้ก็ไม่ตลอด แบบได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง เอาเรื่องเอาราวอะไรไม่ได้

    สรุปแล้ว การไปดูลิเกของเด็กชายจงจึงมีค่าเท่ากัน จะไปหรือไม่ไปดูก็ไม่มีอะไรต่างกัน ฉะนั้น เมื่อมีผู้ถามว่า “ไง...ไปดูลิเกสนุกไหม” คำตอบก็คือ หัวเราะ หึ หึ ครั้นถูกถามว่าลิเกเล่นเรื่องอะไร คำตอบก็เช่นกันคือเพียงหัวเราะ หึ หึ

    มีเหมือนกันเมื่อถูกรุกถามหนัก ๆ เข้าจึงตอบเป็นคำพูดสักคำว่า“อือม์...สนุก”
    และนั่นก็เป็นคำตอบที่ยาวที่สุด นาน ๆ ครั้งจึงจะมีผู้ได้ยินคำตอบอย่างนี้สักครั้งหนึ่ง แต่จะมีเฉพาะกรณีถูกรุมเร้าหรือถูกรุมหนักเท่านั้น

    ดังนั้นต่อ ๆ มา ลิกงลิเกหรืองานวัดอะไรต่างก็ไม่มีโอกาสได้ดูกับใครอื่นเขา เพราะคนที่จะพาจูงไปคร้านที่จะเอาธุระ ซึ่งจะเพิ่มภาระให้เกิดแก่ตนเอง

    ในที่สุดเด็กชายจงจึงได้รับมอบหมายหน้าที่ใหม่ให้เป็นพิเศษ คือเป็นยามเฝ้าบ้าน ใครเขาจะไปไหนมาไหนก็ตามแต่ เด็กชายจงเป็นได้เฝ้าบ้านทุกครั้ง แต่ก็มีอยู่ประการหนึ่งที่เด็กชายจงไม่ยินยอมเป็นยามเฝ้าบ้านให้เป็นเด็ดขาด คือในเวลาที่มีการทำบุญตักบาตร การไปวัดในวันธรรมสวนะ เด็กชายจงเป็นต้องรบเร้าขอร้องให้พ่อแม่ ญาติพี่น้อง พาตนไปด้วยให้จงได้ ซึ่งถ้าถูกปฏิเสธห้ามปราม เขาจะคร่ำครวญร่ำไห้แสดงความทุกข์ออกมาให้เห็นอย่างน่าสงสาร

    จึงเป็นอันว่า เด็กชายจงจะได้ออกนอกบ้านก็เฉพาะแต่การไปทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามโอกาสงานบุญเท่านั้น


    เข้าวัด

    ชีวิตของหลวงพ่อจง พุทธัสสโรในวัยเด็กไม่มีสิ่งใดผันแปร คงเป็นไปอยู่เรื่อย ๆ มาเรียง ๆ ราบเรียบดังเช่นน้ำในอ่างดังเช่นที่กล่าวมาแต่ต้น จนกระทั่งอายุได้ 12 ปี ความเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น คือทางพ่อแม่มี

    ความเห็นถึงอุปนิสัยของเด็กชายจง บุตรชายคนโตตรงกันว่า เป็นผู้มีความชอบวัด ติดวัด รักชอบในอันที่จะไปวัดมากกว่าที่เที่ยวเตร่หาความสนุกในที่
    ใด ๆ ทั้งหมด

    ดังนั้น ท่านจึงสรุปความตรงกันว่า เมื่อเด็กชายจงชอบวัด ต้องการจะไปวัดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แทนที่ตนหรือคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องลำบากจูงมือนำพาลัดเลาะคันนา ถึงแม้จะไม่ห่างไกลเท่าใดนักก็ตามเถิด แต่เมื่อต้องทำอยู่ทุกบ่อย ก็ให้เกิดความคิดว่าน่าที่จะให้ไปอยู่วัดเสียเลย

    คิดเห็นตรงกันดังนั้นแล้ว จึงได้เผยความคิดเห็นดังกล่าวให้เจ้าตัว คือเด็กชายจงได้รับรู้ด้วย แทนที่จะคิดเสียใจน้อยใจในทำนองที่ว่า พ่อแม่จะตัดหางปล่อยวัดหรือเลยเถิดไปถึงว่าพ่อแม่สิ้นรักสิ้นเมตตาตนแล้ว กลับเป็นความปลื้มปิติใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะวัดเป็นที่ร่มเย็น เป็นที่ปรารถนาของตนอยู่แล้ว เด็กชายจงจึงรับคำพ่อแม่อย่างเต็มอกเต็มใจไม่มีอิดออด
    เวลาต่อมา เด็กชายจงจึงได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดหน้าต่างใน
    อันเป็นวัดใกล้บ้าน ที่เด็กชายจงเคยไปมาหาสู่อยู่เสมอนั่นเอง และนับเป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่ได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมทั้งโรคหูอื้อ ตาฝ้าฟาง ที่เป็นเรื้อรังมานานปีกลับหายไปจนหมดสิ้น

    สามเณรจงกลับมีสุขภาพสมบูรณ์พลานามัยดีมาก เป็นสุขอยู่ในเพศพรหมจรรย์ ดุจเป็นนิมิตให้ทราบว่า ท่านจะต้องครองเพศมีชีวิตอยู่ใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ไปตลอดชีวิต สมดังพุทธอุทานที่ว่า....สาธุ โข ปพพฺชชา...การบรรพชายังประโยชน์ให้สำเร็จ

    ดังนั้น เมื่ออายุครบอุปสมบทในปี พ.ศ.2435 โยมบิดามารดาจึงจัดพิธีอุปสมบทให้ได้เป็นพระภิกษุต่อไป ณ พัทธสีมาวัดหน้าต่างในที่พำนักอยู่ โดยมี
    พระอุปัชฌาย์สุ่น (หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ) เจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์อินทร์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอาจารโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    จากพิธีอุปสมบทในครั้งนั้น พระภิกษุจงได้รับสมญานามตามเพศภาวะว่า “พุทธัสสโรภิกขุ” และพำนักเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนวิชาการต่าง ๆ ที่พระภิกษุพึงจะต้องเรียนรู้เท่าที่มีอยู่ในสมัยนั้น ณ


    เรียนวิชา อาคม


    ชีวิตของหลวงพ่อจง หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ได้ปรากฎเหตุอันน่าแปลกมหัศจรรย์เด่นชัดขึ้น เพราะนอกจากจะหายป่วยหายไข้แล้ว เมื่อได้มาศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมะ คือได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและธรรมสิกขา พร้อมทั้งฝึกฝนในด้านการเขียนอ่านอักษรทั้งไทยและขอมจากท่านพระอาจารโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์
    พระภิกษุจงได้แสดงออกถึงความในอัจฉริยะ ด้วยการเรียนรู้จดจำสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาอย่างแม่นยำและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง จนใคร ๆ ทั้งหลายที่รู้พื้นความเป็นมาต่างพากันอดแปลกใจสงสัยเสียมิได้ว่า
    “เอ๊ะ..ทำไมภิกษุจงจึงมิยักงมโข่งหรืออุ้ยอ้ายอับปัญญา เหมือนกับบุคลิกที่อ่อนแออมโรค ที่ส่อแสดงว่าน่าจะเป็นไปในทางทึบหรืออับ เรียนรู้จดจำอะไรไม่แม่นยำ”
    และยิ่งเพิ่มความแปลกมหัศจรรย์แปลกไกลไปกว่านั้น ภายหลังจากที่ได้กระจ่างแจ้งในพระธรรมและภาษาหนังสือพอสมควรแล้ว พระอาจารย์โพธิ์ที่เล็งเห็นแววว่าน่าจะเป็นไปได้ของพระภิกษุจง ได้ให้การถ่ายทอดวิชาในด้านเวทวิทยาคมที่ท่านเชี่ยวชาญจนเป็นที่เลื่องลือ ถือกันว่า พระอาจารย์โพธิ์คือยอดแห่งผู้ทรงเวทในสมัยนั้นให้กับพระภิกษุจงด้วย
    ผลก็ปรากฎว่า พระภิกษุจงสามารถน้อมรับวิชาไว้ได้ทุกกระบวนมนต์ สำเร็จแตกฉานชนิดสิ้นภูมิผู้เป็นอาจารย์กันเลยทีเดียว และด้วยการได้รับถ่ายทอดวิชาให้ชนิดไม่มีการปิดบังซ่อนเร้นภูมิรู้ใดไว้ของพระอาจารโพธิ์ จึงทำให้พระภิกษุจงได้ก้าวเข้ามาทำหน้าที่เป็นที่รวมใจ ที่พึ่งพิงของญาติโยมแทนผู้เป็นอาจารย์ในเวลาต่อมา


    ฝึกกรรมฐาน

    ฝึกกรรมฐาน
    การแสวงหาความรู้ของพระภิกษุจง มิได้หยุดยั้งอยู่แต่เพียงภายในวัดหน้าต่างในที่พักอาศัยเท่านั้น เมื่อเจนจบในภูมิความรู้ของพระอาจารย์โพธิ์ผู้เป็นอาจารย์แล้ว ท่านยังคงเสาะแสวงหาที่เรียนต่อไปอีก ได้รู้ได้ทราบข่าวว่าที่หนึ่งที่ใด สำนักไหนมีครูบาอาจารย์ที่ทรงภูมืความรู้ จะเป็นวิชาแขนงใดก็ดี หากเห็นว่าไม่ขัดฝืนต่อธรรมวินัย เป็นวิชาที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตใจของตน พระภิกษุจงเป็นไม่ลดละที่จะหาทางไปฝากตนเป็นศิษย์เรียนวิชาด้วย
    หนทางที่ไกลแสนไกล ระหว่างทางล้วนมีแต่ความยากลำบากต้องฝ่าฟันในอุปสรรคและเสี่ยงต่อภยันตรายนานาสารพัดอย่าง มิใช่สิ่งที่จะหยุดยั้งเปลี่ยนวิถีความตั้งใจในการเรียนรู้หาวิชาของภิกษุจงได้ สองเท้าท่านคงย่ำไปจนถึงทุกสำนัก แล้วก็กลับคืนมาพร้อมความสำเร็จทุกแขนงวิชาแห่งสำนักนั้น ๆ ทุกครั้งคราวไป
    อย่างเช่นการไปเรียนวิชาฝ่ายกรรมฐาน กับพระอาจารย์หลวงพ่อปั้น วัดพิกุล ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ท่านเป็นพระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสีผู้ยิ่งใหญ่ที่แตกฉานในสมถะวิปัสสนากรรมฐานท่านหนึ่งในยุคสมัยนั้น
    พระภิกษุจงได้ไปฝากตัวหมั่นศึกษาพากเพียรเรียนวิชาด้วยอิทธิบาทที่แก่กล้าเป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับในภูมิธรรมจากผู้เป็นอาจารย์ จึงได้เดินทางกลับสู่วัดหน้าต่างใน


    เป็นเจ้าอาวาส

    ในขณะที่พระภิกษุจง ยังคงพำนักอยู่กับผู้เป็นอาจารย์ คือท่านพระอาจารย์โพธิ์ ที่วัดหน้าต่างใน ซึ่งมีบ้านเป็นครั้งเป็นคราวที่ท่านขออนุญาตจากผู้เป็นพระอาจารย์ ไปเรียนวิชายังสำนักอื่น แต่เมื่อเจนจบหลักสูตร เป็นต้องกลับคืนสู่วัดหน้าต่างในต้นสังกัดทุกครั้งไป

    แม้ว่าเวลานั้น ท่นจะยังคงอยู่ในฐานะพระลูกวัดศิษย์เจ้าอาวาสท่านพระอาจารย์โพธิ์ แต่ชีวิตแห่งการบวชเข้ามาอยู่ในเพศบรรพชิตของพระภิกษุจงก็นับได้ว่า เป็นชีวิตที่ได้รับความสำเร็จผลสมความตั้งใจ เป็นผู้รู้พระปริยัติธรรมตามฐานานุรูป และการปฏิบัติกรรมฐานทำความเข้าใจในพระธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อใช้ปฏิบัติจิตให้บังเกิดความสงบสุขและบรรลุเข้าสู่วิถีแห่งความพ้นทุกข์ ตลอดจนเป็นผู้รอบรู้เจนจบในทางเวทย์วิทยาคม ซึ่งมีพระอาจารย์โพธิ์เป็นปฐมพระอาจารย์ประสาทวิชาให้

    วิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา นอกจากจะยังประโยชน์ให้บังเกิดเป็นความสุขสงบเย็นเฉพาะตนแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเครื่องกล่อมเกลาบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้อื่นตามควรแก่ฐานานุรูป ตามด้วยความเหมาะควรแก่กาละเทศะต่อปวงชนทั้งหลาย ทั้งทางกายและทางใจด้วย

    ด้วยภูมิธรรมความรู้ อันเกิดจากความวิริยะพากเพียรที่หนุนเนื่องด้วยบุญบารมีเดิม จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของญาติโยมปวงชนทั้งหลาย ซึ่งนับวันก็แต่จะมีจิตศรัทธาเลื่อมใสมากยิ่ง ๆ ขึ้น ฉะนั้น ต่อมาเมื่อหลวงพ่ออินทร์สิ้นบุญในอันที่จะครองเพศเป็นภิกษุ ทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกได้ต่อไป ทำให้หน้าที่การดูแลวัดปกครองสงฆ์ของวัดหน้าต่างนอกว่างลง ซึ่งจำต้องรีบหาและแต่งตั้งเป็นการด่วน

    ในความคิดความเห็นของบรรดาศรัทธาญาติโยมทั้งหลาย ต่างเห็นพ้องต้องกันอย่างไม่มีการนัดแนะมาก่อนว่า พระภิกษุจง พุทธัสสโร ศิษย์ของท่านพระอาจารย์โพธิ์ วัดหน้าต่างใน เพราะสมกว่าใครอื่นทั้งหมด

    ด้วยความเห็นนั้น จึงได้ชักชวนกันไปหาท่านพระอาจารย์โพธิ์เพื่อขอพระภิกษุจงให้มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสที่วัดหน้าต่างนอก แทนท่านพระอาจารย์อินทร์ พระอาจารโพธิ์ได้รับรู้แล้ว พิจารณาเห็นถึงความเหมาะสมหลาย ๆ ประการ เริ่มแต่ความศรัทธาของญาติโยมชาวบ้าน ความเหมาะสมของผู้เป็นศิษย์ จึงเห็นควรตามที่ญาติโยมเขามาขอ

    เมื่อศรัทธาเรียกร้อง พระอาจารย์เห็นชอบ พระภิกษุจงจึงมาทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกนับแต่นั้นมา


     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" align=center border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD vAlign=top height=100>
    [​IMG]


    อยู่อย่างพระ

    พระภิกษุจง พุทธัสสโร เมื่อมารับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกแล้ว ก็ถูกขนานนามเป็น “หลวงพ่อจง” ซึ่งเป็นการเรียกขานด้วยความเคารพเทิดทูน ซึ่งเมื่อได้รับความเคารพบูชาเช่นนั้น หลวงพ่อจงท่านก็ยิ่งพยายามปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในศีลธรรมวินัย เจริญวัตรตามฐานะที่ผู้อยู่ในฐานะเป็นที่เคารพบูชาพึงจะกระทำตามสิกขาบท
    เฉพาะที่เกี่ยวกับชาวบ้านท่านได้สำแดงจิตอัธยาศัย แผ่ไมตรีโอบอ้อมอารีต่อทุกบุคคลไม่เลือกหน้าว่าเป็นใคร จะยากดีมีจนอย่างไร


    หรือแม้แต่เป็นคนถ่อยชั่วจนชื่อว่าเป็นพาลชนจะเข้าหารือขอร้องให้ช่วยงานช่วยกิจธุระหรือช่วยทุกข์ หรือนิมนต์ให้ไปโปรดที่ไหน ไม่ว่าหนทางใกล้ไกลอย่างไร ท่านเป็นยอมรับยินดีกระทำธุระปลดเปลื้องบำเพ็ญกรณีให้ผู้มาขอได้รับความสุขตามปรารถนาอยู่เสมอ ทำตามกำลังปัญญาของท่านโดยควรแก่ฐานานุรูปและกาลเทศะด้วยความเต็มใจอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส


    อากัปกิริยาของหลวงพ่อจงที่ปรากฎให้ทุกคนเห็น จะไม่มีการอำอึ้งขึ้งโกรธ แสดงความไม่ชอบใจ ไม่พอใจ หรือแม้การตั้งแง่อิดออดแต่อย่างใดเลย ทุกคนที่ไปพบไปหาจะสัมผัสกับความเมตตา ความยิ้มแย้มยินดีทุกครั้ง

    หลวงพ่อจงมองคนทุกชั้นว่าเหมือนกัน และเท่าเทียมกันโดยสภาพแห่งมนุษย์ ไม่มีชั้นวรรณะ ท่านต้อนรับปราศรัยด้วยจิตใจวาจาและเครื่องต้อนรับอย่างเดียวกัน ไม่มีการตั้งเก้าอี้ หรือลาดพรมปูเสื่อเพื่อท่านผู้นั้น ชั้นนั้นชั้นนี้ กุฏิหลวงพ่อจงเปิดอ้าไว้ต้อนรับทุกคนตลอดเวลา หลายคนเคยปรารภว่า มานมัสการหลวงพ่อจงแล้วน่าเลื่อมใสจริง ๆ ท่านเป็นพระแท้ไม่มียศ ไม่มีเกียรติ ไม่ติดอามิสใด ๆ เลย แม้กระทั่งน้ำชา


    หลวงพ่อเป็นบรรพชิตที่เหมาะสมแก่คนทุกชั้น ไม่มีคำว่า “ขนาดเราไปหาท่านแล้วเข้าไม่ถึง” โดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะหลวงพ่อจงท่านทรงคุณธรรมอันสำคัญอยู่สามประการ คือ
    1. เมตตากรุณา หลวงพ่อจงไม่เพียงแต่สอนให้ผู้อื่นมีเมตตากรุณาต่อกันเท่านั้น แต่ตัวของหลวงพ่อเองก็มีเมตตากรุณาประจำใจด้วยอย่างสมบูรณ์ ท่านยิ้มแย้มแจ่มใสกับทุกคน ไม่เคยเห็นท่านแสดงท่าทางโกรธเคืองผู้ใด ไม่ว่าเวลาไหน ใครมาหาท่านต้องการสิ่งใดท่านจะรีบทำให้ด้วยความเต็มใจและว่องไว บางครั้งแขกมาหาเป็นเวลาที่ท่านจำวัดแล้ว หลวงพ่อจงท่านยังรีบลุกจากที่จำวัดมาสงเคราะห์ให้จนสำเร็จประโยชน์
    2. อธิวาสนขันติ หลวงพ่อจงท่านรับแขกตลอดเวลา ทุกเมื่อเชื่อวัน อดทนต่อความเมื่อยล้า ไม่เคยแสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้เห็นเลย
    3. ปริจจาคะ หลวงพ่อจงท่านบริจาคทุกอย่างไม่ว่าสิ่งใด ใครขออะไรแม้กระทั่งย่ามที่ท่านถืออยู่ ท่านยินดีมอบให้ด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส
    คุณธรรมสามประการนี้ เป็นวิหารธรรมที่หลวงพ่อจงท่านสร้างสมอยู่ชั่วชีวิตท่าน

    เป็นพระทองคำ

    หลวงพ่อจง เป็นพระเถราจารย์ที่มีวิทยาคมแก่กล้า ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจาก หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล และหลวงพ่อปั้น วัดพิกุล อยุธยา พระอาจารย์ทั้งสองท่านนี้ ก็เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เช่นกัน
    หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เป็นสหายธรรมสนิทสนมกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นอันมาก เนื่องจากมีพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน นัยว่าสองหลวงพ่อนี้เป็นศิษย์สำนักเดียวกัน จึงมีความสนิทสนมและต่างฝ่ายต่างเคารพนับถือธรรมปฏิบัติของกันและกัน
    มากเป็นพิเศษ

    หลวงพ่อปานมีสังฆกิจอย่างไร ต้องนิมนต์หลวงพ่อจงไปในพิธีเสมอ หลวงพ่อจงมีสังฆกิจเช่นไรก็จะต้องนิมนต์หลวงพ่อปานไปร่วมพิธีทุกครั้ง หลวงพ่อปานท่านมักพูดแก่ศิษย์ของท่านเองว่า พระอย่างหลวงพ่อจงนั้นเป็นทองคำทั้งองค์ พระขนาดนี้อย่างไปขออะไรท่านนะ จะเป็นบาปหนัก เพราะแม้เทพยดาชั้นสูง ๆ ยังต้องขอเป็นโยมอุปัฎฐากเลย

    ด้วยเหตุนี้ ลูกศิษย์ของหลวงพ่อปานจึงเคารพนับถือหลวงพ่อจงมาก และท่านยังสั่งว่า “ถ้าฉันไม่อยู่ติดขัดเรื่องธรรมะ ให้ไปถามท่านจงนะ ท่านจงนี้น่ะ ท่านสอนเทวดามาแล้ว ถ้าเธอไปเรียนกับท่านจงได้ ก็นับว่าเป็นบุญของเธอ”


    ปฏิบัติเป็นกิจ


    กิจวัตรประจำวันอันสำคัญที่หลวงพ่อจงนิยมปฏิบัติอยู่เสมอ คือ การทำวัตรสวดมนต์ทุกเช้า เวลาใกล้รุ่งระหว่างเวลา 04.00 น. ถึง 05.00 น. และเวลาเย็นประมาณ 18.00 น. (ถ้าไม่มีแขกมาหา) หลวงพ่อจะต้องทำวัตรสวดมนต์เป็นประจำไม่ขาด เว้นแต่อาพาธหรือติดกิจนิมนต์ไม่ได้อยู่วัดเท่านั้น

    หลังจากสวดมนต์จบแล้ว หลวงพ่อจะเจริญกรรมฐาน อันเป็นธุระเอกของท่านอย่างสงบนิ่ง ประมาณวันละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงเป็นอย่างช้า ฉะนั้น ผู้ที่เคยมาหาหลวงพ่อและรู้เวลาของท่านแล้ว เขาจะไม่รบกวนท่าน รอจนกว่าท่านจะทำกิจเสร็จเรียบร้อย เพราะถ้าใครไปปรากฎตัวหรือด้อม ๆ มอง ๆ ให้ท่านเห็น หลวงพ่อจะรีบกราบพระลุกจากที่มาทันที ด้วยความที่ท่านมีเมตตาเป็นปุเรจาริก ปรารถนาจะสงเคราะห์ผู้อื่นให้สำเร็จประโยชน์ที่เขาต้องการ



    หลวงพ่อจง กวาดใบไม้ในวัด

    หลังเวลาทำวัตรเช้ามืดเสร็จแล้ว และเวลาเย็นหลวงพ่อจะถือไม้กวาดฟั่นด้วยปอยาว ๆ เดินกวาดสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถนนหนทาง กุฏิ ศาลา เป็นต้น ไม่ว่างเว้น ท่านมีสุขนิสัยรักความสะอาดอย่างยากที่จะหาผู้ใดมาเปรียบได้

    ท่านไม่รังเกียจว่า สถานที่ท่านกวาดนั้นเป็นกุฏิของผู้ใด ถ้าหลวงพ่อพบฝุ่นละอองที่ไหน ท่านจะปัดกวาดให้จนสะอาดเรียบร้อยไม่เคยว่ากล่าวผู้ใดทั้งสิ้น ใบหน้าหลวงพ่อยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่ตลอดเวลา

    ในระยะหลัง พระอุปัฏฐากและศิษย์รับใช้ เมื่อเห็นท่านปัดกวาด ต้องรีบมาทำแทนท่าน เพราะเห็นว่าท่านชราภาพมากแล้ว ท่านหมั่นทำความสะอาดอยู่กระทั่งถึงวาระสุดท้าย ลุกจากที่จำวัดไม่ได้

    กิจกรรมเช่นนี้ เป็นที่ควรปฏิบัติตามสำหรับอนุชนเป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งเหล่านี้มีพระพุทธภาษิตรับรองอยู่ว่า
    อสชฺฌายมลา อนุตา อนุฏฐานมลา ฆรามลํ วณฺณสฺสโกสชฺชํ
    ปมาโท รกฺขโต มลํ
    ซึ่งแปลว่า เวทมนต์ที่ไม่ท่องบ่นย่อมเสื่อมคลาย เรือนทั้งหลายที่ไม่ปัดกวาดย่อมเสื่อมโทรม ความเกียจคร้านเป็นความเศร้าหมองของผิวพรรณ ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา


    ปฏิปทาน่าฉงน

    การปฏิบัติอันเป็นกิจวัตรของหลวงพ่อจง บางอย่างก็แปลก ๆ เป็นปริศนาให้ผู้พบเห็น
    คิดอยู่นาน เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี กล่าวคือ พอตกกลางคืนท่านจะออกมาจากกุฏิ โดยถือไม้กวาดแล้วกวาดลานวัดไปเรื่อย ๆ กวาดจนรอบวัดแล้วยังกวาดใหม่อยู่อย่างนี้จนดึก
    หลังจากนั้นก็เดินขึ้นกุฏิไปเข้ามุ้ง แต่ไม่ดับตะเกียง ท่านจะนั่งสมาธิอยู่เป็นครู่ใหญ่ แล้วออกจากมุ้งมากวาดลานวัดอีก เมื่อกวาดรอบวัดเสร็จก็จะกลับขึ้นไปเข้ามุ้งในกุฎิ ทำสมาธิ หลังจากนั้นก็จะออกมากวาดลานวัดเป็นคำรบสาม เสร็จแล้วก็เข้ามุ้ง นั่งสมาธิ เป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นจึงดับตะเกียงจำวัด หลวงพ่อจงปฏิบัติธรรมของท่านเช่นนี้ตลอดมา

    ก่อนที่จะมรณภาพไม่นาน ลูกศิษย์ใกล้ชิดเก็บความสงสัยไว้ไม่อยู่ ได้ถามท่านว่า ทำไมถึงชอบกวาดลานวัดตอนดึก ๆ ขณะพระลูกวัดจำวัดหมดแล้ว ท่านตอบสั้น ๆ ว่า “วัดสะอาด ใจก็สะอาด กวาดวัด แล้วกวาดใจ ตายแล้วไม่ไปอบายภูมิ”


    มักน้อยสันโดษ

    หลวงพ่อจงท่านเป็นพระที่มักน้อยสันโดษอย่างมาก ใครมาหาท่าน ท่านก็ต้อนรับขับสู้ด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใสมีเมตตา ใครจะนั่งอยู่ดึกดื่นค่อนคืนอย่างไร ท่านก็ยังคงต้อนรับอยู่อย่างนั้น จนกระทั่งแขกเหรื่อหมดแล้ว ท่านจึงจะเข้ากุฏิ

    หลวงพ่อจงเป็นพระที่เสียสละอย่างสูง เมตตาของท่านท่วมท้นทั้งในอาณาจักรและศาสนจักร ในประการหลังนี้จะเห็นได้จากการที่ท่านรื้อกุฏิในวัดของท่านถวายแก่วัดที่ยากจน ซึ่งท่านทำเช่นนี้เสมอมา นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมวัดหน้าต่างนอกที่มีพระอาจารย์ชั้นเยี่ยมอย่างหลวงพ่อจงเป็นเจ้าอาวาส จึงไม่ค่อยเจริญในด้านวัตถุมากนัก ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า พระสุปฏิปันโนเฉกเช่นหลวงพ่อจงนี้ ท่านมีแต่ขนออกแจกเขาอย่างเดียว ไม่มีการนำเข้า มีแต่แจกออกไป ใครถวายสิ่งใดแก่ท่าน ท่านก็นำออกมาถวายให้พระลูกวัดเป็นสังฆปัจจัยจนหมด

    ในด้านสมณศักดิ์นั้นท่านก็วางเฉย มีลูกศิษย์ที่เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาปรารภกับท่านบ่อย ๆ ทำนองใคร่สนับสนุน แต่ท่านปฏิเสธไปอย่างสุภาพและนุ่มนวลอีกว่า “อาตมาแก่แล้ว สังขารไม่เอื้ออำนวย มันจะเจ็บ มันจะแก่ มันจะตาย ไปบังคับมันไม่ได้ สังขารของอาตมาจึงไม่เหลือที่จะเป็นประโยชน์แก่กิจของสงฆ์อีกแล้ว”

    แม่แต่ตอนที่ท่านมรณภาพ เงินสักเฟื้องสักสลึงก็ไม่มีติดย่าม ย่ามของท่านนั้นเล่าก็เก่าคร่ำคร่า ย่ามดี ๆ ท่านก็ให้แก่พระลูกวัดใช้จนหมดสิ้น สมบัติของท่านที่เหลืออยู่ให้เราเห็นในทุกวันนี้ มีเพียงเก้าอี้โยกเก่า ๆ ตัวหนึ่ง รูปปั้นฤาษี “พ่อแก่” และพระพุทธรูปบูชาขนาดเล็กที่ท่านบูชาประจำองค์เดียวเท่านั้น










    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    สร้างเพื่อรื้อถอน

    กุฏิที่ท่านจำวัดก็เป็นไม้เก่า ๆ ผุพังไปบางส่วน เวลานี้เขาย้ายที่ไปสร้างใหม่ โดยรื้อมาประกอบทั้งหลัง ไปดูที่วัดก็ยังได้ ถ้าใครไม่เชื่อ สมัยที่ท่านมีกิตติคุณเกรียงไกร สามารถเอื้ออำนวยให้วัดมีสิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุเป็นปูนเป็นอิฐ ขนาดใหญ่เท่าใดก็สามารถทำได้ แต่ท่านกลับมีอุบายอันแยบยลด้วยการรื้อถอนกุฏิบริจาคให้วัดอื่น เพื่อสร้างนิสัยสั่งสมบุญกุศลแก่ลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลาย

    ลูกศิษย์ที่เคารพนับถือท่าน เขามีเงินเป็นเศรษฐี ได้มาสร้างเสนาสนะและสิ่งอื่น ๆ อยู่เป็นประจำ แต่ท่านขอให้ลูกศิษย์ทุกคนก่อสร้างให้รื้อถอนได้ กล่าวคือ สร้างสำหรับแบบรื้อได้นั่นเอง ไม่มีใครทราบเหตุผลว่าทำไมท่านจึงสั่งเช่นนั้น แต่บรรดาลูกศิษยก็ไม่อาจขัดท่าน เพราะศรัทธาในตัวท่าน สั่งเช่นไรก็ทำไปเช่นนั้นไม่มีบิดพลิ้ว

    เมื่อสร้างเสร็จและฉลองศรัทธาของญาติโยมโดยใช้อาศัยอยู่พักหนึ่ง หากมีวัดใดขัดสนท่านก็บอกให้ถอนไปตั้งที่วัดนั้นวัดนี้ เคยมีลูกศิษย์น้อยอกน้อยใจไปต่อว่าท่าน ท่านก็ยิ้มแล้วบอกว่า “เธอสร้างให้หลวงพ่อเป็นศรัทธาของเธอ กุศลมีแก่เธอแล้วทุกประการ พระสงฆ์และวัดเป็นเนื้อนาบุญ วัดไหนก็เหมือนกัน ถ้าหลวงพ่อบอกให้เธอไปสร้างให้วัดอื่น เธอคงไม่ยอมไป เพราะศรัทธายังไม่มี เมื่อสร้างแล้วหลวงพ่อไปถวายวัดอื่น บุญกุศลนั้นก็ยังเป็นของเธออย่างเต็มเปี่ยม ขอเธอจงโมทนาเถิด”
    คำกล่าวของหลวงพ่อ พระเถราจาย์ที่ยิ่งใหญ่แห่งกรุงศรีอยุธยาครั้งกระนั้น ประดุจโอวาทที่ศิษย์รับใส่เกล้าทุกคน


    วิธีอบรมจิต

    หลวงพ่อจง พุทธัสสโร ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดในการปฏิบัติกรรมฐานอันเป็นเครื่องชำระจิตให้หมดจดจากกิเลส
    เครื่องเศร้าหมองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดก็ตาม

    ในขบวนการใช้อุบายแยบคายอบรมบ่มจิตให้ได้รับความสงบ จนบังเกิดเป็นสมาธิและฌาน กับอาการอบรมจนให้ดวงจิตบังเกิดปัญญาที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน ก็ดี หลวงพ่อจงพอใจชอบใช้ฝึกจิตในแนวทางเรียกว่าอสุภะมาก
    กว่าวิธีอื่น

    อสุภะ ตามความหมายก็คือ หมายความถึงสิ่งอันเป็นซากของวัตถุ หรือซากร่างปราศจากชีวิตอันไร้ความน่าดู ปราศจากความสวยงาม ตรงข้ามน่าพึงชังรังเกียจ น่าพึงเบื่อหน่าย ขยะแขยงสะอิดสะเอียน หลวงพ่อจงพอใจใช้วิธีการเพ่งอสุภะ เป็นแนวทางอบรมบ่มจิต ก็เพราะได้คิดว่า มันเป็นการช่วยให้ตนสามารถมองเห็นชัดด้วยตาและบังเกิดความรู้สึกในใจให้คิดสังเวช
    อย่างซาบซึ้งถึง
    ความจริงในข้อที่ว่า ตนและสรรพสัตว์ เมื่อต้องมีอันเป็นไปบังเกิดเป็นความตายแล้ว ก็ต้องมีสภาพน่า
    อเนจอนาถ ไม่น่าดู ไม่น่ารัก แต่น่าชัง น่ารังเกียจ ทุเรศอุจาดตา ดังนี้ด้วยกันทั้งนั้น และเป็นสิ่งที่ไม่มีใครหนีพ้น

    ซึ่งจากข้อคิดนี้ จะทำให้ดวงจิตแห้งแล้งหดหู่ ปราศจากความร่านยินดีในรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ปราศจากความหลงงมงายคิดว่าร่างกายเป็นสิ่งสวยงาม จะได้เป็นเครื่องบรรเทาอัสมิมานะ คือความสำคัญผิดเพ้อเห็นไปว่า ร่างกายนั้นหนอ มันเป็นตัวตนของเขาของเราจริงแท้ ซึ่งความจริงมันมิใช่

    ความจริงมันเป็นเพียง อัตตะ ปราศจากตัวตน เป็นที่รวมอยู่ของธาตุทั้งห้า ชั่วครั้งคราวโดยสภาวะปรุงแต่งแวดล้อม ครั้นถึงกาลเวลาก็แตกดับล่วงลับสลายไป ไม่เป็นเขาไม่เป็นเรา ดังนั้นจึงไม่บังควรไปหลงคิดรัก หลงหวงแหน หลงป้อยอ หลงรับ ใช้หาของกินรสโอชะ หรือหลงไหลกดขี่ขูดรีดคนโกงแย่งชิงสรรพสิ่งจากที่อื่นสิ่งอื่นไปบำรุงบำเรอมัน เพราะอย่งไรในที่สุดก็ไม่พ้นเสียเปล่าและสูญสิ้นเปล่า เหมือนชีวิตไม่เคยมีใครรักษามันไว้ได้

    หลวงพ่อจงชอบเพ่งมองอสุภะ คือรูปเน่าเปื่อยของศพที่มีผู้เอามามอบให้ และท่านเก็บไว้ในห้องที่จัดไว้พิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซ่อนเร้นมิให้ประเจิดประเจ้อต่อความรู้เห็นของผู้อื่น

    ท่านจะใช้เวลายามปลอดและสงัดผู้คนเข้าห้องพิเศษ พร้อมด้วยดวงเทียนหรุบหรู่ เข้าไปนั่งเฝ้าเพ่งมองดูรูปศพคนตาย ไม่เลือกว่าจะเป็นศพขึ้นอืดจนเป็นน้ำเหลืองหยด จะมีกลิ่นเหม็นหรือเป็นซากศพแห้งเหี่ยวย่น หน้าตาน่าเกลียดเพียงใด ท่านก็จะเฝ้าจ้องมองเพ่งดูอย่างจริงจัง เพ่งมองให้เป็นภาพติดตาจนจำขึ้นใจว่า ศพนั้นท่าทางรูปร่างเป็นอย่งนี้ แห้งเหี่ยวเป็นรอยย่นผิดหน้าตามนุษย์ธรรมดายังงั้นยังงี้ หรือมีน้ำเหลืองหยดเพราะอาการเน่าเปื่อยตรงนั้นตรงนี้

    พร้อมกันนั้น ก็กระทำจิตให้บังเกิดอารมณ์สังเวชว่า รูปกายเกิด เกิดมาแล้วก็ต้องถึงวาระมีอันเป็นเบียดเบียนให้เจ็บป่วย ถูกทำร้ายหรือบังเกิดอุบัติเหตุเป็นภัยอันตรายถึงตาย ตายแล้วก็มีอาการน่าอเนจอนาถต่าง ๆ นานา เป็นเช่นนี้เสมอไป
    ร่างกายหนอ...ชีวิตหนอ...ต่างล้วนเป็นภาพน่าอนาถ น่าสังเวช น่าชิงชัง น่าเบื่อด้วยกันทั้งนั้น เช่นนี้แล

    เกี่ยวกับการพิจารณาซากอสุภะของหลวงพ่อจงนี้เคยมีผู้สงสัยถามว่า เมื่อทำดังนี้และปลงอารมณ์ได้ดังนี้แล้ว จะบังเกิดประโยชน์อะไร

    หลวงพ่อจงให้คำตอบว่าได้ประโยชน์คือ ทำให้ไม่หลงใหลรักตัวตนว่าเป็นตัวตนของเขาของเรา มันเป็นแค่ชีวิตกายที่ก่อสารรูปขึ้นได้ด้วยสภาวะแวดล้อมของธาตุทั้งสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ เข้ารวมตัวกัน ความคิดเห็นแก่ตนเองเอาเปรียบเบียดเบียนผู้อื่นจะหย่อนหายไปจากสันดานโลภโมโทสัน เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งขัดเกลาสันดานจิตใจให้ผ่องใสสะอาด

    หากมนุษย์อันเป็นตัวสมมุติของกายเกิด ไม่หลงนึกแยกประเภทของกายเกิดว่านั่นเป็นเขา นี่เป็นเรา ดังนี้แล้ว การอยู่ร่วมกันในสังคม บ้านเมือง ตลอดทั่วโลกก็จะมีแต่ความสงบสุข ไม่ต้องมีการดิ้นรนจองล้างจองผลาญย่ำยีต่อกัน นั่นคือคำตอบอันเป็นการไขข้อสงสัยในกรรมฐานที่ท่านพิจารณาอยู่ทุกเมื่อของหลวงพ่อจง


    อุดมทัศนะ และสัจจะธรรม

    หลวงพ่อจง มีปณิธานดำรงอัตตะของชีวิตบรรพชิตของท่านด้วยอาการเคร่งต่อศีล
    นอกจากพลังจิตของท่านเหี้ยมฮึกต่อทมะ คือ สามารถต่อการคุมจิตของตนไว้ใต้อำนาจ
    มิให้กระดิกกระโดดออกนอกทาง ที่เคร่งมากที่สุด คือ มั่นอยู่ในพรหมวิหารสี่ และใช้มากหนักไปในทาง
    เมตตาแต่กรุณา มุทิตา อุเบกขา ก็มีครบครัน นอกจากนี้ ท่านยึดมั่นในหลักจาคะ สมัครใจเสียสละ
    เพื่อผู้อื่นเท่าที่สามารถทำได้ตามที่กล่าวถึงมาตอนต้น ๆ แล้วประการสำคัญก็คือ เป็นผู้ดำรงสัจจะ และ
    ต้องการอบรมคนทุกคนให้เป็นผู้มีสัจจะ ไม่พูดปดมดเท็จ


    ดังนั้น ทั้งที่ท่านโกรธใครยากที่สุด ทว่าหากเป็นในเรื่องการกล่าวคำเท็จ ท่านมักมีอามรณ์เผลอโกรธ
    เหมือนกัน เป็นแต่สามารถระงับได้รวดเร็ว มิปล่อยให้ไฟโกรธครอบงำอารมณ์เป็นายเหนือการบังคับพลังจิตของท่าน จนต้องตกเป็นทาสของมันให้กระทำการก่อเหตุเภทภัยขึ้น


