'พระภิกษุ-สามเณร' ทอดทิ้งวัด

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 13 กรกฎาคม 2009.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    ปล่อยร้างว่างเปล่า...ต้องรีบแก้ไข?

    น่าตกใจไม่ใช่น้อยกับข้อมูลที่สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.เชียงใหม่ ออกมาเปิดเผยถึงสาเหตุ พระภิกษุ สามเณร ละทิ้งวัดที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เข้ามาแสวงหาความรู้และศึกษาเล่าเรียนในตัวเมือง นับวันปัญหานี้จะแผ่ขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้แบบนี้ต่อไป จำนวนวัดร้างก็จะเพิ่มทวีคูณไม่มีหมดสิ้นแน่นอน

    จริง ๆ แล้วปัญหา “วัดร้าง” ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีมานานแล้ว ยิ่งตามสถานที่ชุมชนที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองในอดีตและ เคยเผชิญศึกสงคราม มักมีวัดร้างจำนวนมาก หลายแห่งกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำโดยปัญหาวัดร้างทั่ว ๆ ไป สามารถแบ่งได้ ดังนี้

    1.วัดร้างในอดีต ซึ่งถูกก่อสร้างขึ้นในยุคสมัยที่มีความเจริญรุ่งเรืองหรือหัวเมืองสำคัญหลาย ๆ แห่ง แต่กาลเวลาทำให้ล่มสลายลงไปและไม่มีพระภิกษุ สามเณรพำนักอยู่ อาทิ วัดร้างในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อุทยาน ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ขณะเดียวกันหลายแห่งก็ถูกค้นพบและได้รับการบูรณะกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญก็มีให้เห็นมากมาย แค่เฉพาะใน จ.เชียงใหม่ ก็มี วัดอินทขีล วัดดอยสัพพัญญู วัดป๊อกป่ายาง วัดพระธาตุดอยสบฝาง วัดโลกโมฬี วัดหนองเจ็ดสิน วัดเชียงโฉม วัดยางกวง วัดพันเสา วัดแสนตา วัดสันคะยอม วัดทับเดื่อ วัดป่าอ้อย เป็นต้น

    2.วัดร้างในปัจจุบัน เกิดจากพระภิกษุ สามเณร ละทิ้งเสนาสนะและสถานที่พำนักอาศัยไปจำพรรษาที่อื่น มีสาเหตุหลายประการ เช่น ที่พำนักเดิมอยู่ห่างไกลความเจริญมากเกินไป ไม่สามารถบิณฑบาตโปรดญาติโยมได้สะดวก รวมทั้งติดขัดอุปสรรคในการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมหรือพระปริยัติธรรม รวมทั้งยังตัดกิเลสไม่ขาด ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ ให้ละทิ้งวัดเช่นกัน ยกเว้นวัดร้างในพื้นที่ 3-4 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนมาก ที่ไม่มีพระภิกษุ สามเณร ไปจำพรรษาหรือกล้าอาศัยอยู่เหมือนปกติ เพราะหวาดผวากับภัยโจรก่อการร้ายที่ไม่รู้ว่าวันใดจะกลายเป็นเหยื่อถูกเข่นฆ่า ดังผักปลา แม้ทางการจะพยายามจัดโครงการต่าง ๆ เพื่อชักชวนให้พระอพยพไปพำนัก แต่ดูเหมือนไม่ได้ผลมากนัก ตราบใดสันติสุขยังไม่เกิดขึ้นในดินแดนด้ามขวานทอง

    จากข้อมูลและสถิติวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย แบ่งออกเป็นวัดที่มีพระสงฆ์พำนักมีประมาณ 33,902 แห่ง (มหานิกาย 31,890 แห่ง ธรรมยุต 1,987 แห่ง จีนนิกาย 12 แห่ง อนัมนิกาย (ญวน) 13 แห่ง) เป็นพระอารามหลวง 272 แห่ง (มหานิกาย 217 แห่ง ธรรมยุต 55 แห่ง) วัดราษฎร์ 33,630 แห่ง (มหานิกาย 31,673 แห่ง ธรรมยุต 1,932 แห่ง จีนนิกาย 12 แห่ง อนัมนิกาย (ญวน) 13 แห่ง) โดยวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมามีจำนวน 20,281 แห่ง วัดที่ไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา 13,621 แห่ง และวัดร้างทั่วประเทศ 6,815 แห่ง

    ขณะเดียวกันจากข้อมูลและสถิติในปี 2551 พบว่า จ.เชียงใหม่ มีวัดร้างมากที่สุด โดยมีวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนแล้วแต่ยังไม่ได้รับการบูรณะมากกว่า 948 แห่ง จากทั้งหมด 2,201 แห่ง ที่น่าตกใจคือวัดมากกว่าครึ่งทั่วจังหวัดกลายเป็นวัดร้าง ถูกทอดทิ้งและปล่อยปละละเลยไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญอีกต่อไป นอกจากนี้ยังพบปัญหาการบุกรุกก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน ทับซ้อนพื้นที่วัดร้าง จนมหาเถร สมาคมต้องออกนโยบายให้นำพื้นที่วัดมาจัดสรรประโยชน์ให้ประชาชนเช่าราคาถูกในการทำมาหากินประกอบอาชีพ และนำเงินค่าเช่าที่จัดเก็บได้ไปบำรุงพระพุทธศาสนาเพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่วัดร้างไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว

