พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จอนุโมทนา พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จริงแค่ไหน ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ไจโกะ, 7 พฤศจิกายน 2013.

  1. ไจโกะ

    ไจโกะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +1,147
    เมื่อตอนที่ผมศึกษาธรรมะใหม่ ได้ไปอ่านเจอเรื่องนี้โดยบังเอิญที่ร้านหนังสือแห่งหนึ่ง
    ด้วยสำนวนที่ใช้เป็นข้อความที่น่าเชื่อถือมาก บวกกับที่พระอาจารย์ ภูริทัตโต ท่านนั้นก็เป็นพระชื่อดัง
    และมีความน่าเชื่อถืออยู่แล้วแต่ก็ยังคลางแคลงใจอยู่ดี จากนั้นผมก็มีโอกาศได้ศึกษาคำพระพุทธเจ้าโดยตรง
    ซึ่งหลายๆอย่างขัดแย้งกับพุทธพจน์มาก เช่น ในเรื่องสังขตลักษณะ
    แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่านิพพานเป็นอสังขตธรรม นั้นคือ
    ๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ)
    ๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม (น วโย ปญฺญายติ)
    ๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ (น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ).

    .(ภาษาไทย) ติก. อํ. ๒๐/๑๔๔/๔๘๗.

    หากนิพพานมีการเกิดปรากฏ (ปรากฏออกมาเป็น รูปนาม หรือขันธ์ทั้งหลาย)
    นั่นหมายถึงพระพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติคำสอนผิดไป ซึ้งน่าเสียดาย
    ที่ถ้าศึกษาแต่คำสาวกอย่างเดียว ปัญหาเรื่องพุทธพจน์ก็จะไม่เกิดอยู่แล้ว

    [และถึงแม้ในข้อความจะบอกว่าพระองค์ทั้งหลายกับพระสาวกท่าน
    ที่เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่เลย]

    ด้วยเหตุที่ว่า ถ้าสิ่งใดๆไม่มีปรากฏแม้เพียงเสี้ยว ก็จะไม่สามารถบรรญัติธรรมนั้นๆขึ้นมาได้
    และท่านยังทรงตรัสสอนอีกว่า หากจะนิยามนิพพานนั้น ไม่ทำได้โดยง่ายเลย
    ที่จะสามารถให้ปุถุชนโดยทั่งไปได้รู้โดยทั่วถึง ซึ่งพระองค์ตรัสว่า

    “สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
    เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด
    มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบ, นั้นมีอยู่;
    ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
    ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้;
    ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
    ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่
    ความงาม ความ ไม่งาม ไม่หยั่งลงได้;
    ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
    นามรูป ดับสนิทไม่มีเหลือ;
    นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้
    เพราะการดับสนิทของวิญญาณ; ดังนี้แล.
    สี. ที. ๙/๒๘๙/๓๔๘-๓๕๐.

    เท่าที่พิจารณาด้วยเหตุและผลที่อิงพุทธพจน์ถ้าไม่มีส่วนสมมติเป็นจะมาปรากฏได้อย่างไร
    เพราะถ้าคำของสาวกถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น พระศาสดาซึ่งเป็นถึง
    ผู้รู้มรรค (มคฺคญฺญู) เป็นผู้รู้แจ้งมรรค (มคฺควิทู)
    เป็นผู้ฉลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท).
    ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็น
    ผู้เดินตามมรรค (มคฺคานุคา) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๖.

    คำสอนนี้จะผิดไปทันที เพราะสาวกที่เป็นเพียงผู้เดินตามมรรค (มคฺคานุคา)
    สิ่งชื่อก็บอกว่าเป็นเพียงผู้เดินตามแต่จะมาบัญญัติคำสอนเสียเองนั้น
    จะเป็นไปได้หรือ เพราะพระพุทธเจ้าท่าน ทรงกําชับให้ศึกษาปฏิบัติ
    เฉพาะจากคําของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่นแม้สาวก

    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้,
    สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน
    มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก**
    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้
    ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก
    มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,
    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง
    ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
    จึงพา กันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร ?
    มีความหมายกี่นัย ? ดังนี้.

    ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้.
    ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความ
    สงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทาลงได้
    ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒


    ประเด็ดไม่ได้อยากจะลบหลู่ใครเลย เพราะโดยส่วนตัว
    ผมเองก็นับถือพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต อยู่แล้ว
    เพียงแต่อยากนำความจริงมาเปิดเผยให้ปรากฏ และอยาก
    ด้วยปราถนาอยากจะให้ผู้อ่านคิดวิเคราะห์ให้ดีๆก่อนที่จะปรงใจเชื่อต่อสิ่งใด
    และสุดท้ายแม้ผู้อ่านได้ใจความกลับไปไม่มากก็น้อยนั่น
    ก็จะเป็นแนวความคิดที่จะสามารถจุดประกายความเห็นที่แท้จริงขึ้นมาได้.



    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
     
  2. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,842
    ค่าพลัง:
    +16,082
    แนะนำนะครับ..


    [​IMG]

    เล่าเรื่องหลวงปู่มั่น (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)


    มีเรื่องเล่ากันนานปีมาแล้ว ว่าท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมาหาเถระ

    ท่านเคยเล่า ว่าคืนหนึ่งขณะท่านปฏิบัติอยู่ในป่า ใจร่ำร้องกราบพระพุทธบาทสมเด็จพระบรมศาสดา ขอประทานพระมหาเมตตาให้ท่านพระอาจารย์ท่านรู้วิธีปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสมปรารถนาได้พ้นทุกข์ และสมเด็จพระบรมศาสดาก็ทรงพระเมตตาเสด็จลงให้ท่านพระอาจารย์ได้เฝ้าพระพุทธบาทรับประทานวิธีปฏิบัติธรรมไปสู่ความไกลกิเลสได้สิ้นเชิง

    ท่านพระอาจารย์ท่านเล่าว่าสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จลงให้ท่านได้เฝ้าพระพุทธบาท ได้เห็นพระพุทธองค์ดั่งได้เฝ้าพระองค์จริงขณะทรงดำรงพระชนมายุสังขารอยู่ฉะนั้น

    ไม่ทราบว่าท่านพระอาจารย์ท่านบอกหรือเปล่า ว่าท่านทีความปีติโสมนัสเพียงไรในบุญวาสนาของท่านที่ไม่น่าเป็นไปได้ในชีวิตผู้ใดแต่ได้เกิดแก่ชีวิตท่านพระอาจารย์ท่านแล้วจริงโปรดประทานพระมหากรุณาให้ท่านพระอาจารย์ท่านรู้วิธีเดินจงกรม วิธีปฏิบัติจิตใจ

    จนในที่สุดท่านพระอาจารย์ท่านก็ได้เป็นดั่งองค์แทนศิษยานุศิษย์ผู้สามารถปฏิบัติธรรมดำเนินถึงความพ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง ได้เป็นพระอาจารย์สายปฏิบัติธรรมองค์สำคัญที่สุดอยู่ในยุคนี้ เป็นที่รู้กันอยู่ในบรรดาผู้ใส่ใจในการปฏิบัติธรรมทุกถ้วนหน้า

    เรื่องนี้ ที่ท่านพระอาจารย์ท่านได้เล่าไว้ ไม่เพียงทำให้ท่านได้เป็นอาจารย์ผู้สอนธัมมะสำคัญแก่ศิษยานุศิษย์มากหลาย แต่ทำให้ได้ความเข้าใจที่ไม่เคยเข้าใจมาก่อนเลย

    ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ในเมืองพระนิพพานแน่ ยังทรงได้รู้ได้เห็นได้ยินได้ฟัง ที่ควรแก่การได้รับพระพุทธเมตตา เช่นท่านอาจารย์มั่นท่านนั่นเอง ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นท่านควรที่สุดแน่นอนแล้วที่จะได้รับพระมหากรุณา ผู้ปฏิบัติธรรมหรือผู้ศึกษาธรรมทั้งหลายย่อมเห็นด้วยกับความจริงนี้แน่นอน.

    แสงส่องใจ วิสาขบูชา ๒๕๕๐
    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


    [​IMG]
    กราบๆๆๆ ในพระเมตตาทรงชี้ทาง...

    อ่านเพิ่มเติมที่นี่...

    [​IMG]

    [​IMG]

    ขอฝากอีกอัน..

    กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่

    มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
    มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
    มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
    มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
    มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
    มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
    มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
    มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
    มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
    มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3
     

แชร์หน้านี้

Loading...