เหรียญชินราชคุ้มเกล้า หลังภปร.พ.ศ. 2521

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 8 พฤษภาคม 2019.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  2. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,279
    ค่าพลัง:
    +6,443
    ขอจองครับ
     
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    https://palungjit.org/threads/เชิญพูดคุยลูกศิษย์พระอาจารย์ไพบูลย์-วัดหงษ์รัตนาราม.325247/
    หลวงพ่อสมบูรณ์ รตนญาโณ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6

    หลวงพ่อสมบูรณ์ รตนญาโณ – พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองกรุง อีกรูป ลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมวัตถุมงคลรู้จักชื่อเสียงกิตติศัพท์ท่านเป็นอย่างดี “หลวงพ่อสมบูรณ์ รตนญาโณ” หรือ “พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์”

    เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในระดับแนวหน้า จัดสร้างวัตถุมงคลที่มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน มอบให้แก่คณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนที่เลื่อมใสศรัทธา แม้จะไม่ได้จัดสร้างบ่อยครั้งนัก

    B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%93.jpg

    ปัจจุบันสิริอายุ 61 ปี พรรษา 41 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

    มีนามเดิมว่า สมบูรณ์ บุญมา เกิดเมื่อวันที่ 6 ส.ค.2501 ที่บ้านหนองหว้า ต.หนองไฮ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ในชนเผ่าส่วย บิดา-มารดา ชื่อ นายเลี้ยง บุญมา และนางฝ้าย วิสาเกษ เป็นบุตรชายคนเดียว

    ได้ศึกษาเล่าเรียนมาตามลำดับ พ.ศ.2512 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ ร.ร.บ้านนาโนน

    อายุ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 23 มี.ค.2521 ที่พัทธสีมาวัดสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ มีพระอธิการเครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่สุข โกวิโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สมชาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    อยู่อุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์ ศึกษาวิชาทำน้ำมนต์และวิทยาคม จากนั้นย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดพงพรต ศึกษาวิชากับหลวงปู่ใหญ่ลา ซึ่งในสมัยนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังมาก

    อีกทั้งยังศึกษาภาษาขอม ภาษาธรรมอีสาน ภาษาไทยน้อย และภาษาลาว ภายใน 1 พรรษา ก็สามารถอ่านออกเขียนได้ และเล่าเรียนนวกภูมิ ตามลำดับ

    กระทั่งปี พ.ศ.2523 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก พ.ศ.2523 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดนาโนน

    ในปี พ.ศ.2526 พระเทพรัตนโมลี (ชูศักดิ์ ธัมมทินโน) เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามในครั้งนั้น เดินทางไปเยี่ยมบ้านเกิด จึงชักชวนให้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี


    เป็นผู้ทรงจำพระปาติโมกข์ได้แม่นยำ ซึ่งในสมัยนั้นใครจะมาอยู่วัดหงส์ฯ หากพรรษา 1-4 ต้องสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนานได้ แต่หาก 5 พรรษา จะเข้ามาอยู่ต้องท่อง หรือทรงจำพระปาติโมกข์ได้ จึงจะสามารถมาอยู่วัดหงส์ฯ ได้

    หลังจากนั้น หลวงพ่อเข้ามาอยู่คณะ 4 ซึ่งเป็นคณะเดียวกับพระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาส

    พ.ศ.2530 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค พ.ศ.2543 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง

    ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2528 ได้รับการ แต่งตั้งเป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมใน พระปริยัติมุนี

    พ.ศ.2551 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วย เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์

    พ.ศ.2559 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วย เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

    เมื่อพบเห็นคัมภีร์ใบลาน สมุดข่อยต่างๆ ของวัด ประมาณสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งภายในวัดไม่มีผู้อ่านและแปลได้ ก็นำมาแปล นำมารวบรวมเรียบเรียงและตีพิมพ์แจก ในพิธีพระราชทานเพลิง พระเทพรัตนโมลี (ชูศักดิ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์ฯ และเก็บรักษาเอาไว้

    ประวัติหลวงพ่อแสนรุ่น ๑ สร้างในปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ โดยมีพิธีที่วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ผู้จัดสร้างคือ พระมหาสมบูรณ์ รตนญาโณ ปธ.๓ (ปัจจุบันคือ พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์ ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม กทม.และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยมี เจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัย และมีหลวงปู่คำพันธุ์ โฆษปญฺโญ วัดพระธาตุมหาชัย อ.นาแก จ.นครพนม เป็นองค์ดับเทียนชัย และมีเกจินั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิเช่น หลวงพ่อเปิ่น วัดท่าพระ หลวงพ่อหยอด หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง เป็นต้น และนอกจากนี้ยังได้นำไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์ ปีเดียวกันนี้ ๒๕๓๖ ด้วย

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสุงครับ

    หลวงพ่อแสนรุ่น ๑ ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ(ปิดรายการ)

    ลพ.สมบูรณ์.JPG ลพ.สมบูรณ์หลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มกราคม 2020
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    หลวงพ่อชม กสโร วัดโป่ง ชลบุรี พระครูวิสุทธิกิจจาทร หรือ หลวงพ่อชม กสโร เกิดที่บ้านโป่ง หมู่ที่ 2 ต.โป่ง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีวอก ตรงกับวันที่ 8 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2451 เป็นบุตรคนที่ 5 ของ คุณพ่อพงษ์ และคุณแม่พิมพ์ คงเมือง มีพี่น้องเกิดร่วมบิดามารดาเดียวกัน 10 คน



    1%282670%29.jpg



    เมื่อเยาว์วัย บิดามารดาได้พามาฝากวัดอยู่กับลูกของลุง เริ่มเรียน ก.ไก่ ก.กา กับพระที่วัดโป่ง จนสามารถอ่านออกเขียนได้ และอยู่วัดปรนนิบัติพระอาจารย์อยู่ระยะหนึ่ง แล้วก็ออกมาช่วยบิดามารดาทำมาหากิน ด้วยความขยันขันแข็ง เมื่ออายุครบ 21 ปี ก็ได้เข้ารับการเกณฑ์ทหารเป็นเวลา 2 ปี เมื่อออกจากทหารแล้ว ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ณ วัดนพทองดี ศรีพฤฒาราม (วัดโป่ง) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2474 ได้รับฉายาว่า พระชม กสโร โดยมี พระครูธรรมมาธรโลขณะเขต เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการบัว วัดนพทองดี ศรีพฤฒาราม (วัดโป่ง) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์ ไว เป็น พระอนุสาวนาจารย์



    หลวงพ่อชม รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ต่อจากพระอาจารย์บัว เมื่อปี พ.ศ.2486 ซึ่งในขณะนั้นท่านบวชมาได้ 12 พรรษา หลังจากที่รับตำแหน่งแล้วท่านจึงทุ่มเทแรงกายแรงใจ และแรงศรัทธา ชักจูงชาวบ้านในละแวกนั้นมาร่วมกันพัฒนาวัด ถึงแม้บางครั้งจะมีอุปสรรคบ้างแต่ท่านก็ไม่เคยย่อท้อ พัฒนาวัดและปลูกสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ขึ้นมาด้วยความวิริยะอุตสาหะ เพื่อให้เป็นสมบัติของวัดและชาวบ้านโป่ง เป็นสาธารณะประโยชน์ในการใช้สอยร่วมกัน นอกจากนี้ท่านยังมีความรู้ในด้านสมุนไพรรักษาโรค และได้ช่วยเหลือประชาชนกำจัดปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ รักษาพยาบาลแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากด้วยความเมตตา ถึงแม้สังขารและอายุจะล่วงเลยมาแล้วถึง 80 ปีก็ตาม กระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ประธานอบรมประชาชนประจำตำบล หรือที่เรียกว่า หน่วย อ.ป.ต.



    2%282687%29.jpg












    3%282168%29.jpg



    หลวงพ่อชมท่านได้ทำประโยชน์ไว้มากมาย โดยเฉพาะการศึกษาเล่าเรียน ท่านได้ขวนขวายหาปัจจัยมาสร้างโรงเรียนขนาดใหญ่ไว้ภายในวัดโป่งจนประสบความ สำเร็จ และได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า ร.ร.ชมศิริอนุสรณ์



    ด้านสมณะ ศักดิ์ หลวงพ่อชม ท่านเป็นพระที่ไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องลาภยศสรรเสริญ แต่ต่อมาภายหลังทางคณะสงฆ์เห็นคุณงามความดีที่ท่านสร้างสมมา สมควรที่จะได้รับการยกย่อง จึงได้ทำเรื่องขอพระราชทานสมณะศักดิ์ เป็นพระครูวิสุทธิกิจจาทร เมื่อ ปี 2532 จากนั้น ปีถัดมาได้เลื่อนชั้นจากตรีเป็นโท ในราชทินนามเดิมว่า พระครูวิสุทธิกิจจาทร



    หลวงพ่อชม กสโร ท่านเป็นพระสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มีอุปนิสัยสมถะ ไม่สะสมเงินทอง มีเงินเข้าวัดเท่าไหร่ ก็จะนำไปสร้างถาวรวัตถุหมด ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์, กุฏิ และที่สำคัญ ท่านเป็นผู้ก่อตั้ง " โรงเรียนชมศิริอนุสรณ์ " ท่านมีพระอาจารย์รูปแรกคือ หลวงพ่อวง วัดบ้านค่าย จ.ระยอง และเป็นศิษย์รูปสุดท้ายของ หลวงปู่อี๋ วัดสัตหีบ นอกจากนี้ท่านยังไปฝากเนื้อฝากตัวเป็นศิษย์กับเกจิดังๆ ทั่วประเทศ สมัยอยู่กุฏิเก่าท่านมักจะเล่นแร่แปรธาตุ ฝึกฝนวิชาอาคมที่ได้ร่ำเรียนมา




    ประสบการณ์ด้านวัตถุมงคล เรื่องราวเหลือเชื่อมีมากมาย ทั้ง โดนแทง โดนยิง คงกระพัน แคล้วคลาด ฯ บางเรื่องก็เป็นข่าวดังลงหนังสือพิมพ์



    [​IMG]



    [​IMG]



    หลวงพ่อชม กสโร มรณภาพ เมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 อายุ 88 ปี นับพรรษาได้ 66 พรรษา เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความประหลาดใจ เมื่อ คณะแพทย์และพยาบาลที่ โรงพยาบาล ชลบุรี พยายามจะฉีดยากันศพเน่า ให้กับท่าน แต่เข็มฉีดยาไม่อาจแทงทะลุผิวหนังท่านได้ คณะแพทย์และพยาบาล จึงได้ปล่อยร่างสังขารท่านไว้อย่างนั้น โดยไม่ฉีดยากันศพเน่า ปรากฎ ต่อมาภายหลังว่าร่างสังขารท่านก็ไม่เน่าเปื่อย แต่อย่างใด ปัจจุบันร่างสังขารหลวงปู่ชม ยังคงเก็บรักษาไว้อยู่ในโลงแก้วที่วัด

    get_auc3_img.jpg

    ท่านเป้นหนึ่งในครุบชาอาจารย์ที่หมอสมสุข คงอุไร นับถือนิมนต์มาเสกพระ ซึ่งแต่ละองค์ ขลังรับประกันได้

