พระพุทธพจน์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 12 มกราคม 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    พระพุทธพจน์มีว่า กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือประณีต สัตว์ทั้งหลาย
    ย่อมเป็นไปตามกรรม พระอรหันต์เป็นผู้สิ้นกรรมทั้งหมด ดังนั้น ถ้าต้องการ
    พ้นจากกรรมทั้งหมดก็จะต้อง สร้างเหตุที่ดีอันจะเป็นหนทางเพื่อการดับกรรม
    และวิบากทั้งปวง ด้วยการสะสมอบรมเจริญปัญญา เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘
    จนถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นสูงสุด คือพระอรหันต์ ..
    ในชีวิตประจำวันอกุศลจิตเกิดขึ้นมากมายเกือบตลอดทั้งวัน สะสมอกุศลซึ่งเปรียบ
    เสมือนขยะที่เน่าเหม็นอยู่ในใจ โอกาสที่จะค่อย ๆ กำจัดขยะออกไปจากใจก็แสนยาก
    เพราะเหตุว่ากุศลจิตเกิดน้อยมากในแต่ละวัน มีแต่จะพอกพูนขยะซึ่งก็คือโลภะ โทสะ
    โมหะ และกิเลสต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นอยู่ในจิต มีอาวุธใดที่จะกำจัดขยะในใจได้ ?
    นอกจากปัญญาแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่จะเก็บกวาดขยะเหล่านี้ออกไปได้ อาวุธคือ
    ปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถดับกิเลสได้ เพราะฉะนั้นการฟังธรรมเพื่อให้เกิด
    ความเห็นถูก เข้าใจถูกในลักษณะสภาพธรรม ซึ่งเป็นปัญญาขั้นปริยัติ ความเข้าใจที่
    ค่อย ๆ สะสมมากขึ้น เป็นปัจจัยให้สติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมตรงตามความ
    เป็นจริง เป็นปัญญาขั้นปฏิบัติ การอบรมเจริญปัญญาต้องเป็นลำดับขั้นจนกว่าปัญญา
    ขั้นปฏิเวธจะเกิดขึ้นประหานกิเลสหมดสิ้นเป็นสมุจเฉท กำจัดขยะในใจจนหมดสิ้น
    สะอาด...บริสุทธิ์...
    ปุถุชนยึดถือนามรูปด้วยความเห็นผิดว่านามรูปนั้นเป็นอัตตา หลงว่าอัตตา เรา เขา สิ่ง
    หนึ่งสิ่งใดมีจริงๆ ส่วนนิพพานเป็นสภาพที่โลภะเข้าไปติดข้องไม่ได้ ปุถุชนก็เข้าใจผิด
    ว่านิพพานไม่มีจริงเพราะไม่รู้ แต่พระอริยเจ้าท่านประจักษ์แจ้งแทงตลอดในนามรูป
    ตามเป็นจริง ถึงพระนิพพานด้วยโลกุตตรปัญญา เห็นชัดโดยตลอดว่าที่เคยยึดถือนาม
    รูปว่าเป็นอัตตาจริงๆนั้น ล้วนแต่เป็นเท็จทั้งสิ้น เพราะความจริงนามรูปทั้งหลายเกิดดับ
    แปรปรวน สูญสิ้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา เป็นสภาพที่ตรงข้ามกับนิพพาน
    เหมือนกันอย่างเดียวคือความเป็นอนัตตา แต่เป็นอนัตตาที่ยากที่สุดที่จะเข้าถึงได้

    พึงทราบวินิจฉัยในอสัปปุริสทานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า อสกฺกจฺจํ ทานํ เทติ ได้แก่ หาเคารพคือทำใจให้สะอาดให้ทานไม่.
    บทว่า อจิตฺตึ กตฺวา เทติ ได้แก่ ให้ด้วยอาการไม่ยำเกรง โดยความไม่เคารพ.