    หลวงพ่อจงมีเกียรติคุณเป็นที่นิยมกว้างขวางจริงจังในคุณแห่งวิทยาคม เมตตา เป็นอันดับแรก
    ต่อไปก็เป็นคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดมหานิยม และน้ำมนต์ของท่านขึ้นชื่อลือชาว่า สามารถสะเดาะเคราะห์
    ความอับโชคได้ผลประสิทธิมาก ด้วยประการฉะนี้ วัดหน้าต่างนอกจึงปรากฏมีทหาร ตำรวจ ข้าราชการ และประชาชนแทบทุกจังหวัดเดินทางไปมานมัสการขอรดน้ำมนต์จากท่านไม่ขาดสาย โดยเฉพาะเมื่อครั้งที่ม
    ีงานฉลององค์พระประธานในโบสถ์ ปรากฏว่าได้มีประชาชนจากทั่วทุกทิศเป็นจำนวนร่วมแสนคน ไปร่วมพิธี ณ
    วัดหน้าต่างนอกตลอดทั้งเจ็ดวันเจ็ดคืน และได้ร่วมบริจาคเงินอย่างมากมาย ซึ่งต่อมา พระประธานใน
    พระอุโบสถวัดหน้าต่างนอก ที่หลวงพ่อจงเป็นประธานสร้างนั้น ก็ได้รับพระราชทานพระราชลัญจกรนามจาก


    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินี้นาถ "พระสัพพัญญู" เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 อันเป็นวันหลังจากที่หลวงพ่อจงได้ถกคัดเลือกนิมนต์ไปร่วมกระทำพิธีถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าย่า
    ของสมเด็จพระบรมราชินี พร้อมด้วยพระเถรานุเถระ สำคัญและล้วนมีเกียรติคุณสูง
    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชอัธยาศัยโปรดในความมีบุคลิกพิเศษ
    เต็มไปด้วยสง่าราศีของหลวงพ่อจงไม่น้อย และได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารด้วยพระราชอัธยาศัยเป็นอันดีบ่อยครั้ง ในที่สุดทรงมีพระราชเสาวนีย์ขอรับเป็นองค์โยมอุปัฏฐานของวัดหน้าต่างนอก แต่ตราบกระทั่งหลวงพ่อจงมรณภาพ ไม่เคยทำเรื่องรบกวนพระราชหฤทัยเลย เคยมีผู้แนะให้ขอพระราชทานเงินสร้างเขื่อนกั้นน้ำและหอระฆัง

    กับปฏิสังขรณ์โบสถ์ของวัดหน้าต่างในซึ่งชำรุดมาก จนทำสังฆกิจมิได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคไม่สะดวกแก่การสัญจร
    ทั้งของวัดหน้าต่างนอกและวัดหน้าต่างใน หลวงพ่อจงได้ปฏิเสธว่า ไม่ควรรบกวนพระราชอัธยาศัยในการนั้น เพราะท่านที่ทรงสำแดงพระเมตตารับเป็นองค์อุปัฏฐาน ก็นับว่าเป็นนิมิตมงคลแก่ท่านและวัดมากอยู่แล้ว
    เรื่องของวัด วัดก็ควรทำเอง เพราะเรื่องสร้างเขื่อนนี้ต้องค่อยทำค่อยไป ประชาชนทั่วไปก็ร่วมมืออยู่แล้ว
    คงทำสำเร็จจนได้ในวันหนึ่ง


    หลวงพ่อจงเป็นผู้มีอัธยาศัยปกติไม่ชอบรบกวนจุกจิกต่อน้ำใจใครไม่เคยบิณฑบาตรขอร้องอะไรต่ออะไร
    จากใคร โดยมากมักมีผู้ไปนมัสการท่าน แล้วมองตรวจหรือสอบถามเพื่อช่วยเหลือทำบุญแก่ท่านเอง เช่น รู้ว่าท่านขาดเหลืออะไร มีอันใด ทำให้ท่านมีความไม่สะดวกเป็นความอึดอัดต่างก็จัดหาถวาย
    แต่ถ้าหากจะถามท่านว่า ท่านจะต้องการสิ่งนี้สิ่งนั้นไหม


    ท่านจะปฏิเสธทันทีว่า ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ หรือ รอไปก่อนดีกว่า หรือ ไม่เป็นไรหรอก อาตมายังไม่ปรารถนา
    บรรดาพระราชวงศ์ พ่อค้าเศรษฐี ข้าราชการทุกประเภทโดยทั่วไปส่วนมากที่เคารพสักการะศรัทธาต่อท่าน ต่างมักพากันไปมาหานมัสการและคอยสอดส่องอุปการะท่านเสมอ อาทิ พระองค์ชายอนุสรณ์
    พระองค์ใหญ่เฉลิมเขตต์ พระองค์เจ้าเฉลิมพล พระราชวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุภัณฑ์ น.อ.ประสงค์ สุชีวะ ฯลฯ
    หลวงพ่อจงเป็นผู้มักน้อยมีสันโดษมาแต่เล็ก ดังนั้นเมื่อดำเนินตามแนวพุทธวิธีตามพระธรรมคำสอน

    ท่านจึงสามารถสำเร็จในฌานสมาบัติได้โดยมิยาก
    ชีวิตวัยเด็ก นอกจากช่วยพ่อแม่เลี้ยงควาย ดูแลบ้านและน้องแล้ว
    หลวงพ่อจงมิเคยทำงานหนักเบาสิ่งใด เพราะมีลักษณะคล้ายเป็นคนพิการ ตาก็ฝ้าฟาง หูก็ตึง แต่เป็นการอัศจรรย์
    นับแต่เข้าเป็นพระภิกษุแล้ว ความพิการต่าง ๆ หายไปเป็นปลิดทิ้ง อวัยวะทุกสิ่งแจ่มใส
    อายุ 92 ปี ยังอ่านหนังสือได้โดยมิต้องใช้แว่น และยังสามารถสนตะพายเข็มได้ด้วยตนเอง ยกเว้นจากหู
    ูซึ่งมีประสาทชา ต้องพูดกับท่านดังหน่อย


    หลวงพ่อจงเป็นผู้เคร่งครัดต่อการรักษาความสะอาด มีจิตใจเป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ
    บริเวณในวัดนอกวัด หากท่านอยู่ไม่ไปไหนจะต้องทำการปัดกวาดขัดเกลาด้วยตนเองเสมอ และไม่ชอบใช้ใครทำหากใครจะช่วยทำก็ให้มาทำเองด้วยความสมัครใจของเขา ทั้ง ๆ ที่ท่านมีศิษย์ไม่ต่ำกว่าห้าคนอยู่ประจำเสมอ


    ตั้งแต่วัดหน้าต่างนอกเคยมีงานพิธีใด ๆ มา มีผู้มาร่วมชุมนุมสมทบการกุศล ชมงานวัด ไม่เคยมีสักครั้ง
    เดียวที่จะเกิดเรื่องทะเลาะวิวาท แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้มีทหารยศนายสิบผู้หนึ่ง เกิดอาการมึนเมาครองสติไม่อยู่
    ได้อาละวาดไล่ตีผู้คน
    และชักปืนยิงวุ่นวาย มีผู้ไปนิมนต์หลวงพ่อจงขอให้ไปห้ามระงับเหตุ ท่านหัวร่อ
    พลางบอกว่าไม่ต้องห้ามเดี๋ยวก็หยุดไปเอง
    หากอาละวาดจนหยุดไม่ได้ ก็เห็นจะต้องตาย


    ...มันช่างเป็นความอัศจรรย์อะไรเช่นนั้น หลวงพ่อจงพูดขาดคำไปไม่ถึงสิบนาที มีคนวิ่งกระหืดกระหอบไปแจ้งท่านว่า นายสิบทหารผู้นั้นตายเสียแล้ว โดยอยู่อยู่ก็อวดศักดาเอาปืนจ่อขมับตนเอง อวดใครต่อใครว่าเป็นผู้ศักดาอาคมขลัง ปืนยิงไม่เข้า
    และอีกครั้งหนึ่ง มีนายทหารชั้นร้อยโทผ่านศึกอินโดจีน เป็นคนพิการขาขาด ได้ไปขออาศัยอยู่ด้วย หลวงพ่อจงก็ไว้วางใจ มอบให้เป็นผู้เก็บรักษาเงินของวัด อยู่มาสองปีเศษ เงินของวัดก็สูญหายไปเรื่อย ๆ มากบ้างน้อยบ้าง แต่หลวงพ่อจงก็ไม่เคยเป็นห่วงเอาธุระซักไซ้ดูว่าอย่างไร สืบมาไม่นาน หลวงพ่อจงได้เงินมาหมื่นเศษก็มอบให้ไว้อีก โดยบอกว่าเงินนี่จะเอาไว้ทำโบสถ์ให้รักษาไว้ให้ดีหน่อย
    ต่อมาถึงเวลาต้องการใช้เงิน คนผู้นั้น กลับตอบปฏิเสธว่าเงินไม่มีเสียแล้ว หลวงพ่อจงกล่าวซักว่า ...ก็ให้เก็บไว้บอกว่าจะเอาทำโบสถ์ ทำไมว่าเงินไม่มี พูดเป็นคนเสียสตินี่...


    อีกสี่วันต่อมา บุรุษพิการขาขาดผู้นั้นได้กลายเป็นคนบ้า บ้าขนาดหนัก และมีชีวิตอยู่ได้ไม่ถึงเจ็ดวันก็เกิดมีอาการคลุ้มคลั่งขนาดตรีทูตจนป่วยเป็นไข้อย่างแรงถึงเสียชีวิต
    หลวงพ่อจงมีกิตติคุณอีกทางหนึ่งในการใช้น้ำมนต์ น้ำมันมนต์ของท่าน ท่านสร้างเองโดยหุงเดือดแล้วบริกรรมด้วยอาคมขลัง แล้วเอามือคนไปจนได้ที่ น้ำมันนี้มีสรรพคุณกินแก้ปวดท้อง หยอดยาแก้เจ็บ ตาแดง ตาต้อ ทานวดแก้เมื่อยขบ
    ในชีวิตของท่าน ท่านต้องปฏิบัติกิจโดยพิถีพิถันและต้องไปร่วมพิธีใหญ่ ๆ ของทางราชการ

    และของผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่อยู่อย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่าในการปลุกเสกอาคมสร้างของขลังในชมรมบรรดาเกจิอาจารย์หรืองานหลวง เช่น พิธีพุทธาภิเษกเหรียญและรูป อดีตสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรศิริวัฒน์ พิธีพุทธาภิเษกพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ตลอดจนถึงพิธีพุทธาภิเษกครั้งหลังสุดในชีวิต 94 ปีของท่าน คือพิธีพุทธาภิเษกสร้างเหรียญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ปัจจุบันกับร่วมในพระราชพิธีฉลองพระชนมายุครบสามรอบ ณ วัดราชบพิธ นี่ย่อมเป็นเครื่องสำแดงว่า มิว่าในสังคมชั้นใดเอกชน หรือว่าวงราชการชั้นสูงสุดแค่ไหน


    หลวงพ่อจงถูกยอมรับนับถือเป็นยอดอริยสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิ คุณธรรมสูงสุดผู้หนึ่ง
    ประการสำคัญ ในชีวิตท่าน หลวงพ่อจงมิเคยมีอารมณ์หลงตะหงิดอยากได้นั่นได้นี่เป็นสมบัติ นอกจากกระทำไปตามหน้าที่ เช่น สร้างกุฏิซึ่งเก่าคับแคบ มีน้อยให้มากขึ้นที่วัดหน้าต่างนอกตามอัตภาพ สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโรงเรียนตามที่ทางราชการ อำเภอ จังหวัดนิมนต์พึ่งขอความร่วมมือจากบารมีของท่าน แต่อย่างไรก็ดี สิ่งของของวัดท่าน เช่น ตะเกียงเจ้าพายุ (สมัยนั้นยังไม่มีผู้ถวายไฟฟ้ากำเนิดแก่วัด)


    หากวัดอื่นยากจนกว่าไปขอใช้ ท่านก็ให้ไป ศาลาวัดบางหลังที่ควรเอาไว้ใช้ แต่มีผู้มาบอกว่าจะขอรื้อเอาไม้ไปทำโรงเรียน ช่วยเด็กไม่มีโรงเรียนจะนั่งเรียน ท่านก็อุทิศให้ไปอย่างยิ้มแย้มเต็มใจ ท่านได้พัดวิเศษอันสูงค่ายิ่ง เพราะเป็นของพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อมีผู้มาขอยืมไปใช้เพราะเห็นว่าสวยสุดสง่า แต่แล้วไม่เอาคืนให้ มีผู้อาสาไปเอาคืน ท่านก็เพียรครางหึหึในลำคอ พลางก็ห้ามว่า เมื่อคนอื่นเขาพอใจจะเป็นเจ้าของเอาไว้ครองเป็นสมบัติของเขายิ่งกว่าเรา เราอุทิศให้เขาไปเสียให้สมใจ ก็มิเห็นจะเป็นไรไป
    พฤติการณ์กรณีวาจาสิทธิ์ ของหลวงพ่อจงมีผู้พูดถึงกันมาก และ ปรากฏมีผู้ศรัทธาเชื่อกันว่า ท่านมีวาจาดุจดังพระร่วงอะไรทำนองนั้น แต่ท่านก็ไม่เคยว่ากล่าวใครสักกี่ราย แม้แต่การให้พรท่านก็มักให้แต่ในแนวทางสงฆ์ มีการสวดมนต์ภาวนาประพรมน้ำมนต์ ไม่เคยกล่าวคำอวยพรให้ใครอย่างใดในแบบสังคม


    กล่าวกันทางด้านสุขภาพ หลวงพ่อจงมีสุขภาพอนามัยดีเลิศ โรคที่มีบ้างก็แค่หวัดธรรมดา กิจวัตรการฉันของท่านก็เช่นเดียวกับสงฆ์อื่นเปลี่ยนแต่เป็นว่าตอนเช้าหกโมง ท่านฉันข้าวต้มหมูชามขนาดกลางชามหนึ่ง น้ำชากาแฟไม่ฉันเลย ส่วนน้ำดื่มชอบน้ำต้มธรรมดา ๆ เท่านั้น อย่างอื่นไม่ดื่มเลย เคยติดยานัตถุ์และบุหรี่อยู่ 4 - 5 ปี แต่ต่อมาเห็นว่าเป็นเครื่องทำให้รำคาญรุงรัง เพราะต้องเอาติดย่ามไปด้วย ทำให้มีห่วง ท่านเลยตัดสินใจเลิก เป็นการตัดกังวล มีผู้ถามว่า ของสองสิ่งเป็นยาเสพติดมีฤทธิ์ชะงัด เลิกกับมันยากนัก มีคนอยากเลิก เลิกไม่ได้ ท่านมีวิธีขมังอย่างไร

    หลวงพ่อเพียงตอบยิ้ม ๆ
    "...ตั้งใจอดจริง ก็ต้องทิ้งมันได้... ไม่มีอะไรในโลก ซึ่งเราตั้งใจทำและทำจริงแล้วจะทำไม่ได้ ทำได้ดีหรือไม่ สุดแต่กรรมและวาสนา หรือที่เรียกว่า แล้วแต่พระพรหมลิขิตไว้ประจวบเหมาะอย่างไรนั่นเอง..."
    อย่างไรก็ดี เวลาเข้านอนของท่าน กลับไม่เป็นเวลาแน่นอนเสมอไป เว้นแต่อยู่ที่วัดของท่าน แต่ก็อีกนั่นแหละ หากมีผู้ไปเยี่ยมนมัสการ ท่านก็มักไม่ชอบจะหนีเข้านอนในเวลาราวสี่ทุ่มอันเป็นปกติ เพราะท่านชอบรับแขก และเกรงใจว่าเขาอุตส่าห์ไปหา ก็ควรต้อนรับคุยกันให้เขาได้รับสิ่งที่ต้องการสมปรารถนา จวบจนวัยย่าง 90 เป็นต้นมา ลูกศิษย์ลูกหาเกรงกันว่าสุขภาพของท่านจะร่วงโรยเกินไป จึงมักจะรู้ว่าไม่ควรรบกวนท่านเกินเวลากำหนดเข้าจำวัด
    ก่อนนอน หลวงพ่อจงมักชอบเล่นกับแมว อุ้มมันตบหัวลูบหลังมันอยู่ราวสิบนาที จากนั้นศิษย์ทุบน่องทุบหลังอีกราวสิบถึงสิบห้านาทีเป็นอย่างมากจึงนอนหลับไปเลย วิธีนอนของท่านก็แปลก ตอนแรกจะนอนแบบก้มหลังโก้งโค้งพร้อมด้วยมีผ้าคลุมตลอดองค์ เป็นเช่นนี้ตลอดไป แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง แต่ก็จะกลับมาอยู่ในลักษณะนี้ จนถึงเวลาตื่นราวตีสี่ จากนั้นก็กระทำกิจวัตร คือปัดกวาดทั่วตลอดวัดด้วยตนเอง เสร็จก็พอดีได้เวลาเคาะระฆัง เรียกเป็นสัญญาณทำวัตรสงฆ์ร่วมด้วยภิกษุลูกวัด อย่างนี้เป็นนิจ


    วิธีใช้พระเวทย์ปลุกเสกเตือนอาคม (กับ) นับถือบูชาพระในวิธีถูกต้อง
    บรรดาเรื่องราวเกี่ยวกับการแสดงออกซึ่งพลังพิสดารกลายเป็นคำเลื่องลือนับถือในอานุภาพนาประการ ของหลวงพ่อจงอย่างไรก็ตามที เมื่อมีบุคคลเชื่อ บุคคลผู้ปราศจากเชื่อก็คงต้องมีควบคู่กันไป ดุจมีดำต้องมีขาว
    ไม่มีปัญหา และจะวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างไรก็ปราศจากข้อพิสูจน์อำนาจลึกลับที่ (อาจ) มีขึ้นจริง ในเหล่าคนผู้ไม
    ่ศรัทธาก็ไม่เชื่อเป็นธรรมดา

    เมื่อราวปลายปีพ.ศ.2506 ได้มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นขึ้นว่า หลวงพ่อจงก็มีอายุ
    มากแล้ว เกิด แก่ เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมดาจะต้องมีมาสู่ท่านและขณะนั้นท่านก็มักมีกิจเป็นห่วง
    อย่างเดียว คือประสงค์จะสร้างเขื่อนกั้นน้ำบริเวณริมหน้าวัดหน้าต่างใน ด้านนอกของวัดหน้าต่างนอกของท่านกับบูรณปฏิสังขรณ์โบสถ์ที่เกือบใช้การไม่ได้ให้มี
    สภาพดีขึ้นจนใช้การได้ไปก่อน โดยมิใช่คิดสร้างใหม่เป็นเงินล้านอย่างเขาอื่น กับสร้างหอระฆังให้มีสภาพโอ่อ่าขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้บ้างบกพร่อง บ้างมิมีโอกาสสร้างไว้ก่อน ทั้งที่เป็นเรื่องภายในวัดของท่าน มัวแต่ใช้เวลาไปวุ่นวายช่วยธุรกิจของผู้อื่น

    และที่สำคัญที่สุดไม่กล้าและไม่พึงใจจะออกปากรบกวนชวนเชิญใครให้เขาทำบุญ เพราะถือว่าการทำบุญไม่ต้องเชิญชวน มันแล้วแต่จิตใจของผู้จะทำด้วยศรัทธาแค่ไหน โดยความนึกคิดของเขาเองเป็นสำคัญ จึงพากันเสมอข้อคิดเห็นว่า สมควรสร้างรูปเป็นรูปปั้นของท่านขึ้น และสร้างหนังสือประวัติของท่านขึ้น เขียนทุกสิ่งเกี่ยวกับท่านด้วยความเที่ยงธรรมและเป็นข้อเท็จจริง ทั้งสองสิ่งนี้สืบไปเบื้องหน้า หากใครเขานับถือเคารพมีศรัทธาตัวท่านจริงจังมิเสื่อมคลาย

    เขาก็จะได้หาไปไว้บูชาสักการะแทนตัวจริงของท่าน ซึ่งเงินรายได้เหล่านั้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่อาจรวบรวมสมทบเข้าเป็นกองทุนดำเนิน
    การสร้างสรรค์งานสามประการ เขื่อนกั้นน้ำ บูรณปฏิสังขรณ์โบสถ์สร้างหอระฆังให้สำเร็จบริบูรณ์ลุล่วง
    ผลตามปรารถนาของหลวงพ่อจงซึ่งท่านมีประสงค์ต้อง


    การกระทำอย่างแรงกล้าก่อนมรณภาพ และสิ่งนี้แม้ท่านมิได้แสดงเป็นห่วง...
    แต่แน่ละท่านไม่ชอบรบกวนใคร ท่านคงจะคิดถึงมันและมันอาจเป็นอารมณ์รบกวนท่านในเฮีอกท้าของ
    ลมปราณมรณะบ้างก็ได้ ฉะนั้นความสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้จนเป็นผลสำเร็จ แม้หลวงพ่อจงจะสถิตย์อยู่ในภพใด แม้นวิญญาณของท่านรับทราบถึงบรรดา เจตนาดีที่มีผู้ต่อท่านกระทำต่อท่านเพื่อท่านในปัจจุบัน อนาคต ทั้งที่ไม่มีท่านเป็นตัวตนอยู่ วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของท่านก็คงจะประสบปิติสุขเกษมสันต์สำราญอย่างอเนกอนันต์กาล
    เคยมีผู้ทำหนังสืออย่างย่อ ๆ แจกเป็นที่ระลึกในงานพิธีศพของท่านแต่ก็พิมพ์จำนวนจำกัดและแจกจ่ายไปหมดสิ้น ไม่พอกับจำนวนนับหมื่นแสนที่ต้องการทราบประวัติละเอียด และต้องการได้ไว้ เป็นเครื่องรำลึกบูชาคุณของท่านที่มีต่อสรรพสัตว์ไม่เลือกหน้า เพราะทุกคนยังรำลึกถึงพระเดชพระคุณของท่าน
    มิมีวันลืมเลือนโดยง่าย


    สำหรับรูปปั้น เคยมีศิลปินรับอาสาไปสร้าง เขาคือ ชาญ สารพุทธิ อาจารย์ศิลปชั้นเอกจากเพาะช่าง
    หลวงพ่อจง พอใจรูปปั้นนั้นมาก เพราะเคยมีผู้ปั้นไปให้ท่านดู ท่านดูไปดูมาแล้วหัวร่อ บอกว่าไม่เหมือนไม่รู้ใคร คนอื่นไม่รู้จักหรือแม้ที่รู้จัก ก็คงจะยิ่งฉงนกันมาก... แต่เมื่อเป็นรูป โดย ชาญ สารพุทธิปั้น ท่านบอกว่า นี่เอง... จึงจะเป็นอาตมาได้อย่างคล้ายคลึงพอดูได้...


    จากนั้น ท่านได้ทำพิธีปลุกเสกรูปปั้นของท่านแทบทุกเช้าค่ำเวลาทำวัตรในเมื่อมีโอกาสเวลา
    ไม่ต้องเดินทางไปที่อื่นใด และต่อมา ท่านได้ปลุกเสกเถ้าธูปเทียน ดอกไม้บูชาแห้ง และผมปลงของท่าน รวมส่งให้ศิลปินชาญ เพื่อใช้ผสมผงสร้างรูปปั้นอีกมาก หากใครผู้ใดมีรูปปั้นของท่านไว้บูชาและอาราธนาถูกวิธี จะบันดาลให้บังเกิดผลในอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มหาศาลเป็นอัศจรรย์ อาทิ
    เป็นมหาเมตตา มหานิยม มหาลาภ คงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด
    สะบัด "ปัด" อัคคี ป้องกันฟืนไฟรังควานและระงับดับจิต ตลอดจนความร้อนอกใจนานาประการปราศจากศัตรูผู้คิดบีฑาทำร้าย
    สำหรับพิธีบูชาหลวงพ่อจง คือ ใช้ธูปเจ็ดดอก เทียน และดอกไม้หอม กระทำบูชา อธิษฐานรำลึกถึงหลวงพ่อจง อาราธนาขอให้ท่านแผ่อิทธิบารมีปกป้องบังเกิดคุณตามเจตจำนง ซึ่งอธิษฐาน หมั่นทำเช่นนี้จะไม่ผิดหวัง มักได้ผลดีมาก


    บรรดาเครื่องรางของขลังของหลวงพ่อจงมีมากชนิด ท่านสร้างและปลุกเสกไว้เป็นจำนวนมาก แต่ก็มักหมดสิ้นไปโดยรวดเร็ว เพราะมีผู้แสวงหากันไว้มาก เพียงท่านเดินทางเข้ากรุงเทพฯ หรือ ต่างจังหวัดในเวลาวันสองวัน เครื่องรางของขลังซึ่งบรรดาศิษย์และผู้ติดตามเอาติดไปมัก
    ไม่ใคร่พอจ่ายแจกประชาชนทุกแห่ง เพราะพอรู้ว่าหลวงพ่อจงไปอยู่ที่ใด
    มักจะแห่กันเข้าหานมัสการอย่างคับคั่งเสมอไป
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" align=center border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD vAlign=top height=100>
    บารมีทางวิทยาคม



    หลวงพ่อเมี้ยน เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ ตำบลกบเจา อำเภอบางบาล จังหวัดอยุธยา (ได้มรณภาพไปแล้ว)
    ท่านได้ศึกษาวิชาการประสานกระดูกและการรักษา
    โรคภัยต่าง ๆ มาจากหลวงพ่อเมี้ยน วัดพระเชตุพน ฯ หรือ วัดโพธิ์
    ท่าเตียน จนสามารถใช้วิชานี้สงเคราะห์ผู้คนทั่วไปได้
    แต่เมื่อท่านได้ครองเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ กบเจา ก็มีความเลื่อมใสในวิชากัมมัฏฐาน
    ตามแนวทางของหลวงพ่อจง
    และเมื่อได้ศึกษาต่อไปจึงได้ทราบว่าหลวงพ่อจงนั้นมีฌานพิเศษที่
    สามารถล่วงรู้เหตุการณ์เบื้องหน้าได้ ก็เลยอยากลองเรียนวิชานี้ จึงได้ตัดสินใจที่จะไปลองสอบถามดู
    แต่การถามเหตุการณ์เบื้องหน้านั้นไม่มีอะไรที่จะพิสูจน์ได้แน่นอนเท่ากับการขอหวย เพราะการให้หวยนั้นจะเท็จจริงประการใดก็รู้กันได้ในไม่กี่วัน
    เมื่อตกลงใจดังนั้นในวันต่อมาหลวงพ่อเมี้ยนจึงได้เดินทางไปพบหลวงพ่อจงที่วัดหน้าต่างนอก
    เมื่อได้พบหลวงพ่อจง จึงได้เข้าไปนมัสการและสนทนาสอบถามท่านถึงเรื่องต่าง ๆ
    แล้วจึงวกเข้าสู่เรื่องที่ท่านต้องการทราบ​


    "หลวงพ่อเรื่องการให้หวยนั้นทำได้จริง ๆ หรือขอรับ" หลวงพ่อเมี้ยนถามขึ้น "จ้ะ เขามีจริง ๆ"หลวงพ่อจงตอบสั้น ๆ
    "ผมอยากจะขอลองดู"หลวงพ่อเมี้ยนกล่าวต่อ
    "จะลองดูก็ได้ รอเดี๋ยวนะ" หลวงพ่อจงตอบ แล้วท่านก็ลุกออกจาก
    อาสนะที่รับแขก เดินหายเข้าไปในกุฎิใหม่เพียงชั่วครู่
    แล้วก็เดินออกมาพร้อมกับกระดาษแผ่นเล็ก ๆ แผ่นหนึ่ง ท่านส่งกระดาษแผ่นนั้นให้กับหลวงพ่อเมี้ยน หลวงพ่อเมี้ยนรับกระดาษแผ่นนั้นไว้แล้วก็มิได้เปิดดูเพียงแต่ยัดลงไว้ในย่าม
    และอยู่คุยกับหลวงพ่อจงอีกสักครู่หนึ่งก็ลากลับ
    หลังจากที่หลวงพ่อเมี้ยนเอากระดาษแผ่นนั้นใส่ย่ามและเดินกลับวัดแล้วก็เหมือนกับมี
    อะไรมาดลใจให้ท่านมิได้นึกถึงกระดาษแผ่นนี้อีกเลย เมื่อกลับมาถึงวัดโพธิ์ กบเจา
    ท่านก็ได้แต่ทำกิจอื่น ๆ มิได้นึกถึงเรื่องราวที่ไปขอหวยหลวงพ่อจงมา
    จนกระทั่งเย็นวันหวยออก (ในสมัยนั้นหวยออกตอนเย็น) พอท่านได้ทราบว่าหวยออก


    เลขอะไรแล้วก็นึกขึ้นได้ว่าหลวงพ่อ
    จงได้ให้กระดาษมาแผ่นหนึ่งในวันที่ท่านไปขอหวย
    จึงไปค้นหากระดาษแผ่นนั้นในย่าม เมื่อพบและคลี่กระดาษนั้นออกดูก็ปรากฏว่า
    มีเลขสามตัวเขียนเรียงกันอยู่ และที่น่าประหลาดยิ่งนักก็คือเลขทั้งสามตัวนั้นตรง
    กับเลขท้ายรางวัลที่หนึ่งมิได้ผิดเพี้ยนแม้แต่น้อย
    เมื่อเป็นเช่นนั้นหลวงพ่อเมี้ยนก็แน่ใจว่าหลวงพ่อจงมีญาณพิเศษในการรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าอยู่จริง
    แต่ก็ยังอยากจะลองให้หายสงสัย ในวันรุ่งขึ้นจึงเดินทางไปหาหลวงพ่อจงแต่เช้า
    เพื่อจะทดลองท่านอีก เมื่อไปถึงหลวงพ่อจงก็ถามว่า
    "รวยไหม"


    "ไม่ได้แทงเลยขอรับเพราะพอได้ไปแล้วก็ลืม" หลวงพ่อเมี้ยนตอบ
    "จะขอใหม่ใช่ไหม" ท่านหยั่งรู้ใจหลวงพ่อเมี้ยนโดยที่หลวงพ่อเมี้ยนยังไม่ทันบอก
    "อยากลองใหม่ขอรับ" หลวงพ่อเมี้ยนตอบ
    "รอเดี๋ยว จะไปเอามาให้" หลวงพ่อจงตอบพร้อมกับลุกเข้าไปในกุฎิใหญ่เหมือนครั้งที่แล้ว เพียงชั่วครูก็
    ออกมาพร้อมกับกระดาษแผ่นหนึ่งและส่งให้หลวงพ่อเมี้ยน เมื่อหลวงพ่อเมี้ยนได้รับกระดาษแผ่นนั้นแล้วก็ขอลากลับ และนับตั้งแต่วันนั้นหลวงพ่อเมี้ยนก็มิได้ใส่ใจกับเรื่องกระดาษที่หลวงพ่อจงให้มาอีกเลย จนกระทั่งหวยออกไปแล้ว
    จึงนึกขึ้นได้ว่าหลวงพ่อจงให้กระดาษมาแผ่นหนึ่ง จึงไปค้นในย่ามก็พบกระดาษแผ่นนั้น


    พอเปิดออกมาดูหลวงพ่อเมี้ยนกลับมีความประหลาดใจยิ่งขึ้นกว่าครั้งก่อน
    เพราะครั้งนี้หลวงพ่อจงเขียนเลขมาให้สองแถว แถวแรกเป็นเลขสามตัว แถวที่สองเป็น
    เลขสองตัว และปรากฏว่าเลขสามตัวนั้นก็ตรงกับเลขท้ายรางวัลที่ 1 ส่วนเลขสองตัวของหวยงวดนั้นมิได้ผิด
    เพี้ยนเลย คือเลขรางวัลออกอย่างไร ตัวเลขที่หลวงพ่อจงให้มาก็เป็นอย่างนั้น
    เมื่อผลออกมาว่าหวยที่หลวงพ่อจงเขียนใส่กระดาษให้หลวงพ่อเมี้ยนมานั้น เป็นเลขที่ตรงกับเลขท้ายสาม
    ตัวของรางวัลที่ 1 และตรงกับรางวัลเลขท้ายสองตัว โดยมิได้ผิดเพี้ยน ทำให้หลวงพ่อเมี้ยนเชื่อแน่ว่า วิชาการให้หวยของหลวงพ่อจงนั้นเป็นของแท้จริงยิ่งนัก แต่ก็อยากจะลองอีกเป็นครั้งที่สามเพื่อให้แน่แก่ใจ
    ดังนั้นในตอนเช้ามืดของวันต่อมา หลวงพ่อเมี้ยนจึงได้เดินทางมาที่วัดหน้าต่างนอกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อมาถึงและได้พบหลวงพ่อจงแล้วนั้น ท่านก็ได้ถามหลวงพ่อเมี้ยนเหมือนครั้งก่อนว่า
    "รวยไหมล่ะ"


    "ไม่ได้แทงเลยขอรับเพราะลืมเสียสนิท" หลวงพ่อเมี้ยนตอบท่านไปอย่างนั้น
    แล้วก็พูดกับหลวงพ่อจงต่อไปว่า
    "อยากจะลองอีกครั้ง"
    "ได้จ้ะคราวนี้ยากหน่อยนะ"หลวงพ่อจงพูดกับหลวงพ่อเมี้ยนอย่างนั้น เมื่อพูดจบหลวงพ่อจงก็เดินหายเข้า
    ไปในกุฏิใหญ่เหมือนครั้งก่อน ๆ แต่คราวนี้ท่านหายเข้าไปในนั้นนานพอสมควร จึงได้ออกมาจากกุฏิใหญ่ แล้วก็บอกกับหลวงพ่อเมี้ยนว่า"หยิบเอาเองอยู่ที่นั่น" ท่านพูดพร้อมกับชี้มือไปที่ศีรษะของโครงกระดูกตาเอี่ยม


    ซึ่งแขวนติดอยู่กับฝากุฏิ หลวงพ่อเมี้ยนจึงเดิน
    ไปที่โครงกระดูกนั้น ก็เห็นกระดาษแผ่นเล็ก ๆ พับสอดไว้ตรงด้านหลังกะโหลกศีรษะ หลวงพ่อเมี้ยนหยิบกระดาษแผ่นนั้นออกมาแล้วก็เอาใส่ไว้ในย่าม
    โดยมิได้เปิดดูว่าในกระดาษแผ่นนั้นเขียนอะไรไว้บ้าง จากนั้นหลวงพ่อเมี้ยนได้อยู่คุยกับหลวงพ่อจงอีก
    ครู่หนึ่งจึงได้ลากลับเมื่อกลับไปถึงวัดโพธิ์ หลวงพ่อเมี้ยน
    ก็กระทำกิจต่าง ๆ ตามปกติ แล้วก็ลืมเรื่องราวที่ไปขอหวยมาจากหลวงพ่อ
    จงเสียสิ้น จนหลังจากวันหวยออกจึงนึกขึ้นได้ว่าหลวงพ่อให้กระดาษมาแผ่นหนึ่ง
    ซึ่งท่านได้เอาใส่ย่ามไว้ หลวงพ่อเมี้ยนได้รีบขึ้นไปบนกุฏิและค้นหากระดาษแผ่นนั้นในย่าม

    ซึ่งปรากฏว่ายังอยู่ในสภาพเดิมทุกประการหลวงพ่อเมี้ยนจึงรีบคลี่ออก
    ดูก็พบว่าในกระดาษแผ่นนั้นมีลายมือของหลวงพ่อจงเขียนตัวเลขเรียงกันไว้หกตัว และสิ่งที่ทำให้หลวงพ่อ
    เมี้ยนบังเกิดความศรัทธาในหลวงพ่อจงทวีคูณก็คือ ตัวเลขทั้งหกตัวในกระดาษแผ่นนั้น ตรงกับเลขสลากรางวัลที่ 1 ในงวดนั้นทุกตัวเรียบกันไปตั้งแต่่ต้นจนตัวสุดท้าย (สมัยนั้นสลากกินแบ่งรัฐบาลก็มีเลขหกตัว)
    สิ่งที่ประจักษ์อยู่กับตาในเวลานั้น ทำให้หลวงพ่อเมี้ยนเชื่อมั่นยิ่งนัก ว่าวิชาการให้หวยหรือการล่วงรู้
    เหตุการณ์ภายหน้าของหลวงพ่อจงนั้นล้ำเลิศนัก เพราะท่านได้เห็นแจ้งมากับตาถึงสามครั้งสามหน ครั้นวันรุ่งขึ้นหลวงพ่อเมี้ยนจึงเดินทางไปที่วัดหน้าต่างนอกอีกครั้งหนึ่ง
    หลวงพ่อจงท่านก็ถามขึ้นเหมือนดั่งรู้ความในใจของหลวงพ่อเมี้ยนว่า
    "อยากจะลองเรียนดูหรือ"


    "ขอรับ"หลวงพ่อเมี้ยนตอบรับ แต่ในใจนึกก็เกิดความปิติที่หลวงพ่อจงได้ล่วงรู้ความตั้งใจที่ท่านเองมิได้บอกกล่าว
    "รอเย็นๆ นะ" หลวงพ่อจงพูด เพราะขณะนั้นมีผู้คนอีกมากมายที่รอพบท่านอยู่
    เมื่อหลวงพ่อจงว่างจากการรับแขก ในตอนพลบค่ำ หลวงพ่อเมี้ยนจึงได้เข้าพบ หลวงพ่อจงได้พาหลวงพ่อ
    เมี้ยนเข้าไปในกุฏิใหญ่ แล้วให้หลวงพ่อเมี้ยนนั่งลงตรงหน้าโครงกระดูกตาเอี่ยม ณ ที่นั้นเองหลวงพ่อจง
    ก็เริ่มสอนให้หลวงพ่อเมี้ยนเรียนวิชาให้หวยหรือการล่วงรู้เหตุการณ์เบื้องหน้า

    หลวงพ่อจงเริ่มสอนด้วยการให้หลวงพ่อเมี้ยนนั่งสมาธิ
    นำจิตเข้าอสุภกัมมัฏฐาน เพ่งจิตเข้าสู่โครงกระดูกตาเอี่ยมแล้วภาวนา "อะระหัง" ทุกลมหายใจเข้าออก
    เมื่อหลวงพ่อเมี้ยนนั่งกัมมัฏฐานได้สักครู่หนึ่งหลวงพ่อจงก็ถามว่า
    "ติดตาไหม"
    "ไม่ติดขอรับ" หลวงพ่อเมี้ยนตอบ
    "งั้นลองใหม่"หลวงพ่อจงพูดต่อไป เมื่อหลวงพ่อเมี้ยนเข้ากัมมัฏฐานสักครู่หนึ่ง หลวงพ่อจงก็ถามอีกว่า
    "ติดตาหรือยัง"
    "ยังขอรับ" หลวงพ่อเมี้ยนตอบ
    "งั้นตามมานี่" หลวงพ่อจงบอกให้หลวงพ่อเมี้ยนลุกออกมาจากหน้าโครงกระดูกตาเอี่ยม เดินตาม่านเข้าไปยังหน้า
    พระพุทธรูปซึ่งตั้งประดิษฐานอยู่ในกุฏิใหญ่ แล้วก็ให้หลวงพ่อเมี้ยนนั่งเข้ากัมมัฏฐานที่หน้าพระพุทธรูปนั้น
    เมื่อหลวงพ่อเมี้ยนเข้ากัมมัฏฐานได้สักครู่หนึ่ง หลวงพ่อจงก็ถามว่า "คราวนี้ติดตาไหม"
    "ติดตาแล้วขอรับ" หลวงพ่อเมี้ยนตอบ
    "งั้นเริ่มต้นใหม่นะ" หลวงพ่อจงบอกต่อไป "เมื่อติดตาแล้วก็ทำจิตให้สูงขึ้น เหมือนกับเราขึ้นไปอยู่บนยอดไม้
    ย่อมมองเห็นโคนต้นไม้นั่นแหละ"


