พระพุทโธข้างเม็ด เนื้อผงคลุกรักพิมพ์ หลวงปู่เฮี้ยงวัดป่า ปี 2498

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย จิตตานุปัสสนา, 13 ธันวาคม 2018.

  1. จิตตานุปัสสนา

    จิตตานุปัสสนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    5,842
    ค่าพลัง:
    +16,082
    พระชุดนี้สร้างจากผงเดียวกับพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว สร้างปี 2498
    โดยสร้างถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดมกุฏกษัตริยาราม กทม.
    เรื่องผงไม่ต้องกลัว ใช้ผงหลวงพ่อแก้วแน่นอน ครับ


    budd2417.jpg

    ประวัติ หลวงปู่เฮี้ยง ปุณณัจฉันโท วัดป่า (วัดอรัญญิกาวาส)

    กล่าวถึงชื่อวัดอรัญญิกาวาส หรือ วัดป่า ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี บรรดาเซียนพระนักสะสมนิยมพระเครื่องต่างรู้จักกันดี ด้วยในอดีตวัดแห่งนี้เคยมี 'พระวรพรตปัญญาจารย์' หรือ 'หลวงปู่เฮี้ยง ปุณณัจฉันโท' อดีตเจ้าอาวาสวัดอรัญญิกาวาส (วัดป่า) อ.เมือง จ.ชลบุรี พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของเมืองชล เป็นเจ้าอารามปกครองคณะสงฆ์แห่งนี้

    รวมทั้งเป็นผู้ได้รับสืบทอดตำราการสร้างพระปิดตาทั้งเนื้อผงและเนื้อผงคลุกรักจากพระเกจิอาจารย์ดังหลายรูปของเมืองชลบุรี

    อัตตโนประวัติ มีนามเดิมว่า กิมเฮี้ยง นาคไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2441 เวลา 17.45 น. ตรงกับวันพฤหัสบดี เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ ปีจอ ที่ ต.นาป่า อ.เมือง จ.ชลบุรี โยมบิดา ชื่อ เร่งเซ็ง เป็นคนเชื้อสายจีน โยมมารดา ชื่อ นางผัน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 7 คน

    เมื่อเจริญวัยอายุได้ประมาณ 9-10 ขวบ โยมมารดาได้พาไปฝากเรียนหนังสือกับพระวินัยธรเส็ง หรือ เส็ง เจ้าอาวาสวัดหนองไม้แดง (วัดราษฎร์สโมสร) อ.เมือง จ.ชลบุรี

    ต่อมา พระวินัยธร (เส็ง) ได้มรณภาพ จึงเลิกเรียนและกลับไปอยู่บ้านช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพตามวิสัยที่พึงกระทำได้

    ครั้นอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้ไปสมัครเป็นตำรวจภูธร และมาปลดประจำการ โดยเป็นเพียงกองหนุนชั้นที่ 1 ขณะอายุได้ 22 ปี

    ในปี พ.ศ.2463 เมื่ออายุได้ 23 ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุตามประเพณี ณ พัทธสีมา วัดป่า (อรัญญิกาวาส) เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2464 โดยมีพระเขมทัสสีชลธีสมานคุณ วัดเขาบางทราย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระวินัยธร (เภา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดชื่น ธัมมสาโร วัดป่า เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายาว่า ปุณณัจฉันโท มีความหมายว่า ผู้มีความพอใจอันเต็มเปี่ยม

    ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านมีอุปนิสัยสนใจด้านวิทยาคม ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแดง (พระครูธรรมสารอภินันท์) วัดใหญ่อินทราราม จ.ชลบุรี ยอดพระเกจิอาจารย์ชาวเขมร เมืองพระตะบอง ที่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่อินทราราม ถึง 53 ปี เป็นพระเถระที่ทรงวิทยาคุณในทางสมถะ มีวาจาสิทธิ์เป็นที่เคารพยำเกรงของคณะศิษยานุศิษย์และเป็นที่เล่าขานตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

    ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2467 เป็นเจ้าอาวาสวัดอรัญญิกาวาส พ.ศ.2483 เป็นเจ้าคณะแขวงบางละมุง และเป็นพระอุปัชฌาย์ในคณะธรรมยุต พ.ศ.2496 เป็นเจ้าคณะธรรมยุตผู้ช่วยอำเภอจังหวัดชลบุรี

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2479 เป็นพระครูสัญญาบัตรในราชทินนามพระครูวรพรตศีลขันธ์ พ.ศ.2498 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระวรพรตปัญญาจารย์

    หลวงปู่เฮี้ยง ได้พัฒนาทั้งด้านการศึกษาและเสนาสนะให้เจริญรุ่งเรือง นับได้ว่าวัดป่าหรือวัดอรัญญิกาวาสแห่งนี้ เจริญรุ่งเรือง ด้วยอำนาจบารมีแห่งวัตถุมงคลพระเครื่องต่างๆ ที่ท่านสร้างสรรค์ ทุกรุ่นเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณเมตตามหานิยม เป็นที่ปรารถนาของเซียนพระเครื่องที่ต่างแสวงหาไว้ในครอบครอง

    ด้วยอำนาจความเข้มขลังที่เป็นอมตะแห่งผงเก่าของยอดพระเกจิอาจารย์ชาวบางปลาสร้อยในอดีต อาทิ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์, หลวงพ่อเจียม วัดกำแพง มีส่วนเสริมให้วัตถุมงคลของหลวงปู่เฮี้ยง ทุกรุ่นทุกพิมพ์ถูกเช่าบูชาไปจากตลาดพระเครื่องอย่างรวดเร็ว จนยากที่จะหามาไว้ในครอบครอง

    สำหรับวัดป่ามีการสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่สมัยพระปลัดธรรมสาร (ชื่น ธัมมสาโร) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 2 โดยสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่าน เมื่อปี พ.ศ.2463 นับว่าเป็นเหรียญเก่าของชาวชลบุรีอีกเหรียญหนึ่ง

    การสร้างวัตถุมงคลของวัดป่าที่นับว่าโด่งดัง หลวงปู่ได้ริเริ่มสร้างวัตถุมงคลครั้งแรก เมื่อปลายปี 2484-2486

    โดยมีพระใบฎีกาแฟ้ม อภิรโต เป็นผู้ดำเนินการสร้างทั้งสิ้น โดยใช้ผงต่างๆ ของหลวงพ่อแก้วและหลวงพ่อเจียม เป็นส่วนผสมและปลุกเสกอธิษฐานจิต

    ท่านยังเป็นพระอุปัชฌาย์ ให้การอุปสม บทกุลบุตรมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2483 มีส่วนร่วมสนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณร และชาวบ้านในชุมชน ด้วยการก่อสร้างโรงเรียนประชาบาล และโรงเรียนมัธยมต้นขึ้นภายในวัดอรัญญิกาวาส

    มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 27 พฤษภา คม 2511 เวลา 19.50 น. ณ โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา สิริอายุ 70 พรรษา 47 ประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ เมื่อปี พ.ศ.2512

    แม้ละสังขารจากไปนานร่วม 40 ปี แต่เกียรติคุณของหลวงปู่เฮี้ยง ยังเลื่องลือเป็นที่จดจำของบรรดาคณะศิษย์เมืองชลบุรีสืบมา


    48084336_323494821589261_4889205089740259328_n.jpg 55555.jpg


    สภาพเยี่ยม มาพร้อมกรอบทองพร้อมอาราธนา
    ราคา 13,500 บาทครับผม

    (ปกติ 20,000 )

    กรุณาโอนเงินมาที่
    บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารทหารไทย
    สาขาเซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี
    ชื่อบัญชี ณรงค์ ขันดีศรีไพบูลย์
    เลขที่บัญชี 629-2-09003-9
     

แชร์หน้านี้

Loading...