พระพุทธเจ้าสอนทำทาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 9 กันยายน 2019.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    พระพุทธเจ้าสอนทำทาน ตอน ทานการให้เป็นอย่างไร
    _oc=AQmlYWGlmmz-as427VkiYAIhJdMV7FeHrRNqtJWLaVSdlCy74lw0fR3-hViJ9wkPJyo&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg
    [๒๙๔] มาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เพราะกรรมนั้น ที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้นหลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หลังจากตายแล้วถ้าไม่ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใดๆ เขาก็จะเป็นผู้มีโภคะน้อย
    มาณพ การที่บุคคลเป็นผู้ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ นี้เป็นปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีโภคะน้อย
    มาณพ ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสตรีก็ตาม เป็นบุรุษก็ตาม เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ เพราะกรรมนั้นที่เขาให้บริบูรณ์ยึดมั่นไว้อย่างนั้น
    หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว ถ้าไม่ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ในที่ใดๆ เขาก็จะเป็นผู้มีโภคะมาก

    English Version
    Take some woman or man who doesn’t give to ascetics or brahmins such things as food, drink, clothing, vehicles; garlands, perfumes, and makeup; and bed, house, and lighting. Because of undertaking such deeds, after death they’re reborn in a place of loss … or if they return to the human realm, they’re poor …

    But take some woman or man who does give to ascetics or brahmins … Because of undertaking such deeds, after death they’re reborn in a heavenly realm … or if they return to the human realm, they’re rich …


    ที่มา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ]มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
     
  2. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    พระพุทธเจ้าสอนทำทาน ตอน จาคะ(การบริจาคเป็นอย่างไร)
    c_oc=AQkZ8sl_5e8mqJh6CPm7uEEVNgXz8rWdBj1tEgOIH-OY42_wjOsXF6A6xb_X_ckxI6U&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.jpg
    จาคสัมปทา เป็นอย่างไร
    คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทินมีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการให้ทานและการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา

    ENGLISH VERSION

    “And what is accomplishment in generosity? Here, a noble disciple dwells at home with a mind free from the stain of miserliness, freely generous, openhanded, delighting in relinquishment, devoted to charity, delighting in giving and sharing. This is called accomplishment in generosity.


    ที่มา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
     
  3. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    พระพุทธเจ้าสอนทำทาน ตอน ผลแห่งทานในปัจจุบันและสัมปรายะ
    c_oc=AQmB3C7MP51WO5eu35oRl0YzIywOwIwjMnC4xqYT_53AZlV-DyVPScfGLXoh-mPiuHI&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.jpg
    [๓๕] ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้
    อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก

    ๒. สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน
    ๓. กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรไป
    ๔. ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์
    ๕. ผู้ให้ทานหลังจากตายแล้วย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์

    ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้แล

    ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของคนหมู่มาก
    ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัตบุรุษ
    สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์
    ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
    สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขาเขารู้ชัดธรรมนั้นแล้วเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้

    English Version

    The Benefits of Giving
    “Bhikkhus, there are these five benefits of giving. What five? (1) One is dear and agreeable to many people. (2) Good persons resort to one. (3) One acquires a good reputation. (4) One is not deficient in the layperson’s duties. (5) With the breakup of the body, after death, one is reborn in a good destination, in a heavenly world. These are the five benefits in giving.”

    By giving, one becomes dear,
    one follows the duty of the good;
    the good self-controlled monks
    always resort to one.

    They teach one the Dhamma
    that dispels all suffering,
    having understood which
    the taintless one here attains nirvana


    ที่มา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต.
     