    นับตั้งแต่ที่หลวงพ่อจงพูดว่า "ทำจิตให้สูงขึ้น เหมือนกับที่เราขึ้นไปอยู่บนยอดไม้ย่อมมองเห็นโคนต้นไม้นั้น
    " หลวงพ่อเมี้ยนก็เริ่มฝึกปฏิบัติต่อไป จนกระทั่งนิมิตเห็นตัวเลขลอยขึ้นทีละตัว ๆ จนกระทั่งครบหกตัว
    แล้วตัวเลขทั้งหกนั้นจากเดิมที่เป็นสีขาวก็จะกลับกลายเป็นสีทองสุกสกาว ในขณะนั้นเองหลวงพ่อจงก็ถามว่า
    "เห็นแล้วใช่ไหม"
    "เห็นแล้วขอรับ" หลวงพ่อเมี้ยนตอบ
    "นั่นแหละเป็นของที่เราเห็นได้ แต่มันเป็นกิเลสเป็นลาภจร ไม่ควรนำไปบอกใคร
    "หลวงพ่อจงสอนเป็นอนุสติ "ขอรับ"หลวงพ่อเมี้ยนรับคำ
    พอรุ่งเช้า หลวงพ่อเมี้ยนก็เข้าไปลาหลวงพ่อจงแต่เช้าตรู่ เมื่อตอนที่ลานั้นหลวงพ่อจงก็สั่งกำชับอีกว่า
    "พูดไม่รู้รู้ไม่พูด"


    เมื่อกลับไปถึงวัดโพธิ์ กบเจา แล้ว หลวงพ่อเมี้ยนก็ฝึกปฏิบัติตลอดมา จนกระทั่งจิตเข้าสมาธิได้รวดเร็ว เห็นตัวเลขได้ในเวลาไม่นานนักและปรากฏว่าตัวเลขที่เห็นนั้นตรงกับเลขรางวัลที่ 1 ทุกครั้ง
    หลวงพ่อจงนั้นท่านมีอุบายในการทดสอบจิตใจคนแยบยลนัก ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อบอกตัวเลขให้ทีไร
    พอหวยออกแล้วก็ต้องถามทุกทีไปว่า "รวยไหม" เป็นอย่างนี้ทุกครั้ง และท่านยังได้ทดสอบคนเป็นขั้นเป็นตอน คือครั้งแรกให้ไปเพียงสามตัวก่อน


    ซึ่งเป็นเลขที่ตรงกับเลขท้ายรางวัลที่ 1 พอหลวงพ่อเมี้ยนสงบจิตใจได้ไม่เกิดความโลภ มิได้นำเลขนั้นไปแทงหวย ท่านก็ให้ครั้งที่สองซึ่งเป็นเลขท้ายรางวัลที่ 1 และเลขท้ายสองตัว ซึ่งถ้านำไปแทงหวยก็จะได้เงินมากขึ้น
    แต่เมื่อให้ไปสองครั้งแล้วหลวงพ่อเมี้ยนก็ยังไม่บังเกิดความโลภในจิต ท่านจึงได้ให้ครั้งที่สาม ซึ่งเป็นเลขรางวัลที่ 1 ถ้านำไปแทงถูกก็จะได้รางวัลเป็นเงินหลายแสนบาท (ในสมัยนั้น) ซึ่งหลวงพ่อเมี้ยนก็ผ่านการทดสอบจิตใจที่เกี่ยวกับความอยากหรือกิเลสไปได้ ถ้าหากในครั้งนั้นหลวงพ่อเมี้ยน
    ได้ตัวเลขแล้วเอาไปแทงหวย หลวงพ่อจงก็คงไม่บอกในครั้งต่อ ๆ มา และในครั้งที่สามหรือครั้งสุดท้ายนั้น
    หลวงพ่อจงได้บอกว่า "คราวนี้ยากหน่อยนะ" แล้วเอากระดาษไปสอดไว้ที่โครงกระดูกตาเอี่ยม และให้หลวงพ่อเมี้ยน
    ไปหยิบเอา ท่านก็คงจะหมายเอาว่า หลวงพ่อเมี้ยนมีจิตใจที่เข็มแข็งพอที่จะเรียนวิชาแขนงนี้ได้หรือไม่
    เพราะการฝึกฝนวิชานี้ต้องเริ่มต้นที่การพิจารณาโครงกระดูกก่อน เมื่อหลวงพ่อเมี้ยนผ่านการทดสอบจิตใจ
    ในเบื้องต้นแล้วจึงได้รับการสอนวิชาการให้หวยหรือการล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า


    เรื่องราวเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ของวัตถุมงคลของหลวงพ่อจง


    ได้เกิดประสบการณ์ให้เห็นเมื่อคราวที่เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่ตลาด
    บ้านแพน อำเภอเสนาในคืนวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2529
    หลังจากยามท้องถิ่นของตลาดบ้านแพนเคาะแผ่นเหล็ก
    บอกเวลา 24.00น.ผ่านไปเพียงชั่วครู่เดียวก็มีเสียงตะโกนขึ้นจาก
    ผู้คนที่มีบ้านเรือนอยู่ในซองบางปูว่า"ไฟไหม้ๆๆ"จากเสียงตะโกน


    นั้นเองได้สร้างความโกลาหลขึ้นโดยทั่วไป
    ในขณะเดียวกันที่เปลวไฟลุกขึ้นอย่างโชติช่วงนั้น เสียงปะทุจากเชื้อเพลิงก็ดังเปรี๊ยะ ๆ ติดต่อกันมิได้ขาดระยะ เพราะย่านนั้นเป็นเรือนไม้เก่า ๆ ย่อมเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี กว่าจะสกัดให้เปลวไฟสงบลงได้ก็เมื่อเวลาใกล้ฟ้าสางแล้ว จากการสำรวจความเสียหายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ปรากฏว่า
    มีบ้านเรือนเสียหายทั้งสิ้น 46 หลัง ค่าเสียหายประมาณ 50 ล้านบาท
    ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียจากไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่สุดของตลาดบ้านแพน
    เมื่อทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่ามีบ้านเรือนจำนวนหนึ่งรอดพ้นจากความ
    พินาศไปได้ ทั้ง ๆ ที่บ้านเหล่านั้นอยู่ติดกับบ้านหลังอื่น ๆ ที่ถูกไฟเผาผลาญไปหมดแล้ว
    คุณแก้ว ขมคิ้ว เจ้าของร้านขายของชำและอาหารกระป๋องที่ชื่อร้าน "แก้ว"


    ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ก. 437/2 ตรงข้ามตลาดสดเทศบาลเมืองเสนา ในบ้านของคุณแก้วนอกจากจะมีภาพแววหาง
    กระยางของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์แล้ว คุณแก้วยังเป็นผู้ที่มีความศรัทธาเชื่อมั่นในหลวงพ่อจงยิ่งนัก ดังจะเห็นได้จากการที่คุณแก้วห้อยเหรียญหลวงพ่อจงรุ่นหยดน้ำเนื้อเงินลงถม
    อยู่ที่คอเป็นประจำเพียงเหรียญเดียว ทั้ง ๆ ที่คุณแก้วก็เป็นนักนิยมพระ และมีพระเครื่องอื่น ๆ จำนวนไม่น้อย
    แต่คุณแก้วก็ห้อยเหรียญหลวงพ่อจงเพียงเหรียญเดียว
    "เหรียญหลวงพ่อจงนั้นเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดดีนักห้อยเพียงเหรียญเดียวก็พอ" และความเชื่อในเรื่องนี้ก็ปรากฏเป็นจริงขึ้นเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ครั้งนี้ ดังรายละเอียดที่คุณแก้ว


    ได้เล่าให้ฟัง คือ...หลังจากที่คุณแก้วเข้านอนได้สักพักใหญ่ ๆ ก็ต้องตกใจตื่นเมื่อได้ยินเสียงเอะอะอึกทึกที่ข้างบ้านพร้อมกับมีเสียงตะโกนว่า
    "ไฟไหม้ ๆๆ" คุณแก้วจึงรีบถลันออกไปดูที่หน้าต่างด้านหลังบ้าน ก็ได้เห็นเปลวไฟกำลังลุกฮือขึ้นที่บ้าน
    ไม้หลังหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับด้านหลังบ้าน เมื่อเห็นภัยกำลังจะมาถึงตัว คุณแก้วจึงรีบเก็บข้าวของสำคัญที่มีค่า
    เพื่อหนีไฟเสียก่อนด้วยอารามตกใจภรรยาของคุณแก้วจึงหยิบโน่นคว้านี่ที่เป็นของจำเป็นและมีค่าพอที่
    จะหยิบฉวยได้ใส่ห่อผ้าเพื่อจำได้นำติดตัวหนีไฟไปด้วย ส่วนคุณแก้วนั้นก็ย้อนกลับไป
    ดูทิศทางของไฟอีกครั้งหนึ่ง ก็พบว่าในช่วงเวลา 2 - 3 นาทีนั่นเอง บ้านไม้หลังที่เป็นต้นเพลิงก็ถูกไฟไหม้จนท่วมหลังคา คุณแก้วคิดว่าคราวนี้บ้านของเขาคง
    ไม่อาจพ้นภัยได้แน่ จึงย้อนกลับเข้าไปในห้องช่วยภรรยาเก็บข้าว


    ของต่าง ๆ ที่พอจะหยิบฉวยได้ทันใส่ห่อผ้า เพื่อรีบพากันหนีไฟออกจากบ้าน แต่ด้วย
    สัญชาตญาณของคนไทย เมื่อมีภัยถึงตัวก็ย่อมจะต้องระลึกถึงคุณพระคุณเจ้าเป็นที่พึ่ง คุณแก้วจึงหันหน้ากลับไปยังห้องนอนพร้อมกับยกมือขึ้นพนมรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันมีหลวงพ่อจงและหลวงพ่อปานเป็นที่สุด ตลอดจนบุพการีทั้งหลายที่ได้ล่วงลับไปแล้ว
    ขอให้คุ้มครองตนเองและครอบครัว พร้อมทั้งทรัพย์สินให้พ้นจากภัยพิบัติครั้งนี้ด้วยเถิด เมื่อได้รำลึกถึงคุณพระคุณเจ้าเสร็จแล้ว คุณแก้วและภรรยาจึงรีบลงมาจากห้องนอนซึ่งอยู่ชั้นบน ขณะนั้นเองเปลวไฟก็ลามเลียเข้ามาทางหน้า


    ต่างชั้นบนด้านหลังบ้าน ความรุนแรงของไฟลุกลามมาถึงบันไดที่จะลงสู่ชั้นล่าง ทั้งคุณแก้วและภรรยาจึงรีบวิ่งฝ่าเปลวไฟลงสู่ชั้นล่าง พอลงมาถึงชั้นล่างได้ คุณแก้วจึงรีบเปิดประตูเหล็กหน้าร้านให้ภรรยาซึ่งถือห่อของมีค่าอยู่หลบออกไปก่อนเพื่อนำสิ่งของ
    เหล่านั้นไปฝากบ้านญาติ ส่วนคุณแก้วก็ตามออกมาภายหลัง ในช่วงเวลาอันฉุกละหุกนั้นเองทั้งคุณแก้วและภรรยาก็มิได้คำนึงถึงทรัพย์สินและสินค้าที่อยู่ในร้านปล่อย
    ให้เป็นไปตามยถากรรม ขอเพียงแต่ตนเองรอดชีวิตออกไปได้ก็พอแล้ว เมื่อทั้งคู่ออกมาพ้นบ้านแล้ว คุณแก้วก็จัดการปิดประตูเหล็กทันที เพื่อป้องกัน


    บรรดานักฉวยโอกาสทั้งหลาย ในขณะที่ปิดประตูเหล็กลงนั้น คุณแก้วก็ได้พบว่ามีกระแสลมโชยมาเป็นระลอกใหญ่ กระแสลมนั้นพัดมาจากทางด้านหลังของคุณแก้ว และความแรงของลมได้พัดพาเอากระแสเปลวไฟย้อนกลับ
    ไปยังทิศทางตรงข้าม เหตุการณ์ดังว่านั้นคุณแก้วก็ยังมิได้สนใจมากนัก เร่งให้ภรรยารีบหนีไปก่อน ส่วนตนเองจะได้คอยดูแลร้านและช่วยเหลือกันดับไฟเท่าที่จะทำได้จากนั้นคุณแก้วก็ไปช่วยเขาถือสาย
    ดับเพลิงจากรถดับเพลิงของเทศบาลที่จอดอยู่ในบริเวณนั้น ในขณะที่ช่วยเขาดับเพลิงอยู่นั้น คุณแก้วก็ได้สังเกตเห็นว่ารังสีของเปลวไฟได้ผ่านพ้นบ้านตนเองไปแล้ว จึงได้แต่ช่วยกันดับไฟอยู่จนกระทั่งไฟสงบเอาเมื่อตอนใกล้สาง


    หลังจากนั้นคุณแก้วก็เข้าไปสำรวจความเสียหายในบ้านของตนเอง ก็ปรากฎว่าฝาบ้านด้านข้างถูกไฟลามเลีย
    จนดำไปหมด ส่วนด้านหลังบ้านซึ่งอยู่ติดกับบ้านต้นเพลิงถูกเปลวไฟเผาเสียหายเล็กน้อย ทั้งทรัพย์สินและสินค้ามิได้เสียหายเลย ทุกอย่างยังอยู่ในสภาพเดิม แม้แต่น้ำจากท่อดับเพลิงก็มิได้เข้ามาทำให้สิ่งใดในบ้านเปียกชื้นเลย


    ครั้งเมื่อทุกอย่างคงอยู่ในสภาพเดิมคุณแก้วก็นึกขึ้นได้ว่าก่อนนอนได้ถอดสร้อยคอทองคำซึ่งห้อยเหรียญหลวง
    พ่อจงรุ่นหยดน้ำเนื้อเงินลงถมวางไว้ที่หัวนอน แต่ในขณะนั้นไม่มีเสียแล้ว ทำให้เกิดใจเสียขึ้นมาทันที เพราะเป็นวัตถุมงคลเพียงอย่างเดียวที่ตนเองห้อยติดตัวเป็นประจำยังไม่รู้ว่าถูกผู้คนหยิบฉวยหรือตกหายในระหว่างฉุกละหุกเสียที่ไหน
    จึงได้แต่อธิษฐานในว่า

    "ถ้าบารมีของหลวงพ่อจงคุ้มครองลูกอยู่ก็ขออย่าให้ของนั้นสูญหายไปไหน
    จงได้คุ้มครองลูกตลอดไปด้วยเถิด"
    เมื่อคุณแก้วได้พบกับภรรยาหลังจากที่ทุกอย่างสงบลงแล้วจึงสอบถามเรื่องสร้อยคอ
    ที่แขวนเหรียญหลวงพ่อจงอยู่ซึ่งภรรยาของคุณแก้วก็ไม่สามารถ
    ให้คำตอบที่กระจ่างได้ เพราะความสับสนในคืนนั้น จนกระทั่งในเวลาต่อมา
    คุณแก้วและภรรยาก็ช่วยกันจัดข้าวของต่าง ๆ
    ที่กระจัดกระจายอยู่ให้เข้าที่ และเมื่อแก้ห่อผ้าที่ห่อข้าวของต่าง ๆ หนีไฟนั้นออก ก็ได้พบสร้อยคอเส้นนั้น
    ซุกอยู่ในหอผ้านั้นเอง ทำให้คุณแก้วมีความปีติเป็นอย่างยิ่ง



    </TD></TR><TR><TD><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>ไฟล์แนบ</LEGEND><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=5 align=center bgColor=#ffffff border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]
    พระเครื่อง1.jpg
    (12.34 KB 0 )</TD><TD>[​IMG]
    พระเครื่อง 2.jpg
    (19.25 KB 4 )</TD><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></FIELDSET>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงพ่อจงมรณะภาพ

    เมื่ออรุณทอแสงจับขอบฟ้าวันที่ 24 มกราคม 2508 ทุกคนผู้เป็นศิษย์ใครบ้างจะรู้ว่า วันนี้แล้วสัญญาณแห่งความวิปโยคจะเริ่มขึ้น ตอนสายมีข่าวว่าหลวงพ่ออาพาธด้วยโรคอัมพาตหมดความรู้สึกทางซีกขวาไปแถบหนึ่ง ได้แพร่สะพัดไปสู่บรรดาศิษย์ทั้งหลายและแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วปานกระแสลมกล้า ตอนสายวันนั้นที่กุฎีหลวงพ่อคราคร่ำไปด้วยผู้มาเยี่ยมอาการอาพาธของหลวงพ่อ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตสาเหตุของการอาพาธครั้งนี้มีอยู่ว่า
    เมื่อเวลาประมาณ 06.00 น. เช้าวันที่ 24 มกราคม หลวงพ่อเข้าสุขาตามเวลาปกติ ขณะเสร็จกิจแล้วท่านลุกขึ้นมากุฎีไม่ได้ เพราะซีกกายข้างขวาของท่านหมดความรู้สึก นายขัน และพระเพ็ง ขนติโก ผู้ปฏิบัติหลวงพ่อเห็นว่า ท่านสุขานานเกินควร

    จึงตามเข้าไปเปิดประตูสุขาพบว่าหลวงพ่อกำลังพยายามจะทรงกายลุกขึ้น จึงช่วยพยุงท่านมายังเตียงนอน สังเกตเห็นว่าปากข้างขวาของท่านเบี้ยวผิดปกติ ได้ยินเสียงหลวงพ่ออุทานว่า
    "เขาเอาเราแน่ละคราวนี้เขายึดเราหมดแล้ว"


    เสมือนหนึ่งหลวงพ่อทราบว่า กายนครของท่านจะต้องประสบภาวะขั้นสุดยอดของกฏธรรมดาในอนาคตอันใกล้นี้ ปัจฉิมอุทานของหลวงพ่อคราวนี้ ทำให้ทุกคนใจหายวาบหนักใจในอาพาธของหลวงพ่อเป็นอย่างยิ่ง เพราะแต่ไหนแต่ไรมาหลวงพ่อไม่เคยอุทานเช่นนี้เลย ทุกคนซ่อนความทุกข์ใจไว้ภายใน เฝ้าปรนนิบัติพยาบาลท่านเป็นอย่างดี ระยะ 7 วันแรก หลวงพ่อพูดได้เกือบปกติ ฟังชัด เมื่อล่วง 7 วันแล้วเสียงของท่านเริ่มน้อยลง แหบเครือลงโดยลำดับ เพราะความชราแห่งสังขารอันเก่าแก่ยาวนานถึง 99 ปี ประกอบกับฉันอาหารได้น้อยด้วย


    ต่อมาคณะศิษย์มีหลวงพ่อนิลเป็นประธาน ได้พร้อมใจกันมอบให้นายแพทย์สถานีอนามัยชั้นหนึ่งวัดโพธิ อำเภอบางบาล ร่วมด้วย นายประทิน อัมพานนท์ สถานีอนามัยพระขาว เป็นผู้ถวายการรักษาท่าน ในระยะนี้อาการของท่านทรงอยู่และดีขึ้นเล็กน้อย ด้วยความเอาใจใส่และความสามารถของแพทย์ ทุกคนภาวนาว่าแม้หลวงพ่อจะไม่หายขาดก็ขอให้พอทุเลาพอนั่งได้ก็ยังดี เพราะโรคนี้ใคร ๆ ก็รู้ว่า เป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ยาก


    วันแล้ววันเล่าผ่านไป อาการของหลวงพ่อเริ่มทรุดลง พูดไม่ได้ยินเสียง หายใจไม่สะดวก มีเสมหะมาก สังเกตว่าหลวงพ่อมีทุกขเวทนาอย่างหนัก แต่เสียงครวญครางอย่างสามัญชนมิได้มีรอดจากปากให้ใครได้ยินเลย เมื่อท่านเจ็บปวดก็เป็นเพียงแสดงอาการส่ายหน้าไปมาให้เป็นที่สังเกตว่าท่านไม่สบายเท่านั้น หลวงพ่อมีใจแท้อยู่เหนือเวทนาทั้งปวง ไม่หวั่นไหว ใช้อธิวาสขันตีที่ท่านมีอยู่เป็นปกตินิสัย ข่มความทุกข์ทรมานอันเกิดจากอาพาธกล้าได้อย่างน่าสรรเสริญยิ่ง
    หลวงพ่อใช้ธรรมโอสถรักษาใจของท่านเองให้มั่นคงแจ่มใส ในยามที่ร่างกายเจ็บไข้ ได้นิมนต์พระมหาแสวง ฐิติสมฺปนฺโน ป.ธ. 5 วัดสันติการาม มาสวดสาธยาย ทวัตติงสาการ โพชฌงคปริตร อุณหิสวิชัย คาถาพระพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ อยู่เป็นนิจ แสดงว่า อาพาธนั้นจะชนะท่านได้ก็เพียงภายนอกเท่านั้น แต่ภายในอาพาธจะกล้ำกลายท่านไม่ได้เลย


    ระยะที่หลวงพ่ออาพาธหนัก บรรดาศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือทั้งใกล้และไกลไปมาเยี่ยมเยือน สดับตรับฟังอาการอยู่ทุกวันอย่างแน่นขนัดทุกคนมีใจตรงกันอยู่จุดเดียว คือ สนองพระคุณหลวงพ่อให้สมกับที่ท่านได้บำเพ็ญประโยชน์เป็นบุรพการีแก่ทุกคนมานานแสนนาน บางท่านแนะนำให้นำพาหลวงพ่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลสงฆ์บ้าง โรงพยาบาลอื่น ๆ บ้าง บรรดาศิษย์ขอขอบพระคุณในความปรารถนาดีของท่านเหล่านั้น แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะเสียงส่วนใหญ่เห็นว่า หลวงพ่อชราภาพมากแล้วและอาการอาพาธก็หนัก ถ้าพาท่านเดินทางไปอาจเป็นการกระทบกระเทือนบอบช้ำ จนเป็นเหตุให้ท่านถึงมรณภาพเสียกลางทางก็อาจเป็นได้

    จึงตกลงกันว่าขอให้หลวงพ่อได้หลับตาจากไปในท่ามกลางการสนองพระคุณของญาติและศิษย์ บนสยนาสนะที่หลวงพ่อเคยอาศัย ในท่ามกลางสถานวิเวกอันน่าอภิรมย์ด้วยดวงจิตอันสงบเถิด
    แล้ววาระแห่งความโศกสลดก็มาถึง วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2508 ค่ำลงแล้ว ดวงจันทร์ใกล้วันมาฆะปุรณมีทอแสงจ้าแจ่มใส คล้ายเป็นประทีปส่องทางให้ท่านได้เดินทางไกลไปสู่สุคติภพอันสงบ ตอนหัวค่ำดูเหมือนหลวงพ่อจะมีอาการทุเลากว่าเวลาอื่นที่ผ่านมา ไม่มีวี่แววว่าอาการจะทรุดหนักลงเลย บรรดาผู้ที่นั่งเฝ้าอาการอยู่ดูอุ่นใจขึ้น ถวายยาประจำตามปกติแล้ว ก็ผลัดเปลี่ยนกันเข้าประคองท่าน พัดวีถวายเท่าที่สามารถจะทำได้ แม้ว่าหลวงพ่อจะผ่ายผอมจนผิดตา แต่ก็มีรัศมีอิ่มเอิบใบหน้ายิ้มแย้ม แสดงถึงความเมตตาอยู่เป็นนิจ

    เวลาล่วงไป เสียงนาฬิกาบอกเวลาเที่ยงคืน พระจันทร์โคจรขึ้นสู่วันใหม่ ดิถีแห่งวันมาฆปุรณมี วันจาตุรงคสันนิบาตแห่งพระพุทธศาสนาเริ่มขึ้นแล้ว หลวงพ่อหลับตานิ่งสนิท นาน ๆ จึงจะหายใจยาวสักครั้งเงียบสงัด ทุกคนเฝ้าอาการอยู่ด้วยหัวใจอันหดหู่ แสนห่วง ไม่มีใครปริปากหนึ่งนาฬิกาผ่านไป หลวงพ่อสงบไม่ไหวติง จับชีพจรดูยังเต้นอยู่แต่ช้าและลึกลงทุกขณะ เมื่อเข็มนาฬิกาบอกเวลา 01.55 น. ของวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2508

    หลวงพ่อก็จากพวกเราไปด้วยอาการอันสงบ ปราศจากอาการกระวนกระวายโดยสิ้นเชิง ท่ามกลางความโศกเศร้าอาดูร พิลาปรำพันของญาติและศิษย์ทั้งหลาย สิริประมวลอายุได้ 93 ปี 10 เดือน กับ 17 วัน ครองสมณเพศมาโดยตลอด 72 พรรษานับแต่เริ่มอาพาธมาจนถึงวาระสุดท้ายรวม 24 วัน

    หลวงพ่อถึงมรณภาพในวันมาฆะปุรณมี มาฆฤกษ์ วันจาตุรงคสันนิบาตแห่งพระพุทธศาสนา เป็นสัญลักษณ์ว่า หลวงพ่อจากไปดีแล้ว ไปประเสริฐแล้ว ขอให้ดวงวิญญาณอันเปี่ยมไปด้วยความดีงาม สงบบริสุทธิ์ด้วยสีลาทิคุรในพระพุทธศาสนายาวนานถึง 72 พรรษาของหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูงสุด จงไปสู่สัคคาลัย ได้สถิติอยู่ด้วยปรมสันติสุขในวิสุทธิวิมานเถิด
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" align=center border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD vAlign=top height=100>
    [​IMG]


    หลวงพ่อสุ่นพระอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งวัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระผู้เป็นพระอาจารย์สองพระเกจิ อาจารย์ชื่อดังคือ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค และหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ทั้งสองพระเกจิอาจารย์จัดว่าเป็นสุดยอดพระอาจารย์ดังของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเลยทีเดียว หลวงพ่อสุ่นถึงแม้ชื่อเสียงท่านจะไม่โด่งดังเท่ากับศิษย์รักทั้ง 2 รูปที่กล่าวมานั้น

    แต่ในตัวหลวงพ่อเองจัดว่าเป็นพระอาจารย์ที่สำเร็จกรรมฐาน เป็นพระหมอยาที่มีชื่อเสียงมาก เมื่อครั้งที่ท่านมีชีวิตอยู่ ชาวอำเภอเสนา อำเภอบางบาล บางไทร และใกล้เคียงต่างก็เคารพรักศรัทธาในตัวท่านมาก
    ประวัติหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอนั้น แทบจะหารายละเอียดไม่ได้เลย ทั้งนี้เพราะว่าสมัยท่านไม่มีใครบันทึกเรื่องราวเอาไว้ และผู้ที่พอจะรู้เรื่องของหลวงพ่อบ้างต่างก็เสียชีวิตกันหมดแล้ว จึงเป็นที่น่าเสียดายมากสำหรับชีวประวัติ เรื่องราวของพระอาจารย์ดังที่เก่งในด้านวิชาอาคมต่างๆ ไม่มีการเล่าขานให้กระจ่างชัดเท่าที่ควร​

    หลวงพ่อสุ่น เป็นสมภารปกครองวัดบางปลาหมออยู่นานพอสมควร อันว่าวัดบางปลาหมอนั้น ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยทางด้านทิศเหนือ อยู่ในท้องที่หมู่ 6 ตำบลน้ำเต้า อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ห่างจากที่ว่าการอำเภอบางบาลประมาณ 15 กิโลเมตร ใกล้กับค่ายสีกุกหรือวัดสีกุก ซึ่งครั้งหนึ่งในสมัยที่กรุงศรีอยุธยายังทำศึกกับพม่า พระเจ้าหงสาวดีได้แบ่งกำลังส่วนหนึ่งยกเข้ามาตั้งค่ายที่สีกุก เพื่อล้อมกรุงศรีอยุธยาเอาไว้แล้วเข้าโจมตีภายหลัง​

    เขตวัดบางปลาหมอขึ้นอยู่กับอำเภอบางบาล เป็นเขตแดนติดต่อกับตำบลบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดบางปลาหมอในอดีตเคยเป็นวัดที่รุ่งเรืองมาก่อน เพราะหลวงพ่อสุ่นท่านเป็นพระแก่กล้าทางวิทยาคมกอปรด้วยความเมตตา ท่านยังเป็นพระหมอช่วยผู้ที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยให้พ้นทุกข์เวทนา อีกทั้งท่านยังเป็นพระนักพัฒนาทำนุบำรุงเสนาสนะหมู่กุฏิสงฆ์ให้เจริญรุ่งเรืองทางถาวรวัตถุอีกด้วย เหตุนี้จึงมีผู้ให้ความเคารพนับถือท่านมาก นัยว่ามีเจ้านายจากกรุงเทพฯ เคยมาพักที่วัดให้ท่านรักษาโรคด้วย
    วัดบางปลาหมอสร้างขึ้นเมื่อใดใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฏหลักฐาน

    สันนิษฐานว่าคงสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนที่ได้ชื่อว่า “วัดบางปลาหมอ” นั้น สมัยก่อนมักนิยมเรียกขานชื่อหมู่บ้านตามภูมิประเทศ และสิ่งแวดล้อมละแวกนั้น ที่หมู่บ้านบางปลาหมอเป็นพื้นที่ลาดลุ่มน้ำท่วมถึง เข้าใจว่าคงจะมีปลาหมอมากกว่าปลาชนิดอื่นๆ ชาว- บ้านจึงเรียกชื่อสภาพแวดล้อมตามที่เป็นอยู่ว่า “บ้านบางปลาหมอ”

    มีผู้ใหญ่เล่าสืบต่อกันมาว่า “มีชาวบ้านบางปลาหมอทูลเกล้าฯ ถวายต้มปลาหมอแก่ในหลวงฯ” แต่ไม่ทราบว่ารัชกาลใด เมื่อมีการสร้างวัดขึ้นมา จึงใช้ชื่อตามหมู่บ้านเรียกขานกันว่า “วัดบางปลาหมอ” สภาพของวัดเริ่มแรกเข้าใจว่าพอจะเป็นที่บำเพ็ญกุศลในทางศาสนาได้เท่านั้น แล้วมาต่อเติมภายหลังจนเป็นวัดที่รุ่งเรืองมาทุกวันนี้
    สำหรับหลวงพ่อสุ่นนั้นไม่ทราบว่าท่านมาจากไหน เพราะไม่มีหลักฐานหรือคำบอกเล่าปรากฏเลย และจากการลำดับเจ้าอาวาสของวัดเท่าที่ทราบ ก็มีหลวงพ่อสุ่นเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก

    แต่ก่อนหน้านี้จะมีเจ้าอาวาสก่อนหลวงพ่อสุ่นอีกหรือไม่ก็ไม่ทราบได้ ลำดับเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อสุ่นก็มีหลวงพ่อจ้อย, เจ้าอธิการเชื้อ, พระอธิการณรงค์, พระครูสิริพัฒนกิจ จากวัดโคกเสือ มารักษาการเจ้าอาวาสอยู่พักหนึ่ง สมัยที่ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูสังฆรักษ์สงุ่น ต่อมาก็เป็นพระอธิการอู๋, พระครูโกวิทวิหารการ (ประยุทธ ชินวัฒน์) เป็นเจ้าอาวาสมาจนปัจจุบันนี้
    หลวงพ่อสุ่น เป็นพระวิปัสสนากรรมฐานผู้ทรงอภิญญา มีวิชาอาคมเปี่ยมล้น นอกจากนี้ยังเป็นพระหมอรักษาไข้ ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนแก่สาธุชนทั่วไปอีกด้วย ปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อสุ่น

    ที่ปรากฏและเล่าสืบต่อกันมามีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน จากบันทึกของ “พระราชพรหมญาณ” หรือ “หลวงพ่อฤาษีลิงดำ” ลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ได้บันทึกไว้ว่า “หลวงพ่อสุ่นเป็นพระอุปัชฌาย์หลวงพ่อปาน ครั้นหลวงพ่อปานบวชแล้วก็ไปจำพรรษาอยู่กับหลวงพ่อสุ่น ที่วัดบาง- ปลาหมอ เพื่อศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ จากพระอาจารย์ ซึ่งหลวงพ่อสุ่นเองก็รักใคร่ ในตัวของหลวงพ่อปาน ถ่ายทอดวิชาอาคม ต่างๆ ให้” หลวงพ่อปานนั้น มีความรักอยากจะเรียนทางหมอรักษาคนไข้ แต่หลวงพ่อสุ่นอยากให้ศิษย์รักรับวิชาอาคมต่างๆ เอาไว้ด้วย ดังนั้นการเรียนการสอนจึงมีทั้งอาคมและทางหมอยาควบคู่กันไปด้วย

    หลวงพ่อสุ่นท่านสำเร็จทางด้านกสิณ ท่านก็ให้หลวงพ่อปานเรียนกสิณให้เรียนทางวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งหลวงพ่อปานท่านก็ตั้งใจมานะศึกษาเล่าเรียนวิชาต่างๆ จากพระอาจารย์จนสำเร็จอภิญญาได้กสิณต่างๆ จนครบ ทั้งวิปัสสนากรรมฐานท่านก็ได้มา การเรียนวิชาของหลวงพ่อปานใหม่ๆ นั้น หลวงพ่อสุ่นท่านได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ไว้ให้ปรากฏหลายอย่างเช่น วันหนึ่งหลวงพ่อสุ่นท่านให้หลวงพ่อปานรดน้ำมนต์ให้คนไข้ หลวงพ่อปานเห็นน้ำมนต์ในตุ่มเหลือน้อยแล้ว ก็จะไปตักน้ำมาทำน้ำมนต์เพิ่มอีก หลวงพ่อสุ่ท่านก็ห้ามไว้ท่านบอกว่า “ไม่ต้องไปตักหรอกปานเอ๊ย พ่อตักไว้ให้แล้วรดไปเถอะ”

    หลวงพ่อปานตักน้ำมนต์ในตุ่มรดคนไข้ ซึ่งหลวงพ่อปานเองมาเล่าให้ฟังภายหลังว่า วันนั้นรดน้ำมนต์ให้กับคนไข้ประมาณ 50 คน น้ำในตุ่มยังยุบไม่ถึงคืบ ตุ่มนั้นก็เป็นตุ่มเล็กๆ พอตอนหลังท่านไปถามหลวงพ่อสุ่นก็ได้รับคำ ตอบว่า “พ่อเอาใจตักแล้ว” จากนั้นท่านก็สอนวิชาใช้คาถาตักน้ำให้หลวงพ่อปาน ก็คือวิชาอาโปกสิณนั่นเอง
    หลวงพ่อสุ่นเป็นพระที่มีวิชาอาคมสูงมาก ท่านจะตรวจดูด้วยญาณทิพย์ของท่านเสมอ ก่อนที่จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ แล้วก็รักษาตามโรคนั้น ผู้ป่วยที่มาให้หลวงพ่อรักษาจะหายกลับไปทุกราย ยกเว้นผู้นั้นไปไม่ไหวถึงฆาตจริงๆ ก็ช่วยไม่ได้ ในเรื่องของอิทธิฤทธิ์ต่างๆ นั้น ท่านมักจะไม่ทำให้ผู้ใดเห็นเกรงว่าจะกลายเป็นพระผู้อวดคุณวิเศษไป​



    นอกจากหลวงพ่อปานที่ขณะเรียนวิชาอยู่กับท่านเท่านั้น หลวงพ่อสุ่นอยู่วัดท่านก็ทำนุบำรุงซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ ไปเรื่อยๆ ต่อเติมสิ่งที่ชำรุดไปทีละอย่างสองอย่างตลอด ปัจจัยที่ญาติโยมให้มาจากการรักษาโรคท่านก็นำมาซ่อม สร้างวัด จะปรากฏชัดเมื่อปลายๆ สมัยหลวงพ่อสุ่นประมาณปี พ.ศ.2403 ได้มีการก่อสร้างครั้งใหญ่อันมีหลวงพ่อสุ่น คณะสงฆ์ ทายกทายิกา ชาวบ้านต่างก็ร่วมมือกันทำนุบำรุงวางแผนผัง ก่อสร้างเสนาสนะภายในวัดต่างๆ กันใหม่ก็มีอุโบสถ มีลักษณะเป็นศิลปะแบบไทย

    ภายในมีภาพเขียนเรื่องราวประวัติของพระพุทธเจ้าฝีมือวิจิตรบรรจงสวยงาม ส่วนพระประธานพุทธลักษณะงดงาม ปัจจุบันทางวัดรื้อโบสถ์เก่าออก แล้วสร้างใหม่ขึ้นแทนเพราะของเก่าชำรุดทรุดโทรมเต็มที
    วิหารพระพุทธไสยาสน์ อยู่หน้าอุโบสถ ศาลาการเปรียญเป็นเสาไม้แบบไทยๆ สร้างใหม่ของเดิมสร้างเมื่อ พ.ศ.2494 ประดิษฐานรูปปั้น “บรมครูแพทย์ชีวกโกมารทัต” ด้วย ในยุคของหลวงพ่อสุ่นนั้น นอกจากท่านจะช่วยบำบัดโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ประชาชนทั่วไปแล้ว


    ท่านยังเป็นพระเถระผู้มีความสามารถในทางเทศนาอบรมสั่งสอนสาธุชนอีกด้วย ท่านจะขึ้นเทศน์บนศาลาการเปรียญ ชาวบ้านทั้งไกลและใกล้จะเดินทางมาฟังธรรมจากท่านเป็นจำนวนมาก และก็มาอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดก็ไม่ใช่น้อย
    วัดบางปลาหมอสมัยนั้นรุ่งเรืองมีผู้คนเข้าออกวัดแต่ละวันเป็นจำนวนมาก มีทั้งไปปฏิบัติธรรมและไปรักษาไข้ หลวงพ่อสุ่นท่านละสังขารเมื่อปี พ.ศ. อะไรไม่ปรากฏแน่ชัด



    นับว่าเป็นการสูญเสียพระอาจารย์รูปสำคัญของชาวบ้านย่านบางปลาหมอเลยทีเดียว ครั้นเมื่อสิ้นหลวงพ่อสุ่นไปแล้ว พระอธิการรูปต่อๆ มาขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทนวัดบางปลาหมอก็ไม่เจริญรุ่งเรืองเหมือนยุคของหลวงพ่อสุ่น บางระยะวัดแทบจะร้างไปเลยก็มี เสนาสนะต่างๆ ชำรุดทรุดโทรมพังเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งท่านพระครูโกวิทวิหารการ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันเข้ามารับหน้าที่แทน ท่านก็ระดมกำลังทั้งสติปัญญาและแรงกายบูรณะวัดให้ฟื้นขึ้นใหม่ จนกระทั่งวัดเข้ารูปรอยเดิมและรุ่งเรืองยิ่งกว่าเดิม ​


    สำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อสุ่นนั้น เท่าที่สอบถามและค้นพบมา ทราบว่าท่านได้ จัดสร้างพระเนื้อดิน 3 แบบคือ พิมพ์กลีบบัว,พิมพ์กลีบบัฟันปลา, พิมพ์กลีบบัวปลายแหลม เป็นพระที่หายากมาก ชาวบ้านบางปลาหมอให้ความนับถือ ใครมีต่างก็หวงแหนอย่างที่สุด เพราะมีประสบการณ์มากมายในเรื่องของความคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย คุ้มครองเคหะสถานบ้าช่อง เรื่องลมพายุนั้น เล่ากันว่าใครมีพระเครื่องของหลวงพ่อสุ่น สามารถป้องกันภัยจากลมพายุฝนฟ้าคะนองได้ดีเยี่ยม เรื่องแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีก็ไม่เป็นรองใคร วัตถุมงคลของหลวงพ่อสุ่นนั้นมีคนรู้จักน้อยมาก เพราะชื่อเสียงท่านไม่ขจรขจายเป็นเพียงพระเกจิอาจารย์ดังในท้องถิ่น พระแต่ละรุ่นมีดังนี้​