    ปัจจุบันจำนวนสำนักสงฆ์ ที่พำนักของสงฆ์และวัดวาอาราม แค่เฉพาะ จ.เชียง ใหม่ มีจำนวน 1,711 แห่ง เป็นวัดธรรมยุต 101 แห่ง มหานิกาย 1,610 แห่ง และมีวัดที่ไม่มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่เลยมากถึง 32 แห่ง อีก 336 แห่ง มีพระภิกษุ หรือสามเณรจำพรรษาเพียง 1 รูป และมีวัดที่พระภิกษุจำพรรษา 2 รูปจำนวน 226 แห่ง นอกจากนี้ มีวัดที่พระภิกษุ สามเณร จำพรรษาอยู่ตั้งแต่ 3 รูปขึ้นไปจนมากกว่า 400 รูป เช่น ที่วัดศรีโสดา (พระอารามหลวง) มีพระภิกษุ สามเณร จำพรรษามากที่สุด ส่วนข้อมูลจำนวนพระภิกษุ สามเณรทั่ว จ.เชียงใหม่ มี ทั้งหมด 11,208 รูป ด้วยกัน

    ในอดีตหลายร้อยปีที่ผ่านมา จ.เชียง ใหม่ หรือนครพิงค์ หรือเวียงพิงค์ เป็นหัวเมืองใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของไทยหรือที่เรียกกันว่า “แผ่นดินล้านนา” ได้รับการขนานนามว่าเป็นศูนย์กลางของความเจริญด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมและศาสนามายาวนาน โดยมีหัวเมือง เชียงราย แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน เป็นบริวารรายล้อมอยู่รอบ ๆ

    ความเจริญของเชียงใหม่ เกิดขึ้นเพราะเป็นเมืองที่มีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมานาน ที่สำคัญประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากให้ความเคารพนับถือและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงเป็นสาเหตุหลักให้เกิดการสร้างวัดขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย นับไม่หวาดไม่ไหว

    เมื่อความเจริญถึงขีดสุดก็ย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาดังสัจธรรมเคียงคู่โลก ทำให้เกิดวัดร้างขึ้นจำนวนมากในหัวเมืองใหญ่ คงต้องถึงเวลาที่หน่วยงานเกี่ยวข้องควรแก้ไขปัญหากันไป

    เหนือสิ่งอื่นใด ปัญหานี้ทำให้อดนึกถึงสุภาษิตบทหนึ่งไม่ได้ว่า “คับที่อยู่ได้ คับใจ อยู่ยาก” ซึ่งการออกบวชหมายถึง การตัดแล้ว ซึ่งความสะดวกสบาย พร้อมเข้าสู่การแสวงหาธรรมะเพื่อการหลุดพ้นจากวัฏสงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด) และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยงเคียงคู่โลก ดังนั้นผู้ที่ได้ชื่อว่า “ภิกษุ” ก็ ย่อมไม่หวั่นแม้ลำบากยากเข็ญเพียงไร

    หากใครมัวยึดติดกับสิ่งยั่วยุต่าง ๆ เรียกง่าย ๆ ยังตัดกิเลสไม่ขาด ไม่กล้าเผชิญต่อความยากลำบากหรือผวากับอุปสรรคขวากหนามต่าง ๆ ตราบนั้นปัญหา “วัดร้าง” ก็คงหมดสิ้นได้ยาก.

    ยึด 4 ข้อหลักแก้ปัญหาวัดร้าง

    นางจุฬารัตน์ บุณยากร ผอ. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า กองพุทธศาสนสถาน ได้ทำการสำรวจจำนวนวัดร้างทั่วประเทศพบว่า มีมาก กว่า 6,000 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นวัดร้างดั้งเดิมมาตั้งแต่อดีตหรือสมัยโบราณ โดยพื้นที่ที่มีวัดร้างมากที่สุดได้แก่ เชียงใหม่ พระนครศรี อยุธยา นครศรีธรรมราช แต่ละปีวัดร้างบางแห่งก็ได้รับการยกเป็นวัด คือ มีพระมาจำพรรษา ส่วนกรณีวัดร้างที่เกิดขึ้นใหม่จากพระสงฆ์ไม่ยอมจำวัดนั้น พบน้อยมาก เนื่องจากมหาเถรสมาคม (มส.) ได้มีการยกวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์เข้าจำพรรษาอย่างต่อเนื่อง และการดูแลคณะสงฆ์ได้มอบหมายให้ พศ. ดูแล โดยนำวัดร้างที่ไม่มีพระสงฆ์ไปจัดทำประโยชน์ 4 ข้อ ได้แก่ 1.ถ้าพื้นที่วัดร้างอยู่ในเขตธุรกิจ ก็ให้ภาคธุรกิจเช่าพื้นที่ 2.ให้เช่าพื้นที่ทำเกษตรกรรม 3.ให้ประชาชนเช่าเพื่ออยู่อาศัยในราคาถูก 4.ให้หน่วยงานราชการเช่า เป็นต้น



    [​IMG]
    [​IMG]








    Daily News Online > หน้าการเมือง > สกู๊ปพิเศษ > 'พระภิกษุ-สามเณร' ทอดทิ้งวัด
     

แชร์หน้านี้

Loading...