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่ชม วัดนพทองดี (โป่ง) ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ
    ลป.ชม.JPG ลป.ชมหลัง.JPG
     
  6. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,279
    ค่าพลัง:
    +6,443
    ขอจองครับ
     
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    พระผงสองสมเด็จสร้างแจกพร้อมนิตยาสารศักดิ์สิทธิ์ ครบรอบ10ปี ช่วงปี2538 เตรียมการสร้าง2ปีมวลสารและพิธีใหญ่นับไม่ถ้วน ทั้งเสกเดี่ยวและพุทธาภิเษกใหญ่
    ให้บูชา 300บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    สมเด็จโตลป.ทวด.JPG สมเด็จโตลป.ทวดหลัง.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 สิงหาคม 2022
  8. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    รับทราบครับ ขอบคุณครับ
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2019-11-24_20-13-4-jpeg.jpg
    พระครูอุทัยธรรมกิจ( หลวงปู่ตี๋ ) พระผู้มีบารมีเปี่ยมล้น ด้วยเมตตาธรรม แห่งลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี หลวงปู่ท่านเป็นชาวเมืองอุทัยธานี โดยกำเนิด เป็นบุตร ของ นายก้าง นางเหล็ง นามสกุล แซ่ตั้ง หลวงปู่ เป็น บุตร คนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 4 คน ท่านเกิด วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2455 ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีชวด นามเดิม ตี๋ แซ่ตั้งการศึกษา หลวงปู่จบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนอุทัยทวีเวทย์ หลังจากจบการศึกษา ได้ช่วย พระครูอุทัยธรรมกิจ( หลวงปู่ตี๋ ) พระผู้มีบารมีเปี่ยมล้น ด้วยเมตตาธรรม แห่งลุ่มแม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี หลวงปู่ท่านเป็นชาวเมืองอุทัยธานี โดยกำเนิด เป็นบุตร ของ นายก้าง นางเหล็ง นามสกุล แซ่ตั้ง หลวงปู่ เป็น บุตร คนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 4 คน ท่านเกิด วันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2455 ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 ปีชวด นามเดิม ตี๋ แซ่ตั้งการศึกษา หลวงปู่จบชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โรงเรียนอุทัยทวีเวทย์ หลังจากจบการศึกษา ได้ช่วยเหลือบิดา และมารดา ประกอบอาชีพ ค้าขาย ที่บ้านต้นจันทร์ ในตลาดอุทัยธานี ช่วงในวัยเด็กวัยรุ่น มักจะเป็นไป ทางด้านซุกซน ดื้อ และแก่น แต่ไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้ทางบ้าน อุปสมบท วันที่ 16 กรกฏาคม 2476 ได้เข้าสู่พิธีอุปสมบท ที่วัดโรงโค อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี โดยมี พระ สุนทรมุนี วัดพิชัยปุณณาราม เจ้าคณะ จังหวัดอุทัยธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดโชติ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระใบฎีกาเทิม เป็นพระอนุศาสนาจารย์ หลังจาก อุุปสมบทแล้ว ได้พำนักจำพรรษาที่วัดพระธรรมโฆษก(วัดโรงโค) หลวงปู่ เล่าว่า จะบวชแค่พรรษาเดียวให้กับโยมพ่อ -โยมแม่ สาเหตุที่บวชยาวนาน เพราะอยากได้วิชา ้วิทยาคมของ"หลวงพ่อพูล แห่งวัดหนองตางู" จ.อุทัยธานี ซึ่งเป็นเกจิ ร่วมสมัยกับ หลวงพ่อเดิม แห่งวัดหนองโพธิ์จ.นครสวรรค์ ซึ่ง หลวงปู่เมตตาเล่าว่า " พอบวชได้ 2 เดือน ก็เกิดอยากจะสึก จึงเดินทางไปกราบและแจ้งความประสงค์ในการสึกต่อ หลวงพ่อพูล ซึ่งเป็นพระที่ หลวงปู่ให้ความเคารพเป็นอย่างมาก - หลวงพ่อพูล ถามว่า " จะสึกเมื่อใด " จะเป็นด้วยเหตุ หรือสิ่งใดเหลือจะเดาได้ หลวงปู่ได้พูดเป็น เชิงต่อรองว่า กระผมขอฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ หากหลวงพ่อได้ถ่ายทอดวิชา ให้กระผม กระผม ก็จะไม่ขอสึก "หลวงพ่อพูลท่านมีความเมตตาต่อหลวงปู่อยู่แล้ว จึงตกปากรับท่านไว้เป็นศิษย์ หลวงปู่ตั้งใจเรียนในวิชาการ สยบ ความไข้ โดย มีจุดประสงค์ จะนำไปใช้ประโยชน์ข้างหน้า รวมทั้งอีกหลาย วิชาที่หลวงพ่อพูล ท่านถ่ายทอดให้ ที่นับว่ายอดเยี่ยม คือ วิชาทางด้านมหาอุดและคงกระพัน ประมาณ 2 พรรษ ที่ท่านพำนักที่สำนักหนองตางู และ หลวงปู่ ได้จาริกสัญจร ไปตามสถานที่วิเวกต่าง ๆ รวมทั้งแสวงหาพระอาจารย์ดีไปด้วยในตัว และกลับมาวัดหนองตางูอีกครั้ง ใน พ.ศ.2484 ปี พ.ศ.2497 วัดหลางราชาวาส ว่างเจ้าอาวาสปกครอง หลวงปู่ตี๋ จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ซึ่ง ในขณะที่ดำรงตำแหน่ง ได้มีโอกาสรับใช้ใกล้ชิด พระราชอุทัยกวี (พุฒ)เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี เจ้าอาวาสวัดทุ่งแก้ว จนหลวงปู่ได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูสังฆรักษ์ ฐานานุกรมของ พระราชอุทัยกวี เมื่อปี พ.ศ.2501 โดยพระราชอุทัยกวี นั้น ท่าน เป็นศิษย์สายตรงของ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท ดังนั้นวิทยาคม ของหลวงปู่ศุข ที่พระ ราชอุทัยกวี ได้รับมานั้น หลวงปู่ได้รับถ่ายทอดมาเต็ม ๆ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า วัตถุมงคลของหลวงปู่ แต่ละรุ่นจึงเป็น ที่หมายปองของศิษย์ทั้งหลาย หลวงปู่ได้จากพวกเราไปแล้ว เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2546 รวมอายุ 91 ปี พรรษา 71 ปี วัตถุมงคล -เหรียญรุ่นแรก ปี 2520 -รุ่น 2 ทอดกฐินประจวบคีรีขันธ์ ปี 2522 -รุ่น 3 ตะกรุดโทนเทพรัญจวน เหรียญบาตรน้ำมนต์ เหรียญตู้ไปรษณีย์ เสือ มีดหมอ ปิดตา

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ

    เหรียญหลวงปู่ตี๋ ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%8B1-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%8B1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  11. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เหรียญวิญญาณรักดอกประดู่ไม่ตอกโค๊ต
    เหรียญนี้สร้างในปี2504 ปลุกเสกโดยเกจิอาจารย์ในสมัยนั้น เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง หลวงพ่อสุด วัดกาหลง เป็นต้น ซึ่งได้แจกไปบางส่วนไม่ถึง10%

    ส่วนที่เหลือได้นำมาให้หลวงปู่เดินหนปลุกเสกอีกครั้ง โดยคุณดอกดิน กัลยามาลย์ คุณมิตร ชัยบัญชา คุณภาวนา ชนะจิต เป็นต้น เพื่อแจกให้ผู้เข้าชมภาพยนต์เรื่อง วิญญาณรักดอกประดู่ ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งมอบให้กองทัพเรือ

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ

    ให้บูชาเหรียญละ 500 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ มี 2 เหรียญครับ

    เหรียญที่1

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%821-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%821%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
    เหรียญที่2

    %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%822-jpg.jpg %E0%B8%A5%E0%B8%9B-%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%822%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87-jpg.jpg
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    upload_2020-1-28_15-58-53.jpeg