    พระพิมพ์กลีบบัว เล่าว่าปี พ.ศ.2494 เจดีย์องค์หน้าโบสถ์หลังใหม่ สร้างสมัยหลวงพ่อสุ่นเกิดแตกร้าว กรุพระเครื่องเนื้อดินเผาที่หลวงพ่อสุ่นสร้างบรรจุไว้แตกออกมา ชาวบ้านพบเห็นเข้าจึงเก็บเอาไปมากบ้างน้อยบ้าง พอทางวัดทราบเรื่องกรุพระกลีบบัวแตกก็รีบไปเก็บมารักษาไว้ แต่ก็เหลืออยู่ไม่เท่าไหร่แล้ว ลักษณะของพระพิมพ์กลีบบัว เป็นทรงแบบกลีบบัว เนื้อพระสีแดง แบบพระเนื้อดินเผาทั่วไป กับอีกสีหนึ่งคือสีดำเนื้อละเอียด พุทธลักษณะด้านหน้าเป็นองค์พระปฏิมานั่งปางสมาธิเพชร พระพักตร์กลม ไม่มีพระเนตรและพระโอษฐ์ ลักษณะลำพระองค์กลมหนา พระชานุ(เข่า) โตทั้งสองข้าง

    ไม่มีอาสนะเนื้อพระแห้งสนิทอัดแน่น พระพิมพ์กลีบบัวฟันปลา กรุแตกออกมาเมื่อครั้งที่พระครูโกวิทวิหารการ เจ้าอาวาสทำการรื้อวิหารพระพุทธไสยาสน์องค์เล็กที่ชำรุดทรุดโทรมสมัยหลวงพ่อสุ่นสร้างไว้ ทางวัดต้องการบริเวณที่ดังกล่าวสร้างฌาปนสถาน เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2528 ปรากฏว่าพบพระพิมพ์กลีบบัวฟันปลา บรรจุอยู่ในตุ่มใบเล็กๆ ตรงช่วงหมอนรองรับพระเศียรของพระพุทธไสยาสน์ในตุ่มมีพระ อยู่ 300 องค์เท่านั้น ท่านเจ้าอาวาสจึงเอาออกมาให้แก่ผู้ที่มาขอบูชา รายได้ทั้งหมดนำไปตั้งเป็นกองทุน “มูลนิธิหลวงพ่อสุ่น” และพระก็หมดไปเพียงไม่กี่วันเท่านั้น


    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" align=center border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD vAlign=top height=100>
    [​IMG]

    ประวัติก่อนบวช


    พระมงคลเทพมุนี ท่านมีนามเดิมว่า สด มีแก้วน้อย เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๗ ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ณ หมู่บ้านเหนือ ฝั่งตรงข้ามวัดสองพี่น้อง ต.สองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เป็นบุตรของ นายเงิน มีแก้วน้อย และนางสุดใจ มีแก้วน้อย ท่านเรียนหนังสือกับพระน้าชายที่วัดสองพี่น้อง ต่อจากนั้นได้มาศึกษาต่อที่วัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม ได้ศึกษาหนังสือขอมจนสามารถอ่านหนังสือพระมาลัย ซึ่งเป็นภาษาขอมทั้งเล่มจนคล่อง หลังจากนั้นจึงได้ช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพค้าข้าว

    ในวัยเด็กท่านเป็นเด็กฉลาด ใจคอเด็ดเดี่ยวมั่นคง เมื่อตั้งใจทำสิ่งใดเป็นต้องพยายามทำจนสำเร็จ เมื่อไม่สำเร็จเป็นไม่ยอมเด็ดขาด เช่น ท่านเคยช่วยทางบ้านเลี้ยงวัว เมื่อวัวพลัดเข้าไปในฝูงวัวบ้านอื่น ท่านจะต้องไปตามวัวกลับมาให้ได้ ไม่ว่าวัวจะไปอยู่ที่ไหนดึกดื่นอย่างไรก็ตาม เมื่อไม่ได้วัวมาก็ไม่ยอมกลับ

    นอกจากนั้นท่านยังประกอบไปด้วยเมตตาจิตในสัตว์ เช่น ถ้าใช้วัวไถนาก็จะคอยสังเกตดูดวงตะวันว่าใกล้เพลหรือยัง เพราะท่านถือคติโบราณว่า “เพลคาบ่าวัว” ถือว่าบาปมาก ท่านจะเลิกตรงเวลาจนโยมพี่สาวนึกว่าท่านขี้เกียจ เมื่อถูกดุท่านก็ไม่ยอมทำตามเพราะเห็นว่าวัวเหนื่อยมากแล้วก็จะนำไปอาบน้ำจนเย็นสบายและปล่อยให้ไปกินหญ้าอย่างเป็นอิสระ


    เหตุที่ปฏิญาณตนบวช

    เมื่ออายุ ๑๔ ปี บิดาได้เสียชีวิตลง เนื่องจากตรากตรำในการค้าข้าว ท่านจึงต้องมารับช่วงคุมงานแทน จนกระทั่งอายุย่างเข้า ๑๙ ปี ระหว่างทำการค้าข้าวอยู่นั้น วันหนึ่งท่านนำเรือเปล่ากลับบ้าน พร้อมกับเงินที่ได้จากการค้าหลายพันบาท จำเป็นต้องผ่านมาทางคลองเล็กซึ่งเป็นคลองลัดชาวบ้านเรียกว่า “คลองบางอีแท่น” คลองนี้ไม่ยาวมากนักแต่เปลี่ยวและมีโจรผู้ร้ายชุกชุม ท่านซึ่งยืนถือท้ายเรืออยู่และเป็นจุดสำคัญที่โจรจะทำร้ายได้ก่อน ก็สับเปลี่ยนให้ลูกจ้างมาถือแทน ส่วนท่านหยิบปืนยาวไปถ่อเรือแทนลูกจ้างทางหัวเรือ พอเรือแล่นเข้าที่เปลี่ยวเข้าไปเรื่อยๆ พลันก็เกิดความคิดแว่บขึ้นมาว่า “คนพวกนี้ เราจ้างเขามาเพียง ๑๑ – ๑๒ บาท เท่านั้น ส่วนตัวเราเป็นทั้งเจ้าของทรัพย์และเจ้าของเรือ เมื่อมีภัยใกล้ตายกลับโยนไปให้ลูกจ้าง”

    เมื่อคิดตำหนิตัวเองเช่นนี้ก็ไม่อยากเอาเปรียบลูกจ้าง ท่านจึงตัดสินใจกลับมาถือท้ายเรือตามเดิมยอมเสี่ยงรับอันตรายแต่ผู้เดียว เมื่อเรือพ้นคลองมาได้ ท่านก็มาพิจารณาเห็นว่า “การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมีก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอายขายหน้าไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเรา และตัวเราในบัดนี้ก็คงทำอยู่อย่างนี้เหมือนกัน ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว ตัวเราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า” ท่านจึงได้ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า “ขอเราอย่าได้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต” นี่เป็นคำอธิษฐานเหมือนกับท่านได้บวชมาแล้วตั้งแต่อายุ ๑๙ ปี เมื่อได้ตั้งใจแน่วแน่เด็ดเดี่ยวแล้วก็ขะมักเขม้นประกอบอาชีพหนักยิ่งขึ้น เพื่อสะสมทรัพย์ไว้ให้มารดาได้เลี้ยงชีพ เมื่อปราศจากท่านแล้วมารดาจะได้ไม่ลำบาก นับว่าท่านเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทียิ่งนัก


    อุปสมบท

    ท่านได้อุปสมบทเมื่อ เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ขณะมีอายุย่างเข้า ๒๒ ปี ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีฉายาว่า จน?ทสโร
    พระอาจารย์ดี วัดประตูสาร อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อิน?ทโชโต) วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอาจารย์โหน่ง อิน?ทสุวณ?โณ วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรีเป็นพระอนุสาวนาจารย์
    เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี อยู่ ๑ พรรษา หลังจากปวารณาพรรษาแล้ว ท่านได้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ขณะเรียนท่านมีความลำบากเรื่องบิณฑบาตเป็นอันมาก บางวันบิณฑบาตได้ไม่พอฉัน บางวันได้เพียงส้มผลเดียว บางวันไม่ได้เลย ท่านก็ไม่ฉันของพระรูปอื่น ซึ่งได้อาหารเพียงเล็กน้อย ท่านคิดว่า “อย่างน้อยที่สุดถ้าจะต้องตายเพราะไม่ได้ฉันอาหารก็จะเป็นเหตุให้พระทั้งเมืองมีฉัน เพราะว่าใครๆ จะเล่าลือกันไปทั่วจนทำให้ชาวบ้านสงสารพระภิกษุ”

    สร้างมหาทาน

    มีอยู่วันหนึ่ง ท่านออกไปบิณฑบาตอยู่จนสายได้ข้าวเพียงหนึ่งทัพพีและกล้วยน้ำว้าหนึ่งผล กลับมาถึงกุฏิด้วยความเหนื่อยอ่อนเพราะไม่ได้ฉันมา ๒ วันแล้ว เมื่อเริ่มลงมือฉันได้คำหนึ่ง ท่านก็เหลือบไปเห็นสุนัขตัวหนึ่งผอมโซเพราะอดอาหารมาหลายวัน แม้กำลังหิวจัดก็ยังมีเมตตาสงสารสุนัขตัวนั้น จึงได้ปั้นข้าวที่เหลืออีกคำหนึ่งและแบ่งกล้วยน้ำว้าครึ่งผลให้แก่สุนัขผอมโซตัวนั้น สุนัขกินแต่ข้าวไม่กินกล้วย ท่านก็คิดว่า “ไม่รู้ว่าเจ้าไม่กิน” คิดจะเอากล้วยกลับมาแต่เห็นว่าไม่สมควรเพราะได้สละขาดไปแล้ว จะเอากลับมาฉันใหม่ในที่นั้นก็ไม่มีใครจะประเคนให้ด้วย

    เหตุการณ์นี้ทำให้ท่านตั้งจิตอธิษฐานว่า “ขึ้นชื่อว่าความอดอยากอย่างนี้ ขออย่าให้มีอีกเลย” หลังจากนั้นเป็นต้นมา ทุกครั้งที่ท่านไปบิณฑบาต ปรากฏว่าได้อาหารมามากมาย ท่านจึงได้แบ่งถวายพระภิกษุรูปอื่นด้วย


    การศึกษาปริยัติธรรม

    ท่านเริ่มเรียนบาลี โดยท่องสูตรก่อนเมื่อท่องจบสูตรเบื้องต้นแล้วเริ่มเรียน มูลกัจจายน์ (คัมภีร์ไวยากรณ์บาลี) ขึ้นไป จากนั้นเรียน นาม สมาส ตัทธิต อาขยาต กิตก์ แล้วเริ่มเรียนคัมภีร์ ตั้งแต่ธรรมบท มงคลทีปนี และสารสังคหะ ตามความนิยมในสมัยนั้นจนชำนาญเข้าใจและสามารถสอนผู้อื่นได้ ขณะกำลังเรียนอยู่นั้นท่านต้องพบกับความลำบากมาก ต้องเดินทางไปศึกษากับอาจารย์ตามวัดต่างๆ เมื่อฉันแล้วข้ามฟากไปเรียนที่วัดอรุณราชวราราม กลับมาฉันเพลที่วัดพระเชตุพนฯ เพลแล้วไปเรียนต่อที่วัดมหาธาตุ ตอนเย็นไปเรียนที่วัดสุทัศน์ฯบ้าง วัดสามปลื้มบ้าง กลางคืนเรียนที่ วัดพระเชตุพนฯ แต่ไม่ได้ไปติดๆ กันทุกวันมีเว้นบ้างสลับกันไป

    สมัยที่ท่านศึกษาอยู่นั้นใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน นักเรียนก็เรียนไม่เหมือนกัน บางองค์เรียนธรรมบทบั้นต้น บางองค์เรียนบั้นปลาย ยิ่งเรียนมากหนังสือที่เอาไปเรียนก็เพิ่มมากขึ้น พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำท่านพยายามไม่ขาดเรียน แบกหนังสือข้ามฟากลงท่าประตูนกยูงวัดพระเชตุพนฯ ไปขึ้นท่าวัดอรุณฯ เข้าศึกษาในสำนักวัดอรุณฯ ท่านเล่าให้ฟังว่าลำบากอยู่หลายปี ความเพียรของท่านทำให้คุณยายนวมชาวประตูนกยูง เกิดความเลื่อมใส ปวารณาทำปิ่นโตถวายทุกวันนับแต่นั้นมาความลำบากในเรื่องภัตตาหารของท่านก็หมดไป

    ท่านเดินทางไปศึกษาในสำนักต่างๆ มาหลายปี ครั้นต่อมาข้าหลวงในวังกรมหมื่นมหินทโรดมเลื่อมใสในท่าน เวลาเพลช่วยจัดภัตตาหารมาถวายทุกวัน ทำให้พระเดชพระคุณหลวงปู่สามารถตั้งโรงเรียนขึ้นเองที่ วัดพระเชตุพนฯ โดยเริ่มเรียนธรรมบทก่อน ต่อมาการศึกษาบาลีเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม โดยทางคณะสงฆ์จัดหลักสูตรการศึกษา ให้เริ่มเรียนไวยากรณ์ก่อนเป็นลำดับไป


    การเข้าถึงวิชชาธรรมกาย

    หลวงปู่วัดปากน้ำท่านรักการปฏิบัติธรรมมาก ในระหว่างที่ท่านศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่นั้น ท่านก็ยังคงปฏิบัติธรรมทุกวันตลอดมา วันไหนมีเวลา ท่านมักจะไปศึกษาวิปัสสนาธุระจาก พระอาจารย์ในสำนักต่างๆ อยู่เสมอ เช่น ท่านเจ้าคุณสังวรานุวงศ์เถร(เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม ท่านเจ้าคุณพระมงคลทิพมุนี (มุ้ย) วัดจักรวรรดิฯ พระครูญาณวิรัติ (โป๊) วัดพระเชตุพนฯ พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ ธนบุรี ท่านเล่าว่าเคยปฏิบัติธรรมตามแบบพระอาจารย์สิงห์ จนได้ดวงสว่างขนาดประมาณเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย พระอาจารย์สิงห์จึงมอบหมายให้ท่านเป็นอาจารย์ช่วยสอนผู้อื่นต่อไป แต่ท่านไม่รับเพราะเห็นว่าตนเองยังมีความรู้น้อย จะไปสอนผู้อื่นได้อย่างไร

    ในพรรษาที่ ๑๑ หลวงปู่วัดปากน้ำได้ไปจำพรรษา ณ วัดโบสถ์บน ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ท่านได้มีความคิดที่จะกระทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ตั้งแต่เช้าตรู่ “เราบวชมาจวนจะครบ ๑๒ พรรษาแล้ว วิชชาของพระพุทธเจ้าเรายังไม่ได้บรรลุเลย ทั้งที่การศึกษาของเราก็ไม่เคยขาดเลยสักวันทั้งคันถธุระและวิปัสนาธุระ อย่าเลย ควรจะรีบกระทำความเพียรให้รู้เห็นของจริงในพระพุทธศาสนาเสียทีี” เมื่อกลับจากบิณฑบาตแล้วท่านก็รีบจัดการภารกิจต่างๆให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่มีเรื่องกังวลใจ เสร็จแล้วก็ได้เข้าเจริญภาวนาในอุโบสถ โดยตั้งใจว่าหากไม่ได้ยินเสียงกลองเพลจะไม่ยอมลุกจากที่ เมื่อตั้งใจแล้วก็หลับตาภาวนา “สัมมา อะระหัง” เรื่อยไปจนกระทั่งความปวดเมื่อยและอาการกระสับกระส่ายเริ่มติดตามมา จิตก็ซัดส่ายกระวนกระวายจนเกือบจะหมดความอดทน แต่ได้ตั้งสัจจะไว้แล้วจึงทนนั่งต่อไป เมื่อไม่สนใจความปวดเมื่อยของสังขาร ในที่สุดใจก็ค่อยๆ สงบลงทีละน้อยแล้วรวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน เห็นเป็นดวงใสบริสุทธิ์ขนาดเท่าฟองไข่แดงของไก่ติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ใจชุ่มชื่นเบิกบานอย่างบอกไม่ถูก

    เย็นวันนั้นหลังจากได้ฟังพระปาฏิโมกข์กับเพื่อนสหธรรมิกแล้ว ท่านได้รีบทำภารกิจส่วนตัวสรงน้ำให้ร่างกายสดชื่นดีแล้ว จึงเข้าไปในอุโบสถแต่เพียงรูปเดียว เมื่อกราบพระประธานแล้วก็ได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ขอให้พระองค์ทรงพระเมตตาโปรดประทานธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แล้วแก่ข้าพระพุทธเจ้า แม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยนิดก็ยินดี ถ้าหากการบรรลุธรรมของข้าพระองค์ฯจักเกิดโทษแก่พระศาสนาก็ขออย่าได้ทรงประทานเลย แต่ถ้าจะเป็นคุณแก่พระศาสนาแล้ว ขอได้โปรดประทานแก่ข้าพระองค์ฯด้วยเถิด ข้าพระพุทธเจ้าจะขอรับเป็นทนายพระศาสนาต่อไปจนตลอดชีวิต”

    เมื่อได้ตั้งสัตยาธิษฐานแล้วท่านก็เริ่มนั่งหลับตา ขณะนั้นมีมดอยู่ในช่องแผ่นหินที่ท่านนั่ง กำลังไต่ขึ้นมารบกวนท่าน จึงหยิบขวดน้ำมันก๊าดขึ้นมา เพื่อจะทากันมด แต่แล้วก็คิดได้ว่า ชีวิตของเรา เราได้สละแล้วเพื่อการบำเพ็ญเพียร แต่เหตุไฉนจึงยังกลัวมดอยู่อีก จึงวางขวดน้ำมันก๊าดลง เจริญกัมมัฏฐานต่อไป จนถึงยามดึกจึงได้เริ่มเห็นดวงปฐมมรรคหรือดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เมื่อได้รู้เห็นธรรมะแล้วท่านจึงได้เข้าใจว่า “พระธรรมนี้เป็นของลึกซึ้งยิ่งนัก ยากที่มนุษย์จะเข้าถึง การจะเข้าให้ถึงได้ต้องรู้ตรึก รู้นึก รู้คิด ต้องหยุดเป็นจุดเดียวกัน เมื่อหยุดแล้วจึงดับ เมื่อดับแล้วจึงเกิด ถ้าไม่ดับก็ไม่เกิดนี่เป็นของจริง ของจริงต้องอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนนี้เป็นไม่เห็นเด็ดขาด”
    เมื่อมองเรื่อยไปก็เห็นดวงใหม่ผุดซ้อนขึ้นมาแทนที่ดวงเก่า แต่ใสสว่างมากยิ่งขึ้น จนในที่สุดก็เห็นกายต่างๆ ตามลำดับจนกระทั่งถึง ธรรมกาย


    การเผยแผ่วิชชาธรรมกาย



    เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว ท่านมุ่งมั่นในการนั่งเจริญภาวนาเพื่อไปให้ถึงที่สุด เมื่อยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งลึกซึ้ง จนกระทั่งออกพรรษาและรับกฐินแล้ว ท่านจึงได้ลาเจ้าอาวาสวัดโบสถ์บนไปพักที่วัดบางปลาซึ่งท่านเห็นในสมาธิว่าจะมีผู้บรรลุธรรมกาย ตามอย่างท่านได้ ท่านได้สอนภาวนาที่วัดบางปลา จนมีพระภิกษุผู้สามารถเจริญรอยตามท่านได้ ๓ รูปและคฤหัสถ์ อีก ๔ คน หนึ่งในนั้นคือพระสังวาลย์ ท่านได้พาพระสังวาลย์ซึ่งเข้าถึงธรรมกายไปสอนธรรมที่ วัดบรมนิวาส จนมีผู้เข้าถึงธรรมกายด้วยเช่นกัน

    เมื่อรับกฐินแล้ว ท่านได้ไปปฏิบัติศาสนกิจที่วัดประตูสาร ด้วยหวังว่าจะสนองพระคุณพระอุปัชฌาย์ของท่าน แต่พระอุปัชฌาย์ท่านมรณภาพไปแล้ว หลวงปู่จึงได้อยู่แสดงธรรมเทศนาโปรดญาติโยมที่นั่นเป็นเวลา ๔ เดือน จนมีผู้ศรัทธาท่านเป็นจำนวนมาก จากนั้นท่านก็ได้เดินทางกลับวัดพระเชตุพนฯ โดยได้พาพระภิกษุ ๔ รูปมาเรียนพระปริยัติด้วย


    เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ


    อยู่มาไม่นาน ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฏก วัดพระเชตุพนฯ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่วัดปากน้ำ ได้ขอร้องให้ท่านไปจำพรรษาที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งในขณะนั้นไม่มีเจ้าอาวาส ท่านจำต้องรับเพราะไม่อยากขัดใจ ท่านได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์เป็น พระครูสมุห์ฐานานุกรม มีพระติดตามมาจำพรรษาที่วัดปากน้ำด้วย ๔ รูป
    ณ ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญนี่เอง การปกครองดูแลวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งพระภิกษุและชาวบ้านในถิ่นนั้นที่เสียผลประโยชน์ต่อต้านท่าน พวกที่ต่อต้านร่วมกันใส่ร้ายป้ายสีท่าน บ้างก็จะทำร้ายท่าน ครั้งหนึ่งมีนักเลงอันธพาล ก่อกวน เมื่อเวลาประมาณสองทุ่ม หลวงปู่วัดปากน้ำท่านปฏิบัติศาสนกิจเสร็จแล้วก็ออกมาจากศาลาเพื่อกลับกุฏิ คนร้ายได้ใช้อาวุธปืนยิงท่าน ถูกจีวรทะลุ ๒ รู แต่หลวงปู่ไม่เป็นอะไร ท่านมีคติว่า “พระเราต้องไม่สู้ ต้องไม่หนี ชนะทุกที่”


    การตั้งโรงงานทำวิชชา

    แม้ภารกิจด้านการบริหาร การปกครอง และการพัฒนาวัดปากน้ำภาษีเจริญ จะมีมากสักเพียงใดก็ตาม แต่ท่านก็ไม่เคยละทิ้งการปฏิบัติธรรม รวมถึงการเผยแผ่วิชชาธรรมกายด้วย เพราะท่านถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่ง ในขณะที่ท่านศึกษาค้นคว้าวิชชาธรรมกายและสั่งสอนผู้อื่นให้บรรลุธรรมกายไปด้วยนั้น ท่านได้คัดเลือกผู้ที่มีผลการปฏิบัติดีเยี่ยม ทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสก อุบาสิกา จำนวนหนึ่ง เพื่อรวมทีมศึกษาค้นคว้าวิชชาธรรมกายที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไป เรียกว่า การทำวิชชาปราบมาร
    และเพื่อให้การทำงานค้นคว้าวิชชาธรรมกาย เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในสถานที่ที่เป็นสัดเป็นส่วน ในปี ๒๔๗๔ ขณะที่ท่านอายุได้ ๔๗ ปี ท่านจึงได้สร้างอาคารเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าวิชชาธรรมกายขึ้นภายในวัดปากน้ำภาษีาเจริญ ในสมัยนั้นเรียกว่า “โรงงานทำวิชชา”
    โรงงานทำวิชชาในสมัยนั้นตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างพระอุโบสถกับวิหาร ใกล้หอไตรเป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น ภายในระหว่างชั้นบนกับชั้นล่างมีท่อต่อถึงกันสำหรับหลวงปู่ใช้สั่งวิชชาลงมาทางท่อนี้ ซึ่งผู้อยู่เวรก็จะได้ยินโดยทั่วกัน และจะเจริญวิชชาตามคำสั่งนั้น ๆ มีผู้อยู่เวรทำวิชชากะละประมาณ ๑๐ คน ตัวเรือนโรงงานนี้ขนาดไม่กว้างใหญ่นัก ชั้นล่างตั้งเตียงเป็น ๒ แถวซ้ายขวา ข้างละ ๖ เตียง ตรงกลางเว้นเป็นทาง พอให้เดินได้สะดวก ชั้นล่างสำหรับฝ่ายแม่ชีและอุบาสิกา ให้นั่งเจริญวิชชาและเป็นที่พักอาศัยด้วย มีผู้อยู่เวรที่ไม่พักในโรงงานบ้างแต่ก็เพียงไม่กี่คน ระหว่างชั้นบนกับชั้นล่างไม่มีบันไดเชื่อมต่อกันและทางเข้าออกก็แยกกันคนละทาง ชั้นบนมีทางเข้าต่างหากใช้เป็นที่เจริญวิชชาสำหรับหลวงปู่และพระสงฆ์สามเณรที่อยู่เวรทำวิชชา
    ภายหลังมีโรงงานทำวิชชาเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ปัจจุบันคือวิหารอยู่ด้านหลังหอสังเวชนีย์มงคลเทพเนรมิตที่ประดิษฐานร่างของหลวงปู่ เป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้างยาวพอสมควรตรงกลางมีฝากั้นแบ่งเป็น ๒ ห้อง แยกขาดจากกันโดยมีประตูเข้าออกคนละทาง ส่วนหน้าเป็นที่สำหรับแม่ชีกับอุบาสิกา ส่วนหลังเป็นที่สำหรับหลวงปู่และพระสงฆ์สามเณร เวลาสั่งวิชชาหลวงปู่จะพูดผ่านช่องสี่เหลี่ยมของฝากั้นห้องนี้ ทั้งสองฝ่ายจึงเพียงแต่ได้ยินเสียงซึ่งกันและกันเท่านั้น
    วิชชาที่หลวงปู่สั่งไว้ในแต่ละวัน ได้มีการจดบันทึกไว้ในสมุดปกแข็งรวม ๓ เล่ม เล่มที่ ๒ มีผู้ยืมไปและมิได้นำส่งคืน คงเหลือเล่ม ๑ และเล่ม ๓ ได้ถวายให้ท่านเจ้าคุณพระภาวนาโกศลเถร (วีระ คุณตฺตโม) ซึ่งมีปฏิปทาอย่างมั่นคงที่จะถือเพศบรรพชิต และมุ่งมั่นในการเจริญภาวนาธรรมตามรอยพระเดชพระคุณหลวงปู่ควรที่จะได้เก็บรักษาวิชชาของหลวงปู่ที่ได้บันทึกไว้ให้อนุชนรุ่นหลังสืบต่อไป



    การเข้าเวร

    ผู้ที่เห็นเป็นวิชชาธรรมกายแล้วจะต้องผลัดกันเข้าเวรปฏิบัติภาวนากันตลอด ๒๔ ชั่วโมง ในโรงงานทำวิชชาที่หลวงปู่จัดไว้ให้ ปัจจุบันก็ยังคงเรียกโรงงานทำวิชชาอยู่
    ระยะที่ประเทศไทยอยู่ในภาวะสงคราม (สงครามโลกครั้งที่ ๒) พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้จัดให้มีการเข้าเวรทำวิชชา ๒ ชุดแบ่งเป็น ๔ ผลัด ผลัดละ ๖ ชั่วโมง กะแรกเข้าเวร ๖ โมงเช้าและออกประมาณเที่ยงแล้วกะที่สองจะเข้ารับเวรต่อ กะแรกจะกลับมารับเวรอีกครั้งในเวลา ๖ โมงเย็นและจะส่งเวรให้กะที่สองในเวลาเที่ยงคืนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเช่นนี้ตลอด ๒๔ ชั่วโมงมิได้ขาด

    เมื่อสงครามสงบลง พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ปรับเวลาการเข้าเวรในโรงงานเป็น ๓ ชุด ผลัดละ ๔ ชั่วโมงแทน ส่วนการสอนธรรมะนั้นหลวงปู่จะกำหนดตัวบุคคลที่ว่างจากเวรทำวิชชาในโรงงานมาเป็นผู้สอน เช่นแม่ชีญาณี ศิริโวหาร ระหว่างสงครามจะทำการภาวนากันที่ “บ้านน้าสาย” ซึ่งอยู่ใกล้ๆพระวิหารในเวลาค่ำ เมื่อสิ้นสุดสงครามได้เปลี่ยนที่สอนเป็นที่วิหาร ในเวลาบ่าย ๒ โมง

    หลวงปู่ตั้งเป็นกฏเคร่งครัดมากว่า ห้ามบุคคลที่ไม่ได้วิชชาธรรมกายเข้าไปในโรงงานท่านมีเหตุผลหลายประการได้แก่
    บุคคลภายนอกอาจเข้าไปทำเสียงรบกวนเป็นการทำลายสมาธิของผู้ที่กำลังปฏิบัติกิจภาวนา จะเกิดบาปติดตัวผู้นั้นไปโดยมิได้ตั้งใจ
    วิชชาธรรมกายนั้นเป็นวิชชาที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ถ้าผู้ที่ยังไม่รู้ไม่เห็น ไม่เข้าใจยังปฏิบัติไม่เป็นแล้วไปได้ยินได้ฟังเข้าก็จะทำให้เกิดวิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ทำให้เกิดความคิดสับสนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนต่อวิชชา หลวงปู่ท่านทราบดีว่าอันตรายจะเกิดแก่บุคคลที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจดีพอ
    หลวงปู่ท่านไม่ต้องการให้บุคคลภายนอกเข้าไปชวนพวกที่ได้ธรรมกายพูดคุยด้วยเรื่องไร้สาระ ท่านบอกว่าเสียเวลาโดยใช่เหตุ


    การตั้งโรงครัว


    เมื่อหลวงปู่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ท่านได้ดำเนินการก่อตั้งโรงครัวขึ้นเพี่อถวายอาหารแก่พระภิกษุสามเณร เพราะสมัยที่ท่านเคยอยู่วัดพระเชตุพนฯ และประสบความลำบากในเรื่องอาหารบิณฑบาต ท่านจึงตั้งมโนปณิธานไว้ว่า เมื่อมีโอกาสจะตั้งโรงครัวเลี้ยงอาหารพระภิกษุสามเณร เพื่อจะได้มีเวลาและโอกาสในการศึกษาพระปริยัติธรรมและปฏิบัติธรรมได้เต็มที่ และเป็นการสะดวกแก่ทายกทายิกาที่ต้องการจะทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณรทั้งวัดด้วย เพียงแต่แสดงความประสงค์ที่จะเป็นเจ้าภาพและนำปัจจัยมามอบให้แก่ไวยาวัจกร ทางวัดจะมีแม่ครัวหุงหาอาหารให้เสร็จเรียบร้อยทั้งมื้อเช้าและมื้อเพล เจ้าภาพเพียงแต่มาประเคนภัตตาหารเท่านั้น
    หลวงปู่ได้ชี้แจงถึงอานิสงส์ของการถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณรว่า จะได้บุญยิ่งใหญ่ไพศาลเพราะพระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ พระสงฆ์เป็นประมุข เป็นประธานของผู้ต้องการบำเพ็ญบุญ ถ้าต้องการบุญก็ให้ถวายในหมู่สงฆ์ ไม่ควรเจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ให้ทำใจให้เป็นกลาง หลวงปู่ท่านเน้นว่าเป็นทายกต้องฉลาด โง่ไม่ได้ เพราะถ้าถวายเจาะจงเสียแล้วผลบุญก็ลดน้อยลงไป คนฉลาดต้องถวายให้เป็นกลาง จะได้ผลบุญยิ่งใหญ่ไพศาลที่เรียกว่า สังฆทาน และได้ชื่อว่าวางหลักพระพุทธศาสนา เพราะศาสนาของพระบรมศาสดา จะดำรงอยู่ได้ก็เพราะอาศัยความเป็นกลาง ภิกษุสามเณรก็ต้องประพฤติในพระธรรมวินัยให้เป็นกลาง ปฏิบัติให้เป็นกลาง ไม่เข้าข้างตน ไม่เข้าข้างบุคคลอื่น อุบาสก อุบาสิกาบริจาคทานในพระพุทธศาสนาให้เป็นกลาง ไม่ค่อนข้างตน หมู่ตน พวกตน อย่างนี้ได้ชื่อว่าบริจาคถูกทางสงฆ์ ถูกเป้าหมายของบุญ
    หลวงปู่ท่านนำกล่าวถวายสังฆทานว่า “ทานที่ท่านถวายให้ให้เป็นกลาง มิให้เจาะจงแก่ผู้หนึ่งผู้ใด มีใจความตามภาษาบาลีว่า
    “กาเล ททนฺติ สปญฺญา วทญฺญู วีตมจฺฉรา ฯลฯ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินฺนติ” ทายกทายิกาทั้งหลาย ผู้ประกอบด้วยปัญญา ปราศจากความตระหนี่ เลื่อมใสแล้วในพระอริยบุคคล ในพระอริยสงฆ์ เป็นผู้เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้ตรงคงที่ ถวายทาน ทำให้เป็นทานที่ตนถวายแล้วโดยกาลในสมัยทักขิณาทานของทายกนั้นย่อมเป็นคุณชาติ มีผลไพบูลย์ดุจน้ำเต็มเปี่ยมในห้วงมหาสมุทร เพราะบริจาคทานในเขตบุญ
    หลวงปู่ท่านได้แนะนำศิษย์ “ให้เป็นบุคคลที่ตนเองก็ชอบทำบุญและชักชวนให้ผู้อื่นทำด้วยทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ให้รู้จักเลือกผู้ที่จะทำบุญด้วย ให้ทุกคนพยายามรักษามนุษย์สมบัติ ท่านอธิบายว่าคนเรานั้นจะอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ ต้องมีบิดามารดา ญาติพี่น้อง สามีภรรยา บุตร บริวาร อย่างที่เรามักเรียกกันว่า “มีพรรคมีพวก” คนที่มีพรรคพวกดีนั้นต้องประกอบกรรมดีร่วมกันมาแล้ว ท่านจึงสอนว่าถ้าเห็นคนดีๆ เขาบริจาคทานกันละก็ให้พยายามไปร่วมกับเขา ไม่จำเป็นต้องร่วมด้วยเงินก็ได้ เพราะคนบางคนเขามีทรัพย์สินเงินทองเหลือเฟืออยู่แล้ว เขาต้องการให้มีคนมาช่วยเท่านั้น เราก็ไปช่วยด้วยแรง เพื่อว่าภพชาติหน้าจะได้มีพรรคพวกที่เป็นคนดี การที่จะมีมนุษย์สมบัติดีนั้นก็ด้วยสาเหตุ ๒ ประการ คือ ปุพฺเพกตปุญฺญตา การร่วมบุญกันมาในอดีตชาติ และการร่วมบุญในภพชาติปัจจุบัน
    สมัยแรกที่ก่อตั้งโรงครัว หลวงปู่ท่านใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวเป็นค่าใช้จ่าย และมีโยมพี่สาวของท่านนำข้าวสารและอาหารแห้งมาถวายเป็นประจำ ถ้าวันใดไม่มีผู้ใดมารับเป็นเจ้าภาพ หลวงปู่ก็ใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวเป็นค่าภัตตาหารเลี้ยงพระภิกษุสามเณรแทน ซึ่งเป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่พระภิกษุไม่ต้องออกบิณฑบาต ทำให้ผู้ที่ยังขาดความเข้าใจในพระวินัยอย่างแจ่มแจ้ง ประณามว่าพระภิกษุที่วัดปากน้ำย่อหย่อนในพระธรรมวินัยและขาดนิสัยอย่างหนึ่งในนิสัย ๔ อย่าง อันเป็นหลักปฏิบัติของบรรพชิต คือ การฉันอาหารบิณฑบาต ส่วนผู้ที่เข้าใจในคำสอนอย่างแจ่มชัดแล้วจะไม่กล่าวอย่างนั้นเลย เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตไว้ว่า พระภิกษุสามเณรพึงงดเว้นถือนิสัยในการออกบิณฑบาตได้เมื่อพระภิกษุสามเณรมีอดิเรกลาภเกิดขึ้น เช่น มีผู้ศรัทธานิมนต์ฉันจังหันหรือมีทายกทายิกาจัดถวายในวันอุโบสถ ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น

    ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ นั้นมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาประมาณ ๑๕๐ รูป และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ๖๐๐ รูปเศษ ถึงกระนั้นหลวงปู่ท่านก็ไม่เคยวิตกกังวลกับภาระนี้ ท่านเคยพูดเสมอว่า “กินคนเดียวไม่พอกิน กินมากคนกินไม่หมด”

    ท่านมุ่งมั่นจะบำเพ็ญบารมีอย่างจริงจังท่านเคยพูดถึงอานิสงส์ของการบำเพ็ญทานไว้ว่า “ทานนั่นแหละจะเป็นชนกกรรมนำไปเกิดในสกุลที่มั่งมีมาก เมื่อให้ทานแล้ว ผู้ยากขัดสนก็สมบูรณ์ อ้ายความสมบูรณ์ที่ให้แก่เขาน่ะกลับมาเป็นของตัวมากน้อยเท่าใดกลับมาเป็นของตัวหมด ทานนี่แหละเป็นข้อสำคัญนัก เพราะฉะนั้นบัดนี้วัดปากน้ำมีพระภิกษุสามเณรมารวมกันอยู่มากก็เพราะอาศัยเจ้าอาวาส บริจาคทานบริจาคมานาน ๓๗ ปีแล้ว”


    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    การพัฒนาวัดของพระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ

    การปกครอง

    ท่านบริหารงาน โดยใช้หลักการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับพระภิกษุสามเณร ตลอดจนผู้ที่อยู่ในอุปการะ ดุจพ่อปกครองบุตรชายหญิงอันเกิดจากอกของตนเอง ให้ความเสมอภาคโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ใครผิดก็ว่าไปตามผิด ใครถูกก็ยกย่องชมเชย ใครต้องการความช่วยเหลือจากท่าน ท่านก็ช่วยอุปการะปัดเป่าให้คลายทุกข์ด้วยความเมตตาปราณี แม้แต่ผู้ที่ออกจากความปกครองของท่านไปแล้ว ท่านยังคอยติดตามถามข่าว ด้วยความเป็นห่วงเกรงว่าจะหลงลืมโอวาทที่ดีงามที่เคยกรุณาสั่งสอนไว้ ความเอื้ออาทรเหล่านี้ทำให้บรรดาลูกศิษย์ที่เคยอยู่ในความปกครองของท่าน พากันเรียกท่านจนติดปากว่า “หลวงพ่อ”



    การศึกษา


    เมื่อท่านมาเป็นเจ้าอาวาสทำการปกครองวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระภิกษุสามเณรอยู่ในลักษณะย่อหย่อนต่อพระธรรมวินัยและไร้การศึกษาเสียเป็นส่วนมาก ในฐานะที่ท่านเป็นผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ผู้ที่อยู่ในการปกครองของท่านจึงต้องเลือกเรียนสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างจริงๆ ใครไม่ศึกษาไม่ปฏิบัติ ก็ให้ทำหน้าที่บริหารงานในวัด


    แผนกคันถธุระ

    ท่านได้ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้นในวัด โดยจัดหาทุนเอง และได้จัดการศึกษานักธรรมและบาลีขึ้น เมื่อมีผู้มาศึกษามาก ในที่สุดก็ได้รับการยกฐานะให้เป็นสำนักเรียนโดยตรง และสำนักของวัดปากน้ำ ภาษีเจริญก็ได้เจริญขึ้นเรื่อยๆ เพราะท่านคอยส่งเสริมเอาใจใส่เรื่องการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณรอยู่เสมอ พระภิกษุ-สามเณรที่สอบผ่านบาลี ท่านจะกล่าวชมเชยทั้งต่อหน้าและลับหลัง ทั้งยังหารางวัลให้เป็นกำลังใจอีกด้วย

    สำหรับการแสดงพระธรรมเทศนาทางปริยัตินั้น ท่านจะเป็นผู้แสดงเองในวันอาทิตย์และวันธรรมสวนะที่พระอุโบสถเป็นประจำมิได้ขาด รวมทั้งวันอื่น ๆ ที่มีเจ้าภาพมาถวายภัตตาหารแล้วอาราธนาให้ท่านแสดงธรรม ท่านจะสอนให้พุทธศาสนิกชนเลื่อมใสในการบำเพ็ญทาน การรักษาศีลและการเจริญภาวนา โดยยกชาดกและเรื่องจากธรรมบทมาเป็นอุทาหรณ์ ลงท้ายด้วยการสอนเจริญภาวนา ทำให้ผู้ฟังมีความเข้าใจเรื่องราวในพระพุทธศาสนาอย่างละเอียดลึกซึ้ง และได้รับความสนุกสนานด้วย