  4. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    พระพุทธเจ้าสอนทำทาน ตอน ผู้ให้โภชนะ ชื่อว่า ให้อายุ สุขะ พละและปฏิภาณ
    _oc=AQmfPSaWqf4eGHUWdE1c7C5ytVbxNnuBpelIz8qab77VykxlD7TkOIcW9A8chkTm7Ts&_nc_ht=scontent.fbkk22-3.jpg
    [๓๗] ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการแก่ปฏิคาหก
    ฐานะ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. อายุ ๒. วรรณะ
    ๓. สุข ๔. พละ
    ๕. ปฏิภาณ๑-(ปฏิภาณ ในที่นี้หมายถึงยุตตปฏิภาณ คือ ตอบปัญหาได้ถูกต้องตามเนื้อหาสาระและเหตุต่างๆ แต่ตอบช้าไม่ตอบเร็ว และมุตตปฏิภาณ คือ ตอบปัญหาได้รวดเร็วในขณะที่ถามทีเดียว)
    ครั้นให้อายุแล้ว ย่อมมีส่วนได้อายุอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้วรรณะแล้ว ย่อมมีส่วนได้วรรณะอันเป็นทิพย์หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้สุขแล้วย่อมมีส่วนได้สุขอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้พละแล้ว ย่อมมีส่วนได้
    พละอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ ครั้นให้ปฏิภาณแล้ว ย่อมมีส่วนได้ปฏิภาณอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์
    ภิกษุทั้งหลาย ทายกผู้ให้โภชนะ ชื่อว่าให้ฐานะ ๕ ประการนี้แลนักปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุ ย่อมได้อายุ
    ให้พละ ย่อมได้พละ ให้วรรณะ ย่อมได้วรรณะให้ปฏิภาณ ย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุข ย่อมได้สุขครั้นให้อายุ พละ วรรณะ สุขะ และปฏิภาณแล้วจะเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ

    English Version

    Food
    “Bhikkhus, a donor who gives food gives the recipients five things. What five? One gives life, beauty, happiness, strength, and discernment. (1) Having given life, one partakes of life, whether celestial or human. (2) Having given beauty, one partakes of beauty, whether celestial or human. (3) Having given happiness, one partakes of happiness, whether celestial or human. (4) Having given strength, one partakes of strength, whether celestial or human. (5) Having given discernment, one partakes of discernment, whether celestial or human. A donor who gives food gives the recipients these five things.”

    The wise one is a giver of life,
    strength, beauty, and discernment.
    The intelligent one is a donor of happiness
    and in turn acquires happiness.

    Having given life, strength, beauty,
    happiness, and discernment,
    one is long-lived and famous
    wherever one is reborn.


    ที่มา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
     
  5. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    พระพุทธเจ้าสอนทำทาน ตอน ผู้ให้ของพอใจย่อมได้ของพอใจ
    c_oc=AQkx5GoYuZcJyzkTLUrbkeJ4UQ0f6o4wMAz5aq4W9L9VQCUzNLEDvJIB2JdB0KOgkOw&_nc_ht=scontent.fbkk2-7.jpg

    [๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันเขตกรุงเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์ของอุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลี ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่
    ปูลาดไว้ ลำดับนั้น อุคคคหบดีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ของเคี้ยวชื่อสาลปุปผกะเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับ
    ขาทนียาหารของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
    อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็เนื้อสุกรอย่างดีเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับเนื้อสุกรอย่างดีของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
    พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
    อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็นาลิยสากกะ ซึ่งทอดด้วยน้ำมันเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับนาลิยสากขาทนียาหารของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
    พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
    อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่ขาวสะอาด มีแกงและกับมากเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับข้าวสุกแห่งข้าวสาลีของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
    พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
    อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ ก็ผ้าที่ทอในแคว้นกาสีเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับผ้าของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
    พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
    อุคคคหบดีได้กราบทูลอีกว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ให้ของที่น่าพอใจย่อมได้ของที่น่าพอใจ’ก็บัลลังก์ ที่ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยผ้าขนแกะสีขาว ลาดด้วยเครื่องลาดมี
    สัณฐานเป็นช่อดอกไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานข้างบนมีหมอนสีแดงทั้ง ๒ ข้างเป็นที่น่าพอใจของข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็ทราบดีว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ควรแก่พระผู้มีพระภาค เตียงไม้จันทน์ของข้าพระองค์นี้ราคาเกิน
    กว่า ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับเตียงของข้าพระองค์นั้นด้วยเถิด”
    พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงอนุโมทนาอุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลี ด้วยอนุโมทนียกถานี้ว่า
    ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ
    ผู้ใดให้เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ
    และปัจจัยมีประการต่างๆ
    แก่ท่านผู้ประพฤติตรง ด้วยความพอใจ
    สิ่งของที่ให้ไปแล้วนั้น เป็นของที่บริจาคแล้ว
    สละแล้ว ไม่คิดเอาคืน
    ผู้นั้นชื่อว่าเป็นสัตบุรุษรู้ชัดว่า
    พระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญ
    บริจาคสิ่งที่บริจาคได้ยาก
    ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจ
    ที่นั้น พระผู้มีพระภาคครั้นทรงอนุโมทนาอุคคคหบดีชาว
    กรุงเวสาลีด้วยอนุโมทนียกถาแล้ว จึงเสด็จลุกจากพุทธอาสน์หลีกไป
    ต่อมาไม่นาน อุคคคหบดีชาวกรุงเวสาลีได้ถึงแก่กรรม เข้าถึงชั้นกายมโนมัยชั้นใดชั้นหนึ่ง สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไป อุคคเทพบุตรมีมีวรรณะงดงามยิ่งนัก เปล่งรัศมีให้สว่างทั่วพระเชตวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสถามว่า
    “อุคคะ สำเร็จตามที่ท่านประสงค์แล้วหรือ” อุคคเทพบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สำเร็จตามที่ข้าพระองค์ประสงค์แล้ว พระพุทธเจ้าข้า”
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับอุคคเทพบุตรด้วยพระคาถาว่า
    ผู้ให้ของที่น่าพอใจ ย่อมได้ของที่น่าพอใจผู้ให้ของที่เลิศ ย่อมได้ของที่เลิศผู้ให้ของที่ดี ย่อมได้ของที่ดี
    และผู้ให้ของที่ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ
    นรชนใดให้ของที่เลิศ ให้ของที่ดีและให้ของที่ประเสริฐ
    นรชนนั้น จะเกิดในที่ใดๆย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้นๆ