    ประวัติย่อ หลวงพ่อพริ้ง
    สถานะเดิมของ หลวงพ่อพริ้ง ท่านเป็นชาวบ้านโก่งธนูโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันเสาร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 12 ปีชวด ตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2443 เป็นบุตรชายคนโตของ นายตึก นางแสง นามสกุล เพ็งรอด ซึ่งเป็นชาวบ้านคุ้งนามอญ ตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
    การศึกษาเมื่อเยาว์วัย อาศัยการเรียนเขียนอ่านกับหลวงพ่อ หลวงปู่ที่ วัดโบสถ์โก่งธนู เป็นผู้สอนให้ ทั้งอักขระภาษาไทยและภาษาขอมควบคู่กันไป ความเฉลียวฉลาด ของท่านนั้นสามารถอ่านเขียนได้เร็วกว่าเด็กที่เรียนอยู่ด้วยกัน แต่ท่านจะมีร่างกายที่อ้อนแอ้น ร่างกายบอบบาง ทำให้โยมบิดาของท่านคิดว่า หากจะให้ท่านเอาดีทางประกอบสัมมาอาชีพ ตามความนิยมของท้องถิ่นคงจะไปไม่ไหว ท่านจึงเบี่ยงเบนเข็มชีวิตให้กับบุตรชายของท่าน โดยการนำไปฝากกับ หลวงพ่อจาด วัดไก่เตี้ย อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอยู่ไม่ห่างไกลกันกับวัดโบสถ์มากนัก และหลวงพ่อจาดท่านเป็นพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น เมื่อท่านได้เห็น นายตึก นำบุตรมาฝาก เพื่อหวังทางด้านการศึกษาเล่าเรียน ท่านจึงบอกกับนายตึกโยมบิดาของท่านว่า
    หากจะเอาดี มันต้องบวช
    หลวงพ่อจาดจึงได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณรให้ เมื่ออายุได้ 13 ปี ได้สอนทางด้านพระธรรมชี้นำในเรื่องการปฏิบัติจิตภาวนา อักขระภาษาไทยและภาษาขอม รวมทั้งวิชาอาคมเบื้องต้นให้กับศิษย์ของท่านจนอายุครบบวช
    อุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.2463 ณ พัทธสีมาวัดญาณเสน ตำบลโก่งธนู อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยมี หลวงพ่อหลำ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อจาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า มณีธาโน ในช่วงต้นๆ ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระอุปัชฌาย์ ศึกษาแนวทางด้านปฏิบัติจากพระอาจารย์ของท่านจนแตกฉาน เรียกว่าก้าวล้ำหน้าไปกว่าศิษย์ร่วมสำนักในรุ่นเดียวกัน
    หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้เริ่มทบทวนพลังทางจิต หลักการปฏิบัติจิตภาวนาและวิชาอาคมที่ได้รับการชี้แนะจาก หลวงพ่อจาด วัดไก่เตี้ย และ หลวงพ่อหลำ พระอุปัชฌาย์ หวังเพื่อที่จะใช้เป็นเกราะป้องกันตัว ป้องกันกิเลส หวังผลที่จะนำไปใช้ในการธุดงค์แสวงหาความสงบให้กับดวงจิตต่อไป ได้เริ่มธุดงค์ตั้งแต่ต้นเริ่มอุปสมบท
    ปี พ.ศ.2468 คืนกลับสู่ถิ่นกำเนิด เป็นช่วงที่ วัดโบสถ์โก่งธนู ร้างว่างเจ้าอาวาส จึงได้รับการขอร้องจากญาติโยมขอให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบแทนจนได้รับความเจริญรุ่งเรืองเป็นเจ้าคณะตำบล และได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ในปี พ.ศ.2480 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ พระครูประสาทวรคุณ เมื่อปี พ.ศ.2484 และได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในปี พ.ศ.2496 ทำการปกครองและพัฒนา วัดโบสถ์ดก่งธนู จนถึงช่วงปลายอายุขัย ท่านได้มรณภาพเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2527 เวลา 16.30 น. สิริอายุได้ 84 พรรษา 64 ส่วนเกียรติคุณบารมี ความขลังศักดิ์สิทธิ์วัตถุมงคลของท่านนั้นยังคงอยู่ เป็นที่ต้องการที่ผู้คนในวงการอยากจะมี อยากจะได้เอาไว้บูชายิ่งนัก
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ
    เหรียญหลวงพ่อพริ้งเสาร์ห้า ปี2523
    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ

    ลพ.พริ้ง.JPG ลพ.พริ้งหลัง.JPG
     
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    _100_168.jpg

    ข้อมูลประวัติ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง เชียงใหม่


    หลวงปู่ครูบาอิน อินโท ถือเป็นพระเถระสำคัญผู้เจริญด้วยพรรษาสูงแห่งเชียงใหม่ อีกทั้งยังเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและเมตตาธรรม ที่มีให้แก่ผู้เคารพนับถือตราบวาระสุดท้ายของชีวิต อันเป็นเหตุให้สมควรนำเถรประวัติและคำสอนของท่าน มาเผยแพร่เป็นสังฆบูชาสืบต่อไป

    พระครูวรวุฒิคุณ มีนามเดิมว่า อิน วุฒิเจริญ เป็นบุตรของนายหนุ่ม-นางคำป้อ เขียวคำสุข ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๖ (ตรงกับวันเสาร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๓ เหนือ ปีเถาะ) ณ บ้านทุ่งปุย ตำบลยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (ปีที่ครองราชย์ พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓) โดยเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือ เจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์ (ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๒) ท่านได้เล่าชีวประวัติว่า ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คนด้วยกัน คือ

    ๑. นายแก้ว เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๒. พระครูวรวุฒิคุณ (มรณภาพแล้ว)
    ๓. นางกาบ ใจสิทธิ์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๔. พ่อหนานตัน เขียวคำสุข (ถึงแก่กรรมแล้ว)
    ๕. นางหนิ้ว ธัญญาชัย (ถึงแก่กรรมแล้ว)

    พระครูวรวุฒิคุณ อธิบายถึงเรื่องที่ท่านใช้นามสกุลต่างไปจากบิดามารดาและพี่น้องว่า เนื่องจากสมัยก่อนไม่มีการใช้นามสกุล เมื่อมาเริ่มใช้ในสมัยหลัง (รัชกาลที่ ๖) ต่างคนต่างก็ตั้งนามสกุลกันเอง ตัวท่านบวชอยู่ ท่านก็แต่งนามสกุลเองว่า “วุฒิเจริญ” เพื่อให้เป็นความหมายมงคลในความเจริญในพระพุทธศาสนา

    ท่านเล่าว่า ท่านเติบโตมาในครอบครัวชาวนา ชีวิตในวัยเด็กก็เรียบง่ายไม่ต่างไปจากเด็กสมัยนั้นโดยทั่วไป คือช่วยเหลือครอบครัวทำงาน พออายุได้ ๑๑-๑๒ ปี ก็ไปอยู่วัดเพื่อเรียนหนังสือ ท่านว่าสมัยก่อนเด็กอายุเท่านี้ก็ยังดูเป็นเด็กอยู่ ตัวไม่ใหญ่โต เนื่องจากสมัยก่อนเด็กกินนมแม่ ไม่ได้บำรุงด้วยนมวัวเช่นในปัจจุบัน เมื่อมีลูกศิษย์ถามถึงอุปนิสัยในวัยเด็กของท่านว่ามีแววอย่างไรบ้าง ถึงทำให้ท่านบวชอยู่ในพระพุทธศาสนานานจนถึงทุกวันนี้ ท่านตอบแต่เพียงว่าท่านก็มีความเมตตาเอ็นดูสัตว์ ไม่เคยทรมานสัตว์

    เป็นเด็กวัดทุ่งปุย

    ท่านกำพร้าพ่อก่อนที่จะเข้าไปอยู่ในวัดทุ่งปุย พ่อของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ยังหนุ่มอยู่ ท่านว่าอายุประมาณ ๕๐ ปี โดยมแม่จึงต้องรับพาระในการเลี้ยงดูบุตรธิดา โดยมีพี่ชายคนโตของท่านเป็นหลักช่วยครอบครัว ส่วนท่านเอง หลังจากเข้ามาเป็น “เด็กวัด” ที่วัดทุ่งปุย (วัดคันธาวาส) ตำบลยางคาม ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ประจำหมู่บ้าน แล้วท่านก็อยู่ในบวรพระพุทธศาสนามาโดยตลอด

    ชีวิตการเป็นเด็กวัดสมัยก่อน คือการอยู่วัด นอนวัด ช่วยทำงานในวัด อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ไปพร้อมๆ กับการศึกษาเล่าเรียน การเรียนเบื้องต้นจะเรียนตัวเมือง (ภาษาล้านนา) และเรียนสวดมนต์บทต่างๆ โดยมีพระภิกษุเป็นผู้สอน กิจวัตรประจำวันของเด็กวัดอย่างท่าน ตามที่ท่านได้เล่าให้ฟังก็คือ เช้าไหว้พระสวดมนต์ เสร็จแล้วก็ไปทวนหนังสือที่ศาลา สมัยก่อนเรียนด้วยกระดานดำ ครูเขียนให้ท่อง เมื่อจำได้แล้วก็ลบเพื่อต่อเรื่องใหม่ ทุกครั้งที่ต่อเรื่องใหม่ ครูผู้สอนจะให้ท่องของเก่าก่อน ถ้าท่องได้ถึงจะต่ออันใหม่ให้

    ที่จริงแล้วการเรียนภาษาล้านนาและบทสวดมนต์ต่างๆ ของเด็กวัด ก็คือพื้นฐานของการบวชเณร ธรรมเนียมปฏิบัติของคนล้านนาในอดีต นิยมบวชเณรมากกว่าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ คนที่จะบวชเณรได้จะต้องเป็นเด็กวัดก่อนสักหนึ่งหรือสองปี เพื่อศึกษาเตรียมตัว หลวงปู่ครูบาอินท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุได้ ๑๔ ปี เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๐ โดยมีเจ้าอธิการยศ (ครูบามหายศ อินทปัญโญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ที่วัดทุ่งปุย และอยู่ร่วมกับพระเณรรูปอื่นๆ ซึ่งในสมัยนั้น เณรจะมีมากกว่าพระ ซึ่งที่วัดทุ่งปุยมีเณรประมาณ ๑๐-๒๐ รูป

    ตอนที่เป็นสามเณร นอกจากเรียนภาษาล้านนาต่อแล้ว ท่านก็หัดสวดมนต์ ๑๕ วาร สวดแผ่เมตตาและอีกหลายๆ อย่าง ครูจะเขียนใส่กระดานให้ท่อง พอท่องได้ก็ลบต่อใหม่ การเรียนที่วัดช่วงค่ำค่อนข้างลำบากเพราะยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ต้องใช้น้ำมันจุดตะเกียงดูหนังสือ เด็กวัดและพระเณรแต่ละคนแต่ละรูปต้องหมั่นท่องจำบทสวดมนต์ต่างๆ ให้ขึ้นใจ ซึ่งวิธีการที่ครูบาอาจารย์จะตรวจสอบดูว่าเณรองค์ใดขยันหมั่นเพียรในการเรียนก็คือ อาจารย์จะจัดเวรให้เณรผลัดเปลี่ยนกันนำสวดมนต์ องค์ใดสวดช้า ติดขัด ครูอาจารย์จะฟาดหลังด้วยไม้เรียว เณรน้อยยังเป็นเด็ก ก็อดที่จะกลัวฤทธิ์ไม้เรียวไม่ได้

    ฉะนั้น เวลาครองผ้า เณรบางองค์จะแอบเอาอาสนะรองนั่งซุกไว้ทางด้านหลัง เอาจีวรครองทับแล้วรัดอกแน่นๆ เผื่อโดนฟาดจะได้ไม่เจ็บนัก แต่ครูบาอินท่านไม่เคยทำ ท่านเล่าว่าเวลาฟาดจะมีเสียงดัง ครูบาอาจารย์ท่านก็ทราบแต่ก็ยิ้มเสีย ไม่ว่าอะไร ครูบาอินเองท่านก็เคยโดยฟาดอยู่ครั้งหนึ่งเหมือนกัน

    ลำดับงานปกครองและสมณศักดิ์

    ด้านกิจการพระศาสนา พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) ได้ปฏิบัติกิจของพระศาสนาเป็นอเนกประการ จนท่านได้รับตำแหน่งบริหารคณะสงฆ์และสมณศักดิ์ ดังนี้

    พ.ศ.๒๔๘๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งปุย

    พ.ศ.๒๔๙๔ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลยางคราม

    พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

    พ.ศ.๒๕๐๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูอิน (พระครูประทวน)

    พ.ศ.๒๕๐๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูวรวุฒิคุณ (พระครูสัญญาบัตร ชั้น ๑)