    การแสดงธรรมท่านยังได้จัดให้พระภิกษุสามเณรหัดทำการเทศนาเดี่ยวบ้าง หัดเทศน์ปุจฉาวิสัชนา ๒ – ๓ ธรรมาสน์บ้าง แล้วจัดให้ทำการแสดงพระธรรมเทศนา ณ ศาลาการเปรียญตลอดฤดูการเข้าพรรษา จากการฝึกฝนนี้ทำให้พระภิกษุสามเณรของวัดปากน้ำหลายรูปได้เป็นพระธรรมกถึกและได้รับการอาราธนาให้ไป
    แสดงพระธรรมเทศนานอกสำนักอยู่เสมอๆ


    แผนกวิปัสสนาธุระ

    เป็นวิชชาที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ได้ศึกษาค้นคว้ามาตั้งแต่เริ่มอุปสมบทวันแรกเมื่ออายุ ๒๒ ปี เป็นต้นมาจนกระทั่งอายุ ๗๐ ปี ขณะที่ท่านเปิดสอนปริยัติ ท่านก็สอนปฏิบัติควบคู่ไปด้วย มีทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์มาปฏิบัติธรรมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้วัดปากน้ำในครั้งนั้นมีชื่อเสียงไม่เฉพาะเพียงแต่ด้านปริยัติธรรมเท่านั้น ในด้านวิปัสสนาก็มีชื่อเสียงมากเช่นกัน เพราะมีผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรมและเข้าถึงธรรมกายเป็นจำนวนมาก
    การแสดงพระธรรมเทศนาทางปฏิบัติเฉพาะในวัดนั้น พระเดชพระคุณท่านจะเทศน์สอนทุกวันพฤหัสบดี ซึ่งจะมีพระภิกษุสามเณรจากวัดอื่น ตลอดจนอุบาสกอุบาสิกามาศึกษากันอย่างคับคั่ง ซึ่งท่านถือเป็นวัตรปฏิบัติของท่านไม่ยอมขาดเลย เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยจริงๆ จึงจะยอมขาด เท่าที่ปรากฏมาท่านเคยขาดกิจกรรมนี้ไม่เกิน ๓ ครั้ง


    ได้รับแต่งตั้งสมณศักดิ์


    ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสมณธรรมสมาทาน
    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระภาวนาโกศลเถร ถือพัดยอดพื้นขาวอันเป็นตำแหน่งวิปัสสนาธุระ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระมงคลราชมุนี
    ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระมงคลเทพมุนี



    อาพาธและมรณภาพ


    ก่อนที่พระเดชพระคุณหลวงปู่จะมรณภาพประมาณ ๕ ปี ท่านได้เรียกประชุมศิษย์ทั้งใน และนอกวัดเป็นกรณีพิเศษที่ศาลาการเปรียญ เพื่อแจ้งให้ทุกคนทราบว่าท่านจะถึงกาลมรณภาพในอีก ๕ ปีข้างหน้า กิจการใดที่ท่านได้ดำเนินไว้แล้ว ขอให้ช่วยกันทำกิจการนั้น ๆ อย่าทอดทิ้ง ท่านได้ชี้แจงโครงการพัฒนาวัดปากน้ำให้คณะศิษย์ช่วยกันดำเนินต่อไปให้สำเร็จ

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเผยแผ่วิชชาธรรมกาย ท่านเห็นเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ท่านบอกว่า ต่อไปวัดปากน้ำจะเจริญรุ่งเรืองใหญ่โต มีลูกศิษย์หลายคนได้อาราธนาขอไม่ให้ท่านมรณภาพ ท่านตอบว่าไม่ได้ อีก ๕ ปี ท่านจะไม่อยู่แน่ ๆ แล้ว

    นับตั้งแต่หลวงปู่วัดปากน้ำดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำเป็นต้นมา ท่านต้องรับภาระหนักโดยตลอด ทั้งด้านการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม การสอนและเผยแผ่วิชชาธรรมกาย การจัดตั้งโรงครัว การบูรณปฏิสังขรณ์ เสนาสนะต่างๆ รวมทั้งช่วยเหลือผู้คนที่มาขอพึ่งบารมีของท่าน เพื่อบรรเทาทุกข์ยาก ท่านได้ทุ่มเทชีวิตเพื่องานพระพุทธศาสนา จนมีเวลาพักผ่อนน้อยมาก ทำให้สุขภาพทางกายทรุดโทรม แต่ทางด้านจิตใจยังคงแข็งแกร่งเช่นเดิม ท่านไม่ยอมทอดทิ้งธุระที่เคยปฏิบัติเป็นกิจวัตร ยังคงออกเทศน์สอนนั่งภาวนาแจกพระของขวัญตามปกติ ท่านไม่ชอบทำตนให้เป็นภาระของผู้อื่น แม้เวลาอาพาธก็ไม่ยอมให้ใครพยุงลุกนั่ง เรื่องภัตตาหารก็ไม่จู้จี้ ไม่เรียกร้องในเรื่องการขบฉัน ใครทำมาถวายอย่างไรก็ฉันอย่างนั้น

    เมื่อท่านอาพาธหนัก ได้เรียกศิษย์ให้ดำเนินการสอนเผยแผ่วิชชาธรรมกายต่อไป และสั่งว่า เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ให้เก็บสรีระของท่านไว้ไม่ให้เผา

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ ท่านถึงแก่ มรณภาพอย่างสงบสมดังเช่นจอมทัพธรรม ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๒ เวลา ๑๕.๕๐ น. สิริรวมอายุได้ ๗๔ ปี ๓ เดือน ๒๔ วัน มีอายุพรรษาได้ ๕๓ พรรษา
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" align=center border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD vAlign=top height=100>
    [​IMG]


    ประวัติก่อนบวช


    นามเดิม :- ศุข นามสกุล เกษเวช (ต่อมาลูกหลานได้ใช้ เกษเวชสุริยา ก็มี)

    เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีวอก พ.ศ. ๒๓๙๐ ที่บ้านมะขามเฒ่า ( เรียกกันในสมัยนั้น ปัจจุบันเรียก บ้านปากคลอง ) ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท

    โยมบิดา - มารดา :- ชื่อ นายน่วม และนางทองดี ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลมะขามเฒ่า

    มีบุตรและธิดา ด้วยกัน ๙ คน

    ๑. หลวงปู่ศุข

    ๒. นางอ่ำ

    ๓. นายรุ่ง

    ๔. นางไข่

    ๕. นายสิน

    ๖ .นายมี

    ๗. นางขำ

    ๘. นายพลอย

    ๙ .หลวงพ่อปลื้ม

    ปัจจุบันยังมีลูกหลานของท่านอยู่ที่บ้านใต้วัดมะขามเฒ่าอีกหลายคน หรือแม้แต่ร้านค้าขายภายในบริเวณวัดเองก็ยังมี

    หลวงปู่นั้น ท่านมีลุงคนหนึ่งชื่อ แฟง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลบางเขน จังหวัดพระนคร ( ในสมัยนั้น ) มีอาชีพ ทำสวน ไม่มีบุตรหรือธิดา จึงได้มาขอหลานจากโยมบิดามารดาหลวงปู่ศุขไปเลี้ยง โยมท่านก็อนุญาตให้เลือกเอา ลุงแฟงก็เลือกเอาคนโต หรือ เรียกว่าคนหัวปี คือ หลวงปูศุข เข้าใจว่าขณะนั้นอายุประมาณ ๑๐ ขวบ เมื่อหลวงปู่ศุขไปอยู่กับลุงแฟง เจริญเติบโตที่ตำบลบางเขน

    เมื่อหลวงปู่ฯ อยู่ในวัยฉกรรจ์ ท่านได้เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ทำมาหากินค้าขายเล็กๆ น้อยๆ โดยยึดลำคลองบางเขน ซึ่งมีปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้จังหวัดนนทบุรีลงมา ปัจจุบันอยู่ข้างทางเข้าวัดทางหลวง เป็นที่ทำมาหากิน

    คลองบางเขนนี้ทอดขึ้นไปเชื่อมกับคลองรังสิต เมื่อก่อนนี้เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญและกว้างขวางเป็นอย่างมาก เมื่อการคมนาคมทางบกเจริญขึ้น การสัญจรทางน้ำก็หมดความสำคัญลง ปัจจุบันคงจะตื้นเขินไปแล้วก็ได้ เพราะขาดการทะนุบำรุงเท่าที่ควร

    หลวงปู่ฯ ท่านทำมาหากินอยู่ในคลองบางเขนอยู่ระยะหนึ่ง จนอายุได้ ๑๘ ปี ได้ภรรยาชื่อ นางสมบูรณ์ และเกิดบุตรชายคนหนึ่งชื่อ สอน เกศเวชสุริยา

    หลวงปู่ฯ ท่านครองเพศฆราวาสอยู่ไม่นาน พออายุท่านครบ ๒๒ ปี ท่านได้ลาไปอุปสมบท ณ วัดโพธิ์บางเขนหรือปัจจุบันชื่อว่า วัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง ส่วนวัดโพธิ์ทองบน อยู่ตอนเหนือของปากคลองบางเขน ตอนบนบริเวณจังหวัดปทุมธานี


    อุปสมบท

    การอุปสมบทของหลวงปู่ศุขนั้น ท่านได้อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ที่วัดโพธิ์บางเขน ( ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโพธิ์ทองล่าง ) โดยมี พระครูเชย จนฺทสิริ วัดโพธิ์บางเขน เป็น พระอุปัชฌาย์ พระถายมเป็นพระคู่สวด การอุปสมบทนี้มีลุงแฟงเป็นผู้อุปการะทั้งสิ้น ส่วนโยมบิดามารดาไม่ได้มาร่วมพิธีด้วย เพราะการเดินทางสมัยนั้นลำบากมาก จากชัยนาทถึงกรุงเทพฯ ก็กินเวลาอย่างน้อย ๒ ถึง ๓ วัน จึงจะถึง

    พระอุปัชฌาย์ของท่านชื่อ หลวงพ่อเชย จันทสิริ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่าง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ฝ่ายรามัญที่ถือเคร่งในวัตรปฏิบัติและพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงพ่อเชยท่านยังเป็นอาจารย์ทางฝ่ายวิปัสสนาธุระมีความรู้และความชำนาญรู้แจ้งแทงตลอด อีกทั้งทางด้านวิทยาคมก็แก่กล้าเป็นยิ่งนัก หลวงปู่ฯ ท่านได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้จากอุปัชฌาย์ของท่านมาพร้อมกับอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่า วัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่างเหมือนกัน

    เมื่อได้อุปสมบทแล้วอยู่กับพระอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์หาที่สงบฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐาน และวิชาอาคมต่าง ๆ จากสำนักที่มีชื่อเสี่ยงโด่งดังในสมัยนั้นจนชำนาญดีแล้ว จึงกราบลาอาจารย์กลับบ้านเกิดของท่าน โดยมาพักอยู่ที่วัดร้างแห่งหนึ่งข้างหมู่บ้านของท่าน ชื่อวัดอู่ทอง ปัจจุบันนี้เรียกว่า วัดปากคลอง ชาวบ้านแถวนั้นมีความศรัทธาเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้ท่านจำพรรษาอยู่ที่นั้น เพื่อที่ว่าจะได้สร้างวัดขึ้นมาใหม่ ดังนั้นท่านจึงได้อยู่ ณ ที่นั้นมาจนท่านมรณภาพ ในระหว่างที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้น ได้เริ่มพัฒนาในท้องถิ่นให้เจริญรุ่งเรืองด้วยจากวัดร้างที่ไม่มีอะไรเลย จนถึง พุทธาวาส ธรรมาวาส และสังฆาวาส เป็นวัดที่สมบูรณ์แบบจนถึงทุกวันนี้ ยังมีพระอุโบสถและมณฑป ปรากฏให้เห็นอยู่ ส่วนการอบรมสั่งสอนนั้นท่านได้แนะแนวการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ให้เห็นคุณและโทษของผลการปฏิบัติตนในทางที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร จนประชาชนแถวนั้นมีความประพฤติดีมีศีลธรรมเป็นส่วนมาก

    หลวงปู่ฯ ท่านเพลินอยู่ในธรรมเสียหลายปี จนกระทั่งมารดาท่านที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ได้ชราภาพลงตามอายุขัย และความเจ็บไข้มาเยือนอยู่บ่อยครั้ง ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยในบิดามารดาของท่านจึงได้เดินทางกลับสู่ภูมิลำเนาเดิม และได้อยู่จำพรรษาปีแรกๆ ที่วัดอู่ทองปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่โบราณที่อยู่ลึกเข้าไปในคลองมะขามเฒ่า หรือบริเวณต้นแม่น้ำท่าจีนในปัจจุบัน แต่ทว่าสภาพของวัดอู่ทองขณะนั้นได้เกิดการชำรุดทรุดโทรมลงตามสภาพ เกินกว่าที่จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้กลับคืนมาสู่สภาพที่ดีได้ต่อไป ท่านจึงได้ขยับขยายออกมาที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และได้สร้างกุฏิขึ้นครั้งแรกหนึ่งหลังพอเป็นที่อยู่อาศัยไปพลางก่อน

    สืบต่อมามารดาของหลวงปู่ๆ ได้ถึงแก่กรรมและได้จัดการฌาปนกิจศพ และในงานนี้เอง หลวงปู่ฯ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลในรูปพระพิมพ์สี่เหลี่ยมซุ้มรัศมีออกแจกเป็นของที่ระลึกเป็นครั้งแรก เมื่อผู้ที่ได้รับแจกพระเครื่องจากท่านไปได้ปรากฏอภินิหารทางอยู่ยงคงกระพัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกันเขี้ยวงา คือสุนัขกันไม่เข้า ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่บังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เพราะบ้านนอกอย่างในชนบทสมัยก่อนนั้นไม่ค่อยจะมีรั้วรอบขอบชิดเสียเป็นส่วนใหญ่ ก็ได้อาศัยสุนัขที่เลี้ยงไว้เป็นยามเฝ้าบ้าน ฉะนั้นการที่จะแวะเวียนไปบ้านหนึ่งบ้านใดนั้นจะต้องระวังเรื่องสุนัขลอบกัดให้ดี มิฉะนั้นท่านจะถูกสุนัขกัดเอาง่ายๆ พระของหลวงปู่ฯ จึงมีชื่อเรื่องสุนัขกันไม่เข้า เป็นปฐมเหตุก่อน จึงบังเกิดความนิยมไปขอท่านมาแขวนคอบุตรหลานเพื่อกันเขี้ยวงาและภยันตรายต่างๆ สมัยก่อนพระวัดปากคลอง เนื้อตะกั่ว จะมีแขวนอยู่ในคอเด็กในท้องถิ่นเกือบจะทุกคน แล้วถ้าจะไปขอพรหลวงปู่ศุข ท่านมักจะถามว่า “เอ็งมีลูกกี่คน?” ท่านจะให้ครบทุกคน

    กิตติศัพท์ในความขลังประสิทธิในพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของท่านจึงค่อยๆ เผยแพร่จากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง ในเวลาไม่ช้าไม่นาน คุณวิเศษของท่านจึงค่อยๆ โด่งดังขจรขจายไปทั่ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอันเป็นเส้นทางคมนาคมสายหลัก การขนส่งสินค้า ตลอดจาการทำมาค้าขาย จะขึ้นล่องจะต้องอาศัยสายน้ำเจ้าพระยาเพียงแห่งเดี่ยวเท่านั้น เพราะในสมัยนั้นถนนหนทางทางบกยังทุรกันดาร พอตกเพลาพลบค่ำพ่อค้าแม่ขายเรือเล็กเรือใหญ่จะมาอาศัยนอนค้างแรมที่แพหน้าวัดของท่าน เพื่ออาศัยบารมีของท่านช่วยป้องกันขโมยขโจรที่จะมาประทุษร้ายต่อเลือดเนื้อชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าจะเปรียบไปแล้วหน้าวัดของท่านจึงเป็นเสมือนหนึ่งเป็นชุมทางที่สำคัญนี่ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ช่วยเสริมส่งให้เกียรติคุณของท่านแผ่ขยายไปทั่วทุกภาคของประเทศ ชื่อเสียงของท่านจึงเป็นที่รู้จักกันดี “หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า”



    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" align=center border=0 valign="top"><TBODY><TR><TD vAlign=top height=100>
    [​IMG]


    อนึ่ง มีผู้กล่าวว่าท่านมีวิชาอาคมเวทย์มนต์เก่งมาก สามารถเสกใบไม้ให้เป็นตัวต่อ ตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย เสกก้านกล้วยให้เป็นงูได้ และเรื่องอภินิหารของขลัง คงกระพันชาตรี มีอีกมากมาย อาจจะเป็นด้วย บุญกุศลของหลวงปู่ศุข กับ เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งราชนาวี ซึ่งเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นพระองค์ที่ ๒๘ และเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

    ได้สร้างสมกันมาแต่ชาติปางก่อน ดลบันดาลให้เสด็จในกรมฯ ซึ่งทรงศรัทธาเลื่อมใสในทางมหาพุทธาคมอยู่แล้วได้เสด็จประพาสไปในภาคเหนือ จึงเป็นเหตุให้หลวงปู่ศุขและพระองค์ท่านได้พบกัน และเป็นที่ต้องอัธยาศัยซึ่งกันและกัน จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ – อาจารย์ เพื่อจักได้ศึกษาทางมหาพุทธาคม และปรากฏว่า พระองค์เป็นศิษย์ที่มีความรู้ความสามารถได้ศึกษาแตกฉานจนกระทั่งหลวงพ่อเองก็หมดความรู้ จึงได้ให้เสด็จในกรมฯ ไปศึกษาเคล็ดวิชากับหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตรต่อ ดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วนั้นและได้วาดภาพพุทธประวัติด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ที่อุโบสถด้านในหน้าอุโบสถ ซึ่งปรากฏจนทุกวันนี้ หลวงปู่ศุข ท่านมีเมตตามากจึงมีศิษย์เป็นอันมากที่มาเรียนวิชาเหล่านี้ ท่านได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูวิมลคุณากร และเป็นเจ้าคณะแขวง ( ปัจจุบันเรียกว่าเจ้าคณะอำเภอ ) เป็นองค์แรกของอำเภอวัดสิงห์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อใด

    เมื่อหลวงปู่ศุข ท่านมีลูกศิษย์อย่างเสด็จในกรมฯ จึงเป็นกำลังสำคัญให้ท่านสามารถที่สร้างวัดปากคลองมะขามเฒ่าให้เสร็จสมบูรณ์ ถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาที่คงเหลือเป็นประจักษ์พยานในปัจจุบันนี้ก็คือ ภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนฝีมือเสด็จในกรมฯ บนฝาผนังพระอุโบสถ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ที่ยังรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์ และเป็นภาพเขียนสีน้ำที่ทางกรมศิลป์ยกย่องว่าเสด็จในกรมฯ ทรงฝีมือในการเขียนภาพเป็นอย่างมาก

    และทรงสอดแทรกอารมณ์ขันในภาพพระพุทธเจ้าชนะมาร ในกระแสน้ำที่พระแม่ธรณีบีบมวยผมทำให้เกิดอุทกธาราหลากไหลพัดพาเอาทัพพระยามารไปนั้น พระองค์ท่านเขียนเป็นภาพลิงใส่นาฬิกาและหนีบขวดวิสกี้กำลังเดินตุปัดตุเป๋ไปเลย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฤาษีปัญจวัคคีเมื่อเห็นเจ้าชายสิทธัตถะเลิกทรมานการหันมากินอาหาร ก็นึกว่าพระองค์คงจะถ้อถอยละความเพียรแล้ว จึงพากันผละหนีพระองค์ไปนั้น เสด็จในกรมฯ ท่านเขียนใบหน้าของฤาษีปัญจวัคคี โดยสอดอารมณ์ที่ยิ้มเยาะเย้ยหยันอย่างไม่อะไรไยดีต่อพระองค์ เน้นความรู้สึกได้เด่นชัดมาก

    ฝีมือของเสด็จในกรมฯ อีกชิ้นหนึ่งก็คือภาพเขียนสีน้ำมันเป็นรูปหลวงปู่ศุขยืนเต็มตัวและถือไม้เท้า ภาพนี้เขียนขึ้นในขณะที่หลวงปู่มีอายุมากแล้วจึงต้องเดินสามขา

    ศิลปวัตถุในพุทธศาสนาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า นอกจากพระอุโบสถแล้วยังมีมณฑปจตุรมุขประดิษฐ์บานรอยพระพุทธบาท ประตูทั้ง ๔ บานนั้นแกะด้วยไม้สัก แกะลวดลายลึกถึงสามชั้น เคยมีคนสมคบกันเอาบานประตูมณฑปจตุรมุขออกขาย เอาลงมากรุงเทพฯ เตรียมใส่เรือกระแชงในคลองมหานาคเพื่อออกต่างประเทศ ด้วยดวงวิญญาณในหลวงปู่ศุขท่านผูกพันอยู่กับศาสนาวัตถุที่ท่านสร้างเอาไว้ในบวรพุทธศาสนา ท่านจึงเข้าประทับทรงจากหิ้งบูชาจังหวัดนครสวรรค์ รับเอาท่านแม่ทัพที่นครสวรรค์ (ขออภัยผู้เขียนจำชื่อท่านไม่ได้) และมารับเอาท่านนายอำเภอประจำจังหวัดชัยนาทในขณะนั้น คือ คุณสุธี โอบอ้อม แล้วนั่งรถเข้ากรุงเทพฯ ร่างทรงหลวงปู่ฯ

    ได้พาคณะลดเลี้ยวเข้าครอกเข้าซอยจนมาถึงเรือกระแชงที่บรรทุกบานประตูมณฑปเตรียมขนออกนอกได้อย่างทันท่วงที ยึดเอาบานประตูทั้ง ๔ บาน คืนกลับไป ขณะนั้นยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดป่าพานิชวนาราม อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท และยังไม่ได้ส่งคืนวัดปากคลองมะขามเฒ่า เพราะเหตุอะไรนั้น ชาวจังหวัดชัยนาทเขาทราบกันดี

    ปัจจุบันชาวจังหวัดชัยนาทผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ได้ร่วมกันสร้างรูปหุ่นขี้ผึ้งไว้ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพื่อจะได้ทำการสักการบูชาโดยทั่วกัน กรมทหารเรือเห็นความสำคัญ จึงได้ทำการบูรณะซ่อมแซมมณฑป เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ ทำให้ประชาชนทั้งใกล้และไกลต่างจังหวัด หลั่งไหลมาสักการะบูชาทุก ๆ วันมิได้ขาด วัดปากคลองมะขามเฒ่า จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยนาทต่อไป

    เรื่องทรงเจ้าเข้าผีนี้ จะไม่เชื่อก็ไม่ได้ แต่ที่ทรงจริงๆ นั้นมันมีน้อย อย่างในกรณีดวงวิญญาณหลวงปู่ศุขประทับทรงแล้วซอกแซกลงมาจากนครสวรรค์ถึงกรุงเทพฯ เกือบ ๓๐๐ กม. แล้วยังพาคณะเข้าครอกตรอกซอยจนถึงเรือกระแชงที่จอดลอยลำอยู่ในคลองมหานาคนั้นมันเป็นการเดินทางที่สลับวับซ้อนและวกวนน่าดู แต่ร่างทรงก็พาคณะไปจนพบและยึดบานประตูกลับคืนมาได้นั้น มันเป็นเหตุการณ์อันมหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง และบานประตูมณฑปทั้ง ๔ บานดังกล่าวแล้วนั้น ทั้งเสด็จในกรมฯ และหลวงปู่ศุขได้ช่วยกันสร้างเป็นชิ้นสุดท้าย ระบุปี พ.ศ. ๒๔๖๕ อยู่ที่ซุ้มหน้ามณฑปอีกด้วย

    ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์นอกจากจะถูกอัธยาศัยกันเป็นยิ่งนัก จักเดินทางไปมาหาสู่กันเสมอแล้ว ถ้าเสด็จในกรมฯ ติดราชการงานเมือง หลวงปู่ก็จะลงมาหา โดยเสด็จในกรมฯ ได้สร้างกุฏิอาจารย์ไว้กลางสระที่วังนางเลิ้ง ซึ่งเต็มไปด้วยดอกบัววิคตอเรีย มีใบกลมใหญ่ขนาดถาด และรู้สึกว่ากลางใบจะมีหนามคมด้วย อันนี้ได้รับคำบอกเล่าจากลุงผล ท่าแร่ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ติดสอยห้อยตามหลวงปู่ฯ มาแต่เล็ก ท่านเป็นชาวอุตรดิตถ์หรือพิษณุโลกจำได้ไม่ถนัดนัก หลวงปู่ศุขท่านขอพ่อแม่มาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่ฯ ท่านก็เลยลงหลักปักฐานได้ภริยาอยู่ที่ตำบลท่าแร่ อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาท เลยเรียกกันติดปากว่า ลุงผล ท่าแร่

    แต่อย่างไรก็ตาม ภายในกำหนด ๑ ปี หลวงปู่ศุขท่านจะต้องลงมากรุงเทพฯ ๑ ครั้งเป็นอย่างน้อย เพราะเสด็จในกรมท่านจะกระทำพิธีไหว้ครูราวๆ เดือนเมษายน งานจะจัดเป็น ๓ วัน วันแรกไหว้ครูกระบี่กระบอง วันที่สองไหว้ครูหมอยาแผนโบราณ และวันที่สามจะไหว้ครูทางวิทยายุทธ์พุทธาคมและไสยศาสตร์ จัดเป็นงานใหญ่มีมหรสพสมโภชทุกคืนกับมีการแจกพระเครื่องรางของขลังจากหลวงปู่ศุขอีกด้วย แต่ในระยะหลังๆ หลวงปู่ศุขท่านมีอายุมากแล้วสุขภาพไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าใดนัก ท่านจึงไม่ค่อยจะได้ลงมา

    จากการที่ผู้เขียนได้เคยศึกษาตำราอักขระเลขยันต์จากอาจารย์ท่านมหาโพธิ์ วัดคลองมอญ อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาท ผู้สืบสายมาจากท่านใบฎีกายัง วัดหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ ชัยนาท ซึ่งเป็นฐานาในหลวงปู่ศุข และเป็นลูกศิษย์เอกของหลวงปู่ศุขรูปหนึ่ง ตำราอักขระเลขยันต์ซึ่งคุณหมอสำนวน ปาลวัฒน์วิไชย แห่งโรงพยาบาลประจำจังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านได้ใช้เวลาค้นคว้าและรวบรวมพระเครื่องในหลวงปู่ศุข ตลอดจนประวัติและเรื่องราวของท่านตลอดมาเป็นเวลาหลายสิบปี ได้นำออกมาตีพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือรวมเล่มขนาดหนานั้น ได้ตีพิมพ์ตำราอักขระเลขยันต์ของหลวงปู่ศุขที่สอนให้กับลูกศิษย์ของท่างลงไปด้วย และบางตอนบางหน้ายังเป็นลายมือของหลวงปู่อีกด้วย นับว่าเป็นการเปิดหูเปิดตาสำหรับผู้ที่สนใจจริงๆ แต่ทว่าในตำราอักขระเลขยันต์ของท่านนั้นเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานทั่วๆ ไป ซึ่งมีอยู่ในตำรามหาพุทธาคมที่เราได้ร่ำเรียนกันอยู่ในปัจจุบันนี้ อย่างเช่นการเรียนสูตรสนธ์จากคัมภีร์รัตนมาลา ในพระอิติปิโส ๕๖ พระคาถาห้องพระพุทธคุณ ลงเป็นยันต์เกราะเพชรหรือตาข่ายเพชร ยันต์พระไตรสรณาคมน์ตลอดจนคัมภีร์นะ ๑๐๘ และ นะพินธุ หรือ นะปฐมกัลป์ หรือ นะโมพุทธายะใหญ่ และยันต์ประจำตัวของท่านที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำก็คือ ตัวพุทธมวันโลก ที่ท่านใช้จารลงที่หลังพระพิมพ์สี่เหลี่ยมของท่าน นอกจากนั้นยังลงด้วยยันต์สามลง มะ อะ อุ ที่ขมวดยันต์ลงหลังรูปถ่ายของท่าน เรียกว่า ยันต์เพชรหลีกน้อย นอกจากนั้นท่านจะนิยมหนุนหรือล้อมด้วยธาตุทั้ง ๔ คือ นะ มะ พะ ทะ

    อนึ่งการที่ท่านทำพระเครื่องรางของขลังได้ประสิทธิมีฤทธิ์มีเดชทั้งๆ ที่ใช้อักษรเลขยันต์พื้นๆ นั้น เป็นเพราะอำนาจจิตที่ท่านได้ฝึกฝนมานั้นกล้าแกร่งยิ่งนัก โดยเฉพาะกสิณธาตุทั้ง ๔ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม นั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เป็นบ่อเกิดแห่งอำนาจอิทธิฤทธิ์ทางใจเลยทีเดียว สำหรับการสำเร็จวิชาชั้นสูงเรียกว่า มายาการ คือความเชื่อถือ และการปฏิบัติ ที่มุ่งหมายให้เกิดผล ด้วยการใช้พลัง หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ของขลัง พิธีกรรม หรือหลีกลี้ลับ บังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ เช่น ท่านเสกใบมะขามให้เป็นตัวต่อตัวแตน เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย ตลอดจน การผูกหุ่นพยนต์ด้วยฟางข้าว เสกคนให้เป็นจระเข้ เป็นต้น มันเป็นมายาการชั้นสูง คือการบังคับให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ แท้ที่จริงแล้วใบมะขามก็คงเป็นใบมะขาม หัวปลีก็คงเป็นหัวปลี และหุ่นฟางก็คงเป็นหุ่นฟางเหมือนเดิม เว้นแต่ด้วยอำนาจจิตของท่านทำให้เราเห็นไปเอง

    จากหนังสือ “พระกฐินพระราชทาน สมาคมศิษย์อนงคาราม ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ เรื่องพระใบมะขาม” ท่านผู้เขียนอดีตเป็นพระมหา มีหน้าที่ไปอุปัฏฐากหลวงปู่ศุข ขณะที่อาราธนาท่านมาปลุกเสกพระชัยวัฒน์ และพระปรกใบมะขาม (พ.ศ. ๒๔๕๙) ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

    “เมื่อข้าพเจ้าไปอุปัฏฐากหลวงพ่อแล้ว มีชาวบ้านชาววัดมาขอให้หลวงพ่อลงกระหม่อมบ้าง ลงตะกรุดพิสมรบ้าง โดยยื่นแผ่นเงิน ทอง นาก ให้ลงคาถา บางคนขอเมตตา บางคนขอการค้าขาย หลวงพ่อให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ลง

    ข้าพเจ้าถามว่าการค้าขาย จะให้ลงว่ากระไร?

    หลวงพ่อบอกว่า “นะชาลิติ”

    บางคนขอเมตตา ข้าพเจ้าถามว่า จะให้ลงว่ากระไร?

    หลวงพ่อพูดติดตลกว่า “เมตยายไม่เอาหรือ เอาแต่เมตตาเท่านั้นหรือ?”

    คนขอจึงบอกขอเมตตาอย่างเดียว ข้าพเจ้าถามว่า จะให้ลงว่ากระไร?

    ท่านบอกว่า “นะเมตตา โมกรุณา พุทธปราณี ธายินดี ยะเอ็นดู”

    ข้าพเจ้าจึงบอกว่า “หลวงพ่อครับ ผมไม่มีความขลัง ลงไปก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไร”

    หลวงพ่อบอกว่า “มันอยู่ที่ผมเสกเป่านะคุณมหา”

    ข้อนี้ยืนยันว่าเป็นความจริง เพราะระหว่างนั่นข้าพเจ้าให้หลวงพ่อลงกระหม่อม แล้วท่านเสกเป่าไปที่ศีรษะตั้งหลายครั้ง เมื่อท่านเป่าที่กระหม่อมที่ไร ข้าพเจ้าขนลุกชันทั่วทั้งตัวทุกครั้ง ทั้งที่ข้าพเจ้าฝืนใจไม่ให้ขนลุกก็ลุกซู่ทุกครั้งที่ท่านเป่า ข้อนี้เป็นมหัศจรรย์จริงๆ ข้าพเจ้าคิดว่าจะเป็นแต่ข้าพเจ้าคนเดียว ไปสอบถามภิกษุอุปัฏฐากรูปอื่นๆ ก็ได้รับคำตอบเช่นเดียวกัน ข้อนี้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า “ท่านสำเร็จสมถะภาวนาแน่ๆ”

    อนึ่ง ท่านเป็นพระที่น่าเคารพนับถือ สำรวมในศีลเป็นอย่างดี ไม่ใคร่พูดจา นั่งสงบอารมณ์เฉยๆ ไม่ถามอะไร ท่านก็ไม่ตอบไม่พูด บางอย่างข้าพเจ้าถามหลวงพ่อ หลวงพ่อก็ตอบเลี่ยงไปทางอื่น เช่น “เขาว่าหลวงพ่อเสกใบไม้เป็นต่อ และเสกผ้าเช็ดหน้าเป็นกระต่ายได้ และแสดงให้กรมหลวงชุมพรฯ เห็นจนยอมเป็นศิษย์”

    หลวงพ่อตอบข้าพเจ้าว่า “ลวงโลก” แล้วท่านก็นิ่งไม่ตอบว่าอะไรอีก

    หลวงพ่อพูดต่อไปว่า “เวลานี้กรมหลวงชุมพรฯ ไปต่างประเทศ (เข้าใจว่าไปรับเรือพระร่วง) ถ้าอยู่ก็ต้องมาหาท่าน และปรนนิบัติท่านจนท่านกลับวัด และว่ากรมหลวงชุมพรฯนี้ตกทะเลไม่ตาย แม้จะมีสัตว์ร้ายก็ไม่ทำอันตรายได้”

    หลวงพ่ออยู่ที่กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) พุทธสรมหาเถรเป็นเวลาสิบวันเศษ ได้ทราบว่าสมเด็จเรียนวิทยาคมกับหลวงพ่ออีกด้วย






    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ศุข กับ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

    บางส่วนของบทความเรื่อง : กฤติยาคม กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์



    เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ท่านเป็นชายชาตรี ใช้ชีวิตกลางแจ้งเพื่อศึกษาชีวิตของราษฎรตามหัวเมืองต่าง ๆ และที่สำคัญท่านชื่นชอบพุทธเวท ไสยเวท เป็นอย่างมาก

    ด้วยเหตุนี้เมื่อพระองค์เสด็จประพาสไปที่ใด หากทราบว่ามีพระอาจารย์ดีเรื่องอาคมเป็นที่ศรัทธาของคนทั่วไป พระองค์จะไปกราบนมัสการสนทนาในเรื่องของธรรมะและพุทธาคมอยู่เป็นนาน พร้อมกับฝากตัวเป็นศิษย์อีกด้วย ในจำนวนพระเกจิอาจารย์มีชื่ออยู่ในยุคนั้นที่เสด็จในกรมทรงศรัทธามากเป็นพิเศษและไปมาหาสู่บ่อย ๆ คือ “หลวงปู่ศุข” หรือ “ท่านพระครูวิมลคุณากร” แห่งวัดปากคลองมะขาวเฒ่า อำเภอสิงห์บุรี จังหวัดชัยนาท

    แล้วก็เป็นเรื่องที่น่าแปลง เมื่อกล่าวถึงพุทธาคมของหลวงปู่ศุข ก็จะต้องเขียนเรื่องกรมหลวงชุมพรฯ และถ้าหากเขียนเรื่องเสด็จในกรมในเรื่องความขมังเวท ก็จะต้องมีเรื่องของหลวงปู่ศุข เข้ามาเกี่ยวข้องกันจนแยกไม่ออก

    หลวงปู่ศุข เกิดเมื่อปี พ.ศ.2396 ความเป็นมาในช่วงวัยเด็กจนเป็นหนุ่มรุ่นนั้น ข้อมูลมีกันอยู่หลายกระแส คือท่านเป็นเด็กซุกซน ชอบลงว่ายน้ำเกาะเรือโยงในแม่น้ำเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้มารดาของท่านเป็นห่วง ห้ามปรามก็ไม่เชื่อ ทำให้มารดาโกรธและทำโทษเฆี่ยนตีสั่งสอน แต่ผลจากการลงโทษนั้นทำให้เด็กชายศุขโกรธผู้เป็นแม่ รุ่งขึ้นจึงเกาะเรือโยงหนีออกจากบ้าน

    แต่อีกข้อมูลก็แจ้งว่า ตอนเมื่อท่านเยาว์วัยอายุประมาณ 7 ปี มารดานำไปฝากเรียนหนังสือกับพระอาจารย์ผู้เรืองอาคม วัดปากคลองมะขามเฒ่า จนมีความรู้ความชำนาญในเรื่องภาษาไทย จากนั้นจึงได้อำลาพระอาจารย์ไปแสวงหาวิชาความรู้เพิ่มเติมในกรุงเทพฯ โดยที่ท่านยังไม่บวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรแต่อย่างใด

    ขณะที่อยู่ในกรุงเทพฯ จนถึงวัยหนุ่มอายุ 18 ปี ได้พบเนื้อคู่ซึ่งเป็นสาวสายย่านบางเขน ชื่อสมบูรณ์ หนุ่มศุขใช้ชีวิตครองเรือนจนมีบุตรคนหนึ่งซื่อสอน (บ้างก็ว่าชื่อชวน) ใช้ชีวิตอย่างปุถุชนธรรมดาจนเบื่อ

    ในที่สุดท่านก็ตัดสินใจหักคานเรือน หนีภรรยาและบุตรไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง จังหวัดนนทบุรี โดยมีอาจารย์เชย เป็นพระอุปัชฌาย์

    ครั้นบวชเป็นพระภิกษุเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ศุขก็มุ่งวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างเคร่งครัด ถือวัตรธุดงค์อยู่ตามสถานที่วิเวกสันโดษ เยี่ยงพระอนาคาริกทั้งหลายในสมัยนั้น

    การธุดงค์ไปตามป่าเขาของหลวงปู่ศุข ทำให้ท่านได้พบพระวิปัสสนาจารผู้ทรงคุณและมีความรู้หลายท่าน จนมีความเจนจบในไสยศาสตร์หลายสาขาอีกด้วย

    ครั้นมารดาของท่านถึงแก่กรรมลง หลวงปู่ศุขก็ได้กลับบ้านเพื่อจัดการฌาปนกิจศพเป็นที่เรียบร้อย ขณะเดียวกันท่านก็ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่านับแต่นี้ไปในกาลภายหน้าจะยึดมั่นในบวรพุทธศาสนา โดยจะถือเพศบรรพชิตอยู่ในวัดปากคลองมะขามเฒ่าไปจนตลอดชีวิต ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่ศุข ก็อยู่อย่างพระวิปัสสนาในวัดปากคลองมะขามเฒ่า มีความเคร่งครัดในศีลาจารวัตร เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนทั่วไป โดยเฉพาะในเรื่องพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

    พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นอกจากจะเป็นพระวิปัสสนาจารที่สามารถแล้ว ท่านยังเป็นผู้ที่รอบรู้ด้านปริยัติธรรม มีความรู้แตกฉานในหลักธรรมและพระไตรปิฎก โดยเฉพาะในเรื่องวิชาไสยศาสตร์ วิทยาคมต่าง ๆ นั้นท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นเลิศ มีหลักฐานบันทึกของสานุศิษย์ผู้ใกล้ชิดผู้หนึ่งว่า

    “หลวงปู่ศุขสำเร็จในอารมณ์กำหนดธาตุทั้ง 4 มี ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ ซึ่งถือว่าเป็นผลแห่งฌานด้วย “กสิณ” สมาบัติ สามารถทำอะไร ๆ ได้ เช่น ผูกหุ่นพยนต์ ล่องหนหายตัวกำบังกาย ทั้งสามารถระเบิดน้ำลงดำในทะเล หรือเดินบนผิวน้ำ สะเดาะโซ่ตรวจ สะกดทัพ ท่านสามารถทำในสิ่งเหล่านี้ได้”