    บทว่า อปวิฏฺ€ํ เทติ ได้แก่ ไม่ให้ส่งๆ ไป. อีกอย่างหนึ่งให้เหมือนประสงค์จะ
    ทิ้ง. บทว่า อนาคมนทิฏ€ิโก เทติ ได้แก่ หาทำความเห็นผลกรรมกันมาอย่าง
    นี้ว่า ผลแห่งกรรมที่ทำจักมาถึงดังนี้ให้เกิดขึ้นไม่.
    ในฝ่ายขาวพึงทราบวินิจฉัยดังนี้ บทว่า จิตฺตึ กตฺวา เทติ ได้แก่ เข้าไป
    ตั้งความยำเกรงในไทยธรรมและในทักขิไณยบุคคลแล้วให้. ในสองอย่างนั้น
    บุคคลกระทำไทยธรรมให้ประณีต มีรสอร่อยแล้วให้ ชื่อว่า เข้าไปตั้งความยำ
    เกรงในไทยธรรม. บุคคลเลือกบุคคลแล้วให้ ชื่อว่า เข้าไปตั้งความยำเกรงใน
    ทักขิไณยบุคคล. บทว่า สหตฺถา เทติ ความว่า ไม่ใช้มือของคนอื่นให้ตาม
    คำสั่ง ให้ด้วยมือของตนเองเท่านั้น ด้วยคิดว่า ชื่อว่า เวลาที่เราท่องเที่ยวไป
    ในสงสารอันไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลายแล้ว ได้ใช้มือและเท้านั้นไม่มีประมาณ
    เลย เราจักทำความหลุดพ้นไปจากวัฏฏะ ความออกไปจากภพ ดังนี้. บทว่า
    อาคมนทิฏฺ€ิโก ได้แก่ เชื่อกรรมและวิบาก ว่าจักเป็นปัจจัยแห่งภพในอนาคต
    แล้วให้ ดังนี้.
    จบอรรถกถาอสัปปุริสทานสูตรที่ ๗
    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
    อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทาง ได้ถวายข้าวพระพุทธรูป
    และตั้งใจว่าจะสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย
    เจริญอนุสติหลายอย่าง สักการะพระธาตุ เมื่อวานนี้ได้รักษาผู้ป่วยฟรี
    โดยไม่คิดเงิน ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
    ขอเชิญทุกท่านแวะเยี่ยมชมกราบหลวงพ่อเสมา วาจาสิทธิ์ ขอพร ณ ป่าสักธรรมชาติดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสถานที่ดงป่าสักทางธรรมชาติเพียงแห่งเดียวที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันนี้
    โดยที่ไม่มีใครเข้าไปตัดทำลายได้เลย เพราะถ้ามีใครเข้าไปทำลาย หรือนำไม้สักออกจากป่าแห่งทุกคนก็จะประสบกับสิ่งที่ไม่คาดฝันทุกคนไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อเสมา
    วาจาสิทธิ์ที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า" ฉันยังเอาไม้ไปใช้ไม่ได้ แล้วคนอื่นจะเอาไปใช้ได้หรือ " จากคำพูดนี้จึงทำให้พื้นป่าแห่งนี้ดำรงค์คงอยู่รอการมาเยือนของทุกท่าน และการมาร่วมกันที่จะ
    ปลูกป่าร่วมกันอนุรักษ์พื้นป่าอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ไว้ให้ลูกหลานของเราได้ชื่นชม เหมือนเราท่านทั้งหลาย รูปสลักของหลวงพ่อตั้งรอศรัทธากราบไหว้ระลึกถึงคุณงามความดีในอันที่ท่าน
    ได้อนุรักษ์พื้นป่าไว้ ที่ วัดปากเหมือง(ป่าสักธรรมชาติ) ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดราว ๖๖ กิโลเมตร มาถึงตลาดลานสัก(ปากเหมือง)
    ปากทางสู่มรดกโลก(ห้วยขาแข้ง) ถามแถวตลาดว่าวัดป่าสัก หรือวัดปากเหมือง ไปทางไหนใครก็รู้จัก หรือเข้ามาสอบถามพูดคุยกับทางวัดเขาได้ที่ www.watparkmuang.com

    ขอให้สรรพสัตว์ทั้ง 31 ภพภูมิจงบรรลุมรรคผลนิพพานเทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...