    พ.ศ.๒๕๑๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้น ๒ ในราชทินนามเดิม

    หลวงปู่ครูบาอิน มีความผูกพันกับวัดทุ่งปุยนับตั้งแต่บวชครั้งแรก จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ และได้พัฒนาวัดให้เหมาะแก่กาลสมัย ทั้งการสร้างอาสนะสงฆ์ต่างๆ ขึ้นภายในวัด เมื่อวัดทุ่งปุยเจริญรุ่งเรืองแล้ว ทางการจึงได้ให้เปลี่ยนชื่อว่า “วัดคันธาวาส” ตามชื่อ ครูบาคันธา ผู้มาบูรณะวัดร้างทุ่งปุยเป็นองค์แรกเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๕

    ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๐ นายประหยัด ศรีนุ ครูใหญ่โรงเรียนแม่ขาน ได้มาอาราธนานิมนต์หลวงปู่ ไปเป็นประธานสร้างอาคารเรียนโรงเรียนแม่ขาน แบบตึกชั้นเดียว โดยท่านได้มอบเงินให้เป็นทุนก่อสร้างอีกเป็นจำนวนถึง ๙,๐๐๐ บาท และเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ ท่านได้ไปปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปเศียรขาดที่เป็นรูปหินแกะของเดิม ซึ่งประดิษฐานอยู่วัดร้างโรงเรียนแม่ขานในปัจจุบัน เมื่อเสร็จแล้วจึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า “หลวงพ่อโต” แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในหอประชุมโรงเรียนแม่ขาน จนถึงปัจจุบัน

    วัตรปฏิบัติ

    พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) หรือที่เรียกติดปากว่า “ครูบาอิน” หรือ “หลวงปู่” หรือ “หลวงปู่ครูบาอิน” หรือ “ครูบาฟ้าหลั่ง” นั้นเป็นพระสุปฏิบันโน ซึ่งทำให้ผู้พบเห็นมีความชุ่มเย็นเสมอ ท่านแม้จะมีอายุมากแล้ว แต่ก็ยังแข็งแรง และปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของท่านมิได้ขาด คือการทำวัตรเช้า-เย็น พร้อมกับเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาในตอนเช้ามืดและก่อนนอน

    ครูบาอินมีความพอใจในชีวิตที่เรียบง่าย ท่านมักกล่าวอยู่เสมอว่า เป็นบุญของท่านที่อยู่มาจนทุกวันนี้ และไม่เคยล้มหมอนนอนเสื่อ ครูบาไม่เคยเรียกร้องต้องการอะไร เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๐ ในวัยเกือบ ๙๐ ปีท่านยังทำความสะอาดกุฏิเอง ผู้ที่พบเห็นท่านมักจะเกิดศรัทธาและประทับใจในความเป็นพระแท้ของท่าน ท่านมีเมตตาต่อศิษย์โดยถ้วนหน้า พยายามให้ลูกศิษย์หาโอกาสปฏิบัติธรรมเสมอ ปกติแล้วครูบาจะไม่ค่อยพูด แต่ถ้าหากคุยธรรมะแล้วท่านจะคุยได้นาน หรือถ้าพบคนสูงอายุท่านจะชวนคุยด้วยนานๆ คนรุ่นเดียวกับท่านล่วงลับไปเกือบหมดแล้ว ท่านเล่าว่ามีเพื่อนรุ่นเดียวกับท่านเป็น “น้อย” (ผู้เคยบวชเป็นสามเณร) ยังเหลืออยู่เพียงคนเดียว

    ทางด้านสุขภาพของครูบาอิน ท่านว่าสังขารของท่านร่วงโรยไปตามอายุ เดี๋ยวนี้มีอาการอ่อนเพลีย และมีโรคประจำตัวคือความดันโลหิตสูง แต่ก็มีหมอคอยดูแลรักษาเป็นประจำ ท่านเองถ้าหากไม่อ่อนเพลียนัก ก็พยายามไปตามกิจนิมนต์อยู่เสมอด้วยเมตตาของท่าน แม้ลูกศิษย์จะห่วงใยและพยายามขอร้องให้พักผ่อนก็ตาม

    ท่านครูบาเป็นผู้ที่มีความอดทนสูงต่อเรื่องต่างๆ รวมทั้งเรื่องสุขภาพของท่านด้วย ท่านไม่ค่อยจะบอกเล่าอาการ หรือทุกขเวทนาให้ใครทราบ ได้แต่ห่วงใยทุกข์สุขของผู้อื่น ความมีเมตตาเอื้อเฟื้อของท่าน เผื่อแผ่ถึงสัตว์เลี้ยงภายในวัด ท่านไม่ยอมให้ใครนำไปปล่อยที่อื่น ท่านว่าข้าววัดพอมีเลี้ยงดูกันไปได้ ยามสัตว์เหล่านี้เจ็บป่วย ท่านก็พยายามจัดการให้มีการเยียวยาตามกำลัง พระภิกษุและสามเณรก็มีความรักสัตว์และมีความเมตตาเช่นท่านด้วย มีอยู่ครั้งหนึ่งมีลูกสุนัขของวัดเจ็บอยู่นาน ท่านเรียกมันว่า “ขาว” พอดีมีโอกาสที่จะนำตัวไปรักษาที่คลินิกสัตวแพทย์ลูกศิษย์ของท่าน ท่านเดินมาส่งถึงรถพร้อมกับกล่าวว่า “ขาวเอ๊ย ไปโฮงยานะลูก”

    ในเรื่องนี้ บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและฆาราวาสซึ่งมีทั้งชาวบ้านวัดฟ้าหลั่งและจากที่ต่างๆ ก็พยายามดูแลท่านตามกำลังความสามารถเพื่อถนอมท่าน ครูบาเองนั้นมีความเกรงใจทุกคน ท่านมักกล่าวเสมอว่า ไม่จำเป็นต้องทำอะไรให้ท่าน ท่านพอใจใสความเป็นอยู่ของท่านแล้ว แต่หมูลูกศิษย์ก็มีความห่วงใย จึงอดไม่ได้ที่จะจัดหาสิ่งต่างๆ ให้ท่านได้รับความสะดวกบ้าง รวมทั้งพยายามหาแพทย์มาดูแลสุขภาพของท่าน ให้ท่านอยู่กับพวกเราให้นานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งๆ ที่รู้กันดีว่า ท่านไม่ยึดติดในสิ่งเหล่านี้

    พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท) เป็นผู้มีสติระมัดระวังอยู่เสมอ ท่านรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในวงการพระพุทธศาสนา มีผู้ไปถามความเห็นจากท่าน ท่านจะให้ข้อคิดที่ดี โดยยึดหลักธรรมะ ไม่เคยคิดซ้ำเติมผู้ใดด้วยอคติหรืออารมณ์ ในระยะหลังได้มีผู้มาพบเห็นและได้ข่าวปฏิปทาของท่านจนเกิดความเลื่อมใสในองค์ท่านมากขึ้นเป็นลำดับ จึงได้แวะเวียนไปกราบนมัสการท่านอยู่เนืองๆ และได้ทำบุญร่วมกับท่านโดยการก่อสร้างถาวรวัตถุในวัดฟ้าหลั่ง อาทิเช่น วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิ โรงครัว ตลอดจนห้องสุขา เป็นต้น จนวัดมีความเจริญดังที่ได้เห็นในปัจจุบัน

    วัตรปฏิบัติประจำวันของท่านครูบาอินเท่าที่ทราบ ท่านตื่นนอนตอนเช้าตีสี่ ไหว้พระทำวัตรสวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิ เมื่อพระในวัดมาพร้อมกันที่กุฏิของท่าน ท่านครูบาก็จะเป็นผู้นำในการสวดมนต์ทำวัตรเช้าและนั่งสมาธิแผ่เมตตาเป็นประจำ ท่านฉันประมาณ ๘ โมงเช้า โดยฉันเอกา คือฉันเพียงมื้อเดียว และตลอดทั้งวันจะไม่ฉันอย่างอื่นนอกจากน้ำ ประมาณ ๙-๑๐ โมงเช้า หากไม่ติดกิจนิมนต์ ท่านก็จะมีปฏิสันถารกับญาติโยมที่ไปกราบนมัสการหรือไปทำบุญ หลังจากนั้นท่านจะพักผ่อนเป็นการส่วนตัว เช่นอ่านหนังสือหรือทำกิจอื่นจนถึงเวลาประมาณบ่ายสองโมงท่านจึงออกรับแขกจนถึงเวลาประมาณห้าโมง

    จากนั้นท่านจึงสรงน้ำแล้วสวดมนต์ทำสมาธิจนถึงเวลาประมาณหนึ่งทุ่ม พระภิกษุสามเณรในวัดจึงมาพร้อมกันที่กุฏิของท่านเพื่อทำวัตรสวดมนต์เย็น ทำสมาธิ ซึ่งเสร็จประมาณสองทุ่ม หลังจากนั้นท่านครูบาอินจะมีปฏิสันถารกับพระในวัดตามสมควร แล้วพักผ่อน ซึ่งท่านจะเดินจงกรมและทำสมาธิก่อนจำวัดทุกคืน

    ช่างน่าขนพองสยองเกล้าเป็นนักแล้ว...บรื๋ววววส์ส์ส์ส์ส์...