    จากหนังสือ กรมหลวงชุมพรฯ เรียบเรียงโดย บุรี รัตนา


    เดือนยี่ปีนั้นกำลังอยู่ในหน้าแล้ง มีชาวเหนือทางจังหวัดอุตรดิตถ์ เดินทางมาค้าขายโดยมีช้างเป็นพาหนะประมาณ 8-9 เชือก แต่สินค้าที่ขายกันนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นอะไรแน่ สมัยนั้นปรากฏว่าการคมนาคมไม่สะดวกราบรื่นเท่าที่ควร 2 ข้างทางเต็มไปด้วยป่าพงดงดิบ พ่อค้ากลุ่มนี้มีประมาณ 15 คน เดินทางจากจังหวัดอุตรดิตถ์ ผ่านสุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี จนถึงชัยนาท พ่อค้าเหล่านั้นได้พากันพักแรมอยู่ที่ใต้ถุนศาลาวัดปากคลองมะขามเฒ่า แต่แล้วบรรดาพ่อค้านี้ได้ปล่อยช้างให้กินใบไผ่ใบหญ้าอยู่ตามบริเวณวัด 2-3 วัน แล้วก็ช้าง 8-9 เชือกนี้เองบังเอิญไปเหยียบย่ำต้นไม้ของหลวงพ่อที่ปลูกไว้ เช่น ต้นกล้วย ผัก พริก มะเขือ และไม้ดอกสีต่าง ๆ บางทีช้างก็ใช้งวงเอาใบกล้วยมากินจนแหลกลาญเสียหาย

    ความจริงหลวงพ่อก็มิได้เอ่ยว่าประการใด บรรดาชาวบ้านแถวนั้นก็จูงลูกเด็กเล็กแดงมายืนดูช้างอยู่ในวัดจำนวนมาก เพราะมีทั้งช้างสีดอ ช้างพัง ช้างพลาย และลูกช้างอีกราว 2-3 เชือก ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 16.30 น. พวกเลี้ยงช้างที่มานั้นพากันหุงข้าวปลาอาหารอยู่ใต้ถุนศาลา กะว่ารุ่งขึ้นจะพากันเดินทางลงใต้ คือผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ระหว่างที่หุงข้าวกันอยู่นั้น ชาวบ้านก็ได้ยินกลุ่มชาวเหนือที่กำลังนึ่งข้าวกันอยู่นั้นพากันบ่นว่า ข้าวไม่พอกินกัน อีกคนหนึ่งจึงพูดว่า

    "จะไปยากอะไร นกพิราบอยู่บนหลังคาโบสถ์เป็นฝูง ๆ ปืนเราก็มี หน้าไม้ก็มี จัดการเอาเลย"

    ชาวบ้านแห่งวัดมะขามเฒ่าได้ฟังดังนั้นจึงช่วยกันห้ามปราม อธิบายให้ฟังทั่ว ๆ กันว่า การกระทำดังนั้นจะผิดเจตนารมณ์ของหลวงพ่อ หลวงพ่อเคยห้ามไว้นานแล้วว่าไม่ให้ยิงนกภายในบริเวณวัด แม้ว่าจะเป็นการพูดทักท้วงที่ละมุนละม่อมเพียงไร เขาก็หาฟังเสียงไม่ คนหนึ่งคว้าปืนแก๊ปขึ้นประทับบ่ายิงไปยังนกพิราบฝูงนั้น สับนกดังเชี๊ยะ ๆ ตั้งหลายครั้งหลายครา พยายามยิงเท่าไหร่ลูกปืนก็หาออกไปสังหารชีวิตนกพิราบแม้แต่ตัวเดียว

    พวกที่หมายมั่นจะกิจเนื้อนกพิราบให้จงได้ก็พยายามต่อไป คือเปลี่ยนเป็นหยิบหน้าไม้ออกไปยิง แต่เมื่อยิงทีไรลูกศรก็ตกจากร่องหน้าไม้ทุกที เป็นที่น่าประหลาดใจแก่ผู้พบเห็นตาม ๆ กัน ร้อนถึงชายฉกรรจ์วัยกลางคนผู้หนึ่ง ท่าทางภูมิฐานเอาเรื่อง เปล่งเสียงออกมาอย่างเกรี้ยวกราดตามอารมณ์ดีเดือดว่า

    “ขรัวตาวัดนี้มีอะไรดีหรือวะ ชะ ชะ”

    พูดแล้วก็คว้าได้ขวานสั้นคมกริบเล่มหนึ่ง ฟันลงที่หน้าแข้งเสียงดังฉาด ๆ กระเด็นออกมาเป็นฟืนหุงข้าว ทำให้ผู้คนที่ต่างมุงดูอยู่บังเกิดความพิศวงเป็นกำลัง เพราะเห็นขวานกระทบหน้าแข้งกระเด็นออกมาเป็นท่อนฟืนได้

    ชาวเหนือผู้เลี้ยงช้างยิ่งแลเห็นผู้คนสนใจในอาคมของตนก็ยิ่งกำเริบใจ วางท่าหนักขึ้นไปอีก แสดงอาการถากหน้าแข้งต่อไปไม่หยุดยั้ง ในที่สุดก็ได้ฟืนเป็นกองใหญ่

    ขณะนั้นมีชาวบ้านคนหนึ่งวิ่งตะลีตะลานไปรายงานกับหลวงพ่อวัดปากคลองมะขามเฒ่าว่า บัดนี้มีคนดีมาจากเหนือแสดงอาการถากหน้าแข้งให้เป็นฟืนหุงข้าวก็ได้ สร้างความตื่นเต้นให้แก่ใคร ๆ ที่ได้พบเห็นยิ่งนัก

    หลวงพ่อถามโพล่งออกมาว่า “ใครวะ คนดีคนเก่ง”

    ชาวบ้านตอบว่า “คนเลี้ยงช้างครับหลวงพ่อ”

    หลวงพ่อได้ฟังคำตอบชัดแจ้งดีแล้วก็พูดด้วยเสียงอันดังฉุนเฉียวว่า

    “เอ ไม่ได้การเสียแล้วไอ้ห่านี่บังอาจมาฉากเสาศาลาของกู เดี๋ยวเหอะ กำแหงใหญ่แล้วพวกนี้”

    ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำพอดี หลวงพ่อจึงคิดจะทำการดัดสันดานพวกนี้ให้เข็ดหลาบเสียบ้าง ไม่รู้จักว่าใครเป็นใคร มันไม่รู้จักกู ดีละ เพราะท่านทราบว่าจวนถึงเวลาที่พวกเลี้ยงช้างจะต้องต้อนช้างไปผูกแล้วสุมไฟให้นอน หลวงพ่อเผ่นลงจากุฏิพร้อมด้วยกะลามะพร้าวซีกหนึ่ง เดินไปลานหญ้าหน้ากุฏิ หยุดบริกรรมร่ายพระเวทอันศักดิ์สิทธิ์เรียกฝูงช้างให้มารวมกัน จากแรงฤทธิ์อิทธิเดชของเวทมนต์หลวงพ่อ ช้างก็ถูกลมพัดปลิวเหลือตัวเท่าแมลงวันตกอยู่ตรงหน้า แล้วท่านก็เอากะลาครอบลง เอาเท้าเหยียบตรึงด้วยพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ เป่าลงบนกะลาครอบนั้น จากนั้นหลวงพ่อก็เดินกลับเข้าไปในกุฏิ

    ส่วนพวกเลี้ยงช้างนั้นเล่า หลังจากกิจข้าวปลาอาหารจนอิ่มหนำสบายใจดีแล้วก็นึกขึ้นได้ว่ายังไม่ได้ต้อนช้างให้เข้านอน แต่เมื่อมุ่งหน้าไปยังที่ช้างอยู่ก็หาเห็นช้างแม้สักเชือกไม่ ช้างหายไปไหนหมด ทุกคนพบกับปัญหาที่คาดไม่ถึง แล้วก็ออกค้นหากันไป จนกระทั่งอ่อนใจ หนักเข้าถึงกับร้องไห้ขึ้นไปกราบเท้าหลวงพ่อพลางปรับทุกข์ให้ท่านฟัง “ถ้าช้างถูกขโมยไปหมดแล้ว พวกเขาจะกลับบ้านไม่ได้” พวกเขาว่าอย่างนี้ หลวงพ่อฟังแล้วก็เลยถือโอกาสสั่งสอนว่า

    “เรามาทำมาหากิจ ก็จงทำมาหากิจโดยซื่อสัตย์สุจริต มีความอุตสาหะหมั่นเพียร อย่าได้คิดเบียดเบียนคนอื่นให้เกิดความเดือดร้อน จะได้เอาเงินกลับไปบ้านเลี้ยงลูกเลี้ยงเมีย แต่นี่พวกมึงกำแหงมาก ศาลาของกูสร้างต้องเสียเงิน แต่มึงเอาขวานมาถากศาลาของกูเสียหาย”

    พวกเลี้ยงช้างต่างฟังกันเงียบไม่ยอมปริปากประการใด หลวงพ่อก็พูดต่อไปว่า

    “ศาลาของกูเสียหายอย่างนี้ มึงต้องเอาเงินมาเปลี่ยนทำเสาศาลากูให้ดีเหมือนเดิม กูถึงจะคืนช้างให้พวกมึง”

    พวกเลี้ยงช้างเหล่านั้นจำใจต้องยอมรับผิดเพราะตนผิดจริง ๆ แล้วมอบเงินให้กับหลวงพ่อให้พอกับการเปลี่ยนเสาศาลาให้มีสภาพดีเหมือนเดิม เมื่อหลวงพ่อได้รับเงินแล้วก็พูดว่า

    “มึงตามมา แล้วพรุ่งนี้มึงต้องไปนะ ต้นไม้ต่าง ๆ ของกูฉิบหายหมด เห็นไหม”

    พวกเลี้ยงช้างค่อย ๆ เดินตามหลวงพ่อมา จนกระทั่งถึงที่ช้างถูกกะลาครอบเอาไว้

    “นี่ ช้างของมึง กูเอากะลาครอบเอาไว้”

    พูดจบหลวงพ่อก็เปิดกะลาที่ครอบออก ช้างที่เล็กเท่าตัวแมลงวันก็กลับกลายร่างใหญ่โตเท่าเดิม เหล่าชาวเหนือเห็นดังนั้นก็ก้มลงกราบแทบเท้าหลวงพ่อแล้วนำช้างกลับไปพักผ่อนตามปกติ

    ความแก่งกล้าสามารถในด้านวิชาไสยศาสตร์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีผู้บอกเล่ากันต่อไปในที่ต่าง ๆ โด่งดังไปถึงในรั้วในวัง และทำให้กรมหลวงชุมพรฯ ทราบเรื่องที่ว่านี้มาตลอด แต่ก็ทรงเฉย ๆ อยู่

    มีอยู่คราวหนึ่งพระองค์เจ้าวิบูลย์พรรณฯ ได้นำพระเครื่องเก่าองค์หนึ่งมาถวายแก่กรมหลวงชุมพรฯ แล้วทูลว่าพระเครื่ององค์นั้นมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นยอด ตกทอดมาตั้งแต่วังหน้า เนื่องจากพระองค์ชอบพิสูจน์หรือทดลองให้เห็นจริง จึงให้มหาดเล็กนำพระเครื่ององค์นั้นไปแขวนที่ปลายไม้ จากนั้นพระองค์จึงมีพระบัญชาให้นาวาเอกพระยาพลพยุหรักษ์ เป็นผู้ทดลองยิงพระเครื่ององค์นั้น โดยใช้ปืน ร.ศ. บรรจุกระสุนที่เลือกแล้วเป็นอย่างดี ท่ามกลางผู้ที่ยืนดูการทดลองจำนวนมาก จากการยิง 3 นัด ผลปรากฏว่าปืนกระบอกนั้นไม่มีเสียงระเบิดทั้ง 3 นัด คงมีเสียงสับนกกระทบตูดชนวนลูกปืนดัง แชะ แชะ แชะ อันหมายความว่า กระสุนด้านและไม่ทำงาน เสด็จในกรมทรางมีบัญชาให้หันลำกล้องปืนไปทางอื่นและยิงใหม่ ปรากฏว่ากระสุนเดิมทั้ง 3 นัด ส่งเสียงสนั่น อันหมายถึงกระสุนมิได้ด้าน

    นับตั้งแต่ครั้งนั้นกรมหลวงชุมพรฯ จึงมีความเชื่อถือในพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์ของไสยศาสตร์และ พุทธานุภาพ พร้อมกันนั้นได้เริ่มเสาะแสวงหาอาจารย์ดี เพื่อศึกษาวิชาไสยศาสตร์จากผู้ทรงคุณต่าง ๆ

    ครั้นชื่อเสียงกิตติคุณของหลวงปู่ศุขมีมากขึ้น ก็มีความสนพระทัย ความคิดใคร่จะไปทดลองดูให้เป็นที่ประจักษ์แก่ตาว่าเป็นอย่างไร หากมีโอกาสเมื่อใดก็จะไปพบหลวงปู่ศุขให้จงได้ ในครั้งนั้น กรมหลวงชุมพรฯ เสด็จไปตากอากาศภาคเหนือและเสด็จกลับด้วยเรือทหารล่องลงมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา แต่แทนที่จะล่องกลับถึงกรุงเทพฯ พระองค์ทรงรับสั่งให้เรือกลไฟที่จูงเรือประเทียบล่องลงมาตามลำน้ำท่าจีน อันแม่น้ำท่าจีนนั้นแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ชัยนาท ไหลลงสู่อ่าวไทยที่เมืองสมุทรสาคร มีความยาวถึง 200 กม. และเส้นทางสายแม่น้ำท่าจีนนี้ได้ไหลผ่านวัดปากคลองมะขามเฒ่าด้วย เมื่อเรือพระที่นั่งล่องมาถึงวัด ก็บังเอิญให้เรือมีอันขัดข้องโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้จะพยายามแก้ไขเครื่องยนต์อย่างไรก็ไม่สำเร็จ (ภายหลังหลายคนเชื่อว่าคงเป็นการสำแดงอิทธิฤทธิ์ของหลวงปู่ศุข) ในที่สุดก็เลยต้องชะลอเรือทั้งหมดเข้าไปจอดที่ศาลาวัดปากคลองมะขามเฒ่า ขณะที่เรือประเทียบและเรือกลไฟเข้ามาเทียบอยู่ที่ศาลาท่าน้ำ พระองค์ทรงแลเห็นเด็กลูกศิษย์วัดกำลังชุลมุนอยู่กับการตัดหัวปลีเอามากองที่ข้างศาลาทีละหัวสองหัว จนเรือเข้าเทียบศาลาท่าน้ำนั่นแหละจึงเห็นหัวปลีกองโตขึ้น ขณะเสด็จในกรมทรงยืนบนเรือมองดูการกระทำของเด็กวัดเหล่านั้นด้วยความฉงนพระทัย ได้มีพระภิกษุชรารูปหนึ่งเดินตรงเข้ามาที่กองหัวปลี ท่าทางเคร่งขรึม ท่านมองรอบ ๆ กองหัวปลีอยู่ 2-3 อึดใจ แล้วจึงหย่อนร่างนั่งบนกองหัวปลีนั้น พระภิกษุรูปนั้นนั่งหลับตาภาวนาอยู่ครู่หนึ่ง จากนั้นท่านก็หยิบหัวปลีขึ้นมาเป่าลูบไล้ไปมา จากนั้นท่านเหวี่ยงหัวปลีลงพื้น แล้วเสด็จในกรมตลอดจนทหารข้าราชบริพารต้องตกตะลึงเพราะหัวปลีนั้นเมื่อตกถึงพื้นกลายเป็นกระต่ายสีขาวนวล กระโดดโลดเต้นอยู่ไปมา ภิกษุรูปเดิมหาได้หยุดเสกเป่าหัวหลี ท่านทำอย่างต่อเนื่อง หัวปลีกลายเป็นกระต่ายขาวหลายตัววิ่งอยู่บนศาลาและพื้นดินเต็มไปหมด

    เมื่อเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนี้ กรมหลวงชุมพรฯ พร้อมด้วยนายทหารและข้าราชบริพารทั้งปวงในที่นั้นก็เข้าไปแสดงอาการคารวะต่อพระภิกษุรูปนั้นโดยทั่วหน้ากัน

    ครั้นกระต่ายวิ่งมาหาท่านทีละตัว ท่านก็เอามือลูบคลำไปมาสักครู่ แล้วปล่อยวางลงกับพื้น กระต่ายก็กลับเป็นหัวปลีอย่างเดิม และทำอยู่อย่างนั้นทุกตัว จนกลายเป็นหัวปลีกองโตเหมือนเดิม

    กรมหลวงชุมพรฯ ได้สอบถามพูดคุยกับหลวงพ่อองค์นั้น (ขณะนั้นเสด็จในกรมเรียกหลวงพ่อ) จึงทราบว่าพระภิกษุที่อยู่เบื้องหน้าท่านก็คือ “หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า” ที่พระองค์ได้ยินชื่อเสียงมาช้านานนั่นเอง

    และหลวงปู่ศุขก็รู้ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหน้าคือพระราชโอรสแห่งพระพุทธเจ้าหลวง “กรมหลวงชุมพรฯ” นั่นเอง

    การพูดคุยกันวันนั้นเป็นที่ถูกอัธยาศัยกันทั้ง 2 ฝ่าย เสด็จในกรมจึงอยากพักอาศัยอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าสักหลายวัน หลวงปู่ศุขก็มิได้ว่ากระไร ยกศาลาท่าน้ำให้เป็นที่จอดเรือ ความสัมพันธ์ระหว่างพระภิกษุชราและโอรสของเจ้าเหนือหัวได้เริ่มขึ้นแล้ว​
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เสกทหารกลายเป็นจระเข้

    วันรุ่งขึ้น เสด็จในกรมได้ขึ้นไปสนทนากับหลวงปู่ศุขบนกุฏิ การสนทนาในวันนั้นส่วนมากก็วนเวียนอยู่กับฤทธิ์อาคมเสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย หลวงปู่ศุขก็เล่าบอกตามความเป็นจริงในทางที่ตนเองยึดถือปฏิบัติ

    ยิ่งพูดคุยกันมากเสด็จในกรมก็ยิ่งรู้ว่าหลวงปู่ศุขมีอาคมมากมาย ทั้งยังสามารถเสกคนให้เป็นจระเข้ได้อีกด้วย ในตอนหนึ่งของการสนทนา หลวงปู่ศุขได้สอบถามกรมหลวงชุมพรฯ ว่า “ปรารถนาจะใคร่ชมคนกลายเป็นจระเข้หรือไม่” เสด็จในกรมและข้าราชบริพารที่นั่งอยู่ต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “อยากเห็นคนกลายเป็นจระเข้”

    เมื่อทุกคนอยากดูการเสกคนเป็นจระเข้ หลวงปู่ศุขจึงบอกให้เสด็จในกรมคัดเลือกคนรูปร่างล่ำสันแข็งแรง พระองค์จังคัดเลือกพลทหารมาได้คนหนึ่งชื่อ “จ๊อก”

    จากนั้นหลวงพ่อสั่งให้เอาเชือกเส้นใหญ่มักที่เอวของพลทหารจ๊อกอย่างแน่นหนา แล้วพาไปที่สระน้ำแห่งหนึ่งในวัด ให้พลทหารผู้นั้นนั่งคุกเข่าลงข้างสระ แล้วสั่งให้หลับตาพนมมืออยู่นิ่ง ๆ ส่วนตัวหลวงปู่จับปลายเชือกไว้แน่น พลางบริกรรมคาถาอยู่ครู่หนึ่ง แล้วก็เป่าพรวดลงไปที่ศีรษะพร้อมกับใช้ฝ่ามือที่ไม่ได้จับปลายเชือกตบลงที่กลางหลัง พร้อมกับผลักพลทหารจ๊อกตกลงไปในสระน้ำเสียงตูมใหญ่

    สายตาทุกคู่จ้องเป็นจุดเดียว กรมหลวงชุมพรฯ ยืนมองร่างพลทหาร ท้องน้ำแตกกระจายเป็นวงกว้าง ครั้นน้ำสงบลงจึงแลเห็นร่างของจระเข้ตัวโตอยู่ในน้ำ ส่วนหัวมีเชือกผูกติดตัวแหวกว่ายวนเวียนสะบัดหากฟาดน้ำอยู่ไปมา

    ทุกคนในที่นั้นต่างอัศจรรย์ในความขมังเวทย์ของหลวงปู่ศุข ส่วนกรมหลวงชุมพรฯ ทรงทอดพระเนตรดูลูกน้องกลายเป็นจระเข้ แหวกว่ายอยู่ในสระน้ำด้วยใจระทึก ร่างของจระเข้พยายามตะเกียกตะกายเพื่อจะดำดิ่งลงก้นสระ ติดแต่ว่าถูกล่ามเชือกอยู่ โดยเหล่าทหารเข้าช่วยหลวงปู่ดึงเอาไว้

    หลวงปู่ศุขได้กล่าวกับเสด็จในกรมว่า “ท่านจะให้ลูกน้องกลับเป็นคนหรือจะให้เขาเป็นจระเข้อยู่อย่างนั้น” กรมหลวงชุมพรฯ ได้ตรัสตอบว่า “ต้องการให้เขากลับเป็นมนุษย์อย่างเดิม” หลวงปู่ศุขจึงให้พวกทหารช่วยกันดึงเชือกให้หัวจระเข้โผล่ขึ้นมาพร้อมกับสั่งกำชับว่า “อย่าปล่อยให้เชือกหลุดมือหรือขาด หากจระเข้หลุดไปแล้วมันจะดำลึกลงกบดานที่ก้นสระ โอกาสที่จะทำให้คืนร่างเป็นมนุษย์คงยาก”

    พวกทหารจึงช่วยกันดึงรั้งเชือกกันสุดแรง กลายเป็นการชักเย่อระหว่างคนกับจระเข้ ส่วนหลวงปู่ศุขท่านเดินกลับกุฏิ ครู่ใหญ่ถือบาตรน้ำมนต์ตรงมายังขอบสระที่จระเข้กำลังตะเกียกตะกายหนี จากนั้นท่านได้บริกรรมคาถากำกับน้ำมนต์อยู่อึดใจแล้วท่านได้สั่งด้วยเสียงอันดังว่า “เอา ออกแรงดึงขึ้นมาหน่อย” ทหารทุกคนทำตาม ออกแรงดึงให้ร่างจระเข้ลอยบนผิวน้ำ หลวงปู่ศุขจึงเอาน้ำมนต์ที่เสกแล้วเทราดบนหัวจระเข้ ความอัศจรรย์เกิดขึ้นเป็นคำรบสอง ร่างจระเข้ที่ดิ้นรนและฟาดหางไปมานั้นค่อย ๆ มีอาการสงบลง แล้วร่างที่ขรุขระของจระเข้ก็กลายเป็นผิวเนื้อของมนุษย์ทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นทหารคนเดิมในเวลาต่อมา

    กรมหลวงชุมพรฯ มองดูทหารผู้นั้นด้วยความอัศจรรย์ในเป็นที่สุด เรื่องที่พระองค์ไม่เคยพบเห็นในชีวิตก็ได้มาเห็นที่วัดของหลวงปู่ศุข (เป็นที่น่าเสียดายที่ในปัจจุบันนี้ “สระประวัติศาสตร์แห่งนี้ได้ถูกถมเป็นพื้นดินราบและส่วนหนึ่งของสระได้ปลูกสร้างตึกเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่ารูปต่อ ๆ มา)

    อนึ่ง จากหนังสือพระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พลเรือเอกกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ โดยชัยมงคล อุดมทรัพย์ ได้บันทึกไว้เป็นความตอนหนึ่ง ดังนี้

    จากการบอกเล่าของพลทหารจ๊อก ภายหลังร่างกลับกลายเป็นคนว่า ขณะที่ตนลงไปในสระก็มิได้รู้สึกตัวว่าตัวเองเป็นจระเข้แต่อย่างใด เพียงแต่รู้สึกว่าตัวเองมีพละกำลังมหาศาลผิดปกติเท่านั้น และแหวกว่ายน้ำด้วยจิตใจคึกคะนองฮึกเหิม ในอยากดำผุดดำว่ายทั้งที่มองตัวเองแล้วก็มีร่ายกายเหมือนคนทุกอย่าง

    ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับวิชาเสกคนให้เป็นจระเข้ของคุณทวี เย็นฉ่ำ ผู้ศึกษาวิชาไสยศาสตร์คนหนึ่งของเมืองไทยกล่าวไว้ว่า “จระเข้วิชา” ก็คือ “คน” ซึ่งแก่กล้าวิชาอาคม และมีเหตุให้กลายร่างเป็นจระเข้ เพราะความเรืองวิชาอาคมของตนเอง จะเป็นด้วยเหตุบังเอิญหรืออะไรก็ตามที ทำให้ไม่สามารถรดน้ำมนต์ลงไปที่ตัวจระเข้ได้ บุคคลผู้นั้นก็จะกลายเป็นจระเข้ต่อไปจนกว่าจะแก้มนต์กำกับหรือมนต์อาถรรพณ์ได้

    ดังเช่นตำนาน “จระเข้คน” จากจังหวัดพิจิตรอันเป็นแดนอาถรรพณ์ต้นกำเนิดนิทานพื้นบ้านอันลือลั่น เรื่องไกรทองและชาละวันนั่นเอง

    มีเรื่องเล่าจากนายเนตร แพงกลิ่น ที่เคยบวชเรียนอยู่ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ได้เล่าถึงคนกลายเป็นจระเข้แล้วมาให้หลวงปู่ศุขช่วยแก้อาถรรพณ์ให้ว่า ณ ท่าเรือทองนี้ (อยู่วัดปากคลองมะขามเฒ่า) มีการลงอาถรรพณ์ไว้ หากจระเข้วิชามาถึงท่าเรือทองนี้ จะต้องลอยหัวโผล่ขึ้นมา ไม่สามารถดำน้ำได้อีกต่อไป คราวนี้พวกญาติจะนำน้ำมนต์หลวงปู่ศุขไปราดที่หัว จระเข้วิชาก็จะกลายเป็นคนตามเดิม โดยจะนอนแน่นิ่งเกยตื้นริมตลิ่งอยู่

    บางทีมีเรื่องทุลักทุเลไม่อาจราดน้ำมนต์ที่หัวจระเข้ได้ เพราะความกลัวของบรรดาญาติ หรืออะไรก็ตามแต่ บางทีเป็นเดือน ๆ เป็นปี ๆ ก็มี

    จระเข้วิชาเมื่อถูกราดด้วยน้ำมนต์แก้อาถรรพณ์แล้ว จะกลายเป็นคนนิ่งเงียบ ไม่ยอมพูดจา ญาติจะช่วยกันประคองไปหาหลวงปู่ศุขที่กุฏิ ท่านก็จะทำพิธีแก้อาถรรพณ์รักษาให้ นานอยู่ประมาณ 7-8 วัน คนผู้นั้นจึงจะพูดได้

    ในบันทึกของนายเนตร แพงกลิ่น ยังกล่าวอีกว่า “เคยเห็นมีการรักษาจระเข้วิชานี้ประมาณ 3-4 ครั้งเท่านั้น และทั้งหมดเป็นจระเข้จากจังหวัดพิจิตร จุดสังเกตจระเข้วิชาปากจะสั้น มีรูปร่างเหมือนหัวปลี

    ย้อนกลับมาเรื่องเสด็จในกรมพระองค์ได้เห็นการเสกหัวปลีเป็นกระต่ายขาว จนถึงการเสกพลทหารจ๊อกเป็นจระเข้ แล้วทรงยอดรับว่าอิทธิฤทธิ์ของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นั้นเหนือกว่าพระเกจิอาจารย์ท่านอื่น ๆ ที่พระองค์ประสบพบมา รู้สึกพอพระทัยจึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์สำนักวัดปากคลองมะขามเฒ่า



    ศิษย์เอกของหลวงปู่ศุข

    ตลอดชีวิตของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นั้น มีลูกศิษย์มากหลาย แต่ผู้ที่นับเนื่องได้ว่าเป็น “ศิษย์เอก” มีเพียงท่านเดียวเท่านั้น คือ “กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์”

    ที่นับเป็น “ศิษย์เอก” มิใช้เพราะกรมหลวงชุมพรฯ มีเชื้อเจ้าหรือเป็นโอรสของรัชกาลที่ 5 แต่ที่นับเป็นศิษย์เอกก็เพราะศิษย์คนนี้รักและเคารพอาจารย์อย่างยอมตายถวายชีวิต กับอาจารย์จะสั่งอย่างไรก็ทำตามได้ รับถ่ายทอดวิชาจากอาจารย์ไว้ได้มากที่สุด และทำตามอาจารย์ได้ในการแสดงอิทธิฤทธิ์และอภินิหาร

    มีบันทึกจากคนเฒ่าคนแก่ยืนยันว่า “เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ” ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงปู่ศุขไว้มากที่สุดเหนือกว่าศิษย์คนใด และมีความผูกพันกันอย่างลึกซึ้งดุจบิดากับบุตร

    กาลต่อมาเมื่อกรมหลวงชุมพรฯ สิ้นพระชนม์ (19 พฤษภาคม พ.ศ.2466) เมื่อหลวงปู่ศุขท่านทราบถึงกับนั่งนิ่งซึม ท่านอยู่ในอากัปกิริยาเช่นนั้นนานมากดุจท่านปลงวอย่างหนักกับกฎแห่งวัฏสงสาร หรือสังสารวัฏในโลกนี้ ในที่สุดปลายปี พ.ศ.2466 หลวงปู่ศุขได้มรณภาพลงด้วยโรคชราอันเป็นปีเดียวกับที่กรมหลวงชุมพรฯ สิ้นประชนม์

    ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับศิษย์นั้นจะมีมากมายขนาดไหนคงจะต้องศึกษาจากบันทึกของ นายผล แก้วนพรัตน์ ศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่ศุขอีกท่านหนึ่ง ได้ระบุว่า เสด็จในกรมได้เคยพระราชทานเรือสำปั้นให้หลวงปู่ศุขลำหนึ่งเพื่อใช้ในเวลาเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยเรือลำนี้เป็นเรือมีประทุนกว้างประมาณ 5 ศอก ยาวราว 3 วา มีแจวหัว 2 แจวท้าย 2 มีห้องส้วมและห้องครัวพร้อมในตัว

    บันทึกของนายผลกล่าวอีกว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งมีเรือโยงผ่านมาและรู้ว่าเป็นเรือของหลวงปู่ศุข เขาก็จะหย่อนเชือกลงมาให้เพลาเรือของหลวงปู่ศุขมีโซ่สั้นเพียงนิดเดียว ซึ่งแสดงว่าเกียรติคุณของท่านในขณะนั้นเป็นที่รู้จักกันมาก

    กรมหลวงชุมพรฯ นอกจากพระองค์จะถวายเรือสำปั้นมีประทุนแล้ว พระองค์ยังได้ถวายเรือให้หลวงปู่ศุขใช้ในการบิณฑบาต เรือลำนี้มีความยาว 8 ศอก เป็นเรือที่สั่งต่อเป็นพิเศษคือทำด้วยไม้ชิ้นเล็ก ๆ อัดด้วยตะปูทองแดงทั้งลำ เรือลำนี้ไม่ต้องใช้ชันยาก็ไม่รั่ว นอกจากนี้ตรงกลางลำเรือยังมีพนักพิงสายงาม มีพนักทำโปร่ง สามารถถอดออกจากเรือได้ ทำเป็น 3 ชิ้น เวลาไม่ใช้ก็พับได้

    เวลาที่หลวงปู่ศุขท่านนั่งเรือออกบิณฑบาต ท่านจะนั่งตรงกลาง มีลูกศิษย์พายหัวพายท้าย หลังจากที่หลวงปู่ได้มรณภาพลง เรือลำนี้ยังคงใช้ได้อยู่จนถึงสมัยสมุหทองหล่อ ทัศมาลี จากนั้นเรือลำนี้ก็ได้นำมาเก็บไว้ที่หอประชุมทางด้านเหนือของบริเวณวัด เพราะเป็นหน้าแล้ง และไม่ได้นำมาใช้อีกเลย

    หลายครั้งที่หลวงปู่ศุขได้รับการนิมนต์จากเสด็จในกรมให้ไปพำนักที่วังของพระองค์ที่นางเลิ้ง โดยเสด็จในกรมได้จัดที่พักให้หลวงปู่ศุขพักอยู่กลางสระน้ำ พระและลูกศิษย์ที่ตามหลวงปู่มาจะอยู่ชั้นล่าง ส่วนหลวงปู่ศุขจะอยู่ชั้นบน ที่พำนักแห่งนี้เป็นที่สอนและทดลองวิชาระหว่างอาจารย์กับศิษย์ นายผล แก้วนพรัตน์ ได้เล่าว่า เคยเห็นหลวงปู่ศุขและกรมหลวงชุมพรฯ ได้ทดลองวิชาควายธนูในกุฏิเหลืองกลางสระนี้ซึ่งเป็นที่ตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก

    ในบันทึกของนายผลยังได้เล่าอีกว่า ได้ตามหลวงปู่ศุขเข้ากรุงเทพฯ และพำนักที่วังเสด็จในกรมหลายครั้ง ซึ่งขณะนั้นเขายังเป็นเด็กซุกซน ลงไปว่ายน้ำในสระแล้วขึ้นไปนั่งอยู่บนใบบัวขนาดใหญ่ (บัววิคตอเรีย) จนถูกหลวงปู่ศุขเอ็ดเอา ระหว่างที่พำนักอยู่นั้น นายผลเคยติดตามเสด็จในกรมไปเที่ยวย่านสำเพ็ง พระองค์เสด็จโดยนุ่งกางเกงถลกขาข้างหนึ่ง มือถืออ้อยเคี้ยวอ้อยและเสด็จไปเรื่อย ๆ เพราะในช่วงนั้นเป็นหน้าร้อน

    มีเรื่องเล่าบอกต่อ ๆ กันมาถึงเสด็จในกรมพระองค์ทรงโปรดการใช้วิถีชีวิตกลางแจ้ง พระองค์เสด็จมาวัดปากคลองมะขามเฒ่าบ่อย ๆ ส่วนใหญ่แล้วพระองค์จะเสด็จมาทางเรือ บางครั้งก็มีเรือติดตามมาด้วยหลายลำ ในการเสด็จมาของพระองค์นั้น บางครั้งพระองค์จะนำหม่อมและโอรสมาด้วย ซึ่งก็มีหลักฐานลายพระหัตถ์ในสมุดเซ็นเยี่ยมของวัดปากคลองมะขามเฒ่า

    บางครั้งกรมหลวงชุมพรฯ จะทรงคุยกับหลวงปู่ศุขจนถึงดื่น บางครั้งจะประทับที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าอยู่เป็นเดือน ๆ ซึ่งนอกจากจะมาศึกษาวิชาไสยศาสตร์แล้ว พระองค์ยังถือโอกาสพักผ่อนพระวรกายและคลุกคลีกับราษฎร ในบางครั้งพระองค์ก็ทรงพระสำราญโดยเสวย “ไอ้เป้” ซึ่งเป็นน้ำขาวที่ขึ้นชื่อมากแถบอุทัยธานี มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับไอ้เป้ว่า วันหนึ่งเสด็จในกรมฯ พบกับนายยอด พระองค์ทรงถามนายยอดว่า “อ้ายยอด อ้ายน้ำหวาน ๆ ขม ๆ มีที่ไหนวะ” นายยอดรีบทูลบอก “มีตรงนี้เองกระหม่อม” เสด็จในกรมทรงบอก “กูให้วันละบาท มึงเอาใส่กามาให้กูตรงต้นกระจะทุกวันนะ” นายยอดกระทำตามที่รับสั่ง จัดหาไอ้เป้มาไว้ที่ต้นกระจะทุกวัน แต่แล้ววันหนึ่ง พระองค์เสด็จมาไม่พบกาที่ใส่ไอ้เป้ จึงสั่งให้คนไปตามหาอ้ายยอด ครั้นได้พบจึงตรัสถาม “วันนี้ทำไมไม่นำกาน้ำมาให้” นายยอดจึงทูลตอบพระองค์ว่า “ตำรวจจับคนทำชื่อตาปั่นไปเสียแล้ว”

    เสด็จในกรมจึงเขียนจดหมายให้มหาดเล็กถือไปที่อำเภอเพื่อไปรับตัวตาปั่น ดีประเสริฐ คนทำไอ้เป้กลับมาจากตำรวจ



    ได้วิชาหายตัวอยู่ในขวดโหลทำน้ำมนต์

    ครั้งหนึ่งกรมหลวงชุมพรฯ ได้เสด็จไปศึกษาวิทยาคมกับหลวงปู่ศุขที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า ขณะที่พระองค์สนทนากับพระอาจารย์สองต่อสองอยู่นั้น พอดีมีพ่อค้าชาวจีนผู้หนึ่งได้แวะมากราบหลวงปู่ พ่อค้าจีนรายนี้เป็นชาวเกาะไหหลำ เจ้าของเรือบรรทุกสินค้าที่ล่องมาจอดอยู่ที่ท่าเรือกรุงเทพฯ เมื่อเข้าไปกราบหลวงปู่ศุขแล้วก็ออกปากขอน้ำมนต์จากหลวงปู่ศุขเพื่อนำไปพรมเรือเดินทะเลให้เป็นสิริมงคล ปลอดภัยในการเดินทาง และเจริญรุ่งเรืองในการค้าขาย แต่ตอนที่พ่อค้าจีนรายนี้เข้าไปกราบหลวงปู่นั้น กะเร่อกะร่าเข้าไปไม่รู้ว่าผู้ที่นั่งอยู่กับหลวงปู่นั้นเป็นใคร เวลานั้นเสด็จในกรมนั่งถือขวดโหลแก้วใส่น้ำอยู่ เมื่อไม่รู้ว่าเป็นใครก็ไม่มีความคารวะเสด็จในกรม แล้วพ่อค้าจีนก็ออกปากขอน้ำมนต์จากหลวงปู่ศุข ทางฝ่ายหลวงปู่ก็พุดดุเอาว่า

    “ไม่มีสัมมาคารวะ เจ้านายกำลังเสด็จเซ่อซ่าเข้ามาได้ไง”

    เสด็จในกรมได้ยินหลวงปู่กล่าวดุพ่อค้าจีนรายนั้น พระองค์จึงตรัสขัดขึ้นว่า

    “โธ่ หลวงพ่อก็ในเมื่อสัตว์ผู้ยากที่ไหน ๆ พากันมาหาหลวงพ่อด้วยกันทั้งนั้น หลวงพ่อช่วยสงเคราะห์เขาไปเถอะ”

    หลวงปู่ศุขฟังเสียงขัดของเสด็จในกรมอย่างนั้น ก็มีท่าทางไม่พอใจที่เสด็จในกรมมาขัดคอต่อหน้าพ่อค้าจีน (แต่บางคนวิเคราะห์ว่าเป็นการแกล้งทำโกรธเพื่อจะลองวิชาให้พระองค์ได้เห็น) ขณะเดียวกันพ่อค้าจีนที่เข้าไปขอน้ำมนต์ก็ถือขวดโหลใส่น้ำเตรียมมาพร้อมเพื่อให้หลวงปู่เสกน้ำมนต์ให้ ทันใดสิ่งไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น หลวงปู่ศุขผุดลุกขึ้นยืนแล้วเปลื้องอังสะออก ทันใดนั้น ทั้งเสด็จในกรมและพ่อค้าจีนก็แลเห็นหลวงปู่ศุขกระโดดลงไปนั่งอยู่ในขวดโหลของพ่อค้าจีนรายนั้น ขวดโหลใบเล็กแต่มีร่างย่อของหลวงปู่ศุขนั่งแช่น้ำอยู่ในนั้น เป็นที่อัศจรรย์นัก

