พระพุทธไสยาสน์ใหญ่ที่สุด...ในภาคตะวันออก

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 2 กุมภาพันธ์ 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,487
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระพุทธไสยาสน์ใหญ่ที่สุด...ในภาคตะวันออก</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG][/IMG] [​IMG] พระพุทธไสยาสน์ วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี เป็นปูชนียวัตถุใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก มีความยาว ๙ วา ๙ นิ้ว หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก

    มีปฏิมากรรมผสมทางศิลปะสุโขทัย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กฉาบแต่งผิวลงรักปิดทอง ฐานเป็นบัวคว่ำ บัวหงาย ยาวกว่าองค์พระเล็กน้อย มีวิหารครอบองค์พระ ๒ ชั้น ทรงไทยประยุกต์ ปูพื้นด้วยกระเบื้องหินอ่อนทั้งหมด หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วย มีรั้วรอบแทนกำแพงแก้ว มีประตูเข้าออก ๕ ประตู
    สำหรับประวัติความเป็นมานั้น พระเทพสิทธิมุนี เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม มีแนวความคิดที่ว่า ในแต่ละปีมีผู้มาท่องเที่ยวภาคตะวันออกจำนวนมาก แต่ยังไม่มีปูชนียวัตถุอะไรที่จะเป็นอนุสรณ์ในด้านจิตใจทางพุทธศาสนา จึงก่อสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นที่วัดนี้ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นงานของวัดไผ่ล้อมโดยตรง แต่เป็นงานของชาวภาคตะวันออกทั้งหมด โดยจัดประชุมร่วมกัน ระหว่างวัดกับชาวบ้าน ข้าราชการ และพ่อค้าใน จ.จันทบุรี
    ต่อมามีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และดำเนินการก่อสร้างวิหาร เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๙ พร้อมก่อสร้างองค์พระพุทธไสยาสน์ เมื่อปี ๒๕๒๐ โดยได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคสิ่งของ และทุนทรัพย์ในการก่อสร้างจำนวนมาก
    เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๒๖ คณะกรรมการประกอบพิธีเททองหล่อพระเกศพระพุทธไสยาสน์และพิธีเททองหล่อพระเนตร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๒๙
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีสวมพระเกศองค์พระพุทธไสยาสน์ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๑
    วัดไผ่ล้อม เป็นวัดที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรสำรวจและอนุรักษ์เมื่อปี ๒๕๒๑ แจ้งว่าอุโบสถหลังเก่าของวัดไผ่ล้อมเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ ๓ เป็นอุโบสถทรงจีนสี่ เป็นอาคารเหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูนมีกำแพงล้อมรอบ ๔ ด้าน ทางเข้า ๔ ด้าน มีเสารองรับชนวนด้านหลัง ๕ ต้น ไม่มีบัวหัวเสา อาคารเป็นเส้นตรง กำแพงแก้วมีเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสองขนาดเล็ก
    ด้านในอุโบสถ มีจิตรกรรมฝาผนังสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีภาพจิตรกรรมรอบฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องทศชาติ
    ด้านหน้าพระประธานเขียนภาพเป็นพุทธประวัติ โดยเขียนต่อกันไปบนผนัง ไม่มีฉาก หรือเส้นแบ่งกั้นเป็นตอนๆ ด้านหลังพระประธานเขียนเป็นภาพเทพอำนวยพร
    การเขียนภาพจิตรกรรมนี้น่าจะเป็นการเขียนหลังจากสมัยรัชกาลที่ ๓ ลงมา เนื่องจากมีชาวต่างชาติปรากฏอยู่ในภาพเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีหอพระไตรปิฎก เจดีย์ใหญ่ พระพุทธบาทจำลอง
    ท่านที่สนใจจะเดินทางไปกราบนมัสการพระพุทธไสยาสน์ ติดต่อได้ที่วัดไผ่ล้อม หมู่ ๖ ต.จันทนิมิต อ.เมือง จ.จันทบุรี โทร.๐-๓๙๓๔-๔๕๗๑, ๐-๓๙๓๑-๒๑๗๙ หรือ ๐๘-๑๕๙๐-๙๗๐๒
    ----------ล้อมกรอบ----------
    คำอธิษฐานประจำวัน
    หลังจากสวดมนต์ประจำวันเสร็จแล้ว ให้ตั้งนะโม ๓ จบ และกล่าวคำอธิษฐานดังนี้ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
    ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด ที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เสียสละ สั่งสมบารมี นับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม และพระอริยสงฆ์
    ขอตั้งสัจจะอธิษฐาน ด้วยอานิสงส์แห่งบุญนั้นจงเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในภพชาติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาบวรพุทธศาสนาได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ มีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาศได้ฟังธรรม ประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป จนถึงพระนิพพานในการอันควรเทอญ
    กรรมใดๆ ที่ได้ล่วงเกินท่านพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตาม ปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น
    ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ บิดามารดา ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้องเจ้ากรรมนายเวรตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบ ในการดำรงไว้ซึ่งประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวมานั้น จงมีแต่ความสุข จงมีแต่ความเจริญ จงมีแต่ความสุขทั่วหน้ากันทุกท่านเทอญ0 เรื่อง พิสิษฐ์ จันทร์ศรี / ภาพ นัทพล ทิพย์วาทีอมร 0

    -->
    [​IMG]