    หมายเหตุ, เคยสงสัยว่า อันพระเครื่องรางของดีๆ เราก็มีมากมาย แต่เหตุไฉนไสยศาสตร์ฝ่ายต่ำจึงเข้ามาสิงสู่ในกายในใจแห่งเราได้ จนเมื่อได้ยินคำเฉลยจากหลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระอริยปัญญาแห่งวัดป่าสาลวัน จึงได้เข้าใจ โดยท่านบอกว่า “อันพระเครื่องรางนั้น แม้จะดีอย่างไร ก็ยังเป็นของภายนอกอยู่ แต่หากจะให้กันคุณไสยมนต์ดำได้จริงๆ คนๆ นั้นต้องไหว้พระสวดมนต์แผ่เมตตาเป็นนิตย์ จึงจะป้องกันได้”

    (จำได้ว่า ตอนนั้นผมขี้เกียจสวดมนต์มาก และก็ไม่ได้ห้อยพระตลอด ๒๔ ชั่วโมงด้วย ของเลยมีช่องเข้าตัวได้ให้ซวยสนิทไปหลายรอบด้วยประการฉะนี้)

    ช่างนับเป็นบุญและวาสนาแท้ๆ ที่ยังมีโอกาสได้เจอกับ “พระดีและเก่ง” แบบสุดๆ เยี่ยงหลวงปู่ครูบาอิน มาช่วยขับไล่ “มนตราทายาทอสูร” ให้เห็นกันจะๆ เห็นปานนี้ หาไม่...ผมจะต้อง “มีอันเป็นไป” ในลักษณาการเช่นไหนอีก ก็สุดที่จะคาดเดาได้แล้วจริงๆ โอย..ไม่อยากจะคิดเลย

    พระเดชพระคุณและความเก่งกล้าสามารถของหลวงปู่ครูบาอินนั้น จึงติดตราตรึงในท่ามกลางดวงใจของผมอย่างไม่มีวันจะจางคลายไปได้นับแต่บัดนั้น แม้หลวงปู่วรวุฒิคุณท่านจะได้ “ละสังขาร” สู่บรมสุขไปแล้วก็ตาม

    ปัจจุบัน สรีระขันธ์ที่ท่านทิ้งไว้คู่กับโลก เมื่ออายุได้ ๑๐๑ ปี ก็ยังคงนอนนิ่งสงบอย่างสง่าภายในโลงแก้วที่วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) กิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ เหมือนหนึ่งท่านเพียงแค่ “จำวัด” หลับไปเท่านั้น

    วันมรณภาพเป็นอย่างใด ในวันนี้สรีระแห่งท่านก็ยังคงเป็นอย่างนั้น ต่างไปเพียงแค่มีการ “ปิดทอง” จนเหลืออร่ามตามประเพณีล้านนาแต่เพียงอย่างเดียว และที่นั้น ก็ยังมี “วัตถุมงคล” ที่หลวงปู่ครูบาอินท่านเสกทิ้งทวนไว้อย่างดีที่สุด ตกค้างอยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นพระสมเด็จไจยะเบงชร, เหรียญยืน, ประคำ, ตะกรุด, ผ้ายันต์ ฯลฯ

    รับรองว่า คุณภาพแห่งพุทธคุณที่หลวงปู่ครูบาอินท่านฝากไว้ในเครื่องมงคลทุกอย่างนั้น ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระเครื่องของอดีตพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าๆ ราคาแพงๆ เป็นแสนเป็นล้านอย่างแน่แท้ เพราะมี “อาจารย์” ศิษย์สายเจ้าคุณนรรัตน์ฯ, หลวงปู่เทสก์ ที่มีสมาธิจิตสูงเคยลองสัมผัสพลังพระของครูบาอินแล้ว ก็แทบจะถึงแก่การอึ้งพร้อมกับอุทานขึ้นมาเลยทีเดียวว่า “นี่พระของใครนี่...ทำไมพลังจึงแรงกล้าในระดับเดียวกับหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ซึ่งไม่น่าจะมีใครเสมอเหมือนได้อีกเล่า.???”
    https://palungjit.org/threads/วรวุฒ...คลหลวงปู่ครูบาอิน-อินโท-ครูบาฟ้าหลั่ง.169758/

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=10766
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ
    เหรียญครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ปี 2538
    ให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ
    ครูบาอิน.JPG ครูบาอินหลัง.JPG
     
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    17-9-118.jpg


    มีผู้กล่าวว่า กว่าจะมีพระอรหันต์ปรากฏในโลกย่อมนานแสนนาน ทั้งเมื่อพระอรหันต์ปรากฏแล้วก็จะมีเพียงผู้คนไม่กี่ร้อยกี่พันคนเท่านั้นที่จะสามารถเข้าใจในความเป็นพระอรหันต์ และได้รับการโปรดด้วยธรรมะอันลุ่มลึก และพิสดารจนสามารถเข้าถึงแก่นแท้แห่งชีวิตและความเป็นอนิจจัง ด้วยว่าพระอรหันต์ย่อมแสดงกิริยาอาการหรือสื่อความเป็นพระอรหันต์มิได้แต่เพียงน้อยนิด ด้วยสมเด็จพระทศพลญาณทรงปรับโทษสูงถึงอาบัติปาราชิก แม้จะมีภูมิธรรมอันเป็นพระอรหันต์ก็ตามที ดังนั้น แม้จะไม่พบอาจพบพระอรหันต์ได้ในชีวิตนี้ ก็ยังมีพระสุปฏิปันโน อันเป็นเนื้อนาบุญของสัตว์โลก ผู้เป็นพุทธศาสนิกชนให้ได้บูชาสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตของตนเองและบุคคลอันเป็นที่รัก สมเด็จพระญาณไตรโลกนาถบรมศาสดาทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า พระสุปฏิปันโน เปรียบเสมือนนาข้าวอันอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอินทรีย์สารอันมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ให้รวงข้าวอันเต่งทุกเม็ด ให้ผลแก่ร่างกายมนุษย์และสัตว์เมื่อบริโภค ข้าวเปลือกเปรียบเสมือนทานบารมีที่พุทธศาสนิกชนได้หว่าลงในเนื้อนาบุญของสัตว์โลก คือพระสุปฏิปันโน ย่อมให้ต้นข้าวและรวงข้าวอันมีโภคผลในกรหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้ล่วงลับดับไปจากโลกนี้แล้ว และให้ความอยู่ดีมีสุขแก่ผู้ที่ยังต้องดำรงชีวิตอยู่ในโลกอันเต็มไปด้วยกิเลสและตัณหาอันเชี่ยวกรากเสมือนเรืออันแข็งแรงพาผู้โดยสารข้ามวังวนแห่งกิเลสไปสู่ฝั่งพระนิพพาน ตามกำลังแห่งศรัทธาปสาทะและความตั้งใจอันบริสุทธิ์ของแต่ละบุคคล ดังนั้นจะขอนำท่านไปพบกับหลวงพ่อสุภา กันตะสีโล ผู้ยิ่งด้วยเมตตาบารมี พระสุปฏิปันโนผู้เป็นเนื้อนาบุญอันไพศาลของโลกอีกองค์หนึ่ง ซึ่งชีวิตท่านอุทิศแล้วแก่พระพุทธศาสนา และอุทิศแก่การโปรดสัตว์ผู้ยาก พ้นแก่วังวนของกิเลสและตัณหา แผ่เมตตาธรรมโดยถ้วนห้าแก่ทุกชีวิตที่เข้ามาพึ่งใบบุญ สงเคราะห์แก่ทุกผู้ทุกนามโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ สายตาของท่านมองดูสัตว์โลกด้วยความเท่าเทียมกันในความเป็นมนุษย์ประเสริฐ มองลึกเข้าไปจากเสื้อผ้าอาภรณ์เครื่องประดับและยศถาบรรดาศักดิ์จอมปลอม ทุกคนจึงได้รับการปฏิบัติจากหลวงพ่อสุภา กันตะสีโลโดยเท่าเทียมทุกวันวาร

    ปฐมบทของหลวงปู่สุภา กันตสีโล

    ครอบครัวของท่านขุนภักดี หรือผู้ใหญ่บ้านพล วงศ์ภาคำ และนางสอ วงศ์ภาคำ เป็นที่เคารพของชาวบ้านคำบ่อ อ.วารินชำราบ จ.สกลนคร ทั้งนี้เพราะท่านผู้ใหญ่พลสร้างแต่ความดี มีน้ำใจและบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรในปกครองอย่างเสมอหน้า ว่ากล่าวตักเตือนด้วยความเมตตา เมื่อพบผู้กระทำผิดอันพอจะอภัยได้ และกระทำการจับกุมอย่างเด็ดขาดในกรณีที่กฎหมายไม่อาจจะละเว้นหรือตักเตือนได้ ทุกคนจึงพร้อมที่จะร่วมมือกันท่านผู้ใหญ่พลในทุก ๆ ด้าน บ้านคำบ่อจึงอยู่กันอย่างสงบสุขตลอดมา

    วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๓๙ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีวอก คุณแม่สอก็ให้กำเนิดบุตรชายคนที่ ๘ ในสกุลวงศ์ภาคำ เป็นเด็กที่มีความอ้วนท้วนสมบูรณ์ หน่วยก้านบอกว่า ต่อไปจะเป็นคนดีของบ้านเมือง และคนดีศรีวงศ์ตระกูล ท่านผู้ใหญ่พล จึงให้นามบุตรชายคนนี้ว่า “สุภา” อันประกอบด้วย “สุ” แปลว่า “ดี” และ “ภา” มาจากส่วนหนึ่งของสกุลว่า “วงศ์ภาคำ” ซึ่งมีความหมายว่า คนดีของตระกูลวงศ์ภาคำ นั่นเอง

    หลวงปู่สุภามีพี่น้องทั้งหมด 8 คน คือ

    1. นางสี วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)

    2. นายเสน วงศ์ภาคำ (บวชเป็นพระภิกษุ - มรณภาพ)

    3. นางผม วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)

    4. นางเกตุ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)

    5. นายจันทร์เพ็ง วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)

    6. หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล

    7. นางมาลีจันทร์ วงศ์ภาคำ (ถึงแก่กรรม)

    8. นางกา วงศ์ภาคำ (ยังมีชีวิตอยู่)

    หลวงปู่สุภารำลึกความหลังให้กับสานุศิษย์ได้รับรู้ว่า เมื่อท่านยังเป็นเด็กที่มีรูปร่างอ้วนท้วน เจ้าเนื้อ ผิวขาว ซุกซนตามประสาเด็กทั่วไป แต่ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ในครอบครัว และผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เมื่อวัยของท่านเจริญเติบโตเพียงพอจะเล่าเรียนได้แล้ว ผู้เป็นบิดาของท่านได้พาไปฝากไว้ในวัด ให้ได้เล่าเรียนเขียนอ่านตามสมควรแก่วัย และเวลาหลวงปู่เป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่าย มักชอบเล่าเรียนมากว่าเด็กในรุ่นเดียวกัน

    หลวงปู่สุภายังจำได้แม่นยำเหมือนเพิ่งเกิดเมื่อไม่กี่วันมานี้ ถึงสิ่งที่ท่านได้ประสบกับสิ่งที่เรียกว่า “การพยากรณ์” จากปากของพระธุดงค์ที่มาปักกลดใต้ต้นตะแบกใหญ่ท้ายหมู่บ้านคำบ่อ เด็กน้อยชื่อสุภา วัยเพียง ๗ ขวบ คลานเข้าไปกราบแทบตักพระธุดงค์ มือของพระธุดงค์ลูบศีรษะของเด็กน้อยด้วยความเอ็นดู บอกให้ลุกขึ้นนั่งทอดสายตา มองดูรูปร่างของเด็กน้อยที่นั่งอยู่ตรงหน้าเป็นครู่ใหญ่ จึงกล่าวกับเด็กน้อยหรือหลวงปู่สุภาเมื่อตอนอายุได้ ๗ ขวบ ว่า