    การเข้าไปอยู่ในขวดโหลเกิดขึ้นรวดเร็วจนใคร ๆ จับตาดูไม่ทันว่าท่านหายตัวและย่อตัวลงไปตอนไหน ท่านนั่งแช่น้ำในขวดโหลอยู่ครู่หนึ่งจึงกระโดดออกจากขวดโหล พ่อค้าจีนยกมือขยี้ตาตัวเองด้วยความฉงน ส่วนหลวงปู่ศุขเดินไปหยิบอังสะมาครองเช่นเดิม แล้วกลับมานั่งลงเบื้องหน้าของเสด็จในกรมและพ่อค้าจีน

    “น้ำมนต์เสร็จแล้ว เอาไปสิ”

    หลวงปู่ศุขบอก พ่อค้าชาวจีนก็รีบปิดฝาขวดน้ำมนต์แล้วกราบลาหลวงปู่ไป ปล่อยให้เสด็จในกรมและหลวงปู่ศุขได้สนทนากันต่อไป

    ชาวจีนผู้นี้เมื่อได้น้ำมนต์ไปใช้สมใจนึก ก็ล่องเรือไปค้าขายที่กรุงเทพฯ ได้กำไรเกินคาด ขากลับขึ้นมาจากกรุงเทพฯ จึงซื้อ “ลิ้นจี่กระป๋อง” มาถวายหลวงปู่ บังเอิญตอนนั้นหลวงปู่จำวัดอยู่พอดี และเป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อหลวงปู่จำวัดนั้น “ห้ามมิให้ผู้ใดปลุกเด็ดขาด” นอกจากเป็นเวลาฉันเพลหรือฉันยา โดยอนุญาตให้เด็กวัดใช้ไม้เคาะที่ฝากุฏิเป็นสัญญาณ แต่พ่อค้าจีนผู้นี้ก็ยังกะเล่อกะล่าเข้าไปปลุกท่านตื่นขึ้นมา หลวงปู่คว้าตาลปัตรซึ่งอยู่ใกล้มือตีชาวจีนผู้นั้นทันที สิ่งที่หลวงปู่ทำนั้นแม้จะแฝงด้วยอารมณ์โกรธ แต่ก็ไม่ทำร้ายใครให้ได้บาดเจ็บ เพียงแต่ทำให้ตกใจเพราะตาลปัตรเป็นของเบาและแบน เป็นการเตือนชาวจีนให้ทราบว่าตัวท่านไม่พอใจและควรมีสัมมาคารวะนั่นเอง

    ปรากฏการณ์อัศจรรย์ของหลวงปู่ศุขที่เข้าไปอยู่ในขวดโหลคราวนี้เป็นต้นเหตุให้กรมหลวงชุมพรฯ ขอเรียนวิชานี้กับหลวงปู่และเป็นผลสำเร็จ พระองค์ได้นำไปทดลองแสดงให้ “หม่อม” ของท่านดูเป็นขวัญตา ดังปรากฏในหนังสือ “พระประวัติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พลเรือเอกกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์” เขียนโดย ชัยมงคล อุดมทรัพย์ มีใจความว่า

    คราเมื่อกรมหลวงชุมพรฯ ได้กลับจากการเรียนวิชากับหลวงปู่ศุขมาใหม่ ๆ ได้มีบัญชาให้หม่อมทุกคน (ที่เคยมาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า กับเสด็จในกรมจำนวน 8 คน ดังปรากฏรายนามตามลายเซ็นในสมุดเยี่ยมของขุนเธียรแพทย์) มารวมกันแล้วให้หาขวดโหลใส่น้ำสะอาดมาใบหนึ่ง ครั้นแล้วสั่งให้หม่อมทุกคนหลับตาและกลั้นลมหายใจจนเต็มกลั้น แล้วจึงลืมตาขึ้นมาใหม่ หม่อมทุกคนจึงได้เห็นต่อหน้าต่อตาว่า พระองค์ประทับทรงพระสรวลอยู่ภายในขวดโหลนั้นอย่างสำราญพระอารมณ์

    เมื่อหม่อมทั้ง 8 ได้อึดใจอีกครั้งหนึ่งและหลับตาลงพร้อมกันอีกครั้ง ต่างก็ได้เห็นเสด็จในกรมทรงออกมายืนอยู่ข้างโต๊ะที่วางขวดโหลเป็นร่างปกติพร้อมกันนั้นตรัสว่า “เป็นวิชาที่เรียนมาจากหลวงพ่อศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า"
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เสือมาทดสอบจิต

    เรื่องนี้หลวงพ่อเจริญ ธมมถิโร ได้เล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งกรมหลวงชุมพรฯ เสด็จมาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าพร้อมด้วยหม่อมของท่านหลายคน

    ในครั้งนั้นเสด็จในกรมได้เดินเข้าไปชมภายในพระอุโบสถ ซึ่งพระองค์ได้เขียนภาพไว้ที่ผนังด้านใน ทางด้านทิศตะวันตก (เป็นภาพพระแม่อุมา) หลังจากที่พระองค์ได้เข้าไปชมเรียบร้อยแล้วจึงเดินออกมาข้างนอก พระอุโบสถ ทันใดนั้นเอง พอพระองค์เดินเลี้ยวพ้นมุมพระอุโบสถเท่านั้นก็ปรากฏร่างของเสือตัวใหญ่ตัวหนึ่งยืนผงาดแยกเขี้ยวคำรามเข้าใส่พระองค์ด้วยเสียงอันดังแห่งเจ้าป่า ในวินาทีแรกเสด็จในกรมทรงตกพระทัย ชะงักงัน บรรดาหม่อมน้อย ๆ ของพระองค์ต่างร้องวี้ดว้ายด้วยความกลัวพากันกระถดถอยหนีจ้าละหวั่น แต่พระองค์ก็ชายชาติเชื้อทหาร เป็นศิษย์มีครู เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อทรงระลึกได้เช่นนี้จึงบอกเดินต่อไปท่ามกลางสายตาของเหล่าหม่อม เสือตัวนั้นได้ก้าวถอย พอพ้นพระอุโบสถเสือใหญ่ตัวนั้นก็หายลับไป

    กรมหลวงชุมพรฯ เดินตามทางต่อไปด้วยอิริยาบถปกติจนถึงถาน (ส้วม) ของหลวงปู่ศุข ก็พบจีวรหลวงปู่พาดอยู่ข้างฝาถานอันทำด้วยไม้ ทันใดนั้นหลวงปู่ได้เดินออกมาพร้อมกับยิ้มให้ กรมหลวงชุมพรฯ ก็ทรงยิ้มตอบพร้อมกับยกมือขึ้นนมัสการ

    กรมหลวงชุมพรฯ ได้รับการถ่ายทอดวิชาทุกชนิดที่ท่านสนพระทัย มียกเว้น 4 อย่างเท่านั้นที่หลวงปู่ไม่สามารถถ่ายทอดให้ได้เพราะอาจารย์ของท่านสั่งห้าม วิชาดังกล่าวประกอบด้วย

    1. ทางคด บางแห่งเรียกกระสุนคด วิชานี้นับว่ามีอันตรายอย่างสูง ถ้าตกอยู่กับคนไม่ดี เพราะวิชานี้เสกลูกปืนเพียงลูกเดียวยิงเข้าไปในกองทัพข้าศึก ทหารจะล้มตายทั้งกองทัพ วิชานี้หลวงปู่ศุขเคยทำให้พระองค์เห็นเมื่อครั้งหลวงปู่รับนิมนต์ไปพักที่วังนางเลิ้ง โดยหลวงปู่เสกลูกปืนลูกเดียวยิงใบบัวในสระทะลุทุกใบ (คันกระสุนวิเศษที่ใช้ยิง “ทางคต” นี้ทำจากไม้ที่ถูกฟ้าผ่า โดยหลวงปู่ทำขึ้นด้วยมือท่านเอง ปัจจุบันอยู่ที่วัดศรีวิชัยวัฒนาราม จ.ชัยนาท)

    2. วิชาเสกขี้เถ้าเป็นไฟประลัยกัลป์ เมื่อนำขี้เถ้าไฟมาปลุกเสกแล้วสาดออกไปทางทิศใดจะบังเกิดไปอาคมดวงใหญ่ไหม้ลุกลามใหญ่โตทางทิศนั้น ข้าศึกศัตรูไม่อาจผ่านและดับไฟได้ หากขี้เถ้าอาคมตกลงในเมืองไหน บ้านเมืองนั้นจะพินาศเป็นจุณ

    3. เสกข้าวสารให้เป็นภูเขา เมื่อนำข้าวสารมาบริกรรมปลุกเสกแล้วขว้างไปทางทิศใดจะเกิดเป็นภูเขาใหญ่ขึ้นในทิศทางนั้น ซึ่งวิชานี้จะทำให้บังเกิดแผ่นดินไหว กระแสน้ำไหลบ่าท่วมฉับพลัน บังเกิดภูเขาไฟระเบิด และมีพายุร้ายต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ธรรมชาติจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ผู้คนในทิศทางนั้นจะเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า

    4. เสกทรายให้เป็นน้ำ วิชานี้เมื่อบริกรรมเสกทรายแล้วสาดซัดออกไปจะปรากฏเป็นน้ำ เป็นห้วยหนองคลองบึงจนถึงแม่น้ำใหญ่ (จะบังเกิดฝนตกหนัก ฟ้าผ่า และอุทกภัยต่าง ๆ ในบริเวณนั้นได้) วิชานี้หลวงปู่ศุขกล่าวว่าสามารถทำให้เมืองทั้งเมืองจมอยู่ใต้น้ำได้

    วิชาพิเศษทั้ง 4 อย่างนี้ สอนให้ใครไม่ได้ นอกนั้นหลวงปู่ศุขสามารถสอนให้กรมหลวงชุมพรฯ ได้ทั้งสิ้น

    การฝึกสอนนี้กระทำกันทั้งที่วัดปากคลองมะขามเฒ่าและที่วังกรมหลวงชุมพรฯ เองที่กรงเทพฯ



    เรียนวิชาวิเศษ “ระเบิดน้ำ”

    จากบันทึกของนายแพทย์สำนวน ปาลวัฒน์วิไชย ที่ออกสอบถามชาวบ้านคนเก่าแก่ที่มีชีวิตอยู่ เพื่อเขียนถึงการเรียนวิชาขมังเวทของเสด็จในกรมกับหลวงปู่ศุข ได้บันทึกไว้เป็นใจความดังนี้

    อันการเรียน “ระเบิดน้ำ” ของกรมหลวงชุมพรฯ นี้ นายแฉล้ม เอี่ยมรอด คนเก่าแก่ได้เล่าว่า (เล่าเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2521 และได้สอบถามเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2521) ได้มีการเรียนระเบิดน้ำกันในเดือน 4 หลังจาก นายแฉล้ม บวชได้ประมาณ 4 พรรษา ตกประมาณเดือนมีนาคม 2464

    คราครั้งนั้น กรมหลวงชุมพรฯ ได้ฝึกเรียนระเบิดน้ำกับหลวงปู่ศุขที่โบสถ์น้ำหน้าวัด โดยเสด็จในกรมนั่งบริกรรมอยู่บนโบสถ์น้ำพักหนึ่ง ก็กระโดดไปในน้ำตูมใหญ่ แต่กรมหลวงชุมพรฯ สามารถทนอยู่ใต้น้ำได้เพียง 4 อึดใจใหญ่เท่านั้น แล้วพระองค์ก็ทรงโลดขึ้นมาบนผิวน้ำ จนผิวน้ำแตกกระจาย จากนั้นพระองค์ทรงกล่าวกับหลวงปู่ว่า “ทนไม่ไหว”

    ผลการทดสอบเรียนระเบิดน้ำในวันแรกไม่อาจเป็นผลสำเร็จได้ ในวันรุ่งขึ้นกรมหลวงชุมพรฯ ได้ขอทดสอบผลการเรียนอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้พระองค์มีความตั้งใจสูงแบบยอมตายถวายชีวิตกับวิชาพิเศษนี้ทีเดียว

    ฝ่ายหลวงปู่ศุขก็เอาจริงเช่นกัน แต่ท่านก็มีความเสี่ยงเพราะศิษย์ท่านนี้มิใช่สามัญชน หากเป็นถึงโอรสของพระมหากษัตริย์ ทว่าศิษย์กับอาจารย์ต่างก็ “ใจถึง” ด้วยกัน โดยหลวงปู่นั้นถึงกับเตรียมไม้ถ่อค้ำเรือไว้อันหนึ่ง ไม้ถ่อนี้ท่านยืมมาจากเรือบรรทุกข้าวที่จอดอยู่หน้าวัด หลวงปู่บอกว่า “ถ้าโผล่ขึ้นมาอีกจะเอาไม้ถ่อค้ำคอ” ปรากฏว่าในการทดสอบครั้งที่ 2 เสด็จในกรมสามารถผ่านการทดสอบได้สำเร็จ คือทนอยู่ในน้ำได้ถึง 3 ชม. แล้วจึงขึ้นบก

    ในบันทึกยังเล่าว่าหลวงปู่ศุขปลื้มใจมากที่ศิษย์เอกเรียนวิชานี้ได้สำเร็จ ท่านได้คุยให้ชาวบ้านและมัคนายกฟังว่า การที่กรมหลวงชุมพรเรียนครั้งนี้สำเร็จ เพราะได้ฝึกจิตได้สูงแล้วนั่นเอง

    การเรียน “ระเบิดน้ำ” นี้ทำในตอนกลางวัน หลังจากที่หลวงปู่ฉันเพลแล้ว โดยมีชาวบ้าน มัคนายก และพระเณรที่วัดร่วมดูอยู่ประมาณ 20-30 คน รวมทั้งพระภิกษุแฉล้ม (นายแฉล้ม เอี่ยมรอด) ผู้เล่าด้วย

    ในบันทึกของนายแพทย์สำนวน ปาลวัฒน์วิไชย ยังกล่าวอีกว่าได้มีโอกาสคุยกับนายเชื้อ แตงฉ่ำ บ้านหมู่ที่ 5 ต.หาดท่าเสา อ.เมือง จ.ชัยนาท อายุ 84 ปี ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่าตนเคยเห็นกรมหลวงชุมพรฯ เรียนระเบิดน้ำกับหลวงปู่ศุขด้วยตาตนเอง ดังนี้

    ครานั้น ตัวผู้เล่ารู้ว่ากรมหลวงชุมพรฯ เสด็จมาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า เพราะผู้ใหญ่บ้านบอกเมื่อตนไปที่วัดก็เห็นกรมหลวงชุมพรฯ ซึ่งสักตามตัวจนดูดำไปหมด ได้ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินตามหลวงปู่ไปที่แพโบสถ์น้ำ

    เมื่อพิธีเริ่มขึ้นกรมหลวงชุมพรฯ ลงไปที่แพโบสถ์น้ำต่อหน้าหลวงปู่ศุข ผู้เป็นอาจารย์ซึ่งนั่งบริกรรมอยู่ ครั้นแล้วพระองค์ท่านได้กระโดดลงไปในน้ำ ดำผุดดำโผล่อยู่หลายครั้ง ครั้งสุดท้ายหลวงปู่จับพระเศียรกรมหลวงชุมพรฯ กดลงไปในน้ำ คราวนี้เสด็จในกรมจมหายลงไปในน้ำนานมากเป็นชั่วโมง ๆ จนนายเชื้อเองคิดว่าเสด็จในกรมต้องสิ้นพระชนม์แน่คราวนี้

    ทว่า ท่าทีสีหน้าของหลวงปู่มีแต่ความมั่นใจในตัวเองเป็นอย่างสูง ไม่ได้มีความวิตกกังวลแม้แต่น้อย เวลาผ่านไปจนพิธีเสร็จ กรมหลวงชุมพรฯ โผล่ขึ้นมาแล้วปีนขึ้นแพโบสถ์น้ำ ทำให้นายเชื้อ หายใจโล่งอก

    หลวงปู่ศุขได้เดินขึ้นฝั่งไปที่กุฏิ มีเสด็จใจกรมเดินตามและพากันขึ้นไปบนกุฏิ

    ยังมีเรื่องการเรียนระเบิดน้ำของกรมหลวงชุมพรฯ อีกเรื่องหนึ่ง จะเป็นการเรียนระเบิดน้ำขั้นต้นหรืออย่างไรก็สุดจะสันนิษฐานได้ เพราะเป็นเรื่องของการ “แอบดู” และได้เห็นมา ดังนี้

    นางหีบ สุขทอง เป็นผู้เล่าเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2523 มีใจความว่า คราวนั้น นางหีบได้คลอดบุตรและกำลังอยู่ไฟในตอนกลางวันสามีของตนชื่อนายยอด ได้ทราบจากผู้ใหญ่อุ่น ศุภรัตน์ ว่าตอนกลางคืนกรมหลวงชุมพรฯ จะเรียนระเบิดน้ำ จึงได้ชวนกันไปแอบดู

    หลวงปู่ศุขและกรมหลวงชุมพรฯ ฝึกเรียนกันในตอนเที่ยงคืนวันเพ็ญเดือน 12 มีทหารควบคุมทางเข้าทุกทางไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปดู หลวงปู่เดินนำกรมหลวงชุมพรฯ ลงไปในน้ำตรงต้นมะเดื่อหน้าวัดทางทิศใต้ กรมหลวงชุมพรฯ ถือเทียน 7 เล่ม พนมมือ หลวงปู่ศุขเอาบาตรครอบพระเศียรกรมหลวงชุมพรฯ แล้วกดลงไปในน้ำ

    เสด็จในกรมทะลึ่งพ้นน้ำขึ้นมาถึง 2 ครั้ง จนหลวงปู่ศุขต้องกล่าวว่า “จะไม่เอาหรือไง ตัดสินใจให้ดี” คราวนี้หลวงปู่กดบาตรที่ครอบพระเศียรลงไปนานมาก เสด็จในกรมจึงโผล่ขึ้นเหนือน้ำและเทียนดับหมด

    เรื่องนี้จะเป็นการเรียนวิชาอะไรไม่ทราบแน่นอน เพราะนายยอดเป็นผู้เล่าให้นางหีบฟัง

    อันวิชา “ระเบิดน้ำ” นี้ก็เป็นวิชาเดียวกับที่ไกรทองใช้ลงไปปราบชาละวัน จระเข้ใหญ่ศักดิ์สิทธิ์ ในตำนานท้องถิ่นไทยนั่นเอง คือการจุดเทียนส่องลงไปใต้น้ำโดยเทียนไม่ดับ

    ว่ากันว่าน้ำจะระเบิดเป็นช่องลงไปในบาดาล ผู้สำเร็จวิชานี้เดินไปในน้ำหายใจดุจบนบก ไม่มีอันตรายใดๆ

    เป็นที่คาดกันว่าการที่กรมหลวงชุมพรฯ ต้องการเรียนวิชานี้เพื่อคิดช่วยชาติบ้านเมืองในยามคับขัน โดยใช้ยุทธวิธีลงไปในน้ำระเบิดเรือรบข้าศึก



    ผ้าเจียดของพระอาจารย์

    การเรียนพุทธาคมของเสด็จในกรมเป็นไปด้วยดีจนคนทั่วไปยอมรับว่า กรมหลวงชุมพรฯ ทรงมีกฤติยาคมสูงส่งหาใครเทียบเสมอได้ในยุคนั้น

    ในกองทัพเรือยุคนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ข้าราชบริพาร จนถึงลูกศิษย์ที่เป็นนักเรียนนายเรือ รู้กันว่าพระองค์ทรงโปรดการลองวิชา และชีวิตของพระองค์เต็มไปด้วยความผาดโผนมหัศจรรย์ยิ่งนัก

    ในสมัยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ครองราชย์อยู่นั้น เป็นยุคที่กีฬามวยไทยเฟื่องฟู ค่ายมวยต่าง ๆ ผุดขึ้นมากมาย ทางราชสำนักจึงจัดให้มีการแข่งขันกีฬามวยไทยขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อหาเงินบำรุงสมทบทุนซื้อปืนให้กองเสือป่าทั่วประเทศ

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้นายแม็ค เศียรเสวี (พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี) นายเสือป่าใหญ่ เป็นผู้จัดการหาเงินสมทบมีประกาศเรียกนักมวยฝีมือดีจากทุกภาคทุกหัวเมืองให้เข้ามาอยู่รวมกันโดยพักอยู่ที่สโมสรเสือป่า ใกล้เขาดินวนา และในสมัยนั้นเองได้มีนักมวยจากโคราช ฝีมือยอดเยี่ยมมีชื่อเสียงเข้ามาร่วมอยู่ด้วย คือ นายทับ จำเกาะ และนายยัง หาญทะเล

    โดยเฉพาะนายยัง หาญทะเล มีชื่อเสียงดีเป็นพิเศษ นักมวยคนนี้เป็นชาวนครราชสีมา บ้านอยู่ตำบลหัวทะเล ฝีมือในการชกมวยจัดว่าสูงมาก เพราะเคยชกนักมวยจีนชั้นครูถึงแก่ความตายไปถึง 2 คน

    แต่ข่าวบางกระแสกล่าวว่า นายยัง หาญทะเล เป็นศิษย์เอกของเสด็จในกรม เนื่องจากนายยังเคยรับราชการทหารเรือ เพราะความมีชั้นเชิงในเรื่องหมัดมวยติดตัวมาด้วย เสด็จในกรมจึงทรงโปรดปรานนายยังเหนือกว่าใคร ๆ

    ในคราวเสด็จประพาสเรือรบหลวง เกี่ยวกับการฝึกภาคทะเล นายยังคนนี้ก็ติดตามไปด้วย ขณะเรือรบหลวงกำลังแล่นฝ่าคลื่นกลางทะเลลึกในอ่าวไทยในวันหนึ่ง ก็มีเสียงเป่าแตรเรียกทหารประจำการเข้าแถว แล้วเสด็จในกรมทรงดำเนินตรวจพลบนดาดฟ้าเรือ จากนั้นทรงมีรับสั่งให้เรือรบหลวงทอดสมอลอยลำกลางทะเล ในโอกาสนี้เสด็จในกรมทรงแจกผ้าเจียดลงเลขยันต์ศักดิ์สิทธิ์ให้แก่ทหารทุกคน พระองค์มีรับสั่งว่า

    “ผ้าเจียดที่ข้านำมาแจกแก่พวกเจ้านี้ เป็นของท่านอาจารย์วัดมะขามเฒ่า มีอานุภาพและอภินิหารยิ่ง ถ้าใครมีความเคารพนับถือสามารถเดินบนผิวน้ำไม่จมน้ำตายและป้องกันสัตว์ร้ายนานาชนิด การที่นำมาแจกในวันนี้ใครจะทดลองโดดลงในทะเลให้ข้าดูบ้างหรือไม่”

    ทหารทุกคนฟังแล้วเงียบกริบ ไม่มีใครกล้าตอบและคงไม่มีใครคิดเสี่ยง เพราะขณะนั้นเรือลอยลำอยู่ท่ามกลางดงฉลาม เสด็จในกรมรู้สึกไม่พอพระทัยในความไม่พูด ไม่กล้าของเหล่าทหารทั้งหลาย พระองค์จึงตรงมาที่นายยัง หาญทะเล ทรงรับสั่งถามว่า “อ้ายยัง เอ็งพอจะกล้าลงไปว่ายเล่นในทะเลให้สนุกสักครั้งหรือไม่ ให้ข้าเห็นความศักดิ์สิทธิ์ในผ้าเจียดของท่านอาจารย์สักหน่อยไม่ได้รึ”

    นายยังทูลตอบ “เมื่อเป็นพระประสงค์ กระหม่อมจะขออาสาพระเจ้าข้า”

    เสด็จในกรมดีพระทัย พร้อมกับทรงพระสรวลอย่างชอบใจในความไม่ประหวั่นพรั่นพรึงของนายยัง จึงรับสั่งอีกว่า

    “อ้ายยัง มึงสมชายชาติทหาร จะรอช้าอยู่ทำไม อาราธนาแล้วระลึกถึงท่านอาจารย์วัดมะขามเฒ่าเสียก่อน แล้วกระโดดลงไปเลย”

    นายยังยอดนักมวยเมืองโคราชจึงออกเดินไปยังกราบเรือ แล้วก็พุ่งตัวลงในทะเลลึกอย่างไม่เกรงกลัวอะไรทั้งสิ้น เหมือนปาฏิหาริย์ เหล่าทหารเรือทุกคนได้เห็นนายยังลงไปยืนเด่นบนผิวน้ำอย่างอัศจรรย์ และรอบข้างนายยังมีปลาฉลามหลายตัวเวียนว่ายอยู่รอบ ๆ แต่ไม่ได้ทำอันตรายนายยังแม้แต่น้อย

    ทหารเรือต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นเพราะบุญบารมีกฤติยาคมของเสด็จในกรมและความขลังศักดิ์สิทธิ์ของผ้าเจียดหลวงปู่ศุข ลูกประดู่ทุกคนรีบยกผ้าเจียดขึ้นไว้ทันที

    ครั้นนายยังไต่บันไดเรือขึ้นมา ก็คุกเข่าเข้ากราบถวายบังคมเสด็จในกรม พระองค์ทรงพระสรวลด้วยความพอพระทัย ก้มพระวรกายลงเอาพระหัตถ์ลูบศีรษะนายยังด้วยความเอ็นดูพลางตรัสว่า

    “อ้ายยัง เอ็งนี่หาญทะเล สมสกุลที่ข้าตั้งไว้ให้ดีแท้”
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เจอ “ตากัน” ยอดนักเลง

    ครั้นเสด็จในกรมไปตากอากาศทางเรือ พอถึงสัตหีบก็เอาเรือเล็กลงเพื่อเที่ยวหายิงสัตว์ให้เพลิดเพลินบนเกาะ พระองค์ทอดพระเนตรเห็นนกกระยางฝูงหนึ่งบินมาเกาะอยู่บนกิ่งไม้ ทรงประทับปืน ร.ศ. และเหนี่ยวไกยิงทันที น่าประหลาด ลูกกระสุนปืน ร.ศ. กลับไม่ระเบิด พยายามยิงหลายครั้งก็ยิงไม่ออกอยู่ดี เสด็จในกรมทรงประหลาดพระทัยอย่างยิ่ง พระองค์ทรงสงบนิ่งหลับตาอยู่ครู่หนึ่ง จึงลืมพระเนตร รำพึงขึ้นว่า

    “ชะรอยจะต้องมีผู้มากอาคมอยู่บนเกาะแห่งนี้แน่” จากนั้นพระองค์ทรงพระราชดำเนินชมแมกไม้ไประยะหนึ่ง ก็เหลือบเห็นกระต๊อบเล็กอยู่หลังหนึ่งมุงด้วยจาก เสด็จในกรมจึงแวะเข้าไปดูพร้อมกับมหาดเล็ก

    ขณะเดียวกัน ประตูกระต๊อบเปิดออก ชายวัย 50 ปีเศษ ก้าวเดินออกมา เขามองดูเสด็จในกรมและมหาดเล็กอย่างเฉยชา แล้วพูดด้วยซุ่มเสียงขึงขังว่า “นี่..พวกนี้จะมาล่าสัตว์ในป่านี้ไม่ได้นะ” เสด็จในกรมทรงพระสรวลก้องพลางตรัสว่า “สัตว์ในป่านี้แกเลี้ยงไว้ตั้งแต่เมื่อไร..แกชื่ออะไรล่ะ” ชายสูงอายุตอบ “ชื่อกัน”

    เสด็จในกรมถามอีก “ทำไมมาอยู่ที่นี่คนเดียว ไม่กลัวเสือกินหรือ”

    “ไม่อยากอยู่ใกล้มนุษย์มันเหม็นสาบ ข้าอยู่ที่นี่นายแล้ว ตกเบ็ดหาปลา เก็บผักเก็บหญ้ากิน เลี้ยงตัวคนเดียวสบายใจดี.. แกล่ะเป็นใคร บังอาจมายิงสัตว์ในป่าที่ข้ารักษาอยู่ ในแถวนี้ไม่มีใครกล้ามารังแกสัตว์ในเกาะนี้หรอกนะ” ตากันบอก เสด็จในกรมได้ฟังคำพูดเย่อหยิ่งของตากัน ทรงรู้สึกหมั่นไส้เหลือกำลัง จึงตรัสออกไปว่า

    “แกนี่รู้สึกอวดดีนักนะ เดี๋ยวก็จับตัวไปถ่วงลงในอ่าวให้ขาดใจตายเสียเลย”

    ตากันได้ฟังก็หัวเราะลั่นไม่แยแสคำขู่ แล้วยังพูดท้าทายอีกว่า “อย่าว่าแต่อ่าวแค่นี้เลย ในท้องทะเลข้ายังเคยเดินเล่นนั่งเล่นหลาย ๆ วันเลย พวกเอ็งเก่งจริงจับข้าใส่กระสอบมัดเอาไปถ่วงในอ่าวได้เลย”

    เสด็จในกรมถูกลองดีอย่างนี้มีหรือจะทรงยอม และอยากดูของดีจากตากันด้วย ทรงรับสั่งมหาดเล็กที่ติดตามมาด้วยช่วยกันจับตากันมักใส่กระสอบ เอาขึ้นเรือเล็กไปถ่วงที่เรือรบจอดทอดสมออยู่ โดยเอาเชือกโยงปากกระสอบติดไว้กับเรือรบ ทั้งยังทรงรับสั่งอีกว่า “ถ่วงให้นานครบ 24 ชม. แล้วค่อยเอาขึ้น ถ้าตายก็เอาไปฝังบนเกาะให้เป็นผีเข้าเกาะไปเลย”(กล่าวกันว่าเสด็จในกรมทรงทราบดีว่า“ตากัน” มีวิชาไสยเวทพอตัว จึงเกิดการลองวิชากันขึ้น)

    ครั้นครบ 25 ชม. ทหารเรือก็ช่วยกันดึงกระสอบขึ้นมาบนเรือ แล้วแก้มัดปากกระสอบออก ทุกคนต้องตะลึงเพราะเห็นตากันนั่งขัดสมาธิยิ้มแฉ่ง เชือกที่เคยมัดมือมัดเท้าหลุดออกหมด ตากันลุกขึ้นแล้วคลานเข่าเข้ามากราบเสด็จในกรม (คงทราบแล้วว่าคนที่ตนท้าทายเป็นเชื้อพระวงศ์) พระองค์จึงตรัสว่า “ตากัน แกมีวิชาอะไรดี”

    ชายขมังเวทรีบทูลตอบ “เกล้ากระผมเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่าจึงมีวิชาอาคมติดตัวอยู่บ้างพะยะค่ะ”

    เสด็จในกรมทรงได้ยินเช่นนั้นก็ปีติยินดีอย่างยิ่ง ตรัสบอกไปว่า “เออ..เป็นลูกศิษย์อาจารย์เดียวกันกับฉันนะสิ” แล้วพระองค์ได้ให้เรือเล็กไปส่งที่ฝั่ง พร้อมทั้งมอบอาหารการกินที่จำเป็นไปด้วย

    ในเวลาต่อมาจึงเรียกอ่าวแห่งนี้ว่า “อ่าวตากัน”

    ส่วนตากันนั้นชาวบ้านย่านสัตหีบและบางเสร่นั้นศรัทธากันมาก จนเป็นที่เลื่องลือว่า แกเก่งด้านกสิณ สามารถที่จะใช้อำนาจจิตบังคับธรรมชาติได้ เช่น ห้ามฝน ลุยไฟ ล่องหน กำบังตน เรียกลมเรียกฝนได้

    มีวัตถุมงคลที่แกสร้างจนดังสืบมาทุกวันนี้คือ “ปลัดขิก” ซึ่งทำมาจากกัลป์ปังหา ซึ่งมีอยู่ในท้องทะเล ถือเป็นของขลังตามธรรมชาติ ว่าวันว่า...หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการทำปลัดขิกนั้น ก็ร่ำเรียนวิชามาจาก “ตากัน” นี้แหละ



    หลวงปู่ศุขให้ตะกรุดสามกษัตริย์

    ในคราวหนึ่งกรมหลวงชุมพรฯ ได้เสด็จไปเยี่ยมหลวงปู่ศุขที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า มีจางวางถึกตามเสด็จไปด้วย พร้อมกับทหารเรืออีกหลายนาย และวันนั้นหลวงปู่ศุขได้ทำพิธีลงตะกรุดสามกษัตริย์ให้เสด็จในกรมซึ่งขณะนั้นเป็นเวลา 12.00 น. พอดี หลวงปู่ได้กล่าวกับเสด็จในกรมว่า

    “วิชาอาคมต่าง ๆ อาตมภาพได้ประสิทธิ์ประสาทให้พระองค์ไว้มากแล้ว แต่ยังขาดของสำคัญอีกสิ่งหนึ่ง สิ่งนี้พระองค์จะขาดไม่ได้เพราะจะต้องติดตัวไว้กับพระองค์เสมอ เป็นของวิเศษที่มีอภินิหารมาก”

    นอกจากนี้หลวงปู่ได้ตระเตรียมสิ่งของไว้ให้คือ แผ่นโลหะเป็นเงินหนัก 1 บาท นาคหนัง 1 บาท ทองคำหนัก 1 บาท รวมเป็น 3 กษัตริย์ สามารถแก้อาถรรพณ์ต่าง ๆ ได้

    เมื่อลงตะกรุดแล้วเอาด้ายสายสิญจน์มาเสกแล้วควั่นร้อยผูกเอวหรือจะคล้องคอก็ได้ ของสิ่งนี้แหละที่หลวงปู่ศุขตั้งใจทำถวาย และกล่าวกับพระองค์อีกว่า “รอเดี๋ยว เข้าที่บูชาก่อน”

    จากนั้นหลวงปู่ก็เข้าห้อง จุดธูปเทียนจนควันตลบออกมาถึงข้างนอก สักครู่หนึ่งจึงเรียกเสด็จในกรมเข้าไปในห้อง ครู่ใหญ่ทั้ง 2 ก็เดินออกมาจากห้อง ในมือของหลวงปู่ศุขถือเหล็กกับแผ่นโลหะและด้ายควั่นสีขาว อีกมือหนึ่งถือเทียนเล่มโตนำเสด็จในกรมลงจากกุฏิ จางวางถึกและทหารคนสนิทรีบก้าวตามออกไปด้วยจนถึงศาลาน้ำหน้าวัด หลวงปู่จึงพูดว่า

    “พระองค์รออยู่ที่นี่เดี๋ยว อาตมาจะระเบิดน้ำลงไปทำตะกรุดที่กลางแม่น้ำเดี๋ยวนี้”

    กรมหลวงชุมพรฯ มิได้ตรัสตอบแต่ประการใด คงยืนนิ่งอยู่ที่ศาลาพร้อมด้วยเหล่าทหารคนสนิท ส่วนหลวงปู่ศุขก็หันตัวก้าวเดินลงบันไดท่าน้ำ มีเทียนเล่มใหญ่จุดไฟลุกโชติช่วง ตัวท่านค่อย ๆ จมหายไปในน้ำในที่สุด

    ทุกคนเฝ้ามองด้วยใจระทึก เพราะเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก น้อยคนจะมีโอกาสเช่นนี้ หลายคนเฝ้าจับจ้องท้องน้ำอย่างใจจดใจจ่อ ท่ามกลางสายน้ำที่ไหลวกวนไปมา นานเกือบหนึ่งชั่วโมง หลวงปู่จึงเดินขึ้นมาที่บันไดศาลาท่าน้ำ เทียนยังสว่างเหลือเพียงคืบกว่า ๆ ผ้าสบง จีวร หาได้เปียกน้ำอะไรมากมาย (หมาด ๆ)

    หลวงปู่ขึ้นมาแล้วก็มุ่งสู่กุฏิทันที แต่ก็ไม่ลืมหันมาสั่งเสด็จในกรมฯ ให้ไปกุฏิพร้อมกัน เมื่อเดินไปถึงและเข้าห้องบูชา หลวงปู่เอาเทียนที่เหลือปักไว้บนโต๊ะหมู่บูชา จึงได้นั่งลง หลวงปู่ศุขส่งตะกรุดสามกษัตริย์ให้เสด็จในกรมฯ พลางว่า

    “เก็บไว้ให้ดี ไปไหนมาไหนก็ให้เอาติดตัวไปด้วย”

    พระองค์ทรงกราบแล้วรับเอาตะกรุดจากหลวงปู่ พลางตรัสถามว่า “ท่านอาจารย์ ตะกรุดนี้มีข้อห้ามอะไรหรือไม่” หลวงปู่บอก “ไม่มีห้ามอะไร ทองคำตกอยู่ที่ไหนก็เป็นทองคำอยู่นั่นแหละ”

    จากนั้นหลวงปู่เอาพระเครื่ององค์เล็กดำ ๆ มาแจกให้เหล่าทหารที่ตามเสด็จพร้อมกับประพรมน้ำมนต์ให้ทั่วหน้า จนเวลา 15.30 น. พระองค์จึงได้มาลงเรือและเสด็จกลับ

    ตะกรุดสามกษัตริย์นี้ กรมหลวงชุมพรฯ มิเคยเอาออกห่างพระวรกายเลย เท่าที่ทราบมาตะกรุดดอกนี้ตกอยู่ที่หม่อมเจ้ารังสิยากร เนื่องจากก่อนที่เสด็จในกรมจะสิ้นพระชนม์ พระองค์ทรงหยิบตะกรุดสามกษัตริย์ดอกนี้ออกจากคาดเอว มอบให้กับหม่อมของท่าน ทรงรับสั่งว่า “เอาเก็บไว้ให้เจ้าตุ่น”

    “เจ้าตุ่น” นี้คือหม่อมเจ้ารังสิยากร โอรสพระองค์โปรดของเสด็จในกรม

    ในช่วงสมัยมหาสงครามเอเชียบูรพา (เสด็จในกรมสิ้นพระชนม์แล้ว) หม่อมเจ้ารังสิยากรประทับอยู่ใกล้วัดคอกหมู คลองบางหลวง ฝั่งธนบุรี วันนั้นเวลา 10.30 น. ฝูงบินฝ่ายสัมพันธมิตรส่งป้อมบินมาทิ้งระเบิดฐานทัพญี่ปุ่น เครื่องบินสีน้ำเงินสะท้อนแสงอาทิตย์วับวาวเต็มท้องฟ้า

    หม่อมเจ้ารังสิยากรแหงนหน้ามองฝูงบินที่บินผ่านไปพร้อมกับพูดกับนายทหารผู้หนึ่งที่ยืนมองดูเครื่องบินด้วยกัน “นี่เครื่องบิน บี.27” ฉับพลันนั้น ก็ได้ยินเสียงลูกระเบิดที่ลงถล่มทางปากคลองตลาดเทเวศร์สนั่นหวั่นไหว นายทหารผู้นั้นทำความเคารพก่อนจะถามหม่อมเจ้ารังสิกากรว่า “ฝ่าบาทไม่กลัวลูกระเบิดหรือ” หม่อมเจ้ารังสิยากรได้ฟังก็ควักเอาตะกรุดขึ้นจากกระเป๋าเสื้อชูให้ดู แล้วพูดว่า “จะต้องกลัวอะไร นี่..เสด็จพ่อให้ของดีไว้”

    ใช่แล้ว เป็นตะกรุดสามกษัตริย์ที่หลวงปู่ศุขทำถวายกรมหลวงชุมพรฯ นั่นเอง
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    หลวงปู่ศุข เจอผีสมภารวัดร้างลองดี


    หลวงปู่ศุข เกสโร (พระครูวิมลคุณากร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เป็นพระอาจารย์ที่เคารพนับถือของ พล.ร.อ.พระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งกองทัพเรือ ท่านเป็นพระอภิญญาที่ทรงบารมีธรรม และทรงคุณวิเศษในเวทวิทยายากจะหาผู้ใดเทียบเท่า

    ตลอดช่วงชีวิตแห่งการครองเพศสมณะ เชื่อได้ว่าหลวงปู่ศุขย่อมมีประสบการณ์เผชิญกับวิญญาณมาไม่น้อย เพียงแต่ท่านไม่เปิดเผยให้ผู้ใดมีโอกาสได้รับรู้ นอกจากเรื่อง "ผีสมภารวัดร้าง" ซึ่งนายยอด สุขทอง ลูกศิษย์คนหนึ่งของท่านรับฟังมาและนำมาเล่าต่อ ดังมีรายละเอียดดังนี้