    ENGLISH Version
    The Giver of the Agreeable
    On one occasion the Blessed One was dwelling at Vesālī in the hall with the peaked roof in the Great Wood. Then, in the morning, the Blessed One dressed, took his bowl and robe, and went to the residence of the householder Ugga of Vesālī, where he sat down in the appointed seat. Then the householder Ugga of Vesālī approached the Blessed One, paid homage to him, sat down to one side, and said to the Blessed One:
    “Bhante, in the presence of the Blessed One I heard and learned this: ‘The giver of what is agreeable gains what is agreeable.’ Bhante, my sal flower porridge is agreeable. Let the Blessed One accept it from me, out of compassion.” The Blessed One accepted, out of compassion.
    “Bhante, in the presence of the Blessed One I heard and learned this: ‘The giver of what is agreeable gains what is agreeable.’ Bhante, my pork embellished with jujubes is agreeable. Let the Blessed One accept it from me, out of compassion.” The Blessed One accepted, out of compassion.
    “Bhante, in the presence of the Blessed One I heard and learned this: ‘The giver of what is agreeable gains what is agreeable.’ Bhante, my fried vegetable stalks are agreeable. Let the Blessed One accept them from me, out of compassion.” The Blessed One accepted, out of compassion.
    “Bhante, in the presence of the Blessed One I heard and learned this: ‘The giver of what is agreeable gains what is agreeable.’ Bhante, my boiled hill rice cleared of dark grains, accompanied by various sauces and condiments, is agreeable. Let the Blessed One accept it from me, out of compassion.” The Blessed One accepted, out of compassion.
    “Bhante, in the presence of the Blessed One I heard and learned this: ‘The giver of what is agreeable gains what is agreeable.’ Bhante, my cloths from Kāsi are agreeable. Let the Blessed One accept them from me, out of compassion.” The Blessed One accepted, out of compassion.
    “Bhante, in the presence of the Blessed One I heard and learned this: ‘The giver of what is agreeable gains what is agreeable.’ Bhante, my couch spread with rugs, blankets, and covers, with an excellent covering of antelope hide, with a canopy above and red bolsters at both ends, is agreeable. Although I know this is not allowable for the Blessed One, this sandalwood plank of mine is worth over a thousand. Let the Blessed One accept it from me, out of compassion.” The Blessed One accepted, out of compassion.
    Then the Blessed One expressed his appreciation to the householder Ugga of Vesālī thus:
    “The giver of the agreeable gains the agreeable,
    when he gives willingly to the upright ones
    clothing, bedding, food, and drink,
    and various kinds of requisites.
    “Having known the arahants to be like a field
    for what is relinquished and offered, not held back,
    the good person gives what is hard to give:
    the giver of agreeable things gains what is agreeable.”
    Then, after expressing his appreciation to the householder Ugga of Vesālī, the Blessed One rose from his seat and left. Then, some time later, the householder Ugga of Vesālī passed away. After his death, the householder Ugga of Vesālī was reborn among a certain group of mind-made deities. On that occasion the Blessed One was dwelling at Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s Park. Then, when the night had advanced, the young deva Ugga, of stunning beauty, illuminating the entire Jeta’s Grove, approached the Blessed One, paid homage to him, and stood to one side. The Blessed One then said to him: “I hope, Ugga, that it is as you would have wished.”
    “Surely, Bhante, it is as I had wished.”
    Then the Blessed One addressed the young deva Ugga with verses:
    “The giver of the agreeable gains the agreeable;
    the giver of the foremost again gains the foremost;
    the giver of the excellent gains the excellent;
    the giver of the best reaches the best state.
    “The person who gives the best,
    the giver of the foremost,
    the giver of the excellent,
    is long-lived and famous
    wherever he is reborn.”