    “เด็กน้อยเอ๊ย ต่อไปเจ้าจักได้บวชเรียน ถวายตัวในพุทธศาสนา บวชเมื่อใดแล้วจงอย่างลืมไปเสาะหาหลวงพ่อให้จงได้ อย่าลืมนะ พบกันในวาระที่เจ้าได้ครองผ้าเหลืองเหมือนหลวงพ่อนี้แหละ”

    หลวงปู่สุภาเมื่อยังเป็นเด็ก ไม่เข้าใจว่านั่นคือคำพยากรณ์ จึงไม่ใส่ใจ แต่ได้จ้องดูหน้าของพระธุดงค์จนจดจำองคาพยพไว้ได้ทั้งหมด ก่อนจะกราบลาออกไปวิ่งเล่นตามประสาเด็กซุกซนตามปกติ

    วันเวลาเคลื่อนคล้อยไปอีกสองปีเต็ม หลวงปู่สุภามีอายุได้ ๙ ขวบ จึงขอผู้เป็นบิดาออกบรรพชาเป็นสามเณร ท่านผู้ใหญ่พลไม่ขัดข้อง เพราะเห็นแล้วว่า หลวงปู่สุภาเป็นผู้เอาใจใส่ในการเล่าเรียน แม้จะไม่ได้เรียนทางโลก หากแต่เรียนทางธรรม ย่อมมีความเจริญดุจเดียวกัน จึงนำไปให้พระอาจารย์สวนทำการบรรพชาเป็นสามเณรและสั่งสอนอบรมอยู่หนึ่งปีเต็ม

    วันหนึ่ง พระอาจารย์สวนได้บอกกับหลวงปู่สุภา

    “อย่างเณรมันต้องก้าวหน้ากว่านี้ ฉันจะพาเข้าเมืองอุบลฯ ไปเล่าเรียนต่อให้แตกฉาน อยู่กับฉันมันก็แค่นี้แหละเณร”
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-supa-hist.htm
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มา อย่างสูงครับ

    ใน ปี พ.ศ. 2536 ซึ่งเป็นปีที่มีวันมหามงคลยิ่ง คือวัน เสาร์ 5 หลวงปู่ได้ไม้เป้าคำจากเมืองเชียงตุง ซึ่งไม้นี้ในสมัยโบราณ ใช้ทางอยู่ยงคงกระพัน และเป็นไม้ที่หายาก
    - สมเด็จเป้าคำ เป็นพระผงพุทธคุณผสมไม้เป้าคำ จะมีอยู่ 3 สี คือ
    - 1. สีขาว
    - 2 . สีเหลือง (หมดแล้ว)
    - 3. สีเทา
    - พุทธคุณจะเด่น ด้านการต่อสู้ ป้องกันตัว แคล้วคลาดปลอดภัย

    พระสมเด็จเป้าคำหลวงปู่สุภา
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS50 ครับ

    ลป.สุภา กล่อง.JPG ลป.สุภา.JPG
    ลป.สุภาหลัง.JPG
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    https://palungjit.org/threads/เชิญพูดคุยลูกศิษย์พระอาจารย์ไพบูลย์-วัดหงษ์รัตนาราม.325247/
    หลวงพ่อสมบูรณ์ รตนญาโณ วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร
    คอลัมน์ อริยะโลกที่ 6
    หลวงพ่อสมบูรณ์ รตนญาโณ – พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองกรุง อีกรูป ลูกศิษย์ลูกหาและนักสะสมวัตถุมงคลรู้จักชื่อเสียงกิตติศัพท์ท่านเป็นอย่างดี “หลวงพ่อสมบูรณ์ รตนญาโณ” หรือ “พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์”

    เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ในระดับแนวหน้า จัดสร้างวัตถุมงคลที่มีพุทธคุณเด่นรอบด้าน มอบให้แก่คณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนที่เลื่อมใสศรัทธา แม้จะไม่ได้จัดสร้างบ่อยครั้งนัก

    b9-e0-b8-a3-e0-b8-93-e0-b9-8c-e0-b8-a3-e0-b8-95-e0-b8-99-e0-b8-8d-e0-b8-b2-e0-b9-82-e0-b8-93-jpg.jpg

    ปัจจุบันสิริอายุ 61 ปี พรรษา 41 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

    มีนามเดิมว่า สมบูรณ์ บุญมา เกิดเมื่อวันที่ 6 ส.ค.2501 ที่บ้านหนองหว้า ต.หนองไฮ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ ในชนเผ่าส่วย บิดา-มารดา ชื่อ นายเลี้ยง บุญมา และนางฝ้าย วิสาเกษ เป็นบุตรชายคนเดียว

    ได้ศึกษาเล่าเรียนมาตามลำดับ พ.ศ.2512 จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ ร.ร.บ้านนาโนน

    อายุ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 23 มี.ค.2521 ที่พัทธสีมาวัดสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ มีพระอธิการเครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงปู่สุข โกวิโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์สมชาย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    อยู่อุปัฏฐากพระอุปัชฌาย์ ศึกษาวิชาทำน้ำมนต์และวิทยาคม จากนั้นย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดพงพรต ศึกษาวิชากับหลวงปู่ใหญ่ลา ซึ่งในสมัยนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังมาก

    อีกทั้งยังศึกษาภาษาขอม ภาษาธรรมอีสาน ภาษาไทยน้อย และภาษาลาว ภายใน 1 พรรษา ก็สามารถอ่านออกเขียนได้ และเล่าเรียนนวกภูมิ ตามลำดับ

    กระทั่งปี พ.ศ.2523 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก พ.ศ.2523 เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดนาโนน

    ในปี พ.ศ.2526 พระเทพรัตนโมลี (ชูศักดิ์ ธัมมทินโน) เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามในครั้งนั้น เดินทางไปเยี่ยมบ้านเกิด จึงชักชวนให้ย้ายมาจำพรรษา ณ วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี


    เป็นผู้ทรงจำพระปาติโมกข์ได้แม่นยำ ซึ่งในสมัยนั้นใครจะมาอยู่วัดหงส์ฯ หากพรรษา 1-4 ต้องสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนานได้ แต่หาก 5 พรรษา จะเข้ามาอยู่ต้องท่อง หรือทรงจำพระปาติโมกข์ได้ จึงจะสามารถมาอยู่วัดหงส์ฯ ได้

    หลังจากนั้น หลวงพ่อเข้ามาอยู่คณะ 4 ซึ่งเป็นคณะเดียวกับพระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาส

    พ.ศ.2530 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค พ.ศ.2543 ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง

    ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2549 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2528 ได้รับการ แต่งตั้งเป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมใน พระปริยัติมุนี

    พ.ศ.2551 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วย เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์

    พ.ศ.2559 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วย เจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

    เมื่อพบเห็นคัมภีร์ใบลาน สมุดข่อยต่างๆ ของวัด ประมาณสมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งภายในวัดไม่มีผู้อ่านและแปลได้ ก็นำมาแปล นำมารวบรวมเรียบเรียงและตีพิมพ์แจก ในพิธีพระราชทานเพลิง พระเทพรัตนโมลี (ชูศักดิ์) อดีตเจ้าอาวาสวัดหงส์ฯ และเก็บรักษาเอาไว้

    ประวัติหลวงพ่อแสนรุ่น ๑ สร้างในปีพุทธศักราช ๒๕๓๖ โดยมีพิธีที่วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ผู้จัดสร้างคือ พระมหาสมบูรณ์ รตนญาโณ ปธ.๓ (ปัจจุบันคือ พระครูไพบูลย์รัตนาภรณ์ ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม กทม.และได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดยมี เจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานจุดเทียนชัย และมีหลวงปู่คำพันธุ์ โฆษปญฺโญ วัดพระธาตุมหาชัย อ.นาแก จ.นครพนม เป็นองค์ดับเทียนชัย และมีเกจินั่งปรกอธิษฐานจิต อาทิเช่น หลวงพ่อเปิ่น วัดท่าพระ หลวงพ่อหยอด หลวงพ่อหลิว วัดไร่แตงทอง เป็นต้น และนอกจากนี้ยังได้นำไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่วัดสุทัศน์ ปีเดียวกันนี้ ๒๕๓๖ ด้วย

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสุงครับ


    พระปิดตารุ่นแรก ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ
    ลพ.สมบูรณ์วัด.JPG ลพ.สมบูรณ์วัดหลัง.JPG
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    6_1272540994.jpg

    http://www.amulet2u.com/board/q_view.php?c_id=6&q_id=25683

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมุลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญพ่อท่านแก้ว วัดแหลมดิน ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    พ่อท่านแก้ว.JPG พ่อท่านแก้วหลัง.JPG
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    เบอร์บัญชีผมครับ
    เบอร์บัญชีธ.กรุงไทย KTB125-0-08923-9 supachai thu

    โอนเงินแล้วช่วยแจ้งวันเวลาที่โอนในกระทู้เพื่อง่ายในการตรวจสอบ หรือทางPMไม่ต้องโพสหลักฐานให้เสียเวลา สมัยนี้โลกออนไลน์ตรวจสอบง่ายหลอกกันยาก แล้วจะรีบดำเนินการจัดส่งEMSไปให้โดยด่วนนะครับ..หลายรายการก็ค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ติดต่อได้ที่ 08..1.70..4..72..64
     
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    วันนี้จัดส่ง
    EI521495800TH บางบัวทอง
    ขอบคุณครับ
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,190
    ค่าพลัง:
    +21,324
    783-897b.jpg

    พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)

    สถิต ณ วัดธรรมมงคล ถ.สุขุมวิท ๑๐๑ ซ.ปุณณวิถี แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม

    นามเดิม
    วิริยังค์ บุยฑีย์กุล

    ฉายา
    สิรินธโร

    เกิด
    เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๗ มกราคม ๒๔๖๓

    อุปสมบท
    ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘ ณ วัดสุทธิจินดา ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    พระราชธรรมเจติยาจารย์ เดิมชื่อ วิริยังค์ บุยฑีย์กุล เป็นบุตรขุนเพ็ญภาษชนารมย์ กับนางมั่น บุญฑีย์กุล (อุบาสิกามั่น ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๕๒๐) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๗ มกราคม ๒๔๖๓ ณ สถานีรถไฟปากเพรียว จังหวัดสระบุรี ต่อมาย้ายมาตั้งหลักฐานที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมามีพี่น้อง.๗..คน

    วิริยังค์ สิรินธโร
    วัดธรรมมงคล
    ถ.สุขุมวิท ๑๐๑ ซ.ปุณณวิถี
    แขวงบางจาก เขตพระโขนง กทม

    ก่อนบวช
    พระราชธรรมเจติยาจารย์ เดิมชื่อ วิริยังค์ บุยฑีย์กุล เป็นบุตรขุนเพ็ญภาษชนารมย์ กับนางมั่น บุญฑีย์กุล (อุบาสิกามั่น ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๕๒๐) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๗ มกราคม ๒๔๖๓ ณ สถานีรถไฟปากเพรียว จังหวัดสระบุรี ต่อมาย้ายมาตั้งหลักฐานที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมามีพี่น้อง ๗ คน