    ครั้งนั้นหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าจาริกธุดงค์ ไปนมัสการพระพุทธบาทจังหวัดสระบุรี เมื่อท่านได้ถวายอภิวาทต่อรอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความปีติอิ่มใจแล้วจึงได้เดินธุดงค์กลับวัดปากคลองมะขามเฒ่าของท่าน

    ระหว่างเดินทางกลับ ท่านได้จากริกมาพบวัดร้างแห่งหนึ่งในเวลาเย็นย่ำสนธยา ซึ่งถึงกาลอันสมควรหาสถานที่เหมาะสมเพื่อปักกลด หลวงปู่ศุข พิจารณาวัดร้างแห่งนี้เห็นว่าพอจะอาศัยเป็นสถานที่พักผ่อนในราตรีกาลที่จะมาถึงได้ ท่านจึงแบกกลดเข้าไปในเขตธรณีสงฆ์แห่งนั้น

    บริเวณทั่วไปของวัดร้างสงัดเงียบ มีโบสถ์ ศาลาการเปรียญและกุฏิพระครบสมบูรณ์ เพียงแต่ปราศจากพระเณรจำพรรษาคอยดูและรักษาทำนุบำรุง เสนาสนะต่างๆ ดังนั้นศาสนสถานโดยทั่วไปจึงชำรุดทรุดโทรมผุพัง เป็นที่น่าสังเวช หลวงปู่ศุขรู้สึกแปลกใจระคนสงสัยที่วัดนี้ ไม่ควรจะปล่อยร้างวังเวงดังที่เห็น เพราะสังเกตดูที่ตั้งขอวัดก็อยู่ในพื้นภูมิทำเลที่เหมาะสม ไม่ใกล้ไม่ไกลจากหมู่บ้านชุมชนเท่าไรนัก เหตุใดจึงขาดผู้มีจิตกุศลศรัทธาอุปัฏฐากพระเณรถึงเพียงนี้

    หลวงปู่เพียงแค่สงสัย แต่ไม่คิดใฝ่ใจใคร่รู้สาเหตุที่มาของวัดร้าง ท่านจึงมองหาที่พักสำหรับคืนนี้ เห็นบริเวณระเบียงด้านหน้ากุฏิหลังใหญ่ดูกว้างขวาง และเปิดโล่งโปร่งสบายก็ตรงไปยังที่นั้น วางอัฐบริขารลง แล้วไปเก็บแขนงไม้มารวมกันปัดกวาดพื้นให้สะอาดพอปูอาสนะได้

    ขณะที่หลวงปู่ศุขกำลังปัดกวาดอยู่นั้น มีชาวบ้านเป็นชาย 2-3 คน เดินมาหาท่านแล้วนั่งยกมือไหว้นมัสการ คนที่มีอาวุโสที่สุดถามขึ้นว่า

    "หลวงพ่อมาจากไหนขอรับ พวกกระผมเห็นหลวงพ่อเดินลัดตัดทุ่งตรงมาที่นี่ จึงรีบมาพบ"

    "อาตมาไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีมา กำลังจะกลับวัดปากคลองมะขามเฒ่า คืนนี้คงต้องพักที่วัดนี้ชั่วคราว พวกโยมเป็นคนบ้านนี้กระมัง"

    "ใช่ขอรับ กระผมเองอยูเลยหลังวัดนี้ไปไม่เท่าไหร่ เอ้อ หลวงพ่อขอรับ ท่านพักอยู่ตรงระเบียงหน้ากุฏินี้เห็นทีจะไม่เหมาะสมกระมังครับ"

    "ทำไมล่ะโยม อาตมาเห็นว่าเป็นวัดร้าง ไม่มีใครดูแลเป็นเจ้าของจึงไม่ได้ขออนุญาตใคร"

    " ไม่ใช่เรื่องขออนุญาต หรือไม่ขออนุญาตหรอกขอรับ แต่พวกกระผมเป็นห่วงหลวงพ่อ กลัวว่าหลวงพ่อจะเจอเรื่องไม่ดีไม่งามเข้าตอนกลางค่ำกลางคืน "

    "เรื่องไม่ดีไม่งามที่โยมว่านั่นน่ะ มันเรื่องอะไร"

    ชายสูงวัยทำท่าอึกอักก่อนจะตัดสินใจกราบเรียน

    "ผีที่นี่เฮี้ยนเหลือกำลังขอรับหลวงพ่อ สาเหตุที่วัดนี้กลายเป็นวัดร้าง ก็เพราะผีดุนี่แหละครับ กระผมเองเคยเป็นมัคทายกวัดนี้ รู้เรื่องดีเชียวละ"

    แล้วอดีตมัคทายกก็เล่าเรื่องผีวัดร้างให้หลวงปู่ฟังว่า เมื่อก่อนวัดนี้มีพระเณรจำพรรษาไม่เคยขาด ชาวบ้านร้านตลาดมาทำบุญทำทานกันตลอดเวลา

    ต่อมาสมภารเจ้าวัดมรณภาพ ยังไม่ทันจะหาสมภารรูปใหม่มาปกครองดูแลวัด ผีสมภารเปิดฉากออกอาละวาดหลอกหลอนแทบทุกคืน จนพระเณรอกสั่นขวัญหาย แม้ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญแผ่กุศลสักเท่าไหร่ ผีสมภารก็ไม่ยอมไปผุดไปเกิด ยังคงหลอกหลอนเหมือนเดิม กระทั่งพระเณรทนไม่ไหวพากันหนีหาย ย้ายไปอยู่วัดอื่นหมด

    เคยมีพระใหม่ใจกล้ารับอาสาจะมาช่วยบูรณะวัดฟื้นฟูวัด แต่อยู่ได้ไม่กี่วันก็หอบอัฐบริขารจากไป เพราะผีสมภารเล่นงาน

    หลวงปู่ศุขรับฟังอดีตมัคทายกวัดเล่าเรื่อผีสมภารโดยสงบมิได้แสดงความคิดเป็นแต่ประการใด เมื่อมัคทายกกราบเรียนแนะนำให้ท่านย้ายที่ปักกลดไปอยู่นอกเขตวัดจะดีกว่า ท่านก็เฉยเสีย บอกแต่เพียงว่าคงไม่เป็นไร เพราะท่านมาอาศัยคืนเดียวแล้วก็ไป ผีสมภารคงไม่ทำอะไร เมื่อหลวงปู่ยืนยันเช่นนี้ ชาวบ้านก็จำต้องนมัสการกราบลากลับไป ทั้งที่ห่วงใยท่านจะทานวิญญาณร้ายของสมภารเจ้าวัดที่ตายไปไม่ไหว

    หลวงปู่กางกลด จัดวางบริขารและปูอาสนะเรียบร้อย เมื่อความมืดของราตรีมาเยือน วัดก็ยิ่งวังเวงหนักขึ้น หลวงปู่ไหว้พระสวดมนต์ทำวัตรเย็นตามกิจของท่านแล้วเข้ากลด เจริญสมาธิภาวนาเช่นที่เคยปฏิบัติมา โดยไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น

    ตราบกระทั่งดึกสงัด ก็ปรากฏเสียงบานหน้าต่างของกุฏิหลังใหญ่กระแทกเปิดปิดดังสนั่น ทั้งๆ ที่ประตูหน้าต่างใส่ดาลลั่นกลอนปิดสนิท จะเป็นเพราะลมก็ไม่ใช่เพราะเวลานั้นลมสงบเงียบเชียบ

    หลวงปู่ศุข กำลังพักผ่อนต้องลุกขึ้นมานั่ง คอยดูว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไปอีก ท่านก็ไม่ต้องคอยนาน เมื่อตรงหน้ากลดนั้นร่างดำมึนดูทะมึนของสมภารวัดได้ผุดวูบขึ้นมาให้เห็นถนัดชัดเจน พร้อมกับพูดขึ้นด้วยเสียงแหบห้าวดุจไม่พอใจ

    " มาทำไม?"

    "ผมไปรุกขมูลมา จะขออาศัยนอนที่นี่สักคืน" หลวงปู่ศุข ตอบ

    ผีสมภารนิ่งแล้วหายวับ คราวนี้เกิดเสียงดังโครมครามสนั่นหวั่นไหว ภายในกุฏิไม่ยอมหยุด ประหนึ่งต้องการขับไล่หลวงปู่ศุข ทว่าหลวงปู่มิได้หวั่นไหวต่อการแสดงฤทธิ์ของผีสมภาร

    ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังรู้สึกสงสารเวทนาต่อดวงวิญญาณมิจฉาทิฐิที่หลงวนเวียนยึดเหนี่ยวในสถานที่นี้ไม่ยอมไปผุดไปเกิดในภพภูมิที่ดีกว่า ทั้งๆ ที่บวชเรียนในพระพุทธศาสนามานานถึงขึ้นเป็นสมภารเจ้าวัด

    หลวงปู่ศุขสำรวมจิตแผ่เมตตาไปให้ แต่เสียงสนั่นหวั่นไหวภายในกุฏิ ก็ไม่ยอมหยุด สวดมนต์อีกหลายบท ผีสมภารก็ยังไม่รับรู้ มิหนำซ้ำ ผีสมภารยังมาปรากฏร่างยืนตระหง่านตรงหน้ากลด แผดเสียงหัวเราะเย้ยหยันแล้วคำรามลั่นบอกว่า

    "ไม่กลัวหรอก มีคาถาอะไรก็ว่ามาอีกซิ"

    หลวงปู่ศุขเห็นผีสมภารดื้อด้านถึงเพียงนี้ ท่านจึงกล่าวออกมาดังๆว่า

    "อนิจจาเอ๋ยไม่เคยเห็น ผีตายหรือจะสู้กับผีเป็น นะโม พุทธายะ"

    ด้วยถ้อยคำประโยคนี้ ผีสมภารก็หายวับไปไม่มีเสียงโครมครามใดๆ ตามมาอีก และหลวงปู่ศุขก็ไม่ใส่ใจสนใจอีกต่อไป เอนกายลงพักผ่อนตามปกติของท่าน

    เช้าวันรุ่งขึ้นอดีตมัคทายกและชาวบ้านกลุ่มใหญ่รีบมาที่วัดแต่เช้า เห็นหลวงปู่ศุขเป็นปกติดีไม่มีอะไร ต่างปีตีดีใจเข้ามากราบไหว้นมัสการสอบถามว่า เมื่อคืนมีเหตุการณ์ร้ายๆ อะไรเกิดขึ้นหรือไม่ หลวงปู่ไม่ตอบ ได้แต่ยิ้มๆ ทำนองมิให้ซักไซ้ให้มากความ ชาวบ้านจึงไม่กล้าละลาบละล้วงถามอีก

    จากนั้นก็กลับไปจัดหาภัตตาหารเช้ามาถวาย

    เมื่อท่านกระทำภัตกิจเรียบร้อย ชาวบ้านนิมนต์ให้ท่านพักอยู่ที่นี่ก่อน เพื่อพวกเขาจะได้มีโอกาสทำบุญสร้างกุศลกันบ้าง หลวงปู่ศุขก็เมตตารับนิมนต์

    หลวงปู่พำนักอยู่ที่กุฏิร้างของสมภารเก่า ๕ คืน ไม่ปรากฏมีผีสมภารออกอาละวาดอีกเลย

    ท่านเห็นว่าสมควรแก่เวลาแล้วจึงเก็บอัฐบริขารเพื่อเดินทางต่อไปชาวบ้านอ้อนวอนให้ท่านเป็นสมภารวัดร้างแห่งนี้ แต่หลวงปู่ไม่อาจรับศรัทธาญาติโยมข้อนี้ได้
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยอดยาสมุนไพร หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

    ยารักษาโรคหัวใจ
    ขนานที่ ๑


    ส่วนผสมของตัวยา
    มะพร้าวอ่อน ๑ ผล
    ต้นคื่นฉ่ายสด ๑ กำมือ

    วิธีปรุงยา
    เอามะพร้าวอ่อนมาตัดเอาหัวออก เปิดกะลามะพร้าว อย่าให้น้ำมะพร้าวหก เอาต้นคื่นฉ่ายสดมาล้างน้ำให้สะอาด ตัดเป็นท่อนๆ ใส่ลงไปในน้ำมะพร้าวนั้น

    จากนั้นเอามาเผาไฟจนน้ำมะพร้าวเดือด พยายามอย่าให้น้ำมะพร้าวหกออกมา ถ้าไฟแรง ลดไฟลงให้เดือดอ่อนๆ จนคื่นฉ่ายผสมผสานกับน้ำมะพร้าวมากๆ ด้วยเวลาประมาณ ๑๐ นาทีเศษ

    ขนาดรับประทาน
    เอาน้ำมะพร้าวนี้ปล่อยเอาไว้ให้อุ่น ดื่มให้หมดวันละ ๑ ผล
    ทำเช่นนี้เป็นเวลา ๗ วัน ๗ ผล
    ต่อมาให้รับประทานยานี้วันเว้นวัน ต่อเนื่องกันประมาณ ๑-๒ เดือนอาการของโรคหัวใจจะค่อยๆ ทุเลาลงเรื่อย

    สรรพคุณ
    รักษาอาการของโรคหัวใจได้ดีมาก อาการหายใจขัดจะหายไป อาการอ่อนเพลียจะไม่เกิดขึ้นเหมือนเมื่อก่อน เรี่ยวแรงจะดีขึ้น อาการเจ็บปวดที่ทรวงอกด้านซ้ายจะไม่มีเหมือนเดิมอีก


    ข้อสำคัญจะต้องรับประทานต่อเนื่องกันไป ตามที่แนะนำจึงจะรักษาอาการของหัวใจผิดปกติได้ดี





    ยารักษาโรคหัวใจ
    ขนานที่ ๒


    ส่วนผสมของตัวยา
    ข้าวเย็นเหนือ หนัก ๑๐ บาท
    ข้าวเย็นใต้ หนัก ๑๐บาท
    กำมะถันเหลือง หนัก ๑๐บาท
    กำแพงเจ็ดชั้น หนัก ๑๐บาท
    ทองพันชั่ง หนัก ๑๐บาท
    ชะเอมเทศ หนัก ๑๐บาท

    วิธีปรุงยา
    เอาตัวยาและส่วนผสมทั้งหมดมาใส่หม้อดินต้มกับ้ำพอท่วม ต้มเคี่ยว ให้ตัวยาออกมามากๆ ประมาณ ๒๐ นาที ด้วยไฟเดือดอ่อนๆ แล้วยกหม้อต้มยาลงมา ปล่อยเอาไว้ให้เย็นลง

    ขนาดรับประทาน
    เอามาดื่มครั้งละ ๑ ถ้วยชา หลังอาหารเช้า กลางวัน และเย็น รวมวันละ ๓ เวลา

    สรรพคุณ
    รักษาอาการของโรคหัวใจได้ดีมาก แก้อาการอ่อนเพลียระเหี่ยใจ เหนื่อยหอบ หัวใจเต้นผิดปกติ



    ยารักษาโรคหัวใจ
    ขนานที่ ๓


    ส่วนผสมของตัวยา
    ต้นและใบบัวบก ๒ กำมือ
    น้ำตาลทรายแดง
    (ไม่มีน้ำตาลทรายแดง เอาน้ำตาลทรายขาวก็ได้)

    วิธีปรุงยา
    เอาต้นและใบบัวบกที่ถอนเอามาสดๆ เอามาล้างน้ำให้สะอาด แล้วสับเป็นท่อนสั้นๆ ใส่ลงไปในครก โขลกให้แหลกละเอียดแล้วคั้น เอาน้ำข้นๆ มาผสมกับน้ำตาลทรายแดง คนให้ละลายเข้าด้วยกัน

    ขนาดรับประทาน
    เอามาดื่มครั้งละ ๑ แก้ว
    ดื่มวันละ ๓ แก้ว เช้า กลางวัน และเย็น ดื่มต่อเนื่องกันประมาณ ๑ สัปดาห์หรือ ๑๐ วัน

    สรรพคุณ
    รักษาอาการของโรคหัวใจได้ดี อาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย อาการเจ็บปวดที่ทรวงอกข้างซ้ายหรือที่หัวใจ อาจจะมีเหงื่อออกเป็นประจำ



    ยารักษาโรคหัวใจ
    ขนานที่ ๔


    ส่วนผสมของตัวยา
    หัวไชเท้า ๑ หัว
    (ถ้าหัวใหญ่ ครึ่งหัวก็พอ)
    น้ำผึ้งแท้ ๑ ถ้วย

    วิธีปรุงยา
    เอาหัวไชเท้าหรือผักกาดหัวสดๆ มาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกออกไป ขจัดดินและสิ่งสกปรกออกให้หมด แล้วตัดเป็นชิ้นๆ กำลังพอเหมาะที่จะรับประทาน

    จัดหาน้ำผึ้งแท้มาสัก ๑ ถ้วย เตรียมเอาไว้

    ขนาดรับประทาน
    เอาหัวไชเท้าหรือผักกาดหัวสดๆ ดังกล่าว มาจิ้มกับน้ำผึ้งแท้ รับประทานเช้าครั้งหนึ่ง เย็นอีกครั้งหนึ่ง รับประทานเช่นนี้ทุกๆ วัน เป็นเวลาประมาณ ๒ สัปดาห์

    สรรพคุณ
    รักษาอาการของโรคหัวใจได้ดีมาก อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เจ็บปวดที่ทรวงอกข้างซ้ายหรือที่หัวใจ อึดอัด หายใจไม่สะดวก จะดีขึ้น ทุเลาขึ้นมาเรื่อยๆ จนหายเป็นปกติในที่สุด
    พยายามรับประทานเพื่ออาการของโรคจะดีขึ้นมา



    ยารักษาโรคหัวใจ
    ขนานที่ ๕


    ส่วนผสมของตัวยา
    ต้นไมยราบ (ทั้งต้น ดอก ราก) สดๆ ๑ กก.

    วิธีปรุงยา
    เอาต้นไมยราบสดๆ ดังกล่าวข้างต้นมาล้างน้ำให้สะอาด สับเป็นท่อนสั้นๆ แล้วเอาไปตากแดดให้แห้งสนิท
    จากนั้นเอามาคั่วในกระทะให้เหลือง หอม เก็บใส่ขวดโหล หรือภาชนะที่ปิดฝาได้มิดชิดเช่นเดียวกับการเก็บใบชา
    ไม่ให้อากาศภายนอกเข้าไปได้ เก็บเอาไว้ได้นานๆ เวลาใช้ก็เอามาชงกับน้ำเดือด จิบได้เป็นน้ำชา

    ขนาดรับประทาน
    ชงเป็นน้ำชาใส่เอาไว้ในกาน้ำชา หรือเอามาใส่ลงไปในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า จัดการต้มไปเลย แล้วรินเอามาดื่มเป็นน้ำชาได้ตลอดทั้งวัน แทนการดื่มน้ำชานั่นเอง
    แต่ว่าการดื่มน้ำชาต้นไมยราบนี้ดีกว่ามากมาย เพราะมีสรรพคุณทางยาสมุนไพรได้ดี

    สรรพคุณ
    รักษาอาการผิดปกติของหัวใจได้ดี เป็นต้นว่าหัวใจเต้นผิดปกติ อาการของหัวใจสั่น อาการเจ็บปวดที่ทรวงอกตรงบริเวณหัวใจ




    ยารักษาความดันโลหิตสูง
    ขนานที่ ๑


    ส่วนผสมของตัวยา
    กาฝากมะม่วงทั้งห้า (ต้น ใบ ราก) สดๆ โดยการตัดเอามาจากต้นมะม่วงอะไรก็ได้ เอามาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ๑ กก.

    วิธีปรุงยา
    เอากาฝากมะม่วงสดๆ สับเป็นชิ้นๆ รวมทั้งใบและรากที่เกาะกิ่งมะม่วง เอามาตากแดดให้แห้งสนิท ซึ่งจะต้องตากหลายๆ แดด
    จากนั้นเอามาเก็บเอาไว้ในภาชนะที่ปิดฝามิดชิด เวลาเอามาใช้ ก็เอามาใส่ลงไปในหม้อดินสัก ๒ กำมือ เติมน้ำให้ท่วมพอสมควร ต้มเคี่ยวให้เดือดอ่อนๆ ด้วยเวลาประมาณ ๑๕-๒๐ นาที
    ยกลงปล่อยเอาไว้ให้เย็นไปเอง

    ขนาดรับประทาน
    ดื่มเช้า กลางวัน และเย็น ครั้งละ ๑ แก้ว หรือดื่มแทนน้ำชาก็ได้ทั้งวัน แทนน้ำชาจีนไปได้เลย
    หิวน้ำก็ดื่มน้ำกาฝากต้นมะม่วงนี้แหละ

    สรรพคุณ
    แก้อาการความดันโลหิตสูงได้ดีมาก




    ยารักษาความดันโลหิตสูง
    ขนานที่ ๒


    ส่วนผสมของตัวยา
    รากมะละกอตัวผู้ (ทางด้านตะวันออก) โดยการตัดปลายรากออกไป ตัดด้านทางหัวออกไปด้วย ๑ กำมือ
    สารส้มก้อนประมาณหัวแม่เท้า ๑ ก้อน

    วิธีปรุงยา
    เอารากมะละกอตัวผู้มาจากต้น แล้วล้างน้ำให้สะอาด อย่าลืมตัดปลายรากและทางหัวออกไปเสียก่อน สับเป็นท่อนสั้นๆ ใส่ลงไปในหม้อดิน ใส่น้ำลงไปพอท่วม ใส่สารส้มลงไปตามกำหนด
    จัดการต้ม เคี่ยว ให้เดือดอ่อนๆ เป็นเวลานานประมาณ ๑๕ นาทีก็พอ
    แล้วยกลงปล่อยเอาไว้ให้เย็น

    ขนาดรับประทาน
    รินเอามาดื่ม ครั้งละ ๑ แก้ว เช้า กลางวันและเย็นรวม ๓ เวลา

    สรรพคุณ
    รักษาอาการความดันโลหิตสูง อาการปวดวิงเวียนมึนตื้อ ตึงท้ายทอยจะหายไป
    ความดันโลหิตจะลดลงเป็นปกติ เมื่อดื่มยานี้ไปประมาณ ๕-๖ วันเท่านั้นเอง ปกติดีแล้วก็งดดื่มยาได้




    ยารักษาความดันโลหิตสูง
    ขนานที่ ๓


    ส่วนผสมของตัวยา
    กาฝากมะม่วงกะล่อนทั้งห้า (ต้น ใบ ราก) สดๆ ด้วยการตัดเอามาจากต้นมะม่วงกะล่อน สับเป็นชิ้นเล็กๆ ๑ กก.

    วิธีปรุงยา
    เอากาฝากมะม่วงสดๆ มาสับเป็นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วเอาไปตากแดดให้แห้งสนิท ซึ่งจะต้องตากหลายๆ แดด
    แล้วเอามาใส่ลงไปในภาชนะที่ปิดฝามิดชิด ป้องกันอากาศเข้าไปได้ เก็บเอาไว้ใช้ได้นานวัน
    เวลาจะใช้เอากาฝากมะม่วงที่ตากแห้งแล้วนี้ มาใส่ลงไปในหม้อดินสัก ๒ กำมือ เติมน้ำสะอาดลงไปพอท่วมตัวยานี้ ต้ม เคี่ยวให้เดือดอ่อนๆ ประมาณ ๑๕ นาที ให้ตัวยาละลายออกมามากๆ
    แล้วยกลงปล่อยเอาไว้ให้เย็นไปเอง

    ขนาดรับประทาน
    ดื่มน้ำกาฝากมะม่วงกะล่อนนี้ ครั้งละ ๑ แก้ว เช้า กลางวันและเย็น หิวน้ำก็ดื่มน้ำนี้แทนน้ำไปเลยก็ได้

    สรรพคุณ
    อาการความดันโลหิตสูง จะค่อยๆ ทุเลาลงไปเรื่อยๆ ปจนหายเป็นปกติดีแล้ว ก็หยุดดื่มได้




    ยารักษาความดันโลหิตสูง
    ขนานที่ ๔


    ส่วนผสมของตัวยา
    ต้นลิ้นมังกร (ทั้งต้น ทั้งราก) ๓ กำมือ
    น้ำตาลกรวดก้อนเท่าหัวแม่มือ ๑ ก้อน

    วิธีปรุงยา
    เอาต้นลิ้นมังกรดังกล่าวมาล้างให้สะอาด สับเป็นท่อนสั้นๆ ใส่ลงไปในหม้อดินสำหรับต้มยา
    เติมน้ำสะอาดลงไปพอท่วมสัก ๓ ส่วน ใส่น้ำตาลกรวดลงไปอีก จัดการต้ม เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ ให้งวดลงเหลือส่วนเดียว เพื่อให้เกิดความเข้มข้นขึ้นมา

    ขนาดรับประทาน
    ดื่มเป็นยา ครั้งละ ๑ ถ้วยชา เช้า กลางวันและเย็น ดื่มไปสัก ๑ สัปดาห์

    สรรพคุณ
    แก้อาการความดันโลหิตสูงได้ดีมาก อาการมึนศรีษะ ซึม ตึงหน่วงที่ท้ายทอยก็จะค่อยๆ หายไป
    ข้อสำคัญจะต้องดื่มยานี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ อย่าเว้นบ้าง ดื่มบ้าง จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร




    ยารักษาความดันโลหิตสูง
    ขนานที่ ๕


    ส่วนผสมของตัวยา
    รากระย่อมรวมทั้งต้น ๓ กำมือ

    วิธีปรุงยา
    ถอนเอาต้นระย่อมมาทั้งรากทั้งต้น จัดการล้างทำความสะอาดให้ดี อย่าให้ดิน โคลน สิ่งสกปรกติดอยุ่ได้ ล้างให้สะอาดดีแล้วเอามาหั่นเป็นท่อนๆ
    ใส่ลงไปในหม้อดินต้มยา เติมน้ำสะอาดลงไปพอท่วม กะเป็น ๓ ส่วนแล้วยกเอาขึ้นตั้งบนเตาไฟ
    ต้ม เคี่ยวด้วยไฟอ่อนๆ ให้น้ำยางวดลงเหลือส่วนเดียว ยกลงมา ปล่อยเอาไว้ให้เย็นลง

    ขนาดรับประทาน
    ดื่มครั้งละ ๑ แก้ว เช้า และเย็น ดื่มทุกวันอย่าเว้น

    สรรพคุณ
    แก้อาการความดันโลหิตสูงได้ดีมาก ทำให้ความดันโลหิตสูงลดลงได้อย่างน่าพิศวง อาการปวดมึนศรีษะหายไปเรื่อยๆ จนเป็นปกติ
    อาการมึน ปวดท้ายทอยก็จะหายไป
    ดื่มยานี้ไปไม่เกิน ๗ วัน อาการความดันโลหิตสูงก็เป็นปกติได้





    ยารักษาความดันโลหิตสูง
    ขนานที่ ๖

    ส่วนผสมของตัวยา
    ต้นสาบเสือทั้งห้า ๑ กำมือ
    พริกไทยล่อน ๗ เม็ด

    วิธีปรุงยา
    จัดการเอาต้นสาบเสือทั้งห้า คือ ทั้งต้น ใบ ราก ดอก ราก เรียกว่าทั้งต้นทั้งราก จัดการล้างทำความสะอาดให้ดี ตัดออกเป็นท่อนๆ สั้นๆ
    ใส่ลงไปในหม้อดิน เอาพริกไทยล่อนทั้ง ๗ เม็ดใส่ลงไปด้วย เติมน้ำสะอาดลงไปพอท่วม ต้ม เคี่ยวไปจนงวดลงมากๆ ด้วยการใส่น้ำลงไป ๓ ส่วนเคี่ยวจนเหลือส่วนเดียว
    ยกลงมา ปล่อยเอาไว้ให้เย็นลง แล้วเอามาดื่มได้

    ขนาดรับประทาน
    รินเอาน้ำยานี้มาดื่ม ครั้งละ ๑ ถ้วยชา ดื่มเช้า กลางวันและเย็นรวมวันละ ๓ เวลา
    ดื่มไปเรื่อยๆ หมดยาก็ต้มใหม่ ดื่มไปสัก ๑ สัปดาห์

    สรรพคุณ
    รักษาอาการความดันโลหิตสูงได้ดีมาก อาการความดันโลหิตสูงจะทุเลาลงเรื่อยๆ จนหายไปในที่สุด




    ยารักษาความดันโลหิตต่ำ

    ส่วนผสมของตัวยา
    หมูเนื้อแดง ๑ กก.
    พรกไทยล่อน ๑ กระป๋องนมข้นหวาน
    น้ำผึ้งแท้

    วิธีปรุงยา
    เอาส่วนผสมของตัวยาข้างบนนี้ คือ หมูเนื้อแดงกับพริกไทยล่อนมาบดรวมผสมกัน ให้เข้ากันดี
    แล้วเอาไปใส่ขวดปากกว้างหรือขวดโหล เอาน้ำผึ้งแท้เทใส่ลงไปให้ท่วมเนื้อหมูและพริกไทยล่อนบดละเอียด ปิดฝาขวดหรือโหลเอาไว้ให้แน่น แล้วเอาไปหมกเอาไว้ในข้าวเปลือกประมาณครึ่งเดือนขึ้นไป เช่น ๒๐-๒๕ วัน หรือ ๓๐ วันก็ได้
    แล้วก็เอาออกมาจากการหมกในข้าวเปลือก

    ขนาดรับประทาน
    รินเอาแต่เพียงน้ำผึ้งที่ดองเนื้อหมูกับพริกไทยล่อน ดื่มกินวันละประมาณ ๑ ช้อนแกง วันละครั้งเดียวก็พอ ดื่มกินไปสัก ๕ วัน ท่านว่าจะได้ผลดีมากในการรักษาอาการของโรคที่เกิดขึ้น

    สรรพคุณ
    แก้อาการของโรคความดันโลหิตต่ำได้ดีมาก รวมทั้งโรคโลหิตจางก็ได้ผลดี



    ยารักษาโรคเบาหวาน
    ขนานที่ ๑


    ส่วนผสมของตัวยา
    ยอดขี้เหล็ก ๑ กก.
    สารส้ม ๑๐๐ กรัม
    น้ำผึ้งแท้

    วิธีปรุงยา
    เอายอดขี้เหล็กมาล้างให้สะอาด ตัดเป็นท่อนสั้นๆ เสียก่อน ใส่ครกโขลกให้ละเอียด หรือจะเอามาบดก็ได้ อย่าลืมเอาสารส้มใส่ลงไปโขลก หรือบดผสมผสานกันเข้าไปด้วย ละเอียดดีแล้วเอาออกมาจากครก ผสมกับน้ำผึ้งแท้ ปั้นเป็นลูกกลอนสักขนาดปลายนิ้วก้อย

    ขนาดรับประทาน
    รับประทานวันละ ๑ เม็ด ทุกๆ วันเป็นเวลาประมาณ ๑ เดือนเศษ หากอาการมาก โรคมีอยู่มาก ก็รับประทานวันละ ๒ เม็ด ซึ่งจะต้องใช้เวลานานกว่า ๑ เดือน แต่ก็หายได้

    สรรพคุณ
    รักษาอาการของโรคเบาหวานได้ดีมาก อาการเบาหวานจะค่อยๆ ทุเลาลงเรื่อยๆ อย่าหยุดยาในระหว่างที่กำลังรับประทานยา




    ยารักษาโรคเบาหวาน
    ขนานที่ ๒


    ส่วนผสมของตัวยา
    เปลือกต้นไข่เน่า ๒ กำมือ
    เกลือทะเล (เกลือแกง) ๒ ช้อนโต๊ะ

    วิธีปรุงยา
    เอาเปลือกต้นไข่เน่ามาล้างให้สะอาด ใส่ลงไปในหม้อดินสำหรับต้มยา ใส่น้ำลงไปให้ท่วมตัวยาพอสมควร ใส่เกลือแกงหรือเกลือทะเลลงไปด้วย
    ยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ ต้ม เคี่ยว ให้เดือดอ่อนๆ โดยเคี่ยวไปสัก ๒๐ นาที โดยกะให้น้ำ ๓ ส่วน แล้วงวดลงเหลือเพียง ๑ ส่วน ตามหลักการของการต้มยาต้มทั้งหลาย
    ขนาดรับประทาน
    รับประทานยานี้ครั้งละ ๑ ถ้วยชา ก่อนอาหารเช้าและก่อนนอน ทุกๆ วันวันละ ๒ ครั้ง ดื่มกินยานี้เพียง ๗ วันอาการของโรคนี้จะทุเลาลงเรื่อยๆ

    สรรพคุณ
    รักษาอาการของโรคเบาหวานได้ดีมาก เบาหวานมีทั้งอาการที่เป็นมากและเป็นน้อย หากเป็นมาก ก็อาจจะต้องดื่มยานี้ไปเป็นเวลานานวันกว่าผู้ป่วยที่มีอาการน้อยกว่า



    ยารักษาโรคเบาหวาน
    ขนานที่ ๓


    ส่วนผสมของตัวยา
    ใบทองพันชั่ง หนัก ๑ บาท
    ใบชุมเห็ด หนัก ๑ บาท
    พริกไทยล่อน หนัก ๑ บาท
    ต้นเหงือกปลาหมอ หนัก ๑ บาท
    น้ำผึ้งแท้

    วิธีปรุงยา
    ก่อนอื่นเอาตัวยาทั้งหมด ยกเว้นน้ำผึ้งแท้ ตากแดดให้แห้งสนิทเสียก่อน ต่อมาก็เอามาบดเป็นผงละเอียดตามวิธีการบดยาสมุนไพรทั้งหลาย
    เอามาผสมกับน้ำผึ้งแท้ ปั้นเป็นลูกกลอนขนาดเมล็ดในพุทราไทย เก็บเอาไว้ในภาชนะปิดฝาสนิท รับประทานได้นานๆ

    ขนาดรับประทาน
    รับประทานครั้งละ ๖ เม็ด เช้าและเย็น เป็นเวลา ๓๐ วันหรือ ๑ เดือนเศษ อาการจะทุเลาลงเรื่อยๆ จนหาย

    สรรพคุณ
    รักษาอาการของโรคเบาหวานได้ดีมาก หากเป็นมาก ก็อาจจะต้องรับประทานยานี้ไปเป็นเวลานานวันหน่อย คือมากกว่า ๑ เดือน
    อดทน พยายามรับประทานยาไปเรื่อยๆ อย่าเว้นวันรับประทานบ้าง หรือไม่รับประทานบ้าง จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร

    ยารักษาอาการปวดเมื่อย
    ขนานที่ ๑


    ส่วนผสมของตัวยา
    ลูกข่อย ๑ ทะนาน
    หัวแห้วหมู ๑ ทะนาน
    หางไหลเผือก หนัก ๒๐ บาท
    กรุงเขามา หนัก ๒๐ บาท

    วิธีปรุงยา
    เอาตัวยาสมุนไพรทั้งหมดข้างต้นนี้มาตากแดดให้แห้งสนิทแล้วจึงเอามาชั่งและตวง จากนั้นก็เอามาบดเป็นผงละเอียดแบบยาผงทั้งหลาย
    เอามาปั้นเป็นเม็ดขนาดเมล็ดในพุทราไทย
    เก็บเอาไว้รับประทานเป็นยาดีได้

    ขนาดรับประทาน
    รับประทานครั้งละ ๒-๓ เม็ด เช้าและเย็น ก่อนนอนทุกคืนอย่างสม่ำเสมอ

    สรรพคุณ
    รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายได้ดีมาก เมื่อมีอาการแล้วจะหายไปได้เมื่อรับประทานยานี้ ขอแนะนำว่าเมื่อได้ผลดีแล้ว กรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้แก่ท่านเจ้าของตำรับยาขนานนี้ด้วย




    ยารักษาอาการปวดเมื่อย
    ขนานที่ ๒


    ส่วนผสมของตัวยา
    ต้นกะเม็งทั้งห้า หนัก ๑ กก.
    น้ำผึ้งแท้

    วิธีปรุงยา
    เอาต้นกะเม็งทั้งห้าที่แนะนำมาแล้วข้างต้น เอามาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ท่อนเล็กๆ ตากแห้งให้แห้งสนิทเสียก่อน
    จากนั้นก็เอามาบดเป็นผงละเอียดตามแบบฉบับยาผงทั่วไป แล้วเอามาผสมกับน้ำผึ้งแท้ ปั้นเป็นลูกกลอนแบบยาไทยทั้งหลาย
    เก็บเอาไว้รับประทานเป็นยาได้นานวันด้วยการใส่ภาชนะเช่น ขวดมีฝาปิดแน่น

    ขนาดรับประทาน
    รับประทานครั้งละ ๑ เม็ด หลังอาหารเช้า กลางวันและเย็น รับประทานไปสัก ๑๕ วัน อาการป่วยก็ทุเลาลงเรื่อยๆ

    สรรพคุณ
    รักษาอาการปวดเมื่อยตามร่างกายปวดกล้ามเนื้อตามร่างกายทั่วไป เรียกว่าอาการปวดเมื่อยทุกชนิดนั่นเอง
    เคล็ดลับนั้น ท่านว่าให้ปลุกเสกด้วยคาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ด้วย เวลารับประทานจะเกิดผลดีมากยิ่งขึ้น (คาถานี้ก็คือ นะโมพุทธายะฯ นั่นเอง)




    ยารักษาอาการปวดเมื่อย
    ขนานที่ ๓


    ส่วนผสมของตัวยา
    น้ำมะนาว ๑ ช้อนกาแฟ
    น้ำผึ้งเดือนห้า ๕ ช้อนกาแฟ
    น้ำโซดา ๑ ขวด

    วิธีปรุงยา
    เอาน้ำมะนาวมาผสมรวมกันกัยน้ำผึ้งเดือนห้าทั้ง ๒ อย่าง กวน คนให้เข้ากันดีแล้ว เอาน้ำโซดามาใส่ลงไป ควรเอาแก้วมาใส่ผสมจะสะดวกดี เมื่อใส่น้ำโซดาลงไปแล้วก็กวน คนให้เข้าด้วยกัน

    ขนาดรับประทาน
    รับประทานเมื่อตื่นนอนตอนเช้า ๑ แก้ว ก่อนนอนเวลากลางคืนอีก ๑ แก้ว รวมวันละ ๒ แก้ว
    ปฏิบัติเป็นประจำเพียง ๒-๓ วัน เท่านั้นเองก็ใช้ได้

    สรรพคุณ
    รักษา แก้อาการปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัวทั่วไป แก้อาการปวดเมื่อยทั้งหลายที่เกิดขึ้นมาให้หายไปได้อย่างดี
    รับประทานยานี้เพียง ๒-๓ วันเท่านั้น อาการที่ปวดเมื่อยก็ค่อยๆ ทุเลาลงเรื่อยๆ จนหายเป็นปกติได้
    นอกจากนี้ยังแก้อาการอ่อนเพลียได้ รวมทั้งเป็นยาไทยที่ใช้บำรุงร่างกายได้ดีมาก น้ำผึ้งเดือนห้ากับน้ำมะนาวนี่แหละ


    มรณภาพ

    ท่านมรณภาพเมื่อ เดือน ๑ ปีกุน พ.ศ. ๒๔๖๖ ไม่ปรากฏวันที่ที่แน่นอน คำนวณอายุได้ ๗๖ ปี วันสวดพระพุทธมนต์ทำศพอยู่ ๗ วัน ๗ คืน จึงประชุมเพลิง

    อนึ่ง การที่เราคนรุ่นหลังจักเขียนเรื่องราวและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ศุข ซึ่งท่านมรณภาพล่วงไปแล้วกว่าครึ่งศตวรรษให้ได้ใกล้เคียงกับความจริงนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากๆ อาศัยหลักฐานทางเอกสารที่หลงเหลืออยู่บ้าง จากการไต่ถามบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านซึ่งส่วนมากจักล้มหายตายจากกันไปเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การที่ท่านได้รับรู้จากการเขียนของ “ท่านมหา” ซึ่งเคยอุปัฏฐากหลวงปู่ ดังกล่าวแล้วนั้นคงจักทำให้ท่านมองเห็นสภาพของหลวงปู่ศุข ได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด



    ที่มาของข้อมูล

    http://www.konmeungbua.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...