    พระพุทธไสยาสน์ วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี เป็นปูชนียวัตถุใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก มีความยาว ๙ วา ๙ นิ้ว หันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก
    มีปฏิมากรรมผสมทางศิลปะสุโขทัย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กฉาบแต่งผิวลงรักปิดทอง ฐานเป็นบัวคว่ำ บัวหงาย ยาวกว่าองค์พระเล็กน้อย มีวิหารครอบองค์พระ ๒ ชั้น ทรงไทยประยุกต์ ปูพื้นด้วยกระเบื้องหินอ่อนทั้งหมด หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วย มีรั้วรอบแทนกำแพงแก้ว มีประตูเข้าออก ๕ ประตู
    สำหรับประวัติความเป็นมานั้น พระเทพสิทธิมุนี เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม มีแนวความคิดที่ว่า ในแต่ละปีมีผู้มาท่องเที่ยวภาคตะวันออกจำนวนมาก แต่ยังไม่มีปูชนียวัตถุอะไรที่จะเป็นอนุสรณ์ในด้านจิตใจทางพุทธศาสนา จึงก่อสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นที่วัดนี้ ซึ่งไม่ถือว่าเป็นงานของวัดไผ่ล้อมโดยตรง แต่เป็นงานของชาวภาคตะวันออกทั้งหมด โดยจัดประชุมร่วมกัน ระหว่างวัดกับชาวบ้าน ข้าราชการ และพ่อค้าใน จ.จันทบุรี
    [​IMG]

    ต่อมามีการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ และดำเนินการก่อสร้างวิหาร เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๙ พร้อมก่อสร้างองค์พระพุทธไสยาสน์ เมื่อปี ๒๕๒๐ โดยได้รับความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคสิ่งของ และทุนทรัพย์ในการก่อสร้างจำนวนมาก
    เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๒๖ คณะกรรมการประกอบพิธีเททองหล่อพระเกศพระพุทธไสยาสน์และพิธีเททองหล่อพระเนตร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๒๙
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีสวมพระเกศองค์พระพุทธไสยาสน์ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๑

    [​IMG]

    วัดไผ่ล้อม เป็นวัดที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี โดยเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรสำรวจและอนุรักษ์เมื่อปี ๒๕๒๑ แจ้งว่าอุโบสถหลังเก่าของวัดไผ่ล้อมเป็นแบบสถาปัตยกรรมในรัชกาลที่ ๓ เป็นอุโบสถทรงจีนสี่ เป็นอาคารเหลี่ยมผืนผ้า ก่ออิฐถือปูนมีกำแพงล้อมรอบ ๔ ด้าน ทางเข้า ๔ ด้าน มีเสารองรับชนวนด้านหลัง ๕ ต้น ไม่มีบัวหัวเสา อาคารเป็นเส้นตรง กำแพงแก้วมีเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสองขนาดเล็ก
    ด้านในอุโบสถ มีจิตรกรรมฝาผนังสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีภาพจิตรกรรมรอบฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องทศชาติ
    ด้านหน้าพระประธานเขียนภาพเป็นพุทธประวัติ โดยเขียนต่อกันไปบนผนัง ไม่มีฉาก หรือเส้นแบ่งกั้นเป็นตอนๆ ด้านหลังพระประธานเขียนเป็นภาพเทพอำนวยพร
    การเขียนภาพจิตรกรรมนี้น่าจะเป็นการเขียนหลังจากสมัยรัชกาลที่ ๓ ลงมา เนื่องจากมีชาวต่างชาติปรากฏอยู่ในภาพเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีหอพระไตรปิฎก เจดีย์ใหญ่ พระพุทธบาทจำลอง
    ท่านที่สนใจจะเดินทางไปกราบนมัสการพระพุทธไสยาสน์ ติดต่อได้ที่วัดไผ่ล้อม หมู่ ๖ ต.จันทนิมิต อ.เมือง จ.จันทบุรี โทร.๐-๓๙๓๔-๔๕๗๑, ๐-๓๙๓๑-๒๑๗๙ หรือ ๐๘-๑๕๙๐-๙๗๐๒


    คำอธิษฐานประจำวัน
    หลังจากสวดมนต์ประจำวันเสร็จแล้ว ให้ตั้งนะโม ๓ จบ และกล่าวคำอธิษฐานดังนี้ นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ)
    ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด ที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เสียสละ สั่งสมบารมี นับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม และพระอริยสงฆ์
    ขอตั้งสัจจะอธิษฐาน ด้วยอานิสงส์แห่งบุญนั้นจงเป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในภพชาติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาบวรพุทธศาสนาได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ มีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาศได้ฟังธรรม ประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป จนถึงพระนิพพานในการอันควรเทอญ
    กรรมใดๆ ที่ได้ล่วงเกินท่านพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตาม ปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น
    ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ บิดามารดา ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้องเจ้ากรรมนายเวรตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบ ในการดำรงไว้ซึ่งประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวมานั้น จงมีแต่ความสุข จงมีแต่ความเจริญ จงมีแต่ความสุขทั่วหน้ากันทุกท่านเทอญ


    0 เรื่อง พิสิษฐ์ จันทร์ศรี / ภาพ นัทพล ทิพย์วาทีอมร 0

    -------------------------
    Ref. http://www.komchadluek.net/2007/02/02/j001_87548.php?news_id=87548


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...