    วันหนึ่งขณะที่ท่าน มีอายุประมาณ ๑๓ ปี เพื่อนผู้หญิงคนหนึ่ง ชวนให้ไปวัดเป็นเพื่อน ขณะที่รอเพื่อนไป ต่อมนต์ (ท่องบทสวดมนต์) กับพระอาจารย์กงมา ท่านก็รออยู่ด้วยความเบื่อหน่ายเพราะไปตั้งแต่ ๒ ทุ่มกลับเที่ยงคืน จะกลับบ้านเองก็ไม่ได้ เพราะเส้นทางเปลี่ยวและกลัวผี ได้แต่คิดอยู่ในใจว่า “ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่มาอีกแล้ว ๆ ๆ ” ไม่ช้าก็เกิดความสงบขึ้น ตัวหายไปเลย เบาไปหมด เห็นตัวเอง มี ๒ ร่าง ร่างหนึ่งเดินลงศาลาไปยืนอยู่ที่ลานวัด มีลมชนิดหนึ่ง พัดหวิวเข้าสู่ใจ ้รู้สึกเย็นสบายเป็นสุขอย่างยิ่ง ถึงกับอุทานออกมาเองว่า “คุณของพระพุทธศาสนา มีถึงเพียงนี้เทียวหรือ” แล้วเดินกลับไปที่ร่าง กลับเข้าตัว พอดีเป็นเวลาเลิกต่อมนต์ จึงเล่าให้กับ พระอาจารย์กงมาฟัง พระอาจารย์ก็ว่า “เด็กนี่ เรายังไม่ได้สอนสมาธิให้เลยทำไม จึงเกิดเร็วนัก ” ตั้งแต่นั้นมาก็จึงเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสมาธิ

    อยู่มาวันหนึ่งท่าน ทำงานหนักเกินตัวจึงล้มป่วยเป็นอัมพาต บิดาพยามหาหมอมารักษา แต่ก็รักษาไม่ได้ แพทย์แผนปัจจุบันบอกว่า หมดหวังในการรักษา ท่านได้แต่นอนอธิษฐานอยู่ในใจว่า

    ” ถ้ามีผู้ใดมารักษาให้หาย จากอัมพาตได้ จะอุทิศตน เพื่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ”
    ไม่นานก็ปรากฏว่ามีชีปะขาวหนวดรุงรังตนหนึ่ง มาถามบิดาของท่านว่า
    “จะรักษาลูกให้เอาไหม”
    บิดาก็บอกว่า “เอา”
    ชีปะขาวก็เดินมาหาท่านซึ่งนอนอยู่ พร้อมทั้งกระซิบถามว่า
    “อธิษฐานดังนั้นจริงไหม”
    ท่านก็ตอบว่า “จริง”

    จึงให้พูดให้ได้ยินดัง ๆ หน่อย ท่านก็พูดให้ฟัง ชีปะขาวก็เอาไพลมา เคี้ยว ๆ แล้วก็ พ่นใส่ตัวของท่านจนเหลืองไปหมด แล้วก็จากไป เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าท่านรู้สึกว่าจะ กระดิกตัวได้ ทดลองลุก ขึ้นเดินก็ทำได้เป็นที่อัศจรรย์ใจ

    ๗ โมงเช้า ปรากฏว่าชีปะขาว มายืนหลับตาบิณฑบาตอยู่ ที่ประตูบ้าน ท่านจึงนำอาหารจะไปใส่บาตร ชีปะขาว กลับขอให้ท่านพูดถึงคำ อธิษฐานของท่านให้ฟัง เมื่อพูดแล้ว จึงยอมรับบาตร แล้วบอกให้ท่านไปหาที่ ใต้ต้นมะขาม วัดสว่างอารมณ์ เมื่อไปถึงชีปะขาวก็ให้พูดคำอธิษฐาน ให้ฟังอีก แล้วก็พาเดินไปหลังวัด คว้าเอา มีดอันหนึ่งออกไปตัดหางควาย มาชูให้ดู แล้วก็ต่อหางคืนไปใหม่ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พร้อมกับถาม ว่า

    “ลุงเก่งไหม”
    ท่านก็ตอบว่า “เก่ง”

    ลุงจะสอนคาถาให้ แต่ต้องท่องทุกวัน เป็นเวลา ๑๐ ปีจึงใช้ได้ ท่านก็ได้เรียนคาถานั้น แล้วก็บอกว่าพรุ่งนี้ให้ เตรียมใส่บาตร วันรุ่งขึ้นปรากฏว่า ไม่พบ ตาชีปะขาวแล้ว ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่ เคยพบกับตาชีปะขาวอีกเลย
    ในร่มกาวพัสตร์

    เมื่ออายุประมาณ ๑๕ ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ก็ได้บวชเป็นผ้าขาว บรรพชาเมื่อ ๒๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘ ณ วัดสุทธิจินดา ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยพระธรรมฐิติญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาได้ ๑๐ วัน ก็ตามพระอาจารย์กงมาออกธุดงค์ ตามป่าเขา ลำเนาไพร เพื่อแสวงหาที่วิเวก เมื่อพบที่สงบ ก็จะหยุดอยู่ทำความเพียร แม้บางครั้งอดอาหารกันอยู่หลายวัน บางครั้งเจอสัตว์ร้าย เจออันตราย หรือหนทางอันยาวไกล เช่นในบางวันเดินธุดงค์ข้ามเขาเกือบ ๕๐ กิโลเมตร ก็ไม่ย่อท้อ โดยถือคติที่ว่ารักความเพียร รักธรรมะมากกว่าชีวิต ครั้งหนึ่งเมื่อออกจากดงพญาเย็น พบโจรกลุ่ม หนึ่งมีอาวุธครบมือมาล้อมไว้ พระอาจารย์กงมาได้เทศน์ สั่งสอนโจร มีอยู่ตอนหนึ่งเทศน์ว่า

    ” พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึง การผิดศีลของพวกเธอนั้น ก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของ พวกเธอเลย มันจะสิ้นกัน ไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน ถึงพวกเธอ จะฆ่าไม่ฆ่าเขาก็ตาย เธอก็เหมือนกัน มีความดีเท่านั้นที่ใคร ๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว ”

    ปรากฏว่าพวกโจรวางมีด วางปืนทั้งหมด น้อมตัวลงกราบพระอาจารย์กงมาอย่าง นอบน้อม หัวหน้าโจรมอบตัว เป็นศิษย์ และได้บวชเป็น ตาผ้าขาวถือศีล ๘ เดินธุดงค์ไปด้วยกัน จนกระทั่งหมดลมหายใจ ในขณะทำสมาธิ

    ในวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๔๘๔ ท่านมีอายุ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท ณ วัดทรายงาม (อุทกสีมากลางทะเล) บ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา ๘ ปี วันหนึ่ง พระอาจารย์กงมาก็พาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทบุรีไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อวิริยังค์ได้รับเลือกให้เป็นอุปัฎฐากอยู่ ๔ ปี ได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น เรียนธรรมะ อันลึกซึ้ง ได้จดคำสอนของหลวงปู่มั่นบางตอนไว้ (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด เมื่ออ่านให้ท่านฟังภายหลัง ท่านกลับรับรองว่าใช้ได้) ต่อมาท่านได้เผยแพร่คำสอนนี้แก่สาธารณะชน ในหนังสือที่ชื่อว่า “มุตโตทัย”
    ผลงานของพระราชเจติยาจารย์
    ๑. สร้างวัด ๑๒ แห่งในประเทศไทย
    ๒. สร้างวัดไทยในประเทศแคนาดา ๖ แห่ง
    ๓. สร้างวิทยาลัยสงฆ์ ๒ แห่ง
    ๔. สร้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)ที่จังนครราชสีมา
    ๕. สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ๓๐๐๐ กว่าแห่งทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายที่ ๗๐๐๐ แห่ง
    ๖. สร้างโรงพยาบาลจอมทอง
    ๗. สร้างที่ว่าการอำเภอจอมทอง
    ๘. สถาบันประถมศึกษาจอมทอง
    ๙. สร้างพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย วัดธรรมมงคล
    ๑๐. สร้างพระหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดธรรมมงคล

    ประวัติหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร

    ตอน ฝึกหัดตนอยู่กับพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

    ที่มา : ชีวิตคือการต่อสู้ ประวัติและผลงาน

    พระราชธรรมเจติยาจารย์ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)

    rosebar-2.gif

    เมื่อ สามเณรวิริยังค์บรรพชาเป็นสามเณรประมาณเดือนเศษ พระอาจารย์กงมาฯ มีกิจนิมนต์ต้องไปกรุงเทพฯ ด้วยความเป็นห่วงท่านจึงนำ สามเณรวิริยังค์ไปฝากไว้ที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าศรัทธารวม อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นวัดป่าที่อยู่ใกล้กองทหารและก็เป็นการฝึกฝนตนอีกครั้งหนึ่งกับพระอาจารย์ฝั้นฯ ของสามเณรวิริยังค์

    วันหนึ่ง สามเณรวิริยังค์ก็ต้องแปลกใจ เพราะเห็นแมวตัวหนึ่งเป็นตัวผู้สีขาวแดงใหญ่ เดินจงกรมตามพระอาจารย์ฝั้นฯ หลังจากท่านเดินจงกรมเสร็จ สามเณรวิริยังค์ได้เข้าไปคอยฟังโอวาท เสร็จแล้วก็ทำการบีบนวดถวาย

    สามเณรวิริยังค์ได้ถามว่า “ทำไมแมวมันจึงเดินตามท่านอาจารย์”

    ท่านอาจารย์ตอบว่า “สอนมัน”

    สามเณรวิริยังค์ทวนคำ สอนแมวไม่ใช่ของง่าย ไม่เหมือนสุนัข ถ้าเป็นสุนัข สามเณรวิริยังค์จะไม่สงสัย สามเณรวิริยังค์จึงถามต่อไปว่า “ทำไมท่านอาจารย์จึงสอนแมวได้”

    ท่านตอบว่า “เอาใจสอน”