    ที่มา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ]อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
     
  6. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,552
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,439
    200286.jpg
    พระพุทธเจ้าสอนทำทาน ตอน การให้ทานเป็นเหตุให้เกิดความบริบูรณ์
    [๑๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระนางมัลลิกาเทวีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถาม
    พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดูและเป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ ต่ำศักดิ์
    อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่วไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สูงศักดิ์
    อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก๔- แต่เป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะต่ำศักดิ์
    อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก และเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมากสูงศักดิ์”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้เป็นผู้โกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียดกระด้างกระเดื่อง แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ เธอไม่ให้
    ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัยและเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ และมีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพความนับถือ การไหว้ และการบูชาของผู้อื่น กีดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา ถ้า
    มาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดู และเป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ
    ต่ำศักดิ์
    มาตุคามบางคนในโลกนี้เป็นผู้โกรธ มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ แต่เธอให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยานดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องประทีปแก่สมณะพราหมณ์ และไม่มีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ การไหว้และการบูชาของผู้อื่น ไม่กีดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ถ้าเธอจุติจาก
    อัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สูงศักดิ์
    มาตุคามบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้มากก็ไม่ขัดเคืองใจ ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง
    ไม่แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ แต่เธอไม่ให้ทาน คือ ข้าวน้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ และมีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ
    ความนับถือ การไหว้ และการบูชาของผู้อื่น กีดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา ถ้าเธอจุติจากอัตภาพนั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก แต่เป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์
    ขัดสน โภคะ ต่ำศักดิ์
    มาตุคามบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่องไม่แสดงอาการโกรธความขัดเคืองและความไม่พอใจ เธอให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้ายวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ และไม่มีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือ
    การไหว้ และการบูชาของผู้อื่น ไม่กีดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ถ้าเธอจุติจากอัตภาพนั้นแล้วมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใดๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก และเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
    มีโภคะมาก สูงศักดิ์
    มัลลิกา นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีผิวพรรณไม่งามรูปชั่ว ไม่น่าดู และเป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ ต่ำศักดิ์
    นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่วไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สูงศักดิ์
    นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใสมีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก แต่เป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์ ขัดสนโภคะ ต่ำศักดิ์
    นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใสมีผิวพรรณผุดผ่องยิ่งนัก และเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก สูงศักดิ์”
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระนางมัลลิกาเทวีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติอื่น ชะรอยหม่อมฉันจะเป็นคนโกรธมากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่ากล่าวเล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียดกระด้างกระเดื่อง แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ ในชาตินี้
    หม่อมฉันจึงมีผิวพรรณไม่งาม รูปชั่ว ไม่น่าดู
    แต่ในชาติอื่นหม่อมฉันคงได้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และเครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ในชาตินี้หม่อมฉันจึงเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
    ในชาติอื่นหม่อมฉันคงจะไม่มีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพ ความนับถือการไหว้ และการบูชาของผู้อื่น ไม่กีดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ในชาตินี้หม่อมฉันจึงเป็นผู้สูงศักดิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นางกษัตริย์บ้าง นางพราหมณีบ้างนางคหปตานีบ้างมีอยู่ในราชสกุลนี้ หม่อมฉันได้ดำรงความเป็นใหญ่เหนือหญิงเหล่านั้นตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หม่อมฉันจักไม่โกรธ ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจถึงจะถูกว่ากล่าวมากก็จักไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงอาการโกรธ ความขัดเคือง และความไม่พอใจ และจักให้ทาน คือข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และ
    เครื่องประทีปแก่สมณะหรือพราหมณ์ จักไม่มีใจริษยาในลาภสักการะ ความเคารพความนับถือ การไหว้ และการบูชาของผู้อื่น จักไม่กีดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ริษยา
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคชัดเจน ไพเราะยิ่งนักฯลฯขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสิกาผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”

