พระราชทานพระไตรปิฏกบาลีภาษาโรมันฉบับแรกของโลก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย guawn, 2 มีนาคม 2007.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>พระราชทานพระไตรปิฏกบาลีภาษาโรมันฉบับแรกของโลก</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] สมเด็จพระพี่นางเธอฯ พระราชทานพระไตรปิฎกบาลี ภาษาโรมันฉบับแรกของโลกให้ 3 ประเทศ 6 มีนาคมนี้ กระทรวงการต่างประเทศปลื้มรับหน้าที่อัญเชิญไปประดิษฐานยังอินเดีย ญี่ปุ่น สวีเดน เผยเป็นการเผยแผ่พระธรรมคำสอนพระพุทธศาสนา-สร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ

    เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายประสิทธิ์ เสกสรร รองเลขาธิการกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวในงานแถลงข่าวการพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมันว่า จากการที่มูลนิธิกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ จัดสร้างพระไตรปิฎก ฉบับสากล อักษรโรมัน ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2542 ซึ่งถือเป็นฉบับที่มีความสมบูรณ์ที่สุดเล่มแรกของโลก โดยสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะองค์ประธานกิตติมศักดิ์ การประดิษฐานพระไตรปิฎกในนานาชาติ ได้เสด็จจาริกอัญเชิญพระไตรปิฎกดังกล่าวไปพระราชทานเป็นปฐมฤกษ์แก่ ฯพณฯ จันทริกา บันดาราไนยเก กุมาราตุงคะ ประธานาธิบดีแห่งประเทศศรีลังกา ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2548
    "ปีนี้มีการขอพระราชทานมาจากสถาบันต่างๆ โดยในวันที่ 6 มีนาคมนี้ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มาประทานพระไตรปิฎกฉบับดังกล่าวให้กับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานที่สมาคมมหาโพธิ์แห่งอินเดีย และสมาคมพุทธศาสนาเถรวาทแห่งญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยลุนด์ แห่งสวีเดน" นายประสิทธิ์ กล่าว
    ด้านนายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมสารนิเทศ กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับพระเมตตาให้จัดงานพระราชทานพระไตรปิฎก ในครั้งนี้ เพราะเมื่อ 114 ปีที่ผ่านมา หรือในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงการต่างประเทศได้มีส่วนสำคัญในการดำเนินงานจัดการพระราชทานพระไตรปิฎกไปยังนานาประเทศทั่วโลก ดังนั้น การพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับดังกล่าวในครั้งนี้ ถือเป็นการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากจะเป็นการเผยแผ่พระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศทั่วโลกด้วย ทั้งนี้ พระไตรปิฎกฉบับดังกล่าว จัดพิมพ์ขึ้นทั้งหมด 40 เล่ม บันทึกเป็นภาษาบาลี ตามประเพณีสืบทอดคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา เถรวาท ตลอดระยะเวลา 2,500 ปี ที่ผ่านมา และยังไม่เคยมีการพิมพ์ด้วยอักษรโรมันที่ใดในโลกมาก่อน
    -->
    สมเด็จพระพี่นางเธอฯ พระราชทานพระไตรปิฎกบาลี ภาษาโรมันฉบับแรกของโลกให้ 3 ประเทศ 6 มีนาคมนี้ กระทรวงการต่างประเทศปลื้มรับหน้าที่อัญเชิญไปประดิษฐานยังอินเดีย ญี่ปุ่น สวีเดน เผยเป็นการเผยแผ่พระธรรมคำสอนพระพุทธศาสนา-สร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ
    เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายประสิทธิ์ เสกสรร รองเลขาธิการกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กล่าวในงานแถลงข่าวการพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับสากล อักษรโรมันว่า จากการที่มูลนิธิกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ จัดสร้างพระไตรปิฎก ฉบับสากล อักษรโรมัน ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2542 ซึ่งถือเป็นฉบับที่มีความสมบูรณ์ที่สุดเล่มแรกของโลก โดยสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะองค์ประธานกิตติมศักดิ์ การประดิษฐานพระไตรปิฎกในนานาชาติ ได้เสด็จจาริกอัญเชิญพระไตรปิฎกดังกล่าวไปพระราชทานเป็นปฐมฤกษ์แก่ ฯพณฯ จันทริกา บันดาราไนยเก กุมาราตุงคะ ประธานาธิบดีแห่งประเทศศรีลังกา ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2548
    "ปีนี้มีการขอพระราชทานมาจากสถาบันต่างๆ โดยในวันที่ 6 มีนาคมนี้ สมเด็จพระพี่นางเธอฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา มาประทานพระไตรปิฎกฉบับดังกล่าวให้กับกระทรวงการต่างประเทศ เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐานที่สมาคมมหาโพธิ์แห่งอินเดีย และสมาคมพุทธศาสนาเถรวาทแห่งญี่ปุ่น และมหาวิทยาลัยลุนด์ แห่งสวีเดน" นายประสิทธิ์ กล่าว ด้านนายกิตติ วะสีนนท์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมสารนิเทศ กล่าวว่า กระทรวงการต่างประเทศมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับพระเมตตาให้จัดงานพระราชทานพระไตรปิฎก ในครั้งนี้ เพราะเมื่อ 114 ปีที่ผ่านมา หรือในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงการต่างประเทศได้มีส่วนสำคัญในการดำเนินงานจัดการพระราชทานพระไตรปิฎกไปยังนานาประเทศทั่วโลก ดังนั้น การพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับดังกล่าวในครั้งนี้ ถือเป็นการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากจะเป็นการเผยแผ่พระธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศทั่วโลกด้วย ทั้งนี้ พระไตรปิฎกฉบับดังกล่าว จัดพิมพ์ขึ้นทั้งหมด 40 เล่ม บันทึกเป็นภาษาบาลี ตามประเพณีสืบทอดคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา เถรวาท ตลอดระยะเวลา 2,500 ปี ที่ผ่านมา และยังไม่เคยมีการพิมพ์ด้วยอักษรโรมันที่ใดในโลกมาก่อน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.komchadluek.net/2007/03/02/a001_95463.php?news_id=95463
     

แชร์หน้านี้

Loading...