    เป็นอันว่าสามเณรวิริยังค์เข้าใจ

    วันหนึ่ง สามเณรวิริยังค์คิดว่า พระอาจารย์ฝั้นฯ นี้ จะเก่งเท่ากับพระอาจารย์ของสามเณรริริยังค์หรือเปล่าหนอ แต่เห็นฝึกแมวได้ ชักเชื่อว่าเก่งพอสมควรทีเดียว สามเณรวิริยังค์นี้เป็นผู้ที่ได้ฝึกจิตมาพอสมควรแล้ว และตั้งใจว่าจะศึกษาไปให้มากที่สุด ดังนั้นเมื่อได้มาอยู่กับพระอาจารย์ฝั้นฯ สามเณรวิริยังค์ก็พยายามที่จะเข้าใกล้ชิดให้มากที่สุด จึงได้ขอเข้าทำการบีบนวดก็ให้โอกาส เป็นอันว่าสามเณรริริยังค์ได้อยู่ใกล้ชิดสมความตั้งใจ แม้จะเป็นระยะอันสั้น สามเณรริริยังค์ก็พยายามศึกษาอย่างเต็มที่

    อยู่มาวันหนึ่ง มันเป็นเวลาดึกแล้ว สามเณรวิริยังค์อยู่เพียงลำพังผู้เดียวที่คอยปฏิบัติท่าน เพราะสามเณรอื่นพากันขี้เกียจ กลับไปนอนหมด สำหรับสามเณรวิริยังค์นั้นเป็นผู้มาใหม่ รู้สึกว่าท่านจะเกรงใจบางอย่าง หรือท่านอาจจะเข้าใจในตัวท่านว่า เราฝึกศิษย์ไม่ดีพอจึงทำให้ศิษย์ของท่านไม่เอาใจใส่ท่าน อาจจะเข้าใจว่าสู้ศิษย์ของท่านอาจารย์กงมาฯ เช่นกับ สามเณรวิริยังค์ไม่ได้ ครั้นจะให้ สามเณรวิริยังค์ไปตามพวกเณรเหล่านั้นมา ก็รู้สึกว่ายิ่งจะเป็นการเสียหายต่อท่านมากขึ้น

    ขณะนั้น สามเณรวิริยังค์จำต้องแปลกใจเหลือหลายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเห็นสมเณรท่านองค์หนึ่ง เดินขึ้นบันไดมาโดยอาการมึนงง ตาก็ลืมนิดๆ เดินตรงรี่เข้ามาหา สามเณรวิริยังค์แล้วมองไปที่อาจารย์ฝั้นฯ เห็นท่านยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ แล้วสามเณรรูปนั้น ก็เดินไปที่กระติกน้ำร้อน จัดการชงชาพร้อมทั้งยกถวาย ท่านพระอาจารย์ฝั้นฯ ก็รับ รับแล้วก็ฉัน สามเณรวิริยังค์ยิ่งงงยิ่งขึ้นเมื่อสามเณรรูปนั้นขณะที่ทำงานทุกอย่างตาก็ลืมนิดๆ บางทีตาลืมขึ้นมามากแต่ก็ไม่มองอะไร สามเณรวิริยังค์สังเกตดูตาช่างไม่มีแววเอาเลย เอ นี่มันยังไงกัน หลังจากสามเณรทำทุกอย่างเกี่ยวกับถวายน้ำชาและเก็บกาน้ำถวายชาล้างเรียบร้อยแล้ว สามเณรรูปนั้นก็ทำตาปรือๆ เดินกลับกุฏิไป

    ท่านอาจารย์ฝั้นฯ ก็เอนหลังลงให้ สามเณรวิริยังค์บีบนวดต่อไป สามเณรวิริยังค์ทนไม่ไหวที่เห็นอากัปกิริยาของสามเณรรูปนั้นทำแปลก ยังกับไม่มีชีวิตจิตใจ จึงถามท่านอาจารย์ฝั้นฯว่า

    “ท่านอาจารย์ทำยังไง เณรจึงทำท่าทางเหมือนไม่มีจิตใจอย่างนั้น”

    ท่านตอบว่า “มันอยากขี้เกียจ ต้องทรมานมันมั่ง”

    “ทรมาน” สามเณรวิริยังค์ทวนคำ

    “หมายความว่า ท่านอาจารย์สะกดจิตอย่างนั้นหรือ” สามเณรวิริยังค์ถาม

    “ใช่” แล้วท่านก็ไม่พูดอะไรปล่อยให้สามเณรวิริยังค์บีบนวดจนเกือบเที่ยงคืน

    เมื่อท่านอนุญาตให้กลับแล้ว สามเณรวิริยังค์ได้ไปที่กุฏิสามเณรรูปนั้นด้วยความสงสัยอยากรู้ พอเปิดประตูเข้าไปสามเณรรูปนั้นหลับเงียบ สามเณรวิริยังค์คิดว่าไม่รบกวนละ พรุ่งนี้จะถามแต่เช้าทีเดียว

    รุ่งเช้า สามเณรวิริยังค์รีบลุกขึ้นเข้าไปรออยู่หน้ากุฏิสามเณรรูปนั้น พอเห็นหน้า สามเณรวิริยังค์ถามทันทีว่า

    “เมื่อคืนนี้ทำไมสามเณรจึงทำสะลืมสะลือแล้วเดินไปชงชาถวายท่านอาจารย์ แล้วอยู่ๆ ก็กลับเฉยๆ อย่างนั้นเณรทำไมทำอย่างนั้น”

    สามรูปนั้นตอบว่า “อะไรกัน ผมไม่ได้ไปกุฏิท่านอาจารย์นา ผมก็นอนอยู่นี่ทั้งคืน”

    สามเณรวิริยังค์ยืนยันอีกครั้งบอกว่า “ผมเห็นเณรทุกอิริยาบถ เณรจริงๆ ที่ไป ผมยังยิ้มกับท่านอาจารย์เลย” สมเณรรูปนั้นยืนงง และพูดว่า “ผมไม่ได้ไป”

    แล้วสามเณรรูปนั้นก็ผละจาก สามเณรวิริยังค์ไปบิณฑบาต สามเณรวิริยังค์ชักงงใหญ่ นี่มันอะไรกัน สามเณรวิริยังค์รำพึงในใจว่า พลังจิตนี้สามารถบังคับคนนอนหลับเดินมารับใช้และบังคับให้กลับไปนอน แหละคนถูกบังคับก็ไม่รู้สึกตัวมันแปลกแท้ๆ นี่มันปรากฏแก่สายตาของสามเณรริริยังค์จึงจำเป็นต้องเชื่อ ต้องเชื่อ ๑๐๐% ถ้าใครมาเล่าให้สามเณรริริยังค์ฟังจะไม่เชื่อเด็ดขาด แต่นี่เห็นตำตา ยังไงสามเณรริริยังค์ขอบันทึกไว้ในความทรงจำคือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ พ.ศ. ๒๔๗๘ เวลา ๒๑.๓๐ น. เป็นวันที่สามเณรริริยังค์เกิดความเลื่อมใสท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร เพราะเหตุแห่งปาฏิหาริย์

    ซึ่งมันก็ยังไม่ทำให้ใจของสามเณรวิริยังค์เชื่อว่าจะดีกว่าอาจารย์ของสามเณรริริยังค์ แต่ทำเอาสามเณรวิริยังค์ต้องเชื่อเอามากทีเดียว

    ในตอนตีสาม (๐๓.๐๐) เป็นเวลาที่ผู้ปฏิบัติหัดตนอยู่กับพระอาจารย์ จะต้องปลุกตัวเองตื่นขึ้นนั่งสมาธิ และ สามเณรวิริยังค์แม้จะบวชใหม่ก็พยายามที่จะปลุกตัวเองเสมอเพื่อความก้าวหน้าของการปฏิบัติ และก็รู้ตัวดีที่ท่านเองก็ต้องลำบากหนักหนากว่าจะได้มาบวชกับเขา จึงทำให้ สามเณรวิริยังค์มุมานะอยู่ตลอดเวลา ถึงอย่างนั้นเจ้ากิเลสตัวการมันก็คอยเล่นงานสามเณรตลอดเวลา จึงทำให้การปลุกตัวเองให้ตื่นตอนตีสามนั้นต้องเสียไป โดยไม่ยอมตื่นเป็นบางวัน

    ในคืนวันหนึ่ง สามเณรวิริยังค์กำลังนอนเพลิน เวลาก็เลยตีสาม ไปแล้ว ท่านอาจารย์ฝั้นฯ ท่านทราบได้ยังไง ท่านเอาไม้เท้าเคาะกุฏิที่สามเณรริริยังค์กำลังนอนเพลินอยู่ ทำให้สามเณรริริยังค์ต้องตกใจสุดขีด ลุกขึ้นโดยพลัน พลางคิดว่า “เราผิด-เราผิด” ต้องขอบใจพระอาจารย์ฝั้นฯ อย่างยิ่งที่ท่านได้มาปลุกเรา ดีใจเพราะรับคำเตือนที่มีค่าที่สุด

    วันหนึ่งประมาณหนึ่งทุ่ม สามเณรวิริยังค์ได้ยินเสียงเรียกชื่อว่า “วิริยังค์ๆ ๆ มานี่เร็วๆ”

    ขณะนั้น สามเณรวิริยังค์กำลังเดินจงกรมอยู่ สามเณรวิริยังค์คิดว่าคงมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น สามเณรวิริยังค์รีบออกจากจงกรม ตรงไปที่ท่านอาจารย์ฝั้นฯ เมื่อไปถึงท่านได้ชี้ไปที่นกตัวหนึ่ง (นกเค้า) กำลังนอนดิ้นพราดๆ อยู่ ท่านบอกให้ สามเณรวิริยังค์รีบไปช่วยมัน

    สามเณรวิริยังค์รีบจับนกตัวนั้นขึ้นมาเป่าก้นมัน เพื่อให้ฟื้น แต่ยิ่งเป่ามันก็ยิ่งตัวอ่อนลงๆ จนตาย สามเณรวิริยังค์ถามท่านอาจารย์ว่า "นกมันเป็นไร?"

    ท่านตอบว่า “เราเพ่งจิตใส่มันเพราะมันร้องหนวกหูไม่หยุด แต่เพ่งแรงไปหน่อยมันเลยตาย”

    สามเณรวิริยังค์ได้เดินกลับแล้วโยนนกนั้นทิ้งเข้าป่าไป แล้วมาคิดว่า “เอนี่ยังไงกัน มันเป็นความจริงหรือที่นกตายเพราะท่านอาจารย์เพ่งจิตหรือมีตัวอะไรกัดมันกระมัง” แต่มาคิดถึงตอนท่านสะกดจิตเณรมารับใช้คืนนั้น เลยเชื่อสนิทใจ คิดว่าท่านคงไม่โกหกเราและจะมาโกหกเราเอาประโยชน์อะไรกัน
    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-phun/lp-phun-hist-07-01.htm

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสุงครับ

    พระสมเด็จเนื้อผงผสมไม้เท้าหลวงปู่มั่น วัดธรรมมงคล ปี 2541
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งEMS 50 บาทครับ

    ลพ.วิริยัง.jpg ลพ.วิริยังหลัง.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...