    ENGLISH VERSION
    197. Queen Mallikā
    At one time the Buddha was staying near Sāvatthī in Jeta’s Grove, Anāthapiṇḍika’s monastery. Then Queen Mallikā went up to the Buddha, bowed, sat down to one side, and said to him:
    “What is the cause, sir, what is the reason why in this life some females are ugly, unattractive, and bad-looking; and poor, with few assets and possessions; and insignificant?
    And why are some females ugly, unattractive, and bad-looking; but rich, affluent, wealthy, and illustrious?
    And why are some females attractive, good-looking, lovely, of surpassing beauty; but poor, with few assets and possessions; and insignificant?
    And why are some females attractive, good-looking, lovely, of surpassing beauty; and rich, affluent, wealthy, and illustrious?”
    “Take a female who is irritable and bad-tempered. Even when criticized a little bit she loses her temper, becoming annoyed, hostile, and hard-hearted, and displaying annoyance, hate, and bitterness. She doesn’t give to ascetics or brahmins such things as food, drink, clothing, vehicles; garlands, fragrance, and makeup; and bed, house, and lighting. And she’s jealous, envying, resenting, and begrudging the possessions, honor, respect, reverence, homage, and veneration given to others. If she comes back to this state of existence after passing away, wherever she is reborn she’s ugly, unattractive, and bad-looking; and poor, with few assets and possessions; and insignificant.
    Take another female who is irritable and bad-tempered. … But she does give to ascetics or brahmins … And she’s not jealous … If she comes back to this state of existence after passing away, wherever she is reborn she’s ugly, unattractive, and bad-looking; but rich, affluent, wealthy, and illustrious.
    Take another female who isn’t irritable and bad-tempered. … But she doesn’t give to ascetics or brahmins … And she’s jealous … If she comes back to this state of existence after passing away, wherever she is reborn she’s attractive, good-looking, lovely, of surpassing beauty; but poor, with few assets and possessions; and insignificant.
    Take another female who isn’t irritable and bad-tempered. … She gives to ascetics and brahmins … And she’s not jealous … If she comes back to this state of existence after passing away, wherever she is reborn she’s attractive, good-looking, lovely, of surpassing beauty; and rich, affluent, wealthy, and illustrious.
    This is why are some females are ugly … and poor … and insignificant. And some females are ugly … but rich … and illustrious. And some females are attractive … but poor … and insignificant. And some females are attractive … and rich … and illustrious.”
    When this was said, Queen Mallikā said to the Buddha:
    “Sir, in another life I must have been irritable and bad-tempered. Even when lightly criticized I must have lost my temper, becoming annoyed, hostile, and hard-hearted, and displaying annoyance, hate, and bitterness. For now I am ugly, unattractive, and bad-looking.
    In another life I must have given to ascetics or brahmins such things as food, drink, clothing, vehicles; garlands, fragrance, and makeup; and bed, house, and lighting. For now I am rich, affluent, and wealthy.
    In another life, I must not have been jealous, envying, resenting, and begrudging the possessions, honor, respect, reverence, homage, and veneration given to others. For now I am illustrious. In this royal court I command maidens of the aristocrats, brahmins, and householders. So, sir, from this day forth I will not be irritable and bad-tempered. Even when heavily criticized I won’t lose my temper, become annoyed, hostile, and hard-hearted, or display annoyance, hate, and bitterness. I will give to ascetics or brahmins such things as food, drink, clothing, vehicles; garlands, fragrance, and makeup; and bed, house, and lighting. I will not be jealous, envying, resenting, and begrudging the possessions, honor, respect, reverence, homage, and veneration given to others.
    Excellent, sir! … From this day forth, may the Buddha remember me as a lay follower who has gone for refuge for life.”
    ที่มา พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
     

แชร์หน้านี้

Loading...